ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




02-05-2551 (1550)

รัฐชาติไร้ความหมาย ในยุคที่จักรวรรดิทุนรวมตัวกันข้ามพรมแดน
แนะนำหนังสือ: Empire ประวัติอันโตนิโอ เนกรี และเชิงอรรถ
สมเกียรติ ตั้งนโม: แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์
เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศไทย

เนกรีและฮาร์ดท์ เขียนไว้ในหนังสือเรื่องจักรวรรดิ์(Empire)ของพวกเขาว่า
อำนาจรัฎฐาธิปัตย์ของรัฐชาติเริ่มเสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ ในยุคโลกาภิวัตน์ที่ประเทศ
ทุนขนาดใหญ่ซึ่งมีอำนาจทางการทหาร อำนาจทางเศรษฐกิจ และอำนาจทางวัฒนธรรม
ได้รวมตัวกันขึ้นในรูปจักรวรรดิสมัยใหม่ มันเปลี่ยนแปลงทุกอย่างไปอยู่ภายใต้กฎระเบียบ
สากลหนึ่งเดียว โดยละเลยความแตกต่างและความบริสุทธิ์ของท้องถิ่น เหลือไว้เฉพาะ
ความเป็นสากลอย่างเดียวคือ "ความยากจน"

ในบทความแนะนำหนังสือ และชีวประวัติของอันโตนิโอ เนกรี โดยเนื้อหาแล้วมีขนาดไม่ยาวนัก
แต่ได้เพิ่มเติมเชิงอรรถเพื่อช่วยนักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจให้เข้าใจประเด็นเกี่ยวกับรากฐาน
วัฒนธรรม ปรัชญา และขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองในยุโรปที่ส่งอิทธิพลมาจนกระทั่งทุกวันนี้
รวมทั้งทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า multitude ที่เนกรีได้นำมาใช้โดยสังเขป ซึ่งหวังว่าเชิงอรรถเหล่านี้
จะเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษา และสมาชิก ฯลฯ ในโอกาสต่อไปที่ได้อ่านเรื่องราวเกี่ยวเนื่อง
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๕๕๐
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๐๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๑.๕ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

รัฐชาติไร้ความหมาย ในยุคที่จักรวรรดิทุนรวมตัวกันข้ามพรมแดน
แนะนำหนังสือ: Empire ประวัติอันโตนิโอ เนกรี และเชิงอรรถ
สมเกียรติ ตั้งนโม: แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

๑. จักรวรรดิ (Empire)
Empire ในที่นี้คือหนังสือเล่มหนึ่ง เขียนขึ้นโดยนักปรัชญามารก์ซิสท์ Antonio Negri และ Michael Hardt. หนังสือเล่มนี้ได้รับการเขียนขึ้นในช่วงกลางทศวรรษ 90s, ได้รับการตีพิมพ์ในปี ค.ศ.2000 และจำหน่ายได้อย่างรวดเร็วเหนือความคาดหมายในฐานะที่เป็นผลงานวิชาการ. โดยทั่วไป หนังสือเล่มดังกล่าวได้นำเสนอช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่าน"จากปรากฎการณ์ของลัทธิจักรวรรดินิยมสมัยใหม่ ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่รัฐชาติแต่ละรัฐ"ไปสู่"ความคิดหลังสมัยใหม่ที่ปรากฏตัวขึ้นมา". ในเชิงทฤษฎี ความคิดหลังสมัยใหม่นี้ได้สร้างขึ้นมาท่ามกลางอำนาจปกครองต่างๆ (ruling powers) ซึ่งผู้เขียนเรียกว่า"จักรวรรดิ"(Empire) บวกกับรูปแบบหลายหลากของสงคราม

"…และถ้าเผื่อว่า ตามที่เรื่อง "จักรวรรดิ"(Empire) ของ Hardt และ Negri กล่าว การกำเนิดขึ้นของจักรวรรดิก็คือ จุดสิ้นสุดของความขัดแย้งระดับชาติ, ศัตรู ณ ตอนนี้หมายถึงใครก็ตามที่ไม่อาจดำรงอยู่ในอุดมการณ์ หรือความเป็นชาติอีกต่อไปแล้ว. ศัตรูในปัจจุบันจะต้องถูกทำความเข้าใจใหม่ ในฐานะที่เป็นอาชญากรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นตัวแทนการคุกคาม ไม่ใช่ต่อระบบการเมืองหรือชาติ แต่เป็นกฎหมาย(as someone who represents a threat not to a political system or a nation but to the law). ศัตรูชนิดนี้ก็คือ"ผู้ก่อการร้าย"( terrorist)… Hardt และ Negri ยึดเอาประเด็นดังกล่าวเมื่อพวกเขาพูดว่า "ในระเบียบใหม่(new order) มันได้หุ้มห่อพื้นที่ทั้งหมดของ…อารยธรรมเอาไว้", ความขัดแย้งระหว่างชาติที่เกิดขึ้น ถูกทำให้เป็นเรื่องนอกประเด็น ศัตรูได้ถูกทำให้เป็นเรื่องซ้ำซากน่าเบื่อไปพร้อมๆ กัน (มันถูกลดทอนให้เป็นเรื่องซึ่งเป็นหน้าที่ปราบปรามของตำรวจในชีวิตประจำวัน) และทำให้เป็นเรื่องคุกคาม (ในฐานะศัตรู, คือการคุกคามเบ็ดเสร็จต่อกฎระเบียบและจริยธรรม)" [pg 6 of Empire, 2000]

ผู้เขียนดำเนินเรื่องไปสู่ความซับซ้อนทางความคิดหลายหลาก รายรอบเรื่องของรัฐธรรมนูญ, สงครามโลก, และชนชั้น. ในที่นี้ "จักรวรรดิ"(Empire)ได้ถูกประกอบสร้างขึ้นมาจากระบอบราชาธิปไตย(monarchy - อำนจความเป็นประมุข) (ซึ่งได้แก่ สหรัฐอเมริกา และกลุ่ม G8 (*), องค์กรระดับโลกอย่างเช่น NATO, IMF หรือ WTO), และคณาธิปไตย(oligarchy)ที่เป็นเพียงคนกลุ่มเล็กๆ (บรรษัทข้ามชาติ และรัฐชาติต่างๆ) และประชาธิปไตย (องค์กรนอกภาครัฐ [NGOs] และองค์การสหประชาชาติ). ส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์ของพวกเขาเกี่ยวพันกับ"จินตนาการ"ที่ต่อต้านสิ่งเหล่านี้", แต่"ประเด็นของเรื่อง"จักรวรรดิ"(เกือบทั้งหมด) ทำได้เพียงต่อต้านในรูปแบบของการปฏิเสธและล้มล้างมันเท่านั้น - นั่นคือ"เจตจำนงที่จะคัดค้านและล้มล้าง".

(*) The Group of Eight (G8), ถูกรู้จักในฐานะ Group of Seven และ Russia, คือฟอรั่มนานาชาติของรัฐบาลต่างๆ ประกอบด้วย Canada, France, Germany, Italy, Japan, Russia, the United Kingdom และ the United States. ประเทศเหล่านี้เป็นตัวแทนของผู้มีอำนาจทางเศรษฐกิจโลกถึง 65% และมีอำนาจทางการทหารระดับโลก (ประเทศที่กล่าวถึงนี้มีงบประมาณทางด้านการทหารสูงสุด และเกือบทั้งหมดมีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง และพร้อมจะใช้งาน)

จักรวรรดิคือทั้งหมด,ซึ่งคงความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจเอาไว้ และอัตลักษณ์ทั้งมวลถูกลบทิ้งไปและได้รับการแทนที่ด้วยความเป็นสากลหนึ่งเดียว คงเหลือแต่เฉพาะอัตลักษณ์ของความยากจนเท่านั้น" (ปัญหาดังกล่าว ดังที่ผู้เขียนเห็นคือ "บรรดานักเขียนหลังสมัยใหม่ ต่างปฏิเสธอัตลักษณ์หนึ่งเดียวที่ควรเป็นสาระสำคัญต่อคนทั้งหมดที่เหลือ, หนึ่งเดียวที่เรามีอยู่เสมอ นั่นคือ "เพียงชื่อสามัญร่วมกัน ซึ่งไม่มีความเป็นท้องถิ่นที่แตกต่างหรือความบริสุทธิ์เหลืออยู่เลย นั่นคือ คนจน" …เพียงคนจน, Hardt และ Negri กล่าว, "เป็นรากเหง้า ที่ดำรงอยู่จริงที่เราพบเห็น")

คำอธิบายนี้คล้ายคลึงกับรูปทรงปิรามิด มันเป็นสำเนาคำอธิบายของนักประวัติศาสตร์กรีก นามว่า Polybius (*) เกี่ยวกับรัฐบาลโรมัน ซึ่งเรียกขานมันว่า"จักรวรรดิ" (Empire) [จักรวรรดิโรม]. ยิ่งไปกว่านั้น วิกฤตต่างๆ ที่เกิดขึ้น ถูกรับรู้ในฐานะที่เป็นเนื้อแท้หรือสันดานเดิมๆ ของจักรวรรดิ. Negri และ Hardt ต่างเป็นหนี้บุญคุณอย่างมากต่อการวิเคราะห์ของ Michel Foucault's เกี่ยวกับแนวคิดชีวการเมือง หรือ biopolitics (**) และปรัชญาของ Gilles Deleuze (***).

(*)Polybius (ca. 203-120 BC), คือนักประวัติศาสตร์กรีกแห่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ชื่อเสียงของเขาที่ปรากฏต่อโลก มาจากหนังสือเรื่อง The Histories ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมเกี่ยวกับเหตุการณ์รายละเอียดในช่วงปี 220-146 ก่อนคริสตศักราช

(**) ชีวการเมือง หรือ biopolitics ในงานของฟูโก หมายถึงวิธีการที่รัฐบาลได้วางกฎระเบียบกับประชากรของตนโดยผ่านชีวอำนาจ (biopower) กล่าวคือ เป็นปฏิบัติการหรือผลกระทบของอำนาจทางการเมือง ซึ่งมีต่อทุกแง่มุมของชีวิตมนุษย์ - ส่วนในงานของ Michael Hardt และ Antonio Negri, ในการกบฎต่อต้านทุนนิยม มีการใช้ร่างกายเป็นอาวุธ ยกตัวอย่างเช่น การต่อสู้กับอำนาจในลักษณะก่อการร้ายพลีชีพ(suicide terrorism) เป็นแนวคิดที่ตรงข้ามกับ"ชีวอำนาจ ", ซึ่งได้รับการมองว่า เป็นปฏิบัติการของอำนาจรัฎฐาธิปัตย์ในเงื่อนไขต่างๆ ทางชีวการเมือง

คำที่น่าสนใจในที่นี้คือ "ชีวอำนาจ" หรือ "biopower", ซึ่งฟูโกได้ใช้ในงานเขียนของเขาครั้งแรกใน The Will To Knowledge, อันเป็นหนังสือเล่มที่หนึ่งของเรื่อง The History of Sexuality. สำหรับฟูโก คำว่า"ชีวอำนาจ"เป็นเทคโนโลยีของอำนาจอย่างหนึ่ง โดยผ่านปฏิบัติการทางเทคนิคอย่างหลากหลาย. ฟูโกได้จำแนกคุณสมบัติเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการเมืองว่า มันทำหน้าที่ควบคุมประชากรทั้งหมด โดยสาระแล้วมันปรากฏตัวขึ้นมาในยุครัฐชาติสมัยใหม่, ลัทธิทุนนิยมสมัยใหม่, ฯลฯ.

"ชีวอำนาจ"(biopower) ตามตัวอักษร คือการมีอำนาจเหนือร่างกาย การใช้วิธีการรุนแรงเพื่อปรามร่างกายให้เชื่อง และเข้าควบคุมประชากร" นอกจากนี้มันยังเกี่ยวข้องกับการเอาใจใส่ของรัฐบาลด้วยการดูแลชีวิตของประชาชน และมีศูนย์กลางต่างๆ อยู่ที่เรื่องระเบียบวินัย(disciplines) (กายวิภาคการเมือง [anatomo-politics] เกี่ยวกับร่างกายมนุษย์) โดยการควบคุมผ่านกฎเกณฑ์และข้อบังคับ (ชีวการเมืองของประชากร - biopolitics of the population).

"ชีวอำนาจ" (Biopower) สำหรับฟูโกเป็นแบบแผนหรือจารีตของอำนาจ มีพื้นฐานอยู่บนการข่มขู่คุกคาม และความตาย(threat of death)จากอำนาจรัฎฐาธิปัตย์. ในยุคที่การใช้อำนาจจะต้องได้รับการให้เหตุผล, "ชีวอำนาจ"ได้ถูกนำมาใช้โดยการเน้นเกี่ยวกับการปกป้องชีวิต(protection of life) มากกว่าการคุกคามและความตาย ด้วยการวางกฎระเบียบกับร่างกาย และการผลิตเทคโนโลยีทางอำนาจในแบบอื่นๆ อย่างเช่น ความคิดเกี่ยวกับเรื่องเพศ, การวางกฎเกณฑ์เกี่ยวกับธรรมเนียมปฏิบัติ, อุปนิสัย, สุขภาพ, ปฏิบัติการผลิตซ้ำต่างๆ, ครอบครัว, "เลือด", และสวัสดิการ ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ตรงไปตรงมาเกี่ยวกับชีวอำนาจ, ดังเช่นแนวคิดเกี่ยวกับรัฐในฐานะที่เป็น"ร่างกาย"หนึ่ง และการใช้อำนาจรัฐในฐานะสาระสำคัญต่อชีวิตของมัน โดยเหตุนี้ แนวคิดชีวอำนาจดังกล่าวจึงสัมพันธ์กับการปรับปรุงพันธุกรรมของมนุษย์ให้ดีขึ้น และการเหยียดเชื้อชาติ

แนวคิด"ชีวอำนาจ" ได้ปรากฏตัวขึ้นในแนวที่เกี่ยวข้องกับวาทกรรม"การต่อสู้ทางเชื้อชาติ"(race struggle), ฟูโกได้พัฒนาคำอธิบายอำนาจแบบองค์รวมในฐานะพลังที่เป็นกลาง ในเชิงตรงข้ามกับความเข้าใจคลาสสิกเกี่ยวกับอำนาจในฐานะที่เป็นไปในเชิงนิเสธโดยพื้นฐาน นั่นคือการไปจำกัด และการเซ็นเซอร์. เขาอ้างว่า เรื่องเพศ ไกลห่างจากการลดทอนลงมาเป็นความเงียบในช่วงระหว่างยุควิคตอเรียน ตามข้อเท็จจริงแล้ว เรื่องเพศตกอยู่ภายใต้การจัดการควบคุม ซึ่งได้ไปกระตุ้น และกระทั่งบังคับผู้คนให้พูดถึงเรื่องเพศของพวกเขา. ดังนั้น "เรื่องเพศจึง(ไม่)มีอยู่" มันเป็นปฏิบัติการที่สร้างขึ้น ซึ่งทำให้เราเชื่อว่าเรื่องเพศได้บรรจุความจริงส่วนตัวของเราไว้ (ในทำนองเดียวกัน วาทกรรมดังกล่าวเกี่ยวข้องกับ"การต่อสู้ทางเชื้อชาติ" ซึ่งมองความจริงทางการเมืองและประวัติศาสตร์สงครามใต้ดินที่มีมาตลอด ซึ่งเกิดขึ้นอยู่ข้างใต้สันติภาพ)

นอกจากนั้น ปฏิบัติการของอำนาจในการรับใช้ชีวิตของคนจำนวนมาก ได้นำพาสิ่งที่ดำมืดข้างใต้ขึ้นมา เมื่อยามที่รัฐต้องลงทุนไปกับการปกป้องชีวิตประชากร เมื่อเดิมพันคือชีวิตในตัวมันเอง ทุกสิ่งทุกอย่างสามารถถูกนำมาให้เหตุผลได้. กลุ่มที่ถูกระบุว่าคุกคามต่อการดำรงอยู่ของชีวิตประชาชาติ หรือเกี่ยวกับความเป็นมนุษย์อาจถูกกำจัดให้สิ้นไป. อันที่จริง "ถ้า"การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์"คือความฝันของอำนาจสมัยใหม่ นั่นไม่ใช่เพราะการที่ปัจจุบันได้หวนคืนกลับไปสู่สิทธิในการฆ่าแบบสมัยโบราณ(the ancient right to kill) แต่เป็นเพราะอำนาจได้รับการสถาปนา และปฏิบัติการในระดับชีวิต, เผ่าพันธุ์, เชื้อชาติ, ได้ปรากฏขึ้นในสัดส่วนขนาดใหญ่ของประชากร" (History of Sexuality, Vol. I in The Foucault Reader p. 137).

(***)Gilles Deleuze (January 18, 1925 - November 4, 1995) นักปรัชญาฝรั่งเศสคริสตศตวรรษที่ 20. นับจากช่วงต้นทศวรรษที่ 1960 จนกระทั่งการถึงแก่กรรมของเขา, Deleuze ได้สร้างผลงานที่ทรงอิทธิพลจำนวนมากในเรื่องปรัชญา, วรรณคดี, ภาพยนตร์, และวิจิตรศิลป์. หนังสือซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุดของเขาก็คือเรื่อง Capitalism and Schizophrenia: Anti-Oedipus (1972) (ลัทธิทุนนิยม และอาการจิตเภท: การต่อต้านปมออดิปัส - เป็นหนังสือสองเล่ม) และเรื่อง A Thousand Plateaus (1980), ทั้งสองเรื่องได้เขียนร่วมกัน F?lix Guattari. หนังสือของเขา Difference and Repetition (1968) และ The Logic of Sense (1969) ทำให้ Michel Foucault ประกาศออกมาว่า "บางที สักวันหนึ่ง เมื่อพูดถึงศตวรรษนี้จะต้องเรียกว่า Deleuzian."[Foucault, "Theatrum Philosophicum", Critique 282, p. 885.] (ในส่วนของตัว Deleuze เอง, ได้กล่าวถึงข้อคิดเห็นของ Foucault ว่า "เป็นเรื่องตลกๆ ที่ทำให้ผู้คนหัวเราะพวกเรา และทำให้ทุกคนฉุนเฉียวเท่านั้น")

ก่อนหนังสือเล่มนี้, เนกรี เป็นที่รู้จักดีสำหรับงานเขียนเรื่อง The Savage Anomaly (1981) [ความผิดปกติอันป่าเถื่อน] หนังสือที่ถือเป็นหลักไมล์หนึ่งของแนวคิดการศึกษา Spinozism (*) ซึ่งเขาเขียนขึ้นในช่วงระหว่างถูกคุมขัง. สำหรับเรื่อง"จักรวรรดิ"(Empire) โดยไม่เป็นที่น่าประหลาดใจใดๆ ก็ได้รับอิทธิพลจากแนวคิด Spinoza เช่นกัน. ความคิดทั้งหลายที่ได้รับการนำเสนอครั้งแรกใน"จักรวรรดิ"(Empire) (โดยเฉพาะแนวคิดเกี่ยวกับ multitude (การเมืองมหาชน), ซึ่งหยิบยืมมาจาก Spinoza) และได้รับการพัฒนาต่อมาในหนังสือที่พิมพ์ในปี ค.ศ. 2004 เรื่อง Multitude: War and Democracy in the Age of Empire, ซึ่งเขียนโดย Negri และ Hardt เช่นกัน

(*)Spinozism คือระบบปรัชญา"สรรพเทวนิยม"(พระเจ้าเป็นทุกสิ่ง) ซึ่งได้นิยาม"พระเจ้า"ในฐานะแก่นแท้มีตัวตนหนึ่งเดียว เป็นทั้งสสารและความคิดอันเป็นคุณสมบัติของพระองค์. Spinoza อ้างว่า ความรู้ชนิดที่สามคือ "สหัชญาน"(intuition - การหยั่งรู้) คือสิ่งสูงสุดที่บรรลุได้

ใน Spinozism, แนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของบุคคลกับพระเจ้า มาจากตำแหน่งที่คนเป็นส่วนหนึ่งขององคาพยพที่พึ่งพาอาศัยกันไม่สิ้นสุด. Spinoza สอนว่า ทุกสรรพสิ่งเป็นเพียงแค่คลื่นในมหาสมุทรอันไร้ที่สิ้นสุด และสิ่งที่เกิดขึ้นกับคลื่นลูกหนึ่งจะมีผลกระทบกับคลื่นลูกอื่นๆ. ดังนั้น Spinozism จึงสอนเรื่องกรรมในรูปแบบหนึ่ง และสนับสนุนความคิดนี้ ในฐานะพื้นฐานทางด้านศีลธรรม

นอกจากนี้ แกนคำสอนของ Spinozism ยังเกี่ยวพันกับจักรวาล ซึ่งโดยสาระเป็นแนวคิดแบบนิยัตินิยม(เหตุการณ์และการกระทำทุกอย่างได้ถูกกำหนดไว้แล้วโดยมูลเหตุต่างๆ ที่อยู่ภายนอกเจตจำนง). สิ่งที่บังเกิดขึ้นทุกอย่าง หรือสิ่งที่จะบังเกิดขึ้นไม่อาจถูกเปิดเผยออกมาในหนทางใดได้. แนวคิด Spinozism เกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับศาสนาฮินดูในคำสอนเกี่ยวกับ สางขยาและโยคะ(Samkhya and Yoga). คำสอนของ Spinoza ได้รับการพิจารณาว่าสุดขั้วในช่วงที่เขาตีพิมพ์หนังสือ และเขายังถูกมองว่าเป็นพวกนอกศาสนาที่ไม่เชื่อในพระเจ้า รวมทั้งเป็นบุคคลที่น่าอับอายมากที่สุดในยุโรป ปรัชญาของเขาเป็นส่วนหนึ่งของข้อถกเถียงในเชิงปรัชญาทั่วยุโรป ช่วงระหว่างยุคสว่าง (the Enlightenment) และคาร์ทีเซียนิสม์ (Cartesianism)(ปรัชญาของ Decartes)

(**)Multitude (การเมืองมหาชน) เป็นศัพท์ทางการเมืองที่นำมาใช้โดย Machiavelli (May 3, 1469 - June 21, 1527) เป็นนัการทูตอิตาเลียน, นักปรัชญาการเมือง, นักดนตรี, กวี, และนักเขียนบทละคร). และได้รับการกล่าวซ้ำโดย Spinoza (Benedict de Spinoza - November 24, 1632 - February 21, 1677. นักปรัชญาดัทช์ ที่มีกำเนิดจากโปรตุกีส-ยิว). เมื่อเร็วๆ นี้ศัพท์ดังกล่าวได้กลับมาเป็นที่สนใจ เนื่องจากแนวคิดดังกล่าวเป็นแบบจำลองใหม่ สำหรับองค์กรต่อต้านระบบทุนนิยมโลก ดังที่ได้รับการอธิบายโดยนักทฤษฎีการเมือง Michael Hardt และ Antonio Negri ในหนังสือเรื่อง"Empire" (2000) และขยายต่อมาในหนังสือเมื่อไม่นานมานี้เรื่อง Multitude: War and Democracy in the Age of Empire (2004).

คำโปรยเปิดเล่มหนังสือ (Opening epigraphs)

"เครื่องมือทุกชนิดเป็นอาวุธได้ ถ้าหากว่าคุณถือมันอย่างถูกวิธี" - Ani DiFranco
"Every tool is a weapon if you hold it right." - Ani DiFranco

"มนุษย์ต่อสู้และพ่ายแพ้สงคราม, การต่อสู้ของพวกเขานั้นเกิดขึ้นทั้งๆ ที่รู้ว่าจะต้องพ่ายแพ้ก็ตาม, ต่อจากนั้นมันก็เกิดขึ้นอีก อย่างที่ไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาตั้งใจ, และคนอื่นๆ ต่างต่อสู้เพื่อความมุ่งหมายของพวกตนภายใต้อีกชื่อเรียกหนึ่ง." - William Morris
"Men fight and lose the battle, and the thing that they fought for comes about in spite of their defeat, and then it turns out not to be what they meant, and other men have to fight for what they meant under another name." - William Morris

คลิกอ่าน - บทนำอภิจักรภพยุคหลังสมัยใหม่ - ภัควดี วีระภาสพงษ์

๒. ชีวประวัติ: อันโตนิโอ (โทนี่) เนกรี (Antonio ("Toni") Negri)
อันโตนิโอ (โทนี่) เนกรี (เกิดวันที่ ๑ สิงหาคม ๑๙๓๓) เป็นนักปรัชญาอิตาเลียนนิยมมาร์กซิสท์. เนกรี อาจเป็นที่รู้จักกันดีสำหรับการที่เขาได้เป็นผู้ประพันธ์ร่วมในหนังสือเรื่อง"จักรวรรดิ"(Empire) และผลงานของเขาเกี่ยวกับ Spinoza (*). เนกรี เกิดที่เมือง Padua, เขาเป็นศาสตราจารย์ทางด้านปรัชญาการเมืองในเมืองที่เขาเกิด เป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มพลังคนงาน Potere Operaio (Worker Power) ในปี ค.ศ.1969 ซึ่งเป็นกลุ่มการเมืองซ้ายจัด และเป็นสมาชิกชั้นนำของ Autonomia Operaia (**) อันเป็นขบวนการรัฐสภาพพิเศษฝ่ายซ้าย อันที่จริงคือสถานที่พบปะของพรรคพวกที่แนวคิดปฏิวัติซึ่งตรงข้ามกับพวกลัทธิปฏิรูป

(*)Baruch or Benedict de Spinoza (November 24, 1632 - February 21, 1677) คือนักปรัชญาชาวดัทช ที่มาจากเชื้อสายโปรตุกีส-ยิว(Portuguese Jewish). เขาเป็นผู้ที่มีความสามารถทางวิทยาศาสตร์ ผลงานอันกว้างขวางและสำคัญของ Spinoza ไม่เป็นที่ประจักษ์อย่างเต็มที่ จนกระทั่งเขาได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว. ทุกวันนี้เขาได้รับการพิจารณาให้เป็นหนึ่งในบรรดานักเหตุผลนิยมที่ยิ่งใหญ่ของปรัชญาในคริสตศตวรรษที่ 17 ซึ่งได้วางรากฐานให้แก่ยุคแห่งพุทธิปัญญาในคริสตศตวรรษที่ 18 (the 18th-century Enlightenment) และการวิจารณ์พระคัมภีร์ไบเบิลสมัยใหม่

Spinoza มีชีวิตอยู่อย่างเงียบๆ ในฐานะในฐานะช่างฝนเลนส์ เขาปฏิเสธที่จะรับรางวัลและเกียรติยศใดๆ ตลอดชีวิตของเขา รวมถึงปฏิเสธตำแหน่งงานสอนอันทรงเกียรติ และได้ยกมรดกของครอบครัวให้กับน้องสาว. คุณสมบัติทางศีลธรรมของ Spinoza และการประสบความสำเร็จทางปรัชญา ทำให้นักปรัชญาคริสตศตวรรษที่ 20 อย่าง Gilles Deleuze ตั้งชื่อเขาว่า "นักปรัชญาโดยสมบูรณ์"(the absolute philosopher)

(**)Autonomia Operaia คือหนึ่งในองค์กรเคลื่อนไหวของขบวนการฝ่ายซ้ายอิตาเลียน ที่มีการจัดตั้งรัฐสภาพิเศษ(extra-parliamentary - กิจกรรมดังกล่าวเป็นท่าทีทางการเมืองนอกรัฐสภาแบบทางการ ส่วนใหญ่ใช้ยุทธวิธีปฏิบัติการทางตรง(ประชาธิปไตยทางตรง) และการดื้อแพ่ง) โดยเฉพาะค่อนข้างเฟื่องฟูในช่วง 1976 ถึง 1978. องค์กรนี้ก่อตัวขึ้นในปี 1972 ไม่ใช่ในฐานะพรรคการเมือง แต่เป็นสถานที่ของการพบปะระหว่างพวกฝ่ายซ้ายแนวทางปฏิวัติกับพวกรัฐสภาพิเศษที่ต่อต้านแนวคิดลัทธิปฏิรูป. องค์กรนี้ค่อนข้างมีบทบาทสำคัญในความเคลื่อนไหวเรียกร้องการมีอิสระปกครองตนเองในช่วงทศวรรษที่ 1970 เคียงข้างไปกับองค์กรต่างๆ อย่าง Potere Operaio, ที่ก่อตั้งขึ้นหลังจากเหตุการณ์ May 1968, (May 1968 คือ ชื่อเรียกเหตุการณ์ประท้วงของนักศึกษาและการก่อการสไตร์คที่ขยายออกไปทั่วฝรั่งเศส อันเป็นเหตุทำให้รัฐบาลของ De Gaulle ต้องพังทลายลง) และ Lotta Continua (Lotta Continua คือพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายสุดขั้วในอิตาลี ซึ่งมีความเกี่ยวพันกับกลุ่มขบวนการเคลื่อนไหว autonomism [ดูคำอธิบายศัพท์คำนี้ ในเชิงอรรถต่อไป])

เขาถูกฟ้องในหลายข้อหาในช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 ประกอบด้วย การเป็นผู้บงการและเจ้าความคิดของกลุ่มกองพลน้อยแดง หรือ the Red Brigades (BR) (*) ซึ่งเป็นองค์กรก่อการร้ายที่ต่อสู้ด้วยกำลังอาวุธ และมีนโยบายแยกอิตาลีออกจากพันธมิตรตะวันตก (NATO), กลุ่มองค์กรดังกล่าว เกี่ยวพันกับการลอบสังหาร Aldo Moro (**) ผู้นำพรรคการเมือง Christian-Democrat Party, ในเดือนพฤษภาคม 1978 พร้อมกับคนอื่นๆ. แต่ต่อมา เนกรี ได้รับการชำระมลทินว่าไม่ได้มีความเชื่อมโยงใดๆ กับกลุ่มกองพลน้อยแดง แต่อย่างไรก็ตาม เขาได้ถูกตัดสินจำคุกอยู่นานในคดีที่เป็นข้อถกเถียงกันเกี่ยวกับ"ความสัมพันธ์กับการก่อจลาจลต่อต้านรัฐบาล". เนกรี เดินทางไปยังฝรั่งเศสและทำการสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัย Universit? de Vincennes (Paris-VIII - ปารีส 8) และที่วิทยาลัยปรัชญานานาชาติ(College International de Philosophie), ร่วมกับ Jacques Derrida, Michel Foucault และ Gilles Deleuze. ในปี 1997, เขาสมัครใจหวนกลับมายังอิตาลีเพื่อรับฟังการตัดสินของผู้พิพากษา. ปัจจุบันเขาอาศัยอยู่ที่เมืองเวนิสและกรุงปารีสกับคู่สมรส นักปรัชญาฝรั่งเศส Judith Revel.

(*)The Red Brigades กองพลน้อยแดง(Brigate Rosse ในภาษาอิตาเลียน, บ่อยครั้งใช้คำย่อว่า BR) คือกลุ่มก่อการร้ายที่มีฐานที่มั่นอยู่ในอิตาลี และปฏิบัติการอยู่ในช่วงปีที่เรียกว่า "Years of Lead"(อิตาลีในช่วงแห่งความวุ่นวายราวทศวรรษที่ 1970 และช่วงต้นทศวรรษ 1980 ถูกรู้จักในฐานะ the years of lead (Italian: anni di piombo), ช่วงเวลาดังกล่าวในประเทศอิตาลีเกิดความขัดแย้งทางสังคมที่แผ่ขยายไปอย่างกว้างขวาง และมีการก่อการร้ายซึ่งกระทำการโดยขบวนการรัฐสภาพิเศษ(extra-parliamentary movements)

กองพลน้อยแดงได้สถาปนาขึ้นในปี 1970 โดยพวกมาร์กซิสท์-เลนินิสท์(Marxist-Leninist) พยายามที่จะสรรค์สร้างรัฐปฏิวัติขึ้นโดยผ่านการต่อสู้ด้วยการใช้อาวุธ และแยกอิตาลีออกจากพันธมิตรตะวันตก (NATO). ในปี 1978, กลุ่มที่สองของกองพลน้อยแดง(BR), นำโดย Mario Moretti, ได้ลักพาตัวอดีตนายกรัฐมนตรีของพรรค Christian Democrat, Aldo Moro และฆาตกรรมเขาใน 54 วันหลังจากนั้น. The BR แทบจะไม่เหลือรอดมาถึงช่วงสิ้นสุดของสงครามเย็น ตามมาด้วยการแตกตัวในปี 1984 และสมาชิกส่วนใหญ่ได้รับการจับกุม หรือไม่ก็บินหนีไป

ในช่วงทศวรรษที่ 1980s, กลุ่มกองพลน้อยแดงได้แตกสลายลงโดยบรรดานักสืบอิตาเลียน ด้วยความช่วยเหลือของบรรดาผู้นำหลายคนของกลุ่มดังกล่าวหลังจากที่ถูกจับกุม ซึ่งได้ช่วยเจ้าหน้าที่ในการตามจับสมาชิกคนอื่นๆ. หนึ่งในแกนนำหลักได้รับประโยชน์จากกฎหมายที่ให้เครดิตสำหรับการละทิ้งความเชื่อ(และการได้รับสถานะเป็นผู้สำนึกผิด) โดยได้ให้ความช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ตำรวจในการจับกุมสมาชิกคนอื่นๆ. ภายหลัง หนึ่งในแกนนำคนดังกล่าวได้รับการปล่อยตัวให้เป็นอิสระ

(**)Aldo Moro (September 23, 1916 in Maglie - May 9, 1978 in Rome) นักการเมืองอิตาเลียน และได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอิตาลีถึงสองสมัยในช่วง 1963 ถึง 1968, และถัดมาในปี 1974 ถึง 1976. ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในนายกรัฐมนตรีอิตาลีที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดหลังยุคสงคราม กล่าวคือนับรวมแล้วเขาได้เข้าครองตำแหน่งนายกฯ นานถึง 6 ปีกว่า. นอกจากนี้เขายังเป็นหนึ่งในผู้นำคนสำคัญของพรรค Democrazia Cristiana (Christian Democracy, DC), Moro ได้รับการพิจารณาในฐานะปัญญาชนคนหนึ่ง และเป็นนักไกล่เกลี่ยที่มีความอดกลั้นอย่างเหลือเชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในชีวิตการทำงานภายในพรรคการเมืองของเขา. เขาถูกลักพาตัวไปในวันที่ 16 มีนาคม 1978 โดยกลุ่มกองพลน้อยแดง และถูกสังหารในอีก 54 วันต่อมา

วัยแรกเริ่ม ของอันโตนิโอ เนกรี
อันโตนิโอ (โทนี) เนกรี เกิดที่เมืองปาดัว, อิตาลีในปี 1933. เขาเริ่มต้นอาชีพในฐานะนักต่อสู้ในช่วงทศวรรษที่ 1950 ร่วมกับบรรดานักเคลื่อนไหวและกลุ่มองค์กรเยาวชน Roman Catholic นามว่า Gioventu Italiana di Azione Cattolica (GIAC). เขาเข้าร่วมกับพรรคการเมืองสังคมนิยมอิตาเลียน(Italian Socialist Party)ในปี ค.ศ.1956 และยังคงเป็นสมาชิกจนกระทั่งปี 1963, ในขณะเดียวกันก็มีความพัวพันมากขึ้นเรื่อยๆ กับขบวนการมาร์กซิสท์มาโดยตลอดในช่วงปลายทศวรรษ 1950 และช่วงต้นทศวรรษที่ 1960

เนกรี ประกอบอาชีพทางวิชาการค่อนข้างรวดเร็ว ที่มหาวิทยาลัยปาดัว(University of Padua) และได้รับการสนับสนุนให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์เต็มขั้นเมื่ออายุยังไม่มากนักในสาขาวิชา"ทฤษฎีเกี่ยวกับรัฐ"(dottrina dello Stato) (State theory), อันเป็นสาขาวิชาความรู้เกี่ยวพันโดยเฉพาะกับทฤษฎีทางกฎหมายและรัฐธรรมนูญ. ซึ่งจากหน้าที่การงานดังกล่าว ทำให้เขาได้รับความสะดวกในการเชื่อมโยงกับบรรดานักการเมืองที่ทรงอิทธิพล อย่างเช่น Raniero Panzieri (*) และนักปรัชญา Norberto Bobbio (**), ซึ่งผูกพันอย่างเข้มข้นกับพรรคการเมืองสังคมนิยม

(*) Raniero Panzieri (b. Rome 1921; d. Turin 1964) นักกิจกรรมสังคมนิยมอิตาเลียนและนักการเมือง. จากปี 1946 เขาดำรงตำแหน่งบรรณาธิการและเป็นนักทฤษีให้กับนิตยสารที่ต่อมามีชื่อว่า the PSIUP (Socialismo), เช่นเดียวกับการเป็นผู้ดูแล และผู้อำนวยการเศรษฐกิจของ the Istituto di studi socialist. เป็นครูสอนทางปรัชญาทางด้านกฎหมายที่มหาวิทยาลัย Messina, ในปี 1956 เขาให้การสนับสนุนการก่อตั้งสถาบัน the Rodolfo Morandi Institute และต่อมาดำรงตำแหน่งบรรณาธิการวารสารรายเดือนของ PSI ที่เน้นในเรื่องวัฒนธรรมการเมืองในชื่อว่า Mondo operaio (1957-8).

(**)Norberto Bobbio (October 18, 1909 - January 9, 2004) นักปรัชญาอิตาเลียนทางด้านกฎหมายและรัฐศาสตร์ และเป็นนักประวัติศาสตร์ ความคิดทางการเมือง

ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1960 เนกรี ได้เข้าร่วมเป็นบรรณาธิการของQuaderni Rossi, ซึ่งเป็นนิตยสารที่เป็นตัวแทนปัญญาชนรุ่นใหม่ของลัทธิมาร์กซ์ในอิตาลี ที่อยู่นอกวงของพรรคคอมมิวนิสต์. ในปี 1969 เขาได้ร่วมงานกับ Oreste Scalzone และ Franco Piperno, เนกรี เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่มพลังคนงาน (Potere Operaio) (Workers' Power) และขบวนการคอมมิวนิสท์แรงงาน Operaismo (workerist). กลุ่มพลังคนงาน(Potere Operaio) ได้สลายตัวไปในปี 1973 และได้ก่อให้เกิดขบวนการที่ชื่อว่า the Autonomia Operaia Organizzata (องค์กรอิสระของคนงาน)(Organised Workers' Autonomy)

เขาได้ร่วมงานกับนักเขียนอื่นๆ หลายคนซึ่งมีความสัมพันธ์กับขบวนการ Autonomist (*) ของอิตาลี ที่เป็นขบวนการเคลื่อนไหวของแรงงานอิตาเลียน, นักศึกษา, และนักเรียกร้องสิทธิสตรีในช่วงทศวรรษที่ 1960 และ 1970 ประกอบด้วย Raniero Panzieri, Mario Tronti, Sergio Bologna, Romano Alquati, Mariarosa Dalla Costa และ Franco Berardi (คนหลังสุดนี้ ถูกรู้จักในฐานะที่มีส่วนร่วมของเขากับวิทยุเสรี (free Radio Alice [ที่ให้การสนับสนุนแนวทางขบวนการ Autonomist] ใน Bologna)

(*)Autonomism เป็นการอ้างถึงขบวนการและทฤษฎีต่างๆ ทางสังคมและการเมืองฝ่ายซ้ายที่ใกล้ชิดกับความเคลื่อนไหวทางสังคมนิยม. Autonomism (autonomia) ปรากฏตัวขึ้นมาในอิตาลีในช่วงทศวรรษที่ 1960 จากกลุ่มลัทธิคอมมิวนิสต์แรงงาน(workerist (operaismo) communism). ต่อมา, แนวโน้มลัทธิมาร์กซ์และอนาธิปไตยได้มีความสำคัญมากขึ้นหลังจากอิทธิพลของกลุ่มสถานการณ์นิยม(Situationists), (http://midnightuniv.tumrai.com/midnight2544/0009999987.html), ความล้มเหลวของขบวนการฝ่ายซ้ายสุดขั้วอิตาเลียนในทศวรรษที่ 1970 และการปรากฏตัวขึ้นมาของนักทฤษฎีที่สำคัญจำนวนหนึ่ง ประกอบด้วย Antonio Negri ได้ให้อิทธิพลต่อกลุ่ม Autonomen ของชาวดัทชและเยอรมัน ซึ่งเป็นกลุ่มขบวนการศูนย์กลางสังคมโลก(the worldwide Social Center movement), และทุกวันนี้ได้ให้อิทธิพลต่ออิตาลี, ฝรั่งเศส, สหรัฐอเมริกา และประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษอีกบางประเทศ. คนที่อธิบายตัวของพวกเขาเองว่าเป็น autonomists ปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปจากแนวคิดมาร์กซิสท์แรงงาน สู่แนวคิดหลังโครงสร้างนิยม(post-structuralists)(1) และอนาธิปไตย(บางส่วน)

(1) Post-structuralism แนวคิดหลังโครงสร้างนิยม เป็นการรวมเอาพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของนักปรัชญาภาคพื้นทวีปยุโรป และบรรดานักทฤษฎีวิพากษ์เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งมีงานเขียนเกี่ยวเนื่องกับปรัชญาฝรั่งเศสคริสตศตวรรษที่ 20. คำนำหน้า post อ้างถึงข้อเท็จจริงที่ว่า บรรดานักเขียนจำนวนมาก อย่างเช่น Jacques Derrida, Michel Foucault, และ Julia Kristeva ล้วนปฏิเสธแนวคิดโครงสร้างนิยม(structuralism) และกลายเป็นคนที่วิพากษ์วิจารณ์มัน. ในความขัดแย้งโดยตรงกับข้ออ้างของโครงสร้างนิยมเกี่ยวกับรูปสัญญะอิสระ(independent signifier), เหนือกว่าความหมายสัญญะ(signified), หลังโครงสร้างนิยมมองว่า รูปสัญญะและความหมายสัญญะ(the signifier and signified) เป็นสิ่งที่ไม่อาจแยกออกจากกันได้ แต่ก็มิใช่สิ่งเดียวกัน. ขบวนการหลังโครงสร้างนิยมค่อนข้างเกี่ยวพันใกล้ชิดกับลัทธิหลังสมัยใหม่(postmodernism) แต่แนวคิดทั้งสองก็มิได้เป็นศัพท์คำพ้อง(synonymous)ของกันและกัน

ขณะที่หลังโครงสร้างนิยมยากที่จะนิยามหรือสรุปอย่างย่นย่อ แต่ก็สามารถทำความเข้าใจกว้างๆ ได้ในฐานะที่เป็นเรือนร่างของปฏิกริยาที่เด่นชัดต่อโครงสร้างนิยม. ต่อไปนี้คือ 2 เหตุผลหลักสำหรับความยุ่งยากดังกล่าว

ประการแรก, มันปฏิเสธนิยามความหมายต่างๆ ที่อ้างว่าได้ค้นพบ"ความจริง"สมบูรณ์ หรือข้อเท็จจริงทั้งหลายเกี่ยวกับโลก

ประการที่สอง, มีผู้คนน้อยมากที่ยอมรับป้ายฉลาก"นักคิดหลังโครงสร้างนิยม"อย่างเต็มใจ พวกเขาค่อนข้างได้รับการติดป้ายโดยคนอื่นๆ มากกว่า ผลที่ตามมา จึงไม่มีใครรู้สึกว่าถูกบังคับให้ต้องสร้างแถลงการณ์เกี่ยวกับหลังโครงสร้างนิยมขึ้นมา. อันที่จริง มันไม่สอคล้องกับแนวคิดหลังโครงสร้างนิยมนัก ที่จะจัดระบบหรือสร้างระเบียบตัวของมันเองในหนทางหนึ่งหนทางใด (Harrison, Paul; 20016; "Post-structuralist Theories"; pp122-135 in Aitken, S. and Valentine, G. (eds); 2006; Approaches to Human Geography; Sage, London)

การถูกจับกุม และการต่อสู้
เดือนเมษายน วันที่ 7 ปี 1979 ช่วงอายุ 46, อันโตนิโอ เนกรี ถูกจับพร้อมกับคนอื่นๆ ที่มีความสัมพันธ์กับขบวนการอิสระปกครองตนเอง (the Autonomy movement) (คนที่ถูกจับกุมคราวนั้น ประกอบด้วย Emilio Vesce, Luciano Ferrari Bravo, Mario Dalmaviva, Lauso Zagato, Oreste Scalzone, Pino Nicotri, Alisa del Re, Carmela di Rocco, Massimo Tramonte, Sandro Serafini, Guido Bianchini, รวมทั้งคนอื่นๆ). พนักงานอัยการแห่ง Padova นามว่า Pietro Calogero ได้ฟ้องคนเหล่านี้ ในฐานะที่มีความเกี่ยวพันกับขบวนการอิสระปกครองตนเอง(the Autonomia movement) ซึ่งเป็นฝ่ายการเมืองของกลุ่มกองพลน้อยแดง (Red Brigades) และอยู่เบื้องหลังการก่อการร้ายของพวกฝ่ายซ้ายในอิตาลี

เนกรี ถูกกล่าวหาและถูกฟ้องร่วมกับผู้กระทำความผิดอีกจำนวนหนึ่ง รวมถึงในฐานะเป็นผู้นำของกลุ่มกองพลน้อยแดง, เป็นผู้วางแผนการลักพาตัวและฆาตกรรมหัวหน้าพรรคการเมืองคริสเตียนเดโมแครต Aldo Moro และวางแผนที่จะล้มล้างรัฐบาลด้วย. ในช่วงเวลาดังกล่าว เนกรี ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ทางด้านรัฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยปาดัว และเป็นผู้บรรยายพิเศษ รับเชิญไปสอนที่ Ecole Normale Superieure ณ กรุงปารีส

หนึ่งปีต่อมา เนกรี ได้พ้นผิดจากคดีลักพาตัว Aldo Moro เพราะไม่มีความเชื่อมโยงใดๆ ระหว่างเนกรีกับกลุ่มกองพลน้อยแดง และคำฟ้องคดีเกือบทั้งหมดเกี่ยวกับตัวเขา (ซึ่งรวมถึงคดีฆาตกรรม 17 คดี) เป็นอันตกไปในช่วงหลายเดือนที่จับกุมตัวเขา ทั้งนี้เนื่องจากการขาดเสียซึ่งหลักฐานหรือพยานใดๆ. บรรดาผู้ที่ให้การสนับสนุนข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับองค์กร Gladio (*) อยู่เบื้องหลังการตายของ Aldo Moro มองว่าการจับกุมเนกรี เป็นความพยายามที่จะปกปิดซ่อนเร้นความรับผิดชอบต่างๆ นั่นเอง

(*) Gladio (Italian, มาจากภาษาลาติน gladius), หมายถึง"ดาบ"(sword) เป็นชื่อระหัสที่บ่งถึงปฏิบัติการในอิตาลีที่องค์การเนโต(NATO) อยู่เบื้องหลังอย่างลับๆ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งมีเจตจำนงในการเผชิญหน้ากับองค์การสนธิสัญญาวอร์ซอ(Warsaw Pact) ในการุกรานเข้าไปในยุโรปตะวันตก. แม้ว่าองค์กร Gladio จะเป็นการอ้างถึงการอยู่เบื้องหลังองค์กรต่างๆ ของ NATO เฉพาะสาขาในอิตาลีเท่านั้น แต่ปฏิบัติการขององค์กร Gladio ก็ถูกใช้ในฐานะชื่อที่ไม่เป็นทางการสำหรับองค์กรที่อยู่เบื้องหลังทั้งหมด

เนกรี ถูกพิพากษาลงโทษเกี่ยวกับอาชญากรรมต่างๆ ในการเชื่อมโยงกับการจลาจลต่อต้านรัฐบาล (คำฟ้องนี้ต่อมาภายหลังได้ตกไปเช่นกัน) และในปี 1984 เขาถูกพิพากษาลงโทษให้จำคุก 30 ปี. 2 ปีต่อมา เขาถูกตัดสินลงโทษเพิ่มเติมอีก 4 ปี และอีกครึ่งปีในโทษฐานที่เขาต้องรับผิดชอบต่อการกระกระทำอันรุนแรงระหว่างนักกิจกรรมทั้งหลายปะทะกับตำรวจ ช่วงระหว่างทศวรรษที่ 1960 และ 1970 ส่วนใหญ่เนื่องมาจากงานเขียนทั้งหลายของเขา และการเชื่อมโยงกับมูลเหตุและกลุ่มการปฏิวัติต่างๆ

ตลอดช่วงทศวรรษที่ 1980 องค์กรนิรโทษกรรมสากล(Amnesty International) ได้ให้ความสนใจต่อปฏิบัติการอันไม่เป็นธรรมทางกฎหมายอย่างจริงจัง ในการพิจารณาคดีเกี่ยวกับกลุ่ม Autonomia, โดยเฉพาะได้ให้ความเอาใจใส่ต่อการจับกุมผู้ต้องสงสัยทั้งหลายเป็นระยะเวลานานโดยปราศจากการไต่สวน ประกอบกับความเฉื่อยชาในการพิจารณาคดีซึ่งใช้เวลานานมาก รวมถึงการหลีกเลี่ยงข้อจำกัดต่างๆ ทางกฎหมายในมาตรการการควบคุม และการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับวิธีการทางกฎหมายเพื่อขยายเวลาการคุมขังออกไป อีกทั้งการขาดเสียซึ่งพยานในคดีต่างๆ ที่มีอยู่ เช่นเดียวกับการคุกคามสิทธิมนุษยชนในหลายๆ ด้าน ที่ถูกตั้งขึ้นมาโดยการเปลี่ยนแปลงกฎหมายอิตาลี

เกี่ยวกับเนกรีเอง, นักปรัชญาฝรั่งเศส Michel Foucault ซึ่งต่อมาแสดงความเห็นว่า "ฉัน ไม่ใช่เขาที่ติดอยู่ในคุกสำหรับการเป็นปัญญาชน? ส่วนนักปรัชญาฝรั่งเศสสองคน F?lix Guattari และ Gilles Deleuze ได้ลงชื่อในเดือนพฤศจิกายน 1977 L'Appel des intellectuels francais contre la repression en Italie (ซึ่งเป็น, การเรียกร้องของปัญญาชนฝรั่งเศสต่อการการปราบปรามในอิตาลี)[The Call of French Intellectuals Against Repression in Italy] เกี่ยวกับเหตุการณ์ประท้วงต่อการจับกุมเนกรี และประท้วงการออกกฎหมายต่อต้านการก่อการร้ายอิตาเลียน

ในปี 1983, 4 ปีหลังจากจับกุมเนกรี และขณะที่เขายังถูกคุมขังอยู่ในคุกเพื่อรอการไต่สวน เขาได้รับการเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติอิตาเลียน จากพรรค Radical Party ของ Marco Pannella. สิทธิพิเศษอันหนึ่งของรัฐสภาทำให้เนกรีได้รับการปล่อยตัวจากที่คุมขัง เพื่อมาดำรงตำแหน่งที่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา แต่ถูกเพิกถอนโดยสภาล่างอิตาเลียนไม่กี่เดือนต่อมา. ณ จุดนี้ เขาได้เดินทางไปยังฝรั่งเศส ซึ่งที่นั่นเขาได้ใช้ชีวิตอยู่ 14 ปี ทำงานสอนและงานเขียน และได้รับการปกป้องโดยนโยบายมิธเธอร์ร็องด์เกี่ยวกับการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน (the "Mitterrand doctrine)(*) การปฏิเสธของเขาที่จะยืนหยัดต่อการไต่สวนในอิตาลี ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางโดยสื่อต่างๆ ของอิตาเลียน และโดยพรรค Italian Radical Party, ซึ่งได้ให้การสนับสนุนตัวเขาในการเป็นสมาชิกรัฐสภา

(*)The Mitterrand doctrine ("Doctrine Mitterrand") หลักการมิธเธอร์ร็องด์ คือนโยบายที่ได้รับสถาปนาขึ้นในปี ค.ศ.1985 โดยประธานาธิบดีฝรั่งเศส ฟรังซัวส์ มิธเธอร์ร็องด์ (Francois Mitterrand) ที่เกี่ยวพันกับนักกิจกรรมการเมืองฝ่ายซ้ายอิตาเลียน ซึ่งได้หลบหนีมาอยู่ในผรั่งเศส หมายถึงพวกที่ได้รับการตัดสินว่ามีความผิดในปฏิบัติการรุนแรงที่กระทำในอิตาลี, แต่ยกเว้น"กลุ่มก่อการร้าย ที่ปฏิบัติการรุนแรงถึงเลือดถึงเนื้อต่างๆ", ในช่วงระหว่างปีที่เรียกว่า "Years of Lead" โดยจะไม่มีการส่งตัวกลับไปยังอิตาลี (ตามข้อตกลงการส่งผู้ร้ายข้ามแดน)

ในฝรั่งเศส เนกรี เริ่มทำการสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยปารีส VIII (Saint Denis) และที่วิทยาลัยปรัชญานานาชาติ(Coll?ge International de Philosophie) ก่อตั้งขึ้นโดย Jacques Derrida. แม้ว่าเงื่อนไขต่างๆ เกี่ยวกับการพำนักในฝรั่งเศสจะปกป้องเขาจากการมีส่วนพัวพันกับกิจกรรมทั้งหลายทางการเมือง แต่เขาก็ได้เขียนงานมากมาย ซึ่งค่อนข้างกระตุ้นให้มีการร่วมไม้ร่วมมือกันอย่างกว้างๆ ของปัญญาชนปีกซ้ายต่างๆ. ในปี 1990 Negri กับ Jean-Marie Vincent และ Denis Berger ได้ร่วมกันก่อตั้งนิตยสาร Futur Anterieur. นิตยสารดังกล่าวได้หยุดตีพิมพ์ในปี 1998 แต่ได้รับการฟื้นขึ้นมาใหม่ในชื่อ Multitudes (*) ในปี ค.ศ.2000, และ Negri เป็นสมาชิกคนหนึ่งของกองบรรณาธิการระหว่างประเทศ

(*) Multitudes ในที่นี้หมายถึงนิตยสารแนววิพากษ์รายเดือนที่เกี่ยวกับปรัชญา การเมือง และศิลปะในฝรั่งเศส ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.2000 โดย Yann Moulier-Boutang. แนวเรื่องของนิตยสารฉบับนี้เป็นไปในเชิงกรอบทฤษฎีเกี่ยวกับผลงานอันทรงอิทธิพล เรื่อง"จักรวรรดิ"(Empire) ของ Antonio Negri และ Michael Hardt. นิตยสารแนววิพากษ์ฉบับดังกล่าว มีลักษณะคล้ายหนังสือ ซึ่งได้โฟกัสลงไปที่รายละเอียดเกี่ยวกับความคิดทางปรัชญาและการเมืองของกลุ่มลัทธิแรงงานอิตาเลียน(Italian operaismo) (1), แต่ดูเหมือนว่าจะวางอยู่บนฐานคิดของ Foucault, Althusser, และ Deleuze ด้วย

สำหรับคำว่า Multitudes มาจากแนวคิด Spinozist eponymic concept ซึ่งได้ถูกนำมาคิดใคร่ครวญโดย Toni Negri ในฐานะที่เป็นทางเลือกเกี่ยวกับแนวคิดคลาสสิคในเรื่องของผู้คน, ความสำนึกทางชนชั้น, หรือรัฐชาติ. นิตยสารฉบับนี้ได้ตีพิมพ์เรื่องราวจำนวนมากเกี่ยวกับสังคมข้อมูลข่าวสาร และเรื่องเศรษฐกิจฐานความรู้ (knowledge economy), ให้การสนับสนุนโดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับกระบวนการรับรู้ของแรงงาน และอารมณ์ความรู้สึกของคนงาน ซึ่งไม่สามารถวัดได้โดยเครื่องมือมาตรฐานของเวลาทำงาน และยังยืนยันในแง่มุมเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันทางการผลิตในสังคมสมัยใหม่ด้วย. ดังหตุผลนี้และเหตุผลอื่นๆ มันจึงมีแนวโน้มที่จะมุ่งให้ความสนใจเกี่ยวกับการประกันรายได้ขั้นต่ำ

(1) operaismo: ลัทธิแรงงาน(workerism) อ้างถึงการยกย่องเทิดทูนเกี่ยวกับวัฒนธรรมของชนชั้นแรงงาน, ซึ่งเป็นอิสระจากบทบาททางประวัติศาสตร์ของพวกเขา

ในปี 1977 เนกรีได้กลับมายังอิตาลีด้วยความสมัครใจเพื่อรับโทษที่เหลือของตัวเอง (ซึ่งได้อุทธรณ์ลดลงมาเหลือ 17 ปี) โดยหวังว่า การกระทำดังกล่าวจะช่วยทำให้รับรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ของบรรดาผู้ที่ถูกเนรเทศและคนที่ติดคุก (รวมทั้ง Adriano Sofri จาก Lotta Continua) ซึ่งเกี่ยวพันกับกิจกรรมทางการเมืองซ้ายจัดในอิตาลี ช่วงระหว่างทศวรรษที่ 1960 และ 1970, มีชื่อเรียกว่า "Anni di Piombo" (Years of Lead). เนกรีได้ถูกปล่อยตัวจากการคุมขังในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 2003, เขากล่าวว่า "ข้าพเจ้าได้กลับไปทำงานการเมืองของตัวเองอีกครั้ง โดยเริ่มจากฐานล่างขึ้นมาเลยทีเดียว, นั่นคือเริ่มจากการเป็นคนคุก"

เขาเขียนหนังสือสองเล่มคือ L'anomalia selvaggia (The Savage Anomaly) และ Empire ในช่วงระหว่างติดคุก. "ด้วยการกลับมาของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะให้แรงผลักสู่คนรุ่นที่ถูกทำให้เป็นชายขอบโดยกฎหมายต่างๆ เกี่ยวกับการต่อต้านก่อการร้ายในช่วงทศวรรษที่ 1970 เพื่อว่าพวกเขาจะได้หลุดพ้นจากการเนรเทศภายในและต่างประเทศ พร้อมได้หวนกลับไปสู่การมีส่วนร่วมในชีวิตสาธารณะและชีวิตในบ้านเกิดอีกครั้ง"

ความคิดและงานเขียนทางการเมือง (Political thought and writings)
ท่ามกลางแนวเรื่องที่เป็นแกนกลางในงานของเนกรี คือลัทธิมาร์กซ์, โลกาภิวัตน์ประชาธิปไตย, การต่อต้านทุนนิยม, ลัทธิหลังสมัยใหม่, แนวคิดเสรีนิยมใหม่, ประชาธิปไตย, กรรมสิทธิร่วม, สิทธิชุมชน(the common)(*), และการเมืองมหาชน(the multitude). แนวทางที่ชื่นชอบความอุดมสมบูรณ์, การทำลายรูปเคารพหรือสถาบัน, ความเป็นสากล(prolific, iconoclastic, cosmopolitan) ซึ่งมีแบบฉบับสูง บ่อยครั้งทำให้งานเขียนต่างๆ ทางปรัชญาค่อนข้างยุ่งยาก และทึบมัว ในการพยายามที่จะเชื่อมร้อยในเชิงวิพากษ์ กับ ความเคลื่อนไหวของปัญญาชนโลกส่วนใหญ่ในช่วงครึ่งหลังศตวรรษที่แล้ว ในการนำเอาแนวคิดมาร์กซ์มาวิเคราะห์เกี่ยวกับลัทธิทุนนิยม

(*)Common land (a common), สำหรับคำนี้ ในประเทศอังกฤษและเวลส์หมายถึง ผืนดินแห่งหนึ่งที่ครอบครองโดยบุคคล(คนหนึ่ง) แต่คนอื่นๆ สามารถมีสิทธิบางประการบนผืนดินแห่งนั้นด้วย ยกตัวอย่างเช่น ผืนดินนี้ยินยอมให้คนอื่นนำปศุสัตว์เข้ามาเลี้ยงได้ เป็นต้น. สำหรับตำราเก่าๆ ใช้คำว่า"Common"เพื่อบ่งชี้ถึงสิทธิบางอย่าง แต่เป็นไปในเชิงที่ทันสมัยกว่า โดยอ้างถึงสิทธิร่วมกัน หรือกรรมสิทธิ์ร่วม และรักษาคำว่า"common"นี้ไว้ สำหรับผืนดินที่สิทธิต่างๆ ได้รับการปฏิบัติ โดยการขยายขอบเขตศัพท์คำนี้ไปใช้กับทรัพยากรด้านอื่นๆ ที่ชุมชนต่างมีสิทธิหรือเขาไปใช้ประโยชน์ได้

เนกรี ค่อนข้างไม่ให้สนใจเกี่ยวกับลัทธิหลังสมัยใหม่(postmodernism)มากนัก แนวคิดดังกล่าวเพียงมีคุณค่าตามที่เขาประเมินคือ มันเป็นเพียงอาการโรคของการเปลี่ยนผ่านทางประวัติศาสตร์(a symptom of the historical transition) มันเป็นพลวัต, สำหรับเขาและ Hardt ใช้ในการเริ่มต้นอธิบายในงานเขียนเรื่อง"จักรวรรดิ"(Empire). เขายอมรับอิทธิพลของ Michel Foucault, David Harvey (*) ในเรื่อง The Condition of Postmodernity (1989), Fredric Jameson ในเรื่อง Postmodernism or the Cultural Logic of Late Capitalism (1991) และ Gilles Deleuze & Felix Guattari ใน Capitalism and Schizophrenia.

(*) David Harvey (เกิด 1935) เป็นศาสตราจารย์พิเศษสาขามานุษยวิทยา ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย City University of New York (CUNY). เขาเป็นนักทฤษฎีทางสังคมชั้นนำคนหนึ่งในระดับนานาชาติ จบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ทางด้านภูมิศาสตร์ ในปี ค.ศ.1961. เขาเป็นผู้ที่ได้รับการอ้างถึงโดยนักภูมิศาสตร์ทั่วโลกมากที่สุด (according to Andrew Bodman, see Transactions of the IBG, 1991,1992), และเป็นนักเขียนหนังสือมากมายหลายเล่มรวมทั้งบทความต่างๆ ที่โดดเด่นในการพัฒนาเกี่ยวกับภูมิศาสตร์สมัยใหม่ในฐานะกระบวนวิชาหนึ่ง. ผลงานของเขามีส่วนทำให้เกิดการถกเถียงทางสังคม-การเมืองอย่างกว้างขวาง, เมื่อเร็วๆ นี้ เขาได้รับเครดิตโดยการนำเอาชนชั้นทางสังคมกลับมา ในฐานะที่เป็นเครื่องมือ วิธีการที่จริงจังในการวิพากษ์ลัทธิทุนนิยมโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปของแนวคิดเสรีนิยมใหม่ของลัทธิดังกล่าว

ทุกวันนี้ อันโตนิโอ เนกรี เป็นที่รู้จักอย่างดีในฐานะผู้เขียนหนังสือร่วมกับ Michael Hardt (*), ในหนังสือเรื่อง"จักรวรรดิ"(Empire) (2000). ข้อสรุปของเรื่อง"จักรวรรดิ"คือ โลกาภิวัตน์และโลกของตลาดข้อมูลข่าวสาร นับจากช่วงทศวรรษที่ 1960 เป็นต้นมา ได้น้อมนำเราไปสู่ความเสื่อมทรามลงมากขึ้นในเรื่องเกี่ยวกับการมีอธิปไตยของรัฐชาติ และการปรากฏตัวขึ้นของ"รูปแบบใหม่เกี่ยวกับการมีอธิปไตย ประกอบด้วยองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวพันกับนานาประเทศจำนวนหนึ่ง ที่รวมตัวกันภายใต้ตรรกะของกฎระเบียบโดดๆ ชุดหนึ่ง". ผู้เขียนเรียกรูปแบบใหม่นี้ว่า โครงร่างโลกใหม่ของจักรวรรดิอธิปไตย(global reconfiguration of sovereignty Empire). อันนี้ได้แปรเปลี่ยนการออกกฎหมาย และเป็นผลเนื่องมาจาก "การจัดกลุ่มที่เป็นจริง(ซึ่งตรงข้ามกับทางการ)เกี่ยวกับการดำรงอยู่ของสังคมโดยทุน" ซึ่งจะไม่มีใครอยู่"นอกกรอบ"ทุนนิยมไปได้อีกต่อไป - ทุกสิ่งจะถูกจัดกลุ่มเข้าไปอยู่ในเครือข่ายของทุนเรียบร้อยแล้ว

การที่จะต่อต้านและเป็นปรปักษ์กับสิ่งที่เป็นผลลัพธ์ของความอยุติธรรมอันเนื่องมาจากอธิปไตยจักรวรรดินิยมนี้ ผู้เขียนได้เรียกร้องการต่อต้านด้วยการสร้างความเป็นอิสระ, การปกครองตนเอง, ซึ่งตัวอย่างที่ดีสำหรับเรื่องนี้คือ กลุ่ม Wobbies (*) หรือ The Industrial Workers of the World (IWW or the Wobblies - แรงงานอุตสาหกรรมโลก) และการประท้วง WTO ในปี 1999 ที่ซีแอตตเติล, รวมทั้งโครงสร้างหลวมๆ ของขบวนการต่อต้านเพื่อการเป็นอิสระปกครองตนเอง - ซึ่งพวกเขาเรียกว่า การเมืองมหาชน(multitude)

(*) The Industrial Workers of the World (IWW or the Wobblies) องค์กรแรงงานอุตสาหกรรมโลก คือองค์กรระหว่างประเทศซึ่งมีที่ทำการใหญ่อยู่ใน Cincinnati, Ohio, สหรัฐอเมริกา. ในช่วงที่ได้รับความนิยมสูงสุดปี 1923 องค์กรนี้อ้างว่า มีสมาชิกที่ยืนหยัดอยู่ถึง 1 แสนคน และสามารถที่จะระดมกำลังคนงานได้ถึง 3 แสนคน

หนังสือเรื่อง"จักรวรรดิ"(Empire) ได้มีอิทธิพลอย่างกว้างขวางในทวีปยุโรป, รวมไปถึงออสเตรเลเชีย(Australasia) และอเมริกาเหนือ แต่นักกิจกรรมผิวดำและจากซีกโลกใต้ รวมถึงบรรดานักวิชาการหลายคน มีแนวโน้มวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับงานชิ้นนี้ (ดูตัวอย่าง, The Topology of Being and the Geopolitics of Knowledge: Modernity, empire, coloniality by Nelson Maldonado Torres at: http://abahlali.org/files/Nelson2.pdf). มันได้ให้แรงบันดาลใจในการริเริ่มก่อตัวของ เครือข่ายไร้พรมแดน(No Border network)(1), Libre Society(2), KEIN.ORG, NEURO-networking europe, and D-A-S-H.

(1) The No Border Network เครือข่ายไร้พรมแดน อ้างถึงความสัมพันธ์กันอย่างหลวมๆ ขององค์กรที่เป็นอิสระต่างๆ, กลุ่ม, และปัจเจกชนทั้งหลายในยุโรปตะวันตก, ยุโรปตะวันออก และอื่นๆ. องค์กรเหล่านี้ต่อต้านการเข้ามาควบคุมการอพยพย้ายถิ่น โดยการประสานงานกันที่ค่ายกักกันชายแดนระหว่างประเทศ มีการเดินขบวน ปฏิบัติการทางตรงต่างๆ และคัดค้านการรณรงค์เกี่ยวกับการเนรเทศ

(2) The Libre Society คือขบวนการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมและศิลปะที่ผูกมัดกับเรื่องการปลดปล่อยทางศิลปวัฒนธรรม (free/libre/open-source art) ดนตรี และวรรณกรรม. กลุ่ม Libre Society ได้ออกแถลงการณ์ที่เรียกว่า Libre Manifesto, เพื่อเรียกร้องให้มีปฏิบัติการต่างๆ เพื่อความเป็นอิสระ. สำหรับ The Libre Sociey ได้รับแรงบันดาลใจมาจากขบวนการลิขซ้าย(copyleft movement), และกลุ่มสถานการณ์นิยมในช่วงทศวรรษที่ 1960 รวมถึงบรรดานักเขียนหลายคน อย่างเช่น Antonio Negri, Gilles Deleuze, Michel Foucault, Karl Marx, Carl Schmitt และ Friedrich Nietzsche. กลุ่มนี้ก่อตัวขึ้นมาโดยบรรดาศิลปินและปัญญาชนต่างๆ ที่ปฏิเสธศิลปะว่าเป็นเพียงวัตถุที่ถูกส่งไปมาและค้าขายเท่านั้น พวกเขายืนยันว่า ศิลปะคือการปลดเปลื้องความอิสระ เป็นความเปลี่ยนแปลง และการปลดปล่อยผู้คนจากความเป็นทาส

งานเขียนชิ้นต่อมาจาก Empire, คือเรื่อง Multitude: War and Democracy in the Age of Empire (การเมืองมหาชน: สงครามและประชาธิปไตยในยุคของจักรวรรดิ), ได้รับการตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2004. หนังสือเล่มนี้ไม่เหมือนกับ Empire, ซึ่งได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Harvard University Press และโดยเหตุที่มีเป้าหมายมุ่งไปยังผู้อ่านที่เป็นนักวิชาการเท่านั้น, ส่วนฉบับปกอ่อนของเรื่อง Multitude ได้รับการตีพิมพ์โดย Penguin Books และมุ่งถึงผู้อ่านซึ่งไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ. ขณะที่เรื่อง Empire, แม้จะมีลักษณะเป็นไปในลักษณะปรับทิศทางการเมืองให้ชัดเจน แต่ส่วนใหญ่ของการเพ่งความสนใจ ค่อนข้างจะอธิบายถึงเงื่อนไขต่างๆ เกี่ยวกับโลกาภิวัตน์, ส่วนเรื่อง Multitude กลับปรากฏออกมาในลักษณะค่อนข้างพุ่งไปที่กิจกรรมมากกว่าหนังสือเล่มก่อน

ทางเลือกหนึ่งสู่อัตลักษณ์อันเป็นคุณสมบัติทางการเมืองอย่างเข้มงวด เกี่ยวกับโครงการของเนกรี มาจากนักวิจารณ์แนวคิดเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่, John J. Reilly, ซึ่งเรียกงาน"Empire" นี้ว่า "พล็อตเรื่องหลังสมัยใหม่ที่พยายามจะล้มล้างเมืองของพระเจ้า(the City of God)(*)." ในข้อเท็จจริง เนกรีเกี่ยวพันกับขบวนการเคลื่อนไหวแรงงานแคธอลิคในช่วงทศวรรษที่ 1950 และแนวคิดเทววิทยาเพื่อการปลดปล่อย (liberation theology)(**) ซึ่งดูเหมือนว่าได้ทิ้งร่องรอยถาวรลงในความคิดของเขา

(*)The City of God คือหนังสือที่เขียนขึ้นในภาษาลาติน โดย Augustine of Hippo ในช่วงต้นของคริสตศตวรรษที่ 5 ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับพระผู้เป็นเจ้า, ความทุกข์ทรมาน, ยิว, และปรัชญาคริสเตียน. Augustine ได้เขียนตำรานี้ขึ้นเพื่ออรรถาธิบายความสัมพันธ์ของศาสนาจักรกับศาสนาและปรัชญาคู่ปรับอื่นๆ และยังพัวพันไปถึงรัฐบาลโรมัน ซึ่งได้รับการสานเข้าด้วยกันมากขึ้น. ตำราเล่มนี้ถูกเขียนขึ้นมาไม่นานนัก หลังจากโรมได้ถูกขับไล่โดยพวก Visigoths (1) ในปี ค.ศ. 410. เหตุการณ์ดังกล่าวได้ทำให้โรมต้องตกอยู่ในสภาพช็อคอย่างรุนแรง และผู้คนจำนวนมากมองว่ามันเป็นการลงโทษพวกเขา สำหรับการละทิ้งศาสนาโรมัน

(1) The Visigoths คือหนึ่งในสองสาขาของพวก Goths (ชาวกอธหรือชาวเยอรมันโบราณ), ส่วนอีกสาขาหนึ่งคือ Ostrogoths เป็นกลุ่มชนเผ่าเยอรมานิกตะวันออก. ชนเผ่าทั้งสองสาขานี้อยู่ในท่ามกลางผู้คนที่เรียกตนเองว่าเยอรมัน ซึ่งได้รบกวนจักรวรรดิโรมันตอนปลายในช่วงระหว่างยุคแห่งการอพยพ(the Migration Period), ตามมาด้วยกองทัพ Visigoth นำโดย Alaric I ซึ่งได้ทำการขับไล่โรมในปี ค.ศ. 410.

(**)Liberation Theology : เทววิทยาแห่งการปลดปล่อย (Liberation Theology) เป็นขบวนการทางศาสนาที่เกิดขึ้นในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกช่วงปลายคริสตศตวรรษที่ 20 โดยมีศูนย์กลางอยู่ในละตินอเมริกา ขบวนการนี้พยายามปรับศรัทธาในศาสนาคริสต์ให้หันมาช่วยเหลือคนจน และผู้ถูกกดขี่ ทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจ โดยสนใจปัญหาในเชิงโครงสร้างที่ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมทางสังคม และพยายามเข้าไปมีส่วนร่วมในการผลักดันเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนั้น

นักเทววิทยาแห่งการปลดปล่อยเชื่อว่า พระเจ้าสำแดงวจนะผ่านคนยากไร้เป็นพิเศษ และชาวคริสต์จะเข้าใจพระคัมภีร์ไบเบิลได้อย่างแท้จริง ก็ต่อเมื่อพิจารณาผ่านสายตาของคนยากคนจนเท่านั้น ขบวนการนี้เห็นว่า ศาสนจักรโรมันคาทอลิกในละตินอเมริกามีภารกิจที่แตกต่างจากในยุโรป กล่าวคือ ศาสนจักรในละตินอเมริกา เป็นศาสนจักรของคนยากจนและเพื่อคนยากจน

เพื่อสร้างศาสนจักรให้บรรลุวัตถุประสงค์นี้ ขบวนการดังกล่าวจึงก่อตั้ง communidades de base หรือชุมชนฐานราก ชุมชนดังกล่าวประกอบด้วยสมาชิกชาวคริสต์ท้องถิ่น 10-30 คน รวมตัวกันศึกษาพระคัมภีร์ไบเบิล และช่วยกันแก้ปัญหาของคนในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการขาดแคลนอาหาร น้ำ ท่อระบายน้ำ ไฟฟ้า ฯลฯ ชุมชนแบบนี้ผุดขึ้นมากมายทั่วทั้งละตินอเมริกา

ต้นกำเนิดของขบวนการเทววิทยาแห่งการปลดปล่อย มักเชื่อกันว่ามีจุดเริ่มต้นที่การประชุมบิชอปในละตินอเมริกาครั้งที่สองเมื่อปี ค.ศ. 1968 ในการประชุมครั้งนั้น คณะบิชอปได้ออกเอกสารยืนยันสิทธิของคนยากไร้ และกล่าวโทษประเทศอุตสาหกรรมว่ากอบโกยความมั่งคั่งไปจากโลกที่สาม

หนึ่งในงานเขียนล่าสุดเมื่อไม่นานมานี้ส่วนใหญ่ เช่น Time for Revolution (2003), วางใจอยู่บนแนวเรื่องหลักที่ดึงมาจากแนวคิดของ Augustine of Hippo (*) และ Baruch Spinoza และอาจได้รับการอธิบายในฐานะที่เป็นความพยายามอันหนึ่งในการที่จะสร้างเมืองของพระเจ้า(City of God) โดยปราศจากความช่วยเหลือของมายาการที่เหนือธรรมชาติ(transcendental illusions) และ เทววิทยาแห่งอำนาจ(Theology of Power) ที่เขาค้นพบในบรรดานักคิด ซึ่งแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง กับ Martin Heidegger และ John Maynard Keynes, นอกจากนี้ยังเป็นความพยายามที่จะแก้ไขคำวิจารณ์เกี่ยวกับอุดมการณ์ อย่าง ความสำนึกที่ผิดพลาด(false consciousness)(**) ซึ่งเริ่มต้นขึ้นโดย Karl Marx.

ปัจจุบันในวัย 70 ของเขา เนกรียังคงสอนและเขียนหนังสืออยู่. เขาได้แบ่งเวลาไปพำนักอยู่ที่โรม, เวนิส, และปารีส ซึ่งเขาได้ไปบรรยายในวงสัมนาทางการเมืองที่ the Coll?ge International de Philosophie and the Universit? Paris I.

(*) Saint Augustine (13 พฤศจิกายน, 354 - 28 สิงหาคม, 430), Bishop of Hippo, in Algeria, คือนักปรัชญาและนักเทววิทยา. Augustine, a Latin Father และ Doctor of the Church, ถือเป็นบุคคลสำคัญที่สุดคนหนึ่งในการพัฒนาศาสนาคริสต์ในโลกตะวันตก

(**) False consciousness (ความสำนึกที่ผิดพลาด) คือแนวคิดมาร์ซิสท์ที่ว่า กระบวนการทางวัตถุและสถาบันในสังคมทุนนิยม ได้น้อมนำชนชั้นกรรมาชีพและชนชั้นอื่นไปอย่างผิดๆ. กระบวนการเหล่านี้ ทรยศต่อความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่แท้จริงระหว่างชนชั้นต่างๆ และรัฐที่แท้จริงเกี่ยวกับการพัฒนาของสังคมก่อนสังคมนิยม (สัมพันธ์กับพัฒนาการทางโลกย์[secular development]ของสังคมมนุษย์โดยทั่วไป)

บทความต่างๆ ที่เขียนโดย Antonio Negri

- Multitudes quarterly journal (in French)
- Archives of the journal Futur Anterieur (in French)
- English translations of recent articles by Antonio Negri from Generation Online
- Hardt & Negri (2002), "Marx's Mole is Dead" in Eurozine
- Between "Historic Compromise" and Terrorism: Reviewing the experience of Italy in the 1970s Le Monde Diplomatique, August-September 1998

- Articles by and about Toni Negri, translated by Ed Emery
- "Towards an Ontological Definition of Multitude" Article published in the French journal Multitudes.
- Extract from Negri and Hardt's Empire at Marxists.org

หนังสือของ Antonio Negri

- Empire and Imperialism: A Critical Reading of Michael Hardt and Antonio Negri. Atilio A. Boron, London: Zed Books, 2005. (Publisher's announcement)

- Reading Capital Politically, Harry Cleaver. 1979, 2nd ed. 2000.

- The Philosophy of Antonio Negri, vol. 1: Resistance in Practice, ed. Timothy S. Murphy and Abdul-Karim Mustapha. London: Pluto Press, 2005.

- The Philosophy of Antonio Negri, vol. 2: Revolution in Theory, ed. Timothy S. Murphy and Abdul-Karim Mustapha. London: Pluto Press, 2007.

- Dossier on Empire: a special issue of Rethinking Marxism, ed. Abdul-karim Mustapha. London: T&F/Routledge, 2002.

- Autonomia: Post-Political Politics, ed. Sylvere Lotringer & Christian Marazzi. New York: Semiotext(e), 1980, 2007. (Includes transcripts of Negri's exchanges with his accusers during his trial.) ISBN-10: 1-58435-053-9, ISBN-13: 978-1-58435-053-8. Available online at Semiotext(e)

- Toni Negri and the resurrection of ideologypor Hugo Azcurra

คลิกอ่าน - บทนำอภิจักรภพยุคหลังสมัยใหม่ - ภัควดี วีระภาสพงษ์


 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑ : Release date 02 May 2008 : Copyleft by MNU.
การกำเนิดขึ้นของ"จักรวรรดิ"ก็คือ จุดสิ้นสุดของความขัดแย้งระดับชาติ, ศัตรู ณ ตอนนี้หมายถึงใครก็ตามที่ไม่อาจดำรงอยู่ในอุดมการณ์ หรือความเป็นชาติอีกต่อไปแล้ว. ศัตรูในปัจจุบัน จะต้องถูกทำความเข้าใจใหม่ ในฐานะที่เป็นอาชญากรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นตัวแทนการคุกคาม ไม่ใช่ต่อระบบการเมืองหรือชาติ แต่เป็นกฎหมาย. ศัตรูชนิดนี้ก็คือ"ผู้ก่อการร้าย". Hardt และ Negri ยึดเอาประเด็นดังกล่าวเมื่อพวกเขาพูดว่า "ในระเบียบใหม่(new order) มันได้หุ้มห่อพื้นที่ทั้งหมดของ…อารยธรรมเอาไว้", ความขัดแย้งระหว่างชาติที่เกิดขึ้น ถูกทำให้เป็นเรื่องนอกประเด็น ศัตรูได้ถูกทำให้เป็นเรื่องซ้ำซากน่าเบื่อไปพร้อมๆ กัน (มันถูกลดทอนให้เป็นเรื่องซึ่งเป็นหน้าที่ปราบปรามของตำรวจในชีวิตประจำวัน) และทำให้เป็นเรื่องคุกคามต่อกฎระเบียบ
H
จักรวรรดิคือทั้งหมด, ซึ่งคงความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจเอาไว้ และอัตลักษณ์ทั้งมวลถูกลบทิ้งไปและได้รับการแทนที่ด้วยความเป็นสากลหนึ่งเดียว คงเหลือแต่เฉพาะอัตลักษณ์ของความยากจนเท่านั้น" (ปัญหาดังกล่าว ดังที่ผู้เขียนเห็นคือ "บรรดานักเขียนหลังสมัยใหม่ ต่างปฏิเสธอัตลักษณ์หนึ่งเดียวที่ควรเป็นสาระสำคัญต่อคนทั้งหมดที่เหลือ, หนึ่งเดียวที่เรามีอยู่เสมอ นั่นคือ "เพียงชื่อสามัญร่วมกัน ซึ่งไม่มีความเป็นท้องถิ่นที่แตกต่างหรือความบริสุทธิ์เหลืออยู่เลย นั่นคือ คนจน" …เพียงคนจน, Hardt และ Negri กล่าว, "เป็นรากเหง้า ที่ดำรงอยู่จริงที่เราพบเห็น")

คำอธิบายนี้คล้ายคลึงกับรูปทรงปิรามิด มันเป็นสำเนาคำอธิบายของนักประวัติศาสตร์กรีก นามว่า Polybius เกี่ยวกับรัฐบาลโรมัน ซึ่งเรียกว่า"จักรวรรดิ" (Empire) [จักรวรรดิโรม]. ยิ่งไปกว่านั้น วิกฤตต่างๆ ที่เกิดขึ้นถูก รับรู้ในฐานะที่เป็นเนื้อแท้เดิมๆ ของจักรวรรดิ. Negri และ Hardt ต่างเป็นหนี้บุญคุณอย่างมากต่อกระบวนการวิเคราะห์ของ Michel Foucault's เกี่ยวกับแนวคิดชีวการเมือง หรือ biopolitics และปรัชญาของ Gilles Deleuze (บางส่วนจากบทความ)