ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 



23-03-2551 (1516)

มหาวิทยาลัยในบังคลาเทศกับการรับใช้ชุมชน
Muhammad Yunus: มหาวิทยาลัยจิตตะก่อง และโครงการเกษตรสามส่วน
พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เชิงอรรถเพิ่มเติม โดยกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์
เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศไทย

สำหรับบทความแปลชิ้นนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย ซึ่งเคยทำหน้าที่
ประสาทความรู้ให้กับชนชั้นนำของสังคม ยูนุสกลับเห็นว่าบทบาทหน้าที่หอคอยงาช้างเช่นนั้น
ไม่อาจแก้ปัญหาสังคมและความยากจนของบังคลาเทศได้ ดังนั้นวิธีการมากมายจึงได้รับการคิดค้นขึ้น
เพื่อทำให้มหาวิทยาลัยหันกลับมารับใช้ท้องถิ่น และแก้ปัญหาความยากจน โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้
- มหาวิทยาลัยกับชุมชนท้องถิ่น
- หมู่บ้านจอบรา ภาพสะท้อนความยากจนของบังคลาเทศ
- แถลงการณ์เพื่อแก้ปัญหาความอดอยากฉบับแรกของมหาวิทยาลัยจิตตะก่อง
- การทดลองกับโครงการเกษตรสามส่วน
- โครงการพัฒนาชนบทมหาวิทยาลัยจิตตะก่อง
- ปัญหาเรื่องบ่อน้ำลึกและค่าธรรมเนียมน้ำ
- การพลิกสถานการณ์ ให้คนจนสุดได้ประโยชน์มากสุด
- ชาวนารายย่อย คำที่ละเลยมิติเพศสภาพ
- กฎเกรแชม: คนจนจริง vs คนจนปลอม และ ฯลฯ
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๕๑๖
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๖ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

มหาวิทยาลัยในบังคลาเทศกับการรับใช้ชุมชน
Muhammad Yunus: มหาวิทยาลัยจิตตะก่อง และโครงการเกษตรสามส่วน
พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เชิงอรรถเพิ่มเติม โดยกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

1. มหาวิทยาลัยจิตตะก่อง (๒๕๑๕-๒๕๑๗)
กลับจากสหรัฐอเมริกา
ผมกลับจากอเมริกาในปี 2515 ด้วยความฝันและอุดมคติเต็มเปี่ยม ผมเชื่อสนิทใจว่าวิธีคิดตามตรรกะเหตุผลแบบตะวันตกสามารถแก้ปัญหาทุกอย่าง ผมเริ่มคุ้นเคยกับวิถีชีวิตและสินค้าจากตะวันตกมากขึ้น ผมสามารถดูโทรทัศน์ได้หลายชั่วโมงต่อวันระหว่างที่แก้สมการซับซ้อนไปด้วย. ผมเชื่อมั่นว่า ถ้าปากีสถานตะวันออกสามารถรักษาทรัพยากรของตนเองได้โดยไม่ต้องเป็นอาณานิคมให้กับปากีสถานตะวันตก เศรษฐกิจของเราจะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว

ตอนที่กลับมา ผมตื่นเต้นกับความกล้าหาญและความมุ่งมั่นที่ฉายแววในท่ามกลางซากปรักหักพังของสงคราม แม้จะมีปัญหาต้องเผชิญทุกทิศทาง แต่ผู้คนต่างพร้อมจะเผชิญหน้าอย่างมั่นใจ แต่เมื่อเดือนและปีผ่านไป ความหวังเริ่มมอดไหม้ไปทีละน้อย แทนที่จะค้นพบวิธีแก้ปัญหา สถานการณ์ต่าง ๆ แย่ลงเรื่อยๆ. ทันทีที่กลับมา ผมได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการวางแผนของรัฐบาล เป็นตำแหน่งที่ฟังดูเลิศลอย แต่อันที่จริงผมไม่ต้องทำอะไรเลยในตำแหน่งนี้ เพียงแต่นั่งอ่านหนังสือพิมพ์ทั้งวัน ดุษฎีบัณฑิตด้านเศรษฐศาสตร์สดๆ ร้อนๆ จากสหรัฐฯ อย่างผม กับประเทศที่ต้องการการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างมาก แต่รัฐบาลกลับไม่จัดงานให้ผมทำ

ดำรงตำแหน่งอาจารย์มหาวิทยาลัยจิตตะก่อง
หลังจากทักท้วงเรื่องนี้ครั้งแล้วครั้งเล่ากับนูรูล อิสลาม หัวหน้าคณะกรรมการวางแผน ซึ่งเคยเป็นอาจารย์ของผมที่มหาวิทยาลัยธากา (ซึ่งเป็นคนสนับสนุนให้ผมเข้าร่วมคณะกรรมการวางแผน) สุดท้ายผมตัดสินใจลาออกเพื่อไปเป็นหัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยจิตตะก่อง มหาวิทยาเขตแห่งนี้ตั้งอยู่ห่างจากกรุงจิตตะก่องไปทางทิศตะวันออก 20 ไมล์ บนพื้นที่ 1,900 เอเคอร์ที่เป็นเทือกเขาอันแห้งแล้ง มีการถางพื้นที่บนภูเขาบางส่วนจนโล่งเตียน เพื่อสร้างอาคารขนาดใหญ่สมัยใหม่ ทำด้วยอิฐสีแดงสำหรับรองอธิการบดีมหาวิทยาลัย นายทะเบียน และศาสตราจารย์บางท่าน แต่ละคนจะมีที่พักบนยอดเขาแยกกัน ตรงพื้นที่ราบเชิงเขาเป็นอาคารเรียน หอพัก และที่พักอาจารย์

มหาวิทยาลัยแห่งนี้ตั้งขึ้นในราวกลางทศวรรษ 1960 จากการออกแบบของสถาปนิกอันดับหนึ่งของประเทศ มีอาคารในรูปทรงทันสมัยมากมาย อาคารทุกหลังสร้างในลักษณะโชว์อิฐแดง และมีระเบียงเปิดมากมาย แม้ว่าอาคารเหล่านี้จะดูสวยงาม แต่ไม่ก่ออรรถประโยชน์มากนัก. หลังจากสอนที่นี่ได้ไม่นานผมพบว่าการจัดโครงสร้างภายในอาคารไม่สอดคล้องกับประโยชน์ใช้สอยเอาเลย ตัวอย่างเช่น มีการสร้างห้องขนาดใหญ่สำหรับผู้เป็นหัวหน้าภาควิชา ในขณะที่อาจารย์คนอื่น ๆ ไม่มีห้องของตนเอง ในฐานะหัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์ สิ่งแรกที่ผมทำคือ การเปลี่ยนห้องหัวหน้าภาควิชาให้เป็นห้องโถงรวมสำหรับอาจารย์ ผมย้ายตัวเองเข้าไปอยู่ในห้องเล็กๆ แต่สิ่งนี้ทำให้ทุกคนไม่พอใจ พวกเขาต้องการให้หัวหน้าภาควิชานั่งในห้องใหญ่ แม้ว่าคนอื่นจะไม่มีที่นั่งก็ตาม

ช่วงนั้นเป็นเวลาที่มหาวิทยาลัยประสบความยุ่งยาก อาจารย์ปฏิเสธที่จะให้คะแนนข้อสอบ เพราะนักศึกษาเองก็ไม่สนใจกฎเกณฑ์ต่าง ๆ และเอาแต่ลอกคำตอบจากหนังสือและลอกกันเอง อาจารย์ยืนยันว่า นักศึกษาควรจะสอบใหม่ ในขณะที่นักศึกษาไม่มีอารมณ์จะทำเช่นนั้น พวกเขาเถียงว่าหลังจากกลับจากสงครามปลดแอกประเทศ (ซึ่งสิ้นสุดลงในเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา) การที่พวกเขายอมมาเข้าสอบก็ถือเป็นบุญคุณมากแล้ว

นักศึกษาหลายคนเป็นส่วนหนึ่งของมุกติ พาหินี (กองทัพปลดแอกประเทศ) และเข้าร่วมในสงคราม พวกเขายังเที่ยวถือปืนสงครามเดินไปมาเพื่อข่มขู่อาจารย์ ถ้าหากว่าอาจารย์ไม่ยอมประกาศผลสอบโดยเร็ว ผมต้องทำหน้าที่เป็นคนกลางระหว่างนักศึกษากับอาจารย์เพื่อคลี่คลายปัญหา

ผมพักกับพ่อแม่ในตัวเมือง พ่อยอมให้ผมใช้รถเพื่อขับไปกลับจากมหาวิทยาลัยทุกวัน ระหว่างทางผมสังเกตเห็นครูและอาจารย์รอรถมหาวิทยาลัย ผมเชิญให้บางคนนั่งไปพร้อมกัน เพื่อไปสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยทุกวัน ผมพยายามทำความเข้าใจปัญหาและดูว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร

มหาวิทยาลัยบางช่วงเวลา
ผมพบว่าการที่ไม่มีหอพักในมหาวิทยาลัย เป็นเหตุให้นักศึกษาและครูส่วนใหญ่เดินทางมาในตอนเช้าและกลับตั้งแต่บ่ายสองด้วยรถประจำทาง มหาวิทยาลัยจึงถูกทิ้งร้างในตอนบ่ายและตอนกลางคืน นั่นเป็นการเสียประโยชน์อย่างมากสำหรับทรัพย์สินแห่งชาติที่ยิ่งใหญ่ และเป็นเรื่องน่าอาย ผมรวบรวมกลุ่มนักศึกษาทันทีเพื่อทำงานวิจัยโดยเร็วถึงปัญหานี้ มีการตีพิมพ์ผลการวิจัยของเราในงานนิพนธ์ของคณะที่ชื่อ "ปัญหาการเดินทางของมหาวิทยาลัยจิตตะก่อง" จากนั้นหนังสือพิมพ์ระดับประเทศก็เอางานศึกษาของเราไปตีพิมพ์ พวกเขาอ้างคำพูดของผมที่เรียกมหาวิทยาลัยแห่งนี้ว่า "มหาวิทยาลัยบางช่วงเวลา" ซึ่งทำให้คนฮือฮากันมากทีเดียว ผู้สื่อข่าวต่างรุมล้อมสัมภาษณ์ผม เพราะยังไม่เคยมีอาจารย์หรือผู้บริหารมหาวิทยาลัยคนไหนพูดถึงปัญหานี้มาก่อน

รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการติดต่อและขอสำเนารายงาน ผมจัดเตรียมให้อย่างละเอียดและเสนอแนวทางแก้ปัญหามากมาย โชคร้ายที่พวกเขาไม่ยอมนำไปใช้ และแม้จนทุกวันนี้ปัญหาการเป็นมหาวิทยาลัยบางช่วงเวลายังดำเนินต่อไป แม้จะผ่านไป 20 ปีแล้ว และแม้ว่าปัจจุบันจะมีการสร้างทางรถไฟเชื่อมต่อเมืองกับมหาวิทยาลัยแล้วก็ตาม

มหาวิทยาลัยกับชุมชนท้องถิ่น
ทุกวันผมต้องขับรถผ่านหมู่บ้านจอบราซึ่งตั้งอยู่บนถนนหลวงเส้นที่ไปมหาวิทยาลัย ระหว่างทางผมเห็นทุ่งนาทิ้งร้าง ผมถามศาสตราจารย์ละติฟี ถึงเหตุผลที่ชาวนาไม่ทำนาในช่วงฤดูหนาว ซึ่งเธอก็บอกข้อมูลบางส่วนในฐานะที่รู้จักหมู่บ้านแห่งนี้ดี ผมเสนอว่าเราสองคนควรไปที่หมู่บ้านและคุยกับชาวบ้าน เราได้ลองเดินทางไปและพบคำตอบในเวลาไม่นาน. พวกเขาไม่มีน้ำทำนา ผมคิดว่าเราควรทำอะไรบางอย่าง เป็นเรื่องน่าอายที่ปล่อยให้ที่ดินรอบมหาวิทยาลัยถูกทิ้งร้าง หากมหาวิทยาลัยเป็นตักศิลาแห่งความรู้ในโลก ความรู้เหล่านี้ก็ควรแผ่ซ่านไปยังท้องถิ่นด้วย เพื่อแสดงให้เห็นว่ามันเป็นความรู้ที่มีประโยชน์แท้จริง มหาวิทยาลัยไม่ควรทำตัวเป็นหอคอยงาช้าง ซึ่งช่วยให้นักวิชาการมีระดับความรู้สูงขึ้นเรื่อย ๆ แต่ไม่มีการแบ่งปันความรู้เหล่านี้ให้กับคนในท้องถิ่นเลย

อีกแค่สองสามเดือนผมก็ได้รับสิทธิให้พักในอาคารของมหาวิทยาลัย ผมดีใจมากเพราะคิดว่าจะช่วยให้ใกล้ชิดกับสมาชิกชุมชนมากขึ้น และมีโอกาสใช้เวลาที่มหาวิทยาลัยมากขึ้น ที่พักในมหาวิทยาลัยตั้งอยู่บนภูเขา ทุกวันผมมองเห็นภูเขาหัวโล้นอยู่รอบ ๆ จากห้องเรียนผมสามารถเห็นเด็กเล็ก ๆ ทั้งชายและหญิง ผู้ชายกับปศุสัตว์เดินทะลุที่ของมหาวิทยาลัยจากเขาลูกหนึ่งไปยังอีกลูก ตอนเช้าเราจะเห็นพวกเขาเดินทางพร้อมกับเหน็บมีดคม ๆ ไปด้วย ตอนเย็น แต่ละคนก็จะเดินทางกลับบ้านพร้อมกับฟืนจำนวนหนึ่ง หรือต้นไม้ที่อยู่บนภูเขานั่นเอง

ผมคิดว่ามหาวิทยาลัยอาจมีส่วนช่วยเปลี่ยนภูเขาทิ้งร้างเหล่านี้ให้กลายเป็นป่าอันงดงามได้ ด้วยการปลูกพืชพรรณและผลไม้ชนิดต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้ให้กับมหาวิทยาลัย ทำให้ชาวบ้านมีงานทำและมีอาหารกิน รวมทั้งทำให้เกิดสินค้าที่ส่งไปยังที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ. ผมเชื่อมั่นว่ามหาวิทยาลัยควรมีบทบาทพัฒนาชีวิตชาวบ้าน และภาควิชาเศรษฐศาสตร์ควรเป็นผู้นำในเรื่องนี้. ผมต้องการรู้จักหมู่บ้านดีขึ้น นักการศึกษาส่วนใหญ่จะรู้จักหมู่บ้านในลักษณะคาดเดาเอาเท่านั้น ในขณะนั้นยังไม่มีการทำข้อมูลหรือวิจัยอย่างเป็นรูปธรรม ผมคิดว่าเราควรสำรวจหมู่บ้านจอบราโดยละเอียด และด้วยความช่วยเหลือจากนักศึกษาผมจึงเริ่มโครงการสำรวจหมู่บ้าน



หมู่บ้านจอบรา ภาพสะท้อนความยากจนของบังคลาเทศ
เราต้องการค้นหาว่า มีกี่ครอบครัวในหมู่บ้านซึ่งมีที่ทำกินของตนเอง? แต่ละครอบครัวมีที่ดินมากน้อยเพียงใด? พวกเขาปลูกพืชอะไรบ้าง? ชาวนาไร้ที่ดินทำมาหากินอย่างไร? ใครบ้างที่เป็นคนจน? ชาวบ้านแถวนี้มีทักษะอะไรบ้าง? อะไรที่พวกเขาเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาชีวิตของตน? มีสักกี่ครอบครัวที่สามารถเพาะปลูกธัญญาหารเพื่อเลี้ยงตนเองได้ทั้งปี? มีสักกี่คนที่สามารถหาเลี้ยงตนเองได้อย่างพอเพียงตลอดทั้งปี? พวกเขาสามารถปลูกพืชที่จำเป็นได้กี่เดือน? 10 เดือน? 8 เดือน? 6 เดือน? น้อยกว่า 6 เดือน? และอื่น ๆ

ผมพยายามเข้าใจบังคลาเทศด้วยการเข้าใจจอบรา จอบราเป็นภาพสะท้อนบังคลาเทศสำหรับผม เป็นบังคลาเทศที่ผมรู้สึกและสัมผัสได้ ผมสามารถตรวจสอบข้อมูลทุกอย่างที่ต้องการ และยังสามารถทำการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง. การวิเคราะห์เหตุแห่งความยากจนส่วนใหญ่มุ่งทำความเข้าใจว่าเหตุใดบางประเทศจึงยากจน แทนที่จะศึกษาถึงกลุ่มประชากรบางส่วนที่มีชีวิตต่ำกว่าเส้นแบ่งความยากจน แต่นักเศรษฐศาสตร์ผู้ใส่ใจต่อปัญหาสังคมจะเน้นถึงการขาดซึ่ง "การเข้าถึง" ของคนยากจน แม้ว่าจะมีผลผลิตมากมาย แต่ในยามที่เกิดทุพภิกขภัย คนจนกลับไม่สามารถเข้าถึงอาหารที่ว่าได้ ในช่วงที่สังคมมนุษย์เกิดการพัฒนาที่สำคัญมากมายทั้งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มนุษย์สามารถเดินเหินบนดวงจันทร์ได้ ความทุกข์ยากและความอดอยากหิวโหยของมนุษย์ เป็นสิ่งที่ไม่มีความชอบธรรมด้านศีลธรรมเอาเสียเลย

ปัญหาหลายอย่างเกี่ยวกับความหิวโหยเป็นสิ่งที่ผมยังไม่รู้ในขณะนั้น และเป็นสิ่งที่ผมพยายามศึกษาในช่วง 20 ปีต่อมา ดังที่ผมกล่าวในพิธีรับรางวัลอาหารโลกเมื่อปี 2537 ที่เมือง Des Moines รัฐไอโอว่า ดังนี้

"ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่เยี่ยมยอดกลับไม่พูดถึงปัญหาความยากจนและความอดอยากหิวโหย ทั้งนี้เพราะพวกเขามีสมมติฐานว่า ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปเมื่อประเทศมีพัฒนาการด้านเศรษฐกิจอย่างเยี่ยมยอด นักเศรษฐศาสตร์ทุ่มเทให้กับการคิดค้นกระบวนการพัฒนาและสร้างความเจริญ แต่ไม่มีใครที่คิดถึงกระบวนการแก้ปัญหาความยากจนและความอดอยากหิวโหยเลย ผมเห็นว่าโลกต้องตระหนักว่า การกำจัดความยากจนเป็นประเด็นสำคัญและจริงจัง การคิดเช่นนั้นจะช่วยให้เราสร้างโลกที่เราภาคภูมิใจ แทนที่จะเป็นโลกที่เรารู้สึกอับอายดังเช่นทุกวันนี้"

ในปี 2517 ปัญหาทุพภิกขภัยยังคงรุนแรงต่อเนื่องและเลวร้ายลง ซึ่งยิ่งทำให้ผมอึดอัดใจมากขึ้น เมื่อทนไม่ได้แล้ว ผมจึงขอเข้าพบรองอธิการบดีของมหาวิทยาลัย เขาเป็นผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัย ในขณะที่นายกรัฐมนตรีเป็นอธิการบดีโดยตำแหน่ง แต่ไม่ทำหน้าที่การบริหารมหาวิทยาลัยเลย

แถลงการณ์เพื่อแก้ปัญหาความอดอยากฉบับแรกของมหาวิทยาลัยจิตตะก่อง
อาบูล ฟาซาล ผู้ชราเป็นบุคคลสำคัญระดับประเทศ และยังเป็นนักวิจารณ์สังคมและนักเขียนนวนิยายด้วย เขามีเกียรติยศสูงส่งในฐานะเป็นมโนธรรมของประเทศใหม่ เขาให้การต้อนรับผมอย่างสุภาพ. "ยูนุส ผมจะช่วยอะไรคุณได้บ้าง?" เขากล่าว ในขณะที่พัดลมหมุนช้า ๆ บนเพดาน เสียงยุงบินว่อนและมีคนนำน้ำชามาให้. "มีคนตายจากความอดอยากจำนวนมาก แต่ทุกคนกลับกลัวที่จะพูดเรื่องนี้" ผมกล่าว.

อาบูล ฟาซาลซึ่งชราภาพแล้วผงกศีรษะและบอกว่า "คุณคิดว่าควรทำอย่างไร?" ผมตอบว่า "ในฐานะบุคคลมีชื่อเสียง หลายคนเรียกคุณว่า "มโนธรรมแห่งชาติ" ผมมาพบคุณเพราะไม่มีใครกล้าหาญพอที่จะทักท้วงถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น"

"คุณต้องการให้ผมทำอะไรล่ะ?"
"ช่วยออกแถลงการณ์กับสื่อมวลชนได้ไหมครับ?"
"ได้สิ แต่เรื่องอะไรล่ะ?"
"ขอให้ท่านเรียกร้องประชาชาติและผู้นำให้ทำงานอย่างเต็มที่เพื่อยุติปัญหาความอดอยาก
ผมเชื่อมั่นว่าอาจารย์ทุกคนในมหาวิทยาลัยแห่งนี้ จะร่วมลงนามในจดหมายซึ่งท่านเป็นผู้นำในการรณรงค์"
"คุณคิดว่ามันจะมีประโยชน์ไหม?"
"มันจะช่วยกระตุ้นคนทั้งประเทศได้"
"ได้สิ" เขากล่าวพร้อมกับจิบน้ำชาและกล่าวว่า "ยูนุส คุณไปร่างแถลงการณ์มาแล้วผมจะลงนาม"
ผมยิ้มและบอกว่า "คุณเป็นนักเขียน คุณย่อมรู้ว่าควรเขียนแถลงการณ์อย่างไร"
"ยูนุส ผมไม่เขียนหรอก คุณช่วยเขียนมาด้วย"
"แต่ผมไม่ใช่นักเขียน"
"ยูนุส คุณมีความปรารถนาแรงกล้าในเรื่องนี้ คุณย่อมรู้ว่าควรเขียนอย่างไร"

"แต่ผมเป็นแค่อาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ และเราหวังว่าแถลงการณ์ฉบับนี้จะเป็นแรงกระตุ้นให้กับคนทั้งประเทศลุกขึ้นมาทำอะไรบางอย่าง" ยิ่งผมยืนยันว่าเขาเป็นบุคคลเหมาะสมที่สุดที่จะกระตุ้นคนทั้งประเทศ ให้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาทุพภิกขภัยเพียงใด เขาก็ยิ่งกระตุ้นให้ผมเขียนแถลงการณ์ฉบับนี้เอง เขาบีบผมจนกระทั่งไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากรับปากว่าจะจัดทำร่างแรก

ตอนเย็นวันนั้นผมเริ่มร่างแถลงการณ์ด้วยมือของตนเอง จากนั้นผมนำร่างไปให้กับรองอธิการบดีอ่าน และเฝ้ารอขณะที่เขาอ่านช้า ๆ.หลังจากอ่านจบ อาบูล ฟาซาลหยิบปากกาและบอกว่า "จะให้เซ็นตรงไหน" ผมตกใจ "แต่คำพูดเหล่านี้ค่อนข้างแรงนะครับ และบางทีคุณอาจอยากแก้ไขหรือเสนอแนวคิดอื่นเพิ่มเติม". "เปล่าเลย มันดีอยู่แล้วล่ะ" เขากล่าวพร้อมกับเซ็นชื่อทันที. ผมไม่มีทางเลือกอื่น ผมต้องลงนามในเอกสารด้วย และทำสำเนาแจกไปยังอาจารย์คนอื่น ๆ อาจารย์หลายคนไม่เห็นด้วยกับการใช้คำบางคำ แต่เนื่องจากรองอธิการบดีลงนามไว้แล้ว มันเป็นเหมือนคำรับรองเอกสารเป็นอย่างดี อาจารย์ทุกคนในมหาวิทยาลัยจิตตะก่องจึงได้ร่วมลงนามในแถลงการณ์ฉบับนี้ จากนั้นเราได้แจกจ่ายไปยังสื่อมวลชน วันต่อมาแถลงการณ์ก็กลายเป็นข่าวพาดหัวตัวไม้ในหนังสือพิมพ์ใหญ่ ๆ ทั้งหมด

จดหมายของเราทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยอื่น ๆ ได้เข้าร่วมในการเรียกร้องครั้งนี้ รวมทั้งหน่วยงานสาธารณะอื่น ๆ ซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยพูดถึงปัญหาทุพภิกขภัยในประเทศนี้เลย. หน้าที่ของผมตอนนี้คือการลืมเลือนทฤษฎีที่มีอยู่ และเริ่มต้นเรียนรู้จากโลกแห่งความจริง ผมไม่ต้องเดินทางไปไกลเพื่อจะสัมผัสโลกที่แท้จริง มันอยู่เบื้องหน้าผมตรงประตูห้องเรียนนั่นเอง
มันอยู่ในทุกที่เว้นแต่ในห้องเรียน

2. การทดลองกับโครงการเกษตรสามส่วน (2517-2519)
ปัญหาทุพภิกขภัยในปี 2517 ทำให้ผมทุ่มเทความคิดทุกอย่างกับการเกษตร. แม้จะมีพื้นที่ 35 ล้านเอเคอร์ (87.5 ล้านไร่) แต่บังคลาเทศเป็นหนึ่งในประเทศที่มีประชากรหนาแน่นสุดในโลก และต้องผลิตอาหารเพิ่มขึ้น เรามีพื้นที่การเกษตรประมาณ 21 ล้านเอเคอร์ ในช่วงฤดูฝนเราสามารถผลิตข้าวกับปอได้เป็นหลัก แต่มีโอกาสที่เราจะเพิ่มกำลังผลิตถ้าสามารถขยายระบบชลประทาน และปรับปรุงการบริหารงานน้ำในช่วงฤดูหนาวที่แห้งแล้ง ผู้เชี่ยวชาญประมาณว่า ผลผลิตที่ได้ในปัจจุบันคิดเป็นเพียง 16% ของผลผลิตที่ควรจะเป็น

ผมตัดสินใจที่จะช่วยชาวบ้านที่จอบราให้ปลูกธัญพืชเพิ่มขึ้น แล้วพวกเขาจะปลูกธัญพืชเพิ่มขึ้นได้อย่างไร? โดยการปลูกเพิ่มขึ้นในแต่ละฤดูหรือ? โดยการเพิ่มจำนวนครั้งของการเพาะปลูกหรือ? ผมไม่ได้เป็นนักเศรษฐศาสตร์การเกษตร แต่ผมตั้งใจค้นหาว่าทำอย่างไรในแต่ละรอบการปลูกพวกเขาจะสามารถปลูกพืชได้มากขึ้น. ผมนั่งคุยกับนักศึกษาและอธิบายความสำคัญที่จะต้องเปลี่ยนจากการปลูกข้าวพื้นเมืองที่ให้ผลผลิตต่ำมาเป็นข้าวซึ่งพัฒนาในฟิลิปปินส์และให้ผลผลิตสูง พวกเราไปนั่งคุยกับชาวนาและอธิบายความสำคัญของข้าวแบบนี้ให้พวกเขาฟัง

โครงการพัฒนาชนบทมหาวิทยาลัยจิตตะก่อง
ชาวนาต่างพากันประหลาดใจ แต่เราแสดงท่าทางจริงจังมาก เราถึงกับเสนอว่าจะช่วยพวกเขาปลูกข้าวที่มีผลผลิตสูงโดยไม่คิดมูลค่า ทั้งนักศึกษาและอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างอาสาที่จะช่วยปลูกข้าว ทั้งหมู่บ้านและมหาวิทยาลัยเฝ้ามองดูพวกเรางก ๆ เงิ่น ๆ ในการดำนาในน้ำและโคลนที่ท่วมถึงข้อเท้า ก็มีใครเคยเห็นอาจารย์มหาวิทยาลัยปลูกข้าวร่วมกับชาวนาบ้างล่ะ? มันไม่เคยเกิดขึ้นแบบนั้น

ทั้งนักศึกษาและผมพยายามทำให้ชาวนาเห็นความสำคัญของการปักดำกล้าให้ได้ระยะห่างที่สม่ำเสมอ และให้ปักตามแนวเส้นตรงเพื่อเพิ่มการผลิตและผลผลิตต่อไร่ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นตีพิมพ์ภาพของพวกเราในขณะกำลังสาธิตให้ชาวนาแถวนั้นรู้จักการขึงเชือกเป็นเส้นตรงเพื่อให้ปักดำกล้าได้ตามแนว ตอนแรกพวกเขาเอาแต่หัวเราะ นักศึกษาหลายคนต่างเยาะเย้ยวิธีการที่เข้าไปมีส่วนร่วมโดยตรงของผม แต่ความจริงเราสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้ถึงสี่เท่า

ผมพยายามมองหาทางใหม่ ๆ ซึ่งทำให้มหาวิทยาลัยสามารถช่วยพัฒนาชุมชนได้ สิ่งที่ผมสนใจล้วนแต่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติที่เป็นไปได้สำหรับการเกษตรในท้องถิ่น ในฐานะเป็นผู้เรียนรู้จากการปฏิบัติ ผมพร้อมจะเรียนรู้จากความผิดพลาดของตนเองและผู้อื่น ผมพยายามเชื่อมโลกนักวิชาการและชาวบ้านเข้าด้วยกันโดยผ่านโครงการที่ผมคิดค้นขึ้นมาและมีชื่อว่า "โครงการพัฒนาชนบทมหาวิทยาลัยจิตตะก่อง"
นักศึกษาบางคนจำได้ว่า ตอนที่ผมเริ่มสอนเป็นครั้งแรกในปี 2515 ผมเป็นคนเจ้าระเบียบมาก ผมเคยกำหนดให้นักศึกษาต้องลงชื่อล่วงหน้าก่อนจะนัดพบกับผม ดังนั้น โครงการพัฒนาชนบทมหาวิทยาลัยจิตตะก่องจึงทำลายความเจ้าระเบียบของผมไปจนหมด รวมทั้งทำลายกำแพงอย่างเป็นทางการที่มีมาอย่างยาวนานระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาในมหาวิทยาลัยที่บังคลาเทศ

ตอนนั้นผมเริ่มละทิ้งการเรียนรู้แบบเดิม และพยายามพัฒนาความคิดของโครงการพัฒนาชนบทมหาวิทยาลัยจิตตะก่อง รวมทั้งโครงการส่งเสริมการอ่านออกเขียนได้ของประชาชน ผมสนับสนุนให้นักศึกษาเดินทางไปด้วยตอนที่ไปยังหมู่บ้าน เพื่อสัมผัสดูว่าชีวิตประจำวันของพวกเขาจะดีขึ้นได้อย่างไร นักศึกษาสามารถเลือกหัวข้อและเขียนงานวิจัยเพื่อเอาหน่วยกิตได้

ในฤดูหนาวปี 2518 ผมสนใจแก้ปัญหาชลประทานเพื่อให้ชาวบ้านปลูกพืชช่วงฤดูหนาวได้. ตอนที่ผมขับรถไปในทุกที่ช่วงฤดูมรสุม ผมพบว่าชาวบ้านใช้พื้นที่เกือบทุกตารางเมตรเพื่อปลูกพืช รวมทั้งพื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งดูเหมือนจะเป็นพื้นที่เปล่าประโยชน์ พวกเขาก็ใช้พื้นที่เหล่านั้นเพื่อเพาะปลูกข้าวและเลี้ยงปลา แต่ในช่วงฤดูหนาวที่ดินเหล่านี้กลับถูกปล่อยทิ้งร้าง ถ้าอย่างนั้น ทำไมเราไม่เพิ่มการปลูกพืชในช่วงฤดูหนาวล่ะ?

ปัญหาเรื่องบ่อน้ำลึกและค่าธรรมเนียมน้ำ
ทุกวันผมสังเกตเห็นบ่อน้ำลึกที่ไม่มีผู้ใช้อยู่ตรงกลางที่ดินที่ไม่มีการเพาะปลูก มันเป็นช่วงฤดูหนาวที่แห้งแล้ง เป็นฤดูที่ควรมีการนำน้ำจากบ่อขึ้นมาเพื่อเพาะปลูกพืชใหม่ แต่ไม่มีใครทำอะไรเลย น้ำอยู่ในบ่อ สดใหม่ และไม่มีผู้ใช้. เมื่อผมถามว่าเหตุใดจึงปล่อยบ่อน้ำบาดาลไว้แบบนั้น ผมพบว่าชาวนาต่างพากันโกรธเพราะในช่วงฤดูแล้งที่แล้ว พวกเขามีเรื่องกันเนื่องจากการใช้น้ำ โดยมีการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้น้ำ พวกเขาบอกว่าที่ผ่านมาต้องกินข้าวขมเพราะน้ำจากบ่อลึก และไม่ต้องการกินข้าวขมอีกต่อไป นับแต่นั้นมาชาวนาจึงไม่สนใจต่อบ่อน้ำลึกอีก และเป็นเหตุให้ถูกทิ้งร้างไว้ซึ่งเป็นการสูญเสียทั้งเงินและน้ำ

ผมเห็นว่าเป็นเรื่องน่าอาย ในประเทศที่ทุพภิกขภัยสังหารคนจำนวนมาก กลับมีการนำน้ำจากบ่อบาดาลลึกถึง 300 ฟุตมาใช้กับพื้นที่เพียง 60 เอเคอร์ (150 ไร่). ในบรรดาระบบชลประทานที่มีอยู่ การขุดบ่อลึกเป็นเทคโนโลยีที่ใช้เงินลงทุนมากที่สุด ซึ่งอาจเป็นเหตุให้โครงการแบบนี้ได้รับความสนับสนุนจากรัฐบาลและองค์กรให้ทุน (ในขณะที่บ่อน้ำตื้นแบบใช้ถังตักได้ซึ่งใช้ต้นทุนน้อยสุดและเหมาะสมสุดกับครอบครัวยากจน ไม่เคยปรากฏในแผนการของรัฐบาลเลย)

เนื่องจากต้นทุนการเดินเครื่องสูบน้ำที่สูง ทำให้บ่อน้ำลึกกลายเป็นโครงการไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งยังเต็มไปด้วยการคอรัปชั่น ทำให้ต้องสูญเสียเชื้อเพลิงที่เป็นน้ำมัน น้ำมันหล่อลื่น อะไหล่ที่จำเป็นมากมาย ปัญหาที่ผมพบที่จอบราก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น แต่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งประเทศ และกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบที่เป็นอยู่. เพื่อให้ระบบบ่อน้ำลึกทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เราต้องมีระบบกระจายน้ำที่มีประสิทธิภาพ และชาวนารายย่อยจำนวนมากซึ่งมีที่ทำกินห่างกันจะต้องปลูกพืชชนิดเดียวกัน พวกเขาต้องการความช่วยเหลือด้านปุ๋ย การปกป้องพืช และการซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำ พวกเขายังต้องการตลาดสำหรับผลผลิต การแก้ปัญหาเหล่านี้จำเป็นต้องใช้การจัดการระดับย่อยอย่างเต็มที่

โชคร้ายที่โครงการของรัฐไม่เคยเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้น้ำกับเทคโนโลยีบ่อน้ำลึก โครงการมักกำหนดแค่ให้มีการสร้างบ่อน้ำลึก ตรวจดูว่ามันใช้งานได้แล้วก็จากไป ในขณะที่รัฐบาลด้วยความสนับสนุนจากแหล่งทุน สามารถลงทุนในเทคโนโลยีชลประทานสมัยใหม่ได้ แต่กลับไม่มีใครที่มีเวลาและทรัพยากรที่จะแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคนได้เลย

นาบาจัก ("ยุคใหม่") โครงการเกษตรสามส่วน
เนื่องจากปัญหาการจัดการที่มีมาแต่เดิม ชาวนาจึงมีแนวโน้มไม่ต้องการทำอะไรที่เสี่ยงมากขึ้น เป็นเหตุให้กว่าครึ่งหนึ่งของบ่อน้ำลึกที่ใช้งบประมาณจัดสร้างหลายล้านเหรียญไม่ได้ถูกใช้ประโยชน์ อาคารสูบน้ำที่ถูกทิ้งพร้อมเครื่องจักรกลสนิมเขรอะ เป็นหลักฐานแสดงถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ไม่เกิดประโยชน์ต่อชาวนาเลย หากยังเป็นความอื้อฉาว เป็นตัวอย่างความล้มเหลวอีกครั้งหนึ่งของการพัฒนาที่ผิดพลาด. ผมเสนอแนวคิดการจัดตั้งสหกรณ์การเกษตรรูปแบบใหม่ ผมตั้งชื่อว่า นาบาจัก ("ยุคใหม่") หรือที่เรียกว่าโครงการเกษตรสามส่วน

ผมเรียกประชุมชาวนาแถวนั้นและเสนอการทดลอง ในฝ่ายของเจ้าของที่ดินจะอนุญาตให้ใช้ที่ดินในช่วงฤดูแล้ง ในฝ่ายเกษตรกรก็จะเป็นฝ่ายออกแรง ส่วนผมจะออกในส่วนต้นทุนที่เหลือ ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนเชื้อเพลิงเพื่อสูบน้ำจากบ่อลึก เมล็ดพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง ปุ๋ย ยาฆ่าแมลงและเทคโนโลยีต่าง ๆ และแต่ละฝ่าย (ชาวนาเจ้าของที่ดิน ผู้ออกแรงทำงาน และตัวผม) จะได้รับส่วนแบ่งผลผลิตคนละหนึ่งในสาม

ตอนแรกชาวบ้านตั้งข้อสงสัยกับข้อเสนอของผม ความขัดแย้งที่ผ่านมาทำให้หน่วยงานที่สูบน้ำกับชาวนามีอคติและไม่ไว้วางใจกัน พวกเขาไม่พร้อมจะรับฟังผมหรือใครทั้งสิ้น พวกเขาโต้แย้งว่าไม่มีหลักประกันใดเลยว่าแผนงานของผมจะทำงานได้ผล และมันอาจเป็นการเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ บางคนแย้งว่า ถ้าจ่ายให้ผมหนึ่งในสามของผลผลิตเป็นการจ่ายมากเกินไป พวกเขาบอกว่าควรเป็นหนึ่งในห้าไม่ใช่หนึ่งในสาม! แม้ว่าผมจะเสนอตัวชดใช้ภาระขาดทุนทุกอย่าง และถ้าโครงการนี้ทำให้เกิดผลกำไร พวกเขาสามารถนำผลกำไรไปแบ่งกันเองได้ แต่นั่นก็ยังไม่ทำให้พวกเขาสนใจอยู่ดี ในการประชุมครั้งแรก พวกเขาปฏิเสธข้อเสนอของผม

ในการประชุมครั้งที่สองอีกหนึ่งสัปดาห์ต่อมา ผมสามารถชี้แจงให้พวกเขาเชื่อว่า พวกเขาไม่ต้องสูญเสียอะไรเลย พวกเขาจะได้ทั้งน้ำชลประทาน ปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ ยาฆ่าแมลง โดยที่ไม่ต้องจ่ายเงินทันทีด้วยซ้ำ สิ่งที่พวกเขาทำก็คือการยอมที่จะแบ่งผลผลิตหนึ่งในสามให้กับผม ชาวนาผู้ยากจนเห็นว่าเป็นความคิดที่ดี แต่ชาวนาร่ำรวยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินยังคงลังเล ทั่วทั้งหมู่บ้านพากันคาดเดาว่าโครงการนี้จะเดินหน้าต่อไปอย่างไร

การเอาชนะอุปสรรค
มันเป็นช่วงเวลาแห่งการทดลองของผม ตอนกลางคืนผมนอนไม่หลับ เอาแต่ตื่นเต้นกังวลว่าจะมีอะไรผิดพลาด แต่ผมก็ตื่นเต้นกับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น และเชื่อมั่นว่าถ้ามีการปฏิบัติตามแผนอย่างเหมาะสม จะต้องเกิดความสำเร็จแน่นอน ผมเชื่อมั่นว่าโครงการนี้จะช่วยแก้ปัญหาการจัดการชลประทาน แม้ว่าจะไม่ง่าย. ทุกเย็นวันอังคารเราจะไปพบชาวนาและจัดประชุมอย่างเป็นทางการ ผู้เข้าร่วมประชุมยังประกอบด้วย "ผู้นำกลุ่ม" ที่ผมแต่งตั้งขึ้นมาจากนักศึกษารวมทั้งคณะที่ปรึกษา 13 คนที่เข้มแข็ง เราพูดคุยและทบทวนปัญหาที่เกิดขึ้นจากเรื่องปุ๋ย ชลประทาน เทคโนโลยี การจัดเก็บ การขนส่ง และการตลาด

ไม่มีอะไรงดงามไปกว่าการได้เห็นชาวนาเก็บเกี่ยวผลผลิตของตน ปรกติแล้ว เราจะเห็นภาพนี้ในการเก็บเกี่ยวช่วงฤดูมรสุม ซึ่งเป็นวัฏจักรของชีวิตชนบท แต่ภาพที่เราเห็นตอนนี้เกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้ง. เราได้เห็นชาวนาเบงกาลีต่างกระตือรือร้นในการทำงานเพื่อหว่านข้าว พวกเขาหว่านข้าวด้วยมือ และไม่นานต้นกล้าก็ผุดขึ้นมา จากนั้นก็เป็นช่วงเวลาที่ต้องหลังขดหลังแข็งกับการปักดำ แต่การทำงานเช่นนี้เป็นเรื่องง่ายกว่าสำหรับชาวนาเมื่อเทียบกับเราที่เป็นนักวิชาการ ในไม่ช้าเราลืมเลือนอัตตาแบบนักวิชาการไปและเริ่มมองข้ามความแตกต่างทางสังคม เรายืนอยู่ในน้ำที่สูงระดับข้อเท้า และช่วยกันปักต้นกล้า

เมื่อน้ำดี ท้องทุ่งก็เต็มไปด้วยต้นข้าวสีเขียวมรกต ความงดงามและความหวังที่ต้นข้าวให้เรา ทำให้หัวใจของชาวเบงกาลีทุกคนอบอุ่น มันเป็นกระบวนการเรียนรู้สำหรับเราทุกคน ปีแรกเราประสบความสำเร็จมาก ชาวนาทุกคนมีความสุข พวกเขาไม่ต้องจ่ายเงินสดเลย แต่ได้ผลผลิตจำนวนมาก ในขณะที่ผมต้องขาดทุนไป 13,000 ตากาเพราะชาวนาไม่ยอมแบ่งปันส่วนของผมมาให้ พวกเขาให้ผมน้อยกว่าหนึ่งในสามตามที่สัญญา แต่ผมยังรู้สึกเป็นผู้ชนะเพราะโครงการนี้ทำงานได้ผล เราสามารถปลูกพืชผลได้ในพื้นที่นี้ซึ่งไม่เคยมีใครปลูกได้ในช่วงฤดูแล้งมาก่อน

การทดลองการเกษตรสามส่วนได้รับรางวัล Rashtrapati Puroshkar (รางวัลประธานาธิบดี) ในปี 2521 แต่ผมก็มีความหวั่นใจลึกๆ ความสำเร็จของโครงการเกษตรสามส่วนชี้ให้เห็นปัญหาที่ผมไม่เคยสนใจมาก่อน

การพลิกสถานการณ์ ให้คนจนสุดได้ประโยชน์มากสุด
หลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว พวกเขาต้องการแรงงานเพื่อแยกข้าวออกจากรวง งานที่น่าเบื่อและไม่ต้องใช้ความคิดเช่นนี้ย่อมเป็นงานที่ได้รับค่าแรงถูกสุด และคนงานก็จ้างกันเป็นรายวัน ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงยากจน ซึ่งถ้าไม่ทำงานแบบนี้ก็ต้องไปขอทาน พวกเธอจะมากันในตอนเช้าเป็นจำนวนมากและใช้เท้านวดข้าวเป็นเวลาติดต่อกันหลายชั่วโมง พยายามพยุงตัวให้ตรงด้วยการใช้นิ้วเกาะเกี่ยวกับผนัง และกันไม่ให้ล้มลงระหว่างทำงาน

ผมไม่อาจลืมเลือนสิ่งที่เห็นได้ ผู้หญิงประมาณ 25-30 คน พากันนวดข้าวที่ได้จากการทำนา พวกเธอใช้เท้าเปล่าเพื่อนวดข้าว หันหน้าเข้าผนังเพื่อหาที่พิง ผู้หญิงเหล่านี้ต้องเคลื่อนไหวร่างกายต่อเนื่องกัน พยายามใช้เท้าเพื่อเกี่ยวและขยี้รวงข้าวให้เมล็ดข้าวหลุดอออกมา เป็นงานที่ต้องทำตั้งแต่เช้ายันค่ำ ค่าแรงขึ้นอยู่กับจำนวนข้าวที่พวกเธอนวดได้ในแต่ละวัน พวกเธอจะได้รับค่าแรงเป็นหนึ่งในสิบหกของข้าวที่นวดได้ ส่วนใหญ่จะได้ประมาณ 4 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่งคิดเป็นมูลค่าเพียง 40 เซ็นต์

ผู้หญิงเหล่านี้ต้องพยายามหาที่พิงที่เหมาะสมเพื่อช่วยให้เหนื่อยน้อยลง ต้องแข่งมาถึงที่นวดข้าวให้เร็วที่สุด การแข่งขันสูงมาก บางคนมาถึงที่ทำงานตั้งแต่ยังมืด และพบว่าคนอื่นมาถึงก่อนแล้ว ชีวิตที่น่าลำบากเช่นนี้แลกได้เพียงเงิน 40 เซ็นต์กับการทุ่มน้ำหนักของร่างกายและท่าการนวดข้าวที่เมื่อยล้าด้วยเท้าเปล่าเป็นเวลา 10 ชั่วโมงต่อวัน! เป็นที่ชัดเจนว่ายิ่งชาวนาที่เข้าร่วมการทดลองเกษตรสามส่วนมีฐานะดีมากเท่าไร พวกเขาก็จะได้ประโยชน์จากโครงการนี้มากเท่านั้น แต่ถ้าเป็นชาวนารายย่อยและยากจน ประโยชน์ที่ได้ก็จะน้อยลงไปด้วย คนที่ได้น้อยที่สุดกลับเป็นผู้หญิงซึ่งทำหน้าที่นวดข้าวซึ่งทำให้ผมสะท้อนใจมาก

ผมพยายามหาทางทำให้เกิดผลลัพธ์ตรงข้าม คือการทำให้คนจนได้รับประโยชน์สูงสุด ผมพยายามทดลองความคิดหลายแบบแต่ไม่มีความคิดไหนน่าจะเป็นไปได้ ผมพบว่าสำหรับงานแบบเดียวกัน ผู้หญิงสามารถได้รับค่าตอบแทนมากกว่าที่เธอได้รับสี่เท่า ถ้าเธอมีกำลังทรัพย์ที่จะไปซื้อข้าวเปลือกมาเพื่อนวดข้าวเอง. "พวกเราจะชอบโครงการเกษตรสามส่วนของคุณได้อย่างไรล่ะ?" ผู้หญิงคนหนึ่งบอก "หลังจากนวดข้าวแค่ไม่กี่สัปดาห์ งานก็หมดแล้ว และเราก็ไม่มีอะไรทำอีก"

ผู้หญิงเหล่านี้ซึ่งหลายคนเป็นหญิงหม้าย ถูกหย่าร้าง หรือถูกทอดทิ้งแต่มีลูกต้องเลี้ยงดู พวกเธอยากจนเกินกว่าที่จะเป็นหุ้นส่วนในการเกษตรแบบนี้ได้ พวกเธอไม่มีทั้งที่ดิน ไม่มีทรัพย์สิน และไม่มีความหวัง นั่นเป็นเหตุให้ผมสนใจปัญหาคนจนซึ่งจนสุด

ชาวนารายย่อย คำที่ละเลยมิติเพศสภาพ
ตามภาษาการพัฒนาระหว่างประเทศ "ชาวนารายย่อย" มักหมายถึงคนจนที่ถูกทอดทิ้งโดยเฉลี่ยทั่วไป และโครงการชนบทส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับชาวนาและเจ้าของที่ดิน ผมไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ด้วยเหตุผลสองประการ

ประการแรก การจัดให้คนไร้ที่ดินและเกือบไม่มีที่ดินเป็น "ชาวนา" ทำให้เรามองข้ามการแบ่งแยกทางเพศไปโดยไม่รู้ตัว และเวลาที่คิดถึงกลุ่มคนที่เป็นชาวนา เรามักจะคิดถึงแต่เฉพาะปัญหาของคนที่เป็นผู้ชาย และบ่อยครั้งเราลืมเลือนประชากรอีกครึ่งหนึ่งซึ่งเป็นผู้หญิงไป สิ่งที่เราจำได้เกี่ยวกับผู้หญิงมักจะเป็นบทบาทของผู้ช่วยเหลือเล็ก ๆ น้อย ๆ สำหรับสมาชิกในครอบครัวที่เป็นผู้ชายและสำคัญที่สุด ซึ่งเป็นการทำลายโครงการพัฒนาต่างๆ

ประการที่สอง แม้ว่าในพื้นที่ชนบทคนที่ไร้ที่ดินหรือเกือบไร้ที่ดิน (มีที่ดินน้อยกว่าครึ่งเอเคอร์) จะเป็นผู้ออกแรงงานที่สำคัญในภาคเกษตร แต่ก็คิดเป็นเพียงหนึ่งในห้าของเวลาที่สามารถใช้กับการเกษตรได้. พูดอีกอย่างหนึ่งคนเหล่านี้ใช้เวลากว่า 80% ไปกับกิจกรรมอื่น หรือการอยู่เฉย ๆ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการเกษตร งานเกษตรจึงเป็นเพียงเสี้ยวเล็ก ๆ ของชีวิต และไม่อาจใช้งานส่วนนั้นมาจำแนกว่าพวกเขาเป็นชาวนาได้ การคิดเช่นนี้ไม่เพียงเป็นสิ่งผิดพลาด แต่ยังทำให้เรามองข้ามโอกาสการสร้างรายได้และการจ้างงานสำหรับพวกเขา และทำให้เราไปจดจ่ออยู่กับชีวิตความเป็นชาวนา ซึ่งอันที่จริงก็ไม่ได้ให้ความหวังมากมายอะไรนัก

ด้วยเหตุดังกล่าว ผมจึงเริ่มต้นแยกแยะระหว่างคนที่จนจริง ๆ ออกจากชาวนา

นิยามความยากจน ไม่ควรเป็นสากล
ในช่วงเวลานั้น ข้าราชการและนักสังคมศาสตร์ไม่สนใจต่อคำถามว่าคนที่ "จน" จริง ๆ นั้นคือใคร พวกเขาเหมาเอาว่า คนอื่นก็คิดเหมือน ๆ กัน แต่นักสังคมศาสตร์แต่ละคนก็อาจเปลี่ยนแปลงภาพการมองความยากจน โดยขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของพวกเขาแต่ละคน. "คนยากจน" อาจหมายถึง "ผู้ชายที่ใส่เสื้อผ้ากะรุ่งกะริ่ง" ในที่หนึ่ง แต่ในอีกที่หนึ่งก็อาจหมายถึง "ผู้ชายที่ใส่เสื้อผ้าสกปรก" จากรายการข้างล่างนี้ ใครบ้างที่เป็นคนจนและใครบ้างที่ไม่ได้เป็น

- คนตกงาน?
- คนไม่รู้หนังสือ?
- คนไร้ที่ดิน?
- คนไร้บ้าน?
- คนที่ไม่สามารถผลิตอาหารได้มากพอเพื่อเลี้ยงครอบครัวของเขาตลอดทั้งปี?
- คนที่มีที่ดินน้อยกว่า 25 เอเคอร์?
- คนที่อยู่ในบ้านหลังคามุงจากและฝนสาด?
- คนที่ประสบปัญหาทุพโภชนาการ?
- คนที่ไม่สามารถส่งลูกไปโรงเรียนได้?
- หาบเร่ แผงลอย?

ความคลุมเครือเช่นนี้บั่นทอนความพยายามในการกำจัดความยากจน การขาดนิยามที่ชัดเจนทำให้สถานการณ์แย่ลง. "คนจน" ประกอบด้วยบุคคลต่าง ๆ มากกว่าชาวนารายย่อยหรือชาวนาชายขอบ และที่สำคัญ นิยามดังกล่าวไม่ครอบคลุมถึงผู้หญิงและเด็ก. ในบังคลาเทศครึ่งหนึ่งของประชากรมีชีวิตความเป็นอยู่ย่ำแย่กว่าชาวนาผู้ยากไร้เสียอีก

ผมพบว่าการใช้นิยามสามแบบสำหรับคนจน (CGAP (Consultative Group to Assist the Poorest) (1) และ Microcredit Summit Campaign Committee (2) ยอมรับการใช้นิยามของคนจนว่า หมายถึง บุคคลที่มีชีวิตต่ำกว่าเส้นแบ่งความยากจน และคนจนที่สุดหมายถึง คนที่อยู่ล่างสุดของบรรดาคนที่อยู่ต่ำกว่าเส้นแบ่งความยากจน) ในบริบทของบังคลาเทศ นิยามเช่นนี้จะมีความครอบคลุมมากกว่า

P1 คนจนสุด/คนจนสัมบูรณ์ หมายถึงประชากรล่างสุด 20%
P2 ประชากรล่างสุด 35%
P3 ประชากรล่างสุด 50%

ในแต่ละประเภทของคนจน จะมีชนชั้นที่แยกย่อยลงไปอีกโดยจำแนกตามภูมิภาค อาชีพ ศาสนา ชาติพันธุ์ เพศ อายุ ฯลฯ การใช้อาชีพหรือภูมิภาคเป็นตัวนิยามคนจนอาจไม่ปลอดภัยเท่าไร เมื่อเทียบกับการจำแนกโดยใช้หลักเกณฑ์รายได้-สินทรัพย์ เมื่อนำการแบ่งชนชั้นเหล่านี้มาผสมกัน เราจะสามารถจัดทำเป็นเมตริกซ์ความยากจนหลายมิติได้

การแบ่งประเภทเช่นนี้อาจแตกต่างไปในประเทศอื่น ซึ่งมีจำนวนคนจนน้อยกว่ามาก. แต่ละประเทศควรมีนิยามความยากจนของตนเอง (การใช้หลักเกณฑ์การครอบครองที่ดิน 25 เอเคอร์อาจทำให้คุณเป็นคนจนถ้าอยู่ในประเทศทะเลทราย แต่กลายเป็นคนรวยเมื่ออยู่ในประเทศที่อุดมสมบูรณ์) และจะเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์หากองค์กรนานาชาติจะจำแนกมาตรฐานความยากจนของแต่ละประเทศเป็นการเฉพาะไป แทนที่จะนำหลักเกณฑ์สากลมาตัดสิน

จุดประสงค์ของการจำแนกคนยากจน และใครที่เป็นคนยากจน เป็นสิ่งจำเป็นไม่ใช่แค่เหตุผลทางทฤษฎีหรือเพื่อการจำแนกแยกแยะให้ชัดเจนเท่านั้น แต่ยังให้ประโยชน์ในเชิงปฏิบัติด้วย ถ้าไม่มีเส้นแบ่งที่ชัดเจนแล้ว คนที่ทำงานด้านนี้และพยายามกำจัดความทุกข์ยากร้ายแรงที่สุด อาจเผลอตัวหลุดจากการทำงานสำหรับคนจนไปทำงานให้กับคนไม่ยากจนโดยไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ. เช่นเดียวกับทุ่นลอยซึ่งอยู่ในทะเลลึกที่ไม่เคยมีคนเข้าถึง. การให้นิยามจะต้องมีความชัดเจนและไม่คลุมเครือ นิยามใดที่ไม่ชัดเจนและไม่แม่นยำเป็นสิ่งเลวร้ายพอ ๆ กับการไม่มีนิยามเอาเลย

สำหรับผู้ที่จัดได้ว่ายากจน ผมเห็นว่าเราควรรวมเอาผู้หญิงซึ่งนวดข้าวในปี 2518 ให้กับโครงการเกษตรสามส่วนเข้าไปด้วย รวมทั้งโซเฟีย เบกุมซึ่งทำเก้าอี้ไม้ไผ่ และไบจูล แม่ค้ารายย่อยซึ่งต้องคอยกู้ยืมเงินที่คิดดอกเบี้ย 10% ต่อเดือนหรือต่ออาทิตย์ด้วยซ้ำ และคนอื่น ๆ ในทำนองเดียวกันซึ่งมีรายได้น้อยมากจากการทำตะกร้า เสื่อกก เสื่อสำหรับใช้นอน และบางครั้งก็ต้องไปขอทาน คนเหล่านี้ไม่มีโอกาสเลยที่จะยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจของตน และไม่สามารถเพิ่มรายได้ของตนเองได้

กฎเกรแชม: คนจนจริง vs คนจนปลอม
ประสบการณ์การทำเกษตรและการฟื้นคืนชีพบ่อน้ำลึกที่จอบรา เป็นบทเรียนสำคัญที่ทำให้ผมสนใจคนจนซึ่งไร้ที่ดิน. ไม่นานหลังจากนั้นผมเริ่มแย้งว่า ถ้าโครงการกำจัดความยากจนใดยอมให้คนที่ไม่จนจริงเข้ามามีส่วนร่วมด้วย ไม่นานคนที่จนอย่างแท้จริงก็จะถูกผลักออกไปจากโครงการโดยคนที่มีฐานะดีกว่า

เช่นเดียวกับกฎเกรแชม (กฎเกรแชมเป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยเงินสองชนิดที่มีมูลค่าเท่ากัน แต่ทำจากเนื้อโลหะแตกต่างกัน เมื่อนำมาใช้หมุนเวียนพร้อมกัน เงินที่มีเนื้อโลหะที่มีค่าต่ำกว่าจะไล่เงินที่มีเนื้อโลหะค่าสูงกว่าออกจากการหมุนเวียน เพราะคนจะเอาเงินที่มีค่าโลหะสูงกว่าไปกักตุนไว้หรือส่งออก พูดอีกอย่างหนึ่ง เงินเลวจะไล่เงินดีออกจากระบบหมุนเวียน). เราควรระลึกไว้ว่าในโลกแห่งการพัฒนา ถ้าเราเอาคนจนกับคนไม่จนมาไว้ในโครงการเดียวกัน คนไม่จนมักจะผลักคนจนออกไปโดยธรรมชาติ คนที่จนน้อยกว่าจะผลักคนที่จนมากกว่าออกไป สิ่งนี้จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่มียุติ จนกว่าจะมีการวางมาตรการป้องกันไว้ตั้งแต่แรก และจนกว่าจะมีมาตรการเช่นนี้ คนที่ไม่จนจะแสวงหาประโยชน์ในนามของคนจนต่อไป

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ คลิกไปอ่านบทความเกี่ยวเนื่องก่อนหน้านี้

เชิงอรรถ

(1) The Consultative Group to Assist the Poor (CGAP), is a consortium of 33 public and private development agencies working together to expand access to financial services for the poor, referred to as microfinance.

CGAP's staff, working from World Bank offices in Washington, DC and Paris, serve donor agencies, microfinance institutions (MFIs), and other microfinance practitioners. To each of these client groups, CGAP provides technical advice, training, research and development, information dissemination, and funding for innovations.

About us
Nearly three billion poor people in developing countries lack access to the basic financial services - such as a small loan or a safe place to save - needed to help them manage their precarious lives.

At the core of microfinance is a fundamental belief that access to financial services empowers the poor by reducing their vulnerability and giving them choices. Whether they save or borrow, evidence around the world shows that when poor people have access to financial services, they choose to invest these savings or loans into building a range of assets that will make them less vulnerable. Such assets can be sending their children to school, buying medicines and more nutritious food, fixing a leaky roof, or building income-earning potential by investing in their own enterprises. In essence, access to financial services enables poor people to build their own way out of poverty.

Who We Are
CGAP is a consortium of 33 public and private funding organizations - bilateral and multilateral development agencies, private foundations, and international financial institutions - working together to expand poor people's access to financial services.

CGAP was established in 1995 by nine leading development agencies and microfinance practitioners to support the development of a sustainable microfinance sector. Today, CGAP serves a global resource center for microfinance, providing advisory services and information to a wide range of stakeholders.

In fiscal year 2007, CGAP undertook a comprehensive evaluation of its work and the impact of its work. We embarked on a far-reaching review of CGAP and the community we serve. The review included an independent evaluation, surveys, focus groups, and virtual conferences. The result was a clear vision of who we are and what roles we are best positioned to serve into the future. CGAP's strategy for 2008 and beyond builds on CGAP's strengths and the opportunities we see in advancing the microfinance industry.

Our Mission
The overarching goal of CGAP is to help build inclusive financial systems that serve the poor, with a particular emphasis on building local, deposit-driven markets. Our strategy focuses on ensuring that those local financial markets are equitable and efficient, and that finance for the poor is fully integrated into mainstream markets.

By equitable, we mean ensuring that the increasing commercial focus of microfinance does not leave poor people behind; that subsidies are equitably allocated; that loan and other service costs, terms, and practices are competitive, ethical, and transparent; and that sound business practices are respected.

By efficient, we mean making financial services more available to poor people by lowering transaction costs through technology, competition, and more effective aid delivery.

Sound and deep market infrastructure, good information, and policies that stimulate access to finance while protecting poor clients are critical to efficient and equitable domestic financial markets.

Who We Serve
CGAP serves three groups of clients - financial service providers, public and private funding organizations, and government policymakers and regulators - that are engaged in building inclusive financial systems. Of course, the poor who use microfinance - and those who don't yet have access to financial services - are the ultimate clients we seek to serve.

What We Do (CGAP...)

- Facilitates consensus on standards
- Offers technical and advisory services
- Funds innovation
- Develops technical tools
- Provides training
- Disseminates best practices

CGAP's unique membership structure and network of worldwide partners make it a potent convening platform for a wide range of stakeholders to reach consensus on standards and norms. As such, CGAP is a resource center for the entire microfinance industry, where we incubate and support new ideas, innovative products, cutting-edge technology, novel mechanisms for delivering financial services, and concrete solutions to the challenges of expanding microfinance.
(http://www.cgap.org/portal/site/cgap/)

(2) Microcredit Summit Campaign: http://www.microcreditsummit.org/enews/


++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๕๑ : Release date 23 March 2008 : Copyleft by MNU.
ทุกวันผมต้องขับรถผ่านหมู่บ้านจอบราซึ่งตั้งอยู่บนถนนหลวงเส้นที่ไปมหาวิทยาลัย ระหว่างทางผมเห็นทุ่งนาทิ้งร้าง ผมถาม ศ.ละติฟี ถึงเหตุผลที่ชาวนาไม่ทำนาในช่วงฤดูหนาว ซึ่งเธอก็บอกข้อมูลบางส่วนในฐานะที่รู้จักหมู่บ้านแห่งนี้ดี ผมเสนอว่าเราสองคนควรไปที่หมู่บ้านและคุยกับชาวบ้าน เราได้ลองเดินทางไปและพบคำตอบในเวลาไม่นาน. พวกเขาไม่มีน้ำทำนา ผมคิดว่าเราควรทำอะไรบางอย่าง เป็นเรื่องน่าอับอายที่ปล่อยให้ที่ดินรอบมหาวิทยาลัยถูกทิ้งร้าง หากมหา วิทยาลัยเป็นตักศิลาแห่งความรู้ในโลก ความรู้เหล่านี้ก็ควรแผ่ซ่านไปยังท้องถิ่นด้วย เพื่อแสดงให้เห็นว่ามันเป็นความรู้ที่มีประโยชน์แท้จริง มหาวิทยาลัยไม่ควรทำตัวเป็นหอคอยงาช้าง ซึ่งช่วยให้นักวิชา การมีระดับความรู้สูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ไม่มีการแบ่งปันความรู้เหล่านี้เลย
H