ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




20-06-2551 (1592)

global report ฉบับ 002 - อดตาย หรือ อ้วนตาย เลือกเอาสักอย่าง
FOOD POLITICS: การเมืองเรื่องอาหาร (จากประเทศจนถึงประเทศรวย)
กรรณิการ์ กิจติเวชกุล : เรียบเรียง
บทความชิ้นนี้เคยได้รับการตีพิมพ์แล้วใน a day weekly
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทความต่อไปนี้ ได้รับจากผู้เขียน และถูกบรรจุเข้าเป็นส่วนหนึ่งใน
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่าง
และกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนจากประเทศชายขอบทั่วโลก
มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชุมชนในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้ลิขซ้าย (copyleft)

ภาพด้านหนึ่งในกลุ่มประเทศโลกที่สาม ผู้คนกำลังจะอดตาย เพราะการกระจายตัว
ด้านอาหารเป็นไปโดยการถูกแทรกแซงจากพิษของการเปิดเสรีการค้าและโลกาภิวัตน์
ส่วนอีกด้านหนึ่งในกลุ่มประเทศโลกที่หนึ่ง ผู้นคนกำลังถูกยุยงและปิดบังข้อมูล
ให้บริโภคอาหารขยะและอ้วนตาย ภาพความขัดแย้งนี้ถูกเสนออยู่ในบทความเกี่ยวกับ
การเมืองเรื่องอาหารนี้ ซึ่งมีหัวข้อที่น่าสนใจเช่น ... การอดตายในประเทศโลกที่สาม,
โลกกาภิวัตน์ กับการถูกทำให้อดอยาก, การถูกทำให้อดตาย (เฉพาะคนจน),
การอ้วนตาย ในประเทศโลกที่หนึ่ง, อุตสาหกรรมอาหาร กับการอ้วนตาย,
อ้วนตายเพราะกาแทรกแซงทางการเมืองในสหรัฐฯ เป็นต้น
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา

ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๕๙๒
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๕.๕ หน้ากระดาษ A4)


+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

global report ฉบับ 002 - อดตาย หรือ อ้วนตาย เลือกเอาสักอย่าง
FOOD POLITICS: การเมืองเรื่องอาหาร (จากประเทศจนถึงประเทศรวย)
กรรณิการ์ กิจติเวชกุล : เรียบเรียง
บทความชิ้นนี้เคยได้รับการตีพิมพ์แล้วใน a day weekly (อดตาย หรือ อ้วนตาย เลือกเอาสักอย่าง)!
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

ความนำ
ในขณะที่สื่อมวลชนเผยแพร่ภาพข่าวประชากรบางประเทศกำลังจะอดตาย ข้อเท็จจริงอีกด้านหนึ่งนั้น ก็ฉายภาพให้เราเห็นว่าประชากรบางประเทศมีอาหารบริโภคอย่างล้นเหลือจนต้องเผชิญกับภาวะโรคอ้วนกันถ้วนหน้า ปรากฏการณ์เช่นนี้ชี้ให้เห็นชัดเจนว่า วาทกรรมจากฝ่ายอุตสาหกรรมอาหารที่พยายามบอกว่าปริมาณอาหารในโลกกำลังขาดแคลนนั้น - ไม่จริง...ที่จริงก็คือโลกขาดแคลนกลไกการจัดสรรและแบ่งปันอาหารอย่างยุติธรรม

อุตสาหกรรมอาหารซับซ้อนและเชื่อมโยงกับธุรกิจการเมือง กระทั่งเกี่ยวพันไปถึงทิศทางการกำหนดนโยบายทั้งระดับประเทศและระดับโลกอย่างไม่น่าเชื่อ บทความต่อไปนี้เป็นรายงานถึงกลไกการเมืองเบื้องหลังอาหาร เพื่อชี้ให้เห็นว่าการเมืองเกี่ยวข้องกับปากท้องมากกว่าที่คิด

ประเด็นที่น่าสนใจ
- เพื่อให้บรรดาผู้ถือหุ้นพอใจในผลประกอบการ อุตสาหกรรมอาหารจึงต้องโน้มน้าวใจผู้บริโภคให้ 'กินสินค้าของบริษัทมากๆ เข้าไว้' หรือกินสินค้าของเรามากกว่าสินค้าของคู่แข่ง โดยผ่านการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ล็อบบี้รัฐบาล ข้าราชการ นักโภชนาการ และสื่อมวลชนว่า ผลิตภัณฑ์ของพวกเราดีต่อสุขภาพ จนกลายเป็นวัฒนธรรมไปแล้ว แต่สาธารณะชนรับรู้ความจริงเหล่านี้น้อยมาก

- การยกเลิกข้อจำกัดการนำเข้าตามกฎของ WTO ได้ทำลายระบบที่ประกันการเข้าถึงตลาดท้องถิ่นของเกษตรกรอินเดีย ระบบซึ่งครั้งหนึ่งเคยช่วยให้เกษตรกรมีรายได้พอจุนเจือครอบครัว และสร้างความมั่นคงทางอาหารในท้องถิ่นโดยไม่ต้องพึ่งพาตลาดภายนอก แต่กฎของ WTO ไม่ได้จัดการกับประเทศร่ำรวยที่อุดหนุนภาคเกษตรของตัวเองถึงวันละ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ. ไม่มีทางเลยที่จะห้ามการทุ่มตลาดผลผลิตราคาถูกเหล่านั้นมายังประเทศยากจน

- ปี 2544 ขณะที่มีคนยากจนอดตายใน 13 รัฐ, โกดังของ ฟู้ด คอร์เปอร์เรชั่น ออฟ อินเดีย หรือ FCI รัฐวิสาหกิจซึ่งทำหน้าที่ส่งออกพืชผลการเกษตรกลับล้นเกิน เพราะหาตลาดส่งออกไม่ได้ ทำให้ข้าวและเมล็ดพืชบางส่วนเน่าเสียและถูกหนูกิน มีการประมาณกันว่า หากเอากระสอบข้าวและเมล็ดพืชเหล่านั้นมาเรียงสูงขึ้นไปเรื่อยๆ มนุษย์สามารถเดินไปกลับจากโลกถึงดวงจันทร์ได้อย่างสบาย

(*)Food Corporation of India was setup on 14th January 1965 under Food Corporation Act 1964 with authorised capital of almost $600 million to implement the national policy for price support operations, procurement, storage, preservation, inter-state movement and distribution operations.

It operates through 5 zonal offices and a regional office in Delhi. Each year, the Food Corporation purchases roughly 15-20 per cent of India's wheat output and 12-15 per cent of its rice output. The losses suffered by FCI are reimbursed by the Union government, to avoid capital erosion, and thus declared as a subsidy in the annual budget. In 2007, such food subsidies were met by government bonds worth almost $8 billion.

- อุตสาหกรรมอาหารไม่ได้ต่างจากอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อสร้างความต้องการเทียมขึ้นมา เพื่อเพิ่มยอดขายของตัวเอง และอุตสาหกรรมอาหารก็ยังผลิตสินค้าและสร้างตลาดเพื่อขาย โดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการ หรืออันตรายที่จะเกิดกับสุขภาพของผู้บริโภค ดังนั้น อุตสาหกรรมอาหารจึงไม่ได้มีพฤติกรรมต่างจากอุตสาหกรรมบุหรี่

เนื้อเรื่อง
พูดถึง 'อาหาร' ทุกคนคงยอมรับกันว่า มีความจำเป็นกับชีวิตแค่ไหน ไม่มีใครอยู่ได้ด้วยการไม่กินอาหาร แต่พอพูดถึงการเมืองเรื่องอาหาร (Food Politics) หลายคนอาจจะงุนงง ว่าการเมืองไปเกี่ยวข้องกับเรื่องอาหารที่เราๆ ท่านๆ กินกันอยู่ได้อย่างไร หรือในอาหารมันมีการเมืองแทนที่คุณค่าทางอาหารแล้หรือ. ที่ต้องหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมา เพราะ 'อาหาร' หรือสิ่งที่เราบริโภคกันเข้าไปนั้น มันไม่ใช่แค่อะไรที่กินกันเข้าไป ย่อยแล้วก็ถ่ายออกมาเท่านั้น แต่มีเรื่องราวความน่าสนใจของการที่อาหารมีบทบาทต่อการกำหนดนโยบายประเทศ นโยบายโลก และในทางกลับกัน ความเป็นไปในโลก โดยเฉพาะกระแสโลกาภิวัตน์ได้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดอาหารโลกด้วย

เราจะพบว่ามีบางพื้นที่ บางประเทศ บางส่วนของสังคมที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ คนอยู่ดีมีสุข แล้วเราก็ยังรับรู้ว่า มีบางประเทศที่ประชากรกำลังเผชิญสภาวะความอดอยากอย่างแสนสาหัส มีผู้คนล้มตาย จนกำลังเป็นภาพชินตาผ่านภาพข่าวในสื่อสารมวลชน แล้วเราก็ยังได้ยินได้ฟังอีกด้วยว่า มีคนบางกลุ่ม คนในบางประเทศกำลังบริโภคล้นเกิน จนเกิดภาวะอ้วนตาย ทำให้ยาลดความอ้วน และการขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการลดความอ้วนขายดีเป็นเทน้ำเทท่า. สาเหตุของการอดตายในบางประเทศ ไม่ได้เป็นเพราะประเทศนั้นๆ แห้งแล้ง หรือเพาะปลูกไม่ได้เท่านั้น เช่นเดียวกับสาเหตุของการอ้วนตายก็ไม่ได้เป็นเพราะคนเหล่านั้นตามใจปากเพียงอย่างเดียว เรื่องราวมันลึกลับซับซ้อนกว่านั้น จนสามารถเรียกปรากฏการณ์เหล่านี้ว่า 'การเมืองเรื่องอาหาร' (Food Politics)

การอดตายในประเทศโลกที่สาม
เบื้องหน้า... รัฐบาลอินเดียในไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้ชูนโยบาย India Shining (*) เพราะการเติบโตที่พรวดพราวของอุตสาหกรรมไอที อย่างน้อย 2 รัฐในอินเดีย คือ อันตระประเทศ และ การ์นาตะกะ ได้รับฉายาว่า 'รัฐไซเบอร์' (Cyber State) เป็นศูนย์การ Call Center ของโลก มีการจ้างงานมากถึง 500,000 คน มีคนชั้นกลางและชั้นสูงเกิดขึ้นมากมาย จนบริษัทรถยนต์ชั้นนำของเยอรมันอย่างเดมเลอร์ ไคร์สเลอร์ ประกาศเปิดตัวรถที่หรูที่สุดในโลกที่อินเดีย แม้จะตั้งราคาที่ 5 ล้านรูปี แต่ตอนนี้มีบรรดาอภิมหาเศรษฐีในบอลลีวู้ด (Bollywood) (**) เข้าคิวจองซื้อรถนี้แล้ว

(*) India Shining was a political slogan referring to the overall feeling of economic optimism in India after plentiful rains in 2003 and the success of the Indian IT boom. The slogan was popularized the then-ruling Bharatiya Janata Party (BJP) for the 2004 Indian general elections.

The slogan was initially developed as part of an Indian government campaign intended to promote India internationally. Advertising firm Grey Worldwide won the campaign account in 2003; the slogan and the associated campaign was developed by national creative director Prathap Suthan, in consultation with Finance Minister Jaswant Singh. The BJP-led government spent an estimated $20 million USD of government funds on national television advertisements and newspaper ads featuring the "India Shining" slogan.

(**)Bollywood is the informal term popularly used for the Mumbai-based Hindi-language film industry in India. Bollywood is often incorrectly used to refer to the whole of Indian cinema; it is only a part of the Indian film industry. Bollywood is one of the largest film producers in the world.

The name is a portmanteau of Bombay (the former name for Mumbai) and Hollywood, the center of the American film industry. However, unlike Hollywood, Bollywood does not exist as a real physical place. Though some deplore the name, arguing that it makes the industry look like a poor cousin to Hollywood, it seems likely to persist and now has its own entry in the Oxford English Dictionary.

เบื้องหลัง...1 ใน 3 คนอินเดีย ประมาณ 860 ล้านคนเข้านอนทั้งที่ท้องหิว มีรายงานคนอดตายมากถึง 13 รัฐ จาก 25 รัฐของอินเดีย รัฐที่มีคนอดตายมากที่สุดคือ มัธยประเทศและโอริสสา. ปี 2543 มีรายงานว่า นางสุมิตรา เบเฮรา อายุ 35 ปีจากหมู่บ้านบาดิบาฮัล ในรัฐโอริสสา ต้องขายลูกสาววัย 2 เดือน เพียงเพราะนั่นเป็นวิธีเดียวที่เธอจะสามารถหาเงินไปซื้อข้าวประทังชีวิตลูกสาวอีก 2 คน. เดือนธันวาคม 2546 เพียงเดือนเดียวมีครอบครัวอย่างน้อย 3 ครอบครัวที่ต้องขายลูกเพื่อบรรเทาความอดอยาก ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ คุณสามารถหาซื้อเด็กทารกในอินเดียได้ในราคาต่ำกว่าน้ำแร่ 1 ขวด

จากการสำรวจพบว่า เด็ก 6,785 คนในเมืองชีพปุรี รัฐมัธยประเทศ ตกอยู่ในภาวะขาดสารอาหาร อัตราเฉลี่ยใน 1 ตำบลมีเด็กขาดสารอาหาร 160 คน สถิตินี้ไม่ได้แตกต่างกันมากนักในแต่ละรัฐ แต่ปัญหาขาดสารอาหารยังเป็นปัญหาที่ถูกซ่อนไว้ใต้พรม เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเด็กและผู้หญิง และจะไม่เป็นข่าว - หากยังไม่ถึงกับตาย!

นักเศรษฐศาสตร์ชื่อนำของโลก อย่าง อมาตยา เซน ได้เขียนบทความใน ดิ ออฟเซิฟเวอร์ ตั้งคำถามว่า ทำไมคนครึ่งโลกถึงหิวโหย และตอบว่าไม่มีทุพภิกขภัยในประเทศประชาธิปไตย โดยยกอินเดียเป็นตัวอย่างที่สามารถขจัดปัญหานี้ได้ และยังเสนอให้เพิ่มการส่งออกเพื่อแก้ปัญหาความอยากจน

โลกกาภิวัตน์ กับการถูกทำให้อดอยาก
วันทนา ศิวะ นักวิทยาศาสตร์และนักวิชาการด้านความมั่นคงทางอาหาร ไม่คิดเช่นนั้น เธอแย้งว่า จริงอยู่ที่หลังจากอินเดียเป็นเอกราชเมื่อปี 2490 ปัญหาภาวะความอดอยากหายไปทันที แต่ขณะนี้ภาวะอดอยากกำลังกลับมาครอบครองอินเดีย. ทุพภิกขภัยครั้งร้ายแรงในปี 2485 ซึ่งอินเดียยังตกอยู่ในอาณานิคมของอังกฤษคร่าชีวิตชาวอินเดียไปกว่า 2 ล้านคน ทำให้รัฐบาลที่เพิ่งได้รับเอกราชมุ่งนโยบายเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร และความมั่นคงในชีวิตให้กับประชาชนเป็นสำคัญ มากกว่าที่จะคิดเรื่องการค้า-การขาย และออกนโยบายกระจายที่ดินทำกินให้ประชาชนเพื่อแก้ปัญหารากเหง้าของความยากจน

การปฏิรูปเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ กลับหันหลังให้กับนโยบายเหล่านี้โดยสิ้นเชิง ด้วยการเปลี่ยนภาคเกษตรให้เป็นอุตสาหกรรม ทอดทิ้งเกษตรกรรายย่อย ยึดและจำกัดการถือครองดินของประชาชน ขณะที่ให้บรรดาเกษตรอุตสาหกรรมได้รับสิทธินี้แทน คนที่ถูกเบียดขับเหล่านี้ นี่แหละที่กำลังจะอดตาย. วันทนา ศิวะ ยังแย้ง อมาตยา เซน ว่าไม่ได้ชี้ที่ปัญหาการกระจุกตัวของที่ดิน ปัญหาราคาเมล็ดพันธุ์และยาฆ่าแมลง ปัญหาการไร้สิทธิในทรัพยากรว่าเป็นสาเหตุของความอดอยาก

ประชาชนกำลังอดอยาก เพราะโครงสร้างนโยบายที่เคยปกป้องภาคชนบท เอื้อให้ประชาชนเข้าถึงทรัพยากร เข้าถึงตลาดท้องถิ่น อันนำมาซึ่งสิทธิและรายได้ของประชาชนกำลังถูกรื้ออย่างถอนรากถอนโคน โดยโครงการปรับโครงสร้างภาคเศรษฐกิจของธนาคารโลก และกฎว่าด้วยตลาดเสรีขององค์การการค้าโลกหรือ WTO

การยกเลิกข้อจำกัดการนำเข้าตามกฎของ WTO ได้ทำลายระบบที่ประกันการเข้าถึงตลาดท้องถิ่นของเกษตรกรอินเดีย ระบบซึ่งครั้งหนึ่งเคยช่วยให้เกษตรกรมีรายได้พอจุนเจือครอบครัวและสร้างความมั่นคงทางอาหารในท้องถิ่น โดยไม่ต้องพึ่งพาตลาดภายนอก แต่กฎของ WTO ไม่ได้จัดการกับประเทศร่ำรวยที่อุดหนุนภาคเกษตรของตัวเองถึงวันละ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ไม่มีทางเลยที่จะห้ามการทุ่มตลาดผลผลิตราคาถูกเหล่านั้นมายังประเทศยากจน

เมื่ออินเดียเปิดตลาด สินค้าเกษตรทะลักเข้าทันที จาก 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อปี 2538 เป็น 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2543 โดยส่วนใหญ่ส่งมาจากสหรัฐอเมริกาและยุโรป สหรัฐมีแผนจะอุดหนุนภาคเกษตรเพิ่มอีก 130,000 ล้านดอลลาร์ในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยอ้างว่าเพื่อเกษตรกร 2 ล้านคน (ซึ่งอันที่จริง เงิน 2 ใน 3 ไปตกแก่เกษตรกรอุตสาหกรรมรายใหญ่เพียงร้อยละ 10 ของเกษตรกรทั้งหมดเท่านั้น) สุดท้าย ผลจะทำให้มีอุปาทานล้นเกินทุ่มมายังตลาดโลก ทำให้ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ทำลายชีวิตเกษตรกรในประเทศยากจน

ตั้งแต่ WTO สั่งให้อินเดียต้องขจัดกำแพงภาษี เมื่อปี 2543 ราคามะพร้าวในอินเดียลดลง 80 เปอร์เซ็นต์ ราคากาแฟตกลง 60 เปอร์เซ็นต์ ราคาพริกไทยตกลง 45 เปอร์เซ็นต์ ที่กระทบมากสุดเห็นจะเป็นพืชน้ำมัน จากอดีตที่อินเดียสามารถผลิตพืชน้ำมันเพียงพอกับการใช้ในประเทศ ตอนนี้ 70 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำมันพืชต่างประเทศกำลังครองตลาดอินเดีย จนทำให้เกษตรกรเมืองเกรราลา ต้องประท้วงปิดท่าเรือนำเข้า เพราะพวกเขาจะตายอยู่แล้ว ขายสินค้าไม่ได้ เป็นหนี้เป็นสิน ไม่แปลกที่ประชาชนเรียกร้องให้มีการควบคุมการนำเข้าอีกครั้ง

จากหลักเศรษฐศาสตร์การค้าเสรี มองว่าวิธีแก้ปัญหาความยากจนในประเทศโลกที่สาม ต้องเปิดตลาดและเพิ่มการส่งออกเท่านั้น แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในอินเดีย และอีกหลายประเทศยากจนทั่วโลกคือ การส่งออกสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้น กลับลดการบริโภคอาหารภายในประเทศน้อยลง

"เมื่อประเทศปลูกดอกไม้และผักเพื่อการส่งออก ประเทศเหล่านี้ได้หว่านเมล็ดพันธุ์ความอดอยากไว้ด้วย". อินเดียสนับสนุนการส่งออกดอกไม้และเนื้อสัตว์ อินเดียใช้เงิน 27 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อส่งเสริมการส่งออกดอกไม้ เพื่อหาได้รายได้เข้าประเทศ 6.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้อินเดียสามารถซื้ออาหารได้เพียง 1 ใน 4 จากเงินที่ขายดอกไม้ แทนที่จะปลูกพืชผักกินเอง. ในกรณีของเนื้อ ทุก 1 เหรียญสหรัฐ ที่ได้จากเนื้อในฟาร์มขนาดใหญ่ แลกกับการสูญเสียทางระบบนิเวศที่เคยมีอย่างอุดมสมบูรณ์ คิดเป็นมูลค่า 15 เหรียญสหรัฐ ดังนั้น สามารถพูดได้ว่า อินเดียต้องจ่ายค่าความไม่มั่นคงทางอาหาร และการสูญเสียในระบบนิเวศมากเสียยิ่งกว่าเงินที่ได้มาจากการส่งออกพืชฟุ่มเฟือย ดอกไม้ และเนื้อสัตว์

การถูกทำให้อดตาย (เฉพาะคนจน)
มูลายัม ซิงห์ ยาดา ได้อภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรอินเดียว่า "ปัญหาความอดอยากในรัฐโอริสสา, อันตระประเทศ, อุตตระประเทศ, มัธยประเทศ, มหาราชตะ, บิฮาร์ และกุจราฐ กำลังทวีความรุนแรง. แต่น่าเศร้าสลดคือ ขณะที่ผู้คนกำลังอดอยาก แต่ในโกดังกลับล้นทะลัก. เงินจำนวน 300-400 ล้านรูปีถูกใช้ไปกับการเก็บสต็อกพืชอาหาร ขณะที่ 35 เปอร์เซ็นต์ของมันถูกปล่อยให้เน่าเสีย. อะไรเป็นสาเหตุเบื้องหลังที่รัฐบาลภายใต้การกดดันของประเทศร่ำรวย ตัดสินใจที่จะปล่อยให้ประชาชนของตัวเองอดตายเพื่อลดภาระงบประมาณ"

ปี 2544 ขณะที่มีคนยากจนอดตายใน 13 รัฐ โกดังของ ฟู้ด คอร์เปอร์เรชั่น ออฟ อินเดีย หรือ FCI รัฐวิสาหกิจซึ่งทำหน้าที่ส่งออกพืชผลการเกษตร กลับล้นเกิน เพราะหาตลาดส่งออกไม่ได้ ทำให้ข้าวและเมล็ดพืชบางส่วนเน่าเสียและถูกหนูกิน มีข้อเสนอให้เอาสต็อกที่เกินเหล่านั้นไปทิ้งทะเล เพื่อหาพื้นที่ว่างสำหรับผลิตผลในฤดูต่อไป มีการประมาณกันว่า หากเอากระสอบข้าวและเมล็ดพืชเหล่านั้นมาเรียงสูงขึ้นไปเรื่อยๆ คงไม่จำเป็นต้องสร้างยานอวกาศ เพราะมนุษย์สามารถเดินไปกลับจากโลกถึงดวงจันทร์ได้อย่างสบาย

องค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่ง ได้ฟ้องรัฐบาลของรัฐต่างๆ ที่ปล่อยให้ประชาชนอดตายต่อศาลฎีกา คำพิพากษาของศาลฎีกามีคำสั่งให้รัฐบาลของรัฐโอริสสา, ราชสถาน, ชาติสการ์ฮ, มหาราชตะ, กุจราฐ และหิมาจันทร์ประเทศ จัดโครงการห้ามปล่อยให้ประชาชนอดตาย ขณะที่มีข้าวและพืชอาหารเต็มสต็อกแล้วยังเอาไปทิ้งเพื่อหาที่ว่าง โดยให้รายงานกลับมาเป็นลายลักษณ์อักษรว่า ได้ทำอะไรลงไปบ้างกับสถานการณ์ที่เรียกว่า 'ความขาดแคลนท่ามกลางความล้นเกิน'. อย่างไรก็ตาม 2 ปีหลังคำพิพากษาของศาลฎีกา สุมิตรา เบเฮรา ยังต้องเร่ขายลูกเพื่อหาทางประทังชีวิตลูกน้อยอีก 2 คน

การถูกทำให้อดตายซ้ำซาก
หนังสือพิมพ์นิวยอร์ก ไทม์ส พาดหัว 'แนวความคิดเรื่องการตลาดเป็นสาเหตุสำคัญของความอดอยากในเอธิโอเปีย'. มิถุนายน 2544 หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอนัล และไฟแนนเชียล ไทม์ส เสนอข่าวตรงกันว่า องค์กรระหว่างประเทศที่บงการโดยประเทศตะวันตก กดดันให้เอธิโอเปีย ต้องลดและเลิกการแทรกแซงและอุดหนุนภาคเกษตร และปล่อยให้ตลาดพืชผลเกษตรตกไปอยู่ในมือเอกชนที่ไร้ประสบการณ์และขาดเงินทุน

เมื่อแรกที่รัฐบาลเอธิโอเปียลดการแทรกแซงภาคเกษตร ยังไม่เกิดผลกระทบอะไรมากนัก แต่เมื่อรัฐบาลยกเลิกการตรึงราคา เกษตรกรเริ่มเพาะปลูกน้อยลง เพราะผลผลิตมากไม่ได้หมายความว่ารายได้จะมากตาม จากข้าวโพดกระสอบละ 10 เหรียญสหรัฐ เหลือแค่ 2 เหรียญสหรัฐ เกษตรกรจึงหันไปปลูกเพื่อการยังชีพเท่านั้น. ตั้งแต่ปี 2527 ภาพทุพภิกขภัยในเอธิโอเปียอันเนื่องมากจากภาวะฝนแล้งได้ถูกเผยแพร่ไปทั่วโลก ทำให้เอธิโอเปียได้รับการช่วยเหลือด้านอาหารอย่างมาก แต่โดยมากการช่วยเหลือด้านอาหาร ไม่ได้เป็นการหาซื้ออาหารจากท้องถิ่นในประเทศยากจน แต่เป็นการซื้อสินค้าและให้กำไรแก่ภาคเกษตรของประเทศผู้บริจาคเองเสียมากกว่า หรือกลายเป็นการทิ้งส่วนเกินที่เหลือมายังประเทศยากจน

วอลล์สตรีท เจอนัล รายงานว่า USAID (*) ให้ความช่วยเหลือด้านอาหาร 220 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ให้เงินช่วยเหลือเพื่อปรับปรุงภาคเกษตรของเอธิโอเปีย แค่ 4 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น แน่นอนว่า ความช่วยเหลือด้านอาหารทั้งหมด เป็นพืชจีเอ็มโอ ซึ่งครั้งหนึ่งประเทศ...เคยปฏิเสธ ไม่รับความช่วยเหลือที่เป็นพืชจีเอ็มโอ สหรัฐยื่นคำขาดว่าจะรับจีเอ็มโอ หรือจะยอมถูกตัดเงินช่วยเหลือด้านยารักษาโรค

(*)The United States Agency for International Development (or USAID) is the United States federal government organization responsible for most non-military foreign aid. An independent federal agency, it receives overall foreign policy guidance from the United States Secretary of State and seeks to "extend a helping hand to those people overseas struggling to make a better life, recover from a disaster or striving to live in a free and democratic country..."

USAID advances U.S. foreign policy objectives by supporting economic growth, agriculture and trade; health; democracy, conflict prevention, and humanitarian assistance. It provides assistance in Sub-Saharan Africa; Asia and the Near East, Latin America and the Caribbean, Europe, and Eurasia. USAID is also organized around four main pillars: Global Development Alliance; Economic Growth, Agriculture, and Trade; Global Health; Democracy, Conflict, and Humanitarian Assistance.

ไฟแนนเชียล ไทม์ส รายงานว่า ธนาคารโลก IMF และสหภาพยุโรป กดดันให้รัฐบาลมาลาวี ลดการสำรองพืชผลการเกษตรเพื่อแก้ปัญหาภาวะการขาดแคลนอาหาร จาก 167,000 ตัน เหลือเพียง 30,000 ตัน เพื่อเอาเงินส่วนต่าง 300 ล้านเหรียญสหรัฐไปจ่ายหนี้ให้กับธนาคารแอฟริกาใต้ ทำให้พืชผลการเกษตรตกต่ำ และลดความสามารถของเกษตรกรในการปลูกพืชฤดูกาลถัดไป

วอลล์สตรีท เจอนัล รายงานว่า ธนาคารโลกวางแผนให้รัฐบาลประเทศยากจนในทวีปแอฟริกา แปรรูปภาคเกษตรไปให้เอกชนจัดการ และยกเลิกการอุดหนุน เช่นเดียวกับ IMF ที่พยายามลดบทบาทของรัฐบาลซึ่งจะทำหน้าที่ดูแลความมั่นคงทางอาหารของประเทศ อาทิ การยกเลิกคณะกรรมการที่ดูแลราคาสินค้าเกษตร ทั้งๆ ที่วิธีการอย่างนี้ ในสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปเองยังไม่ทำ ในที่สุดจึงเกิดภาวะอดอยากและขาดแคลนอาหารโดยไม่จำเป็น

ขณะที่แรงกดดันจากเจ้าหนี้และประเทศผู้บริจาคสั่งให้รัฐบาลเอธิโอเปีย เลิกอุดหนุนเกษตรกร แต่กลับโน้มน้าวแกมกดดันให้รัฐบาลสร้างสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ เพื่อต้อนรับคนต่างชาติกว่า 5 แสนคนในแต่ละปี โดยบอกว่าเอธิโอเปียกำลังกลายเป็นประเทศผู้นำด้านสินค้าที่ไม่ใช่เกษตร และการบริการในแอฟริกาตะวันออก ผู้ให้เงินกู้โครงการสร้างสนามบินแห่งใหม่ ได้แก่ ธนาคารพัฒนาแห่งอาหรับ, โอเปค, กองทุนพัฒนานอร์ดิค, และธนาคารพัฒนาแห่งแอฟริกา ซึ่งหุ้นส่วนใหญ่ของสถาบันการเงินเหล่านี้ มาจาก 24 ประเทศร่ำรวย นำโดย สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น

การอ้วนตาย ในประเทศโลกที่หนึ่ง
สถาบันเพื่อการควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ตีพิมพ์งานวิจัยล่าสุด ระบุว่า โรคอ้วนกำลังเป็นมหันตภัยร้ายอันดับ 1 ที่คร่าชีวิตคนอเมริกันทุกวัย โดยตัวเลขในปี 2543 มีคนอเมริกันที่ตายเพราะโรคอ้วนอันเกิดจากการทุพบริโภค (กินไม่ดี ไม่ใช่ไม่มีกิน) และการไม่ออกกำลังกาย ถึง 400,000 คน. ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นจากเมื่อ 10 ปีที่แล้วถึง 33 เปอร์เซ็นต์ กำลังจะโค่นแชมป์เก่าอย่างโรคที่เกี่ยวเนื่องจากการสูบบุหรี่ได้ในไม่ช้านี้

ในรายงานยังระบุด้วยว่า 2 ใน 3 ของผู้ใหญ่อเมริกันและเด็กอีกราว 9 ล้านคนเป็นโรคอ้วน ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการใช้ชีวิตที่พึ่งพาอาหารฟาสต์ฟู้ด การใช้คอมพิวเตอร์มากขึ้น และการลดลงของกิจกรรมที่จะต้องขยับเขยื้อนร่างกาย แม้ว่ารัฐบาลอเมริกันจะพยายามรณรงค์ให้คนอเมริกันออกกำลงกายมากขึ้น แต่นักวิชาการส่วนใหญ่มองว่า ทางแก้ควรอยู่ที่การให้คนรู้ว่า ควรบริโภคให้น้อยลง แต่รัฐบาลไม่กล้าที่จะรณรงค์เช่นนั้น เพราะนั่นจะกระทบกระเทือนกับบรรษัทอุตสาหกรรมอาหารต่างๆ ที่สนับสนุนทางการเมืองแก่รัฐบาล

ศาสตราจารย์มาเรียน เนสเทิล ประธานสถาบันโภชนาการและอาหาร มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตร และสำนักงานอาหารและยาของสหรัฐ ไม่เชื่อว่ารัฐบาลและหน่วยงานราชการจะสามารถแก้ปัญหาโรคอ้วนที่กำลังเป็นภัยร้ายของคนอเมริกันได้ ตราบเท่าที่อุตสาหกรรมอาหารยังทรงอิทธิพลและครอบงำการเมืองอยู่อย่างทุกวันนี้

เมื่อพูดถึงอุตสาหกรรมอาหาร เรากำลังหมายความถึง บริษัทที่ผลิตตั้งแต่เป็นวัตถุดิบ (ในลักษณะของฟาร์ม และไร่) ปรุงแต่ง ผ่านกระบวนการเข้าโรงงาน ขาย และให้บริการอาหาร เครื่องดื่ม และอาหารเสริมต่างๆ แต่หากมองให้กว้างกว่านั้น การผลิตอาหารทั้งเนื้อสัตว์และผักผลไม้ ยังมีความเกี่ยวเนื่องกับบรรดาเกษตรอุตสาหกรรม ยาฆ่าแมลง ปุ๋ย สารเคมี การก่อสร้าง เครื่องยนต์ เครื่องจักร แรงงาน และสถาบันการเงินต่างๆ รวมทั้งอุตสาหกรรมขนส่ง ห้องเย็น การกระจายสินค้า ค้าปลีก ค้าส่ง ซูเปอร์มาร์เก็ต ส่งออก นำเข้า ไปจนถึงบรรดาตู้แช่ โรงพยาบาล โรงเรียน ร้านอาหาร บาร์ ฟาสต์ฟู้ด

อุตสาหกรรมอาหารในสหรัฐนับว่าประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง จากเกษตรกรและผู้ค้ารายย่อยสู่บรรษัทยักษ์ใหญ่ จากการที่คนกินข้าวในบ้าน กลายเป็นสังคมกินข้าวนอกบ้าน หรือซื้อมาใส่ไมโครเวฟแล้วก็พร้อมกินที่บ้าน จากการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารภายในประเทศ เป็นการนำเข้าจากที่ต่างๆ ทั่วโลก จากการผลิตรายย่อย เป็นการผลิตเชิงเดี่ยวในฟาร์มขนาดใหญ่ ใช้แรงงานไม่มาก บริษัทที่ใหญ่ที่สุดคือ เนสท์เล่ (*) มียอดขายมากถึง 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐต่อปี พฤติกรรมการกินอาหารนอกบ้าน ทำให้บริษัทที่ขายอาหารที่ใหญ่ที่สุดเป็นพวกที่ขายแฮมเบอร์เกอร์ และบริษัทฟาสต์ฟู้ด ที่ใหญ่ที่สุดคือ แมคโดนัลด์ (**)

(*)Nestle is a multinational packaged food company founded and headquartered in Vevey, Switzerland. It resulted from a merger in 1905 between the Anglo-Swiss Milk Company for milk products established in 1866 by the Page Brothers in Cham, Switzerland and the Farine Lact?e Henri Nestl? Company set up in 1867 by Henri Nestl? to provide an infant food product. Several of Nestl?'s brands are globally renowned, which made the company a global market leader in many product lines, including milk, chocolate, confectionery, bottled water, coffee, ice cream, food seasoning and pet foods.[1] The company stock is listed on the SWX Swiss Exchange. Some of Nestl?'s business practices have been considered unethical, particularly the manner in which infant formula has been marketed in developing countries, which led to the Nestl? boycott from 1977.

(**)McDonald's (NYSE: MCD) is the world's largest chain of fast food restaurants, serving nearly 47 million customers daily[3]. McDonald's primarily sells hamburgers, cheeseburgers, chicken products, French fries, breakfast items, soft drinks, milkshakes and desserts. More recently, it has begun to offer salads, wraps and fruit. Many McDonald's restaurants have included a playground for children and advertising geared toward children, and some have been redesigned in a more 'natural' style, with a particular emphasis on comfort and the absence of hard plastic chairs and tables.

อุตสาหกรรมอาหาร จัดหาอาหารมากมายหลากหลาย ราคาถูก โดยไม่มีข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์หรือฤดูกาล ทำให้แม้แต่คนอเมริกันที่จนที่สุด ยังสามารถมีปัญญาซื้อหาอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายได้ อันที่จริงอาหารในอเมริกาหลังจากที่ส่งออกไปแล้ว ยังมีเหลือเพียงพอที่จะเลี้ยงคนอเมริกันทุกคนได้อย่างน้อย 2 เท่า. ตัวเลขที่ปรากฏคือ คนอเมริกันเฉลี่ยบริโภค 3,800 แคลอรีต่อหัว เป็นพลังงานที่เกินความต้องการถึง 2 เท่าของผู้หญิง มากกว่า 1 ใน 3 ของที่ผู้ชายต้องการ และล้นเกินมากๆ สำหรับเด็ก

อุตสาหกรรมอาหาร กับการอ้วนตาย
อุปาทานอาหารที่มีมาก บวกกับความสามารถของคนที่จะซื้อหาอาหารได้ ทำให้อุตสาหกรรมอาหารต้องแข่งขันอย่างรุนแรง เพื่อแย่งชิงทุกดอลลาร์ทุกเซนต์จากผู้บริโภค อุตสาหกรรมอาหารได้ทุ่มเททรัพยากรอย่างมากเพื่อพัฒนาสินค้าและสร้างตลาด โดยไม่ได้สนใจว่ามีคุณค่าทางอาหารเท่าใด หรือทำให้เพิ่มเส้นรอบเอวแก่ผู้บริโภคแค่ไหน

เพื่อให้บรรดาผู้ถือหุ้นพอใจในผลประกอบการ อุตสาหกรรมอาหารจึงต้องโน้มน้าวใจผู้บริโภคให้ 'กินสินค้าของบริษัทมากๆ เข้าไว้' หรือกินสินค้าของเรามากกว่าสินค้าของคู่แข่ง โดยผ่านการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ล็อบบี้รัฐบาล ข้าราชการ นักการเมือง นักวิชาการ นักโภชนาการ และสื่อมวลชน ว่า ผลิตภัณฑ์ของพวกเราดีต่อสุขภาพ อย่างน้อยก็ไม่ทำลายสุขภาพ ซึ่งอันที่จริงมักกลายเป็นวัฒนธรรมไปแล้ว แต่สาธารณะชนรับรู้ความจริงนี้น้อยมาก

การที่จะใช้รัฐบาล ข้าราชการ และนักวิชาการมาสร้างความเชื่อมั่นในสินค้า ถูกทำกันจนเป็นประเพณี และพัฒนาจนเป็นวิธีการที่ถูกกฎหมาย แต่ไม่มีใครตั้งคำถามกับวิธีการเหล่านั้น อาจเป็นเพราะคนส่วนใหญ่ไปเชื่อว่า เราเลือกอาหารโดยรสนิยม ความพอใจ และกำลังทรัพย์ แต่ไม่เคยเชื่อ และไม่ยอมเชื่อว่า เราถูกบงการให้เลือกบริโภคอย่างไม่รู้ตัว ด้วยการโฆษณาและวิธีการทางการตลาด และก็มักเชื่ออย่างสนิทใจว่าอุตสาหกรรมอาหาร นักวิชาการ ข้าราชการที่ทำหน้าที่ดูแลส่วนนี้ จริงใจกับการดูแลสุขภาพของประชาชน. แต่แท้ที่จริงแล้ว อุตสาหกรรมอาหารไม่ใช่หน่วยงานด้านสาธารณสุขหรือหน่วยงานด้านสังคม คุณค่าทางอาหารเป็นปัจจัยหนึ่งที่บริษัทต่างๆ คิดก็ต่อเมื่อบริษัทจะสามารถขายสินค้าได้อย่างไร

ต้นศตวรรษที่ 20 สาเหตุหลักของการตายของคนอเมริกันเป็นเพราะได้รับอาหารไม่เพียงพอ ดังนั้นเป้าหมายของฝ่ายสาธารณสุข นักโภชนาการ และอุตสาหกรรมอาหารขณะนั้น คือสนับสนุนให้ประชาชนบริโภคอาหารทุกประเภทมากขึ้น ในช่วง 100 ปี การพัฒนาเศรษฐกิจของสหรัฐฯ มีผลต่อการบริโภคของประชาชน ประชาชนมีสุขภาพดีขึ้น ไม่ขาดสารอาหาร แต่ปัญหาต่อมาที่พบก็คือ ปัญหาได้เปลี่ยนจากขาดอาหารเป็นการได้รับคุณค่าทางอาหารที่มากเกิน คือกินมากเกินไป และกินอาหารบางประเภทมากเกินไป จนนำไปสู่โรคร้ายนานา อาทิ โรคอ้วน โรคเรื้อรัง เช่นโรคหัวใจ มะเร็ง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ จนกำลังนำหน้าเป็นสาเหตุการตายหลักของคนอเมริกันในไม่ช้านี้ แซงหน้าโรคที่เกี่ยวเนื่องจากการสูบบุหรี่

ภัยจากการสูบบุหรี่ แก้ได้ด้วยการห้ามสูบบุหรี่ แต่ภัยจากการกินไม่ได้แก้ด้วยการหยุดกิน พฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่ง มันซับซ้อนกว่านั้นมาก แม้แต่การที่จะแนะนำให้ 'กินน้อยลง' ก็ยังเป็นปัญหา. ศาสตราจารย์มาเรียน เนสเทิล เริ่มวิตกต่ออิทธิพลของอุตสาหกรรมอาหาร เมื่อทำงานที่กระทรวงสาธารณสุขของสหรัฐฯ ในปี 2529 รับหน้าที่บรรณาธิการรายงานเกี่ยวกับโภชนาการและสุขภาพ (Surgeon General's Report on Nutrition and Health)(*) ซึ่งมีความหนา 700 หน้า และได้รับการตีพิมพ์ในปี 2531 รายงานฉบับนั้นเป็นความมุ่งมั่นของรัฐบาลที่จะสรุปงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทุกชิ้นในเรื่องสาเหตุของโรคอ้วน ทั้งที่เกี่ยวกับการบริโภคไขมัน น้ำตาล เกลือ แอลกอฮอล์ ที่นำไปสู่การเป็นโรคเรื้อรัง

(*)From the Summary and Recommendations: "This first 'Surgeon General's Report on Nutrition and Health' offers comprehensive documentation of the scientific basis for the recommended dietary changes. Through the extensive review contained in its chapters, the Report examines in detail current knowledge about the relationships among specific dietary practices and specific disease conditions and summarizes the implications of this information for individual food choices, public health policy initiatives, and further research. The Report's main major conclusion is that over-consumption of certain dietary components is now a major concern for Americans. While many food factors are involved, chief among them is the disproportionate consumption of foods high in fats, often at the expense of foods high in complex carbohydrates and fiber that may be more conducive to health." (http://profiles.nlm.nih.gov/NN/B/C/Q/G/)

การทำงานวันแรก มาเรียน เนสเทิล ในขณะนั้นได้รับฟังการแจ้งกฎข้อแรกในการทำงานว่า, ไม่ว่าในงานวิจัยต่างๆ จะชี้ว่าอะไรก็ตาม แต่รายงานฉบับนี้ห้ามระบุแม้แต่นิดเดียวว่าให้ 'กินเนื้อน้อยลง' เพื่อที่จะลดกรดไขมันอิ่มตัว และห้ามระบุว่าต้องจำกัดการกินอาหารประเภทต่างๆ ด้วย ไม่เช่นนั้นอุตสาหกรรมอาหารจะร้องเรียนกับบรรดานักการเมืองในสภาคองเกรส แล้วรัฐบาลของประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกนในขณะนั้นจะถูกเล่นงาน

สถานการณ์ที่เจ้านายบอกกับเมเรียล เนสเทิล ไม่ได้เป็นความวิตกจริต แต่ข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขถูกนักการเมืองแทรกแซงมาโดยตลอดนานนับทศวรรษแล้ว โดยเฉพาะประเด็นการแนะนำการบริโภคเพื่อแก้ปัญหาโรคอ้วน ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องพยายามหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงตัวอาหาร เช่น ห้ามแนะนำว่าให้กินเนื้อน้อยลง แต่แนะนำได้ว่ากินกรดไขมันอิ่มตัวน้อยลง ห้ามแนะนำให้กินน้ำตาลน้อยลง แต่ให้เลี่ยงไปใช้คำว่ากินน้ำตาลในปริมาณที่เหมาะสม. สุดท้ายรายงานที่ออกมาในปี 2531 ต้องบอกไปว่า เลือกบริโภคเนื้อไม่ติดมัน และจำกัดการบริโภคน้ำตาลเฉพาะคนที่มีปัญหาฟันผุ

ในปี 2000 มีความพยายามทำรายงานคล้ายๆ กันนี้ออกมาอีกครั้ง เพื่อต้องการให้ประชาชนเข้าใจข้อถกเถียงที่เกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพ ในการบริโภคกรดไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว รัฐบาลในขณะนั้นของบิล คลินตัน สั่งยกเลิกโครงการทำรายงานนั้นทันที อ้างว่าเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ยังมีความมีความซับซ้อนและยังแตกแยกอยู่มาก แต่เหตุผลที่แท้จริงคือ กลัวรายงานจะมีผลต่อการเลือกตั้ง เพราะในที่สุด ไม่แคล้วรายงานจะต้องแนะนำให้คนกินน้อยลง โดยเฉพาะไขมันที่อยู่ในเนื้อ ผลิตภัณฑ์นม อาหารที่ปรุงด้วยการทอด อาหารจานด่วน และอาหารปรุงสำเร็จ และนั่นต้องส่งผลกระทบกับผู้ให้ทุนรายสำคัญของพรรคการเมือง ซึ่งก็คือบรรดาอุตสาหกรรมอาหารทั้งหลายนั่นเอง

แต่ปัญหาไม่ใช่แค่การให้ความเห็นต่อการบริโภคอย่างคลุมเครือเท่านั้น ยังพบว่าอุตสาหกรรมอาหาร ทุ่มงบประมาณและทรัพยากรต่างๆ ในการล็อบบี้ นักการเมืองเพื่อแก้ไขกฎหมายและระเบียบต่างๆ แทรกซึมในหน่วยงานด้านสาธารณสุข สร้างพันธมิตรและโครงการความร่วมมือกับองค์กรวิชาการด้านโภชนาการ ให้ทุนวิจัยเรื่องอาหารและโภชนาการ เลือกตีพิมพ์งานวิจัยที่เข้าข้างบริษัทอย่างแพร่หลาย เป็นสปอนเซอร์การประชุมวิชาการ วารสารทางวิชาการ และทำให้คนที่เกี่ยวข้องเช่น นักวิชาการ หมอ นางพยาบาล สื่อสารมวลชนเห็นผลประโยชน์ในสินค้าของพวกเขา แต่มีข้อแม้คือ ห้ามตั้งคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมของพวกเขา

นอกจากนี้ กลวิธีทางการตลาดที่อุตสาหกรรมเหล่านี้ใช้ เช่น การโฆษณาที่พุ่งเป้ากลุ่มเด็ก การทำสัญญาให้โรงเรียนต่างๆ ขายอาหารขยะ เพื่อแลกกับการได้เงินสนับสนุน การสนับสนุนอาหารเสริม โฆษณาสรรพคุณต่างๆ นานา โดยที่ทางการไม่เคยเข้าไปตรวจสอบ และก็ใช้วิธีเติมสารบางอย่างเข้าไปแล้วอ้างว่า เป็นการเพิ่มคุณค่าอาหาร เพื่อส่งสัญญาณผิดๆ ให้ประชาชนบริโภคมากขึ้น

จากการสำรวจของกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ พบว่า พฤติกรรมการบริโภคของคนอเมริกัน เป็นพิรามิดที่ไม่ได้สัดส่วน พิรามิดที่ได้สัดส่วนคือ ต้องบริโภคเรียงลำดับดังนี้คือ

1. กลุ่มขนมปัง ซีเรียล ข้าว อาหารเส้น
2. ผัก
3. ผลไม้
4. ผลิตภัณฑ์นม ในอัตราที่เท่ากับเนื้อสัตว์ และ
สุดท้ายจึงเป็นกลุ่มไขมันและน้ำตาล

แต่คนอเมริกันบริโภค ขนมปัง ข้าว ซีเรียล อาหารเส้นมาเป็นอันดับ 1 ตามติดด้วย ไขมันและน้ำตาล รองลงมาเป็นเนื้อสัตว์ และทิ้งห่างด้วย ผัก ผลิตภัณฑ์นม และผลไม้. แต่ภาพนี้อาจไม่ตรงกับความเป็นจริงทั้งหมดในเชิงสัดส่วน เพราะความเป็นจริงที่น่ากลัวกว่านั้นคือ การสำรวจของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คิดเหมาแป้งในคุกกี้ว่าเป็นธัญพืช แอปเปิลในพายถือเป็นผลไม้ มันทอดแผ่นหรือเฟรนช์ฟรายด์ ถือเป็นผัก และตั้งแต่รัฐบาลเรแกนได้สั่งให้โครงการอาหารในโรงเรียนของรัฐทุกแห่งนับรวมซอสมะเขือเทศอยู่ในหมวดผัก

อ้วนตายเพราะการแทรกแซงทางการเมืองสหรัฐฯ
สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกา เพิ่งจะผ่านร่าง พ.ร.บ.ความรับผิดชอบส่วนบุคคลในการบริโภคอาหาร (The Personal Responsibility in Food Consumption) (*) มีชื่อเล่นๆ เรียกขานกันโดยทั่วไปว่า 'กฎหมายชีสเบอร์เกอร์'. เนื้อหาของกฎหมายฉบับนี้ ห้ามผู้บริโภคซึ่งป่วยเป็นโรคอ้วน ฟ้องร้องเอาผิดกับอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งตั้งแต่ปี 2545 มีอเมริกันชนจำนวนมาก ทยอยฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากอุตสาหกรรมอาหาร เช่นเดียวกับที่มีการฟ้องร้องอุตสาหกรรมบุหรี่ ที่ปกปิดข้อมูลผู้บริโภค ไม่ให้เขาได้รับรู้ว่ากำลังบริโภคอะไร และจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างไร?

(*)The Personal Responsibility in Food Consumption Act, also known as the Cheeseburger Bill, was passed by the U.S. House of Representatives in March 2004, but did not receive a Senate vote.

The bill was reintroduced in 2005 by Florida Republican Congressman Ric Keller. On October 19, 2005, it once again passed the House with a 306-120 vote (Keller actually missed the vote due to being rushed to the hospital.) Once again, it failed to achieve a Senate vote. The Act aims to protect producers and retailers of foods-such as McDonald's Corporation-from an increasing number of suits and class action suits by obese consumers. To date these suits have been turned down by the courts, sometimes in strong terms.

ขณะที่ผู้สนับสนุนกฎหมายนี้อ้างว่า เป็นเรื่องสามัญสำนึกและความรับผิดชอบส่วนบุคคลล้วนๆ ในการเลือกกินอาหาร จะไปร้องเรียกค่าเสียหายอุตสาหกรรมที่ตัวเองอ้วนได้อย่างไร? แต่จากข้อมูลคร่าวๆ ข้างต้น คงได้ภาพที่ชัดเจนแล้วว่า สามัญสำนักและการตัดสินใจส่วนบุคคลไม่ได้เกิดขึ้นในอวกาศ แต่มีคนโน้มน้าว บงการ และกดดันให้เป็นไป ซึ่งคนเหล่านั้นน่าจะมีส่วนต้องรับผิดชอบ

เทวินธาร์ ชาร์มา นักวิเคราะห์ด้านนโยบายอาหารจากอินเดีย กล่าวถึงวาทกรรมเรื่องความอดอยากไว้อย่างน่าสนใจว่า "ความอดอยากไม่ใช่คำสาปที่บางคนต้องตกอยู่ในภาวะนั้นตลอดไป ความอดอยากเป็นภาพสะท้อนของการที่เราให้ความสำคัญแค่การเติบโตของคนเพียงกลุ่มเล็กๆ ผู้ที่อดอยากไม่ได้ต้องการความสงสาร แต่ต้องการการช่วยเหลือเพื่อให้พวกเขาสามารถพึ่งพาตัวเองอยู่ได้"

ไม่แตกต่างกับศาสตราจารย์ด้านโภชนาการจากสหรัฐอเมริกา อย่าง มาเรียล เนสเทิล ซึ่งให้คำจำกัดความถึงบทบาทของอุตสาหกรรมอาหารในโลกปัจจุบัน ซึ่งแตกต่างไปจากความเข้าใจดั้งเดิมไว้ว่า... "อุตสาหกรรมอาหาร ไม่ได้ต่างจากอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อสร้างความต้องการเทียมขึ้นมา เพื่อเพิ่มยอดขายของตัวเอง และอุตสาหกรรมอาหารก็ยังผลิตสินค้าและสร้างตลาดเพื่อขาย โดยไม่ได้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการหรืออันตรายที่จะเกิดกับสุขภาพของผู้บริโภค… ดังนั้น อุตสาหกรรมอาหารจึงไม่ได้มีพฤติกรรมต่างจากอุตสาหกรรมบุหรี่เลย"

อ้างอิงข้อมูลจาก

- Food Politics โดย Marrion Nestle, 2545
- Hunger is a reflection of our misplaced emphasis on growth for a select few โดย Devinder Sharma จากจดหมายข่าวอิเล็กทรอนิกส์ Focus on Trade ฉบับเดือนเมษายน 2547
- Markets = Famine โดย Yves Engler จากเวบไซต์ Z-net, 8 กรกฎาคม 2546
- The Real Reasons for Hunger โดย Vandana Shiva จากหนังสือพิมพ์ เดอะ การ์เดียน, 23 มิถุนายน 2545

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๑ : Release date 20 May 2008 : Copyleft by MNU.

ขณะที่มีคนยากจนอดตาย โกดังของ ฟู้ด คอร์เปอร์เรชั่น ออฟ อินเดีย หรือ FCI รัฐวิสาหกิจซึ่งทำหน้าที่ส่งออกพืชผลการเกษตร กลับล้นเกิน ทำให้ข้าวและเมล็ดพืชบางส่วนเน่าเสีย และถูกหนูกิน ทำให้องค์ กรพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่ง ได้ฟ้องรัฐบาลของรัฐต่างๆ ที่ปล่อยให้ประชาชนอดตายต่อศาลฎีกา และศาลฎีกามีคำสั่งให้รัฐบาลของรัฐโอริสสา, ราชสถาน, ชาติสการ์ฮ เป็นต้น จัดโครงการห้ามปล่อยให้ประ ชาชนอดตาย ขณะที่มีข้าวและพืชอาหารเต็มสต็อกแล้วยังเอาไปทิ้งเพื่อหาที่ว่าง โดยให้รายงานกลับมาเป็นลายลักษณ์อักษรว่า ได้ทำอะ ไรลงไปบ้างกับสถานการณ์ที่เรียกว่า 'ความขาดแคลนท่ามกลางความล้นเกิน' อย่างไรก็ตาม ๒ ปีหลังคำพิพากษาของศาลฎีกา สุมิตรา เบเฮรา ยังต้องเร่ขายลูกเพื่อหาทางประทังชีวิตลูกน้อยอีก ๒ คน ...

H
ข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขถูกนักการเมืองแทรกแซงมาโดยตลอดนานนับทศวรรษแล้ว โดยเฉพาะในประเด็นการแนะนำการบริโภคเพื่อแก้ปัญหาโรคอ้วน ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องพยายามหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงตัวอาหาร เช่น ห้ามแนะนำว่าให้กินเนื้อน้อยลง แต่แนะนำได้ว่ากินกรดไขมันอิ่มตัวน้อยลง ห้ามแนะนำให้กินน้ำ ตาลน้อยลง แต่ให้เลี่ยงไปใช้คำว่ากินน้ำตาลในปริมาณที่เหมาะสม. สุดท้ายรายงานที่ออกมาในปี ๒๕๓๑ จึง
ต้องบอกไปว่า เลือกบริโภคเนื้อไม่ติดมัน และจำกัดการบริโภคน้ำตาลเฉพาะคนที่มีปัญหาฟันผุ