บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้
มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง
นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก
ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด.
สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ
ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com
(กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)
Profiting from Destruction
Midnight
University
บรรษัทความรุนแรง การละเมิดสิทธิมนุษยชน
และความไม่รับผิด
ย้อนอดีตทุนนิยมความรุนแรง:
กรณีบรรษัทตะวันตก
ภัควดี วีระภาสพงษ์ : แปล และเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์
เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศไทย
สำหรับบทความแปลชิ้นนี้
เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นจาก
การแสวงหาผลกำไรโดยปราศจากจริยธรรม ความรับผิดต่อสังคม และต้นทุนสิ่งแวดล้อม
รวมถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนอันซับซ้อน โดยกรณีตัวอย่างบรรษัทและธุรกิจ
ในบทแปลนี้ เป็นเรื่องของบริษัทขนาดใหญ่ในโลกตะวันตก ที่ถูกจับตามองและ
วิพากษ์วิจารณ์ เพื่อเปรียบเทียบกับสังคมไทย กรณีโรงถลุงเหล็กสหวิริยาฯ แม่รำพึง
ประจวบคีรีขันธ์ ต่อกรณีการใช้ความรุนแรงต่อผู้ประท้วง จนมีผู้บาดเจ็บล้มตาย
สำหรับบทแปลนี้ประกอบด้วย
๑. บริษัทเบคเทล: กำไรจากความพินาศฯ และ
๒. รายงานจากอ็อกแฟม: การขูดรีดแรงงานคือราคาของอาหารที่ถูกลง
โดยเรื่องแรกแปลจาก Bechtel: Profiting from Destruction
Why the Corporate Invasion of Iraq Must be Stopped
ส่วนเรื่องหลังแปลจาก Exploitation is the price of cheaper food,
says Oxfam. สำหรับนักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจต้องการอ่านต้นฉบับ
ภาษาอังกฤษ สามารถคลิกไปอ่านได้จากที่นี่ (click)
midnightuniv(at)gmail.com
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้
ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ ๑๔๖๙
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๒๕ มกราคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
๑๘ หน้ากระดาษ A4)
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
บรรษัทความรุนแรง การละเมิดสิทธิมนุษยชน
และความไม่รับผิด
ย้อนอดีตทุนนิยมความรุนแรง:
กรณีบรรษัทตะวันตก
ภัควดี วีระภาสพงษ์ : แปล และเรียบเรียง
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(ต้นฉบับภาษาอังกฤษ
คลิก)
๑.
บริษัทเบคเทล: กำไรจากความพินาศ
การรุกรานอิรักของบรรษัทข้ามชาติ (บทคัดย่อ)
ทำความรู้จักบริษัทเบคเทจ (เบคเทล กรุ๊ป) โดยสังเขป
Bechtel Corporation (Bechtel Group)
บริษัทเบคเทล เป็นบริษัทวิศวกรรมใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา ลำดับความใหญ่โตของบริษัท
ถือเป็นบริษัทเอกชนที่ใหญ่สุดเป็นอันดับ 9 ของสหรัฐฯ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ซานฟรานซิสโก.
เบคเทลมีพนักงานประมาณ 4 หมื่นคน (ในปี 2006) ซึ่งทำงานโครงการต่างๆ ในเกือบ
50 ประเทศทั่วโลก และมีรายได้ถึงปีละ 20.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
บริษัทเบคเทลมีส่วนร่วมในการก่อสร้างเขื่อนฮูเวอร์ ในช่วงทศวรรษที่ 1930s. นอกจากนี้บริษัทยังมีความเกี่ยวพันกับโครงการวิศวกรรมขนาดใหญ่ที่ตกเป็นเป้าสายตาของสาธารณชนอีกหลายๆ โครงการ รวมถึงโครงการขุดอุโมงค์ใต้น้ำเชื่อมระหว่าง"อังกฤษ"และ"ฝรั่งเศส" ความยาวประมาณ 50.5 กิโลเมตร เรียกว่า Channel Tunnel, นอกจากนี้ยังมีโครงการเกี่ยวกับพลังงานอีกจำนวนมาก, โรงกลั่นน้ำมัน, และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ฯลฯ
สำหรับโครงการวิศวกรรมขนาดใหญ่ในเอเชีย อย่างเช่น ท่าอากาศยานระหว่างประเทศในฮ่องกง, โครงการศุนย์กลางอาณาจักรและตึกระฟ้า (Kingdom Centre and Tower) ในซาอุดิ อาราเบีย, โครงการฟื้นฟูเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานในอิรัก(หลังจากถูกถล่มโดยสหรัฐฯ) โดยโครงการดังกล่าวได้รับทุนจากยูเซด หรือหน่วยงานพัฒนาระหว่างประเทศ ของสหรัฐอเมริกา (the United States Agency for International Development (USAID). ส่วนโครงการวิศวกรรมในสหรัฐอเมริกาเองเมื่อไม่นานมานี้ บริษัทได้ทำสัญญาลากจูงและสร้างบ้านเคลื่อนที่จำนวน 35,000 หลัง สำหรับเหยื่อพายุเฮอร์ริเคน แคทรีนา, ในรัฐมิสซิสซิปปี
บริษัทเบคเทลได้ธำรงความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับฝ่ายบริหารของสหรัฐฯ
มาหลายยุคหลายสมัย ไม่ว่าจะเป็นประธานาธิบดี Nixon, Reagan, George H. W. Bush,
Clinton, และ George W. Bush. นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์กับรัฐบาลอื่นด้วย ตัวอย่างเช่น
ราชวงศ์ซาอุดิ อาราเบีย. จากผลงานทางวิศวกรรมขนาดใหญ่ กิจการด้านพลังงาน น้ำมัน
นิวเคลียร์ และการฟื้นฟูอิรัก ประกอบกับความสัมพันธ์และเส้นสายภายในที่มีกับรัฐบาลฯ
ในหลายประเทศ บริษัทแห่งนี้จึงถูกจับตาดู และถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักโดยกลุ่มต่อต้านโลกาภิวัตน์
และขบวนการสิ่งแวดล้อมจำนวนมาก
สมเกียรติ ตั้งนโม
: เรียบเรียง
Bechtel Corporation (Bechtel
Group) is the largest
engineering company in the United States, ranking as the 9th-largest privately
owned company in the U.S. With headquarters in San Francisco, Bechtel had
40,000 employees as of 2006 working on projects in nearly 50 countries with
$20.5 billion in revenue.
Bechtel participated in the building of Hoover Dam in the 1930s. It has also
had involvement in several other high profile construction engineering projects,
including the Channel Tunnel, numerous power projects, refineries, and nuclear
power plants, BART, Jubail Industrial City and Kingdom Centre and Tower in
Saudi Arabia, Hong Kong International Airport, the Big Dig, the rebuilding
of the civil infrastructure of Iraq funded by the United States Agency for
International Development (USAID), and the hauling and installing of more
than 35,000 trailers and mobile homes for Hurricane Katrina victims in Mississippi.
The Bechtel family has owned Bechtel since incorporating the company in 1925. Bechtel's size, its political clout, and its penchant for privacy have made it a perennial target for journalists and politicians since the 1930s. Bechtel has maintained strong relationships with officials in many United States administrations, including those of Nixon, Reagan, George H. W. Bush, Clinton, and George W. Bush. The company also has strong ties to other governments, particularly the Saudi Royal Family.
Recently, the company has come under criticism for alleged mismanagement of the Big Dig project, its financial links to the bin Laden family, and the manner in which it received Iraqi rebuilding contracts after the U.S. invasion of Iraq in 2003. Politicians in the United States and in Europe have made accusations of cronyism between the George W. Bush administration and Bechtel.
For several years Bechtel
owned and operated power plants, oil refineries, water systems, and airports
in several countries including the United States, Turkey, and the United Kingdom.
Bechtel's long involvement with oil, power, and water overseas has become
a focus of criticism by the growing anti-globalization and environmental movements.
คำนำ
วันที่ 20 และ 21 มีนาคม พ.ศ. 2546 สองวันหลังจากกองกำลังที่มีสหรัฐฯ เป็นผู้นำบุกเข้ายึดครองอิรัก
ประชาชนในซานฟรานซิสโกรวมตัวกันประท้วงครั้งใหญ่ เพื่อให้ปิดสำนักงานใหญ่ของบรรษัทข้ามชาติเบคเทล
คนจำนวนมากอาจไม่รู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างเบคเทลกับสงครามในอิรัก เจ้าหน้าที่ระดับสูงของเบคเทล
อาทิเช่น ยอร์จ ชุลทซ์ ไม่เพียงใช้อิทธิพลทางการเมืองเพื่อกระตุ้นให้เกิดสงครามครั้งนี้เท่านั้น
แต่กรรมการและเจ้าหน้าที่บริหารที่เป็นตัวจักรสำคัญของเบคเทล ซึ่งมีตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลบุช
ยังช่วยกันสร้างหลักประกันด้วยว่า เบคเทลจะได้รับสัญญาที่สร้างผลกำไรมหาศาลที่สุดอีกครั้งหนึ่ง
ในการก่อสร้างบูรณะสิ่งที่พวกเขาช่วยกันทำลายลงไป
ในวันที่ 17 เมษายน เบคเทลได้รับสัญญารับเหมาก่อสร้างบูรณะเป็นรายแรกและรายใหญ่ที่สุดในอิรัก มีมูลค่าถึง 680 ล้านดอลลาร์ในชั่วระยะเวลา 18 เดือน สัญญานี้ประกอบด้วย การก่อสร้างใหม่ การซ่อมแซมและ/หรือการประเมินโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญทุกอย่างของอิรัก นับตั้งแต่โรงกำเนิดไฟฟ้า การเดินสายไฟฟ้า ไปจนถึงระบบน้ำประปาและการระบายน้ำทิ้ง สัญญาครั้งนี้งุบงิบให้กัน โดยไม่มีกระบวนการยื่นประมูลอย่างเปิดเผยและโปร่งใส และเนื้อหาของสัญญาก็ยังปิดบังไว้เป็นความลับ สัญญาครั้งนี้ไม่มีการเปิดเผยต่อผู้จ่ายภาษีชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นผู้จ่ายต้นทุนส่วนใหญ่ที่จะเกิดขึ้น แม้ไม่มีข้อสงสัยว่าเบคเทลเป็นบรรษัทข้ามชาติที่มีประสบการณ์ในธุรกิจด้านนี้ แต่ประสบการณ์ของมันไม่น่าเป็นที่พิสมัยสำหรับชาวอิรักเลย
การแสวงหากำไรจากสงครามและการใช้อิทธิพลของกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองเป็นแค่ส่วนหนึ่งของเรื่องนี้เท่านั้น
รายงานฉบับนี้ให้ตัวอย่างกรณีศึกษาจากประวัติของเบคเทลในการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับน้ำ, นิวเคลียร์, พลังงานและงานก่อสร้างสาธารณูปโภค. กรณีศึกษาเหล่านี้เปิดโปงให้เห็นถึงวิธีการปฏิบัติอันมีมายาวนานของบรรษัท ซึ่งกอบโกยเอาผลประโยชน์จากมนุษย์ สิ่งแวดล้อมและชุมชน พร้อมกับสร้างความหายนะไปทั่วโลก นับตั้งแต่ประเทศอย่างโบลิเวียไปจนถึงชาวอินเดียนแดงในรัฐเนวาดา รายงานฉบับนี้เปิดโปงประวัติอันยาวนานถึง 100 ปีของการใช้เทคโนโลยีที่โหดร้ายป่าเถื่อนที่สุด การกอบโกยผลประโยชน์และเพิกเฉยต่อต้นทุนทางสังคมและสิ่งแวดล้อม
เมื่อเบคเทลได้สัญญาใหม่ในอิรัก โอกาสที่มันจะขยายอิทธิพลไปทั่วทั้งภูมิภาคยิ่งได้รับการส่งเสริมจากแผนการของรัฐบาลบุช ที่ได้มีการประกาศออกมา นั่นคือแผนการสร้างเขตการค้าเสรีสหรัฐฯ-ตะวันออกกลางภายในปี ค.ศ. 2013 เบคเทลมีบทบาทในเรื่องนี้ด้วยซ้ำ เพราะนาย ไรลีย์ พี. เบคเทล ประธานและซีอีโอของบรรษัท ได้รับการแต่งตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ให้เป็นกรรมการที่ปรึกษาของประธานาธิบดีบุชในด้านการค้าระหว่างประเทศ ข้อตกลงเช่นนี้รังแต่จะทำให้การรุกรานของบรรษัทข้ามชาติเข้าสู่ภูมิภาคนี้เป็นจริงขึ้นมา โดยมีเบคเทลเป็นหัวขบวนเช่นเคย
สงคราม 2 รอบและการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจกว่าทศวรรษ ทำให้โครงสร้างพื้นฐานของอิรักมีสภาพไม่สมประกอบ ความจำเป็นทางด้านมนุษยธรรมของชาวอิรัก โดยเฉพาะสิทธิในการปกครองตัวเอง ควรมีความสำคัญสูงสุดในการบูรณะฟื้นฟูประเทศ เบคเทลควรต้องรับผิดชอบต่อการกระทำที่สร้างหายนะทั้งในอดีตและปัจจุบัน แทนที่จะมาแสวงหากำไรได้เพิ่มขึ้นจากการได้รับมอบหมายให้เข้าไปดูแลการบูรณะและจัดการทรัพยากรส่วนรวมอันมีค่าที่สุดของอิรัก
การรุกรานทางทหารต่ออิรักไม่พึงตามมาด้วยการรุกรานของบรรษัทข้ามชาติ
บทคัดย่อ
ก. การทำธุรกิจกับผู้นำเผด็จการ: ประวัติของเบคเทลในอิรัก
ตามที่ให้รายละเอียดไว้ในรายงานฉบับนี้ เบคเทลแสวงหากำไรกับรัฐบาลของซัดดัม ฮุสเซนมาตลอด
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526-2531 เครื่องบินรบของรัฐบาลอิรักทิ้งระเบิดเคมีใส่ประชาชนอิรักและอิหร่านถึง
13,000-19,500 ลูก. ในช่วงเดียวกันนี้เอง เบคเทลกับพันธมิตรในรัฐบาลเรแกนวิ่งเต้นอย่างหนักจนรัฐบาลอิรักเซ็นสัญญากับเบคเทล
เพื่อสร้างท่อส่งน้ำมันจากอิรักไปถึงอ่าวอะคาบาในจอร์แดน เบคเทลไม่เพียงแต่เพิกเฉยต่อปัญหาความรุนแรงทางมนุษยธรรมที่เกิดจากน้ำมือของรัฐบาลอิรักที่เป็นคู่ค้าทางธุรกิจ
พวกเขายังวิ่งเต้นสร้างหลักประกันไม่ให้ข้อตกลงทางธุรกิจของตน ถูกกระทบกระเทือนจากการที่รัฐบาลสหรัฐฯ
ประกาศประณามอาชญากรรมของอิรักอย่างเป็นทางการด้วย
เบคเทลยังเป็นที่ปรึกษาการก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีให้รัฐบาลซัดดัม ฮุสเซน ซึ่งเป็นที่กริ่งเกรงกันว่า อิรักจะนำมาใช้เป็นฐานผลิตอาวุธเคมี ยังมีข้อกล่าวหาอีกว่า เบคเทลช่วยอิรักผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ตามแบบแผนด้วย เบคเทลแสวงหากำไรกับรัฐบาลซัดดัม ฮุสเซน เท่าที่ทำได้ เมื่อความสัมพันธ์สะบั้นลง บุคลากรของเบคเทลก็วิ่งเต้นเพื่อผลักดันให้สหรัฐฯ ตัดสินใจรุกรานอิรัก การปล่อยให้บรรษัทข้ามชาติบรรษัทนี้แสวงหากำไรจากการฟื้นฟูประเทศอิรักอีก จึงเป็นเรื่องที่ผิดศีลธรรมและยอมรับไม่ได้
ข. สายสัมพันธ์ระดับสูงของเบคเทล
ตระกูลเบคเทลสร้างความมั่งคั่งขึ้นมาโดยอาศัยศิลปะของการมีเส้นสาย เบคเทลใช้ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัฐบาลพรรครีพับลิกันทั้งในอดีตและปัจจุบัน
ล่าสุด เบคเทลใช้เส้นสายในการยุยงปลุกปั่นและแสวงหาผลกำไรจากสงครามในอิรัก ตัวอย่างของเส้นสายอิทธิพลวงใน
ได้แก่:
- ซีอีโอไรลีย์ เบคเทลเ ซึ่งป็นที่ปรึกษาทางด้านการค้าของประธานาธิบดี
- ยอร์จ ชุลทซ์ เป็นที่ปรึกษาอาวุโสและกรรมการของเบคเทล ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานที่ปรึกษาของคณะกรรมาธิการ
เพื่อการปลดปล่อยอิรัก โดยมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับทำเนียบขาว
- นายพล (นอกราชการ) แจ๊ค ชีแฮน รองประธานอาวุโสของเบคเทล เป็นกรรมการคนหนึ่งในคณะกรรมการนโยบายความมั่นคง
- แดเนียล เชา รองประธานอาวุโสของเบคเทลอีกคนหนึ่ง เป็นกรรมการที่ปรึกษาของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าของสหรัฐฯ และ
- รอสส์ เจ. คอนเนลลี เจ้าหน้าที่ระดับสูงที่ทำงานให้เบคเทลมานานถึง 21 ปี เป็นรองประธานฝ่ายบริหาร และหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการของสมาคมนักลงทุนเอกชนโพ้นทะเลของสหรัฐฯ
ค. เบคเทลสร้างความยากแค้นเกี่ยวกับน้ำไปทั่วโลก
ถ้าสัญญาในอิรักของเบคเทลครอบคลุมไปถึง "การจัดสรรน้ำ" เหมือนที่ฮัลลิเบอร์ตันได้จัดสรรน้ำมันล่ะก็
ชาวอิรักคงมีเรื่องให้ต้องกลัวมากทีเดียว เบคเทลเป็นหนึ่งในบริษัทแปรรูปน้ำเป็นของเอกชนที่ติดอันดับหนึ่งในสิบของโลก
หลังจากแปรรูประบบประปาให้เป็นของเอกชนในเมืองโคชาแบมบา โบลิเวีย เบคเทลทำให้ราคาน้ำแพงมากจนประชาชนจำนวนมาก
ไม่สามารถมีน้ำใช้ได้. รัฐบาลโบลิเวียจัดการกับการประท้วงด้วยการใช้กำลังตำรวจปราบปรามอย่างทารุณ
แต่ในที่สุด รัฐบาลก็ต้องยอมยกเลิกสัญญากับเบคเทล เบคเทลตอบโต้ด้วยการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเป็นจำนวนเงิน
25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นี่เป็นแค่กรณีศึกษากรณีเดียวจากอีกหลาย ๆ กรณี นับตั้งแต่ซานฟรานซิสโกในรัฐแคลิฟอร์เนีย
ไปจนถึงเมืองโซเฟียในบัลแกเรีย ทุกกรณีสะท้อนให้เห็นถึงการที่เบคเทลไม่สนใจสิทธิของแรงงาน
และสิทธิของชุมชนในการมีน้ำใช้
ง. เบคเทลกับฝันร้ายนิวเคลียร์
เริ่มจากโครงการแมนฮัตตันที่พัฒนาระเบิดปรมาณู และสร้างเตาปฏิกรณ์ปรมาณูเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นครั้งแรก
เบคเทลมีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับนิวเคลียร์ทั้งในด้านการค้าและการทหารมาโดยตลอด
รวมไปจนถึงเหตุการณ์เกี่ยวกับนิวเคลียร์ที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ
ตั้งแต่เตาปฏิกรณ์ปรมาณูซานโอโนเฟร ในแคลิฟอร์เนีย ไปจนถึงการทดลองระเบิดปรมาณูที่เกาะทรีไมล์
จ. เบคเทลกับการสร้างสาธารณูปโภค:
ประวัติยาวนานของการฉ้อฉลภาษีประชาชน
เบคเทลได้รับเงินภาษีจากประชาชนของสหรัฐฯ และ/หรือเงินจากการขายน้ำมันของอิรักเป็นจำนวนหลายล้านดอลลาร์เพื่อฟื้นฟูประเทศอิรัก
แต่รัฐบาลสหรัฐฯ ไม่มีมาตรการที่รัดกุมในการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีจากการถลุงเงินเป็นว่าเล่นของเบคเทลเลย
เบคเทลเป็นบรรษัทที่อยู่เบื้องหลังงานรับเหมาก่อสร้างสาธารณูปโภค ที่มีต้นทุนสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา
นั่นคือ โครงการขุดอุโมงค์สายหลักของบอสตัน แรกเริ่มเบคเทลประเมินโครงการนี้ไว้ที่
2.5 พันล้านดอลลาร์ในปี ค.ศ. 1985 ตอนนี้ต้นทุนพุ่งขึ้นไปถึง 14.6 พันล้านดอลลาร์แล้วและยังมีท่าทีว่าจะสูงขึ้นไปเรื่อย
ๆ สภาคองเกรสกำลังสอบสวนการฉ้อฉลเงินภาษีครั้งนี้ โดยตั้งข้อกล่าวหาว่ามีการบริหารงานผิดพลาดและแสวงหากำไรอย่างน่าเกลียด
ส่วนประวัติของการกดขี่แรงงานของเบคเทล ย้อนกลับไปได้จนถึงการสร้างเขื่อนฮูเวอร์ในทศวรรษที่ 1930 ตัวแทนคนหนึ่งของเบคเทลเคยกล่าวไว้ตรง ๆ ว่า "คนงานจะต้องทำงานภายใต้เงื่อนไขของเรา หรือไม่ก็ไม่ต้องทำงานเลย" สภาพการทำงานเลวร้ายมากจนกระทรวงแรงงานตั้งข้อหาว่า มีการละเมิดสิทธิแรงงานถึง 70,000 กรณี และปรับบริษัทเป็นเงิน 350,000 ดอลลาร์ (เบคเทลขอลดค่าปรับลงจนเหลือ 100,000 ดอลลาร์) การเพิกเฉยต่อสิทธิมนุษยชนของแรงงาน เป็นแบบแผนการปฏิบัติของเบคเทลในทุกโครงการทั่วโลก
ฉ. เบคเทลกับการใช้พลังงานที่ไม่ยั่งยืน
เบคเทลมีบทบาทสำคัญในการค้ำจุนระบบเศรษฐกิจที่พึ่งพิงน้ำมัน และอุตสาหกรรมการทำเหมือง
ทั้ง ๆ ที่ต้นทุนทางด้านสิ่งแวดล้อมของการใช้น้ำมันเป็นที่ชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ
และทรัพยากรธรรมชาติในโลกลดน้อยลงทุกที ๆ เบคเทลจำต้องรับผิดชอบต่อบทบาทในการตั้งหน้าตั้งผลักดันการพัฒนาที่ต้องพึ่งพิงพลังงานที่ไม่ยั่งยืน
เบคเทลโอ้อวดในเว็บไซต์ของตนว่า มีส่วนร่วมอยู่ในโรงงานไฟฟ้าที่ใช้พลังงานน้ำมันถึง
350 แห่ง บริษัทนี้ยังเป็นผู้วางเครือข่ายท่อส่งน้ำมันทั้งในสหรัฐอเมริกา แคนาดา
ตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันออกและโคลัมเบีย. เบคเทลยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำเหมืองในชิลี
ปาปัวนิวกินี และอีกหลาย ๆ แห่ง ซึ่งสร้างมลพิษให้แก่ดิน น้ำและเป็นสาเหตุการตายของประชากรท้องถิ่น
บทสรุปและคำแนะนำ
เบคเทลเป็นบรรษัทที่มีประวัติน่าอดสูในการสร้างความหายนะแก่มนุษย์ สิ่งแวดล้อมและการเงินไปทั่วโลก
แทนที่จะได้รับรางวัลจากการเข้าไปควบคุมทรัพยากรส่วนรวมอันมีค่าของอิรัก เบคเทลสมควรต้องรับผิดชอบต่อการกระทำในอดีตและปัจจุบันมากกว่า
รวมทั้งต้องได้รับคำประณามจากชุมชนโลกด้วย กระบวนการทำสัญญาเพื่อเข้าไปฟื้นฟูอิรักควรมีความโปร่งใส
เช่น เปิดประมูลโดยทั่วไป เปิดเผยให้ประชาชนทราบถึงรายละเอียดของการประมูล สร้างหลักประกันว่าบริษัทที่เข้ามาดำเนินการต้องมีประวัติที่น่าพอใจและมีจริยธรรมในการทำธุรกิจ
ซึ่งเงื่อนไขทั้งหมดนี้ไม่เอื้อต่อเบคเทลอย่างแน่นอน
(June 5, 2003)
2. รายงานจาก Oxfam: การขูดรีดแรงงานคือราคาของอาหารที่ถูกลง
โดย Cahal Milmo ที่มา Independent (UK)
จาก Asheville Global Report Online http://www.agrnews.org/ (คลิกอ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษ)
ทำความรู้จักองค์กรอ็อกแฟม โดยสังเขป
องค์กรอ็อกแฟม เป็นการรวมตัวกันของ 13 องค์กร ซึ่งมีผู้ร่วมงานกว่า 3 พันคนทำงานในประเทศต่างๆ
กว่า 100 ประเทศ เพื่อแก้ปัญหาความยากจนอย่างถาวร และความอยุติธรรมที่เกิดขึ้นทั่วโลก
อ็อกแฟมมีองค์กร 13 แห่ง ซึ่งมีฐานที่ตั้งอยู่ในออสเตรเลีย เบลเยี่ยม คานาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี ไอร์แลนด์ อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ สเปน สหรัฐอเมริกา และฮ่องกง. สำนักงานเลขาธิการระหว่างประเทศของอ็อกแฟม ซึ่งมีขนาดไม่ใหญ่นัก ตั้งอยู่ที่อ็อกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ และมีสำนักงานฯ สนับสนุนดำเนินการอยู่ในกรุงวอชิงตัน ดีซี. นิวยอร์ค, บรัสเซล, และเจนีวา
อ็อกแฟมในอังกฤษ ก่อตั้งขึ้นในปี
ค.ศ.1942 ในรูปคณะกรรมการอ็อกฟอร์ด เพื่อบรรเทาภาวะอดอยากโดยคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งห่วงใยในปัญหาดังกล่าว
ประกอบด้วย Canon Theodore Richard Milford (1896-1987), ศาสตราจารย์ Gilbert
Murray และภรรยาของเขา Lady Mary, และ Sir Alan Pim. อ็อกแฟมเป็นหนึ่งในคณะกรรมการท้องถิ่นจำนวนมาก
ซึ่งรวมตัวกันขึ้นเพื่อสนับสนุนคณะกรรมการระดับชาติ ในการบรรเทาความเดือดร้อนเรื่องภาวะข้าวยาหมากแพง.
ภารกิจแรกๆ ของอ็อกแฟมก็คือ ชักชวนให้รัฐบาลอังกฤษยินยอมผ่อนปรนและให้ความช่วยเหลือเรื่องอาหารกับพลเมืองในประเทศกรีกที่กำลังอดอยาก
โดยการปิดล้อมของพันธมิตรต่อการยึดครองของนาซี
สมเกียรติ ตั้งนโม
: เรียบเรียง
Oxfam International is
a confederation of 13 organizations working with over 3,000 partners in more
than 100 countries to find lasting solutions to poverty and injustice.
The 13 Oxfam organizations are based in: Australia, Belgium, Canada (along
with a distinct Oxfam organization for the province of Quebec), France, Germany,
Hong Kong, Ireland, the Netherlands, New Zealand, Spain, the United Kingdom,
and the United States. A small Oxfam International Secretariat is based in
Oxford, UK, and the Secretariat runs advocacy offices in Washington, DC, New
York, Brussels, and Geneva.
The Oxfam International Secretariat leads, facilitates and supports collaboration
between the Oxfam affiliates to increase Oxfam International's impact on poverty
and injustice through advocacy campaigns, development programs and emergency
response.
Oxfam Great Britain is
based in Oxford, UK. It was founded in England in 1942 as the Oxford Committee
for Famine Relief by a group of concerned citizens including Canon Theodore
Richard Milford (1896-1987), Professor Gilbert Murray and his wife Lady Mary,
and Sir Alan Pim. It was one of a number of local committees formed in support
of the National Famine Relief Committee. Their mission was to persuade the
UK government to allow food relief through the Allied blockade for the starving
citizens of Nazi-occupied Greece. The first overseas Oxfam was founded in
Canada in 1963. The committee changed its name to its telegraph address, OXFAM,
in 1965.
เริ่มเรื่อง ผู้ค้าปลีกรายใหญ่ระดับโลก รวมทั้งซูเปอร์มาร์เก็ตสัญชาติอังกฤษ
เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้สภาพการทำงานของคนงานหญิงหลายล้านคนตกอยู่ในภาวะเลวร้ายลงเรื่อย
ๆ เพียงเพื่อการแข่งขันในสงครามราคา และสนองความต้องการของลูกค้าที่คาดหวังสินค้าราคาถูก
Oxfam (Oxford Committee for Famine Relief) กล่าวไว้ในรายงานที่เผยแพร่ออกมาเมื่อวันที่
8 กุมภาพันธ์ปีนี้ (2004)
การศึกษาถึงสภาพการจ้างงานใน 12 ประเทศ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตและจัดหาสินค้า นับตั้งแต่กางเกงยีนส์ไปจนถึงดอกเยอบีร่า ให้แก่ซูเปอร์สโตร์ข้ามชาติ เช่น วอลมาร์ต และเทสโก้ พบว่า แรงงานสตรีส่วนใหญ่ในประเทศผู้ผลิตและจัดหาสินค้า ต้องมีชั่วโมงทำงานยาวนานขึ้นทั้งที่ได้รับค่าจ้างต่ำ ต้องทนกับสภาพการทำงานที่ไม่ถูกสุขลักษณะ และไม่ได้รับผลประโยชน์ใด ๆ เลยจากระบบการค้าแบบโลกาภิวัตน์. ประเมินว่าในประเทศกำลังพัฒนา ผู้หญิงคือแรงงานที่ถูกจ้างถึง 60-90% ของอัตราการจ้างงานในขั้นตอนการผลิตที่ต้องอาศัยแรงงานจำนวนมาก ทั้งในอุตสาหกรรมสิ่งทอและการผลิตผักผลไม้สด ที่ส่งไปวางจำหน่ายบนชั้นขายสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ตของยุโรปและอเมริกา
Oxfam กล่าวว่า นโยบายการจัดซื้อของบริษัทผู้ค้าปลีกระดับโลก ใช้การแข่งขันทางด้านราคาระหว่างซัพพลายเออร์ที่อยู่ห่างกันคนละซีกโลก เช่น ประเทศไทย และเคนยา เพื่อกดราคาให้ต่ำลงและเพิ่มประสิทธิภาพให้สูงขึ้น ผลที่ตามมาก็คือ สภาพการทำงานที่เลวร้ายลงของแรงงานที่อยู่ระดับล่างสุดของสายพานการผลิตสินค้า. เคท ราเวิร์ธ ผู้เขียนรายงานชิ้นนี้ กล่าวว่า: "คนงานที่ทำงานอย่างเช่น เก็บผลไม้ เย็บเสื้อผ้า ตัดดอกไม้ เป็นผู้หญิงเสียส่วนใหญ่ แต่แทนที่การทำงานจะทำให้มีรายได้ช่วยครอบครัวให้พ้นจากความยากจน คนงานหญิงมักถูกจ้างงานโดยมีสัญญาจ้างชั่วคราว หรือไม่มีสัญญาจ้างเลย ไม่มีแม้แต่วันลาป่วย ไม่มีความมั่นคงและถูกเลิกจ้างเมื่อไรก็ได้ การขูดรีดแรงงานจากคนที่ไม่มีหลักประกันใด ๆ เลยเช่นนี้ ไม่ว่าตั้งใจหรือไม่ก็ตาม มันคือหัวใจสำคัญของยุทธศาสตร์การจ้างงานในระบบการผลิตและจัดหาสินค้าระดับโลก"
Oxfam กล่าวว่า การวิจัยในประเทศต่าง ๆ อาทิเช่น แอฟริกาใต้ บังคลาเทศ โคลอมเบีย ฮอนดูรัส และประเทศไทย พบว่า คนงานสตรีถูกคาดหวังให้แบกภาระความรับผิดชอบตามค่านิยมดั้งเดิม ทั้งงานบ้านและการเลี้ยงลูก รวมไปจนถึงการหารายได้พิเศษเพิ่มเติมให้แก่ครอบครัวด้วย. ด้วยเหตุนี้ คนงานหญิงจึงถูกนายจ้างขูดรีดแรงงาน โดยบีบคั้นให้คนงานต้องทำงานที่ใช้ "ความชำนาญต่ำ" ด้วยประสิทธิภาพสูงสุด ในขณะที่คนงานส่วนใหญ่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำสุดจากซับพลายเออร์ รายได้นี้ไม่เพียงพอแก่การใช้จ่ายเพื่อปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพด้วยซ้ำ
- ในบังคลาเทศ คนงาน 98% ที่ Oxfam เข้าไปทำวิจัย ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำสุดตามกฎหมาย แต่อัตราขั้นต่ำนี้กำหนดไว้ตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1994 และราคาของอาหารหลักสำหรับดำรงชีวิตขึ้นราคาไปถึงสองเท่าแล้ว
- ในโมร็อคโค คนงานในโรงงานเสื้อผ้าซึ่งส่งสินค้าให้สาขาห้างสรรพสินค้าเอล กอร์เตส ในสเปน ถูกบีบให้ทำงานถึง 16 ชั่วโมงต่อวัน เพื่อให้ทันกับใบสั่งสินค้าที่มีกำหนดเส้นตายการจัดส่งอยู่ที่ 7 วัน แต่คนงานเหล่านี้ได้รับค่าล่วงเวลาไม่ถึงครึ่งหนึ่งที่สมควรได้รับ
รายงานยังกล่าวอีกว่า ตลาดถูกครอบงำโดยบริษัทใหญ่ ๆ ที่ทำตัวเป็น "คนเก็บค่าผ่านประตู" ระหว่างประเทศกำลังพัฒนา กับตลาดที่ทำกำไรมหาศาลในประเทศตะวันตก. ปัจจุบัน บริษัทผู้ค้าปลีกใช้ "การประมูลทางอินเตอร์เน็ต" เพื่อให้ซับพลายเออร์ยื่นประมูลขั้นต่ำสุดสำหรับสัญญาจัดหาสินค้า และใช้การวางใบสั่งซื้อ "ภายในวันเดียว" สำหรับสินค้าอาหารสดที่บังคับให้บรรจุและจัดส่งมาภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งเท่ากับสร้างภาระเพิ่มขึ้นแก่คนงานสตรี ที่ทำงานเก็บเกี่ยวผักผลไม้และบรรจุหีบห่อ
ต้นทุนบางอย่างที่เพิ่มขึ้น เช่น การบรรจุหีบห่อพิเศษที่ซูเปอร์มาร์เก็ตอังกฤษมักระบุมาในใบสั่ง มักถูกผลักให้เป็นภาระของผู้ผลิตสินค้าเกษตร ซึ่งพอถูกบีบกำไรส่วนต่างให้เหลือน้อยลง ผู้ผลิตเหล่านี้ก็มักผลักภาระทางการเงินให้ตกอยู่ที่แรงงานอีกที
ในแอฟริกาใต้ ราคาส่งออกสำหรับแอปเปิ้ลตกลงมาถึง 33 % ตั้งแต่ ค.ศ. 1994 ในฟลอริดา ราคามะเขือเทศที่ใช้แรงงานหญิงต่างด้าวเก็บเกี่ยว ตกลงมาถึงหนึ่งในสี่ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992 ในขณะที่ราคาที่ผู้บริโภคในอเมริกาจ่ายเงินซื้อในซูเปอร์มาร์เก็ต ขึ้นไปถึง 43%
รายงานชิ้นนี้พุ่งความสนใจไปที่เทสโก้ ซูเปอร์มาร์เก็ตที่ใหญ่ที่สุดและทำกำไรมากที่สุดของอังกฤษ ซึ่งมีสาขาในอีก 10 ประเทศ เทสโก้เป็นหนึ่งในบริษัทผู้ค้าปลีกที่นิยมผลักภาระต้นทุนโดยไม่ยอมจ่ายเงินเพิ่มขึ้นแก่ซับพลายเออร์ผู้จัดส่งสินค้า
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ต้นฉบับภาษาอังกฤษ
1. Bechtel: Profiting
from Destruction
Why the Corporate Invasion of Iraq Must be Stopped
by CorpWatch, Global Exchange, Public Citizen, Collaborative
Report
June 5th, 2003
http://www.corpwatch.org/article.php?id=6975
Introduction and Executive
Summary
On March 20 and 21, 2003, two days after the U.S.-led invasion of Iraq, the
people of San Francisco organized a massive protest to shutdown the world
headquarters of the Bechtel Corporation. Many Americans may be unaware of
the connection between the Bechtel Corporation and the U.S.-led war in Iraq.
Bechtel employees like George Shultz not only used their political influence
to help bring this war about, but key Bechtel board members and employees
with advisory positions to the Bush Administration helped ensure that Bechtel
would receive one of the most lucrative contracts for rebuilding what they
had helped to destroy.
On April 17, Bechtel
received one of the first and largest of the rebuilding contracts in Iraq.
Worth $680 million over 18 months, the contract includes the rebuilding, repair
and/or assessment of virtually every significant element of Iraq's infrastructure,
from power generation facilities to electrical grids to the municipal water
and sewage systems. The contract was granted in backroom deals without open
and transparent bidding processes and the content remains hidden behind a
veil of secrecy. The contract has not been publicly disclosed to American
taxpayers, who will be paying the majority of the bill. While there is no
doubt that Bechtel has experience in these areas, it is an experience from
which the people of Iraq should be spared.
War profiteering and political cronyism is just part of this story.
This report provides case studies from Bechtel's history of operating in the water, nuclear, energy and public works sectors. These case studies reveal a legacy of unsustainable and destructive practices that have reaped permanent human, environmental and community devastation around the globe. Letters from "Bechtel affected communities" included here provide first-hand descriptions of these impacts, from Bolivia to Native American lands in Nevada. The report reveals a 100-year history spent capitalizing on the most brutal technologies, reaping immense profits and ignoring the social and environmental costs.
With Bechtel's new contract
in Iraq, the opportunity for expansion throughout the region would be further
advanced by a recently announced Bush Administration plan for a U.S.-Middle
East Free Trade Area by 2013. Bechtel even had a role in this, with Riley
P. Bechtel, the chairman and CEO, appointed in February to the President's
Export Council - President Bush's advisory committee on international trade.
Such an agreement would make the corporate invasion of the entire region a
reality, and Bechtel, as usual, would be in the lead.
Two wars and over a decade of sanctions have crippled Iraq's infrastructure.
It is imperative that the humanitarian needs of the Iraqi people - particularly
the right to self-determination - take precedence in the rebuilding effort.
Bechtel should be held accountable for its past and current destructive practices
rather than made more profitable by being entrusted with Iraq's most valuable
public resources and reconstruction. U.S. assistance should support Iraqi
organizations and businesses, rather than provide lucrative contracts to promote
U.S. business interests and expand U.S. markets in Iraq.
The military invasion of Iraq must not be followed by a corporate invasion.
Contents
Part A. Doing Business with Dictators: Bechtel's History
in Iraq
As detailed in this report, Bechtel profited from the Hussein regime, and
would have made a great deal more if they had had their way. From 1983 to
1988, Iraqi warplanes dropped between 13,000 and 19,500 chemical bombs on
the people of Iraq and Iran. During this same time period, Bechtel and its
allies in the Reagan Administration aggressively lobbied the Iraqi government
to sign a contract with Bechtel to build an oil pipeline from Iraq to the
Gulf of Aqaba in Jordan. Bechtel not only ignored the monumental humanitarian
atrocities perpetrated by their Iraqi business associates, they took steps
to ensure that their business deal would not be harmed by an official U.S.
government condemnation of the Iraqi crimes. Bechtel also consulted in the
construction of a petrochemical plant for Hussein that many fear was used
by Iraq to build chemical weapons. There are even charges that Bechtel helped
Iraq produce conventional arms. Bechtel profited off of the Hussein regime
while they could. When the relationship soured, their employees and associates
helped influence the decision to invade the country. Allowing this corporation
to then profit from Iraqi reconstruction is immoral and unacceptable.
Part B. The Revolving
Door: Bechtel's Friends in High Places
The Bechtel family made its fortune by perfecting the art of the revolving
door. Bechtel has used its intimate relationships with Republican Administrations
past and present to alter not only its own, but all of our destinies. Bechtel's
use of these connections has most recently played out in their role as both
instigators (through their board members and executives) and as profiteers
of the war in Iraq. Some current examples of insider influence include: CEO
Riley Bechtel, who is on the President's Export Council, which advises the
President on trade issues; Bechtel senior counsel and board member, George
Shultz, who is chairman of the advisory board of the Committee for the Liberation
of Iraq, which has close ties to the White House; General (Ret.) Jack Sheehan,
senior vice president at Bechtel, who is a member of the influential Defense
Policy Board; Daniel Chao, another Bechtel senior vice president, who serves
on the advisory board of the U.S. Export-Import Bank and Ross J. Connelly,
a 21-year veteran of Bechtel, who is the executive vice president and chief
operating officer for the U.S. Overseas Private Investment Corporation. More
of an "open" than a "revolving" door, Bechtel uses these
cozy relationships to the detriment of people and the planet.
Part C. Bechtel Brings Water Woes Around the World
If Bechtel's contract in Iraq is extended to include "distribution of
water," just as Halliburton 's was for oil, the people of Iraq have much
to fear. Bechtel is one of the top-ten water privatization firms in the world.
After privatizing the water system in Cochabamba, Bolivia, a subsidiary of
Bechtel made water so expensive that many were forced to do without. The government
met public protests with deadly police force. Bechtel waited. Finally, the
Bolivian government canceled Bechtel's contract. The company responded with
a $25 million lawsuit for lost profits. This is but one such case study provided
in this report that draws on community struggles against Bechtel from San
Francisco, California to Sophia, Bulgaria. Each case demonstrates Bechtel's
extreme disregard for the rights of its workers and the rights of communities
to have access to affordable water.
Part D. Bechtel and Nuclear
Nightmares
Starting with the Manhattan Project that developed the atomic bomb and engineering
the first reactor to generate electricity, Bechtel has been heavily involved
in both commercial and military nuclear activities. These have included some
of the most notable nuclear mishaps in U.S. history, from California's San
Onofre reactor installed backwards, to the botched clean up of Three Mile
Island. Now, while the legacy of environmental contamination and worker exposures
continue to threaten public health and safety, Bechtel is finding ways to
profit from the radioactive mess its projects have created.
Part E. Bechtel and Public
Works: A History of Taxpayer Abuse
Bechtel is being entrusted with millions of dollars of U.S. taxpayer and/or
Iraqi oil dollars in the reconstruction effort in Iraq. As detailed throughout
this report, however, Bechtel has proven that it has little regard for the
rights of taxpayers to protect their resources against Bechtel's abuses. In
one particularly egregious example, Bechtel is the corporation behind the
most costly civil engineering undertaking in U.S. history, the Boston Central
Artery tunnel project, known as the "Big Dig." Bechtel originally
estimated the federally-funded project at $2.5 billion in 1985. The cost has
reached $14.6 billion and appears to be rising still. Congress has investigated
this mass abuse of taxpayer money on charges of extreme mismanagement and
blind profiteering. Bechtel's history of worker abuses goes back as far as
the construction of the Hoover Dam in the 1930s. A representative of the Bechtel-led
joint venture that built the dam bluntly stated at the time, "they will
work under our conditions, or they will not work at all." Labor conditions
were so horrendous that the Department of Labor charged Bechtel with 70,000
separate violations and fined the company $350,000 (Bechtel had the fine reduced
to $100,000). Bechtel's disregard for the human rights of workers remains
a constant point of contention in its projects throughout the world.
Part F. Bechtel and Unsustainable
Energy
Bechtel has played a major role in construction for the fossil fuel economy
and the mining industry. As the environmental costs of our fossil fuel addictions
become clearer, and the limits of our natural resource base loom closer, Bechtel
must be held responsible for the role it has played in moving our country
toward further dependency on unsustainable energy practices. Bechtel boasts
on its website of its involvement in more than 350 fossil-fuel power plants.
It has built a vast network of oil pipelines in the U.S., Canada, the Middle
East, Eastern Europe and Colombia. Bechtel is also involved in mining operations
in Chile, Papua New Guinea, and other places where toxic waste has polluted
land, water and caused deaths among the local population.
Part G. Conclusions and
Recommendations
Bechtel has a shameful track record of reaping human, environmental and financial
devastation in communities throughout the world-from Boston to Bulgaria to
Bolivia. Rather than being rewarded for such behavior with control over many
of Iraq's most valuable public resources, Bechtel should be held accountable
for its past and current destructive practices and condemned by citizens of
the world. If anything resembling ethical, transparent and accountable practices
had prevailed in the contract decision-making process - such as open bidding
practices, full public disclosure of the bidding documents, ensuring the corporation
has a satisfactory record of integrity and business ethics - Bechtel would
certainly be excluded from business activities in Iraq. This section makes
concrete recommendations to stop the Bush Administration from doling out contracts
to undeserving firms with which it has close ties, including Bechtel and Halliburton
.
2. Exploitation is the
price of cheaper food, says Oxfam
By Cahal Milmo / 09 February 2004
The Independent
Global retailers, including British supermarkets are, systematically inflicting
poor working conditions on millions of women workers to conduct price wars
and feed ever-rising consumer expectations of cheap produce, Oxfam said yesterday.
A study of employment conditions in 12 countries which supply items from jeans to gerberas to international brands such as Walmart and Tesco found that the largely female workforce in many suppliers is working longer hours for low wages in unhealthy conditions and failing to reap any benefit from globalisation.
Women in developing countries are estimated to occupy between 60 and 90 per cent of the jobs in the labour-intensive stages of the clothing industry and the production of fresh fruit and vegetables destined for supermarket shelves in Europe and America.
Oxfam claims the buying policies of the new breed of global retailers as they use competition between suppliers as far apart as Thailand and Kenya to demand lower prices and increased efficiencies have resulted in imposing worsening labour conditions on those at the bottom of the supply chain.
Kate Raworth, the report's author, said: "The majority of workers performing these tasks - picking fruit, sewing garments, cutting flowers - are women. But rather than their work providing the income to lift their families out of poverty, these workers are commonly hired on short contracts or, with no contract at all, they have no sick leave and their insecurity and vulnerability is reinforced.
Exploiting the circumstances of vulnerable people, whether intentionally or not, is at the heart of many employment strategies in global supply chains."
The campaign was launched yesterday by Minnie Driver, the Oscar-nominated British actress, in Cambodia, where workers are paid little more than ?35 a month to make garments for major sports brands.
Oxfam said its research in countries such as South Africa, Bangladesh, Colombia, Honduras and Thailand found that women workers were expected to juggle the traditional responsibilities of housekeeping and child rearing as well as bringing in an extra income.
As a result they were exploited by employers who expect them to perform "low skill" jobs at maximum efficiency. While many were receiving the minimum wage from suppliers, the income was still not enough to cover basic needs, Oxfam claims.
In Bangladesh, 98 per cent of the workers approached by Oxfam were receiving the legal minimum. But its level was set in 1994 and the price of staple foodstuffs has doubled since.
In Morocco, staff in garment factories supplying Spain's El Cortes department store chain were expected to work up to 16-hours a day to meet orders placed with seven days' notice but are paid barely half of the overtime they accumulate.
The market is dominated by large companies which act as "gatekeepers" between developing countries and lucrative western markets, according to the report.
Retailers now hold "internet auctions" for suppliers to submit the lowest bids for contracts and place "same-day" orders for fresh produce to be packaged and shipped within 24 hours, placing extra burdens on female pickers and packing workers.
Extra costs, such as the specific packaging ordered by most UK supermarkets for fruit, are also passed on to farmers whose margins in turn are so tight that they have to pass on the financial burden to their workforce, it is claimed.
In South Africa, the export price for apples has fallen 33 per cent since 1994. In Florida the real price paid for tomatoes, picked by women immigrant labourers, has dropped by a quarter since 1992 while the price paid in supermarkets by consumers in America has risen by 43 per cent.
The study highlights Tesco, Britain's biggest and most profitable supermarket, which also sells in 10 other countries, as being among retailers which allegedly pass on costs without paying more for the end product.
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
นักศึกษา
สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ หรือถัดจากนี้สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90