โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๔๖๑ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๑ (January, 17, 01, 2008) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

17-01-2551

Women's Studies
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com

 

 

แง่มุมอันหลากหลายเกี่ยวกับการศึกษาเรื่อง women's studies
ฉลาดชาย รมิตานนท์ : สตรีศึกษาและสิทธิมนุษยชนในมุมต่าง
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : บรรณาธิการและเชิงอรรถ
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์
เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศไทย

สำหรับบทความชิ้นนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเรียนการสอนสตรีศึกษา ซึ่งเริ่มต้นขึ้นที่
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นครั้งแรก และต่อมาได้มีการศึกษา
เรื่องทำนองเดียวกัน ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันอื่นๆ
ความเป็นมาเกี่ยวกับการศึกษาศาสตร์ดังกล่าว เดิมทีเดียวเริ่มต้นในซีกโลกตะวันตก
ในลักษณะสหวิทยาการ และก่อให้เกิดข้อถกเถียงมากมายรวมถึงพัฒนาการของศาสตร์แขนงนี้
นอกจากนี้ เรื่องของสิทธิมนุษยชนได้ถูกนำเข้ามาโยงโดยมุมมองของนักสตรีนิยม
ในฐานะที่ปฏิญานสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แฝงมุมมองชายเป็นศูนย์กลางอย่างลึกซึ้ง
สุดท้ายได้มีการกล่าวถึงสถานภาพของผู้หญิงในประเทศไทย ในฐานะเพศที่ถูกมองข้าม
ถูกกดขี่ และถูกลดความสำคัญ ทั้งกิจกรรมภายในบ้าน ที่ทำงาน และสังคมโดยรวม
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๔๖๑
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๓ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

แง่มุมอันหลากหลายเกี่ยวกับการศึกษาเรื่อง women's studies
ฉลาดชาย รมิตานนท์ : สตรีศึกษาและสิทธิมนุษยชนในมุมต่าง
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : บรรณาธิการและเชิงอรรถ
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

สตรีศึกษา (Women's Studies)
ฉลาดชาย รมิตานนท์ : ศูนย์สตรีศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สตรีศึกษาในฐานะที่เป็นวิชาถูกพัฒนาขึ้นมาในสถาบันทางวิชาการในโลกตะวันตกตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 เป็นต้นมา ในประเทศอังกฤษ วิชาแรกของสตรีศึกษาสายอังกฤษเปิดสอนโดย จูเลียต มิตเชลล์ (Juliet Michell) ในสถาบันชื่อ Anti-University เมื่อปี คศ. 1968-9 (พ.ศ. 2511-2) ในสหรัฐอเมริกา สตรีศึกษาในฐานะเป็นหลักสูตรเต็มรูป เปิดการสอนที่ San Diego State University ในปี คศ. 1970 (พ.ศ. 2513) จุดเน้นของสตรีศึกษาคือเป็นสหวิทยาการ หรือ สหสาขาวิชา ครอบคลุมข้ามมนุษยศาสตร์ (humanities) สังคมศาสตร์ (Social sciences) และ วิทยาศาสตร์ (sciences) สาขาต่าง ๆ สิ่งที่สตรีศึกษาาพยายามทำ ไม่เพียงแต่นำเอามิติมุมมองทางวิชาการของนักสตรีนิยมเข้ามาสู่โครงสร้างที่ดำรงอยู่ของมหาวิทยาลัย เช่น การเรียนการสอนในสาขาวิชาต่างๆ เท่านั้น แต่พยายามที่จะปฏิรูปหรือเปลี่ยนแปลงหลักสูตรและเนื้อหาของวิชาต่าง ๆ เพื่อให้สะท้อนถึงความห่วงใย ปัญหาและผลประโยชน์ต่าง ๆ ของผู้หญิงอีกด้วย

ในบทความที่เขียนขึ้นเมื่อตอนต้นๆ ของการเรียนการสอนสตรีศึกษา เอเดรียน ริช (Adrienne Rich) (1975) ว่า ลักษณะ "ชายเป็นศูนย์กลาง" หรือ
androcentric (*) ของมหาวิทยาลัยจะต้องถูกเปลี่ยนแปลง ก่อนที่สตรีศึกษาจะถูกมองว่าเป็นเพียง "แฟชั่น" ชั่วครั้งชั่วคราวของหลักสูตรชายเป็นศูนย์กลางที่ "แท้จริง" พูดอีกอย่างหนึ่งคือถ้าโครงสร้างของการศึกษาในมหาวิทยาลัยยังไม่ถูกเปลี่ยนแปลงจากที่เคยเป็นมา คือมีลักษณะแบบชายเป็นศูนย์กลาง ตราบนั้น สตรีศึกษาก็จะถูกมองว่าเป็นกระแสที่เข้ามาชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น

(*) Androcentrism is the practice, conscious or otherwise, of placing male human beings or the masculine point of view at the center of one's view of the world and its culture and history. The related adjective is androcentric.

The term androcentrism has been introduced as an analytic concept by Charlotte Perkins Gilman in the scientific debate. Perkins Gilman gave a profound description of androcentric practises in society and the resulting problems in her investigation on The Man-Made World; or, Our Androcentric Culture, published in 1911. Thus androcentrism can be understood as a societal fixation on masculinity. According to Perkins Gilman masculine patterns of life and masculine mindsets claim universality while female ones are considered as deviance.

อนึ่ง เอเดรียน ริช ยังเสนอต่อไปอีกว่า สตรีศึกษาจะต้องเป็นการเรียนการสอนที่ผู้เรียน-ผู้สอนสามารถเข้าถึงกันได้ในฐานะ "ส่วนตัว"(personal) และจะต้องมีลักษณะ "ต่อต้าน ลำดับชั้นสูงต่ำของการบังคับบัญชา" (anti-hieraschical style) ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะได้เปิดโอกาสให้ผู้หญิงสามารถ "สำรวจและค้นหาบรรดารากเหง้าต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงพวกเธอเข้าด้วยกันทั้งหมด"

อย่างไรก็ตามมีนักสตรีนิยมอีกไม่น้อยที่ยังไม่ปลงใจกับ "สตรีศึกษา" ที่มีนัยมุ่งเป็นเฉพาะ "ผู้หญิง" เท่านั้น และได้นำเสนอยุทธวิธีแบบ นักบูรณาการ (integrationist strategies) หลาย ๆ ยุทธวิธี ซึ่งรวมเอาคำที่กว้างกว่า "สตรีศึกษา" เช่นคำว่า "เพศสภาพศึกษา" (gender studies) (*) เข้าไว้ด้วย (โปรดดูเพิ่มเติมในหัวข้อ "เพศสภาพศึกษา")

(*)Gender studies is a field of interdisciplinary study which analyzes the phenomenon of gender. It examines both cultural representations of gender and people's lived experience. Gender Studies is sometimes related to studies of class, race, ethnicity and location.

The philosopher Simone de Beauvoir said: "One is not born a woman, one becomes one." In Gender Studies the term "gender" is used to refer to the social and cultural constructions of masculinities and femininities. It does not refer to biological difference, but rather cultural difference. The field emerged from a number of different areas: the sociology of the 1950s and later; the theories of the psychoanalyst Jaques Lacan; and the work of feminists such as Judith Butler. Each field came to regard "gender" as a practice, sometimes referred to as something that is performative.

กระนั้นก็ตามฝ่ายที่ยืนยันว่าจำเป็นต้องใช้ "สตรีศึกษา" ก็มีเหตุผลว่าหลักสูตร เนื้อหา และการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยเท่าที่เป็นมาและเป็นอยู่ ไม่เพียงแต่ไม่สะท้อนออกซึ่งเรื่องราว ประสบการณ์ ความรู้และผลประโยชน์ของผู้หญิงเท่านั้น แต่กลับสะท้อนโลกและความรู้ของผู้ชาย จึงจำเป็นที่จะต้องมีหลักสูตรการศึกษาที่ต้องค้นหาเรื่องราว ประสบการณ์และความรู้ของผู้หญิงกันใหม่ โดยใช้มิติมุมมองแบบ "สตรีนิยม"(feminism)

อนึ่ง นักสตรีนิยมที่ไม่เห็นด้วยก็โต้แย้งว่าการที่ "สตรีศึกษา" พยายามนำผู้หญิงเข้ามาเป็นศูนย์กลางของการศึกษาเรียนรู้ (gynocentric) (*) ไม่เพียงแต่เป็นการพยายาม "ย้อน" กระแสไปอีกทางเท่านั้น ซึ่งไม่ต่างอะไรกับข้อกล่าวหาว่า พวกผู้ชายทำอย่างนั้นมาตลอดต่อไปนี้ผู้หญิงจะทำบ้าง ซึ่งนอกจากจะไม่ถูกต้องแล้วยังล้าสมัยไปแล้วด้วย

(*) Gynocentrism is the practice, conscious or otherwise, of placing female human beings or the feminine point of view at the center of one's view of the world and its culture and history. Gynocentrism is similar to androcentrism, with the focus on the male replaced with a focus on the female.

สตรีศึกษา กรณีประเทศไทย
ที่กล่าวข้างบนเป็นเหตุการณ์ในโลกตะวันตก ในกรณีของประเทศไทย การที่มีหลักสูตร "สตรีศึกษา" เปิดสอนขึ้นเป็นทางการแห่งแรกที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตามมาด้วยมหาวิทยาลัยธรรมศาสาตร์ ชี้ให้เห็นว่าในทัศนะของนักสตรีนิยมไทย "สตรีศึกษา" เป็นชื่อที่เหมาะสมกับ บริบทของสังคมไทย แต่ในขณะเดียวกันก็มีสถาบันบางแห่งที่ทำงานเชิงปฏิบัติการเคลื่อนไหวในเรื่องผู้หญิง ก็หันไปใช้คำว่า "gender" ตามกระแสความสนใจของแหล่งทุนจากภายนอกประเทศบ้าง และเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยตามทัศนะที่หลากหลายของสิ่งที่เรียกว่า "สตรีนิยม", "สตรีศึกษา", และ "เพศสภาพศึกษา"

น่าตั้งข้อสังเกตเหมือนกันว่า มโนทัศน์หรือแนวความคิดเรื่อง gender เป็นสิ่งที่ถูกคิดขึ้นมาในวงวิชาการและวงการเคลื่อนไหวเรื่องผู้หญิงในโลกตะวันตก ตอนแรกเริ่มเพื่อแยกและแสดงให้เห็นความแตกต่างเรื่อง "เพศ" ทางชีววิทยา และ "เพศสภาพ" ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกสร้างทางสังคม ดังกล่าวแล้วในตอนต้น แต่เมื่อเข้ามาสู่สังคมไทย หน่วยงานและสถาบันบางแห่งแปลคำนี้ว่า "บทบาทหญิงชาย" ซึ่งผิดไปจากความหมายดั้งเดิม คำว่าบทบาทหญิงชายน่าจะตรงกับข้อความว่า "gender relations" แต่ก็อีกนั่นแหละก็ยังไม่น่าจะถูกต้องนัก เพราะเพศสภาพเป็นสิ่งที่ถูกสร้างทางสังคมที่ไม่ได้มีเพียง สองเพศสภาพ คือหญิงกับชายที่แยกขาดออกจากกันอย่างแน่นอนตายตัว แต่เป็นสภาวะที่มีหลายสภาพและเคลื่อนย้าย ไปมาได้โดยไม่หยุดนิ่ง gender relations จึงไม่จำกัดว่าเป็นเพียงความสัมพันธ์หญิงชาย หากเป็นความสัมพันธ์ระหว่างหญิงกับหญิงรักหญิง ซึ่งเป็นอีกเพศสภาพหนึ่งก็ได้

ในกรณีของหลักสูตรสตรีศึกษา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การเลือกใช้ชื่อหลักสูตรและปริญญาว่าสตรีศึกษา ก็เนื่องมา จากในเงื่อนไขหรือบริบทของสังคมไทย เมื่อมองความสัมพันธ์ของผู้คนส่วนใหญ่ยังอยู่ในลักษณะของหญิง-ชายอยู่ โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาถึงการดำรงอยู่และเพิ่มขึ้นของปรากฎการณ์ต่าง ๆ เช่น ความรุนแรงทางเพศรูปแบบต่าง ๆ ตั้งแต่การข่มขู่ลวนลามทางเพศ การข่มขืน จนถึงการค้าผู้หญิงทั้งในทางเพศ และในเรื่องแรงงาน การกีดกันผู้หญิงออกจากโครงสร้างอำนาจทางการเมือง การบริหารในทุกระดับยังคงมีอยู่ การไม่ให้คุณค่างานและบทบาทหน้าที่ทางด้านการผลิตซ้ำ (reproduction) ในครัวเรือนของผู้หญิง ในขณะที่กดค่าจ้างแรงงานและจำกัดโอกาสของผู้หญิงในการผลิต (production) การกีดกันไม่ให้ผู้หญิงได้มีโอกาสประกอบพิธีกรรมทางศาสนาบางอย่าง อันเป็นหนทางที่จะเข้าสู่การบรรลุทาง จิตวิญญาณ เช่น การไม่ยอมรับภิกษุณีเหล่านี้ เป็นเครื่องบ่งชี้อย่างชัดเจนว่า สตรีศึกษาในความหมายที่ผู้หญิงและเรื่องราวของผู้หญิงเป็นจุด ศูนย์กลางของความสนใจ ยังมีความสำคัญในลำดับสูงมาก ซึ่งอาจต่างไปจากสถานการณ์ในประเทศโลกตะวันตกบางประเทศที่ความสัมพันธ์หญิงชาย ได้เปลี่ยนแปลงไปในระดับที่ปัญหาความสัมพันธ์หญิงชายมี "น้อย" ลง

อนึ่ง แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าสตรีศึกษาจะศึกษาเฉพาะเรื่องราวของผู้หญิงเท่านั้นไม่ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้หญิงผู้ชายก็ดี และ ผู้หญิงกับผู้หญิงก็ดี ผู้ชายกับผู้ชายก็ดี หรือเพศสภาพอื่น ๆ เช่น "ทอม" "ดี้" "กระเทย" "ตุ๊ด" และอื่น ๆ เท่าที่มีการสร้างทางสังคมขึ้นมาในสังคมไทย ล้วนอยู่ในขอบเขตความสนใจของสตรีศึกษาที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทั้งสิ้น

เพศสภาพศึกษา (Gender Studies)
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่า "เพศสภาพ" (gender) ในความหมายของนักสตรีนิยมอเมริกัน-อังกฤษ ใช้คำนี้เพื่อบ่งบอกความแตกต่างระหว่าง "เพศ" (sex) กับ "เพศสภาพ" (gender) โดยมีนัยว่า "เพศ"เป็นการจัดประเภทตาม"ชีววิทยา" ส่วน "เพศสภาพ"นั้นเป็นประเภทที่"ถูกสร้างขึ้นทางสังคมไ (socially constructed) แต่นักสตรีนิยมที่ได้รับอิทธิพลของจิตวิเคราะห์ (psychoanalysis) โต้แย้งว่าทั้งอัตลักษณ์ทางเพศ และ อัตลักษณ์ทางเพศสภาพ (sex and gender identity) ต่างเกี่ยวพันกันอย่างใกล้ชิด หรือแยกกันไม่ออกด้วยซ้ำไป

อย่างไรก็ตาม เพศสภาพศึกษาที่ใช้กันในหมู่นักสตรีนิยมโลกตะวันตก และน่าจะนำมาใช้ในสังคมไทยด้วย เป็นความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงนัยของการกีดกันเรื่องราวของผู้ชายออก ซึ่งเป็นลักษณะที่บางคนคิดว่าคำว่า "สตรีศึกษา" มีลักษณะดังกล่าว นอกจากนั้น "เพศสภาพศึกษา" ยังพยายามมุ่งตรวจสอบความเคลื่อนไหว หรือพลวัตต่าง ๆ (dynamics) ของประสบการณ์และอัตลักษณ์ของทั้งผู้หญิงและผู้ชาย

อีเลน โชวอลเตอร์ (Elaine Showalter) (*) นักสตรีนิยมคนหนึ่ง ประกาศอย่างเปิดเผยว่าเธออยู่ข้าง"เพศสภาพศึกษา"มากกว่า"สตรีศึกษา" ในหนังสือของเธอ ที่ชื่อว่า Speaking of Gender ตีพิมพ์ปี คศ.1989 ซึ่งเธอเสนอเชิงโต้แย้งว่า ยุคสมัยของลัทธิ "หญิงนิยม" (gynocentrism) ซึ่งหมายถึงการศึกษา (เฉพาะ) เรื่องราวและประสบการณ์ของผู้หญิงเท่านั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว ถึงเวลาแล้วที่นักสตรีนิยมควรจะต้องอ่านเรื่องราวของผู้ชาย แต่ไม่ใช่ในฐานะที่มันเป็นเอกสารของลัทธิเพศนิยม (ชาย) และการรังเกียจหวาดกลัวเพศหญิง (misogyny) (**) หากเป็นจารึกของเพศสภาพและการแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างทางเพศ (sexual difference). โชวอลเตอร์ให้นิยามเพศสภาพศึกษาว่า ควรเกี่ยวข้องการวิเคราะห์ "ความเป็นชายชาตรี" (masculinity) เช่นเดียวกับที่ศึกษา "ความเป็นกุลสตรี" (femininity) ซึ่งทั้งคู่ต่างก็เป็นสิ่งที่ถูกสร้างทางสังคมด้วยกันทั้งสิ้น

(*) Elaine Showalter (born January 21, 1941) is an American literary critic, feminist, and writer on cultural and social issues. She is one of the founders of feminist literary criticism in United States academia, developing the concept and practice of gynocritics.

She is well known and respected in both academic and popular cultural milieus. She has written and edited numerous books and articles focussed on a variety of subjects, from feminist literary criticism to fashion, sometimes sparking widespread controversy, especially with her work on illnesses. Showalter has been a television critic for People magazine and a commentator on BBC radio and television.

Showalter is a specialist in Victorian literature and the Fin-de-Siecle (turn of the 19th century). Her most innovative work in this field is in madness and hysteria in literature, specifically in women's writing and in the portrayal of female characters.

(**) Misogyny is hatred or strong prejudice against women; an antonym of philogyny.( Philogyny is deep admiration for women. An antonym of misogyny). Those holding misogynistic beliefs can be of either sex. Although misogyny is sometimes confused with misanthropy, the terms are not interchangeable, for the latter refers more generally to the hatred of humanity. A concept related to misogyny is gynophobia, the fear of women, but not necessarily hatred of them. The obsolete Latin language term horror feminae (literally "fear of women)[1] may be seen used as a synonym both for misogyny and gynophobia.

Misogyny is considered by most feminist theories as an implicit motivation of political ideologies that justify and maintain the subordination of women to men. Such ideologies are typically called sexism, by analogy with racism and antisemitism. Misogyny is, therefore, often associated with anti-woman sexism, as misandry is associated with anti-man sexism.

ความเห็นดังกล่าวข้างต้นถูกโต้แย้งโดยนักสตรีนิยมด้วยกันอีกเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ในหนังสือชื่อ Feminism Without Women : Culture and Criticism in A "Postfeminist" Age (1991) ทาเนีย โมเดลสกิ (Tania Modleski) (*) อ้างว่า วิธีการศึกษาแบบเพศสภาพศึกษาอาจมีปัญหา ทั้งนี้เพราะแอบแฝงการอนุมานหรือทึกทักเอาเงียบ ๆ ว่า ความไม่เท่าเทียมกันระหว่างเพศสภาพต่าง ๆ ไม่เป็นประเด็นความสำคัญอีกต่อไปแล้ว เธออ่านสภาพการณ์ว่าความสนใจใหม่ ๆ ต่อเรื่อง "เพศสภาพศึกษา" เป็นตัวอย่างหนึ่งของกระแสโต้จากกลุ่ม "หลังสตรีนิยม" ที่มีต่อ สตรีนิยม ดังนั้น เธอจึงเตือนว่าการ "นำผู้ชายกลับมาสู่กลางเวที" เป็นอันตรายต่อการถกเถียงเชิงวิชาการในเรื่องการสร้างทางสังคมของเพศสภาพ

(*) สำหรับผู้สนใจเรื่องย่อ Feminism Without Women : Culture and Criticism in A "Postfeminist" Age เขียนโดย Tania Modleski คลิกไปอ่านได้ที่ http://www.stumptuous.com/comps/modleski.html (ภาษาอังกฤษ)

สำหรับโมเดลสก์แล้ว เธอเห็นว่า เพศสภาพศึกษาเป็นการริดรอนหรือตัดผู้หญิงออกจากเครื่องมือต่าง ๆ ที่จะสร้างวาระ (agenda) ใด ๆ ที่วางรากฐานอยู่บนข้อเรียกร้องหรือข้อเสนอที่มาจากประสบการณ์เฉพาะของผู้หญิง (เช่น ประสบการณ์ของผู้หญิงในเรื่องเพศหรือประเวณี การตั้งท้อง และ ฯลฯ) และถ้าหากเป็นอย่างนี้ (คือไม่อนุญาตให้มีการศึกษาเรื่องราวของผู้หญิงในลักษณะที่มีผู้หญิงที่เป็นเพศทางชีววิทยาแล้ว เราก็อาจตกอยู่ในตำแหน่งที่พูดอะไรเกี่ยวกับผู้หญิงในด้านที่เป็น "ธรรมชาติ" ("essential" female nature) ไม่ได้เลย. ณ ตำแหน่งนั้นอาจเป็นการขู่ให้ผู้หญิง "กลัว" จนไม่กล้าอ้าปากพูดอะไรที่กว้าง ๆ หรือมีข้อเรียกร้องทางการเมืองใด ๆ ในนามของกลุ่มคนที่เรียกว่า "ผู้หญิง" ได้เลย นี่คือสิ่งที่เธอเห็นว่า เป็นอันตรายแฝงเร้นอยู่ในกระแสการใช้ "เพศสภาพศึกษา" แทน "สตรีศึกษา"

สิทธิมนุษยชน
เมื่อพูดถึง "สิทธิมนุษยชน" คนส่วนใหญ่ยังคงคิดว่าเป็นเพียงอุดมการณ์บ้าง ระบบคุณค่าบ้าง เป็นคำหวานหูลอย ๆ ที่พวกนักกิจกรรมสังคมและนักวิชาการบางกลุ่มชอบนำมาใช้เรื่อยเปื่อย ไม่เห็นจะมีประโยชน์อะไรกับผู้คนในสังคม โดยเฉพาะกับกลุ่มคนผู้เสียเปรียบหรือด้อยโอกาสในสังคม ในขณะเดียวกันบางคนกลับเห็นว่า "สิทธิมนุษยชน" ถูกนำมาใช้โดยประเทศมหาอำนาจ เพื่อเป็นเครื่องมือต่อรองด้านเศรษฐกิจการค้ากับประเทศยากจนหรือกำลังพัฒนา แต่หามีความจริงใจต่อการสร้างสรรค์สิทธิมนุษยชนอย่างจริงจังไม่ ดังนั้นประเด็นปัญหาสำคัญที่คนไทยจะต้องช่วยกันขบคิดคือสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องฟุ่มเฟือยไร้สาระ หรือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ โดยเฉพาะสำหรับคนจน-คนไร้อำนาจ ส่วนในระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้นเล่า เราจะผลักดันให้เกิดการเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างแท้จริงได้อย่างไร

ปีนี้เป็นวาระครบห้าสิบปีแห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ที่องค์การสหประชาชาติผลักดันให้ออกมา ซึ่งหลายคนวิเคราะห์ว่า ผลแห่งการเข่นฆ่ามนุษย์ด้วยกันเองอย่างโหดเหี้ยมจำนวนนับแสนนับล้าน โดยเฉพาะในหมู่ชนผิวขาวในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นมูลเหตุสำคัญของการผลักดันปฏิญญาสากลฯนี้ออกมา ฉะนั้นเนื้อหาและจิตวิญญาณของปฏิญญาสากลจึงวางอยู่บนปรัชญา ความเชื่อ และวิถีชีวิตของชาวตะวันตก ตัวอย่างเช่น การเน้นความสำคัญต่อมนุษยในฐานะที่เป็นปัจเจกชน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสังคม-วัฒนธรรมนอกตะวันตก ที่ส่วนใหญ่ถือว่าปัจเจกชนแทบจะไม่มีความหมาย เขาหรือเธอจะต้องสังกัดครอบครัว กลุ่มเครือญาติ และชุมชน ถ้าปราศจากสามหน่วยทางสังคมสามหน่วยหลังนี้แล้ว สิทธิเสรีภาพของปัจเจกชนอาจไม่ได้รับความคุ้มครอง หรือในทางกลับกันปัจเจกชนเองอาจใช้สิทธิ เสรีภาพที่ได้มาไปเบียดบังทำร้ายชุมชน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมโดยอ้างกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล ก็ย่อมเกิดขึ้นได้ อันอาจเป็นอันตรายต่อมนุษยชาติในท้ายที่สุด

อนึ่งข้อโต้แย้งนี้มีที่มาจากประเทศแถบเอเชีย แปซิฟิก อาฟริกา และลาตินอเมริกา ซึ่งต่างเห็นร่วมกันว่าปฏิญญาสากลฯ ยังมีข้อบกพร่องอยู่และจำเป็นต้องผลักดันให้มีการแก้ไขและหรือเพิ่มเติมกติการะหว่างประเทศรูปแบบต่างๆ ขึ้นมา เพื่อให้ทันกับสถานการณ์ที่เป็นจริง และเปลี่ยนไป

นอกจากนั้นจากมุมมองของ ขบวนการสตรีนิยม (Feminism) ก็มองเห็นว่าตัวปฏิญญาสากลฯที่ว่านี้มีลักษณะ"ชายนิยม" หรือ เป็นผลพวงของ"สังคม-วัฒนธรรมแบบชายเป็นใหญ่" (partriarchy) จึงมีอคติต่อผู้หญิง ดังจะเห็นได้จากภาษาที่ใช้สะท้อนให้เห็นตลอดเวลาว่า เมื่อปฏิญญาสากลฯพูดถึงมนุษย์ลึกๆ แล้วหมายถึงมนุษย์ที่เป็นชาย ทั้งนี้โดยใช้คำว่า "man" ในความหมายว่า "มนุษย์" บางคนอาจคิดว่าพวก ผู้หญิง "คิดมาก" และ "จู้จี้จุกจิกเกินไป" แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่ ยิ่งถ้าไปดูข้อความในมาตรา 23 ข้อ (3) ของตัวปฏิญญาฯ จะเห็นข้อความว่า

"Everyone who works has the right to just and favourable remuneration ensuring for himself and his family an existence worthy of human dignity….." (เน้นโดยผู้เขียน) ข้อนี้พูดถึงคนทำงานว่าจะต้องมีสิทธิที่จะได้รับค่าจ้างหรือมีรายได้ที่ยุติธรรมและเอื้อประโยชน์เพื่อเป็นหลักประกันต่อตนเอง และครอบครัวของตน เพื่อที่จะสามารถดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่าสมกับศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์

แต่จากข้อความดั้งเดิมภาคภาษาอังกฤษของตัวปฏิญญาฯ จะเห็นได้ว่าใช้คำ himself (ตัวเขาผู้ชาย) และ his family (ครอบครัว ของเขา) เมื่อเขียนไว้เช่นนี้ก็ย่อมหมายความว่า ในขณะที่เขียนและแม้กระทั่งในขณะนี้ก็ยังพูดราวกับว่าเฉพาะผู้ชายเท่านั้นที่ทำงาน และเป็น ผู้เลี้ยงดูครอบครัวของเขา ส่วนผู้หญิงนั้นไม่ทำงานและไม่มีครอบครัวของเธอที่เธอจะต้องเลี้ยงดูกระนั้นหรือ

หลายคนคงเห็นพ้องต้องกันว่า นับแต่บรรพกาลเป็นต้นมาผู้หญิงทำงานหาเลี้ยงดูครอบครัวมาตลอดเวลา เคียงบ่าเคียงใหล่กับผู้ชายในยุคเก็บหาอาหารจากธรรมชาติผู้หญิงก็ทำหน้าที่หาอาหาร, ในยุคเพาะปลูก ยุคเกษตรกรรมผู้หญิงก็ทำนา ทำไร่ ทำสวนร่วมกับผู้ชาย, พอมาถึงยุคอุตสาหกรรม ผู้หญิงก็ถูกดึงเข้าสู่โรงงาน ส่วนผู้หญิงในชนชั้นกลาง ขั้นสูงที่มีโอกาสได้รับการศึกษาก็ก้าวออกมาทำงานอาชีพและวิชาชีพของตนมากขึ้นเป็นลำดับ ในหน่วยงาน สำนักงาน องค์การ และบริษัทต่าง ๆ

หันมาดูสถานการณ์ในสังคมไทย ผู้หญิงไทยก็ทำงานมาโดยตลอด ทั้งในไร่นาและงานบ้าน ปัดกวาด เช็ดถู ซักรีด ตกบ่ายตกค่ำก็ยังต้องทอผ้า เย็บปักถักร้อย คัดเลือกผลิตผลการเกษตรไว้ขาย แม้กระทั่งผู้หญิงชนชั้นกลาง นอกจากจะออกไปทำงานนอกบ้าน เพื่อหารายได้มาเลี้ยง ครอบครัวร่วมกับรายได้ของสามี แต่เมื่อกลับถึงบ้านเธอก็ต้องทำ "งานบ้าน" หุงหาตระเตรียมอาหารให้สามีและลูก ๆ

เมื่อมองภาพรวมแล้วผู้หญิงทำงาน มากกว่าผู้ชาย ทั้งงานนอกบ้าน งานบ้านและงานด้านการผลิตซ้ำทางชีววิทยา (biological reproduction) คือตั้งท้องและมีลูก เท่านั้นยังไม่พอ พวกเธอยังต้องทำหน้าทีด้านการผลิตซ้ำทางวัฒนธรรม (cultural reproduction) คืออบรมสั่งสอนลูก ๆ ให้เป็นคนดี ให้ความรักความอบอุ่นอันเป็นคุณค่าสำคัญของสถาบันครอบครัว

ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้กล่าวว่า งานของผู้หญิงนั้นเป็นงานยกกำลังสี่ (งาน 4) หรือบางทีเป็น "งาน 5" ในกรณีที่ผู้หญิงต้องออกมาทำงานเพื่อชุมชน เพื่อสังคม หรือต่อสู้เพื่อสิทธิและความเสมอภาคระหว่างเพศ แต่ปัญหาสำคัญเท่าที่ผ่านมาและยังคงดำรงอยู่ทั่วไปและในสังคมไทยด้วยคือ สังคมมองไม่เห็นความสำคัญของงานที่ผู้หญิงทำ การยกย่องทางสังคม เศรษฐกิจก็ไม่มี ตัวอย่างเช่น เมื่อผู้ชายถูกถามว่าภรรยาคุณทำงานอะไร บางคนตอบว่า "ไม่ได้ทำอะไร อยู่บ้านเฉย ๆ" ถ้าพวกภรรยาอยู่บ้าน "เฉยๆ" จริง บ้านคงไม่เป็นบ้าน ครอบครัวคงไม่เป็นครอบครัว หากพวกเธอไม่ทำงานบ้าน จะต้องจ้างคนมาทำ (ในกรณีชนชั้นกลาง) จะสิ้นเปลืองเงินทองไปอีกเท่าไร

ร้ายยิ่งไปกว่านั้น ในกรณีที่ผู้หญิงออกไปทำงานนอกบ้าน ส่วนใหญ่แล้วพวกเธอจะถูกกีดกัน ถูกปิดกั้นเรื่องความก้าวหน้า ถูกกดราคาค่าจ้างแรงงาน และ ฯลฯ ในภาษาสิทธิมนุษยชนเรียกว่าถูก "เลือกปฏิบัติ" (บางที่ใช้ว่า เลือกประติบัติ) อันกล่าวได้ว่ามีสาเหตุมาจาก "อคติ" และผลที่ตามมา คือความไม่เสมอภาพและขาดความเป็นธรรม แต่ความเสียหายสูงสุดมิใช่เพียงแต่ผู้หญิงถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนเท่านั้น หากคือพัฒนาการของมนุษย์บนฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและมีดุลยภาพ ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ และมนุษย์กับธรรมชาติ ไม่อาจเกิดขึ้นได้เต็มศักยภาพ ด้วยเหตุว่าพลังของผู้หญิงถูกกีดกันและถูกลดคุณค่า

อนึ่งที่กล่าวมานี้ มิได้หมายความว่าแรงงานชายจะไม่มีความสำคัญ สิทธิมนุษยชนให้ความสำคัญต่อแรงงานและค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรม และสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ทุกเพศ เพียงแต่ว่าเท่าที่ผ่านมาและเป็นอยู่ แรงงานหญิงถูกกดขี่มากกว่าแรงงานชาย ดังนั้นจึงจำเป็นที่สังคมจะต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ

เรื่องของ "อคติ" นี้ สำคัญเพราะเหตุว่า มันจะไปปรากฎตัวและมีอิทธิพลอยู่ในการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้คนหลายกลุ่มหลายพวก นอกเหนือจากผู้หญิง ตัวอย่างเช่น คนพิการ คนชรา คนป่วย คนต่างศาสนา คนต่างชาติพันธุ์ (เช่น ชนกลุ่มน้อย) คนต่างวัย (เด็ก-วัยรุ่น) คนต่างความคิดความเชื่อทางการเมือง คนที่ต้องคดี ถูกจับกุมกักขัง แม้กระทั่งพ้นโทษมาแล้วสังคมก็ยังดูถูกกีดกัน ผู้อพยพและแรงงานข้ามชาติ คนไร้สัญชาติ ไร้ประเทศ โดยเฉพาะคนจนก็ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนบนฐานคิดที่เป็นอคติว่า คนจนคือคนขี้เกียจ ไม่สู้งานหนัก ขาดความทะเยอทะยาน ขาดความประหยัดเป็นต้น

อคติ (prejudice/bias) หมายถึงการจัดประเภทของผู้คนหรือมนุษย์ออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ บนพื้นฐานของความชอบและหรือไม่ชอบ ซึ่งบางกรณีรุนแรงถึงขั้นเป็นความเกลียดชัง เหยียดหยาม ดูถูก รังเกียจ ขยะแขยง ทั้งนี้เกิดจากลักษณะทางสังคม-วัฒนธรรม ที่อาจมีจริง และที่จินตนาการเอาว่ามีจริง ลักษณะเช่นนี้มักเกี่ยวพันกับเชื้อชาติ (สีผิว) ศาสนา ความเชื่อ กลุ่มชาติพันธุ์ ความเป็นหญิง-ชาย ความพิการ ความแตกต่างทางวัย อาชีพ และหรือฐานะทางเศรษฐกิจเป็นต้น กล่าวอย่างย่อ ๆ อคติคือทัศนคติทางลบที่มีต่อผู้อื่น. เมื่อมีอคติต่อกันเช่นนี้แล้ว นอกจากจะทำให้เกิดการเลือกปฏิบัติต่อคนกลุ่มอื่นผู้ด้อยอำนาจกว่า หลายครั้งนำไปสู่การทำให้คนเหล่านั้นกลายเป็นจำเลย เป็น"แพะรับบาป"ต่อปัญหาหลาย ๆ อย่างที่เกิดขึ้นในสังคม แต่ต้นตอรากเหง้าหรือกลุ่มผู้ทำผิดจริง สามารถหลุดลอย นวลอยู่ต่อไป

อนึ่งเรื่องสิทธิมนุษยชนนี้มิใช่เป็นเพียงเรื่องของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กติกา สนธิสัญญา อนุสัญญา ข้อตกลง และ พิธีสารระหว่างประเทศที่หลายคนคิดว่าอาจไกลตัวไปหน่อยเท่านั้นไม่ แท้จริงแล้วสิทธิมนุษยชนเป็นสาระสำคัญประการหนึ่งของระบอบ ประชาธิปไตย ที่บัดนี้เราทุกคนตระหนักชัดแล้วว่ามีความสำคัญต่อชีวิตทุกด้านของเราอย่างไร และรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2540) ของเรา ก็ได้ระบุสิทธิมนุษยชนในรายละเอียดไว้มากมายหลายมาตรา ซึ่งอาจกล่าวได้ว่ามีผลทำให้เรื่องสิทธิมนุษยชนสอดคล้องเหมาะสมกับเงื่อนไขต่าง ๆ ของสังคมไทยมากขึ้น แม้จะยังไม่สมบูรณ์ก็ตาม

เศรษฐกิจมหภาคจะฟื้นหรือไม่ฟื้น เศรษฐกิจจุลภาค เศรษฐกิจชุมชนจะเกิดหรือไม่ การพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม เหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าสังคมไทย-คนไทยไม่ให้ความสำคัญและช่วยกันพิทักษ์ "สิทธิมนุษยชน" และ"ผู้ต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน"

อ้างอิง :
ฉลาดชาย รมิตานนท์ .2547. สตรีศึกษา (Women's Studies).[Online].Available: URL : http://www.soc.cmu.ac.th/
http://isc.ru.ac.th/data/PS0003441.doc.

+++++++++++++++++++++++++++++++

Women's studies
From Wikipedia, the free encyclopedia (http://en.wikipedia.org/wiki/Women%27s_studies)
Women's studies is an interdisciplinary academic field devoted to topics concerning women, feminism, gender, and politics. It often includes feminist theory, women's history (e.g. a history of women's suffrage) and social history, women's fiction, women's health, feminist psychoanalysis and the feminist and gender studies-influenced practice of most of the humanities and social sciences.

History
Women's studies was first conceived as an academic rubric apart from other departments in the late 1960s, as the second wave of feminism gained political influence in the academy through student and faculty activism. As an academic discipline, it was modeled on the American studies and ethnic studies (such as Afro-American studies) and Chicano Studies programs that had arisen shortly before it. The first Women's Studies Program in the United States was established on May 21, 1970 at San Diego State College (now San Diego State University) after a year of intense organizing of women's consciousness raising groups, rallies, petition circulating, and operating unofficial or experimental classes and presentations before seven committees and assemblies.[1] Carol Rowell Council was the student co-founder along with Dr. Joyce Nower, a literature instructor. A second program followed within weeks at Richmond College of the City University of New York (now the College of Staten Island). In the 1970s many universities and colleges created departments and programs in women's studies, and professorships became available in the field which did not require the sponsorship of other departments.

Current courses in women's studies
Women's studies courses are available at many universities and colleges around the world. Many universities that offer degrees in Women's Studies offer classes in Gender Issues, Women and Religion, Female Sexuality, and Sex Crimes. Many also include with their program an option for gay/lesbian studies. In 2006, the Artemis Guide to Women's Studies[2] provides a listing of 395 programs in the United States, but may be out of date. Courses in the United Kingdom can be found through the Universities and Colleges Admissions Service[3].

Criticism
A number of authors have criticized scholarship standards within women's studies programs. These authors include feminists like Camille Paglia, Christina Hoff-Sommers and Phyllis Chesler; and journalists and social commentators like Karen Lerhman. Researchers Daphne Patai and Koertge note that the type of feminism espoused in the vast majority of women's studies departments in the United States 'espouses a totalizing world view.'[citation needed]

Further reading
- Disciplining feminism : from social activism to academic discourse, Ellen Messer-Davidow,
Durham, NC etc. : Duke University Press, 2002

- Exploring Women's Studies: Looking Forward, Looking Back, Carol R. Berkin, Judith L. Pinch,
Carol Appel, 2005, ISBN 0-13-185088-1

- An Introduction to Women's Studies: Gender in a Transnational World, Inderpal Grewal,
Caren Kaplan, ISBN 0-07-109380-X

- Issues In Feminism: An Introduction to Women's Studies, Sheila Ruth, 2000, ISBN 0-7674-1644-9

- The Politics of Women's Studies: Testimony from Thirty Founding Mothers, Paperback edition,
New York: Feminist Press 2001

- Professing Feminism: Cautionary Tales from the Strange World of Women's Studies; Daphne Patai
and Noretta Koertge, 1995, ISBN 0-465-09827-4

- Thinking differently : a reader in European women's studies, Gabriele Griffin and Rosi Braidotti (eds.), London etc. : Zed Books, 2002

- Women's Studies on Its Own, Duke University Press, 2002.

See also (http://en.wikipedia.org/wiki/Women%27s_studies)
- Gender studies
- Feminist studies
- Men's studies
- Feminism
- Feminist theory
- French feminism
- Social criticism
- Women's history
- Women artists

References
1. SDSU Women's Studies Department
2. Artemis Guide to Women's Studies in the U.S.
3. Universities and Colleges Admissions Service, United Kingdom

 

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน


นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ หรือถัดจากนี้สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

คิดต่างในเชิงสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ดีกว่าและเสรีภาพ
17January 2008
Free Documentation License
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
สตรีศึกษาในฐานะที่เป็นวิชาถูกพัฒนาขึ้นมาในสถาบันทางวิชาการในโลกตะวันตกตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 เป็นต้นมา ในประเทศอังกฤษ วิชาแรกของสตรีศึกษาสายอังกฤษเปิดสอนโดย จูเลียต มิตเชลล (Juliet Michell) ในสถาบันชื่อ Anti-University เมื่อปี คศ. 1968-89 (พ.ศ. 2511-12) ในสหรัฐอเมริกา สตรีศึกษาในฐานะเป็นหลักสูตรเต็มรูป เปิดการสอนที่ San Diego State University ในปี คศ. 1970 (พ.ศ. 2513) จุดเน้นของสตรีศึกษาคือเป็นสหวิทยาการ หรือ สหสาขาวิชา ครอบคลุมข้ามมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ ...ฯลฯ
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
ในหนังสือชื่อ Feminism Without Women : Culture and Criticism in A "Postfeminist" Age (1991) ทาเนีย โมเดลสกิ (Tania Modleski) (*) อ้างว่า วิธีการศึกษาแบบเพศสภาพศึกษาอาจมีปัญหา ทั้งนี้เพราะแอบแฝงการอนุมานหรือทึกทักเอาเงียบ ๆ ว่า ความไม่เท่าเทียมกันระหว่างเพศสภาพต่าง ๆ ไม่เป็นประเด็นความสำคัญอีกต่อไปแล้ว เธออ่านสภาพการณ์ว่าความสนใจใหม่ ๆ ต่อเรื่อง "เพศสภาพศึกษา" เป็นตัวอย่างหนึ่งของกระแสโต้จากกลุ่ม "หลังสตรีนิยม" ที่มีต่อ สตรีนิยม ดังนั้น เธอจึงเตือนว่าการ "นำผู้ชายกลับมาสู่กลางเวที" เป็นอันตรายต่อการถกเถียงเชิงวิชาการในเรื่องการสร้างทางสังคมของเพศสภาพ

(*) สำหรับผู้สนใจเรื่องย่อ Feminism Without Women : Culture and Criticism in A "Postfeminist" Age เขียนโดย Tania Modleski คลิกไปอ่านได้ที่นี่