ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




18-04-2551 (1536)

สิทธิมนุษยชนเมื่อกว่า ๕๐ ปีที่แล้วกำลังเผชิญหน้ากับสื่อใหม่
คำถามใหม่ๆ เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนบนสื่อใหม่และโลกดิจิตอล (๑)
สุภัตรา ภูมิประภาส : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เชิงอรรถบางส่วนเพิ่มเติมโดยกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน


บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์
เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศไทย

บทแปลนี้เดิมชื่อ "คำถามใหม่ๆ สำหรับสิทธิมนุษยชนในสื่อใหม่"ซึ่งเป็นรายงานที่นำเสนอครั้งแรก
ในการประชุมนานาชาติเรื่อง "ชุมชนจิตนาการ / ชาติไร้ (วัฒนธรรม)พรมแดน" ที่กรุงเทพฯ
ระหว่างวันที่ ๒๘-๒๙ กรกฎาคม ๒๐๐๖ โดย ดร.ไมค์ เฮย์ ปัจจุบันเป็นอาจารย์และผู้อำนวยการ
โครงการดุษฎีบัณฑิต สำนักงานสิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
สำหรับงานวิจัยที่ ดร.ไมค์ เฮย์ ให้ความสนใจในปัจจุบันคือ สิทธิมนุษยชนในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ระบบสื่อเอเซีย และความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีการสื่อสารใหม่ การพัฒนาสังคมและสิทธิมนุษยชน

ในส่วนของบทแปลนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนบนสื่อใหม่และโลกดิจิตอล
เนื่องจากต้นฉบับมีความยาวพอสมควร จึงได้แบ่งออกเป็น ๒ ตอน ประกอบด้วยหัวข้อทั้งหมดดังนี้
- สภาพการณ์ที่ 1 : ระบบเศรษฐกิจเสมือนจริง
- สภาพการณ์ที่ 2 : เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการพัฒนา
- สภาพการณ์ที่ 3 : บล็อกเกอร์
- ข้อมูลข่าวสารในฐานะที่เป็นสิทธิทางเศรษฐกิจ
- ปักเจกบุคคล และเสรีภาพในการแสดงออก
- สิทธิในการพัฒนาสื่อใหม่
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๕๓๖
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๖ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

สิทธิมนุษยชนเมื่อกว่า ๕๐ ปีที่แล้วกำลังเผชิญหน้ากับสื่อใหม่
คำถามใหม่ๆ เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนบนสื่อใหม่และโลกดิจิตอล (๑)
สุภัตรา ภูมิประภาส : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เชิงอรรถบางส่วนเพิ่มเติมโดยกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

แปลจากบทความเรื่อง "New Questions for Human Rights in the New Media" โดย Dr. Mike Hayes
ในหนังสือชื่อ Communication and Human Rights จัดพิมพ์โดย Office of Human Rights Studies and Social Development (OHRDS)
(สำนักงานสิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัย) Faculty of Graduate Studies Mahidol University

คำถามใหม่ๆ สำหรับสิทธิมนุษยชนในสื่อใหม่ (1)

งานชิ้นนี้เป็นภาพรวมของประเด็นเฉพาะและปัญหาที่เรากำลังเผชิญ เมื่อพยายามที่จะใส่เรื่องสิทธิมนุษยชนเข้าไปในบริบทของสื่อใหม่ (new media) (2). ประชาธิปไตย และเทคโนโลยีใหม่ๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยทันทีเกี่ยวกับการนำเอาบริบทสิทธิมนุษยชนมาสู่สื่อใหม่และเทคโนยีใหม่ เป็นเหมือนการตอกหมุดสี่เหลี่ยมลงในหลุมกลม เทคโนโลยีดิจิตอลใหม่ๆ เช่นเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้เปลี่ยนแปลงโลกเทคโนโลยีและสังคมที่เราอยู่ไปอย่างสิ้นเชิง

การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ โดยเฉพาะจากโลกซึ่งสิทธิมนุษยชนสากลที่เรารู้จักกันในปัจจุบันได้ถูกกำหนดและบัญญัติเป็นกฎหมาย การปฏิวัติดิจิตอลเกิดขึ้นเมื่อทศวรรษที่แล้ว แต่กระนั้น เครื่องมือสิทธิมนุษยชนที่เราใช้นิยามสิทธิมีมาก่อนหน้านี้แล้วราว 50 ปี แน่นอน นี่ไม่ได้หมายความว่าสิทธิมนุษยชนไม่มีความเกี่ยวข้องหรือเป็นเรื่องล้าสมัย แต่โครงสร้างสิทธิมนุษยชนที่เรารับรู้นั้นบางครั้งไม่สามารถเข้าถึงประเด็นพวกนี้อย่างที่ควรจะเป็น โดยการศึกษานั้น ผู้เขียนหมายถึงข้อกังวลที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีและสื่อใหม่ที่สมควรได้รับการคุ้มครองด้านสิทธิมนุษยชน แต่กลับไม่ได้รับการคุ้มครอง

โลกของสังคมและวัฒนธรรมที่สิทธิมนุษยชนลงตัวอย่างสมบูรณ์แล้วด้วยเช่นกัน กำลังถูกขับให้ปรับตัวไปสู่สื่อโลกและสื่อเสมือนจริง (virtual media) ซึ่งการรวมศูนย์อำนาจของสื่อสารมวลชนถูกแย่งชิงโดยสื่อที่เชี่ยวชาญเฉพาะประเด็น และสื่อที่กระจัดกระจายอยู่บนอินเตอร์เนทหรือเทคโนโลยีดิจิตอลต่างๆ ที่สำคัญ หมายถึงวิธีดำเนินการต่างๆ ของรัฐบาล ภาคเอกชน หรือองค์การอื่นใด อาจสามารถดำเนินการโดยเพิกเฉยต่อมาตรฐานสิทธิมนุษยชน เพราะว่ามันยังไม่มีมาตรฐานสิทธิมนุษยชนในพื้นที่หรือสื่อที่เรากำลังกล่าวถึงนี้

สิทธิมนุษยชนที่ปรากฎในเอกสารหลักนั้น ถูกสร้างขึ้นสำหรับสื่อทั่วไปตามจารีต (traditional media) ที่ยึดโยงอยู่กับข้อมูลของรัฐบาล (หรือองค์กรขนาดใหญ่ที่รัฐให้การสนับสนุน) และสาธารณชนที่บริโภคสื่อ หรือสาธารณชนที่แสดงออกได้อย่างเสรี (3) สิทธินี้โดยพื้นฐานเป็นเพียงเพื่อแสวงหาและรับข่าวสาร แต่สื่อใหม่ในปัจจุบันที่ผู้เขียนจะอภิปรายต่อไปมีประเด็นมากกว่านี้ รวมถึง การจ้างงาน อัตลักษณ์ สิทธิในการรวมตัว รวมถึงการศึกษา ฯลฯ

ในแง่หนึ่ง กรอบของสิทธิต่างๆ ที่อยู่รายรอบสื่อใหม่และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนั้นยังแข็งแรงอยู่ นี่เป็นเพราะว่าถ้าเรามองไปที่ประวัติศาสตร์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะเห็นขบวนการเพื่อสิทธิเสรีภาพ (libertine movement) ที่เข้มแข็งมาก ประวัติศาสตร์นี้บอกเล่าเรื่องของอินเตอร์เนทที่เป็นผลลัพท์ของพลังต่างๆ ทางสังคม ซึ่งตามทันผลประโยชน์ทางธุรกิจ และได้เพาะสำนึกของลัทธิแห่งความเท่าเทียม (egalitarianism) รวมถึงเสรีภาพขึ้นในเทคโนโลยีนี้ โดยการเกิดขึ้นจากขบวนการสังคมทางเลือกในสหรัฐอเมริกาในช่วงทศวรรษที่ 60 (1960s) ช่วงต้นของการใช้อินเตอร์เนทโดยกลุ่มต่างๆ เช่น บรรดาแฟนของ Star Trek หรือบรรดา Deadheads (*) (ซึ่งเป็นแฟนของวงดนตรี the Grateful Dead band) (**) และการสถาปนาเสรีภาพในการแสดงออก และเสรีภาพที่จะเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร (มีบริการการจ่ายเงินเท่าที่ดูรายการ (pay per view) เกิดขึ้นในช่วงหลังของประวัติศาสตร์อินเตอร์เนท)

ภาพประกอบ (ซ้าย) โปสเตอร์เกี่ยวกับเรื่อง Star Trek นวนิยายวิทยาศาสตร์อเมริกัน และได้มีการพัฒนาไปสู่วิดีโอเกมส์
จำนวนมาก. (ขวา) เป็นภาพของนักดนตรี The Grateful Dead ซึ่งเป็นวงดนตรีร็อคอเมริกัน ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1965

(*)Deadhead or Dead Head is a name given to fans of the American jam band, The Grateful Dead.[1] In the 1970s, a number of fans began travelling to see the band in as many shows or festival venues as they could. With large numbers of people thus attending strings of shows, a community developed. Deadheads developed their own idiom, slang and touchstones.

(**)The Grateful Dead were an American rock band formed in 1965 in the suburban Bay Area, though they became central figures in the psychedelic movement based out of the Haight-Ashbury neighborhood of San Francisco, California.[1] The band was known for its unique and eclectic style, which fused elements of rock, folk, bluegrass, blues, reggae, country, jazz, psychedelia, space music[2][3] and gospel-and for live performances of long musical improvisation

เจตนารมณ์นี้ของการพัฒนา มาจากช่วงต้นการดำรงอยู่ด้วยหลักการที่รัฐบาลมีส่วนเกี่ยวข้องระดับต่ำสุด การมีกฎข้อบังคับของตัวเอง และการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างเท่าเทียมกัน (egalitarian community involvement) อันที่จริง พัฒนาการของสื่อใหม่ยังคงมีส่วนสำคัญที่ถูกบรรจุเข้าไปโดยองค์กรประชาสังคมต่างๆ ถึงอย่างนั้นก็ตาม เรื่องนี้ไม่ได้เป็นเพียงประวัติศาสตร์ชุดเดียว ยังมีเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับอินเตอร์เนท เช่น การเกิดขึ้นของโครงการ DARPA (4) ด้านการทหาร (หน่วยงานของกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา มีหน้าที่รับผิดชอบการพัฒนาเทคโนยีใหม่สำหรับการใช้งานของฝ่ายทหาร - ผู้แปล), การควบคุมการเติบโตทางธุรกิจของอินเตอร์เนท, การควบคุมไมโครซอฟท์ (และกูเกิล), การควบคุมกลไกพื้นฐานหลักของอินเตอร์เนทโดยองค์กรธุรกิจใหญ่ๆ เพียงไม่กี่แห่ง (ส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐอเมริกา) (5)

ผู้แสดงบทบาทสอดรู้สอดเห็นนั้นคือรัฐชาติ จากจุดเริ่มต้น รัฐต่างๆ ได้เล่นบทบาทอย่างจำกัดที่มีข้อถกเถียงในการบริหารจัดการ ปัจจุบันพวกเขาได้สร้างความยุ่งยากอย่างมากในการควบคุมขนาด การเจริญเติบโต และการเปลี่ยนรูปของสื่อใหม่มากกว่าสิ่งใดหรือผู้ใดสามารถควบคุมได้ เพราะว่าปัจจัยต่างๆ อย่างเช่น รากฐานแห่งเสรีภาพ แรงกระตุ้นทางธุรกิจ และบทบาทจำกัดของรัฐ เหล่านี้เป็นข้อสนทนาของผู้เขียนที่ว่า เรายังไม่ให้ความใส่ใจที่สำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชนมากเท่าที่ควร ผลก็คือ กรอบของสิทธิมนุษยชนค่อนข้างที่จะด้อยพัฒนา ไม่มีความเร่งรีบที่จะคุ้มครองสิ่งที่บางคนเห็นว่าเป็นพื้นที่ที่มีความเท่าเทียมและมีเสรีภาพแล้ว

ข้อวิพากษ์วิจารณ์ที่มีเหตุผล ในเรื่องบทบาทของสิทธิมนุษยชนในเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร คือมาตรฐานต่างๆ ของสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนั้นดีมาก และไม่มีข้อห่วงใยใดๆ. ส่วนการเริ่มต้นสื่อใหม่นั้นถูกมองว่าเป็นเครื่องมือสำคัญของสิทธิมนุษยชน - เป็นช่องทางสำหรับการสื่อสารและการส่งเสริม สำหรับความมั่งคั่งของทรัพยากร และเป็นส่วนสนับสนุนที่สำคัญของเครือข่ายที่เป็นชุมชนสิทธิมนุษยชน (6) อย่างไรก็ตาม เราไม่สามารถวางใจสื่อใหม่ว่า จะคงไว้ซึ่งเสรีภาพได้ต่อไปอีกยาวนานแค่ไหน และเป็นเรื่องสำคัญที่จะให้มีการนิยามสิทธิและมาตรฐานต่างๆ โดยเร็ว

กระแสนี้กำลังเริ่มต้นหมุนกลับ ในประเทศที่พัฒนาแล้วมีการถกเถียงกันเกี่ยวกับสิทธิต่างๆ จากข้อร้องเรียนแรกๆ ในเรื่องของสื่อลามก (ที่ดูเหมือนว่ารัฐต่างๆ จะมีความกังวลเพียงเล็กน้อย) ไปสู่การถกเถียงในเรื่องการเข้าถึงอย่างเท่าเทียม ('ห้องเรียนที่มีการเชื่อมกับอินเตอร์เนท') แม้ว่า เมื่ออินเตอร์เนทเข้าไปถึงประเทศที่มีเสรีภาพในการแสดงออกระดับต่ำมาก เช่น ประเทศจีน สิงคโปร์ พม่า และเวียดนาม แต่ประเด็นสิทธิต่างๆ ที่ถูกยกขึ้นมาถกเถียงกันมาก เช่น กรณีที่เป็นที่รับรู้กันมากเกี่ยวกับปฏิกิริยาของจีนต่อเว็บไซต์กูเกิล, เทคโนโลยีไฟร์วอลล์ (firewall) (*) ของสิงคโปร์, หรือการที่สหรัฐฯ พยายามแกะรอยผู้ซื้อหนังสือเกี่ยวกับการก่อการร้ายจากบริษัทอเมซอน (7) เป็นต้น

(*)A firewall is a device or set of devices configured to permit, deny, encrypt, or proxy all computer traffic between different security domains based upon a set of rules or other criteria. Function: A firewall is a dedicated appliance, or software running on another computer, which inspects network traffic passing through it, and denies or permits passage based on a set of rules.

กรณีเหล่านี้ทำให้ประเด็นสิทธิมนุษยชนต่างๆ ปรากฎขึ้นอย่างฉับพลัน ถึงแม้จะเกิดขึ้นในระยะหลังเมื่อไม่นานมานี้ และในวิถีทางที่จำกัดมากก็ตาม การพูดถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ICT)จำนวนมาก รวมศูนย์อยู่ที่การพัฒนารูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะการถกเถียงในเรื่องการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิตอลอย่างไม่เท่าเทียมกัน สิ่งที่ผู้เขียนเชื่อว่าเราได้ประจักษ์เมื่อไม่นานมานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลอดปีที่แล้วคือ กระแสการเปลี่ยนแปลงในเรื่องเสรีภาพ (libertarianism) เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และความพยายามร่วมกันของชุมชนและประชาชนที่จะจำกัดการควบคุมตรวจสอบ ในกรณีดังกล่าว บทความนี้ยึดหลักการเรื่องความคุ้มครองที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิมนุษยชน คือสิ่งที่เราควรจะต้องปกป้องโดยทันที ก่อนที่สิทธิ (หรือบุคคล) จะตกอยู่ภายใต้การคุกคาม

ในการพูดถึงข้อกังวลบางประการ ผู้เขียนต้องการถกเถียงบางกรณีศึกษาที่ยังไม่ได้เกิดขึ้น แต่เป็นการผสานจินตนาการกับบางเหตุการณ์ในชีวิตจริง ผู้เขียนไม่ต้องการจำกัดงานชิ้นนี้อยู่เพียงกับเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้ว เพราะว่าส่วนหนึ่งที่ผู้เขียนกำลังโต้แย้ง คือการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงทางเทคโนโลยีนั้น จะหมายถึงว่าเราควรเริ่มต้นคิดเกี่ยวกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ในเงื่อนไขของการเติมเต็มและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ในแง่หนึ่ง คือการใช้กรณีศึกษาที่ไม่ใช่เรื่องจริงมาอธิบายความยากลำบากและความสับสนของสิ่งที่สิทธิมนุษยชนครอบคลุมในสื่อใหม่ ซึ่งถึงแม้มันจะเป็นสิทธิเสรีภาพเสมือนจริง (virtual rights) - สิทธิสำหรับสิ่งที่อาจจะไม่มีตัวตน หรือบริบทที่มีตัวตนจริงก็ตาม แต่เราควรที่จะคิดริเริ่มเพื่อแนวทางสิทธิมนุษยชน

สภาพการณ์ที่ 1 : ระบบเศรษฐกิจเสมือนจริง
กรณีแรก เป็นเรื่องของเกมออนไลน์ที่มีผู้เล่นจำนวนมากมายมหาศาล เกมที่จำลองบทบาทสมมุติ (Massively multiplayer online role-playing game - MMORPG) ในเกมเหล่านี้ ผู้เล่นต้องลงทะเบียนเข้าเล่นจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเอง และจะได้รับมอบบทบาทตัวละครที่ถูกสมมติขึ้น (an 'avatar') (*) ซึ่งพวกเขาจะกำกับบทบาทผ่านพื้นที่เกม เกมที่ใหญ่ที่สุดนั้น มีผู้ลงทะเบียนเข้าเล่นจำนวนหลายล้านคน (8) แต่ก็มีระบบเศรษฐกิจจริงเป็นคู่ขนานไปกับเศรษฐกิจออนไลน์ด้วยเช่นกัน ผู้เล่นสามารถจ่ายเงินจริงเพื่อซื้อเงินออนไลน์ ซื้ออาวุธ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ หรือซื้อตัวละครอื่นๆ สินค้าถูกซื้อและขายผ่านการประมูลออนไลน์

(*)An avatar is computer user's representation of himself or herself, whether in the form of a three-dimensional model used in computer games, a two-dimensional icon (picture) used on Internet forums and other communities, or a text construct found on early systems such as MUDs. It is an "object" representing the embodiment of the user. The term "avatar" can also refer to the personality connected with the screen name, or handle, of an Internet user.
- ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน http://en.wikipedia.org/wiki/Avatar_(computing)

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกมออนไลน์ (MMORPG) ต้องการปิดเว็บไซต์ที่ผู้เล่นเกมทำการค้าขายตัวละครและอุปกรณ์ต่างๆๆ ของเกมออนไลน์เพื่อทำกำไร? การปิดเว็บไซต์เป็นข้อห่วงกังวล เพราะบางคนหารายได้เลี้ยงชีพจากการพัฒนาตัวละครสมมติต่างๆ พวกเขาได้ลงทุนทั้งเงินและเวลาลงไป นี่เป็นงานของพวกเขา พวกเขาไม่มีสิทธิที่จะประกอบอาชีพของเขาหรือ? งานของพวกเขาไม่ควรได้รับการคุ้มครองตามสิทธิพื้นฐานทางเศรษฐกิจหรือ?

ประการต่อมา เว็บไซต์ที่ทำการค้านี้ เป็นสถานที่ที่คนได้พบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร เป็นสิทธิของพวกเขาตามบทบัญญัติข้อ 19 แห่งปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (เสรีภาพในการแสดงออก และสิทธิที่จะแสวงหา ได้รับ และส่งข้อมูลข่าวสาร)(*) บริษัทสามารถปิดเว็บไซต์ได้หรือ? นี่ไม่ใช่ทั้งการปิดกั้นและการปฏิเสธสิทธิในการรวมตัวหรือ? แต่บริษัทกำลังอ้างว่า เกมเป็นทรัพย์สินของตน ตัวละคร และอุปกรณ์อื่นๆ ทั้งหมดเป็นผลิตผลที่เกิดขึ้นจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของบริษัท บนเซอร์เวอร์ส(servers)ของพวกเขา มันเป็นทรัพย์สินของบริษัท และคุณไม่สามารถที่จะขายทรัพย์สินของผู้อื่น. นี่อาจเป็นสิทธิมนุษยชนที่เก่าแก่ที่สุดที่เรามี เมื่อย้อนกลับไปสู่ Magna Carta (กฎบัตรแห่งเสรีภาพ เขียนขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1215- ผู้แปล) ขณะที่เห็นได้อย่างชัดเจนในระดับนี้ว่า ไม่ได้มีการเข้าไปสู่ประเด็นสิทธิมนุษยชน ผู้เขียนเชื่อว่า การวินิจฉัยหรือการตัดสินใจเหล่านี้อาจผลักให้รัฐบาลและศาลเริ่มต้นทบทวนว่า "ทรัพย์สิน" และ"แรงงาน"คืออะไร และอะไรคือมาตรฐานของสิทธิในการรวมตัว

(*)Article 19. Everyone has the right to freedom of opinion and expression; this right includes freedom to hold opinions without interference and to seek, receive and impart information and ideas through any media and regardless of frontiers.
Universal Declaration of Human Rights (http://www.un.org/Overview/rights.html)

ข้อกังวลที่เกี่ยวเนื่องคือ การกระทำของตัวละครสมมติ (an avatar) อะไรจะเกิดขึ้นถ้าตัวละครฯ กระทำการในรูปแบบรุนแรงเกี่ยวกับการยั่วยุ (เช่น การปลุกปั่นให้เกิดการเหยียดผิว เหยียดเพศ และนำไปสู่ความรุนแรง) เราควรจะหรือสามารถจะหยุดยั้งการกระทำนี้ได้หรือไม่? บุคคลที่เป็นเจ้าของตัวละครฯ อาจกล่าวว่าไม่ใช่เขา แต่เป็นตัวละครฯ ที่เหยียดผิว หรือเป็นพวกเกลียดชังเพศหญิง (misogynist) แต่การเหยีดหยามหรือการละเมิดที่เสมือนจริงนั้น เหมือนกับการเหยียดหยามที่เกิดขึ้นในโลกจริงหรือไม่?

สำหรับบริษัทแล้ว ข้อกังวลนี้อาจเป็นเรื่องของการค้ามากกว่า พวกเขากังวลเกี่ยวกับการกระทำของตัวละครฯ เพราะว่า มันอาจทำให้ผู้เล่นอื่นๆ ตกใจถอยไป อย่างไรก็ตาม ในบางประเทศที่มีกฏหมายต่อต้านการเหยียดหยาม (เช่นกฎหมายต่อต้านนาซีของเยอรมณี) อาจทำให้การเหยีดหยามบางเรื่องผิดกฎหมาย มันเป็นการคุ้มครองในโลกจริงที่ชัดเจนที่รัฐบาลไม่ควรยอมให้มีการเหยียดหยามที่จะนำไปสู่ความรุนแรง แต่เราจะจัดการอย่างไรกับประเด็นของโลกออนไลน์ นั่นคือ การยุยงปลุกปั่นในโลกเสมือนจริง ถือเป็นการปลุกปั่นหรือไม่?

ในการถกเถียงบางประเด็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ ผู้เขียนใช้กรณีของ Sony's Everquest game (*) เป็นฐาน เกมนี้ในบางแห่งมีผู้เล่นราวๆ ครึ่งล้านคน และเมื่อเร็วๆ นี้ ก็ได้มีคดีฟ้องร้องเกี่ยวกับการประมูลสิ่งต่างรวมทั้งตัวละครของ Everquest ทางอินเตอร์เนท ในเบื้องแรก ตัวอย่างนี้ดูเป็นเรื่องโง่เขลา มันเป็นเกม รูปแบบหนึ่งของความบันเทิง และนี่ไม่ใช่เรื่องที่ต้องมีสิทธิมนุษยชนคุ้มครองเลย และมันไม่ได้เป็นเรื่องการสูญเสียสิทธิอย่างแท้จริง คนเหล่านี้ยังคงสามารถทำงานที่อื่นๆ ได้ พวกเขาสามารถที่จะพบปะและสนทนากันที่อื่นๆ ได้

อย่างไรก็ตาม มูลค่าของสินค้าออนไลน์ถูกประมาณการว่ามีค่าราวๆ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ (9) และมีรายงานว่าหลายบริษัทในประเทศจีน ได้จ้างพนักงานมาพัฒนารูปแบบตัวละครฯ ซึ่งถูกขายหลังจากนั้น (10) ถ้าระบบเศรษฐกิจเสมือนจริงทั้งหมดนี้เกิดขึ้นมา เรามีโครงสร้างสิทธิที่ต้องการเพื่อคุ้มครองคนในพื้นที่นี้หรือไม่? หรือเราจำเป็นต้องมีโครงสร้างสิทธิในพื้นที่นี้ไหม?

สภาพการณ์ที่ 2 : เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการพัฒนา (*)
ศูนย์บริการอินเตอร์เนทของรัฐบาล ได้เข้ามาถึงหมู่บ้านชนบทในประเทศกำลังพัฒนาที่ก่อนหน้านี้ มีเพียงการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในจำนวนจำกัด ศูนย์ฯนี้มีคอมพิวเตอร์รุ่นล่าสุดเชื่อมต่อกับสัญญานดาวเทียมความเร็วสูง (a high speed satellite connection) การประชุมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครื่องบันทึกระบบดิจิตอล รัฐบาลอ้างว่าชาวบ้านจะทำกำไรได้มากขึ้นจากการค้าขายพืชผลเกษตรทางออนไลน์, เด็กๆ จะได้รับการศึกษามากขึ้น, และข้อมูลข่าวสารมากมายบนอินเตอร์เนท จะหมายถึงประชาชนมีสุขภาพดีขึ้น ฉลาดขึ้น รวยขึ้น มีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และแม้แต่สวยขึ้น. แต่ไม่นานนักหลังพิธีเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ ที่มีแขกผู้มีเกียรติมานั่งอยู่บนเวที มีการแสดงของนักฟ้อนรำท้องถิ่น และการกล่าวสุนทรพจน์อันยืดยาว สั่งให้ชาวบ้านพัฒนาตัวเองเพื่อให้ได้รับการยอมรับนับถือมากขึ้น ศูนย์ฯนี้ได้ปรับบทบาทไปเพื่อการใช้งานประเภทอื่นๆ

(*) Information and Communication Technologies for Development (ICT4D)

ช่วงบ่าย พวกเด็กผู้ชายพากันมาใช้อินเตอร์เนทเพื่อเล่นเกมต่อสู้กัน (shooter games), บรรดาแม่บ้านใช้อินเตอร์เนทเพื่อคุยกับสามีคนอื่นที่อยู่ต่างเมือง ซึ่งมีโครงการอินเตอร์เนทของรัฐบาลแบบเดียวกัน, การประมูลพืชผลออนไลน์ถูกควบคุมโดยบริษัทข้ามชาติจากประเทศทางตะวันตก เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าราคาพืชผลนั้นยังคงอยู่ในระดับต่ำ (11). แต่บางคนก็ได้ประโยชน์มากจากศูนย์ฯนี้ เด็กๆ จากครอบครัวที่มีฐานะดีสามารถสมัครขอทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยในเมืองทางอินเตอร์เนท, บางครอบครัวสามารถหลีกเลี่ยงการซื้อสินค้าราคาแพงจากผู้ผลิตในท้องถิ่น โดยการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ที่ถูกกว่าจากในเมืองทางอินเตอร์เนท, และคนที่มีบัตรเครดิตก็สามารถประกอบธุรกิจและทำธุรกรรมต่างๆ กับภาครัฐทางอินเตอร์เนท โดยต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางเข้ามาในตัวเมือง

บางครั้ง หลังการเปิดศูนย์อินเตอร์เนทในชุมชน ทำให้เกิดการแบ่งแยกทางสังคมและเศรษฐกิจมากกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม ชุมชนไม่ได้ถอยหลังไปในแง่ของการพัฒนาสังคม ในช่วงนี้ชุมชนร่ำรวยขึ้น และมีอัตราการรู้หนังสือมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นสัมพันธ์กัน เราได้ประจักษ์ถึงช่องว่างที่กำลังถ่างออกไปมาก ขณะที่ประชาชนร้องเรียนว่าศูนย์ฯ นำไปสู่การกระทำที่ผิดทำนองคลองธรรม จริงๆ แล้วเรื่องประพฤติผิดทางเพศ เรื่องความรุนแรง และการผูกขาดทางการค้าไม่ใช่เรื่องที่ไม่เคยมีในชุมชน แต่ตอนนี้เรื่องดังกล่าวได้ย้ายขึ้นมากระทำกันบนอินเตอร์เนทเท่านั้น

นโยบายและคำสัญญาของรัฐบาลเกี่ยวกับการพัฒนาด้านสุขภาพและการศึกษา ไม่ได้นำไปสู่สิ่งใดเลย และประชาชนก็ยังอยู่ห่างไกลกับเงื่อนไขของสิทธิด้านสุขภาพ ทางการศึกษา และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ (และในบางกรณี พบว่ามาตรฐานต่างๆ ถูกทำให้ต่ำลง) ชาวบ้านรวมตัวกันและส่งอีเมล์ไปยังกรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT department) ร้องเรียนว่า การพัฒนาได้ละเมิดสิทธิต่างๆ ของพวกเขา เพราะว่ามีการประพฤติผิดทำนองคลองธรรมมากขึ้นในชุมชน เกิดการแบ่งแยกมากขึ้น และพวกเขาก็ยังคงไร้การศึกษาและมีสุขภาพย่ำแย่ พวกเขาได้รับคำตอบสั้นๆ ว่า ศูนย์ฯ อินเตอร์เนทไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสิทธิต่างๆ ของชาวบ้าน แต่เป็นสิทธิพิเศษที่ชาวบ้านได้รับ แต่ชาวบ้านนำไปใช้อย่างผิดๆ เหมือนกับได้รับรถยนต์ แล้วเอาไปขับเร็วมากจนเกิดการชนกันขึ้น

ตัวอย่างนี้อาจเป็นเรื่องที่ถูกสร้างให้เกินจริงสำหรับศูนย์ฯ เทเลคอมในชนบท ขยายปัญหาสังคมเกินจริง เช่นกิจกรรมต่างๆ ของวัยรุ่นถูกกล่าวหาอย่างไร้เหตุผลว่ากำลังทำลายวัฒนธรรม ตัวอย่างเรื่องนี้ละเลยปัญหาที่ใหญ่สุดคือ ความยั่งยืนของโครงการประเภทดังกล่าว ข้อเท็จจริงคือ มีเพียงศูนย์ฯ เทเลคอมไม่กี่แห่งเท่านั้นที่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างยั่งยืน และทั้งหมดพัฒนาไปในเชิงธุรกิจในเวลาไม่นานนัก (12) อย่างไรก็ตาม คำถามที่เกิดขึ้นเสมอในสถานการณ์นี้คือ สิทธิในการพัฒนาจะอยู่ตรงไหน? สิทธิใดที่ควรได้รับการยืนยัน? และสิทธิใดที่ถูกละเมิดไปแล้ว?

การพัฒนาในเรื่องของการประกอบอาชีพ สุขภาพ การศึกษา และการเมืองได้ถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจนในสิทธิมนุษยชน แต่การพัฒนาในเรื่องของข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารยังไม่ชัด ในหลายๆ พื้นที่ ไม่มีการกำหนดแน่นอนว่า สิทธิในการพัฒนาการสื่อสารของเราเป็นอย่างไร เราทราบว่าเรามีสิทธิในการแสวงหา รับและส่งข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งมีสิทธิที่จะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ และสิทธิทางการศึกษา แต่สิทธิทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับงาน หรือชุมชนออนไลน์ (social networks information - ข้อมูลเครือข่ายต่างๆ ทางสังคม)นั้นยังไม่ชัดเจน ยิ่งกว่านั้น จากตัวอย่างข้างต้น เมื่อประชาชนได้รับสิทธิดังกล่าวมากขึ้น (สิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การสามารถเข้าถึงการสื่อสารมากขึ้น) สิทธิในการพัฒนา ณ ที่นี้เป็นการเลือกปฏิบัติอย่างมาก มีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการพัฒนา (ICT4D - Information and Communication Technologies for Development) ที่บ่อยครั้งได้นำเอาเรื่องสิทธิมนุษยชนมาใช้อย่างเสรีโดยปราศจากการแยกแยะ (13) เหตุผลสำหรับความไม่ลงตัวนี้ และคำถามเกี่ยวกับสิทธิในเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเพื่อการพัฒนา (ICT4D) จะถูกขยายในครึ่งหลังของบทความต่อไป

สภาพการณ์ที่ 3 : บล็อกเกอร์
ตัวอย่างสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ คือ รัฐบาลอินเดียได้สกัดกั้นผู้ให้บริการเชื่อมต่อเครือข่ายเข้าสู่อินเตอร์เนท (Internet Service Providers - ISPs) จำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บล็อก เพราะกลัวว่า ความเกลียดชังทางเชื้อชาติจะถูกแพร่ขยายออกไปภายหลังเหตุการณ์ระเบิดที่เมืองมุมไบ การสกัดกั้นเวบเพจเหล่านี้หมายถึง บล็อกจำนวนหลายพันแห่งถูกปิดลงด้วย ผู้เขียนคิดว่ามีการอธิบายไว้อย่างถูกต้องในบางรายงาน เมื่อเปิดกล่องร้องทุกข์แพนโดร่าเกี่ยวกับการควบคุมเสรีภาพในการแสดงออก ("Pandora's Box of complaints about curbs on freedom of expression" - Bhattacharya 2006) (*) (14)

(*)Pandora's Box : In Greek mythology, Pandora's box is the box carried by Pandora that contained all the evils of mankind-greed, vanity, slander, lies, envy, pining-and hope.

การกระทำของรัฐบาลอินเดียเกิดขึ้นในบริบทของเจ้าของบ้าน ซึ่งเป็นท่าทีซึ่งคล้ายๆ กันทั่วภูมิภาค ไม่นานนักหลังจากนั้น รัฐบาลจีนได้สกัดกั้นบล็อกของนักเขียนชาวทิเบต (อ้างจากรายงานของ Human Rights Watch 2006), กลุ่มวัยรุ่นชาวฝรั่งเศสถูกดำเนินคดีในข้อหาทำการยุยงปลุกปั่นให้เกิดการต่อต้านผ่านบล็อกของพวกเขา, และทหารอเมริกันในประเทศอิรัคถูกเรียกร้องให้ปิดบล็อกของพวกเขา. ในที่นี้เทคโนโลยีทำให้ประเด็นสิทธิต่างๆ ซับซ้อน ถ้าผู้เขียนต้องการเผยแพร่บันทึกส่วนตัวต่อคนอื่นๆ ไม่มีรัฐบาลใดในโลกนี้สามารถเข้ามาหยุดยั้งความต้องการผู้เขียนได้ แต่ถ้าผู้เขียนพยายามที่จะจัดพิมพ์เป็นหนังสือ อาจมีข้อจำกัดต่างๆ ที่ขึ้นอยู่กับกฎหมายของประเทศ ในสื่อที่จับต้องได้ (physical media) ที่ต้องมีการพิมพ์หรือถ่ายสำเนา การนิยามพื้นที่สาธารณะเป็นเรื่องที่ไม่สู้เป็นปัญหา แต่สิ่งต่างๆ บนอินเตอร์เนทมีความแตกต่างอย่างยิ่ง มีประเด็นมากมายที่เกิดจากสิ่งที่รัฐบาลอินเดียทำ ซึ่งได้ผลักดันให้เราคิดทบทวนบางมาตรฐานที่ได้รับการสถาปนาขึ้นในบทบัญญัติ ข้อ19 แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR's Article 19)

ประการแรก การเซ็นเซอร์บล็อกเกอร์ทุกคนเพื่อสกัดบางคนที่อาจจะเผยแพร่ข้อความบางอย่าง เช่นที่รัฐบาลอินเดียได้ทำการปิดบล็อกผู้ให้บริการ (และไม่ใช่บล็อกส่วนตัว) เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน มันเหมือนกับการปิดโทรทัศน์เพราะมีข้อกังวลกับเกี่ยวกับรายการหนึ่ง ความไม่สะทกสะท้านเกี่ยวกับการกระทำของรัฐบาลอินเดีย และความคลุมเคลือของมันเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง บริษัทอินเตอร์เนทไม่ต่อสู้ และอย่างน้อยที่สุด ข้อกฎหมายเบื้องต้นสำหรับการปิดผู้ให้บริการ (server) ก็ไม่ชัดเจน

ประการที่สอง เมื่อหันมาที่ข้อห่วงใยทั่วๆ ไป บล็อกส่วนตัวและบล็อกสาธารณะเป็นอย่างไรกันบ้าง อะไรจะเกิดขึ้นถ้ามีผู้ที่มาแสดงความเห็นในบล็อกของคุณ พยายามปลุกปั่นให้เกิดความเกลียดชัง มันไม่ใช่ความเห็นของคุณเอง คุณควรต้องรับผิดชอบด้วยหรือไม่? การคุกคามชนิดไหนที่บล็อกจะไม่เผยแพร่สู่สังคม? พวกเขาไม่ใช่สื่อสารมวลชน และมีความโน้มเอียงที่จะเป็นสื่อเฉพาะ (narrow cast media) สำหรับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น เพราะความแคบและธรรมชาติเฉพาะของข้อมูลเหล่านี้ ตลอดรวมถึงจำนวน และความหลากหลายอย่างมหาศาล

รัฐไม่มีทรัพยากร (และบ่อยครั้งขาดความสนใจ)ที่จะไปติดตามความเคลื่อนไหวของเว็บไซต์เหล่านี้ บางทีการสูญเสียอำนาจในการเซ็นเซอร์สื่อสารมวลชน เป็นสาเหตุให้เกิดความหวั่นวิตกมากสำหรับรัฐชาติสมัยใหม่ (modern nation state) ในพื้นที่ต่างๆ ที่มีความหลากหลาย จากพื้นที่ทางการทูต ถึงพื้นที่ทางศีลธรรม รัฐไม่ได้เป็นผู้กำหนดความจริงหรือความรู้อีกต่อไปแล้ว สิ่งนี้อาจจะเป็นเหตุผลที่รัฐปิดเว็บไซต์ทั้งหมด เมื่อต้องการเซ็นเซอร์บล็อก และไม่พยายามที่จะจัดการปัญหาเป็นรายบุคคล หรือจัดการกับความเห็นเหล่านั้นเป็นเรื่องๆ

ตอนนี้ ผู้เขียนต้องการกลับมาที่ปัญหาที่เกิดขึ้นจากกรณีศึกษาข้างต้น ในเรื่องกฏหมาย สิทธิต่างๆ และคุณค่าทางสังคม และทำไมสิทธิมนุษยชนถึงไม่สามารถจัดวางได้อย่างลงตัว? ผู้เขียนกำลังทำสิ่งนี้ผ่านการมองไปที่ 3 ประเด็น เฉพาะที่เน้นช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านที่สิทธิมนุษยชนต้องทำ คือ ข้อมูลข่าวสารเป็นสิทธิทางเศรษฐกิจ สิทธิส่วนบุคคล และสิทธิการพัฒนา

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ คลิกไปอ่านต่อตอนที่ ๒

เชิงอรรถ

(1) รายงานชิ้นนี้นำเสนอครั้งแรกในการประชุมนานาชาติเรื่อง "ชุมชนจิตนาการ / ชาติไร้ (วัฒนธรรม)พรมแดน"
ที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 28-29 กรกฎาคม 2549

(2) สื่อใหม่ในความหมายของผู้เขียน คือรูปแบบใหม่ต่างๆ ของสื่อที่นอกเหนือไปจากสื่ออิเลคโทรนิคกระแสหลัก (โทรทัศน์และวิทยุ) สื่อทางอินเตอร์เนท (blogs, podcasting, wikis etc.)

(3) ดูปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) และกติกา 7 ข้อ [คำว่า]ข้อมูลข่าวสาร การแสดงออก สื่อ และการสื่อสาร ถูกอ้างถึงหลายครั้ง. อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่ปฏิญญาฯและกติกาเหล่านี้ถูกร่างขึ้นในช่วงระหว่างปี ค.ศ.1945 ถึง ช่วงทศวรรษที่ 1980 ไม่มีคำอธิบายตรงที่ว่าด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICTs) โดยพื้นฐาน ICTs เป็นสิทธิทางตรง ต้องถูกรับรองภายใต้ความหมายของการสื่อสาร และข้อมูลข่าวสาร ไม่มีสิทธิเฉพาะสำหรับการใช้ ICTs สำหรับการทำสำรวจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ อ่าน Cees Hamelink (2000)

(4) Defense Advanced Research Project Agency
(5) ดูภาพรวมที่ Chris Nicol (2003)
(6) เนื้อหาหลักของประเด็นนี้ อยู่ที่งานของ Steven Hick et al (2000)

(7) มีบทความจำนวนมากหลายประเภทที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเหล่านี้ เวบไซด์ www.theregister.co.th ครอบคลุมรายละเอียดเกี่ยวกับประเด็นสิทธิทางดิจิตอล (digital rights issues)

(8) รายละเอียดต่างๆ ของจำนวนสมาชิกเป็นการคาดเดา ขณะที่หลายบริษัทจัดพิมพ์จำนวนสมาชิก แต่ไม่มีการตรวจสอบอย่างป็นอิสระ อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่ได้จากการตรวจสอบน่าเชื่อถือว่าตรงกับความเป็นจริง ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ Woodcock (2005).

(9) "A model economy." (2005). ดู Matt Hines (2005)

(10) งานของ Dean Chan (2006) เป็นความรู้เบื้องต้นที่ดีเกี่ยวกับการจ้างงานประเภทนี้ บางครั้งอ้างถึง "ชาวนาจีน" เพราะว่าจำนวนมากของคนเหล่านี้ทำงานอยู่นอกอินเตอร์เนทคาเฟ่ในจีน

(11) เรื่องดังกล่าวเริ่มขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ในประเทศฟิลิปินส์ เวบไซด์ที่เป็นฐานข้อมูลของราคาพืชผลทางการเกษตร จัดตั้งขึ้นโดย เงินกองทุน ของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเซีย (Asian Development Bank -ADB) และต่อมาถูกซื้อโดยบริษัทแห่งหนึ่งในสหรัฐเอริกา เว็บไซต์นี้หยุดเชื่อมต่อกับเครือข่ายนับแต่นั้น

(12) ตามที่ Klaus Stoll กล่าวอ้าง, "ในความเป็นจริง ศูนย์เทคโนโลยีการสื่อสาร (telecentres) จำนวนมากมายทุกชนิดที่มีอยู่นั้น ไม่สามารถที่จะอยู่ได้อย่างยั่งยืนในระยะยาวโดยปราศจากทุนจากภายนอก" (Stoll 2003)

(13) หนังสือบางเล่มนำเสนอประเด็นดังกล่าว เช่น The special edition of ICT4D; Human Rights and ICTs, July 2005; และ Upala Devi Banerjee (2005); Hannah Beardon (2004)

(14) รายงานข่าวนี้อ้างคำของ 'ผู้เชี่ยวชาญทางอินเตอร์เนท' ('cyber expert') Subimal Bhattacharya (2006).

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

References

- "A model economy." (2005) The Economist, Jan 20th.

- Association for Progressive Communication. (2006) "Pushing and Prodding, Goading and Handholding: Reflection from the APC on the conclusion of the WSIS." Available at: http://rights.apc.org/documents/apc_wsis_reflection_0206.pdf.

- Benerjee, Upara Devi, (2005). Lessons Learned From Rights-Based Approaches in the Asia Pacific Region. Documentation of Case Studies. Bangkok: UNDP and OHCHR.

- Beardon, Hanah. (2004) "ICT for development: empowerment or exploitation? Learning from the Reflect ICTs project." London: Actionais,2004

- Battacharya, Subimal. (2006). "Bloggers Blocked After Mumbai Blasts." Inter Press Service News Agency. Thursday July 27, 2006. http://www.ipsnews.net/news.asp?idnews=34032

- Brown-Syed, Christopher. (1993). "The New World Order and the Geopolitics of Information." Libres: Library and Information Science Research January 19. Available online at: http://valinor.ca/csyed_libres3.html

- Burch, Sally. (2005) "Communication rights: Building bridges for social action." Vision in Process II -The World Summit on the Information Society, Geneva 2003 - Tunis 2005. Berlin: Heinrich Boll Foundation.

- Castells. Manuel. (2000). The Information Age: Economy, Society and Culture. 3 vols. Oxford: Blackwell.

- Chan, Dean. (2006). "Negotiating Intra-Asian Games Networks: On Cultural Proximity, East Asian Games Design, and Chinese Farmers." Fibreculture8: http://journal.fibreculture.org/issue8_Chan

- Gunaratne, Shelton. (1996). "Old Wine in New Bottle: Public journalism movement in the United States and the erstwhile NWICO debate." Paper presented at the 20th General Assembly & Scientific Conference of the International Association for Mass Communication Research. Sydney, 18-22 Aug.

- Held, David and Anthony McGrew. (1999). Global Transformations: Politics, Economies, and Culture. Cambridge: Polity.

- Hamelink, Cees. (2000). :Media and Human Rights." Media and Human Rights in Asia: An AMIC Compilation. Singapore: AMIC, 2000. 87-89.

- Hamelink, Cees. (2003). "Human Rights for the Information Society" in Sean O'Siochru and Bruce Girard, eds, Communicating in an Information Society, UNRISD, Geneva: 121-163.

- Heinrich Boll Foundation (2003), Vision in process, World Summit on the Information Society, Geneva 2003 - Tunis 2005. Berlin: Heinrich Boll Foundation. Available at: http://www.boell.de/downloads/medien/Visions-2003.pdf

- Hick, Steven, Edward F. Halpin, and Eric Hoskins eds. (20000 Human Rights and the Internet. New York: Palgrave Macmillan.

- Hines, Matt. (2005). "Sony creates auction site for game artifacts." CNET News.com. April 20. http://news.com.com/Sony+creates+auction+site+for+game+artifacts/2100-1043_3-5678052.html

- Human Rights Watch. (2006). "China: Tibetan Intellectual's Blogs Shuttered." London,
October9: http://hrw.org/english/docs/2006/10/09/china14364.htm

- Johnson, Kirk. (2001). "Media and social Change: The Modernizing influences of television in rural India." Media, Culture and Society 23.2: 147-69.

- Nicol, Chris. (2003). ICT Policy a Beginner Handbook. Association for Progressive
Communication. South Africa.

- Stoll, Klaus. (2003). "Telecentre Sustainability: What does it mean?" Development Gateway. February 08:
http://topics.developmentgateway.org/ict/sdm/previewDocument.do~activeDocument=442773. Accessed 3 March, 2006.

- Woodcock, Bruce Sterling. (2005) "An Analysis of MMOG Subscription Growth - Version 21.0." http://www.mmogchart.com/Analysis.html.

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv@hotmail.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: midnightuniv@hotmail.com
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๑ : Release date 18 April 2008 : Copyleft by MNU.
ผู้เขียนต้องการถกเถียงบางกรณีศึกษาที่ยังไม่ได้เกิดขึ้น แต่เป็นการผสานจินตนาการกับบางเหตุการณ์ในชีวิตจริง ผู้เขียนไม่ต้องการจำกัดงานชิ้นนี้อยู่เพียงกับเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้ว เพราะว่าส่วนหนึ่งที่ผู้เขียนกำลังโต้แย้ง คือการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงทางเทคโนโลยีนั้น จะหมายถึงว่าเราควรเริ่มต้นคิดเกี่ยวกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ในเงื่อนไขของการเติมเต็มและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ในแง่หนึ่ง คือการใช้กรณีศึกษาที่ไม่ใช่เรื่องจริงมาอธิบายความยากลำบากและความสับสนของสิ่งที่สิทธิมนุษยชนครอบคลุมในสื่อใหม่ ซึ่งถึงแม้มันจะเป็นสิทธิเสรีภาพเสมือนจริง (virtual rights) - สิทธิสำหรับสิ่งที่อาจจะไม่มีตัวตน หรือบริบทที่มีตัวตนจริงก็ตาม แต่เราควรที่จะคิดริเริ่มเพื่อแนวทางสิทธิมนุษยชน (คัดมาจากบทความ)
H
(*)EverQuest, often called EQ, is
a 3D fantasy-themed massively multiplayer online role-playing game (MMORPG) that was released on March 16, 1999. The original design is credited to Brad McQuaid, Steve Clover, and Bill Trost. It was developed by Sony's 989 Studios and its 1999 spin-off Verant Interactive. It was published by Sony Online Entertainment (SOE). Since its acquisition of Verant in 1999, SOE develops,
runs and distributes EverQuest.