บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้
มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง
นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก
ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด.
สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ
ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com
(กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)
Post-Washington Dissensus
Midnight
University
The Post-Washington Dissensus
โลกาภิวัตน์ล่าถอย:
ไม่มีฉันทามติหลังฉันทามติวอชิงตัน
ภัควดี
วีระภาสพงษ์ : แปล
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์
เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศไทย
สำหรับบทความชิ้นนี้ แปลมาจากงานเขียนของ
Walden Bello
เรื่อง The Post-Washington Dissensus, ซึ่งต้นฉบับเผยแพร่อยู่ที่
http://www.focusweb.org/ และ http://www.zmag.org/content/showarticle.cfm?ItemID=13907
เป็นเรื่องเกี่ยวกับความพยายามปรับปรุงฉันทามติวอชิงตัน ซึ่งมีนโยบายเศรษฐกิจ
แนวเสรีนิยมใหม่ให้สามารถตอบสนองต่อปัญหาทุนล้นเกิน การผลิตล้นเกิน และเศรษฐกิจชะงักงัน
อย่างไรก็ตามผู้เขียนเห็นว่าเห็นว่า แนวทางปรับปรุงต่างๆ ๔ แนวทางมิใช่ทางออกของปัญหาฯ
ทางเดียวสำหรับการแก้ปัญหาดังกล่าวก็คือล้มเลิกแนวทางเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่
ซึ่งเน้นการส่งออกสินค้าและทุน ฯลฯ และล่าถอยจากโลกภิวัตน์ เพื่อโลกจะได้ไม่ต้องเผชิญ
ภาวะยากลำบากมากไปกว่าที่เป็นอยู่นี้ และความรุนแรงซึ่งจะเกิดขึ้นในอนาคต
คลิกอ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษได้จากที่นี่
midnightuniv(at)gmail.com
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้
ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ ๑๔๖๒
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๑๘ มกราคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
๑๘ หน้ากระดาษ A4)
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
The Post-Washington Dissensus
โลกาภิวัตน์ล่าถอย:
ไม่มีฉันทามติหลังฉันทามติวอชิงตัน
ภัควดี
วีระภาสพงษ์ : แปล
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
คลิกอ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษได้จากที่นี่
ไม่มีฉันทามติหลังฉันทามติวอชิงตัน
ผู้แปลขอขอบคุณ อ.ชนิดา จรรยาเพศ แบมฟอร์ด ที่กรุณาแก้ไขขัดเกลาบทความแปลชิ้นนี้
ความนำ
ตอนที่งานศึกษาวิจัยสองชิ้นเมื่อปีที่แล้วแจกแจงให้เห็นว่า ฝ่ายวิจัยของธนาคารโลกบิดเบือนข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อชักชวนให้เชื่อว่า
การปฏิรูปตลาดตามแนวทางเสรีนิยมใหม่ช่วยส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและลดทอนความยากจนในประเทศกำลังพัฒนา
ไม่มีใครในวงการพัฒนารู้สึกตกใจกับการเปิดโปงครั้งนี้เลย ทุกคนเพียงเห็นว่า ข้อค้นพบทางลบในงานศึกษาของโรบิน
บรอด (Robin Broad) อาจารย์มหาวิทยาลัยชาวอเมริกัน และรายงานของอังกัส ดีตัน
(Angus Deaton) อาจารย์มหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน กับเคน ร็อกออฟ (Ken Rogoff) อดีตหัวหน้าเศรษฐกรของกองทุนการเงินระหว่างประเทศนี้
เป็นแค่ฉากล่าสุดในการล่มสลายของสิ่งที่เรียกกันว่า "ฉันทามติวอชิงตัน"
ฉันทามติวอชิงตันเปิดฉากพร้อมกับคำพูดอันลือลั่นของนางมาร์กาเร็ต แธตเชอร์ ผู้สนับสนุนแนวหน้าของโมเดลการพัฒนาแบบนี้ ซึ่งเฟื่องฟูสุดขีดในช่วงทศวรรษ 1980 และต้นทศวรรษ 1990 โดยนางแธตเชอร์อ้างว่า ทางเลือกอื่นนอกเหนือจากฉันทามติวอชิงตันก็คือ TINA หรือ "There is no alternative" ("ไม่มีทางเลือกอื่นอีกแล้ว") ยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจแบบอื่น ๆ มักเน้นบทบาทของรัฐบาลอย่างเข้มข้น แต่ฉันทามติวอชิงตันแตกต่างออกไปตรงที่ มันยกหัวจักรขับเคลื่อนการพัฒนาไปไว้ที่ตลาดเสรีแทน
โมเดลนี้ถูกยัดเยียดให้ประเทศกำลังพัฒนาในรูปของโครงการ "การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ" ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และธนาคารโลก ฉันทามติวอชิงตันครองความเป็นใหญ่มาจนกระทั่งปลายทศวรรษ 1990 เมื่อหลักฐานต่าง ๆ เริ่มปรากฏชัดว่า ถ้าวัดจากบรรทัดฐานสำคัญทุกประการของการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นบรรทัดฐานของการเติบโตอย่างยั่งยืน การลดทอนความยากจน และการลดทอนความไม่เท่าเทียม ไม่ว่าในแง่ไหนก็ไม่ประสบความสำเร็จทั้งสิ้น พอถึงครึ่งแรกของทศวรรษปัจจุบัน ฉันทามติวอชิงตันจึงแผ่วลงไปมาก ถึงแม้ว่าความเฉื่อยชาจะทำให้ลัทธิเสรีนิยมใหม่ยังคงเป็นรูปแบบมาตรฐานโดยปริยายสำหรับนักเศรษฐศาสตร์และเทคโนแครตจำนวนมาก - ทั้งๆ ที่พวกเขาสูญเสียความเชื่อมั่นในลัทธินี้ไปแล้วก็ตาม อดีตสาวกของฉันทามติวอชิงตันได้แตกแยกกันทางความคิดออกไปหลายทิศทางด้วยกัน แม้จะมีการอ้างอิงถึงอยู่บ่อยครั้ง แต่ความจริงแล้ว ไม่มีฉันทามติ "หลังฉันทามติวอชิงตัน" (Post-Washington Consensus) เลย
๑. ฉันทามติวอชิงตันบวก
เนื่องจากได้ตะหนักถึงความล้มเหลวของฉันทามติวอชิงตัน ตอนนี้ไอเอ็มเอฟ และธนาคารโลกจึงหันมาส่งเสริมแนวทางที่โจเซฟ
สติกลิทซ์ นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลเรียกอย่างดูแคลนว่า "ฉันทามติวอชิงตันบวก"
(Washington Consensus Plus) กล่าวคือ แนวคิดว่าถึงแม้การปฏิรูปตลาดมีความสำคัญ
แต่ยังไม่เพียงพอ ยกตัวอย่างเช่น การปฏิรูปทางการเงินต้องทำตาม "ลำดับขั้นตอน"
เพื่อหลีกเลี่ยงความหายนะอย่างที่เคยเกิดขึ้นกับวิกฤตการณ์ทางการเงินของเอเชีย
ซึ่งแม้แต่กองทุนการเงินระหว่างประเทศก็ยอมรับแล้วว่า มันเป็นผลสืบเนื่องจากการที่เงินทุนจำนวนมหาศาลไหลเข้าไปในกลุ่มประเทศที่เปิดเสรีทางการเงิน
โดยไม่ได้สร้างความเข้มแข็งแก่ "โครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน" ของตนก่อน
เมื่อคำนึงถึงกรณีที่รัสเซียตกต่ำลงสู่นรกทุนนิยมแบบมาเฟียในช่วงทศวรรษ 1990 สองสถาบันโลกบาลนี้จึงหันมาพูดถึงความสำคัญของการปฏิรูปตลาด ควบคู่กับการปฏิรูปสถาบันและกฎหมายให้สามารถกำกับดูแลกรรมสิทธ์เอกชนและการปฏิบัติตามสัญญา ประเด็นอื่น ๆ นอกจากนี้ที่มาควบคู่กับการปฏิรูปตลาดก็คือ "ธรรมาภิบาล" และนโยบาย "พัฒนาทรัพยากรมนุษย์" เช่น การศึกษาของสตรี เป็นต้น
การผสมผสานการปฏิรูปตลาดกับการปฏิรูปสถาบันเข้าด้วยกัน ให้มีความเป็นเนื้อเดียวกันมากขึ้นในช่วงปีแรก ๆ ของทศวรรษนี้ ด้วยสิ่งที่เรียกว่า "เอกสารยุทธศาสตร์ลดทอนความยากจน" (Poverty Reduction Strategy Papers-PRSPs) เมื่อเปรียบเทียบกับโครงการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจในสมัยก่อน ซึ่งนักวิเคราะห์คนหนึ่งเรียกว่า "ลัทธิเสรีนิยมใหม่ลุ่น ๆ" ยุทธศาสตร์นี้มีความเป็นเสรีนิยมมากกว่า ไม่เพียงแค่ในเชิงเนื้อหา แต่ในเชิงกระบวนการด้วย โดยอ้างว่าสูตรนี้ได้มาจากการปรึกษาหารือกับ "ผู้มีส่วนได้เสีย" (stakeholders: ผู้ที่จะได้รับผลกระทบทั้งทางตรงทางอ้อมจากความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น ซึ่งครอบคลุมทั้งภาคธุรกิจและสังคมโดยรวม-ผู้แปล) ซึ่งรวมถึงองค์กรภาคประชาสังคมต่างๆ
แม้จะฉาบหน้าสวยหรูด้วยแนวคิดเกี่ยวกับการปฏิรูปสถาบัน แต่นื้อแท้ของ PRSPs ยังคงเป็นหลักการพื้นฐานเชิงเศรษฐกิจมหภาค ที่ประกอบด้วยการเปิดเสรีทางการค้า การลดข้อบังคับ การแปรรูปเป็นธุรกิจเอกชน และการแปลงที่ดินและทรัพยากรให้กลายเป็นสินค้าในเชิงพาณิชย์ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คือหัวใจของโครงการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจแบบเดิม ๆ นั่นเอง ส่วนการหารือกับชุมชนถูกจำกัดอยู่แค่องค์กรเอกชนเสรีนิยมที่มั่งคั่งด้วยทรัพยากร โดยไม่แยแสขบวนการสังคมที่มีฐานมวลชนกว้างขวาง
ดังนั้น PRSPs จึงเป็นแค่โครงการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจรุ่นที่สอง ที่พยายามหาทางบรรเทาความรุนแรงของผลกระทบด้านลบที่เกิดจากการปฏิรูป ดังที่นายโรดริโก ราโต ผู้อำนวยการบริหารของไอเอ็มเอฟ ยอมรับว่า เป้าหมายของการปฏิรูปสถาบันก็เพื่อ "สร้างหลักประกันว่าผลดีของการเติบโตจะกระจายไปในวงกว้าง และกลุ่มคนที่ยากจนที่สุดจะได้รับการคุ้มครองจากต้นทุนของการปรับโครงสร้าง" เพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชน "เกิดความรู้สึกอยากหันหลังให้นโยบายทางเศรษฐกิจกระแสหลักและการปรับโครงสร้าง"
๒. ลัทธิเสรีนิยมใหม่แนวอนุรักษ์นิยมใหม่
กลุ่มที่สองที่แตกแขนงมาจากฉันทามติวอชิงตันก็คือ กลุ่มที่เราอาจเรียกได้ว่า
"ลัทธิเสรีนิยมใหม่แนวอนุรักษ์นิยมใหม่" (neoconservative neoliberalism)
แนวทางนี้โดยเนื้อแท้แล้วก็คือนโยบายการพัฒนาของรัฐบาลบุชนั่นเอง แรงบันดาลใจของยุทธศาสตร์แนวทางนี้มาจากรายงาน
ค.ศ. 2000 อันมีชื่อเสียงของคณะกรรมาธิการสภาคองเกรส ด้านสถาบันพหุภาคี ซึ่งมีอลัน
เมลท์เซอร์ (Alan Meltzer) นักวิชาการอนุรักษ์นิยมเป็นประธานกรรมาธิการ รายงานฉบับนี้เสนอให้ปรับลดขนาดของธนาคารโลกลงอย่างถึงรากถึงโคน
นอกจากนี้ ถึงแม้อาจเป็นแค่เชิงโวหาร แต่รายงานก็สนับสนุนการผ่อนผันหนี้แก่กลุ่มประเทศยากจนที่สุด ด้วยเหตุผลว่าประเทศเหล่านี้ไม่มีปัญญาจ่ายหนี้อยู่ดี และเสนอให้เปลี่ยนจากการให้เงินกู้เป็นเงินช่วยเหลือแทน อย่างไรก็ตาม การผ่อนผันหนี้และการให้เงินช่วยเหลือมีเงื่อนไขว่า รัฐบาลของประเทศนั้น ๆ ต้องเปิดตลาดเสรี แปรรูปอุตสาหกรรม ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติในประเทศของตนเป็นธุรกิจของเอกชน อันที่จริง เหตุผลหลักที่สหรัฐฯ นิยมการให้เงินช่วยเหลือมากกว่า ดูได้จากคำพูดของนายจอห์น เทเลอร์ รัฐมนตรีช่วยกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ ที่กล่าวไว้ว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการให้เงินกู้ยืมผ่านทางธนาคารโลก เงินช่วยเหลือ "สามารถผูกมัดให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่เงินกู้ยืมระยะยาวทำไม่ได้"
ยิ่งกว่านั้น เงินช่วยเหลือยังเอื้อให้สามารถผูกโยงการปฏิรูปที่ส่งเสริมตลาดเสรี และนโยบายการให้เงินช่วยเหลือเข้ากับเป้าหมายด้านความมั่นคงของวอชิงตัน และวาระทางธุรกิจของบรรษัทข้ามชาติสหรัฐฯ ได้โดยตรง เมื่อเปรียบเทียบกับฉันทามติวอชิงตันรุ่นดั้งเดิมแล้ว ลัทธิเสรีนิยมใหม่แนวอนุรักษ์นิยมใหม่ มีความยึดมั่นในหลักทฤษฎีน้อยลง แต่หันเหไปในทิศทางที่ไม่เสรี โดยให้ตลาดมีบทบาทรองจากเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของวอชิงตัน
๓. ลัทธิโครงสร้างนิยมใหม่
กลุ่มที่สามที่แตกออกมาจากฉันทามติวอชิงตันก็คือ ลัทธิโครงสร้างนิยมใหม่ (neostructuralism)
ซึ่งเคลื่อนไปในทิศทางที่มีความเป็นเสรีนิยมมากยิ่งขึ้น นี่เป็นแนวทางที่เชื่อมโยงกับคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจเพื่อละตินอเมริกา
(Economic Commission for Latin America-CEPAL) ซึ่งสร้างทฤษฎีโครงสร้างนิยมของประเทศด้อยพัฒนาขึ้นมาในช่วงทศวรรษ
1950 ภายใต้การนำของราอูล เพรบิช (Raul Prebisch) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอาร์เจนตินาผู้ได้รับการยกย่อง
แนวคิดของลัทธิโครงสร้างนิยมใหม่นี้เห็นว่า นโยบายแบบเสรีนิยมใหม่มีต้นทุนและมีผลพวงด้านลบมากเกินไป และไม่เชื่อว่าจำเป็นต้องมีการแลกได้แลกเสีย (trade-off--การได้มาอย่างหนึ่งโดยจำเป็นต้องแลกเสียอีกอย่างหนึ่งไป--ผู้แปล) ระหว่างความเติบโตทางเศรษฐกิจกับความเท่าเทียมอย่างที่นักลัทธิเสรีนิยมใหม่อ้าง มีก็แต่ "การส่งเสริมซึ่งกันและกัน" (synergy) กล่าวคือ ความไม่เท่าเทียมที่ลดน้อยลง แทนที่จะเป็นอุปสรรค กลับจะช่วยเสริมสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยช่วยเพิ่มพูนเสถียรภาพทางการเมืองและทางเศรษฐกิจมหภาค เพิ่มความสามารถในการออมของคนจน ยกระดับการศึกษา และขยายอุปสงค์มวลรวม (aggregate demand) ดังนั้น นักโครงสร้างนิยมใหม่จึงเสนอนโยบายรายจ่ายประเภทเงินโอนแบบก้าวหน้า (transfer payment policies - หมายถึงการใช้จ่ายในด้านสวัสดิการสังคมของรัฐ-ผู้แปล) ที่จะช่วยกระจายรายได้ใหม่ในทางที่เพิ่มพูนทุนมนุษย์หรือความสามารถในการผลิตของคนจน ตลอดจนการเพิ่มงบประมาณใช้จ่ายมากขึ้นในด้านสาธารณสุข การศึกษา และการเคหะ ทั้งหมดนี้คือโครงการต่าง ๆ ที่บางรัฐบาลในละตินอเมริกานำมาปฏิบัติ โดยเฉพาะรัฐบาลที่นักเขียนผู้ชอบแบ่งขั้วชาวเม็กซิกัน ฆอร์เก คาสตาเนดา เรียกว่า "ฝ่ายซ้ายที่ดี" ในละตินอเมริกา หมายถึงรัฐบาลของประธานาธิบดีลูลาในบราซิล และพรรคพันธมิตร Concertacion ในชิลี
เนื่องจากจุดเน้นอยู่ที่การกระจายรายได้ผ่านการบริหารรายจ่ายประเภทเงินโอนเพื่อปกป้องและยกระดับความสามารถของคนจน แนวทางโครงสร้างนิยมใหม่จึงไม่เข้าไปแทรกแซงกลไกตลาดในการผลิต ซึ่งแตกต่างจากนโยบายของ "ฝ่ายซ้ายที่เลว" (หมายถึงประธานาธิบดีอูโก ชาเวซและสหาย) ที่เข้าไปแทรกแซงการผลิต ตลาดและนโยบายค่าจ้าง
นักโครงสร้างนิยมใหม่ยังอ้าแขนรับโลกาภิวัตน์ด้วย และกล่าวว่า เป้าหมายที่เป็นกุญแจสำคัญในการปฏิรูปคือ การทำให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งขันระดับโลกมากขึ้น เนื่องจากนักโครงสร้างนิยมใหม่อ้างว่า แนวทางของตนสามารถบรรเทาช่องว่างของรายได้ ยกระดับความสามารถของคนจน และทำให้กำลังแรงงานมีความสามารถสูงขึ้นในการแข่งขันระดับโลก จึงมีการอ้างว่าการปฏิรูปของโครงสร้างนิยมใหม่ จะช่วยเปิดโอกาสให้โลกาภิวัตน์กลายเป็นสิ่งที่พึงปรารถนามากขึ้น หรือไม่ก็ถึงขนาดเป็นที่นิยมเลยทีเดียว นักโครงสร้างนิยมใหม่อวดอ้างอย่างภาคภูมิว่า แนวทางของตนคือ "เส้นทางที่สูงส่ง (high road)" ที่จะนำไปสู่โลกาภิวัตน์ ตรงกันข้ามกับ "เส้นทางที่ต่ำช้า (low road)" ของเสรีนิยมใหม่
แต่ดังที่เฟร์นันโด เลย์วา (Fernando Leiva) นักเศรษฐศาสตร์ชาวชิลี ซึ่งจัดเป็นนักวิพากษ์ที่ลุ่มลึกที่สุดคนหนึ่งชี้ให้เห็นว่า ปัญหาก็คือการปฏิรูปของลัทธิโครงสร้างนิยมใหม่จะนำไปสู่สิ่งที่เลย์วาเรียกว่า "ปฏิบทนอกคอก" (heterodox paradox) กล่าวคือ ในการดิ้นรนไขว่คว้าหาความสามารถในการแข่งขันอย่างมีระบบหรือรอบด้าน นโยบายที่นักโครงสร้างนิยมใหม่สร้างขึ้นมาอย่างระมัดระวัง กลับนำไปสู่ "การผนึกความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ-การเมืองและอำนาจควบคุมให้แก่แนวคิดและนโยบายแบบเสรีนิยมใหม่" ในท้ายที่สุด ลัทธิโครงสร้างนิยมใหม่ก็เช่นเดียวกับแนวทางฉันทามติวอชิงตันบวก มันไม่ได้เปลี่ยนแปลงนโยบายเสรีนิยมใหม่ในขั้นรากฐานเลย มันเพียงแค่บรรเทาความยากจนและความไม่เท่าเทียมที่เกิดจากเนื้อแท้ของนโยบายเสรีนิยมใหม่เท่านั้นเอง โครงการต่อต้านความยากจนของรัฐบาลลูลา อาจช่วยลดทอนจำนวนคนยากจนที่สุดลงบ้าง แต่นโยบายเสรีนิยมใหม่ที่กลายเป็นสถาบันไปแล้ว ยังคงผลิตซ้ำความยากจนของคนส่วนใหญ่ ความไม่เท่าเทียม และภาวะชะงักงันในประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในละตินอเมริกาต่อไป
๔. ลัทธิสังคมประชาธิปไตยโลก
ในขณะที่ลัทธิโครงสร้างนิยมใหม่ยังคงยึดติดอยู่กับลัทธิเสรีนิยมใหม่อยู่ไม่น้อย
แต่การยึดติดแบบนี้เห็นได้ไม่ชัดนักในกรณีของแนวคิดที่เราเรียกว่า ลัทธิสังคมประชาธิปไตยโลก
(Global Social Democracy) แนวทางนี้ต้องตรงกับคนจำนวนหนึ่ง เช่น เจฟฟรีย์ แซคส์
(Jeffrey Sachs) นักเศรษฐศาสตร์, เดวิด เฮลด์ (David Held) นักสังคมวิทยา, โจเซฟ
สติกลิทซ์ (Joseph Stiglitz) นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล, และ อ็อกซ์แฟม (Oxfam)
องค์กรการกุศลของอังกฤษ สิ่งที่ลัทธิสังคมประชาธิปไตยโลกแตกต่างจากแนวทางทั้งสามข้างต้นก็คือ
จุดยืนของแนวทางนี้ยอมรับข้อเท็จจริงว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจและความเท่าเทียมอาจเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกัน
และแนวทางนี้โอ้อวดว่าให้ความสำคัญแก่ความเท่าเทียมมากกว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจ.
นอกจากนี้ แนวทางดังกล่าวยังตั้งคำถามขั้นพื้นฐานต่อสมมติฐานที่เป็นหัวใจสำคัญของลัทธิเสรีนิยมใหม่ด้วย
สมมติฐานนั้นก็คือความเชื่อว่า ถึงแม้อาจมีปัญหามากมาย แต่การค้าเสรีย่อมส่งผลดีในระยะยาว
โจเซฟ สติกลิทซ์ถึงกับกล่าวว่า ในระยะยาวนั้น การเปิดเสรีอาจนำไปสู่สถานการณ์ที่
"ประชาชนส่วนใหญ่อาจแย่ลงกว่าเดิม" ก็ได้
ยิ่งกว่านั้น นักสังคมประชาธิปไตยโลกยังเรียกร้องความเปลี่ยนแปลงขั้นรากฐานในสถาบัน และกติกาการปกครองโลก เช่น ไอเอ็มเอฟ, องค์การการค้าโลก, และข้อตกลงทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับการค้า (ทริปส์ - TRIPs) ยกตัวอย่างเช่น เดวิด เฮลด์ เรียกร้องให้มี "การปฏิรูป หรือไม่ก็ยกเลิกข้อตกลงทริปส์ไปเลย" ในขณะที่สติกลิทซ์กล่าวว่า "ประเทศร่ำรวยควรเปิดตลาดให้ประเทศที่ยากจนกว่า โดยไม่ต้องมีข้อแลกเปลี่ยนและไม่ต้องมีการตั้งเงื่อนไขทางเศรษฐกิจหรือการเมือง" รวมทั้ง "ประเทศรายได้ปานกลางควรเปิดตลาดให้กลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาน้อยที่สุด และควรได้รับอนุญาตให้ขยายความอนุเคราะห์ หยิบยื่นสิทธิพิเศษทางการค้าให้แก่กันและกันได้ โดยไม่ต้องให้แก่ประเทศร่ำรวยด้วย ประเทศเหล่านี้จะได้ไม่ต้องกริ่งเกรงว่า สินค้านำเข้าอาจทำลายอุตสาหกรรมที่เพิ่งเริ่มต้นในประเทศของตน"
นักสังคมประชาธิปไตยโลกมองว่า ขบวนการต่อต้านโลกาภิวัตน์เป็นพันธมิตรของตนด้วยซ้ำ ดังที่แซคส์กล่าวขอบคุณขบวนการ "ที่ช่วยเปิดโปงความหน้าไหว้หลังหลอกและข้อบกพร่องอย่างร้ายแรงของระบบโลกบาล อีกทั้งช่วยยุติการสรรเสริญเยินยอตัวเองของกลุ่มคนร่ำรวยและมีอำนาจที่ดำเนินมานานหลายปี" แต่โลกาภิวัตน์คือสิ่งที่นักสังคมประชาธิปไตยโลกขีดเส้นกั้นไว้ เช่นเดียวกับลัทธิเสรีนิยมใหม่คลาสสิก สำนักฉันทามติวอชิงตันบวก และลัทธิโครงสร้างนิยมใหม่ ลัทธิสังคมประชาธิปไตยโลกมองว่า โลกาภิวัตน์เป็นสิ่งที่จำเป็นและสมเหตุสมผลโดยพื้นฐาน และหากบริหารจัดการให้ดี ก็จะนำผลดีมาให้คนจำนวนมากที่สุด
ความจริงแล้ว นักสังคมประชาธิปไตยโลกมองว่า ตัวเองเป็นผู้กอบกู้โลกาภิวัตน์ให้รอดพ้นจากนักเสรีนิยมใหม่ ภารกิจนี้ยิ่งทวีความสำคัญ เพราะตรงกันข้ามกับสมมติฐานที่เคยเปรียบเสมือนความจริงจากพระเจ้าเมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ว่า โลกาภิวัตน์เป็นสิ่งที่กลับลำไม่ได้ ตอนนี้นักสังคมประชาธิปไตยโลกกลับวิตกว่า โลกาภิวัตน์ในปัจจุบันกำลังตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการถูกกลับลำ พวกเขาหยิบยกนิทานเตือนสติเกี่ยวกับผลที่ตามมา ของพัฒนาการแบบเดียวกันเมื่อคลื่นโลกาภิวัตน์ระลอกแรกเกิดการม้วนกลับลำอย่างอลหม่านหลัง ค.ศ. 1914
สำหรับเจฟฟรีย์ แซคส์, เดวิด เฮลด์, และโจเซฟ สติกลิทซ์, ผลดีของโลกาภิวัตน์มีมากกว่าต้นทุนที่ต้องจ่าย และสิ่งที่โลกต้องการก็คือ แนวทางสังคมประชาธิปไตยหรือ "โลกาภิวัตน์ที่มีแสงสว่างทางปัญญา" (enlightened globalization) โดยปล่อยให้การผนวกรวมของตลาดโลกดำเนินต่อไป เพียงแต่กระบวนการนี้ต้องมีการบริหารจัดการอย่างเป็นธรรม และดำเนินไปควบคู่กับ "การผนวกรวมสังคมโลก" ที่ก้าวหน้า ดังที่เฮลด์กล่าวว่า เป้าหมายคือ "วางรากฐานสำหรับระบบเศรษฐกิจโลกที่เสรี ยุติธรรม และมีความเป็นธรรม" ในทางที่ "คุณค่าของกระบวนการทางเศรษฐกิจโลกที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล....ดำเนินไปในลักษณะที่สอดคล้องกับการกำหนดชะตากรรมของตนเอง ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน และความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม"
โลกาภิวัตน์มีความเป็นมนุษย์มากขึ้นได้หรือไม่?
การที่ลัทธิสังคมประชาธิปไตยโลกยึดติดกับโลกาภิวัตน์ ทำให้มีปัญหาตามมาหลายประการ
ประการแรก เราต้องตั้งคำถามว่า การผนวกรวมตลาดและการผลิตอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นสาระสำคัญของโลกาภิวัตน์นั้น
สามารถเกิดขึ้นนอกกรอบลัทธิเสรีนิยมใหม่ได้จริงหรือ ในเมื่อสูตรสำเร็จที่เป็นแกนกลางของการผนวกรวมนั้น
คือการรื้อทำลายกำแพงภาษีและการขจัดข้อจำกัดด้านการลงทุนออกไปให้หมด การชะลอและบรรเทากระบวนการที่ทำลายเสถียรภาพโดยแอบแฝงนี่เอง
คือวาระที่เป็นเป้าหมายของลัทธิสังคมประชาธิปไตยโลก หาใช่การแก้ไขทบทวนไม่
นักสังคมประชาธิปไตยโลกตระหนักถึงแนวโน้มโดยพื้นฐานของกลไกตลาดโลก ที่จะทำให้เกิดความยากจนและไม่เท่าเทียมตามมา ดังที่ที่แซคส์ยอมรับออกมาตรง ๆ แซคส์มองว่า โลกาภิวัตน์แนวสังคมประชาธิปไตยคือ "การกำกับควบคุมอำนาจอันล้นเหลือของการค้าและการลงทุน พร้อมกับยอมรับและหาทางแก้ไขข้อจำกัดต่าง ๆ ด้วยมาตรการชดเชยของส่วนรวม"
ประการที่สอง เราสามารถตั้งคำถามได้อีกเช่นกันว่า ต่อให้เราสามารถวาดภาพโลกาภิวัตน์ที่เกิดขึ้นภายในกรอบที่มีความเท่าเทียมทางสังคม แต่มันเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาจริง ๆ หรือ? ประชาชนต้องการเป็นส่วนหนึ่งในระบบเศรษฐกิจโลกที่ผนวกรวมกัน ซึ่งไม่มีกำแพงกั้นระหว่างในประเทศกับนานาประเทศจริง ๆ หรือ? ประชาชนอาจจะพอใจเป็นส่วนหนึ่งในระบบเศรษฐกิจที่อยู่ภายใต้การควบคุมของท้องถิ่น และมีกันชนกั้นขวางจากความแปรปรวนของระบบเศรษฐกิจระหว่างประเทศก็เป็นได้?
อันที่จริง ปฏิกิริยาตอบโต้ต่อโลกาภิวัตน์ ไม่ได้มีสาเหตุเพียงเพราะความไม่เท่าเทียมและความยากจนที่โลกาภิวัตน์ก่อให้เกิดขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะความรู้สึกของประชาชนว่า ตนสูญเสียอำนาจควบคุมใด ๆ ก็ตาม ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจให้แก่กลไกตลาดระหว่างประเทศที่ไม่มีชีวิตจิตใจไปแล้ว ประเด็นหนึ่งที่ได้รับเสียงสะท้อนมากในขบวนการต่อต้านโลกาภิวัตน์ก็คือ การเรียกร้องให้ยุติความเติบโตทางเศรษฐกิจที่ใช้การส่งออกเป็นหัวจักร และหันไปสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนาที่มุ่งเน้นตลาดภายในประเทศแทน โดยดำเนินตามตรรกะของการหนุนเสริมกันระหว่างวงในกับวงนอก คือส่งเสริมให้มีการผลิตสินค้าแลกเปลี่ยนกันในระดับท้องถิ่นและระดับชาติเท่าที่ทำได้ ก่อนการพึ่งพิงตลาดโลก ซึ่งจะทำให้กระบวนการผลิตอยู่ภายใต้การกำกับดูแลในระบอบประชาธิปไตย
ปัญหาที่ใหญ่กว่า
ปัญหาขั้นพื้นฐานของทั้ง 4 แนวทาง ที่แตกแขนงมาจากฉันทามติวอชิงตันก็คือ การละเลยที่จะวิเคราะห์ลงลึกไปถึงรากเหง้าของพลวัตระบบทุนนิยมในฐานะวิถีการผลิต
ด้วยเหตุนี้ ทั้ง 4 แนวทางจึงมองไม่เห็นว่า โลกาภิวัตน์เสรีนิยมใหม่ไม่ใช่ขั้นตอนใหม่ในระดับที่สูงขึ้นของระบบทุนนิยม
แต่เป็นเพียงความพยายามอันสิ้นหวังและเหลวเปล่า ในอันที่จะเอาชนะวิกฤตการณ์ของการสะสมทุนล้นเกิน
การผลิตล้นเกิน และภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจ ซึ่งกลุ้มรุมระบบเศรษฐกิจทุนนิยมศูนย์กลางมาตั้งแต่กลางทศวรรษ
1970
นโยบายเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ พยายามหาทางแก้ไขภาวะตีบตันระยะยาวที่มีต่อการเติบโตและความสามารถในการทำกำไร โดยอาศัยการทำลายการประนีประนอมระหว่างทุนกับแรงงาน ในระบอบสังคมประชาธิปไตยในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง และขจัดอุปสรรคที่กีดขวางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศออกไป วิธีการ "หลบหนีไปสู่โลกกว้าง" นี้เกิดขึ้นท่ามกลางฉากหลังของกระบวนการที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งในวงกว้าง โดยเฉพาะการแข่งขันแนวจักรวรรดินิยมในหมู่มหาอำนาจทุนนิยมศูนย์กลาง ที่รื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง. การเกิดขึ้นของศูนย์กลางทุนนิยมแห่งใหม่ การทำลายสิ่งแวดล้อม การขูดรีดซีกโลกใต้อย่างหนักข้อกว่าเดิม ดังที่เดวิด ฮาร์วี (David Harvey) เรียกว่า "การสะสมทุนด้วยการปล้นชิง" ตลอดจนการต่อต้านขัดขืนที่เกิดขึ้นทั่วโลก
โลกาภิวัตน์ไม่สามารถเป็นทางหนีให้ทุนรอดพ้นจากวิกฤตการณ์ที่กำลังพอกพูนขึ้นได้ เพราะความล้มเหลวของโลกาภิวัตน์ ตอนนี้เราจึงเริ่มเห็นชนชั้นนำในระบบทุนนิยมสละละทิ้งโลกาภิวัตน์ หันไปหายุทธศาสตร์แบบชาตินิยมในด้านการผลิต โดยมีรัฐปกป้องและหนุนหลังในการแข่งขันแย่งชิงตลาดโลกและทรัพยากรโลก ซึ่งมีชนชั้นนายทุนของสหรัฐ ฯ เป็นแนวหน้าในทิศทางดังกล่าว นี่คือบริบทที่เจฟฟรีย์ แซคส์ และนักสังคมประชาธิปไตยโลกคนอื่น ๆ ไม่เห็นเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อพวกเขานำเสนอยูโทเปียของเขาเอง กล่าวคือ การสร้าง "ระบบทุนนิยมโลกที่มีแสงสว่างทางปัญญา" ซึ่งจะส่งเสริมและ "สร้างความเป็นมนุษย์ให้แก่" โลกาภิวัตน์
ระบบทุนนิยมในระยะหลัง
มีตรรกะในทางทำลายอย่างไม่มีทางแก้ไขกลับลำได้ แทนที่จะเสียเวลาไปกับภารกิจที่เป็นไปไม่ได้
ในการสร้างความเป็นมนุษย์แก่โครงการโลกานิยมที่รังแต่จะล้มเหลว ภารกิจเร่งด่วนเฉพาะหน้าของเราคือ
การหาทางจัดการล่าถอยจากโลกาภิวัตน์ให้ดีต่างหาก ทั้งนี้เพื่อมิให้การล่าถอยครั้งนี้สร้างความขัดแย้งที่ควบคุมไม่ได้
และมีพัฒนาการในเชิงทำลายเสถียรภาพ เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในช่วงปลายคลื่นโลกาภิวัตน์ระลอกแรกเมื่อ
ค.ศ. 1914
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วอลเดน เบลโล เป็นศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยาที่มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์
และเป็นนักวิเคราะห์อาวุโสของ โครงการศึกษาและปฏิบัติการงานพัฒนา (Focus on the
Global South) (http://www.focusweb.org/) ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
The post-Washington dissensus
by Walden Bello
Focus on the Global South / September 28, 2007
"[World] Bank researchers have...done extremely visible work on globalization,
on aid effectiveness, and on growth and poverty. In many ways, they have been
the leaders in these issues. But the panel had substantial criticisms of the
way that the research was used to proselytize on behalf of Bank policy, often
without taking a balanced view, and without expressing appropriate skepticism.
Internal research that is favorable to Bank positions was given great prominence,
and unfavorable research ignored. In these cases, we believe that there was
a serious failure of checks and balances that should have separated advocacy
and research. The panel endorses the right of the Bank to strongly defend
and advocate its own policies. But when the Bank leadership selectively appeals
to relatively new and untested research as hard evidence that these preferred
policies work, it lends unwarranted confidence to the Bank's prescriptions.
Placing fragile selected new research results on a pedestal invites later
recrimination that undermines the credibility and usefulness of all Bank research.
(An Evaluation of World Bank Research, 1998-2005)"
When two studies last year detailed how the World Bank's research unit had been systematically manipulating data to show that neoliberal market reforms were promoting growth and reducing poverty in developing countries, development circles were not shocked. They merely saw the devastating findings of a study by American University Professor Robin Broad and a report by Princeton University Professor Angus Deaton and former International Monetary Fund chief economist Ken Rogoff as but the latest episode in the collapse of the so-called Washington Consensus.
Taking off from Margaret Thatcher's famous remark, partisans of this development model during its heyday the 1980's and early 1990's claimed that the alternative to the Washington Consensus was TINA -- that is, "There is no alternative." The Washington Consensus broke with economic strategies involving heavy participation by government and positioned the unfettered market as the driver of development.
Imposed on developing
countries in the form of "structural adjustment" adjustment programs
funded by the International Monetary Fund (IMF) and the World Bank, the Consensus
reigned until the late 1990s, when the evidence became clear that on all key
criteria of development -- sustained growth, poverty reduction, and reduce
inequality -- it simply was not delivering. By the first half of this decade,
the Consensus had undergone a process of unraveling, although neoliberalism
remained the default mode for many economists and technocrats that had lost
confidence in it, simply out of inertia.
The former adherents of the Consensus have gone off in divergent directions.
Despite frequent references to it, there is, in fact, no "Post-Washington
Consensus."
Washington Consensus
Plus
Mindful of the failures of the Washington Consensus, the IMF and the World
Bank are now promoting what Nobel laureate Joseph Stiglitz has disdainfully
described as the "Washington Consensus Plus" approach -- that is,
that market reforms, while crucial, are not enough. Financial reforms, for
instance, must be "sequenced," if we are to avoid such debacles
as the Asian financial crises, which even the Fund now admits was due to massive
capital inflows into countries that liberalized without strengthening their
"financial infrastructure."
Mindful of the Russian descent into the hell of mafia capitalism in the 1990s, the two institutions also now talk about the importance of accompanying market reform with institutional and legal reforms that can enforce private property and contracts. Other accompaniments of market reforms are "good governance" and policies to "develop human capital" such as female education.
This mix of market and institutional reforms were consolidated in the first years of this decade in the so-called Poverty Reduction Strategy Papers (PRSPs). In contrast to what one analyst has described as the "bare knuckle neoliberalism" of structural adjustment programs, PRSPs were not only more liberal in content but in process: They were supposed to be formulated in consultation with "stakeholders," including civil society organizations.
Despite its icing of institutional reforms, the core of the PRSP cake remains the same macroeconomic fundamentals of trade liberalization, deregulation, privatization, and commercialization of land and resources at the heart of structural adjustment programs. And community consultation has been limited to well-resourced, liberal nongovernmental organizations rather than broad-based social movements.
PRSPs indeed are simply second generation structural adjustment programs that seek to soften the negative impact of reforms. As IMF Managing Director Rodrigo Rato has admitted, the purpose of institutional reforms is "to make sure that the fruits of growth are widely shared and the poorest people are protected from the costs of adjustment" in order to prevent people from being "tempted to give up on orthodox economic policies and structural reforms."
Neoconservative neoliberalism
A second successor to the Washington Consensus is what one might call the
"neoconservative neoliberalism." This approach is essentially the
development policy of the Bush administration.
The inspiration for this strategy was provided by the famous 2000 report of a congressional commission on multilateral institutions headed by conservative academic Alan Meltzer, which proposed a radical slimming down of the World Bank. It supports -- at least rhetorically -- debt relief for the poorest countries on the ground that they won't be able to pay the debt and seeks a shift from loans to grants.
However, debt relief and grant aid are conditioned on how governments perform in terms of liberalizing their markets and privatizing their industries, land and natural resources. Indeed, the main reason for preferring grants is that, in contrast to loans channeled through the World Bank, grants, as Undersecretary of State John Taylor put it, "can be tied more effectively to performance in a way that longer-term loans simply cannot."
Moreover, grants would allow pro-market reforms and aid policy generally to be more directly coordinated with Washington's security objectives and with the agenda of US corporations. Compared to the original Washington Consensus, neoconservative neoliberalism is less doctrinaire, but in an illiberal direction, ready as it is to let the market play second fiddle to power.
Neostructuralism
A third distinctive successor to the Washington Consensus, neostructuralism,
moves, in contrast, in a more liberal direction. This is an approach associated
with the Economic Commission for Latin America (CEPAL) that produced the structuralist
theory of underdevelopment in the 1950s under the leadership of the venerable
Argentine economist Raul Prebisch.
According to neostructuralism, neoliberal policies have simply been too costly and counterproductive. In fact, there is no trade-off between growth and equity, as the neoliberals claim, but a "synergy." Less inequality in fact would enhance, not obstruct, economic growth by increasing political and macroeconomic stability, boosting the saving capacity of the poor, raising educational levels, and expanding aggregate demand.
The neostructuralists thus propose progressive transfer payment policies that redistribute income in ways that increase the human capital or productivity of the poor, including higher spending for health, education, and housing programs. These are the kinds of programs associated with what the Mexican polemicist Jorge Castaneda has called the "Good Left" in Latin America, meaning the governments of Lula in Brazil and the Concertacion alliance in Chile.
Being focused on managing transfer payments to protect and upgrade the capacity of the poor, the neostructuralist approach does not interfere with market forces in production, unlike the policies of the "Bad Left" (meaning Hugo Chavez and friends) that intervene in production, markets, and wage policies.
The neostructuralists also embrace globalization, and they say that a key objective of their reforms is to make the country more globally competitive. Because they simultaneously allegedly alleviate income disparities, upgrade the capacity of the poor, and make the work force more globally competitive, neostructuralist reforms are said to hold out the prospect of making globalization more palatable, if not popular. Neostructuralists proudly proclaim that their approach is the "high road" to globalization, in contrast to the "low road" of the neoliberals.
The problem is that neostructuralist reforms have led to what one of its most thoughtful critics, Chilean economist Fernando Leiva, calls the "heterodox paradox," that is, in the quest for systemic or comprehensive competitiveness, the carefully crafted neostructuralist policies have actually led to "the politico-economic consolidation and regulation of neoliberal ideas and policies."
In the end, neostructuralism, like the Washington Consensus Plus approach, does not fundamentally reverse but simply mitigate the poverty and inequality-creating core neoliberal policies. The Lula government's targeted anti-poverty program may have reduced the ranks of the poorest of the poor but institutionalized neoliberal policies continue to reproduce massive poverty, inequality, and stagnation in Latin America's biggest economy.
Global social democracy
The more than residual attachment to neoliberalism of neostructuralism is
less evident in the case of what we might call Global Social Democracy, an
approach that has become identified with people such as economist Jeffrey
Sachs, sociologist David Held, Nobel laureate Joseph Stiglitz, and the British
charity Oxfam.
Unlike the three previous approaches, this perspective acknowledges the fact that growth and equity may be in conflict, and it ostentatiously places equity above growth. It also fundamentally questions the central thesis of neoliberalism: that for all its problems, trade liberalization is beneficial in the long run. Indeed, Stiglitz says that in the long run, trade liberalization may in fact lead to a situation where "the majority of citizens may be worse off."
Moreover, the global social democrats demand fundamental changes in the institutions and rules of global governance such as the IMF, WTO, and the Trade Related Intellectual Property Rights Agreement (TRIPs). David Held, for instance, calls for the "reform, if not outright abolition, of the TRIPs Agreement," while Stiglitz says that "rich countries should simply open up their markets to poorer ones, without reciprocity and without economic or political conditionality." Also, "middle-income countries should open up their markets to the least developed countries, and should be allowed to extend preferences to one another without extending them to the rich countries, so that they need not fear that imports might kill their nascent industries."
The global social democrats even see the anti-globalization movement as an ally, with Sachs thanking it "for exposing the hypocrisies and glaring shortcomings of global governance and for ending years of self-congratulation by the rich and powerful." But globalization is where the global social democrats draw the line. For like classical neoliberalism, the Washington Consensus Plus school, and neostructuralism, global social democracy sees globalization as necessary and fundamentally sound and, if managed well, as bringing benefits to most.
Indeed, the global social democrats see themselves as saving globalization from the neoliberals. This is all the more important because, contrary to an assumption that was gospel truth just a few years ago -- the globalization was irreversible -- the global social democrats worry that contemporary globalization is, in fact, in danger of being reversed, and they hold up as a cautionary tale about the consequences of such a development the turbulent reversal of the first wave of globalization after 1914.
To Sachs, Held, and Stiglitz, the benefits of globalization outstrip the costs, and what the world needs is a social democratic or "enlightened globalization" where global market integration proceeds but is one that is managed fairly and is accompanied by a progressive "global social integration." The aim, as Held puts it, is to "provide the basis for a free, fair, and just world economy," where the "values of efficient and effective global economic processes function in a manner commensurate with self-determination, democracy, human rights, and environmental sustainability."
Can globalization be
humanized?
There are several problems with global social democracy's attachment to globalization.
First of all, it is questionable that the rapid integration of markets and
production that is the essence of the globalization can really take place
outside a neoliberal framework whose central prescription is the tearing down
of tariffs walls and the elimination of investment restrictions. Slowing down
and mitigating this inherently destabilizing process, not reversing it, is
the global social democratic agenda.
That global social democrats have come to terms with the fundamental tendency of global market forces to spawn poverty and inequality is admitted as much by Sachs who sees social democratic globalization as "harnessing [of] the remarkable power of trade and investment while acknowledging and addressing limitations through compensatory collective action."
Secondly, it is likewise questionable that, even if one could conceive of a globalization that takes place in a socially equitable framework, this would, in fact, be desirable. Do people really want to be part of a functionally integrated global economy where the barriers between the national and the international have disappeared? Would they not in fact prefer to be part of economies that are susceptible to local control and are buffered from the vagaries of the international economy?
Indeed, the backlash against globalization stems not only from the inequalities and poverty it has created but also the sense of people that they have lost all semblance of control over the economy to impersonal international forces. One of the more resonant themes in the anti-globalization movement is its demand for an end to export-oriented growth and the creation of inwardly-oriented development strategies that are guided by the logic of subsidiarity, where the production of commodities takes place at the local and national level whenever that is possible, thus making the process susceptible to democratic regulation.
The larger problem
The fundamental problem with all four successors to the Washington Consensus
is their failure to root their analysis in the dynamics of capitalism as a
mode of production. Thus they fail to see that neoliberal globalization is
not a new stage of capitalism but a desperate and unsuccessful effort to overcome
the crises of overaccumulation, overproduction, and stagnation that have overtaken
the central capitalist economies since the mid-1970s.
By breaking the social democratic capital-labor compromise of the post-World War II period and eliminating national barriers to trade and investment, neoliberal economic policies sought to reverse the long-term squeeze on growth and profitability. This "escape to the global" has taken place against the backdrop of a broader conflict-ridden process marked by renewed inter-imperialist competition among the central capitalist powers, the rise of new capitalist centers, environmental destabilization, heightened exploitation of the South -- what David Harvey has called "accumulation by dispossession" -- and rising resistance all around.
Globalization has failed to provide capital an escape route from its accumulating crises. With its failure, we are now seeing capitalist elites giving up on it and resorting to nationalist strategies of protection and state-backed competition for global markets and global resources, with the US capitalist class leading the way. This is the context that Jeffrey Sachs and other social democrats fail to appreciate when they advance their utopia: the creation of an "enlightened global capitalism" that would both promote and "humanize" globalization.
Late capitalism has an irreversible destructive logic. Instead of engaging in the impossible task of humanizing a failed globalist project, the urgent task facing us is managing the retreat from globalization so that it does not provoke the proliferation of runaway conflicts and destabilizing developments such as those that marked the end of the first wave of globalization in 1914.
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
Walden Bello is professor of sociology at the University
of the Philippines and senior analyst at the Bangkok-based research and advocacy
institute Focus on the Global South.
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
นักศึกษา
สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ หรือถัดจากนี้สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90