ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




28-06-2551 (1599)

Spatailizations: Marxist Geography and Critical Social Theory
กระบวนการสร้างพื้นที่: ภูมิศาสตร์เชิงมาร์กซิสต์ และทฤษฏีสังคมเชิงวิพากษ์
(๒)
ดร.สันต์ สุวัจฉราภินันท์ : แปลและเชิงอรรถ
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

งานแปลและเชิงอรรถต่อไปนี้ ได้รับการบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)

แนวคิดภูมิศาสตร์สมัยใหม่ ที่เป็นเรื่องของพื้นที่ พิกัด ตัวเลขโดยร้างผู้คน
และความหมายเชิงสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองได้ปิดฉากตัวเองลงแล้ว
ปัจจุบันมีคำอธิบายใหม่ๆ ในเรื่องพื้นที่ ที่ว่าง แนวคิดภูมิศาสตร์มาร์กซิสท์ และ
ภูมิศาสตร์มนุษยนิยมเข้ามาแทนที่ ซึ่งสนใจให้คำอธิบายความสัมพันธ์เชิงอำนาจ
และการเมืองเรื่องพื้นที่หลังสมัยใหม่ สำหรับในบทแปลต่อไปนี้จะให้ภาพประวัติศาสตร์
และความเป็นมาของเรื่องเหล่านี้ในเชิงทฤษฎีโดยสังเขป โดยลำดับหัวข้อสำคัญดังนี้
- อภิธานคำศัพท์ เกี่ยวกับแนวคิดลัทธิมาร์กซ์
- วาทกรรมของภูมิศาสตร์สมัยใหม่ (Modern Geography) และลัทธิมาร์กซิสต์
- ภูมิศาสตร์ในเชิงมาร์กซิสต์ (จาก 1970s - 1980s)
- ลัทธิวัตถุนิยมเชิงประวัติศาสตร์-เชิงภูมิศาสตร์
- การค้นหารากเหง้า : ความสำคัญทางพื้นที่ในแนวมาร์กซิสต์ฝรั่งเศส
- ลัทธิมาร์กซิสต์ฝรั่งเศสกับความสำคัญเรื่องพื้นที่
- ฮองรี เลอแฟร์ (Henri Lefebvre)
- การผนวกมาร์กซ์เข้าสู่ขอบเขตของภูมิศาสตร์สมัยใหม่
- กลุ่มซ้ายจัด และ การรวมภูมิศาสตร์ที่ว่าด้วยมนุษย์เข้ากับการวิเคราะห์
- เดวิด ฮาร์วีร์ และ มานูเอล คาสต์เทล
- ภูมิศาสตร์การพัฒนาอย่างไม่เท่าเทียมบนพื้นที่โลก
- หลังสมัยใหม่ : การประกอบสร้างใหม่ของภูมิศาสตร์มนุษย์ในเชิงวิพากษ์
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา

ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๕๙๙
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๗ หน้ากระดาษ A4)


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Spatailizations: Marxist Geography and Critical Social Theory
กระบวนการสร้างพื้นที่: ภูมิศาสตร์เชิงมาร์กซิสต์ และทฤษฏีสังคมเชิงวิพากษ์
(๒)
ดร.สันต์ สุวัจฉราภินันท์ : แปลและเชิงอรรถ
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

การผนวกมาร์กซ์เข้าสู่ขอบเขตของภูมิศาสตร์สมัยใหม่ : การวิพากษ์แรก
ความย้อนคืนของความสัมพันธ์ระหว่างรูปทรงเชิงพื้นที่ (ที่ว่าง) และกระบวนการทางสังคม ถือได้ว่าเป็นคุณประโยชน์ที่ส่งผลโดยตรงในโลกที่ใช้ภาษาอังกฤษต่อภูมิศาสตร์มาร์กซิสต์ ในความพยายามที่จะอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ คือผลของการพัฒนาทางพื้นที่ภูมิศาสตร์ที่ไม่เท่าเทียมกัน (ซึ่งบ่อยครั้งนักภูมิศาสตร์อาจจะมองและเข้าใจไปอย่างง่ายๆ ว่าเป็นเพียงความแตกต่างของสภาพภูมิศาสตร์) ที่เกิดขึ้นจากวัตถุดิบที่ต่างกันในการก่อร่างของโครงการในการจัดการ การปฎิบัติการ และความสัมพันธ์ต่างๆ ที่ก่อให้ชีวิตทางสังคมเกิดขึ้น

(ผู้แปล : สรุปในส่วนนี้โดยย่อคือ ให้มองว่าลักษณะทางภูมิศาสตร์ไม่ใช่เป็นเพียงปัจจัยทางกายภาพ แต่ทว่า ปัจจัยทางกายภาพเหล่านี้กลับถูกผนวกเข้าไว้กับเนื้อหาการผลิต การได้มาซึ่งวัตถุดิบ ระบบการปฎิบัติต่างๆ ในการใช้วัตถุดิบ และในการสร้างผลผลิตออกมา ดังนั้นความสำคัญทางพื้นที่ (ที่ว่าง เมื่อพูดถึงพื้นที่ที่ตั้ง ที่มีวัตถุดิบ ในเชิงนามธรรม) ที่อยู่ภายใต้ชื่อของภูมิศาสตร์และความสัมพันธ์ทางสังคมจึงไม่สามารถแยกออกจากกันได้ แต่ต้องนำมาเป็นส่วนหนึ่งภายในกระบวนการคิด)

การย้อนคืนกลับมาซึ่งความสัมพันธ์นี้ เกิดขึ้นในช่วงหลังๆ ของปี 1950 เมื่อสิ่งที่เรียกว่า "การปฎิวัติทางทฤษฏีเชิงปริมาณ" (Quantitative-Theoretical Revolution) ผุดขึ้นมาจากภายในโลกของการเก็บตัวของภูมิศาสตร์สมัยใหม่ และภายใต้กรอบของทฤษฏีที่จำกัดตัวเอง มันอาจจะเป็นเพียงเทคนิคและเป็นการใช้คำอธิบายด้วยตัวเลขต่อภูมิศาสตร์ ซึ่งก่อให้เกิดความแตกต่างอย่างผิวเพินจากแนวคิดหลักของกลุ่มนิยมคานท์ใหม่ (Neo-Kantian) ซึ่งช่วยให้เกิดการแยกตัวออกของภูมิศาสตร์ออกจากประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์สังคม และลัทธิมาร์กซ์ตะวันตก มันก่อร่างคำอธิบายของมันจากฟิสิกซ์ทางสังคม ระบบนิเวศในเชิงสถิติ และแคบลงมาสู่การเสียดสีที่มีอยู่ทุกหนแห่ง

ภายหลังจากทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น ผลก็คือก่อให้เกิดการอธิบายอย่างต่อเนื่องถึงการเสื่อมถอยอย่างไม่มีที่สิ้นสุดของภูมิศาสตร์ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า. หนึ่ง คือการหาความหลากหลายของคำอธิบาย และอีกหนึ่งคือการมองหาสิ่งที่เหมาะสมของคำอธิบายต่อเหตุการณ์ต่างๆ การรับเอาจุดยืนของนักปฎิฐานนิยม คือทำให้มีความเป็นมนุษย์มากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการมองแบบ "พฤติกรรม" และแม้กระทั่งการปรับใช้แบบปรากฏการณ์วิทยา ถือได้ว่าเป็นการปรับข้อกำหนดต่างๆ หรือความแข็งของตัวทฤษฏีที่ไม่เปิดโอกาสให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทฤษฎีทางภูมิศาสตร์สมัยใหม่ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของภาพปรากฏและคำอธิบายที่ไม่คลี่คลายไปทางไหน

ผู้รุกรานนอกอาณาเขต
แต่การคลี่คลายได้ถูกเปิดขึ้นแล้วในโลกของนักภูมิศาสตร์ที่ใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งได้ค่อยๆ รู้สึกตัวถึงความแปลกแยกอย่างโดดเดี่ยวของตัวเอง และได้พยายามค้นหาการประกอบสร้างใหม่ภายนอกกรอบอันเก่าของตัวเอง มันก่อให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "ผู้รุกรานนอกอาณาเขต" ในช่วงปี 1960 และเกิดขึ้นอย่างมากโดยเฉพาะในแถบอเมริกาเหนือ การล่องลอยเพื่อที่จะค้นหาดินแดนใหม่ของเหล่านักคิดทางภูมิศาสตร์เกิดขึ้นอย่างมากมาย และเกิดขึ้นในทุกสาขาที่พวกเขาสามารถเข้าไปค้นหา จากสภาพของท้องที่ที่เกิดขึ้นจากระบบตัวเลข และปรัชญาเชิงวิเคราะห์ ไปถึงแนวคิดเศรษฐกิจสมัยใหม่ จนไปถึงจิตวิทยาในการับรู้

อย่างไรก็ตาม โลกภายนอกมีการปรับเปลี่ยนตัวเองอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น เมือง ภูมิภาค และรัฐ มีความซับซ้อนและเกิดความขัดแย้งขึ้นอย่างมาก เกิดวิกฤตการณ์ต่างๆ ภายในพื้นที่และขอบเขตของตัวเอง และถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการปรับโครงสร้างที่สำคัญทีเดียว บรรยากาศทางวิชาการก็เริ่มที่จะกลายเป็นพื้นที่ทางการเมืองที่ดุเดือด และค่อนข้างที่จะเป็นไปแบบ "สุดโต่ง" มากกว่าที่มันเคยเป็นมาก่อนในช่วงหลายปี ทั้งทวีปอเมริกาเหนือและประเทศอังกฤษ สำหรับคำอธิบายในเชิงทฤษฏีแล้ว ค่อยๆ เริ่มที่จะมีความขัดแย้งและไม่เห็นด้วยกับแนวคิดตามลัทธิปฎิฐานนิยม และมุ่งแนวทางไปสู่ความหลากหลายในเชิงวิพากษ์ซึ่งเกิดขึ้นจาก "บ้านใหญ่" ในฝั่งทวีปยุโรปและในทฤษฏีทางสังคมวิทยา

กลุ่มซ้ายจัด และ การรวมภูมิศาสตร์ที่ว่าด้วยมนุษย์เข้ากับการวิเคราะห์
ในบริบทที่กำลังเปลี่ยนไปนี้ แนวคิดของกลุ่มภูมิศาสตร์สมัยใหม่เริ่มที่จะก่อร่างให้เห็นถึงความสุดโต่ง นำโดยกลุ่มผู้เขียนที่เขียนลงนิตยสาร Antipode และเกิดจากแรงบันดาลใจจากกลุ่มซ้ายจัด ซึ่งถือได้ว่าเป็นตัวจักรสำคัญในการเปลี่ยนแปลงภายในกลุ่มนักภูมิศาสตร์ที่ใช้ภาษาอังกฤษ การเปลี่ยนแนวคิดของเดวิด ฮาว์วี่ร์ (David Harvey) จากการใช้แนวคิดแบบปฎิฐานนิยมที่เขาได้เคยเขียนไว้ใน Explanation in Geography (1969) ไปสู่แนวทางของมาร์กซิสต์ใน Social Justice and the City (1973) ถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงเส้นทางที่สำคัญและทำให้เกิดอิทธิพลอย่างมากทีเดียว โดยเฉพาะเป็นแนวคิดที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อกลุ่มนักภูมิศาสตร์รุ่นเยาว์ ซึ่งถูกสอนให้มุ่งให้ความสนใจงานของฮาร์วี่ร์ ภูมิศาสตร์สมัยใหม่ไม่สามารถกลับไปเป็นอย่างเดิมได้อีกต่อไป หลังจากการเปลี่ยนเส้นทางของฮาร์วี่ร์

แม้ว่าในช่วงแรกจะมีความหลายหลากเป็นอย่างมาก แนวทางภูมิศาสตร์สุดโต่ง (Radical Geography) กำลังเคลื่อนตัวไปอย่างรวดเร็ว ไปสู่กระบวนการกลายเป็นมาร์กซิสต์ในการวิเคราะห์ภูมิศาสตร์ และแน่นอนว่าผู้นำในแนวทางนี้ก็คือ ฮาร์วี่ร์. ลัทธิวัตถุนิยมเชิงประวัติศาสตร์กลายเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการเพื่อที่จะเชื่อมโยงรูปทรงและเนื้อหาในเชิงพื้นที่เข้ากับกระบวนการทางสังคม นั่นคือการรวมภูมิศาสตร์ที่ว่าด้วยมนุษย์เข้ากับการวิเคราะห์ในเชิงชนชั้น การบรรยายผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเกิดร่วมกับคำอธิบายทางเศรษฐกิจการเมืองแนวมาร์กซิสต์ เรื่องแล้วเรื่องเล่าที่ภูมิศาสตร์สมัยใหม่ได้รับการวิเคราะห์ใหม่โดยการวิเคราะห์และการตีความเชิงมาร์กซิสต์

รูปแบบของการเช่าที่ดิน และการใช้ที่ดิน รูปแบบที่แตกต่างกันของสภาพแวดล้อมที่ถูกสร้างขึ้น ตำแหน่งของอุตสาหกรรม เน้นการขนส่งและการเดินทาง การวิวัฒนการของเนื้อเมือง และระบบนิเวศของความเป็นเมือง ลำดับหน้าที่ของการตั้งถิ่นฐาน การปะติดปะต่อของการพัฒนาถิ่นฐานอย่างไม่เท่าเทียม การกระจายในนวัตกรรมต่างๆ การนำแผนที่มาใช้ในการรับรู้หรือที่เรียกว่าแผนที่ทางจิต ความไม่เสมอภาคในความมั่งคั่งของชาติ เนื้อหาและการเปลี่ยนแปลงในลักษณะทางภูมิศาสตร์จากระดับท้องถิ่นไปสู่ระดับโลก

แนวทางใหม่ในการใช้คำอธิบายทางภูมิศาสตร์นี้ มีหลายส่วนที่สำคัญ ในส่วนเนื้อหาหลักของมันคือ การนำเอาแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจการเมืองแบบสุดโต่งมาใช้ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของระบบทุนนิยมตามแนวคิดของมาร์กซ์ ซึ่งมีเนื้อหาที่ผนวกอยู่ในนั้นซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ความแตกต่างหลัก (และบ่อยครั้งก่อให้เกิดความสับสน) 3 ความแตกต่าง ประกอบด้วย

1.) ในความเป็นมาร์กซิสต์ของอังกฤษ ซึ่งค่อนข้างจะเน้นความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์มากกว่าสายอื่น และนำไปสู่การสร้างตัวทฤษฎีและค่อนข้างที่จะติดยึดกับการวิเคราะห์ในเชิงประจักษ์

2.) ในความกล้าและบ้าบิ่นซึ่งน่าจะเป็นภาพลักษณ์ของแนวคิดของโลกใหม่ (New World-based) กลุ่มลัทธินีโอมาร์กซิสต์ (Neo-Marxism) ซึ่งเกิดจากการเรียกร้องให้คิดถึงทฤษฏีและหลักคิดของมาร์กซ์ใหม่โดยให้มองจากเนื้อหาภายใน และ

3.) ถึงแม้ว่าเกิดการลดลงแต่ยังคงมีอิทธิพลของกลุ่มมาร์กซิสต์ฝรั่งเศส ซึ่งเกิดการกระจายตัวออกไปเป็นหลายแนวคิด (กลุ่มโครงสร้างนิยม, กลุ่มอัตถิภาวนิยม, และกลุ่มที่มีความหลายหลากในความคิด) กลายเป็นสิ่งที่ยากต่อการทำความเข้าใจในการร่วมกันในเชิงประวัติศาสตร์ แต่ทว่ากลายเป็นสิ่งที่ปลุกเร้าสร้างแรงบันดาลใจให้กับกลุ่มนีโอมาร์กซิสต์

"การอ่าน"อย่างนักโครงสร้างนิยม
"การอ่าน"อย่างนักโครงสร้างนิยมเป็นสิ่งที่นักคิดในสายภูมิศาสตร์มาร์กซิสต์หลายคนหันมาให้ความสนใจ เพราะว่ามันมอบแนวทางในการคิดที่เป็นเหตุเป็นผลในเชิงญาณวิทยา ซึ่งสามารถใช้ในการขุดค้นลึกลงไปกว่าปรากฏการณ์บนผิวหน้าที่เห็น (ผลผลิตทางพื้นที่) เพื่อที่จะค้นหาถึงรากของคำอธิบายในการที่ถูกทำให้มีโครงสร้าง และโครงสร้างของความสัมพันธ์ทางสังคมของผลผลิต มันเหมาะอย่างมากที่จะนำเข้ามาใช้ในแผนงานและตรรกะของการวิเคราะห์ภูมิศาสตร์ในมุมมองเชิงมาร์กซิสต์

โครงสร้างนิยม โดยเฉพาะตามแนวทางของอัลทูแซร์ เรียกได้ว่าขัดแย้งกับแนวคิดของนักปฎิฐานนิยมอย่างชัดเจน โครงสร้างนิยมแนวมาร์กซิสต์ส่งเสริมให้เกิดการต่อต้านแนวคิดมนุษย์นิยม ซึ่งส่งผลให้เกิดแนวคิดที่ว่าด้วยพฤติกรรมและปรากฏการณ์วิทยาของนักภูมิศาสตร์เชิงปฎิฐานนิยม ข้อวิพากษ์บ่อยครั้งพบว่าตั้งอยู่บนพื้นฐานของการต่อต้านแนวคิดมาร์กซิสต์ และโครงสร้างนิยมมาร์กซิสต์นี้เปิดประเด็นเข้าสู่โครงสร้างส่วนบนซึ่งดูเหมือนว่าจะบรรจุสิ่งต่างๆ ที่นักภูมิศาสตร์กำลังเพ่งดูอยู่ การผนวกแนวคิดที่ว่าด้วยโครงสร้างนิยมที่โจมตีลัทธิประวัติศาสตร์นิยม และความกระตือรือร้นของมัน ก่อให้เกิดความสนใจในการอุปมาอุปมัยเชิงพื้นที่ (Spatial Metaphor) ซึ่งกลายเป็นความง่ายต่อการทำความเข้าใจ และกลายเป็นแนวคิดที่ดึงดูดความสนใจของนักภูมิศาสตร์มาร์กซิสต์ และยังได้เปิดทางสู่ความน่าดึงดูดให้กับเหล่านักภูมิศาสตร์เพื่อที่จะเดินทางเข้าสู่ข้อโต้แย้งตามแนวทางของทฤษฏีเชิงวิพากษ์ในโลกของมาร์กซิสต์ตะวันตก

แทนที่จะนั่งรออยู่อย่างไม่มีที่สิ้นสุด โดยไม่มีพัฒนาการใดๆ ทางทางความคิดเลย ในอีกหนทางหนึ่งที่เป็นไปได้คือ การก้าวเข้าสู่หลักคิดเกี่ยวกับปรากฏการณ์วิทยาแนวอัตถิภาวนิยม หรือตามแนวคิดเชิงวิพากษ์ของสำนักแฟรงค์เฟิร์ท ในขณะที่หนทางอื่นๆ นอกเหนือจากนี้ ดูเหมือนจะกลายเป็นทางตันสำหรับนักภูมิศาสตร์ไปนานแล้ว ถึงแม้ว่าจะไม่ถูกแสดงออกอย่างเปิดเผย ญาณวิทยาในเชิงโครงสร้างที่รับเอาเข้ามาของกลุ่มหนึ่งหรือของกลุ่มอื่นๆ (เช่น ในแนวทางของฮาว์วี่ร์ ซึ่งพัฒนาตามไพเกต (Piaget) มากกว่าอัลทูแซร์ พบได้ในงานเขียน Social Justice and the City) ก่อให้เกิดการแพร่ขยายทางความคิดอย่างค่อนข้างเบาบาง ในช่วงต้นของการพัฒนาความคิดของภูมิศาสตร์แนวมาร์กซิสต์

สองระดับของการวิเคราะห์และกระบวนที่สร้างให้เกิดเป็นตัวทฤษฏี กลายเป็นสิ่งที่ครอบงำการเชื่อมโยงกันระหว่าง "เศรษฐศาสตร์การเมืองแบบมาร์กซิสต์" และ"ภูมิศาสตร์มนุษย์ศาสตร์เชิงวิพากษ์" คือ

- ความเป็นเมืองอย่างเฉพาะเจาะจง และ
- ความเป็นสากลที่มีการแบบขยายอย่างมาก

ทั้งสองกรณี พื้นฐานของการคิดและมุมมองมีความคล้ายคลึงกันมาก สำหรับภูมิศาสตร์เมืองและภูมิศาสตร์ของการพัฒนาในเชิงความเป็นสากล ซึ่งได้ถูกตรวจสอบในฐานะที่เป็นผลผลิตที่ถูกสร้างขึ้นจากยุทธวิถีของการสะสมทุนของชนชั้นนายทุน และความอึดอัดคับข้องใจในเรื่องชนชั้น ปัจจัยเหล่านี้ได้ประกอบสร้างและมีการต่อสู้ปะทะกันอยู่ภายในกระบวนการทางสังคม เพื่อสร้างให้เกิดผลผลิตของที่ว่าง (the Production of Space) ซึ่งปรากฏอยู่ในทุกระดับชั้นทางภูมิศาสตร์

เดวิด ฮาร์วีร์ และ มานูเอล คาสต์เทล
นักภูมิศาสตร์มาร์กซิสต์ ได้สร้างให้เกิดแนวทางที่จะเข้าไปศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมืองในความเป็นเมืองที่สำคัญมาก และที่เฉพาะเจาะจงมาก ซึ่งแนวทางนี้สร้างขึ้นบน

1) แนวคิดของเดวิด ฮาร์วีร์ (David Harvey) ที่ได้คิดทบทวนกระบวนการที่ใช้ทฤษฎีมาร์กซิสต์เข้ามาวิเคราะห์ "กระบวนการของเมืองภายใต้ระบบทุนนิยม";

2) แนวคิดของมานูเอล คาสต์เทล (Manuel Castell) ที่นำเอาแนวคิดของอัลทูแซร์, เลอแฟร์, อเลน ทูเลนนี่ (Alain Touraine) ซึ่งเป็นนักสังคมวิทยาชาวฝรั่งเศส และนักทฤษฏีที่ว่าด้วย "การเคลื่อนไหวทางสังคม" และกลุ่มนักคิดค่ายใหม่ของนักสังคมวิทยาเมืองมาร์กซิสต์ชาวฝรั่งเศส มาใช้; และ

3) การตอบสนองอย่างสร้างสรรค์ต่อแนวคิดของฮาร์วีร์และคาสต์เทล ซึ่งเกิดขึ้นอย่างมากท่ามกลางนักเศรษฐศาสตร์การเมืองที่มีแนวคิดสุดโต่ง กลุ่มนักภูมิศาสตร์ และกลุ่มนักสังคมศาสตร์เมืองในประเทศอังกฤษและในอเมริกาเหนือ

ความสำคัญทางพื้นที่ของเมือง, การปะทะสังสรรค์ระหว่างกระบวนการทางสังคม, และรูปทรงของพื้นที่ (ที่ว่าง) เป็นหัวข้อสำคัญของการโต้เถียงตั้งแต่เริ่มต้น และมีความสำคัญอย่างต่อเนื่องไปสู่แนวทางที่ศึกษาความเป็นเมืองในมุมมองของมาร์กซิสต์ในปัจจุบัน

ภูมิศาสตร์การพัฒนาอย่างไม่เท่าเทียมบนพื้นที่โลก
ในขอบเขตของการแบ่งส่วนพื้นที่ทางความคิดในช่วงแรก การวิเคราะห์ถึงรูปแบบที่เกิดขึ้นกับการพัฒนาอย่างไม่เท่าเทียมบนพื้นที่โลกนั้น โดยเฉพาะเมื่อเจาะจงวิเคราะห์ถึงประเทศในโลกที่สาม ประเทศที่มีความล้าหลังในการพัฒนาและจำเป็นต้องพึ่งพาประเทศอื่นๆ ประเทศเหล่านี้ซึ่งก่อให้เกิดการผลิตใหม่ทางเศรษฐกิจการเมืองในเชิงพื้นที่ของการแบ่งชนชั้นแรงงาน ที่มีความสัมพันธ์กันในระดับมหภาค และ "ระบบโลก" ทุนนิยมทั้งศูนย์กลางและชายขอบของมัน คนกลุ่มที่มีอิทธิพลทางความคิดในแนวคิดที่เรียกว่าความสัมพันธ์แบบเศรษฐกิจการเมืองระดับมหภาคตามแนวคิดแบบมาร์กซิสต์ใหม่ (Neo-Marxist) (เช่น แองด์ดีย์ กันเดอร์ แฟรงค์ (Andre Gunder Frank), อิมมานูเอล วอลต์เตอร์สเติร์น (Immanuel Wallerstein), เซเมีย์ อมิน (Samir Amin), และกลุ่มก้าวหน้าทางความคิดของนักโครงสร้างนิยมละตินอเมริกัน ตามที่พวกเขาได้ถูกให้คำนิยามแบบนั้น) ซึ่งแน่นอนว่ากลุ่มนักภูมิศาสตร์มาร์กซิสต์ได้รวมอยู่ด้วยแต่มีจำนวนไม่มากนัก

ถึงแม้ว่าข้อโต้แย้งหลักจะเกิดขึ้นรอบๆ โครงสร้างเชิงพื้นที่ของ "ระบบการแบ่งชนชั้นแรงงานในระดับมหภาค" และสิ่งที่ถูกเรียกว่าเป็น "กระบวนการในระดับสากลของการเกิดขึ้นของความไม่เท่าเทียมทางภูมิศาสตร์ภายใต้ระบบทุนนิยม" (ตามที่ฮาร์วีย์ได้ใช้คำจำกัดความนี้ของกระบวนการของเมืองเอาไว้)
สิ่งที่จำเป็นคือ การก่อให้เกิดการทบทวนพื้นฐานการคิดและความเข้าใจความสำคัญทางพื้นที่ เกี่ยวกับการพัฒนาระบบทุนนิยมในระดับโลก ซึ่งแทบจะไม่ค่อยมีคนสังเกตเห็นเท่าไหร่นัก และเมื่อมันถูกทำให้ปรากฏขึ้น แนวคิดนี้ก็ก่อให้เกิดผลกระทบแต่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น. แน่นอน ความคิดพื้นฐานและความสำคัญทางพื้นที่ของความเป็นเมืองเป็นเรื่องยากที่จะปฎิเสธ และความคิดที่ว่าระบบเศรษฐกิจในโลกทุนนิยมมีความเป็นพื้นที่อยู่ก่อนแล้ว เป็นผลผลิตของกระบวนการที่ทำให้เกิดมีคุณลักษณะทางพื้นที่ ก็เป็นสิ่งที่ยากที่จะเข้าใจในช่วงระหว่างปี 1960 ถึง 1970

เศรษฐกิจการเมืองใหม่เกี่ยวกับกระบวนการกลายเป็นเมือง และการพัฒนาระดับสากล มีความน่าสนใจและดึงดูดให้คนที่สนใจทั้งจากสาขาภูมิศาสตร์และจากสาขาที่ใกล้เคียงหันเข้ามาสนใจความเป็นเมืองและการวางผังเมืองมากยิ่งขึ้น แต่ไมนานจนเกินไปนัก ที่มุมมองเกี่ยวกับความผสมผสานได้ก่อให้เกิดการปรับทิศทางและแนวคิดต่อระบบเศรษฐกิจการเมืองใหม่ และได้ก่อให้เกิดปัญหาในระดับญาณวิทยาค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวคิดที่ว่าด้วยกระบวนการวิเคราะห์และทฤษฏีของพื้นที่ และความสำคัญทางพื้นที่. สำหรับภูมิศาสตร์มาร์กซิสต์แล้ว ค่อนข้างผสมผสานอย่างไม่ค่อยลงตัวนักระหว่าง "แนวคิดในเชิงปฎิบัตินิยมรุนแรง" กับ "การเน้นปฎิเสธการตีความทางประวัติศาสตร์" (ซึ่งเป็นการปฎิเสธหลักการของการอธิบายเชิงภูมิศาสตร์ต่อความเป็นประวัติศาสตร์ และเป็นสิ่งที่หลายๆ คนมองว่า ไม่สามารถยอมรับได้ ซึ่งเน้นความสัมพันธ์ระหว่าง "การบริโภคและการแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์" กับ "ความสัมพันธ์ทางการผลิต"); และลัทธิโครงสร้างนิยมแบบนีโอมาร์กซิสต์ (ซึ่งดูเหมือนว่าเป็นการแผ่ขยายลัทธิที่ชอบความมุ่งมั่นไม่ประนีประนอม อัตบุคคลที่มีจิตสำนึกในเชิงการเมืองได้ศูนย์สลายไป และการหมดความหมายของกรอบแนวคิดทางทฤษฏีของคำอธิบายในเชิงประวัติศาสตร์)

โดยการเพิ่มลัทธิมาร์กซ์เข้าไปกับภูมิศาสตร์สมัยใหม่ ดูเหมือนจะเป็นอะไรที่ตรงไปตรงมา และเป็นโครงการที่มีผลน่าพึงพอใจ บางคนสามารถที่จะทำให้ปัญหาทางญาณวิทยาต่างๆ หลบไปอยู่ข้างๆ ภายนอกโครงการนี้ แต่สำหรับนักภูมิศาสตร์หลายๆ คนกลับหันไปหาแนวทางอื่นๆ ทิศทางอื่นๆ แต่แน่นอนว่าสิ่งที่พวกเขาหาอยู่ "คือการทำให้เกิดความสำคัญและคุณลักษณะเชิงพื้นที่แนวลัทธิวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ และเพื่อที่จะนำเอาองค์ความรู้ทางภูมิศาสตร์มนุษย์ในเชิงวิพากษ์เข้าไปสู่พื้นที่ของการตีความในพื้นฐานความคิดมาร์กซิสต์ตะวันตก ซึ่งเป็นเสมือนประเพณีไปแล้ว มันเป็นการเข้าร่วมผสานกันท่ามกลางความสับสน และการพัฒนาทางความคิดในช่วงที่สองของภูมิศาสตร์เชิงมาร์กซิสต์ที่ได้เริ่มต้นขึ้น และเป็นความพยายามที่จะหาทางออกกับความสับสนทางญาณวิทยาเหล่านี้

การกระตุ้นให้เกิดการย้อนกลับ : เพิ่มความเป็นภูมิศาสตร์ให้กับลัทธินิยมาร์กซ์ตะวันตก
ในปลายช่วงปี 1970 ข้อโต้แย้งได้ทวีความรุนแรงขึ้นภายในภูมิศาสตร์มาร์กซิสต์ ท่ามกลางความแตกต่างที่ว่า พื้นที่ก่อให้เกิดการตีความทางประวัติศาสตร์, ข้อวิพากษ์ที่ว่าด้วยการพัฒนาในเชิงทุนนิยม, และการเมืองของการปรับเปลี่ยนโครงสร้างในเชิงสังคม ข้อโต้แย้งที่เกิดขึ้นสะท้อนกลับไปกลับมาระหว่างกลุ่มผู้ซึ่งค้นหาในสิ่งที่มีความยืดหยุ่น และหลักวิภาษวิธีระหว่างพื้นที่ และสังคม; และกลุ่มผู้ซึ่งเห็นความพยายามในการที่จะปรับปรุงชุดทฤษฏี "ที่เริ่มจะหมดสภาพ", "ลัทธินิยมทางเลือก ประกอบสร้างจากสิ่งต่างๆ แบบสุดโต่ง" ที่กำลังจะถูกละทิ้ง, อันตรายทางการเมืองและ"ลัทธิที่นิยมการแบ่งแยก"ในเชิงพื้นที่ ซึ่งไม่สามารถสร้างการประสานร่วมกันระหว่าง"การวิเคราะห์ในทางชนชั้น" กับ"ลัทธิวัตถุนิยมประวัติศาสตร์"ได้ และสำหรับคนที่มีมองอย่างเห็นอกเห็นใจ ภูมิศาสตร์มาร์กซิสต์ปรากฏขึ้นมาในลักษณะของการทำลายจากภายในตัวมันเอง ก่อให้เกิดคำถามที่ว่า "ทำไมภูมิศาสตร์ไม่สามารถเป็นไปแบบมาร์กซิสต์ได้" และในขณะที่คนอื่นกล่าวว่า สิ่งที่เขาเห็นคือการละทิ้งอย่างไม่มีเหตุผลเกี่ยวกับคำอธิบายในเชิงพื้นที่ ในการวิเคราะห์ทางภูมิศาสตร์แบบสุดโต่ง

การเคลื่อนไหวเริ่มเติบโตขึ้นในภูมิศาสตร์มาร์กซิสต์ และในการศึกษาเมืองและเขตแดน ซึ่งเป็นเสมือนข้อสรุปที่ว่าพื้นที่และความสำคัญเชิงพื้นที่ สามารถที่จะนำเข้าไปสู่ลัทธิมาร์กซ์ได้เพียงแค่เป็นการแสดงออกในเชิงสะท้อนภาพความจริง เป็นสิ่งที่เกิดจากความสัมพันธ์ทางสังคมพื้นฐานของผลผลิตและสิ่งทีไม่มีนัยยะทางพื้นที่ "ในกฎของการเคลื่อนที่"(แต่มีนัยยะทางประวัติศาสตร์) ของทุนนิยม. ภูมิศาสตร์ของระบบทุนนิยมนั้นมีเนื้อหาที่น่าสนใจ การพัฒนาที่ไม่เท่าเทียม โดยเฉพาะในเชิงภูมิศาสตร์ เป็นเสมือนผลลัพธ์ที่น่าสนใจของประวัติศาสตร์ระบบทุนนิยม แต่มันไม่ใช่สิ่งที่ จำเป็น ในการสร้างตัวทฤษฏีมาร์กซ์ และไม่ใช่สิ่ง ที่มีอยู่ก่อนหน้า การวิเคราะห์ทางวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ ลัทธิมาร์กซ์ไม่ต้องการ "การตรึงอยู่กับที่" ในเชิงพื้นที่ สำหรับตัวมันเองที่ยังไม่ได้ถูกทำให้แยกตัวออกอย่างเพียงพอ

การคิดทบทวนแนวคิดดั้งเดิมมาร์กซิสต์ถูกเร่งเร้าจาก "การวิพากษ์ของการวิพากษ์" ซึ่งแผ่ขยายไปทั่วลัทธิมาร์กซ์ตะวันตกในช่วงเวลาเดียวกัน มีการยกเลิกตัวทฤษฎีเนื่องจากความไม่เพียงพอและข้อจำกัดในการอธิบายต่างๆ การตีความที่มากเกินไป และความพยายามที่จะล้มเลิกความเป็นนามธรรมที่มีนัยยะทางการเมืองในของลัทธิโครงสร้างนิยมแนวอัลทูแซร์ ความเป็นมาร์กซิสต์ใหม่ และ "ความเป็นคนโลกที่สาม"ที่ถูกยึดเอาไว้ในเชิงแนวคิด. อี พี ทอมสัน (E.P. Thompson) ได้ให้แนวทางในเชิงสัญลักษณ์สำหรับการต่อสู้ที่ปรากฏไว้ในงานเขียนขนาดยาวของเขา "ความอัตคัดในตัวทฤษฏี" The Poverty of Theory (1978) ซึ่งเกิดจากแนวคิดในการต่อต้านการนำกลับมาของกลุ่มโครงสร้าง สำหรับการมองถึงความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และแนวทางที่เกิดจากกลุ่มนิยมประวัติศาสตร์มาร์กซิสต์ที่ประเทศอังกฤษ เป็นเสมือนกลุ่มที่นิยมรูปธรรมทางกายภาพโดยเฉพาะกลุ่มที่ใช้ภาษาอังกฤษ ในการต่อต้านกลุ่มที่นิยมนามธรรมในกลุ่มภาษาฝรั่งเศส

กลุ่มนักภูมิศาสตร์เชิงมาร์กซิสต์หลายต่อหลายคน งานของพวกเขายังไม่ปรากฏต่อสายตาของกลุ่มมาร์กซิสต์ตะวันตก ผู้ซึ่งยังคงยึดถือต่อความคิดดั่งเดิม แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจากคำวิพากษ์วิจารณ์ของพวกเขา (ภูมิศาสตร์มาร์กซิสต์) กลับก่อให้เกิดผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อเมืองและเศรษฐกิจการเมืองนานาชาติ สิ่งที่เกิดขึ้นต่อเมืองเกิดขึ้นผ่านการแผ่ขยายของแนวคิดลัทธิโครงสร้างนิยมของเมืองแบบคาสเทล (Castellsian urban structuralism) และสำหรับสิ่งที่เกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจการเมืองนานาชาติ เกิดขึ้นผ่านการต่อต้านที่ปรารถนาจะจัดการกับการเกิดขึ้นของการรวมศูนย์ บทบาทที่ถูกกำหนดสร้างขึ้นในความไม่เท่าเทียมกันของการพัฒนาในเชิงภูมิศาสตร์ ซึ่งเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของระบบทุนนิยม

นอกจากแนวคิดที่ทรงพลังในการจะนำเอาประวัติศาสตร์ดั้งเดิมกลับมาใหม่ โครงการของกระบวนการสร้างความสำคัญทางพื้นที่ตามทฤษฏีมาร์กซิสต์ก็ยังคงดำเนินต่อมา สิ่งหนึ่งที่ทำให้มันสามารถเอาตัวรอดมาได้คือ การปรับปรุงพัฒนาข้อโต้แย้งให้มีความสมบูรณ์เพิ่มขึ้น และข้อโต้แย้งที่ว่านั่นคือ การจัดการกับหน่วยต่างๆ ทางพื้นที่ ซึ่งไม่ใช่เป็นเพียงผลผลิตทางสังคม ในขณะเดียวกันพื้นที่นั้นยังเป็นปัจจัยที่สะท้อนกลับมาในการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ทางสังคมอีกด้วย ความหวังที่จะจัดการปรับเปลี่ยนสิ่งที่เป็นของดั้งเดิมจากภายใน (ซึ่งแนวคิดนี้ปรากฏในงานของเลอแฟร์) สิ่งที่ต้องการจะเน้นคือ แนวทางที่เกิดการเคลื่อนที่ทั้งสองทางทั้งไปและกลับผ่านกระบวนการนำกลับมาใหม่ของ "หลักวิภาษวิธีในเชิงพื้นที่และเชิงสังคม" และความจำเป็นที่จะต้องสร้างให้เกิด "ปฎิบัติการในเชิงพื้นที่" ในแบบสุดโต่ง ที่เรียกในเบื้องต้นว่าเป็น "ดินแดนของอุดมคติใหม่ของลัทธิมาร์กซ์" ลองมองดูงานที่เปิดให้เห็นมุมที่กว้างกว่า งานของ เดริก เกรกเกอรี่ (Derek Gregory) อุดมการณ์, วิทยาศาสตร์, และภูมิศาสตร์มนุษย์ (Ideology, Science and Human Geography) ซึ่งเป็นงานเขียนที่มีความแม่นยำและสร้างความเข้าใจได้ดีขึ้น ต่อการตีความใหม่เกี่ยวกับของคำอธิบายทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเกรกเกอรี่ได้กล่าวไว้ว่า:

การวิเคราะห์โครงสร้างพื้นที่ จะต้องเข้าใจว่า มันไม่ใช่เป็นสิ่งที่คลี่คลายออกมา หรือแม้กระทั่งเป็นรองการวิเคราะห์ของโครงสร้างสังคม ซึ่งนักโครงสร้างนิยมอาจจะมีข้อเสนอแนะว่า ทั้งสองต้องการซึ่งกันและกัน. โครงสร้างเชิงพื้นที่ ไม่ใช่เกิดขึ้นภายในพื้นที่ที่ความขัดแย้งทางชนชั้นแสดงตัวออกมา แต่มันเป็นขอบเขตที่ความสัมพันธ์ทางชนชั้นถูกทำให้เกิดขึ้น และแน่นอนว่าแนวความคิดนี้ต้องการพื้นที่ที่อยู่ภายในพื้นที่ของความคิด ซึ่งคำนึงถึงส่วนประกอบต่างๆ ที่มีผลต่อการเกิดขึ้นของสังคม… สำหรับโครงสร้างเชิงพื้นที่นี้ ไม่สามารถที่จะคิดวิเคราะห์และสร้างเป็นทฤษฏีได้โดยปราศจากโครงสร้างทางสังคม และในทำนองกลับกัน และ…สำหรับโครงสร้างทางสังคมมัน ก็ไม่สามารถก่อให้เกิดปฎิบัติการใดๆ ได้ โดยปราศจากโครงสร้างเชิงพื้นที่ (ที่ว่าง) และในทำนองกลับกัน

เกรกเกอรี่โต้แย้งเพื่อที่ก่อให้เกิดการยืนยันและเรียกร้องให้มีการสำรวจรูปแบบของคำอธิบายทางภูมิศาสตร์ ซึ่งน่าจะมีประเด็นของทั้งโครงสร้างและทำหน้าที่เป็นญาณวิทยาที่สามารถ "สะท้อน" (ทั้งปรากฏการณ์และการตีความ) เพื่อที่จะได้ก่อให้เกิดพื้นที่เกี่ยวกับภูมิศาสตร์มนุษย์ท่ามกลางวิทยาศาสตร์สังคมศาสตร์ในเชิงวิพากษ์

การท้าทายที่เกิดขึ้นมีความชัดเจนมาก มันมีความซับซ้อนของปัญหาที่ได้รับการเติมเต็มจากการปะทะสังสรรค์กันระหว่าง "ผลผลิตของภูมิศาสตร์มนุษย์"กับ"การก่อรูปของความสัมพันธ์ทางสังคมกับการปฎิบัติการทางสังคม" ซึ่งจำเป็นที่จะต้องได้รับการรับรู้และเพื่อที่จะได้เปิดไปสู่การตีความทางทฤษฏีและการเมือง สิ่งนี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ถ้ายังคงมองเห็นภูมิศาสตร์มนุษย์เป็นเพียงแค่สิ่งสะท้อนให้เห็นกระบวนการทางสังคม ความสำคัญทางพื้นที่ซึ่งถูกสร้างขึ้นในชีวิตทางสังคมของมนุษย์ เราจำเป็นต้องคิดคำนึงไปพร้อมๆ กัน ทั้งแบบที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญและเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น ในฐานะที่ว่าเป็นทั้งผลลัพธ์และเป็นสื่อกลางในการสร้างประวัติศาสตร์ หรือพูดอีกอย่างหนึ่ง ความสำคัญทางพื้นที่นี้ เป็นส่วนหนึ่งของลัทธิวัตถุนิยมเชิงประวัติศาสตร์และเชิงภูมิศาสตร์ มากกว่าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของวัตถุนิยมทางประวัติศาสตร์ที่ถูกใช้ในการประยุกต์เข้ากับคำถามในเชิงภูมิศาสตร์

การเรียกร้องให้มีการคิดถึงความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างพื้นที่และชนชั้น ความสำคัญทางพื้นที่และสังคม มีการแผ่ขยายไปอย่างมากทั้งในภูมิศาสตร์สมัยใหม่และลัทธิมาร์กซ์ตะวันตก ภูมิศาสตร์สมัยใหม่หลีกเลี่ยงความคิดที่จะสร้างให้เกิดพื้นที่ในสังคม และพฤติกรรมในแบบที่ชัดเจนเกินไป นอกจากจะสร้างผ่าน แรงทางกายภาพที่มีความเป็นกลางซึ่งเกิดขึ้นจากการเสียดสี ภูมิศาสตร์สมัยใหม่เลือกที่จะปิดบังซ่อนเร้นนัยยะทางการเมืองนี้ ความเป็นไปได้ต่อข้อกล่าวหาดังกล่าวถูกเก็บซ่อนเอาไว้เป็นความลับภายในพื้นที่อาณาเขตของภูมิศาสตร์สมัยใหม่และไม่เปิดเผยให้คนอื่นรู้. การเกิดขึ้นของพื้นที่ ก่อให้เกิดการแตกออกอย่างรุนแรงจากลัทธิสภาพแวดล้อม ที่มีความอับอายต่ออดีตที่ผ่านมาและเข้าปะทะกับตำแหน่งแห่งที่ของภูมิศาสตร์ ที่ถูกให้คำนิยามเอาไว้ภายในแนวคิดการแบ่งแยกชนชั้นแรงงานของการศึกษาสมัยใหม่ หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นคำอธิบายที่อ่อนต่อโลกถึงความแตกต่างทางพื้นที่ การปะทะนี้เป็นการก่อให้เกิดการอ้างถึงปัจจัยและอิทธิพลทางภูมิศาสตร์ของการเกิดขึ้นของสังคม อย่างน้อยการอ้างถึงนี้ไม่ใช่อยู่ภายในความตั้งอกตั้งใจของสังคมวิทยา

สำหรับกลุ่มมาร์กซิสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่แนวคิดดั่งเดิมได้เพิ่มสูงขึ้น สามารถรับรู้ได้ว่าความพยายามที่จะสอดแทรกการเกิดขึ้นของพื้นที่ของชนชั้นเป็นเพียงแค่ความพยายามในการกำหนดให้มีปัจจัยของข้อจำกัด "ภายนอก" ให้มีต่อความอิสระทางความคิดทางชนชั้นและความตั้งใจของสังคมในการสร้างประวัติศาสตร์ นอกจากนั้น ข้อโต้แย้งในเชิงทฤษฏีที่อยู่เบื้องหลังของการเกิดขึ้นของพื้นที่ (ที่ว่าง) ดูเหมือนจะเกิดขึ้นอย่างไม่ได้ตั้งใจ จากการคิดถึงสิ่งต่างๆ จากลัทธิโครงสร้างนิยม และการพยายามผลักดันที่เกินพอดีของเศรษฐกิจการเมืองตามแนวคิดกลุ่มมาร์กซิสต์ใหม่ ที่ว่าด้วยกระบวนการกลายเป็นเมืองและการพัฒนาระดับสากล. ในความสำคัญอย่างเท่าเทียมกัน ความพยายามสร้างสิ่งที่กลับกันที่เกิดขึ้นอย่างเร่งเร้า ยังไม่รับการสนับสนุนหรือรองรับจากทฤษฏีหรือการขยายความใดๆ ทางญาณวิทยา หรือแม้กระทั่งจากข้อพิสูจน์จากหลักฐานทางการวิเคราะห์เชิงประจักษ์นิยม ที่สามารถสร้างข้อโน้มน้าวจิตใจ ที่จะสามารถสร้างความเชื่อมโยงทางการเมืองที่จำเป็นนี้ สำหรับแนวคิดหลักทางภูมิศาสตร์มาร์กซิสต์แล้ว การสร้างหลักวิภาษวิธีใหม่ข้างต้นเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก แต่ยังไม่สามารถที่จะพิสูจน์ให้เห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากมัน

มันจึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจเลยว่าในช่วงปี 1980 แนวคิดภูมิศาสตร์มาร์กซิสต์ ดูเหมือนจะเป็นการเต้นรำที่น่าเบื่อหน่ายไปรอบๆ การตีความถึงความสำคัญทางพื้นที่ ซึ่งกำลังเคลื่อนไปข้างหน้าเพียงเพื่อที่จะสร้างคำอธิบายความซ้ำอีก มีเพียงงานเขียนไม่กี่ชิ้นเท่านั้นที่ใช้แนวคิดภูมิศาสตร์มาร์กซิสต์ (Social Justice and the City (1973) และ The Limits to Capital (1982) เขียนโดย ฮาว์วีร์) ที่ใช้ภาษาอังกฤษและพยายามสร้างให้เกิดกระแสของแนวคิดลัทธิวัตถุนิยมในเชิงประวัติศาสตร์-ภูมิศาสตร์ แต่สิ่งที่น่าสนใจและกลายเป็นข้อเขียนที่มีอิทธิพล กลับเกิดขึ้นในพื้นที่ของกลุ่มแนวคิดภูมิศาสตร์มนุษย์แนววิพากษ์ ซึ่งเขียนขึ้นโดยนักภูมิศาสตร์ภายนอกวงของกลุ่มมาร์กซิสต์กระแสหลัก เช่น ออสซัน (Olsson, 1980); สก็อต (Scott, 1980); บลู๊คฟิวส์ (Brookfield, 1975); และที่สำคัญที่สุดคือ เกรกเกอรี่ (Gregory, 1978)

ด้วยข้อยกเว้นที่มีจำนวนน้อยมากต่อกลุ่มที่นำเสนอถึงแนวคิดใหม่ทางภูมิศาสตร์ ภูมิศาสตร์มาร์กซิสต์ดูเหมือนกำลังหมุนวนและเขยิบเข้าสู่ปี 1980 ถือได้ว่าเป็นความพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นั่นคือแนวคิดแบบมาร์กซิสต์กำลังจะต้องมีการปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อที่จะรองรับมิติความสำคัญของพื้นที่ ในความเป็นลัทธิวัตถุนิยมเชิงประวัติศาสตร์ที่เป็นมรดกตกทอดสืบมา ซึ่งมีช่องว่างมากสำหรับความสำคัญทางพื้นที่ เช่นเดียวกับ ความแข็งแรงของแนวคิดของสังคมวิทยาชนชั้นกลาง ความพยายามที่จะทำให้ภูมิศาสตร์กลายเป็นมาร์กซิสต์นั้นไม่เพียงพอ สิ่งที่เกิดขึ้นและก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมากนั้นคือ อยู่ในระบบวิธีคิดเชิงวิพากษ์ และความจำเป็นที่จะต้องสร้างให้เกิดคุณลักษณะเชิงพื้นที่ ภายในลัทธิมาร์กซิสต์ ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างการสร้างให้เกิดประวัติศาสตร์และการสร้างให้เกิดภูมิศาสตร์ การย้อนกลับที่เร่งเร้านี้กำลังจะนำเข้าสู่ข้อวิพากษ์ที่สาม นั่นคือ ข้อวิพากษ์ของการวิพากษ์ ซึ่งนั่นคือการพัฒนาของแนวคิดภูมิศาสตร์มาร์กซิสต์

ส่วนใหญ่ของการวิพากษ์ที่สามนี้ ไม่ว่าจะเป็นการรื้อสร้างและการสร้างใหม่ของข้อวิพากษ์นี้เกิดขึ้นภายนอกภูมิศาสตร์เชิงมาร์กซิสต์ และถูกผลักดันโดยนักคิดแนววิพากษ์หลายต่อหลายคน ผู้ซึ่งบ่อยครั้งพบว่า เป็นปัจจัยที่สำคัญของการเกิดขึ้นและการพัฒนาแนวคิดของนักภูมิศาสตร์มาร์กซิสต์ ข้อโต้แย้งที่มักจะพบเกิดขึ้นในฐานะเป็นการตอบสนองต่อความแปลกประหลาดต่อแนวคิดเรื่อง "ระบบทุนนิยมตอนปลาย" (Late Capitalism) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องที่เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างสังคม ซึ่งดูเหมือนจะเป็นการสั่นคลอนรูปแบบและแนวคิดที่ถูกสั่งสมมานานเกี่ยวกับ การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม อุดมการณ์ และความรู้ การผสานรวมกันที่ก่อให้เกิดการตีความใหม่ และการปฎิบัติการใหม่ๆ ทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นฝ่ายซ้าย ฝ่ายขวา และตรงกลาง

การค้นหาตัวทฤษฏีที่มีความเหมาะสม และตอบสนองต่อการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของระบบทุนนิยม ได้สร้างให้เกิดกลุ่มย่อยๆ ของนักคิดที่นิยมฝ่ายซ้ายแต่มีความหลากหลายที่สูง ซึ่งนำไปสู่การสร้างข้อสรุปที่คล้ายๆ กันว่า เนื้อหาสาระของพื้นที่(ที่ว่าง)ของชีวิตทางสังคม ได้กลายเป็นสิ่งที่สำคัญและเปิดให้เห็นถึงช่องทางใหม่ๆ ในการตีความต่อสิ่งที่ปรากฏในช่วงเวลาปัจจุบัน แต่ทว่าจุดยืนและมุมมองที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญทางพื้นที่นี้ กลับถูกปิดบังหรือละเลย และทำให้กลายเป็นสิ่งลึกลับมานาน ในการตระหนักถึงเนื้อหาและความสำคัญนี้รุ่นต่อรุ่นของนักคิดและนักวิชาการจากหลายๆ สาขา ข้อโต้แย้งถึงการสร้างให้เกิดทฤษฏีในเชิงการเมืองที่ว่าด้วยพื้นที่ กลายมาเป็นสิ่งที่ยอมรับกันทั่วไปมากกว่าในช่วงที่ผ่านมา ข้อโต้แย้งต่างๆ ส่งเสริมซึ่งกันและกัน และสิ่งที่ปรากฏเกิดขึ้นนั้นสามารถเข้าใจได้ว่า เกิดขึ้นภายในการปะทะสังสรรค์กันระหว่างภูมิศาสตร์สมัยใหม่และลัทธิมาร์กซิสต์ตะวันตก

ทางเดินไปสู่ความเป็นหลังสมัยใหม่ :
การประกอบสร้างใหม่ของภูมิศาสตร์มนุษย์ในเชิงวิพากษ์

ดังเช่นที่แนวคิดลัทธิมาร์กซิสต์ตะวันตก ดูเหมือนจะถูกระเบิดออกแหวกออกไปสู่ความหลากหลาย และบ่อยครั้งก่อให้เกิดมุมมองที่มีความซ้อนเหลื่อมกัน. ภูมิศาสตร์สมัยใหม่ก็เช่นเดียวกัน ได้เริ่มเดินทางออกจากแนวเชื่อมต่อ ได้มีการปรับเปลี่ยนมุมมองของตัวเองภายในแนวคิดและมุมมองเก่าๆ ที่ผูกตัวเองไว้กับโลกในศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นการกำหนดความเข้าใจเกี่ยวกับการแบ่งชนชั้นแรงงานตามความรู้สมัยใหม่ กลุ่มก้อนที่เคยถูกระบุเอาไว้ ขอบเขต และการจัดแบ่งกำลังอ่อนแอลง อะไรที่เคยอยู่ที่ศูนย์กลางในปัจจุบัน กำลังจะถูกปรับเปลี่ยนให้ไปอยู่ที่ชายขอบ ในขณะที่สิ่งที่เคยอยู่ริมขอบกลับถูกค้นหาและตีความถึงศูนย์กลางใหม่ การปรับเปลี่ยนนี้คล้ายกับการดูผ่านกล้องที่มีภาพสะท้อนอยู่ในตัวเอง ความพยายามที่จะเข้าใจและกำหนดความรู้ลงในพื้นที่ของความรู้นั้น มีความยากและความซับซ้อน โดยเฉพาะเมื่อจะต้องหันมาดูตัวเองที่จมอยู่กับความคุ้นเคยเดิม เส้นแบ่งความรู้ที่เกิดขึ้นตามความเข้าใจที่เน้นเนื้อหาของเวลา

การปรับเปลี่ยนที่เกิดขึ้นแล้วและกำลังเกิดขึ้นของภูมิศาสตร์ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของข้อแม้เกี่ยวกับหลังสมัยใหม่ วิกฤตของความเป็นปัจจุบันที่จำเป็นต้องถูกเติมเต็ม เป็นทั้งอันตรายและความเป็นไปได้ใหม่ที่ ถูกบรรจุเอาไว้ด้วยความวิตกระหว่างสิ่งเก่าและสิ่งใหม่ การนำเอาข้อโต้แย้งดั่งเดิมกลับมาคือวัฒนธรรมอีกรูปแบบหนึ่งของเวลาและพื้นที่ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นบริบทของช่วงเวลาปัจจุบัน มันกำลังสร้างข้อกำหนดธรรมชาติและประสบการณ์ชีวิตประจำวันในโลกสมัยใหม่ และขนานไปกับโครงข่ายเนื้อหาความรู้ทางทฤษฏีทางสังคม ข้าพเจ้ามีความประสงค์ที่จะกำหนดตำแหน่งของทางเดินที่กำลังเดินไปสู่ความเป็นหลังสมัยใหม่นี้ ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายของปี 1960 และเหตุการณ์อีกหลายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่สามารถระบุได้ว่าเป็นจุดจบของชีวิตหลังสงครามอันยาวนานในโลกเศรษฐกิจระบบทุนนิยม และเพื่อเป็นการระบุชัดเจนถึงหน้าที่ที่สำคัญมากต่อการเปลี่ยนผ่านนี้ จึงขอหยิบยกเอางานของ เลอแฟร์และฟูโก (Lefebvre and Foucault), เบอร์กเกอร์ และแมนเดล (Berger and Mandel) ซึ่งถือได้ว่าจุดต่อตรงนี้เป็นจุดเริ่มต้นของภูมิศาสตร์แบบหลังสมัยใหม่ที่ได้รับการรับรู้ ถึงแม้ว่าการเชื่อมโยงระหว่างคนเหล่านี้จะไม่ได้มีความชัดเจนและตรงไปตรงมาตลอดเวลา และอาจจะไม่ได้มีความตั้งใจให้เกิดเป็นความเชื่อมต่อ แต่การเชื่อมโยงทางความคิดของทั้งสี่คน ถือได้ว่าเป็นรากฐานของนักภูมิศาสตร์หลังสมัยใหม่ที่มีต่อการรื้อสร้างและการสร้างใหม่ ผู้เขียนจะหยิบยกงานของเขาเหล่านี้ขึ้นมา เพื่อทำความเข้าใจและคลี่คลายต่ออาณาเขตหลังสมัยใหม่ของภูมิศาสตร์มนุษย์เชิงวิพากษ์

การประกอบรวมของความสำคัญทางพื้นที่สามประการ
เลอแฟร์, ฟูโก, เบอร์กเกอร์, และ แมนเดล, มีความชัดเจนมากในการนำเอาความสำคัญทางพื้นที่กลับเข้ามา โดยเฉพาะสอดแทรกกลับมาในช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญมาก คือ ในช่วงที่เกิดวิกฤตสูงสุดของเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ช่วง ยุคภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ (the Great Depression) (*) ได้ส่งสัญญาณให้โลกได้รู้ถึงจุดสิ้นสุดของการแผ่ขยายในยุคหลังสงคราม และเข้าสู่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างที่ลึกซึ้ง ซึ่งได้ส่งผลต่อปริมณฑลของชีวิตทางสังคมและสั่นคลอนความรู้ที่สั่งสมมาที่ตั้งอยู่บนมุมมองที่เรียบง่ายทางประวัติศาสตร์ แม้ว่าแมนเดลไม่ค่อยชี้ประเด็นนี้ให้เห็นชัด แต่ทั้งสามคนที่เหลือได้สร้างข้อโต้แย้งซึ่งเกิดขึ้นอยู่บนพื้นฐานของการตระหนักในความจริงที่ว่า ปัจจุบันนี้พื้นที่(ที่ว่าง) ได้ซ่อนอะไรหลายสิ่งหลายอย่างจากเรามากกว่าเวลา การทำลายความลึกลับของความสำคัญเชิงพื้นที่และการเปิดโปงเครื่องมือของการใช้อำนาจ จะเป็นกุญแจที่สำคัญต่อการสร้างความเข้าใจถึง ระดับปฎิบัติการ ระดับการเมือง และระดับของทฤษฏีของยุคปัจจุบัน

(*)The Great Depression was a dramatic, worldwide economic downturn beginning in some countries as early as 1928.[1] The beginning of the Great Depression in the United States is associated with the stock market crash on October 29, 1929, known as Black Tuesday and the end is associated with the onset of the war economy of World War II, beginning around 1939.

การนำเอาข้อโต้แย้งทั้งหลายเข้ามาประกอบร่วมกัน ก่อให้เกิดการรวมตัวของแนวทางที่คิดถึงกระบวนการสร้างให้เกิดความสำคัญทางพื้นที่(ที่ว่าง) ทั้งสามแนวทาง คือ

- "แนวคิดหลังประวัติศาสตร์นิยม" (Posthistoricism)
- "แนวคิดหลังฟอร์ดนิยม" (Postfordism) และ
- "แนวคิดหลังสมัยใหม่นิยม" (Postmodernism)

แนวคิดหลังประวัติศาสตร์นิยม (Posthistoricism)
ในแนวคิดแรกของกระบวนการสร้างให้เกิดความสำคัญทางพื้นที่นี้ มีรากฐานมาจากการปรับเปลี่ยนมุมมองและแนวคิดถึงธรรมชาติและความหมายของตัวตนทางสังคม ความอึดอัดคับข้องใจในระดับของการดำรงอยู่ เพื่อที่จะปรับสร้างความสมดุลย์ในการตีความระหว่างความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และสังคม การนำเอาความสำคัญทางพื้นที่กลับมาส่งผลให้เกิดการต่อต้านจากแนวคิดประวัติศาสตร์นิยมในเชิงการดำรงอยู่ ซึ่งสนับสนุนการแยกส่วนของตัวตนและการดำรงอยู่ในเวลาในศตวรรษที่ผ่านมา

แนวคิดหลังฟอร์ดนิยม (Postfordism) (*)
สำหรับกระบวนการสร้างให้เกิดความสำคัญทางพื้นที่แบบที่สอง เกิดขึ้นในลักษณะที่มีความเกี่ยวเนื่องอย่างใกล้ชิดกับเศรษฐกิจการเมืองของโลกเชิงวัตถุ และถ้าจะให้มีความชัดเจนมากขึ้นคือ มีความใกล้ชิดกับ "ความเป็นสมัยใหม่ที่สี่" ของระบบทุนนิยม คือเป็นช่วงที่เกิดการค้นหาวิธีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทั้งในเชิงพื้นที่และในเชิงสังคม ซึ่งเกิดขึ้นจากจุดจบของเศรษฐกิจที่แผ่ขยายตัวอย่างมากในช่วงหลังสงครามอันยาวนาน และสำหรับนัยยะของ "แนวคิดหลังการประกอบสร้างแบบฟอร์ดนิยม" เป็นคำที่เลือกขึ้นมา เพื่อแสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะของการปรับเปลี่ยนจากจักรวรรดิของการสะสม และการสร้างกฎเกณฑ์ ซึ่งเป็นการสร้างความแข็งแกร่งภายหลังยุคเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อในแนวดิ่ง ระบบการผลิตแบบอุตสาหกรรม ลัทธินิยมการบริโภคแบบมวลรวม และการเกิดขึ้นของพื้นที่และชุมชนแถบชานเมือง การรวมศูนย์ของการจัดการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐ และการเพิ่มขึ้นของอำนาจในการจัดการและการควบคุมของกลุ่มการร่วมทุน ในที่นี้อาจสามารถสร้างข้อโต้แย้งได้ว่า พื้นที่นั้นได้สร้างให้เกิดความแตกต่างในเชิงวิพากษ์ มันเปิดเผยให้เห็นว่าการปรับเปลี่ยนในเชิงพื้นที่ที่ได้ซ่อนอะไรบางอย่างจากเรา และนั่นคือกุญแจสำคัญที่จะสร้างให้เกิดสำนึกการเมือง และก่อร่างให้เกิดตัวทฤษฏีที่สามารถนำไปสร้างให้เกิดการปรับเปลี่ยนทางเศรษฐกิจการเมืองในโลกปัจจุบัน

(*)Post-Fordism is the name given to the dominant system of economic production, consumption and associated socio-economic phenomena, in most industrialized countries since the late 20th century. It is contrasted with Fordism, the system formulated in Henry Ford's automotive factories, in which workers work on a production line, performing specialized tasks repetitively. Definitions of the nature and scope of Post-Fordism vary considerably and are a matter of debate among scholars.
Post-Fordism is characterized by the following attributes:

- New information technologies.
- Emphasis on types of consumers in contrast to previous emphasis on social class.
- The rise of the service and the white-collar worker.
- The feminization of the work force.
- The globalization of financial markets.

แนวคิดหลังสมัยใหม่นิยม (Postmodernism)
สำหรับกระบวนการสร้างให้เกิดความสำคัญทางพื้นที่ในแบบที่สาม เกิดขึ้นกับการปรับเปลี่ยนรูปแบบทางวัฒนธรรมและทางอุดมการณ์ การปรับเปลี่ยนนิยามความหมายตามประสบการณ์ที่ได้รับจากความเป็นสมัยใหม่ การกำเนิดขึ้นของความใหม่ วัฒนธรรมหลังสมัยใหม่ของกาละและเทศะ มันคือการปรับเปลี่ยนความคิดของเราและตอบสนองต่อความเฉพาะเจาะจง ความเป็นไปได้ ของช่วงเวลาของความเป็นปัจจุบันที่เกิดขึ้นจากวิทยาศาสตร์ ศิลปะ ปรัชญา และแผนการณ์ต่างๆ ที่มีต่อการกระทำทางการเมือง ลัทธิความเป็นหลังสมัยใหม่มีความคาบเกี่ยวกับแนวคิดของกลุ่มหลังประวัติศาสตร์นิยม และกลุ่มแนวคิดหลังการประกอบสร้างแบบฟอร์ดนิยม ในลักษณะที่เป็นเสมือนวาทกรรมในเชิงทฤษฏีและเป็นเหมือนแนวคิดทางช่วงเวลาที่ซึ่งภูมิศาสตร์มีความสำคัญเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก เป็นเสมือนข้อได้เปรียบที่มองเห็นจากภายใน

การกล่าวถึงการสอดประสานของกระบวนการสร้างให้เกิดความสำคัญทางพื้นที่(ที่ว่าง)ทั้งสามแบบสามารถพบได้ในงานเขียนในช่วงปัจจุบันของ เฟรด์เดอริก เจมส์สัน (Fredric Jameson) ในบทความของเขา "หลังสมัยใหม่นิยม หรือตรรกะทางวัฒนธรรมของช่วงปลายระบบทุนนิยม" (Postmodern or the Cultural Logic of Late Capitalism) เจมส์สันสามารถนำเสนอภาพของความเฉพาะเจาะจงของความสำคัญทางพื้นที่ในช่วงเวลาปัจจุบันนี้ว่า:

พื้นที่ของหลังสมัยใหม่ (หรือเป็นพื้นที่ของความหลากหลายทางเชื้อชาติ) ไม่ใช่เป็นเพียงแค่อุดมการณ์ทางวัฒนธรรมหรือเป็นเพียงภาพเพ้อฝัน แต่มันเป็นความจริงทางประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง เช่นเดียวกันกับการแผ่ขยายอย่างใหญ่โตของระบบทุนนิยมในช่วงที่สาม ที่แผ่ขยายไปทั่วโลก (ภายหลังการแผ่ขยายของกลไกการตลาดของรัฐชาติในช่วงต้นๆ และกลไกของระบบขุนนางในช่วงปลาย ซึ่งแต่ละระบบก็มีความเฉพาะเจาะจงของวัฒนธรรมในตัวของมัน และก่อให้เกิดลักษณะที่แตกต่างกันของพื้นที่ ซึ่งเป็นไปในลักษณะการตอบสนองต่อพลวัตของแต่ละระบบ) ดังนั้นเราจึงไม่สามารถที่จะย้อนกลับพิจารณาพื้นที่ในยุคหลังสมัยใหม่นี้ โดยอ้างอิงไปยังการปฎิบัติเพื่อสร้างสุนทรีย์ ซึ่งถูกนำเสนอบนพื้นฐานของสถานะการณ์ทางประวัติศาสตร์และข้อย้อนแย้งต่างๆ ซึ่งไม่ใช่เป็นของรุ่นเราอีกต่อไป แนวคิดทางพื้นที่ได้ถูกพัฒนาต่อมา ซึ่งในที่นี้สามารถเข้าใจได้ว่าเป็นรูปแบบพื้นฐานของการปรับใช้ทางวัฒนธรรมการเมือง ให้เข้ากับสถานการณ์ในยุคของเรา ดังนั้นการปรับเปลี่ยนวิธีคิดดังกล่าวจึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องทำให้เราคำนึงถึงเนื้อหาทางด้านพื้นที่ซึ่งเป็นเนื้อหาหลักในการคิดพิจารณา
เจมส์สัน, 1984 หน้า 88-9

สิ่งที่เจมส์สันนำเสนอในเนื้อหาแนวคิดที่ว่าด้วยเรื่องพื้นที่นี้ ได้รับอิทธิพลมาจากเลอแฟร์ ผู้ซึ่งเจมส์สันได้ช่วยให้ผลงานของเขา (เลอแฟร์) ได้เป็นที่รู้จักท่ามกลางคนอเมริกาในช่วงต้นๆ ของปี 1980 แต่เสียงสะท้อนอื่นๆ ก็จำเป็นต้องได้ยินเหมือนกัน ในการทำความเข้าใจของเจมส์สันต่อรูปแบบทางพื้นที่ของการปรับตัวทางวัฒนธรรมทางการเมืองแบบสุดโต่ง ซึ่งเป็นเสมือนการปรับตัวต่อสภาวการณ์ปัจจุบันของหลังสมัยใหม่ ในฐานะ "สุนทรียภาพที่เกิดขึ้นจากแผนที่ของความทรงจำ" (Aesthetic of Cognitive Mapping) ซึ่งเป็นความสามารถในการมองเห็นตรรกะทางวัฒนธรรม และรูปแบบของลัทธิหลังสมัยใหม่

ในมุมมองของเจมส์สันแล้ว ตรรกะที่ว่านี้ทำหน้าที่เปิดโปงแผนที่ทางการใช้อำนาจและกลไกทางการควบคุมทางสังคม หรือถ้าพูดในอีกมุมหนึ่ง มุมมองที่ได้คือ เป็นมุมที่มีความเที่ยงตรงในการที่จะทำความเข้าใจว่า พื้นที่(ที่ว่าง)สามารถซ่อนผลกระทบต่างๆ ต่อเราอย่างไร? เจมส์สันได้อ้างอิงอย่าเฉพาะเจาะจงกับงานของ เควิน ลินซ์ (Kevin Lynch) โดยเฉพาะบทความ "ภาพลักษณ์ของเมือง" (Images of the City) แต่การเชื่อมโยงที่เจมส์สันได้ทำกลับเชื่อมโยงกลับไปไม่เพียงแต่เลอแฟร์และเบอร์กเกอร์ แต่ยังมีความเกี่ยวโยงไปยังงานของฟูโกด้วย

ยกตัวอย่างเช่น แนวคิดเรื่องคุกของฟูโก ที่เกี่ยวข้องกับห้องขังที่ปิดล้อม ทำให้เจมส์สันหันกลับไปมองเนื้อของภูมิทัศน์เกี่ยวกับพื้นที่ซึ่งเป็นแก่นสารของความเป็นหลังสมัยใหม่ เช่นในเมืองลอสแองเจลลิส อันเป็นผลผลิตของที่ตั้งภาพลักษณ์ของความทรงจำ ซึ่งมีลักษณะแปลกและดึงดูดที่หนึ่งในโลกทุกวันนี้ เจมส์สันได้ทำการระบุสิ่งที่ค้นหาทั้งในแง่ของวัตถุดิบทางความคิด และในแง่ของสิ่งที่เป็นกายภาพตรงไปตรงมา จากเมืองลอสแองเจลลิสและในภูมิทัศน์อื่นๆ ของความเป็นหลังสมัยใหม่ มีการแสดงออกให้เห็นถึงการถูกซ่อนเร้น และภูมิศาสตร์มนุษย์ที่กลายมาเป็นเป้าหมายของการโจมตีเกี่ยวกับการต่อต้าน ที่เกิดขึ้นจากเนื้อหาทางการเมืองของหลังสมัยใหม่ และมีความเป็นสุดโต่ง เป็นเครื่องมือที่จะฉีกหน้ากากที่ซ่อนเร้นอยู่ ซึ่งหน้ากากเหล่านี้อยู่ในฐานะที่เป็นกลไกและเครื่องมือที่สร้างให้เกิดการปรับเปลี่ยนทางสังคม

สำหรับแนวคิดที่ว่าด้วยความสำคัญทางพื้นที่ ได้ถูกนำเสนอไปแล้วบางส่วน แนวคิดเรื่องโบราณคดีและความรู้แบบวงศาวิทยา ได้มอบความรู้และหนทางที่สำคัญแก่เราเพื่อที่จะก้าวไปถึงข้อโต้แย้งในเชิงวัฒนธรรมหลังสมัยใหม่ ที่มีต่อความสำคัญทางพื้นที่ และเครื่องมือที่ใช้ในการปฎิบัติการทางอำนาจ แทนที่จะละทิ้งการเมืองในแนวคิดแบบสุดโต่ง ดังเช่นที่เจมส์สันและอีกหลายคนอ้างว่า พวกเขาได้ละทิ้งสิ่งเหล่านั้น แต่สำหรับฟูโกแล้วเขาได้เพิ่มสุ้มเสียงของเขาด้วยงานของเลอแฟร์ แนวคิดในการนำเอาพื้นที่กลับมาในฐานะทางการเมืองกลุ่มฝ่ายซ้าย

ฟูโกกล่าวว่า "ความเป็นจริงของหน้าที่ทางการเมืองของพวกเราในสังคม คือการโต้แย้งเครื่องมือในระดับปฎิบัติการที่ถูกใช้จากความเป็นสถาบันต่างๆ ซึ่งแสดงตัวในลักษณะที่เป็นกลางและแยกตัวออกจากกันอย่างเป็นอิสระ ในการที่จะโต้แย้งกับมัน ถือได้ว่าเป็นความรุนแรงทางการเมืองอย่างหนึ่ง ถ้าได้มีกระบวนการที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นโดยผ่านตัวของมันเองถือได้ว่าเป็นการเปิดโปงโฉมหน้า และนั่นจะเป็นหนทางที่คนทั่วไปจะต่อสู้กับมัน" การต่อสู้นี้ได้แผ่ขยายออกไปมาก จากการล่วงละเมิดที่เกิดขึ้นโดยสถาบันของระบบทุนนิยมไปสู่ "เทคโนโลยี" (Technologies) ที่มีอยู่ในรูปแบบและอยู่ตามสาขาต่างๆ ตามที่จะพบพวกมันได้ และแม้แต่ในอาณาเขตของลัทธิสังคมนิยมที่ยังคงมีตัวตนอยู่

การกล่าวถึงความอึดอัดขับข้องในที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ ถือได้ว่าเป็นก้าวอย่างที่สำคัญต่อจากแนวคิดเรื่องการต่อต้านที่เกิดขึ้นกับแนวคิดหลังสมัยใหม่ตามความคิดเจมส์สัน การพิจารณาถึงข้ออึดอัดขับข้องใจทางพื้นที่นี้ ถือได้ว่าเป็นการแสดงออกทางยุทธวิธีด้านภูมิศาสตร์การเมือง ซึ่งพื้นฐานแนวคิดยุทธวิธีนี้จะนำเอาเนื้อหาทางพื้นที่ขึ้นมาเป็นข้อพิจารณาหลัก คือ อำนาจต่างๆ สามารถที่จะส่งผ่านไปในช่องทางต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นองค์กร ที่ที่ปิดล้อม และการควบคุมปัจเจกชนในพื้นที่

แนวคิดแบบหลังสมัยใหม่ที่เจมส์สันได้นำมาใช้ เป็นเสมือนแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับเวลา ซึ่งเป็นการนำเราไปสู่การเชื่อมโยงตามแนวคิดแบบแมนเดล ในข้อโต้แย้งที่จะนำเอาความสำคัญทางพื้นที่กลับมาในทฤษฏีทางสังคมเชิงวิพากษ์ เจมส์สันได้นำเอาแนวคิดการตีความของแมนเดลในหนังสือ ระบบทุนนิยมตอนปลาย (Late Capitalism) และการเปลี่ยนบทบาทของการพัฒนาที่เกิดขึ้นในเชิงภูมิศาสตร์แบบไม่สมดุลย์ ซึ่งแมนเดลได้อธิบายถึงประเด็นหลักที่มีความเกี่ยวเนื่องกันระหว่าง กระบวนการสร้างให้เกิดความสำคัญทางช่วงเวลา (Periodization) และกระบวนการสร้างให้เกิดความสำคัญทางพื้นที่(ที่ว่าง) (Spatialization) ในระดับมหภาคของเศรษฐกิจการเมืองระบบทุนนิยม ในช่วงเวลาอันยาวนานที่เกิดวิกฤตการณ์และเกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่นั้น ไม่เพียงแต่มีผลกระทบต่อยุคสมัยทางประวัติศาสตร์เท่านั้น แต่ขณะเดียวกัน มันก่อให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ การปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ทางขอบเขตของพื้นที่ ซึ่ง"มีการพัฒนาอย่างไม่เท่าเทียม และมีลักษณะของการรวมศูนย์" ตามการพัฒนาแบบทุนนิยม ซึ่งกล่าวได้ว่ามันเป็นผลที่ต่อเนื่องตามมาของความเป็นสมัยใหม่นิยม

ข้อโต้แย้งที่ได้จากเจมส์สันนี้ เป็นเสมือนแนวคิดที่สะท้อนให้เห็นถึงสภาวะของการเป็นหลังสมัยใหม่ และเนื้อหาที่ได้จากการศึกษาการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ตามแนวคิดหลังการประกอบสร้างแบบฟอร์ดนิยม แนวคิดนี้กลายเป็นกรอบคิดที่จะช่วยให้เกิดการพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของเมือง อาณาเขตของเมือง และภูมิศาสตร์นานาชาติของลัทธิทุนนิยม ซึ่งมีนักวิเคราะห์หลายคนได้กล่าวไว้ว่าพื้นที่ในลักษณะของหลังสมัยใหม่หรือลัทธิทุนนิยมตอนปลายนี้ มีลักษณะเป็นการซ้อนทับกันหลายๆ ชั้นโดยมีเนื้อหาในการแบ่งแยกแรงงานในเชิงพื้นที่

(คลิกกลับไปทบทวนบทความเรื่องเดียวกัน ตอนที่ ๑)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๑ : Release date 28 May 2008 : Copyleft by MNU.

นักคิดอีกคนที่น่าจะกล่าวถึงในการพูดถึงแนวคิดมาร์กซิสต์เชิงโครงสร้างคือ นิโคล พอลแลนทีสต์ (Nicos Poulantzas)(*) สำหรับทฤษฏีที่ว่าด้วยรัฐของพอลแลนทีสต์ ถือได้ว่าเป็นทฤษฏีที่มีความขัดแย้งกับแนวคิดของลัทธินิยมมาร์กซิสต์เลยทีเดียว ซึ่งตามมุมมองของกลุ่มมาร์กซิสต์แล้ว รัฐเป็นเครื่องมือซึ่งถูกครอบครองโดยชนชั้นใดชนชั้นหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจง พอลแลนทีสต์ไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้ เพราะการมองเห็นเฉพาะแต่ชนชั้นนายทุนจะเป็นการมองอย่างจงใจในผลกำไร ที่ได้อย่างแยกส่วนหรือเฉพาะบุคคลในระยะสั้นเท่านั้น แต่ควรจะมองว่าชนชั้นนายทุนนี้ทำอย่างไรที่สามารถดำรงสภาพของการมีอำนาจอยู่ได้ในระยะยาว คือเป็นการปรับขยับขยายอำนาจของรัฐทั้งหมดเพื่อประโยชน์ของชนชั้นของตน (คัดมาจากบทแปล)

H