ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




03-07-2551 (1602)

Art & Physics: Parallel Visions in Space, Time & Light
การประกบคู่ระหว่าง"ศิลป"กับ"ฟิสิกส์: "มายาคติ"กับ"ความจริง"

สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเชิงอรรถ
โครงการความรู้สหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทแปลและเรียบเรียงต่อไปนี้ เป็นการจับคู่ทำความเข้าใจศาสตร์ที่เข้าถึงความจริงคนละด้าน
ระหว่างศิลปะกับฟิสิกส์ ซึ่งดูเหมือนว่าไม่เกี่ยวข้องกันเลยในสายตาของผู้คน แต่ผู้เขียนได้
พยายามโยงความสัมพันธ์ของทั้งสองศาสตร์นี้เข้าหากันได้อย่างน่าสนใจ ทั้งนี้เพราะศิลปะ
และฟิสิกส์ต่างสนใจในประเด็นปัญหาที่คล้ายๆ กัน เช่น รูปทรง สสาร พลังงาน พื้นที่ และแสง

สำหรับต้นฉบับงานแปลชิ้นนี้นำมาจากหนังสือชื่อ Art & Physics:
Parallel Visions in Space, Time & Light เขียนโดย Leonard Shlain
ในส่วนบทที่หนึ่ง Illusion / Reality ซึ่งมีหัวข้อที่น่าสนใจโดยสังเขปดังนี้
- ศิลปะและฟิสิกส์ คู่ที่แปลกหน้าต่อกัน, - ทัศนศิลป์ แรกทีเดียวเกิดขึ้นก่อนภาษาและคำอธิบาย,
- พระผู้เป็นเจ้าทรงสอนอดัมเพียงอย่างเดียวคือ การตั้งชื่อ, - คำพูดเข้ามาแทนที่ภาพ,
- ใครคือผู้สร้างสรรค์จินตนาการที่มาก่อนภาษาหรือคำอธิบาย, - ศิลปินล้ำหน้ามาก่อนนักฟิสิกส์,
- ศัพท์แสงที่ใช้ร่วมกันในวิชาฟิสิกส์และศิลปะ, - เรารู้จักโลกนี้กันอย่างไร ?
- อะไรคือความจริง ความจริงคืออะไร ? - จาก "ฉันทามติ" สู่ "กระบวนทัศน์",
- Theory of Complementarity, - Principle of Synchronicity,
- โลกแบบทวินิยมไม่เหมาะสมอีกต่อไปแล้ว, - จิตใจและจักรวาล : ศิลปะและฟิสิกส์,
- กาล อวกาศ พลังงาน และสสาร + แสง, เป็นต้น
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา

ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๖๐๒
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๐๓ กรกฎาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๑.๕ หน้ากระดาษ A4)


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++



Art & Physics: Parallel Visions in Space, Time & Light
การประกบคู่ระหว่าง"ศิลป"กับ"ฟิสิกส์: มายาการและความจริง

สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเชิงอรรถ
โครงการความรู้สหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

จุดประสงค์ของงานศิลปะ จะต้องเปิดเผยคำถาม ซึ่งได้ซ่อนเร้นคำตอบต่างๆ เอาไว้
James Baldwin

ฟิสิกส์คือรูปแบบหนึ่งของความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ดังนั้นมัน จึงเป็นรูปแบบหนึ่งของศิลปะ
David Bohm

มายาการ และ ความจริง (ILLUSION / REALITY)

ศิลปะและฟิสิกส์ คู่ที่แปลกหน้าต่อกัน
ศิลปะและฟิสิกส์คือคู่ที่ค่อนข้างจะแปลกหน้าต่อกัน ในสาขาวิชาต่างๆ มากมายของมนุษย์นั้น สามารถจะแบ่งเป็นเพียงสองวิชานี้ได้ไหม ที่ดูเหมือนจะเบนออกจากกันอยู่ตลอดเวลา กล่าวคือศิลปินใช้จินตนาภาพและวิธีการอุปมาอุปมัย, ส่วนนักฟิสิกส์ใช้ตัวเลขและสมการ

ศิลปะตีวงอยู่รอบๆ อาณาเขตแห่งจินตนาการของคุณภาพเชิงสุนทรีย์ เป็นเรื่องของอารมณ์ความรู้สึกที่ดึงออกมา, ส่วนฟิสิกส์ดำรงอยู่ในโลกของความสัมพันธ์ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ที่โอบล้อมเป็นละลอกท่ามกลางคุณสมบัติต่างๆ ฟิสิกส์เป็นวิทยาศาสตร์ที่แน่นอน มีความน่าเชื่อถือ. โดยทั่วไปแล้ว ผู้ที่ให้การสนับสนุนแต่ละกลุ่ม(ศิลปะและฟิสิกส์) ค่อนข้างมีทัศนคติที่ตายตัวและมีความเห็นตรงข้ามกันคนละขั้วเลยทีเดียว

ในมหาวิทยาลัย นักศึกษาศิลปะซึ่งมีความรู้และความคิดก้าวหน้า โดยปกติ พวกเขาจะไม่ผสมปนเปกับคู่เหมือนของเขาในวิชาฟิสิกส์, ด้วยการเทียบเคียงกันโดยบังเอิญ (ศิลปะและฟิสิกส์ให้ความสนใจในเรื่องแสง สี รูปทรง และอื่นๆ คล้ายกัน) แต่อย่างไรก็ ตามความรู้ทั้งสองสาขานี้ในเชิงการศึกษา ดูเหมือนว่าจะมีบางสิ่งบางอย่างร่วมกันน้อยมาก. มีไม่มากนัก หากจะมีการอ้างอิงบ้างในเชิงศิลปะกับตำรามาตรฐานบางเล่มของวิชาฟิสิกส์ ส่วนนักประวัติศาสตร์ศิลป์ทั้งหลายก็แทบจะไม่เคยตีความผลงานของศิลปินคนหนึ่งคนใดที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องแสง ในแนวทางความคิดที่อยู่ในกรอบโครงของวิชาฟิสิกส์เลย

แม้ว่า ทั้งๆ ที่สิ่งที่ปรากฏออกมานั้นจะดูเหมือนว่ามีความแตกต่างกันจนไม่อาจปรองดองกันได้ แต่ก็ยังมีลักษณะเบื้องต้นบางอย่างที่เกี่ยวโยงกันอย่างเป็นรูปธรรมในสาขาวิชาเหล่านี้. ศิลปะในเชิงปฏิวัติ (Revolutionary art ) และฟิสิกส์เกี่ยวกับภาพทางสายตา (visionary physics) ทั้งสองวิชานี้เป็นเรื่องของการสืบสวนเข้าไปหาธรรมชาติของความเป็นจริงด้วยกันทั้งคู่

Roy Lihtenstein, ศิลปิน Pop art ของทศวรรษ 1960 เคยประกาศเอาไว้ว่า "การรวมเอาความรับรู้ คือสิ่งที่ศิลปะไปเกี่ยวข้องทั้งหมด, ส่วน Sir lssac Newton อาจจะพูดขึ้นมาในทำนองนี้เช่นเดียวกันเกี่ยวกับฟิสิกส์ พวกเขาได้ถูกนำเข้าไปเกี่ยวข้องกับการรับรู้ที่เป็นองค์ระบบด้วยเหมือนกัน ในขณะที่ระเบียบวิธีของทั้งสองศาสตร์นั้นแตกต่างกันอย่างถึงรากทีเดียว. ศิลปินและนักฟิสิกส์ต่างก็มีส่วนในความปรารถนาที่จะค้นหาหนทางที่เป็นชิ้นส่วนซึ่งประสานกันอย่างแนบแน่นของความจริง อันนี้คือพื้นฐานที่มีอยู่ร่วมกัน ซึ่งทำให้ศาสตร์ทั้งสองมาบรรจบกัน

Paul Gauguin เคยพูดเอาไว้ครั้งหนึ่งว่า "ศิลปินนั้น มีอยู่เพียงสองประเภทเท่านั้น กล่าวคือ ประเภทแรกเป็นพวกที่ชอบปฏิวัติ และประเภทที่สองเป็นพวกที่ชอบคัดลอกผลงานของคนอื่นมาเป็นของตน(plagiarists)" ศิลปะประเภทที่จะนำมาพูดคุยในบทความชิ้นนี้ จัดเป็นพวกปฏิวัติทั้งหลาย ทั้งนี้เพราะมันเป็นผลงานของคนที่นำเอาความเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญมาสู่โลกทรรศน์ของอารยธรรม, และในหนทางที่ขนานกัน แม้ว่าพัฒนาการของฟิสิกส์ บ่อยครั้งมักจะขึ้นอยู่กับการสนับสนุนต่างๆ มากมายของผู้ทำงานที่เป็นคนซึ่งมีความคิดริเริ่มและเป็นผู้ที่อุทิศตนอย่างมาก แต่ก็มีโอกาสอันน้อยนิดเท่านั้นของประวัติศาสตร์ที่นักฟิสิกส์คนหนึ่ง จะมีความเข้าใจที่อยู่เหนือโลกแห่งเหตุผล (transcendent insight) ในฐานะที่เป็น "เพลิงขนาดใหญ่ของความแจ่มแจ้ง" (conflagration of clarity) ซึ่งได้ยอมให้ศิลปินและนักฟิสิกส์บางคนได้เห็นในสิ่งที่ไม่เคยมีใครเห็นมาก่อนหรือจินตนาการไปถึง และเป็นพวกเขานั่นแหละ - ศิลปินนักปฏิวัติและนักฟิสิกส์ที่เกี่ยวกับภาพทางสายตา - ผู้ซึ่งได้รับการจับคู่กันในหน้าประวัติศาสตร์

นักฟิสิกส์ ก็คล้ายกับนักวิทยาศาสตร์อื่นๆ คือเริ่มต้นด้วยการแบ่งแยก "ธรรมชาติ" ออกเป็นส่วนๆ ที่แตกต่างของความเป็นจริงมาวางเคียงกันและสังเคราะห์มันเข้าด้วยกัน ดังนั้นจึงอยู่บนกระบวนการ การทำให้สมบูรณ์ (Completion), ผลงานทั้งหมด นั้นเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าผลบวกของส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน มันค่อนข้างจะเป็นการตัดกันในเรื่องของเทคนิคที่นำมาใช้โดยศาสตร์ทั้งสองนี้ นักเขียนนวนิยาย Vladimir Nabokov (*) เขียนเอาไว้ว่า "มันไม่มีวิทยาศาสตร์ที่ปราศจากจินตนาการ-ความคิดฝัน และมันไม่มีศิลปะที่ปราศจากความจริง"

(*)Vladimir Vladimirovich Nabokov (April 22 [O.S. April 10] 1899, Saint Petersburg - July 2, 1977, Montreux) was a multilingual Russian-American novelist and short story writer. Nabokov wrote his first nine novels in Russian, then rose to international prominence as a master English prose stylist.

จุดเริ่มต้นของวิทยาศาสตร์ต่างๆ
ภายใต้ขอบเขตเรื่องราวของวิทยาศาสตร์ สำหรับในบทความนี้จะให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องของฟิสิกส์ ซึ่งได้พัฒนามาในช่วงระหว่างไม่กี่ร้อยๆ ปี แต่อย่างไรก็ตาม ผู้อ่านจะต้องไม่ลืมว่า นักฟิสิกส์ในปัจจุบันได้สวมใส่เสื้อคลุมตัวหนึ่งที่ได้รับการส่งทอดลงมาจากยุคสมัยต่างๆ บรรดานักฟิสิกส์ก็คือตัวแทนยุคใหม่ของขนบประเพณีที่แตกต่างและโดดเด่นอันหนึ่ง ซึ่งย้อนกลับไปสู่นักวิทยาศาสตร์คนแรกๆ ที่เป็นพวกนักเทววิทยาคริสเตียน, นักปรัชญาธรรมชาติ, บรรดาพระนอกรีต, และหมอผีในยุคหินเก่า, บุคคลพิเศษเหล่านี้ได้มีส่วนช่วยสร้างหรือให้การสนับสนุนต่อการเติมแต่งแผ่นภาพอันไม่มีขอบเขตจำกัดของธรรมชาติ นักฟิสิกส์คนแรกน่าจะเป็นคนหนึ่งที่ค้นพบว่า เขาจะสร้างไฟขึ้นมาได้อย่างไร ?

ข้าพเจ้าเลือกฟิสิกส์ขึ้นมาโดยเฉพาะก็เพราะว่า ในศตวรรษนี้วิทยาศาสตร์เชิงวัตถุทั้งหมดต่างเรียนรู้ว่า พวกมันทอดสมอหรือยึดเหนี่ยวอยู่กับหินก้อนนี้ ส่วนวิชาเคมีก็เริ่มต้นขึ้นมาโดยการพยายามที่จะพิสูจน์และจำแนกธาตุแท้ต่างๆ, และมันได้กลับกลายไปเป็นการถูกละลายสู่กฎที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องของอะตอม ส่วนดาราศาสตร์เริ่มต้นขึ้นในฐานะที่เป็นความหลงใหลอันหนึ่งในความเคลื่อนไหวของสรวงสวรรค์ (ท้องฟ้า) และก้าวหน้าไปสู่การสืบสวนเข้าไปในเรื่องราวของการจัดระบบสุริยจักรวาล ทุกวันนี้ในการศึกษาเกี่ยวกับกาแลกซี่ต่างๆ นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ได้มีการพูดถึงกฎต่างๆ ที่ควบคุมพลังและวัตถุ จากการถือกำเนิดขึ้นของมันในศาสตร์ของการแบ่งแยกประเภทของพวกอริสโตเทเลี่ยน สำหรับชีววิทยา ได้วิวัฒน์ไปสู่การศึกษาเกี่ยวกบการปฏิสัมพันธ์กันทางฟิสิกส์ของอะตอมในชีววิทยาโมเลกุล, (molecularbiology), วิชาฟิสิกส์ ในระยะเริ่มต้นเป็นสาขาหนึ่งท่ามกลางสรรพศาสตร์จำนวนมาก แต่สำหรับในศตวรรษนี้ มันได้กลายมาเป็นศาสตร์ที่ได้รับการยกย่องอยู่บนบันลังค์ ในฐานะกษัตริย์แห่งวิทยาศาสตร์ (king of the sciences)

ทัศนศิลป์ แรกทีเดียวเกิดขึ้นก่อนภาษาและคำอธิบาย
ในกรณีของทัศนศิลป์ นอกเหนือจากความจริงอันกระจ่างแจ้ง ความจริงที่เลียนแบบและความจริงในทางการตีความแล้ว ก็ยังมีศิลปินอยู่ไม่มากนัก ที่ได้สร้างสรรค์ภาษาหนึ่งซึ่งเกี่ยวกับสัญลักษณ์สำหรับสิ่งต่างๆ เทียบเคียงกับ Sigmund Freud ใน Civilization and its Discontents (อารยธรรม และความไม่พอใจ) ได้เปรียบเทียบความก้าวหน้าของผู้คนทั้งหมดในอารยธรรมหนึ่งกับการพัฒนาของปัจเจกชน, ข้าพเจ้าเสนอว่า นวัตกรรมใหม่อย่างถึงรากของศิลปะปรากฏเป็นรูปร่างในขั้นตอนก่อนที่จะเป็นคำพูดเกี่ยวกับแนวความคิดใหม่ ซึ่งในท้ายที่สุดแล้ว จะเปลี่ยนแปลงไปสู่หนทางใหม่ๆ ที่จะคิดเกี่ยวกับความจริงว่า เริ่มต้นขึ้นด้วยการดูดซับจากภาพต่างๆ ที่ไม่คุ้นเคย, การตรวจทานอันนี้นำไปสู่ความคิดที่เป็นนามธรรมต่างๆ ซึ่งต่อมาภายหลังจึงให้กำเนิดในเรื่องของ"ภาษา"และ"คำอธิบาย"

ยกตัวอย่างเช่น ลองสังเกตเด็กทารกบางคนที่เอาชนะสภาพแวดล้อมต่างๆ ของพวกเขา ยาวนานก่อนที่จะมีคำพูดเกิดขึ้นมา เด็กเล็กๆ ได้พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ของขวดนมใบหนึ่งกับความรู้สึกพึงพอใจ อย่างค่อยเป็นค่อยไป เด็กเล็กๆ ได้สะสมภาพลักษณ์ของขวดนมต่างๆ อย่างหลากหลาย อันนี้เป็นความสามารถที่น่างงงวยเกี่ยวกับว่า ขวดนมใบหนึ่งเมื่อมองจากมุมมองที่ต่างกัน มันจะเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปอย่างน่าทึ่งทีเดียว จากรูปทรงกระบอก สู่รูปไข่ และสู่รูปทรงกลม. ในการสังเคราะห์ภาพต่างๆ เหล่านี้ ความสามารถทั้งหลายเชิงมโนคติ(concept)ที่เกิดขึ้นของเด็กได้ประดิษฐ์ภาพนามธรรมขึ้นมาภาพหนึ่ง ซึ่งโอบล้อมความคิดหรือไอเดียเกี่ยวกับกลุ่มก้อนทั้งหมดของวัตถุต่างๆ เอาไว้ ที่เขาหรือเธอจะจดจำมันได้ต่อไปภายภาคหน้าว่าเป็นขวดนม. ขั้นตอนอันนี้ในความเป็นนามธรรม ได้ยอมให้เด็กทารกเข้าใจความนึกคิดเกี่ยวกับความเป็นขวดนม ซึ่งยังคงไม่มีภาษา, แต่เด็กทารกสามารถมีความปรารถนาในเชิงสัญลักษณ์อย่างมีเจตจำนงได้

คำพูดเข้ามาแทนที่ภาพ
ต่อจากนั้น ส่วนของสมองที่เรียกว่า Broca's area ได้มีการเชื่อมต่อกันระหว่างแกนประสาทต่างๆ ซึ่งได้บรรลุถึงการวิเคราะห์ทางด้านตัวเลข มันได้เปิดสวิทชอย่างรวดเร็วให้สว่างขึ้นโดยทันใดด้วยพลังอันวิเศษของภาษา โรงงานผลิตคำอันนี้ มันดังชึกชักตลอด (คล้ายเสียงเครื่องจักร) ให้กำเนิดเสียงต่างๆ ซึ่งจะแทนที่และเข้ามาบดบังภาพทั้งหลายในช่วงต้นๆ ในทันทีที่เด็กๆ เริ่มเชื่อมโยง "ภาพลักษณ์ของขวดนม" กับคำว่า "ขวดนม". คำๆ นั้นก็จะเริ่มบดบังหรือปกคลุมภาพนั้น

อันนี้มากเท่าๆ กันกับพวกผู้ใหญ่ พวกเรามักจะไม่ใคร่ทราบว่า เมื่อเราเข้าไปผูกมัดกับความคิดที่เป็นนามธรรม เรามิได้คิดในหนทางของความเป็นภาพแต่อย่างใด แนวความคิดต่างๆ อย่างเช่น "ความยุติธรรม", "เสรีภาพ", หรือ "เศรษฐศาสตร์", อาจถูกนำมาคิดอย่างถี่ถ้วนในใจโดยปราศจากการพึ่งพาอาศัยภาพในใจใดๆ (mental picture) ขณะที่มันไม่เคยมีการลงมติกันอย่างถึงที่สุดระหว่างคำพูดและภาพ เราเป็นสิ่งที่มีชีวิตเผ่าพันธุ์หนึ่งที่ต้องขึ้นอยู่กับความเป็นนามธรรมของภาษา และส่วนใหญ่แล้วในท้ายที่สุด คำพูดก็จะเข้ามาแทนที่ภาพต่างๆ

เมื่อเราครุ่นคิด ไตร่ตรอง หวนรำลึก รำพึงรำพัน และจินตนาการ โดยทั่วไปแล้วเรากลับคืนสู่วิธีการที่เป็นเรื่องภาพ (ซึ่งมองเห็นได้ในใจ) แต่เพื่อที่จะดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จในหน้าที่อันสูงสุดของสมอง ความคิดที่เป็นนามธรรม เราได้ละทิ้งประโยชน์ของภาพลักษณ์ต่างๆ ไป และสามารถที่จะดำเนินการโดยปราศจากการพึ่งพาอาศัยพวกมันอีก ด้วยความถูกต้อง เราเรียกแบบฉบับนี้ทางความคิดว่าความเป็น "นามธรรม" (abstract) อันนี้เป็นความมีอำนาจและการกดขี่หรือความเป็นเผด็จการของภาษา เพื่อที่จะติดป้ายชื่ออันหนึ่งกับบางสิ่งบางอย่าง และนี่คือการเริ่มต้นเกี่ยวกับการควบคุมเหนือสิ่งนั้น

พระผู้เป็นเจ้าทรงสอนอดัมเพียงอย่างเดียว คือ การตั้งชื่อ
หลังจากที่พระผู้เป็นเจ้าได้สร้างสรรค์อดัมขึ้นมาแล้ว ภาระหน้าที่ประการแรกสุดของพระองค์ก็คือ จะต้องสั่งสอนอดัมให้ทำการเรียกชื่อบรรดาสัตว์ทั้งหมด พระผู้เป็นเจ้าทรงสอนอดัมจนเขาได้บรรลุถึงความชำนาญและความคล่องแคล่วอันนี้ และอดัมก็บรรลุถึงอำนาจการครอบงำเหนือสัตว์ป่าทั้งปวง รวมทั้งสัตว์ปีกทั้งหมด. ขอให้หมายเหตุลงไปด้วยว่า พระผู้เป็นเจ้ามิได้สั่งสอนอะไรแก่อดัมเลยที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์ ดังเช่นเรื่องจะสร้างไฟขึ้นมาได้อย่างไร หรือวิธีการประดิษฐ์คิดสร้างหอก หรือหลาวขึ้นมาสักอันหนึ่ง? พระองค์ทรงสอนเขาให้เอ่ยชื่อแทน, คำพูดต่างๆ, ยิ่งกว่าความเข้มแข็งหรือความเร็ว, คำพูดได้กลายเป็นอาวุธต่างๆ ที่มนุษย์ได้นำมาใช้เพื่อทำให้ธรรมชาติเชื่องลง และถูกกดข่ม

ใครคือผู้สร้างสรรค์จินตนาการที่มาก่อนภาษา หรือคำอธิบาย
เป็นเพราะว่ากระบวนการกัดเซาะเกี่ยวกับภาพต่างๆ โดยคำพูดนั้น เกิดขึ้นมานับตั้งแต่ยุคต้นๆ เลยทีเดียว พวกเราลืมไปว่าเพื่อที่จะเรียนรู้บางสิ่งใหม่ๆ อย่างถึงราก อันดับแรกเราต้องการที่จะจินตนาการถึงมัน. คำว่า "จินตนาการ" อันที่จริงหมายถึง "การสร้างภาพ" (make an image) พยานหลักฐานของการแสดงออกต่างๆ ที่พวกเราใช้ ถูกใช้เมื่อต้องต่อสู้กับไอเดียหรือความคิดใหม่อันหนึ่ง เช่น "ข้าพเจ้าไม่สามารถสร้างภาพมันขึ้นมาได้", "ขอให้ข้าพเจ้าสร้างตุ๊กตา (แบบจำลอง) ในใจขึ้นมาอันหนึ่ง, และ "ข้าพเจ้าพยายามที่จะหลับตานึกถึงมัน" ถ้า, ดั่งที่ข้าพเจ้านำเสนอ, ภาระหน้าที่อันนี้เกี่ยวกับการจินตนาการ, ค่อนจะเป็นการชี้ขาดต่อพัฒนาการของเด็กทารกคนหนึ่ง และยังปรากฏอยู่ในอารยธรรมส่วนใหญ่ด้วย ถัดจากนั้นใครกันเล่าที่สร้างสรรค์จินตภาพใหม่ๆ ที่มาก่อนไอเดียหรือความคิดนามธรรมและภาษาที่ใช้ในการอธิบาย ? เขาผู้นั้นก็คือ "ศิลปิน" นั่นเอง

ในลำดับถัดไป ข้าพเจ้าจะแสดงให้เห็นถึงว่าทำอย่างไร ศิลปะที่มีลักษณะของการปฏิวัติ (revolutionary art) สามารถที่จะเข้าใจได้ในฐานะที่เป็นขั้นตอนก่อนที่จะมีคำพูด (preverbal stage) ของอารยธรรมหนึ่ง ซึ่งในตอนแรกต้องแข่งขันต่อสู้กับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในการรับรู้เกี่ยวกับโลก เพื่อที่จะเพิ่มเติมในรายละเอียดเกี่ยวกับบทสรุปนี้, ข้าพเจ้าจะตรวจสอบงานศิลปะ ไม่เพียงในแง่ของสุนทรีภาพเท่านั้น ที่สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับสายตาของเรา แต่จะตรวจค้นในแง่ที่มันเป็นระบบหนึ่งซึ่งคอยตักเตือนเรามาแต่เนิ่นๆ เกี่ยวกับความคิดที่รวบรวมกันขึ้นมาของสังคมหนึ่ง

ศิลปะที่ปรากฏต่อสายตา (visionary art) หรือทัศนศิลป์ มันปลุกเร้าสมาชิกคนอื่นๆ ให้ตื่นตัวอยู่เสมอว่า การเปลี่ยนแปลงทางแนวคิดนั้น เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในระบบความคิดที่ใช้ในการรับรู้โลก. John Russell (*) นักวิจารณ์ศิลปะคนหนึ่งให้ความเห็นว่า "มันมีพลังของการรู้เห็นและเข้าใจอันพิเศษ (clairvoyance ตาทิพย์) อยู่ในงานศิลปะ ซึ่งพลังอำนาจอันนั้นเรายังไม่ค้นพบชื่อ, และยังคงให้คำอธิบายมันได้น้อยมาก"

(*)John Russell Taylor (born June 19, 1935) is an English critic and author. He is the author of critical studies of British theatre; of critical biographies of such important figures in Anglo-American film as Alfred Hitchcock, Alec Guinness, Orson Welles, Vivien Leigh, and Ingrid Bergman; of Strangers in Paradise: The Hollywood Emigres 1933-1950 (1983); and some books on art.

ศิลปินล้ำหน้ามาก่อนนักฟิสิกส์
ทั้งๆ ที่แต่ละสาขาวิชาจะมีภาระความรับผิดชอบคล้ายๆ กัน แต่ในการมองเห็นของศิลปินนั้น มีลักษณะเหมือนกับจะเห็นเหตุการณ์ล่วงหน้าพิเศษ ซึ่งนำหน้ามาก่อนสมการต่างๆ ของนักฟิสิกส์ ศิลปินนั้นได้หลอมรวมอย่างลึกลับเข้าไปสู่ผลงานต่างๆ ของพวกเขา อันเป็นรูปลักษณ์ต่างๆ ของการอธิบายในเชิงฟิสิกส์ที่เกี่ยวกับโลก ซึ่งวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบต่อมาภายหลัง

ศิลปิน ด้วยความรับรู้แต่เพียงเล็กน้อย หรือไม่เคยรู้เลยเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังดำเนินไปในสาขาฟิสิกส์ เขาได้จัดการให้ภาพลักษณ์และอุปมาอุปมัยต่างๆ ที่เพ้อฝันให้ปรากฏตัวขึ้นมา ซึ่งมันเหมาะเจาะอย่างน่าตะลึง เมื่อมันเข้าไปเพิ่มเติมแก่โครงร่างความคิดในการปรับปรุงแก้ไขต่อมาของบรรดานักฟิสิกส์ทั้งหลาย เกี่ยวกับไอเดียความคิดต่างๆ ของเราในเรื่องของความเป็นจริงทางด้านฟิสิกส์ ซ้ำอีกครั้งที่ว่าตลอดประวัติศาสตร์ ศิลปินเป็นผู้ที่นำเสนอสัญลักษณ์ต่างๆ และภาพวาด ซึ่งในการหวนรำลึกได้พิสูจน์ถึงความเป็นกองหน้าอันหนึ่ง (an avant-garde) สำหรับแบบแผนโดยตลอดของยุควิทยาศาสตร์ที่ยังคงไม่เกิดขึ้น นักประวัติศาสตร์ศิลป์จำนวนเล็กน้อยได้สนทนากันถึงภาระหน้าที่อันเป็นปริศนาอันนี้ของศิลปะในเชิงลึก. Robert Hughes (*) นักวิจารณ์ศิลปะอีกคนหนึ่ง ได้อธิบายว่า ทำไมมันถึงถูกมองข้ามกันอยู่บ่อยๆ ดังนี้…

(*)Robert Studley Forrest Hughes AO, (born July 28, 1938), usually known as Robert Hughes, is an art critic, writer and television documentary maker. Hughes has lived in New York for over 30 years.

"สาระสำคัญของการสรรค์สร้างที่ล้ำหน้า (avant-garde myth) ก็คือ ศิลปินนั้นเปรียบเสมือนทหารกองหน้าคนหนึ่ง ผลงานศิลปะที่มีความสำคัญอย่างแท้จริง คือสิ่งหนึ่งที่เตรียมการถึงอนาคต จุดศูนย์รวมของขนบธรรมเนียมประเพณีทางด้านวัฒนธรรม. ในอีกด้านหนึ่ง มีแนวโน้มที่จะพิจารณาศิลปินปัจจุบัน (ศิลปินที่มีชีวิตอยู่) ในฐานะการบรรลุถึงจุดสุดยอดของอดีตด้วย"

บ่อยมากเช่นกัน เมื่อเวลาที่ได้อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับผลงานของศิลปินที่พิเศษบางคน พวกเรามักจะได้รับการบอกเล่าเกี่ยวกับสไตล์ต่างๆ ของอดีตที่ผ่านมา ที่ให้อิทธิพลกับผลงานของพวกเขา, เชื้อสายวงศ์วานของพวกเขา มีร่องรอยย้อนกลับไปสู่บรรดาศิลปินที่มีมาก่อนทั้งหลาย, และผลงานของพวกเขา แทบจะไม่ได้รับการอธิบายในแนวที่เกี่ยวกับการที่เขาเหล่านั้นได้คาดการณ์ล่วงหน้าถึงอนาคตเลย

ชิ้นส่วนขนาดใหญ่อันหนึ่งของสังคมปัจจุบัน ไม่อาจที่จะเข้าใจวิสัยทัศน์ของศิลปะ (art's vision) และไม่ได้ให้การพิจารณาถึงความสำคัญของศิลปะแต่ประการใด. Marshall Mcluhan, ในผลงานที่ทรงอิทธิพลของเขาเรื่อง "Understanding Media" ได้ตั้งคำถามว่า:

"ถ้ามนุษย์สามารถจะถูกทำให้เชื่อมั่นได้ว่า ศิลปะคือความรู้ที่ล้ำหน้าอย่างถูกต้องเกี่ยวกับการจัดการสิ่งที่จะตามมาในเชิงสังคม และจิตวิทยาของเทคโนโลยีในโอกาสต่อไป, พวกเขาจะกลายเป็นศิลปินได้ไหม? หรือพวกเขาจะเริ่มต้นแปรรูปแบบใหม่ๆ ของศิลปะอย่างระมัดระวัง ไปสู่แผนภูมินำร่องของสังคมได้ไหม? ข้าพเจ้ากระหายที่จะรู้ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้น ถ้าหากว่าศิลปะได้รับการมองเห็นอย่างฉับพลันว่ามันคืออะไร กล่าวคือ มันเป็นข่าวสารที่แน่นอนเกี่ยวกับว่าจะปรับปรุงจิตวิญญาณของคนๆ หนึ่งอย่างไร เพื่อที่จะคาดการณ์ล่วงหน้าถึงเหตุการณ์รุนแรงครั้งต่อไปจากความสามารถต่างๆ ที่ขยายกว้างออกไปของตัวเรา..."

ศิลปะที่มีลักษณะปฏิวัติ (revolutionary art) ในทุกยุคทุกสมัยได้รับใช้ภารกิจนี้เกี่ยวกับการเตรียมการถึงอนาคต ทั้งศิลปะและฟิสิกส์ต่างๆ ก็มีรูปแบบพิเศษเฉพาะเกี่ยวกับภาษาแต่ละอย่าง และต่างก็มีศัพท์เฉพาะพิเศษเกี่ยวกับสัญลักษณ์ทั้งหลาย ซึ่งได้ถูกนำมาใช้ในการสร้างประโยคที่แตกต่างกัน บริบททั้งมวล ที่มีลักษณะเฉพาะและแตกต่างไปมากของทั้งสองวิชานี้ ทำให้การเชื่อมต่อของมันกับภาษาในชีวิตประจำวันค่อนข้างสับสนเท่าๆ กัน แต่อย่างไรก็ตาม น่าเอาใจใส่ที่ว่า บ่อยมากแค่ไหนที่ศัพท์ต่างๆ ของวิชาหนึ่ง สามารถจะถูกนำมาใช้ได้กับแนวความคิดต่างๆ ของอีกวิชาหนึ่ง

ศัพท์แสงที่ใช้ร่วมกันในวิชาฟิสิกส์ และศิลปะ
ศัพท์คำว่า " Volume" (ปริมาตร) "space" (ระวางเนื้อที่ว่าง-พื้นที่-อวกาศ) "mass" (มวล) "force" (กำลัง) "light" (แสง) "color" (สี) "tension" (แรงดึง) "relationship" (ความสัมพันธ์) และ "density" (ความหนาแน่นมีปริมาตร) คือคำอธิบายต่างๆ เหล่านี้ ยังปรากฏอยู่บนกระดานดำของการบรรยายในชั้นเรียนแก่นักศึกษาใหม่สาขาวิชาฟิสิกส์. คำที่มาสนับสนุนความพยายามอันหลายหลากของทั้งสองวิชานี้ ซึ่งได้ช่วยเพิ่มเติมอารมณ์เกี่ยวกับความงดงามนี้ ได้แก่ ศัพท์คำว่า "symmetry" (ความสมมาตร) "beauty" (ความงาม) และ "aesthetics" (สุนทรียศาสตร์)

เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่เท่าเทียมกันในรูปที่เกี่ยวกับสูตรต่างๆ ของนักฟิสิกส์ เป็นอุปมาอุปมัยพื้นฐานอันหนึ่งที่ถูกนำมาใช้โดยบรรดาศิลปินเป็นจำนวนมาก ในขณะที่พวกนักฟิสิกส์แสดงให้เห็นว่า A เท่ากับ B หรือ X หรือเป็นอย่างเดียวกับ Y, บรรดาศิลปินก็มักจะเลือกเอาเครื่องหมาย, สัญลักษณ์ต่างๆ, และการเปรียบเทียบถึงความเท่ากันของภาพงานจิตรกรรมชิ้นหนึ่งกับลักษณะหนึ่งของประสบการณ์. เทคนิคของทั้งสองวิชานี้ ได้เผยให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ซ่อนเร้นที่มีอยู่ก่อนแล้วอันนั้น

Niels Bohr (*) ผู้ก่อตั้งในวิชาควอนตัมฟิสิกส์, ได้รับความประหลาดใจมาก โดยความสัมพันธ์กันระหว่างฟิสิกส์กับภาษา และได้ให้ข้อสังเกตว่า…

(*)Niels Henrik David Bohr (October 7, 1885 - November 18, 1962) was a Danish physicist who made fundamental contributions to understanding atomic structure and quantum mechanics, for which he received the Nobel Prize in Physics in 1922. Bohr mentored and collaborated with many of the top physicists of the century at his institute in Copenhagen. He was also part of the team of physicists working on the Manhattan Project.

"หนึ่งในข้อสมมุติฐานพื้นฐานของวิทยาศาสตร์ที่ว่า เราพูดถึงเรื่องเกี่ยวกับการวัดค่าต่างๆ ในภาษาหนึ่ง ที่โดยพื้นฐานแล้วเป็นโครงสร้างอย่างเดียวกันกับสิ่งที่เราพูดถึงประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน พวกเราได้เรียนรู้ว่า ภาษาอันนี้ยังไม่เหมาะสมหรือสมบูรณ์มากพอที่จะใช้ในการสื่อสารและสร้างความเข้าใจ แต่อย่างไรก็ตาม มันเป็นการสมมุติของวิทยาศาสตร์ทั้งปวง... สำหรับเรา ถ้าต้องการที่จะพูดถึงบางสิ่งบางอย่างที่เกี่ยวกับธรรมชาติทั้งหมด และอะไรที่วิทยาศาสตร์พยายามที่จะทำ ด้วยเหตุผลบางประการ เราจักต้องผ่านจากสิ่งที่เป็นคณิตศาสตร์สู่ภาษาในชีวิตประจำวัน."

Vincent van Gogh ได้พูดถึงความเกี่ยวพันในทำนองเดียวกันนี้ เมื่ออยู่ในอารมณ์ที่ผิดหวัง เขาได้เขียนถึงน้องชายของเขา Theo เกี่ยวกับสิ่งที่เขาไม่สามารถที่จะพูดมันออกมาได้อย่างชัดเจนถึงความรู้สึกด้วยภาษาพูด "แน่นอน, เราสามารถจะพูดได้ก็เพียงแต่โดยผ่านงานจิตรกรรมต่างๆ ของของเราเท่านั้น"

ศิลปะที่มีลักษณะของการปฏิวัติ (revolutionary art) และฟิสิกส์เกี่ยวกับภาพทางสายตา (visionary physics) พยายามที่จะพูดถึงสสารต่างๆ ที่ยังไม่อาจมีคำพูดได้ นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไม ภาษาเหล่านั้นจึงถูกเข้าใจได้อย่างค่อนข้างยากเย็นเอามากๆ โดยผู้คนที่อยู่นอกขอบของวิชาการเหล่านี้ ทั้งนี้เพราะทั้งคู่ได้พูดถึงสิ่งที่จะมาถึงอย่างแน่นอน แต่อย่างไรก็ตาม มันเป็นภารกิจของเราก็จะเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจมัน

ในนิยายปรับปราโบราณเกี่ยวกับหอสูงแห่งบาเบล (Tower of Babel) (8), มนุษยชาติในช่วงต้นๆ พยายามที่จะร่วมมือกันครั้งใหญ่เพื่อบากบั่นสร้างหอสูงอันจะนำไปสู่สรวงสวรรค์. Yahweh (องค์พระผู้เป็นเจ้า), ทรงทอดพระเนตรลงมาจากหมู่เมฆ, พระองค์ทรงพิโรธมากกับการที่มนุษย์ซึ่งต้องตายมาแต่แรก คิดว่าพวกเขาสามารถที่จะบรรลุถึงความสำเร็จดุจพระเจ้าองค์หนึ่ง. โดยสรุป พระองค์ทรงบิดเบือนคำพูดของคนทำงานทุกคนให้ผสมปนเปและสับสน และทำให้สิ่งก่อสร้างนั้นหยุดชะงักลง

ประวัติศาสตร์ได้บันทึกเอาไว้ เกี่ยวกับการเริ่มต้นใหม่ด้วยการต่อสู้ดิ้นรนอย่างสุดความสามารถ และเป็นความพยายามอย่างช้าๆ ที่จะเอาชนะเพื่อนำพาไปสู่ความสำเร็จอย่างค่อยเป็นค่อยไป ความสงสัยแครงใจและความสับสน ได้รับการสนับสนุนโดยจำนวนภาษาท้องถิ่นต่างๆ ที่มีอยู่มากมาย. ปัจจุบันงานนี้ยังคงดำเนินต่อไป เป็นการสร้างสรรค์เกี่ยวกับเครือข่ายโลก ด้วยการติดต่อสื่อสารที่ขยายออกไปทั่วพิภพของบรรดาศิลปินต่างๆ และนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งถือว่าเป็นแถวหน้าของการประสานกันที่ได้ให้การรับรู้ต่างๆ เกี่ยวกับความจริงที่จะทำหน้าที่ลบรอยพรมแดนแห่งความเป็นชาติและภาษาต่างๆ ให้จางลง การประนีประนอมเกี่ยวกับความแตกต่างกันอย่างเด่นชัดระหว่างภาษาของมนุษย์ที่มีลักษณะเฉพาะพิเศษของทั้งสองเหล่านี้ (หมายถึง"ศิลปะ"และ"ฟิสิกส์") คือก้าวที่สำคัญอันดับต่อไปในการพัฒนาหอคอยแห่งบาเบลเดียวกัน

เรารู้จักโลกนี้กันอย่างไร ?
เพื่อทำความเข้าใจให้ดีขึ้นถึงความสัมพันธ์เชื่อมต่อระหว่าง"ศิลป"กับ"ฟิสิกส์" พวกเราจักต้องตั้งคำถามขึ้นมาแต่ต้นว่า "พวกเรารู้จักโลกนี้กันอย่างไร?" Plato ในงานเรื่อง Republic หรือ"อุตมรัฐ" ได้มีการเปรียบเทียบเกี่ยวกับภาพเงาบนผนังถ้ำอันมีชื่อเสียงของเขา โดยเสนอว่า พวกเราทั้งหมดคล้ายดั่งนักโทษที่ถูกพันธนาการอยู่กับผนังเตี้ยๆ ในถ้ำแห่งหนึ่ง ไม่สามารถที่จะพลิกตัวหรือหมุนตัวได้ และพวกเขาต่างเป็นพยานที่เห็นถึงกิจกรรมทั้งหลายของมนุษย์ ซึ่งมีพฤติกรรมเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของพวกเขาต่อหน้าไฟกองใหญ่. เนื่องจากการถูกคุมขังโดยโซ่ตรวน พวกเราจึงเห็นเพียงแค่รูปเงาที่สะท้อนจากแสงไฟของตัวเองเท่านั้น ผสมปนเปกัน ซึ่งได้ฉายเงามาทาทาบลงบนผนังด้านตรงข้าม. อุปกรณ์หรือเครื่องไม้เครื่องมือในการรับรู้ของเราบีบบังคับเราให้เชื่อถือภาพของสิ่งต่างๆ และผู้คนซึ่งโบกสะบัดไหวๆ ไปมาเหล่านี้ว่าเป็นความจริง และมันเป็นเพียงสิ่งที่มาจากข้อมูลขั้นที่สองที่พวกเราสามารถจะอนุมานถึงธรรมชาติของความเป็นจริงเท่านั้น

สองพันปีต่อมาหลังจาก Plato, Rene Descartes (*) ได้กล่าวซ้ำอีกครั้งหนึ่งถึงความแตกต่างกันอันนี้ระหว่างดวงตาภายในของจินตนาการ (Inner eye of imagination) กับโลกภายนอกของสิ่งต่างๆ (external of things) เขาได้แบ่งแยกจิตใจบริสุทธิ์ "ในที่นี้" เกี่ยวกับความสำนึกของเรา (res cogitans) จากโลกวัตถุวิสัย (objective world) ซึ่ง"อยู่ข้างนอกนั้น" (out there) (res extensa) และประกาศว่า ขอบเขตหรืออาณาจักรของทั้งสองนี้ (โลกภายในและโลกภายนอก) แบ่งแยกออกจากกันอย่างไม่อาจฝ่าฝืนได้

(*)Rene Descartes (March 31, 1596 - February 11, 1650), also known as Renatus Cartesius (latinized form), was a highly influential French philosopher, mathematician, scientist, and writer. He has been dubbed the "Father of Modern Philosophy," and much of subsequent Western philosophy is a response to his writings, which continue to be studied closely.

อะไรคือความจริง ความจริงคืออะไร ?
ในคริสต์ศตวรรษที่ 18, Immanuel Kant ได้สนับสนุนทรรศนะของ Plato และ Decartes เพิ่มขึ้นในงานเรื่อง Critique of Pure Reason. Kant ได้อ้างถึงว่า พวกเราทั้งหมดจักต้องมองออกไปยังความจริงโดยผ่านรอยร้าวแคบๆ เกี่ยวกับความรู้สึกของเรา, การขาดความสามารถของเราที่จะรู้จักโลกอย่างตรงไปตรงมา เป็นหนึ่งในศูนย์กลางของภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออกมากขึ้นซึ่งดำรงอยู่ อันนี้เขาสังเกตเห็นในเงื่อนไขของมนุษย์. ในงานที่ถือเป็นอนุสาวรีย์อีกชิ้นหนึ่งซึ่งตั้งชื่อไว้ว่า The World as Will and Representation (โลกในฐานะที่เป็นเจตจำนงและภาพแทน) Arthur Schopenhauer (*) ได้สรุปความคิดเห็นเกี่ยวกับปรัชญาอันนี้ในประโยคที่เปิดกว้างอย่างแหลมคมว่า "โลกนี้ก็คือความคิดของข้าพเจ้า" (The world is my idea).

(*)Arthur Schopenhauer (February 22, 1788 - September 21, 1860) was a German philosopher best known for his work The World as Will and Representation. Schopenhauer responded to and expanded upon Immanuel Kant's philosophy concerning the way in which we experience the world. His critique of Kant, his creative solutions to the problems of human experience, and his explication of the limits of human knowledge are among his most important achievements. His metaphysical theory is the foundation of his influential writings on psychology, aesthetics, ethics, and politics which influenced Friedrich Nietzsche, Wagner, Ludwig Wittgenstein, Sigmund Freud and others.

ความสามารถที่เรานำมาใช้ในการยึดฉวยธรรมชาติของ "สิ่งภายนอก" (Out there) ก็คือจินตนาการของเรานั่นเอง. บางที่มันจะอยู่ในเนื้อเยื่อของสมองเรา ซึ่งเราสร้างความจริงที่แบ่งแยกกันอันหนึ่ง ถูกสร้างสรรค์โดยความสำนึกที่ไม่ปรากฏเป็นรูปร่าง หรือในทางความคิด. ความจริงภายในอันนี้มิได้เชื่อมโยงกับพื้นที่ภายนอก และดำรงอยู่นอกเหนือจากลำดับการของเวลา. เมื่อเราหวนรำลึกถึงวันเวลาครั้งหนึ่งที่ริมชายหาด เราได้ถักทอเอาส่วนประกอบต่างๆ ของวันนั้นเข้าด้วยกัน ซึ่งมิได้ดำรงอยู่ "อย่างแท้จริง" อีกแล้ว. เราสามารถที่จะวิ่งไปสู่เหตุการณ์ข้างหน้าและย้อนหลังได้โดยง่าย พร้อมกับแก้ไขปรับปรุงด้วยการสลับปรับเปลี่ยนความเป็นไปได้ต่างๆ ในสิ่งที่เราเชื่อว่ามันได้เกิดขึ้น. มันเป็นทั้งสิ่งที่ผิดพลาดและลดทอนการรับรู้ของปัจเจกชน ซึ่งความจริงทางด้าน "ภววิสัย" ถูกมองเห็นโดยผ่านแว่นกรองหรือฟิลเตอร์ของอารมณ์ความรู้สึกของแต่ละบุคคล

ในเรื่องเล่าคลาสสิคของชาวญี่ปุ่นที่ชื่อว่า Rashomon (ราโชมอน) แต่ละคนในเรื่องต่างๆ ก็เชื่อมั่นเกี่ยวกับความจริงในเรื่องเล่าของตนและความสำนึก, ถ้าไม่เป็นเนื้อหาที่คล้ายคลึงกัน ก็เป็นแถวยาวของขบวนมดที่กำลังทำงาน ซึ่งจักต้องเคลื่อนย้ายชิ้นส่วนของโลกภายนอกทีละชิ้นอย่างยากลำบาก โดยผ่านโพรงใต้ดินของความรู้สึกต่างๆ ถัดจากนั้นก็สร้างมันขึ้นมาในใหม่ในบ้าน ทัศนภาพที่คล้ายกับภูติพรายภายในอันนี้ ได้เพิ่มเติม "ความคิดเห็นทางจิต" (mental opinion) รวมกันเป็นหนึ่ง สู่การรับรู้ของปัจเจกแต่ละคนเกี่ยวกับว่า "โลกนี้มันทำงานกันอย่างไร?"

จาก "ฉันทามติ" สู่ "กระบวนทัศน์" (ความจริงที่เปลี่ยนไป)
เมื่อมวลหมู่ผู้คนที่มีลักษณะของการวิพากษ์วิจารณ์ยอมรับข้อคิดเห็นอันหนึ่งแล้ว เราเรียกข้อตกลงที่เห็นด้วยอันนั้นว่า "ความคิดเห็นส่วนใหญ่ที่สอดคล้องกัน" (consensus - ฉันทามติ) กลุ่มความคิดเห็นที่สอดคล้องกันในบริบทของสังคม ได้นำเราไปสู่การสร้างพรรคการเมืองต่างๆ ขึ้น หรือลัทธิความเชื่อทางศาสนา และระบบทางเศรษฐกิจต่างๆ หุ่นจำลองแต่ละอย่างได้รับการวางรากฐานลงบนระบบความเชื่อที่ยอมรับกัน เมื่ออารยธรรมหนึ่งได้เคลื่อนคล้อยมาถึงความคิดเห็นที่ร่วมกันเกี่ยวกับว่า "โลกของเรานี้ทำงานอย่างไร?", ระบบความเชื่อก็จะได้รับการยกระดับขึ้นสู่สถานะอันสูงสุดให้เป็น "กระบวนทัศน์" (paradigm), หลักฐานหรือข้อสนับสนุนของพวกเขาจะปรากฏเป็นความแน่นอนที่ชัดเจนมาก ซึ่งจะไม่มีใครพิสูจน์มันอีกต่อไป ไม่มีการตั้งคำถามอีกอย่างเด็ดขาด, ข้อสมมุติต่างๆ เกี่ยวกับกระบวนทัศน์หรือ paradigm นั้นจะกลายเป็นหลักการพื้นฐานที่มาก่อน เช่น สองบวกสองมักจะเป็นสี่ และมุมฉากทุกมุมมักจะเท่ากันเสมอ สำหรับผู้ที่มีความเชื่อทั้งหลาย. สมมุติฐานอันนี้ได้สร้างฐานอันแน่นหนาหรือหมอนหินที่เกี่ยวข้อง "ความจริง" ขึ้น

"ความจริง" (truth) ได้รับการนิยามโดย Alfred North Whitehead (*) ว่า "คือความสอดคล้องของปรากฏการณ์กับความจริง" สิ่งที่ทำให้ฐานหินอันมั่นคงของความจริงต่างๆ ลื่นไถลก็คือทุกยุคทุกสมัย และทุกวัฒนธรรมได้นิยามความหมายข้อยืนยันอันนี้ในวิถีทางของมันเอง. เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนแปลงไป กระบวนทัศน์ หรือ paradigm หนึ่ง - ก็ละทิ้งฐานหินอันมั่นคงของความจริง และก็รับเอาฐานหินอีกอันหนึ่งมาใช้ - "ศิลปิน"และ"นักฟิสิกส์"น่าจะเป็นบุคคลที่อยู่แถวหน้าสุดสำหรับกิจกรรมนี้

(*)Alfred North Whitehead, OM (February 15, 1861, Ramsgate, Kent, England - December 30, 1947, Cambridge, Massachusetts, U.S.) was an English mathematician who became a philosopher. He wrote on algebra, logic, foundations of mathematics, philosophy of science, physics, metaphysics, and education. He coauthored the epochal Principia Mathematica with Bertrand Russell.

การประกบคู่ระหว่าง"ศิลป"กับ"ฟิสิกส์
คนบางคนอาจจะคัดค้านที่จะประกบคู่ระหว่าง"ศิลป"กับ"ฟิสิกส์", นับแต่การที่ศิลปินนั้น ไม่เพียงที่จะเกี่ยวข้องกับความจริงภายนอกเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับอาณาจักรภายในของอารมณ์ความรู้สึก, ความฝัน, ปกรณัมโบราณ, มายาคติ, และเรื่องของจิตวิญญาณด้วย. ส่วนวิชาฟิสิกส์พยายามหลีกเลี่ยงอย่างระมัดระวังคำพูดใดๆ ที่เกี่ยวกับความคิดภายในซึ่งสัมพันธ์เชื่อมต่อกับโลกภายนอก วิชาฟิสิกส์ผูกพันตัวของมันเองกับสังเวียนที่เป็นภววิสัยของความเคลื่อนไหว, สิ่งต่างๆ (วัตถุ), และพลังงาน ความแตกต่างที่ดูตรงข้ามกันนี้ระหว่าง"ศิลป"กับ"ฟิสิกส์" มันพร่ามัวในแสงสว่างของการเผยตัว ซึ่งถูกนำเสนอโดยนักควอนตัมฟิสิกส์ที่ปรากฏขึ้นมาจากการละลายของรูปการต่างๆ ของแสงที่ขัดแย้งหรือตรงกันข้ามกัน

ในปี ค.ศ. 1905 Albert Einstein เสนอว่า แสงสามารถดำรงอยู่ได้ในรูปทรงของอนุภาคอันหนึ่ง, นั่นคือ, เป็นชิ้นส่วนเล็กๆ ของบางสิ่งที่เรียกว่าโปรตอน, สำหรับตลอดระยะเวลาสองร้อยปี แสงได้รับการพิสูจน์โดยการทดลองว่าเป็นคลื่น, ข้อเสนอของ Einstein มีนัยยะว่าแสงมีธรรมชาติภายนอกที่ดูจะแตกต่างกันสองอย่าง กล่าวคือ มีแง่มุมที่ดูเหมือนกับคลื่น (wavelike) และอีกแง่มุมหนึ่งเหมือนกับอนุภาค (particlelike). เมื่อเวลาหมุนเวียนเปลี่ยนไปเป็นศตวรรษ, สิ่งที่เป็นรูปลักษณ์ซึ่งน่าประหลาดใจของความจริงเกี่ยวกับควอนตัมก็ได้เพิ่มพูนไปสู่บทกวีโกอานของเซน (Zenkoan) เงื่อนปมของจิตใจ (mind-knot) อันนี้ดูเหมือนว่าไม่อาจที่จะแก้ไขได้ ทั้งนี้เพราะกฎเกณฑ์ต่างๆ ของตรรกวิทยาแบบประเพณีไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับมันได้นั่นเอง

Theory of Complementarity
ในความเคลื่อนไหวอย่างกล้าหาญก้าวหนึ่ง Niels Bohr ได้สังเคราะห์แง่มุมต่างๆ ที่กลับค่าหรือตรงข้ามกันเหล่านี้ของแสง ในงานที่ว่าด้วยทฤษฎีเกี่ยวกับการเติมเต็มคู่ตรงข้ามให้สมบูรณ์ (theory of complementarity) ปี 1926 เริ่มต้นขึ้นด้วยคำพูดง่ายๆ ธรรมดา. Bohr กล่าวว่า แสงนั้นไม่ใช่เป็นคลื่นหรืออนุภาคอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่มันเป็นทั้งคลื่นและอนุภาคในเวลาเดียวกัน ความรู้เกี่ยวกับแง่มุมทั้งคู่ที่แตกต่างกันอย่างแท้จริงเหล่านี้ คือสิ่งจำเป็นสำหรับการอธิบายที่สมบูรณ์เกี่ยวกับแสง หากปราศจากสิ่งหนึ่งสิ่งใด อีกสิ่งก็จะไม่สมบูรณ์

ดั่งที่ปรากฏ แสงจะเผยให้เห็นธรรมชาติของมันเพียงด้านหนึ่งเท่านั้นในครั้งหนึ่งๆ เมื่อไรก็ตามที่นักวิทยาศาสตร์ได้เตรียมการทดลองเพื่อที่จะวัดคลื่นแสง การกระทำที่เป็นอัตวิสัยในการตัดสินใจเลือกเกี่ยวกับแผนการที่จะทำการวัด โดยการใช้วิธีการบางอย่าง จะมีผลกระทบต่อผลลัพธ์ที่ตามมา และแสงก็จะตอบสนองโดยแสดงออกมาในรูปแบบของคลื่น, ปรากฏการณ์อย่างเดียวกันจะเกิดขึ้นกับ เมื่อไรก็ตามที่นักวิทยาศาสตร์ได้เตรียมการที่จะวัดแสงออกมาในรูปของอนุภาคด้วยเช่นกัน, ดังนั้น "อัตวิสัย" (subjective) ซึ่งได้ถูกประณามจากวิทยาศาสตร์ทั้งปวง (แต่มันเป็นบ่อน้ำพุอันอุดมสมบูรณ์ของการสร้างสรรค์งานศิลปะ) จึงได้ถูกยอมรับเข้าไปสู่ป้อมปราการที่คอยพิทักษ์อย่างระมัดระวังของวิชาฟิสิกส์แบบคลาสสิค

โลกแบบทวินิยมไม่เหมาะสมอีกต่อไปแล้ว
Werner Heisenberg (*) ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมงานที่ใกล้ชิดของ Bohr กล่าวสนับสนุนเกี่ยวกับความคิดเห็นที่แปลกประหลาดอันนี้ว่า การแบ่งแยกโลกออกเป็นทวิลักษณ์ อัตวิสัยและภววิสัย (subject and object) โลกภายในและโลกภายนอก (Inner world and outer world) ร่างกายและวิญญาณ (body and soul) ไม่อาจที่จะเหมาะสมหรือทำได้อีกต่อไปแล้ว... วิทยาศาสตร์ธรรมชาติไม่อาจที่จะพูดถึงหรืออธิบายธรรมชาติกันอย่างง่ายๆ ได้ มันเป็นเรื่องของการมีบทบาทร่วมกันระหว่าง"ธรรมชาติ"และ"ตัวของเราเอง" ตามที่ฟิสิกส์สมัยใหม่ ที่ทำการสังเกตและตรวจสอบอย่างใดอย่างหนึ่งได้ถูกทำให้เชื่อมโยงกัน. อาณาเขตภายในของความคิดในเชิงอัตวิสัย (subjective thought) ปรากฏออกมาเป็นการเชื่อมต่อกันอย่างใกล้ชิดกับขอบเขตของโลกภายนอกของความเป็นจริงต่างๆ ทางภววิสัย (objective facts)

(*)Werner Karl Heisenberg (December 5, 1901 - February 1, 1976) was a celebrated German physicist and Nobel laureate, one of the founders of quantum mechanics and acknowledged to be one of the most important physicists of the twentieth century. Heisenberg was the head of the German nuclear energy project under the Nazi regime, though the nature of this project, and his work in this capacity, has been heavily debated. He is best-known for discovering one of the central principles of modern physics, the Heisenberg uncertainty principle, and for the development of quantum mechanics, for which he was awarded the Nobel Prize in Physics in 1932.

John Wheeler (*) หนึ่งในนักศึกษาของ Bohr ภายหลังต่อมาได้อธิบายความเป็นทวินิยม (duality) ของ Bohr และเสนอเรื่อง "จิตใจ"และ"จักรวาล" (Mind and Universe) เหมือนกับ"คลื่น"และ"อนุภาค", ได้สร้างคู่ประกอบที่เสริมกันให้สมบูรณ์ขึ้นมาอีกคู่หนึ่ง ทฤษฎีของ Wheeler เสนอถึงความเชื่อมโยงกันระหว่าง"อาณาเขตภายในของความสำนึก (Mind)" และ "ความสัมพันธ์กันของมันกับโลกภายนอกของผัสสะ (Universe) ตามทฤษฎีของ Wheeler "จิตใจ"และ"จักรวาล" (Mind and Universe) ได้ถูกหลอมรวมเป็นก้อนเดียวกันอย่างแยกไม่ออก

(*)John Archibald Wheeler (July 9, 1911 - April 13, 2008) was an eminent American theoretical physicist. One of the later collaborators of Albert Einstein, he tried to achieve Einstein's vision of a unified field theory. He is also known for having coined the terms black hole and wormhole and the phrase "it from bit".

จิตใจและจักรวาล : ศิลปะและฟิสิกส์
ในคัมภีร์ Talmud (ธรรมนูญศาสนาโบราณของชาวยิว) ได้แสดงถึงความสัมพันธ์ที่ละเอียดอ่อนอันนี้ในพระคัมภีร์เก่าทางศาสนาเรื่องหนึ่ง เกี่ยวกับการสนทนากันระหว่างพระผู้เป็นเจ้ากับอับราฮัม. พระผู้เป็นเจ้าทรงเริ่มต้นขึ้นด้วยการตรัสตำหนิอับราฮัมว่า "ถ้ามันไม่ใช่สำหรับฉันแล้วล่ะก็, เจ้าก็จะไม่มีอยู่" หลังจากชั่วขณะของการสะท้อนออกทางความคิด. อับราฮัมได้ตอบออกมาอย่างสุภาพอ่อนโยนว่า "ใช่ขอรับ, องค์พระผู้ประเสริฐ, และสำหรับอันนั้น ข้าพระองค์จึงรู้สึกซาบซึ้งเป็นยิ่งนัก และรู้สึกขอบพระคุณเหนือเกล้า แต่อย่างไรก็ตาม ถ้ามันไม่ใช่เพราะตัวข้าพระองค์แล้วล่ะก็ พระองค์ผู้สูงสุดก็จะไม่เป็นที่รู้จัก"

ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ในความลึกลับที่ยิ่งใหญ่ของจักรวาล ความสำนึกของมนุษย์สามารถที่จะตั้งคำถามต่อธรรมชาติ และคำตอบนั้นจะย้อนกลับมาเป็นสิ่งที่สามารถเข้าใจได้จริงๆ บางที ดั่งที่ Wheeler เสนอแนะ ทั้งสองคือ"จิตใจ"และ"จักรวาล" (Mind and Universe) เป็นแง่มุมธรรมดาง่ายๆ ของระบบที่เป็นคู่ (binary system). "ศิลป"และ"ฟิสิกส์" อาจถูกมองว่าเป็นก้ามปูคู่หนึ่ง "จิตใจ" (the Mind) สามารถนำมาใช้ยึดฉวยธรรมชาติเกี่ยวกับภาพลักษณ์ที่เสริมกันให้สมบูรณ์ของ Wheeler ได้, นั่นคือ "จักรวาล" (Universe)

Principle of Synchronicity
ในเวลาเดียวกัน นักฟิสิกส์ควอนตัมก็เริ่มที่จะดิ้นรนปลุกปล้ำกับทฤษฎีเกี่ยวกับการเสริมเติมเต็มให้สมบูรณ์ (theory of complementarily) ของ Bohr ซึ่งไม่ได้เป็นไปในลักษณะของวิทยาศาสตร์แบบคลาสสิค และดูเหมือนว่าจะมีพรมแดนที่ติดต่อกับเรื่องของจิตวิญญาณ. นักจิตวิทยาชาวสวิสส์ Carl Jung ได้ประกาศและทำการเผยแพร่ทฤษฎีของเขาเกี่ยวกับความสอดคล้องที่เป็นจังหวะเดียวกัน (theory of synchronicity) ซึ่งเป็นผลที่ตามมาภายในประสบการณ์ของมนุษย์ ที่คล้ายคลึงกับความคิดเรื่องควอนตัมของ Bohr, Jung ไม่ยอมรับคำสอนแบบจารีตเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเหตุและผล

เขาได้เสนอว่า เหตุการณ์ของมนุษย์ทั้งหมดมันผสมผสานกันบนผืนระนาบเดียวกัน ซึ่งพวกเรามิได้มีความเป็นส่วนตัวอย่างแจ่มชัด ดังนั้น นอกเหนือจากเหตุและผล (cause and effect) ที่ธรรมดาน่าเบื่อนี้แล้ว เหตุการณ์ของมนุษย์ได้ถูกนำไปร่วมกับมิติหนึ่งที่สูงขึ้นไป. หลักการเกี่ยวกับความสอดคล้องที่เป็นจังหวะเดียวกัน (principle of synchronicity) และการเสริมเติมเต็มให้สมบูรณ์ (complementarity) เป็นการเชื่อมต่อกันระหว่างดินแดนต่างๆ ที่แยกออกจากกันอย่างแท้จริงของ"โลกทางจิต"กับ"โลกทางกายภาพ" (psyche and physical world) ซึ่งได้นำมาใช้กับการเชื่อมโยงกันระหว่าง"ศิลป"กับ"ฟิสิกส์"ด้วย

Zeitgeist - the spirit of the time
ในภาษาเยอรมันได้หุ้มห่อไอเดียหรือความคิดนี้เข้าไว้ในคำว่า Zeitgeist (*) ซึ่งโชคไม่ดีที่ไม่มีคำในภาษาอังกฤษโดดๆ ที่มีความหมายเท่ากัน แต่ความหมายของมันก็คือ "จิตวิญญาณของห้วงเวลานั้น" (the spirit of the time) (the mind of the time) เมื่อการค้นพบต่างๆ ในขอบเขตที่ไม่สัมพันธ์กันเริ่มต้นปรากฏขึ้นในเวลาเดียวกันนั้น ราวกับว่ามันได้ถูกทำให้เชื่อมโยงกัน, แต่สายใยที่ผูกโยงมันต่างๆ มิได้เป็นไปตามเหตุปัจจัยอย่างชัดเจน, ถัดจากนั้น ผู้แสดงความคิดเห็นต่างๆ ได้อาศัยคำประกาศเกี่ยวกับการมีอยู่ของ a zeitgeist (the spirit of the time - จิตวิญญาณของห้วงเวลานั้น)

(*)Zeitgeist is originally a German expression that means "the spirit of the age", literally translated as time (Zeit), spirit (Geist) (Geist)". In some countries it has a different meaning; e.g. in the Netherlands Zeitgeist literally refers to; the mind of the time (tijdsgeest), and mind is understood as the mental spirit (state of mind). The word zeitgeist describes the intellectual and cultural climate of an era. In German, the word has more layers of meaning than the English translation, including the fact that Zeitgeist can only be observed for past events.

เดิมที ได้มีการใช้ทฤษฎีเกี่ยวกับการเสริมเติมเต็มกันให้สมบูรณ์ (theory of complementarily) เพื่อรวมเอาแง่มุมที่ตรงข้ามและข้อสรุปที่ดูเหมือนจะขัดแย้งของแสงเข้าไว้ด้วยกัน. Bohr ได้ดำเนินการสู่หลักการในทางปรัชญาของเขาให้กว้างขวางออกไป เพื่อรวมคู่ตรงข้ามอื่นๆ ด้วย. บทความชิ้นนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการเสริมเติมเต็มกันให้สมบูรณ์ของ"ศิลป"กับ"ฟิสิกส์" (the complementarity of art and physics) และหนทางที่ขอบเขตของความรู้ทั้งสองนี้เกี่ยวพันกันอย่างแนบชิด เพื่อก่อรูปโครงร่างตาข่ายบนสิ่งซึ่งพวกเราทั้งหมดสามารถที่จะปีนให้สูงขึ้นไปอีกนิด เพื่อที่จะสร้างภาพหรือทรรศนะของเราเกี่ยวกับความจริงเพิ่มมากขึ้น. การทำความเข้าใจการเชื่อมโยงกันอันนี้ จะยกระดับความซาบซึ้งของเราในเรื่องที่เกี่ยวกับความสำคัญมากๆ ของศิลปะ และลึกลงไปในความรู้สึกของเราเกี่ยวกับความประหวั่นพรั่นพรึง ต่อหน้าความคิดต่างๆ ของฟิสิกส์สมัยใหม่

"ศิลป"และ"ฟิสิกส์", คล้ายกับ"คลื่น"และ"อนุภาค" ต่างก็คือทวินิยมที่หลอมรวมกันเป็นก้อนๆ หนึ่ง มันเป็นความแตกต่างกันธรรมดาสองอย่าง แต่ก็เป็นด้านที่เสริมเติมเต็มให้กันอย่างสมบูรณ์ในคำอธิบายเกี่ยวกับโลก การหลอมรวมกันเป็นหนึ่งของศิลปะและฟิสิกส์จะให้กำเนิดหรือคลอดความรู้สึกรู้ทราบมากขึ้นในเชิงสังเคราะห์ ซึ่งเริ่มต้นด้วยความสงสัย แต่จบลงด้วยความมีสติปัญญา

ศิลปะนำหน้ามาก่อนการค้นพบทางด้านฟิสิกส์
ความสัมพันธ์กันระหว่างศิลปะของยุคสมัยหนึ่ง และวิชาฟิสิกส์ที่มาทีหลัง กลายเป็นสิ่งที่ชัดเจนมากขึ้น เมื่อเราตรวจสอบย้อนหลัง ขอให้เราลองหวนมองกลับไปยังสมัยคลาสิคกรีกทั้งหมด บางครั้ง ยุคสมัยอันเชื่องช้าดำรงอยู่หลายร้อยปี ส่วนยุคอื่นๆ อาจดำรงอยู่เพียงแค่ไม่กี่ทศวรรษเท่านั้น. ในศตวรรษนี้ เหตุการณ์ทั้งหลายบังเกิดขึ้นพร้อมๆ กันระหว่างศิลปะและฟิสิกส์ ซึ่งอันนี้มันเกิดขึ้นมาตั้งแต่เริ่มต้นทศวรรษแรกเลยทีเดียว ขอบเขตของความรู้ทั้งสองได้ระเบิดออกและแพร่กระจายเข้าไปสู่ทิศทางใหม่ๆ อย่างมากมาย

โดยทั่วไปแล้ว ศิลปะนั้นจะล่วงหน้ามาก่อนการปรับปรุงแก้ไขต่างๆ ทางด้านวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องราวของความจริง. โดยปกติ ภายหลังจากการพัฒนาปรับปรุงเหล่านี้แล้ว มันจะถูกนำเสนอในนิตยสารต่างๆ ทางวิชาการเกี่ยวกับฟิสิกส์ ศิลปินจะสร้างสรรค์จินตภาพต่างๆ ต่อไปซึ่งจะสอดคล้องกับความเข้าใจอย่างถ่องแท้เหล่านี้ แต่อย่างไรก็ตาม จากการสืบค้นชีวประวัติบุคคลจากจดหมายหลายฉบับของศิลปิน คำวิจารณ์และข้อคิดเห็น, การสนทนา, ได้เผยให้เห็นว่าบรรดาศิลปินทั้งหมดไม่เคยรับรู้เกี่ยวกับผลงานของพวกเขาเลยว่า สามารถจะได้รับการนำไปตีความและให้ความสว่างแก่ความเข้าใจอันลึกซึ้งของวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ ได้ ในเรื่องธรรมชาติของความจริง. บรรดาศิลปินยังคงสร้างงานกันต่อไปอย่างต่อเนื่องโดยลำพังด้วยอัจฉริยภาพของพวกเขา และได้คลอดเอาสัญลักษณ์ต่างๆ ออกมา ซึ่งได้ช่วยพวกที่เหลืออย่างพวกเรา(คือบรรดานักวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย) ได้ยึดจับความหมายเกี่ยวกับแนวความคิดใหม่ๆ พวกนั้น แม้ศิลปิน อาจไม่ได้บัญญัติสูตร หรือกำหนดอะไรขึ้นมาเป็นระบบในเชิงสติปัญญาเลยก็ตาม

หลักการเดียวกันนี้ถือว่าเป็นจริงด้วยในทางกลับกัน ในการค้นพบของนักฟิสิกส์ โดยปกติแล้วพวกเขาไม่ใคร่รู้อะไรเกี่ยวกับภาพเขียนต่างๆ ที่ทำมาก่อนล่วงหน้าโดยศิลปินทั้งหลาย แทบจะไม่เคยมีนักฟิสิกส์คนใด สนทนาถึงการก้าวหน้าอย่างสำคัญยิ่งในวิทยาศาสตร์ของพวกเขา โดยยอมรับศิลปินคนหนึ่งคนใดว่ามีอิทธิพล ซึ่งล่วงหน้ามาก่อนพวกเขา. ถึงอย่างไรก็ตาม มิตรภาพต่างๆ อย่างลึกซึ้งเป็นจำนวนมากตลอดมาในช่วงเวลาประวัติศาสตร์ระหว่าง "ศิลปิน" และ "นักวิทยาศาสตร์", ลักษณะของการปฏิวัติในศิลปะ และผลงานในวิชาฟิสิกส์ จะดูเหมือนแยกออกจากกันโดยเฉพาะ Picasso และ Einstein ผู้ซึ่งข้าพเจ้าจะแสดงให้เห็นถึงการมีส่วนในทัศนภาพร่วมกัน(ในบทความชิ้นต่อไป) ทั้งคู่ไม่เคยพบปะกันเลยหรือ แม้แต่จะแสดงให้เห็นว่าสนใจในงานของกันและกันแต่ประการใด

งานศิลปะของอารยธรรมตะวันตก
ผลงานทางด้านทัศนศิลป์นั้น ไม่ได้ดำรงอยู่อย่างเป็นอิสระจากดนตรี, การละคร, กวีนิพนธ์, วรรณคดี, ปรัชญา, และสถาปัตยกรรม, ข้าพเจ้าจะถักทอเส้นใยเหล่านี้เข้าไปในสิ่งทอหรือโครงสร้างของ thesis (ข้อสรุป) นี้อย่างเหมาะสม แต่อย่างไรก็ตาม สายใยทางความคิดที่เป็นแกนกลางในที่นี้คือ งานทางด้านทัศนศิลป์ของอารยธรรมตะวันตกถือเป็นฉากหลังของวิชาฟิสิกส์. กลุ่มด้ายที่พันกันอันนี้สามารถได้รับการคลี่คลายออกมา เพื่อตามแกะรอยย้อนกลับไปได้ โดยผ่านยุคสมัยยุคเมโสโปเตเมียโบราณ, อียิปต์, กรีก, และถัดจากนั้นคือโรม ตามลำดับ

สายใยทางความคิดนี้ ดูเหมือนจะถูกทำให้แตกออกในช่วงระหว่างภาวะการแตกตัวของยุคมืด (Dark Ages) แต่ในยุคแห่งค่ำคืนนั้น มันยังคงมีการปั่นด้ายหรือเส้นใยเหล่านี้ต่อมา ซึ่งเราไม่ได้สังเกตเห็นส่วนใหญ่ในยุโรป และได้ปรากฏตัวออกมาอีกครั้งในยุคกลาง (Middle Ages) จนกระทั่ง, คล้ายกับการเกิดขึ้นของนกฟินิคซ์ (phoenix คือ นกขนาดใหญ่ที่สวยงามในตำนาน มีอายุ 500-600 ปี มันเผาตัวเองให้ตาย และจากเถ้าถ่านนั้นมันจะกลับฟื้นคืนชีวิตได้อีก), มันได้ปรากฏขึ้นมาใหม่อีกครั้งด้วยความรุ่งโรจน์ในสมัยเรอเนสซองค์ วัฒนธรรมที่พวกเราเรียกว่าประเพณีแบบตะวันตก ต่อจากนั้น ได้แพร่กระจายคล้ายตาข่ายออกไปครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ อย่างกว้างขวาง จนกระทั่งโอบล้อมทั่วทั้งหมดของทวีปยุโรปและอเมริกา

ธาตุแท้ของสรรพสิ่งในจักรวาล
เพื่อที่จะสร้างสรรค์บริบทหนึ่งอันจะนำมาซึ่งการสนทนากันถึงผลงานส่วนตัวของศิลปินและสืบค้นดูว่าผลงานเหล่านี้ มันสัมพันธ์กันอย่างไรกับทฤษฎีต่างๆ ทางด้านฟิสิกส์ เราจะต้องเริ่มต้นขึ้นโดยย้อนกลับไปยังยุคกรีกโบราณ, ณ ที่แห่งนี้ ข้อสนับสนุนต่างๆ เป็นจำนวนมากเกี่ยวกับคุณค่าของเราในปัจจุบันและระบบความคิดได้ก่อกำเนิดขึ้น อันนี้ไม่เหมือนกับผู้ก่อตั้งที่ยิ่งใหญ่ทางด้านศาสนาสำคัญๆ ของโลก, บรรดานักคิดชาวกรีกในยุคแรกๆ นั้น เริ่มต้นการสืบสวนของพวกเขาโดยตั้งสมมุติฐานว่า "สิ่งทั้งมวล"(universe) อันประจักษ์แจ้งและหลากหลายนั้น เกิดขึ้นมาจากหลักการเดียวของจักรวาล (cosmic) ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้. แต่ละส่วน, (หน่วย), พยายามที่จะสืบเสาะร่องรอยย้อนประสบการณ์ทั้งหมดกลับไปยังธาตุแท้ดั้งเดิมอันหนึ่ง, ในช่วงราวๆ 580 ปีก่อนคริสตศักราช, Thales แห่ง Miletus (624 BC-ca. 546 BC) นักปรัชญาคนแรก, ประกาศว่าธาตุแท้ขั้นปฐมของสรรพสิ่งทั้งหมดก็คือ "น้ำ". ส่วน Heraclitus เกือบจะโดยทันทีที่แสดงความไม่เห็นด้วย, เขาประกาศว่าธาตุแท้ดั่งเดิมที่สุดนั้นคือ "ไฟ". และต่อมาไม่นาน เสียงของนักปราชญ์คนอื่นๆ ได้แสดงความเห็นของตนว่าคือ "อากาศ" และ"ดิน" ตามลำดับ

Empedocles (*) หนึ่งในผู้ทำการสังเคราะห์คนแรกเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ (ซึ่งอันนี้ ข้าพเจ้าใคร่จะเพิ่มเติมว่า เป็นคนแรกที่รู้จักการประนีประนอมด้วย) ได้เสนอว่า บางทีมันอาจจะไม่มีธาตุแท้อย่างหนึ่งอย่างใดโดดๆ ที่เป็นต้นกำเนิดของสรรพสิ่งหรือจักรวาล แต่ธาตุแท้ทั้งสี่อย่างนั่นแหละคือธาตุแท้ของสรรพสิ่ง (ดิน น้ำ ลม ไฟ) ถ้าหากว่ารากเหง้าของความจริงคือเนื้อแท้ที่แตกต่างกันทั้งสี่ ดังนั้นสิ่งที่ดำรงอยู่ทั้งหมดก็สามารถที่จะได้รับการอธิบายในฐานะที่เป็นการรวมกันบางอย่างของแบบหรือบล็อกของสิ่งสร้างพื้นฐาน (basic building blocks) อันได้แก่ ดิน, น้ำ, ลม, ไฟ.

(*)Empedocles (490-430 BC) was a Greek pre-Socratic philosopher and a citizen of Agrigentum, a Greek colony in Sicily. Empedocles' philosophy is best known for being the origin of the cosmogenic theory of the four classical elements. He also proposed powers called Love and Strife which would act as forces to bring about the mixture and separation of the elements. These physical speculations were part of a history of the universe which also dealt with the origin and development of life. Influenced by the Pythagoreans, he supported the doctrine of reincarnation. Some of Empedocles' work still survives today, more so than in the case of any other Presocratic philosopher. Empedocles' death was mythologized by ancient writers, and has been the subject of a number of literary treatments.

ความคิดนี้ดูเหมือนว่าจะสอดคล้องต้องตรงกับกลุ่มของนักปรัชญาทั้งหลายในยุคต้นๆ บางทีอาจเป็นเพราะว่าหมายเลข 4 มันปลุกเร้าความรู้สึกอันหนึ่งเกี่ยวกับการสร้างรากฐาน. ไม่ก็เป็นเพราะว่าเลข 4 มันเป็นจุดบนเส้นรอบวง, 4 มุมของพื้นที่สี่เหลี่ยม, หรือ 4 ขาของโต๊ะ, ซึ่งถือเป็นจำนวนตัวเลขพื้นฐานสำคัญ ที่เป็นความคาดหวังเกี่ยวกับความสมบูรณ์เบื้องต้นนั่นเอง

หนึ่งร้อยปีต่อมาหลังจาก Empedocles, อย่างไรก็ตาม Aristotle มิได้พึงพอใจทีเดียวนักกับโครงสร้างหรือแบบแผนอันนี้ เขาสังเกตเห็นว่า สรรพสิ่งที่อยู่บนโลกดำรงอยู่ในภาวะต่างๆ ที่แปรผันของความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และถกเถียงว่าบางสิ่งบางอย่างมันได้สูญสลายหายไป โดยอิทธิพลของแนวคิด Plato เกี่ยวกับอุดมคติอันหนึ่งที่เป็นนิรันดร์. Aristotle ได้ตั้งสมมุติฐานว่า นอกจากธาตุแท้ทั้ง 4 ที่นำเสนอโดย Empedocles มันจักต้องมีเนื้อแท้ที่ 5 หรือ quintessence นั่นคือธาตุที่คงที่และไม่มีการเปลี่ยนแปลง และด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งมันเกี่ยวโยงกับธาตุอื่นๆ ทั้ง 4 นับตั้งแต่ตำแหน่งของกลุ่มดาวบนฟากฟ้า ดูเหมือนว่ามันไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปเลยในเส้นทางอันผันแปรของดวงดาวที่เดินทางข้ามขอบฟ้า, เขาเสนอว่าธาตุ quintessence (ธาตุที่ 5) ได้รับการก่อตัวเป็นปัจจัยหรือเนื้อแท้ของดวงดาราต่างๆ

กาล อวกาศ พลังงาน และสสาร + แสง
ถึงแม้ว่าพวกเราจะทอดทิ้งความคิดเห็นที่ประหลาดต่างๆ ของกรีกในยุคต้นนี้ไปแล้วก็ตาม แต่ในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 แบบแผนของโบราณอันนี้ยังคงถูกเก็บรักษาเอาไว้เป็นความคุ้นเคยที่ลึกลับอันหนึ่ง ในกระบวนทัศน์ปัจจุบันของเรา พวกเรายังคงยอมรับโครงสร้างพื้นฐานทั้งสี่ของความจริงกันอยู่: นั่นคือ อวกาศ (space พื้นที่, ที่ว่าง), กาล(เวลา) (time), พลังงาน (energy), และวัตถุสสาร (matter)

ในการเฝ้าดูแสงสว่างจากดวงดาวทั้งหลาย, การคาดการณ์ของ Aristotle นั้นใกล้เคียงกับความจริงของวิชาฟิสิกส์ในคริสตวรรษที่ 20, ธาตุที่ 5 (quintessence) ที่เราได้เรียนรู้ มิใช่ดวงดาวต่างๆ แต่ค่อนข้างที่จะเป็น"แสง" อันนี้ดูเหมาะสมเหลือเกิน มันยากที่จะอธิบายและเป็นปริศนาอันลึกลับ. ธาตุที่ 5 นี้ทำให้เกิดความมหัศจรรย์และยำเกรงกันมาตลอดประวัติศาสตร์, ไม่ก็มันเป็นความน่าอัศจรรย์ของไฟ หรือเป็นรังสีที่ได้รับการบำรุงหล่อเลี้ยงมาจากดวงอาทิตย์ แสงสว่างในตัวของมันเอง และเกี่ยวกับตัวมันมักจะเป็นธาตุแท้ที่ดูลึกลับมากที่สุด

มันได้ถูกทำให้สอดคล้องและประสานกันไปกับตำแหน่งอันสำคัญในทุกๆ ศาสนาของโลก และการค้นพบต่างๆ ในวิชาฟิสิกส์สมัยใหม่ได้เผยให้เห็นว่า มันเป็นธรรมชาติที่เฉพาะพิเศษของ"แสง" ที่ถือกุญแจเพื่อไขปริศนาอันลึกลับเกี่ยวกับธาตุอื่นๆ อีก 4 อย่าง, ขอบเขตความรู้เกี่ยวกับกลศาสตร์ควอนตัมและทฤษฎีสัมพันธภาพ ทั้งคู่เกิดขึ้นมาจากคำถามที่ไม่มีข้อยุติเกี่ยวกับธรรมชาติของแสง. ยิ่งไปกว่านั้น Einstein ยังได้ค้นพบว่าความเร็วของแสงนั้นมีค่าตัวเลขที่คงที่และไม่เปลี่ยนแปลง. ในหนทางที่น่าประหลาดบางอย่าง แสงคือสิ่งที่เชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับอวกาศ (space), กาล (time), พลังงาน (energy), และวัตถุ (matter), สัญลักษณ์สำหรับความเร็วของแสงในวิชาฟิสิกส์คือ, c, ซึ่งได้แสดงบทบาทที่สำคัญอันหนึ่งในการเป็นกุญแจสมการที่เกี่ยวข้องกับธาตุอื่นๆ ทั้ง 4

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๐๓ กรกฎาคม ๒๕๕๑ : Release date 03 July 2008 : Copyleft by MNU.

Paul Gauguin เคยพูดเอาไว้ครั้งหนึ่งว่า "ศิลปินนั้น มีอยู่เพียงสองประเภทเท่านั้น กล่าวคือ ประเภทแรกเป็นพวกที่ชอบปฏิวัติ และประเภทที่สองเป็นพวกที่ชอบคัดลอกผลงานของคนอื่นมาเป็นของตน(plagiarists) ศิลปะประเภทที่จะนำมาพูดคุยในบทความชิ้นนี้จัด เป็นพวกปฏิวัติทั้งหลาย ทั้งนี้เพราะ มันเป็นผลงานของคนที่นำเอาความเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญมาสู่โลกทรรศน์ของอารยธรรม, และในหนทางที่ขนานกัน แม้ว่าพัฒนาการของฟิสิกส์ บ่อยครั้งมักจะขึ้นอยู่กับการสนับสนุนต่างๆ มากมายของผู้ทำงานที่เป็นคนซึ่งมีความคิดริเริ่มและเป็นผู้ที่อุทิศตนอย่างมาก แต่ก็มีโอกาสอันน้อยนิดเท่านั้นของประวัติศาสตร์ที่นักฟิสิกส์คนหนึ่ง จะมีความเข้าใจที่อยู่เหนือโลกแห่งเหตุผล ในฐานะที่เป็น เพลิงขนาดใหญ่ของความแจ่มแจ้ง ...

H