โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๔๗๘ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๑ (Febuary, 03, 02, 2008) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกราคม ๒๕๕๐)

03-02-2551

Phenomenology
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com

 

 

ฐานข้อมูลปรัชญา สำหรับสารานุกรมหลังสมัยใหม่ ม.เที่ยงคืน
Phenomenology: ๒๒ หน้า กับภาคคำศัพท์ปรากฏการณ์วิทยา

สมเกียรติ ตั้งนโม: แปลและเรียบเรียง

หลักสูตรสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ต้องการติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๔๗๘
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๒.๕ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ฐานข้อมูลปรัชญา สำหรับสารานุกรมหลังสมัยใหม่ ม.เที่ยงคืน
Phenomenology: ๒๒ หน้า
กับภาคคำศัพท์ปรากฏการณ์วิทยา
สมเกียรติ ตั้งนโม: เรียบเรียง

หลักสูตรสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภาคคำศัพท์: ปรากฏการณ์วิทยา
สำหรับคำศัพท์ต่อไปนี้ เป็นการจัดหาคำนิยามต่างๆ เกี่ยวกับศัพท์ที่มีความหมายพิเศษในขอบเขตความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์วิทยา เพื่อเสริมความเข้าใจให้กับผู้เริ่มต้น โดยได้เรียงลำดับคำศัพท์ตามตัวอักษร. สำหรับผู้สนใจต้นฉบับคำศัพท์เหล่านี้ พร้อมคำอธิบายภาษาอังกฤษ สามารถคลิกดูได้ที่ http://www.phenomenologyonline.com/glossary/glossary.html#phenomenology)

Being - ภาวะ / การเป็นอยู่ / ธรรมชาติ
ภาวะ / การเป็นอยู่ / ธรรมชาติ (being) จัดเป็นแนวคิดทั่วไปในปรากฏการณ์วิทยาอรรถปริวรรตศาสตร์(แนวตีความ) (hermeneutic phenomenology) ของ Heidegger. Being คำนี้มิได้อธิบายถึงธรรมชาติ, รากฐาน, หรือพื้นฐานที่สุด, แต่ค่อนข้างถูกมองในฐานะที่เป็นศัพท์พื้นๆ สำหรับการวิเคราะห์เชิงภววิทยา(ontological analytic)ของ Heidegger. "Being มักจะหมายถึงภาวะ(ธรรมชาติ)ของสิ่งที่มีหรือปรากฏอยู่จริงอันหนึ่ง"(Being is always the Being of an entity), และการพิจารณาถึงภาวะของบางสิ่ง ก็คือการสืบค้นลงไปในธรรมชาติหรือความหมายของปรากฏการณ์วิทยานั้น

Bracketing - การใส่วงเล็บ
คำว่า Bracketing (ดูศัพท์คำว่า "reduction" ประกอบ) อธิบายถึงกิจกรรมเกี่ยวกับการแขวน หรือการหยุด หรือการพักไว้ชั่วคราวเกี่ยวกับความเชื่อต่างๆ หลากหลายในความจริงเกี่ยวกับโลกธรรมชาติ เพื่อที่จะศึกษาแก่นโครงสร้างต่างๆ ของโลก. ศัพท์คำว่า "bracketing" ถูกยืมมาจากคณิตศาสตร์ โดย Husserl (1911/80), บิดาแห่งศาสตร์ทางด้านปรากฏการณ์วิทยาร่วมสมัย ซึ่งตัวเขาเองเป็นนักคณิตศาสตร์ด้วย

Commensurability - การวัดด้วยมาตรฐานเดียวกัน
ประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาบ่อยๆ ประเด็นหนึ่งในการวัดด้วยมาตรฐานเดียวกัน เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่าง "การศึกษาด้านวัฒนธรรม" กับ "ปรากฏการณ์วิทยา" (culture studies and phenomenology). แน่นอน มันดำเนินไปโดยไม่ต้องการจะกล่าวว่า ประสบการณ์เป็นเรื่องส่วนตัว และได้รับอิทธิพลโดยเงื่อนไขและปัจจัยต่างๆ อย่างเช่น เพศสภาพ, วัฒนธรรม และอื่นๆ ฯลฯ ยกตัวอย่างเช่น ท่าทีปรากฏการณ์วิทยาสอดคล้องหรือเข้ากันได้กับแนวคิดสตรีนิยม ใช่ไหม? คำตอบดีที่สุดเป็นได้ทั้ง"ใช่" และ"ไม่ใช่" เนื่องจากว่ามันไม่ได้มีแนวคิดสตรีนิยมเพียงแนวเดียว และก็ไม่ได้มีแนวคิดปรากฏการณ์วิทยาแบบเดียวโดดๆ เช่นกันนั่นเอง

นักสตรีนิยมบางคนชี้แจงว่า สาระสำคัญบางอย่าง เช่น แนวคิดเกี่ยวกับแก่นแท้(essence) ในทางปรัชญา, the epoche (การหยุดภาพ, การแขวนลอย) ในงานช่วงแรกๆ ของ Husserl, การทำให้เป็นวัตถุ อันเป็นมุมมองของ Sartre, หรือแนวคิดเกี่ยวกับการทำให้ปรากฏเป็นรูปร่าง ในงานของ Merleau-Ponty ค่อนข้างตายด้าน ไม่ตอบสนองต่อเงื่อนไขหรือปัจจัยในเชิงบริบททางวัฒนธรรม, เพศสภาพ, และภาษา, ในการประกอบสร้างของความหมาย. แต่ในทางที่สมดุลกัน ใครบางคนอาจถกว่า มันมีประเด็นสำคัญมากมายในเชิงญานวิทยาและภววิทยา ที่ปรากฏการณ์วิทยาและการศึกษาเรื่องเพศสภาพมีแนวทางร่วมกัน นั่นคือ

(1) การวิจารณ์เกี่ยวกับธรรมชาตินิยมของ Husserl ในวิทยาศาสตร์ต่างๆ เชิงบวก ซึ่งเตือนให้นึกถึงการวิจารณ์ลักษณะที่มีอำนาจนำของความจริงทางวิทยาศาสตร์(the critique of the hegemony of scientific truth), รวมไปถึงเรื่องของความเป็นภววิสัย และความเป็นกลาง

(2) ปรากฏการณ์วิทยาเกี่ยวกับประสบการณ์ที่พบเจอซึ่งเรียกกลับมา เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้หญิงที่ต้องการตั้งคำถามเกี่ยวกับประสบการณ์ของผู้หญิง หรือสาวรุ่น ที่อาจแตกต่างไปจากผู้ชายและเด็กผู้ชายทั้งหลาย

(3) ระเบียบวิธีปรากฏการณ์วิทยาเกี่ยวกับการตั้งคำถามอย่างถึงรากกับสมมุติฐานของบางคน เป็นเรื่องที่สอดคล้องหรือเข้ากันได้กับการปลดปล่อยหรือคลายออกมาเกี่ยวกับอคติของผู้ชายในเชิงภาษา และในเชิงสถาบันต่างๆ รวมถึงปฏิบัติการในชีวิตประจำวัน

(4) การเน้นในเชิงปรากฏการณ์วิทยาในเรื่องอคติต่างๆ ในทฤษฎีที่ดำรงอยู่ อาจทำให้เราทราบเกี่ยวกับรากเหง้าของความเชื่อแบบปิตาธิปไตยในแนวคิดเชิงทฤษฎีเป็นจำนวนมาก, รวมไปถึงโครงสร้างภาษา, และวิธีการทางวิทยาศาสตร์ อย่างเช่น แพทยศาสตร์, จิตวิเคราะห์, และการศึกษา เป็นต้น

(5) ทั้งปรากฏการณ์วิทยาและการศึกษาเพศสภาพ นำมาซึ่งการหันไปสู่เรื่องของประสบการณ์ดังที่เราอยู่กับมัน ค่อนข้างมากกว่าที่เรานำเสนอมันในทฤษฎีที่เป็นนามธรรม และในลักษณะตรงข้ามกันคนละขั้ว เหมือนดังเช่นความคิดกับความรู้สึก, การรับรู้กับอารมณ์, การกระทำกับผลสะท้อน

(6) ปรากฏการณ์วิทยาและเพศสภาพ ทั้งคู่พยายามจะค้นหาวิธีการหรือรูปแบบต่างๆ ของวาทกรรม, สุ้มเสียง, และการแสดงออกที่สามารถเปิดเผยความหมายเชิงความรู้สึก ที่อยู่พ้นจากกระบวนทัศน์ทางตรรกะที่มีอยู่ทั่วไป, กระบวนการรับรู้, การคาดการณ์, และการควบคุม. ในความหมายนี้ ปรากฏการณ์วิทยาแนวอรรถปริวรรตศาสตร์(ตีความ) ดูเหมือนจะสอดคล้องและร่วมมือกันได้กับรูปแบบความรู้สตรีนิยม ในการค้นคว้าและงานเขียน

Corporeality - คุณสมบัติเชิงกายภาพ (สสาร)
ศัพท์คำว่า "corporeality" (คุณสมบัติเชิงกายภาพ) อ้างอิงถึงความคิดเกี่ยวกับกายภาพที่เป็นอยู่ หรือ การทำให้ปรากฏขึ้นเป็นรูปร่าง

critical theory - ทฤษฎีวิพากษ์
ปรกติปัจจุบัน ทฤษฎีวิพากษ์ได้รับการพิจารณาว่าเป็นงานในอดีตของบรรดาตัวแทนของ the Institut fur Socialforschung (สถาบันสังคมของแฟรงค์เฟริท) (บ่อยครั้งเรียกว่าแฟรงค์เฟริทสคูล) และ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับงานของ Jurgen Habermas. ทฤษฎีวิพากษ์ได้ระบุตัวมันเองเหมือนกับกับมรดกตกทอดของมาร์กซิสท์ เกี่ยวกับความพยายามที่จะหลอมรวมวิธีการสังเคราะห์แบบวิภาษวิธีทางปรัชญา กับ ความเข้าใจเชิงวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสังคมเข้าด้วยกัน (to forge a dialectical synthesis of philosophy and a scientific understanding of society). ลักษณะบางประการของการสังเคราะห์นี้ คือ:

1. เรียกร้องการใช้ความคิดเหตุผลที่ขยายกว้างออกไป
2. ต่อต้านการครอบงำหรืออำนาจอิทธิพลทุกรูปแบบ
3. การปรับหรือกำหนดเป้าสู่การแปรความคิดเป็นการกระทำ(praxis)
4. การเป็นศูนย์กลางของแนวคิดเกี่ยวกับการปลดปล่อยให้เป็นอิสระ

1. an appeal to a widened notion of rationality,
2. a resistance to all forms of domination,
3. an orientation to praxis, and
4. the centrality of the concept of emancipation.

ในหนังสือของเขา Knowledge and Human Interests, Habermas (1971) ได้จำแนกความรู้ออกเป็น 3 รูปแบบ และเชื่อมโยงความสนใจต่างๆ ในกระบวนการรับรู้ นั่นคือ ความรู้เชิงเทคนิค, ความรู้เชิงปฏิบัติ, และความรู้เชิงปลดปล่อยให้เป็นอิสระ. ความใส่ใจในความรู้เหล่านี้แต่ละอย่างถูกมองว่าเป็นรากเหง้าในการกระทำของมนุษย์มาแต่เริ่มต้น นั่นคือ งาน, ปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์, และอำนาจ

the technical knowledge - work
the practical knowledge - symbolic interaction
the emancipatory knowledge - power

มันคือศาสตร์ของการวิเคราะห์ในเชิงประจักษ์(the empirical-analytic sciences) ซึ่ง Habermas ได้ระบุว่าเป็นเหมือนกับการแสดงออกในความสนใจเชิงเทคนิค, ความสนใจในเชิงปฏิบบัติ ทั้งสองถูกมองว่าได้รับการรวมเข้ากับอรรถปริวรรตศาสตร์ หรือมนุษยศาสตร์(hermeneutics or the human sciences), และความสนใจเรื่องการปลดปล่อยให้เป็นอิสระได้รับความช่วยเหลือหรือประโยชน์จากศาสตร์ต่างๆ ที่มีการปรับ การกำหนดทิศทางหรือเป้าหมายในเชิงวิพากษ์(the critically oriented sciences)

ด้วยเหตุนี้ Habermas จึงวางสังคมศาสตร์แนววิเคราะห์เชิงประจักษ์สมัยใหม่ ลงในตำแหน่งที่มีข้อจำกัดมากอันหนึ่งเกี่ยวกับอิทธิพลจูงใจ. การวิจารณ์ของเขาเกี่ยวกับสังคมสมัยใหม่ กลายเป็นการวิจารณ์อันหนึ่งเกี่ยวกับเหตุผลเชิงอุปกรณ์ ซึ่งได้รับการมองว่ามาควบคุมและครอบงำสังคมศาสตร์ โดยผ่านสิ่งซึ่งสังคมเข้าใจตัวของมันเอง และโดยวิธีการที่มันได้ให้ความชอบธรรมแก่ปฏิบัติการทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมในเชิงกดขี่. ในด้านการศึกษา งานวิจัยซึ่งมีการใช้ทฤษฎีเชิงวิพากษ์ ผลักดันและสนับสนุนความสำนึกในเชิงวิพากษ์ และดิ้นรนต่อสู้เพื่อทำลายโครงสร้างต่างๆ และการจัดการเชิงสถาบันให้พังทลายลง ซึ่งมันเป็นตัวผลิตซ้ำอุดมการณ์ในลักษณะกดขี่ และความไม่เสมอภาค ที่ได้รับการธำรงรักษาและการสร้างขึ้นมาโดยโครงสร้างและอุดมการณ์ต่างๆ ทางสังคมเหล่านี้

ethnography - ชาติพันธุ์วรรณา
ชาติพันธุ์วรรณาเป็นการศึกษาเกี่ยวกับการรับรู้ประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน เป็นเรื่องของสามัญสำนึก การมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรม. ชาติพันธุ์วรรณามีภารกิจเกี่ยวกับการอธิบายเรื่องของวัฒนธรรมโดยเฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น รูปแบบชีวิตของนักเรียนมัธยมต้นในเมือง, วัฒนธรรมของบรรดาผู้บริหารโรงเรียนในระบบโรงเรียนประเภทใดประเภทหนึ่ง, สภาพแวดล้อมการดูแลเด็กช่วงเวลาที่พ่อแม่เด็กๆ ไปทำงาน(day-care), หรือแผนกคนป่วยแผนกหนึ่งในโรงพยาบาล และอื่นๆ ฯลฯ

บรรดานักชาติพันธุ์วรรณาจะใช้ประโยชน์จากผู้ให้ความรู้, หรือการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม, เพื่อศึกษาฉากต่างๆ ทางวัฒนธรรม หรือสภาพแวดล้อมทั้งหลายทางวัฒนธรรม. พวกเขาจะตั้งคำถามอย่างเช่น ผู้คนมาทำอะไรที่นี่? คนประเภทใดมาอยู่ ณ ที่แห่งนี้? สถานการณ์ต่างๆ ทางสังคมจะถูกมองในฐานะที่เป็นสถานที่ซึ่งมนุษย์ได้มีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมต่างๆ ที่มีลักษณะเฉพาะอยู่เสมอ (เช่น ห้องของสต๊าฟหรือผู้ร่วมงาน, ห้องที่ใช้บรรจุตู้ใส่สิ่งของ(locker room - อย่างเช่นตามโรงเรียนหรือสนามกีฬาบางแห่ง จะมีห้องดังกล่าวสำหรับใช้เปลี่ยนเสื้อผ้า หรือเก็บเครื่องใช้ส่วนตัว), โต๊ะในห้องสมุด, ห้องทำงานของผู้มีตำแหน่งต่างๆ เป็นต้น) และสถานที่ซึ่งผู้คนครอบครองความรู้บางชนิด หรือวิธีการทำสิ่งต่างๆ, และการรับรู้เรื่องราวหลายหลากอันเป็นส่วนหนึ่งของสถานที่แห่งนั้น

ดังนั้น นักชาติพันธุ์วรรณาจึงต้องการเข้าใจสิ่งที่คนๆ หนึ่งต้องรู้ ในฐานะสมาชิกของกลุ่มโดยเฉพาะ เพื่อประพฤติปฏิบัติได้ดีพอในฐานะสมาชิกคนหนึ่ง. คำอธิบายเชิงชาติพันธุ์ที่ดี จะบรรยายความจริงทางวัฒนธรรมในแบบที่คนซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิกของวัฒนธรรมนั้น สามารถ"ได้รับการยอมรับในฐานะที่เป็นคนในคนหนึ่ง"(pass as an insider) ถ้าเขาหรือเธอได้เข้าไปรวมอยู่ในสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรมดังกล่าว. ในขอบเขตหนึ่ง บรรดานักชาติพันธุ์วรรณาต่างสนใจในการจัดแบ่งประเภทหรือจำแนกหมวดหมู่(taxonomizing or categorizing)การรับรู้ทางวัฒนธรรมในการพรรณาเชิงชาติพันธุ์. ด้วยเหตุนี้ ช่วงเวลาของบรรดานักชาติพันธุ์วรรณา หรือคุณสมบัติที่มีอยู่เกี่ยวกับประสบการณ์ต่างๆ ส่วนตัว จึงถูกบวงสรวงหรือสังเวยกับเรื่องวัฒนธรรม, สังคม, หรือการโฟกัสไปที่ฉากดังกล่าว. การอธิบายเชิงบริบท(thick description) (*) อาจได้รับการมองในฐานะที่เป็นความหลากหลายอันหนึ่งของวิธีการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณา

(*) In anthropology and other fields, a thick description of a human behaviour is one that explains not just the behaviour, but its context as well, such that the behaviour becomes meaningful to an outsider. The term was used most famously by the anthropologist Clifford Geertz in his The Interpretation of Cultures (1973) to describe his own method of doing ethnography (Geertz 1973:5-6, 9-10). Since then, the term and the methodology it represents have gained currency in the social sciences and beyond. Today, "thick description" is used in a variety of fields, including the type of literary criticism known as New Historicism.

(**) thin description, which describes only the wink itself, and a thick description, which explains the context of the practices and discourse within a society. According to Geertz, the task of the anthropologist is to give thick descriptions.

ศัพท์คำว่า "การอธิบายเชิงบริบท(thick description) เป็นคำที่หยิบยืมมาจากงานของนักมานุษยวิทยา Malinowski และได้ถูกทำให้เป็นที่นิยมโดย Geertz. การศึกษาทางชาติพันธุ์วรรณา มีจุดมุ่งหมายเพื่อจะพรรณาเรื่องราวต่างๆ อย่างละเอียดรอบด้าน โดยทำหน้าที่ให้คำอธิบายต่างๆ ไม่เพียงการนำเสนอและรวบรวม"เรื่องราวต่างๆ" ที่บรรดาผู้ให้ข้อมูลทั้งหลายเล่าให้พวกเขาฟังเท่านั้น แต่ยังสำรวจลึกลงไปถึงโครงสร้างความหมาย ซึ่งบรรดาสมาชิกของกลุ่มสังคมนั้นไม่อาจยืนยันหรือให้เหตุผลได้. กล่าวอีกนัยหนึ่ง, การพรรณาเชิงบริบทเป็นเรื่องของการตีความและการวิเคราะห์ มากกว่าผลงานชาติพันธุ์วรรณาแบบกระแสหลัก

ethnomethodology - ระเบียบวิธีทางชาติพันธุ์
ระเบียบวิธีทางชาติพันธุ์ (Ethnomethodology) เป็นเรื่องการศึกษาวิธีการต่างๆ ที่ผู้คนใช้ประกอบสร้างหรือบรรลุถึงความจริงทางสังคมหรือความจริงเชิงภววิสัยอันหนึ่ง. วัตถุประสงค์ก็คืออธิบายว่า สมมุติฐาน การทึกทัก หรือการมองแบบไม่ทำให้รู้สึกว่าสังเกตหรือจับจ้อง"กฎเกณฑ์"ที่วางอยู่บนพื้นฐานเกี่ยวกับการสื่อสารในชีวิตประจำวัน และปฏิกริยาต่างๆ ท่ามกลางตัวแสดงทางสังคมทั้งหลายว่าเป็นอย่างไร. Garfinkel ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์ความคิดเกี่ยวกับระเบียบวิธีทางชาติพันธุ์ขึ้นมา ได้นำเอาแนวคิดบางอย่างมาจากสังคมวิทยาเชิงปรากฏการณ์วิทยาของ Schutz มาใช้ และผูกมันเข้ากับความสนใจต่างๆ ทางโครงสร้างนิยมและวิธีการเข้าถึงในเชิงภาษาศาสตร์

บรรดานักระเบียบวิธีทางชาติพันธุ์แสดงให้เห็นว่า ผู้คนผลิตข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความจริงแบบสามัญสำนึกของโลกสังคมอย่างไร? และจากประสบการณ์นั้น พวกเขามีอิสระในการผลิตข้อเท็จจริงของพวกเขาหรือไม่อย่างไร? ยกตัวอย่างเช่น Mehan ได้แสดงให้เห็นถึงทักษะต่างๆ ในการตีความในส่วนของพวกเด็กๆ ที่สำคัญมาก โดยไม่คำนึงถึงความต้องการตามแบบฝึกหัดปรกติของชั้นเรียน. นักระเบียบวิธีทางชาติพันธุ์ทั้งหลายยังสามารถแสดงให้เห็นว่า บรรดาครูได้เรียกร้องบรรทัดฐานบางอย่างมากจนเกินไปโดยไม่รู้ตัวต่อบรรดานักเรียนของพวกเขา มันเป็นการทึกทักโดยนัยว่า ความสามารถในการสื่อสารบางอย่างในส่วนของนักเรียน ควรเป็นไปตามมาตรฐานในกระบวนการชั้นเรียน อย่างเช่น การตั้งคำถาม, การบรรยาย, การทดสอบ, การอ่าน, และการประเมินผล ยกตัวอย่างเช่นบางครั้ง บรรดานักเรียนที่แก่นๆ มีความต้องการและสามารถแสดงให้เห็นว่า พวกเขาต้องการทำข้อสอบแบบปกติ มากยิ่งกว่าข้อสอบยากๆ ซึ่งอาจทำให้พวกเขาสอบตกได้ เป็นต้น

ประเด็นที่เป็นแกนหลักของระเบียบวิธีทางชาติพันธุ์คือ ความสามารถอธิบายได้ในเชิงเหตุผลเกี่ยวกับกิจกรรมหรือปฏิบัติการที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และการบรรลุเป้าหมายในทางปฏิบัติ. มันเป็นการโฟกัสหรือเพ่งความสนใจลงไปที่โครงสร้างกิจกรรมทั้งหลายของผู้คนในสถานการณ์ต่างๆ ทางสังคม และในภูมิหลังเกี่ยวกับความคาดหวัง และการใช้กฎระเบียบ หรือวิธีการต่างๆ ของสมาชิก เพื่อทำกิจกรรมทางสังคม และโครงสร้างกิจกรรมเหล่านี้ "ในเชิงเหตุผลที่เห็นได้ และสามารถรายงานถึงวัตถุประสงค์ในเชิงปฏิบัติได้ทั้งหมด"

ทฤษฎีเชิงวิเคราะห์ (Analytic Theory) ดังที่ได้รับการวางหลักเกณฑ์โดย Blum และ McHugh, ทฤษฎีดังกล่าวไม่สนใจในการอธิบาย(หรือการรายงาน - reporting) อย่างเช่น ที่ทำกันในกระบวนการทางชาติพันธุ์วรรณาและระเบียบวิธีทางชาติพันธุ์ แต่ให้ความเอาใจใส่ในการวิเคราะห์ (หรือ การเปิดเผย แสดงออก - displaying). ทฤษฎีเชิงวิเคราะห์เป็นวิธีการเชิงมูลฐาน(radical), มีการแปรผันเชิงปฏิฐานน้อยเกี่ยวกับระเบียบวิธีทางชาติพันธุ์. นักทฤษฎีเชิงวิเคราะห์รู้สึกว่า ไม่มีความต้องการลักษณะกดดันในการรวบรวมข้อมูลเชิงประจักษ์ หรือการอรรถาธิบายเชิงสังเกตการณ์ (ตัวอย่างเช่น มีการนำเอาวิดีโอเทป หรือเทปบันทึกเสียงมาเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์) พวกเขาให้เหตุผลว่า หัวข้อหรือประเด็นเกี่ยวกับเรื่องราวสำหรับการวิเคราะห์มีอยู่พร้อมแล้วในมือ ในมุมมองหรือคำพูดของเราเอง

บรรดานักทฤษฎีเชิงวิเคราะห์จะใช้วิธีการวิเคราะห์ร่วมกัน(collaborative analysis) เพื่อที่จะเตือนความจำคู่สนทนาเกี่ยวกับเรื่องนั้น ซึ่งเขาหรือเธออาจหลงลืม เพื่อที่จะพูดหรือเขียนมันออกมา. ในการทำวิจัยหัวข้อที่สนใจ (เช่น ของเล่นต่างๆ ของพวกเด็กๆ, การศึกษาพิเศษ, ความเป็นพ่อแม่ และอื่นๆ) นักทฤษฎีจะวางเกณฎ์หรือกำหนดความสนใจของเขาหรือเธอในฐานะที่เป็นปัญหาหนึ่ง และถัดจากนั้นจะพัฒนาการสนทนาแบบโสกราตีส(หมายถึงการใช้วิธีการตั้งคำถาม) เกี่ยวกับปัญหานี้ (และโดยตรงหรือโดยอ้อมกับคนเหล่านั้นซึ่งได้พัฒนาวิธีการเข้าถึงหรือศึกษาปัญหาดังกล่าวแล้ว)

มันมีรากฐานปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับวิธีการเชิงวิเคราะห์มาตั้งแต่กรีกในยุคต้นๆ (neo-Platonic) และ Heideggerian. นักทฤษฎีให้ความสใจในการสะท้อนอัตลักษณ์ของการสืบสวนของเขาหรือเธอเอง. เพื่อทำให้เป็นทฤษฎี หมายความว่า เราจะต้องปรับและกำหนดทิศทางหรือเป้าหมายตัวเองสู่สิ่งที่ทำให้มันเป็นไปได้ในเบื้องต้น ดังนั้น การทำให้เป็นทฤษฎีจึงเป็นกระบวนการศึกษาอย่างหนึ่ง นั่นคือ นักทฤษฎีจะต้องแสดงให้เห็นว่า การทำให้เป็นทฤษฎีขึ้นมา เป็นตัวอย่างหนึ่งของการปรับหรือกำหนดทิศทางเป้าหมายของมันสู่สิ่งที่ดีอย่างไร ซึ่งหมายถึง"ดี"เกี่ยวกับการทำให้เป็นทฤษฎี

experience and language - ประสบการณ์และภาษา
สาระสำคัญของภาษา ในไม่ช้า คนที่เริ่มศึกษาปรากฏการณ์วิทยาเชิงอรรถปริวรรตศาสตร์(การตีความ)ได้ค้นพบว่า รูปแบบนี้ของการสืบสวนไม่ใช่ระบบปิด มันมีความย้อนแย้งจำนวนมากที่แสดงเครื่องหมายร่องรอยต่างๆ เกี่ยวกับการเดินทางด้านมนุษยศาสตร์ ดังที่มีคนได้พัฒนาจุดสนใจลงไปยังปรากฏการณ์เกี่ยวกับประสบการณ์ที่มีอยู่ ไม่นานนักก็ปรากฏว่า ปรากฏการณ์เหล่านี้ค่อนข้างมีปัญหาและยากที่จะเข้าใจ ถ้าหากว่านักวิจัยได้เพ่งความสนใจลงไปที่ประสบการณ์หนึ่งที่กระทบกับเขา โดยเฉพาะที่เป็นประสบการณ์ที่น่าสนใจ แต่นั่นไม่ง่ายที่จะจับคว้ามันได้ด้วยภาษา หากเป็นเช่นนั้น เขาอาจจะเกิดความสงสัยขึ้นว่า จะใช้คำพูดอะไรที่จะอธิบายประสบการณ์นี้? บางครั้งเรื่องราวอันหนึ่งอาจช่วยได้ นั่นคือ "มีบางสิ่งบางอย่างเหมือนกับประสบการณ์นี้… ซึ่งเคยเกิดขึ้นกับคุณแล้ว?" บางที ฉากๆ หนึ่งจากภาพยนตร์ หรือข้อความไม่กี่บรรทัดในบทกวีอาจช่วยสื่อสารประเด็นเกี่ยวกับการค้นคว้าของเราได้ กระนั้นก็ตาม ประสบการณ์ก็มักจะเกิดขึ้นทันที ยากที่จะอธิบาย ค่อนข้างสลับซับซ้อน และเต็มไปด้วยความคลุมเครือยิ่งกว่าคำอรรถาธิบายใดๆ จะบรรยายถึงมันได้อย่างถูกต้อง

นักวิจัยทางมนุษยศาสตร์คือนักเขียนที่เป็นนักวิชาการคนหนึ่ง ซึ่งจะต้องสามารถธำรงรักษาความศรัทธาที่เกือบจะไร้เหตุผลอันหนึ่งเกี่ยวกับอำนาจหรือพลังงานของภาษา เพื่อทำความเข้าใจและทำให้มันง่ายในสิ่งที่มักจะดูเหมือนอยู่พ้นไปจากภาษา. ข้าพเจ้าถูกขับเคลื่อนโดยท่วงทำนองดนตรีท่อนหนึ่งที่กระตุ้นเร้า ข้าพเจ้ารู้สึกเข้มแข็งมีพลังขึ้นโดยมือและไหล่ที่มาสนับสนุน, ข้าพเจ้ารำลึกถึงประสบการณ์อันน่าสะพรึงกลัวในวัยเด็ก, ข้าพเจ้ารู้สึกประทับใจโดยความน่ารักของใครบางคนที่ได้พบเจอ, ข้าพเจ้าปรารถนาที่จะรำลึกถึงอดีตในช่วงการผจญภัยในวันหยุด, ข้าพเจ้าแลกเปลี่ยนสายตาชำเลืองมองอย่างมีความหมายกับอีกคนหนึ่ง ฯลฯ เราสามารถที่จะจับฉวยและตีความความหมายต่างๆ ที่เป็นไปได้เกี่ยวกับประสบการณ์เหล่านั้นอย่างไร?

สิ่งต่างๆ ที่เราพยายามอธิบายหรือตีความมิใช่สิ่งที่เป็นจริงทั้งหมด - ประสบการณ์ที่ปรากฏจริงของเราไม่มีอะไรอื่นนอกจากเป็นเรื่องของภาษา กระนั้นก็ตาม ดูเหมือนว่าเราจะสร้างบางสิ่งขึ้นมา เมื่อเราใช้ภาษาในการไต่สวนทางมนุษยศาสตร์ ถ้าเช่นนั้น อะไรคือความสัมพันธ์ระหว่าง"ภาษา"กับ"ประสบการณ์"? ดูเหมือนว่า ด้วยคำพูด เราได้สร้างสรรค์บางสิ่ง [some-thing] (เช่น แนวความคิด, ความเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้ง, และความรู้สึกต่างๆ) ให้ผุดขึ้นมาจากสิ่งที่ไม่มีอยู่ [no-thing] (ประสบการณ์ที่พบเจอ - lived experience) แต่คำพูดเหล่านี้จะไม่เป็นไปตามที่คาดหมายตามจุดประสงค์ของเราเสมอไป. บางทีอันนี้เป็นเพราะภาษามีแนวโน้มที่จะทำให้การรับรู้ของเราเป็นเรื่องของสติปัญญา - ภาษาคือเครื่องมือหรือตัวช่วยกระบวนการรับรู้

สิ่งที่เราพยายามกระทำในการวิจัยทางปรากฏการณ์วิทยาคือ การก่อเกิดความเข้าใจขึ้นโดยผ่านภาษา ในหนทางที่น่าสนใจใคร่รู้ที่ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ไม่อาจรับรู้. แก่นสารนี้สำคัญเพราะบุคคลในหลากหลายอาชีพ (อย่างเช่น อาชีพครู, พยาบาล, นักให้คำปรึกษา นักบำบัด) ดูเหมือนเรียกร้องต้องการไม่เพียงการฝึกฝนทักษะ และองค์ประกอบพิเศษของความรู้เท่านั้น แต่ยังต้องมีความสามารถที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ การใช้ดุลยพินิจ, การหยั่งรู้, ความเจ็บปวด, และความสามารถต่างๆ ทางด้านประสาทสัมผัส. ดูเหมือนว่าในทิศทางต่างๆ เหล่านี้ได้ยึดโยงกับความช่วยเหลือที่ตรงประเด็นเกี่ยวกับปรากฏการณ์วิทยาแนวการตีความ สำหรับญานวิทยาหรือทฤษฎีความรู้เกี่ยวกับวิถีปฏิบัติในวิชาชีพ

Epoche - หยุดภาพ / แขวนลอย
ศัพท์คำนี้หมายถึง "bracketing" (การวงเล็บ) ทัศนคติโดยธรรมชาติ(natural attitude) เพื่อจะสามารถเข้าไปสู่ ปรากฏการณ์อันหนึ่ง ดังที่มันแสดงตัวของมันเอง

essence - แก่นแท้ / เนื้อแท้
ศัพท์คำว่า "essence" ยืมมาจาก

- ศัพท์ภาษากรีก ousia, หมายถึงธรรมชาติภายในที่เป็นแก่นแท้ของสิ่งๆ หนึ่ง, ภาวะที่แท้จริงของสิ่งๆ หนึ่ง.
- ในภาษาละติน essentia, มาจากคำว่า esse หมายถึง "to be."

แก่นแท้คือสิ่งที่ทำให้สิ่งๆ หนึ่งเป็นอย่างที่เป็น (ถ้าปราศจากแก่นแท้นี้แล้ว สิ่งนั้นก็ไม่อาจจะเป็นสิ่งนั้นได้); ดังนั้น แก่นแท้จึงทำให้สิ่งๆ หนึ่งเป็นเช่นนั้น มากกว่าการดำรงอยู่ของมัน หรือกลายเป็นบางสิ่งบางอย่าง. ในความคิดของเพลโต "แก่นแท้"(essence) คือการจับฉวยธรรมชาติที่แท้ของสิ่งต่างๆ, ซึ่งสิ่งเฉพาะใดๆ ก็ตามเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งที่ไม่สมบูรณ์ หรือเป็นเพียงการเลียนแบบในโลกของแบบ(ที่เป็นอุดมคติ)

- คำว่า Eidos เป็นศัพท์อีกคำหนึ่งของเพลโต เกี่ยวกับ"ความคิด"หรือ"แบบ"(Idea or Form) ซึ่ง Husserl นำมาใช้กำหนดแก่นแท้ที่เป็นสากล(universal essences)

- ส่วนอริสโตเติล มีความคิดเกี่ยวกับแก่นแท้ว่า เป็นบางสิ่งที่สิ่งนั้นมีอยู่ในสภาวะสมบูรณ์สุดท้ายของมัน;
แก่นแท้ธรรมชาติ (หลักการภายใน) ของสิ่งๆ หนึ่ง

ในงานเขียนต่างๆ ของ Husser แก่นแท้ (essence) มักจะเป็นการอ้างถึงความเป็นสิ่งๆ นี้(whatness)ของสิ่งต่างๆ, ที่ตรงข้ามกับความเป็นนั่น(thatness) ของพวกมัน (ยกตัวอย่างเช่น การดำรงอยู่ของพวกมัน). นักปรากฏการณ์วิทยาบางคนได้จำแนกความแตกต่างระหว่าง Grundwesen (พื้นฐาน หรือแก่นแท้ที่เป็นรากฐาน - basic or fundamental essence) และ empirisches Wesen (แก่นแท้ในเชิงประจักษ์ - empirical essence). ความแตกต่างในแนว Husserlian นี้ รากฐานหรือแก่นแท้ในเชิงอุดมคติ (basic or ideal essence) คือสิ่งที่เข้าถึงสหัชญานปรากฏการณ์วิทยาได้(phenomenological intuiting). แต่อย่างไรก็ตาม การนิยามที่ง่ายเกินไปก็อาจนำเราไปผิดทางได้ง่ายเช่นกัน สู่การตัดสินแบบปฏิฐานนิยมและรากฐานนิยม

ประการแรก, เราอาจถามว่า: สิ่งต่างๆ มีแก่นแท้ใช่ไหม? เราสามารถที่จะพูดถึงความเป็นสิ่งนี้โดยเฉพาะของสิ่งต่างๆ ได้ใช่ไหม (the specific whatness of something) ? ยกตัวอย่างเช่น มันเป็นเรื่องที่ถูกต้องที่จะพูดถึงแก่นแท้ความเป็นมนุษย์, แก่นแท้ของภาษา, แก่นแท้ของความคิด, แก่นแท้ของดนตรี, แก่นแท้ของดอกไม้ ได้ใช่ไหม? แก่นแท้ของบทกวีล่ะ? มันไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะคิดว่า สิ่งต่างๆ มีแก่นแท้ใช่ไหม? นี่คือคำถามที่สำคัญอันหนึ่ง เพราะ"แก่นแท้"(essence) และ "ลัทธิสารัตถนิยม" (essentialism) กลายเป็นคำน่าเกลียดของงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่ามกลางนักหลังโครงสร้างนิยมทั้งหลาย. แต่ทว่าทำไม? อะไรคือสิ่งที่ค่อนข้างแย่เกี่ยวกับความคิดเรื่องของแก่นแท้?

ดูเหมือนว่า อันตรายเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องแก่นแท้นี้ โดยปฐมเหตุมันวางอยู่ในความมีนัยสำคัญทางศีลธรรมที่ถูกฝังติดอยู่กับมัน เมื่อเราพูดถึงแก่นแท้ของกวีนิพนธ์เป็นตัวอย่าง เราทั้งหลายต้องการพูดถึงในบางแง่มุมของกวีนิพนธ์ มันมีคุณภาพหรือคุณสมบัติบางอย่างทำให้มันแตกต่างไปจากรูปแบบงานอักษรศาสตร์อื่นๆ อย่างเช่น นวนิยาย บทละคร หรือความเรียงร้อยแก้ว. กล่าวอีกนัยหนึ่ง หากปราศจากคุณภาพหรือคุณสมบัติเหล่านี้ กวีนิพนธ์ก็จะไม่เป็นกวีนิพนธ์อีกต่อไป และนี่เป็นความจริงสำหรับเกือบทุกๆ สิ่ง และด้วยเหตุนี้ เราสามารถที่จะถามหาว่า อะไรคือคุณสมบัติที่แก่นแท้ของดอกไม้ ซึ่งดอกไม้จะไม่เป็นดอกไม้อีกต่อไปหากว่ามันได้ถูกพรากคุณสมบัติต่างๆ เหล่านั้นไป

ในด้านหนึ่ง อาจมีใครสักคนถกว่า มันไม่มีแก่นแท้ต่างๆ ซึ่งอันนี้ดูเหมือนกำลังอยู่ในทิศทางหรือตำแหน่งที่สุดขั้ว. กวีต่างไปจากเรื่องสั้น, ดอกไม้แตกต่างจากต้นไม้, ความเจ็บปวดต่างจากความสุข, ความไว้วางใจต่างจากความไม่ไว้วางใจ. มันมีการถกเถียงกันเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับวิธีการพูดถึงแก่นแท้ต่างๆ อันนี้. นี่ไม่ใช่การปฏิเสธว่ามีเส้นแบ่งระหว่างกวีนิพนธ์และร้อยแก้ว บางครั้ง มันยากที่จะลากออกมาให้ชัดเจน หรือที่ว่าตัวบทกวีนิพนธ์ บางครั้งไม่ต่างไปจากตัวบทของร้อยแก้ว. แน่นอน, แก่นแท้ของสิ่งต่างๆ ขึ้นอยู่กับบทบาทระหว่าง"ความต่าง"กับ"ความเหมือน" และ Wittgenstein ได้แสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงความหมายเหล่านี้ เป็นการสะท้อนรูปแบบต่างๆ ของเรา เกี่ยวกับชีวิตและครอบครัว ซึ่งมีความคล้ายคลึงของความหมาย. ดังที่ Eagleton ชี้แจง, "สำหรับบางสิ่งที่แสดงคุณสมบัติบางอย่าง มันไม่จำเป็นต้องหมายความว่า เรามักจะรู้อย่างแน่ชัดว่า มันไปจบลงที่ไหน และวัตถุอีกอันหนึ่งถือกำเนิดขึ้น. ขอบเขตของพรมแดนที่คลุมเครือ ไม่แน่นอน ยังคงเป็นขอบเขตอันหนึ่งเสมอ"

ในอีกด้านหนึ่ง นักปรากฏการณ์วิทยาทั้งหลายรู้ว่า ความคิดเกี่ยวกับแก่นแท้ ค่อนข้างสลับซับซ้อนมาก และทัศนะของพวก Husserlian ในช่วงต้น มีแนวโน้มทำให้มันง่ายต่อการค้นหาแก่นแท้เกินไปในบรรดาสานุศิษย์ของเขาบางคน. แก่นแท้ไม่ใช่อะไรโดดๆ อันเดียว, มันถูกกำหนดคุณสมบัติโดยการที่เรารู้บางสิ่ง มันค่อนข้างจะหมายความว่า ถูกประกอบสร้างโดยลำดับการที่ซับซ้อนโดยแง่มุมต่างๆ, คุณภาพและคุณสมบัติ - บางอย่างเกิดขึ้นมาโดยบังเอิญ(incidental) และบางอย่างค่อนข้างสำคัญมากต่อการดำรงอยู่ของสิ่งต่างๆ (being of things)

ศัพท์คำว่าแก่นแท้(essence)หยิบยืมมาจากกริยาว่า"เป็น" - โดยการกำหนดนิยามความคิดเกี่ยวกับการเป็นอยู่(existential)อย่างลึกซึ้ง. ใครสักคนตั้งคำถามถึงบางสิ่งบางอย่าง"เป็น"(is). สำหรับการเป็นอยู่ของบางสิ่ง แก่นแท้คือการถามถึงสิ่งที่บางสิ่งที่เป็น และหากปราศจากสิ่งนั้น มันก็จะไม่เป็นสิ่งนั้นอีกต่อไป. และการถามคำถามนี้ขณะที่ตระหนักรู้เกี่ยวกับบริบท. (ระหว่าง)อัตวิสัย, ภาษา และอื่นๆ. สำหรับเหตุผลนี้ มนุษยศาสตร์เป็นโครงการที่ชวนหลงใหล นั่นคือ การตีความทุกอย่างสามารถนำไปสู่คำถามได้; การสืบค้นทุกๆ อย่าง เราสามารถเริ่มต้นขึ้นใหม่อีกครั้ง; การสนทนาเกี่ยวปรากฏการณ์วิทยาแนวตีความทุกๆ ครั้งเป็นเรื่องที่ไม่มีวันจบสิ้น

บรรดาคนที่ต้อต้านแนวคิดแก่นแท้ทั้งหลาย ได้ตระเตรียมการตอบโต้ที่สำคัญ โดยถกว่า แก่นแท้ต่างๆ เป็นมายาภาพ มันได้ดึงความสนใจไปสู่อันตรายเกี่ยวกับวัฒนธรรมอันสับสนเกี่ยวกับเรื่องธรรมชาติ, และเกี่ยวกับการก่อรูปก่อร่างในมนุษยศาสตร์ต่างๆ และรวมถึงสังคมศาสตร์. บรรดาผู้ต่อต้านแนวคิดแก่นแท้ได้วิพากษ์วิจารณ์ทัศนะทางปรัชญาและวัฒนธรรมที่กำหนดนิยามขึ้นมา ตัวอย่างเช่น ธรรมชาติของความเป็นผู้หญิง, ความเป็นเด็ก, เรื่องชาติพันธุ์, และตามมาด้วยการลากเอาข้อสรุปทางศีลธรรมมาจากนิยามต่างๆ เหล่านี้ ยกตัวอย่างเช่น ความคิดที่ว่า ผู้หญิงเป็นพวกที่มีความอ่อนแอมาแต่กำเนิด และด้วยเหตุดังนั้นจึงไม่เหมาะที่จะเป็นผู้นำ หรือที่ว่าบรรดาพวกเด็กๆ โดยธรรมชาติแล้วมี"บาป" และด้วยเหตุนั้นจึงต้องขจัดแนวโน้มที่จะนำไปสู่ความชั่วที่มีมาแต่กำเนิด หรือที่ว่ากลุ่มชาติพันธุ์บางพวกครอบครองคุณสมบัติภายในบางอย่าง ซึ่งวัฒนธรรมและธรรมชาติต่างๆ ของชนเหล่านั้นจักต้องถูกชำระให้สะอาด

บรรดาผู้ที่ต่อต้านแนวคิดแก่นแท้ได้แสดงให้เห็นว่า มันมีทัศนียภาพที่เป็นสารัตถะหรือเป็นแก่นอยู่ ซึ่งได้ไปลดทอนปรากฏการณ์ทางสังคมลงสู่หมวดหมู่ที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ และทำให้กลุ่มต่างๆ ทางสังคมมีแบบฉบับที่ถูกกำหนดตายตัว. ลัทธิสารัตถนิยม(แก่นแท้นิยม - essentialism) โดยการจัดหมวดหมู่หลากหลายนี้ได้แบ่งปันกับลัทธิปฏิฐานนิยม(positivism) ที่ทำให้ปรากฏการณ์เป็นรูปร่างขึ้นมาและมีประสบการณ์ได้ในวัตถุต่างๆ ภายนอก. สารัตถนิยมแบ่งแยกหมวดหมู่(Categorial essentialism) เป็นสิ่งที่อันตราย กล่าวคือ มันมีแนวโน้มที่จะมองสิ่งต่างๆ ในเทอมของสิ่งสมบูรณ์ เบ็ดเสร็จเด็ดขาด และจากคุณสมบัติที่ถูกกำหนดเหล่านี้ จึงรับเอาความเชื่อมั่นและการลงโทษต่างๆ ทางศีลธรรมมาด้วย. ท้ายที่สุด ทั้งหมดของการจำแนกความแตกต่างข้างต้น อันที่จริง ค่อนข้างจะน้อมนำไปสู่สิ่งผิดๆ นับจากการที่พวกเขายังคงทึกทักหรือสันนิษฐานว่า มันเป็นเรื่องเหมาะสมที่จะพูดถึง"แก่นแท้ของสิ่งต่างๆ" และสิ่งทั้งหลายล้วนครอบครองความหมายและพรมแดนต่างๆ ของมัน

อย่างไรก็ตาม แก่นแท้ไม่เคยอ้างอิงอย่างง่ายๆ ถึง"ความเป็นสิ่งนี้"(whatness)ของปรากฏการณ์ ราวกับว่าเรากำลังอธิบายคุณสมบัติต่างๆ ของมัน กล่าวในเชิงปรากฏการณ์วิทยา "แก่นแท้" เป็นแนวคิดที่สลับซับซ้อน ที่แย้มนัยสู่การสามารถตั้งคำถามได้ตลอดเกี่ยวกับการเป็นอยู่ของการเป็นอยู่(being of being), สู่หนทางที่ว่า ปรากฏการณ์อันหนึ่งได้เผยแสดงตัวมันเองออกมาในความคิด สู่วิธีการต่างๆ ซึ่งเราเผชิญหน้ากับบางสิ่ง และวิธีการทั้งหลายที่ตัวของเราเองต้องตกอยู่ในคำถามอยู่ตลอด โดยการเป็นอยู่ของสิ่งต่างๆ เกี่ยวกับโลกของเรา. ศัพท์คำว่าแก่นแท้ (essence)ไม่ได้อธิบาย "ความเป็นอะไร"(whatness - ความเป็นสิ่งนี้) ของปรากฏการณ์หนึ่ง แต่มันอรรถาธิบายความสัมพันธ์ต่างๆ ทางความหมายที่เราธำรงรักษามันเกี่ยวกับโลก

"แก่นแท้" เป็นศัพท์ในเชิงความสัมพันธ์ซึ่งอ้างถึงการมีเจตจำนงต่างๆ เกี่ยวกับโลกของเรา สู่หนทางที่เป็นไปได้เกี่ยวกับการเผชิญหน้า และเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ กับโลกที่อยู่ตรงหน้าเรา ขณะเดียวกันเราก็เข้าใจหรือคิดเกี่ยวกับมันด้วยภาษา บทกวี และความคิดในเชิงมโนคติ(conceptual thought)

hermeneutic phenomenology - ปรากฏการณ์วิทยาอรรถปริวรรตศาสตร์(การตีความ)
ปรากฏการณ์วิทยาแนวตีความ พยายามที่จะระมัดระวังในเรื่องเกี่ยวกับวิธีการของมัน นั่นคือ มันเป็นการอธิบายถึงระเบียบวิธี(ทางปรากฏการณ์วิทยา) เพราะมันต้องการใส่ใจเกี่ยวกับการที่สิ่งทั้งหลายปรากฏตัวขึ้นมาอย่างไร? มันต้องการปล่อยให้สิ่งต่างๆ พูดถึงตัวของมันเอง มันเป็นวิธีการตีความ(อรรถปริวรรตศาสตร์ - hermeneutic) อย่างหนึ่ง เพราะมันอ้างว่า ไม่มีปรากฏการณ์อันใดที่ไม่ถูกตีความโดยเรา (there are no such things us uninterpreted phenomena). ความตรงข้ามโดยนัยยะอาจได้รับการแก้ไขหากยอมรับว่า ข้อเท็จจริง(เชิงปรากฏการณ์วิทยา) ของประสบการณ์ที่มีอยู่ มักจะถูกพบอย่างไร้ความหมาย(หากปราศจากการตีความ). ยิ่งไปกว่านั้น ข้อเท็จจริงต่างๆ (facts) ของประสบการณ์ที่มีอยู่ต้องถูกจับด้วยภาษา (ถ้อยคำทางมนุษยศาสตร์) และนี่คือกระบวนการตีความอย่างหนึ่ง อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

hermeneutics - อรรถปริวรรตศาสตร์
อรรถปริวรรตศาสตร์ - hermeneutics, คือทฤษฎีและปฏิบัติการอันหนึ่งเกี่ยวกับการตีความ(interpretation). ศัพท์คำนี้หยิบยืมมาจากพระนามของเทพเจ้ากรีก, Hermes (*), ภารกิจของพระองค์คือการสื่อสารต่างๆ จากเทพเจ้าทั้งหลายมาสู่มนุษย์ธรรมดา(ที่ต้องตาย-mortals). การตีความถือเป็นสิ่งจำเป็น เมื่อมีความเป็นไปได้เกี่ยวกับความเข้าใจผิด, Schleiermacher กล่าว. เขาเปิดประเด็นความคิดเกี่ยวกับการตีความ / การแปลความหมาย (hermeneutics) ในฐานะที่เป็นทฤษฎี หรือ"เทคโนโลยี" อย่างหนึ่งของการตีความ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้วยแง่มุมการศึกษาเกี่ยวกับตัวบทอันศักดิ์สิทธิและคลาสสิคต่างๆ

(*) Hermes เทพซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ส่งสาร ผู้ป่าวประกาศของปวงเทพต่างๆ, นอกจากนี้ยังเป็นเทพแห่งการติดต่อสัมพันธ์ แลกเปลี่ยน(ความคิดเห็น ความรู้สึก) ฉลาดหลักแหลมและเจ้าเล่ห์ เทพแห่งการประดิษฐ์คิดค้น การโจรกรรม. ชาวโรมันเรียกเทพเจ้าองค์นี้ว่า mercury เทพแห่งดาวพุธ (ธาตุปรอท) การเจรจา

- โครงการของ Schleiermacher เป็นลักษณะเชิงวิพากษ์ (ในฐานะที่เป็นการต่อสู้กับการเข้าใจผิด) และโรแมนติก (ในความปรารถนาที่จะฟื้นคืนความเป็นสิ่งเฉพาะ(particularity), หรือ อัจริยภาพที่มีชีวิตหรือความนึกคิดในความคิดต่างๆ ของผู้เขียน (in the desire to recover the particularity, or the animating genius or notion of an author's thoughts). วัตถุประสงค์ของเขาก็คือเพื่อทำความเข้าใจนักประพันธ์ หรือกระทั่งล่วงรู้ได้ดีกว่าผู้ประพันธ์ทั้งหลายเข้าใจตัวของพวกเขาเองเสียอีก

- สำหรับการเน้นของ Dilthey มิใช่ย้ำลงไปที่ความคิดพื้นฐานของคนอื่น แต่ระบุลงไปที่โลกของมันเอง, ประสบการณ์ที่มีอยู่ ซึ่งถูกแสดงออกมาโดยตัวบทของนักประพันธ์. หลักการตีความของ Dilthey เกี่ยวกับ"ประสบการณ์ที่มีอยู่" คือจุดเริ่มต้นและการโฟกัสเกี่ยวกับมนุษยศาสตร์; นั่นคือ การแสดงออก: ตัวบท หรือ สิ่งประดิษฐ์(the text or artifact) เป็นการทำให้ปรากฏเป็นรูปธรรมของประสบการณ์ที่มีอยู่ และทำความเข้าใจ ซึ่งไม่ใช่กิจกรรมการรับรู้(cognitive act) แต่เป็นช่วงขณะที่"ชีวิตเข้าใจตัวของมันเอง (life understands itself)

- ลำดับต่อมาสำหรับ Heidegger แล้ว ค่อนข้างเป็นไปในลักษณะห่างไกลจากจิตวิทยาอย่างสุดขั้วในเรื่องแนวคิดเกี่ยวกับความเข้าใจ. Heidegger มิได้มีเป้าหมายที่จะทวนประสบการณ์ของคนอีกคนหนึ่ง แต่ค่อนข้างเป็นเรื่องของพลังในการจับคว้าความเป็นไปได้ต่างๆ ของตนเองเพื่อดำรงอยู่ในโลกในหนทางบางอย่าง. การตีความตัวบทก็คือ การมาสู่ความเข้าใจความเป็นไปได้ต่างๆ ของการดำรงอยู่ ที่ถูกเปิดเผยโดยตัวบทนั้น. อรรถปริวรรตศาสตร์(hermeneutics)ของ Heidegger ได้ถูกอธิบายในฐานะปรากฏการณ์วิทยาการตีความ (interpretive phenomenology).

- Gadamer เพิ่มเติมว่า ในการตีความตัวบทอันหนึ่ง เราไม่สามารถแยกตัวของเราเองออกมาจากความหมายของตัวบทนั้นได้. ผู้อ่านเป็นส่วนหนึ่งของตัวบทที่เขาหรือเธอกำลังอ่านอยู่ การทำความเข้าใจมักจะเป็นเรื่องของการตีความ และการตีความมักจะเป็นเรื่องเฉพาะเจาะจง เป็นการประยุกต์ใช้ประโยชน์เสมอ. สำหรับ Gadamer ปัญหาเกี่ยวกับการทำความเข้าใจเกี่ยวโยงกับการสนทนาในเชิงตีความ ซึ่งรวมเอาการหยิบยก ดูดซับขนบจารีตซึ่งตัวเราเองดำรงในนั้น. ตัวบทต่างๆ ที่มาสู่เราจากขนบประเพณีที่แตกต่าง หรือความสัมพันธ์ต่างๆ ในเชิงสนทนาอาจได้รับการอ่านในฐานะที่เป็นการตอบคำถามที่เป็นไปได้ทั้งหลาย. Gadamer กล่าวว่า, ปฏิบัติการเกี่ยวกับการสนทนา หมายถึง การยินยอมให้ตัวเราเองมีกิจกรรม(เคลื่อนไหว) โดยคำถามหรือความคิดเห็น ซึ่งคนที่มีส่วนร่วมในการปฏิสัมพันธ์ สนทนา ถูกควบคุม กำกับ ชี้นำ ทำให้สนใจ

- Hirsch ได้จัดหาคำอธิบายเกี่ยวกับอรรถปริวรรตศาสตร์ที่เป็นไปในเชิงปฏิฐานนิยมมากขึ้น. สำหรับเขา การตีความตัวบทมีเป้าหมายอยู่ที่การประกอบสร้างความหมายตามเจตจำนงต่างๆ ของผู้ประพันธ์ขึ้นมาใหม่. การทำความเข้าใจเป็นกระบวนการในเชิงวิภาษวิธี(dialectical process) ระหว่างผู้อ่านกับผู้เขียน. และ Hirsch ได้ให้เหตุผลว่า ความมีเหตุผลเกี่ยวกับการตีความตัวบทโดยเฉพาะ ได้ถูกเพิ่มพูนขึ้นโดยการมีความรู้บางอย่างเกี่ยวกับตัวบุคคลซึ่งเป็นคนเขียน

- Ricoeur ได้ขยับขยายความคิดเกี่ยวกับเรื่องตัวบทสู่การกระทำของมนุษย์และสถานการณ์. เพื่อจะตีความสถานการณ์ทางสังคมหนึ่ง คือการปฏิบัติกับสถานการณ์ดังกล่าวในฐานะที่เป็นตัวบท และถัดจากนั้น ค้นหาการอุปมาอุปมัยที่อาจถูกพบเห็นได้ในการกำกับตัวบท. Ricoeur ได้ตอบโต้ต่อ Heidegger และ Gadamer, โดยคืนกลับอรรถปริวรรตศาสตร์จากภววิทยา(returns hermeneutics from ontology) (การทำความเข้าใจในฐานะที่เป็นแบบหนึ่งของการดำรงอยู่) สู่การตั้งคำถามเกี่ยวกับญานวิทยา(epistemology) (การทำความเข้าใจในฐานะวิธีการทางมนุษยศาสตร์). ยกตัวอย่างเช่น Ricoeur พยายามที่จะแสดงความสัมพันธ์เชิงวิธีการระหว่าง "คำอธิบาย" กับ "ความเข้าใจ" ในเทอมต่างๆ ของปัญหาเกี่ยวกับการมีระยะห่างและการมีส่วนร่วม(distanciation and participation).

human science - มนุษยศาสตร์
มนุษยศาสตร์ คือชื่อหนึ่งที่รวบรวมวิธีการศึกษาอันหลากหลาย และการกำหนดเป้าหมายและทิศทางการวิจัยต่างๆ เอาไว้. ศัพท์คำว่า"มนุษยศาสตร์" ได้รับมาจากความคิดเกี่ยวกับ Geisteswissenschaften (mind-science) ของ Wilhelm Dilthey. Dilthey ได้ให้เหตุผลว่า ปรากฏการณ์มนุษย์ (จิตใจ, สังคม, ประวัติศาสตร์ - mental, social, historical) แตกต่างจากวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (ฟิสิกส์, เคมี, ด้านพฤติกรรม - physical, chemical, behavioral) กล่าวคือ

- human phenomena (ปรากฏการณ์มนุษย์) ต้องการการตีความ และการทำความเข้าใจ ในขณะที่
- natural science (วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ) เกี่ยวพันกับการสังเกตการณ์ภายนอกและการอธิบายส่วนใหญ่

"เราอธิบายธรรมชาติได้, แต่สำหรับมนุษย์เราจะต้องทำความเข้าใจ" Dilthey กล่าว. Dilthey พยายามแสวงหาวิธีการพัฒนาการตีความอันเป็นพื้นฐานเกี่ยวกับระเบียบวิธีสำหรับมนุษยศาสตร์. ตามความคิดของ Dilthey เราสามารถยึดจับความสมบูรณ์ของประสบการณ์ชีวิตได้ โดยการประกอบสร้างใหม่หรือผลิตซ้ำความหมายต่างๆ เกี่ยวกับการแสดงออกของชีวิต ซึ่งค้นพบได้ในผลผลิตต่างๆ เกี่ยวกับความพยายามของมนุษย์ การทำงาน และการสร้างสรรค์

อรรถปริวรรตศาสตร์ - การตีความ(Hermeneutics) และปรากฎการณ์วิทยา(phenomenology) ได้รับการมองว่าได้ถูกนำเข้าไปเกี่ยวข้องกับสาขาทั้งมวลด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ตีความการแสดงออกอันเต็มไปด้วยความหมายของกิจกรรมภายใน, กระบวนการรับรู้, หรือชีวิตทางจิตวิญญานของมนุษย์ในบริบททางสังคม, ประวัติศาสตร์, หรือสภาวะแวดล้อมทางการเมือง. กล่าวในเชิงที่แตกต่าง มนุษยศาสตร์คือการศึกษาเกี่ยวกับความหมาย นั่นคือ การศึกษาในเชิงพรรณา ตีความ เกี่ยวกับแบบแผน, โครงสร้าง และระดับของความหมายเชิงประสบการณ์ และ/หรือ ความหมายในเชิงตัวบทของมนุษย์(descriptive-interpretive studies of patterns, structures and levels of experiential and/or textual meanings)

งานวิจัยมนุษยศาสตร์ คือกิจกรรมของความหมายที่มีการอธิบายแจกแจงโดยละเอียด. ในแง่มุมนี้ การกำหนดเป้าหมายทิศทางการวิจัยพื้นฐานเกี่ยวกับมนุษยศาสตร์ทั้งหมด จึงถูกจัดให้อยู่ในแนวเดียวกันอย่างใกล้ชิดกับความมีเหตุผลในการตีความเชิงวิพากษ์ของสาขาวิชามนุษย์ศาสตร์และปรัชญา มากกว่ากับความมีเหตุผลเชิงปฏิฐานของการวิเคราะห์เชิงประจักษ์ หรือศาสตร์เกี่ยวกับพฤติกรรมกระบวนการรับรู้ในทางวิทยาศาสตร์. อันนี้ได้อธิบายถึงประโยชน์ของบรรดานักมนุษยศาสตร์ในการใช้ความคิดต่างๆ ทางปรัชญา อย่าง Plato, Aristotle, St. Augustine, Kant, Hegel, Kierkegaard, และ Nietzsche, เป็นต้น และเกี่ยวกับความน่าสนใจเป็นพิเศษสำหรับมนุษยศาสตร์ คือผลงานทั้งหลายของบรรดานักปรัชญาปรากฏการณ์วิทยาแนวปรับปรุงอย่างชัดเจน อย่างเช่น Husserl, Scheler, Marcel, Levinas, Ricoeur, Edie, Gusdorf, Strasser, Ihde, และคนอื่นๆ

ในด้านการศึกษา ระเบียบวิธีทางมนุษยศาสตร์อันหลากหลายได้รับการปฏิบัติในขอบเขตการศึกษาซึ่งรวมถึงเรื่องหลักสูตร, การสอน, การบริหารจัดการ, จิตวิทยา, การศึกษาเชิงนโยบาย, สังคมวิทยา, และปรัชญาเกี่ยวกับการศึกษา, การให้คำปรึกษา, การบำบัด, คุรุศาสตร์, และการพยาบาล ฯลฯ

Intentionality - การมีเจตจำนง
ศัพท์คำว่า "การมีเจตจำนง"(intentionality) บ่งชี้ถึงความเชื่อมโยงที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ระหว่างมนุษย์กับโลก. Brentano, และภายหลัง Husserl, ได้อ้างเหตุผลว่า โครงสร้างพื้นฐานของความสำนึกคือเรื่องเกี่ยวกับเจตจำนง และประสบการณ์ที่มีสำนึกทุกๆ อย่าง เป็นเรื่องสองขั้ว(bi-polar) นั่นคือ

- มีวัตถุอันหนึ่งที่เสนอตัวของมันเอง(presents itself) กับ
- ตัวตนหรืออีโก้ของเรา(a subject or ego)

อันนี้หมายความว่า การคิดทั้งหมด(จินตนาการ, การรับรู้, การจดจำ ฯลฯ) มักจะคิดเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างเสมอ. นี่เป็นจริงเช่นกันกับการกระทำต่างๆ กล่าวคือ การยึดฉวย คือการยึดฉวยบางสิ่งบางอย่าง, การฟังคือการกำลังฟังบางสิ่งบางอย่าง, การชี้ คือการชี้ไปที่บางสิ่งบางอย่าง. การกระทำทั้งหมดของมนุษย์มักจะมีการกำหนดเป้าหมายกิจกรรม ถูกกำกับควบคุมโดยสิ่งซึ่งมีการกำหนดทิศทาง. ในหนทางนี้เราได้ค้นพบโลกหรือทิวทัศน์ของคนๆ หนึ่ง. แต่เรามิได้มีสำนึกในเชิงไตร่ตรองในความสัมพันธ์ที่มีเจตจำนงของเรากับโลก. การมีเจตจำนงเป็นเพียงสิ่งซึ่งมีอยู่ในลักษณะย้อนหลังสู่ความสำนึกเท่านั้น. หรือดังที่ Merleau-Ponty กล่าว, โลกได้ถูกเปิดเผยแก่เรา ในฐานะที่ทำเสร็จแล้ว และอยู่ที่นั่นแล้ว (as ready-made and already "there").

lifeworld - โลกชีวิต
แนวคิดเกี่ยวกับโลกชีวิต (Lebenswelt), หมายถึงโลกในฐานะที่เป็นประสบการณ์ที่มีอยู่ ซึ่งเป็นแนวคิดที่รับมาจากผลงานของ Husserl ชิ้นหลังสุดและใหญ่สุดที่ได้รับการตีพิมพ์ภายหลังมรณกรรมของเขาเรื่อง The Crisis of European Sciences and Transcendental Phenomenology (วิกฤตการณ์ของวิทยาศาสตร์ในยุโรป และ ปรากฏการณ์วิทยาเหนือความจริง) เขาได้อธิบายโลกชีวิตในฐานะที่เป็นโลกของประสบการณ์ตรง(world of immediate experience)โดยทันที, โลกในฐานะที่มันมีอยู่หรืออยู่ที่นั่น, มีอยู่ก่อนแล้ว, โลกในฐานะที่เป็นประสบการณ์ในลักษณะที่เป็นธรรมชาติ(natural), ท่าทีปฐมฐาน(primordial attitude), เกี่ยวกับชีวิตธรรมชาติเดิมๆ. "

Husserl ได้จำแนกความแตกต่างทางประวัติศาสตร์เชิงวิพากษ์และปรากฏการณ์วิทยา ระหว่าง

(1) ท่าทีต่อชีวิตในเชิงทฤษฎี ที่ได้หยิบยืมมาจากกรีก และ
(2) ท่าทีต่อชีวิตก่อนทฤษฎี ที่มีลักษณะเป็นกลางๆ ซึ่งการทำให้เป็นทฤษฎีทั้งหมดได้รับการวางรากฐาน และถึงที่สุด ได้ถูกหยิบยืมมาใช้

Husserl ใช้ศัพท์คำว่า"เป็นธรรมชาติ"(natural) สำหรับสิ่งที่เป็นของเดิม และไร้เดียงสา, ก่อนการวิพากษ์ หรือการไตร่ตรองในเชิงทฤษฎี

ท่าทีหรือทัศนคติในเชิงทฤษฎีที่ปัญญาชนตะวันตกและวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ที่ได้หยิบยืมมาจากกรีก จะต้องได้รับการตระหนักในฐานะที่เป็นเรื่องใหม่(กล่าวในเชิงประวัติศาสตร์) และเป็นแบบฉบับของชีวิตที่แตกต่าง. ในทางตรงข้าม ท่าทีธรรมชาติเกี่ยวกับโลกชีวิตมักเป็นเรื่องเชิงปฏิบัติการ(pragmatic), มักมุ่งตรงไปที่โลก "สู่นั่นหรือนี่" ถูกกำกับควบคุมสู่มันในฐานะที่เป็นเป้าหมายหรือวิธีการ, ทั้งที่สอดคล้องตรงประเด็นหรือไม่สอดคล้องห่างประเด็น, สู่ความเป็นส่วนตัวหรือสาธารณะ, สู่สิ่งซึ่งเป็นที่ต้องการในชีวิตประจำวัน หรือสู่สิ่งใหม่ในลักษณะสร้างความรำคาญ

เพลโตและอริสโตเติลได้ให้เหตุผลว่า กำเนิดของความปรารถนาใคร่รู้ (หรือปรัชญา) ก็คือ ข้อสงสัยง่ายๆ ในสิ่งต่างๆ ในหนทางอย่างที่มันเป็น. แต่ขณะที่ความสงสัยเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในชีวิตประจำวัน ทัศนคติเชิงทฤษฎีสมัยใหม่ โน้มเอียงที่จะเปลี่ยนเราเข้าไปสู่ผู้ดูที่ไม่มีส่วนร่วม, บรรดานักสังเกตการณ์เกี่ยวกับโลก. และกระทั่งท่าทีเชิงทฤษฎีที่สำคัญมากในการรับรู้ทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ บ่อยครั้งมักจะเงียบเฉย หรือฆ่าความรู้สึกเกี่ยวกับความสงสัยของเรา - ความสงสัยที่ Merleau-Ponty อธิบายในฐานะที่เป็นการเรียกร้องสำหรับการรับรู้ที่แน่นอนอันหนึ่ง, ความสนอกสนใจประเภทหนึ่งและเจตจำนงที่จะฉกฉวยหรือจับคว้าความหมายของโลกใบนี้เอาไว้

ตามความคิดของ Husserl โลกชีวิตแต่ละอย่างได้แสดงให้เห็นโครงสร้างที่แพร่กระจายบางอย่าง หรือสไตล์ / แบบฉบับต่างๆ ที่ต้องการได้รับการศึกษา. Schutz และ Luckmann ได้ประดิษฐ์ประดอยความคิดนี้อย่างละเอียดในทิศทางของสังคมวิทยาในหนังสือของพวกเขาเรื่อง Structures of the Life-world (โครงสร้างต่างๆ เกี่ยวกับโลก-ชีวิต). และ Heidegger ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับโครงสร้างโลกชีวิตต่างๆ ที่เป็นไปอย่างโลกๆ มากขึ้น, แรงผลักดันเกี่ยวกับการดำรงอยู่ โดยการพูดถึงปรากฏการณ์วิทยาในฐานะที่เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการมีอยู่ / การดำรงอยู่ (the study of Being), การศึกษาเกี่ยวกับแบบต่างๆ-ของ-การดำรงอยู่(modes-of-being) หรือ วิธีการต่างๆ-ของ-การดำรงอยู่-ใน-โลก(ways-of-being-in-the-world). ความคิดของ Wittgenstein เกี่ยวกับ"รูปแบบของชีวิต"(form of life) และ"เกมส์ต่างๆ ของภาษา(language games) สามารถถูกทำความเข้าใจได้ในฐานะวิธีการเข้าถึงเชิงภาษาได้มากขึ้น สู่แนวคิดเกี่ยวกับโลกชีวิต. และหลักเกณฑ์เมื่อไม่นานมานี้ที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกับโครงการเกี่ยวกับปรากฏการณ์วิทยา ดูเหมือนว่าได้เปลี่ยนแปลงไปสู่ทิศทางต่างๆ ทางสัญวิทยา(semiotic) มากขึ้น

lived meaning - ความหมายที่ดำรงอยู่
ความหมายที่ดำรงอยู่ (Lived meaning) อ้างถึงวิธีการที่คนๆ หนึ่งมีประสบการณ์และความเข้าใจต่อโลกของเขาหรือเธอในฐานะที่เป็นจริงและมีความหมาย. ความหมายต่างๆ ที่ดำรงอยู่อธิบายถึงแง่มุมทั้งหลายเกี่ยวกับสถานการณ์เหล่านั้นที่ประสบโดยบุคคล ยกตัวอย่างเช่น ครูคนหนึ่งต้องการเข้าใจว่า เด็กมีประสบการณ์และความเข้าใจสถานการณ์หนึ่งๆ อย่างไร แม้ว่าเด็กคนนั้นจะไม่รู้ตัวเกี่ยวกับความหมายที่ประสบนั้นก็ตาม

noema
Noema (noematic) หมายถึงการที่เราปรับหรือกำหนดทิศทางตัวเราเอง; มันคือวัตถุหรือเป้าหมาย ที่อ้างอิงเกี่ยวกับ noesis, the noetic act.

Noesis
Noesis คือกิจกรรมเกี่ยวกับการตีความ มุ่งตรงสู่วัตถุ-เป้าหมายที่มีเจตจำนงอันหนึ่ง, the noema (or the noematic object).

Ontic
การสืบค้นในลักษณะ Ontic inquiry คือการให้ความสนใจเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ หรือแก่นแท้ทั้งหลายเกี่ยวกับโลก

ontological - เกี่ยวกับภววิทยา
การสืบค้นในลักษณะ Ontological inquiry คือการให้ความสนใจเกี่ยวกับสิ่งที่มันเป็น หรือดำรงอยู่, ด้วยภาวะที่แท้ หรือ Being (ธรรมชาติ, ธาตุแท้, ภาวะตั้งต้น) หรือ สิ่งตางๆ ที่ปรากฏเป็นจริง (entities) Heidegger (1962) เรียกว่า ภววิทยา(ontology) ปรากฏการณ์วิทยาของภาวะ-การดำรงอยู่(phenomenology of being).

phenomenology - ปรากฏการณ์วิทยา
ปรากฏการณ์วิทยา คือการศึกษาเกี่ยวเรื่องของปรากฏการณ์ กล่าวคือ เป็นเรื่องของการสำรวจถึงวิธีการที่สิ่งต่างๆ ปรากฏแก่เราในประสบการณ์และความสำนึก

- Kant ได้ใช้ศัพท์คำนี้เพื่อแยกแยะระหว่าง การศึกษาเรื่องวัตถุต่างๆ และเหตุการณ์ทั้งหลาย(phenomena) ในฐานะที่มันปรากฏในประสบการณ์ของเรา และวัตถุ-เหตุการณ์ทั้งหลายเป็นอย่างที่มันเป็นในตัวของมันเอง(noumena)

- Hegel ใช้ศัพท์คำว่า"ปรากฏการณ์วิทยา"(phenomenology) เพื่ออธิบายถึงศาสตร์ที่ทำให้เรารับรู้เรื่องของจิตใจ(mind) ดังที่มันเป็นในตัวของมันเอง โดยผ่านการศึกษาเกี่ยวกับหนทางต่างๆ ที่มันปรากฏกับเรา

- Husserl , ปรากฏการณ์วิทยา กลายเป็นวิธีการอธิบายอย่างสมบูรณ์ เช่นเดียวกับขบวนการทางมนุษยศาสตร์ที่มีพื้นฐานอยู่บนรูปแบบของการสะท้อนแก่นหรือหัวใจของความคิดทางปรัชญาและมนุษยศาสตร์

สำหรับ Husserl ปรากฏการณ์วิทยา เป็นสาขาวิชาหนึ่งซึ่งพยายามจะอธิบายว่า โลกได้ถูกประกอบสร้างและถูกประสบอย่างไร โดยผ่านกิจกรรมต่างๆ ของความสำนึก. วลีของเขา Zu den Sachen หมายความถึง "สิ่งต่างๆ ในตัวของพวกมันเอง"(to the things themselves) และ"การลดทอนลงมาสู่สารหรือสาระสำคัญต่างๆ"(let's get down to what matters!). ปรากฏการณ์วิทยา จะต้องอธิบายสิ่งที่ประสบการณ์กับเราโดยตรงทันที โดยปราศจากการถูกขัดขวาง(ถูกขั้นกลาง-mediated) โดยแนวความคิดที่มีอยู่ก่อน และความคิดเชิงทฤษฎีทั้งหลาย

Husserl ได้พัฒนาปรากฏการณ์วิทยาแนวเหนือความจริงธรรมชาติ และ ปรากฏการณ์วิทยาแนวประกอบสร้าง(transcendental or constitutive phenomenology)ขึ้นมา. แต่ในงานสำคัญชิ้นหลังเรื่อง The Crisis of European Sciences and Transcendental Phenomenology, เขาได้กำหนดแนวคิดเกี่ยวกับ Lebenswelt, หรือ lifeworld (โลกชีวิต)ขึ้น, เป็นโลกในชีวิตประจำวันซึ่งเราดำรงอยู่ในธรรมชาติ, ท่าทีที่รับมา หรือการทึกทัก-ยึดถือ (taken-for-granted attitude). ความคิดดังกล่าวเกี่ยวกับโลกชีวิตกลายเป็นโครงการในการพัฒนาของปรากฏการณ์วิทยาที่ปรับไปในเชิงอัตถิภาวนิยม

ปรากฏการณ์วิทยาแนวอัตถิภาวนิยม (Existential phenomenology) (ต้องไม่สับสนกับปรัชญาชีวิตเกี่ยวกับลัทธิอัตถิภาวนิยม) มีเป้าหมายที่จะอธิบายปรากฏการณ์ที่เสนอตัวของมันเองอย่างไรต่อประสบการณ์ในการดำรงอยู่ของมนุษย์. ด้วยเหตุดังนั้น Heidegger, ปรากฏการณ์วิทยาจึงเป็น ภววิทยา - การศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบต่างๆ ของ"การเป็นอยู่ในโลก"ของมนุษย์. จุดมุ่งหมายที่แสดงออกของ Heidegger คือการปล่อยให้สิ่งต่างๆ ของโลกพูดถึงตัวของมันเอง. เขาตั้งคำถามว่า "อะไรคือภาวะตั้งต้น(Being) ของภาวะ(being)นี้? อะไรที่ยินยอมให้ภาวะ(being)นี้ เป็นอย่างที่มันเป็น?

ปรากฏการณ์วิทยา แตกต่างไปจากวิธีการศึกษาแนวมนุษยศาสตร์ในหลายลักษณะ อย่างเช่น ชาติพันธุ์วรรณา(ethnography), ปฏิสัมพัทธนิยมเชิงสัญลักษณ์(symbolic interactionism), และ ระเบียบวิธีทางชาติพันธุ์(ethnomethodology) ปรากฏการณ์วิทยาได้สร้างความแตกต่างระหว่าง "การปรากฏ" กับ "แก่นแท้"(appearance and essence). "ปรากฏการณ์วิทยา คือการศึกษาเกี่ยวกับแก่นแท้" Merleau-Ponty กล่าว. อันนี้หมายความว่า ปรากฏการณ์วิทยามักจะตั้งคำถามเกี่ยวกับว่า อะไรคือธรรมชาติหรือความหมายของบางสิ่งบางอย่าง. ในบทนำหนังสือ "Phenomenology of Perception" Merleau-Ponty ได้ชี้แจงว่า ผลงานของปรากฏการณ์วิทยาเป็นความเพียรพยายามเท่าๆ กับผลงานศิลปะของบรรดาศิลปิน อย่างเช่น Balzac, Proust, Valery, หรือ Cezanne.

ปรากฏการณ์วิทยา เรียกร้องให้เราเรียนรู้ใหม่อีกครั้ง เพื่อมองดูโลกที่เราพบเห็นมันในประสบการณ์ตรงแบบทันทีทันใด. และมันปรารถนาให้เราเรียกร้องอย่างเดียวกับการตระหนักรู้ และมีเจตจำนงอย่างเดียวกันเพื่อยึดจับความหมายเกี่ยวกับโลกดังที่ความหมายนั้นเกิดขึ้นมา หรือเข้ามาสู่การดำรงอยู่. กล่าวอีกนัยหนึ่ง ปรากฏการณ์วิทยามิได้ผลิตการสังเกตการณ์ในเชิงประจักษ์ หรือในเชิงทฤษฎี หรือการอธิบายใดๆ. อันที่จริงแล้ว มันได้เสนอคำอธิบายต่างๆ เกี่ยวกับพื้นที่ เวลา รูปร่างที่ประสบ และความสัมพันธ์ของมนุษย์ดังที่เราอยู่กับมันแทน

ในหลายๆ สาขาวิชา ปรากฏการณ์วิทยาได้ถูกใช้ประโยชน์ เพื่อผลิตความรู้สังคมวิทยาเชิงปรากฏการณ์วิทยา(phenomenological sociology) (Schutz), จิตวิทยาบำบัดเชิงปรากฏการณ์วิทยา หรือจิตเวชศาสตร์(phenomenological psycho-therapy or psychiatry) (Van den Berg), จิตวิทยาเชิงปรากฏการณ์วิทยา(phenomenological psychology) (Merleau-Ponty), ฯลฯ. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านการศึกษา ปรากฏการณ์วิทยาได้ให้ดอกออกผลทางด้านคุรุศาสตร์เชิงปรากฏการณ์วิทยา(phenomenological pedagogy) ของ Langeveld, Beets, Beekman ในเนเธอร์แลนด์ และในการปรับทิศทางงานเขียนต่างๆ ทางปรัชญาการศึกษาไปเป็นอันมาก ของ Greene และ Vandenberg ในอเมริกาเหนือ

reduction - การลดทอน
มันเป็นไปไม่ได้ที่จะปฏิบัติการด้วยระเบียบวิธีปรากฏการณ์วิทยา โดยปราศจากความเข้าใจความหมายและการมีนัยสำคัญเกี่ยวกับการลดทอน(reduction). "การลดทอน"เป็นศัพท์เชิงเทคนิคที่อธิบายถึงอุปกรณ์ทางด้านปรากฏการณ์วิทยา ซึ่งยินยอมให้เราค้นพบสิ่งที่ Merleau-Ponty เรียกว่า การขึ้นๆ ลงๆ เองตามธรรมชาติของโลกชีวิต(the spontaneous surge of the lifeworld). จุดประสงค์ของการลดทอนก็คือ เพื่อบรรลุถึงความเชื่อมโยงโดยตรงและมีมาแต่เดิมกับโลกอีกครั้ง ดังที่เราประสบกับมัน มากกว่าที่เรามีแนวความคิดหรือมโนคติเกี่ยวกับมัน. (ศัพท์คำว่า"การลดทอน"(reduction) ได้รับมาจากคำว่า re-ducere, นำกลับไป - ย้อนกลับ)

แต่การค้นพบโลกชีวิตก่อนการไตร่ตรอง โดยอาศัยการลดทอน มักจะอยู่เหนือความจริงธรรมชาติของโลกชีวิต(transcends the lifeworld)เสมอ. การเชื่อมโยงโดยตรงหรือมีมาแต่เดิม Merleau-Ponty กล่าวว่า ถูกประสบในชั่วขณะหนึ่งของความหมายดำรงอยู่, การเต็มไปด้วยความหมาย(meaningfulness). ดังนั้น วิธีการการลดทอนจึงถูกให้ความหมาย คือการนำเอาแง่มุมต่างๆ ของความหมายที่เป็นส่วนหนึ่งของปรากฏการณ์เกี่ยวกับโลกชีวิตของเราเข้ามาสู่ความใกล้ชิด(nearness).

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มันมีเป้าหมายที่จะนำไปสู่การโฟกัสความเป็นหนึ่งเดียวกับปรากฏการณ์สิ่งเฉพาะ(the particular phenomenon)ซึ่งเราถูกทำให้มุ่งไป(หรือถูกกำหนด). มันจะเป็นการผิดพลาดหากมองว่าการลดทอนคือขั้นตอนหรือกระบวนการอันหนึ่ง ที่เราควรจะใช้กับปรากฏการณ์ที่กำลังถูกวิจัย. ปฏิบัติการทางด้านมนุษยศาสตร์ไม่เคยเป็นเรื่องง่ายๆ เกี่ยวกับขั้นตอนหรือกระบวนการ. การลดทอนเป็นการอ้างอิงถึงความสนใจเอาใจใส่มากกว่า. การเข้าถึงความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายหนึ่งเดียวหรือความหมายลักษณะเฉพาะ และการมีนัยสำคัญของบางสิ่ง เราต้องครุ่นคิดกับมันโดยการปฏิบัติอย่างสนอกสนใจไตร่ตรองเต็มที่

ศัพท์คำว่า"การลดทอน"(reduction) สามารถน้อมนำไปผิดๆ ได้ หากการลดทอน - ความทะยานอยากที่จะทำการไตร่ตรองเลียนแบบชีวิตที่ไม่ตอบโต้หรือสะท้อนกลับเกี่ยวกับความสำนึก - ในเชิงเหน็บแนม คือการประท้วงต่อลัทธิคตินิยมลดทอน(reductionism) ถ้ามันถูกทำความเข้าใจในฐานะที่เป็นนามธรรม, ตัดให้สั้นลง, ย่อลงมาได้. ดังนั้น การสะท้อนหรือการไตร่ตรองได้ถูกสมมุติคาดเดาสู่การเลียนแบบประสบการณ์ตรงที่ดำรงอยู่อย่างไร? แน่นอน การเอาอย่างหรือการเลียนแบบคือภาษา, และกระบวนการเลียนแบบถูกกระทำโดยผ่านงานเขียน. เจตนาของการเขียนก็คือผลิตภาพเหมือนหรือพรรณาตัวบท ที่สะท้อนชนิดต่างๆ ของความหมาย ที่เราดูเหมือนจะตระหนักรู้ในประสบการณ์ก่อนการสะท้อน(ก่อนการไตร่ตรอง)

การลดทอนอย่างสมบูรณ์ เป็นสิ่งซึ่งเป็นไปไม่ได้ เพราะโครงสร้างต่างๆ ของความหมายเกี่ยวกับประสบการณ์สะท้อนไม่เคยสามารถเลียนแบบประสบการณ์ที่ดำรงอยู่ได้อย่างสมบูรณ์ จากสิ่งซึ่งพวกมันถูกลดทอนลง. แต่อย่างไรก็ตาม เทคนิคต่างๆเกี่ยวกับการสะท้อนกลับทางปรากฏการณ์วิทยา มีเป้าหมายที่จะก่อให้เกิดสภาวะหนึ่งหรือเงื่อนไขเกี่ยวกับ"การเห็น"เชิงปรากฏการณ์วิทยา หรือความเข้าใจนั้นที่เป็นประสบการณ์อันหนึ่งของความหมายบริบูรณ์หรือความรู้สึกสัมผัส มากเท่าๆ กับมันเป็นรูปแบบหนึ่งของความรู้. ดังนั้น การลดทอนจึงเป็นความสนใจเอาใจใส่ในเชิงสะท้อนอันหนึ่งที่จะต้องได้รับการปฏิบัติในคำถามหรือข้อสงสัยต่างๆ สำหรับความเข้าใจอย่างชัดแจ้งเชิงปรากฏการณ์วิทยาต่อสิ่งที่เกิดขึ้น. ด้วยเหตุนี้ การลดทอนจึงไม่ใช่เพียงระเบียบวิธีวิจัยเท่านั้น แต่มันเป็นท่าทีเชิงปรากฏการณ์วิทยาด้วย ที่จะต้องถูกรับมาโดยทุกๆ คนที่ปรารถนาจะมีส่วนร่วมในคำถามหรือข้อสงสัยต่างๆ ที่โครงการนั้นดำเนินตาม

อีกนัยหนึ่ง ความหมายและความเข้าใจเชิงปรากฏการณ์วิทยาต้องได้รับการสร้างขึ้นอย่างสม่ำเสมอ อีกครั้งโดยนักเขียนทั้งหลายและผู้อ่านเกี่ยวกับตัวบทต่างๆ ทางปรากฏการณ์วิทยา. วรรณกรรมได้บรรจุการสืบค้นและคำอธิบายทางปรัชญามากมายเอาไว้ ซึ่งสามารถทำให้ความหมายชัดเจนขึ้นมาได้ เกี่ยวกับ epoche (การหยุดภาพ) และการลดทอน(reduction) ที่สลับซับซ้อนและสับสน. และไม่ต้องประหลาดใจในมุมมองเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่โครงการเกี่ยวกับปรากฏการณ์วิทยา สามารถถูกทำความเข้าใจได้ในหลากหลายวิธีการ. สำหรับวัตถุประสงค์ของการทำให้เข้าใจง่ายๆ ในความแตกต่างธรรมดาบางอย่างอาจสร้างขึ้นมาได้. ระดับของ epoche (การหยุดภาพ) ที่มีอยู่ 5 ระดับ (bracketing or suspension of belief) และการลดทอน (the reduction) [reflection] สามารถได้รับการจำแนกสำหรับคุณค่าคัดสรรมาจากแหล่งต่างๆ ของมัน (their eclectic value) และความเป็นประโยชน์ในด้านระเบียบวิธี นั่นคือ

- ความสงสัย (wonder) (heuristic reduction - การไตร่ตรอง สนใจ ค้นคว้า แก้ปัญหา),
- การเปิดใจ (openness) (hermeneutic reduction - การไตร่ตรองตีความ),
- การทำให้เป็นรูปธรรม (concreteness) (phenomenological reduction - การไตร่ตรองเชิงปรากฏการณ์วิทยา ),
- ความไม่แน่นอน ความเป็นไปได้ (universality in contingency) (eidetic reduction - การไตร่ตรอง
ที่เหมือนจริง ที่เป็นรูปธรรมธรรมชาติอันบริสุทธิ์), และ
- ความมีเหตุผลที่ยืดหยุ่น (flexible rationality) (methodological reduction - การไตร่ตรองในด้านระเบียบวิธี)

ในกระบวนการสืบค้น วิธีการเหล่านี้จะถูกกระทำเช่นดังกับในวงดนตรีคอนเสริท. แต่เราสามารถเกี่ยวข้องกับพวกมันในลักษณะแยกๆ กันได้ ขณะเดียวกันก็รักษาความสมบูรณ์เป็นหนึ่งเดียวของโครงปรากฏการณ์วิทยาที่ใหญ่กว่าเอาไว้ในการพิจารณา

semiotics - สัญวิทยา (สัญศาสตร์)
สัญวิทยา (Semiotics-สัญศาสตร์) คือศาสตร์ของเครื่องหมาย ("semiotics" in North America and "semiology" in France, Europe) เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับลัทธิโครงสร้างนิยมมาใช้ประโยชน์กับการศึกษาทางด้านอักษรศาสตร์, มานุษยวิทยาเชิงความหมาย(semantic anthropology) ฯลฯ. ใน In The New Science, Vico (1725) เสนอว่า มนุษย์สร้างสรรค์ตัวตนและโลกของพวกเขาเอง (ในเชิงลึกลับ, ลักษณะของบทกวี, ในเชิงสัญลักษณ์) โดยการการสร้างสังคม, สถาบันต่างๆ, และโลกขึ้นมา ฯลฯ, ด้วยภาษาของโครงสร้างจิตใจ

ธรรมชาติที่เป็นจริงของสิ่งต่างๆ ได้รับการมองโดยไม่ได้วางอยู่ในสิ่งต่างๆ ด้วยตัวของมันเอง แต่ในความสัมพันธ์กับเรา ซึ่งเราได้ประกอบสร้างขึ้น และถัดจากนั้นจึงรับรู้พวกมัน. นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสส์ Ferdinand de Saussure ได้เสนอแนวคิดที่ว่า ความหมายของคำ (เครื่องหมาย - sign) ไม่ได้ขึ้นอยู่หรือความสัมพันธ์กับคำๆ นั้น แต่ค่อนข้างขึ้นอยู่กับความหมาย หรือเรียกว่า signified (ความหมายสัญญะ), ซึ่งมีคุณสมบัติในเชิงสัมพัทธ์ที่เป็นไปตามอำเภอใจของความต่างระหว่าง signifiers (ตัวสัญญะ) (Ray, 1984).

ตัวบทหรือเครื่องหมายต่างๆ (texts or signs) และความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของมันคือประเด็นของการศึกษาสำหรับสัญศาสตร์. เรื่องของสัญศาสตร์ ไม่ใช่เรื่องของประสบการณ์ที่ไร้เดียงสา บริสุทธิ์หรือเดิมๆ เกี่ยวกับโลกที่เป็นจริงภายนอก อันที่จริง เราได้ใส่ระหัส(encode)ประสบการณ์ของเราเกี่ยวกับโลกเพื่อที่ว่าเราอาจจะชัดเจนและเคยชินเกี่ยวกับมัน ด้วยเหตุนี้ มันจึงไม่ใช่ตัวบทที่เป็นกลางแต่อย่างใด. การใส่ระหัสนี้ได้ผลิตแบบฉบับหรือสไตล์บางอย่างขึ้นมา ดังที่ Barthes ได้สรุปว่า งานเขียนคือสไตล์/แบบฉบับทั้งหมด, เป็นกิจกรรมตามธรรมเนียมปฏิบัติสูงมาก (Sontag, 1982). การอ่านและการเขียนต่างๆ ในเชิงวิพากษ์ของ Barthes อาจได้รับการตีความในฐานะที่เป็นการรื้อสร้าง(deconstructive) เพื่อที่จะเผยเบื้องหลัง(มายาคติ)บางอย่างออกมา ยกตัวอย่างเช่น สังคมสมัยใหม่ได้เข้าระหัสความจริงในภาพของตัวมันเองอย่างไร. และเมื่อความจริงถูกใส่ระหัสเช่นนั้น มันจึงได้สร้างการดำเนินเรื่องอันหนึ่งซึ่งเชื่อว่า มันมีความจริงเพียงความจริงเดียวที่เป็นไปได้

จากมุมมองของสัญศาสตร์ พฤติกรรมหรือปฏิบัติทางสังคมใดๆ ก็ตาม ล้วนมีความหมายสัญญะ(signifieds) และอาจได้รับการอ่านในฐานะที่เป็นตัวหนังสือ(a text - ตัวบทหนึ่ง), ในฐานะภาษา. ยกตัวอย่างเช่น ไม่มีใครเพียงแค่พูดๆ. ทุกๆ การแสดงออกของคำพูด แสดงความซับซ้อนอันหนึ่งของสาร โดยผ่านภาษาท่าทาง, สำเนียงเสียงสูงต่ำ, การแต่งกาย, ท่าทาง, น้ำหอม, ทรงผม, สีหน้า, บริบทสังคมแวดล้อม ฯลฯ ส่วนคำที่ใช้ก็แฝงด้วยนัยยะของภาษาที่อยู่เหนือ ข้างใต้ ข้อความใต้บรรทัด ความหมายข้างเคียง และกระทั่งขัดแย้งกับสิ่งที่คำนั้นแสดงออกมาจริงๆ

ในทำนองเดียวกัน ทุกสิ่งรายรอบตัวเราได้สื่อสารบางสิ่งอย่างในเชิงระบบซึ่งล้วนมีความหมายต่อเรา และด้วยเหตุนี้ เราสามารถกล่าวได้ว่า"โลกก็คือตัวหนังสือหรือตัวบทนั่นเอง"(the world as a text.) Derrida ได้ให้การเข้าถึงหรือวิธีการศึกษาที่มีอิทธิพลต่อสัญศาสตร์เกี่ยวกับการเขียน. ในเรื่อง grammatology (science of writing - ศาสตร์ของการเขียน) ของเขา เขาได้ให้เหตุผลว่า logocentrism (*) ของเรา และแนวโน้มของเราในการปฏิบัติหรือจัดการกับภาษาพูดเป็นสิ่งที่มาก่อนภาษาเขียน ซึ่งผูกมัดเรากับ"อภิปรัชญาของการมีอยู่"ที่ผิดพลาดของกันและกันและกับสิ่งต่างๆ

(*) logocentrism 1. A structuralist method of analysis, especially of literary works, that focuses upon words and language to the exclusion of non-linguistic matters, such as an author's individuality or historical context. 2. Excessive attention paid to the meanings of words or distinctions in their usage.

ตามความคิดของ Derrida ความเชื่อนี้ใน"การมีอยู่-ปรากฏ"(presence) แสดงถึงความหวังที่ใฝ่ฝัน / ปรารถนา, ทั้งๆ ที่ประสบการณ์ของเรามักจะเป็นสิ่งที่เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ไม่สมบูรณ์เสมอ ซึ่งนั่นคือเหตุผลที่ยืนยันถึงการมีอยู่ของความเป็นองค์รวม(wholeness), แนวคิดพื้นฐานที่สุดเกี่ยวกับความเป็นหนึ่ง(one-ness), แก่นแท้, รากฐาน, หรือความศรัทธาในความจริงภววิสัย(essence, ground, or a faith in objective reality). ดังเช่นการตีความ-ผู้อ่าน Derrida ได้ทำการวิเคราะห์ในลักษณะรื้อสร้างเกี่ยวกับตัวบท นั่นคือ การอ่านซ้ำ (a double reading) ซึ่งมีผลเกี่ยวกับการแสดงให้เห็นถึงหนทางต่างๆ ซึ่ง ยกตัวอย่างเช่น ข้อถกเถียงเกี่ยวกับตัวบทอันหนึ่ง ที่เรียกร้องหลักฐานต่างๆ ในตัวมันเองสู่คำถาม (the argument of a text calls its own premises into question).


 

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน


นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ หรือถัดจากนี้สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

คิดต่างในเชิงสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ดีกว่าและเสรีภาพ
03 Febuary 2008
Free Documentation License
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
กล่าวโดยทั่วไป ปรากฏการณ์วิทยาทางสถาปัตยกรรม ชื่นชมและสนับสนุนวิธีการออกแบบที่มีความเป็นส่วนตัวสูงและเป็นการมองลึกเข้าไปภายใน. แม้ว่าบรรดานักปรากฏการณ์วิทยาส่วนมาก ยกตัวอย่างเช่น Norberg-Schulz, ต่างวิพากษ์วิจารณ์สไตล์สถาปัตยกรรมในยุคโมเดิร์น และสไตล์นานาชาติ(the International Style)โดยเฉพาะ, แต่บรรดาสถาปนิกที่ปรับทิศทางไปในเชิงปรากฏการณ์วิทยา ก็ชื่นชอบกับความเรียบง่าย เกลี้ยงเกลาในเชิงเรขาคณิต มากกว่าความสลับซับซ้อนหรือโครงสร้างลักษณะอินทรีย์ (Phenomenology [architecture])
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
home

สำหรับบทความแปลและเรียบเรียงนี้ นำมาจากต้นฉบับภาษาอังกฤษเรื่อง 1. What is Phenomenology? และเรื่อง
2. Phenomenology โดยเรื่องแรกนำมาจาก เว็บไซต์ www.phenomenologycenter.org/phenom.htm
ส่วนเรื่องหลังนำมาจากสารานุกรม Wikipedia ในหัวข้อ phenomenology เป็นการเสนอความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสตร์"ปรากฎการณ์วิทยา" ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นฐานข้อมูล
ในการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในทางวัตถุ และเหตุการณ์ต่างๆ ได้ โดยนำเอาแนวคิดและวิธีการปรากฏการณ์วิทยาไปใช้เพื่อค้นหาแก่นแท้ของความจริงที่อยู่เบื้องหลัง หรือลึกลงไปใต้ผิวหน้าของปรากฏการณ์. ระเบียบวิธีข้างต้นสามารถใช้ควบคู่ไปกับทฤษฎีวิพากษ์(Critical theory) และทฤษฎีรื้อสร้าง(Deconstruction) เพื่อเข้าถึงความจริงซึ่งเป็นแก่นแท้ หรือรากเหง้าของสิ่งที่เผชิญอยู่ตรงหน้า

บทแปลและเรียบเรียงนี้ เป็นเรื่องที่ต้องใช้ความคิดไตร่ตรองด้วยความพยายาม บางส่วนต้องอ่านทบทวนหลายครั้ง และทำบันทึกความเข้าใจควบคู่กันไป จึงจะสามารถเก็บความและกระจ่างในความรู้ที่บรรดานักปรัชญานำเสนอได้ อีกทั้งผู้อ่านจะพบกับคำศัพท์เฉพาะทางเกี่ยวกับปรากฏการณ์วิทยา ซึ่งผู้แปลและเรียบเรียงพยายามใช้คำไทยมาบรรจุควบคู่กับคำศัพท์ในภาษาอังกฤษ แต่อย่างไรก็ตาม คำไทยที่นำมาประยุกต์ใช้อาจไม่ตรงกับความหมายหรือแนวคิดเดิมทางปรัชญาที่นำเสนอ ทำให้ผู้อ่านอาจเข้าใจคลุมเครือหรือคลาดเคลื่อนไปจากสาระสำคัญเดิมได้