โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๔๙๔ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๑ (Febuary, 28, 02, 2008) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกราคม ๒๕๕๐)

28-02-2551

Health and Human Rights
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com

 

 

Neglected diseases, civil conflicts, and the right to health
โรคที่ถูกละเลย สงครามพลเรือน และสิทธิด้านสุขภาพ
อัจฉรียา สายศิลป์ : เรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ผู้สนใจประเด็นสื่อและการศึกษาในพม่า

บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งเป็นโครงการไม่เกี่ยวข้องกับผลกำไร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์
เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศไทย

บทความเรียบเรียงชิ้นนี้ นำมาจากเรื่อง Health and Human Rights
Neglected diseases, civil conflicts, and the right to health
เขียนโดย Chris Beyrer, Juan Carlos Villar, Voravit Suwanvanichkij,
Sonal Singh, Stefan D Baral, Edward J Mills
จาก www.thelancet.com Vol 370 August 18, 2007
เป็นรายงานเกี่ยวกับสิทธิด้านสุขภาพในภาวะสงคราม ศึกษากรณีในประเทศพม่า
และโคลัมเบีย ซึ่งส่งผลต่อการเข้าถึงการบริการทางแพทย์ของประชาชน และ
บุคคลที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประเด็นเกี่ยวกับปัญหาความมั่นคงของรัฐ ที่กีดกัน
การเข้าถึงการพยาบาลของฝ่ายตรงข้าม อันเป็นอุปสรรคต่อการบริการสาธารณสุข
อย่างทั่วถึง และเท่ากับเป็นการละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๔๙๔
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๖.๕ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Neglected diseases, civil conflicts, and the right to health
โรคที่ถูกละเลย สงครามพลเรือน และสิทธิด้านสุขภาพ
อัจฉรียา สายศิลป์ : เรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน ผู้สนใจประเด็นสื่อและการศึกษาในพม่า

โรคที่ถูกละเลย (Neglected diseases) ยังคงเป็นสาเหตุการเจ็บป่วยและเสียชีวิตที่สำคัญในโลกปัจจุบัน การรักษาโดยใช้ยาที่เหมาะสมกับโรคแต่ละชนิดยังเป็นเรื่องที่ยากลำบาก นอกจากนั้นยังมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้การแพร่ระบาดของโรคเหล่านี้มีมากขึ้นและยากต่อการควบคุม ในบทความนี้ผู้เขียนต้องการกล่าวถึงบทบาทของรัฐที่ไม่มีประสิทธิภาพในการจัดการปัญหานี้ และการกดขี่ทางการเมืองอันมีผลต่อการระบาดของโรคที่ถูกละเลย โดยใช้กรณีศึกษาเรื่องโรคเท้าช้างในภาคตะวันออกของพม่า และโรคที่มีแมลงเป็นพาหะ (โรคชากาส, โรคลิซมาเนียซิส, และไข้เหลือง) ในโคลัมเบีย โดยแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบ กับ ผลกระทบจากโรคติดเชื้อเหล่านี้ต่อสุขภาพของผู้คน และยังอภิปรายถึงบทบาทของ นักวิจัยในการสนับสนุนการศึกษาวิจัยในกลุ่มประชากรที่ถูกกดขี่ข่มเหง

ความนำ

โรคติดเชื้อในประเทศเขตร้อน รวมทั้งการติดเชื้อจากสัตว์เซลล์เดียว พยาธิและโรคอื่นๆ อย่างเช่น โรคเรื้อนและริดสีดวงตา ที่มักพบได้บ่อยๆ ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาอยู่ในระดับน้อยที่สุดในโลกนั้นเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ "โรคที่ถูกละเลย" โรคติดเชื้อที่ถูกละเลยนี้รวมทั้งโรค ลิซมาเนียซิส ( leishmaniasis) โรคชากา (Chagas disease) และโรค African Trypanosomiasis ส่วนโรคพยาธิในกลุ่มนี้ได้แก่ โรคเท้าช้างในต่อมน้ำเหลือง โรคพยาธิใส้เดือนตัวกลม Ascariasis, โรคตาบอดจากพยาธิ Onchocerciasis โรคพยาธิในเนื้อที่ชื่อว่า Guinea worm disease, Dracunculiasis, และโรคพยาธิใบไม้ในเลือด Schistosomiasis

โรคที่ถูกละเลยเหล่านี้พบได้ในกลุ่มประชากรที่มักถูกหลงลืม และโดยทั่วไป ไม่มีผลกระทบในประเทศที่พัฒนาแล้ว ดังนั้นจึงมักถูกเพิกเฉยละเลยจากวงการวิทยาศาสตร์การแพทย์ แม้ว่าความยากจนนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่เร่งการแพร่ระบาดของโรคเหล่านี้ โดยมีหลักฐานแสดงถึงความเกี่ยวข้องของการแพร่ระบาดที่เพิ่มขึ้นของโรคเหล่านี้กับความไม่สงบในประเทศ และการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบ ซึ่งสถานการณ์เหล่านี้ทำให้กลุ่มประชากรที่ยากจนที่สุดในสังคม มีความเสี่ยงในการติดโรคอื่นๆ มากขึ้น

ในการศึกษาเมื่อปี 1996 เรื่องการกลับมาระบาดของโรค African trypanosomiasis (*) อันเป็นผลมาจากสงครามกลางเมืองในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก มีบันทึกไว้ว่าเมื่อปี 1930 มีผู้ป่วยด้วยโรคนี้ 30,000 ราย และลดลงเรื่อยๆ ในแต่ละปีจนกระทั่งเหลือ 1, 000 รายต่อปี เมื่อคองโกได้รับอิสรภาพเมื่อปี 1960. อย่างไรก็ตาม ในยุคเผด็จการ Mobutu ซึ่งมีทั้งการคอรัปชั่นและการใช้ความรุนแรง จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นกว่า 10,000 รายต่อปี ระหว่างความวุ่นวายในสังคมเมื่อ ปี 1991-94 เฉพาะในปี 1994 เพิ่มขึ้นถึง 34, 400 ราย ซึ่งมากที่สุดในรอบศตวรรษที่ 20. ผู้เขียนรายงาน สรุปว่า รัฐบาลละเลยในการรายงานจำนวนที่เพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อ การแพร่ระบาด และพิษจากการได้รับการรักษาล่าช้าเกินไป

(*) African trypanosomiasis หรือ sleeping sickness เป็นโรคติดเชื่อปรสิต Trypanosoma gambiense หรือ T. rhodesiense โดยมีแมลง tsetse fly เป็นพาหะนำโรค เวลากัดคนหรือสัตว์เลี้ยง ตัวปรสิตมัจจุราชนี้จะแพร่เข้าสู่ร่างกายคน และเมื่อเวลาผ่านไปเพียง 8 ชั่วโมง มันจะเริ่มแบ่งตัว การแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็วนี้มีผลทำให้คนที่ได้รับเชื้อมีไข้สูง ร่างกายหนาวสั่น มีอาการปวดศีรษะรุนแรงจนอาเจียน และเมื่ออาการไข้กำเริบมาก คนไข้จะชัก พูดละเมอเพ้อคลั่งและกระสับกระส่าย หรือถ้าคนไข้ไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที พิษไข้ก็จะระบาดถึงสมองทำให้เขาต้องหลับสนิทติดต่อกันจนเสียชีวิตในที่สุด และนี่ก็คือที่มาของชื่อโรคชนิดนี้ ***-ข้อมูลจาก http://www3.ipst.ac.th/

ในปี 2003 มีรายงานการปรากฎของโรคลิซมาเนียซิส ในอวัยวะภายใน ช่วงที่เกิดสงครามกลางเมืองในโซมาเลีย โดยระบุว่าการแพร่ระบาดที่เพิ่มขึ้นเกิดจากความขัดแย้งและผลกระทบที่ตามมาทำให้อาหารไม่ปลอดภัยต่อการบริโภค

การรายงานถึงโรคที่ถูกละเลยในเขตสงครามเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งอันเกี่ยวเนื่องกับสภาพแวดล้อมและนิเวศวิทยาทางสังคมของโรคติดเชื้อเหล่านี้ ความไม่สงบเป็นปัจจัยหนึ่ง ซึ่งทำลายสุขภาวะของชุมชนและทำให้การเข้าถึงการบริการสุขภาพยากขึ้น. ความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยในเขตที่มีความขัดแย้งยังส่งผลกระทบต่อการสำรวจการแพร่ระบาด รบกวนการเฝ้าระวังโรค และทำให้ผู้บริจาคเงินเพื่อการวิจัยลดความสนใจในประเด็นนี้ลง. เงื่อนไขดังกล่าวยิ่งทำให้โรคเหล่านี้ถูกละเลยมากยิ่งขึ้น และทำให้ผู้ที่ป่วยกลุ่มนี้ถูกทำให้เป็นกลุ่มชายขอบมากขึ้นด้วย แต่กระนั้นผู้ที่ทำงานสนับสนุนเรื่องสุขภาพและความยุติธรรมในสังคมต่างเห็นว่าเราไม่สามารถเพิกเฉยต่อเงื่อนไขที่กล่าวมา. อุปสรรคที่ขัดขวางการดำเนินงานป้องกันและรักษาโรคในเขตความไม่สงบ ควรจะได้รับการบันทึก วิเคราะห์และทำความเข้าใจ

กรณีศึกษาต่างๆ อาจจะช่วยในการสืบสาวถึงความสัมพันธ์ระหว่างโรคที่ถูกละเลย ประชากรและดินแดนที่อยู่ในสงคราม ผู้เขียนจึงเสนอกรณีของโรคเท้าช้างในต่อมน้ำเหลืองจากเชื้อ Wuchereria bancrofti ในเขตความไม่สงบทางภาคตะวันออกของพม่า กรณีโรคติดเชื้อ Trypanosoma cruzi หรือโรคชากา (Chagas disease) และโรคไข้เหลืองในโคลัมเบีย ซึ่งกรณีเหล่านี้จะทำให้เราตระหนักว่า สงครามทำให้สถานะของโรคเหล่านี้ยัง "ถูกละเลย" และกัดกร่อนทำลายความพยายามในการควบคุมโรคด้วย

ภาคตะวันออกของประเทศพม่า

เขตชายแดนภาคตะวันออกของพม่า เป็นเขตอาศัยของประชากรกลุ่มชาติพันธุ์ที่ต่อสู้ในสงครามกลางเมืองกับรัฐบาลทหารพม่า มานานกว่า 40 ปี. ในเขตนี้ยังได้รับผลกระทบจากยุทธการตอบโต้กลุ่มต่อต้านรัฐบาลที่รู้จักกันในชื่อนโยบายตัดสี่ (Four Cuts Policy) (*) อันทำให้ประชาชนต้องถูกบังคับให้พลัดจากถิ่นฐาน บังคับใช้แรงงาน ขู่เข็ญและฆ่าเพื่อข่มขวัญและลดการสนับสนุนแก่กองกำลังฝ่ายต่อต้าน ความขัดแย้งนี้นำมาสู่วิกฤตการณ์ทางมนุษยธรรมอย่างยาวนาน อันทำให้ผู้คนกว่าหกแสนถึงหนึ่งล้านคน กลายเป็นผู้พลัดถิ่นในประเทศ และชาวพม่ามากกว่าหนึ่งล้านคนโดยประมาณหนีข้ามเขตแดนประเทศอื่น มากที่สุดคือเข้าสู่ประเทศไทย

(*) Four Cuts Policy: The military junta that rules Burma introduced the Four Cuts policy in the 1970s. The policy aimed to undermine the support networks of the insurgent groups by cutting their access to information, supplies, recruits and food. In order to cut these networks, the military dictatorship targeted the civilian population. This policy lead to increased militarisation, forced displacement, human rights abuses and oppression of Burmese villagers.

สถานการณ์ด้านมนุษยธรรมและสุขภาวะในพม่าภาคตะวันออกเป็นวิกฤตการณ์ที่ซับซ้อนนำไปสู่การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อหลายโรค รวมทั้ง HIV, โรควัณโรคที่ดื้อยาหลายชนิด, มาลาเรีย และการระบาดครั้งใหม่ของโรคเท้าช้างในต่อมน้ำเหลือง. โรคเท้าช้างในต่อมน้ำเหลืองเป็นโรคที่ถูกละเลยที่พบได้อย่างแพร่หลาย มีประชากรที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อถึง 1 พันล้านคนใน 83 ประเทศ มีผู้ติดเชื้อถึง 120 ล้านคนทั่วโลกและมีถึง 40 ล้านคนที่กลายเป็นคนพิการ และมีร่างกายผิดรูปผิดร่างจากการติดเชื้อนี้

ร้อยละ 40 ของผู้ติดเชื้อโรคเท้าช้างอยู่ในประเทศอินเดีย การรักษาและการสูญเสียจากโรคนี้มีมูลค่าถึง 1 พันล้านดอลล่าห์สหรัฐต่อปี โรคเท้าช้างกระทบต่อกลุ่มประชาชนที่ยากจนที่สุดของกลุ่มยากจน และยังต้องถูกซ้ำเติมจากความยากจนที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการเจ็บป่วยของพวกเขา การติดเชื้อประมาณร้อยละ 90 ทั่วโลกเกิดจากเชื้อ Wuchereria bancrofti ซึ่งมีพาหะนำโรคคือยุงหลายชนิดเช่น ยุงรำคาญ Culex, ยุงก้นปล่อง Anopheles, and ยุงลาย Aedes การควบคุมโรคที่ได้ผลคือการหยุดยั้งวงจรของโรค โดยการลดจำนวนของเชื้อพยาธิไมโครฟิลาเรีย (microfilaria) ซึ่งทำได้โดยการให้ยา Diethylcarbamazine และยา Invermectin ให้มากคนที่สุดเท่าที่จะทำได้ (อาจจะประมาณร้อยละ 80 - 90) ในชุมชนที่มีความเสี่ยง

การให้เซรุ่มเพื่อควบคุมโรคต้องทำทุก 4-6 ปี. จริงๆ แล้วเป็นเรื่องที่ไม่ยุ่งยากและค่าใช้จ่ายไม่สูงคือน้อยกว่า 1 ดอลล่าห์สหรัฐต่อคนต่อปี และดำเนินงานตามมาตรฐานทางสาธารณสุขที่ไม่ยุ่งยากนักเพื่อให้งานมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในชุมชนที่ยากจนที่สุด คณะทำงานนานาชาติเพื่อกำจัดโรคหรือ The International Task Force for Disease Eradication กำหนดว่าโรคเท้าช้างเป็นโรคที่สามารถกำจัดให้หมดไปได้ เนื่องจากมีวิธีการรักษาและป้องกันทีมีประสิทธิภาพ ต่อมาองค์การอนามัยโลก ได้ออกมติในปี 1997 ให้ทุกประเทศสมาชิกดำเนินการกำจัดโรคเท้าช้างให้หมดสิ้น

กรณีศึกษา โรคเท้าช้างในต่อมน้ำเหลือง Lymphatic filariasis

การดำเนินงานในพื้นที่แพร่ระบาด โดยการใช้ยาเพื่อควบคุมโรคในกลุ่มประชากรจำนวนมาก ทำให้ประเทศไทยสามารถกำจัดการติดต่อของโรคเท้าช้างได้เกือบหมดแล้ว แต่ก็ยังปรากฎโรคจำกัดอยู่ที่สามจังหวัดชายแดนติดต่อกับประเทศพม่าทางตะวันออกคือ ตาก แม่ฮ่องสอน และกาญจนบุรี (ติดกับรัฐมอญ รัฐกะเหรี่ยง รัฐคะเรนนี และรัฐฉาน**ผู้เรียบเรียง). ในพม่านั้นยังมีการแพร่ระบาดของโรคเท้าช้างสูง ทุกปีมีจำนวนผู้ป่วยประมาณสองล้านคนในพม่า จากข้อมูลที่องค์การอนามัยโลกได้รับรายงาน แต่จำนวนนี้อาจเป็นการประมาณที่ต่ำกว่าความเป็นจริง เนื่องจากสถานการณ์ในเขตชายแดนและพื้นที่ชนกลุ่มน้อยยังไม่อาจทราบได้

อย่างไรก็ตามเราทราบว่าพื้นที่เหล่านี้ไม่มีการควบคุมโรคโดยการให้ยากับกลุ่มประชากร การไม่ได้รับการรักษา ไม่ได้เกิดจากความยากจนและขาดแคลนทรัพยากรที่จำเป็นเท่านั้น แต่พม่าถูกปกครองโดยรัฐบาลทหารที่ติดอันดับการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก รัฐบาลจ่ายงบประมาณด้านสาธารณสุขน้อยกว่าร้อยละ 3 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดของประเทศ แต่จ่ายมากกว่าร้อยละ 40 ให้กับกองทัพ และยังลดงบประมาณในการควบคุมโรคเท้าช้างด้วย

หน่วยงานเพื่อกำจัดโรคเท้าช้างหรือ Burma's National Programme to Eliminate Lymphatic Filariasis (PELF) รายงานในปี 2004 ว่า "งบประมาณในปี 2004 ลดลง งบประมาณในโครงการกำจัดโรคเท้าช้างตามนโยบายขององค์การอนามัยโลกมีเพียง 6,000 ดอลล่าห์สหรัฐ เท่านั้น".งบประมาณจำนวนนี้คืองบทั้งหมดของปีจากทุกแหล่ง แต่ก็ไม่ได้บอกว่าลดจากจำนวนเดิมเท่าใด. ประเทศไทยจัดงบประมาณในการกำจัดโรคเท้าช้างต่อปีประมาณ 500,000 ดอลล่าห์สหรัฐ ไม่มีพื้นที่ใดในประเทศไทยตกสำรวจ. ในปี 2002 พบผู้ป่วยใหม่เพียง 185 รายที่กระทรวงสาธารณสุขได้รับรายงาน แต่ในกลุ่มแรงงานข้ามชาติจากพม่าสำรวจพบว่ามีผู้ป่วยประมาณร้อยละ 10 ของทั้งกลุ่ม และร้อยละ 40 ของกลุ่ม(แรงงานจากพม่า) พบโดยการทดสอบเซรุ่มว่าเคยได้รับเชื้อโรคนี้ แต่ไม่ได้รับการรักษาใดๆ จากฝั่งพม่า

แรงงานข้ามชาติจากพม่าเข้ามาทำงานในประเทศไทยมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่เนื่องจากโดยมากแล้วพวกเขาเข้าเมืองโดยไม่มีหลักฐานใดๆ ดังนั้นจึงทำให้ไม่ทราบจำนวนของผู้ที่เสี่ยงกับโรคเท้าช้าง รวมทั้งไม่สามารถติดตามเพื่อรักษาได้ทันเวลา ยุงรำคาญชนิด Culex cinquefasciatus พบได้ในชุมชนเมืองในประเทศไทย และสามารถเป็นพาหะนำโรคจากกลุ่มแรงงานย้ายถิ่น อันอาจทำให้เกิดการกลับมาระบาดของโรคเท้าช้างในชุมชนไทยอีกได้ แรงงานข้ามชาติจากพม่าที่พบว่าป่วยเป็นโรคเท้าช้างจำนวนหนึ่งอาศัยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ เมืองใหญ่ที่สุดในภาคเหนือของประเทศไทย

มีเพียงไม่กี่ทางเพื่อจัดการกับปัญหาโรคเท้าช้างข้ามเขตแดนระหว่างประเทศ รัฐบาลพม่าเพิกเฉยต่อการสาธารณสุข โดยเฉพาะในเขตชนบท อันเห็นได้จากกรณีของโครงการควบคุมโรคเท้าช้างที่ขาดหายไปจากระบบ แต่นี่เป็นเพียงหนึ่งในหลายๆ กรณีเท่านั้น. การขาดความสนใจและการดำเนินงานจากภาครัฐ ทำให้การใช้ยาเพื่อควบคุมโรคในประชากรแถบชายแดนตะวันออกของพม่าเป็นเรื่องยากลำบาก. โครงสร้างพื้นฐานทางการแพทย์ที่อ่อนแอ ประชากรพลัดถิ่นจำนวนมาก และสงครามกลางเมืองที่เรื้อรัง ยิ่งทำให้การควบคุมโรคหยุดชะงัก. ในหลายพื้นที่ของประเทศความพยายามในการจัดหาและจ่ายแจกอุปกรณ์ทางการแพทย์และยา เป็นเรื่องที่อันตรายเนื่องจากฝ่ายทหารของรัฐบาลเข้าใจว่าเป็นการสนับสนุนแก่กลุ่มต่อต้าน กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเหล่านี้มักจะมีแนวโน้มถูกจับกุมและข่มขู่

ความล้มเหลวของรัฐบาลพม่าในการแก้ปัญหาสาธารณสุขในประเทศ รวมทั้งความผิดพลาดของรัฐบาล อันทำให้เกิดความยากจนและผลักดันให้ประชาชนย้ายถิ่น ย่อมจะบ่อนทำลายสถานการณ์ด้านสาธารณสุขของประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปด้วย

โรคที่มีแมลงเป็นพาหะในสถานการณ์ความขัดแย้งในโคลัมเบีย

โคลัมเบียเป็นประเทศที่มีความไม่สงบภายใน อันเกิดจากความขัดแย้งกับกลุ่มติดอาวุธมานานหลายทศวรรษ มีโรคที่ถูกละเลยหลายชนิดซึ่งกลายเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับวงการแพทย์ สาธารณสุข และสิทธิมนุษยชน. ความรุนแรงทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 กลุ่มกบฎได้ขยายการปฏิบัติการออกไป และตามด้วยการตั้งกองกำลังป้องกันตนเองในปี 2006 มีกำลังรบประมาณ 25,000 คนจากทั้งสองฝ่ายอยู่ในพื้นที่ชนบทแทบทุกภาคของประเทศ กลุ่มเหล่านี้มีเงินมาสนับสนุนโดยการทำสิ่งผิดกฎหมาย เช่น การลักพาตัว (เมื่อทศวรรษที่แล้วมีผู้ถูกลักพาตัวทั้งสิ้น 22,363 คนและยังมีผู้ถูกควบคุมตัวอยู่ในปัจจุบันอีกกว่า 5, 000 คน), การผลิตและลักลอบส่งออกโคเคน, ซึ่งเป็นร้อยละ 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติของโคลัมเบีย

ความไม่สงบได้นำไปสู่การพลัดถิ่นภายในประเทศของประชากรประมาณ 6 ล้านคนในช่วง 20 ปี ระหว่างปี 1985-2005 และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ชาวโคลัมเบีย 200,000 คนย้ายถิ่นออกนอกประเทศทุกปีในทศวรรษที่ผ่านมา. จนปัจจุบัน การเจรจาและเพิ่มกำลังทหารไม่สามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งได้ ฝ่ายรัฐบาลที่มีอำนาจเหนือกว่าได้พยายามที่จะควบคุมสถานการณ์โดยการเพิ่มค่าใช้จ่ายทางทหารจากร้อยละ 0.92 ในปี 1991 เป็นร้อยละ 3.3 ในปี 2005 และเพิ่มกำลังพลเป็นสองเท่าเป็น 300,000 คน

ตลอดช่วงเวลานี้โครงการทางสังคมและสาธารณสุขระดับชาติได้ชะงักลงเนื่องจากรัฐต้องการลดรายจ่าย ซึ่งเป็นไปตามคำแนะนำของหน่วยงานให้สินเชื่อในระดับนานาชาติ. หน่วยงานหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายนี้ก็คือ หน่วยงานควบคุมโรคติดต่อจากสัตว์และแมลงชื่อว่า Servicio de Erradicacion de la Malaria ซึ่งรับผิดชอบในการควบคุมโรคและกระจายความรับผิดชอบไปในหน่วยงานในภูมิภาคที่มีความสามารถและเทคนิคในการปฏิบัติงานน้อยกว่า

โรคที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งในโคลัมเบียนั้นรวมถึง โรคชากาส, โรคลิซมาเนียซิส, และไข้เหลือง, ซึ่งทุกพื้นที่ในโคลัมเบียมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรคเหล่านี้ หลายพื้นที่ถูกควบคุมด้วยกลุ่มอำนาจที่ต่างกัน นอกจากนั้นช่วงหลังศตวรรษที่ 20 โคลัมเบีย ได้อยู่ภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงจากชนบทสู่เมือง ปัจจุบันประชากรร้อยละ 75 จาก 43 ล้านคนอาศัยอยู่ในเขตเมือง ประชาชนที่เสี่ยงกับโรคติดต่อจากแมลงในโคลัมเบียต้องเผชิญหน้ากับปัญหาหลักสองประการ คือ การเข้าถึงการป้องกันรักษาได้น้อย และมีการวิจัยพัฒนาวิธีรักษาไม่มากนัก

กรณีศึกษาโรคชากาส Chagas' disease

โรคชากาส (*) เป็นสาเหตุความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ อันเป็นผลให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร และความพิการที่พบทั่วไปในลาตินอเมริกา. ประชากรประมาณ 18 ล้านคนในอเมริกาใต้ติดเชื้อปรสิต Trypanosoma cruzi อันเป็นสาเหตุของโรคนี้. ในจำนวนนี้เป็นชาวโคลัมเบีย 1 ล้านคน และในจำนวนดังกล่าวประมาณร้อยละ 10 - 30 เริ่มปรากฎอาการของโรค โดยปกติจะเป็นหลังจากติดเชื้อและไม่มีอาการมานับสิบปี ประชาชนกลุ่มนี้แทบทั้งหมดได้รับเชื้อเนื่องจากอาศัยอย่างยากจนในชนบท และในที่อยู่อาศัยที่ไม่เหมาะสม

(*)โรคชากาสหรือ American trypanosomasis แพร่ระบาดโดยอาศัยแมลงชนิดหนึ่ง (Kissing bug) เป็นพาหะ แมลงชนิดนี้มีถิ่นที่อาศัยตั้งแต่รัฐแคลิฟอร์เนียลงไป จนถึงตอนใต้ของอาร์เจนตินา เมื่อถูกแมลงนี้กัด มันจะปล่อยเชื้อปรสิตเข้าไปในกระแสเลือด อาการขั้นต้นคือเลือดจาง หนาวสั่น ระบบประสาทถูกทำลาย ปวดตามกล้ามเนื้อและกระดูก คนไข้อาจตายหลังจากรับเชื้อ 3-4 สัปดาห์ แต่บางคนก็มีชีวิตต่อไปได้เป็นปรกติ ที่มา http://fridaycollege.org/

ในโคลัมเบีย สงครามกลางเมืองทำให้ประชากรในเขตชนบทที่มีความเสี่ยงต่อโรค ย้ายเข้ามาอยู่ในเมืองมากขึ้น จากการตรวจสอบของธนาคารเลือดพบว่า มีระดับของการติดเชื้อชากาสต่างกันในแต่ละภูมิภาคที่มีหน่วยงานท้องถิ่นซึ่งเรียกว่า departamentos รับผิดชอบอยู่. ในเขตตอนเหนือของโคลัมเบีย ซึ่งมีพื้นที่เป็นร้อยละ 25 ของทั้งประเทศ พบการแพร่ระบาดร้อยละ 2.3 - 7 ถือเป็นพื้นที่ความเสี่ยงสูง ต่างจากพื้นที่ความเสี่ยงต่ำทางชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ที่พบอัตราการติดเชื้อร้อยละ 0.1 - 0.3 ในหลายพื้นที่ชายแดนที่ติดต่อกับเวเนซุเอลาต้องประสบกับปัญหาทั้งการติดเชื้อโรคนี้สูงและความรุนแรงทางการเมือง

ในเมือง Bucaramanga ซึ่งมีประชากรมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของโคลัมเบียถึง 1 ล้านคน จากการตรวจเลือดที่รับบริจาคมา 40,000 ถุงตั้งแต่ปี 1996-2001 พบการติดเชื้อที่ใกล้เคียงกันคือร้อยละ 1 และในเมืองใกล้เคียงกัน Norte de Santander พบการติดเชื้อร้อยละ 3. ผู้บริจาคเลือดที่ติดเชื้อมากกว่าร้อยละ 90 ในเมือง Bucaramanga อยู่ในเขตชนบท แต่เชื่อว่าผู้ที่ติดเชื้อกว่าร้อยละ 95 ที่อพยพจากชนบทเคยได้รับการตรวจเลือดหาเชื้อ T cruzi เนื่องจากการวินิจฉัยหาโรคยังไม่ได้เปิดสำหรับประชาชนทั่วไปทั้งในชนบทและเขตเมือง และมีประชากรน้อยกว่าร้อยละ 1 ที่บริจาคเลือดและสามารถตรวจพบเชื้อ

ความไม่สงบในโคลัมเบีย ได้ทำให้โครงการควบคุมโรคติดต่อจากแมลงมีประสิทธิภาพน้อยลง เนื่องจากการขาดทรัพยากรและสภาพแวดล้อมที่เป็นอันตราย โครงการนี้โดยมากจะดำเนินการในเขตชนบทที่มีความเสี่ยงในการแพร่ระบาดสูง อย่างไรก็ตาม ความตึงเครียดของความไม่สงบภายใน ได้ทำให้ขอบเขตและความยั่งยืนในการทำงานแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ แต่แม้กระทั่งในพื้นที่ความเสี่ยงในการแพร่ระบาดสูง โครงการดำเนินงานก็ครอบคลุมเพียงร้อยละ 16.7 ของประชากร

ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลไม่ได้ตราเป็นข้อบังคับเรื่องการควบคุมโรคติดต่อจากแมลงเป็นพาหะ. จากการสำรวจเบื้องต้นในเขต Boyac และ Norte de Santander แสดงถึงการติดเชื้อในเด็กร้อยละ 6 ซึ่งคาดว่าการสำรวจในกลุ่มผู้ใหญ่ที่อาศัยในเขตความไม่สงบ จะเพิ่มสูงกว่านี้

การวินิจฉัยโรคเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการหาวิธีรักษาที่เหมาะสมกับผู้ติดเชื้อ. T cruzi แต่ละราย การรักษามีข้อจำกัดหลายอย่าง รวมทั้งมีข้อมูลเพียงเล็กน้อยสำหรับการรักษาที่มีประสิทธิภาพและอัตราการเกิดผลข้างเคียงที่อันตราย. รัฐบาลโคลัมเบียได้ออกแนวทางการรักษาโรคนี้โดยสั่งนำเข้ายา benznidazole ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีขายในโคลัมเบียแก่ผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 20ปี และเนื่องจากสามารถวินิจฉัยผู้ติดเชื้อได้เพียงส่วนน้อย โครงการจึงไม่สามารถแจกจ่ายยารักษาแก่ผู้ป่วย 5,000 รายทั้งประเทศในปี 2005 ได้

ยิ่งไปกว่านั้น จากการตรวจสอบประเมินผลการรักษาระยะแปดสัปดาห์ ไม่รวมถึงเขตที่เป็น "พื้นที่สีแดง" อันแสดงว่าเป็นเขตฝ่ายตรงข้าม เช่น ในเขตปกครอง Santander ที่มีพื้นที่สีแดงหลายแห่ง และเกิดการระบาดของโรค มีเด็กเข้ารับการรักษาเพียง 70 รายจาก 14 เขตเทศบาล และหน่วยงานราชการใช้เวลามากกว่า 2 ปีในการแจกจ่ายยา ดังนั้นผลข้างเคียงของการใช้ยา benznidazole จึงไม่ปรากฎชัด เพื่อการพัฒนาวิธีรักษาโรคนี้ในเด็ก

กรณีศึกษา: โรคลิซมาเนียซิส (Leishmaniasis)

"โรคลิซมาเนียซิส" เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อปรสิต พบได้ในหลายพื้นที่ของโคลัมเบีย มีรายงานจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้. ลิซมาเนียซิสเป็นโรคเรื้อรังและกลับมาเป็นได้อีก. สัตว์ที่เป็นพาหะของโรคชากาสหลายชนิดก็เป็นพาหะของโรคลิซมาเนียซิสด้วย แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต่างกันก็คือ แมลงพาหะของโรคนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพที่อยู่อาศัยของประชาชน ซึ่งทำให้การป้องกันเป็นไปได้ยากกว่า

การระบาดของโรคเกี่ยวข้องกับสภาวะบางอย่างที่พบเห็นได้ในเขตที่เกิดความไม่สงบ โดยถือเป็นโรคในการสงครามกับกลุ่มกบฎ เนื่องจากร้อยละ 25 ของผู้ป่วยในปี 2004 คือทหารที่ลาดตระเวณในพื้นที่ความไม่สงบในโคลัมเบีย ซึ่งสูงขึ้นจากปี 2003 ถึง 3 เท่า แต่ในกลุ่มประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ไม่สงบ รูปแบบและการระบาดของโรคไม่เป็นที่ประจักษ์ชัด ดังนั้นการวินิจฉัยและรักษาจึงเป็นเรื่องท้าท้ายอย่างหนึ่ง อันที่จริงการรักษาโรคนี้กลายเป็นเรื่องโชคร้ายสำหรับผู้ป่วยในพื้นที่ไม่สงบของประเทศ เนื่องจากรัฐบาลเป็นผู้ที่ควบคุมการซื้อขายและแจกจ่ายยา Meglumine Antimonite ซึ่งเป็นยารักษาหลัก ผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์ก่อนเพื่อยืนยันโรคและรายงานอย่างเป็นทางการ ต่อจากนั้นจึงติดตามรักษาต่อได้ การพิจารณาควบคุมด้วยเหตุผลความมั่นคงเหล่านี้ (ด้วยเหตุผลข้างต้นที่มีฝ่ายกบฎป่วยด้วยโรคนี้เป็นจำนวนมาก) ล้วนเกี่ยวข้องกับปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ ซึ่งได้จำกัดการเข้าถึงการรักษาของประชาชนไปด้วย

หลังจากหลายเดือนที่โรคแพร่ระบาด และได้รับการรักษาไม่มากนักในหลายพื้นที่ ทำให้รัฐบาลโคลัมเบียต้องจัดหายา Meglumine Antimonite ให้เพียงพอสำหรับรักษาผู้ป่วย 10,000 รายในปี 2005 แต่โชคร้ายที่ยังไม่เพียงพอต่อการรักษาทั้งหมด

ความขัดแย้งในโคลัมเบีย การลักพาตัว และกักขังหน่วงเหนี่ยวบุคคล มักจะทำให้เกิดการติดเชื้อ Leishmaniasis และโดยทั่วไปมักจะได้รับการรักษาที่ไม่ถูกต้องนัก เช่น ใช้มีดร้อนนาบและราดน้ำผึ้งต้มบนแผลอักเสบ รัฐบาลให้ทหารรับผิดชอบเก็บรักษาและแจกจ่ายยา Meglumine Antimonite และคลังยาเหล่านี้ก็เป็นเป้าหมายการช่วงชิงของฝ่ายกบฎ ผลเสียตกเป็นของประชาชนหลายพันคน ส่วนใหญ่เป็นเด็กที่อาศัยในพื้นที่แพร่ระบาดและมีการรบต่อเนื่อง ซึ่งต้องทนกับความเจ็บป่วยจากโรคเรื้อรังนี้ แม้จะมีวิธีการรักษาที่ง่ายก็ตาม

กรณีศึกษาโรคไข้เหลือง

ไข้เหลือง (*) เป็นอีกโรคหนึ่งที่ถูกละเลยและก่อผลเสียอย่างมากต่อการสาธารณสุขในโคลัมเบีย มีประชากรประมาณ 20 ล้านคน อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสไข้เหลือง. แม้ว่าโรคนี้จะยังไม่มีวิธีรักษาที่เหมาะสม แต่การป้องกันก็สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยการใช้วัคซีน วัคซีนป้องกันไข้เหลืองมีการใช้ในโคลัมเบียมากว่า 50 ปีแล้ว

(*) โรคไข้เหลือง เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสไข้เหลือง โดยมียุงลายเป็นพาหะนำเชื้อจากผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้เหลืองไปสู่คนปกติ เช่นเดียวกับโรคไข้เลือดออก มักระบาดในละตินอเมริกาและทวีปอาฟริกา. สำหรับอาการของโรคไข้เหลือง ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดหลัง ปวดเอว คลื่นไส้ อาเจียน จะมีเลือดออกทางปาก จมูก และอาจมีการอาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด. ผู้ป่วยจะมีอาการเหลืองเล็กน้อยในระยะแรก และจะเหลืองมากขึ้นในระยะต่อมา ผู้ป่วยมักเสียชีวิตเนื่องจากตับวาย และไตวาย โรคนี้ยังไม่มียารักษา การป้องกันโรคจึงเป็นสิ่งจำเป็น - ที่มา: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

อันที่จริง โคลัมเบียเป็นผู้ส่งออกวัคซีนนี้ตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1980 เมื่อการผลิตวัคซีนกระจายออกไปในภูมิภาคและการแพร่ระบาดลดลง แต่รัฐบาลเลือกที่จะส่งวัคซีนออกไปเมื่อเป็นที่ต้องการ ในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านนี้ ทั้งโครงการควบคุมโรคและการผลิตวัคซีนถูกกระจายออกไปยังหน่วยงานในภูมิภาค อันเป็นผลให้เกิดปัญหาทั้งเรื่องทรัพยากร ประสิทธิภาพ และการประสานงานโครงการตามมา

ปี 2003-04 มีการระบาดของโรคไข้เหลืองครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 50 ปี มีผู้ป่วยกว่า 200 ราย เสียชีวิตไป 50 ราย ในเขตชนบท และในเขตเมืองก็มีความเสี่ยงของการระบาดสูง แต่การระบาดนี้ก็ยุติลงไปเอง ผู้ป่วยส่วนใหญ่คือแรงงานที่ย้ายจากเขตเมืองเข้าไปทำงานในไร่ปลูกพืชเสพติดผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นดินแดนของกลุ่มกบฎ อันที่จริงพวกเขาน่าจะได้รับการฉีดวัคซีนอย่างเหมาะสมมาก่อนแล้ว. ในเวลาที่มีการระบาดเกิดขึ้นและได้รับความสนใจจากรัฐบาล มีการประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข ประชากรประมาณ 5 ล้านคนอยู่ในพื้นที่มีความเสี่ยงสูง และต้องได้รับวัคซีนในทันที แต่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขไม่สามารถเข้าไปในพื้นที่ชนบทของกลุ่มกบฎได้ เช่นในเขต Choce เจ้าหน้าที่รายงานว่า มีการปล้นวัคซีน 25,000 ชุดไปโดยกลุ่มติดอาวุธ

แม้ว่าองค์การกาชาดรายงานว่ามีวัคซีน 1,456 ชุดถูกนำเข้าไปในพื้นที่ และครอบคลุมศูนย์กลางการระบาดแต่ก็ไม่มากกว่าเพียงร้อยละ 45 เท่านั้น จะเห็นได้ว่า ด้วยเงื่อนไขด้านทรัพยากร การเมือง และสังคมของเขตความไม่สงบที่มีการใช้อาวุธดังกล่าว ทำให้ไม่สามารถรับรองประสิทธิภาพของการป้องกันโรคได้

หลังจากการระบาดในรอบนี้ รัฐบาลโคลัมเบียนำเข้าวัคซีนป้องกันโรคไข้เหลือง 1.5 ล้านชุดจากบราซิล และได้รับบริจาคจากเวเนซุเอลาอีก 5 แสนชุด นอกจากนั้น หลังจากการประกาศเตือนด้านสาธารณสุขเพียงหนึ่งสัปดาห์ รัฐบาลโคลัมเบียได้ตัดสินใจเริ่มผลิตวัคซีนไข้เหลืองอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม การระบาดรอบใหม่ก็ยังมีความเป็นไปได้และการที่ความไม่สงบยังดำเนินอยู่ ประชาชนและผู้พลัดถิ่นภายในประเทศก็ยังคงเสี่ยงกับโรคไข้เหลืองต่อไป

กรณีศึกษาเรื่องโรคที่ถูกละเลยและสิทธิมนุษยชน

กรณีศึกษาที่กล่าวมา ได้อภิปรายถึงประเด็นสำคัญของโรคที่ถูกละเลยและเขตความไม่สงบที่ถูกละเลยเช่นกัน ปัจจุบันโครงการเฝ้าระวังโรคทั้งในพม่าและโคลัมเบียถูกเข้มงวดกวดขันจากฝ่ายรัฐ รวมทั้งหลายประเทศในโลก ประชากรที่อยู่ในความเสี่ยงจึงเข้าถึงการป้องกันและรักษาได้ไม่มากนัก เงื่อนไขเหล่านี้ทำให้โรคเหล่าดังกล่าวกลับมาระบาดใหม่ สำหรับโรคเท้าช้างและไข้เหลือง ได้มีการค้นพบวิธีการป้องกันและควบคุมโรคที่ได้ผล แต่ถูกจำกัดในการนำไปใช้เนื่องจากความขัดแย้งดังกล่าว. รัฐบาลทหารไม่ได้ให้ความสำคัญกับความต้องการของประชากรที่เจ็บป่วย และยังจำกัดโอกาสในการได้รับความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมของพวกเขาด้วย

ในมาตรา 23 ของสนธิสัญญาเจนีวาเมื่อปี 1949 กำหนดว่า "ทุกฝ่ายจะต้องอนุญาตให้ความช่วยเหลือด้านการแพทย์ ผ่านเขตปกครองของตนเพื่อช่วยประชาชนของอีกฝ่าย แม้จะเป็นศัตรูกันก็ตาม" แต่ผู้เขียนก็ได้แสดงให้เห็นว่า ทั้งในพม่าและโคลัมเบีย กองกำลังทหารได้ขัดขวางประชาชนในการเข้าถึงบริการการแพทย์ที่จำเป็น และในทั้งสองประเทศ งานศึกษาวิจัยที่อาจนำไปสู่การพัฒนาการรักษาใหม่ๆ ก็ถูกรบกวนด้วยความกังวลเรื่องความมั่นคง การที่วิธีการป้องกันและรักษาไม่ได้รับการพัฒนาถือเป็นเรื่องที่ "ถูกละเลย" อย่างที่สุด อย่างไรก็ตาม การปฏิเสธไม่ให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาในโรคที่มีวิธีการรักษาและควบคุมที่มีประสิทธิภาพอยู่แล้ว ถือเป็นประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องสิทธิมนุษยชนด้วย

มีตัวอย่างความสำเร็จของการร่วมมือระหว่างรัฐและภาคเอกชนในการทำงานเรื่องโรคที่ถูกละเลยคือกรณีของการให้ยา Ivermectin สำหรับโรคตาบอดจากพยาธิ Onchocerciasis หรือ River Blindness อันถือเป็นตัวอย่างในเรื่องสิทธิในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพด้วย คือในโครงการ Mectizan Donation Program, บริษัท Merck and Co. บริจาคยา Ivermectin แก่ประเทศที่มีการระบาดของโรคตาบอดจากพยาธิ ตั้งแต่ปี 1987 ทำให้การรักษาและควบคุมโรคนี้พัฒนาขึ้น. ในการวิเคราะห์โครงการนักวิจัยสองท่านคือ Burnham และ Mebrahtu ได้รายงานถึงโครงการนี้ว่า ดำเนินงานได้มากเพียงใดในพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง

ทั้งสองรายงานว่า การเฝ้าระวังโรคตาบอดจากพยาธิไม่สมบูรณ์ในแองโกลา พื้นที่ส่วนใหญ่ใน คองโก และทางใต้ของซูดานที่มีความไม่สงบและไม่มีเสถียรภาพ นอกจากนั้น ความขัดแย้งได้ทำให้โครงการให้ยาหยุดชะงักใน Cote d'Ivoire และ Liberia พื้นที่ส่วนใหญ่ของคองโก. โครงการไม่สามารถเข้าถึงได้ และโครงการหยุดไป 8 ปีใน Sierra Leone แต่พวกเขาก็สนับสนุนว่าในโคลัมเบียและซูดาน กองกำลังที่ขัดแย้งกันอยู่ ได้ระงับความขัดแย้งไว้ชั่วคราว หรือแม้แต่ช่วยเหลือในการแจกจ่ายยาและรักษาผู้ป่วย

ตัวอย่างของโครงการรักษาและทดสอบยาสำหรับโรคที่ถูกละเลย ได้ทำให้เกิดสถาบัน OneWorldHealth อันเป็นบริษัทยาที่ไม่หวังผลกำไร (Institute for OneWorld Health-A Nonprofit Pharmaceutical Company) โดยมีผู้บริจาคทุนให้หลายราย บริษัทนี้ได้ดำเนินงานโครงการใหญ่ที่สุดในเฟสสามคือ การรักษาโรคลิซมาเนียซิสในอวัยวะภายใน อันเป็นผลให้ได้รับอนุญาตให้ใช้ยา Paromomycin ในอินเดีย. นอกจากนั้น OneWorldHealth ได้ทำการวิจัยยาใหม่ๆ สำหรับรักษาโรคที่ถูกละเลยในกลุ่มประชากรที่ถูกละเลยด้วย ตัวอย่างของโครงการนี้ทำให้เห็นว่าการร่วมมือจากภาคเอกชนกับรัฐบาลสามารถก้าวข้ามอุปสรรคเพื่อให้บริการเรื่องโรคที่ถูกละเลยได้ แต่โชคร้ายที่โครงการก็ถูกจำกัดด้วยภาวะความไม่สงบและไม่มีเสถียรภาพในบางพื้นที่

การวิจัยเรื่องโรคที่ถูกละเลยในพี้นที่สงคราม

ในการวิจัยเรื่องโรคที่ถูกละเลยมักจะมีปัญหาทั้งทางด้านจริยธรรม และเรื่องการดำเนินการ เช่น การดูแลความปลอดภัยของผู้ร่วมโครงการวิจัยและนักวิจัย ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกจับกุม และความรุนแรงต่างๆ เช่น ในพม่า รัฐบาลทหารพยายามไม่ให้ทำการวิจัยที่จะเปิดเผยสถานะด้านสาธารณสุขทั่วไปของประเทศ รวมทั้งการศึกษาเรื่อง HIV และจำนวนผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิเมื่อปี 2004

แม้แต่กองทุนโลกหรือ The Global Fund ก็ได้ถอนตัวจากการทำงานในพม่า เนื่องจากความเข้มงวดของรัฐบาลในการอนุญาตให้เข้าถึงพื้นที่ทำงานและประชาชน อย่างไรก็ตาม ด้วยสถานการณ์ดังกล่าว ควรหรือไม่ที่เราจะทำการวิจัยในหมู่ประชากรชาวพม่า? พวกเรา(ทีมงานผู้เขียน)เชื่อว่า ควรจะมีการทำงานวิจัยต่อไป เมื่อมีความจำเป็นและความเป็นไปได้ เรามีหน้าที่ในทางศีลธรรมที่จะรายงานเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนและสถานการณ์ด้านสุขภาพของประชาชน งานวิจัยนี้เป็นสิ่งจำเป็นต่อองค์กรนานาชาติ เช่น NGOs องค์กรด้านกฎหมาย องค์การอนามัยโลก ที่จะตัดสินใจให้ความช่วยเหลือต่อไป

แต่กระนั้นก็ตาม การดูแลเรื่องความปลอดภัยแก่ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยในเขตที่มีความขัดแย้งอาจเป็นเรื่องที่ยากลำบาก การปกป้องพวกเขาจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นที่สุดในสถานที่ซึ่งความรุนแรงด้านสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นหรือมีแนวโน้มจะเกิด การวิจัยหรือโครงการเกี่ยวกับเรื่องโรคที่ถูกละเลยต้องการแนวทางที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ และสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงบริบทด้านสิทธิได้ แต่ก็ไม่ควรละเลยหลักการสำคัญเรื่องการปกป้องผู้ที่ร่วมงานด้วย

การวิจัยในเขตการปกครองที่กดขี่หรือมีความรุนแรงต้องมีการวางแผนที่รอบคอบ ร่วมกับกลุ่มตรวจสอบโครงการที่เป็นอิสระและได้รับการแจ้งข้อมูลแล้ว ตัวแทนจากชุมชนที่เป็นประชากรในงานวิจัย ควรมีบทบาทในการวางแผนและออกแบบงานวิจัย การดำเนินงานควรจะจัดในสถานที่ปลอดภัยที่สุดเท่าที่จะทำได้เช่น ในค่ายผู้ลี้ภัย หรือ safe houses. ความลับของผู้เข้าร่วมโครงการเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ในสถานที่อย่างพม่าหรือโคลัมเบีย ความรอบคอบระมัดระวังเป็นสิ่งจำเป็นในการวิจัยกับชุมชน เนื่องจากอาจมีผู้ให้ข้อมูลแก่รัฐบาลอยู่ด้วย

ดังนั้นนักวิจัยจากสังคมที่มีเสรีภาพควรตระหนักถึงความเป็นจริงเหล่านี้ โดยเฉพาะการระมัดระวังความปลอดภัยของทีมงานหรือผู้เข้าร่วมโครงการในสังคมที่ถูกกดขี่ นักวิจัยควรทำความเข้าใจกับทุกฝ่ายในโครงการตั้งแต่แรกเริ่ม เพื่อให้แน่ใจในข้อควรระวังต่างๆ ทั้งประเด็นจริยธรรมและความปลอดภัย นอกจากนั้นนักวิจัยควรใช้ไหวพริบ ระมัดระวังสถานะของตนเองด้วยความเอาใจใส่ในภาวะการเมืองทั้งระดับท้องถิ่นและนานาชาติ และควรปรึกษากับองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนและฝ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เข้าใจเรื่องบริบทการเมืองท้องถิ่นและเงื่อนไขด้านสิทธิมนุษยชน

การจับกุมหัวหน้าทีมองค์กรแพทย์ไร้พรมแดนในซูดานเมื่อเร็วๆ นี้ ในข้อหาก่ออาชญากรรมต่อรัฐ หลังจากที่เปิดเผยรายงานเรื่องความรุนแรงทางเพศในเขต Darfur เป็นสิ่งเตือนใจว่า นักวิจัยและผู้ทำงานด้านสาธารณสุขไม่ได้ถูกยกเว้นจากการลงโทษโดยผู้มีอำนาจทางการเมือง ดังนั้น นักวิจัยจึงมีความรับผิดชอบในการเผยแพร่ข้อมูลอย่างระมัดระวังด้วย

ควรจะมีการจัดตั้งชุมชนการวิจัยแม้ว่าสถานการณ์ด้านสาธารณสุขจะดีขึ้นแล้ว ตามที่ในหลายๆ ประเทศมีการประกาศแก่สื่อมวลชน บทความวิชาการหรือในการพบปะเจรจากับนักการเมืองจากประเทศอื่นๆ และควรจะมีการจัดการประชุมเกี่ยวกับขั้นตอนการทำงานร่วมกับนักวิจัยที่ทำงานในประเทศต่างๆ ที่มีการปกครองที่กดขี่คล้ายๆ กัน. แม้ว่าการทำวิจัยในพื้นที่มีการปกครองแบบนี้จะเป็นเรื่องยาก แต่ด้วยภาระหน้าที่ในทางสิทธิมนุษยชนในการให้การรักษาเมื่อเราทำได้ และเพื่อหาวิธีรักษาโรคที่ถูกละเลยเหล่านี้ จึงไม่ควรจะท้อถอย อันที่จริงสิทธิดังกล่าวเป็นเรื่องสากล และเรามีสิทธิเท่าๆ กันเช่นเดียวกับสิทธิมนุษยชนด้านอื่นๆ

การให้การดูแลสุขภาพดังกล่าวจะสัมฤทธิผล และเป็นเรื่องที่ทำได้โดยความพยายามของผู้ทำงานจากหลากหลายสาขาวิชา ทั้งด้านสุขภาพ นักกฏหมาย และผู้ให้การสนับสนุนอื่นๆ ในการนำเรื่องสิทธิมนุษยชนมาใช้ในงานด้านสุขภาพ มีกลไกด้านสิทธิมนุษยชนหลายอย่างที่สามารถใช้ประกันความเป็นไปได้ในการให้การรักษาโรคที่ถูกละเลย แม้ว่าส่วนใหญ่ที่ประสบความสำเร็จจะเน้นเรื่อง HIV/AIDS แต่โรคอื่นๆ กลับไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร

ในชุมชนและประเทศที่สิทธิของกลุ่มเป้าหมายถูกละเมิด นักวิจัยควรหาหนทางที่จะรวมประเด็นนี้ไว้ในงานของตนอย่างเหมาะสม โดยอาศัยความร่วมมือจากองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนและอาจทำงานร่วมกันในลักษณะร่วมไม้ร่วมมือ หากสามารถทำได้

ในปี 1998 มีกรณีของ Mariela Viceconte นักศึกษากฎหมายชาวอาร์เจนตินาที่ต่อสู้กับกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการสังคมของอาร์เจนตินา ศาลสั่งให้รัฐบาลอาร์เจนตินาจัดหาวัคซีนไข้เลือดออก ที่กระทบกับประชาชน 3.5 ล้านคนในประเทศ. ศาลใช้ดุลพินิจว่าเป็น สิทธิด้านสาธารณสุขตามมาตรา 25 ของสนธิสัญญาสิทธิมนุษยชนสากล Universal Declaration of Human Rights (UDHR) และมาตรา 12 ของสัญญานานาชาติ ว่าด้วยสิทธิด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

นอกจากนั้นยังมีอีกกรณีคล้ายคลึงกันที่อาฟริกาใต้ คือชัยชนะในการต่อสู้เพื่อจัดหายา Nevirapine สำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อ HIV กรณีเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า สิทธิทางด้านสุขภาพสามารถที่จะถูกผลักดันได้โดยสาธารณชน และกระบวนการยุติธรรมที่เคารพในสิทธิมนุษยชน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐ กระนั้นก็ตาม การฟ้องร้องน่าจะเป็นหนทางสุดท้าย

จากกรณีที่กล่าวมาจะเห็นว่า ผู้ทำงานด้านสุขภาพสามารถทำงานร่วมกับฝ่ายกฎหมายได้อย่างไร เพื่อปรับปรุงสถานการณ์ด้านสุขภาพของผู้ด้อยโอกาสอย่างที่สุด เราขอสนับสนุนผู้ทำงานด้านสุขภาพให้ตระหนักถึงประโยชน์ของความรู้ด้านกลไกทางสิทธิมนุษยชน อันสามารถนำมาซึ่งการปกป้องกลุ่มประชากรเหล่านั้นได้

กลยุทธ์การวิจัยโรคที่ถูกละเลย ในกลุ่มประชากรที่อยู่ในภาวะไม่มั่นคง

- จัดการอภิปรายเพื่อสนับสนุนโครงการร่วมกับสาธารณชนผ่านกลุ่มที่ปรึกษาของชุมชน เกี่ยวกับประเด็นสำคัญในการหาข้อมูลและการศึกษาวิจัย

- หากเป็นไปได้และเหมาะสมกับสถานการณ์ ให้แจกแจงประเด็นกับคณะกรรมการด้านจริยธรรม(การวิจัย)ระดับชาติ เพื่อหาแนวทางปฏิบัติเดียวกันในระดับชาติ เข้าร่วมอภิปรายกับคณะกรรมการจากต่างชาติ และฝึกอบรมคณะกรรมการจริยธรรมในระดับท้องถิ่นที่เป็นสมาชิกในชุมชน

- หากเป็นไปได้และเหมาะสมกับสถานการณ์ ให้เพิ่มการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยร่วมมือและให้การศึกษากับหลายๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นผู้ร่วมงานที่ดีและทราบถึงข้อมูล เพื่อช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับงานวิจัย

- หลังจากการศึกษาวิจัย ให้ติดตามข้อมูลทางการแพทย์ของผู้ร่วมโครงการที่บันทึกไว้ เพื่อตรวจสอบผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

อภิปรายและสรุปผล

กรณีศึกษาในพม่าภาคตะวันออก และโคลัมเบีย แสดงให้เห็นว่าโรคภัยสามารถกลายเป็นการคุกคามที่สำคัญด้านสาธารณสุขในสงครามกลางเมือง ทั้งสองกรณีจะเห็นได้ว่า การเพิ่มปฏิบัติการทางทหารได้กร่อนทำลายการสาธารณสุขและแผนงานควบคุมโรค ทั้งสองประเทศได้ลดงบประมาณด้านสาธารณสุข นอกจากนั้นความรุนแรงยังเป็นข้อจำกัดในการสำรวจ เฝ้าระวัง ป้องกัน รักษาผู้ป่วยและควบคุมสัตว์พาหะ ทั้งสองประเทศมีผู้พลัดถิ่นในประเทศเป็นจำนวนมาก และมีการย้ายถิ่นของประชากรออกนอกพื้นที่ความขัดแย้งอย่างกว้างขวาง พร้อมกับมีการแพร่ระบาดของโรคสูง โดยที่การควบคุมโรคและเข้าถึงการรักษาของประชาชนถูกจำกัด

ถึงแม้ว่าทหารของทั้งสองประเทศก็มีโอกาสติดเชื้อสูง แต่ทั้งนี้ประชาชนและเด็กๆ ในพื้นที่ความขัดแย้งนี้ ต้องประสบทั้งความเสี่ยงในการติดเชื้อและเข้าถึงการรักษาได้ยากกว่า และอีกข้อหนึ่งที่สัมพันธ์กับปัญหาข้างต้น และควรจะให้ความสนใจต่อไปก็คือ การที่ทั้งสองประเทศนี้มีเศรษฐกิจที่เกี่ยวพันกับการค้ายาเสพติด (เฮโรอีน และยาบ้าในพม่า, โคเคนในโคลัมเบีย) ซึ่งได้เพิ่มปัญหาให้กับภาวะถูกละเลยทางสุขภาพของประชาชนมากขึ้น

ผู้เขียนได้อภิปรายมาแล้วว่า ด้วยเหตุผลทั้งด้านจริยธรรมและสิทธิมนุษยชน จำเป็นที่เราจะให้ความสำคัญถึงโรคที่ถูกละเลยและประชาชนในพื้นที่นั้น นอกจากนี้ ยังได้เสนอแนะถึงกลยุทธ์สำหรับการวิจัยและโครงการในพื้นที่ความขัดแย้ง อันที่จริงการแก้ปัญหาเรื่องสุขภาพเหล่านี้คงจะไม่มีวิธีใดดีไปกว่าการมีสันติภาพ ความสมานฉันท์ และการสิ้นสุดความขัดแย้งที่ยืดเยื้อยาวนาน ผู้เขียนขอแย้งว่า การเพิกเฉยต่อประชาชนที่ทนทรมานจากโรคที่ถูกละเลย เป็นสิ่งที่แสดงถึงการขาดความสนใจต่อการสาธารณสุขและด้านมนุษยธรรม ถ้าเรายังเพิกเฉยต่อโรคเหล่านี้ ก็จะก่อความเสียหายอย่างยิ่งต่อสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว และขัดต่อศีลธรรมจรรยาของเราด้วย

โรคที่ถูกละเลย สงครามพลเรือน และสิทธิด้านสุขภาพ
อัจฉรียา สายศิลป์ : เรียบเรียง
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน


นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ หรือถัดจากนี้สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

คิดต่างในเชิงสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ดีกว่าและเสรีภาพ
28 Febuary 2008
Free Documentation License
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
กรณีศึกษาในพม่า และโคลัมเบีย แสดงให้เห็นว่า โรคภัยสามารถกลายเป็นการคุกคามที่สำคัญด้านสาธารณสุขในสงครามกลางเมือง ทั้งสองกรณีจะเห็นได้ว่า การเพิ่มปฏิบัติการทางทหารได้กร่อนทำลายการสาธารณสุขและแผนงานควบคุมโรค ทั้งสองประเทศได้ลดงบประมาณด้านสาธารณสุข นอกจากนั้นความรุนแรงยังเป็นข้อจำกัดในการสำรวจ เฝ้าระวัง ป้องกัน รักษาผู้ป่วยและควบคุมสัตว์พาหะ ทั้งสองประเทศมีผู้พลัดถิ่นในประเทศเป็นจำนวนมาก และมีการย้ายถิ่นของประชากรออกนอกพื้นที่ความขัดแย้งอย่างกว้างขวาง พร้อมกับมีการแพร่ระบาดของโรคสูง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
home