1
2
3
4
5
6
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
22-03-2551 (1515)
เบื้องลึก เบื้องหลัง
พอล วูลโฟวิตซ อดีตประธานธนาคารโลก
Paul
Wolfowitz: อดีตประธานธนาคารโลก และชนวนเหตุสงครามอิรัก
กรรณิการ์
กิจติเวชกุล : เรียบเรียง
นักวิชาการอิสระ
ประเด็นโลกาภิวัตน์จากฐานล่าง (Globalization from below)
เชิงอรรถเพิ่มเติม โดยกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความเรียบเรียงต่อไปนี้
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
นำมาจาก Localtalk เรื่อง "เบื้องลึก เบื้องหลัง บรรดา'เหยี่ยว'ในธนาคารโลก"
กรรณิการ์ กิจติเวชกุล เรียบเรียงจาก Paul Wolfowitz: World Bank President
ความย่อ: ตลอด ๕๐ ปีหลังสงครามโลกครั้งที่
๒ ชื่อเสียงของธนาคารโลก
ที่จริงก็ไม่ได้ดีโดดเด่นนัก จนสามารถเรียกได้ว่า ไม่วันใดก็วันหนึ่ง ความชั่วร้ายต่างๆ
จะต้องปรากฏออกมาอย่างโจ่งแจ้ง ในเวลาที่องค์กรโลกบาลนี้หมดความชอบธรรม
แม้การปรับตัวของธนาคารโลกในช่วงทศวรรษหลังๆ มา จะให้ความสนใจกับกลไก
ภาคประชาสังคมมากขึ้น แต่ดูเหมือนความพยายามเหล่านั้นก็เป็นเพียงอาภรณ์ที่ห่มคลุม
สุนัขจิ้งจอก ที่จะอย่างไรเสีย สัญชาตญาณที่จะเขมือบลูกแกะก็ยังคงมีอยู่อย่างเต็มเปี่ยม
มาจนกระทั่งคราวที่ต้องเปลี่ยนผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งประธานธนาคารโลกคนใหม่
(เมื่อหลายปีก่อน) ประธานาธิบดีสหรัฐ จอร์จ ดับเบิลยู บุช ได้ตัดสินใจเสนอชื่อบุรุษหนึ่ง
ซึ่งได้รับสมญาว่า 'สายเหยี่ยว' ซึ่งก็เป็นเวลาที่มหาอำนาจทั้งหลายคงได้ประเมินแล้วว่า
อาภรณ์สวยงามที่ว่า อาจไม่จำเป็นอีกต่อไป... บทความนี้ เป็นการเปลือยให้เห็นถึงอดีต
ประธานธนาคารโลกผู้อื้อฉาว พอล วูลโฟวิตซ์ ผู้เป็นหนึ่งในชนวนเหตุแห่งสงคราม
รุกรานอิรักของสหรัฐฯ นับจากก่อนเข้าดำรงตำแหน่งองค์กรโลกบาล โดยเต็มไปด้วยเสียงคัดค้าน
midnightuniv(at)gmail.com
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ ๑๕๑๕
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๒๒ มีนาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
๑๖.๕ หน้ากระดาษ A4)
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เบื้องลึก เบื้องหลัง
พอล วูลโฟวิตซ อดีตประธานธนาคารโลก
Paul
Wolfowitz: อดีตประธานธนาคารโลก และชนวนเหตุสงครามอิรัก
กรรณิการ์
กิจติเวชกุล : เรียบเรียง
นักวิชาการอิสระ
ประเด็นโลกาภิวัตน์จากฐานล่าง (Globalization from below)
เชิงอรรถเพิ่มเติม โดยกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
"หากเราต้องการบรรลุวิสัยทัศน์แห่งอนาคตที่ทุกคนใฝ่ฝันถึง ไม่เพียงแต่ในอเมริกา หากแต่ทั่วทั้งโลก ยังมีเรื่องต้องทำอีกมาก และการลดความยากจนจะต้องเป็นหนึ่งเป้าหมายสูงสุด ผมคุ้นเคยกับประเด็นต่างๆ ที่ธนาคารโลกเผชิญ และผมจะโง่มากหากใช้ทัศนะเคร่งคัมภีร์กับประเด็นเหล่านั้น"
"เอเชียตะวันออก ละตินอเมริกา และตะวันออกกลางมีการพัฒนาคืบหน้าไปแล้ว แต่แอฟริกายังคงล้าหลัง ดังนั้นจึงจะเป็นความสำคัญอันดับแรกของธนาคารโลก ผมเชื่อมั่นในพันธกิจแห่งการพัฒนา(Mission of Development) ผมพร้อมแล้วที่จะรับฟังและเตรียมตัวอย่างดีที่จะเป็นข้าราชการระดับโลก"
พอล วูลโฟวิตซ์ (ขณะเป็นว่าที่ประธานธนาคารโลก)
ฟังแล้วก็ปลื้ม ราวกับว่า โลกของเรากำลังจะได้ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรโลกบาลที่ดีที่สุดคนหนึ่งทีเดียว แต่น่าแปลกที่ความรู้สึกของคนกว่าค่อนโลก กลับกระอักกระอ่วน ทันทีที่ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ปฏิบัติการ Shock and Awe ด้วยการเสนอชื่อ พอล วูลโฟวิตซ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ให้ดำรงตำแหน่งประธานธนาคารโลกคนใหม่. แม้แต่ 92 เปอร์เซ็นต์ ของเจ้าหน้าที่เวิล์ดแบงก์ก็มีความคิดเห็นในเชิงลบกับกับการดำรงตำแหน่งประธาน ของเจ้าพ่อนีโอคอนสายเหยี่ยวคนนี้
ศึกแย่งชิงความเป็นใหญ่ในเวิร์ลด์แบงก์
ขณะที่ความท้าทายใหญ่ๆ กำลังรอการเข้ามาแก้ปัญหาจากธนาคารโลก หนึ่งในองค์กรโลกบาลหลังสงครามโลกครั้งที่
2 ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูประเทศต่างๆ ที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับสงคราม
ความขัดแย้ง และภัยธรรมชาติต่างๆ อย่างเช่น
- ประชากรโลก 2,700 ล้านคนมี รายได้ต่ำกว่าวันละ 2 เหรียญสหรัฐ
- 24 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรโลก ตกอยู่ในภาวะทุพภิกขภัย
- 1,000 ล้านคน ขาดน้ำสะอาด
- เด็กในประเทศกำลังพัฒนาตายปีละ 10 ล้านคน
- ในพื้นที่ทางใต้ทะเลทรายซาฮาร่า (พื้นที่ที่ยากจนที่สุดในโลก) ผู้หญิง 1 ใน 16 คน เสียชีวิตจากการตั้งครรภ์และการคลอดบุตร ฯลฯ
และนี่...คือเหตุผลของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ในการเสนอชื่อ พอล วูลโฟวิตซ์ หัวขบวนนีโอคอน (*) ดำรงตำแหน่งประธานธนาคารโลก
(*)Neoconservatism is
a political philosophy that emerged in the United States from the rejection
of social liberalism and the New Left counterculture of the 1960s. It influenced
the Ronald Reagan, George H. W. Bush, and the George W. Bush presidential
administrations, representing a realignment in American politics, and the
defection of a certain segment of liberals to the right side of the political
spectrum. Neoconservatism emphasizes foreign policy as paramount responsibility
of government, seeing the need for the U.S. acting as the world's sole superpower
as indispensable to establishing and maintaining global order.
As a term, neoconservative first was used derisively by democratic socialist
Michael Harrington to identify a group of people (who described themselves
as liberals) as newly stimulated conservative ex-liberals. The idea that liberalism
"no longer knew what it was talking about" is neoconservatism's
central theme.
The development of this conservatism is based on the work and thought of Irving Kristol, co-founder of Encounter magazine, and of its editor (1953-58),[4] Norman Podhoretz,[5] and others who described themselves as "neoconservatives" during the Cold War.
Prominent neoconservatives are associated with periodicals such as Commentary and The Weekly Standard, and with foreign policy initiatives of think tanks such as the American Enterprise Institute (AEI), the Project for the New American Century (PNAC), The Heritage Foundation, Cato Institute, and the Jewish Institute for National Security Affairs (JINSA).
"ขอบคุณผู้นำประเทศต่างๆ ที่รับโทรศัพท์ของผมเพื่อฟังคำอธิบายว่า ทำไมผมถึงคิดว่า พอล จะเป็นประธานธนาคารโลกที่เข้มแข็ง เขาเป็นคนที่ประสบการณ์ดีมาก ช่วยบริหารจัดการองค์กรใหญ่ ธนาคารโลกเป็นองค์กรขนาดใหญ่, เพนตากอน (อาคารของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ) ก็เป็นองค์กรขนาดใหญ่ เขามีทักษะนักการฑูต และยังมุ่งมั่นเพื่อการพัฒนา"
"ถ้าเขาได้รับการแต่งตั้ง วูฟโฟวิตซ์จะนำธนาคารโลกสร้างสถิติใหม่ที่น่าประทับในการบริการสาธารณะ ด้วยประสบการณ์การบริหารจัดการ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในเอเชียและตะวันออกกลาง"
หนังสือพิมพ์ เดอะ การ์เดียน วิเคราะห์เหตุผลที่ทำเนียบขาวส่งพ่อเหยี่ยวมาคุมธนาคารโลกว่า เป็นเพราะต้องการให้องค์กรนี้สนับสนุนนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ซึ่งที่ผ่านมา จอห์น วูลเฟนสัน ไม่ค่อยตอบสนองเท่าที่ควร โดยเฉพาะกรณีของอิรักที่ยังไม่ยอมปล่อยกู้มากพอ. ครั้นจะส่งนักเศรษฐศาสตร์ไปทำหน้าที่นี้ แวดวงรัฐบาลบุชก็มีความอ่อนด้อยในประเด็นดังกล่าวอยู่มาก การส่งวูลโฟวิตซ์ อย่างน้อยก็ยังสามารถใช้เครดิตจากที่เคยเป็นคณบดีด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และฑูตอินโดนีเซียได้ และเพื่อเป็นการตอบแทนวูลโฟวิตซ์ที่ไม่สามารถให้ตำแหน่งในรัฐบาลที่สูงกว่านี้ได้ เนื่องจากอาจถูกปัดตกในรัฐสภา
ในที่สุด คณะกรรมการบริหาร 24 คน ลงมติเป็นเอกฉันท์เลือก เจ้าพ่อสายเหยี่ยวคนนี้ ดำรงตำแหน่งประธานธนาคารโลก เรียกว่าไม่เกินความคาดหมาย เพราะก่อนหน้าการลงคะแนน บรรดาประเทศผู้ถือหุ้นใหญ่ได้ตกลงกันล่วงหน้าไว้แล้ว แม้ว่าอาจจะเคยมีเสียงแสดงความวิตกกังวลจากประเทศยุโรปเก่า ที่ส่วนใหญ่ค้านสงครามอิรัก จนทำให้ต้องขอสัมภาษณ์วูลโฟวิตซ์ก่อนลงคะแนน แต่ในที่สุด...ก็ไม่มีชาติยุโรปประเทศไหนพูดจาคัดค้านแม้สักแอะเดียว
แหล่งข่าวในวงการฑูตอธิบายว่า
เหตุที่มีการเก็บงำความไม่พอใจนี้ไว้ เพราะยุโรปกำลังเสนอชื่อคนของตนเข้าเป็นผู้นำองค์การระดับโลกแห่งอื่นๆ
ตามธรรมเนียมปฏิบัติที่ประธานธนาคารโลกจะเป็นคนของสหรัฐฯ ขณะที่ประธานกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
หรือ ไอเอ็มเอฟ เป็นคนของสหภาพยุโรป แล้วยุโรปก็ยังหมายตาเพิ่มในตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การการค้าโลกอีกด้วย.
ชาติยุโรปยังกลัวว่า หากทำตัวเป็น 'ตาอินยุโรป' ทะเลาะกับ 'ตานาอเมริกัน' จะเปิดโอกาสให้ประเทศโลกที่
3 สวมบท 'ตาอยู่' เสนอคนของตนขึ้นมาดำรงตำแหน่งในฐานะลูกหนี้รายใหญ่ซึ่งควรมีสิทธิมีเสียงบ้าง
น่าคลื่นไส้จริงๆ เมื่อเจอเหตุผลเช่นนี้ ในขณะที่โครงสร้างของสหประชาชาติพยายามที่จะกระจายความเป็นธรรมให้แก่รัฐต่างๆ
อย่างเท่าเทียมมากขึ้น} แต่ 2 สถาบันการเงินระหว่างประเทศระดับหัวขบวน ยังหลงยุคหลังสงครามโลกครั้งที่
2. (คำถามคือ)แล้วญี่ปุ่นในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 2 ของเวิลด์แบงก์มีทีท่าเช่นไร?
บทบาทของญี่ปุ่นในองค์กรระหว่างประเทศ ส่วนใหญ่แล้วค่อนข้างเชื่องๆ และยิ่งเป็นความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ
แล้ว ญี่ปุ่นยิ่งไม่กล้าทำอะไร เนื่องจากต้องอาศัยอำนาจของสหรัฐในการคุ้มครองความปลอดภัย
ทั้งจากกรณี จีน/ไต้หวัน และคาบสมุทรเกาหลี นอกจากนี้ยังต้องพึ่งตลาดสหรัฐฯ ในการพยุงเศรษฐกิจของตัวเองด้วย
พอล วูลโฟวิตซ์ ในสงครามอิรัก
หลังสงครามเวียดนาม ประธานาธิบดีลินดอน บี. จอห์นสัน ได้ส่ง โรเบิร์ต แมคนามารา
รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมในขณะนั้นไปดำรงตำแหน่งประธานธนาคารโลก (2511-2524) หลังมีประสบการณ์เชี่ยวกรำในหลายตำแหน่งที่ก้าวผ่านรอยเลือดและคราบน้ำตาของคนจำนวนมาก.
ในปี 2538 แมคนามารา ซึ่งถูกจัดให้อยู่ในสายพิราบ รู้สึกผิด สำนึกผิด และเขียนถ่ายทอดความรู้สึกผิดบาปนั้นในหนังสือ
In Retrospect แต่กรณีนี้คงเกิดขึ้นยากกับ พอล วูลโฟวิตซ์ที่จะสำนึกได้แบบเดียวกันกับสิ่งที่เขาก่อในสงครามอิรัก
วูลโฟวิตซ์ เป็นเจ้าความคิดในการก่อสงครามอิรัก เขาเสนอให้โค่นซัดดัม ฮุสเซน ทันทีที่เกิดเหตุวินาศกรรม 11 กันยายน 2001 แต่ถูกปัดตกไปในการประชุมที่แคมป์เดวิดในสัปดาห์ถัดมา แต่ความคิดนี้ยังคงอยู่...และครอบงำความคิดอื่นๆ ในเวลาต่อมา. เขายังเป็นผู้นำความคิดในรัฐบาลบุชที่ว่า ต้องดำเนินนโยบายต่างประเทศในการสร้าง 'ประชาธิปไตย' ในตะวันออกกลาง การก่อสงครามเป็นเรื่องที่จำเป็น และอิรักจึงถูกเลือกให้เป็นฐานปฏิบัติการแห่งแรก
weapon of mass destruction
(WMD) และหลักฐานเท็จ
หากจะพูดให้ถูกต้องที่สุด วูลโฟวิตซ์ต้องการโค่น ซัดดัม ฮุสเซน ตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุการณ์
9/11 คือตั้งแต่เดือนแรกของรัฐบาลบุชสมัยแรก โดยเสนอให้ส่งกองทัพสหรัฐฯ เข้าไปยึดบ่อน้ำมัน
และตั้งฐานทัพถาวรที่นั่น ซึ่งคอลลิน โพเวลล์ รัฐมนตรีต่างประเทศในขณะนั้น ตอบกลับไปว่า
"เป็นความคิดที่บ้าที่สุด". เมื่อเกิดเหตุการณ์ 9/11 วูลโฟวิตซ์ปัดฝุ่นความคิดนี้ขึ้นมาอีกครั้ง
โดยให้เหตุผลว่า อิรักบุกง่ายกว่าอัฟกานิสถาน แล้วก็วูลโฟวิตซ์นี่แหละ ที่เป็นตัวการสำคัญในการกุเรื่อง
ซัดดัมสะสมอาวุธทำลายร้ายแรง (WMD) (*)ในการกล่าวปาฐกถาที่ The Council of Foreign
Relation หรือ CFR สถาบันที่เป็นแกนกลางของทุนโลกาภิวัตน์ วูลโฟวิตซ์ระบุว่า
น่าเชื่ออย่างยิ่งว่า, ซัดดัม ฮุสเซน สะสมอาวุธทำลายร้ายแรง (WMD) เพื่อก่อสงคราม
(*)A weapon of mass destruction
(WMD) is a weapon which can kill large numbers of humans and/or cause great
damage to man-made structures (e.g. buildings), natural structures (e.g. mountains)
or the biosphere in general. The term covers several weapon types, including
nuclear, biological, chemical (NBC) and, increasingly, radiological weapons.
There is controversy over when the term was first used, either in 1937 (in
reference to the aerial bombardment of Guernica, Spain) or in 1945 (with reference
to nuclear weapons). Following the atomic bombings of Hiroshima and Nagasaki,
and progressing through the Cold War, the term came to refer more to non-conventional
weapons. The phrase entered widespread usage in relation to the U.S.-led 2003
invasion of Iraq. Terms used in a military context include atomic, biological,
and chemical warfare (ABC warfare), nuclear, biological, and chemical (NBC)
after the invention of the hydrogen bomb, and chemical, biological, radiological,
and nuclear (CBRN), recognizing the threat of subcritical radiological weapons.
แต่หลังจากสงครามอิรักเริ่มต้นขึ้น ข้อกล่าวหาเรื่องการสะสมอาวุธทำลายร้ายแรง
(WMD) กลายเป็นการแหกตาระดับโลก วูลโฟวิตซ์จึงออกมาบอกต่อชาวโลกด้วยท่าทีใหม่ว่า
ข้ออ้างเรื่องการสะสมอาวุธทำลายร้ายแรงนั้นสะดวกดี "สำหรับเหตุผลทางราชการ
เราตั้งประเด็นหนึ่งขึ้นมา ซึ่งในที่นี้คือ "การสะสมอาวุธทำลายร้ายแรง"
มันเป็นข้ออ้างที่ทุกคนสามารถเห็นร่วมกันได้" วูลโฟวิตซ์ได้อธิบายรัฐสภาสหรัฐว่า
"งานข่าวกรองเป็นศิลปะ ไม่ใช่วิทยาศาสตร์" ฉะนั้น เมื่อหาอาวุธทำลายร้ายแรง
(WMD) ไม่ได้ก็ไม่ได้หมายความว่า ใครแหกตาใคร
เรื่องยังไม่จบแค่นั้น ยังมีกรณีเข้าข่ายพยายามสร้างหลักฐานเท็จ. เมื่อจะเริ่มสงครามอิรัก วูลโฟวิตซ์และพลพรรคสายเหยี่ยวพยายามทำให้ทุกคนเชื่อว่า ซัดดัม ฮุสเซน มีสัมพันธ์แนบแน่นกับกลุ่มอัลกออิดะห์ เขากดดันให้ซีไอเอ และเอฟบีไอ หาหลักฐานมายืนยันรายงานที่ไม่มีใครกล้ารับรองว่า โมฮัมหมัด อัตตา ผู้ก่อวินาศกรรม 9/11 เคยนัดพบกับหน่วยข่าวกรองของอิรักที่กรุงปราก
เมื่อถูกถามถึงค่าใช้จ่ายในสงคราม วูลโฟวิตซ์เสนอให้นำเงินจากการขายน้ำมันของอิรักมาชดเชย นายพลทอมมี แฟรงค์ส ซึ่งรับหน้าที่บัญชาการบุกอิรักระบุว่า ทั้งวูลโฟวิตซ์และรัมส์เฟลด์ไม่เคยสนใจที่จะเตรียมแผนรองรับด้านต่างๆ หลังสงครามเลย. รายจ่ายที่เกิดจากผลงานสายเหยี่ยว ทหารอเมริกันกว่า 1,500 นายเอาชีวิตไปทิ้งต่างบ้าน(ปัจจุบันทหารอเมริกันเสียชีวิตกว่า 4,000 นาย / พ.ศ.2551) ชาวอิรักทั้งผู้ใหญ่ เด็ก คนแก่ ผู้หญิงนับแสนตาย จากสงครามที่อ้างว่าเพื่อการปลดปล่อย. ภาษีคนอเมริกัน 2 แสนล้านถูกใช้เพื่อก่อสงคราม สหรัฐฯ เสียพื้นที่และความเคารพในเวทีโลก และยังกระตุ้นกลุ่มผู้ก่อการร้ายต่อต้านอเมริกันใหม่ๆ ขึ้นมา
แล้วตำแหน่งประธานเวิลด์แบงก์ก็เป็นการสมนาคุณปลอบขวัญ สุภาษิตใหม่สำหรับเหตุการณ์นี้คือ "คุณก่อสงคราม คุณก็ได้ไปคุมเวิลด์แบงก์"
ความรุนแรงเหนือความรุนแรง
ฝ่ายที่คัดค้านการที่พอล วูลโฟวิตซ์ กุมบังเหียนเวิลด์แบงก์ให้เหตุผลว่า ธนาคารโลกเป็นผู้ให้กู้รายใหญ่ที่สุด
และเป็นแหล่งเงินสำคัญในความช่วยเหลือด้านเทคนิคและความช่วยเหลือด้านอื่นๆ แก่ประเทศกำลังพัฒนาในโครงการต่างๆ
รวมทั้งการต่อสู้กับโรคเอดส์ แต่พอล วูลโฟวิตซ์ ผู้ยึดถือแนวคิดสายนีโอคอนจะต้องพยายามบงการให้นโยบายเศรษฐกิจนำความมีน้ำใจขององค์กรโลกบาลแห่งนี้
และจะใช้ธนาคารโลกในการสนับสนุนนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯ ที่นิยมความรุนแรงเหนือความรุนแรง
"ผมคงจะกังวลน้อยกว่านี้ ถ้าพวกเขาคิดว่า ความเป็นเจ้าโลกของอเมริกันสามารถนำเดี่ยวได้ โดยไม่ต้องอาศัยองค์กรโลกบาลต่างๆ" เซอร์ ริชาร์ด จอลลี อดีตเลขาธิการยูนิเซฟ กล่าวด้วยอาการถอนลมหายใจ. จากคำประกาศของธนาคารโลกเองระบุว่า ธนาคารโลกจะช่วยรัฐบาลในประเทศกำลังพัฒนาลดความยากจน ด้วยการให้เงินรวมถึงความช่วยเหลือด้านเทคนิคในโครงการต่างๆ เช่น การสร้างโรงเรียน ถนน บ่อน้ำ และปฏิรูปการบริการของภาครัฐ ซึ่งคำว่า 'ปฏิรูปการบริการของภาครัฐ'นี่แหละ ที่อาจถูกจับมาเล่นแร่แปรธาตุ ยิ่งไปกว่าที่ เจมส์ วูลเฟนสัน ประธานคนปัจจุบันทำอยู่แล้ว
นีล วัตกิน ผู้ประสานงานเครือข่ายจูบิลี ยูเอสเอ (*) กล่าวว่า "บทบาทของวูลโฟวิตซ์ในการผลักดันการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจในอิรักชี้ว่า เขาจะผลักดันธนาคารโลกให้เน้นยิ่งกว่าเน้นใน "นโยบายปรับปรุงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เช่น บังคับให้แปรรูปกิจการของรัฐไปเป็นของธุรกิจเอกชน เปิดเสรีการค้า ซึ่งนโยบายเหล่านี้ล้มเหลวในการสร้างการเจริญเติบโตของประเทศต่างๆ แต่กลับซ้ำเติมปัญหาความยากจนไปทั่วโลก"
(*)Jubilee USA Network is an alliance of churches, diverse faith communities, and labor, environmental, solidarity, and community organizations. They aim to build a grassroots movement to achieve the complete cancellation of debt owed by countries with high levels of human need, the cancellation of odious debt, and an end to the imposition of economic policies as a condition for debt relief. Jubilee USA promotes its mission through public education, grassroots organizing, media outreach, policy analysis and advocacy.
ด้านฝ่ายสนับสนุนยืนยันว่า พอล วูลโฟวิตซ์ มีความสามารถในการบริหารจัดการเยี่ยม มีความสนใจอย่างยิ่งยวดที่จะขจัดคอรัปชั่นในประเทศยากจน และต้องการเผยแพร่ประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ. จากประวัติ เขาเป็นบัณฑิตมหาวิทยาลัยคอร์แนล ดุษฎีบัณฑิตรัฐศาสตร์และเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยชิคาโก และคณบดีโครงการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ณ มหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮอพกินส์ เขาเคยทำงานกระทรวงต่างประเทศสมัยประธานาธิบดีเรแกน ดำรงตำแหน่งฑูตสหรัฐฯ ประจำอินโดนีเซียในสมัยรัฐบาลซูฮาร์โต, แล้วย้ายไปเป็นปลัดกระทรวงกลาโหมด้านนโยบาย สมัยประธานาธิบดีบุชผู้พ่อ. เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมในรัฐบาลบุชผู้ลูก เมื่อเดือนมีนาคม 2544
ฝ่ายหนุนสายนีโอคอนยังเสริมว่า บทบาทของธนาคารโลกก็ไม่ได้ต่างอะไรกับแนวคิดของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ที่ยึดแนวคิดของนีโอคอน นั่นคือ บูชาตลาดเสรี สนับสนุนให้มีการเลือกตั้ง ลดบทบาทของรัฐ ต่างบ้างนิดหน่อยก็แค่ความเป็นนักการฑูตกว่าก็เท่านั้น
สตีเฟน สเตสตาโนวิค อดีตผู้ช่วยวูลโฟวิตซ์ สมาชิกอาวุโสของ The Council of Foreign Relation หรือ CFR (*) กล่าวกับนิวยอร์ก ไทมส์ว่า "สิ่งที่คนกังวลเกี่ยวกับธนาคารโลก มันเลี้ยงดูแค่ชนชั้นนำที่ทุจริตในประเทศที่ล้าหลัง รัฐบาลของบุชกำลังจะเปลี่ยนสิ่งเหล่านี้ โดยเน้นที่การปกครองให้เป็นประชาธิปไตยเท่านั้น" คำถามที่ดังขึ้นมาทันทีก็คือ จากประสบการณ์ที่อิรักได้รับ การทำให้ประเทศหนึ่งเป็นประชาธิปไตยอาจหมายถึงการก่อสงครามเพื่อให้เกิดการเลือกตั้ง ได้ใช่หรือไม่???
(*)The Council on Foreign
Relations (CFR) is an independent, and nonpartisan foreign policy membership
organization founded in 1921, and based in New York City, with an additional
office in Washington, D.C. Through its membership, meetings, and studies,
it has been called the most powerful agent of United States foreign policy
outside the State Department. It publishes the bi-monthly journal Foreign
Affairs. It has an extensive website, featuring links to its think tank, The
David Rockefeller Studies Program, other programs and projects, publications,
history, biographies of notable directors and other board members, corporate
members, and press releases.
The Council's mission is promoting understanding of foreign policy and America's
role in the world. Meetings are convened at which government officials, global
leaders and prominent members debate major foreign-policy issues. It has a
think tank that employs prominent scholars in international affairs and it
commissions subsequent books and reports. A central aim of the Council, it
states, is to "find and nurture the next generation of foreign policy
leaders."
ยุทธศาสตร์ของฝ่ายขวาใหม่
นีโอคอน (Neo-Conservative) หรืออนุรักษ์นิยมใหม่คืออะไร?
เอกสารที่อธิบายความเป็นไปเป็นมาและแนวคิดของคนกลุ่มนี้ได้ชัดเจนมากที่สุดชิ้นหนึ่งคือ
'นีโอคอนส์ การเมืองอเมริกันหลังสมัยใหม่' ของ ดร.เกษียร เตชะพีระ ซึ่งขอสรุปบางส่วนมา
ณ ที่นี้
คำนิยามที่ อลัน เอ็ม. วอลด์ ศาสตราจารย์ด้านวัฒนธรรมอเมริกันแห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกน ณ แอนน์ อาเบอร์ให้ไว้ คือคำว่า 'พวกอนุรักษ์นิยมใหม่' นี้ โดยแก่นแท้แล้วหมายถึงพวกเสรีนิยมที่เพิ่งเปลี่ยนลัทธิความเชื่อเป็นอนุรักษ์นิยมได้ไม่นาน. ความคิดอนุรักษ์นิยมของพวกอนุรักษ์นิยมใหม่จึงเป็นแบบเสรีนิยม, หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งลัทธิอนุรักษ์นิยมใหม่เป็นอนุรักษ์นิยมเสรี (liberal conservatism) นั่นเอง
คนอย่าง พอล วูลโฟวิตซ์ และพรรคพวก อาทิ ริชาร์ด เพิร์ล, วิลเลียม คริสทอล, จอห์น โพดเฮิร์ตซ์, แดเนียล ไปป์ส ฯลฯ ที่กุมตำแหน่งการเมืองและที่มั่นวัฒนธรรมสำคัญในอเมริกาขณะนี้ ล้วนเป็นนีโอคอนส์รุ่นลูกหรือ 'เหยี่ยว (ค่อนข้าง) หนุ่ม' (relatively young hawks) ส่วนใหญ่เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และไม่มีประวัติเอียงซ้าย พวกเขาจึงเดินจากทางขวาไปหานีโอคอนส์โดยตรง
จอร์จ ดับเบิลยู บุช ถือว่ามีความสามารถพิเศษในการเกลี้ยกล่อม หว่านล้อม รวบรวม เชื่อมผสานระหว่างพวกขวาเก่า (พาเลโอคอนส์) (*) กับขวาใหม่ (นีโอคอนส์) ได้อย่างดี ทั้งที่มีอุดมการณ์และแนวคิดที่ต่างกันอย่างมากจนกลายเป็นจุดโดดเด่นของรัฐบาล
(*)Paleoconservatism
(sometimes shortened to paleo or paleocon when the context is clear) is a
term for an anti-communist, anti-Zionist and anti-authoritarian right wing
movement based in the United States, Germany and the Palestinian Authority
that stresses tradition, civil society and classical federalism, along with
familial, religious, regional, national and Western identity. Chilton Williamson,
Jr. describes paleoconservatism as "the expression of rootedness: a sense
of place and of history, a sense of self derived from forebears, kin, and
culture - an identity that is both collective and personal." Paleoconservativism
is not expressed as an ideology and its adherents do not necessarily subscribe
to any one party line.
Paleoconservatives in the 21st century often focus on their points of disagreement
with neoconservatives, especially on issues like immigration, affirmative
action, Israel's right to exist, foreign wars, and welfare. They also criticize
social democracy, which some refer to as the therapeutic managerial state,
the welfare-warfare state or polite totalitarianism. They see themselves as
the legitimate heir to the American conservative tradition.
บุช แถลงยุทธศาสตร์โลกของจักรวรรดิอเมริกาอย่างรวมศูนย์ครั้งสำคัญเมื่อวันที่
17 กันยายน 2545 ที่ทำเนียบขาว ภายใต้ชื่อเรื่องว่า 'The National Security Strategy
of the United States of America' (*) เนื้อหาหลักคือ
(*) http://www.whitehouse.gov/nsc/nss.html
1. อเมริกาต้องธำรงรักษาฐานะครองโลกที่ได้มาหลังสงครามเย็นเอาไว้ กล่าวคือรัฐบาลอเมริกันต้องพร้อมรับผิดชอบเป็นตำรวจโลก กองทัพอเมริกันต้องเข้มแข็งพร้อมรบกับศัตรูในปัจจุบัน และว่าที่ศัตรูในอนาคต และนโยบายต่างประเทศอเมริกันต้องส่งเสริมหลักการแบบอเมริกันในต่างแดนทั่วโลก
2. เพื่อการนี้ อเมริกาต้องพร้อมใช้กำลังทหารไร้เทียมทานของตนเป็นเครื่องมือทุกที่ทุกเวลาที่จำเป็น3. โดยดำเนินสงครามตัดไฟแต่ต้นลม และเชือดไก่ให้ลิงดูต่อประเทศเป้าหมายที่ถูกมองว่า อาจเป็นภัยคุกคาม หรือแม้เพียงทำท่าว่าอาจจะเติบกล้าขึ้นมาท้าทายอำนาจครองโลกของอเมริกาได้ในอนาคต
ที่น่าสนใจยิ่งคือ ทั้งวัตถุประสงค์ เนื้อหา และการใช้ภาษาของคำแถลงของประธานาธิบดีบุชครั้งนั้น แทบจะเป็นพิมพ์เดียวกับรายงานวิจัยเชิงยุทธศาสตร์ในโครงการเพื่อศตวรรษใหม่ของอเมริกา (Project for the New American Century) (*) ที่เผยแพร่เมื่อปี 2543 โดยมีวิลเลียม คริสทอล เป็นประธาน และผู้ร่างรายงานชิ้นดังกล่าว. 6 คนจาก 26 คน กุมตำแหน่งสำคัญด้านความมั่นคงและการต่างประเทศในรัฐบาลบุชสมัยแรก ได้แก่ พอล วูลโฟวิตซ์, จอห์น บอลตัน (ปัจจุบันถูกเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งทูตสหรัฐประจำสหประชาชาติ), อีเลียต โคเฮน, ไอ. เลวิส ลิบบี, ดอฟ ซาไคม์ และ สตีเฟน แคมโบน
(*)The Project for the
New American Century (PNAC) is an American neoconservative think tank based
in Washington, D.C., co-founded as "a non-profit educational organization"
by William Kristol and Robert Kagan in early 1997. The PNAC's stated goal
is "to promote American global leadership." Fundamental to the PNAC
are the views that "American leadership is both good for America and
good for the world" and support for "a Reaganite policy of military
strength and moral clarity." It has exerted strong influence on high-level
U.S. government officials in the administration of U.S President George W.
Bush and strongly affected the George Bush administration's development of
military and foreign policies, especially involving national security and
the Iraq War.
อเล็กซานเดอร์ บลูม อาจารย์ประวัติศาสตร์แห่งวิทยาลัยวีตัน ในมลรัฐแมสซาชูเซตซ์
ได้ชี้แนวคิดที่ต่อเนื่องของนีโอคอนส์รุ่นพ่อจากสมัยสงครามเย็น ได้แก่
- คัดค้านสิทธิพิเศษแก่ชนกลุ่มน้อย เช่น ระบบโควตาที่กันที่เรียนและตำแหน่งงานจำนวนหนึ่งไว้ให้ชนกลุ่มน้อยด้อยโอกาส เป็นต้น
- ต่อต้านความเสมอภาค เชื่อว่าคนเรามีพรสวรรค์และความสามารถแตกต่างกัน รายได้และอำนาจจึงไม่ควรจะเท่ากัน, ฉะนั้นไม่พึงแสวงหาความเสมอภาค, การยึดมั่นถือมั่นความเสมอภาคอย่างไม่เหมาะสม จะนำไปสู่ลัทธิเฉลี่ยแบบประชานิยม และอาการริษยาชิงชังสิทธิอำนาจของบุคคลชั้นนำที่เก่งกว่าเหนือกว่า- เกลียดม็อบ ขบวนการมวลชนแบบประชานิยมที่ต่อต้านอำนาจบุคคลชั้นนำ เนื้อแท้แล้วเป็นพลังอนุรักษ์นิยมที่ขัดขวางการปฏิรูปและอาจเอียงขวาตกขอบได้
- ถวายปัญญาแก่อำนาจ ปัญญาชนมีบทบาทสำคัญเป็นอุตสาหกรรมผลิตความรู้แก่สังคม พวกเขาพึงทำหน้าที่เป็นคลังสมองถาวรของอำนาจทางการเมือง การทหาร ราชการและเศรษฐกิจ, ควรเดินทางไปวอชิงตัน ดี.ซี. เป็นประจำ เข้ารับใช้รัฐบาล ช่วยวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์ วางโครงการใหม่ๆ ให้
- นโยบายต่างประเทศสายเหยี่ยว เน้นว่าหัวใจอยู่ที่อำนาจของอเมริกาในโลก ต้องปักใจมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวที่จะกอบกู้และปกป้องอำนาจอเมริกันไว้อย่างแข็งกร้าว ชนิดไม่ยอมอ่อนข้อถอยหลังให้ใครแม้แต่ก้าวเดียว ถึงจะต้องเสี่ยงทำสงครามก็ตามที ขนาดที่ว่าถ้าต้องใช้การทูตเรือปืนไปปิดอ่าวเปอร์เซีย เพื่อแก้วิกฤติน้ำมันอาหรับก็ต้องเอา, ปฏิเสธลัทธิแยกอยู่โดดเดี่ยว (isolationism) อันเป็นผลจากกลุ่มอาการหักศึกเวียดนาม (the Vietnam syndrome) (*), วิพากษ์วิจารณ์ปัญญาชนหัวก้าวหน้าไร้เดียงสา ที่มองเจตนาศัตรูในแง่ดีและประจบเอาใจศัตรู
(*) Vietnam Syndrome is a term used in the United States, in public political rhetoric and political analysis, to describe the perceived impact of the domestic controversy over the Vietnam War on US foreign policy after the end of that war in 1975. Since the early 1980s, the combination of a public opinion apparently biased against war, a less interventionist US foreign policy, and a relative absence of American wars and military interventions since 1975, has been dubbed Vietnam Syndrome. The term was coined in the context of the Cold War as part of a conservative and right-wing conservative polemic on US foreign policy, which was at first directed against the D?tente policies of the Carter Administration (1977-1981).
Vietnam Syndrome: The term was used by conservative Americans to describe what they saw as an undesirable pacifism on the part of the American public and the US government in the aftermath of the end of the Vietnam War in 1975. (ดูเพิ่มเติมใน http://en.wikipedia.org/wiki/Vietnam_syndrome)
- การทูตสองหน้า ยอมรับมาตรฐานสองหน้า (double standard) ในการต่างประเทศ อาทิ อเมริกาควรถือสาหาความ วิพากษ์วิจารณ์ เอาเรื่องเล่นงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลเผด็จการที่ไม่เป็นมิตรกับตน แต่ควรทำเฉย เอาหูไปนาเอาตาไปไร่เสีย หากรัฐบาลเผด็จการที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้นเป็นพันธมิตร ตามหลักที่ว่าเมื่อเผชิญสถานการณ์ยุ่งยากใจที่ต้องเลือก ระหว่างมารหลายตนซึ่งชั่วร้ายต่างกัน ควรเลือกมารที่ชั่วน้อยกว่า (the lesser evil)
- ปลุกชาตินิยมใหม่ แสดงความรักชาติอเมริกันที่มีประวัติการต่อสู้เพื่อเสรีภาพอิสรภาพมาแต่ครั้งอดีต และฉะนั้นชาติอเมริกันจึงถูกชะตาฟ้าลิขิตให้นำพรแห่งเสรีภาพอิสรภาพไปประทานแก่ชนทุกชาติในโลกด้วย แม้จะต้องใช้กำลังอาวุธนิวเคลียร์เพื่อการนี้ก็ตาม
และนี่คือแกนกลางของนโยบายต่างประเทศทั้งเศรษฐกิจ การเมือง และความมั่นคงของสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน ฉะนั้นจากคำถาม การทำให้ประเทศหนึ่งเป็นประชาธิปไตยอาจหมายถึงการก่อสงครามเพื่อให้เกิดการเลือกตั้งได้ใช่หรือไม่??? คำตอบก็คือ ใช่
วิลเลียม คริสทอล นีโอคอนอีกรายได้เฉลยไว้ในหนังสือ The War over Iraq "ภารกิจของเราเริ่มที่แบกแดด ทว่ามันไม่ได้จบลงที่นั่น...เรากำลังยืนอยู่ตรงข้อต่อไปสู่ยุคใหม่ทางประวัติศาสตร์...นี่เป็นจังหวะสำคัญขั้นชี้ขาด...เห็นได้ชัดว่ามันเป็นเรื่องใหญ่กว่าอิรัก มันใหญ่กว่าอนาคตของตะวันออกกลางและสงครามต่อต้านการก่อการร้ายด้วยซ้ำไป มันเป็นเรื่องที่ว่าสหรัฐอเมริกาตั้งใจจะเล่นบทประเภทใดในคริสต์ศตวรรษที่ 21"
ผลผลิตจากธนาคารโลก
กลับมาที่ธนาคารโลก. แม้ว่าจะมีวาระซ่อนเร้นอื่นๆ อยู่บ้างก็ตาม แต่หนึ่งในวัตถุประสงค์เริ่มแรกในการก่อตั้งธนาคารโลก
ถูกตั้งความหวังให้เป็นองค์กรช่วยเหลือทางการเงินและฟื้นฟูประเทศต่างๆ ที่ประสบเหตุสงคราม
ความขัดแย้ง และภัยธรรมชาติต่างๆ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ติดตามท่าทีและบทบาทของธนาคารโลกมาโดยตลอดพบว่า
องค์กรโลกบาลแห่งนี้ไม่ได้ทำหน้าที่สาธารณประโยชน์ตามเจตนารมณ์เดิมที่ก่อตั้ง
ธนาคารโลกสนับสนุนการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ เช่น เขื่อนขนาดยักษ์ เหมืองแร่ โครงการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน โครงการปลูกสวนป่า ฯลฯ ที่ทำลายชุมชน สร้างและกระจายความยากจนมากกว่าที่จะลดทอนความยากจน. ธนาคารโลกยังมีเงินกู้เพื่อการสะสมอาวุธ ดังที่ อิสราเอลซึ่งจัดอยู่ประเทศพัฒนาแล้วได้รับเงินกู้ก้อนนี้ไป. แต่ที่เรียกว่าสุดยอดของธนาคารโลกตามสายตาการนิยมความรุนแรง ต้องยกให้โครงการปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจ (Structural Adjustment Program) โครงการที่ผลิตคำสวยหรูเช่น ธรรมาภิบาล, เศรษฐกิจการตลาด, และประชาธิปไตยเสรี ฯลฯ
โครงการปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจ มีพื้นฐานและแนวคิดไม่ต่างจากแนวคิดเสรีนิยมใหม่(neoliberalism) (*) นั่นคือ มีเงื่อนไขที่ผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศที่ต้องรับความช่วยเหลือ ยอมรับโครงการปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจ แลกกับเงินกู้ซึ่งต้องผนวกเข้ากับเศรษฐกิจโลกอย่างรวดเร็ว ปล่อยให้เงินทุนไหล"เข้า-ออก"อย่างเสรี แปรรูปกิจการและทรัพยากรสาธารณะให้เป็นของเอกชน ลดบทบาทของรัฐในการคุ้มครองประชาชน ลดกฎระเบียบต่างๆ แต่ปรับบทบาทของรัฐบาลให้รับผิดชอบ ปกป้อง และสร้างบรรยากาศที่ดีแก่นักลงทุนในการแสวงหากำไร ซึ่งโดยมากเป็นนักลงทุนต่างชาติและชนชั้นนำในประเทศนั้นๆ
(*)Neoliberalism is a
political movement that espouses economic liberalism as a means of promoting
economic development and securing political liberty. The movement is sometimes
described as an effort to revert to the economic policies of the 18th and
19th centuries classical liberalism. Strictly in the context of English-language
usage the term is a syllabic abbreviation of "neoclassical liberalism",
since in other languages "liberalism", minus any modifier such as
"social" (as in social liberalism), has more or less retained its
classical meaning.
Policy Implications
Broadly speaking, neoliberalism seeks to transfer control of the economy from
the public to private sector. The definitive statement of the concrete policies
advocated by neoliberalism is often taken to be John Williamson's "Washington
Consensus", a list of policy proposals that appeared to have gained consensus
approval among the Washington-based international economic organizations (like
the IMF and World Bank). Williamson's list included ten points:
- Fiscal policy discipline;
- Redirection of public spending from subsidies ("especially indiscriminate subsidies") toward broad-based provision of key pro-growth, pro-poor services like primary education, primary health care and infrastructure investment;
- Tax reform - broadening the tax base and adopting moderate marginal tax rates;
- Interest rates that are market determined and positive (but moderate) in real terms;
- Competitive exchange rates;
- Trade liberalization - liberalization of imports, with particular emphasis on elimination of quantitative restrictions (licensing, etc.); any trade protection to be provided by low and relatively uniform tariffs;
- Liberalization of inward foreign direct investment;
- Privatization of state enterprises;
- Deregulation - abolition of regulations that impede market entry or restrict competition, except for those justified on safety, environmental and consumer protection grounds, and prudent oversight of financial institutions; and,
- Legal security for property rights.
จากรายงานของ SAPRIN (The Structural Adjustment Participatory Review International Network) เครือข่ายภายใต้ความร่วมมือของธนาคารโลก รัฐบาลเอกวาดอร์, เอลซัลวาดอร์, กานา, มาลี, อูกันดา, ซิมบับเว, บังคลาเทศ, ฮังการี, และเอ็นจีโอทั้งซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ ได้ประเมินโครงการปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจ เมื่อปี 2543 พบว่า นโยบายแปรรูปในประเทศต่างๆ ที่อยู่ภายใต้โครงการนี้ได้ทำให้เกิดการว่างงาน สิทธิแรงงานถูกทำลาย ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ถีบตัวสูงขึ้นภายหลังจากที่ตกเป็นของเอกชน ขณะที่คุณภาพของบริการแย่ลง ประสิทธิภาพไม่ได้ดีกว่าการบริการของรัฐวิสาหกิจ (เมื่องานวิจัยฉบับนี้เสร็จสมบูรณ์เมื่อปี 2544 ธนาคารโลกไม่รับผลการวิจัย แม้ตัวเองจะมีส่วนร่วมวิจัยก็ตาม)
จากประสบการณ์อันเลวร้ายถึงกับมีการรวมกลุ่มคนจากทั่วโลกภายใต้เครือข่าย 50 ปี ก็เกินพอ (50 Years Is Enough Network) (*) คือจำนวนปีที่องค์กรโลกบาลแห่งนี้ถูกตั้งขึ้นมาพร้อมๆ กับไอเอ็มเอฟ
(*)50 Years Is Enough:
U.S. Network for Global Economic Justice is a coalition of over 200 U.S. grassroots,
women's, solidarity, faith-based, policy, social- and economic-justice, youth,
labor and development organizations dedicated to the profound transformation
of the World Bank and the International Monetary Fund (IMF). The Network works
in solidarity with over 185 international partner organizations in more than
65 countries. Through education and action, the Network is committed to transforming
the international financial institutions' policies and practices, to ending
the outside imposition of neo-liberal economic programs, and to making the
development process democratic and accountable. We were founded in 1994, on
the occasion of the 50th anniversary of the founding of the World Bank and
IMF. We focus on action-oriented economic literacy training, public mobilization,
and policy advocacy. (http://www.50years.org/about/)
ถามว่าทุกวันนี้ บทบาทของธนาคารโลกเปลี่ยนไปหรือไม่ ให้ดูจากประสบการณ์ของประเทศที่เพิ่งฟื้นตัวใหม่
อาทิ ติมอร์ตะวันออก กัมพูชา ไฮติ นิคารากัว (ยกตัวอย่างเช่น)
กัมพูชา
ในกัมพูชา เงินกู้ที่องค์กรต่างๆ รวมทั้งธนาคารโลกให้ความช่วยเหลือนั้น (ขอโทษ...เงินกู้
ไม่ใช่เงินให้เปล่า) เป็นโครงการตามความต้องการทางการเมืองของผู้ให้กู้ มากกว่าที่จะเป็นความต้องการที่จำเป็นของคนในประเทศ.
เงินกู้มีข้อกำหนดเรื่องค่าจ้างแรงงานในประเทศให้ต่ำเตี้ยเรี่ยดิน ไม่ว่าพวกเขาเหล่านั้นจะมีวุฒิการศึกษาหรือคุณสมบัติมากเพียงใดก็ตาม
แต่ให้เงินเดือนที่ปรึกษาต่างชาติไม่อั้น ไม่แปลกหากทุกวันนี้ เราจะเห็นข้าราชการกัมพูชาจำนวนมาก
ต้องใช้วิธีซิกแซกตั้งองค์กรที่ไม่ใช่รัฐจำนวนมาก เพื่อดึงเงินจากโครงการเหล่านี้
เพราะตามระเบียบของธนาคารโลกคือการส่งเสริมองค์กรภาคประชาสังคม (จะแบบไหนก็ได้)
- ในกัมพูชา การจัดการนครวัดถูกแปรรูปให้เป็นของบริษัทญี่ปุ่นได้หลายปีแล้ว
- ล่าสุดแม้แต่ทุ่งสังหาร 'ชงเอก' ที่มีคนเขมรตายนับแสนก็กำลังตกไปอยู่ในมือของบริษัทญี่ปุ่นอีกเช่นเคย
ติมอร์ตะวันออก
ขณะที่เงินกู้ของธนาคารโลกเคยถูกใช้เพื่อสนับสนุนกำลังทหารและอาวุธในการเข่นฆ่าพวกแบ่งแยกดินแดนในติมอร์ตะวันออก
อาเจะห์ และปาปัวตะวันตก ทุกวันนี้เงินกู้จากแห่งเดียวกันกำลังมาสร้างโครงการเสริมสร้างประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในติมอร์ตะวันออก.
ปัจจุบัน ติมอร์ตะวันออก ถูกยกให้เป็นสวรรค์ของอุตสาหกรรมที่หากินกับการฟื้นฟูบูรณะประเทศ
ซึ่งธนาคารโลกมีบทบาทอย่างมากในวงจรธุรกิจนี้ บางครั้งคำถามที่เกิดขึ้นก็คือ
การบูรณะฟื้นฟูนั้นเป็นการบูรณะเพื่อใครกันแน่
ข้าราชการติมอร์ตะวันออกคนหนึ่ง เคยกล่าวในการสัมมนาการเคลื่อนไหวทางสังคมว่า ธนาคารโลกให้เงินกู้มาก้อนหนึ่ง แต่มีเงื่อนไขให้ซื้อสินค้าจากบริษัทต่างประเทศตามรายชื่อที่ระบุไว้เท่านั้น ห้ามนำไปใช้เพื่อการอื่น แม้จะเป็นการสงเคราะห์ประชาชนของตนเองก็ตาม. จากข้ออ้างเรื่องธรรมาภิบาล ธนาคารโลกมีเงื่อนไขให้ประเทศต่างๆ สร้างกฎหมายและระบบราชการที่เอื้อต่อธุรกิจและตลาด และเป็นมิตรต่อการลงทุน ภาษาบ้านๆ ธรรมาภิบาลก็คือ การทำอะไรก็ตามที่ดีกับนักลงทุนแม้จะไม่ดีต่อประชาชนในประเทศตัวเองก็ไม่เป็นไร
ความสำเร็จที่ไม่น่าชื่นชม
การเปลี่ยนจากวูลเฟนสัน มาเป็นวูลโฟวิตซ์ ไม่ได้มีความแตกต่าง ก็แค่หมาป่าอีกตัวที่จะมาสวาปามโลก
ในบางด้าน...นี่อาจจะเป็นโอกาสดีในสายตาผู้เฝ้าติดตามพฤติกรรมองค์กรโลกบาลแห่งนี้
นั่นคือ
- ถ้าวูลโฟวิตซ์บงการสถาบันแห่งนี้ให้เป็นกลไกหนึ่งในการทำสงครามครอบครองโลกจริงๆ ก็จะเป็นโอกาสให้เกิดการกดดันให้เปลี่ยนระบบการคัดเลือกประธานคนใหม่ ให้มีความโปร่งใสตรวจสอบได้ ไม่ใช่ระบบลากตั้งเช่นนี้
- นักกิจกรรมและนักรณรงค์ที่ค้านสงคราม เครือข่ายต้านโลกาภิวัตน์ จะมีโอกาสเข้าร่วมการรณรงค์ค้านการดำรงตำแหน่งของวูลโฟวิตซ
์ เป็น 'สามัคคีบาทา' มากขึ้น
โซเรน แอมโบรส นักวิเคราะห์นโยบายของ 50 Years Is Enough Network กล่าวว่า "ถ้าวูลโฟวิตซ์ได้ดำรงตำแหน่งนี้จริงๆ พวกเราคงไม่ลำบากที่จะโน้มน้าวให้คนทั่วไปเชื่อว่า ธนาคารโลกเป็นกลไกของนโยบายเศรษฐกิจและต่างประเทศของสหรัฐฯ. "วูลโฟวิตซ์ไม่มีประสบการณ์ด้านการพัฒนาเลย มีแต่อุดมคติที่ดุร้าย เป็นแต่สายฮาร์ดคอร์ของพวกลัทธิเสรีนิยมใหม่ นับแต่นี้คงจะไม่มีใครเชื่อมนต์ที่ว่า ธนาคารโลกทำประโยชน์และช่วยเหลือคนยากจน. เราจะสามารถใช้คำว่า ลัทธิจักรวรรดินิยมกับนโยบายและงานต่างๆ ของธนาคารโลกได้อย่างเต็มปากเต็มคำมากยิ่งกว่าเดิม"
"ถือได้ว่า ประธานาธิบดีบุช ประสบความสำเร็จในการทำลายความชอบธรรมของธนาคารโลกมากที่สุดเท่าที่นักกิจกรรมคนใดเคยทำมา" และในไม่ช้า เราอาจได้เห็นประธานเวิลด์แบงก์คนใหม่ใช้ยุทธศาสตร์แก้ไขปัญหาความยากจนด้วยการชิงโจมตีก่อน (Pre-emptive) กับประเทศที่ทำท่าจะเป็นภัยต่อธุรกิจของสหรัฐ
...ไม่น่าจะผิดความคาดหมาย...
หมายเหตุ : ปัจจุบัน นายโรเบิร์ต
โซลลิค ดำรงตำแหน่งประธานธนาคารโลกคนใหม่ ซึ่งเข้ารับตำแหน่งในช่วงกลางปีที่ผ่านมา
(พ.ศ.2550) โดยก้าวเข้ามารับหน้าที่แทน นายพอล วูลโฟลิตซ์ ซึ่งถูกคณะกรรมการบริหารธนาคารโลก
ตัดสินว่ามีความผิดฐานละเมิดระเบียบปฏิบัติ จากการใช้อำนาจหน้าที่ปรับขึ้นเงินเดือนและเลื่อนตำแหน่งให้แก่
นางสาวริซ่า ชาฮา แฟนสาว ที่ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารโลกเช่นกัน ทั้งนี้ประธานาธิบดีจอร์จ
ดับเบิลยู บุช เป็นผู้เสนอชื่อ
นายโรเบิร์ต โซลลิค วัย 53 ปี อดีตเคยเป็นรัฐมตรีช่วยต่างประเทศและอดีตผู้แทนการค้าสหรัฐฯ
เป็นประธานธนาคารโลกคนใหม่ ด้วยประสบการณ์และการทำงานที่ยาวนานทั้งในด้านการค้าระหว่างประเทศ
การคลัง และการทูต เคยเป็นผู้แทนการค้าสหรัฐนาน 4 ปี และดำตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยต่างประเทศระหว่างเดือนกุมภาพันธ์
2548 ถึงเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว ก่อนย้ายไปทำงานให้กับ โกลด์แมน แซคส์ บริษัทวาณิชธนกิจอันดับหนึ่งของสหรัฐฯ
ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ และประธานฝ่ายที่ปรึกษาระหว่างประเทศ เขาเคยมีผลงานการเจรจาสันติภาพในซูดาน
ผลักดันให้จีนและไต้หวันได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก เจรจาทำข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างสหรัฐฯ
กับสิงคโปร์, ชิลี, ออสเตรเลีย, และโมร็อกโก รวมทั้งผลักดันการเจรจาการค้าโลกรอบโดฮาด้วย
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ข้อมูลอ้างอิงจาก
- นีโอคอนส์ การเมืองอเมริกันหลังสมัยใหม่ โดย ดร.เกษียร เตชะพีระ http://midnightuniv.tumrai.com
- Reconstruction: An Emerging Paradigm โดย Shalmali Gutal http://www.focusweb.org
- Top 10 Reasons Why Paul Wolfowitz Would Make a Good World Bank President โดย John Cavanagh
- SAPRIN Challenges World Bank on Failure of Adjustment Programs. http://www.developmentgap.org/dgap/saprin/april2000.html- ข้อมูลจาก 50 Years is enough: Network for Global Economic Justice
- หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์, สำนักข่าว BBC, IPS, Common Dreams และ Alternetที่มาของบทความ: http://www.localtalk2004.com/V2005/detail.php?file=1&code=c2_04032008_01
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
สารบัญเนื้อหา
7 I สารบัญเนื้อหา
8
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com