บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้
มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง
นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก
ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด.
สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ
ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com
(กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกราคม ๒๕๕๐)
Small number, Big power
Midnight
University
กรณีศึกษาบริบทสิทธิมนุษยชน
- ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ
วิเคราะห์ขบวนการแรงงานฝรั่งเศส:
Small Numbers, Big Power
วรดุลย์
ตุลารักษ์ : เรียบเรียง
นักวิชาการอิสระ ผู้สนใจประเด็นขบวนการแรงงาน
และโลกาภิวัตน์
บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งเป็นโครงการไม่หวังผลกำไร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์
เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศไทย
ส่วนของบทเรียบเรียงนี้
เป็นเรื่องเกี่ยวกับขบวนแรงงานฝรั่งเศส ซึ่งสื่อมวลชนทั้งหลาย
เคยตราหน้าว่า"เก่าและล้าหลัง" กระทั่ง"ตายไปแล้ว"กลับมาเคลื่อนไหวอย่างมีพลังอีกครั้ง
ขบวนการแรงงานฝรั่งเศสก็เช่นเดียวกับในหลายๆ ประเทศที่ต้องต่อสู้กับการที่รัฐบาลร่วมมือ
กับทุน บริษัท ในการกดขี่แรงงาน การลดและตัดสวัสดิการ กระทั่งใช้วิธีการแบ่งแยกคนงาน
ออกเป็นกลุ่มๆ ไม่ให้รวมตัวกันอย่างมีเอกภาพในการต่อรองทางการเมืองได้ อย่างไรก็ตาม
การต่อสู้ของขบวนการแรงงานฝรั่งเศส และทั่วโลกยังคงยืนหยัดต่อไป และด้วยวิธีการที่
ปรับเปลี่ยนไปพร้อมกับสังคมร่วมสมัย สมาพันธ์แรงงานฝรั่งเศส หรือ Confederation
generale du travail (CGT) ถือเป็นอีกบทเรียนหนึ่งซึ่งเป็นตัวอย่างของการเคลื่อนไหว
ของขบวนการแรงงานในยุโรปที่ทำการต่อสู้กับรัฐและทุนอย่างน่าสนใจ
midnightuniv(at)gmail.com
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้
ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ ๑๔๘๑
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
๑๑.๕ หน้ากระดาษ A4)
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
กรณีศึกษาบริบทสิทธิมนุษยชน
- ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ
วิเคราะห์ขบวนการแรงงานฝรั่งเศส:
Small Numbers, Big Power
วรดุลย์
ตุลารักษ์ : แปลและเรียบเรียง
นักวิชาการอิสระ ผู้สนใจประเด็นขบวนการแรงงาน
และโลกาภิวัตน์
จำนวนสมาชิกสหภาพแรงงานลดลง
แต่อำนาจต่อรองเพิ่มขึ้น
ประสบการณ์การเคลื่อนไหวของมวลชนครั้งสำคัญของฝรั่งเศสในปี
1995, 2003 และ 2006 สะท้อนถึงสถานะและการดำรงอยู่ในขบวนการแรงงาน การเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงานฝรั่งเศสที่สื่อมวลชนส่วนใหญ่เคยตราหน้าว่า
"เก่าและล้าหลัง" หรือกระทั่ง "ตายไปแล้ว" กลับมามีกำลังวังชาขึ้นจากเถ้าถ่านได้อย่างไร?
การเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงานกลับมาปลุกความเชื่อถือจากประชาชนหลายล้านคนอีกครั้งได้อย่างไร?
สหภาพแรงงานซึ่งตกต่ำมาตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1970 กลับมาจุดประกายแสงสว่างของการเคลื่อนไหว
และยืนยันถึงคุณค่าของการรวมกลุ่มได้อย่างไร? สหภาพแรงงานซึ่งถูกแบ่งแยกเป็นส่วนๆ
ประกอบกับจำนวนสมาชิกที่ลดน้อยถอยลง กลับมานำการเคลื่อนไหวใหญ่ในระดับประเทศได้อย่างไร?
ในช่วงเกือบทศวรรษที่ผ่านมา สมาพันธ์แรงงานฝรั่งเศส ซึ่งเก่าแก่ที่สุดและมีอิทธิพลมากสุดในชื่อว่า CGT (Confederation generale du travail ) (*) หรือ The General Confederation of Labour พยายามหาคำตอบของสาเหตุของวิกฤติการเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงาน และแสวงหาแนวทางที่จะผ่านพ้นภาวะตกต่ำเช่นนี้
(*)The General Confederation
of Labour (French: Confederation generale du travail or CGT) is a national
trade union center, one of the five major French confederations of trade unions.
It is the largest in terms of votes (32.1% at the 2002 professional election),
and second largest in terms of membership numbers. Its membership decreased
to 650,000 members in 1995-96 (it had more than double when Francois Mitterrand
was elected President in 1981), before increasing today to between 700,000
and 720,000 members, a bit less than the CFDT. According to the historian
M. Dreyfus, the CGT is slowly evolving, since the 1990s, during which it cut
all organic links with the French Communist Party (PCF), to a more moderate
stance, and concentrating its attention, in particular since the 1995 general
strikes, to trade-unionism in private sectors
(http://en.wikipedia.org/wiki/Conf%C3%A9d%C3%A9ration_G%C3%A9n%C3%A9rale_du_Travail)
ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา จำนวนสมาชิกสหภาพแรงงานลดน้อยลงไป 2 ใน 3 จากที่เคยมีในทศวรรษที่
1970 ประมาณ 2 ล้านคนหรือ 20-25% ของแรงงานทั้งหมด แต่ในปี 2003 เหลือเพียง 7
แสนคนหรือ 8.3 % เท่านั้น ซึ่งจะมีหนาแน่นมากในรัฐวิสาหกิจประมาณ 5% ของกำลังแรงงานทั้งหมดในฝรั่งเศส
โดยสมาชิกหลักของ CGT จะประกอบไปด้วย สหภาพแรงงานการรถไฟ, สหภาพแรงงานด้านพลังงาน,
สหภาพแรงงานไปรษณีย์และการสื่อสาร. ส่วนบรรดาแรงงานผู้หญิงเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานน้อยมาก
โดยเฉพาะผู้หญิงอายุต่ำกว่า 30 ปี
สหภาพแรงงานวิตกกังวลว่าจะสูญเสียสมาชิกมากยิ่งขึ้น เมื่อพบว่า สมาชิกส่วนมากอยู่ในวัยใกล้จะเกษียณอายุ และตัวสหภาพแรงงานเองก็ไม่สามารถส่งผ่านองค์ความรู้เกี่ยวกับสหภาพแรงงานไปยังคนรุ่นใหม่ได้ แต่ในอีกด้านหนึ่ง การเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงานกลับมีภาพลักษณ์ดีขึ้น มีความน่าเชื่อถือมากขึ้นในสายตาสาธาณชน ผลการสำรวจความคิดเห็นต่อการเคลื่อนไหวของขบวนการแรงงาน ซึ่งจัดทำขึ้นทุกปีพบว่า ในปี 1993 ประชาชน 36% มีทัศนคติที่เป็นบวกต่อการเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงาน จนในปี 2002 พบว่าประชาชน 52% มีทัศนะคติเป็นบวก
ในปี 2003 เป็นในช่วงที่รัฐบาลฝรั่งเศสขัดแย้งกับประชาชนในการปฏิรูประบบบำนาญ (pension shemes) การสำรวจพบว่า ต่อประเด็นนี้ ประชาชนฝรั่งเศสไว้วางใจสหภาพแรงงานมากกว่านายกรัฐมนตรี และยังพบว่า สหภาพแรงงานมีความน่าเชื่อถือมากกว่าพรรคการเมืองและฝ่ายศาสนา(โบสถ์) รวมทั้งมีภาพลักษณ์ที่ดีขึ้นในสายตาคนรุ่นใหม่อีกด้วย แม้ว่าคนเหล่านั้นมักจะไม่เข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานก็ตาม
จากปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น คนงานลังเลที่จะเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน แต่มักเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวการประท้วงบนท้องถนนและการนัดหยุดงานหลายกรณี เราจะอธิบายปรากฎการณ์นี้อย่างไร?
ประการแรก
ความอ่อนแอของสหภาพแรงงานของฝรั่งเศสในแง่จำนวนสมาชิก สามารถอธิบายจากบริบททางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างไปจากอังกฤษหรือเยอรมัน
กล่าวคือ สหภาพแรงงานฝรั่งเศสเติบโตหลังจากอังกฤษและเยอรมัน และในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่
๒ ฝรั่งเศสมีกระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เข้มข้นน้อยกว่า มีการกระบวนการสร้างความเป็นเมืองที่ช้ากว่า
ซึ่งยังอนุญาตให้เกษตรกรรมและชนบท เป็นตัวแปรในการตัดสินใจทางเศรษฐกิจและทางการเมืองอยู่มาก
นอกจากนี้ ในการเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงานในยุคเริ่มแรก สหภาพแรงงานประสบปัญหาการรวมคนที่หลายหลาก
หลายวัฒนธรรม หลายภาษา เข้ามาอยู่ในวัฒนธรรมชนชั้นผู้ใช้แรงงานเดียวกัน เนื่องจากแรงงานอพยพจากประเทศต่างๆ
ทะลักเข้ามาเป็นแรงงานงานในฝรั่งเศสเป็นจำนวนมาก. นอกจากปัญหาข้างต้นที่ทำให้สหภาพแรงงานรวบรวมความต้องการของคนงานเป็นหนึ่งเดียวกันได้ยากแล้ว
หลักการของสหภาพแรงงานฝรั่งเศสเอง ก็ไม่สร้างความดึงดูดใจให้คนงานเลือกเข้าเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน
แน่นอนว่า การเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานอยู่บนพื้นฐานความสมัครใจของปัจเจกบุคคล แต่ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานแทบไม่มีความแตกต่างจากการไม่เป็นสมาชิกเลย
ยกตัวอย่างเช่น การปรับปรุงข้อตกลงสภาพการจ้างรวม (collective agreements) ใช้บังคับกับทั้งสมาชิกสหภาพและผู้ที่ไม่เป็นสมาชิกสหภาพเหมือนๆ กัน ตลอดจนโครงการทางสังคมต่างๆ ของรัฐจะครอบคลุมทุกคนเหมือนกัน เช่น ประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน การจ่ายค่ารักษาพยาบาล การจ่ายเงินชดเชยกรณีทุพลภาพ เป็นต้น
เมื่อการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานไม่มีความได้เปรียบเชิงผลประโยชน์ที่เฉพาะเจาะจง หลายคนจึงวิจารณ์ว่า ในฝรั่งเศส แรงงานจำนวนมากเป็นผู้ได้รับประโยชน์โดยไม่ต้องลงทุน (free rider) ที่มากไปกว่านั้น CGT เองก็ไม่ได้ให้บริการต่างๆ ให้แก่สมาชิกสหภาพแรงงาน เช่น กองทุนนัดหยุดงานสำหรับช่วยเหลือสมาชิกสหภาพแรงงานในระหว่างการเจรจากับนายจ้าง การช่วยเหลือสมาชิกสหภาพไม่ได้รับค่าจ้างแรงงานระหว่างการนัดหยุดงานที่ยืดเยื้อ นอกจากนี้ การเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานอาจมีผลเสียกับตัวคนงานเองด้วย นับตั้งแต่ การถูกลั่นแกล้งไปจนถึงการถูกไล่ออกจากงาน
ถ้าเป็นเช่นนั้น หมายความว่า สมาชิกสหภาพแรงงานในฝรั่งเศส เป็นผู้ชื่นชอบความเจ็บปวดหรือ? คำตอบคือไม่ใช่แน่นอน. ในแง่ของความเชื่อถือของคนงานต่อองค์กรสหภาพแรงงาน ในมุมหนึ่งพบว่า สมาชิกสหภาพแรงงานแทบทุกคนจะลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งตัวแทนคนงานในสถานประกอบการ ซึ่งสะท้อนว่า พวกเขาตระหนักถึงบทบาทสำคัญขององค์กรสหภาพแรงงานซึ่งไม่มีใครเข้ามาแทนที่ได้ และยังให้ความสำคัญกับนักกิจกรรมคนงานมาก. ต่อประเด็นนี้ หลายคนมองว่า อาจเป็นเสียงสะท้อนของความคิดเรื่องการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี 1789 (*) ที่ยังไม่เลือนหายไปจากความรู้สึกนึกคิดของผู้คน
(*)The French Revolution (1789-1799) was a period of political and social upheaval in the political history of France and Europe as a whole, during which the French governmental structure, previously an absolute monarchy with feudal privileges for the aristocracy and Catholic clergy, underwent radical change to forms based on Enlightenment principles of nationalism, citizenship, and inalienable rights.
These changes were accompanied by violent turmoil, including executions and repression during the Reign of Terror, and warfare involving every other major European power. Subsequent events that can be traced to the Revolution include the Napoleonic wars, the restoration of the monarchy, and two additional revolutions as modern France took shape.
In the following century,
France would be governed variously as a republic, a dictatorship, a constitutional
monarchy, and two different empires.
ประการที่สอง แง่มุมสำคัญอีกประการหนึ่ง แม้ว่าปรากฎการณ์จำนวนสมาชิกที่ลดลงของสหภาพแรงงานพร้อมกับข้อจำกัดต่างๆ
ที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้สหภาพแรงงานอ่อนแอ และไม่สามารถขยายฐานสมาชิกได้ แต่สหภาพแรงงานฝรั่งเศสกลับได้รับรับชัยชนะในการเคลื่อนไหวเรียกร้องในเรื่อง
"สิทธิ" ในขอบเขตที่กว้างขวางกว่าเรื่องผลประโยชน์ของคนงานในสถานประกอบการเท่านั้น
ทั้งในปี 1936, 1968 นับรวมไปถึงความสำเร็จของฝ่ายซ้ายในปี 1936, 1945 และ1981
ยกตัวอย่างเช่น รัฐสภาฝรั่งเศสกำหนดให้มีคณะกรรมการสถานประกอบการ ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยตัวแทนของคนงาน
ให้สิทธิในการให้ความเห็นในเรื่องต่างๆ ของบริษัท เช่น การบริหาร การจ้างงาน
และการพัฒนาต่างๆ เป็นต้น รวมทั้งการจัดให้มีคณะกรรมการสุขภาพและความปลอดภัยอีกด้วย
ตัวอย่างกฎหมายอื่นเช่น ในปี 1981 รัฐสภาผ่านกฎหมาย Auroux ในสมัยประธานาธิบดี Francois Mitterrand (*) บังคับให้นายจ้างต้องมีการเจราจาสภาพการจ้างกับลูกจ้างทุกปี หรืออีกตัวอย่างหนึ่งคือ การกำหนดให้ระยะเวลาการทำงานไม่เกินสัปดาห์ละ 35 ชั่วโมง แม้ว่ากฎหมายนี้จะยังไม่บังคับใช้กับทุกบริษัท แต่เป็นการบังคับให้นายจ้างต้องต่อรองกับลูกจ้างทั้งในบริษัทที่มีสหภาพแรงงาน และไม่มีสหภาพแรงงาน
(*)Francois Maurice Adrien Marie Mitterrand (October 26, 1916 - January 8, 1996) served as President of France from 1981 to 1995, elected as representative of the Socialist Party (PS). First elected during the May 1981 presidential election, he became the first socialist president of the Fifth Republic and the first left-wing head of state since 1957. He was re-elected in 1988 and held office until 1995, before dying of prostate cancer the following year.
During each of his two terms, he dissolved the Parliament after his election to have a majority during the first five years of his term, and then each time his party lost the next legislative elections. He was consequently forced to "cohabit" during the two last years of each of his terms with conservative cabinets. They were led by Jacques Chirac from 1986 until 1988, and ?douard Balladur from 1993 to 1995.
As of 2008 he holds the record of longest serving (14 years) President of France. He is also the oldest President of the Fifth Republic, leaving office at 78. He died on January 8, 1996, shortly after returning from a Christmas holiday in Egypt.
อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวของขบวนการแรงงานมีทั้งสำเร็จและล้มเหลว ความล้มเหลว เช่น การเคลื่อนไหวของขบวนการแรงงานในประเด็นการปฏิรูประบบบำนาญในปี 2003 ส่วนความสำเร็จ เช่น การเคลื่อนไหวต่อต้านกฎหมายสัญญาการจ้างงานสำหรับผู้เข้าทำงานเป็นครั้งแรก (First job contract) ในปี 2006 ทั้งนี้ ประเด็นการเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงานที่มีประสิทธิผลมักจะเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปรับลดระบบรัฐสวัสดิการของฝรั่งเศสนับแต่ปี 2002 เป็นต้นมา
จากความล้มเหลวในการปฏิรูประบบบำนาญ
สู่ความสำเร็จในการล้มกฎหมายสัญญาการจ้างงานของผู้เข้าทำงานครั้งแรก (First job
contract)
ปลายปี 2002 รัฐบาลริเริ่มการปฏิรูประบบบำนาญ ซึ่งสร้างมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่
๒ โดยเปลี่ยนหลักการการจ่ายเงินชดเชยในระบบบำนาญ รวมทั้งต้องการขยายระยะเวลาการเกษียณอายุ
ซึ่งเป็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 และยังมีการเปลี่ยนวิธีคำนวณการจ่ายเงิน
ซึ่งจะเป็นการลดจำนวนลงด้วยข้ออ้างถึงความจำเป็นด้านการเงินของรัฐ นอกจากนี้
ระบบบำนาญที่เป็นอยู่ มีแนวโน้มว่าจะถูกยกเลิกในอนาคต เพื่อเปิดโอกาสให้แก่บริษัทประกันเอกชนเข้าเก็บเกี่ยวผลประโยชน์
เมื่อรัฐบาลตัดสินใจปฎิรูประบบบำนาญ สหภาพแรงงานจึงเสนอวิธีการที่เป็นทางเลือกที่เหมาะสมให้แก่รัฐบาล แต่ข้อเสนอของสหภาพแรงงานไม่ได้รับความสนใจ ในขณะเดียวกัน รัฐบาลและฝ่ายนายจ้างเริ่มการประชาสัมพันธ์ที่ได้ผล โดยสร้างภาพให้เป็นเรื่องผลประโยชน์ขัดกันของคนรุ่นใหม่กับคนรุนเก่าในระบบบำนาญ ซึ่งทำให้คนสูงอายุรู้สึกผิด
รัฐบาลยังพยายามแบ่งแยกคนงานออกจากกัน ด้วยการสร้างภาพแก่กับประชาชนว่า พวกเขากำลังสนับสนุนความไม่เท่าเทียมกันระหว่าง "คนงานเอกชน" กับ "คนงานรัฐวิสาหกิจ" ในระบบบำนาญ (แต่รัฐบาลเองกลับไม่กล้ากล่าวถึงการปฏิรูประบบบำนาญของคนงานรัฐวิสหกิจในสาขาขนส่ง ซึ่งมีศักยภาพในการการนัดหยุดงานสูง และเคยเกิดมาแล้วในปี 1995)
ในเดือนมกราคมปี 2003 องค์กรแรงงานหลัก 7 แห่ง จัดตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อทำงานในประเด็นนี้ แต่เพียงไม่กี่เดือนคณะกรรมการดังกล่าวก็ปิดฉากลง เนื่องจากตัวแทนองค์กรแรงงาน 2 แห่งกลับเห็นด้วยกับแผนปฏิรูประบบบำนาญของรัฐบาล และถึงแม้ว่าจะมีการเคลื่อนไหวของมวลชนเคลื่อนไหวต่อต้านการปฏิรูประบบบำนาญ แต่ท้ายที่สุดก็ไม่สามาถหยุดยั้งการปฏิรูประบบบำนาญดังกล่าวได้
ตัวอย่างสำคัญของการเคลื่อนไหวของขบวนการแรงงานและมวลชนที่ประสบความสำเร็จคือ การต่อต้านสัญญาการจ้างงานผู้เข้าทำงานครั้งแรก หรือ First job contract ในปี 2006 ซึ่งเป็นสัญญาการจ้างงงานสำหรับผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 26 ปีให้มีการทดลองงาน 2 ปี. โดยนายจ้างสามารถไม่ต่อสัญญาจ้าง และลูกจ้างจะไม่ได้รับค่าชดเชย รวมไปถึงนายจ้างไม่มีข้อผูกพันธ์ทางกฎหมายใดๆ. สัญญาจ้างในลักษณะนี้ เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามสร้างระบบการจ้างงานที่ไม่แน่นอน ซึ่งเป็นส่วนขยายของสัญญาการรับผู้เข้ามาทำงานใหม่ (New Recruitment contract) ในปี 2005 สำหรับบริษัทขนาดเล็ก. รัฐบาลพยามเร่งผ่านกฎหมาย First job contract โดยไม่มีการปรึกษาหารือกับภาคส่วนอื่น โดยเฉพาะสหภาพแรงงาน เนื่องจากเกรงว่าจะมีการคัดค้าน และไม่เปิดโอกาสให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม
รัฐบาลใช้บทเรียนจากความสำเร็จในการปฏิรูประบบบำนาญมาเป็นตัวแบบ
เพื่อต่อสู้กับฝ่ายคัดค้าน โดยในช่วงแรก กฎหมายนี้ยังไม่ถูกต่อต้านอย่างกว้างขวางจากบรรดาคนงานและสหภาพแรงงาน
อีกทั้งกฎหมาย First job contract ตอบสนองความพอใจของนายจ้างบางส่วน ที่ต้องการให้รัฐบาลลดข้อจำกัดของกฎหมายแรงงานลง
ในการทำให้กฎหมาย First job contract ซึ่งขัดต่อจริยธรรมในการจ้างงาน มีความชอบธรรม
พร้อมทั้งลดแรงต่อต้านจากประชาชน รัฐบาลจึงสร้างภาพให้ประชาชนเห็นว่า คนทำงานวัยผู้ใหญ่สมควรจะมีสัญญาจ้างในแบบหนึ่ง
และคนวัยหนุ่มสาวก็ควรมีสัญญาจ้างอีกแบบหนึ่ง ถือเป็นเรื่องที่เหมาะสม ทั้งยังสามารถลดอัตราการว่างงานของกลุ่มวัยคนหนุ่มสาว
ซึ่งเป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบันได้อีกด้วย (คนวัยหนุ่มสาวมีอัตราการว่างงานสูงกว่าวัยผู้ใหญ่ถึง
2 เท่า ประมาณ 9.5 % โดยเขตนอกเมืองปารีสและนอกเมืองใหญ่ มีอัตราการว่างงานของวัยหนุ่มสาวสูงมาก
ในบางแห่งถึง 40% และผู้ที่ไม่จบปริญญาตรีและผู้หญิงอายุน้อย จะมีอัตราการว่างงานสูงกว่า)
คำอธิบายข้างต้นของรัฐบาลถูกต่อต้านจากนักศึกษาและนักเรียนมัธยมฝ่ายก้าวหน้าอย่างหนัก และขบวนการแรงงานก็ให้การสนับสนุนกลุ่มนักศึกษาตั้งแต่เริ่มต้น องค์กรแรงงานมองว่า กฎหมายนี้จะไปกระทบต่อกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และเป็นอันตรายต่อคนงานในอนาคต นอกจากนี้ยังมีความกังกลว่า การปฎิรูปในลักษณะคล้ายกันนี้จะเกิดขึ้นกับประเทศในยุโรปอื่นๆ อีก
จากผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนพบว่า ในช่วงแรกของความขัดแย้ง ประชาชนส่วนใหญ่ยังเห็นด้วยกับกฎหมายฉบับดังกล่าว เนื่องจากมองว่า จะเป็นการปฏิรูปเพื่อแก้ปัญหาการว่างงานของคนวัยหนุ่มสาว. แม้ว่ารัฐสภาผ่านกฎหมายออกมา แต่กลุ่มนักศึกษา และสหภาพแรงงานก็ไม่รู้สึกว่าพ่ายแพ้ พวกเขาเริ่มรณรงค์ในวงกว้างมากขึ้น โดยชี้ให้เห็นว่า กฎหมายนี้จะส่งผลทางลบต่อการจ้างงานต่อแรงงานคนหนุ่มสาว ผู้ซึ่งมีการจ้างงานแบบไม่แน่นอนอยู่แล้ว และจะกระทบแรงงานทั่วไปทั้งในรัฐวิสาหกิจและบริษัทเอกชน จากการเปลี่ยนโครงสร้างการจ้างงานเพื่อลดความมั่นคงในการจ้างงานลง
การประท้วงต่อต้านขยายตัวในวงกว้างได้รับการสนับสนุนจากประชาชน ประกอบกับความเป็นหนึ่งเดียวของสหภาพแรงงานฝรั่งเศส ร่วมกับการเคลื่อนไหวนักศึกษาด้วยจิตวิญญาณของการต่อสู้ ช่วยให้สหภาพแรงงานที่กระจัดกระจายเริ่มรวมกันเป็นเอกภาพ จากแรงกดดันข้างต้น ประธานาธิบดีฝรั่งเศสจึงประกาศว่า จะนำกฎหมายกลับเข้าสภาฯ เพื่อทำการยกเลิก
ชัยชนะของของคนหนุ่มสาว มีความสำคัญทางการเมืองมาก นับตั้งแต่การเดินขบวนประท้วงในกรุงปารีสเมื่อปลายปี 2005 ซึ่งนำโดยคนหนุ่มสาวที่ไม่พอใจกับอัตราการว่างงาน ความไม่มั่นคงทางสังคม และการไม่ตระหนักถึงพวกเขาในฐานะเป็นพลเมืองที่เสมอภาคกัน
ความท้าทายสำหรับขบวนการแรงงานฝรั่งเศส
และ CGT
เมื่อไม่นานมานี้ สภาเศรษฐกิจและสังคมฝรั่งเศส (French Social Council) แถลงผลสำรวจเกี่ยวกับเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงาน
พบว่า แรงงานวัยหนุ่มสาวมักจะไม่เข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน (แต่ไม่ได้แยกตัวเองออกไปอย่างเด็ดขาด)
เนื่องจากภาวะการว่างงานที่สูงมาก ประกอบกับการแพร่ระบาดของรูปแบบการจ้างงานที่ไม่มีความแน่นอนเพิ่มมากขึ้น
และแรงงานวัยหนุ่มสาวเกรงว่าตนจะสูญเสียงานไปหากเข้าร่วมกับสหภาพแรงงาน เพราะนายจ้างมีทัศนคติเป็นปรปักษ์กับสหภาพแรงงานมาก
นอกเหนือไปจากปัญหาข้างต้น สหภาพแรงงานประสบความความยากลำบากในการกำหนดข้อเรียกร้องให้สอดคล้องกับความความคาดหวังและความปรารถนาของคนงาน โดยเฉพาะข้อเรียกร้องที่มากไปกว่าในระดับสถานประกอบการ
ในส่วนขององค์กรแรงงาน CGT นอกจากจะเคลื่อนไหวเรียกร้องในประเด็นการจ้างงานที่ไม่มั่นคงแล้ว CGT ควรปรับแนวทางการเคลื่อนไหวของตนด้วย เพื่อแก้ปัญหาจำนวนสมาชิกที่ลดน้อยลง รวมถึงปัญหาการแข่งขันระหว่างองค์กรแรงงานด้วยกันเอง. การเคลื่อนไหวของ CGT ต่อประเด็นปัญหาอัตราการว่างงานที่สูงมากในฝรั่งเศส, นอกจาก CGT จะต้องสร้างการรวมกลุ่มผู้ว่างงานเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มก้อนเพื่อเรียกร้องสิทธิของผู้ว่างงานแล้ว CGT จะยังต้องพยายามเคลื่อนไหวเพื่อแก้ปัญหาบริษัทต่างๆ ปลดคนงานออกหรือเลิกจ้างพนักงานเพื่อปรับปรุงการผลิตและเพิ่มผลกำไร
ทั้งนี้หลายบริษัทได้รับการอุดหนุนทางการเงินจากรัฐด้วย (ซึ่งเป็นเงินอุดหนุนสาธารณะเพื่อให้เกิดการจ้างงาน เงินอุดหนุนดังกล่าวเพิ่มจาก 3 ล้านยูโรในปี 1993 ไปเป็นมากกว่า 20 ล้านยูโรในปี 2005) กล่าวได้ว่า รัฐบาลใช้งบประมาณจากภาษีของประชาชนไปอุดหนุนการเติบโตของบริษัท โดยความหวังว่า ในอนาคต บริษัทเหล่านั้นจะมีส่วนช่วยชดเชยผลกระทบต่างๆ เช่น การจ่ายเงินชดเชยกรณีว่างงาน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม CGT มีข้อเรียกร้องที่เกี่ยวโยงกับทั้ง 2 ประเด็นข้างต้น กล่าวคือ
- CGT เรียกร้องให้บริษัทชำระเงินอุดหนุนของรัฐคืน และ
- ต่อต้านการปลดออกหรือเลิกจ้างพนักงานเพื่อเพิ่มผลกำไรในตลาดหุ้น
ข้อเรียกร้องนี้ สนับสนุนแนวทางเศรษฐกิจที่นโยบายสาธารณะต้องคำนึงผลประโยชน์ของลูกจ้างในระดับที่เหนือกว่าผลประโยชน์ของบรรษัท และยังเป็นประเด็นเกี่ยวโยงความไม่น่าไว้วางใจนักการเมืองในแง่ของผลประโยชน์ การเรียกร้องของขบวนการแรงงานต่อเรื่องดังกล่าวจึงหมายความถึง การนำศีลธรรมของชีวิตทางเศรษฐกิจ และศีลธรรมทางสาธารณะของชาวฝรั่งเศสกลับคืนมา และข้อเรียกร้องนี้ ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากฝ่ายซ้ายและพรรคการเมืองฝ่ายค้าน
ต่อประเด็นปัญหาความมั่นคงของ"งาน" ในเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ ภายใต้แนวคิดเสรีนิยมใหม่ ปัญหาธรรมชาติของ"งาน" ที่เปลี่ยนแปลงไป อันเป็นผลจากการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาใช้ ปัญหาการกระจายการผลิตออกไปในที่ต่างๆ ทั่วโลกอย่างไม่เท่าเทียมกัน ได้ส่งผลกระทบต่อ"งาน"ในฝรั่งเศส
CGT เสนอให้รัฐบาลมีแผนการคุ้มครองทางสังคมที่ชัดเจน ในระดับที่มากกว่าการให้ประโยชน์ชดเชยในกรณีว่างงาน แผนดังกล่าวจะต้องคุ้มครองคนงานตลอดอายุของการทำงาน, ส่วนในช่วงเวลาของการว่างงาน รัฐต้องประกันให้ผู้ว่างงานมีรายได้ที่มากพอ และเปิดโอกาสให้ผู้ว่างงานสามารถมีพัฒนาทักษะในการทำงาน เพื่อผู้ว่างงานสามารถที่จะกลับเข้าไปทำงานอย่างมีคุณภาพและเป็นงานที่มีรายได้ดีในอนาคต. ในประเด็นนี้ ฝ่ายซ้ายและพรรคการเมืองบางพรรคนำข้อเสนอดังกล่าวไปใช้รณรงค์ทางการเมืองด้วย
พลังของขบวนการแรงงานในการเคลื่อนไหวมวลชน ในปี 2003 และ2006 และการที่พรรคการเมืองนำข้อเสนอของขบวนการแรงงานมาเป็นข้อเสนอของพรรค สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของขบวนการแรงงานกับพรรคการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม. ก่อนหน้านี้ CGT เคยถูกวิพากษ์วิจารณ์บ่อยครั้งจากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ว่า เป็นองค์กรที่ติดป้ายพรรคการเมือง แม้ว่าสมาชิกส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองก็ตาม แต่ในปัจจุบัน ภาพพจน์ดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป
ในการประชุมใหญ่ประจำปีของสหพันธ์แรงงานเมื่อปี 2003 แสดงจุดยืนที่ชัดเจนต่อสาธารณชนว่า "...CGT ยอมรับสิทธิทางการเมืองของพรรคการเมือง (ที่แตกต่างจากองค์กรอื่น) แต่ CGT จะไม่ยอมให้มีทัศนคติที่สนับสนุนหรือเข้าร่วมร่างข้อเสนอโครงการทางการเมืองของพรรคการเมือง" ในปัจจุบัน CGT มองบทบาทของตนว่าเป็น"พลังในการขับเคลื่อน"ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ไม่ว่ารัฐบาลพรรคการเมืองใดจะขึ้นมามีอำนาจก็ตาม และจะไม่ยอมผนวกตนเองเข้ากับพรรคการเมือง
แม้จะเป็นเช่นนั้น แต่ด้วยปัญหาบริบทของ"งาน"เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมีความหลากหลายและซับซ้อนขึ้น สหภาพแรงงานจึงยังไม่สามารถรวมคนงานให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้ สหภาพแรงงานจึงควรทบทบวนบทเรียนของการทำงานแบบเดิม เพื่อหาหนทางสร้างองค์กรที่มีความ"ยืดหยุ่น" และพัฒนาเครือข่ายของขบวนการแรงงานทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับสากล. ที่สำคัญ การกระจายการรวมศูนย์ด้วยเครือข่ายกว้างขวาง อาจทำให้ขบวนการแรงงานเคลื่อนไหวตอบโต้กับประเด็นปัญหาต่างๆ รวดเร็วขึ้น ยกตัวอย่างเช่น
- การเคลื่อนไหวของเครือข่ายขบวนการแรงงานให้ยกเลิกหนี้สินของประเทศยากจน โดย CGT สร้างเครือข่ายกับสหภาพแรงงานในฝรั่งเศสเอง รวมทั้งสหภาพแรงงานในอาฟริกา และองค์กรพัฒนาเอกชนในหลายประเทศ
- การเคลื่อนไหวปกป้องสิทธิของคนงานในบรรษัทข้ามชาติ บริษัทในเครือและบริษัทลูก ยกตัวอย่างเช่น ในการรณรงค์กรณีบริษัท Brylane ซึ่งเป็นบริษัทลูกของฝรั่งเศสในต่างประเทศ การเคลื่อนไหวของขบวนการแรงงานเริ่มต้นด้วยการร่วมมือกันของ CGT ของฝรั่งเศสกับ UNITE (the Union of Needletrades, Industrial and Textile Employees) และขยายไปสู่สหภาพแรงงานในเบลเยี่ยม สเปน และอิตาลี รวมไปถึงร่วมมือกับ The European Works Council of Transnational Corporation ตลอดจนองค์กรพัฒนาเอกชนในเอเซีย ที่ทำงานรวมกลุ่มคนงานในอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าของโรงงานห้องแถว (sweatshop) ซึ่งผู้ผลิตให้กับบริษัท Brylane การเคลื่อนไหวในกรณีนี้ เป็นตัวอย่างหนึ่งของเครือข่ายความร่วมมือขององค์กรแรงงานที่ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง ซึ่งทำให้การเคลื่อนไหวเรียกร้องมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การเคลื่อนไหวของขบวนการแรงงานมักจะมีผลสะเทือนในหลายประเด็น โดยเฉพาะประเด็นที่เชื่อมโยงกับปัญหาความยากจน การกีดกันคนงานจากการจ้างงานอย่างไม่เท่าเทียมกัน การทำให้แรงงานหมดความสำคัญ รวมไปถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน การค้าที่เป็นธรรม เป็นต้น. การเคลื่อนไหวประเด็นเหล่านี้ จะทำให้ขบวนการแรงงานยกระดับการวิเคราะห์และข้อถกเถียง ทั้งยังสามารถนำพาคนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมกับการเคลื่อนไหวของขบวนการแรงงานได้มากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ปัญหาจำนวนสมาชิกสหภาพยังคงเป็นปัญหาหลักขององค์กรแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หาก CGT ยังคงต้องการถ่วงดุลทางอำนาจกับรัฐบาลและบริษัท เพื่อผลประโยชน์ของผู้ใช้แรงงานในฝรั่งเศส. CGT จำเป็นต้องขยายฐานสมาชิกออกไปในสาขาการผลิตอื่นมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในสาขาการผลิตที่มีระบบการจ้างงานที่ไม่แน่นอน มีแรงงานงานหนุ่มสาว และแรงงานผู้หญิงจำนวนมาก เช่น สาขาการค้า, สาขาบริการ, สาขาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว, บันเทิงและวัฒนธรรม, เป็นต้น
ที่สำคัญ การเคลื่อนไหวเรียกร้องของสหภาพแรงงานจำเป็นต้องชนะในประเด็นทั้งที่เป็นสิทธิปัจเจกชนและสิทธิในการรวมกลุ่ม ยกตัวอย่างเช่น ผลักดันให้รัฐบาลออกกฎหมายเพื่อปรับปรุงเงื่อนไขการจ้างงานและการทำงานให้เหมาะสม ปรับปรุงเงื่อนไขการรวมกลุ่มต่อรองให้กระทำได้ง่ายขึ้น รวมทั้งสร้างระบบเลือกตั้งตัวแทนคนงานให้ความความชอบธรรมขึ้น เช่น ข้อเสนอของ CGT ให้มีการเลือกตั้งตัวแทนของคนงานในสถานประกอบการทั่วประเทศในวันเดียวกัน เพื่อแสดงให้เห็นว่า การเลือกตั้งของคนงาน เป็นประชาธิปไตยที่มีความชอบธรรมสูง
องค์กรแรงงานที่มีความชอบธรรมในฐานะตัวแทนคนงานส่วนใหญ่ จะสามารถเจราจาต่อรองข้อตกลงสภาพการจ้างรวม (collective agreement) อย่างมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น และจะฟื้นฟูความไว้วางใจของคนงานต่อสหภาพแรงงานในรวมกลุ่มเจรจาต่อรองด้วย
นับตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1990, CGT พยายามต่อสู้เพื่อให้ "การเคลื่อนไหวของขบวนการแรงงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน". ในการประชุมใหญ่ประจำปี 2006, CGT ยอมรับกับปัญหาที่ผ่านมาว่า องค์กรแรงงานฝรั่งเศส "หลงไหลอยู่แต่ในความแตกต่างของตนเอง และมักกล่าวอ้างว่าตนเองเป็นเจ้าของสัจธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่ปรากฎอยู่เหนือเป้าหมายสำคัญในการนำคนงานเข้ามาร่วมขบวนการแรงงานให้มากที่สุด"
++++++++++++++++++++++++++++ (คลิกไปอ่านต่อบทความที่เกี่ยวเนื่อง)
แปลจาก; Bouneaud, Helene
(2007),
"Small Numbers, Big Power: The Paradox of the FrenchLabor Movement"
New Labor Forum , 16:1, 69 - 77
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
นักศึกษา
สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ หรือถัดจากนี้สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90