โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๔๘๒ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๑ (Febuary, 07, 02, 2008) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกราคม ๒๕๕๐)

07-02-2551

Future-Oriented Education
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com

 

 

นโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคต
Futurology & Future-Oriented Edcation: การศึกษามุ่งอนาคต

ดร. จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ : เขียน
สถาบันรามจิตติ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

บทความวิชาการชิ้นนี้ได้รับมาจากผู้เขียน เดิมชื่อ:
จับกระแสนโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคตในนานาประเทศ
เป็นเรื่องเกี่ยวกับการปรับแนวคิดอนาคตศึกษามาใช้กับการศึกษาแบบมุ่งอนาคต
ข้อเสนอคือ การมองปัญหาในอนาคตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยใช้ความรู้แบบสหวิทยาการ
เป็นเครื่องมือเพื่อมองความเปลี่ยนแปลงที่จะมีผลกระทบต่อความจริงข้างหน้า
ในด้านการศึกษานานาประเทศได้วางแผนเตรียมการรับมือต่อภาพอนาคตอย่างไร เพื่อมุ่งประสิทธิผล
งานวิชาการชิ้นนี้ให้คำตอบที่ค่อนข้างชัดเจนว่า สำหรับสังคมไทยจะต้องมีความร่วมมือ
ในลักษณะบูรณาการ กล่าวคือทุกภาคส่วนต้องรวมพลังและประสานกัน หรือสรุปคือ
integration, collaboration, และ synergy.
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๔๘๒
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๓.๕ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

นโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคต
Futurology & Future-Oriented Edcation: การศึกษามุ่งอนาคต

ดร. จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ : เขียน
สถาบันรามจิตติ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

หลังทศวรรษ 1960 เป็นต้นมา แนวคิดการศึกษาอนาคต (future studies) ได้แพร่กระจายไปวงกว้างมากขึ้น ผลกระทบที่ตามมาได้ก่อให้เกิดการพัฒนาเครื่องมือวิจัยอนาคตที่เที่ยงตรงแน่นอนมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการประยุกต์ใช้แนวคิดดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการบริหาร การวางนโยบายและยุทธศาสตร์ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับงานด้านการศึกษา

เกริ่นนำแนวคิด : จากอนาคตศึกษาสู่แนวคิดการศึกษาแบบมุ่งอนาคต
ในยุคแห่งการบุกเบิกงานพัฒนา แนวคิดอนาคตศึกษาได้รับความนิยมในฐานะเครื่องมือของการวางแผนการพัฒนาในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการศึกษา กระแสทั่วโลกได้หันมาให้ความสนใจต่อมุมมองแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาใหม่ โดยประยุกต์แนวคิดอนาคตศึกษา (future studies) (*) ที่สนใจการศึกษาอนาคต ตลอดจนวิธีวิทยาที่ใช้ในการศึกษาแนวโน้ม และทางเลือกต่างๆ ที่มีความเป็นไปได้ในอนาคต (alternatives futures) (จุมพล พูลภัทรชีวิน, 2547) มาเป็นฐานในการมองเรื่องการศึกษา (education) รวมไปถึงการใช้ประโยชน์จากการประยุกต์แนวคิดอนาคตศึกษามาใช้ในการวางวิสัยทัศน์ นโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาด้วยเช่นกัน

(*)Futures Studies (Futurology) is thought about and efforts to forecast the future. [1] It is an interdisciplinary field that studies today's changes (and continuities) and their impact on tomorrow's reality. It includes attempts to analyze the sources, patterns, and causes of change and stability in order to develop foresight and to map alternative futures. It is also referred to as futures studies, futuristics, strategic forecasting, futures thinking, futuribles (in France, the latter is also the name of the important 20th century foresight journal published only in French), and prospectiva (in Latin America). Futurology literally means the "study of the future".[2] The term was coined by German professor Ossip K. Flechtheim[3] in the mid-1940s, who proposed it as a new branch of knowledge that would include a new science of probability. Practicioners of futurology are referred to as futurologists - they attempt to apply strategic foresight for forecasting alternative futures.

Two factors usually distinguish the studies from the research conducted by other disciplines (although all disciplines overlap, to differing degrees). First, futures studies often examines not only possible but also probable, preferable, and "wild card" futures. Second, futures studies typically attempts to gain a holistic or systemic view based on insights from a range of different disciplines. Futures studies does not generally include the work of economists who forecast movements of interest rates over the next business cycle. The discipline also excludes those who make future predictions through supernatural means, as well as people who attempt to forecast the short-term or readily foreseeable future.
(http://en.wikipedia.org/wiki/Futurology)


Edward Cornish (2005) มองว่า อิทธิพลทางความคิดอนาคต ได้เปลี่ยนมุมมองต่อการศึกษาด้วยการจุดประกายให้เห็นว่า มนุษย์เราเป็นผู้ตัดสินและมีส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างอนาคต โดยไม่ว่าอนาคตนั้นจะดีหรือไม่ มนุษย์ย่อมมีส่วนเกี่ยวข้องต่อการสร้างอนาคตไม่ทางใดทางหนึ่งเสมอ อนาคตจึงมิใช่สิ่งที่เป็นพรหมลิขิตหรือถูกกำหนดขึ้นมาก่อน ดังนั้นภาระหน้าที่ของมนุษย์ในปัจจุบันจึงมีนัยต่ออนาคตในวันข้างหน้าด้วย Cornish ยังได้ย้ำว่าภารกิจการให้การศึกษาและให้ความเข้าใจเกี่ยวกับอนาคตสำหรับคนรุ่นใหม่คือ ภารกิจสำคัญยิ่งของมนุษย์ในวันนี้ เพราะการศึกษาคือเครื่องมือสร้างคน สร้างอนาคตสังคมที่ดีในวันหน้า

ความเคลื่อนไหวในวงวิชาการด้านการศึกษา การวิจัยและการพัฒนาที่เห็นได้ชัด เช่น ความสนใจต่อการศึกษาแนวโน้มต่างๆ รวมถึงแนวโน้มของการศึกษา (education trend) พร้อมกับการเปิดประเด็นเกี่ยวกับแนวคิดการศึกษาในอนาคต (future education) ที่คาดว่าจะมีโฉมหน้าเปลี่ยนไปโดยมีความหลากหลายทั้งในด้านการจัดการศึกษาและหลักสูตร รวมทั้งการมีนิยามของผู้เรียนที่เปลี่ยนไปที่ครอบคลุมคนทุกเพศทุกวัย ตลอดจนบทบาทใหม่ของครูในอนาคต เป็นต้น นอกจากนี้เรื่องของยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคต (future-oriented education) ก็ถูกเน้นหนักมากขึ้น ไม่ว่าจะในเชิงของการวางนโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษา และนัยของการเป็นนวัตกรรมการจัดการศึกษาแบบมุ่งอนาคต

กล่าวคือ ความเคลื่อนไหวดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่ของการศึกษาเพื่อการพัฒนาอยู่ไม่น้อย นอกจากนี้ในช่วงทศวรรษที่ 1970 ทั้งวงการศึกษาอนาคต และศาสตร์ด้านการศึกษาต่างก็เริ่มเกิดการเรียนรู้ว่า การศึกษาอนาคตจะไม่สามารถกำหนดรูปแบบการศึกษาและมุ่งตรงไปยังอนาคตทางการศึกษาที่พึงปรารถนาได้ หากว่าการศึกษาอนาคตนั้นไม่ได้คำนึงถึงอนาคตของสังคมในด้านอื่นๆ เช่น ด้านรัฐบาล ชุมชน ธุรกิจ และอุตสาหกรรม ตลอดจนตัวแปรด้านการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม เทคโนโลยี เป็นต้น (วิโรจน์ สารรัตนะ, 2547) ดังนั้นจึงทำให้แนวคิดทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคต (future-oriented education) หันมาให้ความสนใจต่อการมองแนวโน้มในหลากหลายด้านเพิ่มขึ้น รวมถึงแรงขับหรือเงื่อนไขที่คาดว่าอาจจะเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะมีความแน่นอนหรือไม่ เพื่อให้มองเห็นสิ่งที่คาดว่าจะเกิด รวมถึงทางเลือกต่างๆ และสามารถวางแผนสำหรับอนาคต หรือตัดสินใจในปัจจุบันได้อย่างรอบคอบ

วิเคราะห์ลักษณะสำคัญระหว่างแนวคิดเรื่องอนาคตศึกษา การศึกษาในอนาคต และการศึกษาแบบมุ่งอนาคต

นโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคต : ความเคลื่อนไหวจากนานาประเทศ
นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 เรื่อยมา นานาประเทศต่างให้ความสนใจกับแนวคิดการศึกษาแบบมุ่งอนาคตมากยิ่งขึ้นทั้งในเชิงหลักการ และวิธีการ ยิ่งเมื่อบวกกับความก้าวหน้าของวงวิชาการด้านอนาคตศึกษาที่ได้มีการศึกษาแนวโน้มสำคัญๆ ที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศแล้ว ยิ่งทำให้หลายประเทศหันมาทบทวนแนวคิด และการวางนโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาอย่างคำนึงถึงแนวโน้มอนาคตยิ่งขึ้น

นักอนาคตได้คาดการณ์แนวโน้มในทศวรรษหน้าว่า อิทธิพลของกระแสโลกาภิวัตน์จะนำมาซึ่งแนวโน้มแห่งการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทั้งในแง่แนวโน้มการแข่งขันทางเศรษฐกิจเสรี และการแข่งขันทางเศรษฐกิจฐานความรู้ที่ดูรุนแรงมากขึ้น แนวโน้มการเผชิญหน้ากับสังคมข่าวสารกับสังคมพหุวัฒนธรรมที่จะยิ่งทวีความแตกต่างหลากหลายมากยิ่งขึ้น แนวโน้มความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตของคนยุคใหม่ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางด้านสิ่งแวดล้อมและประชากรที่จะกลายเป็นเงื่อนไขการอยู่อาศัยและการบริโภค รวมถึงแนวโน้มวิกฤตการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมากมายที่จะส่งผลกระทบทางสังคมวัฒนธรรมอย่างมหาศาล เป็นต้น

แนวโน้มเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบต่อกระบวนทัศน์การพัฒนาของนานาประเทศ และหลายประเทศได้หันกลับมาหลักในเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ การพัฒนาประเทศให้เท่าทันต่อเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มากยิ่งขึ้น ดังเช่น ประเทศเนเธอร์แลนด์มีเป้าหมายที่จะมุ่งพัฒนาประเทศให้เติบโตทางด้านอุตสาหกรรม พร้อมกับประกาศ "Create The Future" และยุทธศาสตร์การศึกษาแบบมุ่งอนาคต (future-oriented education) ที่เน้นการสร้างนักออกแบบวิศวอุตสาหกรรมรุ่นใหม่ เพื่อเป็นแกนนำประเทศให้ก้าวทันโลกในทศวรรษหน้า เช่น การปฏิรูปหลักสูตรอุดมศึกษา สภาพแวดล้อมและกิจกรรมการเรียนการสอนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ในสาขาการออกแบบวิศวอุตสาหกรรม ทั้งผู้เรียนจะต้องสามารถออกแบบอุตสาหกรรมและนวัตกรรมการผลิตใหม่ๆ จากบทเรียนในอดีตและการคาดการณ์แนวโน้มด้านอุตสาหกรรม รวมถึงการให้ผู้เรียนสร้างภาพหรือวาดภาพอนาคต (scenario) เพื่อดูความเป็นไปได้และแนวทางที่จะทำให้เกิดหรือนำนวัตกรรมใหม่ๆ นั้นไปใช้ได้จริง (Eger, Lutters and Houten, 2004)

ขณะที่ยุทธศาสตร์ของประเทศเยอรมัน มีการพัฒนามหาวิทยาลัย International Tele-University Germany (INTUG) (*) (http://www.iued.uni-heidelberg.de) ที่เน้นรูปแบบการจัดการแบบมุ่งอนาคต (future-oriented model) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย Freiburg, Heidelberg, Karlsruhe และ Mannheim โดยเน้นการเชื่อมโยงระบบการศึกษาและรูปแบบการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยไปกับสถานการณ์ความเคลื่อนไหวด้านต่างๆ ในตลาดโลก และภายใต้แนวทางการพัฒนาประเทศของเยอรมัน

(*) International Tele-University Germany (INTUG) is a joint initiative of various universities in the Federal State of Baden-Wuerttemberg (Freiburg, Heidelberg, Karlsruhe, Mannheim). The goals of INTUG are revolutionary within the German educational system. The most important innovations are the following: the commercialization of higher education offered by INTUG; more on- and off-campus classes; and the addition of more distance learning opportunities. This is particularly attractive for students who want to maintain contact with their home universities during their stays at foreign universities, and also offers options for continuous education. The INTUG will be sponsored by private investors and companies, and also receive financial aid from the government. The mission of INTUG is the creation of totally new and innovative study programs at an international level. As a community of renowned universities with innovative ideas, INTUG is convinced that it will attract students from all over the world and can compete against other players on the world market.

Although the INTUG project management design has not been finalized yet, the English Department at the IUED has developed a complete module for implementation in a distance learning environment. The advanced studies program Terminology Management is designed for the curriculum of the forthcoming Masters degree offered by the IUED. This advanced studies program will take four semesters and is based on the standardization in terminology teaching explained in detail earlier in the article. It accommodates students from South America, North Africa and the independent states of the former Soviet Union. Since the classes are conducted in English, there will be need for interpreting into the following languages: Spanish, Portuguese, French and Russian. The lectures will be presented in the form of videoconferences. ESP translation classes can serve as additional modules for the virtual courses offered by INTUG.
(http://www.iued.uni-heidelberg.de/institut/abteilung/englisch/areas/inmediasres /Areas17ESP/42internat.htm)

นอกจากนี้ยังมีความเคลื่อนไหวที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรงเรียนอนาคตในโครงการนำร่องต่างๆ เช่น งานขององค์กร OECD/CERI (2001: 120) ที่เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการศึกษาที่ดำเนิน "โครงการโรงเรียนเพื่อวันพรุ่งนี้" โดยได้มีการศึกษาและจัดทำภาพอนาคต 6 ภาพสำหรับโรงเรียนแห่งอนาคต โดยภาพอนาคตนั้นมีองค์ประกอบที่แตกต่างกันทั้งแนวโน้ม ความเป็นไปได้ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ และแนวทางสำหรับการจัดทำนโยบายพร้อมๆ กับข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์ทางการศึกษาเพื่อขับเคลื่อนโครงการดังกล่าวให้เกิดผลในทางปฏิบัติได้จริงด้วย

นอกเหนือจากนั้นในรายงาน World Future Society (WFS, 2004) (*) ยังได้ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มที่แนวคิดและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคต จะยิ่งทวีความสำคัญไปทั่วโลกมากขึ้น โดยอ้างถึงผลสัมมนาเกี่ยวกับการมองอนาคตโลก มองอนาคตการศึกษาที่ได้จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัย Tamkang ในประเทศไต้หวันเมื่อปี ค.ศ.2004 ว่า ผลของสัมมนาร่วมกันระหว่างนักวิชาการที่เป็นตัวแทนจากประเทศไต้หวัน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และนักอนาคตสถาบันด้านอนาคต ซึ่งต่างเห็นพ้องต้องกันว่าภายใต้พลวัตรของโลกและแนวโน้มใหม่ๆ จำเป็นต้องอาศัยยุทธศาสตร์ทางการศึกษาเพื่อที่จะสร้างคนยุคใหม่ โดยเฉพาะกับผู้นำรุ่นใหม่ที่มีความคิดความสามารถในการมองไกล คิดไกล มีความรู้รอบ เข้าใจความเปลี่ยนแปลง ยืดหยุ่นและรู้จักเตรียมการวางแผน หรือเสนอทางเลือกที่หลากหลายสำหรับรับมือหรือจัดการกับอนาคตที่จะมาถึงได้ รวมถึงมีจิตสำนึกอนาคตโดยมีความรับผิดชอบต่อแผนการและกระทำในปัจจุบัน

(*)The World Future Society has been around for 40 years. It holds conferences and publishes a range of magazines, journals and digital newsletters aimed to assist people and organizations to think about global and personal futures. Founded in 1966 as a nonprofit educational and scientific organization in Bethesda, Maryland, U.S., the World Future Society (WFS) investigates how social, economic and technological developments are shaping the future. It helps individuals, organizations, and communities observe, understand, and respond to social change appropriately and effectively applying anticipatory thinking practices.

Through its magazine The Futurist, media, meetings, and dialogue among its members, it raises awareness of change and encourages development of creative solutions. The society takes no official position on what the future may or should be like. Instead it provides a neutral forum for exploring possible, probable, and preferable futures.

โดยข้อสรุปของรายงานฉบับนี้ได้ย้ำความสำคัญของยุทธศาสตร์ดังกล่าว อันเป็นคำตอบสำหรับการศึกษาและการพัฒนายุคใหม่ ซึ่งเสนอให้มีการพัฒนามหาวิทยาลัยแห่งอนาคต ซึ่งมหาวิทยาลัย Tamkang ของประเทศไต้หวันก็ได้เสนอตัวที่ขับเคลื่อนด้านนี้ นอกจากนี้รายงานฉบับดังกล่าวยังเสนอให้มีการให้ความร่วมมือส่งเสริมการพัฒนาการศึกษาแบบมุ่งอนาคตของการศึกษาในระดับต่างๆ ทั้งในระบบและนอกระบบให้มากขึ้นด้วย โดยอาศัยเครือข่ายวิชาการระหว่างประเทศทั้งที่เป็นนักนโยบายและยุทธศาสตร์ นักการศึกษา นักวิชาการ นักพัฒนา และนักอนาคต เป็นต้น

เมื่อเจาะลึกลงไปในในมิติของการศึกษาเพื่อตอบสนองแนวโน้มในอนาคตเฉพาะด้าน ก็พบความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจเช่นกัน ทั้งนี้หลายประเทศได้มีความเคลื่อนไหวในการวางนโยบายและ ยุทธศาสตร์ทางการศึกษาที่อิงแนวโน้มต่างๆ อาทิ ภายใต้แนวโน้มของความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ตลอดจนแนวโน้มสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ หลายประเทศหันมาให้ความสำคัญกับดำเนินยุทธศาสตร์การวิจัยและพัฒนาในด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประเทศนิวซีแลนด์ อังกฤษ จีน สหรัฐอเมริกา ไทย หรือแม้แต่ประเทศเกาหลี ซึ่งกรณีประเทศเกาหลีนั้น ได้ประกาศแผนการขับเคลื่อนในเรื่องดังกล่าว ซึ่งจะดำเนินการภายใต้โครงการ 21st Century Frontier R & D Project หรือตัวอย่างประเทศเยอรมัน ดังในเอกสารนโยบายเร่งด่วนด้านการศึกษาและการวิจัยของ The Federal Ministry of Education and Research (BMBF) ของรัฐบาลเยอรมันเรื่อง Education, Research, Innovation - Shaping our Future (http://www.BMBF) ที่ว่า

"ถ้าเราหยุดการฝึกอบรมนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ เราก็อาจจะไม่มีงานวิจัยชั้นยอด ถ้าเราหยุดฝึกอบรมด้านทักษะอาชีพต่างๆ เราก็อาจจะขาดแคลนผู้ปฏิบัติงานด้วย เราจำเป็นที่จะต้องให้การศึกษาที่ดีและการฝึกอบรมที่ดีสำหรับประชาชนในเยอรมันให้ทั่วทุกระดับและในทุกพื้นที่ การให้การศึกษาที่ดีและการฝึกอบรมที่ดีแก่ประชาชนเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดสำหรับอนาคต สิ่งเหล่านี้คือพื้นฐานสำหรับการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของพวกเรา การศึกษาและการฝึกอบรมส่งผลต่อโอกาสของชีวิตบุคคล การศึกษาคือหัวใจสำคัญ คือสิ่งที่ประชาชนสามารถจะมีส่วนร่วมในการสร้างสังคม และการศึกษานำเอาคุณค่าความรู้และการปรับตัวให้เข้ากับโลกที่สลับซับซ้อน

นี่จึงเป็นสิ่งที่ว่าทำไมเราจึงต้องการการศึกษาการฝึกอบรมที่ดีที่สุด รวมถึงการฝึกอบรมในอนาคตสำหรับประชาชนทุกคน โดยไม่ต้องใส่ใจว่าพวกเขาอยู่ที่ไหน และควรจัดให้มากเท่าที่พวกเขาควรจะได้รับ เราปรารถนาให้เกิดการศึกษาส่วนบุคคลของเด็กๆ ตั้งแต่แรกเริ่มที่เป็นไปได้ คนรุ่นใหม่ทุกคนต้องได้รับการฝึกอบรมอาชีพ ประชาชนจำนวนมากต้องได้เข้าศึกษาต่อในอุดมศึกษา นักวิทยาศาสตร์ต้องมีความสามารถในการแข่งขันกับนานาประเทศ ผู้หญิงจะมีความเสมอภาคในวงการวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรม และการเรียนรู้ตลอดชีวิตจะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพในตนของทุกคน"

ในทำนองเดียวกัน แนวโน้มและทิศทางการพัฒนาประเทศของรัฐบาลสวีเดน ก็หันมาเน้น ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่อิงกับแนวโน้มอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับยุทธศาสตร์ทางการศึกษาเพื่อรองรับรูปแบบการทำงานในระบบเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดช่องว่างของการเข้าถึงความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งรัฐบาลสวีเดนได้มุ่งยกระดับทักษะ การฝึกอบรมบนฐานอาชีพ และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย นอกเหนือจากการฝึกอบรมและการให้การศึกษาสำหรับผู้ใหญ่หรือทักษะความรู้สมัยใหม่ทั่วไป ดังที่ว่า (http://www.bwpat.de)

"เมื่อมองไปข้างหน้า มันคือความจำเป็นที่จะต้องคาดการณ์เกี่ยวกับยุทธศาสตร์สำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่ต้องเหนือยุทธศาสตร์ต่างๆ ที่ผ่านมา มันไม่ใช่ยุทธศาสตร์ทั่วไปอย่างยุทธศาสตร์การศึกษาในระบบ ที่เพียงแต่ให้คนเข้าเรียนในโรงเรียนและใช้เวลาในการศึกษาเท่าที่กำหนด แต่ด้วยการศึกษาและทักษะความชำนาญยุคใหม่เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงความคิดและรูปแบบการศึกษาและการเรียนรู้ด้วย ดังนั้น แนวโน้มและช่องว่างความรู้ในอนาคตในสังคมจะเป็นแรงผลักให้การศึกษา การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและการเข้าใจในการมีสิทธิเสียง และความหมายของความรู้เศรษฐกิจยุคใหม่คือสิ่งจำเป็นยิ่งสำคัญสำหรับเอกัตบุคคล"

กล่าวโดยรวมคือ แนวโน้มของการศึกษาที่ดูจะทวีความสำคัญมากขึ้นทั้งในระดับปัจเจกที่เป็นทางเลือกของการเรียนรู้และยกระดับคุณภาพชีวิต ระดับสังคมที่เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคม และระดับประเทศที่เป็นเรื่องการวางรากฐานอนาคตที่ดีของประเทศ

แนวโน้มการจัดการศึกษาในอนาคตที่หลายประเทศให้ความสำคัญ ยังเน้นไปที่รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองต่อกระแสโลกาภิวัตน์และเศรษฐกิจการแข่งขัน และแนวโน้มการเป็นเศรษฐกิจฐานความรู้ (knowledge-based economy) และธุรกิจประกอบการขนาดย่อมที่ต้องการทั้ง "คนงานความรู้" (knowledge worker) และผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่สามารถปรับตัวกับรูปแบบการทำงานยุคใหม่ที่เน้นความรู้ความชำนาญและทักษะหลายด้าน รวมถึงความสามารถของการเป็นผู้ประกอบการด้วยตนเอง (self-employment) แนวโน้มเหล่านี้ทำให้หลายประเทศ อาทิ จีน เกาหลี อังกฤษ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา ต่างมุ่งขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาที่หันมาให้ความสำคัญด้านการบริหารจัดการทางธุรกิจศึกษา ด้านอาชีวะศึกษา รวมถึงเรื่องการศึกษาสำหรับสถานประกอบการและการฝึกอบรมใหม่ (retraining) ในลักษณะต่างๆ และการศึกษาต่อเนื่องหรือการศึกษาสำหรับผู้ใหญ่มากยิ่งขึ้น เช่น การจัดตั้ง University for Industry ของประเทศอังกฤษ หรือการดำเนินยุทธศาสตร์การเรียนรู้ตลอดชีวิตของสหรัฐอเมริกาทั้งในระบบและนอกระบบ เช่น การจัดค่ายสอนทักษะทางธุรกิจ (business-themed camps) ในภาคฤดูร้อนสำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในสหรัฐอเมริกา เพื่อปลูกฝังทักษะการเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ และทักษะการจัดการการเงินให้แก่เยาวชนรุ่นใหม่ (entrepreneurship and financial literacy) ใน 30 มลรัฐ เป็นต้น (Education week, 13 กรกฎาคม 2548)

ในทางเดียวกัน ท่ามกลางสังคมยุคดิจิตอลหรือยุคแห่งข่าวสารที่มีแนวโน้มมุ่งสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งเป็นแรงขับให้ยุทธศาสตร์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ถูกเน้นหนักในหลายประเทศ เช่น ในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ จีน สิงคโปร์ มาเลเซีย อินเดีย เป็นต้น บรรดาประเทศเหล่านี้นอกจากจะประกาศตัวจะเป็น "E-country" พร้อมกับการขับเคลื่อนเรื่องยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาที่เรียกว่า "การศึกษาเสมือน" (virtual education /virtual learning) รวมถึงสถาบันอุดมศึกษาแบบใหม่ที่เรียกว่า "วิทยาเขตเสมือน" (virtual campus) แล้ว เรื่องการเรียนรู้ทางไกลที่ไม่จำกัดว่าจะเรียนจากโรงเรียน (school-based learning) การเรียนที่บ้าน (home-based learning) หรือการเรียนในสถานประกอบการ (office-based learning) ก็ถูกเชื่อมโยงไปกับโลกของการศึกษาและการเรียนรู้เสมือนด้วย

นอกจากนี้ ประเทศเหล่านี้ยังให้ความสำคัญกับการดำเนินยุทธศาสตร์การศึกษาตลอดชีวิตในหลากหลายรูปแบบตามวัยและกลุ่มเป้าหมายของผู้เรียน โดยถือว่าภายใต้สังคมข่าวสารและแนวโน้มสังคมแห่งการเรียนรู้ คนรุ่นใหม่ต้องมีทักษะด้านสารสนเทศและการสื่อสารที่ดี รวมถึงรู้จักปรับตัวทั้งจากเผชิญหน้ากับการไหลบ่าของข้อมูลข่าวสาร และฉกฉวยประโยชน์จากเทคโนโลยียุคใหม่ ตลอดจนสามารถจัดการความรู้และรู้จักใช้โอกาสจากความมั่งคั่งทางข้อมูลเหล่านี้อย่างมีความรู้เท่าทัน ซึ่งล้วนเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับสังคมอนาคต

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ แนวโน้มในอนาคตด้านต่างๆ เป็นแรงผลักให้ยุทธศาสตร์ทางการศึกษาต้องหันมาเน้นบทบาท "ชี้นำการพัฒนา" มากยิ่งขึ้นด้วย ซึ่งครอบคลุมแนวโน้มการศึกษาเพื่อสร้าง "สังคมแห่งการเรียนรู้" (learning society) ที่ต้องการคนยุคใหม่ที่มีความรู้ ทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหาสูงขึ้น "การศึกษาเพื่อกลุ่มเป้าหมายกว้าง" (mass education) เพื่อคนทุกเพศทุกวัยทุกอาชีพและต่อเนื่อง การศึกษาเพื่อส่งเสริม "การเรียนรู้จากทุกที่ทุกเมื่อ" (education on-demand) ภายใต้ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่จะทำให้การศึกษาวิ่งไปสู่กลุ่มเป้าหมายที่กว้างขึ้น เร็วขึ้น จนไปสู่ทุกที่ทุกเมื่อ (anytime-anywhere learning) "การศึกษาเพื่อสร้างความเป็น นักจัดการมืออาชีพ" (professionalism) ให้แก่คนรุ่นใหม่ นอกจากนี้ยังรวมถึงมิติทางสังคม เช่น "การศึกษาเพื่อเยียวยาสังคม" (social illness) จากอาการเจ็บป่วยทางสังคมและจิตวิญญาณ "การศึกษาเพื่อตัวตนทางวัฒนธรรม และการดูแลตนเองของชุมชน" (localization vs globalization) เพื่อการรู้เท่าทันข่าวสารข้อมูลและการมีอำนาจปกครองตนเอง ภาคภูมิในวิถีท้องถิ่นและยืนหยัดในกระแสโลกาภิวัตน์อย่าง เท่าทัน (อมรวิชช์ นาครทรรพ, 2546)

ส่งท้าย : มุมมองเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคตเพื่อการศึกษาไทย
อย่างที่กล่าวไปข้างต้น กระแสทั่วโลกต่างหันมาให้ความสำคัญกับนโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคต ที่ตอบสนองแนวโน้มในอนาคตมากขึ้น ในทำนองเดียวกัน เป้าหมายของการศึกษาไทยก็ไม่ต่างจากนานาชาตินัก แนวโน้มการศึกษาหันไปมุ่ง "การเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ" เน้นการเรียนรู้หลายรูปแบบที่ไม่เฉพาะแค่อยู่ในระบบโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังให้ความสำคัญกับการศึกษาทางเลือก และการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนมากขึ้น รวมถึงแนวโน้มการบูรณาการการศึกษากับกระบวนการเรียนรู้ของสังคมในมิติต่างๆ เช่น มิติทางวัฒนธรรม มิติทางสังคม มิติสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ทั้งในบริบทของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และในบริบทสากล

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความเคลื่อนไหวด้านการปฏิรูปการศึกษาในรอบหลายปีมานี้ แม้จะมีความก้าวหน้าหลายเรื่อง อาทิ เรื่องการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน การปฏิรูปแนวการจัดการศึกษาหลักสูตรขั้นพื้นฐาน 12 ปี การยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง แต่ในอีกทางหนึ่งก็ปรากฏผลที่ชี้ให้เห็นความล่าช้าของการปฏิรูปในอีกหลายด้าน หรือมีระดับความก้าวหน้าน้อย เช่น เรื่องการศึกษาเฉพาะกลุ่มบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ เรื่องการจัดสรรโอกาสเข้าศึกษาต่อ เรื่องการเทียบโอนระบบการศึกษาในรูปแบบต่างๆ รวมถึงเรื่องคุณภาพการศึกษาไทยโดยรวม เป็นต้น (อมรวิชช์ นาครทรรพ, 2550)

กล่าวคือถ้ามองความเคลื่อนไหวที่ผ่านมานี้ ดูเหมือนเรื่องการศึกษาไทยยังเผชิญกับปัญหาแก้ไม่ตกหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องของการแก้ปัญหาวิกฤตคุณภาพการศึกษาไทยในทุกระดับที่กำลังตกต่ำลงเรื่อยๆ ในขณะเดียวกันเมื่อมองแนวโน้มที่กำลังมาแรงส่งผลกระทบต่อการศึกษาไทยด้วยแล้ว ยิ่งเป็นเรื่องหน้าฉุกคิดมากเช่นกันว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญกับโจทย์ท้าทายหลายด้านมากกว่าที่เป็นอยู่ ดังที่ จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์ (2549) ได้ศึกษาถึงแนวโน้มที่กำลังส่งผลกระทบกับการศึกษา อาทิ

- ด้านระบบเศรษฐกิจเสรีที่กระแส FTA ที่จะมาเปลี่ยนโฉมหน้าการศึกษาไทยให้กลายเป็นสินค้าและบริการสาธารณะ ซึ่งเป็นระบบการศึกษาที่มีคุณภาพสูงเพื่อรองรองรับตลาดการแข่งขันทางการศึกษา

- แนวโน้มด้านสังคมสารสนเทศที่จะเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ในระบบโรงเรียน มาสู่การเรียนรู้ในเครือข่ายไซเบอร์ และการเรียนรู้ด้วยตนเอง รวมถึงผลกระทบต่อช่องว่างของการเรียนรู้ในโลกอินเตอร์เน็ตที่จะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น แนวโน้มเหล่านี้ได้เรียกร้องทั้งระบบการจัดการโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี พอๆ กับการเรียนรู้เรื่อง "การรู้เท่าทันสื่อ" หรือ media literacy

- แนวโน้มด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาโลกร้อน และวิกฤตทางมลภาวะด้านต่างๆ นับเป็นโจทย์ท้าทายของยุทธศาสตร์ทางการศึกษา ซึ่งเรียกร้องการจัดศึกษาเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตสิ่งแวดล้อม รวมถึงการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งในเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาที่คำนึงถึงดุลยภาพระหว่างการพัฒนาคนในมิติต่างๆ การพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

- แนวโน้มความขัดแย้งและปัญหาความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่เป็นแรงขับให้การศึกษาต้องหันมาให้ความสำคัญกับการเรียนรู้พหุวัฒธรรม ทั้งในแง่การศึกษาภูมิปัญญาและรากฐานทางวัฒนธรรม รวมถึงการเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกันท่ามกลางวิถีวัฒนธรรมที่หลากหลาย โดยหวังว่าการศึกษายุคใหม่จะช่วยให้ลูกหลานหรือคนรุ่นใหม่จะได้เรียนรู้ถึงคุณค่าและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่เป็นมรดกของชาติ พร้อมๆ ไปกับการเรียนรู้ที่จะปรับตัวท่ามกลางพลวัตรทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย เพื่อเป้าหมายที่การร่วมกันแม้จะมีวิถีวัฒนธรรมที่หลากหลายแต่อยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์สันติ

- แนวโน้มศาสนาและจิตวิญญาณที่ตอกย้ำการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคมสันติสุข ซึ่งเรียกร้องกลไกการศึกษาในการสร้างเสริมคุณธรรม ความรู้และสำนึกร่วมของการอยู่ร่วมกันของมนุษยชาติ

แนวโน้มเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า ในภาพรวมของประเทศไทยยังต้องการนโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคต ที่จะเท่าทันต่อแนวโน้มต่างๆ ไม่เว้นแม้แต่แนวโน้มวิกฤตการณ์ด้านเด็กและเยาวชนที่นับวันดูจะรุนแรงมากขึ้นๆ จนกลายเป็นกระแสเรียกร้องนโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาที่จะไล่ทันต่อแนวโน้มที่ว่านี้

ประเด็นที่น่าขบคิดก็คือ ท่ามกลางพลวัตรของสังคมในปัจจุบันบวกกับกระแสแนวโน้มที่จะมาถึงนี้ การศึกษาไทยจะดำเนินยุทธศาสตร์เดิมๆ ไม่ได้แล้ว นั่นหมายความว่า สังคมไทยกำลังต้องการนโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคต ที่ไม่เพียงแต่เท่าทันโจทย์ใหม่ๆ นี้ แต่ยังหมายรวมถึงนโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบบูรณาการโดยทุกภาคส่วนร่วมกันเป็น "เจ้าของ" และ "ผู้ขับเคลื่อนการศึกษา" ทั้งนี้เพื่อตอบโจทย์การศึกษาที่ดีทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับสากล ดังที่ ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย (อ้างถึงใน จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์, 2549) ได้กล่าวว่า

"โลกเคลื่อนจากความเป็นพหุนิยม จาก pluralism ไปสู่การเป็นเครือข่ายหรือ networking และไปสู่การบูรณาการ คือเน้น integration เน้นการประสานพลัง synergy จากหลายภาคี ร่วมมือร่วมพลังกัน ดังนั้นยุทธศาสตร์ทางการศึกษาก็ต้องมุ่งที่การรวมพลัง เป็นการรวมที่บูรณาการ ทำงานขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาเพื่อไปสู่อนาคตมีคำสำคัญอยู่ที่ integration, collaboration, synergy"

กล่าวโดยรวมคือ นโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคตที่ว่านี้ พึงดำเนินไปอย่างรวมพลัง มีการออกแบบร่วมกันและจัดการร่วมกันที่ดี มิใช่เพียงมุ่งเป้าหมายเพื่อการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชนและพลเมืองเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการมุ่งสร้างคนรุ่นใหม่ที่เป็นคน "อุดมความรู้คู่ความดีงาม" และมีทักษะที่หลายหลายและมีความสามารถในการจัดการที่ดี เพื่อเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขในอนาคตข้างหน้า

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

เอกสารอ้างอิง

- จุมพล พูลภัทรชีวิน. การวิจัยอนาคตกับงานพัฒนศึกษา. เอกสารประกอบการบรรยายการออกแบบวิธีวิจัยทางพัฒนศึกษา, คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547. (อัดสำเนา)

- จุฬากรณ์ มาเสถียรวงศ์. นโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคตเพื่อเด็กและเยาวชนไทย. วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาพัฒนศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549

- วิโรจน์ สารรัตนะ. อนาคตศึกษา : วิสัยทัศน์เพื่อการบริหารและการพัฒนา [Online]. 2548 แหล่งที่มา: http://ednet.kku.ac.th[17 พฤษภาคม 2548]

- อมรวิชช์ นาครทรรพ. ปฏิรูประบบวิจัย เคลื่อนสังคมไทยด้วยความรู้ : ข้อเท็จจริงและข้อเสนอเพื่อการปฏิรูประบบวิจัยของประเทศ. เอกสารในโครงการพัฒนาระบบวิจัยของประเทศภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: โครงการพัฒนาระบบวิจัยของประเทศ, 2546.

- อมรวิชช์ นาครทรรพ. วิกฤตคุณภาพการศึกษาไทย. (เอกสารอัดสำเนา), 2550

- Cornish, Edward. The Study of the Future 5th. Washington D.C.: World Future Society, 1983.

- Eger, A.O.; Lutters, D. and Van Houten, F.J.A.M. Create The Future : An Environment For Excellence In Teaching Future oriented Industrial Design Engineering [Online]. International Engineering And Product Design Education Conference 2-3 September 2004 DELFT The Netherlands. Available from: www2.io.tudelft.nl/iepde04/ Documents%20for %20Downloads/Final%20Papers/BG_Eger.pdf[2005, September 2]

เว็บไซต์อ้างอิง

http://www.BMBF. The Federal Ministry of Education and Research (BMBF).
http://www.bwpat.de. Institut for occupation and Wirtschaftspaedagogik University of Hamburg.
http://www.edweek.org. Education Week.
http://www.iued. Uni-hedelberg.de. University of Heidelberg
http://www.oecd.org. Organization for Economic Co-operation and Development -OECD
http://www.wfs.org. World Future Society.

 

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน


นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ หรือถัดจากนี้สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

คิดต่างในเชิงสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ดีกว่าและเสรีภาพ
07 Febuary 2008
Free Documentation License
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
"โลกเคลื่อนจากความเป็นพหุนิยม จาก pluralism ไปสู่การเป็นเครือข่ายหรือ networking และไปสู่การบูรณาการ คือเน้น integration เน้นการประสานพลัง synergy จากหลายภาคี ร่วมมือร่วมพลังกัน ดังนั้นยุทธศาสตร์ทางการศึกษาก็ต้องมุ่งที่การรวมพลัง เป็นการรวมที่บูรณาการ ทำงานขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาเพื่อไปสู่อนาคตมีคำสำคัญอยู่ที่ integration, collaboration, synergy" กล่าวคือ นโยบายและยุทธศาสตร์ทางการศึกษาแบบมุ่งอนาคตที่ว่านี้ พึงดำเนินไปอย่างรวมพลัง มีการออกแบบร่วมกันและจัดการร่วมกันที่ดี
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
home