ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




12-04-2551 (1530)

เศรษฐศาสตร์สตรีนิยม-ชีวเศรษฐศาสตร์-เศรษฐศาสตร์ทวิภาค
Heterodox Economics: เศรษฐศาสตร์ที่ปฏิเสธหลักการนีโอคลาสสิค
พิกุล อิทธิหิรัญวงศ์ และสมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เชิงอรรถ-ภาคผนวก เพิ่มเติมโดยกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์
เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศไทย

Heterodox economics หรือ"เศรษฐศาสตร์ทางเลือก" คือ กลุ่มแนวการศึกษา
หรือสำนักคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับการพิจารณาต่างไปจากแนวเศรษฐศาสตร์ดั้งเดิม
หรือที่รู้จักในนาม เศรษฐศาสตร์กระแสหลัก (mainstream economics).
คำนี้เป็นเสมือน ร่มคันใหญ่ที่ครอบคลุมความคิดอันหลากหลายทางเศรษฐศาสตร์
ยกตัวอย่างเช่น Feminist economics, Political economy, Marxian
economics, Bioeconomics, Complexity economics, Green
economics เป็นต้น. สำหรับบทแปลและเรียบเรียงต่อไปนี้ ประกอบด้วย
๑. เศรษฐศาสตร์แนวสตรีนิยม (Feminist economics)

๒. ชีวเศรษฐศาสตร์ (Bioeconomics)
๓. เศรษฐศาสตร์ทวิภาค (Binary economics)
- ภูมิหลังเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ทวิภาค
- แผนการต่างๆ เกี่ยวกับการแบ่งปันความเป็นหุ้นส่วนของลูกจ้าง
- เศรษฐศาสตร์แนวจารีต เปรียบเทียบกับ เศรษฐศาสตร์ทวิภาค ความขัดแย้ง การวิจารณ์ และขั้วตรงข้าม
- ประโยชน์ของเงินกู้ปลอดดอกเบี้ย(interest-free loans) ที่ออกโดยธนาคารกลาง
- การลงทุนกับกิจการสาธารณะ (Public capital investment)
- การลงทุนเกี่ยวกับกิจการเอกชน (Private capital investment)
- การลงทุนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ('Green' environmental capital investment)
- ธุรกิจที่เพิ่งเริ่มและขนาดเล็ก รวมถึงเงินทุนระดับย่อย
- ศักยภาพการผลิต และอากรมรดก
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๕๓๐
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๗ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++



เศรษฐศาสตร์สตรีนิยม-ชีวเศรษฐศาสตร์-เศรษฐศาสตร์ทวิภาค
Heterodox Economics: เศรษฐศาสตร์ที่ปฏิเสธหลักการนีโอคลาสสิค
พิกุล อิทธิหิรัญวงศ์ และสมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เชิงอรรถ-ภาคผนวก เพิ่มเติมโดยกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทนำเกี่ยวกับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ทางเลือก(Heterodox Economic Theory)
ชื่อของงานชิ้นนี้ จริงๆ แล้วไม่ถูกต้อง ทั้งนี้เพราะไม่มีทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ทางเลือก(heterodox economics) ทฤษฎีเดียว ตรงกันข้ามมีทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ทางเลือกมากมาย. สิ่งที่ทฤษฎีเหล่านี้ให้ไว้ก็คือ การปฏิเสธหลักการของเศรษฐศาสตร์นีโอคลสสสิค(neoclassical economics) ของการเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมในการทำความเข้าใจการทำงานของเศรษฐกิจและชีวิตทางสังคม ส่วนเหตุผลของการปฏิเสธนั้นมีแตกต่างกันอย่างหลากหลาย

นักเศรษฐศาสตร์ทางเลือกบางคนให้เหตุผลว่า ทฤษฎีนีโอคลาสสิค เหมาะสมในกรณีที่เป็นเครื่องมือภายใต้สถานการณ์พิเศษเฉพาะ อย่างเช่นเมื่อมีการแข่งขันที่สมบูรณ์หรือเกือบสมบูรณ์, ส่วนนักเศรษฐศาสตร์ทางเลือกอื่นๆ อาจจะปฏิเสธร่วมกันโดยอ้างว่า ทฤษฎีนีโอคลาสสิคเป็นเครื่องมือสำหรับความเข้าใจเศรษฐศาสตร์และชีวิตสังคมที่ไร้ประโยชน์. มีนักทฤษฎีไม่มากนักที่ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิคมีความเที่ยงตรงตราบเท่าที่มีความสอดคล้องกันภายใน(internally consistent) นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดอื่นๆ ที่ความคิดในเชิงเหตุผลและทฤษฎีของพวกเขาเสนอว่าว่า ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิคเป็นรูปหนึ่งของอุดมคติหรือศาสนาที่มีฐานแนวคิดที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์

ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิค(Neoclassical economics) ถูกวางอยู่บนแนวคิดเฉพาะของจิตวิทยามนุษย์, หน่วยงาน, หรือการตัดสินใจ, ทฤษฎีนี้สันนิษฐานว่า มนุษย์ทุกคนตัดสินใจทางเศรษฐกิจเพื่อทำให้เกิดความพอใจหรือเกิดประโยชน์ให้มากที่สุด ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ทางเลือกบางทฤษฎีปฏิเสธสมมติฐานขั้นพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิคนี้ และมีข้อเสนอทางเลือกในการทำความเข้าใจว่า มีการตัดสินใจทางเศรษฐศาสตร์อย่างไร? และหรือจิตวิทยาของมนุษย์ทำงานอย่างไร? เป็นไปได้ เพื่อจะยอมรับข้อสังเกตว่า มนุษย์คือเครื่องค้นหาความพึงพอใจ (pleasure seeking machines) และยังปฏิเสธความคิดว่า การตัดสินใจทางเศรษฐศาสตร์ถูกกำกับด้วยการพยามยามค้นหาความพึงพอใจ

มนุษย์อาจไม่สามารถเลือกได้อย่างคงที่ด้วยการสร้างความพอใจสูงสุด เนื่องจากอุปสรรคทางสังคม และหรือการถูกข่มขู่ มนุษย์อาจจะไม่สามารถประเมินทางเลือกได้ถูกต้อง ซึ่งอันนี้ได้ชี้ให้เห็นว่าส่วนใหญ่ไม่น่าจะนำไปสู่การสร้างความพึงพอใจสูงสุด แม้ว่าจะไม่ถูกขัดขวางการเลือก (ยกเว้นในมุมของงบประมาณ) และอาจจะเป็นไปได้เช่นกันว่า การค้นหาความพึงพอใจ เป็นสมมุติฐานที่ไม่มีความหมายในตัวมันเอง

1. เศรษฐศาสตร์แนวสตรีนิยม (Feminist economics)
เศรษฐศาสตร์แนวสตรีนิยม ความหมายอย่างกว้างหมายถึง เศรษฐศาสตร์สาขาหนึ่งที่มีการปรับใช้โดยมุมมองสตรีนิยม ในการเจาะลึกและวิเคราะห์เศรษฐกิจ การวิจัยในสายนี้มักจะเป็นแบบสหวิทยาการ มีลักษณะเชิงวิพากษ์ และความหลากหลาย เศรษฐศาสตร์สาขานี้ประกอบด้วยข้อถกเถียงเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสตรีนิยมกับเศรษฐศาสตร์ในหลายระดับ เช่น จากการปรับใช้วิธีของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักไปจนถึงการวิจัยภายใต้พื้นที่การศึกษาเกี่ยวกับผู้หญิง เพื่อตั้งคำถามว่าเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก มีคุณค่าต่อภาคการผลิตซ้ำในครัวเรือนของผู้หญิงอย่างไร? เพื่อให้มีการวิพากษ์ระดับบปรัชญาต่อญาณวิทยา และวิธีศึกษาของเศรษศาสตร์

ประด็นที่โดดเด่นอันหนึ่งของการศึกษาด้านนี้ คือ GDP ไม่เป็นมาตรวัดที่เพียงพอสำหรับตรวจสอบแรงงานที่ไม่ได้รับค่าจ้างซึ่งกระทำโดยผู้หญิง เช่น งานบ้าน, การเลี้ยงลูก, หรือการดูแลผู้สูงอายุ เนื่องจากงานผู้หญิงเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นหรือไม่อาจตีค่าเป็นเงิน จึงมีการโต้ว่านโยบายที่มุ่งจะกระตุ้น GDP สามารถจะทำผู้หญิงที่ไม่จน อาจตกอยู่ในสถานะที่เลวร้ายได้ แม้ว่าจะมีความตั้งใจจะเพิ่มความมั่งคั่ง ตัวอย่างคือ การเปิดป่าบนเทือกเขาหิมาลายาที่รัฐเป็นเจ้าของและมีการให้สัมปทานการทำไม้เชิงพาณิชย์ อาจจะเพิ่ม GDP ของอินเดียได้, แต่ผู้หญิงที่เก็บเชื้อเพลิงจากป่าบนเทือกเขาดังกล่าวเพื่อการหุงต้มอาหาร อาจจะต้องเผชิญกับความลำบากมากขึ้นได้

ต้นกำเนิดเศรษฐศาสตร์เพศสภาวะ ในระหว่างที่มีความสนใจเกี่ยวกับบทบาททางเศรษฐกิจของผู้หญิงดังกล่าว และความแตกต่างทางเศรษฐศาสตร์โดยเพศสภาวะเริ่มในทศวรรษ 1960 มีการวิพากษ์วิจารณ์ของกลุ่มสตรีนิยมที่สำคัญ เมื่อรับเอาทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มาศึกษา

2. ชีวเศรษฐศาสตร์ (Bioeconomics)
ในเศรษฐศาสตร์ทรัพยากร, การศึกษาชีวเศรษฐศาสตร์(bioeconomics)เป็นพลวัตเกี่ยวกับทรัพยากรที่มีอยู่ โดยการใช้แบบจำลองต่างๆ ทางเศรษฐศาสตร์เข้ามาศึกษาวิจัย. ชีวเศรษฐศาสตร์ค่อนข้างพึ่งพาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ และทฤษฎีระบบควบคุมออปติมัล(optimal control theory) (*) มาก

(*)Optimal control theory, a generalization of the calculus of variations, is a mathematical optimization method for deriving control policies. The method is largely due to the work of Lev Pontryagin and his collaborators, summarized in English in Pontryagin (1962).

Optimal control deals with the problem of finding a control law for a given system such that a certain optimality criterion is achieved. A control problem includes a cost functional that is a function of state and control variables. An optimal control is a set of differential equations describing the paths of the control variables that minimize the cost functional. The optimal control can be derived using Pontryagin's maximum principle (a necessary condition), or by solving the Hamilton-Jacobi-Bellman equation (a sufficient condition).

We begin with a simple example. Consider a car traveling on a straight line through a hilly road. The question is, how should the driver press the accelerator pedal in order to minimize the total traveling time? Clearly in this example, the term control law refers specifically to the way in which the driver presses the accelerator and shifts the gears. The "system" consists of both the car and the road, and the optimality criterion is the minimization of the total traveling time. Control problems usually include ancillary constraints. For example the amount of available fuel might be limited, the accelerator pedal cannot be pushed through the floor of the car, speed limits, etc. A proper cost functional is a mathematical expression giving the traveling time as a function of the speed, geometrical considerations, and initial conditions of the system. It is often the case that the constraints are interchangeable with the cost functional.

Another optimal control problem is to find the way to drive the car so as to minimize its fuel consumption, given that it must complete a given course in a time not exceeding some amount. Yet another control problem is to minimize the total monetary cost of completing the trip, given assumed monetary prices for time and fuel.

ชีวเศรษฐศาสตร์ มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับพัฒนาการทางทฤษฎีในเศรษฐศาสตร์การประมงมาตั้งแต่ต้น โดยเฉพาะผลงานของนักเศรษฐศาสตร์แคนาเดียนสองคน Scott Gordon และ Anthony Scott (Gordon, 1954; Scott, 1955) ในการสัมนาในช่วงกลางทศวรรษที่ห้าสิบ. ความคิดของพวกเขาไม่ได้มีอะไรใหม่ แต่พวกเขาได้ทำให้เกิดประโยชน์และผลสัมฤทธิ์เกี่ยวกับแบบจำลองการทำประมง โดยเริ่มแรกผลงานต่างๆ ของ Schaefer (1957) ที่ได้สร้างความสัมพันธ์ที่เป็นทางการอันหนึ่งขึ้นมาระหว่าง"กิจการประมง" กับ "ความเจริญงอกงามทางชีววิทยา"โดยผ่านแบบจำลองคณิตศาสตร์ แบบจำลองดังกล่าวได้รับการยืนยันโดยการวิจัยเชิงประจักษ์ เหตุนี้จึงไม่ใช่ความบังเอิญเกี่ยวกับผลลัพธ์ทั้งหลายที่เผยออกมา ในสภาพแวดล้อมวิทยาศาสตร์การประมงสหวิทยาการในแคนาดาช่วงเวลานั้น. วิทยาศาสตร์การประมงและแบบจำลองดังกล่าวได้พัฒนาการไปอย่างรวดเร็วระหว่างเรื่องของผลผลิตและยุคแห่งนวัตกรรม

แบบจำลองจำนวนประชากรและอัตราการตายของปลา ได้ถูกนำเสนอต่อบรรดานักเศรษฐศาสตร์ และเครื่องมือแบบจำลองสหวิทยาการใหม่นี้ได้กลายมาเป็นสิ่งที่ใช้ได้สำหรับนักเศรษฐศาสตร์ทั้งหลาย ซึ่งทำให้เป็นไปได้ในเวลาเดียวกันในการประเมินผลกระทบทางชีวิวิทยาและเศรษฐกิจเกี่ยวกับกิจการประมงที่แตกต่างออกไป, ซึ่งถูกควบคุมโดยการตัดสินใจในเชิงการจัดการและบริหาร

ศาสตร์เกี่ยวกับชีวเศรษฐศาสตร์(bioeconomics) เป็นสาขาหนึ่งที่ถือกำเนิดมาจากการสังเคราะห์ความรู้ทางชีววิทยาและเศรษฐศาสตร์เข้าด้วยกัน เป็นความพยายามในการเชื่อมโยงโดยผ่านแนวคิดองค์รวมและระเบียบวิธีสหวิทยาการ, การวิจัยเชิงประจักษ์ทางชีววิทยา, และการวิจัยเชิงทฤษฎีเศรษฐศาสตร์, ผ่านการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ในการพัฒนาเกี่ยวกับสาขาวิชาสิ่งแวดล้อมเศรษฐกิจต่างๆ อย่างเช่น เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติ, เศรษฐศาสตร์สภาพแวดล้อม, และเศรษฐศาสตร์นิเวศวิทยา

3. เศรษฐศาสตร์ทวิภาค (Binary economics)
เศรษฐศาสตร์ทวิภาค(binary economics) คือทฤษฎีทางเลือกเศรษฐศาสตร์ที่ยอมรับทั้ง"ทรัพย์สินส่วนบุคคล"และ"ตลาดเสรี" แต่ได้นำเสนอการปฏิรูปที่สำคัญต่อระบบการธนาคาร ที่ประทับรับรองทั้ง"ทรัพย์สินส่วนบุคคล" และ"ตลาดเสรี" เป้าหมายของเศรษฐศาสตร์ทวิภาคคือ เพื่อให้มั่นใจว่าปัจเจกชนทุกคนได้รับรายได้จากปัจจัยทุนที่เป็นอิสระของตนเอง(own independent capital estate), การใช้เงินกู้ที่ปลอดดอกเบี้ยที่ออกโดยธนาคารกลางเพื่อส่งเสริมบริษัทที่ลูกจ้างเป็นเจ้าของกิจการเอง (employee-owned firms), เงินกู้เหล่านี้ตั้งใจที่จะแบ่งครึ่งต้นทุนการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ลดต้นทุนการเริ่มต้นธุรกิจ และขยายการเป็นเจ้าของหุ้นของบรรดาคนงานทั้งหลาย

เศรษฐศาสตร์ทวิภาคเป็นสาขากลุ่มเล็กๆ ซึ่งยากที่จะไปแทนที่กระแสซ้ายขวาได้ มันมีลักษณะเหมือนอุดมการณ์ปีกขวาสุดโต่ง และปีกซ้ายสุดโต่ง ตามที่ได้ถูกวิจารณ์. ศัพท์คำว่า 'binary' (ทวิ) (ใน 'binary economics') หมายถึง ประกอบด้วยสอง เพราะเป็นการผสมผสานเพื่อมองปัจจัยขการผลิตเชิงรูปธรรม เศรษฐศาสตร์สาขานี้จะมองปัจจัยการผลิตเชิงภายภาพอย่างที่มีลักษณะสองด้าน[ทวิภาค] ("แรงงาน" และ"ทุนที่รวมเอาที่ดินไว้") และทวิภาคของรายได้ความเป็นอยู่ โดย"แรงงาน" และโดย"การเป็นเจ้าของปัจจัยทุนการผลิต" มนุษย์ถูกมองในฐานะที่เป็นเจ้าของ"แรงงาน" แต่"ไม่ใช่ปัจจัยการผลิตหรือทุน"

เศรษฐศาสตร์ทวิภาค(Binary economics)บางส่วนตั้งอยู่บนความเชื่อว่า สังคมมีหน้าที่ที่จะต้องให้ความมั่นใจว่า มนุษย์ทั้งหลายมีสุขภาพที่ดี, มีบ้านอยู่อาศัย, มีการศึกษา, และ,uรายได้ของตัวเอง และตระหนักในความรับผิดชอบที่จะปกป้องสภาพแวดล้อมเพื่อตัวเอง. เงินกู้ที่ปลอดดอกเบี้ยซึ่งนำเสนอโดยแนวคิดเศรษฐศาสตร์ทวิภาค เป็นสิ่งที่เข้ากันได้กับศาสนาอับราฮามิค(Abrahamic religions)(*) ซึ่งเป็นปรปักษ์กับการให้กู้เงินโดยคิดดอกเบี้ยสูง

(*)Abrahamic religion is a term commonly used to designate the monotheistic religions-Christianity, Islam, Judaism, and Baha'i [1][2]-which claim Abraham as a part of their sacred history. Other, smaller religions that identify with this tradition-such as the Druze faith - are sometimes included. Abrahamic religions account for more than half of the world's total population. Today, there are around 3.8 billion followers of various Abrahamic religions. Eastern religions form the other major religious group, encompassing the "Dharmic" religions of India and the "Taoic" East Asian religions-both terms being parallels of the "Abrahamic" category.

ผู้สนับสนุนเศรษฐศาสตร์ทวิภาคอ้างว่า ระบบของตัวเอง ไม่ได้มีส่วนในการเวนคืนทรัพย์สินหรือความมั่งคั่ง และมีความจำเป็นในการปรับการกระจายรายได้กันใหม่น้อยมาก พวกเขาให้เหตุผลว่า มันไม่สามารถเป็นสาเหตุของเงินเฟ้อและที่สำคัญเป็นการเฉพาะคือมันให้การสนับสนุนที่เป็นรูปธรรมต่อการผลิตที่ถูกทำขึ้นโดยอัตโนมัติ. กระบวนทัศน์เศรษฐศาสตร์ทวิภาคเป็นประโยชน์ต่อประเด็นปัญหาเกี่ยวกับเรื่องที่ว่า ทำไมประเทศที่กำลังพัฒนาจึงอ่อนแอลง. มันให้การสนับสนุนการแข่งขันซึ่งยังผลให้ระบบเศรษฐศาสตร์ของพวกเขาลดหนิ้สินของประเทศลง และกระตุ้นความเป็นเอกภาพขึ้นมา. พวกเขาเชื่อว่าเศรษฐศาสตร์ทวิภาค สามารถสร้างเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพได้ (stable economy) และตั้งใจที่จะให้ประชาชนเข้ามาเกี่ยวพันกับความเป็นเจ้าของและการมีส่วนร่วมกับเศรษฐศาสตร์ทวิภาค. นอกจากนี้ เศรษฐศาสตร์ทวิภาคยังมีความใกล้ชิดกับลัทธิการกระจายรายได้และทรัพย์สิน (distributism)(*) และกับสหกรณ์แรงงาน (worker cooperatives) ในภูมิภาค Emilia-Romagna ของอิตาลี, และ Mondrag?n Cooperative Corporation ของสเปน

(*)Distributism, also known as distributionism and distributivism, is a third-way economic philosophy formulated by such Roman Catholic thinkers as G. K. Chesterton and Hilaire Belloc to apply the principles of social justice articulated by the Roman Catholic Church, especially in Pope Leo XIII's encyclical Rerum Novarum and more expansively explained by Pope Pius XI's encyclical Quadragesimo Anno.

According to distributism, the ownership of the means of production should be spread as widely as possible among the general populace, rather than being centralized under the control of a few state bureaucrats (some forms of socialism) or wealthy private individuals (capitalism). A summary of distributism is found in Chesterton's statement: "Too much capitalism does not mean too many capitalists, but too few capitalists."

Essentially, distributism distinguishes itself by its distribution of property. Distributism holds that, while socialism allows no individuals to own productive property (it all being under state, community, or workers' control), and capitalism allows only a few to own it, distributism itself seeks to ensure that most people will become owners of productive property. As Hilaire Belloc stated, the distributive state (that is, the state which has implemented distributism)

ภูมิหลังเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ทวิภาค
แม้ว่าองค์ประกอบของเศรษฐศาสตร์ทวิภาค(binary economics) สามารถถูกพบได้ในงานเขียนอื่นๆ เช่น งานของ Pope Leo XIII Rerum Novarum 1891; Harold Moulton (1935) และ The Formation of Capital; the distributism ของ G. K. Chesterton และ Hilaire Belloc; และIbn Ashur (1946) Maqasid al Shari'ah al Islamiya แต่หลักการที่ชัดเจนแรกๆ มาจากนักกฎหมายชาวอเมริกัน Louis Kelso และ Mortimer Adler (นักปรัชญาอริสโตเตเลียน[the Aristotelian philosopher] และนักการศึกษา). ในหนังสือของพวกเขาเรื่อง The Capitalist Manifesto (1958) (ชื่อหนังสือ"แถลงการณ์ทุนนิยม") ถือเป็นมุมมองสุดยอดอันหนึ่งในช่วงเวลาสงครามเย็นที่ได้รับการอ้างอิงว่าป็นเรื่องตรงข้ามกับลัทธิคอมมิวนิสม์

Kelso และ Adler ได้เขียนต่อมาในเรื่อง The New Capitalists (1961) ซึ่งพวกเขาได้ทุ่มเทอย่างมากให้กับการทำความเข้าใจเรื่องหลักประกัน และการประกันภัยสินเชื่อเงินทุน. Kelso ได้ตั้งทีมทำงานร่วมกับนักรัฐศาสตร์ Patricia Hetter Kelso เพื่ออธิบายว่า เครื่องมือทุนได้เพิ่มจำนวนเปอร์เซนต์ความมั่งคั่งขึ้นมาได้อย่างไร และทำไมทุนถึงได้มีการเป็นเจ้าของแคบลงในเศรษฐกิจอุตสาหกรรมใหม่. จากการวิเคราะห์ของพวกเขาทำนายว่า การเป็นเจ้าของทุนที่กระจายตัวอย่างกว้างขวาง จะเพิ่มความสามารถทางเศรษฐกิจมากขึ้น ซึ่งเป็นหัวใจของเศรษฐศาสตร์ทวิภาคที่เรียกร้องให้"สร้างประสิทธิภาพ"และ"สร้างความเป็นธรรม"

ถัดจากนั้น Kelso และ Hetter เสนอว่า: แนวคิดทวิภาคใหม่ ด้วย"การแบ่งหรือกระจายการถือหุ้น" (ยกเว้นเพื่อการวิจัย การบำรุงรักษา และ การเสื่อมค่า) และ"ใช้เงินทุนของพวกเขาอย่างเต็มที่เพื่อศักยภาพเกี่ยวกับหลักประกัน" การทำเช่นนี้จะสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และถ้าหากเกิดความสูญเสียขึ้น พวกเขาอาจไม่ต้องพึ่งพาเจ้าของกิจการรายอื่นๆ. พวกเขายังให้เหตุผลว่าการถือหุ้นแบบทวิภาค อาจจะให้ผลผลิตมากกว่าห้าเท่าของสิ่งที่กระจายกันปกติในปัจจุบัน. ในแผนเศรษฐศาสตร์ทวิภาค การปรับปรุงการกระจายหุ้นอาจจะทำให้ความเป็นเจ้ากิจการขยายตัวกว้างอีกครั้ง และประสบความสำเร็จด้านรายได้ของปัจเจกชนที่ใครก็ตามสามารถเป็นเจ้าของกิจการได้

แผนการต่างๆ เกี่ยวกับการแบ่งปันความเป็นหุ้นส่วนของลูกจ้าง
บ่อยครั้งการที่คนได้รู้จัก"เศรษฐศาสตร์ทวิภาค"(binary economics)ครั้งแรก จะรู้จักผ่านแผนการแบ่งปันความเป็นเจ้าของหรือความเป็นหุ้นส่วนของลูกจ้าง (Employee Share Ownership Plans, ESOPs) ความคิดดังกล่าวนี้เริ่มแตกหน่อจากงานของ Louis Kelso และ Patricia Hetter Kelso (1967) เรื่อง Two-Factor Theory: The Economics of Reality (ทฤษฎีสองปัจจัย: เศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับความเป็นจริง). การก่อตั้ง Kelso & Company ในปี ค.ศ.1970 และจากการสนทนาในต้นทศวรรษ 1970s ระหว่าง Louis Kelso, Norman Kurland (Center for Economic and Social Justice), วุฒิสมาชิก Russell Long ของมลรัฐ Louisiana (Chairman, USA Senate Finance Committee, 1966 - 1981) และวุฒิสมาชิก Mike Gravel ของมลรัฐ Alaska มีแผน ESOPs ประมาณ 11,500 ฉบับในอเมริกาในทุกวันนี้ ซึ่งครอบคลุมลูกจ้างจำนวน 11 ล้านคน ดังที่เศรษฐศาสตร์ทวิภาคทำนาย. งานศึกษาบางชิ้นได้แสดงให้เห็นการปรัปบรุงผลิตภาพว่า เป็นผลจากการที่ลูกจ้างเป็นเจ้าของโรงงาน และเกี่ยวข้องกับเทคนิคแบบทวิภาค ที่เรียกว่า "การจัดการบนฐานของความเป็นธรรม" (Justice Based Management)

เศรษฐศาสตร์แนวจารีต เปรียบเทียบกับ เศรษฐศาสตร์ทวิภาค
พื้นที่ของความขัดแย้ง การวิจารณ์ และขั้วตรงข้าม

ความเข้าใจที่ดีอันหนึ่งเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ทวิภาค(binary economics) สามารถหาได้จากแง่มุมความขัดแย้งที่หลากหลาย และแง่มุมเชิงเปรียบเทียบในลักษณะที่ตรงข้ามกับพวก เศรษฐศาสตร์แนวจารีต(conventional economics) [โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกกระแสหลัก เช่น Neoclassical economics]. ความตรงข้ามอันแรกคือ เศรษฐศาสต์กระแสหลักเป็น 'เศรษฐศาสตร์เชิงทฤษฎี"(positive economics) เน้นการวิเคราะห์แบบ what is ("คืออะไร"), ซึ่งเศรษฐศาสตร์ทวิภาคนำเสนอระบบเศรษฐศาสตร์ที่เน้นเรื่อง ought to be ("ควรจะเป็น") หรือ"เศรษฐศาสตร์บรรทัดฐาน"(normative economics). อย่างไรก็ดี การวิเคราะห์ความเป็นผลผลิตแบบทวิภาค ได้รับการอ้างว่าเป็นคำอธิบายพิเศษอันหนึ่งเกี่ยวกับความเป็นจริง('what is') มากกว่า เศรษฐศาสตร์เชิงทฤษฎีคลาสสิค(classical positive economics)

เศรษฐศาสตร์แนวจารีต(Conventional economics) เห็นด้วยกับผลิตภาพ (productivity) ซึ่งไม่ใช่การวิเคราะห์ความจริงเชิงกายภาพตรงๆ แต่เป็นการคำนวณสัดส่วนหรืออัตราส่วนของผลผลิตทั้งหมด หารด้วยจำนวนหน่วยของปัจจัยนำเข้า (ซึ่งแม้ว่าตามปกติจะมีการแยกแรงงาน และปัจจัยนำเข้าส่วนประกอบสินค้าทุน เช่น Cobb-Douglas)(*) ในทางตรงข้าม การวิเคราะห์แบบเศรษฐศาสตร์ทวิภาคเกี่ยวกับความออกดอกออกผล พยายามจะให้ความน่าเชื่อถือที่ถูกต้องแก่การช่วยเหลือเชิงรูปธรรมแก่ทั้ง"แรงงาน"และ"สินค้าทุนต่อผลผลิต" พยายามจะตอบคำถามขั้นพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์ "ใคร"(who) หรือ "อะไร"(What) ที่สร้างความมั่งคั่งในเชิงกายภาพ

(*) ดูรายละเอียด Cobb-Douglas ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Cobb-Douglas

ความตรงข้ามต่อมาคือ เศรษฐศาสตร์แนวจารีต(conventional economics) เชื่อว่า "ดอกเบี้ย" (แตกต่างจากต้นทุนการบริหาร) จำเป็นเสมอ; ในทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ทวิภาค (Binary Economics) ไม่เป็นไปเช่นนั้น. สำหรับเงินที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ เศรษฐศาสตร์แบบจารีตสนับสนุนลัทธิมูลค่าตามเวลาของเงิน, ซึ่งในทางตรงข้าม เศรษฐศาสตร์ทวิภาคไม่สามารถปรับใช้หลักกับเงินที่ไม่มีค่าในตัวเอง(fiat money - หมายถึงเงินที่ทำจากวัสดุที่มีมูลค่าต่ำ). สมมติฐานของความขาดแคลนทั่วไป เป็นหัวใจของเศรษฐศาสตร์แบบดั้งเดิม, ส่วนเศรษฐศาสตร์ทวิภาคปฏิเสธสมมติฐานนี้. Amartya Sen แย้งว่า "ภาวะความขาดแคลนและความอดอยาก"(starvation) เป็นเพราะขาดเงินในมือของผู้ยากไร้ ไม่ใช่ขาดแคลนอาหาร ดังนั้น มันจึงเป็นเรื่องทัศนคติ การปฏิบัติการ และสถาบันของมนุษย์ที่มีความผิดพลาด บกพร่อง

เศรษฐศาสตร์ทวิภาค ยังปฏิเสธลัทธิการออมเงินแบบเดิม (ซึ่งต้องมีการออมเงินก่อนการลงทุน). ไม่มีการออมเงินที่จำเป็น ถ้าเงินถูกสร้างขึ้นมาจากความว่างเปล่า. ทฤษฎีดังกล่าวยืนยันว่า สิ่งที่เป็น"สาระสำคัญของเงิน"คือ ถ้าเงินที่ถูกสร้างใหม่นั้นจะเป็นแบบปลอดดอกเบี้ย, ถ้ามันสามารถจะชำระหนี้ได้, ถ้ามันจะให้หลักประกันที่มีประสิทธิภาพ และถ้ามันมุ่งไปสู่การพัฒนาและการกระจายในรูปแบบที่หลากหลายเกี่ยวกับความสามารถในการผลิต (และการบริโภคร่วม)

ข้อตรงข้ามดำเนินต่อไป กล่าวคือ เศรษฐศาสตร์แนวจารีตไม่เหมือนเศรษฐศาสตร์ทวิภาค นั่นคือส่วนใหญ่แล้วไม่ได้ให้ความใส่ใจต่ออุปทานของเงิน ซึ่งปัจจุบันมิได้มุ่งตรงไปที่การกระจายศักยภาพการผลิต -- โดยทั่วไป ต้นทุนการผลิตมีการเป็นเจ้าของอยู่ในวงแคบๆ. โดยพื้นฐานที่สุด เศรษฐศาสตร์ทวิภาคปฏิเสธข้อเรียกร้องของเศรษฐศาสตร์แบบจารีตที่ว่า มันได้ส่งเสริมตลาดเสรี ที่เสรี, เป็นธรรม, และมีประสิทธิภาพ (เช่น การแปลความ the classical First Fundamental Theorem of Welfare Economics) (*)

(*) The first fundamental welfare theorem asserts that market equilibria are Pareto efficient. In a pure exchange economy, a sufficient condition for the first welfare theorem to hold is that preferences be locally nonsatiated. The first welfare theorem also holds for economies with production regardless of the properties of the production function. Implicitly, the theorem assumes complete markets and perfect information. In an economy with externalities, for example, it is possible for equilibria to arise that are not efficient.

The first welfare theorem is informative in the sense that it points to the sources of inefficiency in markets. Under the assumptions above, any market equilibrium is tautologically efficient. Therefore, when equilibria arise that are not efficient, the market system itself is not to blame, but rather some sort of market failure.

เศรษฐศาสตร์สองสายนี้ยังต่างกันในเรื่อง"ประชาธิปไตย"ด้วย นั่นคือ เศรษฐศาสตร์แนวจารีตถือหางคะแนนเสียงทางการเมืองตามช่วงเวลา ส่วนเศรษฐศาสตร์ทวิภาคก็ทำแบบเดียวกันแต่เน้นในประชาธิปไตยแบบหยั่งรากลึก โดยยืนยันว่าทุนการผลิตและพลังปฏิบัติการรายวันของความเป็นเจ้าของที่ให้กับปัจเจกชน จะได้รับการกระจายไปด้วยเช่นกันอย่างกว้างขวาง. ในแนวคิดเศรษฐศาสตร์ทวิภาค เสรีภาพจะสัมฤทธิผลได้อย่างแท้จริง หากว่าปัจเจกชนทั้งมวลสามารถได้มาซึ่งฐานทางเศรษฐกิจที่เป็นอิสระ

ในส่วนประเด็นปัญหาสภาพแวดล้อม เศรษฐศาสตร์ทวิภาคอ้างว่า ให้ประโยชน์อย่างมากเหนือกว่าเศรษฐศาสตร์แนวจารีต เพราะ"เงินกู้ปลอดดอกเบี้ย"(interest-free loans)ที่จัดไว้ให้. อัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม (ไม่ใช่ศูนย์) ตามแนวคิดเดิม ครอบงำการวิเคราะห์นโยบายสิ่งแวดล้อมของเศรษฐศาสตร์แนวจารีต (เช่น การต่อกรกับการเปลี่ยนแปลงของอากาศ)

ประโยชน์ของเงินกู้ปลอดดอกเบี้ย(interest-free loans) ที่ออกโดยธนาคารกลาง
เศรษฐศาสตร์ทวิภาคเสนอว่า เงินกู้ปลอดดอกเบี้ยที่ออกโดยธนาคารกลาง ควรถูกจัดการด้วยระบบธนาคารเพื่อการพัฒนาและกระจายศักภาพการผลิต (และการบริโภคร่วม) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศักยภาพใหม่ๆ และเพื่อต้นทุนสาธารณะและสภาพแวดล้อม ขณะที่ไม่มีการเก็บดอกเบี้ยก็ควรจะมีการจัดการต้นทุนโดยการมีหลักประกัน หรือการประกันสินเชื่อเกี่ยวกับทุน

เศรษฐศาสตร์ทวิภาค เป็นกังวลว่า ระบบธนาคารจะสร้างเงินใหม่จากความว่างเปล่า ('creates new money out of nothing') โดยการให้เครดิตมากกว่าเงินทุนสำรอง. อุปทานของเงินกู้ปลอดดอกเบี้ยเกิดขึ้นในสถานการณ์ของการเคลื่อนไปข้างหน้าของธนาคารต่างๆ ที่พยายามจะสำรองเงินทุนจากเงินฝากให้ได้ 100 เปอร์เซ็นต์. ดังนั้น ธนาคารอาจจะจำกัดเรื่องการกู้ยืมของผู้ฝาก (และทุนที่ธนาคารเป็นเจ้าของ) และบริหารเงินกู้ปลอดดอกเบี้ย. นักเศรษฐศาสตร์ทวิภาคบางคนเสนอว่า ภายใต้หลักการของทวิภาค, กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF (International Monetary Fund) และสิทธิพิเศษในการถอนเงิน(Special Drawing Rights) (ดูภาคผนวก) อาจยอมให้ทุกคนในโลกการเป็นเจ้าของทุน

ไม่ใช่การลงทุนทั้งหมดที่จะมีคุณสมบัติสำหรับการกู้ยืมเงินปลอดดอกเบี้ย การพัฒนาและการกระจายศักยภาพการผลิตใหม่ๆ อาจเป็นเป้าหมาย. ยกตัวอย่างเช่น เงินกู้ยืม อาจจะไม่ได้จัดไว้ให้กับคนที่ต้องการซื้อบ้าน เนื่องจากการซื้อบ้านอาจไปเร่งความเฟ้อของสินทรัพย์ได้

การลงทุนกับกิจการสาธารณะ (Public capital investment)
เงินกู้ปลอดดอกเบี้ยอาจยอมให้กับโรงพยาบาล, งานสุขาภิบาล, การเคหะสังคม, ถนน, สะพาน ฯลฯ เพื่อก่อสร้างสิ่งเหล่านี้ในราคาครึ่งหนึ่งหรือน้อยกว่าต้นทุนในปัจจุบัน (ประโยชน์นี้สนับสนุนโดย USA Sovereignty movement ด้วย. - Dennis Kucinich, Ken Bohnsack et al.) อย่างไรก็ดี โครงการต้นทุนสามารถถูกสร้าง จัดการ หรือแม้แต่เป็นเจ้าของ ถ้าประสงค์โดยภาคเอกชนและใช้สร้างสมาคมการลงทุนของชุมชนต่างๆ (Community Investment Corporations) และที่คล้ายกันนี้ ในสมาคมต่างๆ ของคนท้องถิ่นซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินในท้องถิ่นและได้รับค่าเช่าจากมัน

เงินกู้ปลอดดอกเบี้ยสำหรับทุนสาธารณะประสบความสำเร็จในแคนาดา, นิวซีแลนด์ และ Guernsey. มาเลเซียทุกวันนี้ถูกเชื่อว่าเป็นที่ทดลองเกี่ยวกับเงินกู้ปลอดดอกเบี้ย. หลังปี ค.ศ. 1949 เงินกู้ธนาคารกลางเป็นปัจจัยหลักในไต้หวัน, โครงงาน Land to the Tiller (ผืนดินสู่ชาวนา) ที่กระจายการเป็นเจ้าของที่ดินจากคนจำนวนน้อยไปสู่คนจำนวนมาก เป็นการกระทำที่ไม่เป็นเหตุทำให้เกิดเงินเฟ้อและเป็นทางออกแบบสองด้าน เพราะว่าในหลากหลายวิธี เงินกู้ดังกล่าวถูกระจายไปสู่ศักยภาพในการผลิตและการบริโภคที่แท้จริงนั่นเอง (ทางหนึ่งเป็นไปโดยเงินทุนที่นำไปซื้อพันธบัตรอุตสาหสกรรมต่างๆ ดังนั้น ทุนที่ให้แก่อุตสาหกรรมขนาดเล็ก ก็เพื่อจัดหาสิ่งต่างๆ สำหรับอำนาจการจับจ่ายของเกษตรกรทั้งหลายนั่นเอง)

การลงทุนเกี่ยวกับกิจการเอกชน (Private capital investment)
ความเป็นเจ้าของศักยภาพการผลิต (และเชื่อมกับการบริโภค) โดยเฉพาะศักยภาพใหม่ๆ สามารถถูกกระจายไปโดยการใช้เงินกู้ปลอดดอกเบี้ยของธนาคารกลาง. เงินกู้ปลอดดอกเบี้ยนี้สามารถยอมให้กับการลงทุนของเอกชน ถ้าการลงทุนนั้นสามารถสร้างเจ้าของกิจการรายใหม่ขึ้นมาได้ และเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายระดับชาติ เพื่อให้ปัจเจกชนทั้งหลายมีความสามารถดังกล่าว. ในหลักการตลาด เอกชนเป็นเจ้าของการผลิตจำนวนมากได้เป็นเจ้าของทุน และมีรายได้จากการผลิตโดยการใช้เงินกู้ปลอดดอกเบี้ยที่ออกโดยธนาคารกลาง. บริษัทขนาดใหญ่อาจจะได้เงินถูกพวกนี้ หากว่าหุ้นส่วนใหม่แบบทวิภาคได้ถูกสร้างขึ้นมา

มีข้อเสนอว่า บริษัทขนาดใหญ่ต่างๆ ควรจะต้องใช้จ่ายเงินทั้งหมดที่ได้มาตลอดเวลา (ยกเว้นการสงวนไว้เพื่อการบำรุงและซ่อมแซมเครื่องจักร, การชำระหนี้, และการวิจัย) บริษัทขนาดใหญ่จะมีทางเลือกของการได้เงินกู้ปลอดดอกเบี้ยในที่สุด บนเงื่อนไขที่ว่า บริษัทเหล่านี้ได้ช่วยกระจายการเป็นเจ้าของให้ขยายตัวกว้างออกไป. บริษัทขนาดกลาง (ซึ่งอาจจะไม่ตกอยู่ในภาวะที่ต้องใช้จ่ายไปกับการจัดหาวัตถุดิบจนรัดตัว) อาจสามารถได้รับเงินกู้ปลอดดอกเบี้ยนี้ได้ ถ้าบริษัทดังกล่าวกระจายความเป็นเจ้าของออกไป

การลงทุนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ('Green' environmental capital investment)
เงินกู้ปลอดดอกเบี้ย ควรจะถูกใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมและทำให้เกิดมีการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้. ณ ปัจจุบัน โครงการที่ระดมพลังงานสีเขียวไม่อาจมีชีวิตได้ในทางการเงิน แต่สิ่งเหล่านี้อาจมีชีวิตรอดเพราะเงินกู้ปลอดดอกเบี้ยจากธนาคาร. ไฟฟ้าที่สะอาดกว่า สามารถถูกจัดหามาได้ในที่สุด เช่น พลังงานที่ได้จากทำนบน้ำขึ้นน้ำลง(tidal barrages), พลังงานที่ได้จากคลื่นสมุทร(wave machines), พลังงานจากกังหันลม(wind turbines), พลังไฟฟ้าแสงอาทิตย์(solar electricity) และสถานีพลังงานความร้อนพื้นพิภพ(geothermal power) เป็นต้น

มีเทคโนโลยีทางเลือกจำนวนมาก - ในปัจจุบันมีสายตาที่เต็มไปด้วยความสงสัยในหลายระดับเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์กระแสหลัก - โดยหลักการ อาจจะเหมาะสมกว่าสำหรับการให้ทุนเพื่อการวิจัยและการพัฒนาภายใต้เศรษฐศาสตร์ทวิภาค(binary economics). เทคโนโลยีเหล่านี้บางอย่าง ถ้าเป็นไปได้ในเชิงรูปธรรม อาจสามารถทำการผลิตไฟฟ้าหรือพลังงานสะอาดสำหรับรถยนต์, บ้านเรือน, รถไฟ, และโรงงานต่างๆ สิ่งเหล่านี้สามารถพบได้ในท่ามกลางเทคโนโลยี 100 อันดับสุดยอด ซึ่งอาจผสมอยู่ในอันดับต่างๆ เหล่านี้ หรือที่ชายขอบ หรืออยู่นอกแวดวงวิทยาศาสตร์ เช่น Blacklight Power (Randell Mills)(*) และ Steorn.(**)

(*)Blacklight Power - Hydrino theory is a colloquial term for a series of claims by Randell Mills, an American entrepreneur. Mills proposes the existence of orbital states for the electron of a hydrogen atom with enhanced binding energy compared to the hydrogen ground state, which he terms 'hydrinos'. Quantum mechanics excludes states of the hydrogen atom less energetic than the ground state: while the existence of such a state under some circumstances may be possible, such a state cannot exist in the environment proposed by Mills.

(**)Steorn Ltd. is a small privately held technology development company based in Dublin, Ireland. The company drew the attention of the mainstream media in August 2006 by placing a full-page advertisement in The Economist, claiming to have developed a technology that produces "free, clean, and constant energy" and challenging the scientific community to review its claim. In December 2006 the company announced that they had chosen a jury of scientists to test their claim.

This is, in essence, a claim that the company has developed free energy technology, or a perpetual motion machine. Such technology would violate the fundamental laws of thermodynamics particularly the first law. To date, no evidence supporting the company's claim has been made available to the public.

ธุรกิจที่เพิ่งเริ่มและขนาดเล็ก รวมถึงเงินทุนระดับย่อย

เงินกู้ปลอดดอกเบี้ย ควรจะถูกใช้เพื่อเงินทุนระดับย่อย(microfinance) เช่น ธุรกิจ และฟาร์มขนาดเล็ก เนื่องจากการปล่อยให้เงินทุนนี้ สามารถทำให้พวกเขาเป็นอิสระจากแรงงานกดดันมหาศาลของหนี้สินแบบดอกเบี้ยทบต้น. ต้นทุนการทำฟาร์ม อาจเป็นครึ่งหนึ่งหรือน้อยกว่าต้นทุนการประกอบกิจการอื่นๆ. คนจนของโลก (เช่น ผู้หญิงบังคลาเทศ - 55% ของประชากรโลก อยู่รอดด้วยเงินต่ำกว่า $3 ต่อวัน) สามารถลดต้นทุนลงมาครึ่งหนึ่งหรือมากกว่านั้นในการสร้างธุรกิจขนาดเล็กต่างๆ โดยการใช้ประโยชน์ของเงินกู้ปลอดดอกเบี้ย. เงินทุนระดับย่อยสามารถระบายผ่านธนาคารอย่างเช่น ธนาคารกรามีน และสถาบันที่คล้ายๆ กันอย่างสถาบันเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการ (Institute for Integrated Rural Development) เป็นต้น

เงินกู้ยืมสำหรับนักศึกษา (Loans to students)
เงินกู้สำหรับการศึกษาถือเป็นนโยบายทวิภาค เพราะว่าการศึกษาชั้นสูงและเหนือกว่านั้นในยุคโลกาภิวัตน์ อาจกระตุ้นให้นักเรียนต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้น และนักเรียนที่ขอกู้เงิน ไม่ควรต้องแบกรับภาระดอกเบี้ย

ศักยภาพการผลิต
ศักยภาพการผลิตแบบทวิภาค และผลิตภาพแบบจารีตเป็นแนวคิดที่ต่างกัน. "ผลิตภาพแบบจารีต" โดยทั่วไป ถือว่าผลิตภาพของแรงงาน คืออัตราส่วนของแรงงานในฐานะปัจจัยนำเข้าต่อผลผลิตที่ได้ออกมาโดยรวม. ในทางตรงกันข้าม "ผลิตภาพแบบทวิภาค" ถือว่าเปอร์เซนต์ของปัจจัยนำเข้าเชิงกายภาพทั้งหมด ที่ประกอบด้วย"แรงงาน"และ"ทุน" แต่ละอย่างจะช่วยให้เกิดผลผลิตออกมา มีผลต่อผลิตผล

"ทุน" ช่วยทำให้เปอร์เซนต์เพิ่มขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ดั่งที่แม้แต่ Marx ก็เข้าใจเช่นนั้นมาก่อน. พิจารณาตัวอย่าง มนุษย์ขุดหลุมสักหลุมหนึ่ง ด้วยมือของเขาทั้งสองข้าง เขาต้องใช้เวลา 4 ชั่วโมง แต่โดยการใช้อุปกรณ์หนึ่งของทุน - พลั่ว - เขาสามารถขุดหลุมด้วยเวลาเพียงหนึ่งชั่วโมง หรือขุดสี่หลุมในระยะเวลาเดียวกันกับที่เขาใช้มือสองข้างขุดได้หนึ่งหลุม. ศักยภาพการผลิตทางกายภาพของแรงงานมนุษย์คือ 25% ในขณะที่ศักยภาพการผลิตทางกายภาพของพลั่ว เป็น 75%

การวิเคราะห์ตัวอย่างการขุดหลุมและการใช้พลั่ว ถูกนำเสนอโดย Timothy D. Terrell สรุปการวิพากษ์ที่ให้ไว้โดย Timothy Roth.[34] การวิจารณ์ชี้ว่า บางคนประดิษฐ์พลั่วขึ้นมา, และพลั่วไม่สามารถเป็นอิสระ. Roth ได้ให้เหตุผลว่า ด้วยทุนมนุษย์ ต้องประดิษฐ์พลั่วก่อนที่มันจะถูกใช้ได้ ดังนั้นการมีอยู่ของ"พลั่ว"ไม่ได้เป็นอิสระจากทุนมนษย์ และ Roth เพิ่มเติมข้อสันนิษฐานว่า มนุษย์นักขุดหลุม ไม่มีบทบาทในศักยภาพการผลิตของพลั่ว

อย่างไรก็ตาม เศรษฐศาสตร์ทวิภาค(binary economics) เน้นความจริงที่ว่า บางคนสร้างพลั่วขึ้นมาก่อน ซึ่งไม่มีเกี่ยวอะไรกับประโยชน์ในการขุดหลุมสักหลุมในการมีอยู่ของมัน และพลั่วถูกมองว่าเป็นผู้ช่วยที่เป็นอิสระซึ่งทำงานร่วมกับมนุษย์คนหนึ่ง เทียบกับมนุษย์ทำงานร่วมกันกับพลั่ว. ยิ่งไปกว่านั้น เปรียบกับมนุษย์สองคนร่วมมือกัน ดังนั้นมนุษย์และพลั่วร่วมกันขุดหลุม และผลิตหลุมมากกว่าแค่คนหนึ่งคน หรือ พลั่วหนึ่งอันสามารถทำได้ด้วยตัวมันเอง

อากรมรดก (Estate duty)
ในฐานะส่วนหนึ่งของนโยบายทวิภาค เพื่อพัฒนาการเป็นเจ้าของทุนสำหรับสมาชิกทุกคนที่เป็นประชากร ดังนั้นจึงไม่มีอากรมรดก(หรือภาษีการรับมรดก)ต่อการตาย ถ้าสินทรัพย์ได้ถ่ายโอนไปในแนวนี้ที่จะกระจายสินทรัพย์ทุนให้กับปัจเจกชนต่างๆ มากขึ้น. ถ้าหากไม่ทำเช่นนั้น เศรษฐศาสตร์ทวิภาคก็เสนอการเก็บภาษีแบบก้าวหน้าขึ้นเป็นขั้นๆ (graduated tax)

ภาคผนวก

Special Drawing Rights (SDRs)
The SDR is an international reserve asset, created by the IMF in 1969 to supplement the existing official reserves of member countries. SDRs are allocated to member countries in proportion to their IMF quotas. The SDR also serves as the unit of account of the IMF and some other international organizations. Its value is based on a basket of key international currencies.
Why was the SDR created and what is it used for today?

The Special Drawing Right (SDR) was created by the IMF in 1969 to support the Bretton Woods fixed exchange rate system. A country participating in this system needed official reserves-government or central bank holdings of gold and widely accepted foreign currencies-that could be used to purchase the domestic currency in world foreign exchange markets, as required to maintain its exchange rate. But the international supply of two key reserve assets- gold and the U.S. dollar-proved inadequate for supporting the expansion of world trade and financial development that was taking place. Therefore, the international community decided to create a new international reserve asset under the auspices of the IMF.

However, only a few years later, the Bretton Woods system collapsed and the major currencies shifted to a floating exchange rate regime. In addition, the growth in international capital markets facilitated borrowing by creditworthy governments. Both of these developments lessened the need for SDRs.

Today, the SDR has only limited use as a reserve asset, and its main function is to serve as theunit of account of the IMF and some other international organizations. The SDR is neither a currency, nor a claim on the IMF. Rather, it is a potential claim on the freely usable currencies of IMF members. Holders of SDRs can obtain these currencies in exchange for their SDRs in two ways: first, through the arrangement of voluntary exchanges between members; and second, by the IMF designating members with strong external positions to purchase SDRs from members with weak external positions.
(ข้อมูลจาก : http://www.imf.org/external/np/exr/facts/sdr.htm)

จากสารานุกรม wikipedia
Special Drawing Rights (SDRs)
is a potential claim on the freely usable currencies of International Monetary Fund members. SDRs have the ISO 4217 currency code XDR.

SDRs are defined in terms of a basket of major currencies used in international trade and finance. At present, the currencies in the basket are the euro, the pound sterling, the Japanese yen and the United States dollar. Before the introduction of the euro in 1999, the Deutsche mark and the French franc were included in the basket. The amounts of each currency making up one SDR are chosen in accordance with the relative importance of the currency in international trade and finance. The determination of the currencies in the SDR basket and their amounts is made by the IMF Executive Board every five years.
(ข้อมูลจาก : http://en.wikipedia.org/wiki/Special_Drawing_Rights)


ผู้สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถค้นคว้าได้จากหนังสือต่อไปนี้

- Albus, James S.(1976) Peoples' Capitalism - The Economics of The Robot Revolution.
- Ashford, Robert & Shakespeare, Rodney (1999) Binary Economics - the new paradigm.
- Ashford, Robert Louis Kelso's Binary Economy (The Journal of Socio-Economics, vol. 25, 1996).

- el-Diwany, Tarek (2003) The Problem With Interest.

- Gates, Jeff (1999) The Ownership Solution.
- Gates, Jeff (2000) Democracy At Risk.
- Gauche, Jerry Binary Modes for the Privatization of Public Assets (The Journal of Socio-Economics. Vol. 27, 1998).
- Greenfield, Sidney M. Making Another World Possible: the Torah, Louis Kelso and the Problem of Poverty (paper given at conference, Colombia University, May, 2006).

- Kelso, Louis & Kelso, Patricia Hetter (1986 & 1991), Democracy and Economic Power - Extending the ESOP Revolution through Binary Economics.
- Kelso, Louis & Adler, Mortimer (1958), The Capitalist Manifesto.
- Kelso, Louis & Adler, Mortimer (1961), The New Capitalists.
- Kelso, Louis & Hetter, Patricia (1967), Two-Factor Theory: the Economics of Reality.
- Kurland, Norman A New Look at Prices and Money: The Kelsonian Binary Model for Achieving Rapid Growth Without Inflation.
- Kurland, Norman; Brohawn, Dawn & Michael Greaney (2004) Capital Homesteading for Every Citizen: A Just Free Market Solution for Saving Social Security.

- Miller, J.H. ed., (1994), Curing World Poverty: The New Role of Property.
- Reiners, Mark Douglas, The Binary Alternative and Future of Capitalism.

- Schmid, A. Allan,(1984), "Broadening Capital Ownership: The Credit System as a Focus of Power," in Gar Alperovitz and Roger Skurski,eds. American Economic Policy, University of Notre Dame Press.
- Shakespeare, Rodney & Challen, Peter (2002) Seven Steps to Justice.
- Shakespeare, Rodney (2007) The Modern Universal Paradigm.

- Turnbull, Shann (2001) The Use of Central Banks to Spread Ownership.
- Turnbull, Shann (1975/2000), Democratising the Wealth of Nations.

งานแปลและเรียบเรียงนี้ อ้างอิงสารานุกรม wikipedia เป็นหลัก
โดยนักศึกษา สมาชิกที่สนใจ สามารถคลิกไปดูเพิ่มเติมที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Binary_economics

คลิกกลับไปอ่านเรื่อง Heterodox Economics: ทางเลือกที่พ้นไปจากเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก

 

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๕๑ : Release date 12 April 2008 : Copyleft by MNU.
Heterodox economics หรือ"เศรษฐศาสตร์ทางเลือก" คือ กลุ่มแนวการศึกษาหรือสำนักคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่ได้รับการพิจาร
ณาต่างไปจากแนวเศรษฐศาสตร์ดั้งเดิม หรือที่รู้จักในนาม เศรษฐ- ศาสตร์กระแสหลัก (mainstream economics). คำนี้เป็นดั่ง ร่มคันใหญ่ที่ครอบคลุมความคิดอันหลากหลายทาง เศรษฐศาสตร์ ตัวอย่างเช่น Feminist economics, Political economy, Marxian economics, Bioeconomics, Complexity economics, Green economics เป็นต้น. สำหรับบทแปลและเรียบเรียงต่อไปนี้ ประกอบด้วยสาระสำคัญอย่างเช่น นิยามความหมาย Heterodox economics, เศรษฐศาสตร์ดั้งเดิม การ-ปฏิเสธเศรษฐศาสตร์-นีโอคลาสสิค, การพัฒนาล่าสุดของแนวทาง
H