โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๔๖๕ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๑ (January, 21, 01, 2008) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

21-01-2551

Banker to the Poor
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com

 

 

เศรษฐศาสตร์เพื่อคนจน - การแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง (๑)
Muhammad Yunus:
ธนาคารกรามีน ธนาคารโลก และปัญหาคนยากจน

พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ : แปล

โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์
เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศไทย

สำหรับบทความแปลชิ้นนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความยากจนเชิงโครงสร้าง
แปลจากหนังสือเรื่อง Banker to the Poor โดย Muhammad Yunus
ปัญหาความยากจนในประเทศโลกที่สาม จัดเป็นปัญหาที่อยู่คู่กับสังคมมาตลอด
การนำเงินหรือสิ่งของไปให้แบบสังคมสงเคราะห์ ไม่อาจแก้ปัญหาที่แท้จริง ถาวร
เกี่ยวกับความยากจนได้ และเป็นการทำลายศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
อันที่จริงแล้ว คนจนสามารถรับผิดชอบ ทำงานขยันขันแข็ง แลทำงานที่ซับซ้อนมากในสังคม
แตพวกเขาไม่สามารถปลดปล่อยตัวเองได้จากความตกต่ำ ความผิดพลาดนี้เกิดขึ้นจาก
ระบบและโครงสร้างบางอย่างที่ไม่เอื้อต่อการปลดเปลื้องปัญหาอันหนักหน่วงดังกล่าว
ธนาคารกรามีน ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาโดยนักเศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยจิตตะก่อง บังคลาเทศ
และตลอดระยะเวลาอันยาวนานของการดำเนินกิจการของธนาคารแห่งนี้ ได้ปล่อยเงินกู้ให้กับคนจน
นับเป็นล้านๆ ซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตคนจำนวนมหาศาล ให้หลุดพ้นจากความยากจนมากขึ้น

midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๔๖๕
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๔ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++

(ตอน ๑)
เศรษฐศาสตร์เพื่อคนจน - การแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง
Muhammad Yunus:
ธนาคารกรามีน ธนาคารโลก และปัญหาคนยากจน

พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ : แปล

โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

นายแบงก์เพื่อคนยาก: อัตชีวประวัติของมูฮัมหมัด ยูนุส ผู้ก่อตั้งธนาคารกรามีน
Banker to the Poor


introduction
The autobiography of Muhammad Yunus, founder of the Grameen Bank.
http://www.grameen-info.org/book/index.htm

In 1974, Professor Muhammad Yunus, a Bangladeshi economist from Chittagong University, led his students on a field trip to a poor village. They interviewed a woman who made bamboo stools, and learnt that she had to borrow the equivalent of 15p to buy raw bamboo for each stool made. After repaying the middleman, sometimes at rates as high as 10% a week, she was left with a penny profit margin. Had she been able to borrow at more advantageous rates, she would have been able to amass an economic cushion and raise herself above subsistence level.

Realizing that there must be something terribly wrong with the economics he was teaching, Yunus took matters into his own hands, and from his own pocket lent the equivalent of ? 17 to 42 basket-weavers. He found that it was possible with this tiny amount not only to help them survive, but also to create the spark of personal initiative and enterprise necessary to pull themselves out of poverty.

Against the advice of banks and government, Yunus carried on giving out 'micro-loans', and in 1983 formed the Grameen Bank, meaning 'village bank' founded on principles of trust and solidarity. In Bangladesh today, Grameen has 1,084 branches, with 12,500 staff serving 2.1 million borrowers in 37,000 villages. On any working day Grameen collects an average of $1.5 million in weekly installments. Of the borrowers, 94% are women and over 98% of the loans are paid back, a recovery rate higher than any other banking system. Grameen methods are applied in projects in 58 countries, including the US, Canada, France, The Netherlands and Norway.

Muhammad Yunus is that rare thing: a bona fide visionary. His dream is the total eradication of poverty from the world. 'Grameen', he claims, 'is a message of hope, a programme for putting homelessness and destitution in a museum so that one day our children will visit it and ask how we could have allowed such a terrible thing to go on for so long'. This work is a fundamental rethink on the economic relationship between the rich and the poor, their rights and their obligations. The World Bank recently acknowledged that 'this business approach to the alleviation of poverty has allowed millions of individuals to work their way out of poverty with dignity'.

Credit is the last hope left to those faced with absolute poverty. That is why Muhammad Yunus believes that the right to credit should be recognized as a fundamental human right. It is this struggle and the unique and extraordinary methods he invented to combat human despair that Muhammad Yunus recounts here with humility and conviction. It is also the view of a man familiar with both Eastern and Western cultures - on the failures and potential for good of industrial countries. It is an appeal for action: we must concentrate on promoting the will to survive and the courage to build in the first and most essential element of the economic cycle - Man.

Muhammad Yunus was born in 1940 in Chittagong, the business centre of what was then Eastern Bengal. He was the third of 14 children of whom five died in infancy. Educated in Chittagong, he was awarded a Fulbright scholarship and received his Ph.D. from Vanderbilt University, Nashville, Tennessee. In 1972 he became head of the Economics Department at Chittagong University. He is the founder and managing director of the Grameen Bank. In 1997, Professor Yunus led the world's first Micro Credit Summit in Washington, DC.
Alan Jolis, co-author of Banker to the Poor, is an American journalist and writer, now living in Sweden. His books include Love and Terror, Speak Sunlight (a memoir of childhood) and several children's novels. He is a contributor to Vogue, Architectural Digest, the Wall Street Journal, the International Herald Tribune and other periodicals.

If I could be useful to another human being, even for a day, that would be a great thing. It would be greater than all the big thoughts I could have at the university.
Muhammad Yunus

I only wish every nation shared Dr Yunus' and the Grameen Bank's appreciation of the vital role that girls and women play in the economic, social and political life of our societies.
US First Lady Hillary Clinton

By giving poor people the power to help themselves, Dr Yunus has offered them something far more valuable than a plate of food. He has offered them security in its most fundamental form.
Former US President Jimmy Carter

ความนำ
นายแบงก์เพื่อคนยาก เป็นงานเขียนอัตชีวประวัติของนายมูฮัมหมัด ยูนุส ผู้ก่อตั้งธนาคารกรามีน เป็นการทบทวนความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างคนรวยกับคนจน ระหว่างสิทธิกับหน้าที่อย่างถึงแก่น. ธนาคารกรามีนก่อตั้งขึ้นมาบนหลักความไว้วางใจและความสามัคคี. มูฮัมหมัด ยูนุสเชื่อว่า สิทธิในการกู้ยืมเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน เนื่องจากสินเชื่อเป็นความหวังสุดท้ายที่มีอยู่สำหรับคนจน เขาเล่าถึงวิธีการที่น่าสนใจและโดดเด่นในการเอาชนะความทุกข์ยากของมนุษย์อย่างอ่อนน้อมถ่อมตัวและมุ่งมั่น ยูนุสคุ้นเคยทั้งวัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตก เขาเห็นทั้งความล้มเหลวและศักยภาพของประเทศอุตสาหกรรม

หนังสือเล่มนี้เรียกร้องให้ปฏิบัติการ เราต้องร่วมกันส่งเสริมความพยายามที่จะอยู่รอดและความกล้าหาญที่จะส่งเสริมปัจจัยพื้นฐานและสำคัญสุดของระบบเศรษฐกิจ นั่นคือมนุษย์. ฮิลลารี่ คลินตัน อดีตสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐฯ กล่าวว่า "ดิฉันหวังว่าทุกประเทศต่างเห็นด้วยกับความพยายามของ ดร.ยูนุส และธนาคารกรามีน ในการส่งเสริมบทบาทอันสำคัญของเด็กหญิงและผู้หญิงในระบบเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองของเรา"

"ดร.ยูนุส ช่วยให้คนยากจนช่วยตนเองได้ สิ่งที่เขาให้มีคุณค่ามากกว่าการให้ข้าวเพื่อประทังชีวิตสักจาน และเป็นการให้ที่ยั่งยืนที่สุด" จิมมี คาร์เตอร์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ

หนังสือเล่มนี้อุทิศให้กับเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์เรื่องราวของธนาคารกรามีน
"ความชั่วชนะได้เมื่อคนดีดูดาย"

Edmund Burje

พระราชวังเซนเจมส์
ข้าพเจ้าได้พบมูฮัมหมัด ยูนุสเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2540 ระหว่างไปเยือนกรุงธาราเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนหน้านั้นข้าพเจ้าได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับเขาและแนวคิดของเขาเล็กน้อยจากแวดวงในอังกฤษ และต้องการจะพบกับเขา เมื่อได้พบกัน ข้าพเจ้าพบว่าเขาเป็นคนน่าสนใจ เขาไม่เพียงพูดอย่างมีเหตุผล และที่ต่างอย่างมากจากพวกผู้เชี่ยวชาญ เขาสามารถแปรตามความคิดและปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม ข้าพเจ้ายังพบว่าเขาเป็นผู้พูดที่ให้แรงบันดาลใจ ให้ความเพลิดเพลินและความมั่นใจ ทำให้ข้าพเจ้าเชื่อมั่นยิ่งขึ้น ถึงพลังของความอุตสาหะและความแน่วแน่

จากนั้นมาข้าพเจ้าได้ทำทุกวิถีทางเพื่อส่งเสริมให้คนรู้จักและยอมรับระบบสินเชื่อรายย่อย ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของนโยบายการพัฒนาที่สมเหตุผล ดังที่มูฮัมหมัด ยูนุสได้แสดงให้เห็นจนประจักษ์และปราศจากข้อสงสัยในบังคลาเทศ และเป็นสิ่งซึ่งเกิดขึ้นในประเทศพัฒนาแล้วเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นในชนบทอันห่างไกลของนอร์เวย์ หรือย่านชานเมืองที่ยากจนของอังกฤษ ระบบสินเชื่อรายย่อยเป็นระบบที่คุ้มค่า ดังท่านจะเห็นได้จากสถิติที่ผ่านมาที่ผู้เขียนเล่าไว้อย่างละเอียด ชวนอ่าน และสำคัญสุด เป็นระบบที่เปิดโอกาสให้คนจนและคนด้อยโอกาสกำหนดชะตากรรมของตนเองได้ และช่วยให้หลายครอบครัวมีชีวิตดีขึ้น

ข้าพเจ้าหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะช่วยให้คนมากขึ้นเห็นประโยชน์ของระบบสินเชื่อรายย่อย และข้าพเจ้าเชื่อว่าจะเป็นสิ่งที่ทำให้หลายคนประหลาดใจและประทับใจ และเป็นการเตือนพวกเราหลายคนที่มักคิดว่าตัวเองมีนโยบายในระดับโลกที่ยิ่งใหญ่ที่จะแก้ไขปัญหาในโลกว่า อันที่จริงการแก้ปัญหามักเริ่มจากผู้คนระดับรากหญ้า เราจึงต้องเริ่มจากการรับฟังจากผู้ที่พยายามแสวงหาการเปลี่ยนแปลงในชีวิตด้วยวิธีการอย่างจริงใจและยั่งยืน เป็นวิธีการที่สอดคล้องกับวิถีโลกและจิตวิญญาณมนุษย์ ข้าพเจ้าขอแนะนำหนังสือเล่มนี้ให้กับท่าน

เจ้าฟ้าชายชาลส์

คำนำของผู้เขียน
การทำงานกับธนาคารกรามีนทำให้ข้าพเจ้าเกิดศรัทธา เป็นศรัทธาต่อความสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่ไม่มีวันคลอนแคลน ทำให้ข้าพเจ้าเชื่อว่ามนุษย์ไม่ได้ถูกสร้างมาให้ต้องทนทุกข์ทรมานกับความอดอยากและหิวโหย แต่เหตุที่ต้องทนทุกข์ทรมานดังเช่นที่เป็นมาในอดีต ก็เพราะพวกเราหาได้ใส่ใจปัญหาของพวกเขาไม่ ข้าพเจ้าเริ่มเชื่ออย่างลึกซึ้งและจริงจังว่า เราสามารถสร้างโลกที่ปลอดจากความยากจนได้ ถ้าเราต้องการทำเช่นนั้น เหตุที่สรุปเช่นนี้ ไม่ได้เป็นเพียงความฝันจากการมองโลกในแง่ดี แต่เป็นประสบการณ์โดยตรงที่ข้าพเจ้าได้รับจากการทำงานกับธนาคารกรามีน

ระบบสินเชื่อรายย่อยเพียงอย่างเดียวไม่อาจเอาชนะความยากจนได้ สินเชื่อเป็นเพียงหนึ่งในหลายทางออกที่ทำให้ผู้คนปลดแอกตนเองจากความยากจน ยังมีหนทางอื่นอีกมากที่ช่วยพวกเขาแก้ปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนวิธีคิดในการมองคนให้ต่างไปจากเดิม และการจัดระบบเพื่อรองรับแนวคิดใหม่เช่นนี้
ธนาคารกรามีน สอนข้าพเจ้า 2 อย่าง

- ประการแรก ความเข้าใจของเราที่มีต่อคนอื่น และปฏิสัมพันธ์ของพวกเขาอาจคับแคบเกินไป
- ประการที่สอง แต่ละบุคคลล้วนมีความสำคัญ แต่ละบุคคลต่างมีศักยภาพยิ่งใหญ่ และแต่ละคนสามารถมีอิทธิพลต่อชีวิตคนอื่น
ในชุมชน ประเทศชาติ ทั้งในเวลาที่เรามีชีวิตอยู่หรือในช่วงที่เราจากไปแล้ว

แต่ละคนมีพลังที่ถูกซ่อนเร้นภายในที่เรามักไม่ตระหนักถึง เราจำเป็นต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่ช่วยให้บุคคลสามารถค้นพบขีดจำกัดของศักยภาพของตน ไม่เช่นนั้นแล้วเราจะไม่มีทางตระหนักถึงศักยภาพที่ถูกซ่อนอยู่ภายในได้ แต่เราก็เป็นผู้กำหนดทิศทางที่ต้องการไป เราเป็นทั้งผู้เดินเรือและนักบินของโลก ถ้าเราทำหน้าที่อย่างจริงจัง เราจะไปถึงจุดหมายปลายทางที่ต้องการได้

ข้าพเจ้าอยากเล่าเรื่องนี้ เพราะต้องการให้ท่านค้นหาความหมายที่มีต่อชีวิตตนเอง ถ้าท่านเห็นว่าเรื่องราวของธนาคารกรามีน น่าเชื่อถือและน่าสนใจ ข้าพเจ้าก็ขอเชื้อเชิญให้ท่านร่วมมือกับผู้ที่เชื่อในการสร้างโลกที่ปลอดจากความยากจน และตัดสินใจเข้าร่วมงานด้วยกัน ไม่ว่าท่านจะเป็นนักปฏิวัติ นักเสรีนิยม หรือนักอนุรักษ์นิยม ไม่ว่าท่านจะเป็นคนรุ่นเยาว์หรือวัยชรา เราทุกคนต่างสามารถร่วมมือกันเพื่อทำสิ่งนี้ได้
ลองคิดดูสิ

มูฮัมหมัด ยูนุส

ปฐมวัย 2483-2519: จากธนาคารหมู่บ้านสู่ธนาคารโลก
1. หมู่บ้านจอบรา: จากตำราสู่ความจริง
พ.ศ. ๒๕๑๗ เป็นปีที่เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงกับผม บังคลาเทศตกอยู่ในสภาพอดอยากขาดแคลน หนังสือพิมพ์รายงานถึงผู้คนที่ล้มตายและอดอยากในหมู่บ้านและหัวเมืองชนบทอันห่างไกลทางภาคเหนือ มหาวิทยาลัยที่ผมสอนและดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์ ตั้งอยู่บริเวณด้านตะวันออกเฉียงใต้สุดของประเทศ ในตอนแรกเราไม่เห็นความสำคัญของปัญหานั้น แต่ต่อมาภาพของคนที่ผอมเหลือแต่หนังหุ้มกระดูกตามสถานีรถไฟและสถานีขนส่งในกรุงธากาเริ่มปรากฏให้เห็น จากนั้นเริ่มมีรายงานข่าวถึงซากศพที่กองสุมตามที่ต่าง ๆ ปัญหาที่เกิดขึ้นเหมือนหยดน้ำทวีความรุนแรงจนเป็นอุทกภัยแห่งความหิวโหยที่คืบคลานถึงกรุงธากา

พวกเขาอยู่ในทุกที่ คุณอาจแยกไม่ออกด้วยซ้ำว่าใครยังมีชีวิตอยู่ ใครที่ตายแล้ว พวกเขาดูเหมือนกันไปหมด ไม่ว่าจะเป็นผู้ชาย ผู้หญิง เด็ก คุณไม่มีทางคาดเดาอายุของพวกเขาได้ คนแก่ดูเหมือนเด็ก เด็กดูเหมือนคนแก่. รัฐบาลต้องเปิดโรงทานตามจุดต่าง ๆ ในเมือง แต่ทุกโรงทานที่เปิดก็ไม่เพียงพอที่จะตอบสนองความหิวโหย. ผู้สื่อข่าวพยายามเตือนให้คนทั้งประเทศทราบถึงสิ่งที่เกิดขึ้น สถาบันโภชนาการพยายามเก็บข้อมูลว่า คนอดอยากหิวโหยมาจากที่ไหนกันบ้าง พวกเขาจะมีโอกาสกลับบ้านของตัวเองไหม จะมีชีวิตรอดไหม โอกาสที่จะรอดชีวิตมีมากน้อยเพียงใด? องค์กรศาสนาง่วนกับการเก็บศพเพื่อนำไปฝัง และมีการประกอบพิธีกรรมอันเหมาะสม แต่ในไม่ช้างานเก็บศพที่ดูจะเป็นเรื่องง่าย ก็กลายเป็นภาระอันหนักอึ้งจนสุดจะรับมือไหว

เราไม่มีทางหลีกเลี่ยงที่จะพบคนอดอยากหิวโหยเลย พวกเขาอยู่ในทุกที่ เฝ้านอนรออย่างเงียบงัน
พวกเขาไม่มีโอกาสเดินขบวนกู่ร้องคำขวัญ พวกเขาไม่เคยเรียกร้องอะไรจากเรา พวกเขาไม่เคยประณามพวกเราที่มีอาหารเอร็ดอร่อยอยู่เต็มบ้าน ในขณะที่พวกเขามานอนรออย่างเงียบงันที่ประตูบ้านเรา

คนเราตายได้ด้วยหลายวิธีการ แต่ดูเหมือนการตายจากความอดอยากเป็นสิ่งที่ยากจะรับได้ มันช่างเป็นเรื่องน่าสังเวชเสียจริง ๆ มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นช้า ๆ แต่ละวินาที ระยะห่างระหว่างความเป็นกับความตายแคบเข้ามาเรื่อย ๆ จนถึงจุดหนึ่ง ชีวิตและความตายใกล้กันเหลือเกิน จนยากจะมองเห็นความแตกต่าง จนทำให้เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่า แม่และเด็กที่หมอบคลานอยู่เบื้องหน้าเรายังมีชีวิตอยู่ในโลกนี้หรือไปสู่โลกหน้าแล้ว ความตายเกิดขึ้นอย่างเงียบงัน เลือดเย็นจนเราไม่ได้ยินแม้เสียงเรียกร้อง

สิ่งนี้เกิดขึ้นเพียงเพราะว่าพวกเขาไม่มีแม้แต่อาหารเพียงพอในแต่ละมื้อ ในโลกอันอุดม มนุษย์บางคนกลับไม่มีสิทธิที่จะได้แม้อาหารเพียงเล็กน้อย ในขณะที่คนอื่นต่างอิ่มหนำสำราญ แต่พวกเขาไม่มีโอกาสเช่นนั้น ทารกน้อยซึ่งยังไม่ทันได้เรียนรู้ความทุกข์ยากในโลกเอาแต่ร้องไห้ จนกระทั่งผล็อยหลับไป โดยไม่มีโอกาสได้กินนมที่เขาต้องการอย่างมาก แล้วอีกวันหนึ่งต่อมา ทารกน้อยอาจไม่มีแรงแม้แต่จะร้องไห้ก็ได้

ผมเคยตื่นเต้นกับการสอนให้นักศึกษาเข้าใจว่าทฤษฎีเศรษฐกิจให้คำตอบกับปัญหาเศรษฐกิจทุกอย่างได้อย่างไร ผมเคยหลงใหลได้ปลื้มกับความฉลาดและความสง่างามของทฤษฎีเหล่านี้ แต่ทันใดนั้นเอง ผมเริ่มรู้สึกเบาหวิว ทฤษฎีที่สวยงามเหล่านี้จะมีประโยชน์อย่างไรในเมื่อมีผู้คนต้องตายเพราะความอดอยากตามข้างถนน และที่ประตูบ้านเราเอง. ห้องเรียนกลายเป็นเหมือนโรงหนังสำหรับผม เป็นที่ ๆ ทำให้ผมสบายใจ เพราะรู้ว่าถึงที่สุดแล้ว พระเอกในหนังก็จะชนะอยู่ดี

ในห้องเรียน ผมทราบดีตั้งแต่ต้นว่าปัญหาเศรษฐกิจทุกอย่างล้วนมีคำตอบอันสวยงาม แต่เมื่อออกจากห้องเรียน ผมต้องเผชิญกับโลกแห่งความจริง โลกที่คนดี ๆ ถูกย่ำยีบีฑาอย่างไร้ความปราณี ปัญหาเลวร้ายลงในแต่ละวัน คนจนยากจนยิ่งขึ้น ดูเหมือนว่าสำหรับพวกเขาแล้ว ความตายให้พ้นจากความอดอยากเป็นชะตากรรมเพียงอย่างเดียวที่มีอยู่ ทฤษฎีเศรษฐกิจไหนล่ะที่จะอธิบายถึงชีวิตจริงเช่นนี้ได้ ผมจะพอใจกับการบอกให้นักศึกษาเชื่อในเรื่องราวต่าง ๆ ในนามของเศรษฐศาสตร์ต่อไปได้อย่างไรล่ะ

ผมต้องการวิ่งหนีจากทฤษฎี จากตำราเหล่านี้ ผมรู้สึกว่าต้องหนีจากชีวิตนักวิชาการ ผมต้องการเข้าใจความจริงที่อยู่รายรอบคนยากจน เพื่อค้นพบเศรษฐศาสตร์ชีวิตจริงที่เกิดขึ้นในทุกเมื่อเชื่อวันในหมู่บ้านใกล้ ๆ อย่างจอบรา โชคดีที่จอบราเป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากมหาวิทยาลัย. จอมพลอายุค ข่าน อดีตประธานาธิบดีปากีสถานได้ทำรัฐประหารเพื่อยึดอำนาจเมื่อปี 2501 และปกครองประเทศด้วยระบอบเผด็จการทหารจนถึงปี 2512 ความที่เขาไม่นิยมชมชอบนักศึกษา ด้วยเห็นว่าเป็นพวกก่อปัญหา มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่ก่อตั้งขึ้นในช่วงที่เขามีอำนาจจึงตั้งอยู่ห่างจากย่านชุมชน เพื่อให้นักศึกษาไม่มีบทบาทเข้าไปปลุกระดมประชาชนในทางการเมือง

มหาวิทยาลัยจิตตะก่องเป็นหนึ่งในหลายมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งขึ้นในช่วงที่เขาเรืองอำนาจ และเขาเลือกสร้างมหาวิทยาลัยแห่งนี้ในย่านจิตตะก่อง ถัดจากหมู่บ้านจอบรา. ผมตัดสินใจที่จะกลับไปเป็นนักศึกษาอีกครั้ง และจอบราจะเป็นมหาวิทยาลัยของผม ผู้คนที่นี่จะเป็นครูของผม ผมสัญญากับตัวเองว่าจะพยายามเรียนรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับหมู่บ้าน ผมคิดว่าคงเป็นเรื่องโชคดีที่จะมีโอกาสเข้าใจชีวิตของคนยากจนคนหนึ่ง เป็นการเรียนรู้ที่แตกต่างอย่างมากจากตำรา การเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยมุ่งให้นักศึกษาเห็นภาพจากมุมกว้างแบบนก และพยายามสร้างระยะห่างอย่างมากระหว่างตัวนักศึกษากับชีวิตจริง เมื่อโลกทั้งโลกอยู่ในอุ้งมือเรา และเราสามารถเห็นจากมุมกว้างแบบนก เราจะกลายเป็นคนยโสโอหัง และไม่ตระหนักว่าเมื่อมองจากระยะห่างเช่นนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างจะพร่ามัวไปหมด สิ่งที่เราเห็นจะเกิดจากจินตนาการมากกว่าความจริง

ผมเลือกมองจากแง่มุมที่ใกล้ชิดแบบหนอน ผมเชื่อว่าเราควรมองจากระยะใกล้เพื่อให้เห็นพวกเขาอย่างลึกซึ้ง ถ้ามีอุปสรรคระหว่างทาง ผมก็จะทำตัวเหมือนตัวหนอนด้วยการเลื้อยอ้อมไป และสุดท้ายจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายบางอย่างที่ต้องการได้. ผมเริ่มรู้สึกว่าไม่สามารถทำอะไรได้เลยในขณะที่คนอดอยากจำนวนมากหลั่งไหลเข้าสู่กรุงธากา องค์กรการกุศลจัดตั้งโรงทานขึ้นในหลายจุดของเมือง หลายชุมชนพยายามอย่างมากที่จะหาอาหารมาเลี้ยงดูคนอดอยาก แต่คนหนึ่งคนจะเลี้ยงดูคนได้สักกี่คนในแต่ละวันล่ะ ความอดอยากแพร่กระจายไปอย่างน่าสมเพช

ผมพยายามปลุกเร้าความมั่นใจด้วยการกำหนดบทบาทใหม่ให้กับตัวเอง ผมพยายามบอกตัวเองว่าถึงเราจะไม่สามารถช่วยคนได้มากนัก แต่เราก็อาจทำตัวให้เป็นประโยชน์ได้แม้เพียงวันเดียว หรือเพียงไม่กี่ชั่วโมงสำหรับมนุษย์หนึ่งคน นั่นคงเป็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่แล้ว ความคิดที่จะให้ความช่วยเหลือเล็ก ๆ ซึ่งไม่ใช่เป็นความช่วยเหลือในทางทฤษฎี อย่างน้อยต่อคนหนึ่งคนทำให้ผมเกิดกำลังใจขึ้นมาก ผมรู้สึกมีชีวิตขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อได้ไปเยือนหมู่บ้านยากจนที่จอบรา ผมรู้ดีถึงสิ่งที่กำลังแสวงหา และเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น จุดหมายในชีวิตของผมไม่เคยชัดเจนเช่นนั้นมาก่อน

ผมเริ่มไปเยือนย่านคนยากจนในเขตเมืองจอบรา เพื่อดูว่าจะมีทางช่วยพวกเขาได้อย่างไรบ้าง ศาสตราจารย์ละติฟี เพื่อนร่วมงานของผมมักจะเดินทางไปพร้อมกัน เขารู้จักครอบครัวส่วนใหญ่ที่นี่และมีพรสวรรค์ในการทำให้ชาวบ้านรู้สึกเป็นมิตรได้ง่าย. ที่หมู่บ้านมีคนอยู่สามกลุ่ม ทั้งมุสลิม ฮินดู และพุทธ เมื่อไปเยือนกลุ่มบ้านของชาวพุทธ เราเคยพาทิปาล จันทรา บารัว นักศึกษาของเราไปด้วย เขามาจากครอบครัวชาวพุทธที่ยากจนในเมืองจอบรา และพร้อมจะทำงานตามที่ผมมอบหมายให้

วันหนึ่งระหว่างที่ละติฟีและผมเดินสำรวจรอบหมู่บ้านจอบรา เราไปหยุดที่บ้านเก่าซอมซ่อหลังหนึ่ง เราได้พบกับผู้หญิงซึ่งกำลังนั่งทำเก้าอี้ไม้ไผ่ ทันทีที่เห็นเรารู้ได้ทันทีว่าครอบครัวของเธอต้องอดอยากยากจนมาก "ผมอยากคุยกับเธอ" ผมบอกกับละติฟี, ละติฟีเดินนำหน้าฝ่าเล้าไก่และแปลงผักเข้าไป พร้อมกับตะโกนถามด้วยเสียงเป็นมิตรว่า "มีใครอยู่ไหม"

ผู้หญิงคนนั้นกำลังนั่งอยู่บนพื้นดินที่ทำเป็นระเบียงบ้านใต้หลังคาผุ ๆ พัง ๆ และมีสมาธิอยู่กับงาน เธอใช้มือจับเก้าอี้ซึ่งทำเสร็จแล้วครึ่งหนึ่งไว้ระหว่างเข่า ระหว่างที่สอดตอกไม้ไผ่เข้าไป เมื่อได้ยินเสียงละติฟี เธอทิ้งงานเอาไว้และลุกวิ่งหนีเข้าไปในบ้าน. "ไม่ต้องกลัวหรอก" ละติฟีบอก "เราไม่ใช่คนแปลกหน้า เราสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัย เราเป็นเพื่อนบ้านของคุณ เราแค่อยากถามคำถามนิดหน่อย". เมื่อเริ่มไว้วางใจกับบุคลิกและความอ่อนโยนของละติฟี เธอเริ่มพูดด้วยเสียงเบา ๆ ว่า "ไม่มีใครอยู่บ้าน" เธอหมายถึงว่าไม่มีผู้ชายอยู่บ้านเลย เนื่องจากไม่เป็นการเหมาะสมเลยที่ผู้หญิงในบังคลาเทศจะพูดกับผู้ชายซึ่งไม่ใช่ญาติสนิท

เด็ก ๆ วิ่งเล่นตัวเปล่าเปลือยแถวลานหน้าบ้าน ชาวบ้านแถวนั้นเริ่มเข้ามาด้อม ๆ มอง ๆ. พวกเขาคงสงสัยว่าเรามาทำอะไรที่นี่. ตอนที่ไปเยือนกลุ่มบ้านชาวมุสลิม ระหว่างสัมภาษณ์ผู้หญิง เรามักจะต้องพูดผ่านกำแพงไม้ไผ่ เป็นประเพณี"ปุระดาห์"ของชาวมุสลิม (ซึ่งแปลว่า "ผ้าม่าน" หรือ "ผ้าคลุมหน้า") ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วต้องตัดขาดตัวเองจากโลกภายนอก และเป็นประเพณีที่มีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในเมืองจิตตะก่อง บางครั้งผมจึงต้องใช้ให้นักศึกษาที่เป็นผู้หญิงหรือนักเรียนหญิงในท้องถิ่น เข้าไปถามคำถามและเอาคำตอบมาให้ แต่เนื่องจากผมเป็นคนที่จิตตะก่องและพูดภาษาท้องถิ่นได้ ผมจึงทำให้พวกเขามั่นใจได้มากกว่าคนที่มาจากภายนอก แต่ถึงอย่างนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย

ผมรักเด็ก ๆ และการพูดชมเด็ก ๆ ที่อยู่กับแม่มักเป็นวิธีสร้างความคุ้นเคยได้อย่างเป็นธรรมชาติ แม่ของผมมีลูก 14 คน (รอดชีวิต 9 คน) ผมเป็นคนที่ 3 และโตขึ้นมาพร้อมกับการป้อนข้าวและเปลี่ยนผ้าอ้อมให้กับน้องสาวและน้องชาย ตอนที่อยู่บ้านถ้ามีเวลาว่าง ผมจะเอาเด็กขึ้นมาอุ้มและไกวในมือ ประสบการณ์เช่นนี้มีประโยชน์อย่างมากในการทำงานภาคสนาม. ผมเริ่มขอทารกน้อยตัวเปล่าเปลือยขึ้นมาอุ้ม แต่เขาเริ่มร้องไห้เลยต้องรีบส่งคืนให้กับแม่ เธอปล่อยให้เขาคลานขึ้นมาที่อ้อมแขน

"พี่มีลูกกี่คน" ละติฟีถาม
"สาม"
"เด็กน่ารักจัง" ผมบอก

เมื่อเริ่มรู้สึกมั่นใจ แม่ของเด็กจึงอุ้มเด็กมายืนที่ปากประตู เธอมีอายุราว 20 ปีต้น ๆ รูปร่างผอม ผิวคล้ำ ตาดำ เธอสวมส่าหรีสีแดง และมีลักษณะเหมือนผู้หญิงคนอื่นอีกนับล้านคน ที่ต้องทำงานจากเช้าจรดเย็นด้วยความยากลำบาก

"คุณชื่ออะไร"
"ซูเฟีย เบกุม"
"อายุเท่าไร"
"21"

ผมไม่ได้ใช้สมุดโน้ตจดเพราะจะทำให้เธอรู้สึกตกใจ ผมจะให้นักศึกษาจดหลังจากที่เรากลับจากการสัมภาษณ์แล้ว

"ไม้ไผ่พวกนี้เป็นของคุณหรือ" ผมถามเธอ
"ใช่"
"คุณได้มันมายังไง"
"ฉันซื้อมา"
"ซื้อมาราคาเท่าไร"
"5 ตากา" (ประมาณ 2.50 บาท)
"คุณมีเงิน 5 ตากาหรือ"
"ไม่มีหรอก ฉันยืมมาจากไพการ์"
"คนกลางหรือ และมีเงื่อนไขยังไง"
"ฉันต้องขายเก้าอี้ไม้ไผ่คืนให้กับเขาในตอนเย็น เพื่อจ่ายหนี้ เหลือเงินเท่าไรก็จะเป็นกำไรของฉัน"
"คุณขายราคาเท่าไร"
"5 ตากากับ 50 ไพสาส์"
"แสดงว่าคุณได้กำไร 50 ไพสาส์ใช่ไหม" เธอผงกศีรษะ หมายถึงว่าเธอจะมีกำไรเพียง 50 ไพสาส์ (25 สตางค์) "แล้วคุณไม่สามารถยืมเงินเพื่อเอาไปซื้อวัตถุดิบเองได้หรือ"
"ได้ แต่คนปล่อยกู้เรียกดอกเบี้ยสูง และคนที่เอาเงินกู้กับพวกเขามีแต่จนลง"
"คนปล่อยกู้คิดดอกเบี้ยเท่าไร"
"ก็ไม่แน่นอน บางทีพวกเขาก็คิด 10% ต่อสัปดาห์ แต่เพื่อนบ้านบางคนต้องจ่าย 10% ต่อวันด้วยซ้ำ"
"แสดงว่าคุณได้เงินแค่ 50 ไพสาส์จากการทำเก้าอี้สวย ๆ นี่หรือ"
"ใช่ค่ะ"

การเรียกดอกเบี้ยแพง ๆ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและยอมรับกันทั่วไปในประเทศโลกที่สาม คนกู้เองก็ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างไร ในชนบทของบังคลาเทศ ข้าวเปลือก 1 กก.ที่ยืมไปในช่วงต้นฤดูเพาะปลูกจะต้องถูกจ่ายคืนด้วยข้าวเปลือก 2.5 กก.ในช่วงเก็บเกี่ยว

ยังมีทางเลือกในการกู้ยืมอย่างอื่น อย่างเช่น การนำที่ดินไปจำนองทำให้ผู้ปล่อยกู้มีกรรมสิทธิ์เหนือที่ดินจนกว่าจะมีการนำเงินมาไถ่ถอน ในหลายกรณีมีการจัดทำเอกสารอย่างเป็นทางการ เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ให้กู้ ผู้ให้กู้ยังสร้างเงื่อนไขในการชำระคืนให้ยุ่งยาก โดยจะไม่ยอมรับเงินกู้ที่ชำระคืนเพียงบางส่วน หลังจากพ้นเวลาไปแล้ว ผู้ให้กู้ก็จะมีสิทธิที่จะ "ซื้อ" ที่ดินใน "ราคา" ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว สิ่งที่จำนองได้อีกอย่างหนึ่งคือการไปช่วยออกแรงทำงานในที่ดินของผู้ปล่อยกู้

ภายใต้ระบบ"ทาทาน" (ตกเขียว) พ่อค้าจะปล่อยเงินกู้ล่วงหน้าสำหรับพืชที่ใกล้จะออกดอกผล โดยผู้ปลูกถูกบังคับให้ต้องขายในราคาที่กำหนดล่วงหน้า ซึ่งมักจะต่ำกว่าราคาตลาด (ซูเฟีย เบกุม ก็ทำเก้าอี้ไม้ไผ่และต้องขายกลับในระบบทาทานให้กับไพการ์ของเธอ). ในบางครั้ง ชาวบ้านกู้ยืมเงินเพื่องานทางสังคมหรือเพื่อลงทุนบางอย่าง (เพื่อเอาไปแต่งงานลูกสาว, ติดสินบนเจ้าหน้าที่, สู้คดีในศาล, เงินภาษีสังคม) แต่บางครั้งก็ต้องกู้เพื่อความอยู่รอด (เอาไปซื้ออาหารหรือยา หรือเอาไปใช้ในช่วงที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉิน) แต่ในทุกกรณี ผู้กู้มักไม่สามารถปลดแอกตนเองจากวงจรของเงินกู้ได้ ปรกติแล้วผู้กู้ก็จะต้องกลับมากู้อีกเพื่อนำไปชำระหนี้เดิม และทางออกเดียวที่เหลืออยู่อาจจะเป็นความตาย. ผู้ให้กู้ที่คิดดอกเบี้ยอย่างหน้าเลือดมีในทุกสังคม หากเราไม่สามารถช่วยให้คนจนปลดแอกตนเองจากการเป็นทาสในระบบเงินกู้แล้ว โครงการเศรษฐกิจใด ๆ ก็ไม่มีทางแก้ไขปัญหาชีวิตของคนยากจนได้

ซูเฟีย เบกุม เริ่มก้มหน้าก้มตาทำงานอีกครั้ง เพราะไม่ต้องการเสียเวลาในการพูดคุยกับเรา ผมเฝ้ามองมือสีน้ำตาลเล็ก ๆ ของเธอเอาตอกร้อยเข้าไปในไม้ไผ่ เหมือนเป็นสิ่งที่ทำทุกวันเป็นเวลาหลายเดือน หลายปี ไม่มีสิ้นสุด นี่เป็นหนทางแห่งการอยู่รอดของเธอ เธอหย่อนเท้าที่เปลือยเปล่าลงบนพื้นดินแข็ง นิ้วเธอหนา เล็บดำปนเปื้อนด้วยดิน ลูกของเธอจะไปพ้นจากวงจรความยากจนได้อย่างไรและจะมีชีวิตที่ดีขึ้นได้ไหม ดูจะไม่มีความหวังเลยที่ลูกของเธอจะโตขึ้นและไปพ้นจากความทุกข์ยากเช่นนี้ พวกเขาจะมีโอกาสไปโรงเรียนได้อย่างไร ในเมื่อรายได้ที่เธอหาได้ไม่พอแม้แต่จะนำมาซื้ออาหาร ไม่ต้องพูดถึงที่พักอาศัยและเสื้อผ้าที่จะหาซื้อ

"วันหนึ่ง ๆ คุณหาเงินได้แค่ 50 ไพสาส์หรือเท่ากับ 8 แอนนาเท่านั้นใช่ไหม"
"ใช่ค่ะ ถ้าโชคดี"

เธอหาเงินได้ 25 สตางค์ต่อวัน ซึ่งทำให้ผมพูดไม่ออก ในการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยผมพูดถึงเงินเป็นล้าน เป็นพันล้านเหรียญ แต่ต่อหน้าต่อตาผม ปัญหาที่เป็นความเป็นความตายของผู้คนกลับอยู่ในรูปของเศษสตางค์ ต้องมีอะไรบางอย่างไม่ถูกต้อง ทำไมสิ่งที่สอนในมหาวิทยาลัยไม่สะท้อนถึงความจริงในชีวิตเธอเลย ผมรู้สึกโกรธตัวเอง โกรธโลกที่ไร้ความปราณี ดูเหมือนจะสิ้นหวังไปหมด ดูเหมือนจะไร้ทางออก

ซูเฟีย เบกุมไม่รู้หนังสือ แต่ไม่ใช่ว่าเธอไม่มีความสามารถใดเลย การที่เธอยังมีชีวิตอยู่ ยังนั่งอยู่หน้าผม สามารถทำงาน หายใจ ต่อสู้ดิ้นรนอย่างเงียบ ๆ แม้จะต้องลำบากตรากตรำอย่างมาก หมายถึงเธอก็มีความสามารถเหมือนกัน เป็นความสามารถในการอยู่รอด. ความยากจนอยู่คู่มากับโลก ซูเฟียไม่มีโอกาสในการพัฒนาพื้นฐานด้านเศรษฐกิจเลย แต่เพราะเหตุใด ตอนนั้นผมก็ไม่ทราบ เราโตขึ้นมาท่ามกลางคนยากจนมากมาย และไม่เคยตั้งคำถามว่าเหตุใดพวกเขาจึงยากจน ผมรู้สึกเหมือนกับระบบเศรษฐกิจที่เป็นอยู่ ไม่เปิดโอกาสอื่นใดนอกจากการกดให้รายได้ของเธออยู่ในระดับต่ำจนไม่สามารถมีเงินออมแม้เพียงสตางค์เดียว ไม่สามารถลงทุนเพื่อยกระดับเศรษฐกิจได้ ลูกของเธอก็คงเกิดมาพร้อมกับชะตากรรมที่ยากจนขัดสน มีชีวิตรอดอยู่ไปวัน ๆ เช่นเดียวกับชีวิตแม่ของพวกเขา และก็เช่นเดียวกับชีวิตของพ่อแม่ของซูเฟียด้วย

ในตอนนั้นผมไม่เคยได้ยินมาก่อนว่า การไม่มีเงินแค่ 2.50 บาทจะทำให้คนเป็นทุกข์ได้ ผมไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะมีเรื่องเช่นนี้เลย และไม่ได้เป็นการเสแสร้ง ผมควรจะล้วงกระเป๋าและยื่นเงินให้กับซูเฟียเพื่อแสดงความเห็นอกเห็นใจหรือเปล่า การทำเช่นนั้นคงไม่ยากลำบากเลย. เหตุใดมหาวิทยาลัยของผม ภาควิชาเศรษฐศาสตร์และภาควิชาเศรษฐศาสตร์ที่อื่น ๆ ทั่วโลก รวมทั้งศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ที่ชาญฉลาดหลายพันคน เหตุใดพวกเขาจึงไม่พยายามเข้าใจคนจน และช่วยเหลือคนที่ต้องการความช่วยเหลือมากที่สุด

ผมห้ามใจไม่ยื่นเงินที่ซูเฟียต้องการให้ เธอไม่ได้ร้องขอความช่วยเหลือแบบสังคมสงเคราะห์ และนั่นก็คงไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาของเธออย่างถาวร ผู้ชายที่นี่ต่างทำงานในเรือกสวนไร่นาบ้าง ซ่อมรถสามล้อบ้าง ตีเหล็กบ้าง งานที่ชนบทในบังคลาเทศดูเหมือนไม่มีวันสิ้นสุด ผมมักจะภูมิใจกับความสามารถและความแข็งแรงทางร่างกายของพี่น้องชาวบังคลาเทศ

ละติฟีและผมขับรถกลับไปที่หอพักมหาวิทยาลัยที่อยู่บนเนินเขา พวกเราเดินทอดน่องในสวนในช่วงอากาศร้อนช่วงสุดท้ายของวัน การเดินขึ้นลงเขามีประโยชน์กับผม ผมเกิดมาพร้อมกับโรคฝ่าเท้าแบนและไม่เคยเล่นกีฬาจริงจัง ผมไม่ใช่คนแข็งแรงเอาเลย ผมเคยเรียนว่ายน้ำแต่ก็เล่นเพื่อสนุก ผมไม่เคยออกกำลังกายเพียงพอ คุณหมอบอก. ผมจึงพยายามเดินเท่าที่จะทำได้ เพื่อนพยายามบอกให้ผมดูแลตัวเองให้ดีขึ้น แต่ความจริงก็คือผมไม่อยากเสียเวลาและก็ไม่สนใจที่จะเสียเวลาให้กับสุขภาพ

ผมสะท้อนใจกับช่องว่างมากมายระหว่างวาทศิลป์อันไพเราะของรัฐบาลกับความจริงในสังคม ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนระบุไว้ว่า "ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับมาตรฐานการดำรงชีพที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพและสวัสดิภาพของตนเองและครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เสื้อผ้า ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค รวมทั้งบริการด้านสังคมที่จำเป็น และมีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองในช่วงที่ว่างงาน เจ็บป่วย พิการ เป็นหม้าย ชรา หรือขาดหนทางหาเลี้ยงชีพอย่างสุดวิสัย" ปฏิญญายังเรียกร้องให้ประเทศภาคีส่งเสริมให้มีการ "ยอมรับและปฏิบัติตาม" สิทธิเหล่านี้

ดูเหมือนว่าความยากจนก่อให้เกิดเงื่อนไขทางสังคมที่ปฏิเสธสิทธิมนุษยชนทั้งปวง ไม่ใช่แค่บางส่วน คนจนไร้ซึ่งสิทธิทั้งปวง ไม่ว่ารัฐบาลของเขาจะลงนามในสัญญา หรือเจ้าหน้าที่จะจัดพิมพ์สัญญาเหล่านี้เสียใหญ่โตอย่างไร. ผมพยายามมองปัญหาจากแง่มุมของซูเฟีย ผมพยายามคิดว่าถ้าตัวเราเป็นหนอน เราจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้านี้อย่างไร เราจะแก้ปัญหาต้นทุนไม้ไผ่อย่างไร จะแก้ปัญหาได้ไหม ต้องปีนขึ้นกำแพงไปหรือเปล่า ต้องหาช่องโหว่และมุดลอดไปหรือเปล่า

ผมไม่มีคำตอบให้กับปัญหาของซูเฟีย ผมเพียงแต่พยายามเข้าใจว่าเหตุใดเธอจึงต้องมีความทุกข์ เธอทุกข์เพราะว่าไม้ไผ่มีราคา 5 ตากา และเธอไม่มีเงินสดที่จำเป็นเลย ความทุกข์ในชีวิตเกิดขึ้นเพราะเธอต้องมีชีวิตอยู่ในวัฏจักรที่ดิ้นไม่หลุด การยืมเงินจากพ่อค้าและต้องขายสินค้าคืนให้เขา เธอไม่สามารถปลดแอกตนเองจากวงจรเช่นนั้น วิธีการง่าย ๆ ดูเหมือนจะเป็นการที่ผมให้เธอยืม 5 ตากา. ในตอนนั้นแรงงานที่เธอทำเกือบจะมีมูลค่าเท่ากับศูนย์ การทำงานแบบนั้นมีลักษณะเหมือนแรงงานตามพันธสัญญาหรือแรงงานทาส พ่อค้าเพียงแต่จ่ายให้ซูเฟียมากพอที่จะใช้ซื้อวัตถุดิบ และมากพอที่เธอจะไม่ต้องเสียชีวิตไป เพราะเธอต้องมีชีวิตอยู่เพื่อยืมเงินกับเขาต่อไป

ผมเห็นว่าซูเฟียทำงานเหมือนกับเป็นแรงงานทาส และเธอไม่มีโอกาสจะเปลี่ยนแปลงชีวิตได้เลยถ้าไม่สามารถหาเงิน 5 ตากาได้เอง สินเชื่อจะช่วยให้เธอมีเงินจำนวนนั้นได้ และจะทำให้เธอสามารถขายสินค้าในตลาดเสรี และอาจทำให้ได้ส่วนต่างระหว่างต้นทุนวัตถุดิบกับราคาขายที่ดีขึ้น

วันต่อมาผมตามตัวมัยมุนา นักศึกษาซึ่งช่วยผมเก็บข้อมูล และขอให้เธอช่วยทำบัญชีรายชื่อของคนที่อยู่ในเมืองจอบรา ซึ่งมีสภาพเดียวกับซูเฟีย คนที่ต้องขอยืมเงินจากพ่อค้า และไม่มีโอกาสได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมจากการทำงาน. ภายในหนึ่งสัปดาห์เราสามารถจัดทำบัญชีรายชื่อได้ ในนั้นมีชื่อคน 42 คน ซึ่งต้องยืมเงินเป็นจำนวน 856 ตากา หรือเท่ากับ 428 บาท. "โอพระเจ้า คนตั้ง 42 ครอบครัวต้องทนทุกข์ทรมานเพราะไม่มีเงินแค่ 428 บาทหรือ" ผมอุทาน

มัยมุนายืนอยู่ตรงนั้นและพูดอะไรไม่ออก เราทั้งคู่ต่างประหลาดใจ ตกใจ และเศร้าเหลือเกินกับความทุกข์ที่เป็นอยู่ ผมยังครุ่นคิดถึงแต่วิธีการแก้ปัญหานี้ ผมต้องการช่วยคนที่มีร่างกายแข็งแรงและขยันขันแข็ง 42 คนนี้ ผมเฝ้าทบทวนปัญหานี้เหมือนกับสุนัขหวงกระดูก ถ้าผมให้พวกเขายืมเงิน 428 บาท พวกเขาก็สามารถผลิตสินค้าเพื่อขายให้ใครก็ได้ และจะได้ค่าตอบแทนสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และไม่จำเป็นต้องตกเป็นทาสของพ่อค้าและผู้ให้กู้ยืมที่ขูดรีด ถ้าผมให้พวกเขายืมเงิน 428 บาท พวกเขาก็สามารถจ่ายคืนให้เมื่อใดก็ได้ที่ทำได้

ซูเฟียต้องการสินเชื่อเพราะว่า เธอไม่มีเงินสำรองที่จะเอาไว้ใช้ในช่วงที่เกิดปัญหา ซึ่งมักจะเกิดขึ้นบ่อย ๆ เธอไม่มีเงินเหลือพอสำหรับให้ครอบครัว สำหรับการทำงานจักรสานต่อไป หรือแม้กระทั่งเงินที่จะช่วยให้มีชีวิตอยู่ได้เมื่อเกิดภัยพิบัติ. โชคร้ายที่ไม่มีสถาบันการเงินในระบบใดที่ยินดีปล่อยสินเชื่อให้คนจน ตลาดสินเชื่อในระบบตกอยู่ใต้อำนาจของผู้ให้กู้ในท้องถิ่น และทำหน้าที่เหมือนกับการจราจรทางเดียวที่ผลักไสให้คนเข้าสู่ถนนแห่งความยากจน

คนเราไม่ได้จนเพราะโง่หรือขี้เกียจ พวกเขาทำงานทั้งวัน ทำงานที่ซับซ้อน พวกเขาจนเพราะไม่มีโครงสร้างการเงินที่จะช่วยให้พวกเขาสามารถขยับขยายสถานะทางเศรษฐกิจได้ มันเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างมากกว่าตัวบุคคล. ผมให้เงินมัยมุนา 428 บาท และบอกเธอว่า "โปรดนำเงินจำนวนนี้ไปให้คน 42 คนกู้ พวกเขาสามารถนำเงินนี้ไปชำระคืนพ่อค้าได้ และสามารถขายสินค้าให้กับใครก็ได้ที่ให้ราคาดี"

"แล้วพวกเขาควรเอาเงินมาชำระคืนคุณเมื่อใด"
"ตอนไหนก็ได้" ผมบอก
"ตอนไหนก็ได้ที่เขาสามารถขายสินค้าได้ในราคาดี พวกเขาไม่จำเป็นต้องจ่ายดอกเบี้ย ผมไม่ได้ทำธุรกิจ".
มัยมุนาเดินออกไปด้วยความประหลาดใจกับผลลัพธ์สุดท้าย

ปรกติแล้วเมื่อหัวถึงหมอนผมสามารถหลับได้แทบจะทันที แต่คืนนั้น ผมนอนครุ่นคิดด้วยความอับอายว่า ตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของสังคมซึ่งไม่สามารถให้เงินกับบุคคล 42 คนที่แข็งแรงและขยันขันแข็ง เพื่อช่วยให้พวกเขามีชีวิตรอดได้

อีกสองสัปดาห์ต่อมา ผมพบว่าสิ่งที่ทำไปไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา และเป็นการแก้ปัญหาที่ตอบสนองความต้องการและอารมณ์ส่วนตัวเท่านั้น ผมทำได้แค่ให้เงินพวกเขายืม 428 บาท แต่อันที่จริงสิ่งที่ผมต้องทำคือการแก้ปัญหาในเชิงโครงสร้าง ไม่อย่างนั้น ถ้าคนอื่นต้องการเงินพวกเขาก็สามารถหาเงินได้ง่าย ๆ ด้วยการตามล่าหาตัวหัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยนี้. ความคิดของผมยังมุ่งแก้ปัญหาแบบชั่วคราวและทำตามอารมณ์ ผมต้องหาวิธีแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและพึ่งพาได้

คนยากจนคงไม่สามารถเดินขึ้นมาบนภูเขาเพื่อขอเข้าพบหัวหน้าภาควิชาได้ เจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยคงไม่ปล่อยให้คนจนเดินผ่านประตูรั้วเข้ามา เพราะพวกเขาคิดว่าคนจนมาที่นี่เพื่อลักทรัพย์. ผมต้องทำอะไรบางอย่าง แต่อะไรล่ะ? ผมตัดสินใจที่จะไปติดต่อกับผู้จัดการธนาคารแถวนั้น และขอให้เขาปล่อยกู้ให้กับคนจน สิ่งที่เราต้องการคือสถาบันการเงินที่จะปล่อยกู้ให้กับคนที่ไม่มีหลักทรัพย์อะไรเลย มันก็ดูง่าย ๆ อย่างนั้น นั่นคือจุดเริ่มต้นของทั้งหมด

ผมไม่ได้พยายามทำตัวเป็นคนปล่อยเงินกู้ ผมไม่มีจุดประสงค์ที่จะให้เงินกู้กับใคร สิ่งที่ผมต้องการทำคือการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แม้จนทุกวันนี้ ผมยังมองว่าตัวเอง งานของผม และของเพื่อนร่วมงานที่ธนาคารกรามีน ต่างมุ่งไปที่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าแบบเดิม ๆ ปัญหาความยากจนซึ่งลดทอนและสั่นคลอนคุณค่าความหมายทุกอย่างของมนุษย์

(คลิกไปอ่านต่อบทความแปลเรื่องเดียวกันนี้ ตอนที่ ๒)

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน


นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ หรือถัดจากนี้สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

คิดต่างในเชิงสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ดีกว่าและเสรีภาพ
21January 2008
Free Documentation License
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
ผมคิดถึงคนจนตลอดเวลา และเพราะพวกเขานี่แหละ ผมถึงมีจุดยืนที่ในบางครั้งซึ่งอาจดูไม่สม่ำเสมอ สิ่งที่ธนาคารกรามีนเชื่อมั่นและพยายามพูดตลอดเวลาก็คือ คนจนเป็นลูกค้าที่ดีของธนาคารได้เสมอ เราสามารถปล่อยกู้ให้เขาตามเงื่อนไขเชิงการค้าและสามารถทำกำไรได้ ธนาคารสามารถและควรจะให้บริการกับคนยากไร้ในโลก โดยไม่จำเป็นต้องทำเพราะความเห็นอกเห็นใจ แต่ทำเพราะความอยากได้กำไรก็ได้ การปฏิบัติกับคนจนราวกับเป็นจัณฑาลและอนารยชนเป็นสิ่งผิดศีลธรรมและไร้เหตุผล ทั้งยังเป็นการกระทำที่โง่เขลาอีกด้วยเมื่อมองจากในแง่การเงิน...
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream

Muhammad Yunus

การกำจัดความยากจนโดยตรง ควรเป็นวัตถุประสงค์ของเงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาทุกประเภท และการพัฒนาควรเป็นประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน ไม่ใช่ไปใส่ใจเฉพาะการเติบโตของผลผลิตมวลรวมประชาชาติ ไม่ใช่ไปเหมาเอาว่าถ้าเศรษฐกิจของชาติดีแล้ว คนจนจะได้รับประโยชน์ เราต้องนิยามการพัฒนาใหม่ การพัฒนาควรหมายถึงการเปลี่ยนแปลงในทางบวก ในแง่สถานะทางเศรษฐกิจของประชากร 50% ที่อยู่ด้านล่างของทุกสังคม ถ้าเงินช่วยเหลือไม่สามารถช่วยให้ประชากรส่วนล่างของสังคมมีเศรษฐกิจดีขึ้นแล้ว ก็ไม่ถือเป็นเงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา พูดอีกอย่างหนึ่ง เราควรวัดและตัดสินการพัฒนาเศรษฐกิจจากการพิจารณารายได้ต่อหัวที่แท้จริงของประชากรครึ่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ส่วนล่างของสังคม