โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๔๖๖ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๑ (January, 22, 01, 2008) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

22-01-2551

Banker to the Poor
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com

 

 

เศรษฐศาสตร์เพื่อคนจน - การแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง (๒)
Muhammad Yunus:
ธนาคารกรามีน ธนาคารโลก และปัญหาคนยากจน

พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ : แปล

โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์
เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศไทย

สำหรับบทความแปลชิ้นนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการแก้ปัญหาความยากจนเชิงโครงสร้าง
แปลจากหนังสือเรื่อง Banker to the Poor โดย Muhammad Yunus
ปัญหาความยากจนในประเทศโลกที่สาม จัดเป็นปัญหาที่อยู่คู่กับสังคมมาตลอด
การนำเงินหรือสิ่งของไปให้แบบสังคมสงเคราะห์ ไม่อาจแก้ปัญหาที่แท้จริง ถาวร
เกี่ยวกับความยากจนได้ และเป็นการทำลายศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
อันที่จริงแล้ว คนจนสามารถรับผิดชอบ ทำงานขยันขันแข็ง แลทำงานที่ซับซ้อนมากในสังคม
แตพวกเขาไม่สามารถปลดปล่อยตัวเองได้จากความตกต่ำ ความผิดพลาดนี้เกิดขึ้นจาก
ระบบและโครงสร้างบางอย่างที่ไม่เอื้อต่อการปลดเปลื้องปัญหาอันหนักหน่วงดังกล่าว
ธนาคารกรามีน ได้รับการจัดตั้งขึ้นมาโดยนักเศรษฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยจิตตะก่อง บังคลาเทศ
และตลอดระยะเวลาอันยาวนานของการดำเนินกิจการของธนาคารแห่งนี้ ได้ปล่อยเงินกู้ให้กับคนจน
นับเป็นล้านๆ ซึ่งกำลังเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตคนจำนวนมหาศาล ให้หลุดพ้นจากความยากจนมากขึ้น
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๔๖๖
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๗.๕ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++

(ตอน ๒)
เศรษฐศาสตร์เพื่อคนจน - การแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง
Muhammad Yunus:
ธนาคารกรามีน ธนาคารโลก และปัญหาคนยากจน

พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ : แปล

โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

2. ธนาคารโลก วอชิงตันดีซี พฤศจิกายน 2536
เรามาได้ไกลแล้ว จากการให้ยืมเงิน 428 บาท กับคน 42 คนในปี 2519 มาเป็นการให้ยืมเงิน 2.3 พันล้านเหรียญกับครอบครัวจำนวนมากในปี 2531. การประชุมสุดยอดสินเชื่อรายย่อยจัดขึ้นเมื่อปี 2540 เพื่อรณรงค์ให้สามารถให้สินเชื่อกับ 100 ล้านครอบครัวภายในปี 2548 และโครงการของธนาคารกรามีนได้ขยายตัวไปทั่วโลก จากประเทศเอกวาดอร์ถึงเอริเตรีย จากขั้วโลกเหนือที่นอร์เวย์ไปถึงปาปัวนิวกินี จากย่านคนจนในชิคาโก ไปถึงชุมชนแถบเทือกเขาอันห่างไกลในเนปาล. จนถึงปี 2541, 58 ประเทศมีโครงการแบบเดียวกับธนาคารกรามีน

พฤศจิกายน 2536 เป็นวันสำคัญยิ่งสำหรับธนาคารกรามีน เพราะเป็นครั้งแรกที่แนวคิดของเราเป็นที่ยอมรับถึงระดับแกนกลางของประเทศผู้ให้เงินบริจาค. หลุยส์ เพรสตัน ประธานธนาคารโลกเชิญให้ผมกล่าวในงานประชุมทุพภิกขภัยโลก ที่สำนักงานใหญ่ธนาคารโลก กรุงวอชิงตันดีซี. ขณะที่ผมยืนพูดในที่ประชุม ภาพของผู้หญิงซึ่งต่อสู้ผุดขึ้นมาเป็นห้วง ๆ ในใจ ผมหยุดและมองไปที่ผู้ฟัง ใครจะคิดว่าจากสำนักงานของผมซึ่งสามารถมองเห็นสลัมมณีปุร์ ในย่านนิรปูร์ กรุงธากา ผมจะมีโอกาสมาที่นี่ มาที่ใจกลางแห่งโลกการเงินของโลก มาแสดงปาฐกถาเพื่อบอกเล่าความสำเร็จและความท้าทายของเราต่อธนาคารโลก

ธนาคารโลกและธนาคารกรามีน เคยต่อสู้และถกเถียงกันหลายครั้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นักวิเคราะห์บางคนเรียกเราว่าเป็น "คู่ซ้อมมวย" เจ้าหน้าที่บางคนในธนาคารโลกเข้าใจถึงเนื้อหาของโครงการสินเชื่อรายย่อย แต่วิธีทำงานของเราต่างกันอย่างมาก และเป็นเวลาหลายปีที่เราใช้เวลาและพลังงานต่อสู้มากกว่าช่วยเหลือกัน

ขณะที่มองไปยังผู้ฟัง ผมจำได้ดีถึงการประชุมทางไกลในวันอาหารโลกเมื่อปี 2529. แพทริเซีย ยัง ผู้ประสานงานระดับชาติของคณะกรรมการวันอาหารโลก สหรัฐฯ เชิญให้ผมเป็นหนึ่งในผู้พูดร่วมกับนายบาเบอร์ โคนาเบิล อดีตประธานธนาคารโลกในที่ประชุมทางไกลครั้งนั้น ซึ่งมีการส่งผ่านดาวเทียมไปยัง 30 ประเทศ ตอนนั้นผมยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า การประชุมทางไกลคืออะไร? แต่ผมรับคำเชิญเพราะเห็นเป็นโอกาสที่จะอธิบายสิ่งที่ผมเชื่อว่า "สินเชื่อควรเป็นสิทธิมนุษยชนอย่างหนึ่ง และสินเชื่อสามารถมีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาความหิวโหยในโลก"

ในที่ประชุมทางไกลครั้งนั้น ผมได้ให้ความเห็นอย่างเต็มที่ โดยไม่มีเจตนาจะไปทะเลาะถกเถียงกับประธานธนาคารโลกเลย แต่เขากลับบีบให้ผมต้องทำเช่นนั้นด้วยการพูดว่า ธนาคารโลกให้เงินสนับสนุนธนาคารกรามีนในบังคลาเทศ ผมเห็นว่าควรจะต้องแก้ไขข้อมูลที่ผิดส่วนนี้ ผมจึงพูดอย่างสุภาพว่าอันที่จริงธนาคารโลกไม่เคยให้เงินกับเรา แต่ประธานธนาคารโลกไม่ใส่ใจต่อคำพูดของผม และอีกไม่กี่วินาทีต่อมาเขาก็ย้ำอีกว่าเงินทุนของธนาคารโลกมีส่วนช่วยธนาคารกรามีน คราวนี้ผมจึงแย้งเขาตรง ๆ จะด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่ คุณโคนาเบิลไม่สนใจเสียงประท้วงของผม และย้ำเป็นครั้งที่ 3 ว่าธนาคารโลกให้ความสนับสนุนกับธนาคารกรามีน

ผมคิดว่าควรจะชี้แจงให้ผู้ชมโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมทราบ มิเช่นนั้นผมก็คงถูกมองว่าเป็นเด็กเลี้ยงแกะ เพราะอันที่จริงธนาคารกรามีนไม่เคยต้องการหรือได้รับเงินจากธนาคารโลกแต่อย่างใด เพราะเราไม่ชอบวิธีทำธุรกิจของพวกเขา โครงการที่ธนาคารโลกสนับสนุนมักจบลงในลักษณะที่ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ครอบงำโครงการ พวกเขาจะปรับโครงการตามที่ต้องการโดยไม่ฟังเสียงคนอื่น. แต่ที่ธนาคารกรามีน เราไม่ต้องการให้ใครมายุ่มย่ามกับระบบที่พวกเราสร้างขึ้นมา ไม่ต้องการให้ใครมาสั่งการและบังคับให้ทำตามความคิดของพวกเขา

อันที่จริง ในปีนั้นเราปฏิเสธข้อเสนอเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจำนวน 200 ล้านเหรียญจากธนาคารโลก ผมยังบอกกับคุณโคนาเบิล ซึ่งชอบอวดว่าธนาคารของเขามีเจ้าหน้าที่ที่มีความคิดดีที่สุดในโลกว่า "การจ้างเศรษฐกรที่ฉลาด ไม่ได้หมายความว่าพวกคุณจะมีนโยบายและโครงการที่ดีซึ่งเป็นประโยชน์ต่อคนจนเลย"

ผมไม่เคยสบายใจกับวิธีการทำธุรกิจกับคนจนของหน่วยงานให้ทุนระดับพหุภาคี ผมอยากจะยกตัวอย่างที่มีกับกรณีเกาะเนกรอส ออกซิเดนทัล ในฟิลิปปินส์ ปัญหาความอดอยากที่นั่นรุนแรงมาก ผู้ได้รับแรงบันดาลใจจากเราจึงเริ่มโครงการสินเชื่อรายย่อย"ดุลกานอล"เมื่อปี 2531 มากกว่าครึ่งหนึ่งของเด็กในเกาะมีภาวะทุพโภชนาการ และในปี 2536 แพทย์หญิงเซซิล เดล คาสตินโย ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มโครงการสินเชื่อรายย่อยเหมือนกับเรา และยังไม่ประสีประสากับธรรมชาติและวิธีการทำงานของที่ปรึกษานานาชาติ ได้ขอทุนจากกองทุนการพัฒนาเกษตรกรรมสากล (International Fund for Agricultural Development: IFAD) ซึ่งเป็นหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติที่กรุงโรม และก่อตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือคนยากจนในชนบท เพื่อขยายโครงการสินเชื่อรายย่อยที่ประสบความสำเร็จของเขาอย่างรวดเร็ว. IFAD ตอบรับด้วยการส่งคณะเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบข้อเสนอโครงการของเธอ ใช้เงินหลายพันเหรียญไปกับค่าเรือบิน ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดและค่าจ้าง แต่สุดท้ายโครงการนี้ไม่ได้รับทุนสนับสนุนแม้แต่สตางค์แดงเดียว

อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ครั้งนั้นนำไปสู่กระบวนการที่ทำให้มีการลงนามในข้อตกลงในปี 2539 ระหว่างรัฐบาลฟิลิปปินส์ ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) และ IFAD ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว ADB และ IFAD จะให้เงินกู้ 37 ล้านเหรียญกับฟิลิปปินส์ เพื่อสนับสนุนโครงการสินเชื่อรายย่อยที่นั่น แต่ด้วยความซับซ้อนในระบบราชการ จนถึงทุกวันนี้ในเดือนกรกฎาคม 2541 เงินจำนวนดังกล่าวยังไปไม่ถึงโครงการกรามีนในเนกรอส ออกซิเดนทัลเลย พูดอีกอย่างหนึ่งหลังจากผู้เชี่ยวชาญใช้เวลาวิเคราะห์ปัญหาและใช้จ่ายเงินไปหลายแสนเหรียญ คนจนที่เนกรอสก็ยังไม่ได้เงินสินเชื่อรายย่อยเพิ่มขึ้น ทั้ง ๆ ที่กำลังประสบปัญหาอย่างหนัก

ผมอดจะคิดไม่ได้ว่า ถ้าโครงการที่เนกรอสได้รับเงินช่วยเหลือเท่ากับจำนวนเงินที่ใช้จ้างคณะผู้เชี่ยวชาญมาสำรวจเพียงครั้งเดียว เงินจำนวนนั้นคงมากพอที่จะช่วยให้หลายร้อยครอบครัวคนยากได้รับสินเชื่อรายย่อย. ผมคิดว่าธุรกิจที่ปรึกษาที่เติบโตขึ้นทำให้ทิศทางการทำงานขององค์กรให้ทุนนานาชาติผิดพลาด กลายเป็นว่าประเทศผู้รับทุนจำเป็นต้องได้รับการชี้นำในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การพัฒนาโครงการ, การจัดเตรียมและดำเนินการ, ผู้ให้ทุนและที่ปรึกษาที่พวกเขาจ้างมักมีทัศนะว่าตนเองเหนือกว่า ฉลาดกว่าประเทศผู้รับทุน. นอกจากนั้น ที่ปรึกษายังทำลายความสามารถในการคิดและสร้างสรรค์ของประเทศผู้รับทุน เจ้าหน้าที่และนักวิชาการในประเทศผู้รับทุนต่างเชื่ออย่างสนิทใจต่อตัวเลขที่ปรากฏในเอกสารของผู้ให้ทุน แม้โดยส่วนตัวพวกเขารู้ว่าเป็นตัวเลขที่ไม่ถูกต้อง

ผมทราบว่าองค์กรให้ทุนอยู่ใต้แรงกดดันอย่างหนัก ในการให้ทุนตามจำนวนที่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้ากับบางประเทศในแต่ละปีการเงิน ในขณะที่ที่ปรึกษาราคาแพงมีความสามารถอันโดดเด่นในการทำให้งานดูเหมือนเป็นมืออาชีพ ในขณะที่ประเทศผู้รับทุนก็พอใจที่จะปล่อยให้ที่ปรึกษาเป็นผู้กำหนดรายละเอียดต่าง ๆ เพราะพวกเขาสนใจแต่ว่าสุดท้ายแล้วจะได้รับเงินเป็นจำนวนเท่าไร

ในปี 2527 เมื่อธนาคารกรามีน แจ้งให้ธนาคารโลกทราบอย่างชัดเจนว่า เราไม่ต้องการให้พวกเขามาชี้นำการทำธุรกิจของเรา พวกเขาจึงเลิกสนใจเรา และพยายามจัดตั้งองค์กรสินเชื่อรายย่อยของตนเองในบังคลาเทศ โดยใช้เนื้องานที่เป็นความสำเร็จของกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไรอย่างเรา ทั้งในส่วนที่เป็นสินเชื่อและในส่วนที่ไม่ใช่สินเชื่อ ผมคิดว่าแนวคิดเช่นนั้นไม่สอดคล้องกับความจริงเลย ผมพูดว่า "ถ้าคุณเอาความเร็วของม้า ความสง่างามของสิงโต ความกล้าหาญของเสือ และความงามของกวางมาผสมกัน ในทางทฤษฎีคุณอาจพัฒนาเป็นสัตว์ที่มหัศจรรย์ได้ชนิดหนึ่ง แต่ในทางปฏิบัติแล้วการทำเช่นนั้นไม่เคยให้ประโยชน์อะไร"

ผมคงไม่พูดรายละเอียดทั้งหมดว่า เหตุใดรัฐบาลบังคลาเทศจึงเชื่อคำแนะนำของผม และไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของธนาคารโลก ที่น่าสนใจกว่ากลับเป็นว่าระบบราชการในธนาคารโลกเอง ไม่เคยเรียนรู้อะไรจากการถกเถียงครั้งนั้น ในทางตรงข้าม พวกเขากลับหลังหัน ถอดชื่อ "บังคลาเทศ" ออกจากเอกสารในฐานะโครงการที่ถูกปฏิเสธ และตัดสินใจให้เงินกู้กับรัฐบาลศรีลังกาแทน

หน่วยงานช่วยเหลือระดับพหุภาคี มีเงินเหลือเฟือที่จะใช้ เจ้าหน้าที่ขององค์กรจำเป็นต้องให้เงินกู้ตามจำนวนที่ตั้งเป้าไว้กับแต่ละประเทศ ยิ่งให้เงินได้มากเท่าไร เจ้าหน้าที่ก็จะมีความดีความชอบมากขึ้นเท่านั้น หากคุณเป็นเจ้าหน้าที่รุ่นใหม่ที่กระตือรือร้นของหน่วยงานให้ทุน และต้องการไต่เต้าอย่างรวดเร็ว คุณก็ต้องเลือกโครงการที่จะมีโอกาสให้เงินกู้ก้อนใหญ่ที่สุด เพราะทันทีที่มีการโอนเงินไป ชื่อของคุณก็จะได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้นเป็นพิเศษ

ในการทำงานที่บังคลาเทศ ผมพบว่าเจ้าหน้าที่องค์กรให้ทุนต่างกระหายที่จะให้เงินก้อนใหญ่ ๆ ยิ่งขึ้น พวกเขาทำทุกอย่างเพื่อให้สามารถปล่อยกู้ได้ ทั้ง "การติดสินบน" "เจ้าหน้าที่รัฐบาลและนักการเมืองทั้งโดยทางตรงหรือทางอ้อม วิธีที่ใช้บ่อย ๆ คือการขอเช่าบ้านที่สร้างเสร็จใหม่ ๆ และมีราคาแพงของเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อใช้เป็นสำนักงานโครงการ. อีกวิธีหนึ่งคือการจัดประชุมและอบรมในเมืองหรือประเทศที่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องการไป และเชิญพวกเขาไป. ประการแรกสุด ไม่มีใครต้องการไปประชุมหรืออบรม แต่ธนาคารโลกทำเช่นนั้นเพื่อเอาใจเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเป็นผู้จ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่าบันเทิงทั้งหมด

มีกรณีหนึ่ง เจ้าหน้าที่จากองค์กรให้ทุนระดับพหุภาคีคนหนึ่งหงุดหงิดมาก เพราะไม่สามารถผลักดันโครงการผ่านระบบราชการอันซับซ้อนของบังคลาเทศได้ เขาสารภาพกับผมว่า เขาถึงกับต้องยอมสนับสนุนข้อเสนอโครงการ 5 ล้านเหรียญ ซึ่งเป็นเงินที่ให้กับโครงการที่ไม่เอาถ่านเลย แต่เป็นโครงการที่อยู่ในพื้นที่บ้านเกิดของเจ้าหน้าที่รัฐคนหนึ่ง ซึ่งในตอนแรกไม่ให้ความช่วยเหลือในการอนุมัติโครงการมูลค่า 100 ล้านปอนด์ (ถึงอย่างนั้น ผมก็เห็นว่าโครงการที่ใหญ่กว่าที่เขาต้องการให้รัฐบาลบังคลาเทศกู้ยืม เป็นโครงการที่ไม่มีประโยชน์เช่นกัน) ผมตกใจเมื่อได้ฟังรายละเอียดเกี่ยวกับเนื้องานของโครงการ 5 ล้านเหรียญที่เขายอมสนับสนุนทุน ผมถึงกับตะโกนว่า "คุณก็รู้ดีนี่ว่างเงินมันจะตกไปอยู่ในกระเป๋าของพวกพ้องของเจ้าหน้าที่คนนั้น"

เจ้าหน้าที่องค์กรทุนคนนั้นบอกผมว่า
"ทำไมผมจะไม่รู้ล่ะ แต่นั่นเป็นเงินที่ผมต้องจ่ายเพื่อให้เขาอนุมัติโครงการผม"
"แสดงว่าคุณติดสินบนเขาสิ" ผมพูดด้วยความชัง
"ไม่ใช่มั้ง โครงการนั้นเป็นโครงการที่ชอบธรรม และผ่านกลไกคัดกรองทุกอย่าง ผมรู้ว่าผมสามารถผลักดันให้มันผ่านไปได้"

ในกรณีนี้เงินขององค์กรระหว่างประเทศเองกลับถูกใช้เป็น "สินบน" ที่แย่กว่านั้นก็คือ คนที่ต้องชำระหนี้คืนพร้อมดอกเบี้ยก็คือ ประชาชนบังคลาเทศนั่นเอง. ในกรณีอื่น ที่ปรึกษา บริษัทผู้ผลิตและผู้รับเหมาอื่น ๆ ต่างส่งเสริมกลไกติดสินบน เพราะสุดท้ายแล้วพวกเขาจะได้รับประโยชน์มากมายหากโครงการได้รับทุนจากผู้ให้กู้. สถาบันวิจัยแห่งหนึ่งประเมินว่า ในจำนวนเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ 30 พันล้านเหรียญที่ได้รับในช่วง 26 ปีที่ผ่านมา 75% ไม่เคยตกถึงประเทศบังคลาเทศในรูปเงินสดเลย แต่เงินจำนวนนี้มาถึงในรูปของวัสดุอุปกรณ์ สินค้า วัตถุดิบและค่าจ้างที่ปรึกษา บริษัทรับเหมา คณะผู้เชี่ยวชาญและผู้ให้คำแนะนำ

ประเทศร่ำรวยบางแห่ง ใช้งบประมาณของทุนช่วยเหลือต่างประเทศเพื่อจ้างคนของตัวเอง และขายสินค้าของตนเอง เงินอีก 25% ที่ตกมาถึงบังคลาเทศในรูปของเงินสด ก็หายวับไปกับมือของกลุ่มผู้นำเล็ก ๆ อย่างเช่น บริษัทผู้ผลิตในท้องถิ่น ผู้รับเหมา ที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญ เงินส่วนใหญ่ถูกใช้ไปเพื่อซื้อสินค้าที่ทำจากต่างประเทศ ซึ่งไม่ได้เป็นประโยชน์อะไรต่อเศรษฐกิจหรือการจ้างงานในประเทศเลย และมีความเชื่อว่า เงินช่วยเหลือจำนวนมากต้องกลายเป็นเงินใต้โต๊ะที่จ่ายให้กับเจ้าหน้าที่และนักการเมือง เป็นน้ำมันหล่อลื่นเพื่อให้ตัดสินใจจัดซื้อและลงนามในสัญญา

ปัญหาแบบนี้เกิดขึ้นทั่วโลก เงินช่วยเหลือนานาชาติในแต่ละปีอยู่ที่ประมาณ 50-55 พันล้านเหรียญต่อปี และในทุกแห่งหน โครงการเหล่านี้ทำให้ระบบราชการต้องฉ้อฉลและทำงานไม่มีประสิทธิภาพ และไม่นานก็ทำให้โครงการต้องขาดทุนมหาศาล โครงการให้ทุนมักถูกออกแบบให้เป็นการโอนเงินให้กับรัฐบาล ในโลกซึ่งยกย่องเชิดชูกลไกตลาดและการเปิดเสรี เงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนากลับถูกใช้เพื่อส่งเสริมการใช้จ่ายของภาครัฐ ซึ่งตรงข้ามทีเดียวกับกลไกเศรษฐกิจระบบตลาด

ผมเคยยืนยันไว้หลายครั้งว่า เงินที่เราเสียไปเปล่า ๆ กับระบบราชการ ถ้าเอามาให้กับคนที่ต้องการโดยตรงยังจะดีเสียกว่า ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราจะให้เงิน 100 เหรียญกับครอบครัวยากจนในบรรดาครอบครัวยากจนที่สุด 10 ล้านครอบครัวในบังคลาทศ เราก็ต้องใช้เงิน 1,000 ล้านเหรียญ ซึ่งจะถูกใช้ไปเพื่อลงทุนในการผลิตสินค้าเพื่อสร้างรายได้ หรืออย่างเลวร้ายที่สุดก็ถูกใช้ไปเพื่อซื้อสินค้าและบริการในท้องถิ่น

ถ้าเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศมาถึงบังคลาเทศจริง ๆ มันก็มักจะถูกใช้ไปเพื่อสร้างถนน สะพานและอื่น ๆ โดยพวกเขาอ้างว่าเป็นการช่วยเหลือคนจน "ในระยะยาว" แต่ในระยะยาวพวกเขาก็คงจะตายเสียก่อน และไม่มีอะไรที่หยดลงไปจนถึงคนจนข้างล่าง. ผมไม่ได้ต่อต้านการสร้างถนนและสะพาน แต่โครงการเหล่านี้จะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อ คนจนได้รับการส่งเสริมให้ใช้ประโยชน์จากโครงการนั้นด้วย แต่โครงการส่งเสริมที่ว่ามักจะไม่ถูกรวมอยู่ในโครงการก่อสร้าง

คนที่จะได้ประโยชน์โดยตรงและโดยอ้อมจากเงินช่วยเหลือแบบนี้ ได้แก่คนที่รวยอยู่แล้ว แม้ว่าพวกเขาอ้างว่าจะทำงานเพื่อคนจน เงินช่วยเหลือต่างประเทศกลายเป็นเพียงการทำงานแบบการกุศลของประเทศมหาอำนาจ ในขณะที่คนจน กลับจนลงเรื่อย ๆ. ถ้าเงินช่วยเหลือต่างประเทศจะมีผลกระทบต่อชีวิตคนจนจริง ๆ จะต้องมีการปรับทิศทางเพื่อให้เงินไปถึงครอบครัวยากจนโดยตรง โดยเฉพาะผู้หญิง ผมเชื่อว่าเราต้องมีวิธีคิดแบบใหม่ในการให้ทุน พร้อม ๆ กับวัตถุประสงค์ใหม่

การกำจัดความยากจนโดยตรง ควรเป็นวัตถุประสงค์ของเงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาทุกประเภท และการพัฒนาควรเป็นประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน ไม่ใช่ไปใส่ใจเฉพาะการเติบโตของผลผลิตมวลรวมประชาชาติ ไม่ใช่ไปเหมาเอาว่าถ้าเศรษฐกิจของชาติดีแล้ว คนจนจะได้รับประโยชน์ เราต้องนิยามการพัฒนาใหม่ การพัฒนาควรหมายถึงการเปลี่ยนแปลงในทางบวก ในแง่สถานะทางเศรษฐกิจของประชากร 50% ที่อยู่ด้านล่างของทุกสังคม ถ้าเงินช่วยเหลือไม่สามารถช่วยให้ประชากรส่วนล่างของสังคมมีเศรษฐกิจดีขึ้นแล้ว ก็ไม่ถือเป็นเงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา พูดอีกอย่างหนึ่ง เราควรวัดและตัดสินการพัฒนาเศรษฐกิจจากการพิจารณารายได้ต่อหัวที่แท้จริงของประชากรครึ่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ส่วนล่างของสังคม

นักเขียนชาวอเมริกันคนหนึ่งมาติดต่อผม ผมรู้ได้ทันทีว่าเขาคงหงุดหงิดกับคำวิจารณ์ของผมที่มีต่อธนาคารโลก ซึ่งเขามองว่าเป็นองค์กรที่น่ายกย่องและเป็นองค์กรที่มีความรู้ เป็นองค์กรที่ทำงานอย่างดีที่สุดโดยที่ไม่มีใครสำนึกบุญคุณ เขายกเครื่องบันทึกเสียงพร้อมไมค์จ่อที่หน้าผม และพูดอย่างท้าทายว่า "แทนที่จะเอาแต่วิจารณ์ ถ้าคุณมีโอกาสเป็นประธานธนาคารโลก คุณจะมีขั้นตอนการทำงานที่เป็นรูปธรรมอย่างไร"

จากนัยน์ตาของเขา ผมเห็นความพยายามที่จะข่มขู่ผม เหมือนกับเขาจะบอกผมว่า ลองดูสิคราวนี้คุณมีอะไรจะพูด. "ผมไม่เคยคิดว่าควรจะทำอย่างไรถ้ามีโอกาสเป็นประธานธนาคารโลก" ผมพูดเพื่อถ่วงเวลาในการทบทวนคำถาม "ผมคิดว่าสิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรกคือการย้ายสำนักงานใหญ่มาที่กรุงธากา"
"ทำไมคุณถึงคิดแบบนั้นล่ะ"

"ก็ถ้าหลุยส์ เพรสตัน (ประธานธนาคารโลกในขณะนั้น) พูดว่า "วัตถุประสงค์สำคัญสุดของธนาคารโลกคือการเอาชนะความยากจนในโลก" ถ้าอย่างนั้นผมเห็นว่าธนาคารโลกก็ควรย้ายมาอยู่ที่ที่มีความยากจนข้นแค้นมากมาย ในกรุงธากา. ธนาคารโลกจะอยู่ท่ามกลางความทุกข์ยาก ความแร้นแค้นของมนุษย์ การได้อยู่ใกล้ชิดกับปัญหา ผมเชื่อว่าจะทำให้ธนาคารแก้ปัญหาได้รวดเร็วและสอดคล้องกับความจริงมากขึ้น". เขาผงกศีรษะ มีท่าทีก้าวร้าวน้อยลงกว่าตอนที่เริ่มสัมภาษณ์

"และถ้าย้ายสำนักงานใหญ่มากรุงธากา เจ้าหน้าที่หลายคนจากทั้งหมด 5,000 คนคงปฏิเสธไม่มาด้วย เพราะธากาคงไม่ใช่สถานที่ที่พวกเขาอยากให้ลูกเติบโตขึ้น ที่นี่ไม่ได้มีชีวิตทางสังคมที่น่าตื่นเต้น เจ้าหน้าที่หลายคนคงเลือกที่จะเกษียณหรือไม่ก็หางานใหม่ ผมว่าจะมีประโยชน์อย่างน้อยสองอย่าง

- ในแง่หนึ่ง จะทำให้ผมสามารถตัดคนที่ไม่อุทิศตนต่อสู้กับความยากจนออกไปได้ และ
- ผมสามารถจ้างคนที่ยอมอุทิศตนและเข้าใจปัญหามาแทน"

อีกอย่างหนึ่ง มันจะช่วยลดค่าใช้จ่ายไปมาก และช่วยให้ผมสามารถจ้างคนที่ทำงานโดยไม่ต้องการเงินเดือนแพง ๆ ได้ และธากายังเป็นเมืองที่มีค่าครองชีพต่ำกว่าวอชิงตันดีซีด้วยซ้ำ"

กลไกเงินช่วยเหลือต่างประเทศเกิดขึ้นเมื่อหลายปีก่อน ตอนนั้นคนยังคิดว่าถ้ามีการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จะช่วยให้เกิดพลวัตด้านเศรษฐกิจที่สามารถกำจัดความหิวโหยและความยากจนได้ ทั้งผู้ให้ทุนและผู้รับทุนจึงต่างไม่สนใจว่าคนจนมีชีวิตอยู่อย่างไร ผู้ให้ทุนมุ่งแต่ให้เงินช่วยเหลือโครงการด้านสาธารณูปการที่มองเห็นได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นสะพาน โรงงานที่ดูใหญ่โตสง่างาม เขื่อน แต่ไม่ได้ให้กับการพัฒนาองค์กร การสร้างองค์กรใหม่ขึ้นมาทดแทนองค์กรแบบเก่า การส่งเสริมให้ประชาชนรวมตัวกันเพื่อแก้ไขปัญหาของตนเอง โครงการที่ส่งเสริมการพึ่งตนเองถูกมองว่าเป็นแค่ "โครงการไม้ประดับ"

แต่สิ่งนี้กำลังเปลี่ยนไปอย่างช้า ๆ ในขณะที่เราก้าวสู่สหัสวรรษที่สาม แต่สิ่งที่ยังเป็นข่าวพาดหัวอยู่เนือง ๆ และทำให้หลายคนพออกพอใจ ยังเป็นเรื่องของการเพิ่มจำนวนเงินช่วยเหลือในรูปเงินเหรียญสหรัฐอย่างรวดเร็ว สำหรับทั้งสองฝ่าย ยิ่งมากก็ยิ่งดี. ในขณะที่เรามักไม่ให้ความสำคัญอย่างจริงจังกับคุณภาพของเงินช่วยเหลือ คำสองคำที่พูดกันในวงการผู้ให้ทุนเป็นเวลาหลายทศวรรษยังเป็นแค่ "มากแค่ไหน?" (How Much?)

ในปี 2533 เราอนุญาตให้ธนาคารโลกทำการประเมินผลธนาคารกรามีนในเชิงลึก หลายคนในหน่วยงานของเราคิดว่า เหมือนกับปล่อยสุนัขจิ้งจอกเข้ามาในกรงไก่ และคงไม่มีประโยชน์ที่จะทำเช่นนั้น แต่ผมแย้งว่าถ้าเราไม่ปล่อยให้ธนาคารโลกทำโครงการประเมินแบบมีอคติ เขาก็คงไปป่าวประกาศบอกคนทั่วโลกว่า เรากำลังพยายามปิดบังซ่อนเร้นอะไรไว้อยู่ อันที่จริงเราไม่มีอะไรต้องซ่อนเร้น ถ้าอย่างนั้นเราก็ควรปล่อยให้เขาเอาคณะประเมินผลที่มีความเชี่ยวชาญเข้ามาประเมินงานของเราสิ

เมื่อมีการเปิดเผยร่างรายงานประเมินผลในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 2536 รายงานระบุว่าธนาคารกรามีน ต้องประสบกับปัญหาการเงินตลอดมา หรืออีกไม่นานก็คงล้มละลาย เพื่อนร่วมงานของผมที่ธนาคารกรามีน ซึ่งเคยพูดไว้ว่าธนาคารโลกมีอคติกับเราและคงไม่ทำการประเมินอย่างเป็นกลาง ต่างรู้สึกสะใจ. เมื่อพิจารณาวิธีการประเมินของธนาคารโลกเราพบว่า พวกเขาใช้ตัวเลขเมื่อปี 2534 และ 2535 ซึ่งเป็นช่วงที่ธนาคารกรามีนขาดทุนเป็นครั้งแรก เนื่องจากมีการเพิ่มจำนวนและค่าตอบแทนของเจ้าหน้าที่ แต่พอเราขอให้เขาทำการศึกษาใหม่ โดยใช้ตัวเลขของช่วงครึ่งปีแรกในปี 2536 ซึ่งสะท้อนผลการดำเนินงานตามปรกติของเรา เราก็ได้ข้อสรุปอีกแบบหนึ่ง

ข้อสรุปที่ต่างจากเดิมอย่างสิ้นเชิงคงไม่อาจเกิดขึ้นได้ ถ้าก่อนหน้านั้นผมไม่เรียกร้องสิทธิที่จะขอให้พวกเขาใส่ความเห็นของเราเข้าไปในรายงานที่ตีพิมพ์ด้วย ในกรณีที่เราไม่เห็นด้วยกับข้อมูลนั้น (สุดท้ายเราเห็นด้วยกับรายงานฉบับตีพิมพ์ จึงไม่จำเป็นต้องใช้สิทธิดังกล่าว). ความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในความสัมพันธ์อันยาวนาน แม้ว่าเราจะเป็นปรปักษ์กันในหลายประเด็น ได้แก่ เจ้าหน้าที่หลายคนในธนาคารโลกกลายเป็นเพื่อนสนิท และให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ต่อธนาคารกรามีน พวกเขาพร้อมจะฟังเรา แม้ว่าแต่ก่อนจะไม่เคยเป็นเช่นนี้ก็ตาม

ในช่วงปลายปี 2538 เราปฏิเสธเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำอีกก้อนหนึ่งของธนาคารโลก คราวนี้เขาเสนอเงินกู้ 175 ล้านเหรียญให้กับบังคลาเทศ โดยจำนวนนั้น 100 ล้านเหรียญจะให้กับธนาคารกรามีน. วิธีการที่ผมปฏิเสธเงินกู้น่าสนใจพอ ๆ กับการปฏิเสธเงินกู้ก้อนนั้น พวกเขาส่งคณะมาสำรวจข้อมูล ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะสำรวจหลายสิบคณะที่มายังบังคลาเทศทุกปี คนพวกนี้มีหน้าที่แสวงหาโครงการที่ธนาคารโลกควรจะลงทุน เจ้าหน้าที่ของบังคลาเทศคนหนึ่งโทรหาผมและบอกให้ไปต้อนรับพวกเขา ผมบอกกับเจ้าหน้าที่ว่าเราไม่ต้องการเงินจากธนาคารโลก และเราสามารถหาเงินได้พอจากตลาดในประเทศ จากการขายพันธบัตรและจากกิจการธนาคารของเรา และเราไม่อยู่ในช่วงที่ต้องการเงินช่วยเหลืออีกแล้ว และอีกไม่นานก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำอีกต่อไป ทั้งเรายังสามารถดำเนินงานเชิงพาณิชย์อย่างเต็มตัว เจ้าหน้าที่รัฐคนนั้นยืนยันว่าผมต้องไปพบกับคณะสำรวจ "เพราะธนาคารโลกต้องการพบกับคุณ" ผมจึงตอบตกลง

เมื่อที่ปรึกษามาที่สำนักงานของผมในกรุงธากา และถามว่าธนาคารกรามีนต้องการอะไรจากธนาคารโลก ผมบอกเขาว่าคงมีความผิดพลาดอะไรบางอย่าง เพราะอันที่จริงเราไม่ได้ต้องการอะไรจากธนาคารโลกเลย. อีกไม่กี่เดือนต่อมา ธนาคารโลกและรัฐบาลบังคลาเทศเตรียมจะทำสัญญา โดยธนาคารจะปล่อยกู้เป็นเงิน 175 ล้านเหรียญเป็นเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้กับรัฐบาล เพื่อพัฒนาโครงการสินเชื่อรายย่อยแบบเดียวกับที่ธนาคารกรามีนทำ

ในระหว่างที่มีการจัดเตรียมเอกสาร กระทรวงการคลังได้ส่งสำเนาสัญญาและจดหมายมาให้กับเราและขอให้เราออกความเห็น เมื่อผมได้อ่านเงื่อนไขของเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ และเห็นว่าในนั้นระบุว่า ธนาคารกรามีนจะได้รับส่วนแบ่งของเงินกู้นั้นด้วย ผมได้เขียนตอบกลับไปว่าพวกเราไม่ต้องการและไม่จำเป็นต้องได้เงินกู้ในส่วนนั้นแต่อย่างใด. คำตอบของผมทำให้เจ้าหน้าที่ของกระทรวงอยู่ในสถานะลำบาก เพราะนั่นหมายถึงว่าข้อตกลงที่พวกเขาพยายามผลักดันอย่างหนักจะกลายเป็นหมัน. รัฐมนตรีกระทรวงการคลังเชิญให้ผมไปพูดคุยด้วย เขาเป็นเพื่อนที่สนิทสนมกับผมมานาน และผมรู้ดีว่าผมอาจจะต้องเสียเพื่อนและผู้สนับสนุนไป อย่างที่คาด เขาพยายามเกลี้ยกล่อมให้ผมรับเงินกู้

"ศาสตราจารย์ยูนุส คุณไม่จำเป็นต้องถอนเงินออกไปสักสตางค์แดงเดียวก็ได้ ผมเพียงขอให้คุณบอกว่าพร้อมที่จะพิจารณาวงเงินสินเชื่อนี้ในอนาคต แค่นั้นแหละครับ". ผมพยายามอธิบายว่า "แม้ว่าธนาคารกรามีนจะไม่เบิกเงินกู้เลยสักสตางค์แดงเดียวในอีก 20 ปีข้างหน้า แต่ในเอกสารของธนาคารโลกก็จะระบุไว้ว่าเราเป็นผู้รับเงินส่วนนี้ด้วย และพวกเขาก็จะปฏิบัติต่อเราเหมือนกับเป็นลูกค้าของเขา

"แต่ประเทศของเราต้องการเงินนะ"
"แต่ธนาคารกรามีนไม่ต้องการนี่"
"คุณลองคิดถึงคนอีกหลายล้านคนที่ไม่ได้กู้จากธนาคารกรามีนสิ ลองคิดถึงหัวอกคนจนบ้าง"

"ผมคิดถึงคนจนตลอดเวลา และเพราะพวกเขานี่แหละ ผมถึงมีจุดยืนที่ในบางครั้งซึ่งอาจดูไม่สม่ำเสมอ สิ่งที่ธนาคารกรามีนเชื่อมั่นและพยายามพูดตลอดเวลาก็คือ คนจนเป็นลูกค้าที่ดีของธนาคารได้เสมอ เราสามารถปล่อยกู้ให้เขาตามเงื่อนไขเชิงการค้าและสามารถทำกำไรได้ ธนาคารสามารถและควรจะให้บริการกับคนยากไร้ในโลก โดยไม่จำเป็นต้องทำเพราะความเห็นอกเห็นใจ แต่ทำเพราะความอยากได้กำไรก็ได้ การปฏิบัติกับคนจนราวกับเป็นจัณฑาลและอนารยชนเป็นสิ่งผิดศีลธรรมและไร้เหตุผล ทั้งยังเป็นการกระทำที่โง่เขลาอีกด้วยเมื่อมองจากในแง่การเงิน หลังจาก 19 ปีของการต่อสู้การทำงานหนักและความเสียสละที่ไม่สิ้นสุดของเพื่อนร่วมงานและเจ้าหน้าที่ของผม ตอนนี้เราสามารถปลดแอกตนเองจากการรับความสนับสนุนของทุนช่วยเหลือ คุณควรภูมิใจที่เราทำสิ่งนี้ได้ แทนที่จะขอให้เราไปรับเงินกู้จากธนาคารโลกอีก"

รัฐมนตรีกระทรวงการคลังมองที่ผม เขาคงรู้สึกหงุดหงิดมากและอยากเกลี้ยกล่อมผมต่อ แต่เขากลับกล่าวว่า "ผมรู้ดีว่าคุณต่อสู้มาอย่างไร", ผมคิดว่าคุณไม่รู้หรอก" ผมบอก "ตอนที่กำลังมาที่นี่ผมก็รู้สึกกังวลแล้วว่าอาจต้องสูญเสียเพื่อนที่ผมเคารพไป เพราะผมคงต้องทำให้คุณอยู่ในสถานการณ์ลำบาก และผมเองก็รู้สึกหงุดหงิดและกระวนกระวายมาก แต่ผมก็ไม่สามารถทรยศกับหลักการของผมได้ ผมไม่สามารถหักหลังแนวคิดที่อยู่เบื้องหลังการต่อสู้ของธนาคารกรามีน ถ้าผมยอมรับเงินกู้ เพื่อนร่วมงานของผมคงตะโกนว่า "แล้วสิ่งที่เราทำงานอย่างหนักในหลายปีที่ผ่านมาล่ะ? คุณจะว่ายังไง?""

เขาลุกขึ้นยืนและจับมือผม "ผมเข้าใจ" เขากล่าว "เราจะไม่กดดันคุณอีกต่อไป" ผมโล่งใจมาก เหมือนกับนักโทษที่ได้รับการอภัยโทษจากโทษประหาร. การที่ธนาคารกรามีนสามารถปลดแอกตนเองจากเงินช่วยเหลือ ทำให้ผมเกิดความสับสนกับแนวคิดของการช่วยเหลือแบบการกุศลมาก. คนที่ขับรถเข้ามาในกรุงธากา คงคุ้นเคยกับภาพของขอทานมืออาชีพที่เข้ามารุมล้อมและขอเงิน

ทำไมคุณถึงจะไม่ให้เงินเขาล่ะ? แค่ยื่นเศษสตางค์ให้เขาสักหน่อย เราก็คงรู้สึกโล่งใจขึ้น ตอนที่มีคนซึ่งเป็นโรคเรื้อน ทั้งนิ้วและมือของเขาเริ่มกุดด้วน เราคงตกใจมาก และเป็นธรรมดาที่เราจะล้วงมือเข้าไปในกระเป๋าและยื่นสตางค์ออกไปให้ด้วยความสงสาร ซึ่งนับเป็นโชคของผู้รับ แต่การทำเช่นนั้นมีประโยชน์หรือเปล่า? เปล่าเลย หลายครั้งการทำเช่นนั้นกลับเป็นอันตราย

ในแง่ของผู้ให้ทุน การทำเช่นนั้นคงทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นว่าคุณได้ทำอะไรบางอย่าง แต่อันที่จริงคุณไม่ได้ทำอะไรเลย. การหยิบยื่นเงินให้คนอื่นเป็นการปิดหูปิดตาเราจากการแก้ปัญหาที่ต้นตอ การยื่นเงินให้ด้วยความสงสาร เพียงแต่ช่วยให้เรารู้สึกว่าได้ทำอะไรบางอย่างแล้ว รู้สึกดีขึ้น รู้สึกว่าได้แบ่งปันโชคของเราให้กับคนจน แต่นั่นเป็นการแยกตัวเราออกจากปัญหาที่แท้จริง เราเพียงแต่โยนเศษเงินไปให้แล้วเดินผละจากไป แต่เราจะหนีปัญหาได้นานสักเท่าไร?

การให้เงินขอทานไม่ใช่การแก้ปัญหาในระยะยาวหรือแม้แต่ระยะสั้น จากเรา ขอทานก็จะไปขอจากรถคันต่อไป นักท่องเที่ยวคนอื่น และก็จะทำแบบเดิม สุดท้ายเขาก็จะกลับมาที่คนที่เคยให้เงินเขาอีกครั้ง ซึ่งทำให้เขาเกิดการพึ่งพา ถ้าเราต้องการแก้ปัญหาอย่างจริงใจ เราต้องมีส่วนร่วมและเริ่มกระบวนการบางอย่าง ถ้าผู้บริจาคเปิดประตูรถและถามขอทานถึงปัญหาที่เขาต้องเผชิญ ถามชื่อแซ่ของเขา ถามอายุ ถามว่าเขาต้องการหมอหรือเปล่า ถามว่าเขามีความรู้ด้านใดบ้าง ผู้บริจาคก็อาจทำตัวให้เป็นประโยชน์ได้ แต่การหยิบยื่นเงินให้กับขอทานเท่ากับเป็นการบอกให้ขอทานพวกนี้ไปให้พ้น ๆ เสีย ปล่อยให้ผู้บริจาคอยู่เพียงลำพัง

ผมไม่ได้บอกว่าความคิดที่จะช่วยเหลือผู้อื่นเป็นสิ่งที่ไม่ดี ผมไม่เคยตั้งคำถามกับสัญชาตญาณของมนุษย์ที่ต้องการช่วยเหลือผู้ยากไร้ ผมเพียงตั้งคำถามกับรูปแบบการให้. ในแง่ของผู้รับ การให้เงินแบบการกุศลอาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรง มันทำลายศักดิ์ศรีของผู้รับ ทำให้พวกเขาไม่มีแรงจูงใจที่จะหารายได้เอง ทำให้ผู้รับงอมืองอเท้าและพอใจที่จะคิดว่า "นี่แหละเป็นวิธีทำมาหากินของฉัน ก็แค่นั่งอยู่ที่นี่และยื่นมือออกไปแค่นั้นแหละ" นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้บังคลาเทศและประเทศโลกที่สามอื่น ๆ มีนโยบายจงใจสร้างภาพภัยพิบัติทางธรรมชาติให้รุนแรงกว่าปรกติมาเป็นเวลานาน ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เรามักสร้างภาพกับประชาคมนานาชาติว่า ประเทศของเราอยู่ในสภาพที่แทบจะไม่สามารถเยียวยาตัวเองได้ แม้จะเป็นเรื่องจริงที่บังคลาเทศประสบปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติมากมาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราทำอะไรไม่ได้ หรือสถานการณ์น่าสิ้นหวังเช่นนั้น

ตอนที่ผมเห็นเด็กขอทาน ผมมักห้ามใจที่จะไม่ยื่นเงินให้ แต่ในความจริง บางครั้งผมก็ยื่นเงินให้เหมือนกัน ผมยื่นเงินให้ตอนที่เห็นความทุกข์ยากอย่างแสนสาหัส ตอนที่ผมเห็นเขาเป็นโรค แม่กับเด็กที่กำลังจะตาย ในภาวะเช่นนั้นผมไม่สามารถห้ามใจจากการล้วงมือเข้าไปในกระเป๋าและให้เงินกับพวกเขา แต่ผมก็พยายามห้ามใจตนเองอย่างมากที่สุด

ตัวอย่างจากประสบการณ์ส่วนตัวสะท้อนถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับเงินช่วยเหลือระหว่างประเทศเช่นกัน
การพึ่งพาเงินช่วยเหลือทำให้เกิดเงื่อนไขที่นำไปสู่รัฐบาลที่เก่งแต่เจรจาขอความช่วยเหลือเพิ่มขึ้น พวกเขาพากันหัวเราะเยาะคนที่ทำงานหนัก คนที่ประหยัดและพึ่งตนเอง ความช่วยเหลือด้านอาหารกลับทำให้เกิดการขาดแคลนอาหารต่อไป ทั้งนี้เพราะผู้นำเข้าและส่งออกธัญพืช บริษัทขนส่งและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือและกระจายธัญพืชจากต่างประเทศจะต้องสูญเสียผลประโยชน์ไป ถ้าประชาชนสามารถพึ่งตนเองด้านอาหารได้

ความช่วยเหลือจึงบิดเบือนเศรษฐกิจและบรรยากาศด้านการเมือง เป็นประโยชน์เฉพาะผู้เสนอโครงการ และนักการเมืองซึ่งเก่งกาจในการเอาอกเอาใจผู้บริจาค และเป็นประโยชน์เฉพาะบริษัทผู้รับเหมาและเจ้าหน้าที่ผู้ฉ้อฉล แทนที่จะส่งเสริมให้เกิดการแก้ปัญหาจากท้องถิ่น

ผมลุกขึ้นและยืนที่โพเดียม บัดนี้ธนาคารกรามีนสามารถเข้าถึงประชาชน 12 ล้านคน หรือหนึ่งในสิบของประชากรบังคลาเทศ และบัดนี้รายงานที่เป็นกลางชี้ให้เห็นว่า ภายใน 10 ปี ธนาคารกรามีนสามารถช่วยให้หนึ่งในสามของผู้ที่ยืมเงินจากเราหลุดพ้นจากความยากจน และช่วยให้อีกหนึ่งในสามของพวกเขาขยับขึ้นมาใกล้กับเส้นแบ่งความยากจน สิ่งที่ผมพูดยังคงเหมือนเดิม เราสามารถกำจัดความยากจนให้หมดไปได้ในช่วงชีวิตของเรา สิ่งที่เราต้องการได้แก่ เจตจำนงทางการเมือง

นี้เป็นคำพูดที่ต้องกล่าวย้ำซ้ำแล้วซ้ำอีก เพราะเราสามารถสร้างสิ่งที่คิดฝันให้เป็นจริงขึ้นมาได้ ต่อเมื่อเราเริ่มฝันเห็นโลกที่ปราศจากความจน เราจึงจะเริ่มสร้างโลกเช่นนั้นขึ้นมาได้ และสิ่งที่ผมพูดยังเป็นเช่นเดิม นั่นคือเราสามารถทำให้เกิดโลกที่ปลอดจากความจนได้ถ้าเราต้องการ และคำพูดนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งเมื่อเป็นการพูดที่ธนาคารโลก. ขณะที่ผมมองไปยังใบหน้าของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนร่วมงานที่ผมคุ้นเคยด้วยเป็นเวลาหลายทศวรรษ พวกเขาจำนวนมากมีส่วนช่วยเหลืออย่างจริงจัง ส่วนคนอื่น ๆ อาจยังคงสงสัยกับความยั่งยืนของธนาคารกรามีนต่อไป พวกเขาคิดว่าโครงการแบบนี้เป็นแค่ความฝัน และเป็นฝันร้ายเสียด้วย

ผมรู้ดีว่าเหตุผลที่ทำให้คนที่สงสัยและไม่เชื่อในงานของเรารับฟังผมในวันนั้น เป็นเพราะธนาคารกรามีนพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เราพูดถึงสิ่งที่สามารถทำได้. ธนาคารหลายแห่งบอกผมว่าคนจนไม่มีเครดิต สิ่งที่ผมบอกพวกเขากลับก็คือ "คุณรู้ได้อย่างไรในเมี่อคุณไม่เคยให้เขากู้? ธนาคารต่างหากกระมังที่ไม่เคยเห็นหัวคน"

"ก็คนพวกนี้ไม่มีหลักทรัพย์นี่" พวกเขาบอก. จริง แต่คนจนเคารพศักดิ์ศรีตนเอง และคนจนด้วยกันสามารถกดดันกันเองได้ พวกเราทำงานกับคนจนที่สุดกลุ่มหนึ่งของโลก กล่าวคือ ผู้หญิงชนบทในบังคลาเทศซึ่งไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง และไม่เคยแตะต้องเงินเลยในชีวิต ผู้หญิงที่ไม่สามารถอ่านและเขียนได้ ผู้หญิงที่ต้องหลบซ่อนตัวเองในยามค่ำคืน ผู้หญิงที่ไม่กล้าแม้แต่จะยืนอยู่เบื้องหน้าผู้ชาย พวกเธอต้องคลุมใบหน้าเอาไว้เมื่อมีคนแปลกหน้าผ่านมา ในการทำงานกับคนเหล่านี้ เราพบว่าเราสามารถได้หนี้คืนมากกว่า 98%. แต่ผู้เชี่ยวชาญก็ยังอธิบายซ้ำแล้วซ้ำอีกว่าสิ่งที่ธนาคารกรามีนพยายามทำ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

"โอเค" ผมบอก "เรามันคนบ้า แต่เราไม่สนใจหรอก และจะทำเช่นนั้นต่อไป" พวกเขาบอกว่าถึงแม้เราจะประสบความสำเร็จในการให้เงินกู้กับคนจนแค่ไม่กี่คนและได้เงินคืนมา แต่โครงการแบบนี้ไม่สามารถนำไปขยายผลให้ไปถึงหมู่บ้านอีกมากมายได้. แต่ในปัจจุบันเราทำงานใน 36,000 หมู่บ้านหรือเกือบครึ่งหนึ่งของหมู่บ้านในบังคลาเทศ เรามีเจ้าหน้าที่ 12,000 คนและมีสาขามากกว่า 1,079 แห่ง

พวกเขาบอกว่าเราควรปล่อยกู้ให้กับหัวหน้าครอบครัวซึ่งมักจะเป็นผู้ชาย แต่เรากลับมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้หญิงยากจน และกลายเป็นว่าพวกเธอนี่แหละที่เป็นอาวุธสำคัญในการแก้ปัญหาความยากจน ในปัจจุบัน จากผู้กู้ยืม 2.1 ล้านคน 94% เป็นผู้หญิง. พวกเขาบอกว่าเงินกู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่พวกเราให้ (ประมาณ 150 เหรียญต่อผู้กู้ 1 คน) จะไม่ช่วยให้เกิดรายได้มากพอที่จะขจัดความยากจนในครอบครัว เพราะความยากจนฝังรากแน่น และไม่อาจแก้ไขได้ด้วยเงินกู้แค่จำนวนนั้น. แต่งานศึกษาอย่างเป็นกลางชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่กู้ยืมเงินจากเรามีชีวิตดีขึ้นเรื่อย ๆ ภายในทศวรรษเดียว ครึ่งหนึ่งของพวกเขาสามารถขยับขึ้นอยู่เหนือเส้นแบ่งความยากจน และอีก 1 ใน 4 ก็เกือบจะข้ามเส้นแบ่งนี้ได้แล้ว

งานศึกษาอย่างเป็นกลางยังชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่กู้ยืมเงินจากเรามีความเป็นอยู่ดีกว่าครอบครัวอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของภาวะโภชนาการ อัตราการเสียชีวิตของเด็ก การใช้ยาคุมกำเนิด อนามัยและการมีน้ำสะอาดดื่ม เงินกู้เพื่อสร้างบ้านของเราทำให้ 350,000 ครอบครัวมีบ้าน และอีก 150,000 ครอบครัวสร้างบ้านจากรายได้ที่ได้รับจากโครงการที่ได้รับการสนับสนุนทุนจากธนาคารกรามีน พวกเขาบอกว่าธนาคารกรามีนเป็นองค์กรที่อ่อนแอ และจะต้องพึ่งพาเงินช่วยเหลือตลอดไป แต่เรากลับสามารถพัฒนาการทำงานและทำให้สำนักงานสาขาสร้างผลกำไรได้ อันที่จริง ธนาคารกรามีนระดมทุนโดยใช้วิธีการทางการตลาดไม่ว่าจะเป็นการออกพันธบัตร และการกู้ยืมจากธนาคารพาณิชย์. ในปัจจุบันธนาคารกรามีนเป็นสถาบันการเงินเข้มแข็งที่สุดในบังคลาเทศ

หลังปี 2536 งานศึกษาของธนาคารโลกซึ่งสรุปว่า ธนาคารกรามีนเป็นโครงการที่ยั่งยืนและมีคุณค่า ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรทั้งสองดีขึ้น และในเดือนธันวาคม 2526 ระหว่างที่ไปปาฐกถาในการประชุมทุพภิกขภัยโลกที่วอชิงตันดีซี ธนาคารโลกประกาศให้เงินสนับสนุน 2 ล้านเหรียญกับองค์กรในเครือของเราได้แก่ กองทุนกรามีน ซึ่งทำหน้าที่ขยายผลการทำงานของเราไปทั่วโลก และมีการพัฒนา 63 โครงการใน 27 ประเทศทั่วโลก

เงินบริจาคที่ให้กับกองทุนกรามีนเป็นแค่เศษเงินเล็ก ๆ น้อย ๆ เมื่อเทียบกับเงินกู้ที่ธนาคารโลกปล่อยทุกเมื่อเชื่อวัน แต่พวกเราที่ธนาคารกรามีนต่างมองว่าเป็นปรากฏการณ์สำคัญยิ่ง. นับเป็นครั้งแรกที่ธนาคารยอมรับว่าสินเชื่อรายย่อยเป็นเครื่องมือที่ช่วยต่อสู้กับความยากจนอย่างเป็นทางการ หลังจากนั้นไม่นานธนาคารโลกก็มีบทบาทนำในการประสานงานโครงการสินเชื่อรายย่อย จัดประชุมหน่วยงานให้บริจาคและจัดตั้งกลุ่มที่ปรึกษาเพื่อช่วยเหลือคนจนที่สุดขึ้นมา (Consultative Group to Assist the Poor: CGAP) มีการเชิญผู้ที่นำหลักการสินเชื่อรายย่อยไปปฏิบัติมาประชุม และรวมตัวกันเป็นกลุ่มที่ปรึกษาด้านนโยบาย (Policy Advisory Group: PAG) ซึ่งผมได้ถูกขอให้เป็นประธาน. ผมพร้อมจะลืมความขัดแย้งเก่า ๆ และเริ่มต้นใหม่ ประโยชน์ที่ได้จะมีค่ามหาศาล และเรามีความหวังว่า เราสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิธีการทำงานของธนาคารโลกได้บ้างในที่สุด

ในปี 2536 นายเจมส์ ดี วูฟเฟนโซน ประธานธนาคารโลกกล่าวยอมรับว่า "โครงการสินเชื่อรายย่อยสามารถนำคุณูปการของระบบเศรษฐกิจแบบตลาด ไปกระจายสู่หมู่บ้านและประชาชนยากจนที่สุดในโลก การทำธุรกิจเพื่อกำจัดความยากจนเช่นนี้ ช่วยให้หลายล้านคนสามารถหลุดพ้นจากความยากจนอย่างมีศักดิ์ศรี". ทุกครั้งที่เขาไปเยือนประเทศอื่น และเขามักไปเยือนต่างประเทศเนือง ๆ. จิม วูฟเฟนโซน มักจะหาเรื่องใช้เวลาอยู่ในหมู่บ้านนาน ๆ และใช้เวลากับโครงการที่ธนาคารสนับสนุนทุนในชนบทห่างไกล แทนที่จะอยู่ในเมืองหลวงกับพวกที่ทำเรื่องนโยบาย

ในเดือนตุลาคม 2540 เขาเดินทางมาที่บังคลาเทศพร้อมกับภรรยา และได้ไปเยี่ยมสาขาธนาคารกรามีน มีโอกาสพบกับผู้ที่กู้ยืมเงิน ไปเยี่ยมพวกเขาที่บ้านและพูดคุยกับพวกเขา. ในช่วงที่อยู่ในบังคลาเทศ เขาบอกกับผมว่า เขาไม่พอใจเลยกับสิ่งที่ผมให้สัมภาษณ์ระหว่างเดินทางไปกรุงปารีส เพื่อเปิดตัวหนังสือเล่มนี้ในภาษาฝรั่งเศสในเดือนเดียวกัน ซึ่งเป็นคำวิจารณ์ในเชิงลบต่อธนาคารโลก เขาท้าทายให้ผมไปเยือนที่วอชิงตันดีซี เพื่อตรวจสอบธนาคารโลก"ใหม่" ที่เขาพยายามสร้างขึ้นมา เขาบอกว่าธนาคารโลกในปัจจุบันต่างจากธนาคารที่เคยทำสิ่งผิดพลาดในอดีต แบบเดียวกับที่ผมวิจารณ์เอาไว้อย่างรุนแรง. ในเดือนมกราคม 2541 ผมจึงใช้เวลา 4 วันอยู่กับเขาที่กรุงวอชิงตันดีซี เพื่อประชุมกับบุคคลสำคัญส่วนต่าง ๆ ของธนาคาร

มีอยู่สองอย่างที่ผมประทับใจทันที ประการแรก จิม วูฟเฟนโซน พูดอย่างจริงใจ และประการที่สอง เขาพูดได้อย่างชัดเจนและแจ่มแจ้ง เขาประกาศอย่างเป็นทางการว่า ธนาคารโลกมีภารกิจสร้างโลกที่ปลอดจากความยากจน ผมรู้สึกตื่นเต้นที่ได้ยินประโยคนี้โดยเฉพาะจากประธานธนาคารโลก แต่เขาไม่ได้แค่พูด เขากำหนดภารกิจงานและกำหนดวันที่เสร็จสิ้นด้วย เขาบอกว่าภารกิจเร่งด่วนของธนาคารโลกคือ การลดจำนวนคนยากจนที่สุด (ซึ่งมีรายได้น้อยกว่า 1 เหรียญต่อวัน) ลงครึ่งหนึ่งให้ได้ภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015)

ผมรู้สึกทันทีว่ามีพันธมิตรที่สำคัญแล้ว และเราสามารถพัฒนาความเป็นภาคีที่มีประโยชน์กับธนาคารโลกได้. แต่ความตื่นเต้นเช่นนี้คลายลง เมื่อผมเริ่มนั่งประชุมกับบุคคลสำคัญในธนาคาร ความตื่นเต้นที่ผมได้ฟังจากจิม วูฟเฟนโซน และความประทับใจที่เกิดขึ้น กลับไม่ได้สะท้อนอยู่ในใบหน้าหรือคำพูดของเจ้าหน้าที่คนสำคัญของเขาเลย หลายคนมองว่าแถลงการณ์ภารกิจฉบับใหม่นี้เป็นเพียงการปะหน้าทาแป้งแถลงการณ์ฉบับเก่า พวกเขาไม่ได้สนใจจะอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม และยังทำงานแบบที่เคยทำมา ส่วนคนอื่น ๆ พากันประหลาดใจ รู้สึกไม่สบายใจเล็กน้อย และพยายามวิเคราะห์ว่าคำพูดนั้นมีความหมายอย่างเป็นรูปธรรมอย่างไร จะส่งผลกระทบต่อภาระรับผิดชอบของพวกเขาอย่างไร และพวกเขาจะสามารถปฏิบัติภารกิจใหม่นี้ได้อย่างไร

ถ้าผมมีโอกาสถามจิม วูฟเฟนโซน ว่า คุณคิดว่าคุณจะสามารถสร้างธนาคารใหม่ขึ้นมาโดยมีนายธนาคารแบบเก่าหรือ ผมรู้ว่าเขาคงตอบว่า ก็คงไม่ได้น่ะสิ คุณไม่เห็นหรือว่าผมได้เปลี่ยนแปลงตัวเจ้าหน้าที่ระดับสูงตั้งหลายคน แต่เขาจะสามารถเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานของธนาคารโลกแบบเก่าได้มากน้อยเพียงไร? ผมไม่รู้ แต่ผมเชื่อว่างานเช่นนี้ไม่ง่ายเอาเสียเลย

หลังจาก 4 วันที่นั่น ผมกลับมาด้วยความรู้สึกว่ากัปตันเรือคนใหม่ประกาศถึงจุดหมายใหม่ที่จะไป ซึ่งเป็นจุดหมายที่ยากลำบาก แต่ลูกเรือของเขากลับไม่มีประสบการณ์แล่นเรือในน้ำทะเลที่คลุ้มคลั่งในการกำจัดความยากจนเลย ทั้งตัวกัปตันเองก็ไม่มีแผนที่เดินทางที่ดีพอ แล้วเรือจะไปถึงจุดหมายใหม่ได้หรือ? ผมเชื่อว่าถ้ากัปตันมีความซื่อสัตย์และมุ่งมั่น แม้จะมีปัญหาต่าง ๆ ก็ตาม เขาจะสามารถนำเรือฝ่าพ้นไปได้

ในระหว่างนี้ ผมได้แต่ภาวนาว่ากัปตันยังคงรักษาคำพูด และมีความมุ่งมั่นที่จะไปยังถึงจุดหมาย
ประวัติศาสตร์จะเป็นตัวตัดสินความสำเร็จ ไม่ใช่วาทศิลป์อันงดงาม

เกี่ยวกับผู้เขียน:

Muhammad Yunus (born June 28, 1940) is a Bangladeshi banker and economist. He previously was a professor of economics and is famous for his successful application of microcredit ; the extension of small loans. These loans are given to entrepreneurs too poor to qualify for traditional bank loans. Yunus is also the founder of Grameen Bank. In 2006, Yunus and the bank were jointly awarded the Nobel Peace Prize, "for their efforts to create economic and social development from below." Yunus himself has received several other national and international honors. He is the author of Banker to the Poor and a founding board member of Grameen Foundation. In early 2007 Yunus showed interest in launching a political party in Bangladesh named Nagorik Shakti (Citizen Power), but later discarded the plan. He is one of the founding members of Global Elders.

Grameen Bank
In 1976, during visits to the poorest households in the village of Jobra near Chittagong University, Yunus discovered that very small loans could make a disproportionate difference to a poor person. Jobra women who made bamboo furnitures had to take out usurious loans for buying bamboo, to pay their profits to the moneylenders. His first loan, consisting of USD 27.00 from his own pocket, was made to 42 women in the village, who made a net profit of BDT 0.50 (USD 0.02) each on the loan

The concept of providing credit to the poor as a tool of poverty reduction was not unique. Dr. Akhtar Hameed Khan, founder of Pakistan Academy for Rural Development (now Bangladesh Academy for Rural Development), is credited for pioneering the idea. From his experience at Jobra, Yunus, an admirer of Dr. Hameed, realized that the creation of an institution was needed to lend to those who had nothing. While traditional banks were not interested in making tiny loans at reasonable interest rates to the poor due to high repayment risks, Yunus believed that given the chance the poor will repay the borrowed money and hence microcredit could be a viable business model.

Yunus finally succeeded in securing a loan from the government Janata Bank to lend it to the poor in Jobra in December 1976. The institution continued to operate by securing loans from other banks for its projects. By 1982, the bank had 28,000 members. On October 1, 1983, the pilot project began operations as a full-fledged bank and was renamed the Grameen Bank (Village Bank) to make loans to poor Bangladeshis. Yunus and his colleagues encountered everything from violent radical leftists to the conservative clergy who told women that they would be denied a Muslim burial if they borrowed money from the Grameen Bank. As of July 2007, Grameen Bank has issued US$ 6.38 billion to 7.4 million borrowers. To ensure repayment, the bank uses a system of "solidarity groups". These small informal groups apply together for loans and its members act as co-guarantors of repayment and support one another's efforts at economic self-advancement.

The Grameen Bank started to diversify in the late 1980s when it started attending to unutilized or underutilized fishing ponds, as well as irrigation pumps like deep tubewells. In 1989, these diversified interests started growing into separate organizations, as the fisheries project became Grameen Motsho (Grameen Fisheries Foundation) and the irrigation project became Grameen Krishi (Grameen Agriculture Foundation). Over time, the Grameen initiative has grown into a multi-faceted group of profitable and non-profit ventures, including major projects like Grameen Trust and Grameen Fund, which runs equity projects like Grameen Software Limited, Grameen CyberNet Limited, and Grameen Knitwear Limited, as well as Grameen Telecom, which has a stake in Grameenphone (GP), biggest private sector phone company in Bangladesh.. The Village Phone (Polli Phone) project of GP has brought cell-phone ownership to 260,000 rural poor in over 50,000 villages since the beginning of the project in March 1997.

The success of the Grameen model of microfinancing has inspired similar efforts in a hundred countries throughout the developing world and even in industrialized nations, including the United States. Many, but not all, microcredit projects also retain its emphasis on lending specifically to women. More than 94% of Grameen loans have gone to women, who suffer disproportionately from poverty and who are more likely than men to devote their earnings to their families. For his work with the Grameen Bank, Yunus was named an Ashoka: Innovators for the Public Global Academy Member in 2001.

Political activity
In early 2006 he, along with other members of the civil society including Prof Rehman Sobhan, Justice Muhammad Habibur Rahman, Dr Kamal Hossain, Matiur Rahman, Mahfuz Anam and Debapriya Bhattchariya, participated in a campaign for honest and clean candidates in national elections. He considered entering politics in the later part of that year. On February 11, 2007, Yunus wrote an open letter, published in the Bangladeshi newspaper Daily Star, where he asked citizens for views on his plan to float a political party to establish political goodwill, proper leadership and good governance. In the letter, he called on everyone to briefly outline how he should go about the task and how they can contribute to it. Yunus finally announced the foundation of a new party tentatively called Citizens' Power (Nagorik Shakti) on February 18, 2007.[35][36] There was speculation that the army supported a move by Yunus into politics. On May 3, however, Yunus declared that he had decided to abandon his political plans following a meeting with the head of the interim government, Fakhruddin Ahmed.

On July 18, 2007 in Johannesburg, South Africa, Nelson Mandela, Gra?a Machel, and Desmond Tutu convened a group of world leaders to contribute their wisdom, independent leadership and integrity together to the world. Nelson Mandela announced the formation of this new group, The Global Elders, in a speech he delivered on the occasion of his 89th birthday. Archbishop Tutu is to serve as the Chair of The Elders. The founding members of this group include Machel, Kofi Annan, Ela Bhatt, Gro Harlem Brundtland, Jimmy Carter, Li Zhaoxing, Mary Robinson and Yunus. The Elders are to be independently funded by a group of Founders, including Richard Branson, Peter Gabriel, Ray Chambers; Michael Chambers; Bridgeway Foundation; Pam Omidyar, Humanity United; Amy Robbins; Shashi Ruia, Dick Tarlow; and The United Nations Foundation.

หมายเหตุ: บทความภาษาอังกฤษ เรียบเรียงจากสารานุกรมวิกกิพีเดีย
http://en.wikipedia.org/wiki/Muhammad_Yunus

(คลิกกลับไปทบทวนบทความแปลเรื่องเดียวกันนี้ ตอนที่ ๑)
คลิกไปอ่านบทความเกี่ยวเนื่องต่อจากนี้

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน


นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ หรือถัดจากนี้สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

คิดต่างในเชิงสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ดีกว่าและเสรีภาพ
22January 2008
Free Documentation License
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
ผมคิดถึงคนจนตลอดเวลา และเพราะพวกเขานี่แหละ ผมถึงมีจุดยืนที่ในบางครั้งซึ่งอาจดูไม่สม่ำเสมอ สิ่งที่ธนาคารกรามีนเชื่อมั่นและพยายามพูดตลอดเวลาก็คือ คนจนเป็นลูกค้าที่ดีของธนาคารได้เสมอ เราสามารถปล่อยกู้ให้เขาตามเงื่อนไขเชิงการค้าและสามารถทำกำไรได้ ธนาคารสามารถและควรจะให้บริการกับคนยากไร้ในโลก โดยไม่จำเป็นต้องทำเพราะความเห็นอกเห็นใจ แต่ทำเพราะความอยากได้กำไรก็ได้ การปฏิบัติกับคนจนราวกับเป็นจัณฑาลและอนารยชนเป็นสิ่งผิดศีลธรรมและไร้เหตุผล ทั้งยังเป็นการกระทำที่โง่เขลาอีกด้วยเมื่อมองจากในแง่การเงิน...
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream

Muhammad Yunus
ในปี ๒๕๒๗ เมื่อธนาคารกรามีน แจ้งให้ธนาคารโลกทราบอย่างชัดเจนว่า เราไม่ต้องการให้พวกเขามาชี้นำการทำธุรกิจของเรา พวกเขาจึงเลิกสนใจเรา และพยายามจัดตั้งองค์กรสินเชื่อรายย่อยของตนเองในบังคลาเทศ โดยใช้เนื้องานที่เป็นความสำเร็จของกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไรอย่างเรา ทั้งในส่วนที่เป็นสินเชื่อและในส่วนที่ไม่ใช่สินเชื่อ ผมคิดว่าแนวคิดเช่นนั้นไม่สอดคล้องกับความจริงเลย ผมพูดว่า "ถ้าคุณเอาความเร็วของม้า ความสง่างามของสิงโต ความกล้าหาญของเสือ และความงามของกวางมาผสมกัน ในทางทฤษฎีคุณอาจพัฒนาเป็นสัตว์ที่มหัศจรรย์ได้ชนิดหนึ่ง แต่ในทางปฏิบัติแล้วการทำเช่นนั้นไม่เคยให้ประโยชน์อะไร"

การให้เงินขอทานไม่ใช่การแก้ปัญหาในระยะยาวหรือแม้แต่ระยะสั้น จากเรา ขอทานก็จะไปขอจากรถคันต่อไป นักท่องเที่ยวคนอื่น และก็จะทำแบบเดิม สุดท้ายเขาก็จะกลับมาที่คนที่เคยให้เงินเขาอีกครั้ง ซึ่งทำให้เขาเกิดการพึ่งพา ถ้าเราต้องการแก้ปัญหาอย่างจริงใจ เราต้องมีส่วนร่วมและเริ่มกระบวนการบางอย่าง ถ้าผู้บริจาคเปิดประตูรถและถามขอทานถึงปัญหาที่เขาต้องเผชิญ ถามชื่อแซ่ของเขา ถามอายุ ถามว่าเขาต้องการหมอหรือเปล่า ถามว่าเขามีความรู้ด้านใดบ้าง ผู้บริจาคก็อาจทำตัวให้เป็นประโยชน์ได้ แต่การหยิบยื่นเงินให้กับขอทานเท่ากับเป็นการบอกให้ขอทานพวกนี้ไปให้พ้น ๆ เสีย ปล่อยให้ผู้บริจาคอยู่เพียงลำพัง

 

Soon we saw that money going to women brought much more benefit to the family than money going to the men. So we changed our policy and gave a high priority to women. As a result, now 96% of our four million borrowers in Grameen Bank are women.

Muhammad Yunus