โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๔๗๗ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๑ (Febuary, 02, 02, 2008) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

02-02-2551

Phenomenology
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com

 

 

ฐานข้อมูลปรัชญา สำหรับสารานุกรมหลังสมัยใหม่ ม.เที่ยงคืน
Phenomenology: ๒๒ หน้า เกี่ยวกับปรากฏการณ์วิทยาเบื้องต้น

สมเกียรติ ตั้งนโม: แปลและเรียบเรียง

หลักสูตรสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


ต้องการติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๔๗๗
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๒ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ฐานข้อมูลปรัชญา สำหรับสารานุกรมหลังสมัยใหม่ ม.เที่ยงคืน
Phenomenology: ๒๒ หน้า เกี่ยวกับปรากฏการณ์วิทยาเบื้องต้น

สมเกียรติ ตั้งนโม: เรียบเรียง

หลักสูตรสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

[1]. ปรากฎการณ์วิทยาคืออะไร?
From: http://www.phenomenologycenter.org/phenom.htm

สำหรับผู้คนจำนวนมาก คำว่า"phenomenology" หรือ"ปรากฎการณ์วิทยา" เป็นคำยากคำหนึ่ง กระทั่งการออกเสียง และผู้คนทั้งหลายเมื่อได้ยินศัพท์คำนี้ครั้งแรก มักจะสงสัยว่ามันหมายถึงอะไร? ความพยายามที่จะตอบคำถามดังกล่าว เบื้องต้นสำหรับในที่นี้ จะเป็นเรื่องของระเบียบวิธีการของมัน แต่ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ซึ่งจะสะท้อนถึงความรู้ต่างๆ ที่ศึกษาได้ในงานเขียน ตำรา และสารานุกรมต่างๆ เกี่ยวกับปรากฎการณ์วิทยา, ซึ่งได้บรรจุแหล่งอ้างอิงมากมาย รวมถึงบันทึกรายละเอียดในสาขาวิชา และผู้คนในแวดวง ตลอดทั้งแนวโน้มหลายหลากเข้ามาด้วย ฯลฯ. สำหรับช่วงแรกของบทความนี้ จะเสนอแง่มุมเกี่ยวกับปรากฎการณ์วิทยาใน 4 หัวข้อด้วยกัน คือ

1. ลักษณะการยอมรับอย่างกว้างๆ 7 ประการเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องปรากฎการณ์วิทยา
2. ในช่วง 100 ปีของปรากฎการณ์วิทยาที่ศาสตร์นี้ได้แพร่หลายสู่นานาชาติและหลายสาขาวิชา
3. แนวโน้มและขั้นตอนพัฒนาเกี่ยวกับปรากฎการณ์วิทยาแนวปรัชญา จวบจนปัจจุบัน
4. ปรากฎการณ์วิทยาในคริสตศตวรรษที่ 21

1. ลักษณะการยอมรับอย่างกว้างๆ ๗ ประการเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องปรากฎการณ์วิทยา
งานวิจัยที่ปฏิบัติกันในด้านปรากฎการณ์วิทยา ส่วนใหญ่แล้ว มีลักษณะที่เป็นไปในเชิงบวกและเชิงลบ ดังต่อไปนี้

1.1 บรรดานักปรากฎการณ์วิทยาทั้งหลายมีแนวโน้มคัดค้าน หรือต่อต้านการยอมรับเนื้อหาสาระต่างๆ ที่ไม่อาจสำรวจตรวจสอบได้ และรวมถึงระบบที่ยิ่งใหญ่ต่างๆ (grand systems) ที่สร้างขึ้นในความคิดแบบคาดเดา(speculative thinking) ซึ่งไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูล

1.2 บรรดานักปรากฎการณ์วิทยาทั้งหลายมีแนวโน้มคัดค้าน หรือต่อต้านลัทธิธรรมชาตินิยม (รวมถึง ลัทธิวัตถุนิยม และปฏิฐานนิยมด้วย) ซึ่งโลกทัศน์ดังกล่าวเจริญงอกงามขึ้นจากวิทยาศาสตร์ธรรมชาติสมัยใหม่และเทคโนโลยี ที่ได้แผ่ขยายจากยุโรปเหนือมานับตั้งแต่ยุคเรอเนสซองค์ (ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ)

1.3 กล่าวในเชิงบวก, บรรดานักปรากฎการณ์วิทยาทั้งหลายมีแนวโน้มมุ่งสู่ความรู้ความเข้าใจที่มีเหตุผลถูกต้อง (และรวมถึงการประเมินและการปฏิบัติการบางอย่าง) ด้วยการอ้างอิงถึงสิ่งที่ Edmund Husserl เรียกว่า Evidenz (หลักฐาน) ซึ่งเป็นการรับรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระในตัวของมันเอง ที่ได้เปิดเผยออกมาอย่างชัดเจน และในหนทางที่เพียงพอสำหรับบางสิ่งตามชนิดของมัน

1.4 บรรดานักปรากฎการณ์วิทยาทั้งหลายมีแนวโน้มเชื่อว่า ไม่เพียงวัตถุต่างๆ ในโลกธรรมชาติและวัฒนธรรม แต่ยังรวมถึงวัตถุต่างๆ ในเชิงอุดมคติ, อย่างเช่น จำนวนตัวเลขทั้งหลาย, และกระทั่งความสำนึกเกี่ยวกับชีวิตในตัวของมันเอง เป็นสิ่งซึ่งสามารถทำให้ชัดเจนได้ และด้วยเหตุนี้จึงสามารถรับรู้ได้

1.5 บรรดานักปรากฎการณ์วิทยาทั้งหลายมีแนวโน้มยึดถือว่า การสืบสวนควรเพ่งความสนใจลงไปยังสิ่งที่อาจได้รับการเรียกว่า"การเผชิญหน้า"(encountering) ดังที่มันถูกกำกับให้มุ่งตรงไปยังวัตถุต่างๆ และ, ในเชิงที่เกี่ยวพันกับ"วัตถุทั้งหลายดังที่พวกมันถูกพบ" (ระบบคำศัพท์นี้เน้นไปที่ปัญหาในลักษณะทวิลักษณ์ และวิธีการศึกษาในลักษณะสะท้อนกลับ)

1.6 บรรดานักปรากฎการณ์วิทยาทั้งหลายมีแนวโน้มในการยอมรับบทบาทของการอธิบาย ในกรณีเกี่ยวกับความเป็นสากล, สิ่งที่ดำรงอยู่ก่อน(a priori) (*), หรือ "ลักษณะการอธิบายแบบที่ปรากฏเป็นจริง"(eidetic) [Of visual imagery of almost photographic accuracy] ในฐานะที่มาก่อนการอธิบายโดยอาศัยมูลเหตุ, วัตถุประสงค์, หรือพื้นฐานต่างๆ

(*)The terms "a priori" and "a posteriori" are used in philosophy to distinguish between deductive and inductive reasoning, respectively. Attempts to define clearly or explain a priori and a posteriori knowledge are part of a central thread in epistemology, the study of knowledge. Since the definitions and usage of the terms have been corrupted over time and therefore vary between fields, it is difficult to provide universal definitions of them.

One rough and oversimplified explanation is that a priori knowledge is independent of experience, while a posteriori knowledge is dependent on experience. In other words, statements that are a priori true are tautologies. Economists sometimes use "a priori" to describe a step in an argument the truth of which can be taken as self-evident. "A posteriori", on the other hand, implies that an argument must be based upon empirical evidence. (http://en.wikipedia.org/wiki/A_priori_and_a_posteriori_%28philosophy%29)

1.7 บรรดานักปรากฎการณ์วิทยาทั้งหลายมีแนวโน้มที่จะถกเถียง ไม่ว่าในเรื่อง epoche, ปรากฎการณ์วิทยาเหนือธรรมชาติ(transcendental phenomenology), และในเรื่อง การลดทอน(reduction - lead back) (*) ดังที่ Husserl เรียก ซึ่งเป็นประโยชน์ หรือกระทั่งเป็นไปได้
(*) ศัพท์ต่างๆ เหล่านี้ สามารถอ่านเพิ่มเติม เพื่อความเข้าใจได้ในภาคคำศัพทของบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ 1478

2. ในช่วง ๑๐๐ ปี ของปรากฎการณ์วิทยาที่แพร่ขยายสู่นานาชาติและหลายสาขาวิชา
ปรากฏการณ์วิทยาเริ่มต้นขึ้นในการไตร่ตรองเชิงปรัชญาของ Edmund Husserl ในเยอรมนี ช่วงระหว่างกลางทศวรรษที่ 1890s และด้วยเหตุนี้ นับถึงปัจจุบันมันจึงมีอายุมากว่า 100 ปี. ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ปรากฏการณ์วิทยาได้แพร่กระจายไปในญี่ปุ่น, รัสเซีย, และสเปน และแพร่จากงานทางปรัชญาไปสู่สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์

- ช่วงระหว่างทศวรรษที่ 1920s ปรากฏการณ์วิทยาได้แผ่ไปถึงออสเตรเลีย, ฝรั่งเศส, ฮังการี, เนเธอร์แลนด์และฟลานเดอร์ส, โปแลนด์, สหรัฐอเมริกา และมีการวิจัยทางด้านศาสตร์การสื่อสาร(communicology)(*) (ในขณะนั้นเรียกว่า symbolism), ศึกษาศาสตร์, งานทางดนตรี และศาสนา

(*) Communicology is the study of the art and science of communication. It is specifically related to the advertising, marketing and media industry. Communicology refers to the myriad ways a marketing campaign connects a brand (or service) to a consumer via an engaging communication strategy. Someone who studies Communicology is called a Communicologist.

- ช่วงระหว่างทศวรรษที่ 1930s ปรากฎการณ์วิทยาได้แพร่ขยายไปสู่เชคโกสโลวาเกีย, อิตาลี, เกาหลี, ยูโกสลาเวีย และงานวิจัยทางด้านสถาปัตยกรรม, วรรณคดี, และการละคร. หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ปรากฏการณ์วิทยาได้แผ่ขยายไปยังโปรตุเกส, ประเทศแถบสแกนดินเนเวีย, แอฟริกาใต้, และยังมีงานวิจัยทางด้านชาติพันธุ์, เพศสภาพ, การเมือง, และภาพยนตร์

- ในช่วงทศวรรษที่ 1960 และ 1970s ปรากฎการณ์วิทยาได้แพร่ขยายไปยังแคนาดา, จีน, และอินเดีย ส่วนงานวิจัยทางปรากฏการณ์วิทยาในช่วงดังกล่าว เกี่ยวข้องกับนาฎกรรม การร่ายรำ(dance), ภูมิศาสตร์, กฎหมาย, และจิตวิทยา

- ช่วงทศวรรษที่ 1980s และ 1990s ปรากฎการณ์วิทยาได้แพร่ไปยังสหราชอาณาจักร และมีงานวิจัยเกี่ยวข้องกับนิเวศวิทยา, ชาติพันธุ์วิทยา, การแพทย์และการพยาบาล

ในทัศนะเกี่ยวกับพัฒนาการอย่างต่อเนื่องของปรากฎการณ์วิทยา ที่แพร่สู่สาขาวิชาต่างๆ เช่นเดียวกับที่มันแผ่ขยายความรู้ข้ามโลก อาจกล่าวได้ว่า ปรากฏการณ์วิทยาเป็นขบวนการทางปรัชญาที่มีนัยสำคัญมากที่สุดในคริสตศตวรรษที่ 20

3. แนวโน้มและขั้นตอนต่างๆ ในพัฒนาการปรากฎการณ์วิทยาเชิงปรัชญา จวบจนปัจจุบัน
บทบาทสำคัญต่อเนื่อง 4 ประการของปรากฏการณ์วิทยา (นั่นคือ ปรากฏการณ์วิทยาแนวสัจนิยม, ปรากฏการณ์วิทยาแนวประกอบสร้าง, ปรากฏการณ์วิทยาแนวอัตถิภาวนิยม, ปรากฏการณ์วิทยาแนวอัตถปริวรรตศาสตร์[ตีความ]) บางครั้งไปซ้อนทับกับแนวโน้มและขั้นตอนพัฒนาการทางปรัชญาต่างๆ บนดาวเคราะห์ดวงนี้ ซึ่งสามารถจำแนกได้ในรอบศตวรรษ และรวมถึงความเคลื่อนไหวในลักษณะหลากหลายวิชาการ (multidisciplinary movement) ของมันที่เรียกว่าปรากฏการณ์วิทยา, เหล่านี้มีประเด็นที่ขยายออกไปในปัญหาต่างๆ ที่ไปเกี่ยวข้องกับเรื่องกว้างๆ ต่อไปนี้คือ

ขบวนการปรากฏการณ์วิทยา เริ่มต้นขึ้นโดย Husserl ในงานเขียนเรื่อง Logische Untersuchungen (Logical Investigations ) (1900-1901). งานชิ้นนี้มีชื่อเสียงมากสุดเพราะมันได้ไปโจมตีแนวคิดจิตวิทยานิยม(psychologism) (*) ซึ่งเป็นความพยายามที่ดูดซับเรื่องตรรกะเข้ามาสู่จิตวิทยาเชิงประจักษ์. นอกจากเรื่องตรรกะ งานชิ้นนี้ยังสะท้อนความสนใจในคณิตศาสตร์, ภาษา, การรับรู้, และแบบฉบับอันหลากหลายของ"การนำเสนอใหม่อีกครั้ง"(re-presentation) (ยกตัวอย่างเช่น ความคาดหวัง, จินตนาการ, และความทรงจำ) และยังอธิบายว่า วัตถุต่างๆ ในเชิงอุดมคติ อาจได้รับการสร้างขึ้นมาให้ปรากฏและรับรู้ได้อย่างไร

(*)Psychologism is a generic type of position in philosophy according to which psychology plays a central role in grounding or explaining some other, non-psychological type of fact or law. The most common types of psychologism are logical psychologism and mathematical psychologism.

เนื่องจากการสะท้อนของมัน, ทำให้ปรากฏ, และการอธิบายถึงการเผชิญหน้าต่างๆ กับวัตถุทั้งหลายที่ประสบ, การเริ่มต้นของปรากฏการณ์วิทยา บางครั้ง ได้รับการสร้างอัตลักษณ์ขึ้นในฐานะที่เป็น"ปรากฏการณ์วิทยาเชิงพรรณา". ถ้านี่คือลำต้น ดังนั้น มันจึงแผ่มีกิ่งก้านใหญ่ทั้ง 4 ขยายสาขาออกไปจากตัวมันในฐานะที่เป็นต้นไม้ของปรากฏการณ์วิทยา (the tree of phenomenology) ที่เจริญงอกงามดังต่อไปนี้: (เป็นไปได้ที่สาขาย่อยลงมา และกระทั่ง กิ่งอ่อน อาจได้รับการจำแนกเข้ามาอยู่ในภาพนี้ด้วย)

(1) ปรากฏการณ์วิทยาแนวสัจนิยม (Realistic phenomenology) เน้นการค้นหาแก่นสารที่เป็นสากลของวัตถุ / สสารต่างๆ อย่างหลากหลาย, รวมไปถึงกิจกรรมมากมายของมนุษย์, แรงกระตุ้น, และตัวตนต่างๆ. ในแนวโน้มนี้ Adolf Reinach ได้เพิ่มเติมปรัชญาเกี่ยวกับกฎหมายเข้ามาในวาระปรากฏการณ์วิทยา. Max Scheler เพิ่มเรื่องจริยศาสตร์, ทฤษฎีคุณค่า, ศาสนา และมานุษยวิทยาเชิงปรัชญาเข้ามา. ส่วน Edith Stein ได้เพิ่มปรัชญาเกี่ยวกับมนุษยศาสตร์ และเมื่อไม่นานมานี้ได้รับการจำแนกเป็นงานทางด้านเพศสภาพ และ Roman Ingarden ได้เพิ่มเรื่องสุนทรียศาสตร์, สถาปัตยกรรม, ดนตรี, วรรณคดี, และภาพยนตร์เข้ามา

Alexander Pfander, Herbert Spiegelberg, และปัจจุบัน Karl Schuhmann และ Barry Smith ถือเป็นผู้นำรุ่นต่อมาในการสืบทอดเกี่ยวกับปรากฎการณ์วิทยาแนวสัจนิยมนี้ ซึ่งเฟื่องฟูรุ่งเรืองในเยอรมนีตลอดช่วงทศวรรษ 1920s จวบจนกระทั่งทุกวันนี้

(2) ปรากฏการณ์วิทยาแนวประกอบสร้าง (Constitutive phenomenology) เป็นรากฐานตำราเรื่อง Ideen zu einer reinen Phenomenologie und phenomenologischen Philosophie I ของ Husserl ในปี 1913. ผลงานชิ้นนี้ได้ขยายขอบเขตของเขาไปสู่ปรัชญาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ซึ่งได้สืบทอดต่อมาในนักคิดรุ่นหลังๆ โดย Oskar Becker, Aron Gurwitsch, และ Elisabeth Straker, แต่ส่วนใหญ่ได้รับการใส่ใจเกี่ยวกับการสะท้อนถึงวิธีการทางปรากฏการณ์วิทยา, โดยเฉพาะระเบียบวิธีเกี่ยวกับ epoche (การหยุดภาพ-แขวนลอย) ทางปรากฏการณ์วิทยาเหนือธรรมชาติ และคติลดทอน(reduction)

กระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการยอมรับการแขวนลอยสถานะก่อนกำหนดของชีวิตสำนึก ในฐานะบางสิ่งที่ดำรงอยู่ในโลก และได้รับการแสดงออกเพื่อที่จะทำให้เกิดรากฐานการเห็นพ้องต้องกันอย่างมั่นคงที่สุดสำหรับโลก และเป็นวิทยาศาสตร์เชิงบวกเกี่ยวกับมัน. การใช้ประโยชน์เกี่ยวกับวิธีการนี้ได้วางปรากฏการณ์วิทยาแนวประกอบสร้างลงในขนบจารีตสมัยใหม่ ที่ย้อนกลับไปอย่างน้อยที่สุดถึง Kant และได้ให้อัตลักษณ์ในงานที่เหลือของ Husserl.

นอกจากที่เอ่ยนามแล้ว, Alfred Schutz, J.N. Mohanty, Thomas M. Seebohm, และ Robert Sokolowski ได้วิพากษ์วิจารณ์ และยังคงสืบทอด"ปรากฏการณ์วิทยาแนวประกอบสร้าง"นี้ต่อมา

(3) ปรากฏการณ์วิทยาแนวอัตถิภาวนิยม (Existential phenomenology) บ่อยครั้งได้รับการติดตามร่องรอยย้อนกลับไปถึง Sein und Zeit ในปี 1927 ของ Martin Heidegger, ซึ่งเป็นโครงการเกี่ยวกับการนำเอาวิธีการวิเคราะมนุษย์มาใช้ในฐานะที่เป็นหนทางสู่ภววิทยารากฐาน(fundamental ontology) ซึ่งพ้นไปจากภววิทยาอาณาบริเวณต่างๆ (regional ontologies) ที่ถูกอธิบายโดย Husserl

Hannah Arendt, ซึ่งได้รับอิทธิพลจาก Karl Jaspers (เช่นเดียวกับ Heidegger), ดูเหมือนจะเป็นนักปรากฏการณ์วิทยาอัตถิภาวนิยมคนแรกหลังจาก Heidegger. มีการให้เหตุผลด้วยว่า ปรากฏการณ์วิทยาอัตถิภาวะนิยม ปรากฏขึ้นในญี่ปุ่นโดย Miki Kyoshi และ Kuki Shuzou ในงานช่วงต้นๆ ของพวกเขา ราวปลายทศวรรษที่ 20. แต่อย่างไรก็ตาม แง่มุมแบบที่สามและขั้นตอนในขนบจารีตของขบวนการทางความคิดดังกล่าว เกิดขึ้นในฝรั่งเศสเป็นส่วนใหญ่. Emmanuel Levinas ในช่วงแรกได้ตีความทั้ง Husserl และ Heidegger พร้อมกันและได้ช่วยนำเสนอปรากฏการณ์วิทยาสู่ฝรั่งเศส. ในช่วงเวลาดังกล่าว มีนักคิดหลายคนประกอบด้วย Gabriel Marcel และได้รับการนำในช่วงทศวรรษที่ 1940s และ 1950s โดย Simone de Beauvoir, Maurice Merleau-Ponty, และ Jean-Paul Sartre.

แนวโน้มลำดับที่สามนี้ได้ถูกนำไปเกี่ยวข้องกับหัวข้อต่างๆ อย่างเช่น การกระทำ, ความขัดแย้ง, ความปรารถนา, ความมีขอบเขตจำกัด(finitude), การกดขี่, และความตาย. Arendt มีส่วนสนับสนุนเรื่องของทฤษฎีการเมือง และปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับชาติพันธุ์, Beauvoir ได้ยกประเด็นปัญหาเกี่ยวกับเพศสภาพและคนสูงอายุขึ้นมา, Merleau-Ponty ยังคงมีการนำเอาจิตวิทยาเกสเทาท์(Gestalt psychology)มาใช้อย่างต่อเนื่อง ในการอธิบายเกี่ยวกับการรับรู้ และเรือนร่างที่ดำรงอยู่(ร่างที่มีชีวิต), และ Sartre ได้เพ่งความสนใจหรือโฟกัสลงไปในเรื่องอิสรภาพและงานทางวรรณกรรม

(4) ปรากฏการณ์วิทยาแนวอัตถปริวรรตศาสตร์ (Hermeneutical phenomenology - ปรากฎการณ์วิทยาแนวตีความ ) ส่วนใหญ่เกิดขึ้นมาจากวิธีการที่เริ่มต้นขึ้นในงานของ Heidegger เรื่อง Sein und Zeit, ซึ่งกล่าวถึงการดำรงอยู่ของมนุษย์เป็นเรื่องการตีความ( interpretative). การแสดงออกถึงแนวโน้มลำดับที่สี่นี้ ครั้งแรกปรากฏอยู่ในงานของ Hans-Georg Gadamer ในเรื่อง Platons dialektische Ethik (1931), และมันปรากฏตัวขึ้นมาอีกครั้งในช่วงแนวคิดสังคมนิยมแนวชาตินิยมของเยอรมนี( Germany's National-Socialist period) ด้วยงานของเขาเรื่อง Wahrheit und Methode (1960). ส่วนผู้นำความคิดนี้คนอื่นๆ ประกอบด้วย Paul Ricoeur, Patrick Heelan, Don Ihde, Graeme Nicholson, Joseph J. Kockelmans, Calvin O. Schrag, Gianni Vattimo, และ Carlo Sini.

ประเด็นดังกล่าวที่ได้มีการพูดถึงในปรากฏการณ์วิทยาแนวตีความ รวมถึงเรื่องเกี่ยวเนื่องทั้งหมดที่ถูกเพิ่มเติมเข้ามาสู่วาระนี้ ถือเป็นแนวโน้มและขั้นตอนพัฒนาซึ่งมีมาตั้งแต่ช่วงแรกๆ สิ่งที่แตกต่างออกไปคือ การเน้นในเรื่องการตีความหรือวิธีการในการแปลความหมาย. แนวโน้มนี้ยังได้รวมเอาบรรดานักวิชาการจำนวนมากทางด้านประวัติศาสตร์ปรัชญา และได้มีอิทธิพลอย่างกว้างขวางต่อมนุษยศาสตร์

ขณะที่ ปรากฏการณ์วิทยาแนวสัจนิยมและแนวประกอบสร้างเกิดขึ้น และเจริญเฟื่องฟูในเยอรมนี ก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และ ปรากฏการณ์วิทยาแนวอัตถิภาวนิยมได้แพร่กระจายออกจากฝรั่งเศสหลังสงครามโลกครั้งที่ 2, ปรากฏการณ์วิทยาแนวตีความ(hermeneutical phenomenology) ได้ปรากฏตัวขึ้นมาและมีการติดตามอย่างกระตือรือร้นมากในสหรัฐอเมริกา ช่วงระหว่างทศวรรษที่ 1970s และ 1980s.

4. ปรากฏการณ์วิทยาในคริสตศตวรรษที่ 21
โดยการล่มสลายของสหภาพโซเวียตและการติดต่อมายาวนานมากกับจารีตต่างๆ ของยุโรปตะวันออกเกี่ยวกับปรากฏการณ์วิทยา เช่นเดียวกับความสนใจที่งอกงามมาตลอดในละตินอเมริกาและเอเชีย อันที่จริงกับประเทศส่วนใหญ่ของโลก และในท้ายสุดกับการเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องในการเดินทางระหว่างประเทศและพัฒนาการของเครื่องมือสื่อสาร อย่างเช่นอินเตอร์เน็ต ประกอบกับปรากฏการณ์วิทยาแนวอรรถปริวรรตศาสตร์(ตีความ) ที่เฟื่องฟูในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเปิดทางให้กับยุคแห่งโลกของปรากฏการณ์วิทยา(planetary period of phenomenology)

เป็นเรื่องยากที่จะกล่าวถึง รูปลักษณ์ทางปรัชญาปรากฏการณ์วิทยาที่ได้ก้าวสู่ทศวรรษแรกของศตวรรษที่สอง. ผลงานตามแนวโน้มทั้ง 4 ที่ได้สถาปนาอย่างมั่นคงแล้ว แน่นอนจะยังคงดำเนินต่อไป แต่บางทีการเน้นหนักไปทางด้านมานุษยวิทยาเชิงปรัชญา (philosophical anthropology) และประเด็นปัญหาที่สัมพันธ์กัน อย่างเช่น นิเวศวิทยา, เพศสภาพ, ชาติพันธุ์วรรณา, ศาสนา, และเทคโนโลยี เช่นเดียวกับการไปเกี่ยวข้องกับเรื่องของสุนทรียศาสตร์อย่างต่อเนื่อง รวมถึงหัวข้อจริยศาสตร์, ปรัชญาเกี่ยวกับมนุษย์และวิทยาศาสตร์ธรรมชาติต่างๆ, และรัฐศาสตร์ ถือเป็นแนวโน้มสำคัญของปรากฎการณ์วิทยาในคริสตศตวรรษที่ 21

(constructed for CARP by Theodore Toadvine, Samuel J. Julian, Kirk M. Besmer, and Daniel J. Marcelle.) ผู้สนใจที่มาของข้อมูลต้นฉบับ http://www.phenomenologyonline.com/


[2]. Phenomenology: ปรากฏการณ์วิทยา
From Wikipedia, the free encyclopedia

ปรากฏการณ์วิทยา(Phenomenology) อย่างน้อยที่สุดมีด้วยกัน 3 ความหมายที่สำคัญในประวัติศาสตร์ปรัชญา: ความหมายแรกอยู่ในงานเขียนต่างๆ ของ G.W.F. Hegel, ส่วนความหมายที่สองมีอยู่ในงานเขียนต่างๆ ของ Edmund Husserl in 1920, และในความหมายที่สาม นำมาจากงานของ Husserl ช่วงที่เขาเขียนงานต่างๆ ให้กับ Martin Heidegger ในฐานะผู้ช่วยวิจัยในราวปี ค.ศ. 1927

1. สำหรับ G.W.F. Hegel, ปรากฏการณ์วิทยา(phenomenology) คือวิธีการศึกษาทางปรัชญาแนวหนึ่ง ซึ่งเริ่มต้นด้วยการสำรวจเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆ (สิ่งที่นำเสนอตัวมันเองกับเราในประสบการณ์สำนึก) ในฐานะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะจับฉวยหรือยึดกุมความสมบูรณ์แท้จริง ตรรกวิทยา ภววิทยา(ontology) และหัวใจอภิปรัชญาที่อยู่เบื้องหลังปรากฏการณ์เหล่านั้น ที่เรียกว่า "ปรากฏการณ์วิทยาวิภาษวิธี" หรือ "dialectical phenomenology".

2. สำหรับ Edmund Husserl, ปรากฏการณ์วิทยาคือ การศึกษาในลักษณะสะท้อนเกี่ยวกับแก่นแท้สำนึกจากประสบการณ์/ความคิดของบุคคลหนึ่ง. ปรากฏการณ์วิทยาจะหยิบเอาประสบการณ์ในลักษณะสหัชญานของปรากฏการณ์ต่างๆ (สิ่งที่นำเสนอตัวมันเองกับเราในลักษณะสะท้อนเชิงปรากฏการณ์วิทยา) ในฐานะจุดเริ่มต้นและพยายามที่จะถอดหรือดึงมันออกมาจากรูปการณ์แก่นแท้ต่างๆ ของประสบการณ์ทั้งหลาย และแก่นหรือสาระของสิ่งที่เราพบเห็น. เมื่อทำให้รูปการณ์แก่นแท้ต่างๆ ของประสบการณ์ที่เป็นไปได้มีลักษณะย้อนกลับไปถึงรากแล้ว อันนี้จึงถูกเรียกว่า "ปรากฏการณ์วิทยาเหนือธรรมชาติ(อุตรภาพ)" หรือ "transcendental phenomenology". ทัศนะของ Husserl วางอยู่บนพื้นฐานแง่มุมต่างๆ ในงานของ Franz Brentano และได้รับการพัฒนายิ่งขึ้นไปโดยบรรดานักปรัชญาทั้งหลาย อย่างเช่น Maurice Merleau-Ponty, Max Scheler, Edith Stein, Dietrich von Hildebrand และ Emmanuel Levinas.

3. Martin Heidegger เชื่อว่าวิธีการศึกษาของ Husserl ได้มองข้ามรูปลักษณ์โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของประธานและกรรมของประสบการณ์ (สิ่งที่เขาเรียกมันว่า"ภาวะ-ความเป็นอยู่"ของพวกมัน / their"being") และได้ขยับขยายการสืบสวนปรากฏการณ์วิทยา เพื่อตีวงหรือโอบล้อมความเข้าใจและประสบการณ์ของเราเกี่ยวกับภาวะ-ความเป็นอยู่-ธาตุแท้(Being)ในตัวของมันเอง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ "ปรากฏการณ์วิทยา" กลายเป็นวิธีการศึกษา(อย่างน้อยที่สุด ในฐานะก้าวแรกของวิชา) เกี่ยวกับภาวะ นั่นคือ ภววิทยา(ontology) (*)

(*) ภววิทยา(Ontology) คือการศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดต่างๆ ของ "ความเป็นจริง"(reality) และธรรมชาติของภาวะ-การดำรงอยู่-ธาตุแท้"(being). ภววิทยาคือการศึกษาเกี่ยวกับ"ภาวะ"หรือ"การดำรงอยู่" (being or existence) และได้ก่อรูปต่างๆ อันเป็นพื้นฐานของสาระสำคัญเกี่ยวกับอภิปรัชญา(metaphysics - เหนือฟิสิกส์ / เหนือกายภาพ). มันเป็นการแสวงหาคำอธิบายหรือจัดวางหมวดหมู่พื้นฐาน(basic catagories) และความสัมพันธ์ของภาวะหรือการดำรงอยู่ เพื่อกำหนดนิยามแก่นแท้ที่ปรากฏเป็นจริงต่างๆ (entities) และแบบฉบับต่างๆ ของแก่นแท้ที่เป็นจริงทั้งหลาย(types of entities) ภายในกรอบหรือโครงสร้างของมันเอง

นักปรัชญาบางคน โดยเฉพาะบรรดาเพลโตนิค ให้เหตุผลว่า คำนาม(nouns)ทั้งหมดเป็นการอ้างถึงแก่นแท้ที่เป็นจริงต่างๆ (entities). ส่วนนักปรัชญาคนอื่นๆ โต้แย้งว่า คำนามบางคำมิได้กล่าวถึงแก่นแท้ที่เป็นจริง แต่มันได้จัดหาหนทางสะดวกสั้นๆ ให้กับเรา คล้ายกับสิ่งที่เรียกว่า"ชวเลข"(shorthand)อย่างหนึ่ง ในการอ้างถึงกลุ่มกองหนึ่ง(a collection)(เกี่ยวกับวัตถุต่างๆ หรือเหตุการณ์ทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง). ในทัศนะหลังนี้, จิตใจ(mind) มาแทนการอ้างอิงถึงแก่นแท้(entity), อ้างอิงถึงกลุ่มกองหนึ่ง ของเหตุการณ์ต่างๆ ทางจิตใจ(mental events) ที่ประสบโดยคนๆ หนึ่ง

- สังคม(society) เป็นการอ้างอิงถึงกลุ่มกองหนึ่งของบุคคลต่างๆ ซึ่งบางคนได้มีส่วนร่วมปันประสบการณ์ หรือมีปฏิกริยาต่อกัน
- เราขาคณิต(geometry) เป็นการอ้างอิงถึงกลุ่มกองหนึ่งของลักษณะเฉพาะเกี่ยวกับกิจกรรมทางสติปัญญา

ในฐานะวิชาทางปรัชญา ส่วนใหญ่แล้ว"ภววิทยา"เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสนใจในความแม่นยำเที่ยงตรงของคำต่างๆ (the precise utilization of words) ในฐานะตัวอธิบายถึงแก่นแท้/ธาตุแท้ที่เป็นจริงต่างๆ (as descriptors of entities or realities). ภววิทยาใดๆ ก็ตาม จะต้องให้คำอธิบายเกี่ยวกับสิ่งซึ่งคำต่างๆ อ้างถึงแก่นแท้ที่เป็นจริงนั้นๆ ซึ่งจะต้องไม่เป็นการอธิบายถึงมูลเหตุ และสิ่งที่เป็นผลลัพธ์หมวดหมู่ต่างๆ. เมื่อมีการประยุกต์ใช้กระบวนการนี้กับคำนามต่างๆ อย่างเช่น อิเล็กตรอน, พลังงาน, สัญญา, ความสุข, เวลา, ความจริง, ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล(causality), และพระเป็นเจ้า, ภววิทยาจะกลายเป็นรากฐานสำหรับสาขาทางปรัชญาจำนวนมาก
(สำหรับผู้สนใจ ดูเพิ่มเติมใน: http://en.wikipedia.org/wiki/Ontology)

ความแตกต่างในวิธีการศึกษาระหว่าง Husserl และ Heidegger มีอิทธิพลส่งผลการพัฒนาเกี่ยวกับ ปรากฏการณ์วิทยาการแนวอัตถิภาวนิยม(existential phenomenology) และลัทธิอัติภาวนิยมในฝรั่งเศส(existentialism in France), ดังจะเห็นได้ในงานของ Jean-Paul Sartre และ Simone de Beauvoir. บรรดานักปรากฏการณ์วิทยามิวนิค(Munich phenomenologists) (Johannes Daubert, Adolf Reinach, Alexander Pf?nder ในเยอรมนี และ Alfred Sch?tz ในออสเตรีย), และ Paul Ricoeur ทั้งหมดนี้ต่างได้รับอิทธิพลดังกล่าว. การอ่านงานของ Husserl และ Heidegger ยังเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งเกี่ยวกับปรัชญาต่างๆ ของ Jacques Derrida และ Bernard Stiegler.

ปรากฏการณ์วิทยา (ทางสถาปัตยกรรม)
Phenomenology (architecture)
ปรากฏการณ์วิทยาแนวนี้ถือเป็นปรัชญาการออกแบบที่แพร่หลายในงานสถาปัตยกรรมร่วมสมัย โดยมีพื้นฐานอยู่บนปรากฏการณ์ทางกายภาพของวัสดุสิ่งก่อสร้างต่างๆ และคุณสมบัติทางความรู้สึก. แนวคิดดังกล่าวเริ่มต้นขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1970s, โดยการได้อิทธิพลอย่างมากจากงานเขียนต่างๆ ของ Martin Heidegger, ซึ่งเริ่มส่งผลกระทบที่สำคัญต่อความคิดทางสถาปัตยกรรม

Christian Norberg-Schulz ถือเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งในขบวนการเคลื่อนไหวแนวทางนี้ ในฐานะชาวนอร์เวเจียน เขาสำเร็จการศึกษาจาก the Eidgenossische Technische Hochschule ETH ที่ซูริค ปี ค.ศ.1949 และในท้ายที่สุดได้กลายเป็นคณบดีของ the Oslo School of Architecture. งานเขียนต่างๆ ที่สำคัญของเขาคือ เรื่อง Genius Loci: Towards a Phenomenology of Architecture (New York: Rizzoli, 1980) และเรื่อง Intentions in Architecture (1963). หนังสือทั้งสองเล่มนี้ ได้รับการอ่านกันอย่างกว้างขวางในคณะสถาปัตยกรรมต่างๆ ในช่วงทศวรรษที่ 1960s และ 1970s. สถาปนิกอีกคนหนึ่งซึ่งมีความสัมพันธ์กับความเคลื่อนไหวทางปรากฏการณ์วิทยา คือ Charles Willard Moore, เขาเป็นคณบดีของ the School of Architecture ที่มหาวิทยาลัยเยล(Yale) ตั้งแต่ปี 1965 ถึง 1970

กล่าวโดยทั่วไป ปรากฏการณ์วิทยาทางสถาปัตยกรรม ชื่นชมและสนับสนุนวิธีการออกแบบที่มีความเป็นส่วนตัวสูงและเป็นการมองลึกเข้าไปภายใน. แม้ว่าบรรดานักปรากฏการณ์วิทยาส่วนมาก ยกตัวอย่างเช่น Norberg-Schulz, ต่างวิพากษ์วิจารณ์สไตล์สถาปัตยกรรมในยุคโมเดิร์น และสไตล์นานาชาติ(the International Style)โดยเฉพาะ, แต่บรรดาสถาปนิกที่ปรับทิศทางไปในเชิงปรากฏการณ์วิทยา ก็ชื่นชอบกับความเรียบง่าย เกลี้ยงเกลาในเชิงเรขาคณิต มากกว่าความสลับซับซ้อนหรือโครงสร้างลักษณะอินทรีย์(สิ่งมีชีวิต). วิธีการที่ไม่ลงรอยมากที่สุดกับปรากฏการณ์วิทยาคือ งานของ Robert Venturi (*) และ Denise Scott Brown (**), ซึ่งต่างได้รับอิทธิพลมาจากงานศิลปะ Pop art. แม้ว่าความสนใจในปรากฏการณ์วิทยาจะเสื่อมทรามลงด้วยเวลาอันรวดเร็ว แต่สถาปนิกหลายๆ คน อย่างเช่น Steven Holl และ Peter Zumthor, อ้างตนเองว่าเป็นนักปรากฏการณ์วิทยา

(*)Robert Charles Venturi, Jr. (born June 25, 1925 in Philadelphia) is an award-winning American architect and founding principal of the firm Venturi, Scott Brown and Associates. Robert Venturi and his wife and partner, Denise Scott Brown, are regarded among the most influential architects of the twentieth century, both through their architecture and planning, and theoretical writings and teaching. (ดูเพิ่มเติมใน http://www.vsba.com/)

(**)Denise Scott Brown, (n?e Lakofski; born October 3, 1931 in Nkana, Rhodesia) is an architect, planner, writer, educator, and principal of the firm Venturi, Scott Brown and Associates in Philadelphia. Denise Scott Brown and her husband and partner, Robert Venturi, are regarded among the most influential architects of the twentieth century, both through their architecture and planning, and theoretical writing and teaching. Scott Brown and Venturi live in Philadelphia and have a son, James Venturi.

Architecture and planning
In 1972, with Venturi and Steven Izenour, Scott Brown wrote Learning From Las Vegas: the Forgotten Symbolism of Architectural Form. The book published studies of the Las Vegas Strip, undertaken with students in a research studio Scott Brown taught with Venturi in 1970 at Yale's School of Architecture and Planning. The book joined Venturi's previous Complexity and Contradiction in Architecture (Museum of Modern Art, 1966) as a rebuke to orthodox modernism and elite architectural tastes, and a pointed acceptance of American sprawl and vernacular architecture. The book coined the terms "Duck" and "Decorated Shed" as applied to opposing architectural styles. Scott Brown has remained a prolific writer on architecture and urban planning.

With the firm, re-named Venturi, Rauch and Scott Brown in 1980; and finally Venturi, Scott Brown and Associates in 1989, Scott Brown has led major civic planning projects and studies, and more recently has directed many university campus planning projects. She has also served as principal-in-charge with Robert Venturi on the firm's larger architectural projects, including the Sainsbury Wing of London's National Gallery, the capitol building in Toulouse and the Nikko Hotel and Spa Resort in Japan. (ดูเพิ่มเติมใน http://en.wikipedia.org/wiki/Denise_Scott_Brown)


Alberto Perez-Gomez, ศาสตราจารย์ทางด้านประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมแห่ง McGill University, ได้ถูกรู้จักในฐานะที่เป็นผู้ให้การปกป้องเกี่ยวกับปรากฏการณ์วิทยาทางสถาปัตยกรรมคนหนึ่ง. ส่วนบรรดาสถาปนิกที่โดดเด่นในสกุลความคิดนี้คือ Christian Norberg-Schulz, Peter Zumthor, Caruso St John, Steven Holl, Juhani Pallasmaa
(ดูเพิ่มเติมใน http://en.wikipedia.org/wiki/Phenomenology_%28architecture%29)

ประวัติศาสตร์สังเขปเกี่ยวกับการใช้ศัพท์คำว่า"ปรากฏการณ์วิทยา"
แม้ศัพท์คำว่า"ปรากฏการณ์วิทยา" บางโอกาสได้ถูกใช้ในประวัติศาสตร์ปรัชญามาก่อนงานของ Husserl, แต่การใช้ศัพท์คำนี้ในยุคสมัยใหม่ ได้ผูกโยงมันกับระเบียบวิธีของเขามากกว่า. ข้อความต่อไปนี้คือการเรียงลำดับรายชื่อของบรรดานักคิดที่มีการใช้ศัพท์คำว่า"ปรากฏการณ์วิทยา"ในวิธีการอันหลายหลาก ด้วยการแสดงความเห็นและการวิจารณ์ต่างๆ ของพวกเขา:

- Friedrich Christoph Oetinger (1702 - 1782) ผู้ศรัทธาในศาสนาชาวเยอรมัน, ใช้คำนี้สำหรับศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับระบบความสัมพันธ์ของพระผู้เป็นเจ้า

- David Hume (1711 - 1776) นักปรัชญาชาวสก็อตต์ ใช้ศัพท์คำนี้เมื่อพูดถึงข้อสงสัยหรือสนับสนุนสามัญสำนึก ขณะที่ความเชื่อมโยงกันนี้ค่อนข้างหนุนเสริมกัน. Hume ในงาน A Treatise of Human Nature, ดูเหมือนจะใช้วิธีการศึกษาทางจิตวิทยาและปรากฏการณ์วิทยา โดยการอธิบายถึงกระบวนการเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผลในกรณีต่างๆ ทางด้านจิตวิทยา ซึ่งได้ให้แรงบันดาลใจสำหรับการจำแนกแบบ Kantian ระหว่างความจริงเชิงปรากฏการณ์ กับความจริงทางวัตถุในตัวของมันเอง (phenomenal and noumenon reality) (*)
(*)noumena / noumenon: The intellectual conception of a thing as it is in itself, not as it is known through perception

- Johann Heinrich Lambert (1728-1777) (นักคณิตศาสตร์, นักฟิสิกส์, และนักปรัชญา) ได้ใช้ศัพท์คำนี้เพื่ออธิบายทฤษฎีเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่อยู่ข้างใต้ความรู้เชิงประจักษ์

- Immanuel Kant (1724-1804), ในงานคลาสสิคของเขาเรื่อง Critique of Pure Reason, ได้จำแนกระหว่างวัตถุต่างๆ ในฐานะปรากฏการณ์ กล่าวคือ วัตุถุต่างๆ ในฐานะสิ่งที่มีรูปร่างและถูกรับรู้โดยประสาทสัมผัสของมนุษย์และการทำความเข้าใจ, และวัตถุต่างๆ ในฐานะที่เป็นสิ่งของต่างๆในตัวของมันเอง things-in-themselves หรือ noumena, ซึ่งมิได้ปรากฏกับเราในกาลและอวกาศ(เวลาและพื้นที่) และเกี่ยวกับสิ่งที่เราไม่สามารถตัดสินได้ตามหลักการต่างๆ

- G.W.F. Hegel (1770-1831) ได้ท้าทายคำสอนของ Kant เกี่ยวกับ"สิ่งที่(เป็น)-ใน-ตัวมันเอง ซึ่งไม่อาจรู้ได้ในประสบการณ์"(the unknowable thing-in-itself), และประกาศว่า การรับรู้ถึงปรากฏการณ์อย่างบริบูรณ์มากขึ้น เราสามารถค่อยๆ มาถึงความสำนึกหนึ่งเกี่ยวกับความจริงสัมบูรณ์ระดับจิตวิญญานของพระผู้เป็นเจ้า(the absolute and spiritual truth of Divinity). ใน Phenomenology of Spirit ของ Hegel ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ในปี 1807 ได้ก่อให้เกิดทัศนะในทางต่อต้านจำนวนมาก รวมถึงงานเกี่ยวกับแนวคิดอัตถิภาวนิยม(existential work) ของ Soren Kierkegaard, Martin Heidegger และ Jean-Paul Sartre, เช่นเดียวกับแนวคิดวัตถุนิยมของ Marx และสานุศิษย์ของเขาจำนวนมาก

- Franz Brentano (1838-1917) ดูเหมือนว่าจะใช้ศัพท์คำนี้ในคำบรรยายของเขาบางเรื่องที่เวียนนา, ซึ่ง Edmund Husserl ได้ศึกษากับเขา และอยู่ภายใต้อิทธิพลของเขา

- Carl Stumpf (1848-1936), เป็นนักศึกษาของ Brentano และเป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่ Husserl, โดยใช้ศัพท์คำนี้ในการอ้างถึงภววิทยาเกี่ยวกับเนื้อหาต่างๆ ของประสาทสัมผัส

- Edmund Husserl (1859-1938) ได้สถาปนาคำว่า"phenomenology"(ปรากฏการณ์วิทยา) ขึ้นมาครั้งแรก ในฐานะที่เป็นเรื่องของจิตวิทยาเชิงพรรณา(descriptive psychology) และต่อมาใช้มันในฐานะศาสตร์ของความสำนึกระดับเหนือธรรมชาติวัตถุ - อุตรภาพ (transcendental) และธรรมชาติของรูปแบบที่ปรากฏเหมือนจริง(eidetic) [visual imagery of almost photographic accuracy]. เขาได้รับการยอมรับในฐานะที่เป็นผู้ก่อตั้งเกี่ยวกับแนวคิดปรากฏการณ์วิทยาร่วมสมัย

- Max Scheler (1874-1928) ได้พัฒนาระเบียบวิธีเกี่ยวกับปรากฏการณ์วิทยาของ Edmund Husserl ไปไกลขึ้น และได้ขยายมันออกสู่เรื่อง"การลดทอนเกี่ยวกับระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์"(reduction of the scientific method). เขาได้ให้อิทธิพลต่อความคิดของ Pope John Paul II และ Edith Stein.

- Martin Heidegger (1889-1976) ได้วิจารณ์ทฤษฎีปรากฏการณ์วิทยาของ Husserl และพยายามที่จะพัฒนาทฤษฎี"ภววิทยา"ขึ้นมา ซึ่งน้อมนำเขาไปสู่ทฤษฎีตั้งต้นของตนเกี่ยวกับ Dasein (*) หรือ "การดำรงอยู่" (being-there/here)( In German, Dasein is synonymous with existence), มนุษย์ที่ไม่ใช่ทวินิยม (the non-dualistic human being).

(*) Dasein is a concept forged by Martin Heidegger in his magnum opus Being and Time. It is derived from da-sein, which literally means being-there/here, though Heidegger was adamant that this was an inappropriate translation of Dasein. In German, Dasein is synonymous with existence, as in "I am pleased with my existence " (ich bin mit meinem Dasein zufrieden). For Heidegger, however, it must not be mistaken for a subject, that is something objectively present.

- Alfred Schutz (1899-1959) ได้พัฒนาแนวคิดปรากฏการณ์วิทยาไปใช้กับสังคม บนพื้นฐานประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน ซึ่งได้ให้อิทธิพลต่อบรรดานักสังคมวิทยาจำนวนมาก อย่างเช่น Harold Garfinkel, Peter Berger และ Thomas Luckmann.

การใช้ศัพท์ phenomenology ต่อมาภายหลัง ส่วนใหญ่มีพื้นฐานอยู่บน (หรือในเชิงวิพากษ์) การนำเสนอและใช้ศัพท์คำนี้ของ Husserl. ปรัชญาสาขานี้แตกต่างไปจากสาขาอื่น กล่าวคือมันมีแนวโน้ม"ในเชิงอรรถาธิบาย"มากกว่า"ในเชิงการรับรู้" (be more "descriptive" than "prescriptive")

Husserl และต้นกำเนิดเกี่ยวกับแนวคิดปรากฏการณ์วิทยาของเขา
Edmund Husserl ได้รับแนวคิดต่างๆ ที่สำคัญมากมาย ซึ่งเป็นแกนกลางต่อแนวคิดปรากฏการณ์วิทยา โดยเฉพาะจากผลงานและคำบรรยายต่างๆ ของบรรดาครูบาอาจารย์ของเขา เช่น Franz Brentano และ Carl Stumpf. องค์ประกอบสำคัญอันหนึ่งของแนวคิดปรากฏการณ์วิทยาที่ Husserl หยิบยืมมาจาก Brentano คือ intentionality (แนวคิดการมีเจตจำนง), ซึ่งเป็นความคิดเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะที่สำคัญของความสำนึกที่ว่ามันมักเป็นเรื่องของเจตจำนงเสมอ

แนวคิดเจตจำนง สามารถได้รับการสรุปในฐานะที่เป็น "การกำหนด / การควบคุม" (directedness) หรือ (aboutness), ของกิจกรรมต่างๆ ทางจิตใจ, เป็นการอธิบายถึงโครงสร้างของความสำนึก. กิจกรรมทางจิตใจทุกอย่างถูกควบคุมโดย หรือบรรจุด้วยวัตถุหนึ่ง - ซึ่งได้รับการเรียกว่า intentional object (วัตถุแห่งเจตจำนง). ทุกๆ ความเชื่อ, ความปรารถนา, ฯลฯ มีวัตถุหนึ่งที่มันอ้างถึง ยกตัวอย่างเช่น ความเชื่อ, ความปรารถนา. คุณสมบัติของเจตจำนงที่ดำรงอยู่, เกี่ยวกับการมีวัตถุแห่งเจตจำนงอันหนึ่ง คือกุญแจสำคัญที่จำแนกปรากฏการณ์ทางจิต(mental/psychical phenomena) จากปรากฏการณ์ทางวัตถุ(physical phenomena) (objects), เพราะปรากฏการณ์ทางวัตถุขาดเสียซึ่งการมีเจตจำนงโดยสิ้นเชิง. การมีเจตจำนงคือแนวคิดสำคัญซึ่งพึ่งพาอาศัยปรากฏการณ์วิทยาในการพยายามที่จะเอาชนะความเป็นคู่ตรงข้าม อย่างเช่น subject/object dichotomy (ขั้วตรงข้ามระหว่างประธาน/กรรม) ซึ่งแพร่หลายอยู่ในปรัชญาสมัยใหม่

อิทธิพลต่างๆ ที่มีมาก่อน
Skepticism (วิมุตินิยม) (สำหรับแนวคิดของ the epoche / การหยุดภาพ-แขวนลอย)
(*) Epoche is a Greek term which describes the theoretical moment where all belief in the existence of the real world, and consequently all action in the real world, is suspended. One's own consciousness is subject to immanent critique so that when such belief is recovered, it will have a firmer grounding in consciousness.

Descartes (ความสงสัยในเชิงระเบียบวิธี, cogito) (*)
(*) Cogito, ergo sum" (Latin: "I think, therefore I am") or Dubito, ergo cogito, ergo sum (Latin: "I doubt, therefore I think, therefore I am") is a philosophical statement used by Ren? Descartes, which became a foundational element of Western philosophy.

British empiricism (ประจักษ์นิยมอังกฤษ) (Locke, Hume, Berkeley, Mill)

Immanuel Kant และ neokantianism (สำหรับรูปการณ์ ลักษณะเหนือธรรมชาติของ Husserl)

Bernard Bolzano (สำหรับความคิดของเขาเรื่องตรรกะ ในฐานะ Wissenschaftslehre) (*)

(*) In his 1837 "Wissenschaftslehre" Bolzano attempted to provide logical foundations for all sciences, building on abstractions like part-relation, abstract objects, attributes, sentence-shapes, ideas and propositions in themselves, sums and sets, collections, substances, adherences, subjective ideas, judgments, and sentence-occurrences. These attempts were basically an extension of his earlier thoughts in the philosophy of mathematics, for example his 1810 "Beitrage" where he emphasized the distinction between the objective relationship between logical consequences and our subjective recognition of these connections. For Bolzano, it was not enough that we merely have confirmation of natural or mathematical truths, but rather it was the proper role of the sciences (both pure and applied) to seek out "justification" in terms of the fundamental truths that may or may not appear to be obvious to our intuitions.

Karl Weierstrass (การศึกษาของ Husserl ในขณะอยู่ที่ Berlin และเรียนรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบมากมายสำหรับปรัชญาคณิตศาสตร์ของเขา)

Franz Brentano (สำหรับแนวคิดเกี่ยวกับการมีเจตจำนง และวิธีการของจิตวิทยาเชิงพรรณา)

Carl Stumpf (จิตวิเคราะห์ [psychological analysis], ซึ่งให้อิทธิพลต่องานช่วงแรกๆ ของ Husserl)

Husserl's Logische Untersuchungen (1900/1901)
ในฉบับพิมพ์ครั้งแรกของ Logical Investigations (การสืบค้นเรื่องตรรกะ), ยังคงอยู่ภายใต้อิทธิพลของ Brentano, Husserl ได้อธิบายสถานะงานวิชาการของเขาในฐานะที่เป็น "จิตวิทยาเชิงพรรณา"(descriptive psychology). Husserl ได้วิเคราะห์โครงสร้างเจตจำนงของกิจกรรมต่างๆ ทางจิต(mental acts) และอธิบายว่า พวกมันถูกกำกับหรือควบคุมอย่างไรทั้งในเชิงวัตถุเป็นจริงและเชิงอุดมคติ.

เล่มแรกของหนังสือเรื่อง Logical Investigations, the Prolegomena to Pure Logic, เริ่มต้นด้วยการวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงเกี่ยวกับจิตวิทยานิยม (psychologism), ยกตัวอย่างเช่น การพยายามที่จะจัดกลุ่มความมีเหตุมีผลที่มาก่อน เกี่ยวกับกฎของตรรกะภายใต้จิตวิทยา. Husserl ได้สถาปนาขอบเขตที่แยกออกมาอันหนึ่งสำหรับการวิจัยทางตรรกวิทยา, ปรัชญา และปรากฏการณ์วิทยา, ซึ่งเป็นอิสระจากวิทยาศาสตร์เชิงประจักษ์ต่างๆ

ปรากฏการณ์วิทยาเหนือธรรมชาติ (อุตรภาพ) ภายหลัง Ideen (1913) (*)
(*) Ideen (ideas) คือ หนังสือเล่มหนึ่งของ Husserl ตีพิมพ์ในปี ค.ศ.1918 ซึ่งได้รับการวม และวางแผนสำหรับฉบับพิมพ์ครั้งที่สองของหนังสือเรื่อง the Logische Untersuchungen (Logical Investigations; first edition, 1900-1901)

ต่อมาอีกหลายปีหลังจากการตีพิมพ์หนังสือเรื่อง Logical Investigations, Husserl ได้กระทำในสิ่งที่มีความละเอียดซับซ้อนที่สำคัญ ซึ่งน้อมนำเขาไปสู่การจำแนกระหว่างกิจกรรมของความสำนึก(the act of consciousness) (noesis) กับ ปรากฏการณ์ที่มันถูกกำกับ (the phenomena at which it is directed) (the noemata).

- noetic อ้างถึงกิจกรรมที่มีเจตจำนงของความสำนึก (เกี่ยวกับความเชื่อ, เกี่ยวกับเจตนา ฯลฯ)
- noematic อ้างถึงวัตถุ หรือเนื้อหา(สาร - content) (noema) ซึ่งปรากฏในกิจกรรมของ noetic acts
(ในลักษณะเคารพต่อความเชื่อ, ความเชื่อ, การโกรธ/เกลียด และความรัก…)

สิ่งที่เราสังเกตมิใช่วัตถุที่มันเป็นอยู่ในตัวของมันเอง แต่เป็นเรื่องของกิจกรรมต่างๆ ซึ่งมีเจตจำนงว่าอย่างไร? และเนื่องจากอะไร? ความรู้เกี่ยวกับ"แก่นหรือสาระที่แท้"(essences) จะเป็นไปได้ก็แต่เพียงโดย"การใส่วงเล็บ"(bracketing) สมมุติฐานทั้งหมดเกี่ยวกับการมีอยู่ของโลกภายนอก และแง่มุม(อัตวิสัย-subjective)ที่ไม่มีแก่นสาร เกี่ยวกับวัตถุที่ถูกนำมาให้เราอย่างเป็นรูปธรรม. กระบวนการนี้ Husserl เรียกว่า epoche (การหยุดภาพ-แขวนลอย)

Husserl ในช่วงหลัง ได้ให้ความเอาใส่จดจ่ออยู่กับเรื่องของอุดมคติ และแก่นโครงสร้างของความสำนึกมากขึ้น. ดังที่เขาต้องการแยกสมมุติฐานเกี่ยวกับการมีอยู่ของวัตถุภายนอกต่างๆ ออกไป เขาได้นำเสนอระเบียบวิธีการลดทอนปรากฏการณ์วิทยาเพื่อขจัดมันทิ้งไป. สิ่งที่ถูกสลัดออกคือ ตัวตนเหนือธรรมชาติ(ตัวตนอุตรภาพ)อันบริสุทธิ์(the pure transcendental ego), ที่ค้านกับตัวตนที่เป็นรูปธรรมเชิงประจักษ์(the concrete empirical ego) มาถึงตอนนี้ปรากฏการณ์วิทยาเหนือธรรมชาติคือ การศึกษาเกี่ยวกับแก่นโครงสร้างต่างๆ ที่ถูกทิ้งลงในความสำนึกอันบริสุทธิ์: อันนี้รวมอยู่ในปฏิบัติการเกี่ยวกับการศึกษาเรื่อง noemata (วัตถุหรือเนื้อหา) และความสัมพันธ์ต่างๆ ท่ามกลางสิ่งเหล่านั้น. นักปรัชญา Theodor Adorno ได้วิจารณ์แนวคิดญานวิทยา(ทฤษฎีความรู้)ปรากฏการณ์วิทยาของ Husserl ในอภิการวิจารณ์(metacritique)ของเขา "Against Epistemology", ซึ่งเป็นการต่อต้านรากฐานนิยม(anti-foundationalist)(*) ในตำแหน่งหรือทัศนคติของมัน

(*) Foundationalism is any theory in epistemology (typically, theories of justification, but also of knowledge) that holds that beliefs are justified (known, etc.) based on what are called basic beliefs (also commonly called foundational beliefs). Basic beliefs are beliefs that give justificatory support to other beliefs, and more derivative beliefs are based on those more basic beliefs. The basic beliefs are said to be self-justifying or self-evident, that is, they enjoy a non-inferential warrant (or justification), i.e., they are not justified by other beliefs. Typically and historically, foundationalists have held either that basic beliefs are justified by mental events or states, such as experiences, that do not constitute beliefs (these are called nondoxastic mental states), or that they simply are not the type of thing that can be (or needs to be) justified. (http://en.wikipedia.org/wiki/Foundationalism)

สำหรับนักปรากฏการณ์วิทยาเหนือธรรมชาติ(อุตรภาพ) ประกอบด้วย Oskar Becker, Aron Gurwitsch และ Alfred Schutz.

ปรากฏการณ์นิยมแนวสัจนิยม (Realist phenomenology)
หลังการตีพิมพ์เรื่อง Ideen (ideas) ของ Husserl ในปี ค.ศ.1913, บรรดานักปรากฏการณ์วิทยาจำนวนมากต่างมีท่าทีในเชิงวิพากษ์ต่อทฤษฎีใหม่ของเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมาชิกกลุ่มมิวนิค(the Munich group) ซึ่งไกลห่างจากแนวคิดใหม่ทางด้านปรากฏการณ์วิทยาเหนือธรรมชาติ (new transcendental phenomenology) แต่ชื่นชอบแนวคิดปรากฏการณ์วิทยาแนวสัจนิยม(realist phenomenology) งานพิมพ์ครั้งแรกของเรื่อง Logical Investigations.

บรรดานักปรากฏการณ์วิทยาสายสัจนิยม ประกอบด้วย: Adolf Reinach, Alexander Pf?nder, Johannnes Daubert, Max Scheler, Roman Ingarden, Nicolai Hartmann, และ Hans Kochler.

ปรากฎการณ์วิทยาแนวอัตถิภาวนิยม (Existential phenomenology)
ปรากฎการณ์วิทยาแนวอัตถิภาวนิยม (Existential phenomenology) ต่างจากปรากฎการณ์วิทยาเหนือธรรมชาติ (transcendental phenomenology) โดยการที่มันปฏิเสธเรื่องของตัวตนเหนือธรรมชาติ(transcendental ego). Merleau-Ponty คัดค้านเรื่องของตัวตนเหนือธรรมชาติของโลก ซึ่งสำหรับ Husserl ปล่อยให้โลกแผ่ขยายออกไป และโปร่งใสอย่างสมบูรณ์มาก่อนเรื่องของสำนึก

Heidegger คิดเกี่ยวกับภาวะความสำนึกในฐานะที่มันมีอยู่ในโลกเสมอ. ความเหนือธรรมชาติถูกทำให้ธำรงอยู่ในปรากฎการณ์วิทยาแนวอัตถิภาวนิยม เพื่อขอบเขตวิธีการของปรากฎการณ์วิทยา ซึ่งจะต้องไม่ใช้เป็นจุดเริ่มต้นของเงื่อนไขหรือสมมุติฐานที่มาล่วงหน้า - ความเหนือธรรมชาติอ้างว่าโลกกำเนิดขึ้นมาจากมัน ยกตัวอย่างเช่น ท่าทีทางธรรมชาติหรือวิทยาศาสตร์ หรือทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับธรรมชาติของโลกเชิงภววิทยา. ขณะที่ Husserl คิดถึงปรัชญาในฐานะที่เป็นสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์ ที่ต้องได้รับการสร้างขึ้นบนความเข้าในปรากฎการณ์วิทยา ในฐานะที่เป็นญานวิทยาหรือทฤษฎีความรู้(epistemology), ส่วน Heidegger ยึดถือทัศนะที่ต่างออกไปอย่างสุดขั้ว. ตัวของ Heidegger เอง ได้พูดถึงความแตกต่างของพวกมันดังนี้:

"สำหรับ Husserl, การลดทอนปรากฎการณ์วิทยา เป็นวิธีการน้อมนำมุมมองปรากฎการณ์วิทยามาจากท่าทีธรรมชาติของมนุษย์ ซึ่งชีวิตของพวกเขาถูกนำไปเกี่ยวข้องกับโลกของสิ่งต่างๆ และบุคคลทั้งหลาย ที่ย้อนกลับไปยังชีวิตเหนือธรรมชาติของความสำนึก (transcendental life of consciousness) และประสบการณ์เกี่ยวกับ noetic-noematic ของมัน, ซึ่งวัตถุต่างๆ ได้รับการประกอบสร้างให้มีความสัมพันธ์กันกับความสำนึก. สำหรับเรา, การลดทอนปรากฎการณ์วิทยาหมายถึง การนำเอาวิสัยทัศน์ปรากฎการณ์วิทยากลับมาจากความเข้าใจของภาวะหนึ่ง(a being), อะไรก็ตามที่อาจเป็นคุณลักษณ์ของความเข้าใจนั้น, เพื่อการทำความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ภาวะ(the Being)ของภาวะนี้(this being) (ถ่ายทอดออกมาในวิถีทางที่มันถูกเปิดเผย)"

ตามความคิดของ Heidegger, ปรัชญาไม่ใช่สาขาวิทยาศาสตร์แต่อย่างใด อันที่จริงแล้วมันเป็นรากฐานมากกว่าวิทยาศาสตร์ เขายังเห็นว่า วิทยาศาสตร์เป็นเพียงหนทางหนึ่งในการรับรู้โลก และไม่มีการเข้าถึงความจริงที่พิเศษใดๆ. ยิ่งไปกว่านั้น ท่าทีหรือความเชื่อทางวิทยาศาสตร์ในตัวมันเองได้ถูกสร้างอยู่บนรากฐานในขั้นเริ่มต้นของการปฏิบัติการ, เป็นความรู้ในชีวิตประจำวัน. Husserl รู้สึกสงสัยเกี่ยวกับวิธีการเข้าถึงอันนี้, ซึ่งเขาพิจารณาว่าคล้ายๆ สิ่งลึกลับ และมันมีส่วนทำให้เกิดความแตกต่าง ไม่สอดคล้องกันในความคิดของพวกเขา

แทนที่จะใช้ปรากฎการณ์วิทยา เป็นปฐมแห่งปรัชญา(prima philosophia) หรือรากฐานของสาขาวิชา, Heidegger กลับใช้มันในฐานะที่เป็นภววิทยาเชิงอภิปรัชญา(metaphysical ontology): "ภาวะคือคุณสมบัติที่แท้จริง และสาระสำคัญโดยลำพังของปรัชญา…(being is the proper and sole theme of philosophy...) อันนี้หมายความว่า ปรัชญามิใช่ศาสตร์ของภาวะต่างๆ(beings) แต่เกี่ยวกับภาวะ" กระนั้นก็ตาม ยังคงเป็นเรื่องที่สับสนเกี่ยวกับ "ปรากฎการณ์วิทยา"และ"ภววิทยา" ซึ่งทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย

ปรากฎการณ์วิทยา ไม่ใช่รากฐานหรือพื้นฐานของภาวะ(Ground of Being). พวกมันไม่ใช่การปรากฏต่างๆ(appearances), สำหรับ Heidegger ดังที่ให้เหตุผลใน Being and Time (ภาวะและการเวลา), การปรากฏ (appearance)คือ "สิ่งที่แสดงตัวของมันเองในบางสิ่งบางอย่างอื่นๆ"(that which shows itself in something else), ขณะที่ปรากฎการณ์(phenomenon) คือ สิ่งที่แสดงตัวของมันเองในตัวของมันเอง (that which shows itself in itself)."

- ในขณะที่สำหรับ Husserl, ใน epoche (การหยุดภาพ), ภาวะปรากฏขึ้น เพียงในฐานะที่เป็นสิ่งซึ่งสัมพันธ์กันอันหนึ่งกับความสำนึก(a correlate of consciousness)
- สำหรับ Heidegger, ภาวะ(being - ธาตุแท้) คือจุดเริ่มต้น(the starting point.).

- ขณะที่สำหรับ Husserl, เราจะต้องทำให้การพิจารณากำหนดต่างๆ ทางรูปธรรมเกี่ยวกับ"ตัวตนเชิงประจักษ์"ของเราให้เป็น"นามธรรม" เพื่อสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงมันไปสู่สนามของความสำนึกหรือความสำนึกอันบริสุทธิ์
- Heidegger อ้างว่า: "ความเป็นไปได้ต่างๆ และชะตากรรมทั้งหลายของปรัชญาได้ถูกผูกมัดกับการดำรงอยู่ของมนุษย์(man's existence) และด้วยเหตุนี้มันจึงเป็นการผูกมัดเพียงชั่วคราว และผูกมัดกับความเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์"

แต่อย่างไรก็ตาม ภาวะในเชิงภววิทยา(ontological being) และภาวะในเชิงอัตถิภาวนิยม(existential being) เป็นหมวดหมู่ที่แตกต่างกัน ดังนั้นการผสมหมวดหมู่เหล่านี้ของ Heidegger ตามทัศนะของ Husserl, จึงเป็นรากเหง้าความผิดพลาดของ Heidegger. Husserl กล่าวหา Heidegger ว่า ได้ยกคำถามเกี่ยวกับภววิทยาขึ้นมา แต่ไม่สามารถตอบคำถามนั้นได้ แทนที่จะสลับหัวข้อดังกล่าวไปสู่ the Dasein (being-there/here)(existence), ภาวะเดียว(only being) สำหรับเขาแล้ว ภาวะ-ธาตุแท้ (Being) คือ ผลสุดท้ายอันหนึ่ง(the only being for whom Being is an issue). นั่นไม่ใช่ทั้งภววิทยาและปรากฎการณ์วิทยา ตามความคิดของ Husserl, แต่เป็นเพียงมานุษยวิทยาเชิงนามธรรม(abstract anthropology)

เพื่อความกระจ่างชัด บางที โดยมานุษยวิทยาเชิงนามธรรม, ในฐานะที่เป็นการค้นหาสำหรับแก่นสารต่างๆ ที่ไม่ใช่อัตถิภาวนิยม, Husserl ปฏิเสธลัทธิอัตถิภาวนิยม ที่แสดงนัยยะในการจำแนกของ Heidegger ระหว่างภาวะ(being) (sein) ในฐานะสิ่งต่างๆ ในความจริง ซึ่งแตกต่างจาก ภาวะ-ธาตุแท้ (Being) (Dasein) ในฐานะการเผชิญหรือประสบกับภาวะ, เมื่อภาวะกลายเป็นสิ่งที่นำเสนอต่อเรา ยกตัวอย่างเช่น การถูกเผยออกมา

บรรดานัก ปรากฎการณ์วิทยาแนวอัตถิภาวนิยม ประกอบด้วย: Martin Heidegger (1889 - 1976), Hannah Arendt (1906 - 1975), Emmanuel Levinas (1906 - 1995), Gabriel Marcel (1889 - 1973), Jean-Paul Sartre (1905 - 1980), Paul Ricoeur (1913 - 2005) และ Maurice Merleau-Ponty (1908 - 1961).

ปรากฏการณ์วิทยาการตีความ (hermeneutic phenomenology)
ปรากฏการณ์วิทยาการตีความ พยายามที่จะระมัดระวังในเรื่องเกี่ยวกับวิธีการของมัน นั่นคือ มันเป็นการอธิบายถึงระเบียบวิธี(ทางปรากฏการณ์วิทยา) เพราะมันต้องการใส่ใจเกี่ยวกับการที่สิ่งทั้งหลายปรากฏตัวขึ้นมาอย่างไร มันต้องการปล่อยให้สิ่งต่างๆ พูดถึงตัวของมันเอง มันเป็นวิธีการตีความ(อรรถปริวรรตศาสตร์ - hermeneutic) อย่างหนึ่ง เพราะมันอ้างว่า "ไม่มีปรากฏการณ์อันใดที่ไม่ถูกตีความโดยเรา" (there are no such things us uninterpreted phenomena)

ความตรงข้ามโดยนัยยะอาจได้รับการแก้ไขหากยอมรับว่า ข้อเท็จจริง(เชิงปรากฏการณ์วิทยา) ของประสบการณ์ที่มีอยู่ มักจะถูกพบอย่างไร้ความหมาย(ในเชิงตีความ). ยิ่งไปกว่านั้น ข้อเท็จจริงต่างๆ (facts) ของประสบการณ์ที่มีอยู่ต้องถูกจับด้วยภาษา (ถ้อยคำทางมนุษยศาสตร์) และนี่คือกระบวนการตีความอย่างหนึ่ง อย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
(ส่วน "ปรากฏการณ์วิทยาแนวตีความ"นี้ นำมาจาก www.phenomenologyonline.com/glossary/glossary.html#phenomenology)

 

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน


นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ หรือถัดจากนี้สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

คิดต่างในเชิงสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ดีกว่าและเสรีภาพ
02 Febuary 2008
Free Documentation License
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
กล่าวโดยทั่วไป ปรากฏการณ์วิทยาทางสถาปัตยกรรม ชื่นชมและสนับสนุนวิธีการออกแบบที่มีความเป็นส่วนตัวสูงและเป็นการมองลึกเข้าไปภายใน. แม้ว่าบรรดานักปรากฏการณ์วิทยาส่วนมาก ยกตัวอย่างเช่น Norberg-Schulz, ต่างวิพากษ์วิจารณ์สไตล์สถาปัตยกรรมในยุคโมเดิร์น และสไตล์นานาชาติ(the International Style)โดยเฉพาะ, แต่บรรดาสถาปนิกที่ปรับทิศทางไปในเชิงปรากฏการณ์วิทยา ก็ชื่นชอบกับความเรียบง่าย เกลี้ยงเกลาในเชิงเรขาคณิต มากกว่าความสลับซับซ้อนหรือโครงสร้างลักษณะอินทรีย์ (Phenomenology [architecture])
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
home

สำหรับบทความแปลและเรียบเรียงนี้ นำมาจากต้นฉบับภาษาอังกฤษเรื่อง 1. What is Phenomenology? และเรื่อง
2. Phenomenology โดยเรื่องแรกนำมาจาก เว็บไซต์ www.phenomenologycenter.org/phenom.htm
ส่วนเรื่องหลังนำมาจากสารานุกรม Wikipedia ในหัวข้อ phenomenology เป็นการเสนอความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสตร์"ปรากฎการณ์วิทยา" ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นฐานข้อมูล
ในการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในทางวัตถุ และเหตุการณ์ต่างๆ ได้ โดยนำเอาแนวคิดและวิธีการปรากฏการณ์วิทยาไปใช้เพื่อค้นหาแก่นแท้ของความจริงที่อยู่เบื้องหลัง หรือลึกลงไปใต้ผิวหน้าของปรากฏการณ์. ระเบียบวิธีข้างต้นสามารถใช้ควบคู่ไปกับทฤษฎีวิพากษ์(Critical theory) และทฤษฎีรื้อสร้าง(Deconstruction) เพื่อเข้าถึงความจริงซึ่งเป็นแก่นแท้ หรือรากเหง้าของสิ่งที่เผชิญอยู่ตรงหน้า

บทแปลและเรียบเรียงนี้ เป็นเรื่องที่ต้องใช้ความคิดไตร่ตรองด้วยความพยายาม บางส่วนต้องอ่านทบทวนหลายครั้ง และทำบันทึกความเข้าใจควบคู่กันไป จึงจะสามารถเก็บความและกระจ่างในความรู้ที่บรรดานักปรัชญานำเสนอได้ อีกทั้งผู้อ่านจะพบกับคำศัพท์เฉพาะทางเกี่ยวกับปรากฏการณ์วิทยา ซึ่งผู้แปลและเรียบเรียงพยายามใช้คำไทยมาบรรจุควบคู่กับคำศัพท์ในภาษาอังกฤษ แต่อย่างไรก็ตาม คำไทยที่นำมาประยุกต์ใช้อาจไม่ตรงกับความหมายหรือแนวคิดเดิมทางปรัชญาที่นำเสนอ ทำให้ผู้อ่านอาจเข้าใจคลุมเครือหรือคลาดเคลื่อนไปจากสาระสำคัญเดิมได้