บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนทุกชิ้นที่เผยแพร่ เป็นสมบัติสาธารณะ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการได้ ภายใต้นโยบายลิขซ้าย (copyleft) เพื่อสังคมไทย



สำหรับผู้สนใจส่งบทความเผยแพร่บนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ความยาวไม่น้อยกว่า ๑๐ หน้ากระดาษ กรุณาส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com
นักศึกษาและผู้สนใจสมัครเป็นสมาชิกมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน คลิกเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่แบนเนอร์ข้างบนนี้
อุดมศึกษาทางเลือก สำหรับผู้เรียนรู้ด้วยตัวเอง
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014

Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licen
e document, but changing
it is not allowed. - Editor
อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๔๙๖ เผยแพร่วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ : 1 st. March 2008
ขณะนี้มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้ผลิตแผ่นซีดี รวมบทความทั้งหมดจำหน่ายเพื่อเป็นทุนสนับสนุนการดำเนินงานเว็บไซต์ หากสนใจสั่งซื้อได้ที่อีเมล์ midnightuniv(at)gmail.com
H

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

 

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
ค้นหาบทความโดยคลิกที่แบนเนอร์และใส่คำค้นที่สำคัญ



01-03-2551 (1496)

สารานุกรมมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ลัทธิหลังอาณานิคม
Postcolonialism: ลัทธิหลังอาณานิคมและเชิงอรรถเบื้องต้น
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งเป็นโครงการไม่เกี่ยวข้องกับผลกำไร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์
เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศไทย

ความเรียงชิ้นนี้ เป็นการทำความเข้าใจแนวกว้าง เกี่ยวกับลัทธิหลังอาณานิคม
ซึ่งผู้เรียบเรียงได้เพิ่มเติมเชิงอรรถสำหรับเสริมความรู้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
เนื้อความเริ่มต้นด้วยการนิยามเกี่ยวกับคำว่า ลัทธิหลังอาณานิคม และตามด้วย
๑. สาระสำคัญต่างๆ เกี่ยวกับลัทธิหลังอาณานิคม
๒. ตะวันออกกลาง, ลัทธิหลังอาณานิคม, และอัตลักษณ์ของชาติ
๓. แอฟริกา และการแย่งชิงแอฟริกาในคริสตศตวรรษที่ ๑๙
๔. ข้อวิจารณ์เกี่ยวกับการโฟกัสไปที่อัตลักษณ์ประชาชาติ
๕. ตัวอย่างผลงานเกี่ยวกับลัทธิหลังอาณานิคม และผลงานสำคัญอื่นๆ

midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๔๙๖
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๕ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

สารานุกรมมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ลัทธิหลังอาณานิคม
Postcolonialism: ลัทธิหลังอาณานิคมและเชิงอรรถเบื้องต้น
สมเกียรติ ตั้งนโม : เรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

Postcolonialism: ลัทธิหลังอาณานิคม
Postcolonialism ลัทธิหลังอาณานิคม (postcolonial theory, post-colonial theory - ทฤษฎีหลังอาณานิคม) คือชุดหนึ่งของทฤษฎีต่างๆ ในทางปรัชญา, ภาพยนตร์, ศิลป, และวรรณคดีซึ่งเกี่ยวกับมรดกตกทอดทางวัฒนธรรมจากการปกครองแบบอาณานิคม

ในฐานะทฤษฎีทางวรรณคดี (หรือการเข้าถึงเชิงวิพากษ์ -critical approach), เป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับวรรณกรรม ที่ได้รับการสร้างขึ้นในประเทศต่างๆ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นอาณานิคมของประเทศอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายใต้อำนาจอาณานิคมของชนชาวยุโรป อย่างเช่น สหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส, และสเปน เป็นต้น. ในบางบริบทยังหมายรวมถึงประเทศทั้งหลายที่ยังคงอยู่ภายใต้การจัดการแบบอาณานิคม. นอกจากนี้ยังเกี่ยวพันถึงวรรณคดีที่เขียนขึ้นในประเทศอาณานิคมต่างๆ โดยพลเมืองของประเทศเหล่านั้นด้วย ซึ่งมีชนอาณานิคมเป็นเนื้อหาสาระของวรรณกรรม

ชนที่ถูกทำให้เป็นอาณานิคม(Colonised people) โดยเฉพาะของจักรวรรดิอังกฤษ, ที่ได้ศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยต่างๆ ของสหราชอาณาจักร การเข้าศึกษาของพวกเขา ยังคงไม่อาจเป็นไปได้ในดินแดนอาณานิคมต่างๆ คนเหล่านี้ได้หวนกลับมาสรรค์สร้างงานวิพากษ์วิจารณ์ใหม่ๆ ขึ้นมาจำนวนหนึ่ง - ส่วนใหญ่เป็นด้านวรรณกรรม และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในนวนิยายต่างๆ. ทฤษฎีหลังอาณานิคมกลายเป็นส่วนหนึ่งของแหล่งต้นตอทั้งหลายของบรรดานักวิจารณ์ในช่วงทศวรรษที่ 1970s ส่วนมากหยิบยกมาจากหนังสือเรื่อง Orientalism (*) ของ Edward Said ในฐานะที่เป็นผลงานขั้นมูลฐาน

(*) ศัพท์เดิมของคำว่า Orientalism (บูรพนิยม)อ้างอิงถึง การเลียนแบบหรือการพรรณา การสร้างภาพ ผลงานศิลปะที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมตะวันออกในโลกตะวันตกโดยบรรดานักเขียนทั้งหลาย, นักออกแบบ, และรวมถึงศิลปิน, และสามารถอ้างถึงท่าทีหรือทัศนคติในลักษณะเห็นอกเห็นใจต่ออาณาบริเวณดังกล่าว โดยนักเขียนหรือคนอื่นๆ ด้วย. คนที่ได้ชื่อว่า Orientalist (นักบูรพชน) อาจหมายถึงคนที่ผูกพันกับกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ แต่ตามขนบจารีตแล้ว หมายถึงนักวิชาการบูรพคดีเป็นส่วนใหญ่

ความหมายข้างต้น ได้ถูกนิยามใหม่ในลักษณะกลับค่าโดย Edward Said ในงานเขียนเชิงโต้แย้งเรื่อง Orientalism ในปี 1978 ของเขา, ในหนังสือเล่มดังกล่าวเขาได้ใช้ศัพท์คำนี้อธิบายถึงจารีต ทั้งทางด้านวิชาการและศิลปะ เกี่ยวกับทัศนะที่เป็นปรปกัษ์และติเตียนโลกตะวันออกโดยโลกตะวันตก โดยทำให้เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาด้วยทัศนคติต่างๆ ของยุคสมัยแห่งจักรวรรดินิยมยุโรปในคริสตศตวรรษที่ 18-19. บ่อยครั้งเมื่อใช้ฉากนี้ มักเป็นการบ่งนัยถึงการตีความของคนนอกที่มีความคิดในเชิงเกี่ยวกับวัฒนธรรมและผู้คนตะวันออก. ซาอิดได้วิจารณ์เกี่ยวกับจารีตทางวิชาการนี้ และบรรดานักวิชาการสมัยใหม่สองสามคน ซึ่งรวมถึงศาสตราจารย์ Bernard Lewis แห่งมหาวิทยาลัย Princeton ด้วย (ซึ่งเขียนเรื่อง The Crisis of Islam และเรื่อง What went Wrong? The Clash Between Islam and Modernity in the Middle East).

ในเชิงตรงข้าม ศัพท์คำนี้ยังถูกใช้โดยนักวิชาการสมัยใหม่บางคน ที่อ้างถึงบรรดานักเขียนในยุคจักรวรรดิ ซึ่งส่งเสริมสนับสนุนท่าทีและทัศนคติต่างๆ เกี่ยวกับตะวันออก ที่ตรงข้ามและต่อต้านคนที่มองว่า วัฒนธรรมที่ไม่ใช่ตะวันตกเป็นวัฒนธรรมที่ไร้คุณค่า

Orientalism refers to the imitation or depiction of aspects of Eastern cultures in the West by writers, designers and artists, and can also refer to a sympathetic stance towards the region by a writer or other person. An "Orientalist" may be a person engaged in these activities, but is also the traditional term for any scholar of Oriental studies.[1]

These meanings were given a new twist by Edward Said in his controversial 1978 book Orientalism, where he uses the term to describe a tradition, both academic and artistic, of hostile and deprecatory views of the East by the West, shaped by the attitudes of the era of European imperialism in the 18th and 19th centuries. When used in this sense, it often implies essentializing and prejudiced outsider interpretations of Eastern cultures and peoples. Said was critical of this scholarly tradition and also of a few modern scholars, including Princeton University professor Bernard Lewis. In contrast, the term has also been used by some modern scholars to refer to writers of the Imperialist era who had pro-Eastern attitudes, as opposed to those who saw nothing of value in non-Western cultures

หัวข้อสำคัญของความเรียงนี้ ประกอบด้วย

1 Subject matters
2 Middle East, Postcolonialism, and National identity
3 Africa
4 Criticism of focusing on national identity
5 Founding works on postcolonialism
6 Other important works

1. สาระสำคัญต่างๆ เกี่ยวกับลัทธิหลังอาณานิคม (Subject matters)
ลัทธิหลังอาณานิคม(Postcolonialism) เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมในสังคมอาณานิคมต่างๆ ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ:

- พวกเขาประสบกับความยากลำบากในการพัฒนาอัตลักษณ์ของประชาชาติตนขึ้นมา ภายหลังการปกครองของเจ้าอาณานิคม ลัทธิหลังอาณานิคมเป็นช่องทางต่างๆ ที่บรรดานักเขียนได้พูดออกมาอย่างชัดเจนและยกย่องอัตลักษณ์นั้น (บ่อยครั้งเป็นการฟื้นคืนมันขึ้นมาจาก และธำรงรักษาความเชื่อมโยงกับเจ้าอาณานิคมมาก)

- ลัทธิหลังอาณานิคมคือหนทางต่างๆ ที่ความรู้เกี่ยวกับผู้คนในอาณานิคม(ชนที่ถูกปกครอง)ได้รับการเปิดเผย ให้เห็นถึงการที่ชนอาณานิคมได้รับการสร้างขึ้นอย่างไร และถูกนำมาใช้เพื่อผลประโยชน์ต่างๆ ของเจ้าอาณานิคมอย่างไร

- ลัทธิหลังอาณานิคม ได้ตีแผ่วรรณคดีของเจ้าอาณานิคม ซึ่งได้อธิบายให้เห็นถึงลัทธิอาณานิคม โดยผ่านภาพต่างๆ ของดินแดนอาณานิคมในฐานะที่เป็น สังคม คน และวัฒนธรรมที่ด้อยกว่าอยู่เสมอ

การสร้างสรรค์เกี่ยวกับโครงสร้างในลักษณะคู่ตรงข้าม วิธีการที่เรามองคนอื่น ในกรณีของลัทธิอาณานิคม ตะวันออกและตะวันตกได้ถูกจำแนกในฐานะที่แตกต่างจากกัน (ยกตัวอย่างเช่น เรื่องของอารมณ์ความรู้สึก, ความเสื่อมทรามของตะวันออกกับหลักศีลธรรม, และความก้าวหน้าของตะวันตก). ความตรงข้ามกันนี้ ได้ให้เหตุผลหรือคำอธิบายเกี่ยวกับ"ภาระของคนขาว"(white man's burden), การตระหนักในตัวเอง ในฐานะเจ้าอาณานิคมที่มีพันธะ และ"พรหมลิขิตให้ปกครอง"(destiny to rule) บรรดาผู้อยู่ใต้อำนาจเหล่านั้น

ในเรื่องเกี่ยวกับละครหลังอาณานิคม: ทฤษฎี, การปฏิบัติ, การเมือง, Helen Gilbert และ Joanne Tompkins เขียนไว้ว่า "ศัพท์คำว่า"หลังอาณานิคม" - ตามหลักนิรุกติศาสตร์ที่เข้มงวด - ถูกเข้าใจผิดอยู่เสมอในฐานะแนวคิดปัจจุบัน, หมายถึงช่วงเวลาหลังจากลัทธิอาณานิคมได้ยุติลงแล้ว หรือช่วงเวลาที่ตามมาของ "วันประกาศอิสรภาพ" ที่กำหนดขึ้นทางการเมือง ซึ่งประเทศหนึ่งได้แยกขาดจากการปกครองของประเทศเจ้าอาณานิคม

อันที่จริง หลังอาณานิคมไม่ใช่วันเวลาต่อมาที่ไร้เดียงสาแบบนั้นซึ่งเข้าแทนที่ลัทธิอาณานิคม, ลัทธิหลังอาณานิคมค่อนข้างจะเป็นการผูกมัดอันหนึ่งกับความขัดแย้งเกี่ยวกับวาทกรรมต่างๆ ของลัทธิอาณานิคม รวมถึงโครงสร้างอำนาจ และลำดับชั้นสูงต่ำทางสังคม… นอกจากนี้ ทฤษฎีหลังอาณานิคมยังตอบสนองต่อสิ่งที่มากกว่าการเป็นเพียงการประกอบสร้างในเชิงลำดับเวลาของหลังการประกาศอิสรภาพ และมากกว่าประสบการณ์ทางอ้อมของลัทธิจักรวรรดินิยม"

ชนในอาณานิคมขานรับกับมรดกตกทอดอาณานิคมโดยการเขียนถึงศูนย์กลางนั้น เมื่อคนพื้นถิ่นเขียนประวัติศาสตร์และมรดกต่างๆ ของพวกเขาเองโดยการใช้ภาษาของเจ้าอาณานิคม (ยกตัวอย่างเช่น ภาษาอังกฤษ, ฝรั่งเศส, หรือดัชท์ เป็นต้น) สำหรับวัตถุประสงค์ทั้งหลายของพวกเขาเอง. คำว่า"Indigenous decolonization" (การปฏิเสธการเป็นอาณานิคมของพื้นถิ่น) คือผลกระทบทางด้านสติปัญญาของทฤษฎีหลังอาณานิคมที่มีต่อชุมชนต่างๆ ของคนพื้นถิ่น โดยการให้กำเนิดวรรณกรรมหลังอาณานิคมของพวกเขาขึ้นมา

การกำหนดนิยามเกี่ยวกับทฤษฎีหลังอาณานิคมในลักษณะโดดๆ และลงรอยกัน ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ กล่าวคือ บรรดานักเขียนได้มีการวิจารณ์เรื่องนี้อย่างรุนแรง ในฐานะที่เป็นแนวคิดหนึ่งซึ่งแฝงฝังอยู่ในการเมืองเรื่องอัตลักษณ์(identity politics). Ann Laura Stoler, ใน Carnal Knowledge and Imperial Power,(ความรู้เรื่องเพศและอำนาจจักรวรรดิ์) ได้ให้เหตุผลว่า แนวคิดคู่ตรงข้ามง่ายๆ เกี่ยวกับเจ้าอาณานิคมและชนอาณานิคมเป็นเรื่องค่อนข้างสลับซับซ้อนกว่าที่ปรากฏ เนื่องจากการจำแนกแยกแยะเหล่านี้เป็นสิ่งที่ลื่นไหลและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา; ผลงานต่างๆ หลังอาณานิคมเน้นเรื่องการวิเคราะห์ในมุมมองใหม่เกี่ยวกับการจัดแยกหมวดหมู่ ที่ทึกทักกันว่าเป็นธรรมชาติและไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้

ทฤษฎีหลังอาณานิคม (ในฐานะอภิปรัชญา, จริยศาสตร์, และการเมือง) เป็นการกล่าวถึงสาระสำคัญของอัตลักษณ์, เพศสภาพ, เชื้อชาติ, เผ่าพันธุ์, และลักษณะกลุ่มชน ด้วยการท้าทายเกี่ยวกับพัฒนาการด้านอัตลักษณ์ประชาชาติหลังอาณานิคม นอกจากนี้ยังพูดถึงความรู้ของชนอาณานิคมที่ถูกนำมาใช้เพื่อต่อต้านหรือสวนกลับผลประโยชน์ของเจ้าอาณานิคมของพวกเขา. ทฤษฎีหลังอาณานิคมยังเผยให้เห็นถึงความรู้เกี่ยวกับโลก ที่ได้รับการก่อเกิดขึ้นภายใต้ความสัมพันธ์ต่างๆ โดยเฉพาะระหว่าง"ความมีอำนาจ"และ"ความไร้อำนาจ", ลักษณะการไหลเวียนซ้ำๆ และการกลายเป็นความถูกต้องในที่สุดในการรับใช้ผลประโยชน์ต่างๆ ของจักรวรรดิ. ในเวลาเดียวกัน ทฤษฎีหลังอาณานิคมได้สนับสนุนความคิดเกี่ยวกับการต่อต้านอย่างสร้างสรรค์ของชนอาณานิคมซึ่งมีต่อเจ้าอาณานิคม และการต่อสู้นั้นเป็นสิ่งที่สลับซับซ้อน และได้ให้แก่นสารต่อโครงการต่างๆ กับจักวรรดิอาณานิคมของชนยุโรป

บรรดานักประพันธ์หลังอาณานิคมได้ท้วงติงต่อภาพของชนอาณานิคมในฐานะ"การล้อเลียนหรือเลียนแบบ"กลวงๆ จากชนชาวยุโรป หรือในฐานะผู้รับแบบยอมจำนน. ผลที่ตามมาเกี่ยวกับข้อถกเถียงของพวกฟูโกเดียน, บรรดานักวิชาการหลังอาณานิคม ตัวอย่างเช่น การรวบรวมงานศึกษาเกี่ยวกับการถูกกดทับ (Subaltern studies) (*) ให้เหตุผลว่า การต่อสู้ของพวกต่อต้านอาณานิคม(anti-colonial) ไปด้วยกันกับการสวนกระแสทุกๆ อย่างกับเรื่องของอำนาจ

(*) Subaltern (การกดทับ) ปกติแล้วเป็นการอ้างถึงภาพของผู้คนจากส่วนที่อยู่ภายนอกหรือกลุ่มชายขอบของโครงสร้างอำนาจนำ. ในทศวรรษที่ 1970s ศัพท์คำว่า subaltern เริ่มถูกนำมาใช้ในฐานะที่เป็นการอ้างถึงผู้คนในอาณานิคมในส่วนย่อยของภาคพื้นเอเชียใต้ มันเป็นการให้มุมมองใหม่ในเชิงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับที่ทางของอาณานิคม จากทัศนียภาพของบรรดาผู้อยู่ใต้อาณานิคม มากกว่าที่จะมองมาจากทัศนียภาพของผู้มีอำนาจทั้งหลาย

สำหรับนักประวัติศาสตร์มาร์กเซียนแล้ว เริ่มมองประวัติศาสตร์อาณานิคมจากแง่มุมของชนชั้นล่าง แต่ทัศนะนี้กำลังเป็นที่ไม่น่าพอใจ เพราะมันยังคงเป็นวิธีการมองโลกใบนี้จากมุมมแบบศูนย์กลางยุโรป. สำหรับ "Subaltern Studies" (การศึกษาการถูกกดทับ) เริ่มขึ้นมาตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1980s ในฐานะ "การแทรกแซงในการเขียนประวัติศาสตร์เอเชียใต้เชิงวิพากษ์". ช่วงเริ่มต้น มันเป็นแบบจำลองหนึ่งสำหรับพื้นทวีปย่อย(the subcontinent) ต่อมาได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็วสู่"การวิจารณ์แบบหลังสมัยใหม่อย่างมีพลัง". Subaltern (การกดทับ) ในปัจจุบันได้ถูกนำมาใช้ในฐานะเป็นศัพท์ในเชิงประวัติศาสตร์, มานุษยวิทยา, สังคมวิทยา, เศรษฐศาสตร์, วรรณคดี, ปรัชญา และอาณาเขตความรู้อื่นๆ

"Subaltern" commonly refers to the perspective of persons from regions and groups outside of the hegemonic power structure. In the 1970s, the term "subaltern" began to be used as a reference to colonized people in the South Asian subcontinent. It provided a new perspective on the history of a colonized place from the perspective of the colonized rather than from the perspective of the hegemonic power.

Marxist historians had already begun to view colonial history from the perspective of the proletariat, but this was unsatisfying as it was still a Eurocentric way of viewing the globe. "Subaltern Studies" began in the early 1980s as an "intervention in South Asian historiography." While it began as a model for the Subcontinent, it quickly developed into a "vigorous postcolonial critique." Subaltern is now regularly used as a term in history, anthropology, sociology, economics, literature, philosophy, and other fields.

2. ตะวันออกกลาง, ลัทธิหลังอาณานิคม, และอัตลักษณ์ของชาติ
(Middle East, Postcolonialism, and National identity)
ในทศวรรษที่ผ่านมา ตะวันออกกลางศึกษา(Middle Eastern studies) และการวิจัยเกี่ยวกับพื้นที่ดังกล่าวได้ผลิตงานต่างๆ ที่ได้ให้ความสนใจลงไปยังผลลัพธ์แห่งอดีตการเป็นอาณานิคม ซึ่งมีต่อเรื่องราวภายในและภายนอกทางด้านการเมือง, เศรษฐกิจ, สังคม, และวัฒนธรรม และส่งผลกระทบต่อภาวะแวดล้อมของประเทศทั้งหลายในตะวันออกกลาง; อย่างเช่นงานของ Raphael Israeli' เรื่อง "Is Jordan Palestine?" การโฟกัสที่เฉพาะเจาะจงดังกล่าวในการศึกษา เป็นเรื่องของวาทกรรมตะวันตกที่มีต่อดินแดนตะวันออกกลาง, และการดำรงอยู่หรือการขาดเสียซึ่งการก่อตัวทางด้านอัตลักษณ์ประชาชาติ

"... ประเทศส่วนใหญ่ของตะวันออกกลาง เจ็บปวดจากปัญหาขั้นพื้นฐานในเรื่องอัตลักษณ์ประชาชาติของพวกเขา. มากกว่าสามในสี่ของศตวรรษหลังจากการสลายตัวของจักรวรรดิออตโตมาน(*), จากการที่รัฐส่วนใหญ่ได้ถือกำเนิดขึ้น, รัฐทั้งหลายเหล่านี้ไม่สามารถที่จะนิยาม, แสดงตัว, และธำรงรักษาอัตลักษณ์ประชาชาติเอาไว้ได้ นั่นคือทั้งในส่วนของภาพกว้างและการเป็นตัวแทน"(**)

(*) "จักรวรรดิออตโตมาน"(The Ottoman Empire) บางครั้งเรียกว่า "จักรวรรดิออสมานิก"(Osmanic Empire or Osmanian Empire) หรือ "จักรวรรดิอุสห์มานิยา" (Uthmaniyah Empire) ช่วงอายุของจักรวรรดินี้คือ จาก ค.ศ.1299-1922 ซึ่งเป็นรัฐที่ถูกปกครองโดยตุรกี เป็นรัฐที่ประกอบตัวขึ้นจากคนหลายชาติพันธุ์และหลายศาสนา. รัฐดังกล่าวได้ถูกรู้จักในฐานะที่เป็นจักรวรรดิของตุรกีโดยผู้คนร่วมสมัยดังกล่าว และได้รับการสืบทอดโดย"สาธารณรัฐตุรกี"ที่ได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ.1923

ในช่วงที่จักรวรรดินี้มีอำนาจสูงสุด (ราวคริสตศตวรรษที่ 16-17) ได้แผ่ขยายอาณาเขตไปครอบคลุมพื้นที่ 3 ทวีป และได้ควบคุมตะวันออกเฉียงใต้ของยุโรป, ตะวันออกกลาง, และแอฟริกาทางตอนเหนือ. จักรวรรดิดังกล่าวถือเป็นศูนย์กลางการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างโลกตะวันออกกับโลกตะวันตกถึง 6 ศตวรรษ. ในหลายๆ แง่มุม จักรวรรดิออตโตมานเป็นดินแดนของผู้สืบทอดอำนาจอิสลามต่อจากจักรวรรดิต่างๆ ของเมดิเตอร์เรเนียนก่อนหน้านั้น - กล่าวคือ จักรวรรดิโรมันและและไบแซนทีน

The Ottoman Empire, also called Osmanic Empire or Osmanian Empire or Uthmaniyah Empire (1299-1922) was a multi-ethnic and multi-religious Turkish-ruled state. The state was known as the Turkish Empire or Turkey by its contemporaries; see the other names of the Ottoman State. It was succeeded by the Republic of Turkey, which was officially proclaimed in 1923.

At the height of its power (16th - 17th century), it spanned three continents, controlling much of Southeastern Europe, the Middle East and North Africa. The empire was at the centre of interactions between the Eastern and Western worlds for six centuries. The Ottoman Empire was, in many respects, an Islamic successor to earlier Mediterranean empires - namely the Roman and Byzantine empires.
(ดูเพิ่มเติมใน http://en.wikipedia.org/wiki/Ottoman_Empire)

(**)Kumaraswamy, P, R (March 2006) "Who am I?: The Identity Crisis in the Middle East" The Middle East Review of International Affairs Volume 10, No. 1, Article 5, p 1

ดังที่ได้ได้รับการบ่งชี้จากย่อหน้าข้างต้น ความเป็นอิสระและการสิ้นสุดของลัทธิอาณานิคมมิได้ทำให้เกิดการสิ้นสุดการแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยของสังคมและสงครามในตะวันออกกลางแต่อย่างใด. ดังที่ Larbi Sadiki เข้าใจและบันทึกเอาไว้ใน The Search for Arab Democracy: Discourses and Counter-Discourses (การแสวงหาประชาธิปไตยอาหรับ: วาทกรรมและการต่อต้านวากรรมต่างๆ) (2004), เพราะอำนาจอาณานิคมยุโรปได้ลากเส้นเขตแดนต่างๆ ระหว่างผู้คนที่ไม่ใช่พวกเดียวกันเข้ามาอยู่รวมกัน, พรมแดนต่างๆ ของชนเผ่าโบราณและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ปัญหาอัตลักษณ์ประชาชาติร่วมสมัยของตะวันออกกลาง สามารถได้รับการสืบสาวย้อนกลับไปถึงสมัยลัทธิจักรวรรดินิยมและลัทธิอาณานิคมได้

อันที่จริง ในสถานที่อย่างอิรักและจอร์แดน บรรดาผู้นำของรัฐใหม่ ได้รับการนำเข้ามาจากภายนอก และตัดแต่งให้เข้ากับผลประโยชน์และการมอบหมายต่างๆ ของอาณานิคม. ในทำนองเดียวกัน รัฐส่วนใหญ่ในอ่าวเปอร์เชีย ประเทศเจ้าอาณานิคมได้มอบหมายให้กับคนเหล่านั้นซึ่งสามารถปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์ต่างๆ ของจักรวรรดิได้ในช่วงขั้นตอนหลังจากได้มีการถอนตัวออกมา

ด้วยเหตุนี้ ความยุ่งยากของตะวันออกกลางในการนิยามอัตลักษณ์ของประชาชาติ ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นมาจากเขตแดนของรัฐซึ่งได้ถูกกำหนดขึ้นโดยขอบเขตต่างๆ ของประเทศเจ้าอาณานิคม; ยกเว้นอียิปต์, อิหร่าน, อิรัก, และซีเรีย, นอกนั้นประเทศส่วนใหญ่ …ที่ถูกสร้างขึ้นมา รวมไปถึงรากเหง้าทางประวัติศาสตร์ของพวกเขาทั้งหลายหลังจากลัทธิอาณานิคมล้วนเป็นสิ่งใหม่. โดยเหตุนี้ คล้ายดังบรรพบุรุษอาณานิคมของประเทศเหล่านี้ อัตลักษณ์หลังอาณานิคมจึงเป็นหนี้บุญคุณการมีอยู่ของอำนาจเหล่านั้น

3. แอฟริกา (Africa)
ภายในแอฟริกาไม่ได้ถูกทำให้เป็นอาณานิคมจนกระทั่งเกือบสิ้นสุดคริสตศตวรรษที่ 19 กระนั้นก็ตาม ผลกระทบของลัทธิอาณานิคมค่อนข้างมีนัยสำคัญต่อวัฒนธรรมพื้นถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เนื่องมาจากการแย่งชิงแอฟริกา(Scramble for Africa) (*). เส้นทางรถไฟที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นช่วยให้พลังอำนาจของยุโรปสามารถเข้าควบคุมอาณาบริเวณแอฟริกาได้ทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหราชอาณาจักรเน้นไปที่เป้าประสงค์ต่างๆ ของการพิชิตและการมีชัยชนะ. จักรวรรดิอังกฤษแสวงหาหนทางที่จะสร้างเส้นทางรถไฟสายหนึ่งที่ไปได้ทั่วทั้งทวีป และประสบความสำเร็จในการสร้างเส้นทางจากอียิปต์ถึงเคปทาวน์(Cape Town - แอฟริกาใต้)

(*) การแย่งชิงแอฟริกา (The Scramble for Africa) ถูกรู้จักในฐานะ"การแข่งขันสู่แอฟริกา" คือการแผ่ขยายความขัดแย้งของชนยุโรปที่อ้างสิทธิ์ในดินแดนแอฟริกา ช่วงระหว่างวันเวลาแห่งลัทธิจักรวรรดินิยมใหม่ หรือที่เรียกว่า the New Imperialism period อยู่ในช่วงทศวรรษที่ 1880s ถึง สงครามโลกครั้งที่ 1 ค.ศ.1914 (ประมาณ 30 ปี)

ในช่วง 20 ปีหลังของคริสตศตวรรษที่ 19 ได้เห็นถึงการเปลี่ยนผ่านจาก "ลัทธิจักรวรรดินิยมอย่างไม่เป็นทางการ"(informal imperialism) ของการเข้าควบคุมโดยอิทธิพลของกองทัพและการครอบงำทางเศรษฐกิจสู่การบริหารและการปกครองโดยตรง. มีความพยายามต่างๆ ที่จะไกล่เกลี่ยและประนีประนอมการขันแข่งของจักรวรรดิเหล่านี้ ยกตัวอย่างเช่น การประชุมเบอร์ลิน(the Berlin Conference / 1884 - 1885) ระหว่าง สหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส, และเยอรมนี แต่อย่างไรก็ตาม ในที่สุดต้องประสบกับความล้มเหลวที่จะอ้างสิทธิ์ในอำนาจการแข่งขันนั้น

The Scramble for Africa, also known as the Race for Africa, was the proliferation of conflicting European claims to African territory during the New Imperialism period, between the 1880s and World War I in 1914.

The last fifth of the 19th century saw the transition from "informal imperialism" of control through military influence and economic dominance to that of direct rule. Attempts to mediate imperial competition, such as the Berlin Conference (1884 - 1885) between Britain, France and Germany, failed to establish definitively the competing powers' claims.

แอฟริกาตะวันตก จัดเป็นเพียงภูมิภาคแอฟริกาที่สามารถสืบสาวตามรอยประวัติศาสตร์ของตัวย้อนกลับไปสู่จักรวรรดิโบราณของตนเองได้, กีนาโบราณ(Ancient Ghana). แม้ว่าพื้นที่ซึ่งไนจีเรียได้รับการสถาปนาขึ้นในปัจจุบัน และไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโบราณก็ตาม แต่วัฒนธรรมของพวกเขาเองเกี่ยวกับชนฮูซ่า, โยรูบา, และไอโบ(Haussa, Yoruba and Ibo), ต่างมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับวัฒนธรรมต่างๆ ขนานไปกับไนเจอร์, และนักเขียน ชินัว อาเคเบ้(Chinua Achebe) (*) อยู่ท่ามกลางการเริ่มต้นประวัติศาสตร์นี้ ในการประกอบสร้างเกี่ยวกับอัตลักษณ์หลังอาณานิคม เช่นเดียวกับเรื่อง "ฤดูกาลสองพันปี" (Two Thousand Seasons) (**) ของ Ayi Kwei Armah

(*)Chinua Achebe, เกิดวันที่ 16 พฤศจิกายน 1930, เป็นนักเขียนนวนิยายไนจีเรียน นอกจากนี้ยังเป็นกวี และนักวิจารณ์ด้วย. เขาเป็นที่รู้จักสำหรับนวนิยายเรื่องแรกของเขา ชื่อ Things Fall Apart (1958), ซึ่งเป็นหนังสือที่มีผู้อ่านกันอย่างกว้างขวางในวรรณกรรมแอฟริกันสมัยใหม่

Chinua Achebe, born Albert Chinualumogu Achebe on November 16, 1930, is a Nigerian novelist, poet and critic. He is best known for his first novel, Things Fall Apart (1958), which is the most widely-read book in modern African literature.

(**) สองพันฤดูกาล (Two Thousand Seasons - ฤดูกาลสองพันปี) โดย Ayi Kwei Armah ถือเป็นตำรายิ่งใหญ่และลึกซึ้งเล่มหนึ่ง สำหรับคนที่เข้าใจมัน ชื่อของหนังสือเป็นนวนิยามอิงประวัติศาสตร์ แต่อย่างไรก็ตาม ที่จริงแล้วมันไม่ได้เข้ากับโครงสร้างนิยามใดๆ สำหรับความเป็นหนังสือของชนยุโรป. ศัพท์คำว่า"นวนิยาย"(novel)มีนัยะบ่งถึงเรื่องแต่ง, ไม่เป็นความจริง, ถูกสร้างขึ้นมา, และอะไรทำนองนี้. ข้อวิจารณ์หนึ่งของ Robert Fraser เห็นด้วยว่า "อันที่จริง ศัพท์คำว่า 'นวนิยาย'(novel) แม้ว่าจะปรากฏอย่างชัดแจ้งบนหน้าชื่อเรื่อง แต่ก็น่าประหลาดที่หนังสือเล่มนี้ดูจะไกลห่างอย่างชัดเจนจากรูปแบบนวนิยายทั้งหลายของเราเท่าที่มีอยู่" (Pg. 64, The Novels of Ayi Kwei Armah by Robert Fraser)

สองพันฤดูกาล เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบรรยายความจริงที่ปรากฏ เล่าขานโดยขนบจารีตมุขปาฐะ และรวมถึงชื่อจริง สถานที่จริงที่เปลี่ยนแปลงไป. สำหรับคนที่รู้จักประวัติศาสตร์ที่ต่อเนื่องของแอฟริกา จะอ่านหนังสือเล่มนี้คล้ายกับอัตชีวประวัติของความไม่ต่อเนื่อง และการปะติดปะต่อใหม่. มีนักวิจารณ์บางคนกล่าวว่า "มันไม่มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงของคนดำกับประวัติศาสตร์ของ Ayi Kwei Armah ที่ว่าไว้"

Two Thousand Seasons by Ayi Kwei Armah, is a deeply profound and monumental text, for those who understood it. It is titled an historical novel, however it really doesn't fit into any of the european defined structures for books. The term 'novel' implies "fictional," "untrue," "made up" and the like. One critique agrees. "Indeed the term 'novel', though it appears clearly on the title page, sits oddly on a book so apparently remote from the existing novelistic models." (Pg. 64, The Novels of Ayi Kwei Armah by Robert Fraser)

2000 Seasons IS about actual accounts told from our oral tradition and only the exact names of people and places have changed. For those of us who know our connected history, it reads like autobiography of disconnectedness and reconnectedness. There have been some critiques that have said that there is no connection of Black people and that Armah's history is off. (สำหรับผู้สนใจ คลิกอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://members.tripod.com/~manofmoney/2000_seasons.htm)

นักเขียนชาวเคนย่าอีกคนหนึ่ง Ngugi wa Thiong'o ได้รับการศึกษาที่มหาวิทยาลัยแห่งสหราชอาณาจักร University of Leeds และได้เขียนนวนิยายเรื่องแรกเกี่ยวกับแอฟริกันตะวันออกหลังอาณานิคมขึ้นมาในเรื่อง Weep Not, Child, ในปี 1964. และต่อมาเรื่อง The River Between ซึ่งได้มีการพูดถึงปัญหาทางด้านศาสนาหลังอาณานิคม. ความเรียงของเขา Decolonising the Mind: The Politics of Language in African Literature ได้รับการพิจารณาว่าเป็นหนึ่งในชิ้นงานที่สำคัญมากที่สุด เกี่ยวกับการวิจารณ์วรรณคดีแอฟริกัน

4. ข้อวิจารณ์เกี่ยวกับการโฟกัสไปที่อัตลักษณ์ประชาชาติ
(Criticism of focusing on national identity)

บรรดานักวิชาการทั้งหลายได้วิจารณ์และตั้งคำถามเกี่ยวกับหลังอาณานิคมเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งได้ให้ความเอาใจใส่ไปที่เรื่องของอัตลักษณ์ประชาชาติ. นักวิชาการโมรอคโค Bin 'Abd al-'Ali ได้ให้เหตุผลว่า สิ่งซึ่งถูกมองในการศึกษาตะวันออกกลางคดีร่วมสมัยคือ โรคของความฝังจิตฝังใจอันหนึ่งในเรื่อง…อัตลักษณ์ ('a pathological obsession with ... identity')

แต่อย่างไรก็ตาม Kumaraswamy และ Sadiki ถกว่า ปัญหาเกี่ยวกับการขาดเสียซึ่งการก่อตัวในประเด็นอัตลักษณ์ของตะวันออกกลาง ได้ถูกทำให้เผยแพร่ออกไป และอัตลักษณ์นั้นเป็นแง่มุมที่สำคัญเกี่ยวกับความเข้าใจการเมืองของตะวันออกกลางร่วมสมัย. ไม่ว่าประเทศนั้นจะปกครองโดยระบอบอิสลาม(อย่างเช่น อิหร่าน), ระบอบสาธารณรัฐ (อย่างเช่น อียิปต์, ซีเรีย, และอัลจีเรีย), ระบอบกษัตริย์ที่ดูประหนึ่งเสรีนิยม (เช่น จอร์แดน และบาห์เรน), ประชาธิปไตย (อย่าง อิสราเอล และตุรกี) หรือประชาธิปไตยวิวัฒน์(evolving democracies) (ตัวอย่างเช่น อิรัก และปาเลสไตน์) ก็ตาม, ภูมิภาคตะวันออกกลาง ต้องประสบกับความทุกข์ยากจากการไม่สามารถที่จะตระหนัก, บูรณาการ, และสะท้อนความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ตนเองได้" (Kumaraswamy
(March 2006) "Who am I?: The Identity Crisis in the Middle East" in The Middle East Review of International Affairs Volume 10, No.1, Article 5, p.1)

Ayubi (2001) ได้ยกคำถามต่างๆ ขึ้นมาทำนองว่า ถ้าสิ่งที่ Bin 'Abd al-'Ali อธิบายในฐานะที่เป็นความหลงใหลฝังจิตฝังใจกับเรื่องอัตลักษณ์ประชาชาติ บางทีมันอาจได้รับการอรรถาธิบายโดย "การไม่มีอยู่ หรือขาดไปของชนชั้นยอดของสังคมได้หรือไม่ ?"
(Nazih Ayubi, Overstating the Arab State (Bodmin: I.B. Tauris & Co Ltd, 2001)p.148)

5. ตัวอย่างผลงานเกี่ยวกับลัทธิหลังอาณานิคม

- Aime Cesaire: Discourse on Colonialism (1953)
- Frantz Fanon: The Wretched of the Earth (1961)
- Albert Memmi: The Colonizer and the Colonized (1965)
- Frantz Fanon: Black Skin, White Masks (1967)
- Kwame Nkrumah: Consciencism (1970)
- Edward Said: Orientalism (1978)

6. ผลงานสำคัญอื่นๆ

-- Ashis Nandy. The Intimate Enemy: Loss and Recovery of Self Under Colonialism. (1983)
- Ashis Nandy. Traditions, Tyranny, and Utopias: Essays in the Politics of Awareness (1987).
- Benita Parry: Delusions and Discoveries (1983)
- Gayatri Spivak, "Can the Subaltern Speak?" (1988)
- Hamid Dabashi, "Iran: A People Interrupted" (2007)
- Homi Bhabha: The Location of Culture (1994)

- Edward W. Said, Culture and Imperialism (1993)
- Valentin Mudimbe, The Invention of Africa (1988)
- Paulin J. Hountondji, African Philosopy: Myth & Reality (1983)
- Ngugi Wa Thiong'o, (1986) "Decolonising the Mind: The Politics of Language in African Literature"
- Bill Ashcroft The Empire Writes Back: Theory and Practice in Post-Colonial Literature (1990)

- Robert J.C. Young Postcolonialism: An Historical Introduction (2001)
- Trinh T. Minh-ha, "Infinite Layers/Third World?" (1989)
- Chandra Talpade Mohanty, "Under Western Eyes" (1986)
- Uma Narayan, Dislocating Cultures (1997), and Contesting Cultures"(1997)
- Leela Gandhi Postcolonial Theory: A Critical Introduction. Columbia University Press:

- Anne McClintock, "The angel of progress: pitfalls of the term 'postcolonialism'" Colonial Discourse/Postcolonial Theory, edited by M. Baker, P. Hulme and M. Iverson (1994)

- Bartholomew Dean and Jerome Levi eds., At the Risk of Being Heard: Indigenous Rights, Identity, and Postcolonial States (2003) University of Michigan Press. ISBN 0-472-06736-2 [1][2]

- Achille Mbembe, "On the postcolony", edited by The Regents of the University of California (2000)
- Declan Kiberd, "Inventing Ireland" (1995)
- Ernesto "Che" Guevara: Colonialism is Doomed
- Prem Poddar and David Johnson, A Historical Companion of Postcolonial Thought (2005)

หนังสืออ้างอิง

1. Helen Gilbert, Joanne Tompkins, Post-Colonial Drama: theory, practice, politics,
Routledge 1996, ISBN 0415090237

2. Bill Ashcroft, The Empire Writes Back: Theory and Practice in Post-Colonial Literature (1990)

3. in: Israel, Hashemites and the Palestinians: The Fateful Triangle, Efraim Karsh and P.R. Kumaraswamy (eds.)(London: Frank Cass, 2003), pp.49-66 and also Nazih Ayubi's Overstating the Arab State (Bodmin: I.B.
Tauris & Co Ltd, 2001) pp.86-123

4. Sadiki, L. (2004) The Search for Arab Democracy: Discourses and Counter-Discourses India:
C. Hurst & Co. Ltd

5. Kumaraswamy, P, R (March 2006) "Who am I?: The Identity Crisis in the Middle East" The Middle East Review of International Affairs Volume 10, No. 1, Article 5, p 1

6. Kumaraswamy, P.R. (March 2006) "Who am I?: The Identity Crisis in the Middle East" The Middle East Review of International Affairs Volume 10, No. 1, Article 5, p.1

7. Sadiki, L. (2004) The Search for Arab Democracy: Discourses and Counter-Discourses India:
C. Hurst & Co. Ltd p.122

8. Bin 'Abd al-'Ali quoted in Nazih Ayubi's Overstating the Arab State (Bodmin: I.B. Tauris & Co Ltd, 2001)p.148

9. Kumaraswamy (March 2006) "Who am I?: The Identity Crisis in the Middle East" in The Middle East Review of International Affairs Volume 10, No.1, Article 5, p.1

10. Nazih Ayubi, Overstating the Arab State (Bodmin: I.B. Tauris & Co Ltd, 2001)p.148

ความรู้เกี่ยวเนื่องกับลัทธิหลังอาณานิคมในสารานุกรม
สำหรับนักศึกษา สมาชิก แลผู้สนใจเกี่ยวกับเรื่องลัทธิหลังอาณานิคม สามารถค้นคว้าเพิ่มเติมในหัวข้อต่อไปนี้ได้ที่สารานุกรม wikipedia

- Postcolonial literature
- Inversion in postcolonial theory
- Colonialism
- Cultural Alienation
- Cultural cringe
- Imperialism
- Ethnology
- Edward Said
- Post-Communism
- Nation-building
- Gayatri Chakravorty Spivak
- Ranajit Guha Subaltern Studies
- Alamgir Hashmi Commonwealth Literature: An Essay Towards the Re-definition of a Popular/Counter Culture
- Chinua Achebe's An Image of Africa: Racism in Conrad's "Heart of Darkness"
- Ranjit Hoskote

ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับหลังอาณานิคม
ข้อมูลที่น่าสนใจซึ่งสามารถค้นคว้าได้ โดยคลิกที่คำต่อไปนี้ (ต้นฉบับภาษาอังกฤษ)

- Postcolonial & Transnational Theories
- Communitarian Agonism Project for a postcolonial Nietzsche
- Postcolonial Islam
- Contemporary Postcolonial and Postimperial Literature
- A special issue of the journal Labyrinthe. Atelier interdisciplinaire, 2006 (in French): "Faut-il etre postcolonial ?"
- Paper about Post-Colonialism: Definition, Development and Examples from India

แหล่งค้นคว้าหนังสืออ้างอิง
- Bill Ashcroft (ed.) et al. The Post-Colonial Studies Reader
- Alamgir Hashmi The Commonwealth, Comparative Literature and the World

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com


ดังที่ได้ได้รับการบ่งชี้จากย่อหน้าข้างต้น ความเป็นอิสระ และการสิ้นสุดของลัทธิอาณานิคมมิได้ทำให้เกิดการสิ้นสุดการแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยของสังคม และสงครามในตะวันออกกลางแต่อย่างใด. ดังที่ Larbi Sadiki เข้าใจและบันทึกเอาไว้ใน The Search for Arab Democracy: Discourses and Counter-Discourses (การแสวงหาประชาธิปไตยอาหรับ: วาทกรรมและการต่อต้านวากรรมต่างๆ) (2004), เพราะอำนาจอาณานิคมยุโรปได้ลากเส้นเขตแดนต่างๆ ระหว่างผู้คนที่ไม่ใช่พวกเดียวกันเข้ามาอยู่รวมกัน, พรมแดนต่างๆ ของชนเผ่าโบราณและประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ปัญหาอัตลักษณ์ประชาชาติร่วมสมัยของตะวันออกกลาง สามารถได้รับการสืบสาวย้อนกลับไปถึงสมัยลัทธิจักรวรรดินิยมและลัทธิอาณานิคมได้
Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2008
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com