บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้
มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง
นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก
ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด.
สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ
ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com
(กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)
Public broadcasting
Midnight
University
สื่อสาธารณะ: สื่อปลอดมลพิษทางการเมืองและธุรกิจ
Public
broadcasting: สื่อสาธารณะเพื่อสังคมวัฒนธรรม
วจี เรืองพรวิสุทธิ์: แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เชิงอรรถเพิ่มเติมโดย: กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศไทย
สำหรับบทแปลชิ้นนี้ นำมาจากสารานุกรมวิกกีพีเดียเรื่อง
Public broadcasting
ซึ่งโดยเป้าหมายแล้ว วิทย-ุโทรทัศน์สาธารณะมีวัตถุประสงค์กว้างๆ เพื่อให้ประชาชน
สามารถเข้าถึงสื่อได้อย่างทั่วถึงไม่ว่าจะอยู่ที่แห่งใด, เป็นสื่อที่ตอบสนองต่อทุกความสนใจ
และรสนิยม, ให้ความใส่ใจต่อคนกลุ่มน้อย, คำนึงถึงอัตลักษณ์ของชุมชน, ดำรงความเป็นกลาง
จากผลประโยชน์และปลอดจากอิทธิพลของรัฐบาล, เป็นสื่อที่ได้รับการสนับสนุนโดยตรงจากผู้บริโภค,
ส่งเสริมการแข่งขันด้านคุณภาพของรายการมากกว่าปริมาณ และให้แนวทางอิสระแก่ผู้ผลิตรายการ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Triangle Television ของนิวซีแลนด์ที่ออกอากาศภาษาท้องถิ่นหลายภาษา
และไม่ยอมให้มีการผูกขาดโดยผู้ผลิตรายการโทรทัศน์รายใด ทั้งนี้เพื่อธำรงไว้ซึ่งความเป็นอิสระ,
เป็นเจ้าของโดยทุกคน และรักษาความเป็นทีวีสาธารณะอย่างแท้จริง
midnightuniv(at)gmail.com
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้
ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ ๑๔๗๕
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๓๑ มกราคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
๑๙ หน้ากระดาษ A4)
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
สื่อสาธารณะ: สื่อปลอดมลพิษทางการเมืองและธุรกิจ
Public
broadcasting: สื่อสาธารณะเพื่อสังคมวัฒนธรรม
วจี เรืองพรวิสุทธิ์: แปลและเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
เชิงอรรถเพิ่มเติมโดย:
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
Public broadcasting /
การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ
http://en.wikipedia.org/wiki/Public_broadcasting
(หมายเหตุ: เชิงอรรถเพิ่มเติม นำมาจากสารานุกรม wikipedia
โดยคัดมาเท่าที่จำเป็น)
ความนำ
การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะเป็นรูปแบบหนึ่งของการบริการการถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะ
(public service broadcasting - PSB) ที่มุ่งจะให้บริการและตอบสนองต่อความต้องการที่หลากหลายของผู้ชมหรือผู้ฟังสาธารณะ
และถือเป็นรูปแบบที่มีอิทธิพลมาแต่ดั้งเดิมในหลายๆ แห่งทั่วโลก แม้จะมียกเว้นบ้างในกรณีของสหรัฐอเมริกา
การบริการในระบบนี้ ผู้ผลิตรายการวิทยุ
โทรทัศน์ และสื่ออิเล็คทรอนิคส์จะได้รับเงินทุน อาจเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดจากสาธารณะ
เงินทุนของผู้กระจายสัญญาณจะมาได้จากหลายทาง เช่น จากเงินที่มีผู้บริจาคให้โดยสมัครใจ
จากค่าลิขสิทธิ์ หรือผ่านการสนับสนุนจากรัฐทางอ้อม (อาทิ เงินภาษีบางจำพวก หรือลิขสิทธิ์ทางโทรทัศน์)
ผู้กระจายสัญญาณสาธารณะหลายรายจะตอบแทนให้กับแหล่งเงินทุนด้วยการจัดช่วงเวลาขอบคุณ
หรือที่เรียกว่า underwriting spot (*) ซึ่งคล้ายกับโฆษณาที่ปรากฏบนการถ่ายทอดสัญญาณเชิงพาณิชย์ทั่วไป
เพียงแต่การประกาศในลักษณะนี้จะมีข้อกำหนดควบคุมไว้ เช่น ห้ามอ้างอิงถึงตัวสินค้า
การแจ้งจำนวนเงิน หรือวิธีการอื่นใดที่เป็นการชักจูงให้ผู้บริโภคซื้อสินค้า
(*)An underwriting spot is an announcement made on public broadcasting outlets,
especially in the United States, in exchange for funding. These spots usually
mention the name of the sponsor, and can resemble traditional advertising
in commercial broadcasting, but there are usually legal restrictions, such
as a prohibition of making product claims, announcing prices, or providing
an incentive to buy a product or service.
Donors who contribute
funding can include corporations, small businesses, philanthropic organizations,
charitable trusts, and individuals.
ปัจจุบัน การถ่ายทอดสัญญาณเชิงพาณิชย์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมากมายในหลายประเทศทั่วโลก ในขณะที่ประเทศซึ่งมีแต่การถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะกลับมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง พื้นที่ทางการตลาดของสื่อมวลชน (mass media) มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง ด้วยเหตุนี้ การเอาตัวรอดท่ามกลางผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ที่แวดล้อมอยู่รอบตัว จึงเป็นเรื่องยากลำบากสำหรับผู้ถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะ และส่งผลมากกว่าแค่ประเด็นของการเพิ่มช่องสัญญาณดิจิตอล
นิยามการถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะ
แม้จะไม่มีนิยามมาตรฐานของ "การถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะ" อย่างชัดเจน
แต่หน่วยงานต่างๆ ก็พยายามหยิบยกลักษณะสำคัญบางประการขึ้นมาในการอธิบาย กล่าวคือ
- ผู้ให้บริการกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ จะถ่ายทอดรายการที่จะช่วยยกระดับของสังคม โดยการให้ข้อมูลสาระแก่ผู้ชม
- ซึ่งตรงข้ามกับเป้าหมายในเชิงพาณิชย์ที่เน้นเสนอเฉพาะรายการที่อยู่ในความนิยมที่สามารถดึงดูดผู้ชม-ผู้ฟังได้
และทำให้การซื้อโฆษณาในช่วงนั้นมีราคาสูงขึ้น
ด้วยเหตุผลนี้เอง การถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะในแบบอุดมคติ จึงเข้ากันได้ยากกับเป้าหมายเชิงธุรกิจ
หน่วยงานวิจัยเพื่อการกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ (Broadcasting Research Unit) ได้มีการระบุถึงเป้าหมายหลักหรือลักษณะเฉพาะของผู้ถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะ ไว้ดังนี้คือ: ทั่วถึง, ตอบสนองต่อทุกความสนใจและรสนิยม, ใส่ใจคนกลุ่มน้อย, คำนึงถึงอัตลักษณ์ของชาติและชุมชน, เป็นกลางจากผลประโยชน์และอิทธิพลของรัฐบาล, ได้รับการสนับสนุนโดยตรงจากผู้บริโภค, แข่งขันด้านคุณภาพของรายการ, กำหนดแนวทางเพื่อให้อิสระแก่ผู้ผลิตรายการ
1. ถ่ายทอดอย่างทั่วถึง (Geographic universality) - สถานีถ่ายทอดสัญญาณจะต้องมีอยู่อย่างทั่วถึงทั่วประเทศ โดยไม่ยกเว้น เงื่อนไขนี้อาจไม่นับรวม Five (*) ของสหราชอาณาจักรที่มีผู้ชมจำนวนหนึ่งไม่สามารถรับสัญญาณได้ โดยทั่วไปคำว่า ทั่วประเทศ นี้จะหมายถึงการมีสถานีเครือข่ายอยู่ทั่วประเทศ (เช่น PBS ของสหรัฐอเมริกา) หรือหมายถึงการมีเครื่องทวนสัญญาณจำนวนมากพอที่จะให้แพร่สัญญาณไปได้ทั้งประเทศก็ได้ ซึ่งเป็นกรณีที่พบได้ในหลายประเทศทั่วโลก
(*) Five (channel) was launched in 1997 and is the fifth and final national terrestrial analogue television channel to launch in the United Kingdom. Originally called Channel 5, the station rebranded itself as Five in 2002.
2. ตอบสนองต่อทุกความสนใจและรสนิยม (Catering for all interests and tastes) - ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ ช่องรายการย่อยที่มีความหลากหลายของ BBC (BBC Two, BBC Radio 3 เป็นต้น)3. ใส่ใจคนกลุ่มน้อย (Catering for minorities) - นอกจากความหลากหลายในข้อที่ผ่านมา ต้องสนใจในด้านเชื้อชาติและภาษาชนกลุ่มน้อยด้วย (ตัวอย่างเช่น ช่อง S4Cในเวลส์, BBC Asian Network, Radio-Canada, SBS ของประเทศออสเตรเลีย)
4. คำนึงถึงอัตลักษณ์ของชาติและชุมชน (Concern for national identity and community) - ทางสถานีจะต้องพยายามจัดและผลิตรายการกันเองภายในประเทศของตน แม้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการนำเข้ารายการจากต่างประเทศค่อนข้างมาก
5. เป็นกลางจากผลประโยชน์และอิทธิพลรัฐบาล (Detachment from vested interests and government ) - กล่าวคือ ผังรายการต่างๆ จะมีความเป็นกลาง และทางสถานีไม่ควรถูกควบคุมจากผู้โฆษณาหรือจากฝ่ายรัฐบาล. อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะถูกกันออกจากผลประโยชน์ขององค์กรหรือรัฐบาล แต่ก็ยังมีการวิจารณ์ถึงความเบี่ยงเบนเข้าข้างคนบางกลุ่มที่ยังเกิดขึ้นได้อยู่ดี (เช่น สนับสนุนชนชั้นกลาง การเมืองฝ่ายซ้าย ฯลฯ)
6. เป็นระบบการถ่ายทอดสัญญาณที่ได้รับเงินสนับสนุนโดยตรงจากผู้บริโภค (One broadcasting system to be directly funded by the corpus of users )- ตัวอย่างเช่น ค่าลิขสิทธิ์ของ BBC หรือการขอรับเงินบริจาคแก่สถานีเครือข่าย ของ PBS/NPR ในสหรัฐอเมริกา
7. แข่งขันด้านคุณภาพของรายการมากกว่าปริมาณ (Competition in good programming rather than numbers) - คุณภาพถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกในการเป็นผู้ถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะที่แท้จริง แม้ว่าในทางปฏิบัติ การจัดเรทติ้งจะไม่เกี่ยวกับคุณภาพมากนัก แต่มันก็ขึ้นอยู่ว่าจะนิยามคำว่าคุณภาพนั้นไว้อย่างไร
8. กำหนดแนวทางเพื่อให้อิสระแก่ผู้ผลิตรายการ (Guidelines to liberate programme makers and not restrict them) - ในประเทศอังกฤษ จะมีการใช้วิธีการกำหนดแนวทางเป็นตัวช่วยดูแลการทำงานของผู้ผลิตรายการ แทนที่จะเป็นการใช้กฎหมาย ซึ่งแนวทางเหล่านี้จะมีบทลงโทษที่ค่อนข้างเข้มงวด เพื่อช่วยให้การกำกับดูแลมีประสิทธิภาพมากขึ้น
คำอธิบายข้างต้นบางข้ออาจไม่เป็นที่ยอมรับและถูกนำไปใช้ในทุกๆ แห่ง เช่นในสหรัฐอเมริกา การถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะของบางรัฐ อาจเห็นว่าเป็นพันธกิจของตนที่ต้องนำรายการจากต่างประเทศเข้ามานำเสนอแก่ผู้ชม เช่น รายการโชว์จาก CBC/Radio-Canada หรือ BBC เนื่องจากเป็นรายการที่ผู้แพร่ภาพอเมริกันรายอื่นไม่นำมาออกอากาศกันโดยทั่วไป
รูปแบบทางเลือกของการให้บริการสื่อสาธารณะ
รู้จักกันในชื่อของ"สื่อพลเมือง"หรือ "Citizen Media" ซึ่งหมายถึง
การออกอากาศรายการวิทยุ หรือโทรทัศน์ ที่สาธารณะสามารถเข้าถึงได้ สมาชิกของชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดรายการ
อาจอยู่ในลักษณะของของวิทยุชุมชน วิทยุโรงเรียน และโทรทัศน์โดยสาธารณะ (Public-access
television)(*) ซึ่งไม่ได้เป็นการแพร่ภาพผ่านช่องสัญญาณทางอากาศ และจะมีเฉพาะในโทรทัศน์ระบบเคเบิ้ลเท่านั้น
(*) Public-access television in the United States is a form of citizen media,
similar to Canada's community channels, Australia's community television and
other models of media created by private citizens.
Due to the 1984 Cable
Franchise Policy and Communications Act, US cable companies are required to
fund local organizations to provide training and access to media technology
and cable distribution on the local cable systems. This legislation was intended
to enrich communities with the opportunity to produce community-initiated
programming and address local issues and concerns on the electronic medium.
In its conception, public-access television pertained only to the cable television
technology of the times, but many public-access organizations now include
television, radio and the internet within the spectrum of communications.
จุดดี และจุดด้อย
ผู้ถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะอาจได้รับเงินทุนอุดหนุนบางส่วนหรือทั้งหมดจากทางรัฐบาล
โดยมาจากการเรียกเก็บภาษีรายได้ หรือจากค่าลิขสิทธิ์ ผู้ถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะจะไม่พึ่งพิงรายได้จากการโฆษณาอย่างในกรณีของผู้ถ่ายทอดสัญญาณเชิงพาณิชย์
จุดนี้ทำให้การถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะสามารถมีรายการที่ "ขายไม่ได้"
ในตลาดมวลชน เช่น รายการเกี่ยวกับประเด็นสาธารณะ, รายการสารคดีทางวิทยุและโทรทัศน์,
รายการเพื่อการศึกษา, และไม่มีการพยายามเพิ่มเรทติ้งแบบที่ทำกันในเชิงพาณิชย์
บางครั้งจึงถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่ตอบสนองต่อสิ่งที่ผู้ชมต้องการ. แต่บางครั้งก็มีเสียงตอบรับในเชิงบวกว่า
ทำให้ผู้ชมสามารถพบกับเนื้อหาที่มีประเด็นการเจาะลึกและความซับซ้อนมากกว่าที่จะพบกันตามสื่อพาณิชย์.
การถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะจึงสามารถนำเสนอเรื่องราววัฒนธรรมที่มีคุณค่าต่อสังคม
แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากตลาดได้
นอกจากนี้ การถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะยังช่วยส่งเสริมการดำเนินนโยบายด้านวัฒนธรรม
(นโยบายด้านอุตสาหกรรม และการลงทุนเพื่อวัฒนธรรม )
อีกด้วย ตัวอย่างเช่น:
- รัฐบาลแคนาดาถือเป็นหน้าที่ในการเสนอภาษาทางราชการทั้งสองภาษา (ภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส) ผลก็คือ ผู้ถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะอย่าง CBC จ้างล่ามและนักข่าวที่สามารถพูดได้ทั้ง 2 ภาษา และส่งเสริมการผลิตรายการเชิงวัฒนธรรมระหว่างประเทศ ในจุดนี้ ผู้สนับสนุนการแบ่งแยกดินแดน Qu?bec ชี้ให้เห็นว่า การทำเช่นนี้ยังเป็นเรื่องของนโยบายจักรวรรดินิยมเชิงวัฒนธรรมและดูดกลืนทางวัฒนธรรมด้วย
- BBC ของสหราชอาณาจักร สนับสนุนเรื่องการผสมผสานและความหลากหลายทางวัฒนธรรม บางส่วนจึงมีการใช้ผู้บรรยายหรือผู้ดำเนินรายการที่มาจากเชื้อชาติต่างๆ- ในนิวซีแลนด์ ระบบการถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะจะให้ความสำคัญต่อชนเผ่าพื้นเมืองเมารี ผ่านการสนับสนุนรายการเมารี เพื่อเพิ่มโอกาส รักษามรดกทางวัฒนธรรม และส่งเสริมการใช้ภาษาของชนพื้นเมือง
นักวิจารณ์บางคนกล่าวว่า การดำเนินนโยบายเชิงวัฒนธรรมเช่นนี้ เป็นผูกคุณค่าของการถ่ายทอดสัญญาณไว้กับตัวประชาชน อย่างไรก็ตาม ก็มีการโต้แย้งเช่นกันว่า การถ่ายทอดสัญญาณเชิงพาณิชย์ก็มีความโอนเอียงต่อคุณค่าหรือวัฒนธรรมบางรูปแบบ เช่น pop culture ลัทธิทางทหาร ความเบี่ยงเบนทางวัฒนธรรม หรือลัทธิบริโภคนิยม
การถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะ
และกระทั่งการลักลอบส่งสัญญาณ (Pirate broadcasting)(*) จะช่วยถ่วงดุลกับสื่อพาณิชย์
ผู้สนับสนุนประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม หรือประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ (Deliberative
democracy) (**) ยังเห็นว่าการถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะช่วยรักษาประชาธิปไตยยุคใหม่เอาไว้
เพราะสามารถเข้าไปมีส่วนในด้านการหนังสือพิมพ์โดยตัวของมันเอง ในประเทศที่ค่อนข้างร่ำรวย
ผู้ถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะพยายามเลี่ยงจากการเป็นหนี้บุญคุณพรรคการเมืองหรือรัฐบาล
โดยจะใช้เงินทุนที่ได้มาจากค่าลิขสิทธิ์ต่างๆ จึงไม่ต้องพึ่งพิงรัฐบาลในการช่วยเหลือด้านเงินทุนแต่อย่างใด
(*) Pirate broadcasting is unlicensed broadcasting of radio and television.
Pirate radio is by far the most common, as less equipment is usually necessary,
and lower power is usually required to create a usable signal. Some pirate
television outlets have existed, however.
(**)Deliberative democracy, also sometimes called discursive democracy, is a term used by some political theorists, to refer to any system of political decisions based on some tradeoff of consensus decision making and representative democracy. In contrast to the traditional theory of democracy, which emphasizes voting as the central institution in democracy, deliberative democracy theorists argue that legitimate lawmaking can only arise from the public deliberation of the citizenry.
The term "deliberative democracy" was originally coined by Joseph M. Bessette, in "Deliberative Democracy: The Majority Principle in Republican Government," in 1980, and he subsequently elaborated and defended the notion in "The Mild Voice of Reason" (1994). Others contributing to the notion of deliberative democracy include Jon Elster, J?rgen Habermas, Joshua Cohen, John Rawls, Amy Gutmann, James Fishkin, Dennis Thompson, and Seyla Benhabib.
เศรษฐศาสตร์ของการกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ
(Economics of public broadcasting)
หลักการและเหตุผลของการถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะ ก็คือ มีขึ้นเพื่อครอบคลุมถึงทุกความสนใจที่อาจขาดหายไปหรือไม่มีพื้นที่อยู่ในตลาด
การถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะสามารถจัดให้มีหัวข้อความสนใจเหล่านั้น ซึ่งเป็นประโยชน์ทางสังคม
แต่ไม่อาจแพร่ภาพได้ทั่วไปเพราะมองว่าไม่คุ้มค่าด้านผลกำไร สังคมพร้อมที่จะจ่ายเพื่อรายการเหล่านั้น
แต่ตลาดไม่สามารถส่งมอบสิ่งเหล่านั้นได้. ปกติแล้วการขาดแคลนรายการที่ว่า จะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อผลประโยชน์ต่อผู้ชมรายการเชิงพาณิชย์มีมากกว่าประโยชน์ที่ผู้โฆษณาจะได้รับจากผู้ชมรายการประโยชน์ต่อสังคมนั้น
และมักเป็นกรณีของประเทศด้อยพัฒนาที่ผลประโยชน์จากการโฆษณาน้อยมักมีอยู่แล้ว
ซึ่งช่วยอธิบายถึงแนวโน้มที่คนต้องการจะให้มีการถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะได้
อย่างไรก็ตาม มีความกังวลเช่นกันว่าการถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะจะมาเบียดบังพื้นที่การถ่ายทอดสัญญาณของภาคเอกชนที่มีศักยภาพไปด้วย มีการศึกษาวิจัยชิ้นหนึ่ง ได้ศึกษาเปรียบเทียบรายการดนตรีคลาสสิคและดนตรีแจ๊ส ที่นำเสนอโดยวิทยุเอกชนกับวิทยุสาธารณะ พบว่าตลาดโดยรวมที่มีขนาดใหญ่ วิทยุสาธารณะได้เข้ามาแทนที่วิทยุเอกชนแล้ว. แต่อย่างไรก็ตาม การถ่ายทอดฯ ที่ได้รับทุนจากสาธารณะก็ไม่ได้หมายความว่าจะได้รับการตอบรับที่ดีสูงสุดเสมอไป ความล้มเหลวของรัฐบาลอาจเกิดขึ้นได้ หากค่าใช้จ่ายสาธารณะที่ใช้ในการอุดหนุนนั้นมีมากกว่าประโยชน์ที่ได้รับ
สิ่งหนึ่งที่ถือเป็นลักษณะเฉพาะของการถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะในสหรัฐอเมริกา ก็คือ การให้ทุนโดยผู้บริโภค หรือ Consumer funding ที่ทำให้เกิดสถานการณ์เศรษฐกิจที่มีปัญหาเฉพาะตัวขึ้นอย่างหนึ่ง กล่าวคือ ปัญหาการเอาเปรียบที่เรียกว่า "free rider problem" เกิดขึ้นเพราะผู้บริโภคที่เป็นปัจเจกชนบางกลุ่มที่ได้รับประโยชน์/คุณค่าจากรายการต่างๆ ไม่ยอมบริจาคและให้ผู้บริโภคทั่วไปคนอื่นๆ ต้องแบกรับภาระเงินทุนอุดหนุนในสัดส่วนมหาศาล
ผู้บริโภคที่เห็นคุณค่าของการกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะมากที่สุดและต้องการให้ได้รายรับจำนวนมาก มักจะเป็นผู้บริจาคเงินมากกว่าที่ควรจะเป็น เมื่อเปรียบเทียบกับยอดการบริจาคที่ทุกคน "ควรจะ" ต้องจ่าย ผลที่คาดว่าจะตามมาคือ การบริการกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะที่ต้องอาศัยการบริจาคเงินจากผู้บริโภค ซึ่งถือเป็นเรื่องของความสมัครใจจะไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ ซึ่ง องค์กรวิทยุสาธารณะแห่งชาติ, การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ และกลุ่มเครือข่ายประเภทนี้ ล้วนประสบกับปัญหาคล้ายคลึงกัน
นวัตกรรมทางเศรษฐศาสตร์
(Economic Innovation)
การถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะนับเป็นผู้นำในการแนะนำรายการประเภทใหม่ๆ ขณะที่วงการตลาดมักไม่นิยมนำเสนอรายการรูปแบบใหม่ๆ
เพราะเห็นว่ามีความเสี่ยงอยู่มาก สื่อพาณิชย์จะใช้รายการที่ผ่านการทดสอบและยอมรับแล้วจากผู้บริโภค
เมื่อชมรายการที่แพร่ภาพผ่านทางการถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะ ก็จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่ารายการประเภทสอนทำอาหาร
วิทยาศาสตร์ การปรับปรุงที่พักอาศัย ธุรกิจ ประวัติศาสตร์และรายการเด็ก มักเริ่มมีขึ้นในบริการการถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะเป็นที่แรกแทบทั้งสิ้น
และเป็นเวลาอีกหลายปีหรือนับทศวรรษกว่าที่จะมีการนำเสนอกันในเครือข่ายโทรทัศน์แบบเคเบิ้ล
(Cable network)
การที่บริการการถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะ ยอมลงทุนในรายการที่ยังไม่เคยมีการทดสอบตลาดมาก่อน ก็เพราะเชื่อว่าผู้ชมจะสามารถได้รับประโยชน์จากรายการเหล่านั้น และเชื่อว่ายังมีพื้นที่บางส่วนที่ขาดหายไป (missing market) ซึ่งผู้ชมน่าจะได้รับคุณค่าและทำให้การใช้ชีวิตแต่ละวันมีอะไรมากขึ้นกว่าเดิม (ด้วยการให้ประโยชน์ใช้สอยที่มากขึ้น) อุตสาหกรรมสื่อพาณิชย์ไม่ต้องการลงทุนในรายการโชว์ที่ยังไม่มีการทดลองผล ดังนั้น หากไม่มีองค์การอย่างหน่วยงานการกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ หรือ "PBS" ประเภทรายการที่แตกต่างออกไปก็จะไม่มีปรากฏให้เห็นในตลาดเลย การถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะจึงเท่ากับช่วยนำเสนอสิ่งที่มีคุณภาพเข้าสู่ตลาดเพื่อส่งมอบประโยชน์แก่ผู้บริโภค หากไม่มีองค์กรที่คอยทดลองรายการคุณภาพใหม่ๆ เช่นนี้แล้ว ผู้บริโภคก็คงไม่สามารถได้รับประโยชน์จากการชม / ฟังสื่อได้ จะมีทางเลือกน้อยลง และสิ่งที่เรียกว่านวัตกรรมหรือการริเริ่มใหม่ๆ ก็จะเกิดขึ้นอย่างเชื่องช้า
ตัวอย่างของการดำเนินงานบริการถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะทั่วโลก
(Implementation of public broadcasting around the world)
British Broadcasting
Corporation (BBC) ซึ่งก่อตั้งในช่วงทศวรรษ 1920 เป็นองค์กรที่ได้รับการเชื่อถืออย่างกว้างขวาง
กระทั่งจาก Axis power (*) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยรูปแบบของ BBC ได้กลายมาเป็นแบบอย่างที่นำไปใช้ทั่วภาคพื้นยุโรป
จักรวรรดิอังกฤษ และ Commonwealth ในเวลาต่อมา หน่วยงานบริการการถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะจำนวนมากทั่วโลกต่างนำเอารูปแบบการทำงานที่ใช้ในอังกฤษ
ไปประยุกต์ใช้เป็นต้นแบบพื้นฐานในการทำงานเช่นกัน
(*) The Axis Powers, also interpreted as Axis alliance, Axis nations, Axis
countries or sometimes just the Axis were those countries opposed to the Allies
during World War II. The three major Axis powers, Nazi Germany, Fascist Italy,
and Imperial Japan were part of a military alliance on the signing of the
Tripartite Pact on September 1940, which officially founded the Axis powers.
การถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะในยุคสมัยใหม่มักจะมีรูปแบบเชิงพาณิชย์ผสมอยู่ด้วย ตัวอย่างเช่น
CBC (Canadian Broadcasting Corporation) จะอาศัยเงินอุดหนุนจากรายได้ของรัฐบาลและมีรายรับจากการโฆษณาร่วมด้วย
เพื่อเป็นเงินช่วยเหลือในการให้บริการโทรทัศน์ ซึ่งหมายความว่า บางช่องย่อมต้องแข่งขันกับสถานีที่แพร่ภาพเชิงพาณิชย์
จนมีบางคนกล่าวว่ามันทำให้ความเข้มข้นการทำหน้าที่ผู้ถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะที่แท้จริง
(ที่จะต้องไม่มีความลำเอียงหรืออคติทางธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้องกับการทำงาน) จางหายลงไป
ต่อไปจะเป็นการยกตัวอย่างให้เห็นถึงการดำเนินงานถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะ จากประเทศต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งมีความน่าสนใจและมีลักษณะเฉพาะตัว
...ทวีปเอเชีย...
ปากีสถาน
องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะที่รัฐบาลปากีสถานเป็นเจ้าของ มีชื่อว่า
PBC ซึ่งย่อมาจาก Pakistan Broadcasting Corporation ประกอบด้วย PTV (Pakistan
Television) และ Radio Pakistan ในอดีตนั้น PBC ได้รับเงินอุดหนุนสาธารณะจากการขายลิขสิทธิ์
TV, วิทยุ และ VTR ยุคแห่งการแพร่ภาพโทรทัศน์ของปากีสถานเริ่มต้นขึ้นที่สถานีโทรทัศน์นำร่องขนาดเล็ก
ที่เมือง Lahore โดยการถ่ายทอดสัญญาณครั้งแรกเป็นการแพร่ภาพแบบขาว-ดำ ในวันที่
26 พฤศจิกายน 1964 มีการก่อตั้งศูนย์กลางโทรทัศน์ในเมือง Dakha, Karachhi และ
Rawalpindi / Islamabad ในปี 1967 และต่อมาที่เมือง Peshawar และ Quetta ในปี
1974 PTV มีหลายช่องที่แพร่ภาพไปทั่วโลก อาทิ PTV National, PTV World, PTV2,
PTV Global, PTV Bolan ฯลฯ ส่วน Radio Pakistan ก็มีสถานีครอบคลุมในหลายๆ เมืองหลัก
โดยครอบคลุมพื้นที่ถึง 80% ของประเทศ มีผู้รับฟังถึง 95.5 ล้านคน และมีการกระจายเสียงใน
7 ภาษาทุกวัน
ฮ่องกง
สำหรับฮ่องกงนั้น มี Radio Television Hong Kong (RTHK) เป็นผู้บริการถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะเพียงรายเดียว
แม้ว่าจะเป็นแผนกหนึ่งของรัฐบาลที่อยู่ภายใต้การบริหารตามลำดับชั้น แต่ก็มีความเป็นเอกเทศในการจัดทำบทบรรณาธิการ
และผู้อำนวยการจะได้รับการแต่งตั้งขึ้นภายในแผนกนั่นเอง. การทำงานของ RTHK ประกอบด้วยคลื่นวิทยุ
7 ช่อง และผลิตรายการโทรทัศน์และแพร่ภาพผ่านช่องโทรทัศน์พาณิชย์ทั่วไป ทั้งนี้ช่องโทรทัศน์พาณิชย์จะต้องจัดสรรช่วงเวลาสำหรับการแพร่ภาพให้กับรายการของ
RTHK ตามกฎหมายของฮ่องกง
ญี่ปุ่น
การถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะในญี่ปุ่น มีผู้ถ่ายทอดหลักคือ NHK (Japan Broadcasting
Corporation) ซึ่งในบางครั้ง คนจะเข้าใจว่ารวมไปถึง Radio Tokyo ที่เป็นภาษาอังกฤษด้วย
หน่วยงานนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1926 และยึดต้นแบบมาจาก British Broadcasting
Company ซึ่งเป็นบริษัทที่เกิดขึ้นมาก่อน British Broadcasting Corporation ที่ก่อตั้งในปี
1927. NHK คล้ายกับ BBC คือได้รับเงินจากค่าธรรมเนียมการรับสัญญาณ (receiving
fee) จากทุกครัวเรือนในญี่ปุ่น โดยไม่มีการโฆษณาเชิงพาณิชย์ และยึดมั่นในการรักษาความเป็นกลางทางการเมือง
NHK มีสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน 2 ช่อง (NHK General และ NHK Educational) และที่ส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมอีก
3 ช่อง (NHK BS-1, BS-2 และ ช่องบริการโทรทัศน์ความละเอียดสูง hi-definition
NHK Hi-Vision). NHK ยังให้บริการวิทยุภายในประเทศ 3 คลื่นและให้บริการวิทยุ-โทรทัศน์นานาชาติอีกมาก
เช่นเดียวกับ BBC World Service นอกจากนี้ NHK ยังเป็นผู้คิดค้นในการพัฒนาเทคโนโลยีโทรทัศน์แบบความละเอียดสูง
(High definition) เป็นรายแรกของโลกในปี 1964 และเริ่มต้นให้บริการในญี่ปุ่นในปี
1981
มาเลเซีย
RTM เป็นหน่วยงานถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะที่รัฐบาลมาเลเซียเป็นเจ้าของ ย่อมาจาก
Radio Television Malaysia (Malaysian Radio and Television) RTM เคยได้รับเงินช่วยเหลือสาธารณะจากการขายลิขสิทธิ์โทรทัศน์
แต่เมื่อการขายลิขสิทธิ์ได้ถูกยกเลิกไป ปัจจุบันรัฐจึงได้เข้ามาให้การสนับสนุนแทน
ขณะนี้ RTM ดูแลสถานีวิทยุระดับประเทศ 8 สถานี, 16 สถานีรัฐ และ 7 สถานีท้องถิ่น รวมถึงสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดินอีก 2 ช่องคือ RTM1 และ RTM2. ปัจจุบัน RTM กำลังทำการทดลองช่องโทรทัศน์ระบบดิจิตอล ที่ชื่อว่า RTMi การทดลองนี้เริ่มขึ้นในเดือนกันยายน 2006 ในพื้นที่ของ Klang Valley โดยมีผู้ร่วมทดสอบ 200 ครัวเรือน และคาดว่าจะทดลองเสร็จสิ้นในเดือนมีนาคม 2007
...ทวีปยุโรป...
หลายประเทศส่วนใหญ่ยุโรป ผู้ถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะของรัฐได้รับเงินช่วยเหลือทั้งจากการขายโฆษณาและเงินอุดหนุนสาธารณะ
จากค่าธรรมเนียมการขายลิขสิทธิ์หรือได้รับเงินโดยตรงจากรัฐบาล
เยอรมนี
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พวกนาซีได้รวบสถานีถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะระดับภูมิภาคเข้าเป็นเครือข่ายระดับชาติเพียงแห่งเดียว
เพื่อสร้างช่องทางที่ทรงอำนาจในการโฆษณาชวนเชื่อ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กองกำลังสัมพันธมิตรได้เข้ามามีส่วนช่วยในการจัดโครงสร้างแบบกระจายอำนาจและเป็นอิสระให้แก่การถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะเยอรมัน
และก่อตั้งหน่วยงานถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะระดับภูมิภาค ซึ่งยังคงอยู่ต่อมาถึงทุกวันนี้
นอกจากสถานีโทรทัศน์และวิทยุภูมิภาคทั้ง 9 แห่ง ซึ่งดำเนินการภายใต้สมาคมแห่งกฎหมายเกี่ยวกับการกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะของสาธารณรัฐเยอรมนี (ARD -Arbeitsgemeinschaft der offentlich-rechtlichen Rundfunkanstalten der Bundesrepublik Deutschland - "Consortium of public-law broadcasting institutions of the Federal Republic of Germany") และต่อมาได้ก่อตั้งสถานีโทรทัศน์แห่งชาติแห่งที่ 2 (ZDF) เมื่อปี 1961 และสถานีวิทยุแห่งชาติ 2 เครือข่าย (Deutschlandradio) ซึ่งพัฒนาต่อมาจากสถานีที่ถูกใช้ในช่วงสงครามเย็นเมื่อปี 1994
บริการทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ได้รับการช่วยเหลือด้านการเงินจากค่าธรรมเนียมลิขสิทธิ์ที่ผู้ชม-ผู้ฟังทุกคนที่ได้ตั้งค่าเครื่องรับสัญญาณไว้เป็น "ready for use" และมีคณะตัวแทนผู้เกี่ยวข้องกับสังคม (socially relevant group) เป็นผู้กำกับดูแลการทำงาน สถานีโทรทัศน์และวิทยุสาธารณะจะใช้เงินราว 60% จากจำนวนเงินราวหนึ่งพันล้านยูโร เพื่อบริการถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะในเยอรมนีในแต่ละปี
เนเธอร์แลนด์
ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีระบบที่ต่างออกไปซึ่งถูกนำไปใช้ในหลายประเทศเช่นกัน กล่าวคือ
องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะจะจัดสรรเงินและเวลาในการแพร่สัญญาณรายการของตนในช่องโทรทัศน์และวิทยุที่เป็นของสาธารณะ
โดยเวลาและทุนทรัพย์ที่จัดแบ่งจะเป็นไปตามสัดส่วนของจำนวนสมาชิก ระบบนี้มุ่งที่จะสะท้อนถึงความหลากหลายของทุกกลุ่มชนที่ได้ประกอบรวมกันเป็นชาติ
สหราชอาณาจักร
สหราชอาณาจักร เป็นประเทศที่มีประเพณีของการบริการถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะที่เข้มแข็ง
นอกจากจะมี British Broadcasting Corporation ที่ตั้งขึ้นเมื่อ 1922 แล้วยังมีช่อง
4 ซึ่งเป็นผู้ถ่ายทอดสัญญาณเชิงพาณิชย์ที่มีรัฐเป็นเจ้าของ ช่อง S4C ซึ่งแพร่ภาพ-เสียงในภาษาเวลส์
ทั้งนี้ ยังมีการถ่ายทอดสัญญาณแบบอนาล็อก ที่เป็นแบบพาณิชย์อีก 2 ช่อง นั่นคือ
ITV และ Five ซึ่งมีเงื่อนไขข้อบังคับในการให้บริการสาธารณะที่เข้มงวดและเป็นส่วนหนึ่งของลิขสิทธิ์ในการถ่ายทอดสัญญาณ
สแกนดิเนเวีย
หน่วยงานกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งชาติของประเทศกลุ่มสแกนดิเนเวีย ได้นำเอารูปแบบการดำเนินงานของ
BBC มาใช้และเพิ่งเริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อไม่กี่ปีมนี้เอง อาทิ NRK (ประเทศนอร์เวย์)
ก่อตั้งเมื่อปี 1924, Denmarks Radio (ประเทศเดนมาร์ค) และ Sveriges Radio (ประเทศlสวีเดน)
ก่อตั้งเมื่อปี 1925 และ YLE (ประเทศฟินแลนด์) ก่อตั้งในปี 1926 ทั้ง 4แห่งนี้ต่างได้รับเงินมาจากค่าธรรมเนียมโทรทัศน์
ในอัตราที่เทียบเท่ากับของ BBC นั่นคือ ราว 110 ดอลล่าร์สหรัฐต่อคนต่อปี (2005)
...ทวีปอเมริกาเหนือ...
แคนาดา
หน่วยงานหลักด้านการกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะของแคนาดา คือ Canadian Broadcasting
Corporationหรือ CBC ซึ่งดำเนินกิจการโทรทัศน์ 2 เครือข่าย (CBC Television และ
SRC) วิทยุ 4 เครือข่าย (CBC Radio One, CBC Radio Two, La Premi?re Chaine และ
Escape musique) และช่องข่าว 24 ชั่วโมงอีก 2 ช่อง (CBC Newsworld และ RDI) โดยถ่ายทอดรายการเป็นภาษาราชการของแคนาดาทั้ง
2 ภาษา (อังกฤษ และฝรั่งเศส). ทุนในการดำเนินกิจการโทรทัศน์ของ CBC ส่วนหนึ่งมาจากการโฆษณา
นอกเหนือจากเงินภาษีที่ได้จากรัฐบาลกลาง ในขณะที่กิจการวิทยุจะไม่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์เลย
(commercial-free) เมื่อไม่กี่ปีมานี้ CBC มักมีปัญหารบกวนบ่อยครั้งจากการตัดงบประมาณ
และกรณีพิพาทเกี่ยวกับแรงงาน
นอกจากนี้ หลายๆ เมืองยังมีการดำเนินการถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะ ซึ่งเป็นเครือข่ายที่แยกออกมาไม่ขึ้นกับ CBC และมีสิทธิในการดำเนินงานของตนเอง ซึ่งรวมถึงช่องภาษาอังกฤษ TVOntario และช่องภาษาฝรั่งเศส TFO ใน Ontario ช่อง Tele-Quebec ใน Quebec ช่อง SCN ของเมือง Saskatchewan สถานีวิทยุสาธารณะ CKUA ในเมือง Alberta และ Knowledge Network ใน British Columbia ผู้ถ่ายทอดสัญญาณในบางเมืองจะถ่ายทอดสัญญาณผ่านสถานีทวนสัญญาณ บางส่วนจะให้บริการในระบบเคเบิ้ลเท่านั้น
Alberta ยังมีเครือข่ายโทรทัศน์กึ่งสาธารณะชื่อว่า ACCESS ซึ่งมีลิขสิทธิ์ในการถ่ายทอดรายการสาธารณะ แต่อยู่ภายใต้การบริหารงานขององค์กรธุรกิจ นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะที่ต่อมาได้ขายให้กับ CHUM Limited ในปี 1995. สำหรับช่องวิทยุ CJRT-FM ในเมือง Toronto ก็ได้ดำเนินงานแบบสาธารณะที่บริหารงานโดยรัฐบาลอยู่หลายปี จนต่อมาเมื่อไม่ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลท้องถิ่น ก็ได้รับงบประมาณมาจากผู้รับฟังและผ่านการบริจาค โดยได้รับอนุญาตให้มีการโฆษณาเพื่อการพาณิชย์ในระหว่างการกระจายเสียงน้อยที่สุด. สถานีโทรทัศน์ CFTU แห่งเมือง Montreal ทำหน้าที่เป็นสถานีเพื่อการศึกษา ซึ่งมีมหาวิทยาลัย Montreal (Universite de Montreal) เป็นเจ้าของคลื่น และมหาวิทยาลัยบางแห่งยังได้จัดช่องทางเคเบิ้ลทีวีเพื่อแพร่ภาพรายการเพื่อการศึกษาด้วยเช่นกัน แต่ยังไม่มีมหาวิทยาลัยแห่งไหนในแคนาดาที่ดำเนินงานสถานีโทรทัศน์
สถานีชุมชนบางแห่งดำเนินกิจการโดยได้รับเงินผ่านการบริจาคของหน่วยงานหรือประชาชนทั่วไป นอกจกนี้ บริษัทเคเบิ้ลทีวียังต้องดูแลการผลิตช่องรายการท้องถิ่น ซึ่งช่องเหล่านั้นจะออกอากาศรายการสนทนาของชุมชน การประชุมของคณะทำงานประจำท้องถิ่น และรายการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชุมชนท้องถิ่น และพบว่าช่องต่างๆ ได้เริ่มที่จะปรับรูปแบบรายการและมีการสร้างแบรนด์ของช่องสถานีข่าวท้องถิ่นมากขึ้น. นอกจากนี้ จะพบว่าแคนาดาเป็นประเทศที่มีสถานีวิทยุของสถาบันการศึกษาและวิทยุชุมชนอีกเป็นจำนวนมากด้วย
สหรัฐอเมริกา
การถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะในสหรัฐอเมริกา นับว่ามีอายุยาวนานพอๆ กับที่มีการแพร่ภาพและกระจายเกิดขึ้นในประเทศเลยทีเดียว
สถานีสาธารณะแรกๆ จะมีวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยประจำรัฐเป็นผู้ดำเนินงาน และเป็นสวนหนึ่งของบริการด้านการขยายความร่วมมือระหว่างองค์กร.
สถานีในยุคนั้นมักได้รับงบจากภายในองค์กรและไม่พึ่งพิงเงินช่วยเหลือจากผู้ชม
และมีบางส่วนที่ยอมให้มีการโฆษณา เครือข่ายสถานีอย่าง lowa, South Dakota และ
Wisconsin Public Radio ต่างก็เริ่มต้นในลักษณะนี้เช่นกัน
แนวคิดเรื่องสถานีปลอดธุรกิจ-เพื่อการศึกษา ("non-commercial, educational") ยังไม่ได้ปรากฏในกฎหมายของสหรัฐอเมริกาจนกระทั่งช่วงทศวรรษ 1940 เมื่อคลื่น FM ได้ย้ายมายังที่ตั้งทำการปัจจุบัน ซึ่งมีช่วงคลื่นความถี่อยู่ระหว่าง 88.1 ถึง 91.9 MHz แต่ก็ไม่ได้มีการจำกัดการใช้คลื่นวิทยุดังกล่าวแต่อย่างใด ตัวอย่างเช่น WBAA-West Lafayette Ind. ได้เข้าใช้คลื่นความถี่ FM 101.3 MHz ในการกระจายเสียงของตนเอง โทรทัศน์เพื่อการศึกษา ถือเป็นผู้นำแห่งโทรทัศน์สาธารณะสมัยใหม่ของอเมริกา ออกอากาศในเมืองใหญ่ๆ ในช่วงทศวรรษ 1950 สำหรับในพื้นที่ชนบท จะพบว่าวิทยาลัยมักจะดำเนินกิจการสถานีในรูปแบบเชิงพาณิชย์แทน (อาทิ ช่องโทรทัศน์ KOMU ของมหาวิทยาลัย Missouri อันเป็นช่องที่ขึ้นกับ NBC)
ทั้งนี้ การถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะมีลักษณะแบบกระจายอำนาจและรัฐบาลไม่ได้เป็นผู้บริหารงาน เพียงแต่ให้การสนับสนุนเท่านั้น ส่วนใหญ่ของเงินทุนมาจากการช่วยเหลือของชุมชนที่ให้แก่สถานีวิทยุสาธารณะและสถานีโทรทัศน์นับร้อยแห่ง ซึ่งแต่ละแห่งจะเป็นองค์กรปัจเจกที่ให้ลิขสิทธิ์แก่หน่วยงานไม่แสวงหากำไร เทศบาล รัฐบาลท้องถิ่น หรือมหาวิทยาลัย แหล่งเงินทุนอาจรวมถึงเงินที่ได้จากการออกอากาศ (on-air fun drives) และการขายช่วงเวลาสำหรับ underwriting spot ขอบคุณผู้ให้การสนับสนุน (ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เวลา 15-30 วินาที)
สำหรับกรณีของสถานีวิทยุสาธารณะ หน่วยงานวิทยุและโทรทัศน์สาธารณะผลิตรายการด้วยตนเอง แต่ส่วนใหญ่จะซื้อรายการหรือรับรายการมาจากผู้ผลิตรายการแห่งชาติหรือผู้จัดรายการอย่าง National Public Radio (NPR), Public Broadcasting Service (PBS), Public Radio International (PRI), American Public Television (APT) และ American Public Media การให้การสนับสนุนวิทยุและโทรทัศน์สาธารณะของรัฐบาลแห่งสหรัฐอเมริกาจะผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากหน่วยงานเฉพาะกิจที่เรียกว่า Corporation for Public Broadcasting (CPB)
โทรทัศน์
ในสหรัฐอเมริกา เครือข่ายการถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะทางโทรทัศน์ (ซึ่งเดิมคือ National Educational Television) จะให้บริการบนพื้นฐานที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ชมจำนวนมาก โดยมีผู้สนับสนุนจากภาคธุรกิจในเฉพาะบางรายการ ต่อมาการประกาศการให้การสนับสนุน (หรือที่เรียกว่า underwriting) ก็ได้ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงมามีรูปแบบที่คล้ายกับการโฆษณาตามโทรทัศน์ปกติทั่วไป แม้ว่าจะกินระยะเวลาสั้นกว่าและมีการลบเสียงออกบ่อยครั้งกว่าที่ฉายทั่วไปในช่องโทรทัศน์พาณิชย์หรือช่องทางเคเบิ้ล หลายๆ องค์กรยังคงได้รับการประกาศขอบคุณเพียงช่วงเวลาสั้นๆ สำหรับการช่วยเหลือ การขอบคุณแบบ Underwriting เป็นประโยคของการประกาศให้ทราบ (ซึ่งรวมถึงสโลแกน) และไม่รวมถึงการเชิญชวน ("call to action") ชุมชนหลายๆ แห่งมีบริการสาธารณะในการเข้าถึงสถานีโทรทัศน์แบบเคเบิ้ลท้องถิ่น ซึ่งบ่อยครั้งที่ได้รับการช่วยเหลือส่วนหนึ่งผ่านการบริจาคการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์สาธารณะของอเมริกา ซึ่งเริ่มมีมาตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษที่ 1960 นั้น ได้พบกับการวิพากษ์วิจารณ์รุนแรงจากบรรดานักการเมืองแนวอนุรักษ์นิยมและกลุ่มผู้เชี่ยวชาญว่า การจัดรายการต่างๆ ของโทรทัศน์สาธารณะนั้นเอียงซ้าย การถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะของอเมริกามีลักษณะเป็นบริการเฉพาะกลุ่ม รายการที่แพร่ภาพจะไม่ใช่สิ่งที่พบได้ที่อื่น เช่น รายการวัฒนธรรม สารคดี และรายการโชว์เกี่ยวกับประเด็นสังคม ซึ่งตรงข้ามกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับระบบการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์สาธารณะของยุโรป ที่ดูจะมีอิทธิพลต่อตลาดระดับชาติ
วิทยุ
เครือข่ายวิทยุสาธารณะ หรือ National Public Radio (NPR) เกิดขึ้นเมื่อปี 1970 ภายหลังการออกกฎหมายเรื่องการการถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะ (Public Broadcasting Act of 1967) ซึ่งส่งผลให้เกิดหน่วยงานที่ชื่อ Corporation for Public Broadcasting (CPB) เครือข่ายที่ว่านี้ (ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นเครือข่ายเฉพาะสำหรับ Pacifica) มักรู้จักกันในชื่อเรียกทั่วไปว่า "Public Radio" สถานีวิทยุสาธารณะของท้องถิ่นที่บริหารงานอิสระ จะซื้อรายการมาจากผู้ผลิตรายการ เช่น NPR, Public Radio International (PRI), American Public Media (APM), The Public Radio Exchange (PRX) และ Pacifica ส่วนใหญ่มักจะกระจายผ่านทางวิทยุสาธารณะระบบดาวเทียม (Public Radio Satellite System - PRSS) ในบรรดารายการที่ออกอากาศเหล่านั้น สถานีจะสอดแทรกรายการของทางท้องถิ่นในปริมาณที่แตกต่างกันไปสถานีวิทยุสาธารณะในสหรัฐอเมริกา พยายามที่จะถ่ายทอดรายการที่มีการผสมผสานกันทั้งรายการข่าว รายการสนทนา (talk radio) ร่วมกับการเปิดเพลง ในกรณีที่มีรายการหนาแน่นมาก อาจมีการแบ่งประเภทของรายการแยกออกไปตามแต่ละสถานีหรือแต่ละเครือข่าย สถานีเพลงจะเป็นที่รู้จักกันดีว่ามักจะเล่นเพลงคลาสสิค แม้ว่าจะมีการเปิดดนตรีแนวอื่นด้วย รวมถึงแนวเพลงยอดนิยมแห่งยุคอย่าง eclectic ที่ค่อนข้างมีลักษณะอิสระไร้กฎเกณฑ์ (แบบเดียวกับสถานีวิทยุของวิทยาลัย ที่มีเพลงแจ๊สเป็นรายการหลักอีกอย่างหนึ่ง) XM Satellite Radio ดำเนินงานในฐานะสถานีสำหรับรายการวิทยุสาธารณะ ซึ่งใช้ลิขสิทธิ์ที่ได้จากผู้จัดรายการที่มีเนื้อหาทั้ง 3 ประเภทแก่สถานีวิทยุสาธารณะ
สถานีท้องถิ่นส่วนใหญ่จะนำเงินทุนมาจากการระดมทุน (pledge drives) (*) และจากการให้การสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ สถานีท้องถิ่นจะทำสัญญากับผู้จัดหารายการและผลิตรายการด้วยตนเองในบางส่วน. NPR จะผลิตรายการส่วนหนึ่งจากผังรายการทั้งหมด เช่น Morning Edition, Weekend Edition และ All Things Considered ซึ่งตรงกันข้ามกับ PBS ที่จะไม่สร้างรายการ/เนื้อหาขึ้นเอง NPR ยังได้รับเงินโดยตรงจากการบริจาคส่วนบุคคล และจากหน่วยงาน Corporation for Public Broadcasting ส่วนเครือข่ายสาธารณะอื่นๆ อย่าง Pacifica จะได้รับเงินจากสมาชิก และไม่รับการสนับสนุนด้วยเงินจำนวนมากจากองค์กรหรือแหล่งเงินทุนของรัฐบาล
(*)A pledge drive is an extended period of fundraising activities, generally used by public broadcasting stations to increase contributions. The term "pledge" originates from the promise a contributor makes to send in funding at regular intervals for a certain amount of time. During a pledge drive, regular programming is interrupted by an appeal for pledges by station employees, who ask the audience to make their contributions, usually by phone or the Internet, during this break.
...ภาคพื้นมหาสมุทร Oceania...(*)
(*) Oceania: A large group of islands in the south Pacific
including Melanesia and Micronesia and Polynesia (and sometimes Australasia
and the Malay Archipelago)
ออสเตรเลีย
หน่วยงานด้านการแพร่ภาพและกระจายเสียงสาธารณะของออกเตรเลีย มีชื่อเรียกว่า Australian
Broadcasting Corporation (ABC) ซึ่งได้รับเงินในบริหารงานทั้งหมดจากเงินทุนช่วยเหลือของรัฐบาลออสเตรเลีย
ซึ่งมีโอกาสที่จะถูกตัดออกจากงบประมาณอยู่มาก บริการพิเศษที่สนใจเกี่ยวกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมอย่าง
Special Broadcasting Service หรือ SBS ซึ่งเป็นผู้ถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะอีกรายหนึ่ง
ตอนนี้เริ่มยอมรับกับการโฆษณาและการสนับสนุนรายการ ในปริมาณที่จำกัด สำหรับ Imparja
(*) นั้น เป็นผู้ถ่ายทอดสัญญาณชุมชนโทรทัศน์อะบอริจิน ซึ่งได้รับทุนดำเนินงานจากรัฐบาลกลาง
รายการส่วนใหญ่เป็นการซื้อมาจากผู้ถ่ายทอดสัญญาณเชิงพาณิชย์ของออสเตรเลียเอง
และมีเพียงส่วนน้อยที่ออกอากาศเนื้อหาของท้องถิ่น
(*)Imparja Television is an Australian television network servicing remote
eastern and central Australia, that began broadcasting on January 2, 1988.
It is based in Alice Springs, where it has a studio and satellite uplink facility.
Notably, it is controlled by Australian Aborigines and is widely regarded
as a symbol of Aboriginal Australia. Most viewers receive Imparja via free
to view satellite transmission, whilst a smaller proportion receive the network
via analog terrestrial transmission.
Imparja is an Arrernte
word meaning footprints. The word is used to represent that Imparja Television
aims to service Arrente people wherever they may live, from Mutitjulu to King's
Canyon to Alice Springs to Tennant Creek and beyond. They describe their range
as a footprint.
นอกจากนี้ ยังมีภาคการสื่อสารระดับชุมชนขนาดใหญ่ ที่ได้รับเงินบางส่วนจากงบกลางผ่านมาทางมูลนิธิการกระจายเสียงและแพร่ภาพระดับชุมชน
(Community Broadcasting Foundation) โดยที่เงินส่วนใหญ่จะมาจากการสมัครสมาชิก
การบริจาค และการให้การสนับสนุนทางธุรกิจ ตามข้อมูลเมื่อเดือนมิถุนายน 2005 พบว่า
มีจำนวนสถานีวิทยุระดับชุมชนและจำนวนของสถานีโทรทัศน์ชุมชน (ซึ่งแม้จะต่างรัฐก็มักจะใช้ช่อง
31 กันเป็นส่วนใหญ่) ที่ได้รับลิขสิทธิ์อย่างสมบูรณ์ถึง 442 แห่ง ในที่นี้นับรวมบริการทางไกลท้องถิ่นด้วย
ลักษณะของการจัดโครงสร้างองค์กรใกล้เคียงกับสถานี PBS และ NPR ในสหรัฐอเมริกา
และทำหน้าที่แบบเดียวกับสถานีในสหรัฐอเมริกา
นิวซีแลนด์
สำหรับประเทศนิวซีแลนด์นั้น เดิมมีผู้ถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะ BCNZ (ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาจาก
NZBC) แต่ต่อมาได้แยกออกมาเป็นหน่วยงานที่รัฐบาลเป็นเจ้าของได้แก่ Television
New Zealand (TVNZ) และ Radio New Zealand (RNZ) ในขณะที่ RNZ นั้นยังคงดำเนินงานโดยปราศจากเรื่องของธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้อง
เงินทุนราว 90% ของ TVNZ คืนกลับมาจากการขายเวลาสำหรับโฆษณาคั่นรายการทางสถานีโทรทัศน์ทั้ง
2 ของตน TVNZ ยังคงทำหน้าที่เป็นผู้ถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะ อย่างไรก็ตาม มันก็มีลักษณะคล้ายคลึงกับสถานีโทรทัศน์
CBC ของแคนาดา ที่ดำเนินงานแบบเครือข่ายทางธุรกิจ ที่ยังต้องต่อสู้กับการจัดเรทติ้งกับสถานีคู่แข่งอื่นๆ
รายการที่ TVNZ นำเสนอแก่ประชาชน รวมถึงรายการยอดนิยมอย่าง Desperate Housewives, ER, Lost, Cold Case และ Dancing with the Stars. TVNZ นั้นบริหารสถานีโทรทัศน์ 2 แห่งคือ TVONE และ TV2 ทั้งยังครองความนิยมจากผู้ชมส่วนใหญ่ในประเทศด้วย และด้วยความนิยมอย่างสูงนี้เอง ทำให้การขายช่วงเวลาสำหรับโฆษณาที่สถานีเหล่านั้นมีราคาแพงที่สุดในประเทศทีเดียว
รัฐบาลเป็นเจ้าของเครือข่ายของช่องโทรทัศน์ที่สงวนไว้สำหรับการถ่ายทอดสัญญาณระดับภูมิภาค
ซึ่งบางช่องได้มอบให้แก่ชุมชน ที่ไว้วางใจเพื่อให้บริการสาธารณะและบริการด้านการเข้าถึงโทรทัศน์
ตัวอย่างเช่น Triangle TV (*) ใน Auckland และ Wellington และช่อง 7 ที่แพร่ภาพใน
Taranaki
(*)Triangle Television is a television station in Auckland and Wellington,
New Zealand. It is a not-for-profit trust which runs the public service, non-commercial
and Government-owned UHF channel for the Auckland and Wellington regions.
It started broadcasting in Auckland on 1 August, 1998 and in Wellington on
25 August, 2006. The Wellington station is run from Auckland using an IP link.
It has much programming in common with Auckland.
It broadcasts programs in many different languages as it is run as a public station. This means anyone can make a program for them. It is a popular service for ethnic and faith communities in the city who can't see their own programmes or hear their own languages anywhere else on New Zealand television.
The station acts independently
from all program providers. According to Triangle Television, this independence
ensures Triangle Television 'cannot be controlled by individuals or groups
with their own agendas'
...ละตินอเมริกา...
บริการวิทยุและโทรทัศน์สาธารณะในละตินอเมริกาไม่ได้มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่เข้มแข็งอย่างกรณีของยุโรป
แม้ว่ารัฐจะเข้ามามีส่วนร่วมอยู่บ้าง มาตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1970 ก็ตาม รูปแบบการดำเนินงานที่ใกล้เคียงกับของ
BBC แห่งอังกฤษคงจะเป็น Television Nacional (*) ของประเทศชิลี ซึ่งเป็นช่องเปิดสำหรับให้บริการทั่วทั้งประเทศ
(อันรวมถึงเกาะ Easter Island และพื้นที่ด้าน Antarctica) สถานี Television Nacional
เป็นที่รู้จักของประชาชนในฐานะช่อง 7 เนื่องจากความถี่ของ Santiago (ชื่อเมืองหลวงของชิลี)
มีสมาชิกที่เป็นกรรมการบริหาร 7 คนที่ได้รับการแต่งตั้งมาจากวุฒิสภาแห่งชิลี
เป็นผู้บริหารงาน ซึ่งหมายความว่าจะเป็นกลางจากแรงกดดันทางการเมือง แม้ว่าจะมีการกล่าวหาถึงความลำเอียงที่เกิดขึ้นบ้าง
โดยเฉพาะในช่วงของการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง
(*)National Television of Chile (TVN) (Televisi?n Nacional de Chile) is Chile's
state-owned television station. Its first broadcast was on 1969. It is owned,
but not funded, by the state, and functions independently from it; a rare
case of public television in South America.
ในประเทศแถบละตินอเมริกาส่วนใหญ่ ภาคเอกชนจะเป็นรับบทเป็นผู้นำในการพัฒนาเครือข่ายโทรทัศน์
ในขณะที่ผู้ถ่ายทอดสัญญาณของภาครัฐนั้น ถ้าไม่ขาดแคลนเงินทุนและอ่อนแออย่างมาก
ก็มักจะตกอยู่ใต้การควบคุมของพรรคการเมืองที่ครองอำนาจอย่างชัดเจน (เช่น Cubavision
ของคิวบา และ VTV ของประเทศเวเนซูเอลา) และจากสภาพการณ์เช่นนี้ ผู้ถ่ายทอดสัญญาณภาคธุรกิจจึงได้ครองความนิยมจากผู้ชมอย่างรวดเร็ว
ปล่อยให้การถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะหรือหน่วยงานถ่ายทอดสัญญาณของรัฐอยู่ในภาวะลำบาก
(มีบทบาทเป็นเพียงสัญลักษณ์ - a token role) ในบางประเทศ อย่างเอกวาดอร์ ที่การแพร่ภาพและกระจายเสียงถูกนิยามตามกฎหมายว่า
เป็นเรื่องของการร่วมทุนทางธุรกิจมาตั้งแต่เริ่มแรก องค์กรสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณสาธารณะจึงไม่เกิดเคยขึ้นเลยในประเทศนี้
แต่เมื่อเร็วๆ นี้ จากการนำของรัฐบาลเวเนซูเอลา
โดยประธานาธิบดีฮูโก ชาเวซ (Hugo Chavez) ร่วมกับการสนับสนุนจากรัฐบาลของประเทศ
อาร์เจนตินา, อุรุกวัย และคิวบา ช่องข่าวสาธารณะ Telesur จึงได้เกิดขึ้นพร้อมกับการประกาศถึงเป้าหมายที่จะเป็นช่องข่าวแห่งละตินอเมริกาที่ให้บริการทั่วถึงทั้งทวีป
ที่สามารถนำเสนอข่าวสารจากทั่วโลก ด้วยทัศนะและมุมมองแบบละตินอเมริกา การถกเถียงถึง
Telesur (*) ยังคงมีมาอย่างต่อเนื่อง ว่ามันจะสามารถเป็นช่องข่าวที่มีความเป็นกลางและยุติธรรมได้เพียงใด
จะสามารถเผชิญหน้ากับอิทธิพลของเครือข่ายของอเมริกาอย่าง CNN ได้สักแค่ไหน และสุดท้ายมันจะจบลงด้วยการเป็นเครื่องมือชี้นำของรัฐบาลเวเนซูเอลา
ซึ่งถือครองหุ้นของช่อง Telesur ไว้ถึง 41% หรือไม่?
(*)La Nueva Televisora del Sur (Spanish for "The New Television Station
of the South"), named teleSUR, is a pan-Latin American television network
based in Caracas, Venezuela. It began broadcasting on a limited schedule on
July 24, 2005, and began full-time broadcasts on October 31, 2005.
Structure
Proposed by Venezuelan President Hugo Ch?vez, teleSUR
is intended to be a counterweight to popular privately run networks in South
America such as CNN en Espa?ol. It is also intended as a spur toward Latin
American integration. The network is funded with US$10 million provided by
the countries that jointly own the network: Venezuela (a 41 percent share),
Argentina (20 percent), Cuba (19 percent), Uruguay (10 percent), Bolivia,
Ecuador and Chile (a 5 percent share). Nicaragua is also an owner, the broadcasting
comes to Brazil with Portuguese subtitles and the government of this country
is studying its participation.
TeleSUR's advisory council is formed by many international and regional leftist intellectuals, including Nobel Peace Prize winner Adolfo P?rez Esquivel, poet Ernesto Cardenal, writers Eduardo Galeano, Tariq Ali, Saul Landau, editor-in-chief of Le Monde diplomatique and historian Ignacio Ramonet, free software pioneer Richard Stallman and actor Danny Glover. TeleSUR's current president is Andr?s Izarra, who briefly served as Minister of Communication and Information (MCI) in Venezuela's government. Izarra is also a veteran journalist and has worked for NBC's defunct Canal de Noticias NBC based at the NBC Newschannel Headquarters in Charlotte, North Carolina. He then moved on to CNN en Espa?ol and Radio Caracas Television, a private Venezuelan network.
The station promises
to be an alternative to large media conglomerates like CNN, and has taken
on the slogan "News from the South." It can be seen in at least
15 countries through at least 53 cable services, as well as five free stations.
TeleSUR runs public service announcements and musical interludes instead of
commercials. The news channel has 160 employees and correspondents in Argentina,
Brazil, Bolivia, Colombia, Cuba, Haiti, Mexico, Uruguay, the United States
and Venezuela.
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
นักศึกษา
สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ หรือถัดจากนี้สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90