ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




04-07-2551 (1603)

ว่าด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับโลกมีชีวิต แนวคิดทฤษฎีกายา
จดหมายถึงวาเนสสา: โลกพิศวงแต่เดิมเป็นอย่างไร
?
พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ : นักแปลและนักวิชาการอิสระ
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทความนี้ แปลจาก ผลงานเขียนเกี่ยวกับโลกธรรมชาติอันงดงาม ชวนพิศวงของ Jeremy W. Hayward
เรื่อง Letters to Vanessa: On Love, Science and Awareness in an Enchanted World
สาระสำคัญของงานเขียนนี้ พยายามชี้ให้เห็นถึงโลกธรรมชาติอันมีชีวิตชีวา ตายลงได้อย่างไร?
แน่นอนด้านหนึ่งคือคำอธิบายโลกฟิสิกส์วิทยาศาสตร์ แต่มันมีอย่างอื่นที่ซับซ้อนมากกว่านั้น
งานเขียนอันงดงามอธิบายโลกมีชีวิตนี้ ได้แสดงออกผ่านงานเขียนในรูปจดหมาย และใช้ภาษาที่เรียบง่าย
ทำให้เราหันกลับมาทบทวนกับความเชื่อ คำอธิบายที่เราได้รับจากโรงเรียน และกระบวนทัศน์แบบยุคสว่าง
สู่การภาวนา และตรวจดูจิตใจภายใน

บทความก่อนหน้านี้ที่เกี่ยวเนื่อง
1448. โลกตายหรือโลกเป็น: อำนาจของฟิสิกส์กับความดิบงามของธรรมชาติ
1450. Enchanted World: โลกที่มีชีวิตอันชวนพิศวง โลกที่มีวิญญาน

midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา

ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๖๐๓
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๐๔ กรกฎาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๓ หน้ากระดาษ A4)


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ว่าด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับโลกมีชีวิต แนวคิดทฤษฎีกายา
จดหมายถึงวาเนสสา: โลกพิศวงแต่เดิมเป็นอย่างไร
?
พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ : นักแปลและนักวิชาการอิสระ
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทความก่อนหน้านี้ที่เกี่ยวเนื่อง
1448. โลกตายหรือโลกเป็น: อำนาจของฟิสิกส์กับความดิบงามของธรรมชาติ
1450. Enchanted World: โลกที่มีชีวิตอันชวนพิศวง โลกที่มีวิญญาน

จดหมายฉบับที่ 4
โลกพิศวงแต่เดิมเป็นอย่างไร?

วาเนสสาลูกรัก
วันนี้พ่อจะเขียนสั้น ๆ เพื่ออธิบายว่าเหตุใดเราจึงหลงลืมโลกพิศวงของเราไป ลูกคงไม่รังเกียจที่พ่อจะพูดถึงประวัติศาสตร์บางส่วน มันเป็นเรื่องราวที่สลับซับซ้อน และพ่อคงเล่าเฉพาะใจความสำคัญ แต่หวังว่าลูกคงไม่เบื่อเสียก่อนเพราะเป็นความรู้ที่สำคัญมาก บางครั้งเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่เราจะค้นหาว่าเหตุใดเราจึงเชื่อในบางสิ่ง

มีบ้างไหมที่ลูกพบว่าตัวเองไม่ชอบใครบางคนเอาเสียเลย? ลูกก็จะรังเกียจเขาต่อไป เที่ยวนินทาเขาให้เพื่อนๆ ฟัง จนกระทั่งวันหนึ่งมีคนมาบอกกับลูกว่าคนๆ นี้แท้จริงแล้วเป็นอย่างไร มันทำให้ลูกครุ่นคิด "เอ๊ะ ทำไมฉันถึงเกลียดคน ๆ นั้นมากเสียอย่างนั้นล่ะ?" และลูกเองก็จำไม่ได้ว่าทำไม ลูกก็เลยหันมาทบทวนประวัติศาสตร์ส่วนตัวของลูกเอง พยายามจะระลึกถึงสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างลูกกับเขา และสาเหตุที่ทำให้ลูกไม่ชอบเขา สุดท้ายลูกก็จำได้ และคิดได้ว่าเหตุที่ทำให้เกลียดเขา ช่างเป็นเรื่องเล็กน้อยและโง่เขลาเหลือเกิน และอันที่จริงลูกเองก็ไม่ได้เกลียดคน ๆ นั้นอย่างเข้าไส้ และลูกก็รู้สึกเบาใจอย่างมากที่ไม่ต้องแบกอารมณ์ความรู้สึกเกลียดคน ๆ นั้นอีกต่อไป มันก็เหมือนกับความเชื่อในวิทยาศาสตร์ เมื่อลูกรู้ว่าเหตุใดลูกจึงเชื่อในสิ่งนั้น ลูกอาจรู้สึกว่าลูกไม่ต้องเชื่อในสิ่งนั้นอีกต่อไป เช่นเดียวกับการที่ลูกไม่ต้องแบกรับอารมณ์เกลียดคนอื่นอีกต่อไป

ในศตวรรษที่ 16 ได้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่นำไปสู่สิ่งที่เราเรียกว่า การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ซึ่งพัฒนาไปสู่โลกทัศน์แบบ "สมัยใหม่และก้าวหน้า" แนวคิดจากยุคปฏิวัติวิทยาศาสตร์ที่มีอิทธิพลในทางลบมากที่สุดต่อชีวิตเราในปัจจุบันคือ ความคิดที่ว่า "ไม่มีจิตอยู่ในจักรวาลนอกจากจิตเล็ก ๆ ที่อยู่ในสมองเราแต่ละคน" และนี่เป็นแนวคิดของ "การสร้าง" ที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อมั่นอย่างหนักแน่นและยึดถือราวกับเป็นศาสนา ลองดูกันว่าความคิดเช่นนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร แล้วจิตและชีวิตได้ถูกแยกออกจากโลกทีละน้อยอย่างไร จากนั้นเราจะสามารถปลดปล่อยตนเองเพื่อจะทำความเข้าใจว่าจิตในรูปของการรับรู้และความรู้สึก และกระทั่งการคิดสามารถเติมเต็มจักรวาลได้ และไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน

ในจดหมายฉบับที่สอง พ่อเล่าให้ลูกฟังถึงโลกในยุโรปยุคกลาง และอธิบายว่ามีความคล้ายคลึงกับโลกในสังคมแบบจารีตอย่างไรบ้าง พ่อเล่าให้ฟังถึงองค์ความรู้ทาง"รสายนเวท"( alchemy - การเล่นแร่แปรธาตุ) ว่าด้วยวิญญาณแบบมีส่วนร่วม ว่าด้วยการกำธรอย่างสอดรับต่อกัน "เหมือนบนและเหมือนล่าง"

(*)alchemy - In the history of science, alchemy refers to both an early form of the investigation of nature and an early philosophical and spiritual discipline, both combining elements of chemistry, metallurgy, physics, medicine, astrology, semiotics, mysticism, spiritualism, and art all as parts of one greater force. Alchemy has been practiced in Mesopotamia, Ancient Egypt, Persia, India, Japan, Korea and China, in Classical Greece and Rome, in the Muslim civilizations, and then in Europe up to the 19th century-in a complex network of schools and philosophical systems spanning at least 2500 years.

ตลอดช่วงยุคกลาง มนุษย์ดำรงอยู่ในจักรวาลที่มีโลกเป็นศูนย์กลาง ไม่เคลื่อนหรือหมุนไปทางใด ประมาณปี ค.ศ.1250 โธมัส อไควนัส (Thomas Aquinas) ได้คิดค้นทฤษฎีซึ่งผสมผสานระหว่างหลักการของศาสนจักร กับทฤษฎีกรีกโบราณอันยอดเยี่ยม (ซึ่งถูกค้นพบเมื่อเร็ว ๆ นี้เอง) ที่ว่าด้วยธรรมชาติและการโคจรของดาวฤกษ์และดาวพระเคราะห์ ตอนนั้นมีการถกเถียงอย่างเผ็ดร้อนถึงทฤษฎีโบราณที่ขัดแย้งกับความเชื่อของศาสนจักร เรื่องเล่าของอไควนัสช่วยคลี่คลายความขัดแย้งนี้ และกลายเป็นความเชื่อที่สืบกันมาอีกหลายศตวรรษ

วาเนสสา ลูกลองจินตนาการและทำความรู้สึกถึงโลกที่มีดาวโลกเป็นศูนย์กลางสิ ดาวฤกษ์จะโคจรอยู่รอบดาวโลกที่ไม่เคลื่อนไหวได้อย่างไรและเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น? และดาวพระเคราะห์จะปรากฏอยู่ตามจุดต่าง ๆ บนท้องฟ้าที่แตกต่างกันในแต่ละค่ำคืนได้อย่างไร? ตามทฤษฎีของอไควนัส ดาวพระเคราะห์ที่มองเห็นทั้งห้า พระอาทิตย์ พระจันทร์และดาวฤกษ์ที่สมบูรณ์และไร้ตำหนิ จะโคจรรอบดาวโลกเป็นวงโคจรทั้งแปดที่มองไม่เห็น นอกจากวงโคจรทั้งแปดแล้ว ยังมีวงโคจรที่เก้าซึ่งทำให้ดาวอื่น ๆ โคจรรอบโลกในแต่ละวันด้วย ระบบวงโคจรดังกล่าวช่วยอธิบายการเคลื่อนตัวของดาวพระเคราะห์บนท้องฟ้าในตอนกลางคืน ซึ่งมีรายละเอียดที่ซับซ้อนกว่านั้นแต่เราจะไม่พูดถึง สุดท้ายยังมีวงโคจรที่สิบ ซึ่งเป็นที่อาศัยของพระเจ้าผู้สร้าง

แรงปรารถนาด้านจิตวิญญาณของมนุษย์และธรรมชาติทางกายภาพของจักรวาลได้รับการผสมผสานอย่างสอดคล้องกันในทฤษฎีนี้ การเดินทางของจิตวิญญาณจากดาวโลกไปสู่วงโคจรของสรวงสวรรค์เหนือโลก เป็นภาพของการเดินทางที่มีเทพยดาคอยนำทางไปจนถึงวงโคจรของพระจันทร์ พระอาทิตย์และดาวฤกษ์ต่าง ๆ ไปจนถึงวงโคจรที่สิบอันเป็นที่ ๆ พระผู้สร้างรอเราอยู่ ทั้งยังมีคำอธิบายอย่างสมบูรณ์ว่าเหตุใดและอย่างไรดาวพระเคราะห์ พระอาทิตย์ พระจันทร์และดาวฤกษ์จึงหมุนรอบดาวโลก กล่าวคือดาวทั้งหลายถูกผลักโดยเทพยดาผู้งามสง่าและทรงพลัง

ลองดูว่าโลกยุคกลางแตกสลายอย่างไร และโลกแบบที่เราเชื่อกันแบบปัจจุบันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร พ่อจะพูดถึงบทบาทของวิทยาศาสตร์ในที่นี้ด้วย แต่ลูกต้องจำไว้ว่ามันเป็นเรื่องราวที่สลับซับซ้อน มีปัจจัยเกี่ยวข้องมากมาย ซึ่งทำให้เกิดวิวัฒนาการของโลกสมัยใหม่

ในฤดูร้อนปี 1347 เรือสินค้าจากทะเลดำเป็นพาหะนำโรคร้ายที่เรียกกันว่า "กาฬมรณะ" (black death ไข้ร้ายแรงระบาดขึ้นในยุโรปเมื่อศตวรรษที่ ๑๔ แห่งคริสต์กาล)(*) มาสู่ยุโรป ในเวลาไม่ถึง 20 ปี ประชากรของยุโรปครึ่งหนึ่งเสียชีวิตจากกาฬโรค ชนบทพังพินาศ ความหวังและสวัสดิการด้านเศรษฐกิจที่เติบโตต้องพังทลายลงโดยฉับพลัน ประชาชนตกอยู่ใต้ความหวาดกลัวและไร้ความมั่นคง พวกเขารู้สึกว่าตัวเองตกอยู่ใต้เงื้อมมือของธรรมชาติ

(*)The Black Death, or the Black Plague, was one of the deadliest pandemics in human history, widely thought to have been caused by a bacterium named Yersinia pestis (Bubonic plague), but recently attributed by some to other diseases.

The pandemic is thought to have begun in Central Asia or India and spread to Europe during the 1340s. The total number of deaths worldwide is estimated at 75 million people; approximately 25-50 million of which occurred in Europe. The Black Death is estimated to have killed 30% to 60% of Europe's population. It may have reduced the world's population from an estimated 450 million to between 350 and 375 million in 1400.

ในอีกหนึ่งศตวรรษครึ่งหลังจากการระบาดของกาฬโรค จึงเป็นช่วงที่มนุษย์ตกอยู่ใต้ความกลัวและความหวาดระแวง พร้อม ๆ กับความเป็นปัจเจกนิยมที่เพิ่มมากขึ้น ศาสนจักรเห็นว่าอำนาจของตนเสื่อมลง และใช้วิธีการที่โหดเหี้ยมมากขึ้นเพื่อสถาปนาอำนาจตนเอง ในช่วงเวลานี้จนเข้าสู่ช่วงศตวรรษที่ 18 ประชาชนมากกว่า 1 ล้านคน (บางแห่งก็ว่ามากกว่า 5 ล้านคน) ถูกเผาทั้งเป็นเนื่องจากถูกกล่าวหาว่าเป็นพ่อมดหรือแม่มด. 80% ของผู้ที่ถูกเผาเป็นผู้หญิง ความผิดของพวกเขาคือการกระทำ "นอกรีต" หมายถึงว่าพวกเขาประกาศความเชื่อและประกอบพิธีกรรมซึ่งไม่เป็นไปตามหลักการที่ได้รับอนุญาตจากศาสนจักร

และบ่อยครั้งที่ความผิดเหล่านี้เป็นเรื่องที่กุขึ้นมาทั้งเพ พ่อมดหรือแม่มดเหล่านั้นส่วนใหญ่จะเป็นหมอพื้นบ้าน พ่อมดหรือแม่มด "ที่ดี" หมายถึงผู้ที่มีอำนาจและมีตัวยาในการรักษาที่ได้ผล แต่พวกเขากลับถูกสั่งประหารมากยิ่งกว่าพ่อมดหรือแม่มดหรือหมอกำมะลอ "ที่เลวร้าย" ในขณะเดียวกันพวกพระเองกลับใช้เวทมนต์แบบเดียวกับที่พ่อมดหมอผีใช้ การสังหารล้างเผ่าพันธุ์พ่อมดแม่มดจึงไม่ได้ตั้งอยู่บนฐานข้อเท็จจริงเลย เป็นเรื่องของการแสวงหาอำนาจแท้ ๆ ศาสนจักรต้องการทำลายใครก็ตามที่สามารถเข้าถึงอำนาจเหนือธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นโยคี หมอพื้นบ้าน นักเล่นแร่แปรธาตุต่าง ๆ ศาสนจักรประกาศตนเองเป็นสะพานที่ทอดไปสู่อำนาจเหนือธรรมชาติ เป็นหนทางรอดเพียงสายเดียว

บางทีลูกอาจได้เรียนจากโรงเรียนเกี่ยวกับจีโอดาร์โน บรูโน (Giordano Bruno) (*) ซึ่งเป็นวีรบุรุษคนหนึ่งในตำราฟิสิกส์ แต่เขาเองก็เป็นนักเล่นแร่แปรธาตุ มักพูดกันว่าเขาถูกเผาทั้งเป็นเพราะประกาศว่าจักรวาลไร้ขอบเขตจำกัด อันที่จริงเขาน่าจะถูกเผาเพราะความเชื่อว่าจิตอันไร้ขอบเขตจำกัดครอบคลุมจักรวาลอันไร้ขอบเขตจำกัด และการที่มนุษย์สามารถหยั่งรู้ถึงจิตอันไร้ขอบเขตจำกัดได้โดยตรง

(*)Giordano Bruno (1548, Nola - February 17, 1600, Rome) was an Italian philosopher, priest, cosmologist, and occultist. Bruno is known for his use and development of the art of memory, a mnemonic system based upon organized knowledge. He was also an early proponent of the idea of an infinite and homogeneous universe. Burnt at the stake as a heretic by the Roman Inquisition, Bruno is seen by some as the first "martyr for science."

ชนชั้นกลางยุคใหม่เริ่มเติบโตขึ้นตามเมืองต่าง ๆ พวกเขารู้ดีว่าการควบคุมธรรมชาติทำให้สามารถสร้างความสะดวกสบายในชีวิตโดยไม่ต้องไปรอชีวิตหลังความตาย แบบที่ศาสนจักรให้ความหวัง (พร้อม ๆ กับการสร้างนรกที่แท้จริงขึ้นมาในโลก) พวกเขาสนใจแต่การสะสมความมั่งคั่งด้านเศรษฐกิจและเสรีภาพส่วนบุคคล และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว พวกเขาเห็นความจำเป็นที่จะต้องใช้อำนาจและควบคุมธรรมชาติ การหลุดพ้นกลายเป็นเรื่องของฆราวาส และเงินตรามีคุณค่าเทียมเท่าความสำเร็จ

"ลืมทฤษฎีไปเสีย มองดูถึงเนื้อแท้การทำงานของสิ่งต่าง ๆ สิ ลืมอารมณ์ความรู้สึกและสิ่งที่เป็นนามธรรมทั้งหลาย จงยึดมั่นกับสิ่งที่เป็นจริง" (แนวคิดวัตถุนิยม) นั่นเป็นวลีที่พวกเขาเริ่มพูดในตอนนั้น และหลายคนยังคงขับขานวลีนั้นตราบจนปัจจุบัน แล้วความรู้สึกที่ผสมปนเป ขาดเหตุผล ซ้ำซ้อน ตรงข้าม เป็นสัญชาตญาณและขุ่นมัวที่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราล่ะ ? "จงหันมามองสิ่งที่เราสามารถรู้ได้ หมายถึงสิ่งที่เราสามารถวัดและคำนวณได้ ภาษาของเราจะเป็นภาษาของตัวเลขและคณิตศาสตร์เท่านั้น"

นับแต่เริ่มต้นในยุคนี้ วิทยาศาสตร์เชื่อมโยงอย่างมากกับพาณิชยกรรม ปัจเจกนิยมและการสะสมอำนาจและความมั่งคั่ง ราวกับเป็นการค้นหาธรรมชาติที่แท้จริงและความเป็นมนุษย์ พร้อม ๆ กับความหิวกระหายความมั่นคงและอำนาจ นักวิทยาศาสตร์ยึดถือการครอบงำเหนือธรรมชาติว่าเป็นเป้าหมายสูงสุดของการทำงาน ดังที่ผู้สถาปนาวิทยาศาสตร์ใหม่หรือปรัชญาธรรมชาติในยุคแรกคนหนึ่ง ได้แก่ ฟรานซิล เบคอน (Francis Bacon) (*) ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจน

(*)Francis Bacon, 1st Viscount St Alban (22 January 1561 - 9 April 1626) was an English philosopher, statesman, and essayist. He is also known as a catalyst of the scientific revolution. Bacon was knighted in 1603, created Baron Verulam in 1618, and created Viscount St Alban in 1621; without heirs, both peerages became extinct upon his death.

เบคอนยังประกาศว่าธรรมชาติควรจะถูก "ทรมาน" และมีการใช้ทัณฑ์ทรมานเพื่อบีบเอาความลับออกมาจากเธอ (เพราะเชื่อว่าธรรมชาติเป็นเพศหญิง) นี้เป็นสิ่งที่เขาอธิบายถึงอุดมคติใหม่ของ "การทดลอง" และเขาเขียนสิ่งนี้ขึ้นมาในช่วงที่มีการตามล่าพ่อมดหมอผี

การลดทอนคุณค่าของผู้หญิง ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ มีความเชื่อมโยงอย่างมากกับการควบคุมธรรมชาติและการแยกจิตออกจากกาย ถือกันว่ามนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของโลก ของธรรมชาติ ในขณะที่จิตวิญญาณของผู้ชายมาจากสรวงสวรรค์ ผู้หญิงจึงถูกมองว่าชั่วร้ายและเป็นเครื่องยั่วยวนผู้ชาย คนทรงเจ้าและผู้รู้ของศาสนาชาวบ้านในอดีตและโลกพิศวงเป็นผู้หญิง และจารีตพื้นบ้านมักเป็นสิ่งท้าทายต่อวิทยาศาสตร์ใหม่เช่นเดียวกับการท้าทายต่อศาสนจักร

ประเด็นสำคัญอีกอย่างหนึ่ง ของการที่จิตถูกตัดแยกออกจากจักรวาล จึงเป็นการลดทอนคุณค่าของร่างกาย ซึ่งนำไปสู่การแยกจิตออกจากกายอย่างสมบูรณ์ในที่สุด แต่ทุกอย่างล้วนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ทั้งนั้น. วาเนสสา การสร้างมนุษย์ผู้กดขี่และลดทอนคุณค่าร่างกายของตนเอง และในช่วงนั้นเป็นช่วงที่มองว่าผู้หญิงมีความใกล้เคียงกับสัตว์มากกว่า "ผู้ชาย". สัตว์, ผู้หญิง, และธรรมชาติทั้งหลายจึงต้องตกเป็น "ทาส" ของผู้ชาย ญาณทัศนะและความรู้สึกจะต้องตกเป็น "ทาส" ของเหตุผล

ความเกลียดชังต่อร่างกายเริ่มต้นจากที่ใด? การแบ่งแยกระหว่างจิตและกายเริ่มขึ้นในยุคกรีก เมื่อหลายร้อยปีก่อนคริสตกาล และสืบเนื่องมาจากความเชื่อทางศาสนาที่ปฏิเสธร่างกาย ซึ่งอย่างน้อยเริ่มจากยุคของนักบุญเซนต์ปอลซึ่งปฏิเสธร่างกาย และค้นพบสวรรค์จากสมองหรือเหตุผล แต่การแบ่งแยกดังกล่าวสมบูรณ์มากที่สุดในยุคของเรเน เดส์คาร์ต (Rene Descartes) (*) ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 ไม่นานก่อนที่ไอแซค นิวตัว (Isaac Newton) จะเกิดขึ้นมา

(*)Ren? Descartes (March 31, 1596 - February 11, 1650), also known as Renatus Cartesius (latinized form), was a highly influential French philosopher, mathematician, scientist, and writer. He has been dubbed the "Father of Modern Philosophy," and much of subsequent Western philosophy is a response to his writings, which continue to be studied closely. His influence in mathematics is also apparent, the Cartesian coordinate system that is used in plane geometry and algebra being named for him, and he was one of the key figures in the Scientific Revolution.

เดส์คาร์ตเชื่อว่า สิ่งเดียวที่เราแน่ใจได้มากที่สุดคือ เราสามารถคิด รู้ และเหนือสิ่งอื่นใด สงสัย แต่เราไม่อาจวางใจความรู้สึกของตัวเองได้ เราไม่อาจวางใจต่อสิ่งที่ร่างกายบอกกับเรา วิธีเดียวที่จะรู้จักโลกคือ การวัดและคำนวณ. โลกเป็นสิ่งที่เราต้องกระทำไม่ใช่สิ่งที่เราเพ่งพิจารณาเพียงอย่างเดียว การกระทำสำคัญกว่าการเป็นอยู่ เราต้องสงสัยในทุกสิ่งที่เรามีประสบการณ์โดยตรงผ่านความรู้สึก เดส์คาร์ตเชิดชูความสงสัยว่าเป็นวิธีการอันเลอเลิศ

จากจุดยืนแห่งความสงสัย เดส์คาร์ตแผ้วถางหนทางที่ทำให้มนุษย์ศึกษาจักรวาลราวกับจักรวาลไม่มีจิตของตนเอง เขาเองก็ต้องการทำให้ "ตัวเราเป็นนายเหนือและเป็นเจ้าของธรรมชาติ" เขาประกาศว่าจิต ตัวรู้ ตัวคิดของเราเป็นสิ่งที่แยกขาดจากจักรวาลที่เรารับรู้ผ่านความรู้สึก เป็นโลกของวัตถุล้วน ๆ โลกของวัตถุแทรกซึมไปทุกพื้นที่ ในขณะที่การคิดไม่ได้ขยายออกไปทุกพื้นที่เช่นนั้น โลกเป็น "สิ่งอื่น" ที่แยกขาดจากเรา เป็นเพียงวัตถุที่ปราศจากจิตใจและแยกขาดโดยสมบูรณ์จากเรา

เดส์คาร์ตเห็นว่าเฉพาะมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตที่สูงส่งกว่าในห่วงโซ่ของสิ่งมีชีวิตอันยิ่งใหญ่ อย่างเช่นเทพยดาเท่านั้น ที่มีความสามารถในการคิด รู้สึก หรือรู้ สิ่งมีชีวิตอื่นไม่ว่าจะเป็นพืชและสัตว์ไม่มีความคิดและไม่มีจิตแต่อย่างใด สิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงกลไกล้วน ๆ ถ้าเราเห็นสัตว์แสดงอาการตื่นเต้น แสดงความรัก หรือแสดงความเจ็บปวด นั่นเป็นเพียงผลจากการทำงานของกลไก และอันที่จริง สัตว์เหล่านั้นไม่รู้สึกรู้สาต่อสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นหรอก

เช่นเดียวกับร่างกายของสัตว์ ร่างกายของมนุษย์ก็เป็นเพียงกลไก ร่างกายเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสิ่งอื่นและตัวเราไม่ใช่ร่างกายของเรา เราสามารถรับรู้ร่างกายของเราได้ แต่ไม่สามารถมีอิทธิพลเหนือร่างกายได้ ความคิดเหล่านี้เกิดขึ้นจากเดส์คาร์ต แต่ลูกคงเห็นได้แล้วว่ามันมีอิทธิพลและเป็นต้นกำเนิดของทัศนะเกี่ยวกับกายและจิตในยุคใหม่ เดส์คาร์ตแยกจิตออกจากโลก และจัดให้อยู่ในอีกมิติหนึ่ง พระเจ้ายังคงสถิตอยู่เบื้องบน แต่ไม่มีอิทธิพลโดยตรงต่อปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในโลก

เดส์คาร์ตทิ้งมรดกความคิดในเรื่องโลกแห่งกลไก เป็นโลกของร่างกายและสิ่งที่เรารับรู้ให้กับเรา ทุกสิ่งเกิดขึ้นจากสสาร เป็นกลไก ปราศจากซึ่งการรับรู้หรือความรู้สึกโดยสิ้นเชิง โลกปราศจากคุณค่า ปราศจากเป้าหมาย เป็นสิ่งที่เราแสวงหาประโยชน์และควบคุมเพื่อความมั่นคงและผลกำไร เราสามารถแสวงหาอำนาจและเครื่องมือเพื่อครอบงำโลก เพื่อที่มนุษย์จะไม่ตกอยู่ใต้เงื้อมมือของธรรมชาติ

ทฤษฎีของเดส์คาร์ตสร้างผลกระทบอย่างมาก และเป็นการตัดแยกการรับรู้และความรู้สึกออกจากโลกกายภาพโดยสิ้นเชิง ก้าวกระโดดที่สำคัญซึ่งทำลายโลกพิศวงออกจากประสบการณ์ของเราคือ การทำลายความเชื่อที่ว่า โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาลมนุษย์ ลองดูว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง

ในปี 1543 โลกยุคกลางเริ่มเสื่อมสลายเมื่อ ท่านโคเปอร์นิคัส (Copernicus) (*) พระผู้มีนิสัยเงียบได้ตีพิมพ์หนังสือที่เสนอว่า โลกหมุนรอบพระอาทิตย์ ท่านโคเปอร์นิคัสทำข้อเสนอดังกล่าวเพราะมันทำให้การคำนวณตำแหน่งของดาวพระเคราะห์ง่ายขึ้น ท่านไม่มีเจตนาที่จะต่อต้านศาสนจักรแต่อย่างใด ท่านเขียนอย่างชัดเจนในหนังสือว่า ท่านไม่เชื่อเลยว่าโลกจะเคลื่อนที่ได้

(*)Nicolaus Copernicus (February 19, 1473 - May 24, 1543) was the first astronomer to formulate a scientifically based heliocentric cosmology (**) that displaced the Earth from the center of the universe. His epochal book, De revolutionibus orbium coelestium (On the Revolutions of the Celestial Spheres), is often regarded as the starting point of modern astronomy and the defining epiphany that began the Scientific Revolution.

(**) In astronomy, heliocentrism is the theory that the sun is at the center of the Solar System. The word came from the Greek. Historically, heliocentrism is opposed to geocentrism and currently to modern geocentrism, which places the earth at the center. (The distinction between the Solar System and the Universe was not clear until modern times, but extremely important relative to the controversy over cosmology and religion.) Although many early cosmologists such as Aristarchus speculated about the motion of the Earth around a stationary Sun, it was not until the 16th century that Copernicus presented a fully predictive mathematical model of a heliocentric system, which was later elaborated by Kepler and defended by Galileo, becoming the center of a major dispute.

หลังจากนั้นก็เป็น กาลิเลโอ (Galileo) ผู้มีบุคลิกดุดัน สง่างามและกล้าหาญ กาลิเลโอทราบข่าวการประดิษฐ์เครื่องมือที่ฮอลแลนด์ซึ่งเรียกว่า "เครื่องมอง" (Looker) ซึ่งสามารถขยายภาพวัตถุที่อยู่ห่างไกล ซึ่งในปัจจุบันเราเรียกว่ากล้องส่องทางไกล เขาจึงจัดทำกล้องส่องทางไกลและมองไปที่พระจันทร์ ซึ่งทำให้เขาประหลาดใจเพราะเขาเห็นหลุมบ่ออยู่บนดวงจันทร์ จากนั้นเขามองไปที่ดาวพฤหัส และพบว่าดาวพฤหัสมีดาวพระเคราะห์เล็ก ๆ หรือพระจันทร์เป็นบริวารอยู่ ซึ่งหมายถึงว่าดวงจันทร์ไม่ใช่ดาวทรงกลมที่ไร้ตำหนิ ดังที่อไควนัสเคยกล่าวไว้

เขาได้เรียกประชุมผู้ร่วมงานและประกาศว่า "ลองดูผ่านกล้องส่องทางไกลของผมสิ คุณจะเห็นว่าพระจันทร์ไม่ได้เป็นดาวทรงกลมที่ไร้ตำหนิ และดาวพฤหัสมีดวงจันทร์เป็นบริวารด้วย" เพื่อนร่วมงานบางคนบอกว่า "เราไม่จำเป็นต้องมองหรอก เรารู้อยู่แล้วว่าพระจันทร์นั้นงดงามไร้ตำหนิ และไม่มีหลุมบ่อ" คนอื่น ๆ ก็มองกล้องส่องทางไกลแต่ไม่ยอมเชื่อว่าพวกเขาเห็นหลุมบ่อบนดวงจันทร์ พวกเขาบอกว่ากล้องส่องทางไกลมีข้อบกพร่อง ศาสนจักรได้สั่งคุมขังกาลิเลโอข้อหาที่บอกว่าโลกเคลื่อนที่ได้ และพระจันทร์รวมทั้งดาวพระเคราะห์อื่น ๆ ไม่ได้เป็นดาวที่สมบูรณ์ไร้ตำหนิ

เป็นเรื่องน่าหัวเราะที่แม้กาลิเลโอจะมีความกล้าหาญท้าทายต่อความเชื่อแบบดั้งเดิม แต่นักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ที่เดินตามรอยเท้าของเขา กลับมีความคิดคับแคบเช่นเดียวกับเพื่อนร่วมงานของกาลิเลโอในตอนนั้น เมื่อมีคนชี้ให้เขาดูปรากฏการณ์บางอย่างซึ่งไม่สอดคล้องกับความเชื่อดั้งเดิมของพวกเขา ซึ่งเป็นความเชื่อของวิทยาศาสตร์ "สมัยใหม่" พวกเขาก็บอกเหมือนกันว่า "เราไม่ต้องมองหรอก เรารู้อยู่แล้วว่ามันไม่อาจเป็นจริงได้" ทุกวันนี้คงไม่มีใครถูกขังคุกถ้าแสดงความเห็นที่ค้านกับความเชื่อของผู้มีอำนาจ ซึ่งทำตัวเหมือนพระแห่งวิทยาศาสตร์ แต่ก็มีบางครั้งที่พวกเขาถูกขังไว้ในโรงพยาบาลโรคจิต ซึ่งมีความหมายแบบเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม เมื่อกาลิเลโอพยายามชี้แจงกับคนทั่วไปว่า คำอธิบายของโธมัส อไควนัสเกี่ยวกับการโคจรของสวรรค์เป็นเรื่องผิด พวกเขาก็ต้องหาคำอธิบายใหม่สำหรับการโคจรของดาวพระเคราะห์ และดูสิ ไอแซค นิวตัน (*) ผู้มีชื่อเสียงก็ออกมาเสนอทฤษฎีใหม่ เขาบอกว่า ไม่มีอะไรที่ผลักให้ดวงจันทร์โคจรรอบโลก และถ้าเราปล่อยให้ดวงจันทร์เคลื่อนที่โดยไม่มีแรงผลัก ไม่มีแรงเสียดทานที่จะลดทอนความเร็ว พระจันทร์ก็จะเคลื่อนที่ต่อไปและหลุดออกไปในจักรวาล สิ่งที่พระจันทร์ต้องการก็คือ แรงที่จะดึงพระจันทร์เอาไว้ให้หมุนอยู่รอบโลกได้

(*)Sir Isaac Newton, (4 January 1643 - 31 March 1727 [OS: 25 December 1642 - 20 March 1727]) was an English physicist, mathematician, astronomer, natural philosopher, alchemist and theologian. His Philosophiae Naturalis Principia Mathematica, published in 1687, is considered to be the most influential book in the history of science. In this work, Newton described universal gravitation and the three laws of motion, laying the groundwork for classical mechanics, which dominated the scientific view of the physical universe for the next three centuries and is the basis for modern engineering. Newton showed that the motions of objects on Earth and of celestial bodies are governed by the same set of natural laws by demonstrating the consistency between Kepler's laws of planetary motion and his theory of gravitation, thus removing the last doubts about heliocentrism and advancing the scientific revolution.

ความเฉลียวฉลาดของนิวตันคือ การรู้ได้ว่าพลังที่ดึงดวงจันทร์เข้าหาโลกเป็นพลังเดียวกับที่ดึงผลแอปเปิลหรือวัตถุใดก็ตามให้ตกลงสู่โลก เขาเรียกพลังนี้ว่า "แรงโน้มถ่วง" เขาคำนวณว่าเราสามารถพยากรณ์ความเร็วในการโคจรของดาวพระเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ หากดาวพระเคราะห์เหล่านี้โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยแรงดึงดูดที่เรียกว่าแรงโน้มถ่วง เราไม่ต้องใช้เทวดานางฟ้ามาผลักดาวพระเคราะห์เหล่านี้หรอก ขอบคุณ!

การค้นพบแรงโน้มถ่วงของนิวตัน ทำให้เกิดความตื่นเต้นของการค้นพบกฎธรรมชาติตามมา คนในสมัยนั้นคิดว่า นิวตันได้อธิบายถึงการโคจรของดาวพระเคราะห์รอบดวงอาทิตย์โดยไม่จำเป็นต้องอ้างอิงถึงจิต ความรู้สึก หรือจิตวิญญาณในโลกแต่อย่างใด พวกเขาจึงพยายามแสวงหากฎเกณฑ์เพื่ออธิบายสิ่งต่าง ๆ ในลักษณะเดียวกัน รวมทั้งการอธิบายพฤติกรรมมนุษย์

สุดท้ายพวกเขาก็ละทิ้งความเชื่อของตนเอง ไม่เพียงความเชื่อที่ว่ามีเทวดานางฟ้าคอยดันดาวพระเคราะห์เท่านั้น แต่เป็นการละทิ้งความเชื่อที่มีต่อเทวดานางฟ้าทั้งมวล การสัมพันธ์เชื่อมโยง การกำธรทั้งมวล และเหตุที่พวกเขาหยุดความเชื่อเช่นนั้น พวกเขาจึงไม่มีโอกาสเห็นเทวดานางฟ้าเหล่านี้อีก.... "เหมือนบนและเหมือนล่าง จึงเปลี่ยนไปเป็นข้างบนก็ส่วนข้างบน ข้างล่างก็ส่วนข้างล่าง ทั้งสองไม่มีโอกาสพบกันได้" และเมื่อเป้าหมายหลักเปลี่ยนเป็นการควบคุมเหนือธรรมชาติ สิ่งที่ "อยู่เหนือกว่า" ซึ่งในภาษาละตินจะเขียนว่า superstitio ซึ่งหมายถึง "การอยู่เบื้องบน" จึงกลายมาเป็นคำว่า superstition (ไสยเวท) และดังที่เรารู้กันในปัจจุบันว่าคำว่า ไสยเวท เป็นคำที่ดูถูก และหมายถึงการกระทำที่ "ไร้สาระ"

นิวตันเองเห็นว่าคำอธิบายของเขาเกี่ยวกับการโคจรของดาวพระเคราะห์เป็นความสำเร็จเล็ก ๆ น้อย ๆ และใช้เวลาที่เหลือของชีวิตเพื่อศึกษา"รสายนเวท"ต่อไป ซึ่งเป็นประเด็นที่ตำราเรียนส่วนใหญ่มองข้าม เขาเห็นว่า"รสายนเวท"มีความสำคัญมากยิ่งกว่าทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของเขา และปฏิเสธจะตีพิมพ์ผลงานด้าน"รสายนเวท" ทั้งนี้เพราะ เขาเห็นว่ามันอันตรายเกินไปสำหรับคนทั่วไป (สำหรับผู้ที่อ่านได้ ซึ่งในสมัยนั้นเป็นแค่คนกลุ่มน้อย) แต่เขายอมให้มีการตีพิมพ์ทฤษฎีแรงโน้มถ่วง เพราะเห็นว่ามันมีอันตรายน้อยกว่าหรือสำคัญน้อยกว่า

น่าสนใจว่าแนวคิดเรื่อง "ความวิปลาส" หรือความแปลกประหลาดจากคนอื่นก็เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ ความวิปลาสคือการเห็นความคล้ายคลึงซึ่งคนทั่วไปมองไม่เห็น ความวิปลาสหมายถึง "การอยู่นอกเหนือจิตใจตนเอง" การไปพ้นจากขอบเขตของผิวหนังไปสู่สิ่งแวดล้อม จนไม่มีการแบ่งแยกระหว่างตัวเรากับสิ่งแวดล้อม. ในวัฒนธรรมอื่น ๆ มักมีการยอมรับต่อสิ่งที่เราเรียกว่าความวิปลาส พฤติกรรมแปลก ๆ "การเห็นภาพหลอน" มักถือว่าเป็นสัญญาณของการพัฒนาอำนาจทางจิตวิญญาณและเวทมนต์ที่สูงขึ้น

แต่ในช่วงเวลาดังกล่าว มีการพัฒนาแนวคิดเรื่องความวิปลาสเพื่อใช้เป็นเหตุผลในการคุมขังคนอื่น อย่างเช่น ผู้เห็นเหตุการณ์ล่วงหน้าหรือผู้ที่ได้ยินเสียงต่าง ๆ ซึ่งประสบการณ์ของพวกเขาเป็นการท้าทายต่อปรัชญาใหม่ ที่เน้นการปฏิบัติและควบคุม นักประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์บางคนบอกว่า นิวตันเองก็กลายเป็นคนวิปลาสไป โดยประสบกับปัญหาด้านจิตใจในช่วงท้ายของอายุขัย เหตุใดพวกเขาจึงกล่าวเช่นนี้? ก็เป็นเพราะสิ่งที่นิวตันต้องการคือ การศึกษา"รสายนเวท"นะสิ!

ในจดหมายฉบับนี้ พ่ออยากชี้ให้เห็นว่าผู้ชายในยุโรปตอนเหนือ ได้ช่วยเหลือกันในการผลักดันความคิดที่แบ่งแยกจิต การรับรู้และความรู้สึกออกจากจักรวาลของเราอย่างไร และสิ่งนี้ได้กลายเป็นจักรวาลของเรา กลายเป็นโลกสมัยใหม่ การแบ่งแยกจิตออกจากจักรวาลได้รับแรงผลักดันบางส่วนจากการสังเกตโดยตรง และการสังเกตเชิงวิทยาศาสตร์ ศาสนจักรยังคงมีอิทธิพลในช่วงเวลานั้น เราอาจจะถูกเผาหรือถูกทรมานเพราะการแสดงความเห็นที่ค้านความเชื่อของศาสนจักร การแยกจิตและวิญญาณออกจากธรรมชาติ ทำให้นักวิทยาศาสตร์มีอิสระที่จะศึกษาธรรมชาติต่อไปโดยไม่ต้องกลัวการปราบปรามของศาสนจักร

เป็นเรื่องเหลือเชื่อที่แนวคิดสุดโต่งของคนแค่ไม่กี่คน สามารถเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทั้งระบบได้ และแนวคิดเหล่านี้ยังเป็นภาพสะท้อนและส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงที่อยู่ในช่วงเริ่มต้น มีการคัดกรองจนกลายเป็นแนวคิดกระแสหลักของมหาชนได้ แน่นอนว่า เรื่องราวเหล่านี้มีความซับซ้อนกว่านี้มาก มีตัวละครและโครงเรื่องรองอีกมาก แต่พ่อเพียงแต่ให้ภาพของเส้นสายโดยรวมกับลูก เมื่อรวมเส้นสายเหล่านี้เข้าด้วยกัน เราจะเห็นเมล็ดพันธุ์แห่งโลกสมัยใหม่

เดส์คาร์ตก็ดี กาลิเลโอ และนิวตันต่างเป็นคนที่เฉลียวฉลาด อย่าเข้าใจผิดว่าพ่อกำลังบอกว่าคนเหล่านี้เป็นคนโง่หรือมีเจตนาไม่ดี ภูมิปัญญาและความแจ่มชัดของท่านเหล่านี้ทำลายความเชื่อที่คับแคบและยึดมั่นอยู่กับผู้มีอำนาจ ทำลายการปฏิเสธที่จะมองโลกตามความเป็นจริง การคิดอย่างชัดเจนและการสังเกตธรรมชาติโดยตรง ทำให้พวกท่านสามารถสลายอำนาจจากศาสนจักรที่เป็นเผด็จการ และเป็นองค์กรที่ขาดซึ่งจิตวิญญาณอย่างแท้จริงมาเนิ่นนานแล้วทีละน้อย

อย่างไรก็ตาม แนวทางที่คนเหล่านี้และผู้ร่วมงานกำหนดขึ้น ได้เปลี่ยนให้โลกทั้งใบหันไปเชื่อในกฎแห่งกลไกที่คาดการณ์ได้ อย่างเช่น กฎแรงโน้มถ่วง ภูมิปัญญา และรูปทรงกลมอย่างสมบูรณ์ตามความคิดของอไควนัสเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นอีกต่อไป เพราะกฎของนิวตันช่วยอธิบายการโคจรของดาวพระเคราะห์ใหม่ พร้อมกันนั้น ก็มีการละทิ้งหลักการของไสยเวทที่ช่วยเหลือผู้คน การตอบสนองระหว่างร่างกายกับธรรมชาติ การรักษาด้วยการสัมผัสและอื่น ๆ ความคิดเหล่านี้ถูกละทิ้ง ไม่ได้เป็นเพราะนิวตันหรือใครพิสูจน์ว่ามันไม่ได้มีอยู่จริง เพียงแต่หลักการเหล่านี้ไม่สอดคล้องโดยสมบูรณ์กับโลกแห่งกลไกที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่ เป็นโลกที่พัฒนาขึ้นตามจินตนาการของนักวิทยาศาสตร์

หนึ่งศตวรรษหลังจากยุคนิวตัน แนวคิดที่ว่าทุกสิ่งเป็นเพียงระบบกลไกแผ่ขยายออกไปสู่ทุกปริมณฑลของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเมือง ทฤษฎีสังคม จิตวิทยา ชีววิทยา ฟิสิกส์ แพทยศาสตร์ สถาปัตยกรรม ศาสนา มนุษย์เชื่อมั่นหรืออย่างน้อยก็มีความหวังว่า ไม่ช้าไม่นาน กฎเกณฑ์ต่าง ๆ อย่างเช่น กฎแรงโน้มถ่วงของนิวตันจะถูกค้นพบและเป็นตัวกำหนดความเป็นไปของชีวิตมนุษย์ วิธีคิดเช่นนี้ยังคงเป็นวิธีคิดกระแสหลักตราบจนปัจจุบัน

จากระบบชีวิตที่สมบูรณ์และไร้ตำหนิ จักรวาลที่เราอาศัยอยู่กลายเป็นเพียงความว่างเปล่าที่ปราศจากชีวิต มีเพียงกลุ่มของสสารที่ปราศจากชีวิตอยู่ในนั้น เราไม่มีประสบการณ์ต่อจิตของจักรวาลอีกต่อไป และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเชื่อเช่นนั้น ทั้งนี้ตามโลกทัศน์ใหม่ที่ดูน่าตื่นใจแต่คับแคบเหลือเกิน

ครั้งหนึ่งพ่อเคยอธิบายให้ผู้อำนวยการสถาบันนิวเคลียร์ฟิสิกส์ที่สำคัญแห่งหนึ่งในเยอรมนีฟัง ถึงผลการวิจัยด้านลางสังหรณ์ซึ่งพ่อจะเล่าให้ฟังในจดหมายฉบับต่อ ๆ ไป. ในความเห็นของพ่อ การทดลองเหล่านั้นได้รับการจัดเตรียมเป็นอย่างดีและให้ผลที่ชัดเจน พ่อคุยให้สุภาพบุรุษท่านนี้ฟังว่า บางทีวิชาฟิสิกส์อาจจะนำการสังเกตในรูปแบบนี้เข้ามาปรับใช้ได้ ผู้อำนวยการเป็นผู้ที่มีเมตตาและดูเป็นมิตร และสนใจในการปฏิบัติภาวนา เพราะเขาบอกว่า "มันเป็นวิธีปฏิบัติที่เหมือนการทดลอง เพียงแต่มองและจะเห็นได้" แต่สิ่งที่เขาตอบคำถามของพ่อทำให้พ่อประหลาดใจ "มีบางสิ่งที่เรารู้อยู่แล้วว่าไม่จริง และลางสังหรณ์ก็เป็นหนึ่งในสิ่งเหล่านั้น ในกรณีนี้ การสังเกตจากการทดลองจึงไม่มีนัยยะสำคัญ". ลูกจะเห็นได้ว่า แทนที่เขาจะเปิดโอกาสให้ผลการสังเกตมีอิทธิพลต่อสมมติฐานของเขา เขากลับยึดมั่นกับสมมติฐานและใช้มันหักล้างผลของการสังเกต

แม้แต่สิ่งที่เรียกว่า "ข้อเท็จจริง" เองก็ไม่ใช่มาตรฐานชี้วัดความเป็นจริงที่สำคัญสุด สิ่งที่กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์กลุ่มนั้น และขึ้นอยู่กับทฤษฎีที่พวกเขาเชื่อถือในขณะนั้น พวกเขารู้เพียงว่าสิ่งใดควรยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง และสิ่งใดควรปฏิเสธว่าเป็นความเพ้อฝัน ทั้งนี้เพราะพวกเขาได้รับการศึกษามาจากสำนักของตน. อีกตัวอย่างหนึ่งคือการสังเกตที่อยู่บนฐานของการใช้ลางสังหรณ์ การสังเกตในลักษณะเช่นนี้ไม่ได้รับการยอมรับในแวดวงฟิสิกส์หรือประสาทวิทยา เพราะไม่ถือว่าเป็นข้อเท็จจริง ทั้งนี้เพราะความเห็นร่วมกันของนักฟิสิกส์และนักประสาทวิทยาที่ว่า "เรารู้อยู่แล้วว่าลางสังหรณ์ไม่อาจเกิดขึ้นได้จริง เราจึงไม่จำเป็นต้องใส่ใจกับสิ่งนี้"

เช่นเดียวกับมนุษย์คนอื่น ๆ นักวิทยาศาสตร์เองก็มีแนวโน้มจะนำอคติต่าง ๆ ที่ติดตัวพวกเขามาแต่เกิด เจือปนกับข้อสังเกตของพวกเขา ดังเช่นอคติที่เราพูดถึงในจดหมายเหล่านี้ พวกเขาเลือกที่จะเชื่อในข้อสังเกตของตนเองโดยไม่รู้ว่า เป็นการส่งเสริมอคติของตนเท่านั้น. ทฤษฎีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้นมา ข้อสังเกตที่พวกเขาใช้ในการทดสอบทฤษฎี และวิธีการอธิบายข้อสังเกตต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับสมมติฐานในระดับจิตไร้สำนึกของพวกเขา พวกเราล้วนได้รับอิทธิพลอย่างลึกซึ้งจากสมมติฐานในระดับจากจิตไร้สำนึกแม้เราจะไม่รู้จักมัน และแม้ว่าเราจะได้รับการอบรมมาแบบนักวิทยาศาสตร์ก็ตาม

ในปัจจุบัน เราถือว่าโลกทัศน์แบบกลไกกลายเป็นเรื่องปรกติ การมองว่าโลกเป็นระบบชีวิตไม่ได้ยุ่งยากไปกว่าการมองว่าโลกเป็นวัตถุกลไกที่ตายแล้ว และเราสามารถใช้ประโยชน์ได้ การใช้หลักเหตุผลเข้าครอบงำเป็นการทำลายความเชื่อต่อความจริงและความรู้สึกด้านใน ความรู้สึกต่อญาณทัศนะของคนทั้งโลก ความบรรสานสอดคล้องและความไว้วางใจในโลกศักดิ์สิทธิ์เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ เราไม่ได้เป็นเพียงแค่ผู้มีตรรกะ เหตุผล และเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตที่ไร้อารมณ์ซึ่งเข้าใจทุกสิ่งได้ด้วยการวิเคราะห์แบบภาวะวิสัย ชีวิตของเราเต็มไปด้วยคู่ขัดแย้ง เรามีความสัมพันธ์แบบ "รัก-ชัง" บ่อยครั้งที่เรารู้สึกเป็นอิสระได้จากสิ่งที่คุกคามเรา ประสบการณ์ที่ลึกซึ้งและมีคุณค่ามากที่สุดมาจากความรู้สึกและการกำธรต่อสิ่งที่มีชีวิตและลึกซึ้งแต่ไม่อาจมองเห็นได้

การทำลายความพิศวงของโลกเป็นเรื่องน่าเศร้า และเป็นเหตุที่ทำให้ชีวิตของเราขาดความสดใสและตายด้าน ในขณะเดียวกันเราไม่อาจย้อนยุคกลับไปสู่โลกยุคกลางก่อนเทคโนโลยีได้ เราไม่อาจปฏิเสธการค้นพบเหตุและปัจจัยในทางวิทยาศาสตร์ หรือพลังของการคิดในเชิงตรรกะที่อยู่เบื้องหลัง แม้จะเป็นการค้นพบที่สมบูรณ์แต่มีข้อจำกัดก็ตาม แต่เราต้องหาทางไปให้พ้นจากยุคมืด และค้นหาโลกพิศวงใหม่ โดยไม่จำเป็นต้องปฏิเสธแง่มุมของวิทยาศาสตร์ในเชิงบวกและเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ซึ่งมีอิทธิพลต่อวิธีคิดและวิธีมองของเรา

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๐๔ กรกฎาคม ๒๕๕๑ : Release date 04 July 2008 : Copyleft by MNU.

เหมือนบนและเหมือนล่าง จึงเปลี่ยนไปเป็นข้างบนก็ส่วนข้างบน ข้างล่างก็ส่วนข้างล่าง ทั้งสองไม่มีโอกาสพบกันได้ และเมื่อเป้าหมายหลักเปลี่ยนเป็นการควบคุมเหนือธรรมชาติ สิ่งที่ อยู่เหนือกว่า ซึ่งในภาษาละตินจะเขียนว่า superstitio ซึ่งหมายถึง "การอยู่เบื้องบน" นั้นจึงกลายมาเป็นคำว่า superstition (ไสยเวท) และดังที่เรารู้กันในโลกปัจจุบันว่าคำว่า ไสยเวท เป็นคำที่ดูถูก และหมายถึงการกระทำที่ "ไร้สาระ" นิวตันเองเห็นว่า คำอธิบายของเขาเกี่ยวกับการโคจรของดาวพระเคราะห์เป็นความสำเร็จเล็ก ๆ น้อย ๆ และใช้เวลาที่เหลือในชีวิต เพื่อศึกษา"รสายนเวท"(การเล่นแร่แปรธาตุ)ต่อไป ซึ่งเป็นประเด็นที่ตำราเรียนส่วนใหญ่มองข้าม เขาเห็นว่า"รสายนเวท"มีความสำคัญมากยิ่งกว่าทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของเขา แต่งานดังกล่าวไม่ได้ตีพิมพ์

H