โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๔๗๔ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๑ (January, 30, 01, 2008) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

30-01-2551

Cradle to Cradle
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com

 

 

แนะนำหนังสือเล่มที่หนึ่งร้อยหนึ่ง และหนังสือเล่มที่หนึ่งร้อยสอง
จากครรภ์มารดาสู่ครรภ์มารดา ถึงการเปิดกล่องแพนโดรา

จาก: เล่มที่หนึ่งร้อยหนึ่ง.blog
http://onehundredfirst.blogspot.com/
ชลนภา อนุกูล และ ปกรณ์ เลิศเสถียรชัย: แนะนำหนังสือ
เชิงอรรถเพิ่มเติมโดย: กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความแนะนำหนังสือน่าอ่าน ๒ เล่มต่อไปนี้คือ
1. Cradle to Cradle : Remaking the Way We Make Things
2. Pandora's hope : Essays on the reality of science studies
นำมาจาก http://onehundredfirst.blogspot.com/ (เล่มที่หนึ่งร้อยหนึ่ง.blog)
เรื่องแรกเกี่ยวกับการออกแบบที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่สถาปัตยกรรม การจัดการพื้นที่
ไปจนกระทั่งถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยคำนึงถึงความยั่งยืนของต้นทุนธรรมชาติ
ส่วนเรื่องที่สองเกี่ยวกับสังคมวิทยาวิทยาศาสตร์
(Socilogy of Science)
ความสัมพันธ์ระหว่างสังคมกับวิทยาศาสตร์ ในแง่ประวัติศาสตร์ ปรัชญา
และวิทยาศาสตร์ปัจจุบันที่ผูกขาดการพูดความจริง???
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๔๗๔
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๑ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

แนะนำหนังสือเล่มที่หนึ่งร้อยหนึ่ง และหนังสือเล่มที่หนึ่งร้อยสอง
จากครรภ์มารดาสู่ครรภ์มารดา ถึงการเปิดกล่องแพนโดรา

จาก: เล่มที่หนึ่งร้อยหนึ่ง.blog
http://onehundredfirst.blogspot.com/
ชลนภา อนุกูล และ ปกรณ์ เลิศเสถียรชัย: แนะนำหนังสือ
เชิงอรรถเพิ่มเติมโดย: กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

(1) Cradle to Cradle: Remaking the Way We Make Things
ผู้แต่ง: วิลเลียม แม็คโดนาฟ และ มิคาเอล บราวน์การ์ต
ตีพิมพ์: ครั้งแรกปี พ.ศ. ๒๕๔๖
ประเภท: สิ่งแวดล้อม การออกแบบ
พิมพ์โดย: สำนักพิมพ์นอร์ท พอยท์ เพรส
แนะนำโดย: ชลนภา อนุกูล


ภาพชีวิตปัจจุบันที่ดูสงบ สะดวกสบาย และปลอดภัยนั้น เมื่อมองลงไปให้ดี เก้าอี้ที่เรานั่งล้วนปนเปื้อนไปด้วยสารเคมี โลหะหนัก วัสดุและเส้นใยอันตราย ที่ทางโรงงานมักจะแถมมาให้ลูกค้าโดยไม่ได้ร้องขอ. คอมพิวเตอร์ที่เราใช้ประกอบไปด้วยก๊าซพิษ โลหะพิษ กรด พลาสติก และวัสดุอันตรายอื่น ฝุ่นผงจากหมึกพิมพ์ก็ประกอบไปด้วยโคบอลต์ สารตะกั่ว และปรอท แม้กระทั่งของใช้ที่ดูไม่ซับซ้อน อย่างรองเท้าที่สวมใส่ ก็อาจจะผลิตจากโรงงานในประเทศด้อยพัฒนา ซึ่งมิได้มีมาตการป้องกันความเจ็บป่วยจากการทำงานให้กับคนงาน ที่เป็นแรงงานราคาถูก - เราแน่ใจล่ะหรือว่า นี่คือชีวิตที่สบาย ปลอดภัย และไม่ได้เบียดเบียนใคร?

การมีวิถีชีวิตที่บรรสานสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมมิได้หมายถึง การเป็นปฏิปักษ์กับแนวทางพัฒนา เราย่อมรักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ไปพร้อมๆ กับการมีโรงงานอุตสาหกรรม แต่เราต้องเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิต ที่ทำร้ายสิ่งแวดล้อมและเบียดเบียนผู้อื่น - ทำอย่างไรเราจึงจะมีโรงงานอุตสาหกรรม ที่ใช้วัสดุเป็นพิษน้อยลง และสามารถนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ได้ทั้งหมด? ทำอย่างไรไม่ให้เกิดขยะขึ้นเลย ในกระบวนการผลิตและบริโภค? ทำอย่างไรจึงจะเปลี่ยนการผลิตแบบ "จากครรภ์มารดาสู่เชิงตะกอน" ไปสู่รูปแบบของ "จากครรภ์มารดาสู่ครรภ์มารดา"

สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน อย่างน้อยสถาปนิกนักออกแบบอย่างวิลเลียม แม็คโดนาฟ และนักวิทยาศาสตร์อย่างมิคาเอล บราวน์การ์ต ก็ได้พิสูจน์ให้โลกเห็น เมื่อพวกเขาได้ร่วมมือกันพลิกฐานรากวิธีการผลิตของบรรษัทอุตสาหกรรมหลายแห่ง เป็นต้นว่า ผู้ผลิตรถยนต์อย่างฟอร์ดมอเตอร์ ผู้ผลิตสีอย่างดูปองต์ ผู้ผลิตสบู่รายใหญ่ในยุโรป ให้เป็นไปในลักษณะที่ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม และรับผิดชอบต่อเพื่อนร่วมโลก และลูกหลานที่ยังไม่ได้เกิดมาให้มากที่สุด

หนังสือที่ไม่ปรกติ
แนวคิดการผลิตแบบ "จากครรภ์มารดาสู่ครรภ์มารดา" ได้กลายมาเป็นชื่อหนังสือ Cradle to Cradle: Remaking the Way We Make Things หนังสือที่นำเสนอการเปลี่ยนแปลงแนวคิด และกระบวนทัศน์ใหม่ ในการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในขณะนี้. หนังสือหนาราว ๒๐๐ หน้าเล่มนี้ แม้ว่ารูปเล่มจะดูคล้ายหนังสือทั่วไป แต่เมื่อหยิบจับดูก็จะรู้สึกได้ว่าไม่เหมือนหนังสือปรกติ หนังสือเล่มนี้มีความน่าทึ่งมาก นอกเหนือจากการผลิตกระดาษด้วยพลาสติกทั้งเล่ม ตัวปกก็เป็นพลาสติกชนิดเดียวกันที่หนากว่ากระดาษด้านในเล็กน้อย กาวก็เป็นวัสดุชนิดเดียวกัน หากไม่ต้องการใช้เป็นหนังสือต่อ เมื่อล้างหมึกพิมพ์ออก ซึ่งเป็นหมึกพิมพ์ที่ปราศจากสารเคมีที่เป็นพิษ หนังสือทั้งเล่มก็สามารถแปรรูปใช้ประโยชน์แบบอื่นได้ทันที หนังสือเล่มนี้ทนน้ำได้ มีอายุการใช้งานนาน แนวคิดในการผลิตหนังสือที่ไม่ทำลายต้นไม้นี้เป็นเรื่องใหม่ และเป็นเครื่องมือสื่อสารที่สำคัญมากทีเดียวของแนวคิดในหนังสือ

หนังสือเล่มดังกล่าวประกอบด้วย ๗ บทใหญ่ เริ่มจากการปูพื้นเบื้องหลังความเป็นมาของหนังสือและนักเขียนทั้งสอง ก่อนจะนำเข้าสู่ปัญหาของการออกแบบในระดับฐานราก ชี้ให้เห็นว่าแนวคิดแบบเดิมที่ทำให้เกิดปัญหา ไม่อาจจะแก้ไขปัญหาได้ และได้เสนอแนวทางที่เป็นทางออกด้วยการเปลี่ยนแปลงแนวคิดในการออกแบบ และทัศนะในเรื่องขยะและของเสีย โดยคำนึงถึงความต้องการและความเชื่ออันหลากหลาย ปิดท้ายด้วยเรื่องเล่าอันตื่นใจ ของการประยุกต์แนวคิดการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ปฏิบัติการจริงของโรงงานผลิตรถยนต์ฟอร์ดมอเตอร์

เริ่มที่การตั้งคำถาม เรียนรู้จากมดที่ไม่เคยทำลายธรรมชาติ
ในช่วงแรกของหนังสือ นักเขียนได้ตั้งคำถามว่า แท้จริงแล้ว สิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยต่อสุขภาพของเรานั้นควรเป็นอย่างไร? และจริงหรือที่ว่าอุตสาหกรรมเป็นความเลวร้าย และแนวคิดสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องขัดขวางความเจริญ? ทั้งวิลเลียมและมิคาเอลเห็นพ้องต้องกันว่า เหตุที่ภาวะแวดล้อมในการดำรงชีวิตปัจจุบันไม่ปลอดภัย ก็เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ถูกผลิตขึ้นมามีการออกแบบที่แย่ ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อผู้ใช้ ก่อให้เกิดพิษ ทั้งยังไม่คำนึงถึงกระบวนการที่จะนำกลับไปแปรรูปวัสดุเพื่อใช้ใหม่ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการวิจัย เพื่อออกแบบสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ และกระบวนการอุตสาหกรรมแบบใหม่ เพื่อจะแก้ไขปัญหาเหล่านั้น. ทั้งคู่ยังยืนยันว่า เราจำต้องเรียนรู้จากวิศวกรในธรรมชาติอย่างมด ซึ่งอยู่อาศัยในโลกนี้มาหลายล้านปีแล้ว แต่การผลิตและบริโภคของมดไม่เคยทำร้ายโลก อย่างที่มนุษย์ทำอยู่ในทุกวันนี้เลย

หนังสือชี้ให้เห็นว่า ปัญหาของการออกแบบนั้นเกิดจากแนวคิดในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ผสานกับลัทธิทุนนิยม ซึ่งก่อให้เกิดการผลิตที่นำไปสู่การทำลายสิ่งแวดล้อม และลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์. กระบวนการผลิตที่เกิดขึ้นเป็นไปในรูปแบบของ "จากครรภ์มารดาสู่เชิงตะกอน" สิ่งที่ถูกผลิตขึ้นไม่สามารถแปรรูปนำกลับมาใช้ใหม่ได้ การผลิตในปริมาณมากนำไปสู่การผลิตแบบโหล ไม่คำนึงถึงความแตกต่างหลากหลาย ก่อให้เกิดวัฒนธรรมเดียว ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ก็เน้นดึงดูดลูกค้าในระยะเวลาอันสั้น ภายใต้กรอบระเบียบของกฎหมายในขณะนั้น ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบในระยะยาวเลย. ผลิตภัณฑ์ในท้องตลาดล้วนเต็มไปด้วยสารพิษ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้าจากใยสังเคราะห์ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปล่อยก๊าซพิษ ของใช้เด็กที่ทำจากพลาสติกมีพิษ เมื่อสั่งสมนานวันเข้าก็เกิดความเครียด ภูมิต้านทานลดลง เป็นโรคมะเร็งมากขึ้น โรคอื่นมากขึ้น

วิลเลียมและมิคาเอลชี้ว่า แนวคิดการออกแบบเหล่านั้นไม่ได้ผิด หากแต่ไม่ดีพอ ไม่ฉลาด และล้าสมัย ทั้งยังเป็นเผด็จการข้ามไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน เพราะก่อให้เกิดผลกระทบต่อชีวิตของลูกหลานที่ยังไม่ได้เกิดมา

จากการเตือนภัยเรื่องสิ่งแวดล้อม ถึงกระบวนทัศน์ใหม่การออกแบบ
ในช่วงถัดมา หนังสือบอกเล่าถึงพัฒนาการของแนวคิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ที่ก่อให้เกิดการทำลายสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ทั้งนี้ในช่วงแรก มีนักคิดนักเขียนไม่กี่คนเริ่มกล่าวเตือน เกี่ยวกับแนวโน้มการเพิ่มจำนวนประชากร ติเตียนแนวคิดแบบกลไก และเชื้อเชิญให้กลับมาชื่นชมความงาม และความลุ่มลึกของธรรมชาติมากขึ้น มีการชี้ให้เห็นโทษของลัทธิบริโภคนิยม

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ เริ่มมีกระแสเตือนถึงวิกฤตสิ่งแวดล้อมมากขึ้น แม้จะได้รับความสนใจมากขึ้น หากก็มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างเชื่องช้า เป็นต้นว่า การยุติการใช้ดีดีทีอย่างสิ้นเชิงในอเมริกาและยุโรปก็ใช้เวลาถึงสิบปี. และในการประชุมสุดยอดโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมที่กรุงริโอ เดอ จาเนโร ในประเทศบราซิล ปี ค.ศ. ๑๙๙๒ ก็เน้นเรื่องการลดสารพิษ การนำกลับมาใช้ใหม่ และการแปรรูป. แต่วิลเลียมและมิคาเอลยืนยันว่า ไม่อาจแก้ปัญหาได้เลย เป็นเพียงความพยายามที่จะลดปัญหา ทั้งที่ยังสร้างปัญหาเหมือนเดิม ตัวอย่างเช่น บ้านในปัจจุบันแม้จะประหยัดพลังงานมากขึ้น แต่คุณภาพอากาศในบ้านกลับเลวลง เพราะวัสดุที่ใช้คุณภาพแย่ บ้านในตุรกีที่ออกแบบให้ประหยัดวัสดุในการสร้าง ไม่อาจป้องกันแผ่นดินไหวได้ และพังทลายลงมาทำลายชีวิตผู้คนจำนวนมากในปี ค.ศ. ๑๙๙๒. การทำเกษตกรกรรมในเยอรมันตะวันตก แม้จะให้ผลผลิตสูงกว่าในเยอรมันตะวันออก แต่สภาพของระบบนิเวศน์กลับเลวร้ายกว่ามาก

การผลิตและออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมจะต้องไปให้พ้นจากกรอบกระบวนทัศน์เดิม ไปให้พ้นจากการคิดทำในสิ่งที่เลวร้ายน้อย ไปสู่การคิดทำในสิ่งที่ดีทั้งหมดร้อยเปอร์เซนต์. หนังสือขยายความเรื่องการผลิต และออกแบบ เพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพว่า การออกแบบจะต้องมีเป้าหมายชัดเจน และจะต้องเป็นไปโดยไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อมและหรือเพื่อนร่วมโลก นักออกแบบจำต้องมีวิสัยทัศน์และคิดให้ครบทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการผลิต วัฒนธรรม การค้า และระบบนิเวศน์. การคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมไม่ใช่การจำกัดการทำอุตสาหกรรม หากแต่เป็นการทำในสิ่งที่ถูกต้อง ด้วยการคำนึงถึงช่องว่างตลาดให้มากขึ้น คำนึงถึงสุขภาพ มีความหลากหลาย และเป็นการผลิตอย่างฉลาด คำนึงถึงผลกระทบในระยะยาว

นักออกแบบยังต้องคิดไปให้พ้นกรอบและกฎเกณฑ์ เพราะเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัย ดังเช่น การทำสวนให้ดูรกเหมือนป่า ครั้งหนึ่งเคยเป็นเรื่องผิดกฏหมายของเยอรมนี แต่ปัจจุบันกลับได้รับความนิยมมาก หรือการที่ชาวเมืองฮันโนเฟอร์ เยอรมนี ต้องการปลูกต้นเชอรีไว้ข้างถนน เพื่อเก็บลูกเชอรีไว้ทาน แต่รัฐกลับออกกฎระเบียบห้ามไว้ เพราะขี้เกียจจัดการ. กฎเกณฑ์เหล่านี้ย่อมเปลี่ยนไปตามกาล แต่การออกแบบที่เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมจะเป็นสิ่งที่อยู่ยั่งยืนกว่า

ภูมิปัญญาดั้งเดิมหลายอย่างตั้งอยู่บนวิถีที่ผสานสอดคล้องกับธรรมชาติ ชนเผ่าพื้นเมืองบางแห่งตัดต้นไม้เฉพาะต้นที่อ่อนแอเท่านั้น ชนเผ่าพื้นเมืองหลายกลุ่มมีมุมมองต่อวิถีชีวิตที่คำนึงถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน เหล่านี้เป็นสิ่งที่ควรศึกษาให้มาก. นักเขียนทั้งสองเสนอว่า เราจำต้องคิดถึงเรื่องการออกแบบแนวใหม่ ที่ไม่ก่อให้เกิดขยะหรือของเสีย เช่น การออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ ไม่เป็นพิษ นำกลับไปใช้ใหม่ได้ วัสดุที่มีมูลค่าจะต้องถูกนำกลับมาสู่ระบบการผลิตใหม่ น้ำทิ้งจากโรงงานต้องถูกบำบัดจนกลายเป็นน้ำดื่มได้ ตึกอาคารต้องถูกออกแบบให้ผลิตออกมามากกว่าบริโภคพลังงาน มีการจัดระบบขนส่งที่ดีเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต เป็นต้น

วิธีคิดการออกแบบ: จากครรภ์มารดาสู่ครรภ์มารดา
เนื้อหาช่วงถัดมาขยายแนวคิดเรื่องการผลิตที่ปราศจากของเสียโดยชี้ให้เห็นว่า ในระบบ ธรรมชาติเองก็ไม่มีของเสียอยู่เลย สสารทุกอย่างสามารถกลับคืนสู่ระบบธรรมชาติได้ทั้งหมด ชีวิตมนุษย์ในอดีตมีพัฒนาการจากการเป็นชนเผ่าเร่ร่อน ก่อนจะลงหลักปักฐานทำเกษตรกรรม รวมกลุ่มชุมชนกันจนเกิดเป็นเมือง การบริโภคของมนุษย์ก็เพิ่มมากขึ้น ใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น ทำลายสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ของถูกทิ้งมากขึ้น ไม่ได้นำกลับไปใช้ใหม่ ขณะเดียวกัน ของที่ถูกทิ้งก็ไม่ได้รับการออกแบบให้เหมาะสมต่อการนำไปแปรรูปเพื่อใช้ใหม่ หนังสือชี้ให้เห็นว่า จำต้องเปลี่ยนวิธีคิดในการออกแบบให้เป็น "จากครรภ์มารดาสู่ครรภ์มารดา" นั่นคือ ต้องออกแบบให้ผลิตภัณฑ์สามารถนำกลับมาแปรรูปเพื่อใช้ประโยชน์ใหม่ได้

แนวคิดการทำให้เกิดการหมุนเวียนของวัสดุในโลกนั้นคือ เกิดจากการทำความเข้าใจต่อระบบการทำปฏิกิริยาเคมีของโลก ๒ แบบ ได้แก่ เชิงชีวภาพ และเชิงเทคโนโลยี. วัสดุที่ใช้ในการผลิตต้องถูกแยกออกมา ว่าจะกลับคืนสู่ระบบหมุนเวียนทางชีววิทยา หรือทางเทคโนโลยี แล้วจึงจัดการให้เหมาะสม ทั้งนี้ การผลิตให้เกิดการหมุนเวียนของวัสดุนี้ ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้มาก ต้องมีความใส่ใจเป็นอย่างยิ่ง ต้องลดกระบวนการผลิตที่ก่อให้เกิดขยะหรือของเสียจนกระทั่งหมดไป

แนวคิดประสิทธิภาพเชิงนิเวศน์นี้ ตั้งอยู่บนความสมดุลของความแตกต่างหลากหลาย ระหว่างลัทธิความเชื่อจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นความเสมอภาค เศรษฐกิจ ระบบนิเวศน์ การออกแบบจึงต้องคำนึงถึงต้นทุน สุนทรียภาพ และประสิทธิภาพ การผลิตที่นำไปสู่ความยั่งยืนนี้เรียกได้ว่าเป็นวิวัฒนาการของอุตสาหกรรม

- การออกแบบในกระบวนทัศน์เดิมนำไปสู่ผลิตภัณฑ์แบบโหล และกระบวนการผลิตแบบรวมศูนย์
- กระบวนทัศน์ใหม่จะก่อให้เกิดความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน ทั้งยังนำไปสมดุลของแนวคิดและความเชื่อในโลก

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ แนวคิดการตั้งโรงไฟฟ้าขนาดเล็กที่กระจายตัวอยู่ในชุมชนต่างๆ ซึ่งมีต้นทุนน้อยกว่าการสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ทั้งยังเลือกแหล่งพลังงานธรรมชาติในชุมชนนั้นมาใช้ได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นพลังงานน้ำ ลม แสงแดด เป็นต้น. หรือแนวคิดการผลิตสบู่ผงเพื่อซักผ้าที่ไม่กัดมือ เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมน้อย และประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง เพราะน้ำหนักเบากว่าสบู่เหลว แม้จะใช้สารเคมีน้อยลง และราคาแพงกว่าเดิม แต่เมื่อคำนวณค่าใช้จ่ายในการผลิตโดยรวมกลับพบว่าถูกกว่ามาก

จากแนวคิดสู่วิถีปฏิบัติ และหลักการ
ในช่วงท้าย เป็นเรื่องเล่าของการประยุกต์เอาแนวคิดประสิทธิภาพเชิงนิเวศน์ ไปใช้กับการปรับปรุงโรงงานเก่าแก่ของบริษัทผลิตรถยนต์ขนาดใหญ่ของโลก คือ ฟอร์ด มอเตอร์ ในปี ค.ศ. ๑๙๙๙. การนำแนวคิดใหม่ไปใช้นั้นไม่ได้สะดวกง่ายดายเสมอไป วิลเลียมและมิคาเอลประสบความยากลำบากพอควร ในการสร้างความเข้าใจกับวิศวกรและคนงานของฟอร์ด ซึ่งประกอบด้วยความรู้สึกระแวงระวังกับนักสิ่งแวดล้อมอยู่เป็นทุนเดิม แต่พวกเขาก็ประสบความสำเร็จในการสร้างเป้าหมายในการทำงานร่วมกันว่า จะทำให้โรงงานเป็นสถานที่ ที่ลูกหลานของพนักงานสามารถวิ่งเล่นอย่างปลอดภัย ด้วยการปรับปรุงระบบดิน น้ำ ไฟฟ้า แสงสว่าง อุณหภูมิ และที่สำคัญสามารถปรับใช้กับโรงงานอื่นได้

การดำเนินงานปรับเปลี่ยนโรงงานผลิตรถยนต์ของฟอร์ด ให้มีประสิทธิภาพเชิงนิเวศน์นั้น ประกอบด้วย ๕ ขั้นตอน คือ

(๑) เป็นอิสระจากกรอบธรรมเนียมเดิม ต้องเริ่มคิดแต่แรกใหม่ว่าส่วนประกอบใดมีพิษน้อย
(๒) ตัดสินใจเลือกจากข้อมูลที่มีอยู่ ด้วยการเลือกวัสดุที่มีพิษน้อย เท่าที่มีบันทึกข้อมูล
(๓) ทำรายการวัสดุที่ใช้ได้ ใช้ไม่ได้ และยังจำเป็นต้องใช้อยู่แม้ว่าจะมีพิษ
(๔) เริ่มคิดค้นวัสดุที่ดีที่สุด
(๕) คิดค้นนวัตกรรมใหม่ ด้วยการคิดค้นยานยนต์แบบใหม่ ระบบขนส่งแบบใหม่

และในท้ายที่สุดก็ได้สรุปออกมาเป็นหลัก ๕ ประการ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ใหม่ ด้านการออกแบบการผลิตเพื่อสิ่งแวดล้อม ดังนี้

(๑) ผู้บริหารต้องแสดงความมุ่งมั่นตั้งใจจริง
(๒) วัสดุในการผลิตทั้งหมดต้องกลับคืนสู่ธรรมชาติ หรือระบบแปรรูปหมุนเวียนนำไปใช้ใหม่ได้
(๓) มีความพร้อมสำหรับการคิดค้นนวัตกรรมใหม่
(๔) ต้องประกอบด้วยความเข้าใจและพร้อมที่จะเรียนรู้
(๕) ประกอบด้วยความรับผิดชอบต่อลูกหลานและสรรพชีวิตอื่น

หนังสือเล่มนี้ถือว่าโดดเด่นอย่างมาก ในแง่ของการนำเสนอแนวคิดใหม่ ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมการผลิต ผ่านกระบวนการออกแบบ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และประกอบด้วยความรับผิดชอบต่อเพื่อนร่วมโลก ตลอดจนลูกหลานที่ยังไม่ได้เกิดมา ตัวอย่างที่ยกมาประกอบ ล้วนเป็นผลจากการประยุกต์แนวคิดนำไปใช้งานจริง มีการทดลองทำมาตามลำดับ เกิดเป็นกระบวนการเรียนรู้ สั่งสม ต่อยอด และกำเนิดเป็นนวัตกรรมใหม่

สิ่งที่สัมผัสได้ชัดแจ้ง เห็นจะเป็นความมุ่งมั่นของนักเขียนทั้งสอง การทำงานร่วมกันบนจุดหมายเดียวกัน ของผู้ชำนาญการจากสองฟากฝั่งวิชาการ ความเป็นนักคิดที่ไม่จ่อมจมอยู่กับปัญหา หากหาหนทางแก้ไข ส่งผ่านไปสู่วิถีปฏิบัติ เหล่านี้ทำให้เกิดความประทับใจได้มาก. หนังสือเล่มนี้ไม่ได้ประกาศสงครามสิ่งแวดล้อมกับระบบอุตสาหกรรม และไม่ได้บอกให้เราสยบยอม หากหาทางให้เราเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ดำรงอยู่ และแก้ไขปัญหาในระดับฐานรากและต้นทาง และตอกย้ำคำพูดของนักคิดผู้ยิ่งใหญ่ของโลกที่ว่า "โลกย่อมไม่อาจก้าวพ้นวิกฤตการณ์ปัจจุบันไปได้ ด้วยความคิดเดิมที่ก่อให้เกิดปัญหาขึ้น"

เกี่ยวกับผู้เขียน: William Mcdonough
(คลิกอ่านประวัติในภาษาอังกฤษ)

วิลเลียม แม็กโดนาฟ - William Mcdonough สถาปนิกชาวอเมริกันผู้มีชื่อเสียงจากการออกแบบตึก กระบวนการผลิต และวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม งานออกแบบของเขาได้รับการยกย่องว่า นอกเหนือจะเพิ่มอัตราการผลิตแล้วยังประหยัดพลังงาน ทั้งยังคำนึงถึงสุขภาพของลูกจ้าง และก่อให้เกิดความพึงพอใจ เขาเป็นผู้เขียน หลักการฮันโนเวอร์: การออกแบบเพื่อความยั่งยืน ที่กลายเป็นคัมภีร์มาตรฐานในการออกแบบเพื่อความยั่งยืนที่ใช้กันทั่วโลก เขามีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกเมื่อนิตยสารไทม์ยกย่องให้เป็น "วีรบุรุษโลก" ในปี ค.ศ. ๑๙๙๙ ด้วยเหตุผลว่า "สังคมอุดมคติของเขาตั้งอยู่บนพื้นฐานปรัชญาที่แสดงให้เห็นและนำไปปฏิบัติได้ นั่นคือ การเปลี่ยนแปลงการออกแบบของโลก"

เกิดเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๕๑ ที่โตเกียว ใช้ชีวิตวัยเด็กที่ฮ่องกง ได้พบเห็นการเปลี่ยนจากชนบทเป็นเมือง เห็นความอดอยากยากจน การจัดการทรัพยากรที่ไม่เหมาะสมทำให้ผู้คนมีโอกาสใช้น้ำไม่กี่ชั่วโมงต่อวัน. ทุกๆ สี่วัน ในช่วงหน้าร้อนเขาได้ไปพักกับปู่และย่าในบ้านไม้เก่าแก่ท่ามกลางธรรมชาติป่าเขา ได้พบเห็นวิถีชีวิตตามธรรมชาติ ผู้คนใช้ทรัพยากรตามความต้องการของตน ไม่ทิ้งขว้างจนเกิดขยะส่วนเกิน เมื่อโตเข้ามหาวิทยาลัย ได้เรียนทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และในขณะที่เป็นนักศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยเยลนั้น เขาได้ออกแบบบ้านพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์หลังแรกของไอร์แลนด์

เขาเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทวิลเลียม แม็กโดนาฟและหุ้นส่วน ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการพัฒนาระบบ รวมไปถึงการออกแบบบนแนวทางแบบยั่งยืน ลูกค้าของบริษัทประกอบไปด้วย บริษัทฟอร์ดมอเตอร์ ไนกี้ แฮร์มัน มิลเลอร์ เบเอเอสเอฟ ดีไซน์เท็กซ์ เพนเดิลทัน วอลโว และเมืองชิคาโก

หนังสือเล่มอื่นของเขาที่เขียนร่วมกับผู้อื่น เช่น
- The Natural Advantage of Nations: Business Opportunities, Innovation and Governance in the 21st Century (2006)
- Green Roofs: Ecological Design and Construction (2004)


เกี่ยวกับผู้เขียน: Michael Braungart
(คลิกอ่านประวัติในภาษาอังกฤษ)

มิคาเอล บราวน์การ์ต - Michael Braungart มาจากครอบครัวปัญญาชน ศึกษามาทางด้านเคมีโดยเฉพาะ เป็นสมาชิกของกลุ่มกรีน ขบวนการก้าวหน้าว่าด้วยสิ่งแวดล้อมในเยอรมนี และเป็นผู้อำนวยการฝ่ายเคมีขององค์กรกรีนพีซ เขาเคยร่วมการประท้วงเพื่อสิ่งแวดล้อมหลายครั้ง ครั้งที่โรงงานเคมีที่ทำให้แม่น้ำไรน์เน่าเสีย สัตว์น้ำตายเป็นจำนวนมาก เขาร่วมประท้วงด้วยท่าทีแข็งกร้าว จนกระทั่งเจ้าของโรงงานซึ่งไม่ใช่คนเลวร้ายนัก และเห็นว่าการประท้วงไม่ใช่หนทางในการแก้ไขปัญหา ได้เข้ามาพูดคุยหาจุดร่วมของทางออกในระยะยาว และร่วมมือกันก่อตั้งศูนย์สนับสนุนการป้องกันสิ่งแวดล้อม ที่เมืองฮัมบวร์ก เยอรมนี

และตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๘๔ บราวน์กาณ์ตก็เริ่มบรรยายเกี่ยวกับแนวคิดใหม่ในอุตสาหกรรมเคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม และการจัดการวัสดุในมหาวิทยาลัย ในภาคธุรกิจต่างๆ และองค์กรทั่วโลก จนกระทั่งพบกับวิลเลียม แม็คโดนาฟ และก่อตั้งบริษัทร่วมกัน. หนังสือ Cradle to Cradle ได้รับการแปลเป็นภาษาเยอรมันภายใต้ชื่อว่า Einfach intelligent produzieren

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

(2) Pandora's hope: Essays on the reality of science studies
ผู้แต่ง: บรูโน ลาตูร์
ตีพิมพ์: ครั้งแรก ปี พ.ศ. ๒๕๔๓
ประเภท: วิทยาศาสตร์ศึกษา สังคมวิทยา ประวัติศาสตร์
พิมพ์โดย: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
แนะนำโดย: ปกรณ์ เลิศเสถียรชัย


คำว่า "วิทยาศาสตร์ศึกษา" ฟังดูเป็นคำใหม่ในวงวิชาการไทย รวมทั้งในสังคมไทยด้วย ในโลกวิชาการตะวันตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุโรป คำนี้มีความเป็นมามากว่าสองทศวรรษ ในฐานะที่เป็นสาขาวิชาหนึ่ง ที่คร่อมหลายสาขาวิชา คำแปลเป็นไทยที่ผู้ปริทัศน์มอบให้ว่า "วิทยาศาสตร์ศึกษา" นั้น อาจจะชวนให้ไขว้เขวไปได้ว่า นี่คือสาขาวิชาที่ข้องเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ซึ่งนั่นคือความเข้าใจผิดจากชื่อที่คลุมเครือ และในขณะเดียวกัน ขอบเขตของสาขานี้ก็ค่อนข้างคลุมเครือเสียเองด้วย กระนั้นโดยความจริงแล้ว นี่คือสาขาวิชาที่ศึกษาการเกิดขึ้นของ"ความจริง"ทางวิทยาศาสตร์ และมอบ"ความจริง"ให้กับการทำงานของนักวิทยาศาสตร์

อะไรคือวิทยาศาสตร์ศึกษา?
ก่อนจะกล่าวถึงเนื้อหาของหนังสือเล่มนี้ ผู้ปริทัศน์ใคร่ขอย้อนความคร่าวๆ ถึงความเป็นมาของสาขาวิชานี้ "วิทยาศาสตร์ศึกษา" เป็นสาขาวิชาที่ต่อยอดแตกหน่อมาจากสังคมวิทยาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสังคมวิทยาความรู้

เนื้อหาทางสังคมวิทยาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้น กล่าวถึงบริบททางสังคมที่ทำให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น

- การวิเคราะห์ของโรเบิร์ต เค เมอร์ทัน ในกรณีที่ว่าความคิดความเชื่อของโปรแตสแตนท์ ไปเสริมการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์อย่างไร?
- การสืบค้นของนอร์เบิร์ต เอลีอาส ว่าการรวมกลุ่มและลำดับชั้นในชุมชนนักวิทยาศาสตร์ เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างไร?

ส่วนเนื้อหาของสังคมวิทยาความรู้นั้น จะเน้นไปที่การไหลเวียนของความรู้ในสังคมว่าเป็นไปอย่างไร สร้างอำนาจและเอื้อประโยชน์ต่อใคร เช่น ข้อถกเถียงทั่วไปของวงการมานุษยวิทยา ว่าความรู้ทางมานุษยวิทยานั้น เอื้อให้โลกตะวันตกสามารถล่าอาณานิคมได้ง่ายดายขึ้นหรือไม่อย่างไร?

โดยสรุปกล่าวได้ว่า ทั้งสองแนวทางของสังคมวิทยาดังกล่าว เน้นไปที่การสร้างคำอธิบายความสัมพันธ์ของบริบททางสังคม กับตัวบททางวิทยาศาสตร์ ข้อสังเกตสำคัญ ที่ผู้ปริทัศน์ต้องการเน้นย้ำให้ชัดคือ แนวทางสังคมวิทยาทั้งสองประเภท ยังมีหน่วยการวิเคราะห์ที่เป็นทวิภาค คือ แบ่งแยกโลกความเป็นจริงออกเป็นสองขั้วได้แก่ "สังคมศาสตร์"และ"วิทยาศาสตร์"อย่างชัดเจน ข้อสังเกตนี้ตอกย้ำความคิดแบ่งขั้วสองวัฒนธรรมของซี พี สโนว์ อย่างชัดแจ้ง

บรูโน ลาตูร์: นักคิดสายฝรั่งเศส
กลับมาที่ตัวผู้เขียนคือ บรูโน ลาตูร์ ด้วยความที่เขาเป็นนักคิดสายฝรั่งเศส และเพาะบ่มวิธีเขียนงานแบบฝรั่งเศสมานาน เช่นเดียวกับต้นตระกูลของเขาที่บ่มไวน์ขายมาหลายรุ่น เขาจึงเขียน Pandora' Hope ด้วยแนวคิดแบบอ้อมค้อม ไม่ยอมตอบคำถามตรงๆ และบัญญัติศัพท์ใหม่ๆ เพื่อทะลวงสมองคนอ่านให้เกิดจินตนาการใหม่. เขาเป็นคนแรกๆ ที่ชี้ให้เห็นว่า การคิดแบบแยกขั้วระหว่างสังคมและวิทยาศาสตร์ ไม่ได้ช่วยให้เราสร้างคำอธิบายเรื่องการทำงานของวิทยาศาสตร์ได้อย่างลึกซึ้ง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การแบ่งแยกขั้วนั้นเป็นประดิษฐกรรมของความคิดสมัยใหม่ ที่ล่อลวงให้เราไปถกเถียงกันแต่ในระดับอุดมการณ์ ผลที่ตามมาคือขาดความเข้าใจในระดับปฎิบัติการ. การถกเถียงเรื่องบทบาทของวิทยาศาสตร์กลายเป็นแค่การออกกำลังกายทางปัญญา แต่ขาดสมรรถภาพที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเนื้อวิทยาศาสตร์ในโลกความเป็นจริง ดังนั้น เพื่อปิดจุดอ่อนของสังคมวิทยาสองแนวทางดังที่กล่าวมา "วิทยาศาสตร์ศึกษา" จึงได้ถือกำเนิดขึ้น

ลาตูร์และเพื่อนๆ เช่น ไมเคิล คัลลอน, จอหน์ ลอว์, และนักคิดคนอื่นๆ อีกมากเห็นว่า พื้นที่ที่การศึกษาวิทยาศาสตร์ยังไปไม่ถึงก็คือ วิทยาศาสตร์ในขณะก่อรูปก่อร่าง วิทยาศาสตร์ที่ยังไม่เป็นตัวเป็นตนชัดพอจะให้ยัดใส่กล่อง แล้วติดตราว่าเป็นวิทยาศาสตร์ เพื่อไปดูปฏิสัมพันธ์กับอีกกล่องหนึ่งที่เรียกว่าสังคมศาสตร์ และหากมันถูกยัดใส่กล่องไปแล้ว ก็ให้ศึกษามันโดยเปิดกล่องแล้วค่อยๆ ลอกเปลือกออกเสีย หรืออาจจะกล่าวได้ว่าเรากำลังเปิดกล่องของแพนดอรา (pandora's box)(*)
(*) Pandora's box: In Greek mythology, Pandora was the first woman. Each god helped create her by giving her unique gifts. Zeus ordered Hephaestus to create her as part of the punishment of mankind for Prometheus' theft of the secret of fire, and all the gods joined in offering her seductive gifts. Her other name, inscribed against her figure on a white-ground kylix in the British Museum (illustration, right), is Anesidora, "she who sends up gifts" [1] According to the myth, Pandora opened a jar (commonly referred to as Pandora's box) releasing all the evils of mankind- greed, vanity, slander, envy, pining- leaving only hope inside once she had closed it again.The myth of Pandora is very old, appears in several distinct Greek versions, and has been interpreted in many ways.
http://en.wikipedia.org/wiki/Pandora

ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุตามหลักการเช่นนี้ จุดสนใจจึงเป็นห้องทดลอง เพื่อดูความสัมพันธ์ที่ก่อรูปขึ้นในห้องทดลอง ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ของคนกับคน, คนกับสิ่งของ, หรือแม้แต่สิ่งของกับสิ่งของ. หากกล่าวด้วยถ้อยคำเชิงวิชาการนี่คือการทำชาติพันธุ์วรรณาประเภทหนึ่ง เพียงแต่ว่า ต่างไปจากแต่ก่อน ที่โลกตะวันตกมักจะทำชาติพันธุ์วรรณาของสังคมดั้งเดิม โดยกลับกัน"วิทยาศาสตร์ศึกษา"คือการทำชาติพันธุ์วรรณาของนักวิทยาศาสตร์ กรณีนี้นักวิทยาศาสตร์ก็ไม่ต่างอะไรจากชนเผ่าชนเผ่าหนึ่งนั่นเอง (*)
(*) ชาติพันธุ์วรรณา (ethnography) อธิบายตามหลักปรากฏการณ์วิทยา (phenomenology) ชาติพันธุ์วรรณาเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ การรับรู้ประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน เป็นเรื่องของสามัญสำนึก การมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรม. ชาติพันธุ์วรรณามีภารกิจเกี่ยวกับการอธิบายเรื่องของวัฒนธรรมโดยเฉพาะ ยกตัวอย่างเช่น รูปแบบชีวิตของนักเรียนมัธยมต้นในเมือง, วัฒนธรรมของบรรดาผู้บริหารโรงเรียนในระบบโรงเรียนประเภทใดประเภทหนึ่ง, สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับการดูแลเด็กช่วงเวลาที่พ่อแม่เด็กๆ ไปทำงาน(day-care), หรือแผนกคนป่วยแผนกหนึ่งในโรงพยาบาล และอื่นๆ ฯลฯ. บรรดานักชาติพันธุ์วรรณาจะใช้ประโยชน์จากผู้ให้ความรู้ หรือการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม เพื่อศึกษาฉากต่างๆ ทางวัฒนธรรม หรือสภาพแวดล้อมทั้งหลายทางวัฒนธรรม. พวกเขาจะตั้งคำถามอย่างเช่น ผู้คนมาทำอะไรที่นี่? คนประเภทใดมาอยู่ที่แห่งนี้? สถานการณ์ต่างๆ ทางสังคมจะถูกมองในฐานะที่เป็นสถานที่ซึ่งมนุษย์ได้มีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมต่างๆ ที่มีลักษณะเฉพาะอยู่เสมอ (เชิงอรรถเพิ่มเติม - มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)

Ethnography studies the culturally shared, common sense perceptions of everyday experiences. Ethnography is the task of describing a particular culture, for example the form of life of an urban junior high-school class, the culture of school administrators in a certain school system, a particular day-care environment, or a certain ward in a hospital, and so forth. Ethnographers use an informant or participant-observation approach to study cultural "scenes" or cultural settings. They ask, "What do people do here? What kind of people are here?" Social situations are seen as places where human beings recurrently interact in particular ways.

http://www.phenomenologyonline.com/glossary/glossary.html#phenomenology

ดังชื่อรองของหนังสือคือ Essays on the reality of science studies เขาได้รวมบทความที่เคยตีพิมพ์ในที่ต่างๆ แล้วนำมาร้อยเรียงกันใหม่ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจว่า "วิทยาศาสตร์ศึกษานั้นศึกษาอะไร?" และที่สำคัญกว่าคือ "วิทยาศาสตร์ในกรอบแว่นวิทยาศาสตร์ศึกษานั้นเป็นเช่นไร?" หนังสือเล่มนี้ไม่เพียงเสนอความเป็นจริงของ "วิทยาศาสตร์ศึกษา" เท่านั้น หากยังเสนอความเป็นจริงของวิทยาศาสตร์ด้วย หากว่ามันมีอยู่จริง

คุณเชื่อในความจริงหรือไม่?
ในช่วงแรกเป็นการเสนอภาพรวมของหนังสือทั้งเล่ม ด้วยการพยายามตอบคำถาม. คำถามคือ "คุณเชื่อในความจริงหรือไม่?" การตอบของเขาเป็นไปในแบบฉบับของนักคิดฝรั่งเศส คือ ไม่มีการตอบใช่หรือไม่ใช่ แต่เป็นไปในรูปแบบของการตอบโดยตั้งคำถามใหม่ย้อนไปยังคำถามเดิม เช่น คำถามนี้เกิดขึ้นมากจากบริบทอะไร? บริบทที่นักวิทยาศาสตร์เกรงกลัวการรุกคืบของประชาชน ด้วยการเกิดขึ้นของกฎหมู่หรือ? ความเป็นจริงตั้งอยู่บนรากฐานของการแบ่งระหว่างการมีผู้รู้ กับ โลกที่ถูกรู้ใช่หรือไม่? หรือว่าการแบ่งแบบนี้จะเป็นประดิษฐกรรมที่ไม่ใช่สิ่งที่เป็นจริง? ฯลฯ

คำถามเหล่านี้จะถูกหล่อเลี้ยงด้วยคำถามต่อเนื่องจากคำถามเหล่านี้ และตอบด้วยการตอบแบบให้ย้อนคิดไปตลอดทั้งเล่ม การตอบของเขาเน้นให้เราสลัดหลุดความเชื่อแบบดั้งเดิมที่เรามีต่อวิทยาศาสตร์ จากนั้นจึงเป็นการนำเสนอว่า การแยกขั้วในลักษณะทวิภาวะระหว่าง "ผู้รู้"กับ"สิ่งที่ถูกรู้"เป็นความเชื่อที่ผิด เขากล่าวว่า นอกเหนือจากดินในป่าอเมซอนที่เป็นจริงแล้ว นักวิทยาศาสตร์ยังได้สร้างความเป็นจริงอีกแบบหนึ่ง เช่น การจำแนกประเภทของดิน โดยนำดินไปจำแนกตามระบบอ้างอิงที่สร้างขึ้นมา ระบบอ้างอิงที่สร้างขึ้นมานี้ได้หมุนเวียนไปในหมู่ผู้ศึกษาดิน และกลายเป็นความจริงเรื่องดินขึ้นมา ดินจริงไม่ใช่ความเป็นจริงที่อยู่กับพื้นพิภพ แต่เป็นความเป็นจริงที่ฝังอยู่ในระบบอ้างอิงด้วย การแยกขาดชัดเจนระหว่างผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ เป็นความเชื่อของนักวิทยาศาสตร์ส่วนหนึ่ง ที่ต่างจากการปฏิบัติจริง

ลาตูร์ให้ภาพวิทยาศาสตร์ขณะที่กำลังถูกสร้าง และย้ำว่า วิทยาศาสตร์ในระยะนี้มีการพัวพันกันอย่างชัดเจน ระหว่างสังคมศาสตร์กับวิทยาศาสตร์ ทั้งคู่ไม่ได้แบ่งขั้วแยกกันอยู่ วิทยาศาสตร์เกิดจาก และทำให้ตัวกระทำในสังคมเปลี่ยนแปลงผลประโยชน์ให้พ้องกันได้ และนอกเหนือจากเรื่องของผลประโยชน์ การสร้างวิทยาศาสตร์ยังเป็นการแสวงหาพันธมิตร ทั้งผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ และข้อเท็จจริง เพื่อยึดกุมพื้นที่ของการนำเสนอต่อสาธารณชน กล่าวอย่างง่ายและรวบรัดคือ วิทยาศาสตร์กับสังคมพัวพันกันอย่างลึกซึ้ง อย่างเป็นเนื้อเดียวกัน มากกว่าจะอธิบายว่ามีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

เขาเล่าเรื่อง "เหตุการณ์" เรื่องจุลชีพที่หลุยส์ ปาสเตอร์ เข้าไปพัวพัน. การใช้คำว่า"เหตุการณ์"ในที่นี้เป็นไปเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้คำว่า"ค้นพบ" ที่ให้ภาพเดิมของการแบ่งผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ และเน้นความเป็นวีรบุรุษของผู้รู้อย่างล้นเกิน. ลาตูร์อธิบายเรื่องของปาสเตอร์กับจุลชีพใหม่ เพื่อให้ผู้อ่านก้าวพ้นการแบ่งขั้วสองอย่างคือ อย่างแรก ระหว่าง"นิรมิตนิยม"และ"สัจจนิยม", อย่างที่สองคือ "มนุษย์ผู้กระทำ"และ"วัตถุสิ่งของ"

- ในการแบ่งขั้วอย่างแรก ฝ่ายนิรมิตนิยมนั้นเชื่อว่า ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ซึ่งถูกสร้างโดยนักวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่การสะท้อนความจริง ซึ่งตรงข้ามกับสัจจนิยมที่เชื่อว่านักวิทยาศาสตร์สะท้อนความจริง

- ส่วนการแบ่งขั้วอย่างที่สอง เรื่องเล่าหลักของผู้ศรัทธาวิทยาศาสตร์คือ สิ่งของทั้งหมดล้วนวางอยู่อย่างเชื่องๆ รอให้นักวิทยาศาสตร์หยิบใช้อย่างสะดวกดาย

สิ่งที่ปาสเตอร์ทำคือการนิรมิตสิ่งที่มีอยู่จริงทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้มันแสดงตัวเป็นอิสระจากตัวเขา ให้เขาได้สะท้อนความจริง ทั้งนี้"เหตุการณ์"สร้างและสะท้อนความจริงนี้ไม่ใช่เป็นไปโดยอิสระจากมนุษย์ผู้กระทำ แต่เป็นการต่อรอง การถ่ายทอด และการพัวพันระหว่างมนุษย์ผู้กระทำและวัตถุสิ่งของ

มนุษย์สามารถควบคุมเทคโนโลยีได้หรือไม่?
ช่วงกลางของหนังสือ เขาตอบคำถามยอดนิยมตลอดกาลว่า "มนุษย์สามารถควบคุมเทคโนโลยีได้หรือไม่?" ซึ่งสะท้อนให้เห็นความหวาดวิตกว่า คุณค่าของมนุษย์จะสูญเสียเพราะเครื่องจักร. ลาตูร์ให้ความเห็นว่า ทัศนะนี้เกิดจากการแบ่งขั้วระหว่างสิ่งที่เป็นมนุษย์และไม่ใช่มนุษย์อย่างแยกขาดออกจากกัน ทั้งที่สิ่งที่เกิดขึ้นในวิถีประวัติศาสตร์คือ มนุษย์กับสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์หลอมรวมกันอย่างซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ

สิ่งไม่ใช่มนุษย์ไม่ว่าจะเป็นเงินตรา สถาบันทางสังคม หรือเครื่องจักร เป็นตัวเสริมความสามารถใหม่ๆ ให้กับมนุษย์และเพิ่มความซับซ้อนของสังคม ในทางกลับกันมนุษย์ก็สร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ทางวิวัฒนาการของสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ แต่ก็ไม่ใช่มนุษย์ที่จะกระทำต่างๆ กับสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ได้อย่างอิสระ การกระทำต่อสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ถูกควบคุมแนวทางที่เป็นไปได้โดยสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ด้วย นั่นคือคือการเสนอให้มองสิ่งที่เป็นมนุษย์และไม่ใช่มนุษย์อย่างเป็นสมุหภาพ ไม่ใช่จับแยกขั้วแล้วพิจารณาความสัมพันธ์แบบวิภาษวิธี

การปะทะคารมระหว่างโสคราตีสกับโซฟิสต์ในเรื่อง"ความจริง"
เขาพาเราอ่านงานเขียนของพลาโต ที่ว่าด้วยการปะทะทางคารม / ความจริงระหว่างโสคราติสกับเหล่าโซฟิสต์เสียใหม่ โดยไม่ยอมอ่านตามโครงเรื่องเดิมที่ถูกวางไว้ เพื่อยกย่องโสคราติสในฐานะนักปรัชญา ผู้ยอมตายเพื่ออยู่ข้างความจริง แต่ในทางตรงกันข้าม การอ่านของเขาเป็นไปเพื่อชี้ให้เห็นว่า การถกเถียงอันทรงเกียรติระหว่างโสคราติสกับเหล่าโซฟิสต ์ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการดูถูกเหล่าประชา ความตายของโสคราติสโดยการกดดันจากเหล่าประชาจึงถือว่าสมควรอย่างยิ่ง ทั้งโสคราติสกับเหล่าโซฟิสต์เห็นพ้องกันว่า หากพวกเราไร้ผู้ชี้นำ ภาวะที่ตามมาคือความยุ่งเหยิงจากกฎหมู่มากมายของประชา ประชาต้องการการชี้นำ แต่ว่าจะจากใครเล่าระหว่างโสคราติสกับเหล่าโซฟิสต์? ในขณะที่โซฟิสต์พยายามชี้นำคนด้วยโวหาร แผนการของโสคราติสแยบยลกว่าและฉลาดกว่า คือ ปิดปากประชา และบอกให้ประชารู้ว่า มีความจริงที่เป็นอุดมคติเที่ยงแท้กว่ากฎหมู่ ความจริงนี้เขาสามารถเข้าถึง แบบเดียวกับการเข้าถึงความจริงทางเรขาคณิต โสคราตีสทำให้การอ้างความถูกต้องมีอำนาจเหนือกว่าพลังทั้งปวง

ผู้ปริทัศน์คาดว่า ลาตูร์ต้องการกล่าวถึงสถานการณ์ของความรู้ในปัจจุบัน ที่ไม่ต่างจากสมัยกรีกโบราณ สถานการณ์ความรู้ในปัจจุบันคือ ความรู้ตกอยู่ในมือผู้ชำนาญการไม่กี่คน เพื่อใช้อ้างความถูกต้องของการกระทำต่อหน้าสาธารณชน อภิโครงการทั้งหลาย ย่อมต้องมีผู้ทรงคุณวุฒิโต้เถียงกับประชาชนที่ไม่เห็นด้วยอยู่เสมอมิใช่หรือ? และความเห็นของประชาชนต่ออภิโครงการ ก็ถูกลดค่าเป็นความวิตกกังวลไร้เหตผลอยู่เสมอ แน่นอนว่าการสร้างอภิโครงการมีความเกี่ยวข้องกับการเมืองด้วยเสมอ นี่คงเป็นการเมืองที่ติดพ่วงมากับวิทยาศาสตร์

ความทรงพลังของความคิดทันสมัย: เส้นแบ่งระหว่าง"ความรู้"และ"ความเชื่อ"
สาระนี้ได้ต่อเนื่องไปยังบทความช่วงท้าย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ความคิดทันสมัยทรงพลังด้วยการสร้างเส้นแบ่งชัดเจน ระหว่าง"ความรู้"กับ"ความเชื่อ" สร้างเส้นแบ่งที่ชัดเจนระหว่าง"ทันสมัย"และ"ก่อนทันสมัย". พวกทันสมัยมองว่าความทันสมัยต้องไร้ความเชื่อ และพวกล้าหลังคือพวกยึดติดความเชื่อ หากยกตัวอย่างไทยๆ คือ พวกล้าหลังคือพวกที่เชื่อว่า "ปล่อยปลาหมอแล้วจะทำให้พ้นความเจ็บป่วย ไม่ต้องไปหาหมอ" แต่พวกทันสมัยคือพวกที่เชื่อผลวิจัยทางการแพทย์ว่า "หัวเราะทุกวันแล้วสุขภาพจะดีขึ้น" กระนั้นผลวิจัยทางการแพทย์เช่นนี้ปลอดจากความเชื่อเลยหรือ?

ข้อเสนอของลาตูร์ก็คือ การสร้างเส้นแบ่งของพวกทันสมัยเป็นเรื่องที่ผิด แต่ในขณะเดียวกัน ก็ไม่ถูกไม่ควรที่เราจะโผเข้าหากระแสตอกกลับทันสมัย และการตอกกลับว่าวิทยาศาสตร์เป็นแค่ความเชื่อ หรือภาพลวงของพวกหลังทันสมัย ก็เป็นวิธีที่สุดโต่งเกินไป วิธีนี้มองว่าวิทยาศาสตร์เป็นแค่เรื่องเล่าเรื่องหนึ่ง เขาเสนอให้เราเป็นอทันสมัย ด้วยการสลัดหลุดจากการมองแยกขั้วหลายรูปแบบ หลุดจากการมองเน้นตัวกระทำมนุษย์แบบมนุษยนิยม มาสู่การพิจารณา"ความเป็นจริง"ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งของด้วย

บทสรุปสุดท้าย เป็นการรวบรวมเนื้อความจากบทก่อนหน้าทั้งหมด มาร้อยเรียงอย่างรวบรัด เน้นที่การหลุดพ้นจากการมองแบบแยกขั้ว และเชื้อเชิญให้หันสู่การมองให้เห็นสมุหภาพ ทั้งให้ความเห็นว่า ข้อถกเถียงในความขัดแย้งและปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์และสังคมจำนวนมาก เป็นเรื่องของอภิปรัชญาที่ขาดการเก็บข้อมูลจากการลงพื้นที่ "เหตุการณ์" ของทั้งหมดโดยรวม

ดังนั้น จะมีประโยชน์อันใดเล่าที่จะตอบคำถามว่า "คุณเชื่อในความจริงหรือไม่?" โดยไม่สามารถเกิดความเข้าใจจนเปลี่ยนแปลงแบบทั้งแผงได้เลย

++++++++++++++++++++++++++
เกี่ยวกับผู้เขียน: Bruno Latour
(คลิกอ่านประวัติในภาษาอังกฤษ)

บรูโน ลาตูร์ นักคิดและนักเขียนชาวฝรั่งเศสผู้นี้ มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแคว้นเบอร์กันดี แหล่งผลิตไวน์ชั้นดีของโลกในฝรั่งเศส เขาเติบโตในครอบครัวที่ผลิตไวน์ เส้นทางชีวิตช่วงแรกเป็นนักปรัชญา ก่อนที่จะหันเหมาเป็นนักมานุษยวิทยา. งานของเขาประกอบด้วยความหลากหลาย นอกจากปรัชญา ประวัติศาสตร์ สังคมวิทยา และมานุษยวิทยาของวิทยาศาสตร์ เขายังสนใจวิทยาศาสตร์ศึกษา ซึ่งว่าด้วยนโยบายวิทยาศาสตร์และการจัดการงานวิจัย ทั้งยังมุ่งเน้นวิเคราะห์กระบวนการวิทยาศาสตร์

ลาตูร์ สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ในฝรั่งเศสนานกว่า ๒๐ ปี และยังคงสอนอยู่ที่วิทยาลัยในปารีส นอกจากนี้ยังรับตำแหน่งภัณฑารักษ์ให้พิพิธภัณฑ์ศิลปะและสื่อเทคโนโลยี เมืองคาร์ลสรูห์ เยอรมนี

เขาผลิตผลงานออกมาอย่างสม่ำเสมอ และได้รับการยอมรับค่อนข้างกว้างขวาง เล่มที่โดดเด่นอย่างเช่น

- Laboratory Life: the Social Construction of Scientific Facts (1979)
- Science In Action: How to Follow Scientists and Engineers Through Society (1987)
- We Have Never Been Modern (1992)
- Politics of Nature: How to Bring the Sciences into Democracy (1999)
- Pandora's hope: essays on the reality of science studies (2004)

ปัจจุบัน เขาเป็นนักคิดคนสำคัญที่เสนอทฤษฎีเครือข่ายนักปฏิบัติการ หนังสือเล่มล่าสุดของเขาก็ว่าด้วยเรื่องนี้ Reassembling the Social: An Introduction to Actor-Network-Theory (2005)

หนังสือของเขาส่วนใหญ่ ได้รับการตีพิมพ์ โดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และได้รับการแปลถ่ายทอดออกไปหลายภาษา น่าเสียดายที่ยังไม่มีงานแปลของเขาที่เป็นภาษาไทย

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

William McDonough
Born: 1951 / Birthplace: Tokyo, Japan
Occupation: Architect / Nationality: United States
Executive summary: Environmentalist Architect
www.nndb.com/people/296/000106975/

William McDonough is an American architect best known for designing environmentally sustainable buildings, manufacturing processes, and materials. McDonough's designs are also noteworthy for markedly increasing productivity and energy efficiency, as well as employee health and satisfaction. McDonough is the author of The Hannover Principles: Design for Sustainability (*), which have become the guiding standards for sustainable design worldwide. His fame soared in 1999 when he was named one of Time magazine's "Heroes for the Planet". Along with German chemist Michael Braungart, McDonough authored Cradle to Cradle: Remaking the Way We Make Things.

(*)The Hannover Principles are a set of statements about designing buildings and objects with forethought about their environmental impact, their effect on the sustainability of growth, and their overall impact on society. They were first formulated by William McDonough and Michael Braungart for planning Expo 2000 in Hanover and are presented in a copyrighted 1992 document.

The principles may be summarized as:

1. Insist on human rights and sustainability.
2. Recognize the interaction of design with the environment.
3. Consider the social and spiritual aspects of buildings and designed objects.
4. Be responsible for the effect of design decisions.
5. Ensure that objects have long-term value.
6. Eliminate waste and consider the entire life-cycle of designed objects.
7. Make use of "natural energy flows" such as solar power and its derivatives.
8. Be humble, and use nature as a model for design.
9. Share knowledge, strive for continuous improvement, and encourage open communication
among stakeholders.

The original document states: "The Hannover Principles should be seen as a living document committed to the transformation and growth in the understanding of our interdependence with nature, so that they may adapt as our knowledge of the world evolves."
http://en.wikipedia.org/wiki/Hannover_Principles

Born in Tokyo in 1951, McDonough spent most of his early years in Hong Kong, an eyewitness to rampant urban squalor, poverty, and disease. The discrepancy between human needs, city infrastructure, and natural resources was further underscored during a period of intense drought when families had access to water for only a few hours a day, once every fourth day. Meanwhile in the summer McDonough stayed with his grandparents out Washington state's Puget Sound. Living in a log cabin, nestled amidst natural splendor and abundance, his grandparents modeled a life of prudent reuse and recycling. Later, in his teen years, he moved to posh Westport, Connecticut, where he got his first real taste of the conspicuous consumer lifestyle, where people are what they own, own far more than they need, and produce an alarming amount of throwaway for the landfill.

These disparate influences sensitized McDonough to the need for a more sustainable relationship between people, the economy, and the natural environment. Thus it was that when he entered college, intent on a major in art, he fell in love with architecture. Architecture, he felt, "involved lots of people and expresses something important about human intention." Human intention set the tone for human action, and interaction, with regard to one another and the planet. In 1977, while still a student at Yale University, he designed Ireland's first solar-heated house, a significant feat given Ireland's notorious overcast climate and its need for cheap, renewable energy sources.

In 1985, McDonough was hired by the Environmental Defense Fund to build a new office. Warned that he would be sued if any of their staff developed health problems in response to his building materials, he attempted to investigate the materials himself, hoping to eliminate those with suspected toxins. Manufactures proved uncooperative however, claiming such information was "proprietary". This experience eventually led McDonough to co-found, along with German chemist Dr. Michael Braungart, MBDC or McDonough Braungart Design Chemistry, which works to help create materials that are non-toxic and ecologically sustainable. MBDC designed materials are free of carcinogens, mutagens and endocrine-disrupting chemicals.

Most of these materials, like many of McDonough's architectural creations, are what he calls "cradle to cradle" products. That is, after they are used they do not end up in the landfill, but can be used for some new purpose. Examples include carpeting that can be easily and economically reprocessed into new carpeting and a wool-and-cellulose upholstery textile that can be composted directly into garden mulch. In the case of buildings, McDonough designs so that structures could be put to more than one use. The famed such Gap Corporate Campus in northern California could be turned into housing or even retail shops once its present use has been outgrown.

But while environmental sustainability is a cornerstone of McDonough's philosophy, he places equal importance on economic feasibility and human interface. In a world in which environmentalists are frequently ridiculed by business leaders and working poor alike as idealistic tree-huggers, McDonough stands apart as a man able to deliver an eco-friendly product at a price that undercuts that of old school eco-destructive goods and materials. Architectural clients for example report tremendous satisfaction with his buildings in terms of cost, form, and function, but also gush about the savings in heating and lighting costs.

But McDonough's vision runs bigger still. The city, he says, is the ultimate human habitat, soon to be housing 80% of the world's population as well as playing host to all the highest aspects of human culture: music, dance, art, theater, as well as research, and education. McDonough envisions a future world in which the city is no longer an earth-fouling parasite, but rather a healthy organism operating in balanced symbiosis with the surrounding countryside. Filled with airy and attractive, yet energy-efficient structures that actually help clean the air and water around them, cities will import raw materials from the countryside and send back finished products, educated citizens, and non-toxic effluent and materials that fertilize and enrich the soil.

It is clearly a lofty dream. But McDonough's work thus far lends it a surprising degree of credence. According to PG&E, his design for GAP is the second most energy efficient building in the region. A line of fabrics he developed with MBDC is so free of toxic dyes and other standard culprits that the wastewater exiting the factory is actually cleaner than the water going in. And a number of his architectural designs, including his famed renovation of the Ford factory on Detroit's Rouge River, plants and trees are used to freshen the air, purify runoff water, and insulate buildings for greater heating and cooling efficiency. Meanwhile the furniture factory designed for Herman Miller increased the company's productivity to the tune of $3 million in just the first year.

Understandably McDonough's accomplishments, and his radical revisioning of the future, has garnered him a growing amount of attention. In 1991 the City of Hannover, Germany, asked him to draw up The Hannover Principles: Design for Sustainability to be presented at the 2000 World's Fair as well as at the 1992 U.N. Earth Summit. In 1996 U.S. president Bill Clinton awarded him the Presidential Award for Sustainable Development, and in 1999 Time magazine named him "Hero for the Planet". Other acknowledgements include the Hidden Villa Humanitarian Award (2001), the Presidential Green Chemistry Design Challenge Award (2003), and the National Design Award (2004). McDonough's awareness of the challenges and necessity of housing and providing for future populations, in a manner both economical and sustainable, has caught the attention of the Chinese government which has hired McDonough to help them develop housing for 400 million people -- a project McDonough likens to building all of the housing in the U.S. in just six years.

University: Dartmouth College
University: Yale University
Healthy Child Healthy World Advisory Board
Author of books:
Cradle to Cradle (2002, nonfiction, with Michael Braungart)


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Michael Braungart
http://en.wikipedia.org/wiki/Michael_Braungart

Michael Braungart is a German chemist who advocates 'upcycling' not recycling, to minimize humanity's ecological footprint. Once a Greenpeace activist who lived in a tree as protest, he is now a respected industrial designer and professor of process engineering.

Michael Braungart is a chemist and founder of EPEA International Umweltforschung GmbH in Hamburg, Germany, and co-founder of MBDC McDonough Braungart Design Chemistry in Charlottesville, Virginia.

After completing studies in Process Engineering in Darmstadt, Germany, Dr. Braungart went on to investigate the chemical processes of industrial production techniques with the Chemistry Department at Konstanz, Germany. He subsequently lead the formation of the Chemistry Section of Greenpeace International. By the time he completed his PhD in Chemistry at the University of Hannover in 1985, he had assumed leadership of Greenpeace Chemistry.

Dr. Braungart is currently a professor of Process Engineering at the University of Applied Sciences in Suderburg (Fachhochschule Nordostniedersachsen), also serving as director of an interdisciplinary materials flow management masters program. He has also accepted a visiting professorship at the Darden School of Business, lecturing on such topics as eco-efficiency and eco-effectiveness, Cradle-to-Cradle design and Intelligent Materials Pooling.

In 1987, Dr. Braungart founded the Environmental Protection Encouragement Agency (EPEA) in Hamburg. At the heart of EPEA is Cradle to Cradle Design, which creates products oriented toward a life-cycle economy.

In addition to his achievements with EPEA, Dr. Braungart also serves as Scientific Manager of the Hamburg Environmental Institute, the non-profit research center which produces the "Top 50 Study". This study ranks the quality of environmentally-sound production of companies within the chemical industry.

Dr. Braungart also works together with American architect and designer William A. McDonough in their product design and development firm, McDonough Braungart Design Chemistry. He has initiated scholarly and scientific inquiry into the adverse environmental and physiological impacts of industrially-produced consumer goods.

Dr. Braungart's EPEA co-authored the Hannover Principles of Design: Design for Sustainability, which served as development guidelines for the World's Fair in Hannover, 2000. In 2002, he also co-authored Cradle to Cradle: Remaking the Way We Make Things with William McDonough.

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

Bruno Latour
Bruno Latour (born June 22, 1947, Beaune, France) is a French sociologist of science best known for his books We Have Never Been Modern, Laboratory Life, and Science in Action. Although his studies of scientific practice were at one time associated with social constructionist approaches to the sociology of science, Latour has diverged significantly from such approaches. Along with Michel Callon and John Law, Latour is one of the primary developers of actor-network theory (ANT), a constructionist approach influenced by the ethnomethodology of Harold Garfinkel, the generative semiotics of Algirdas Julius Greimas, and the maverick sociology of Durkheim's rival Gabriel Tarde.

Biography
As a student Latour originally aggregated in philosophy and was deeply influenced by Michel Serres. He quickly developed an interest in anthropology, however, and undertook fieldwork in the C?te d'Ivoire which resulted in a brief monograph on decolonization, race, and industrial relations. From there Latour shifted his research interests to focus on laboratory scientists. Latour rose in importance following the 1979 publication of Laboratory Life: the Social Construction of Scientific Facts with co-author Steve Woolgar. In the book, the authors undertake an ethnographic study of a neuroendocrinology research laboratory at the Salk Institute. This early work demonstrated that na?ve descriptions of the scientific method, in which theories stand or fall on the outcome of a single experiment, are inconsistent with actual laboratory practice, in which a typical experiment produces only inconclusive data that is attributed to failure of the apparatus or experimental method, and that a large part of scientific training involves learning how to make the subjective decision of what data to keep and what data to throw out; a process that to an untrained outsider looks like a mechanism for ignoring data that contradicts scientific orthodoxy.

After a research project examining the sociology of primatologists, Latour followed up the themes in Laboratory Life with Les Microbes: guerre et paix (published in English as The Pasteurization of France in 1984). In it, he reviews the life and career of one of France's most famous scientists Louis Pasteur and his discovery of microbes, in the fashion of a political biography. Latour highlights the social forces at work in and around Pasteur's career and the uneven manner in which his theories were accepted. By providing more explicitly ideological explanations for the acceptance of Pasteur's work more easily in some quarters than in others, he seeks to undermine the notion that the acceptance and rejection of scientific theories is primarily, or even usually, a matter of experiment, evidence or reason. Another work, Aramis, or, The Love of Technology focuses on the history of an unsuccessful mass-transit project. More recently Latour has turned to more "theoretical" and programmatic works. In the late 1980s and 1990s, he was one of the key thinkers in actor-network theory. His more theoretical books include Science in Action, Pandora's Hope, and perhaps his most popular work, We Have Never Been Modern.

Latour and Woolgar produced a highly heterodox and controversial picture of the sciences. Drawing on the work of Gaston Bachelard, they advance the notion that the objects of scientific study are socially constructed within the laboratory-that they cannot be attributed with an existence outside of the instruments that measure them and the minds that interpret them. They view scientific activity as a system of beliefs, oral traditions and culturally specific practices- in short, science is reconstructed not as a procedure or as a set of principles but as a culture. Latour's 1987 book Science in Action: How to Follow Scientists and Engineers through Society is one of the key texts of the sociology of scientific knowledge.

After spending more than 20 years at the Centre de sociologie de l'innovation at the ?cole des Mines in Paris, Latour moved in 2006 to the Institut d'Etudes Politiques de Paris, where he is the first occupant of a Chair named for the aforementioned Gabriel Tarde. Latour is related to a well-known family of winemakers from Burgundy and is not associated with the similarly-named estate in Bordeaux. In recent years he has also served as one of the curators of successful art exhibitions at the Zentrum f?r Kunst und Medientechnologie in Karlsruhe, Germany, including "Iconoclash" (2002) and "Making Things Public" (2005).

http://en.wikipedia.org/wiki/Bruno_Latour

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน


นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ หรือถัดจากนี้สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

คิดต่างในเชิงสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ดีกว่าและเสรีภาพ
30 January 2008
Free Documentation License
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
การแยกขั้วในลักษณะทวิภาวะระหว่าง "ผู้รู้"กับ"สิ่งที่ถูกรู้"เป็นความเชื่อที่ผิด เขากล่าวว่า นอกเหนือจากดินในป่าอเมซอนที่เป็นจริงแล้ว นักวิทยาศาสตร์ยังได้สร้างความเป็นจริงอีกแบบหนึ่ง เช่น การจำแนกประเภทของดิน โดยนำดินไปจำแนกตามระบบอ้างอิงที่สร้างขึ้นมา ระบบอ้างอิงที่สร้างขึ้นมานี้ได้หมุนเวียนไปในหมู่ผู้ศึกษาดิน และกลายเป็นความจริงเรื่องดินขึ้นมา ดินจริงไม่ใช่ความเป็นจริงที่อยู่กับพื้นพิภพ แต่เป็นความเป็นจริงที่ฝังอยู่ในระบบอ้างอิงด้วย การแยกขาดชัดเจนระหว่างผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ เป็นความเชื่อของนักวิทยาศาสตร์ส่วนหนึ่ง ที่ต่างจากการปฏิบัติ
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
home