Everyone is permitted
to copy and distribute verbatim copies of
this licene document,
but changing
it is not allowed. - Editor
อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
1
2
3
4
5
6
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
โพลล์สำรวจทัศนคติของผู้คนสองฝั่งฝากแอตแลนติกที่มีต่อโลกาภิวัตน์
สงครามวัฒนธรรม:
อเมริกันและยุโรปมองโลกาภิวัฒน์อย่างไร?
สมเกียรติ
ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศไทย
โลกาภิวัตน์คือโครงการที่ถูกนำมาหลอกขายโดยคนอเมริกัน
ในฐานะโลกอันไม่เป็นที่พึงประสงค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวยุโรป
ที่ไม่สมัครใจจะคล้อยตาม ซึ่งไม่เพียงปลุกให้สาธารณชนลุกขึ้น
เพื่อปกป้องไม่เพียงสร้างการกีดกันต่างๆ ทางการค้าของประเทศ
ในยุโรปเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการคุ้มครองวัฒนธรรมของตนเองด้วย
ข้อมูลโพลล์สำรวจต่อไปนี้จากทั้งสองฝั่งของแอตแลนติก
ดูเหมือนว่าจะระบายสีขึ้นเป็นภาพแตกต่างกันเลยทีเดียว
midnightuniv(at)gmail.com
บทความแปลบนหน้าเว็บเพจนี้
ประกอบด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้
- การค้าระหว่างประเทศ (International Trade)
- การเปิดตลาด (Opening Markets)
- การลงทุนจากต่างประเทศ (Foreign Investment)
- การแพร่ขยายของวัฒนธรรมอเมริกัน (Spread of American Culture)
- อะไรคือทั้งหมดของความวุ่นวาย? (What's All the Fuss About?)
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ ๑๕๐๒
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๗ มีนาคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
๑๓ หน้ากระดาษ A4)
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
โพลล์สำรวจทัศนคติของผู้คนสองฝั่งฝากแอตแลนติกที่มีต่อโลกาภิวัตน์
สงครามวัฒนธรรม:
อเมริกันและยุโรปมองโลกาภิวัฒน์อย่างไร?
สมเกียรติ
ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
Culture Wars? How Americans
and Europeans View Globalization
Global Governance, Trade, Global Economics, Governance
Steven Kull : The Brookings Institution (*)
ความนำ
ถ้าเสียงคำรามดั่งฟ้าร้องของผู้เชี่ยวชาญและนักการเมืองชาวยุโรปได้รับการเชื่อถือว่า
โลกาภิวัตน์คือโครงการที่ถูกนำมาหลอกขายโดยคนอเมริกัน ในฐานะโลกอันไม่เป็นที่พึงประสงค์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวยุโรปที่ไม่สมัครใจจะคล้อยตาม ซึ่งไม่เพียงปลุกให้สาธารณชนลุกขึ้น
เพื่อปกป้องไม่เพียงสร้างการกีดกันต่างๆ ทางการค้าของประเทศในยุโรปเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการคุ้มครองวัฒนธรรมของตนเองด้วย
ข้อมูลโพลล์สำรวจต่อไปนี้จากทั้งสองฝั่งของแอตแลนติก ดูเหมือนว่าจะระบายสีขึ้นเป็นภาพแตกต่างกันเลยทีเดียว.
ภายใต้น้ำเสียงโหยหวนของทั้งบรรดานักการทูตและคอลัมน์นิสต์แนวชนแหลก สาธารณชนทั้งสองฝั่งฝากของแอตแลนติกกำลังพูดด้วยสุ้มเสียงที่สามารถตรวจสอบได้
- และประสานคล้องจองกันอย่างน่าประหลาด
อันที่จริง สาธารณชนอเมริกันและยุโรปมองโลกาภิวัตน์คล้ายคลึงกันมากเลยทีเดียว ตามโพลล์สำรวจของกระทรวงต่างประเทศอเมริกันเกี่ยวกับชาวยุโรปในฤดูใบไม้ร่วงปี 2000, 65 เปอร์เซนต์ของผู้ตอบแบบสอบถามชาวอังกฤษ, 73 เปอร์เซนต์ของชาวเยอรมัน, 57 เปอร์เซนต์ของชาวฝรั่งเศส, และ 62 เปอร์เซนต์ของชาวออสเตรีย ตัดสินว่า "โลกาภิวัตน์"เป็นเรื่องเชิงบวกมาแต่แรก. ส่วนชาวอิตาเลียนค่อนข้างมองว่าเป็นเรื่องบวกน้อยหน่อย (คือเพียง 50 เปอร์เซ็นต์) มีเพียง 23 เปอร์เซนต์เท่านั้นที่มองว่าโลกาภิวัตน์เป็นเรื่องของความเลวร้าย
Harris โพลล์ที่ได้ทำการสำรวจในระยะเวลาไล่เลี่ยกันคร่าวๆ ของคนอเมริกัน (เดือนเมษายน 2000) พบว่า 64 เปอร์เซนต์เชื่อว่า "โลกาภิวัตน์"เป็นสิ่งที่ดีสำหรับเศรษฐกิจอเมริกัน. ในเดือนตุลาคม 1999 ที่สำรวจโดยโครงการทัศนคติที่มีต่อนโยบายต่างประเทศ ของมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ (the Program on International Policy Attitudes (PIPA) of the University of Maryland), เมื่อถามถึงการให้คะแนนโลกาภิวัตน์จาก 0 -10 คะแนน โดยการให้คะแนนเต็ม 10 หมายถึงโลกาภิวัตน์เป็นเรื่องเชิงบวกมากที่สุด ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ให้คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 6 ในด้านบวก ดูเหมือนว่ามันจะปานกลางเอามากๆ
การค้าระหว่างประเทศ (International
Trade)
โดยหลักการ ทั้งชาวยุโรปและอเมริกันต้องการเห็นการเติบโตทางการค้า. ในฤดูใบไม้ผลิปี
1999, โพลล์ของหน่วยงานประชาสัมพันธ์สหรัฐฯ ได้สำรวจทัศนคติของชาวยุโรป โดยให้เลือกระหว่างข้อความ
2 ประโยคดังต่อไปนี้
1. มีบางประเทศชื่นชมต่อการค้าเสรี ซึ่งส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และทำให้สินค้ามีราคาถูกลง
2. บางประเทศต้องการให้มีการจำกัดการค้าเสรี เพื่อปกป้องผลผลิตและงานอาชีพของตนจากต่างประเทศ
เมื่อถามว่า พวกเขาชอบอย่างไหนมากกว่ากัน คนส่วนใหญ่เลือกการค้าเสรี กล่าวคือในประเทศอังกฤษ 57 เปอร์เซ็นต์, ฝรั่งเศส 62 เปอร์เซ็นต์, เยอรมนี 60 เปอร์เซ็นต์, และอิตาลี 77 เปอร์เซ็นต์. ในการตอบแบบสอบถามเดียวกันที่ทำขึ้นโดย the Pew Center for People and the Press ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2000, ปรากฏว่า 64 เปอร์เซ็นต์ของคนอเมริกันกล่าวว่า การค้าเสรีเป็นสิ่งที่ดีสำหรับสหรัฐอเมริกา
ในเวลาเดียวกัน สาธารณชนทั้งสองฝั่งแอตแลนติกรู้สึกกังวลเกี่ยวกับผลของการค้าที่มีต่ออาชีพการงานต่างๆ. เสียงท่วมท้นเชื่อว่า การเติบโตทางการค้าส่งผลให้เกิดการสูญเสียงาน อย่างน้อยอาชีพการงานบางอย่างไปโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้. และดูเหมือนว่า ความห่วงกังวลจะเกิดขึ้นอย่างรุนแรงในสหรัฐฯ มากกว่าในยุโรป. เมื่อถามถึงการสูญเสียการเข้าถึงงานเนื่องมาจากการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ, 38 เปอร์เซ็นต์ของคนอเมริกันบอกกับ PIPA (เดือนตุลาคม 1999) ว่า "งานจำนวนมาก"หายไป ขณะที่ 34 เปอร์เซ็นต์ของอังกฤษและฝรั่งเศสรู้สึกกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้, ส่วนชาวเยอรมันรู้สึกเพียง 30 เปอร์เซ็นต์, และ 16 เปอร์เซ็นต์ของชาวอิตาลี ซึ่งได้ตอบแบบสำรวจดังกล่าวในฤดูใบไม้ผลิ 1999 กับโพลล์ของ USIA
คนจำนวนมากในทุกๆ ประเทศ, 50 เปอร์เซ็นต์ในสหรัฐฯ, 47 เปอร์เซ็นต์ในอังกฤษ, 45 เปอร์เซ็นต์ในฝรั่งเศส, 37 เปอร์เซ็นต์ในเยอรมนีและอิตาลี พูดว่า ต้นทุนการนำเข้าคือ "เหลืองานให้ทำเพียงไม่กี่อย่างเท่านั้น". ไม่มากนักที่คิดว่าความงอกงามทางการค้าไม่เป็นภาระต้นทุนการสูญเสียงานไป โดยผู้มีความคิดแบบนี้เพียง 9 เปอร์เซ็นต์ในสหรัฐฯ ซึ่งน้อยที่สุด และมากที่สุดคือ 35 เปอร์เซ็นต์ในอิตาลี. แม้ว่าจะไม่มีฝ่ายใดกลัวสูญเสียงานมากจนเกินไปนัก แต่ทั้งคู่ต่างสนับสนุนให้มีมาตรการกีดกันทางการค้าบางอย่างเพื่อคุ้มครองการจ้างงานเอาไว้. ในเดือนพฤษภาคม 1997 โพลล์ของ USIA ได้ให้ทางเลือกในการตอบแบบสอบถามดังนี้
- บางคนต้องการให้มีการจำกัดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเพื่อปกป้องงาน
- บางคนคัดค้านการจำกัดสินค้าต่างๆ เพราะพวกเขาได้รับประโยชน์จากราคาสินค้าบริโภคที่ราคาถูกลง
ทางเลือกชนิดใดที่ใกล้เคียงกับตัวคุณ ?
ส่วนใหญ่ 51 เปอร์เซ็นต์ของคนอังกฤษ, 56 เปอร์เซ็นต์ของคนเยอรมัน, 63 เปอร์เซ็นต์ของชาวฝรั่งเศส ตอบว่า พวกเขาต้องการให้มีการจำกัดสินค้ามากกว่า. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนยุโรปต่างรู้สึกห่วงกังวลเกี่ยวกับการนำเข้าแรงงานราคาถูกจากประเทศต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น จากอดีตสหภาพโซเวียตและยุโรปตะวันออก ผู้คนส่วนใหญ่ในฝรั่งเศส(65 เปอร์เซ็นต์) และเยอรมัน (63 เปอร์เซ็นต์)คัดค้านเรื่องนี้ เช่นเดียวกับคนจำนวนมากในอังกฤษ (46 เปอร์เซ็นต์)
การเสนอทางเลือกระหว่างการคุ้มครองงาน และการมีความสุขกับราคาสินค้าถูกลง ชาวอเมริกันให้การสนับสนุนเกราะป้องกันงานต่างๆ. พวกเขารู้สึกประหวั่นกับการนำเข้าแรงงานราคาถูกจากประเทศต่างๆ แต่ในเดือนตุลาคม 1999 โพลล์ของ PIPA พบว่า คนอเมริกันมิได้เป็นพวกนิยมการปกป้องเท่าใดนัก ดังที่พวกเขามองว่า การกีดกันทางการค้าต่างๆ เป็นมาตรการเพียงชั่วคราวเท่านั้น ที่จะช่วยปรับตัวของคนงานทั้งหลาย. โดยเสนอทางเลือก 3 ข้อเกี่ยวกับการกีดกันทางการค้า, มีเพียง 31 เปอร์เซ็นต์ที่เห็นด้วยว่า เราควรคงการกีดกันต่างๆ ต่อไปในเรื่องการค้าระหว่างประเทศ เพราะการนำเข้าสินค้าราคาถูกจากประเทศต่างๆ มีผลต่อการคุกคามงานของคนอเมริกัน
เพียง 24 เปอร์เซ็นต์เชื่อว่า เราควรยกเลิกการกีดกันทางการค้าเสียในตอนนี้ เพราะมันทำให้อเมริกันขายสินค้าให้กับประเทศอื่นๆ ในสิ่งที่คนอเมริกันผลิตได้ดีที่สุด และซื้อสินค้าที่ประเทศอื่นที่ผลิตได้ดีกว่า ซึ่งเป็นการประหยัดเงินให้กับทุกคน. 43 เปอร์เซ็นต์ตัดสินใจว่า เราควรมีการกีดกันทางการค้าในระดับต่ำ และทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อว่าคนงานอเมริกันจะได้มีเวลาปรับตัว. ด้วยเหตุนี้ 74 เปอร์เซ็นต์ จึงเห็นด้วยกับการมีการกีดกันต่างๆ ทางการค้าตอนนี้ แต่ 67 เปอร์เซ็นต์สนับสนุนเป้าหมายในท้ายที่สุด ที่จะทำให้อุปสรรคเหล่านี้ลดลง
มีความเป็นไปได้ที่ว่า รัฐบาลของพวกเขาสามารถช่วยเหลือคนงานทั้งหลายได้ ในการปรับตัวต่อความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในความสัมพันธ์เกี่ยวกับการค้าเสรี การสนับสนุนของคนอเมริกันในเรื่องการค้าเสรีกลายเป็นเรื่องยากจะต่อต้าน มีการตอบแบบสอบถามซึ่งระบุทางเลือกไว้หลายทาง เพื่ออธิบายถึงท่าทีและทัศนคติของพวกเขาที่มีต่อเรื่องการค้าในปี 1999 จากผลของโพลล์สำรวจปรากฏว่า,
- 66 เปอร์เซ็นต์ เลือกคำอธิบายว่า "ข้าพเจ้าชอบการค้าเสรี และข้าพเจ้าเชื่อว่า มันเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับรัฐบาล
ในการช่วยเหลือคนงานที่สูญเสียงานของพวกเขาไป"
- มีเพียง 18 เปอร์เซนต์ที่ส่งเสริมการค้าเสรี แต่ไม่สนับสนุนรัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือคนงาน
ดังนั้น ตัวเลขจึงสูงถึง 84 เปอร์เซ็นต์สำหรับคนที่ให้การสนับสนุนการค้าเสรี ภายใต้เงื่อนไขที่ต่างกันบางอย่าง. ที่เหลือคือเพียง 14 เปอร์เซนต์เท่านั้น คัดค้านการค้าเสรีเมื่อมีทางเลือกอื่นๆ สำหรับคนงาน
แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลเชิงเปรียบเทียบเพื่อยืนยันว่า ชาวยุโรปรู้สึกเกี่ยวกับการค้านี้อย่างไร หากว่ารัฐบาลต่างๆ ของพวกเขาได้มีความพยายามที่จะช่วยเหลือการปรับตัวของคนงาน แต่ชาวยุโรปก็ค่อนข้างสนับสนุนระบบการคุ้มครองคนงานต่างๆ ที่มีอยู่อย่างเข้มแข็ง และออกจะวิพากษ์วิจารณ์ระบบอเมริกันนี้มาก. ในการตอบแบบสำรวจของ USIA โพลล์ในเดือนพฤษภาคมปี 1997 เสียงส่วนใหญ่ในประเทศฝรั่งเศส (76 เปอร์เซ็นต์), เยอรมนี (68 เปอร์เซ็นต์), และสหราชอาณาจักร (57 เปอร์เซ็นต์) ยอมรับว่า ระบบอเมริกัน "ค่อนข้างเพิกเฉยหรือไม่ให้ความสนใจเลยเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ทางสังคม เนื่องมาจากการขาดความมั่นคงในหน้าที่การงาน และผลของการจ้างงานเพียงไม่กี่อัตราสำหรับคนงานที่มีเป็นจำนวนมาก"
โดยถัวเฉลี่ย มีเพียง 1 ใน 4 เท่านั้น ที่พอใจในแบบจำลองอเมริกันดังกล่าว "ทั้งนี้เพราะ สามารถธำรงรักษาการแข่งขันทางเศรษฐกิจเอาไว้ได้ โดยผ่านระบบแรงงานที่ยืดหยุ่น". ในอีกโพลล์หนึ่งที่แยกออกไปโดย Le Monde ในฝรั่งเศสเดือนตุลาคม 1996, 66 เปอร์เซนต์ชื่นชอบต่อระบบฝรั่งเศส เนื่องจากมีการปกป้องทางสังคมที่ดี แต่การว่างงานสูง, ขณะที่มีเพียง 18 เปอร์เซนต์ชื่นชอบระบบอเมริกัน ที่มีการคุ้มครองทางสังคมน้อย แต่การว่างงานต่ำ
ชาวอเมริกันไม่ได้มองแค่ความพยายามต่างๆ ภายในประเทศ ที่จะพูดถึงการคุกคามต่อคนงานอเมริกันเท่านั้น. โพลล์สำรวจของ PIPA ในปี 1999 ปรากฏว่า เสียงท่วมท้นถึง 93 เปอร์เซนต์ได้ให้การสนับสนุน รวมถึงมาตรฐานแรงงานต่างๆ ในข้อตกลงทางการค้า เพื่อประกันให้เกิดความมั่นใจว่า คนงานอเมริกันจะไม่ต้องเผชิญหน้ากับการแข่งขันที่ไม่ยุติธรรมจากคนงานโพ้นทะเลต่างๆ ที่ถูกตักตวงผลประโยชน์. การส่งเสริมมาตรการอันนี้ แม้ว่ามิได้มีรากเหง้าอย่างง่ายๆ ในความห่วงใยต่อคนงานอเมริกัน: 83 เปอร์เซ็นต์ เห็นด้วยว่า "มันเป็นเรื่องไร้ศีลธรรมสำหรับคนงานที่จะต้องจำยอมกับเงื่อนไขที่รุนแรง และภาวะที่ไม่มีความปลอดภัยต่างๆ ในการทำงาน"
อันที่จริง ชาวอเมริกันมีท่าทีและทัศนคติกว้างๆ ต่อเรื่องการค้า. ขณะที่ได้ให้คุณค่ากับมัน พวกเขาเชื่อว่าความเจริญเติบโตทางการค้าควรจะต้องคำนึงถึงคุณค่าด้านอื่นๆ ด้วย แม้ว่านั่นจะทำให้ความเติบโตช้าลงก็ตาม. ยกตัวอย่างเช่น พวกเขาต้องการรวมเรื่องมาตรฐานสิ่งแวดล้อมเข้าไปในข้อตกลงทางการค้าเสรีด้วย และไม่ได้ให้ความเอาใจใส่มากนัก หากว่ามันจะทำให้การเจริญเติบโตทางการค้าช้าลง - แทบไม่เป็นที่น่าประหลาดใจในทัศนะที่ว่า ชนอเมริกันมีแนวโน้มเชื่อว่า ผลประโยชน์ของการค้า เพียงครอบคลุมต้นทุนแต่พอประมาณก็พอแล้ว
การเปิดตลาด (Opening
Markets)
คนยุโรปส่วนใหญ่อาจจะรู้สึกขบขันเมื่อได้ยินคำอธิบายเกี่ยวกับพวกเขาว่า กำลังต่อต้านอย่างรุนแรงเกี่ยวกับคำขอของชาวอเมริกันให้เปิดตลาดต่างๆ
ของยุโรปมากขึ้น. คำถามในแบบสำรวจของ USIA โพลล์ ปี 1998 ที่ว่า มีความยากง่ายแค่ไหนสำหรับประเทศของพวกเขา
ในการทำให้บรรดาผู้ผลิตสหรัฐฯ สามารถขายผลิตภัณฑ์อเมริกันได้ในยุโรป เสียงท่วมท้นส่วนใหญ่ของชาวยุโรปกล่าวว่า
ประเทศของพวกเขาทำให้สิ่งนี้เป็นเรื่องง่ายมาก (กล่าวคือ สหราชอาณาจักร 81เปอร์เซ็นต์,
ฝรั่งเศส 84 เปอร์เซ็นต์, เยอรมนี 68 เปอร์เซ็นต์). ส่วนจำนวนที่น้อยกว่ามองว่า
สหรัฐฯ เปิดตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากยุโรป (นั่นคือ สหราชอาณาจักร 46 เปอร์เซ็นต์,
ฝรั่งเศส 34 เปอร์เซ็นต์, เยอรมนี 38 เปอร์เซ็นต์)
ในกรณีที่คลาสสิกอันหนึ่งเกี่ยวกับปรากฏการณ์ภาพสะท้อน อเมริกัน ซึ่งเป็นการรับรู้ไปในทางตรงข้าม. จำนวนท่วมท้นถึง 86 เปอร์เซ็นต์ที่ตอบแบบสำรวจกับ PIPA โพลล์ ที่ทำขึ้นในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเมษายน 1998 พบว่า สหรัฐฯ ได้ให้ความสะดวกแก่ผู้ผลิตสินค้าจากยุโรปในการขายสินค้าของพวกเขาในสหรัฐฯ. ขณะที่ 41 เปอร์เซนต์กล่าวว่า ประเทศยุโรปตะวันตกต่างๆ ทำให้มันเป็นเรื่องง่ายสำหรับสหรัฐฯ ที่จะขายสินค้าในยุโรป
ชาวอเมริกันได้แสดงให้เห็นความพร้อมของพวกตน ที่จะเปิดตลาดของพวกเขาต่อไปให้กับสินค้ายุโรปบนพื้นฐานต่างตอบแทน เมื่อโพลล์ของ PIPA ในฤดูใบไม่ผลิ 1998 ถามว่า "ถ้าประเทศต่างๆ ของสหภาพยุโรปกล่าวว่า พวกเขาจะลดการกีดกันสินค้าจากสหรัฐฯ น้อยลง หากเราลดอุปสรรคทางการค้าให้กับสินค้าต่างๆ ของพวกเขาลงเช่นกัน" ปรากฏว่า 64 เปอร์เซนต์พูดว่า สหรัฐฯ ควรทำเช่นนั้น, ขณะที่ 28 เปอร์เซนต์กล่าวว่า ไม่ควรทำ. และชาวอเมริกันต้องการลดอุปสรรคทางการค้าลงให้กับยุโรป แม้ว่า 48 เปอร์เซ็นต์ได้แสดงความเชื่อว่า มาตรฐานแรงงานในยุโรปต่ำกว่าในสหรัฐฯ มีเพียง 18 เปอร์เซนต์เท่านั้นที่คิดว่ามาตรฐานแรงงานในยุโรปสูงกว่า ขณะที่ 25 เปอร์เซนต์คิดว่า พอๆ กัน
การลงทุนจากต่างประเทศ
(Foreign Investment)
ชาวยุโรปดูเหมือนจะเปิดกว้างเรื่องการลงทุนจากต่างประเทศมากกว่าชาวอเมริกัน.
คำถามจากโพลล์สำรวจของ PIPA ที่ตั้งขึ้นเมื่อปี 1999 โดยให้เลือกข้อความระหว่าง
2 ประโยคต่อไปนี้
- การลงทุนจากต่างประเทศเป็นสิ่งที่อันตราย เพราะมันยอมให้คนนอกเข้ามาควบคุมเรื่องของเรามากเกินไป
- การลงทุนจากต่างประเทศเป็นสิ่งจำเป็น และมันมีอิทธิพลในเชิงบวกต่อเศรษฐกิจของเรา
52 เปอร์เซนต์ของคนอเมริกันเลือกทัศนะที่เป็นไปในเชิงลบ, 43 เปอร์เซนต์เลือกทัศนะไปในเชิงบวก. กับคำถามอย่างเดียวกัน ชนยุโรปส่วนใหญ่กลับเลือกทัศนะที่เป็นไปเชิงบวก (สหราชอาณาจักร 51 เปอร์เซ็นต์, ฝรั่งเศส 53 เปอร์เซ็นต์, เยอรมนีและอิตาลี 59 เปอร์เซ็นต์)
การแพร่ขยายของวัฒนธรรมอเมริกัน
(Spread of American Culture)
โพลล์ต่างๆ ยังปฏิเสธความคิดที่ว่า ชาวอเมริกันมีพันธกิจหนึ่งที่จะเผยแพร่วัฒนธรรมของพวกเขาโดยผ่านกระแสโลกาภิวัตน์
ขณะที่ชาวยุโรปต่างผลักไสวัฒนธรรมอเมริกันออกไป เพื่อปกป้องวัฒนธรรมของพวกเขาไว้.
ชนยุโรปโดยทั่วไป กลับกลายมีทัศนคติที่ดีพอสมควรเกี่ยวกับวัฒนธรรมอเมริกัน. ในเดือนพฤศจิกายน
2000 โพลล์สำรวจของ USIA ระบุว่า เพียงคนกลุ่มเล็กๆ เท่านั้นในอิตาลี (19 เปอร์เซ็นต์),
สหราชอาณาจักร (23 เปอร์เซ็นต์), และเยอรมนี (31 เปอร์เซ็นต์) มองวัฒนธรรมป๊อปของอเมริกันในฐานะที่เป็นภัยคุกคามที่จริงจังหรือเป็นเรื่องที่ต้องให้ความใจใส่มากๆ
ส่วนชาวฝรั่งเศสค่อนข้างวิพากษ์วิจารณ์มากกว่า, โดย 38 เปอร์เซ็นต์เห็นด้วยว่า "วัฒนธรรมอเมริกัน" มีทีท่าเป็นภัยคุกคามที่จริงจังหรือจริงจังเอามากๆ. แต่ 62-79 เปอร์เซ็นต์ ในสี่ประเทศมองว่ามันเป็นเพียง"ภัยคุกคามเล็กๆ น้อยๆ"เท่านั้น หรือ"ไม่คุกคามอะไรเลย". ยิ่งกว่านั้น เสียงส่วนใหญ่ที่แน่นหนาในอิตาลี (62 เปอร์เซ็นต์), สหราชอาณาจักร (67 เปอร์เซ็นต์), และเยอรมนี (59 เปอร์เซ็นต์), และเสียงส่วนใหญ่พอสมควรในฝรั่งเศส (52 เปอร์เซ็นต์) ต่างมีทัศนะว่า วัฒนธรรมป๊อปอเมริกันเป็นไปอย่างน่าชื่นชม
ในการตอบแบบสอบถามโพลล์สำรวจเรื่อง "วัฒนธรรมป๊อปอเมริกันไม่เป็นที่น่าพอใจ", เรียงลำดับจาก 30 เปอร์เซ็นต์ ในสหราชอาณาจักรจนสูงถึง 46 เปอร์เซนต์ในฝรั่งเศส. ตามข้อเท็จจริง ทัศนะของอเมริกันชนและชนยุโรป ทัศนะของพวกเขาต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเกี่ยวกับวัฒนธรรมป๊อปอเมริกัน. คล้ายๆ เพื่อนบ้านของพวกเขาที่ข้ามแอตแลนติกมา คนอเมริกันไม่มีทีท่ามองวัฒนธรรมของพวกเขาในฐานะที่เป็นภัยคุกคามที่จริงจังต่อวัฒนธรรมอื่นแต่อย่างใด. ตามโพลล์สำรวจของ PIPA ในเดือนตุลาคม 1999 ปรากฏว่า 33 เปอร์เซนต์เห็นว่า มันเพียงเป็นสิ่งคุกคามที่ไม่สลักสำคัญเท่าใดนัก, 41 เปอร์เซนต์มองว่าไม่เป็นการคุกคามเลย. เพียง 43 เปอร์เซนต์เท่านั้นที่คิดว่า ฝรั่งเศสควรมีสิทธิที่จะจำกัดการฉายภาพยนตร์อเมริกัน
ไม่มีชาวอเมริกันคนใดให้ความสนใจหรือกระตือรือร้นเกี่ยวกับวัฒนธรรมของพวกเขาเองมากนัก เพียง 60 เปอร์เซนต์ของคนอเมริกัน - อย่างหยาบๆ เหมือนกับคนยุโรป - ประเมินว่ามันน่าชื่นชม ขณะที่ 30 เปอร์เซนต์ไม่พอใจกับมันนัก และเกือบไม่มีชาวอเมริกันคนใด ตื่นเต้นดีใจไปกับการเห็นวัฒนธรรมป๊อปปูล่าร์ของพวกเขาเผยแพร่ไปทั่วโลก. คำถามที่ว่า พวกเขารู้สึกอย่างไร "เมื่อคุณเห็นและได้ยินว่า McDonalds ได้เปิดสาขาในเมืองใหญ่ต่างๆ ไปทั่วโลก หรือเมื่อคุณได้ข่าวว่ารายการโชว์ทางทีวีอเมริกันแนวป๊อป ได้มีการเผยแพร่ในประเทศต่างๆ" มีเพียง 43 เปอร์เซนต์เท่านั้นกล่าวว่า พวกเขารู้สึกไปในเชิงบวก ส่วน 43 เปอร์เซนต์พูดว่า พวกเขารู้สึกปนๆ กัน, 5 เปอร์เซนต์กลับมีความรู้สึกไปในเชิงลบ
อะไรคือทั้งหมดของความวุ่นวาย?
(What's All the Fuss About?)
ดังสาระทั้งที่สอดคล้องกันและขัดแย้งกันของโพลล์สำรวจต่างๆ อะไรคือต้นตอเกี่ยวกับทัศนะที่อเมริกันชนกำลังส่งเสริม
และชนชาวยุโรปกำลังต่อต้านเกี่ยวกับกระแสโลกาภิวัตน์ ? ในประการแรก หลายหลากของข้อถกเถียงกันอย่างรุนแรงระหว่างสหรัฐฯ
กับยุโรป ในการให้การอุดหนุนทางด้านเกษตรกรรม ไม่ว่าจะเป็นกล้วย, ไปจนถึงภาพยนตร์อเมริกัน,
เหล็ก, พาสต้า, เนื้อฮอร์โมน, และอื่นๆ, ต่างได้รับความสนใจมากบนหน้าหนังสือพิมพ์
บางทัศนะของการโต้เถียง ตัวพวกเขาเองรู้สึกประทับใจว่าสหรัฐฯ กำลังพยายามที่จะบีบบังคับบางสิ่งให้กับชาวยุโรป
- เพื่อทำให้ฟาร์มขนาดเล็กของครอบครัวแบบเก่าใช้การไม่ได้, เพื่อยุติการเชิดชูอาณานิคมดังเก่าก่อน,
เพื่อดูภาพยนตร์อเมริกัน, เพื่อกินเนื้อที่โตมาจากการเร่งฮอร์โมน.
แต่ภาพที่เกินจริงนี้มิได้สั่นสะเทือนอย่างลึกซึ้งกับสาธารณชน. ความเกินไปของสื่อเหล่านี้ได้สร้างความไม่เห็นพ้องกันต่างๆ นาๆ ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นพื้นฐานและยืนนานมาโดยตลอด แต่ตามข้อเท็จจริง มันเป็นเรื่องเล็กน้อยคล้ายดังความขัดแย้งต่างๆ ภายในครอบครัวมากกว่า กล่าวคือ ฝ่ายไหนจะเป็นฝ่ายที่ปรับตัวมากกว่าในกรอบกว้างที่เห็นร่วมกันอย่างตรงไปตรงมา และรวมถึงชุดของคุณค่าหรือค่านิยมต่างๆ
ความพยายามที่จะทำความเข้าใจท่าทีหรือทัศนคติของสาธารณชนในทั้งสองฝั่งฝากของแอตแลนติก ได้ถูกทำให้ซับซ้อนโดยสุ้มเสียงที่แกร่งกร้าวของกลุ่มต่างๆ ที่เปล่งออกมา ซึ่งกำลังทุกข์ทนต่อผลที่ตามมาในเชิงลบของการทำให้เป็นโลกาภิวัตน์ หรือผู้ที่รู้สึกเห็นอกเห็นใจต่อผู้คนเหล่านั้น. บางครั้ง สุ้มเสียงของกลุ่มต่างๆ เหล่านี้ถูกหยิบยกขึ้นมาในฐานะเป็นตัวแทนของสาธารณชนโดยทั่วไป
แต่ตามข้อเท็จจริง สาธารณชนอเมริกันและยุโรปดูเหมือนจะเห็นพ้องร่วมกันว่า โลกาภิวัตน์เป็นเรื่องที่เป็นไปในเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ. ในเวลาเดียวกัน ทั้งคู่ต่างรู้สึกไม่ง่ายเลยเกี่ยวกับการเผชิญผลกระทบของโลกาภิวัตน์นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่อบรรดาแรงงานทั้งหลาย. ทั้งสองฝ่ายต่างปรารถนาที่จะรักษากำแพงกีดกันทางการค้าเอาไว้จนกระทั่งปัจจุบัน อย่างน้อยที่สุด ก็ยาวนานพอที่จะช่วยเหลือคนงานให้ปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงที่กระแสโลกาภิวัตน์ได้นำมา. เพื่อสร้างความมั่นใจในสาธารณชนทั้งสองฝ่ายขึ้นมาใหม่
เป็นไปได้และจำเป็นที่จะต้องพูดถึงผลของโลกาภิวัตน์ที่มีต่อคนงานในประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลาย และต้องพูดถึงเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้วย. เป็นไปได้ที่สหรัฐฯ และยุโรปจะยังคงต้องทุ่มเถียงกันต่อไปเป็นระยะๆ ในประเด็นเกี่ยวกับความกังวลในสิ่งเหล่านี้ แต่การโต้เถียงกันไม่ควรที่จะเป็นไปอย่างคลุมเครือหรือปิดบังการมีส่วนสนับสนุนอยู่ข้างใต้ในทั้งสองฝั่งของแอตแลนติก ที่มีต่อกระบวนการที่ใหญ่กว่าของการทำให้เป็นโลกาภิวัตน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เชิงอรรถ
(*) The Brookings Institution เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่สนใจในเรื่อง"นโยบายสาธารณะ" ตั้งอยู่ที่วอชิงตัน ดี.ซี., หนึ่งในคลังความคิด(think tanks)ที่เก่าแก่ที่สุด, Brookings ได้ทำการวิจัยและการศึกษาในด้านสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์, ความเป็นมหานคร, รัฐบาล, พัฒนาการของโลก, และนโยบายต่างประเทศ. พันธกิจที่แถลงออกมาของพวกเขาคือ เพื่อนำเสนอนวัตกรรมและคำแนะนำในเชิงปฏิบัติที่มุ่งไปยังเป้าหมายกว้างๆ 3 ประการคือ
1. เสริมสร้างประชาธิปไตยอเมริกันให้เข้มแข็ง
2. ส่งเสริมเศรษฐกิจและสวัสดิการสังคม, ความมั่นคง, และโอกาสของคนอเมริกันทั้งมวล
3. ประกันความปลอดภัย, เปิดกว้างในระบบความร่วมมือระหว่างประเทศและความเจริญรุ่งเรืองBrookings ประกาศว่า นักวิชาการต่างๆ ของสถาบัน"เป็นตัวแทนความคิดเห็นที่หลากหลาย และอธิบายตัวสถาบันว่าไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด. ส่วนสื่อต่างๆ พูดถึงสถาบันแห่งนี้ เรียงลำดับจากความเป็นสถาบันที่มีเสรีภาพทางความคิด ไปจนกระทั่งถึงมีความคิดเห็นทางการเมืองที่เป็นกลาง แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสถาบันนี้จะมีชื่อเสียงในเรื่องการสนับสนุนแนวทางฝ่ายซ้าย หรือความคิดสังคมนิยม(left-of-center) แต่ผู้เชี่ยวชาญอเมริกันบางคนวิจารณ์ว่า ผลงานของนักวิชาการสถาบัน Brookings ในนโยบายต่างประเทศ ค่อนข้างให้การสนับสนุนแนวทางการบริหารของประธานาธิบดีบุช มากกว่า
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ต้นฉบับภาษาอังกฤษ
Culture Wars? How Americans and Europeans View
Globalization
Global Governance, Trade, Global Economics, Governance
Steven Kull, The Brookings Institution
If the fulminations of some European pundits and politicians are to be believed,
globalization is a project foisted by Americans on an unwilling world-in particular,
an unwilling Europe, whose aroused public stands ready to defend not only
the continent's trade barriers, but its very culture. Polling data from both
sides of the Atlantic, however, paint quite a different picture. Well below
the shrill tones of the dueling diplomats and clashing columnists, the publics
on both sides of the Atlantic are speaking in voices that are measured-and
surprisingly harmonious.
In fact, American and European publics see globalization quite similarly. According to a U.S. State Department poll of Europeans in the fall of 2000, 65 percent of the British respondents, 73 percent of the Germans, 57 percent of the French, and 62 percent of the Austrians judged globalization to be primarily positive. The Italians were somewhat less positive (50 percent) though only 23 percent rated globalization a bad thing. A roughly contemporaneous Harris poll of Americans (April 2000) found that 64 percent believe that globalization is good for the U.S. economy. In an October 1999 survey by the Program on International Policy Attitudes (PIPA) of the University of Maryland, when asked to rate globalization on a 0 to 10 scale, with 10 being very positive, Americans gave a mean response of 6-on the positive side, but only moderately so.
International Trade
In principle, both Europeans and Americans want to see trade grow. In the
spring of 1999, a U.S. Information Agency poll offered Europeans two approaches
to trade: "Some countries favor free trade to promote economic growth
and lower prices for consumers. Other countries favor restrictions on free
trade to protect their own products and jobs against foreign competition."
Asked which they would prefer, majorities chose free trade in Britain (57
percent), France (62 percent), Germany (60 percent), and Italy (77 percent).
In response to a similar question posed by the Pew Center for the People and
the Press in February of 2000, 64 percent of Americans said that free trade
is good for the United States.
At the same time, the public on both sides of the Atlantic worries about trade's effect on jobs. Overwhelming majorities believe that trade growth entails the loss of at least some jobs (table 1). But the concern seems stronger in the United States than in Europe. Asked to assess job loss due to foreign imports, 38 percent of Americans told PIPA (in October 1999) that "many jobs" are lost, whereas only 34 percent of the British and French, 30 percent of the Germans, and 16 percent of the Italians gave that response to a spring 1999 USIA poll. A plurality in every country (50 percent in the United States, 47 percent in Britain, 45 percent in France, 37 percent in Germany and Italy) said that imports cost "only a few jobs." Few thought that trade growth would cost no jobs, with the smallest share (9 percent) in the United States and the largest (35 percent) in Italy.
Though neither side fears excessive job loss, both support having some trade barriers to protect employment. In May 1997 a USIA poll gave Europeans this choice: "Some people favor restrictions on foreign imports to protect...jobs. Others oppose restrictions because they lead to higher consumer prices. Which view is closer to your own?" Most-51 percent of the British, 56 percent of the Germans, and 63 percent of the French-said they preferred restrictions. Europeans are particularly concerned about imports from low-wage countries. Asked whether their country "should open its markets more than it already has to low-cost goods...from the former Soviet Union and Eastern Europe," a majority of the French (65 percent) and Germans (63 percent) was opposed, as was a plurality of the British (46 percent).
Presented a choice between protecting jobs and enjoying lower prices, Americans too support shielding jobs. They are also apprehensive about imports from low-wage countries. But the October 1999 PIPA poll found that Americans are not so much protectionist asthat they see trade barriers as a temporary measure to help workers adapt. Given three options on the question of trade barriers, only 31 percent agreed that "We should keep up barriers against international trade because importing cheap products from other countries threatens American jobs." Only 24 percent believed that "We should remove trade barriers now because this allows Americans to sell in other countries what they do the best job of producing, and to buy products that other countries do the best job of producing, saving everybody money." Forty-three percent judged that "We should lower trade barriers, but only gradually, so American workers can have time to adjust." Thus 74 percent endorsed having some trade barriers for now, but 67 percent supported the goal of ultimately lowering them.
Offered the possibility that their government could help workers adapt to trade-related changes, Americans' support for free trade becomes overwhelming. Given three options for describing their attitude on trade in the 1999 PIPA poll, 66 percent chose "I favor free trade and I believe that it is necessary for the government to help workers who lose their jobs." A smaller 18 percent supported free trade but did not support government aid to workers, thus bringing to 84 percent the share who support free trade under some condition. Only 14 percent opposed free trade when given the option of worker programs.
Although no comparable data confirm how Europeans would feel about trade if their governments made greater efforts to help workers adapt, Europeans strongly support their existing systems of protecting workers and are more critical of the U.S. system. In response to a USIA poll in May of 1997, majorities in France (76 percent), Germany (68 percent), and Britain (57 percent) agreed that the U.S. system "neglects too many social problems because of a lack of job security and few employment benefits for many workers." On average, only a quarter favors theU.S. model "because it is able to maintain economic competitiveness through a flexible system of labor." In a separate poll by Le Monde in France in October 1996, 66 percent preferred the French system, with good social protection but high unemployment, while 18 percent preferred the U.S. system, with little social protection but low unemployment.
Americans do not look just to domestic efforts to address the threats to U.S. workers. The 1999 PIPA poll found that an overwhelming 93 percent favor including labor standards in trade agreements to ensure that U.S. workers will not face unfair competition from exploited workers overseas. Support for this measure, though, was not rooted simply in concern for American workers: 83 percent agreed that it is "immoral for workers to be subject to harsh and unsafe conditions."
Indeed, Americans take a broad attitude toward trade. While they value it, they believe that its growth should take into account other values, even those that slow that growth. For example, they want to incorporate environmental standards into trade agreements and are not overly concerned if that slows the growth of trade-hardly a surprising view given that Americans tend to believe that trade's benefits only moderately outweigh its costs.
Opening Markets
Europeans would be amused to hear themselves described as stubbornly resisting
American entreaties to open European markets. Asked, in a 1998 USIA poll,
how easy or difficult their own country makes it for U.S. manufacturers to
sell their products there, an overwhelming majority of Europeans said that
their country makes it quite easy (Britain 81 percent, France 84 percent,
Germany 68 percent). Far fewer saw the United States as open to European products
(Britain 46 percent, France 34 percent, Germany 38 percent).
In a classic case of the mirror-image phenomenon, Americans have the opposite perception. An overwhelming 86 percent of respondents to a PIPA poll conducted from February to April of 1998 said the United States makes it easy for European manufacturers to sell their products in the United States, whilejust 41 percent said western European countries make it easy for the United States to sell its products in Europe.
Americans have shown their readiness to further open their markets to European products on a reciprocal basis. When a PIPA poll in the spring of 1998 asked, "If the countries of the European Union say they will lower barriers to products from the United States if we will lower our barriers to their products," 64 percent said the United States should do so, while 28 percent said it should not. And Americans wanted to lower trade barriers with Europe even though 48 percent (mistakenly) voiced a belief that labor standards are lower in Europe than in the United States. Just 18 percent thought that labor standards are higher in Europe; 25 percent, that they are about the same.
Foreign Investment
Europeans appear more open to foreign investment than are Americans. Asked
in the 1999 PIPA poll to choose between two statements-"foreign investment
is dangerous because it allows outsiders too much control over our affairs"
and "foreign investment is necessary and has a positive influence on
our economy"-52 percent of Americans chose the negative view, 43 percent
the positive. Most Europeans chose the positive view (Britain 51 percent,
France 53 percent, Germany and Italy 59 percent).
Spread of American Culture
Polls also gainsay the notion that Americans are on a mission to spread their
culture through globalization, while Europeans are fending the Americans off
to protect their own culture.
Europeans, it turns out, have a fairly benign view of American culture (table
2). In a November 2000 USIA poll, only small minorities in Italy (19 percent),
Britain (23 percent), and Germany (31 percent) regarded U.S. popular culture
as a serious or very serious threat. The French were somewhat more critical,
with 38 percent agreeing that American culture poses a serious or very serious
threat. But 62-79 percent in these four countries saw it as only a "minor
threat" or "not a threat at all." Furthermore, a solid majority
in Italy (62 percent), Britain (67 percent), and Germany (59 percent), and
a modest majority in France (52 percent), all viewed U.S. popular culture
favorably.
Unfavorable responses
ranged from 30 percent in Britain to a high of 46 percent in France (table
3).
In fact, Americans and Europeans differ little in their view of U.S. popular
culture. Like their neighbors across the Atlantic, Americans tend not to see
their culture as a serious threat to other cultures. According to the October
1999 PIPA poll, 33 percent considered it only a minor threat, 41 percent no
threat at all. Only 43 percent thought the French should have the right to
limit the showing of American films.
Not that Americans are wildly enthusiastic about their own culture. Just 60 percent of Americans-roughly the European share-rated it favorably, while 39 percent rated it unfavorably. Nor are Americans overjoyed to see their popular culture spread around the world. Asked how they feel "When you see or hear about McDonalds opening up in cities around the world or when you hear about the popularity of U.S. TV shows in other countries," only 43 percent said they had positive feelings; 43 percent said they had mixed feelings, 5 percent negative feelings.
What's All the Fuss About?
Given the consistent message of the polls to the contrary, what is the source
of the view that Americans are promoting and Europeans are resisting globalization?
In the first place, several high-profile U.S.-European disputes on agricultural
subsidies, bananas, American films, steel, pasta, hormone beef, and more have
received substantial attention in the press. Some of these disputes lend themselves
to the impression that the United States is trying to force something on the
Europeans-to make small family farms unviable, to stop favoring former colonies,
to watch American films, to eat beef grown with hormones. But this exaggerated
image does not resonate deeply with the public. The media hype has made the
disagreements seem fundamental and enduring when in fact they are little more
than intrafamily conflicts over which side is going to make more adjustments
within a fairly consensual broad framework and set of values.
Attempts to understand the attitudes of the publics on both sides of the Atlantic are complicated by the strident voices of vocal groups who are suffering the negative consequences of globalization or who are sympathetic to those who are. Sometimes these groups are taken as representative of the general public.
But in fact the American and European publics seem to agree that globalization is more positive than negative. At the same time, both are uneasy about the impact of globalization, especially on workers. Both desire to keep some trade barriers for now, at least long enough to help workers adapt to the changes that globalization entails. To reassure both publics, it will probably also be necessary to address globalization's effect on workers in developing countries and on the environment as well. The United States and Europe will probably continue to engage in periodic disputes over exactly how to address these concerns, but the disputes should not obscure the shared underlying support on both sides of the Atlantic for the broader process of globalization.
++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
สารบัญเนื้อหา
7 I สารบัญเนื้อหา
8
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1500 เรื่อง หนากว่า 30000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com