ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




21-06-2551 (1593)

แนะนำหนังสือ: วิทยาศาสตร์เข้าใจง่ายโดยดอว์กินส์ และมาร์กูลิส
Selfish - Symbiosis: จากยีนเห็นแก่ตัว ถึงสัมพันธภาพแบบอิงอาศัย
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวม
บทความชิ้นนี้เคยได้รับการเผยแพร่แล้วที่ http://onehundredfirst.blogspot.com
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทความแนะนำหนังสือต่อไปนี้ นำมาจากเว็บไซต์" เล่มที่หนึ่งร้อยหนึ่ง.blog"
บริหารโดยอาจารย์ชลนภา อนุกูล ซึ่งเคยร่วมงานกับกับมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน (เชียงใหม่)
สำหรับบนหน้าเว็บเพจนี้ ได้แนะนำหนังสือวิทยาศาสตร์ทางด้านชีววิทยา ๒ เล่ม
๑. 1. The Selfish Gene
๒. Symbiotic Planet : A New Look At Evolution

โดยเล่มแรกกล่าวถึงยีนปกติของมนุษย์มีความเห็นแก่ตัว เพื่อความอยู่รอดตามธรรมชาติ
นอกจากนี้ยังได้มีการพูดถึง meme (มีม) ซึ่งเป็นประเด็นที่น่าสนใจ หมายถึง
ชุดของแนวคิดที่จำลองตัวเองโดยผ่านการสื่อสารของมนุษย์ เช่น ความเชื่อทางศาสนา
การเมือง วัฒนธรรมป๊อป รายการทีวี เช่นเดียวกับยีน มีมย่อมมีจุดมุ่งหมาย เพื่อจำลองตัวเอง
ให้มีจำนวนมากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ โดยกำจัดมีมที่ขัดแย้งกันออกไป โดยผ่านสื่อกลางคือ
มนุษย์หกพันล้านคนทั่วโลกนั่นเอง

สำหรับเรื่องที่สอง เป็นการเลามถึงความสัมพันธ์แบบอิงอาศัยที่ปรากฏอยู่แทบทุกหนทุกแห่ง
ก่อนที่จะกลับไปตั้งต้นการเล่าเรื่องราวชีวิตของของผู้เขียนตั้งแต่เยาว์วัย ไล่เรียงกันมาถึงเรื่องผลงาน
สำคัญที่ว่าด้วยทฤษฎีกำเนิดของสิ่งชีวิต การทำอนุกรมภิธานแบบใหม่ และปิดท้ายด้วยทฤษฎีกายา
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา

ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๕๙๓
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๐.๕ หน้ากระดาษ A4)


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

แนะนำหนังสือ: วิทยาศาสตร์เข้าใจง่ายของดอว์กินส์ และมาร์กูลิส
Selfish - Symbiosis: จากยีนเห็นแก่ตัว ถึงสัมพันธภาพแบบอิงอาศัย
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : รวบรวม
บทความชิ้นนี้เคยได้รับการเผยแพร่แล้วที่ http://onehundredfirst.blogspot.com
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word


1. The Selfish Gene
ผู้แต่ง ริชาร์ด ดอว์กินส์
ตีพิมพ์ครั้งแรก ปี พ.ศ. ๒๕๓๓
ประเภท วิวัฒนาการ ปรัชญา วิเคราะห์. พิมพ์โดย สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด

แนะนำโดย ชินวิทย์ เลิศบรรณพงษ์
เล่มที่หนึ่งร้อยหนึ่ง.blog
Open the Books. Open the Minds. Finds Our Own Experiences.
http://onehundredfirst.blogspot.com/2007_02_01_archive.html

เป็นที่ทราบกันดีว่า หนังสือจำพวกวิทยาศาสตร์ร่วมสมัย มักจะเหมาะกับผู้ใฝ่รู้ทุกเพศทุกวัย ในแง่ที่สามารถถ่ายทอดเนื้อหา ที่ชวนปวดเศียรเวียนเกล้าพร้อมๆ กับชวนง่วงเหงาหาวนอน ให้กลายเป็นเนื้อหาที่ผู้คนทั่วไปอ่านเข้าใจง่าย และน่าติดตามในเวลาเดียวกัน. ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว จุดประสงค์อันดับแรกของผู้เขียนก็ย่อมต้องการให้ผู้อ่านในวงกว้าง "รับทราบ" ถึงความก้าวหน้าของแวดวงวิทยาศาสตร์ - อย่างน้อยก็เท่าที่ผู้เขียนคิดว่าสามารถอธิบายให้คนธรรมดาเข้าใจได้

The Selfish Gene อาจเป็นหนังสืออีกเล่มที่เขียนขึ้นตามครรลองของวิทยาศาสตร์ร่วมสมัย ทว่า มันไม่ได้พอใจจะจำกัดบทบาทของตัวเองไว้เพียงแค่ตำราเรียนอ่านสนุกเท่านั้น หากพยายามก้าวข้ามขีดจำกัดของหนังสือประเภทนี้ ด้วยการท้าทายคติความเชื่อเดิมๆ ขณะเดียวกัน ก็กระตุ้นผู้อ่านในวงกว้างเข้ามา "มีส่วนร่วม" ในการขบคิดและถกเถียงประเด็นความขัดแย้งนี้ด้วย แต่อยางไรก็ตาม มีข้อควรระวังเล็กน้อยก่อนหยิบหนังสือเล่มนี้

ประการแรก ผู้อ่านควรมีความรู้พื้นฐานด้านชีววิทยาเบื้องต้นมาบ้าง โดยเฉพาะเกี่ยวกับกฏการคัดเลือกโดยธรรมชาติ
ประการที่สอง เนื้อหามองโลกในแง่ร้ายอาจไม่เหมาะสำหรับเยาวชนหรือผู้อ่านที่ยังไม่มีวุฒิภาวะเพียงพอ และ
ประการสุดท้าย นี่คือหนังสือที่ผู้อ่านควรทำความรู้จักเนื้อหาคร่าวๆ ก่อน สำหรับพวกอนุรักษ์นิยม พวกเคร่งศีลธรรม หรือแม้แต่พวกมนุษย์นิยมบางประเภทแล้ว เนื้อหาแรงๆ ของ The Selfish Gene อาจทำให้น้ำลายฟูมปากได้ไม่ยากเลย

ในทางตรงกันข้าม สำหรับผู้ที่สอบผ่านคำเตือนดังกล่าวข้างต้นแล้ว The Selfish Gene คืออาหารสมองชั้นดีสำหรับนักอ่านที่เปิดใจกว้าง เพราะได้พูดถึงปริศนาของชีวิตในมุมกลับหัวกลับหางโดยมีหลักการวิทยาศาสตร์หนุนหลัง ขณะเดียวกัน ก็ยังสามารถนำเสนอสาระสำคัญที่น่าทึ่งและน่ากระอักกระอ่วนด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย

The Selfish Gene ยืนหยัดท้าทายความคิดความเชื่อของผู้อ่านทั่วโลกมาแล้วร่วม ๓ ทศวรรษ ได้รับการแปลเป็นภาษาอื่นๆ กว่า ๒๐ ภาษา ซ้ำยังถูกวิพากษ์วิจารณ์ทั้งแง่ชื่นชมและแง่เสียๆ หายๆ อย่างกว้างขวาง แน่นอน ไม่บ่อยนักที่จะมีหนังสือวิทยาศาสตร์ร่วมสมัยผ่านร้อนผ่านหนาวอย่างทรหดขนาดนี้ และนั่นก็คงเป็นคำจำกัดความของหนังสือได้อย่างดีก่อนที่คุณจะตัดสินใจอ่าน

ในช่วงแรก ผู้เขียนพยายามทำความเข้าใจเบื้องต้นกับผู้อ่านเกี่ยวกับภาพกว้างๆ ของหนังสือเล่มนี้ ดอว์กินส์อ้างว่า ศีลธรรมอันดีของมนุษย์ไม่ได้มีเหตุผลทางทฤษฎีรองรับอยู่เลย การคาดหวังให้มนุษย์ปฏิบัติต่อกันด้วยความกรุณาและปราศจากความเห็นแก่ตัวนั้น ขัดกับธรรมชาติของเราเอง เขาไม่ได้กล่าวโทษมนุษย์หรือยีนว่าเป็นต้นเหตุแห่งความชั่วร้าย แต่ "ความเห็นแก่ตัว" เป็นเรื่องปรกติธรรมดาสำหรับกฏการคัดเลือกโดยธรรมชาติ

ยิ่งไปกว่านั้น หน่วยมูลฐานที่ผ่านการคัดเลือกโดยธรรมชาตินั้นไม่ใช่การคัดเลือกกลุ่ม หรือ การคัดเลือกเผ่าพันธุ์อย่างที่คนส่วนใหญ่เข้าใจกัน การยึดถือเอาว่าสิ่งมีชีวิตเป็นผลผลิตของกระบวนการวิวัฒนาการ จึงอาจเป็นการทึกทักเอาเอง จากวิธีมองโลกโดยยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง. ดอว์กินส์เสนอว่า หน่วยมูลฐานที่ผ่านการคัดเลือกโดยธรรมชาติคือ ยีน นั่นหมายความว่า สิ่งมีชีวิตทุกชนิด ไม่ว่าปรสิต ต้นไม้ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หรือแม้แต่มนุษย์ อาจเป็นเพียงเกราะหุ้มหรือเครื่องกลสำหรับการดำรงชีวิตของยีนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น

ดอว์กินส์ยังกล่าวอ้างถึงความสำเร็จในการสร้างโมเลกุลอินทรีย์ในห้องทดลอง ซึ่งเลียนแบบสภาพแวดล้อมโลกยุคดึกดำบรรพ์ การทดลองดังกล่าวยืนยันถึง ความเป็นไปได้ที่จะเกิดโมเลกุลอินทรีย ์ในมหาสมุทรยุคดึกดำบรรพ์ จนกระทั่ง ๓.๕ พันล้านปีก่อน มันจึงเริ่มมีความสามารถจำลองตัวเองได้ และอีกหกร้อยล้านปีให้หลัง นักจำลองตัวเองเหล่านี้ก็อาศัยอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด และถูกเรียกโดยมนุษย์ว่า "ยีน"

จากนั้นเขาจึงนำพาผู้อ่านไปรู้จักยีน, โครโมโซม, และดีเอ็นเอ, ยีนหนึ่งๆ ต้องแย่งพื้นที่จำกัดบนโครโมโซมกับยีนคู่ตรงข้ามของมันเอง ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสในการอยู่รอดของตัวเอง ด้วยการลดโอกาสการอยู่รอดของศัตรู พฤติกรรมลักษณะนี้ผู้เขียนให้นิยามไว้ว่าเป็น "ความเห็นแก่ตัวของยีน". นอกจากนี้ โอกาสการอยู่รอดของตัวอ่อน - เครื่องกลเพื่อความอยู่รอด - ก็หมายถึงโอกาสการอยู่รอดของยีนเท่าๆ กัน ต่อเมื่อผ่านพ้นช่วงที่ยีนจำลองตัวเองสำเร็จแล้ว เครื่องกลเพื่อความอยู่รอดจึงหมดประโยชน์ แก่ลง และตายจากไป. อย่างไรก็ตาม หน่วยเล็กๆ จำนวนมากของยีนจะยังคงเพิ่มจำนวนและดำรงอยู่ในรุ่นลูก รุ่นหลาน และรุ่นต่อๆ ไปตลอดกาล

สิ่งมีชีวิตต่างมีวิวัฒนาการที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ เพื่อปกป้องยีนที่อยู่ภายใน กระนั้น จิตสำนึกของเราก็ไม่ได้ถูกยีนบงการอยู่ตลอดเวลา. ดอว์กินส์เปรียบเทียบประเด็นนี้ไว้อย่างน่าสนใจกับคอมพิวเตอร์ ที่ถูกโปรแกรมให้แข่งขันหมากรุกกับมนุษย์ นักเขียนโปรแกรมมีหน้าที่เพียงโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์มีศักยภาพดีพอที่จะแข่งขันเท่านั้น แต่นักเขียนโปรแกรมไม่ได้มีส่วนร่วมใดใด กับการตัดสินใจของคอมพิวเตอร์ ระหว่างการแข่งขันเลย ยีนก็เช่นกัน มันไม่ได้มีอิทธิพลโดยตรง ต่อกระบวนการตัดสินใจของสิ่งมีชีวิตในปัจจุบัน หากแต่มีส่วนต่อการกำหนดคุณสมบัติต่างๆ มาตั้งแต่ต้น ซึ่งถ้าหากคุณสมบัติดังกล่าวส่งผลเสียต่อการดำรงชีวิต ณ สภาพแวดล้อมหนึ่งๆ แล้ว ทั้งเครื่องกลเพื่อความอยู่รอดและยีนของมันก็จะต้อง "ถูกคัดออก" ในที่สุด

"Good of the species" - ประโยชน์ต่อสิ่งมีชีวิต - เป็นอีกวลีหนึ่ง ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะอนุมานเอาเองจากทฤษฎีวิวัฒนาการ ในมุมมองของการคัดเลือกกลุ่มหรือชนิด ในความเป็นจริง การใช้กลยุทธหรือกลอุบายต่างๆ ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกันเท่านั้น แต่มันยังแพร่หลายในสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันด้วย. เนื้อหาช่วงกลางของหนังสือแสดงให้เห็นว่า สิ่งมีชีวิตหนึ่งจะพยายามใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตอีกตัวหนึ่ง - ที่ไม่ใช่ลูกหลานหรือญาติใกล้ชิด - ราวกับมันเป็นเพียงสิ่งแวดล้อมอย่างหนึ่งเท่านั้น. ดอว์กินส์ยังอ้างถึงทฤษฎีเกม ที่นำมาประยุกต์กับสาขาชีววิทยาวิวัฒนาการ เพื่ออธิบายปฏิสัมพันธ์ของพฤติกรรมสัตว์ ทั้งระหว่างชนิดเดียวกัน และระหว่างชนิดต่างกัน ทั้งนี้ การคำนวณอัตราส่วนความเสถียรทางวิวัฒนาการ จะสามารถแสดงภาพคร่าวๆว่า สิ่งมีชีวิตซึ่งมีพฤติกรรมลักษณะหนึ่ง จะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไร ท่ามกลางสิ่งมีชีวิต ซึ่งมีพฤติกรรมอีกแบบหนึ่ง ภายใต้กฏการคัดเลือกโดยธรรมชาติ

เป้าหมายสูงสุดของยีนหนึ่งๆ คือ การเพิ่มจำนวนให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ดังนั้น ยีนจะพยายามสำเนาตัวเองที่อาศัยอยู่ในเครื่องกลเพื่อความอยู่รอดอีกตัวหนึ่ง ความช่วยเหลือเกื้อกูลในสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันอาจถูกมองว่าเป็นความกรุณา แต่อีกนัยหนึ่ง มันก็คือความเห็นแก่ตัวอีกรูปแบบของยีน ความสัมพันธ์ใกล้ชิดของยีนในแต่ละปัจเจก จึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญ ในการตัดสินใจของเครื่องกล เพื่อความอยู่รอด เช่น ความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่าง พ่อแม่-ลูก หรือ พี่-น้อง ที่มีค่าความเกี่ยวดองสูงถึงร้อยละห้าสิบ ย่อมมีความกรุณาต่อกัน มากกว่าความสัมพันธ์ที่เป็นญาติห่างๆ หรือสิ่งมีชีวิตเดียวกันแต่ไม่มีความเกี่ยวดองกันเลย

ดอว์กินส์มองว่ามนุษย์ในยุคปัจจุบันเป็นข้อยกเว้นประการหนึ่ง เนื่องจากการคุมกำเนิด และรัฐสวัสดิการ จัดเป็นกระบวนการที่ฝืนธรรมชาติ แม้จะสามารถเป็นตัวแทนของความกรุณาระหว่างมนุษย์ด้วยกันเองได้ ในระดับหนึ่ง แต่มันก็เพิ่งเริ่มต้นได้เพียงอึดใจเดียวเท่านั้น เมื่อเทียบกับประวัติศาสตร์อันยาวนานของเรา

เขาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมของพ่อแม่-ลูก-พี่-น้อง และหว่างพฤติกรรมของเพศผู้-เพศเมีย โดยอาศัยค่าความเกี่ยวดอง และอัตราส่วนความเสถียรทางวิวัฒนาการเข้ามาช่วย. ดอว์กินส์อ้างถึงกลยุทธต่างๆ ที่ลูกแต่ละตัวใช้ เพื่อดึงดูดทรัพยากรจากพ่อแม่ ให้ได้มากกว่าพี่น้องของมันเอง นอกจากนี้ พ่อและแม่ก็ย่อมมีกลยุทธ ที่จะผลักภาระการเลี้ยงดูลูกให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเช่นกัน อย่างไรก็ดี ด้วยแรงกดดันทางวิวัฒนาการ สิ่งมีชีวิตเพศผู้จึงมักมีเซลล์สืบพันธุ์ที่มีขนาดเล็ก และคล่องตัวกว่า ดังนั้น ต้นทุนการเลี้ยงดูลูกจึงตกอยู่กับเพศเมียเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่เพศผู้มีแนวโน้มที่จะละเลยการเลี้ยงดูลูก หรือแม้แต่ละทิ้งลูก เพื่อไปสืบพันธุ์กับเพศเมียตัวอื่นๆ

ในช่วงท้าย ดอว์กินส์ใช้ความคล้ายคลึงจากการจำลองตัวเองของยีน มาเทียบเคียงกับการจำลองตัวเองของแนวคิด - มีม - หมายถึง ชุดของแนวคิดที่จำลองตัวเองโดยผ่านการสื่อสารของมนุษย์ เช่น ความเชื่อทางศาสนา การเมือง วัฒนธรรมป๊อป รายการทีวี หรือแม้แต่หนังสือเล่มนี้เป็นต้น เช่นเดียวกับยีน มีมย่อมมีจุดมุ่งหมาย เพื่อจำลองตัวเองให้มีจำนวนมากที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ โดยกำจัดมีมที่ขัดแย้งกันออกไป โดยผ่านสื่อกลางคือ มนุษย์หกพันล้านคนทั่วโลกนั่นเอง

โดยสรุปแล้ว แม้ในปัจจุบัน นักชีววิทยาจะหันมาสนใจเกี่ยวกับการคัดเลือกหลายลำดับกันมากขึ้น แต่นักชีววิทยาสมัยใหม่จำนวนมากมองว่า ทฤษฎีการคัดเลือกโดยยีน ยังคงสามารถอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ในกระบวนการวิวัฒนาการได้อย่างน่าพอใจ. กระนั้น นอกเหนือจากภาคทฤษฎีแล้ว ข้อสังเกตบางประการของดอว์กินส์ ก็ใช่ว่าจะหาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์ยืนยันได้ทั้งหมด ดังนั้น การอ่านหนังสือเล่มน ี้จึงออกจะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ แต่ถึงอย่างไร The Selfish Gene ก็ไม่ควรถูกมองข้าม สำหรับการทำความรู้จักตัวตนของพวกเรา - มนุษย์ - ในแง่มุมที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงหรืออยากพูดถึงนัก

The Selfish Gene

The Selfish Gene is a book on evolution by Richard Dawkins, published in 1976. It builds upon the principal theory of George C. Williams's first book Adaptation and Natural Selection. Dawkins coined the term selfish gene as a way of expressing the gene-centered view of evolution, which holds that evolution is best viewed as acting on genes, and that selection at the level of organisms or populations almost never overrides selection based on genes. An organism is expected to evolve to maximize its inclusive fitness - the number of copies of its genes passed on globally (rather than by a particular individual). As a result, populations will tend towards an evolutionarily stable strategy. The book also coins the term meme for a unit of human cultural evolution analogous to the gene, suggesting that such "selfish" replication may also model human culture, in a different sense. Memetics has become the subject of many studies since the publication of the book.

เกี่ยวกับผู้เขียน
ริชาร์ด ดอว์กินส์ เกิดในประเทศเคนยาปี 1941 ใช้เวลาช่วงวัยเด็กในแอฟริกาตะวันออกถึงแปดปี ก่อนครอบครัวของเขาจะย้ายกลับมายังอังกฤษ ระหว่างศึกษาปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด เขาได้รับแรงบันดาลใจจากนิโก ทินเบอร์เกน นักชีววิทยารางวัลโนเบลชาวเดนมาร์ก ในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับศาสตร์ ว่าด้วยพฤติกรรมสัตว์ หรือ บุคลิกภาพวิทยา

ดอว์กินส์ เคยเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กเลย์ ระยะสั้นๆ ก่อนย้ายกลับมาเป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด และในช่วงต้นของทศวรรษ 70 นี้เอง เขาได้พัฒนา และสังเคราะห์ แนวความคิดสายบุคลิกภาพวิทยา เข้ากับทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วิน และชีววิทยาระดับโมเลกุล

หลังจากหนังสือเล่มแรก The Selfish Gene ตีพิมพ์ในปีค.ศ. 1976 ชื่อของเขาก็เริ่มเป็นที่รู้จักทั้งในวงกว้างมากขึ้น, ส่วน The Extended Phenotype หนังสือเล่มสองของดอว์กินส์ ซึ่งต่อยอดจากแนวคิดในเล่มแรกโดยเพิ่มมิติทางสังคม สิ่งประดิษฐ์ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตสร้างสรรค์ขึ้น เขายังเคยปรารภไว้ครั้งหนึ่งว่า "ถ้าคุณจะอ่านหนังสือของผมแค่เล่มเดียวแล้วล่ะก็ อ่าน The Extended Phenotype เถอะ"

เขายังเขียนหนังสือออกมาอย่างต่อเนื่อง หลายเล่มเข้าข่ายหนังสือขายดีที่สุด(Best Seller) อย่างไรก็ดี ในรายชื่อหนังสือวิทยาศาสตร์ดี ๑๐๐ เล่มที่สถาบันเทคโนโลยีสตีเวนส์จัดทำขึ้น ได้ยกย่องให้เล่ม The Blind Watchmaker เป็นหนึ่งในนั้น. ตัวอย่างหนังสือขายดีเล่มอื่นๆ ของดอว์กินส์ ได้แก่ The Extended Phenotype (1982), The Blind Watchmaker (1986), River Out of Eden (1995), Climbing Mount Improbable (1996) และ Unweaving the Rainbow (1998)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

2. Symbiotic Planet : A New Look At Evolution
ผู้แต่ง ลินน์ มาร์กูลิส
ตีพิมพ์ครั้งแรก ปี พ.ศ. ๒๕๓๓,
ประเภท วิทยาศาสตร์ ชีววิทยา. พิมพ์โดย สำนักพิมพ์เบสิก บุ๊กส์

แนะนำโดย ชลนภา อนุกูล
เล่มที่หนึ่งร้อยหนึ่ง.blog
Open the Books. Open the Minds. Finds Our Own Experiences.
http://onehundredfirst.blogspot.com/2007_02_01_archive.html

แม้ว่าชาร์ลส์ ดาร์วินจะบุกเบิกประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ของความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่สั่นคลอนความเชื่อดั้งเดิมของสังคมมนุษย์ ด้วยการยืนยันว่า ชีวิตมิได้เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมา หากเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงเป็นลำดับขั้น แต่ทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วินก็มิอาจอธิบายได้ว่า สิ่งมีชีวิตแรกเริ่มเกิดขึ้นได้อย่างไร อีกทั้งในช่วงหลัง แนวคิดวิวัฒนาการเองก็ไม่ต่างจากศาสนา นั่นคือ ถูกทัศนะจากสังคมและวัฒนธรรมครอบงำกำกับอยู่ ดังที่มีความเชื่อว่า "มนุษย์นั้นอยู่เหนือสิ่งมีชีวิตอื่น"

ลินน์ มาร์กูลิส เป็นนักชีววิทยาที่โดดเด่นของยุคสมัย ด้วยทัศนะทางวิทยาศาสตร์ที่พ้นไปจากความเป็นลัทธิ เธอยืนยันว่า สิ่งมีชีวิตทั้งหลายต่างมีประวัติศาสตร์แห่งวิวัฒนาการร่วมกัน ไม่มีการจัดลำดับชั้นว่าสิ่งมีชีวิตใดสูงต่ำกว่ากันอย่างไร มนุษย์กับวานรก็ไม่มีอะไรพิเศษไปกว่าสิ่งมีชีวิตอื่น เพราะต่างก็เป็นคนหน้าใหม่ของลำดับชั้นวิวัฒนาการ มนุษย์ไม่ได้มีจุดเริ่มต้นแห่งวิวัฒนาการจากลิง หากมาจากแบคทีเรียนั่นเลย ด้วยเหตุนี้ มนุษย์จึงมิได้เกิดจากหัตถ์ของพระเจ้า หากแต่เป็นผลของปฏิสัมพันธ์ระหว่างจุลชีพที่ใช้เวลานับพันล้านปี

มาร์กูลิสเป็นนักท้าทายความรู้เก่า เธอมักยืนอยู่ที่พรมแดนด่านหน้าของความรู้ใหม่เสมอ รวมทั้งในพื้นที่ของทฤษฎีกายาของเจมส์ เลิฟล็อก ที่เชื่อว่าโลกเป็นระบบที่มีชีวิต และได้รับการต่อต้านจากนักชีววิทยาส่วนใหญ่. หนังสือ Symbiotic Planet: A New Look At Evolution ได้ชี้ชวนให้เห็นแนวคิดที่เชื่อมโยงทฤษฎีหลัก ๒ ทฤษฎีในชีวิตของมาร์กูลิส ซึ่งร้อยเรียงผ่านงานเขียนกึ่งอัตชีวประวัติอย่างแนบเนียน นักรบชีววิทยาหญิงผู้นี้เชื่ออย่างสุดจิตสุดใจว่า สรรพสิ่งล้วนดำรงอยู่ได้ด้วยสัมพันธภาพแบบอิงอาศัย หนังสือเล่มเล็กนี้เต็มไปด้วยเรื่องราวอันโลดโผนของชีวิตและงานของเธอ

เนื้อหาแบ่งเป็น ๙ บท มาร์กูลิสเริ่มจากการเกริ่นถึงที่มาของหนังสือ และเล่าถึงความสัมพันธ์แบบอิงอาศัยที่ปรากฏอยู่แทบทุกหนทุกแห่ง ก่อนที่จะกลับไปตั้งต้นการเล่าเรื่องราวชีวิตของตนตั้งแต่เยาว์วัย ไล่เรียงกันมาถึงเรื่องผลงานสำคัญของเธอ ที่ว่าด้วยทฤษฎีกำเนิดของสิ่งชีวิต การทำอนุกรมภิธานแบบใหม่ และปิดท้ายด้วยทฤษฎีกายา ทุกบททุกตอนมีการนำเสนอแนวคิดเรื่องสัมพันธภาพแบบอิงอาศัย ผสานกันไปกับการแสดงออกถึงบุคลิกลักษณะแหกคอกไม่เหมือนใครของเธอ

เมื่อซ้าค - ลูกชายตั้งคำถามถึงความเชื่อมโยงของทฤษฎี ๒ ทฤษฎีที่มาร์กูลิส ทุ่มเทการทำงานอย่างใกล้ชิด นั่นคือ ระหว่างทฤษฎีการอิงอาศัยภายในแบบอนุกรมกับทฤษฎีกายา ตอนแรกเธอตอบว่าไม่น่าจะมีความเชื่อมโยงกัน แต่ลูกศิษย์ - เกร็ก ฮินเคิล ยืนยันว่า หากมองจากอวกาศเข้ามา กายาหรือโลกก็เป็นระบบอิงอาศัยเช่นเดียวกัน มาร์กูลิสเห็นด้วย

ระบบอิงอาศัยเป็นระบบที่ประกอบด้วยสมาชิกต่างชนิดมาอยู่ร่วมกัน ระบบนี้พบได้ในทุกหนทุกแห่ง เป็นต้นว่า ต้นไม้บางชนิดมีราไมคอไรซาอยู่ที่ราก ซึ่งทำหน้าที่ย่อยสารอาหารและดึงก๊าซบางอย่าง ลำไส้ของสุนัขก็มีหนอนพยาธิบางชนิดทำหน้าที่ช่วยย่อยอาหาร ดังนี้แล้ว แนวคิดกำเนิดสิ่งมีชีวิต หรือสายพันธุ์ใหม่ ที่มีพื้นฐานอยู่บนสัมพันธภาพแบบอิงอาศัยจึงถือกำเนิดขึ้น ซึ่งเป็นช่องว่างความรู้ที่ขาดหายไปในทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วิน

มาร์กูลิสยืนยันว่า ทฤษฎีวิวัฒนาการอีกสายหนึ่งก็คือแนวคิดของลามาร์ก ซึ่งสอดคล้องกันอย่างดียิ่งกับแนวคิดระบบอิงอาศัย นั่นคือ สิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ใหม่เป็นผลจากปรากฏการณ์ผุดบังเกิด ในชุมชนสิ่งมีชีวิต ที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ดังเช่น หนอนตัวแบนพันธุ์หนึ่งที่มีสาหร่ายอาศัยอยู่ในตัว และสามารถสังเคราะห์แสงได้ ในจอกแหนน้ำก็มีคลอเรลลาอยู่เป็นกลุ่มภายในเซลล์ เป็นต้น

งานของนักชีววิทยาอย่างนีลส์ เอลเดร็จ และนักบรรพชีวินอย่างสตีเฟน เจย์ กูลด์ ที่กล่าวถึงวิวัฒนาการแบบก้าวกระโดด นั่นคือ มีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นในโลกอย่างฉับพลันทันทีหลายครั้งโดยไม่ต่อเนื่องกัน ก็เป็นเครื่องยืนยันเป็นอย่างดีของการเกิดสิ่งมีชีวิตพันธุ์ใหม่ ผ่านกระบวนการของระบบอิงอาศัย มาร์กูลิสย้ำว่า การเกิดขึ้นของสายพันธุ์โฮโม ซาเปียน ก็เป็นเช่นเดียวกัน

ท่วงทีในการนำเสนอทฤษฎีใหม่แบบผ่าเหล่าผ่ากอของมาร์กูลิสนั้น ดูจะเข้าใจได้ไม่ยาก เมื่อมองเห็นภูมิหลังความนอกคอกของเธอตั้งแต่อายุ ๑๓ ขวบ ที่ดื้อรั้นกับบิดา ในการเข้าเรียนมัธยมเร็วกว่ากำหนด พออายุ ๑๔ ก็แต่งงานกับนักฟิสิกส์อัจฉริยะ - คาร์ล ซาแกน แต่ยังไม่ได้เข้าพิธีแต่งงาน จนกระทั่งจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเมื่ออายุ ๑๙ สามปีหลังจากนั้นก็เข้าศึกษาต่อที่เบิร์กเลย์ ทั้งที่เป็นแม่ของลูกชาย ๒ คนเข้าไปแล้ว

เธอมีความสนใจค่อนไปทางแนวคิดนอกกระแส ในช่วงที่ตั้งครรภ์คลอดลูกสาว ก็เลยใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ที่บ้าน เขียนบทความวิชาการนำเสนอทฤษฎีการอิงอาศัยภายในแบบอนุกรม ซึ่งถูกปฏิเสธการลงตีพิมพ์ถึง ๑๕ ครั้ง ก่อนที่จะได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลาย และบรรจุเนื้อหาเรื่องนี้ไว้ในแบบเรียนของนักเรียนโดยทั่วไป

ทฤษฎีการอิงอาศัยภายในแบบอนุกรม ก็มีพื้นฐานมาจากแนวคิดเรื่องระบบอิงอาศัยนั่นเอง แนวคิดของมาร์กูลิสคือ การเกิดขึ้นของเซลล์สิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนขึ้น ย่อมเกิดขึ้นจากการหลอมรวมของเซลล์สิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน กลายเป็นเซลล์ของสิ่งมีชีวิตพันธุ์ใหม่ โดยที่เซลล์สิ่งมีชีวิตเดิมก็ไม่ได้ตายจากไป หากยังมีชีวิตอยู่ภายในเซลล์ใหม่ ซึ่งมีคุณลักษณะแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตเดิม เกิดเป็นวิวัฒนาการ มีความหลากหลายทางชีวภาพเกิดขึ้น เมื่อดูไปที่สิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ก็จะเห็นว่า ประกอบด้วยเซลล์ของจุลชีพขนาดเล็กจำนวนมาก ดังเช่น ภายในเซลล์ของสัตว์ พืช และเห็ดรา ต่างก็มีองค์ประกอบขนาดเล็กที่มีลักษณะเหมือนแบคทีเรียมาก ซึ่งเป็นผลจากการหลอมรวมเซลล์จุลชีพต่อเนื่องกันเป็นทอดๆ

งานสำคัญอีกชิ้นหนึ่งของมาร์กูลิสก็คือ การสร้างอนุกรมวิธานสำหรับสิ่งมีชีวิต เนื่องจากระบบที่มีอยู่เดิมขาดระบบอ้างอิงที่ดี และมีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ ในการแบ่งประเภทอยู่บ่อยครั้งจนน่าเวียนหัว เธอและผองเพื่อนได้พัฒนาการแบ่งประเภทสิ่งมีชีวิต ออกเป็น ๕ อาณาจักรใหญ่ๆ ประกอบด้วย แบคทีเรีย โปรโตซัว เห็ดรา พืช และสัตว์ โดยแบ่งตามลำดับการหลอมรวมของเซลล์จุลชีพที่ซับซ้อนขึ้น และแม้จะมีผู้จัดทำอนุกรมวิธานอีกหลายแบบ ระบบของมาร์กูลิสก็ได้กลายเป็นอนุกรมวิธานมาตรฐาน ที่ปรากฏอยู่ในแบบเรียนชีววิทยาปัจจุบัน

ส่วนความพยายามในการตอบปัญหาเก่าแก่ของทางชีววิทยา ที่ว่าด้วยกำเนิดเริ่มแรกของสิ่งมีชีวิต มาร์กูลิสมีความคิดโน้มเอียงไปในทางที่ว่า องค์ประกอบทางกายภาพของสิ่งมีชีวิตนั้น ย่อมเกิดขึ้นได้จากสิ่งไม่มีชีวิต โดยอ้างอิงถึงการทดลอง ที่มีกรดอะมิโนถูกสังเคราะห์ขึ้นมาได้ จากสสารในห้องทดลอง ที่จำลองแบบสภาวะของโลกในช่วงแรก แต่เธอก็ชี้ให้เห็นว่า องค์ความรู้ด้านนี้ยังไม่เพียงพอต่อการอธิบายกำเนิดของตัวตน ซึ่งเป็นกระแสสืบเนื่องของชีวิต เธอเสนอว่า สิ่งมีชีวิตแรกของโลกน่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตที่ประกอบด้วยผนังเซลล์ และกระบวนการทางเคมีในเซลล์นั้นเองที่ก่อให้เกิดชีวิต บันทึกประวัติศาสตร์ของชีวิตก็น่าที่จะศึกษาได้จากเหล่าจุลชีพ

ระบบเกื้อกูลในระดับเซลล์ที่มาร์กูลิสและดอเรียนผู้เป็นบุตรชายศึกษาร่วมกัน ก็คือ การผสมพันธุ์กันระหว่างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมีย น่าสนใจที่ว่าเซลล์ทั้งสองประเภทสามารถจดจำกันได้ และหลอมรวมกันเกิดเป็นเซลล์ใหม่ หากปราศจากความสัมพันธ์นี้ก็ยากยิ่งที่จะมีการขยายพันธุ์ และเกิดเป็นวิวัฒนาการขึ้นมาได้ ส่วนระบบเกื้อกูลในระดับที่ใหญ่ขึ้นนั้น ก็คือ ระบบนิเวศนั่นเอง อนาคตของมนุษย์บนดาวอื่นมิได้มีแต่มนุษย์เท่านั้น หากต้องคำนึงถึงระบบนิเวศทั้งระบบซึ่งประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตอันหลากหลาย มาร์กูลิสรู้สึกหงุดหงิดคับข้องใจมากทีเดียวกับภาพอนาคตที่ปรากฎอยู่ในภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่องสตาร์เทร็ค ซึ่งมีแต่ยานอวกาศ และมนุษย์หน้าตาแปลกๆ นับได้ว่าเป็นโลกอนาคตที่แล้งร้ายจริงๆ

ช่วงท้ายของหนังสือ เป็นเรื่องของทฤษฎีกายา ซึ่งว่าด้วยโลกที่มีชีวิต งานวิจัยของเธอมีผลการศึกษาสอดคล้องกับงานวิจัยของเจมส์ เลิฟล็อก ผู้ให้กำเนิดทฤษฎีกายา และเป็นเครื่องยืนยันว่า โลกเป็นระบบที่สามารถจัดการตนเอง. มาร์กูลิสยืนยันว่าเรื่องโลกมีชีวิตไม่ใช่สิ่งเลื่อนลอยหรือความเพ้อฝัน เพราะหากมองเห็นโลกเป็นระบบนิเวศน์อันยิ่งใหญ่ ระบบหมุนเวียนของสารในระบบนิเวศน์ของโลกนั้น เป็นเครื่องยืนยันอย่างดี ถึงความสามารถในการปรับเปลี่ยนตัวเองของโลก ไม่มีสิ่งใดในโลกนี้ที่ถือว่าเป็นของเสีย แต่เป็นสิ่งที่เปลี่ยนรูปหมุนเวียนอยู่ในระบบอันซับซ้อนเหล่านี้ กระทั่งแบคทีเรีย กำเนิดแรกเริ่มของสิ่งมีชีวิต ก็เป็นผลผลิตของโลก เพราะสารขับถ่ายของสิ่งมีชีวิตก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศน์ บรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกก็เป็นผลจากการหายใจและย่อยสลายของสิ่งมีชีวิต อุณหภูมิของโลกก็สูงขึ้น ๗๕ องศาเซลเซียสหลังจากที่มีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นในโลก เหล่านี้ ล้วนเป็นเครื่องแสดงให้เห็นความสามารถในการวิวัฒน์ตัวเองของโลก นั่นคือ ประกอบด้วยกระบวนการปรับตัว และกระบวนการคัดเลือก

สิ่งมีชีวิตทั้งหลายก็ล้วนแต่มีวิถีชีวิตที่ดำเนินไปอย่างผสานสอดคล้องกับโลก เรียกได้ว่า เกื้อกูลซึ่งกันและกัน ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งเสมอ มาร์กูลิสเตือนว่า โลกนั้นยิ่งใหญ่กว่ามนุษย์มาก เพราะว่าโลกนั้นมีชีวิต และมีกระบวนการวิวัฒนาการมายาวนาน ก่อนที่มนุษย์จะถือกำเนิดขึ้น การที่มนุษย์กล่าวว่าจะปกป้องโลก จึงค่อนข้างเป็นความอหังการอยู่สักหน่อย โลกนั้นยิ่งใหญ่เกินกว่าที่มนุษย์ตัวกระจ้อยจะทำลายได้ โลกเคยผ่านหายนภัย เทียบเท่ากับการระเบิดของหัวรบนิวเคลียร์ร่วมสมัย ๕,๐๐๐ ลูก มาแล้ว ฉะนั้น ต่อให้โลกนี้ไม่มีมนุษย์เหลืออยู่เลย โลกก็จะยังมีชีวิตอยู่ต่อไปดังที่เคยเป็นมา และตามทัศนะของมาร์กูลิส ศัตรูของมนุษย์ก็คือมนุษย์ด้วยกันเอง ตราบที่มนุษย์ยังเบียดเบียนมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ก็เท่ากับได้ก้าวเดินไปสู่หายนภัยทีละน้อย

Symbiotic Planet เป็นหนังสือทางชีววิทยาไม่กี่เล่มที่ได้รับการตอบรับจากสาธารณชนค่อนข้างสูง. ลินน์ มาร์กูลิส ถือเป็นนักวิทยาศาสตร์แถวหน้าของยุคสมัย ความห้าวหาญบ้าบิ่นของเธอนั้นเป็นที่เลื่องชื่อ ขนาดที่ริชาร์ด ดอว์กินส์ นักชีววิทยาผู้มีชื่อเสียงและได้ชื่อว่ามีฝีปากคมยังหลีกเลี่ยงที่จะประฝีปากกับเธอ นอกจากบุคลิกภาพอันโดดเด่นดังกล่าว อัจฉริยภาพของเธอยังได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง

ความนอกครูของเธอ จะว่าไปแล้วไม่ต่างจากความนอกครูของนักวิทยาศาสตร์อย่างไอน์สไตน์ และแวร์เนอร์ ไฮเซนแบร์ก ซึ่งต้องก้าวข้ามความเชื่อบนพื้นฐานทฤษฎีเก่าออกมาก่อน เธอไม่ได้เขียนเล่าว่า ความเป็นผู้หญิงของเธอได้เป็นอุปสรรคในการทำงานหรือไม่ แต่เธอยอมรับว่าหน้าที่ของความเป็นมารดาของเด็ก ๓ คน และการทำงานเป็นนักวิทยาศาสตร์ไปพร้อมกัน ไม่ใช่เรื่องง่ายดายเอาเสียเลย. หนังสือเล่มนี้บ่งบอกตัวตนของมาร์กูลิสไว้มากพอควร ส่วนที่น่าสนใจก็คือคำอธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีกายา แม้เจมส์ เลิฟล็อก จะได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งทฤษฎีกายา แต่มาร์กูลิสก็เป็นหัวหมู่ทะลวงฟัน ถ้อยคำกระแหนะกระแหน และอคติทั้งปวงที่มีต่อทฤษฎีกายา จากนักวิทยาศาสตร์ด้วยกันเอง

ความเป็นวิทยาศาสตร์ว่าด้วยชีวิตของโลกนั้น อยู่ที่การตีความหมายของคำว่า "ชีวิต" มาร์กูลิสไม่จมจ่อมกับปัญหาการถกเถียงเรื่องนิยาม หากแต่ก้าวล่วงไปสู่การยกระดับญานทัศนะ ขึ้นมาจับประเด็นความหมายของวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับชีวิต ท่าทีเช่นนี้ถือว่าน่าสนใจมากทีเดียว

Symbiotic Planet: A New Look At Evolution

Although Charles Darwin's theory of evolution laid the foundations of modern biology, it did not tell the whole story. Most remarkably, The Origin of Species said very little about, of all things, the origins of species. Darwin and his modern successors have shown very convincingly how inherited variations are naturally selected, but they leave unanswered how variant organisms come to be in the first place.In Symbiotic Planet, renowned scientist Lynn Margulis shows that symbiosis, which simply means members of different species living in physical contact with each other, is crucial to the origins of evolutionary novelty. Ranging from bacteria, the smallest kinds of life, to the largest-the living Earth itself-Margulis explains the symbiotic origins of many of evolution's most important innovations. The very cells we're made of started as symbiotic unions of different kinds of bacteria. Sex-and its inevitable corollary, death-arose when failed attempts at cannibalism resulted in seasonally repeated mergers of some of our tiniest ancestors. Dry land became forested only after symbioses of algae and fungi evolved into plants. Since all living things are bathed by the same waters and atmosphere, all the inhabitants of Earth belong to a symbiotic union. Gaia, the finely tuned largest ecosystem of the Earth's surface, is just symbiosis as seen from space. Along the way, Margulis describes her initiation into the world of science and the early steps in the present revolution in evolutionary biology; the importance of species classification for how we think about the living world; and the way "academic apartheid" can block scientific advancement. Written with enthusiasm and authority, this is a book that could change the way you view our living Earth.

เกี่ยวกับผู้เขียน
ลินน์ มาร์กูลิส - Lynn Margulis ศาสตราจารย์ด้านชีววิทยา ประจำมหาวิทยาลัยแมสซาสชูเสต ในอัมแฮร์ตสต์ และผู้อำนวยการร่วมของหน่วยชีววิทยาโลก ประจำองค์การอวกาศนาซา อยู่ในสภาวิทยาศาสตร์แห่งชาติของอเมริกาตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๘๓ เธอเขียนหนังสือไว้นับสิบเล่ม เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เขียนแล้วอ่านเข้าใจง่าย งานชิ้นสำคัญ ได้แก่

- Symbiosis in Cell Evolution
- Five Kingdoms
- Origins of Sex
- Garden of Microbial Delights
- What is Life?
- What is Sex?
- Slanted Truths: Essays on Gaia, Symbiosis and Evolution

งานปัจจุบันก็คือ การค้นคว้า ถ่ายทำภาพยนตร์ และเขียนบทความวิชาการว่าด้วยชีวิตของเหล่าจุลชีพ ที่อาศัยอยู่ร่วมกับเราในโลกนี้

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๕๑ : Release date 21 May 2008 : Copyleft by MNU.

ยีนหนึ่งๆ ต้องแย่งพื้นที่จำกัดบนโครโมโซมกับยีนคู่ตรงข้ามของมันเอง ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสในการอยู่รอดของตัวเอง ด้วยการลดโอกาสการอยู่รอดของศัตรู พฤติกรรมลักษณะนี้ ผู้เขียนให้นิยามไว้ว่า เป็น "ความเห็นแก่ตัวของยีน". สิ่งมีชีวิตต่างมีวิวัฒนาการที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ เพื่อปกป้องยีนที่อยู่ภายใน กระนั้น จิตสำนึกของเราก็ไม่ได้ถูกยีนบงการอยู่ตลอดเวลา. ดอว์กินส์เปรียบเทียบประเด็นนี้ไว้อย่างน่าสนใจกับคอมพิวเตอร์ ที่ถูกโปรแกรมให้แข่งขันหมากรุกกับมนุษย์ นักเขียนโปรแกรมมีหน้าที่เพียงโปรแกรมให้คอมพิวเตอร์มีศักยภาพดีพอที่จะแข่งขันเท่านั้น แต่นักเขียนโปรแกรมไม่ได้มีส่วนร่วมใดใด กับการตัดสินใจของคอมพิวเตอร์ ระหว่างการแข่งขันเลย ยีนก็เช่นกัน มันไม่ได้มีอิทธิพลโดยตรง ต่อกระบวนการตัดสินใจของสิ่งมีชีวิต

H