1
2
3
4
5
6
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
18-03-2551 (1511)
แนะนำหนังสือ หลังอาณานิคมศึกษา
เรื่อง Orientalism, Edward Said
Orientalism(book)
: ลัทธิบูรพนิยม(หนังสือ) โดยเอ็ดวาร์ด ซาอิด
สมเกียรติ
ตั้งนโม : เรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
Orientalism: Author
Edward Said
Country United States, Language English, Subject(s) Postcolonial studies
Genre(s) Non-fiction. Publisher Vintage Books, Publication date 1978
ISBN ISBN 0-394-74067-X
งานชิ้นนี้ ใช้สารานุกรมวิกกีพิเดียเป็นหลักในการเรียบเรียง และได้มีการค้นคว้าเพิ่มเติมเชิงอรรถตามสมควร
เนื้อหาของบทเรียบเรียง กล่าวถึงหนังสือลัทธิบูรพนิยม ซึ่งได้แบ่งออกเป็น ๓ บท
ประกอบด้วย
บทที่ ๑ ขอบเขตเกี่ยวกับลัทธิบูรพนิยม (The Scope of Orientalism)
บทที่ ๒ โครงงสร้างลัทธิบูรพนิยม และการรื้อโครงสร้างใหม่ (Orientalist Structures
and Restructures)
บทที่ ๓ ลัทธิบูรพนิยมปัจจุบัน (Orientalism Now)
นอกจากนี้ยังได้พูดถึงอิทธิพลของหนังสือเล่มดังกล่าวที่ส่งผลต่อหลังอาณานิคมศึกษาต่อมา
พร้อมวิจารณ์หนังสือเล่มนี้โดยผู้เชี่ยวชาญลัทธิบูรพนิยมหลายคน อาทิ Bernard
Lewis,
George Landow, Robert Irwin ซึ่งนักวิจารณ์บางคนเห็นว่าเป็นหนังสือแนวตลาด
โดยพยายามย่อยปัญหาที่ซับซ้อนในตะวันออกกลางให้เป็นเรื่องง่ายๆ นอกจากนี้ ยังละเลยการ
อ้างถึงนักวิชาการอาหรับอื่นๆ ที่สำคัญหลายคน ด้วยเหตุนี้ ความบกพร่องทั้งหมดของของหนังสือ
จึงตกเป็นบาปและความรับผิดชอบของเอ็ดวาร์ด ซาอิด แต่เพียงผู้เดียว
midnightuniv(at)gmail.com
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ ๑๕๑๑
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๑๘ มีนาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
๑๒.๕ หน้ากระดาษ A4)
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
แนะนำหนังสือ หลังอาณานิคมศึกษา
เรื่อง Orientalism, Edward Said
Orientalism(book)
: ลัทธิบูรพนิยม(หนังสือ) โดยเอ็ดวาร์ด ซาอิด
สมเกียรติ
ตั้งนโม : เรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
Orientalism: Author Edward
Said
Country United States, Language English, Subject(s) Postcolonial studies
Genre(s) Non-fiction. Publisher Vintage Books, Publication date 1978
ISBN ISBN 0-394-74067-X
หนังสือเรื่องลัทธิบูรพนิยม(Orientalism)
ตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ.1978 เขียนโดย เอ็ดวาร์ด ซาอดิ
ถือเป็นหมุดหมายการเริ่มต้นของหลังอาณานิคมศึกษา (postcolonial studies) เนื้อหาภายในบทความนี้ประกอบด้วย
1. ภาพรวมเกี่ยวกับหนังสือลัทธิบูรพนิยม
2. ใจความโดยสรุปของหนังสือ2.1 บทที่ 1 ขอบเขตเกี่ยวกับลัทธิบูรพนิยม
2.2 บทที่ 2 โครงงสร้างลัทธิบูรพนิยม และการรื้อโครงสร้างใหม่
2.3 บทที่ 3 ลัทธิบูรพนิยมปัจจุบัน3. อิทธิพล
4. การวิจารณ์
หนังสืออ้างอิง
1.
Overview : ภาพรวมเกี่ยวกับหนังสือลัทธิบูรพนิยม
หนังสือลัทธิบูรพนิยม(Orientalism)ของซาอิด เสนอว่า วาทกรรมทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งวาทกรรมเกี่ยวกับวัฒนธรรมอื่น
เดิมทีเป็นไปในลักษณะอุดมคติ ด้วยเหตุดังนั้นจึงไม่ได้ให้ความเอาใจใส่เกี่ยวกับวาทกรรมทางประวัติศาสตร์ของเรื่องราวดังกล่าว
ซึ่งจะต้องดำรงอยู่ในกรอบงานนั้นโดยเฉพาะ เพราะโครงสร้างทั้งหมดถือเป็นสิ่งจำเป็นต่อลักษณะที่เป็นอุดมคติ.
ซาอิดได้สร้างข้อถกเถียงของเขาในขอบเขตของลัทธิบูรพนิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการศึกษาเชิงวิชาการและในเชิงวาทกรรมทางการเมือง
รวมถึงวรรณกรรมรายรอบโลกอาหรับ, อิสลาม, และตะวันออกกลาง ซึ่งได้เริ่มต้นขึ้นครั้งแรกในประเทศอังกฤษและฝรั่งเศส
และต่อมาในสหรัฐอเมริกา
สิ่งที่เอ็ดวาร์ด ซาอิด พยายามแสดงให้เห็นคือ วาทกรรมดังกล่าว อันที่จริง มันได้สร้างการแบ่งแยกอย่างชัดเจน มากกว่าที่จะเป็นการสำรวจหรืออธิบาย ระหว่าง"ตะวันออก"กับ"ตะวันตก". ด้วยการแบ่งแยกนี้ เขาได้ให้ตัวอย่างต่างๆ ตลอดทั้งเล่ม เกี่ยวกับการวางวัฒนธรรมตะวันตกเอาไว้ในฐานะที่อยู่เหนือกว่าวัฒนธรรมตะวันออก. ซาอิดเสนอว่า นี่เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการเมืองการปกครอง เมื่อประเทศทั้งหลาย อย่างเช่น ฝรั่งเศส หรืออังกฤษ พยายามที่จะทำให้ประเทศตะวันออกซึ่งเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ตกเป็นอาณานิคมโดยสมบูรณ์ ยกตัวอย่างเช่น อียิปต์, อินเดีย, อัลจีเรีย, และประเทศอื่นๆ
วาทกรรมดังกล่าวที่ดำรงอยู่รายรอบประเทศเหล่านั้น ได้รับการใส่ระหัส, ซาอิดกล่าว, โดยความเหนือกว่านั้นไม่จำเป็นต้องสะท้อนให้เห็นในความเป็นจริงต่างๆ ของประเทศที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย. เมื่อผู้คนในตะวันตกพยายามที่จะศึกษาตะวันออก โดยแบบแผนแล้ว พวกเขากระทำเช่นนนั้นโดยผ่านวาทกรรมที่ถูกเข้าระหัสเอาไว้เรียบร้อยแล้ว ด้วยเหตุดังนั้น ซาอิดจึงกล่าวว่า การศึกษาพื้นที่บางแห่งที่เรียกว่า"ตะวันออก" และประชากรบางท้องถิ่นที่ถูกรู้จักในฐานะ"ชนชาวอาหรับ" จึงประสบกับความล้มเหลวเพราะไม่ได้พิจารณาใคร่ครวญ หรือไตร่ตรองถึงความเป็นจริงเกี่ยวกับอาณาบริเวณดังกล่าว อย่างที่เป็นอยู่ เช่นเดียวกันกับบางพื้นที่ของตะวันตก. ประเทศและผู้คนอื่นๆ ที่มีความแตกต่างออกไป ไม่ควรได้รับการมองเช่นเดียวกับวาทกรรมตะวันออกนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่การศึกษา"คนอื่น"(others)ด้วยภาพดังกล่าวโดยกมลสันดาน จึงเป็นหนึ่งในการศึกษาวัฒนธรรมที่ด้อยกว่า เมื่อมีการหยิบฉวยเอาวาทกรรมตะวันออกมาใช้เพื่ออธิบายมัน
2. Summary : ใจความโดยสรุปของหนังสือ
เอ็ดวาร์ด ซาอิด ได้สรุปผลงานของเขาว่า "ในความเห็นที่เป็นไปในเชิงโต้แย้งคือ
ลัทธิบูรพนิยม(Orientalism) โดยพื้นฐานแล้ว เป็นหลักทฤษฎีทางการเมืองที่มีเจตจำนงเหนือโลกตะวันออก
เพราะตะวันออกอ่อนแอกว่าตะวันตก ซึ่งเป็นการมองข้ามความแตกต่างของตะวันออกในความอ่อนแอกว่าอันนั้น
ลัทธิบูรพนิยม ในฐานะเครื่องมือทางวัฒนธรรม ดังนั้น ทั้งหมดจึงเป็นเรื่องของความก้าวร้าว
เป็นกิจกรรมที่มีการกำหนดเจตจำนงต่อความจริงและความรู้" (Orientalism, p.
204). เขายังเขียนต่อไปว่า
"ประเด็นของผมทั้งหมดเกี่ยวกับระบบคิดนี้ ไม่ใช่เป็นเรื่องการแสดงออก หรือการเป็นตัวแทนที่ผิดพลาดเกี่ยวกับแก่นแท้ของตะวันออก - ซึ่งผมไม่เชื่อเช่นนั้น - แต่มันเป็นปฏิบัติการต่างๆ ในฐานะการเป็นตัวแทนที่กระทำกันอย่างปกติ เพื่อวัตถุประสงค์, เพื่อดำเนินตามนโยบายในการจัดฉากประวัติศาสตร์ขึ้นมาโดยเฉพาะ, ทั้งทางด้านสติปัญญา, และการเข้าไปจัดการทางเศรษฐกิจ" (p. 273).
โดยหลักการ การศึกษาวาทกรรมวรรณคดีในคริสตศตวรรษที่ 19 ได้รับอิทธิพลอย่างเข้มแข็งจากผลงานของบรรดานักคิดอย่าง Chomsky, Foucault และ Gramsci, ผลงานของซาอิด มีความผูกพันกับความจริงร่วมสมัยดังกล่าว และมีนัยชัดเจนเกี่ยวพันกับเรื่องการเมืองด้วย. บ่อยทีเดียว ลัทธิบูรพนิยม(Orientalism) ได้ถูกจัดชั้นไปเข้าพวกกับผลงานหลังสมัยใหม่และหลังอาณานิคม ที่ได้มีส่วนร่วมในข้อสงสัยในหลายๆ ระดับ เกี่ยวกับการเป็นตัวแทนในตัวของมันเอง (แม้ว่าไม่กี่เดือนที่เขาจะถึงแก่กรรม ซาอิดกล่าวว่า เขามองว่าหนังสือเล่มนี้เป็นขนบจารีตของ"การวิจารณ์เชิงมนุษยศาสตร์"[humanistic critique] และเป็นเรื่องของยุคสว่างแห่งพุทธิปัญญา[the Enlightenment])
สำหรับหนังสือเรื่องลัทธิบูรพนิยม(Orientalism) ได้แบ่งออกเป็น 3 บทดังต่อไปนี้:
บทที่ 1 ขอบเขตเกี่ยวกับลัทธิบูรพนิยม (The Scope of Orientalism)
บทที่ 2 โครงงสร้างลัทธิบูรพนิยม และการรื้อโครงสร้างใหม่ (Orientalist Structures and Restructures)
บทที่ 3 ลัทธิบูรพนิยมปัจจุบัน (Orientalism Now)
บทที่ ๑ ขอบเขตเกี่ยวกับลัทธิบูรพนิยม
(The Scope of Orientalism)
ในส่วนแรก เอ็ดวาร์ด ซาอิด ได้วางกรอบข้อถกเถียงของตัวเขาด้วยการเตือนว่า อาจมีข้อผิดพลาดหรือความบกพร่องบางอย่างขึ้นได้
เขากล่าวว่า มันไม่ได้รวมเอาการพูดถึงลัทธิบูรพนิยมรัสเซียนเข้ามาไว้ และได้กันเอาลัทธิบูรพนิยมเยอรมันออกไปด้วยการจงใจ
ซึ่งเขาคิดว่ามันมีอดีตต่างออกไปอย่างชัดเจน (Said 1978: 2&4), และหวังว่าจะศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ต่อไปในอนาคต.
ซาอิดยังเสนอว่า มิใช่วาทกรรมทางวิชาการทั้งหมดในตะวันตกต้องเป็นแนวคิดบูรพนิยมโดยเจตนาหรือตั้งใจ แต่จำนวนมากมักเป็นเช่นนั้น เขายังได้กล่าวต่อด้วยว่า วัฒนธรรมทั้งมวลมีมุมมองหนึ่งเกี่ยวกับวัฒนธรรมอื่น ซึ่งอาจจะแปลกไปจากปกติ และในบางระดับไม่มีอันตรายใดๆ แต่ไม่ใช่ทัศนะเช่นนี้ที่เเขาโต้เถียงหรือคัดค้าน และเมื่อทัศนะอันนี้ได้ถูกนำไปใช้โดยวัฒนธรรมที่ครอบงำ อย่างกองทัพ หรือในทางเศรษฐกิจต่ออีกวัฒนธรรมหนึ่ง นั่นแหละที่มันสามารถจะนำไปสู่ผลลัพธ์ในเชิงวิบัติหรือก่อให้เกิดความย่อยยับได้
ซาอิดได้ดึงคำวิจารณ์และข้อคิดเห็นเชิงประวัติศาสตร์ทั้งจากงานเขียนและคำพูด โดยชาวตะวันตกบางคน อย่างเช่น Arthur James Balfour, Napoleon, Chaucer, Shakespeare, Byron, Henry Kissinger, Dante และคนอื่นๆ มาประกอบ ซึ่งได้บรรยายภาพ"ตะวันออก"ในฐานะที่เป็นอื่น และด้อยกว่า. ภาพตัวแทนที่ดูคมคายชิ้นหนึ่งที่ซาอิดยกมา คือกวีบทหนึ่งโดย Victor Hugo เรื่อง "Lui" ที่เขียนให้กับกษัตริย์นโปเลียน:
ที่แม่น้ำไนล์ ข้าพเจ้าพบกับพระองค์อีกครั้งหนึ่ง
อียิปต์ส่องสว่างด้วยกองเพลิงต่างๆ ในการปรากฏตัวขึ้นของพระองค์
วงวานจักรวรรดิของพระองค์ถือกำเนิดขึ้นในตะวันออก
ผู้ชนะ, ผู้มีความกระตือรือร้น, และการระเบิดที่สัมฤทธิผล
สิ่งมหัศจรรย์, พระองค์ทรงทำให้ผืนแผ่นดินแห่งความมหัศจรรย์งงงวย
บรรดาชีค ผู้นำศาสนาอาวุโสทั้งหลายต่างทำความเคารพคนหนุ่ม และประมุขที่สุขุมคัมภีรภาพ
ประชาชนต่างเกรงกลัวอาวุธต่างๆ ที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน;
ความสูงส่ง, พระองค์ทรงปรากฏพระวรกายต่อหน้าชนเผ่าต่างๆ ที่น่าพิศวง
คล้ายดั่งศาสดามุฮัมหมัดของโลกตะวันตก (Orientalism pg. 83)
บทที่ ๒ โครงงสร้างลัทธิบูรพนิยม
และการรื้อโครงสร้างใหม่
ในบทที่ 2 ซาอิดได้วางกรอบให้เห็นว่า วาทกรรมตะวันออกได้ถูกถ่ายทอดจากประเทศหนึ่งสู่อีกประเทศหนึ่งอย่างไร
และถูกถ่ายเทจากผู้นำทางการเมืองสู่นักประพันธ์อย่างไร เขาเสนอว่าวาทกรรมหรือคำอธิบายที่มีอำนาจนี้
ได้รับการสร้างขึ้นในฐานะที่เป็นรากฐานสำหรับการศึกษาต่อมาทั้งหมด(หรือส่วนใหญ่)
และมันเป็นวาทกรรมที่ทรงพลังของชาวตะวันตก. เขาระบุว่า "ปัจจัยสำคัญ 4 ประการที่อธิบายเรื่องนี้คือ
1. การแผ่ขยาย (expansion)
2. การเผชิญหน้าทางประวัติศาสตร์ (historical confrontation)
3. ความเห็นอกเห็นใจ (sympathy)
4. การจำแนกหมวดหมู่ (classification)
มันเป็นกระแสหรือแนวโน้มทางความคิดในคริสตศตวรรษที่ 18 ของการดำรงอยู่ทางด้านสติปัญญาและโครงสร้างสถาบัน โดยเฉพาะลัทธิบูรพนิยมจะต้องพึ่งพา"(120)
โดยการดึงข้อมูลจำนวนมากมาจากการสำรวจของชาวยุโรปในคริสตศตวรรษที่ 19 อย่างเช่น Sir Richard Francis Burton (*) และ Chateaubriand (**), ซาอิดเสนอว่า วาทกรรมใหม่อันนี้เกี่ยวกับตะวันออกได้รับการวางหรือกำหนดกรอบภายใต้เรื่องเก่าๆ เรื่องหนึ่ง นักประพันธ์และบรรดานักวิชาการทั้งหลาย อย่างเช่น Edward William Lane (***), ซึ่งใช้ชีวิตเพียงแค่ 2-3 ปีในอียิปต์ แต่ได้หวนกลับสู่ยุโรปด้วยหนังสือที่เขียนขึ้นอย่างละเอียดเกี่ยวกับประเทศนั้น (เรื่อง Manners and Customs of the Modern Egyptians) ซึ่งหนังสือเล่มนี้ได้เผยแพร่และกระจายออกไปอย่างกว้างขวาง มันถูกอ่านในฐานะที่เป็นความจริงทั่วทั้งทวีปยุโรป รวมถึงคนอย่าง Burton ซึ่งต่อมา ได้วางรากฐานการศึกษาของพวกเขาลงบนตะวันตกศึกษาก่อนหน้านั้นทั้งหมด
(*)Sir Richard Francis
Burton KCMG FRGS (March 19, 1821 - October 20, 1890) was an English explorer,
translator, writer, soldier, orientalist, ethnologist, linguist, poet, hypnotist,
fencer and diplomat. He was known for his travels and explorations within
Asia and Africa as well as his extraordinary knowledge of languages and cultures.
According to one count, he spoke 29 European, Asian, and African languages.
(**)Francois-Rene, vicomte de Chateaubriand (September 4, 1768 - July 4, 1848)
was a French writer, politician and diplomat. He is considered the founder
of Romanticism in French literature.
(***)Edward William Lane (September 17, 1801, Hereford, England-August 10, 1876, Worthing, Sussex) was a noted scholar of the Arabic language and Arabic literature. He sailed to Egypt in 1825. While in Egypt, he devoted himself to the study of Arabic, Arabic literature, and Islam, observed Egyptian manners and customs, and adopted the dress and habits of an Egyptian man of learning.
He returned to England
in 1828, with the draft of a travel book embellished with his own drawings.
After many rejections, he finally found a publisher -- however, rather than
putting the book through the press in its original form, he insisted on revisiting
Egypt in 1833 to check or expand his earlier observations. The resulting book,
Manners and Customs of the Modern Egyptians, was published in 1836 and became
a surprise best-seller.
บรรดานักเดินทางและนักวิชาการต่อๆ มาเกี่ยวกับตะวันออก พึ่งพาอาศัยวาทกรรมหรือคำอธิบายชุดนี้สำหรับการศึกษาของพวกเขา
และด้วยวาทกรรมบูรพนิยมของชาวตะวันตกที่มีอยู่เกี่ยวกับตะวันออก ได้ถูกส่งต่อผ่านบรรดานักเขียนตะวันตกและนักการเมืองทั้งหลาย
(ด้วยเหตุนี้ มันจึงได้ขยายไปทั่วทั้งยุโรป)
บทที่ ๓ ลัทธิบูรพนิยมปัจจุบัน
บทนี้วางกรอบที่ลัทธิบูรพนิยมที่ดำเนินต่อมา นับจากกรอบประวัติศาสตร์ที่ซาอิดได้วางโครงเอาไว้ในบทก่อน
หนังสือเล่มนี้ถูกเขียนขึ้นในปี ค.ศ.1978 ดังนั้นมันจึงครอบคลุมสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏขึ้นในประวัติศาสตร์ที่ดำรงอยู่ในช่วงวันดังกล่าวเท่านั้น
ซาอิดเสนอว่า การค้นพบน้ำมันในคาบสมุทรอาราเบียน และการเปลี่ยนแปลงอำนาจในการเมืองในระดับภูมิภาค
จากอังกฤษและฝรั่งเศสไปสู่สหรัฐอเมริกา เป็นเหตุการณ์สำคัญที่ได้ตัดแต่งรูปร่างและปรับทิศทางความคิดเกี่ยวกับลัทธิบูรพนิยมขึ้นมาใหม่อีกครั้ง.
ซาอิดแสดงความคิดว่า จิตสำนึกอาณานิคมกับการรับรู้ต่างๆ ของคนอังกฤษและฝรั่งเศสเกี่ยวกับตะวันออก
ได้ปรุงแต่งรูปร่างความสำนึกและทัศนคติของคนอเมริกันเกี่ยวกับภูมิภาคนี้เป็นอันมากด้วย
ในบทสุดท้ายนี้ ซาอิดระบุว่า ความเชื่อทั้งหลายเกี่ยวกับลัทธิบูรพนิยมได้ถูกตีความใหม่อีก โดยผู้คนจากภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งได้ไปอยู่ในตะวันตกเพื่อศึกษาต่อ ยกตัวอย่างเช่น นักศึกษามหาวิทยาลัยซาอุดิที่ไปศึกษายังสหรัฐฯ อาจหวนกลับมาสู่ซาอุดิ อาราเบีย ด้วยการตีความความคิดความเชื่อใหม่เกี่ยวกับตัวเขาเอง ซึ่งได้ถูกวางอยู่ภายในกรอบวาทกรรมลัทธิบูรพนิยมของตะวันตก
ในบทท้ายสุดนี้ ซาอิดได้นำเสนอข้อความทั้งหมดของเขาเกี่ยวกับวาทกรรมทางวัฒนธรรมว่า "คนๆ หนึ่งสามารถแสดงตนหรือเป็นตัวแทนวัฒนธรรมอื่นได้อย่างไร? อะไรคืออีกวัฒนธรรมหนึ่ง? ความคิดความเชื่อเกี่ยวกับวัฒนธรรมที่แตกต่าง(หรือเชื้อชาติ, หรือประชากรพลเมืองที่ต่างไป) เป็นสิ่งที่มีประโยชน์จริงหรือ หรือมันมักจะเกี่ยวพันกับการแสดงความยินดีและชื่นชมกับตนเองมากกว่า (เมื่อได้พูดถึงตัวเอง) หรือการแสดงความก้าวร้าวในฐานะการเป็นเจ้าบ้านกันแน่ (เมื่อพูดดถึงคนอื่น) ? (325).
ขณะเดียวกัน ก็มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากเกี่ยวกับหนังสือลัทธิบูรพนิยมเล่มนี้ของซาอิด ตัวผู้ประพันธ์เอง ยอมรับในจุดอ่อนข้อด้อยอีกครั้งในบททนี้ รวมทั้งในบทที่ 1 และในคำนำของเขา
อิทธิพล (Influence)
ลัทธิบูรพนิยม (Orientalism) แน่นอน เป็นผลงานหนังสือของเอ็ดวาร์ด ซาอิด ที่ทรงอิทธิพลอย่างสำคัญเล่มหนึ่ง
และมันได้รับการแปลแล้ว อย่างน้อยที่สุด 36 ภาษา มันได้รับการเพ่งความสนใจไปที่ปัญหาข้อโต้แย้งจำนวนมาก
ที่สำคัญมากก็คือกับ Bernard Lewis (*) (นักประวัติศาสตร์บูรพนิยม, นักวิจารณ์การเมือง,
ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยพรินส์ตัน), ผลงานของเขาได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในส่วนสุดท้ายของหนังสือ
ในชื่อบทว่า "ลัทธิบูรพนิยมปัจจุบัน: สถานการณ์ล่าสุด" (Orientalism
Now: The Latest Phase)
ในเดือนตุลาคม 2003 หนึ่งเดือนหลังจากการถึงแก่กรรมของซาอิด, เบอร์นาร์ด เลวิส ได้เขียนลงในหนังสือพิมพ์ Lebanese ว่า "บรรดานักวิจารณ์ซาอิดในหนังสือบูรพนิยม ต่างเห็นพ้องต้องกันกับผู้ที่ชื่นชมเขาว่า เขาได้มีอิทธิพลและส่งผลต่อการปฏิวัติทางด้านการศึกษาตะวันออกกลางคดี(Middle Eastern studies )แต่เพียงผู้เดียวในสหรัฐอเมริกา". Lewis อ้างถึงนักวิจารณ์คนหนึ่งซึ่งกล่าวว่า นับจากการตีพิมพ์หนังสือลัทธิบูรพนิยม "ตะวันออกกลางศึกษาในสหรัฐฯ ก็ได้ถูกยึดครองโดยกระบวนทัศน์หลังอาณานิคมศึกษาของซาอิดไปเลยทีเดียว"(Daily Star, ตุลาคม 20, 2003). กระทั่งบรรดาคนที่โต้แย้งเกี่ยวกับข้อสรุปต่างๆ ของหนังสือ ละวิพากษ์วิจารณ์ความเป็นวิชาการ อย่าง George P. Landow แห่งมหาวิทยาลัยบราวน์ ยังเรียกหนังสือเล่มนี้ว่า"งานสำคัญชิ้นหนึ่ง" (**)
(*)Bernard Lewis (born
May 31, 1916 in London, England) is a British-American historian, Orientalist,
and political commentator. He is the Cleveland E. Dodge Professor Emeritus
of Near Eastern Studies at Princeton University. He specializes in the history
of Islam and the interaction between Islam and the West, and is especially
famous in academic circles for his works on the history of the Ottoman Empire.
Lewis is a widely-read expert on the Middle East, and has been described as
the West's leading specialist on that region.
(**)George Landow is Professor of English and Art History at Brown University.
He is one of the leading authorities on Victorian literature, art, and culture,
as well as a pioneer in criticism and theory of Electronic literature, hypertext
and hypermedia. He is also the founder and current webmaster of The Victorian
Web, The Contemporary, Postcolonial, & Postimperial Literature in English
web, and The Cyberspace, Hypertext, & Critical Theory web.
แต่อย่างไรก็ตาม หนังสือเรื่องลัทธิบูรพนิยม(Orientalism) ไม่ได้เป็นหนังสือเล่มแรกที่เสนอคำวิจารณ์เกี่ยวกับความรู้ตะวันตกในเรื่องของตะวันออก
และเกี่ยวกับนักวิชาการตะวันตก: 'Abd-al-Rahman al Jabarti, นักบันทึกเหตุการณ์ชาวอียิปต์
และพยานผู้รู้เห็นเหตุการณ์การรุกรานอียิปต์ของพระเจ้านโปเลียน ในปี ค.ศ. 1798
เป็นตัวอย่าง ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่า การสำรวจดังกล่าวได้กลายเป็นญานวิทยา(ทฤษฎีความรู้)
อย่างรวดเร็ว เท่าๆ กันกับการมีชัยชนะของกองทัพ. กระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ (1963,
1969 & 1987) งานเขียนและงานวิจัยของ V.G. Kiernan, Bernard S. Cohn และ
Anwar Abdel Malek ได้สืบสาวร่องรอยความสัมพันธ์ระหว่างการปกครองของชาวยุโรป
กับการเสนอภาพแทนต่างๆ
ลัทธิบูรพนิยม(Orientalism) อย่างไรก็ตาม ถือเป็นผลงานที่ได้ให้รายละเอียดและมีอิทธิพลต่อการศึกษาเรื่องราวของตะวันออก เพราะดังที่ Talal Asad ได้ให้เหตุผลว่า มันไม่เพียงเป็นบันทึกรายการเกี่ยวกับอคติต่างๆ ของตะวันตกชิ้นหนึ่งเท่านั้น ในการเสนอภาพแทนที่ผิดพลาดเกี่ยวกับโลกอาหรับและโลกมุสลิม แต่มันยังเป็นการสืบสวนและวิเคราะห์ไปถึงโครงสร้างหลักฐานที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับวาทกรรมตะวันออก - ซึ่งมีลักษณะปิด, มีการใช้หลักฐานส่วนตัว, ใช้การยืนยันของตนเองเกี่ยวกับวาทกรรมที่แตกต่าง ซึ่งได้ผลิตซ้ำ(ครั้งแล้วครั้งเล่า) โดยผ่านตำราทางวิชาการ, บทบรรยายเชิงการท่องเที่ยว, งานเขียนต่างๆ ที่เป็นไปในลักษณะจินตนาการ, และรวมถึงสุภาษิต ข้อคิดความเห็นต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องราวของผู้คนทั้งชายหญิง. อันที่จริง หนังสือดังกล่าวได้อรรถาธิบายว่า ภาพอันดูศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับตะวันออกมันมีลักษณะเคร่งครัดแบบจารีต อันมิได้ผูกพันกับโลก และชุ่มโชกไปด้วยความลี้ลับของต้นฉบับตัวเขียนและภาษาต่างประเทศ ซึ่งได้เข้ายึดครองความหม่นมืด ในฐานะเรื่องราวอันมืดมัวเคลือบคลุมของการปกครองและครอบงำ ซึ่งปัจจุบันได้สร้างฉากหนุนเสริมของความมีแก่นสารและมีอำนาจในความเป็นวิชาการขึ้นมา
การวิจารณ์ (Criticism)
ในหนังสือของ Robert Irwin นักประวัติศาสตร์สหราชอาณาจักร เรื่อง Dangerous Knowledge
(ความรู้ที่อันตราย), เขาได้วิจารณ์บทสรุปของซาอิดว่า ตลอดประวัติศาสตร์ของยุโรป
"ชนยุโรปทุกคน ในสิ่งที่เขาอาจพูดเกี่ยวกับตะวันออก เป็นเรื่องของการเหยียดเชื้อชาติ,
เรื่องของจักรวรรดินิยม, และเกือบทั้งหมดเป็นเรื่องการยึดถือศูนย์กลางชาติพันธุ์หนึ่งเอาไว้โดยเฉพาะ(ethnocentric)".
Irwin ได้ชี้ออกมาว่า นานมาแล้วก่อนหน้าความคิดความเชื่ออย่างลัทธิโลกที่สาม(third-worldism)(*)
และลัทธิหลังอาณานิคม(post-colonialism)ได้เข้ามาสู่แวดวงวิชาการ, บรรดานักบูรพนิยมต่างมีข้อผูกพันในการเป็นทนายแก้ต่าง
หรือให้การสนับสนุนมูลเหตุอันเป็นชนวนทางการเมืองในโลกอาหรับและอิสลาม
(*) Third-worldism is a tendency within left wing political thought to regard the division between developed, classically liberal nations and developing, or "third world" ones as of primary political importance. Third-worldism tends to involve support for Third World nation states or national liberation movements against Western nations or their proxies in conflicts where the particular Third World state or movement. The thought behind this view is often that contemporary capitalism can be characterised principally as imperialism. Hence, third-worldists say, resistance to capitalism must principally be resistance to the predations of advanced capitalist nations upon others.
Goldziher (*) ได้ให้การหนุนหลัง Urabi (**) ทำการปฏิวัติเพื่อต่อต้านการควบคุมอียิปต์ของชาวต่างชาติ. นักวิชาการอิหร่านศึกษา Edward Granville Browne แห่ง Cambridge กลายเป็นหนึ่งในนักล็อบบี้เพื่ออิสรภาพของเปอร์เชีย ช่วงปฏิวัติรัฐธรรมนูญของอิหร่านในราวต้นคริสตศตวรรษที่ 20. เจ้าชาย Leone Caetani, นักวิชาการอิสลามศึกษาชาวอิตาลี คัดค้านการยึดครองของประเทศตนต่อลิเบีย ซึ่งผลจากการนี้ พระองค์จึงได้รับการขนานนามว่า"เตอร์ก". และ Massignon (***) อาจเป็นคนแรกของชาวฝรั่งเศสที่ให้การสนับสนุนการก่อเกิดขึ้นของ"อาหรับปาเลสติเนียน"
(*)Ignac (Yitzhaq Yehuda) Goldziher (June 22, 1850 - November 13, 1921), was a Hungarian orientalist and is widely considered among the founders of modern Islamic studies in Europe.
(**) Colonel Ahmed Orabi or Ahmed Urabi (April 1, 1841 - September 21, 1911), was an Egyptian army officer and later an army general who revolted against the khedive and European domination of Egypt in 1879 in what has become known as the Urabi Revolt.(***) Louis Massignon (July 25, 1883-October 31, 1962) was a French scholar of Islam and its history. Although a Catholic himself, he tried to understand Islam from within and thus had a great influence on the way Islam was seen in the West; among other things, he paved the way for a greater openness inside the Catholic Church towards Islam as it was documented in the pastoral Vatican II declaration Nostra Aetate.
George P. Landow เป็นศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์อังกฤษและประวัติศาสตร์ศิลป์แห่งมหาวิทยาลัย Brown สหรัฐอเมริกา. ตามความคิดของ Landow, หนังสือเรื่องลัทธิบูรพนิยม(Orientalism) แน่นอน มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อทฤษฎีหลังอาณานิคม นับจากที่มันได้รับการตีพิมพ์ในปี ค.ศ.1978 เป็นต้นมา แต่อย่างไรก็ตาม มีคำถามมากมายผุดขึ้นจากถ้อยแถลงต่างๆ ของซาอิด. นอกจากนี้ Landow, ยังตรวจสอบค้นหาการขาดความเป็นวิชาการของซาอิด และตำหนิซาอิดในการเพิกเฉยต่อประเทศเอเชียอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหรับ, ลัทธิจักรวรรดินิยมที่ไม่ใช่ตะวันตก, รวมไปถึงความคิดต่างๆ เกี่ยวกับลัทธิอัสดงคต(the occidentalist ideas) ที่ดกดื่นมีอยู่อย่างหนาแน่นในตะวันออกเกี่ยวกับเรื่องตะวันตก, ทั้งนี้ยังรวมไปถึงประเด็นปัญหาเพศสภาพในหนังสือลัทธิบูรพนิยม(Orientalism)ด้วย
Landow ยังทำการตรวจสอบการเพ่งความสนใจลงไปที่เรื่องการเมืองของหนังสือเล่มนี้ด้วย ซึ่งเขาคิดว่าเป็นอันตรายต่อนักศึกษาทางด้านวรรณคดี จากการที่มันน้อมนำไปสู่การศึกษาเรื่องการเมืองในวรรณคดี ซึ่งอันที่จริงแล้ว นักศึกษาควรให้ความสนใจของพวกเขาไปกับประเด็นปัญหาทางปรัชญา, ทางวาทศิลป์ และเรื่องของการประพันธ์มากกว่า. Landow ชี้ออกมาว่า ข้อถกเถียงในเชิงเหตุผลของซาอิด ถูกทำขึ้นมาโดยการให้ความเอาใจใส่เพียงเรื่องของตะวันออกกลางเท่านั้น โดยไม่ให้ความใส่ใจต่อจีน, ญี่ปุ่น, และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เลย
ขณะที่ซาอิดได้วิพากษ์วิจารณ์การทำให้ตะวันออกเป็นเนื้อเดียวกันหรือเหมือนกันกับตะวันตก
ตัวเขาเองก็พูดคลุมๆ ในลักษณะทั่วๆ ไปเกี่ยวกับ"ตะวันออก" โดยจำกัดข้อถกเถียงของตนอยู่กับภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะเท่านั้น.
ยิ่งไปกว่านั้น Landow ยังกล่าวต่อไปว่า ซาอิดล้มเหลวที่จะจับเอาสาระสำคัญเกี่ยวกับตะวันออกกลาง
มีไม่น้อยที่ซาอิดได้มองข้ามหรือเพิกเฉยต่อผลงานชิ้นสำคัญๆ โดยบรรดานักวิชาการอียิปต์และอาหรับต่างๆ.
นอกจากนั้น ซาอิดยังขัดสนในความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ยุโรป และลัทธิจักรวรรดินิยมที่ไม่ใช่ตะวันตก
อีกประเด็นหนึ่งซึ่งเป็นคำวิจารณ์ของ Landow คือ ซาอิด เฝ้ามองแต่อิทธิพลของตะวันตกที่มีต่อตะวันออกผ่านลัทธิอาณานิคมเท่านั้น,
ซึ่ง Landow ได้ให้เหตุผลว่า อิทธิพลเหล่านี้มิใช่เป็นไปในทิศทางเดียวเสมอไป
อันที่จริงมันเป็นการแลกเปลี่ยนข้ามวัฒนธรรม และนั่นคือสิ่งที่ซาอิดละเลยที่จะพิจารณา
หรือคำนึงถึงสังคมอื่น หรือปัจจัยองค์ประกอบต่างๆ ในตะวันออก
Landow ยังวิจารณ์ข้ออ้างทั้งหลายของซาอิดด้วยที่ว่า นักวิชาการชาวยุโรปหรืออเมริกันทั้งหมดพยายามที่จะรู้จักกับตะวันออก แต่อันที่จริงแล้วตามทัศนะของเขา สิ่งที่นักวิชาการเหล่านี้ทำ เท่าที่ปรากฏคือ การสร้างการกดขี่เท่านั้น. ยิ่งไปกว่านั้น หนึ่งในข้ออ้างที่เป็นหลักสำคัญของ Landow คือ ซาอิดไม่ยินยอมให้ทัศนะของนักวิชาการอื่นๆ เด่นขึ้นมาในการวิเคราะห์ของเขา ด้วยเหตุนี้ เขาจึงต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อ "บาปทางวิชาการอันยิ่งใหญ่แต่เพียงผู้เดียว" (the greatest single scholarly sin) ในหนังสือลัทธิบูรพนิยม(Orientalism)นี้
ส่วนนักวิจารณ์คนอื่นๆ ได้พูดถึงเบื้องหลัง-ชีวประวัติของซาอิด เมื่อพิจารณาถึงประเด็นเกี่ยวกับทัศนะและความสามารถของเขาในการประเมินความสมดุลทางวิชาการเกี่ยวกับลัทธิบูรพนิยม. เอ็ดวาร์ด ซาอิดถือกำเนิดในดินแดนปาเลสไตน์ที่อยู่ในอาณัติของอังกฤษในครอบครัวผู้มีฐานะมั่งคั่ง ซึ่งได้ส่งเขาไปเรียนที่โรงเรียน Anglican school of St George ในกรุงเยรูซาเร็ม ถัดจากนั้นเขาได้ศึกษาต่อที่วิทยาลัยวิคตอเรีย ในกรุงไคโร ซึ่งซาอิดเองอ้างว่า ได้รับการออกแบบขึ้นมาโดยสหราชอาณาจักรเพื่อบ่มเพาะและให้การศึกษาแก่ชนอาหรับรุ่นหนึ่ง โดยมีความผูกพันอย่างเป็นธรรมชาติกับอังกฤษ. หลังจากเล่าเรียนที่วิทยาลัยวิคตอเรียเขาได้เดินทางไปอยู่ในอเมริกาเมื่อตอนอายุ 15 ปี และจากนั้นได้ศึกษาต่ออีกหลายสถาบันมาก นักวิจารณ์หลายคนอ้างถึงเรื่องราวเหล่านี้เพื่อที่จะวางเขาเอาไว้นอกประเด็นปัญหาที่เขาเขียนในหนังสือของเขา. เอ็ดวาร์ด ซาอิด ได้รับการเลี้ยงดูและอบรมสั่งสอนพิเศษที่ถือเป็นข้อยกเว้น จากมุมมองทางการเงินที่ได้รับการอุดหนุนโดยพ่อของเขา ผู้ซึ่งซาอิดอธิบายว่า"เป็นคนเจ้ากี้เจ้าการ และไม่พูดไม่จา"ในหนังสือของเขาเรื่อง"Out of Place" (1999).
การอบรมเลี้ยงดูดังกล่าว ได้กำหนดบุคลิกของซาอิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งได้ก่อรูปความสนใจและความใส่ใจเรื่องราวหลายๆ ประเด็นลงในหนังสือของเขา และได้พรรณาถึงลัทธิบูรพนิยมในฐานะสิ่งอำนวยความสะดวกต่อสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส ในการปฏิบัติภารกิจของคนขาวซึ่งต้องแบกรับโลกอาหรับเอาไว้. Bernard Lewis, ในงานตีพิมพ์ของเขาเรื่อง Islam and the West, ได้เน้นสิ่งที่เขาพิจารณาว่าเป็นความผิดพลาดมากมายทั้งในเชิงประวัติศาสตร์และจริยธรรมและการละเลยเรื่องราวต่างๆ ในหนังสือเล่มนี้ของซาอิด และยังเน้นถึงเสียงกระซิบกระซาบทางการเมืองด้วย. Lewis ได้ยกตัวอย่างถึงงานพิมพ์เผยแพร่ต่างๆ ของบรรดาผู้ปกครองของจักรวรรดินิยม ที่อ้างว่าเป็นงานวิชาการเกี่ยวกับลัทธิบูรพนิยมเพื่อวาดภาพสมมุติฐานต่างๆ ของซาอิด. นอกจากนี้ Lewis ยังวิจารณ์ต่อเกี่ยวกับข้อสรุปที่ว่า ทำไมเขาจึงรู้สึกว่าผลงานของซาอิดจึงเป็นที่นิยมกันมาก
"อย่างที่ทุกคนซึ่งอ่านงานแบบผ่านๆ ในร้านหนังสือตามมหาวิทยาลัยรู้ๆ กันคือ มันเป็นงานตลาด และเป็นเรื่องราวที่ทำให้ง่ายลงเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่มีความสลับซับซ้อน" นอกจากนี้ยังมีบางประเด็นที่ Lewis ยกมากอ้างในงานวิจารณ์ของเขา คือ:
- การโดดเดี่ยวอาหรับศึกษา จากบริบททางประวัติศาสตร์และปรัชญา (ทั้งนี้เพราะ ซาอิดกำหนดวันเวลาพัฒนาการหลักๆ ของอาหรับศึกษาในสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส และกำหนดวันเวลาหลังจากสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส แผ่ขยายอิทธิพลของตนออกไป)
- การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆ ของซาอิด เพื่อทำให้มันเข้ากับข้อสรุปของเขา (ยกตัวอย่างเช่น เขาอ้างว่า สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสได้ครอบงำเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออกจากประมาณปลายคริสตศตวรรษที่ 17 ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวบรรดาพ่อค้าและนักเดินทางอังกฤษและฝรั่งเศสที่จะสามารถไปเยี่ยมเยือนดินแดนอาหรับได้ ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของสุลต่านเท่านั้น) (p 190)- ชนชั้นนำจำนวนมากเกี่ยวกับอาหรับศึกษา และอิสลามศึกษาชาวอังกฤษและฝรั่งเศส ผู้ซึ่งเปิดตัวว่าเป็นผู้มีความสนใจในเรื่องราวดังกล่าวอย่างเด่นชัด ไม่ได้รับการกล่าวถึงเลย ยกตัวอย่างเช่น Claude Cahen (*), Henri Corbin (**), Marius Canard เป็นต้น
- การไม่ให้ความสนใจของซาอิดเกี่ยวกับนักวิชาการเชื้อสายอาหรับ และงานเขียนอื่นๆ
(*)Claude Cahen (1909 - 1991) was a French orientalist. He specialized in the studies of the Islamic Middle Ages, Muslim sources about the Crusades, and social history of the medieval Islamic society (works on Futuwa orders). Claude Cahen was born to a French Jewish family. Cahen was married and had six children, including the historian Michel Cahen who wrote a biography of his father. Cahen was a member of the French Communist Party from the 1930s until 1960, and remained an active Marxist afterwards. Despite his origins, he neither self-identified as Jewish, nor supported the State of Israel.
(**)Henry Corbin (14 April 1903 - October 7, 1978) was a philosopher, theologian and professor of Islamic Studies at the Sorbonne in Paris, France.
Lewis และนักวิจารณ์อีกหลายคนเกี่ยวกับผลงานของซาอิด รู้สึกว่า การละเลยและความไม่ถูกต้อง คือความพยายามอันหนึ่งโดยผู้เขียน เพื่อจะถ่ายทอดท่าทีหรือทัศนคติของตนเอง และความรู้สึกต่างๆ เกี่ยวกับลัทธิบูรพนิยม ในฐานะงานศึกษาทางวิชาการเพื่อเสริมฐานรากความเชื่อและมูลเหตุต่างๆ ที่เป็นส่วนตัวมากเกินไป
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ คลิกอ่านบทความเกี่ยวเนื่อง
Edward Said, Orientalism (book)
ISBN ISBN 0-394-74067-XReferences
1. Prakash, G (Oct., 1995) "Orientalism Now" History and Theory, Vol. 34, No. 3, p 200.
2. Prakash, G (Oct., 1995) "Orientalism Now" History and Theory , Vol. 34, No. 3, p 200.
3. Asad, T (1980)English Historical Review p648
4. Asad, T (1980)English Historical Review p648
5. Prakash, G (Oct., 1995) "Orientalism Now" History and Theory , Vol. 34, No. 3, pp. 199-200.
6. Dangerous Knowledge by Robert Irwin Martin Kramer reviewing Dangerous Knowledge.
7. Landow, George P. " Edward W. Said's Orientalism." Political Discourse - Theories of Colonialism and Postcolonialism.
สำหรับผู้สนใจเกี่ยวกับเรื่องลัทธิบูรพนิยมเพิ่ม สามารถหาอ่านหัวข้อดังต่อไปนี้ในสารานุกรมวิกกิพีเดีย
- Postcolonialism
- Michel Foucault
- Robert Graham Irwin
- Subaltern
- Gayatri Chakravorty Spivak
- Occidentalism
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
สารบัญเนื้อหา
7 I สารบัญเนื้อหา
8
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com