โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๔๕๓ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๑ (January, 03, 01, 2008) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

03-01-2551

Human Right Context
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com

 

 

ข้อมูลสิทธิมนุษยชน สารานุกรมมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ประวัติความเป็นมาอันยืดยาวเกี่ยวกับเรื่อง: สิทธิมนุษยชน
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน - โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
ข้อมูลจากสารานุกรมวิกกีพีเดีย (ฉบับภาษาอังกฤษ)

บทความวิชาการต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
ของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่หวังผลกำไร
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหาตัวอย่างและกรณีศึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
จากประเทศชายขอบทั่วโลก มาเป็นตัวแบบในการวิเคราะห์และสังเคราะห์
เพื่อเผชิญกับปัญหาสิทธิมนุษยชน(สิทธิชุมชน)ในประเทศไทย

สำหรับบทความแปลและเรียบเรียงชิ้นนี้ นำมาจากบางส่วนของสารานุกรมวิกกิพีเดีย
โดยปรารถนาเพื่อเป็นการปูพื้นฐานความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และ
ความเป็นมาในเรื่องสิทธิมนุษยชน โดยมีหัวข้อสำคัญดังต่อไปนี้...
ความนำ-ประวัติความเป็นมา, สิทธิมนุษยชนในโลกโบราณ,
จักรวรรดิเปอร์เชียโบราณ, จักรวรรดิเมาริยะ, ยุคแคลิเฟท อิสลามช่วงต้น,
แม็กนา คาร์ตา, สิทธิมนุษยชนในช่วงต้นยุคสมัยใหม่,
สิทธิมนุษยชน: จาก ค.ศ.๑๘๐๐ ถึง สงรามโลกครั้งที่ ๑,
สิทธิมนุษยชน: ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๑ และ ๒,
สิทธิมนุษยชน: ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒,
การประชุมเจนีวาต่างๆ: คำประกาศสิทธิมนุษยชนสากล
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๔๕๓
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๓ มกราคม ๒๕๕๑
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๗ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ข้อมูลสิทธิมนุษยชน สารานุกรมมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ประวัติความเป็นมาอันยืดยาวเกี่ยวกับเรื่อง: สิทธิมนุษยชน
สมเกียรติ ตั้งนโม : แปลและเรียบเรียง
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน - โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน
ข้อมูลจากสารานุกรมวิกกีพีเดีย (ฉบับภาษาอังกฤษ)

ความนำ
สิทธิมนุษยชน เป็นคำที่อ้างถึงสิทธิขั้นพื้นฐานและเสรีภาพ ซึ่งมนุษย์ทุกคนได้รับสิทธิดังกล่าว ศัพท์คำนี้ยังรวมไปถึงสิทธิพลเมืองและสิทธิด้านการเมืองด้วย ยกตัวอย่างเช่น สิทธิในการมีชีวิต และความมีอิสรภาพ, เสรีภาพทางความคิดและการแสดงออก รวมถึงความเท่าเทียมทางกฎหมาย ทางสังคม ตลอดทั้งสิทธิทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม อย่างเช่น สิทธิในการทำงาน(โดยไม่ถูกกีดกันด้วยเหตุผลทางชาติพันธุ์ สีผิว หรือเพศ ฯลฯ) สิทธิในการมีส่วนร่วมในทางวัฒนธรรม สิทธิในการศึกษา เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากว่า

"มนุษย์ทุกคนล้วนเกิดมามีอิสรภาพ เสรีภาพ เกียรติศักดิ์ศรี และความเท่าเทียมกันนั่นเอง เราทุกคนต่างมีเหตุผลและมโนธรรม และควรประพฤติปฏิบัติต่อบุคคลอื่นด้วยจิตวิญญานแห่งความเป็นภราดร"
(All human beings are born free and equal in dignity and rights. They are endowed with reason and conscience and should act towards one another in a spirit of brotherhood.)
Article 1 of the United Nations Universal Declaration of Human Rights

ประวัติความเป็นมา
ขบวนการสิทธิมนุษยชนสมัยใหม่ถือกำเนิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่แนวความคิดดังกล่าวสามารถย้อนกลับไปได้ในทุกๆ หลักศาสนา วัฒนธรรม และปรัชญา ไม่ว่าในศาสนาฮินดู(Manu Smriti), ลัทธิขงจื้อ, อัล-กุรอาน, และบัญญัติสิบประการ ล้วนมีเค้าโครงเกี่ยวกับสิทธิต่างๆ บางประการ ซึ่งปัจจุบันรวมอยู่ในคำประกาศสิทธิมนุษยชนสากลสหประชาชาติ(UDHR - United Nations Universal Declaration of Human Right). แนวคิดเกี่ยวกับกฎธรรมชาติ, การรับรองสิทธิธรรมชาติ โดยไม่คำนึงถึงความแปรผันทางด้านกฎหมายและขนบจารีตของมนุษย์ สามารถได้รับการสืบสาวย้อนกลับไปได้ถึงบรรดาปรัชญาเมธีกรีกทั้งหลาย ขณะที่บรรดานักปรัชญายุคสว่าง(Enlightenment philosphers)ได้นำเสนอสัญญาประชาคมระหว่างผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครอง. แนวคิดของชาวแอฟริกันเกี่ยวกับ"อูบันตู"(ubuntu) (*) เป็นมุมมองทางวัฒนธรรมของสิ่งที่เป็นเรื่องของมนุษย์. ความคิดสิทธิมนุษยชนสมัยใหม่ได้รับการสืบทอดมาจากขนบประเพณีต่างๆ เหล่านี้เกี่ยวกับคุณค่าและความเชื่อทั้งหลายของมนุษย์
(*) Ubuntu is an ethic or humanist philosophy focusing on people's allegiances and relations with each other. The word has its origin in the Bantu languages of Southern Africa. Ubuntu is seen as a traditional African concept.

An attempt at a longer definition has been made by Archbishop Desmond Tutu (1999):
" A person with ubuntu is open and available to others, affirming of others, does not feel threatened that others are able and good, for he or she has a proper self-assurance that comes from knowing that he or she belongs in a greater whole and is diminished when others are humiliated or diminished, when others are tortured or oppressed. "
Louw (1998) suggests that the concept of ubuntu defines the individual in terms of their several relationships with others, and stresses the importance of ubuntu as a religious concept.


สิทธิมนุษยชนในโลกโบราณ
ดังเป็นที่ทราบกันว่า การปฏิรูปต่างๆ ของ Urukagina of Lagash, (อยู่ในสมัยเมโสโปเตเมีย, 24 ศตวรรษก่อนคริสตกาล) ทางด้านประมวลกฎหมาย ถือเป็นวาระแรกสุด (c. 2350 BC) ที่ได้มีการกล่าวถึงแนวคิดเกี่ยวกับสิทธิต่างๆ ในบางระดับ อย่างไรก็ตาม ตัวบทที่แท้จริงในพระบัญชาของพระองค์ยังไม่มีการค้นพบกระทั่งทุกวันนี้. ประมวลกฎหมายที่คัดขึ้นด้วยลายมือเก่าแก่ที่สุดในปัจจุบันเท่าที่มีอยู่ คือ the Neo-Sumerian Code of Ur-Nammu (ca. 2050 BC. นีโอ-สุเมเรียน). ส่วนชุดของกฎหมายอื่นๆ ได้รับการบัญญัติขึ้นในเมโสโปเตเมีย ที่รวมถึงประมวลกฎหมายของฮัมมูราบี(Code of Hammurabi) (ca. 1780 BC - ) (*), หนึ่งในตัวอย่างอันมีชื่อเสียงของแบบฉบับเกี่ยวกับเอกสารนี้ ได้แสดงถึงกฎเกณฑ์ต่างๆ และการลงโทษถ้าหากมีการละเมิดกฎเกณฑ์เหล่านั้น นอกจากนี้ยังมีสาระอื่นๆ อีกมากมาย อาทิเช่น สิทธิของผู้หญิง, สิทธิเด็ก, และรวมถึงสิทธิของทาสต่างๆ ด้วย
(*)Code of Hammurabi (also known as Codex Hammurabi) is one of the earliest and best preserved law codes from ancient Babylon. Hammurabi believed that he was chosen by the gods to deliver the law to his people. In the preface to the law code, he states, "Anu and Bel called by name me, Hammurabi, the exalted prince, who feared God, to bring about the rule of righteousness in the land."

บทนำต่างๆ ของประมวลกฎหมายเหล่านี้ได้วิงวอนต่อเทพเจ้าทั้งหลายของเมโสโปเตเมียนให้มีการลงโทษจากสวรรค์. เดิมทีสังคมต่างๆ ได้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนมาจากคัมภีร์ศาสนา ยกตัวอย่างเช่น ในคัมภีร์พระเวท, คัมภีร์ไบเบิล, คัมภีร์อัล-กุรอาน, คำสอนของขงจื้อ(the Analects of Confucius) เหล่านี้ล้วนดำรงอยู่ในท่ามกลางแหล่งข้อมูลงานเขียนในยุคต้นๆ ซึ่งได้มีการกล่าวถึงคำถามต่างๆ เกี่ยวกับหน้าที่ทั้งหลายของมนุษย์, สิทธิต่างๆ, และความรับผิดชอบ

จักรวรรดิเปอร์เชียโบราณ (Persian Empire)
จารึกรูปทรงกระบอกที่เรียกว่า The Cyrus cylinder ของพระเจ้าไซรัสมหาราช (424-401 BC) ผู้ก่อตั้งจักรวรรดิเปอร์เซียที่ชื่อว่า Achaemenid (559-330 BC.)ในอิหร่านยุคโบราณ ได้มีการสถาปนาหลักการต่างๆ เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ภายใต้การปกครองของพระเจาไซรัสมหาราช ภายหลังจากที่พระองค์ทรงเอาชนะบาบีลอน พระองค์ทรงสร้างจารึกทรงกระบอกดังกล่าวขึ้นมา ซึ่งค้นพบในปี ค.ศ.1879 และเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในทุกวันนี้ในฐานะที่เป็นจารึกสิทธิมนุษยชนชิ้นแรก

จารึกดังกล่าวประกาศว่า พลเมืองของจักรวรรดิ Achaemenid ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติกิจทางศาสนาตามความเชื่ออย่างอิสระ นอกจากนี้ยังมีการเลิกทาสด้วย ดังนั้นพระราชวังทุกหลังของกษัตริย์แห่งของเปอร์เชีย จึงได้รับการสร้างขึ้นโดยแรงงานที่รับค่าจ้างในยุคที่บรรดาทาสทั้งหลายเป็นผู้ลงแรงทำงานดังกล่าว. การปฏิรูปทั้ง 2 สิ่งนี้ได้ถูกสะท้อนในพระคัมภีร์ศาสนา อย่างเช่น Chronicles, Nehemiah, และ Ezra, ซึ่งได้มีการพูดถึงว่า พระเจ้าไซรัสได้ทรงปลดปล่อยบรรดาสาวกของ Judaism จากความเป็นทาสและยินยอมให้พวกเขาอพยพกลับไปยังดินแดนของตน. ปัจจุบัน จารึกทรงระบอกได้เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ the British Museum, และจารึกทรงกระบอกจำลอง ได้รับการเก็บรักษาเอาไว้ที่สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ

ในจักรวรรดิเปอร์เซีย พลเมืองทุกศาสนา และกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ล้วนได้รับสิทธิอย่างเดียวกัน ในขณะที่ผู้หญิงก็มิสิทธิเช่นเดียวกับผู้ชาย. จารึกทรงกระบอกไซรัสยังได้บัญญัติถึงการปกป้องสิทธิต่างๆ ทางด้านเสรีภาพและความปลอดภัย อิสรภาพที่จะเดินทางสัญจรไปในที่ต่างๆ สิทธิในทรัพย์สิน และสิทธิทางเศรษฐกิจและสังคมต่างๆ

จักรวรรดิเมาริยะ - (Maurya Empire)
จักรวรรดิเมาริยะโบราณ (อยู่ทางตอนใต้สุดของอินเดีย) ได้สถาปนาหลักการต่างๆ เกี่ยวกับสิทธิพลเมืองขึ้นมาอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในราวศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ภายใต้การนำของพระเจ้าอโศกมหาราช. ภายหลังจากชัยชนะอันโหดร้ายของพระองค์ต่อกาลิงคะในราวปี 265 ก่อนคริสตศักราช พระองค์ทรงรู้สึกเสียพระทัยและสำนึกผิดในสิ่งที่ได้ทรงกระทำลงไป และผลของการนั้น ได้รับเอาพระพุทธศาสนามาไว้ในครอบครอง

อันเนื่องมาจากทารุณกรรมดังกล่าว พระเจ้าอโศกจึงได้รับการอรรถาธิบายในฐานะอโศกผู้โหดร้าย(the cruel Ashoka) จนกระทั่งรับเอพุทธศาสนามาจึงเป็นที่รู้จักในฐานะ"พระเจ้าอโศกผู้ศรัทธา(the pious Ashoka). ช่วงระหว่างที่พระองค์ทรงครองอำนาจ พระองค์ทรงดำเนินรอยตามแนวคิดอหิงสธรรม(ahimsa - nonviolence - การไม่ใช้ความรุนแรง)อย่างเป็นทางการ และทรงปกป้องสิทธิมนุษยชนต่างๆ ดังความเอาใจใส่พระทัยอย่างแรงกล้าของพระองค์เกี่ยวกับความผาสุกของราษฎร. การฆ่าสัตว์หรือการทำให้สัตว์พิการโดยไม่จำเป็นได้ถูกยกเลิกโดยทันที ยกตัวอย่างเช่น การล่าสัตว์เพื่อการกีฬา และการตีตราสัตว์ เป็นต้น

พระเจ้าอโศกยังได้แสดงให้เห็นถึงพระเมตตาต่อผู้ถูกจองจำเหล่านั้น และอนุญาตให้พวกเขาอยู่นอกที่คุมขังได้ปีละ ๑ วัน. ส่วนในเรื่องของการศึกษา พระองค์โปรดให้ประชาชนคนธรรมดาได้รับการศึกษาฟรีในสถาบันชั้นสูงต่างๆ. พระองค์ทรงปฏิบัติกับไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินอย่างเท่าเทียมโดยไม่คำนึงถึงเรื่องศาสนา การเมือง หรือชนชั้นวรรณะของพวกเขา และได้สร้างโรงพยาบาลฟรีทั้งแก่มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย. พระเจ้าอโศกได้ทรงบัญญัติหลักการสำคัญๆ เกี่ยวกับการไม่ใช้ความรุนแรง ความอดทนอดกลั้นต่อนิกายศาสนาและความคิดเห็นทั้งมวล การเชื่อฟังพ่อแม่ การให้ความเคารพต่อครูบาอาจารย์และพระภิกษุสงฆ์ มีความโอบอ้อมอารีต่อเพื่อนฝูง มีการปฏิบัติที่มีมนุษยธรรมต่อทาสทั้งหลาย และใจกว้างต่อทุกสิ่งทุกอย่าง การปฏิรูปเหล่านี้ได้รับการอธิบายไว้ในพระบรมราชโองการของพระเจ้าอโศก

ในจักรวรรดิเมาริยะ พลเมืองไม่ว่านับถือศาสนาใดและกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหลาย ต่างมีอิสรภาพ สิทธิเสรีภาพ, ความอดกลั้น และความเสมอภาค. การมีขันติธรรมตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเสมอภาค ซึ่งสามารถพบได้ในพระราชโองการต่างๆ ของพระเจ้าอโศก ที่เน้นถึงความสำคัญเกี่ยวกับการมีขันติธรรมในนโยบายสาธารณะเกี่ยวกับการปกครอง การฆ่าสัตว์ตัดชีวิตหรือการจับกุมคุมขังนักโทษในสงครามได้รับการประณามโดยพระเจ้าอโศก

ยุคแคลิเฟท อิสลามช่วงต้น (Early Islamic Caliphate)
(Caliphate - the era of Islam's ascendancy from the death of Mohammed until the 13th century; some Moslems still maintain that the Moslem world must always have a calif as head of the community; "their goal was to reestablish the Caliphate")
(หมายเหตุ: ผู้สนใจเรื่องนี้โดยละเอียด กรุณาคลิกอ่านหัวข้อ Social rights in Islam ได้ในวิกกิพีเดีย ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Social_rights_in_Islam)


การปฏิรูปในเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นจำนวนมากเกิดขึ้นภายใต้แนวคิดอิสลาม ช่วงระหว่างปี 610 และ 661 รวมถึงยุคพันธกิจของพระศาสดามุฮัมหมัด และการปกครองของผู้สืบทอดอำนาจโดยตรงทั้งสี่ ซึ่งได้สถาปนา the Rashidain Caliphate. บรรดานักประวัติศาสตร์ โดยทั่วไป ต่างยอมรับว่าพระศาสดามุฮัมหมัดได้ทรงเทศนาสั่งสอนไปในทางขัดที่พระองค์ทรงเห็นว่า เป็นความชั่วร้ายของสังคมในวันเวลาดังกล่าว และการปฏิรูปสังคมอิสลามในพื้นที่ต่างๆ อย่างเช่น ความปลอดภัยทางสังคม, โครงสร้างครอบครัว,ระบบทาส, และสิทธิของผู้หญิงและชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยทั้งหลาย ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น ในสังคมอาหรับที่เป็นอยู่ในยุคนั้น ยกตัวอย่างเช่น ตามที่ Bernard Lewis (*) กล่าว, อิสลาม "ตำหนิและประณามสิทธิพิเศษของพวกชนชั้นสูงมาแต่ต้น ปฏิเสธลำดับชั้นสูงต่ำ และรับเอาหลักการเกี่ยวกับการประกอบอาชีพที่เปิดโอกาสให้กับพรสวรรค์ต่างๆ ของมนุษย์".
(*) Bernard Lewis (born May 31, 1916, London) is a British-American historian, Orientalist, and political commentator. He is the Cleveland E. Dodge Professor Emeritus of Near Eastern Studies at Princeton University and specializes in the history of Islam and the interaction between Islam and the West.

John Esposito (**)มองว่า พระศาสดามุฮัมหมัดเป็นนักปฏิรูป ซึ่งพระองค์ทรงประณามพฤติกรรมต่างๆ ของชาวอาหรับอันป่าเถื่อน พวกนอกศาสนา อย่างเช่น การเข่นฆ่าทารกที่เป็นหญิง, การตักตวงผลประโยชน์จากคนจน, การคิดอัตราดอกเบี้ยสูง, การฆาตกรรม, คำมั่นสัญญาที่หลอกลวง, และการลักขโมย. Bernard Lewis เชื่อว่า ธรรมชาติของความเท่าเทียม เสมอภาคกันของอิสลาม "เป็นตัวแทนความก้าวหน้าที่น่าพิจารณา บนการปฏิบัติของทั้งพวกเกรโก-โรมัน(Greco-Roman) และโลกเปอร์เชียโบราณ".
(**)John Louis Esposito (born 19 May 1940, Brooklyn, New York City) is a professor of International Affairs and Islamic Studies at Georgetown University. He is also the director of Prince Alwaleed Bin Talal center for Muslim-Christian understanding at Georgetown University.


พระศาสดามุฮัมหมัด ได้แสดงความรับผิดชอบผ่านการปกครองอิสลาม โดยการตระเตรียมอาหารและเครื่องนุ่งห่ม บนพื้นฐานแห่งความพอควรต่อบรรดาเชลยศึกหรือนักโทษ โดยไม่คำนึงถึงศาสนาของพวกเขา ถ้านักโทษทั้งหลายอยู่ในการควบคุมของคนๆ หนึ่ง ความรับผิดชอบจะตกแก่คนผู้นั้นในฐานะปัจเจก. Lewis กล่าวว่า อิสลามได้นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงหลักๆ 2 ประการต่อระบบทาสโบราณ ซึ่งต่อมาได้แผ่ขยายไปทั่ว "หนึ่งในสองนี้คือ ข้อสันนิษฐานหรือความเชื่อเกี่ยวกับอิสรภาพ ส่วนอีกประการหนึ่งก็คือ การห้ามในเรื่องการกดขี่หรือการทำให้ผู้คนที่มีอิสระต้องตกเป็นทาส เว้นแต่ในสถานการณ์ที่จำเป็นอย่างยิ่งเท่านั้น". สถานะของทาสอาหรับได้รับการปรับปรุงขึ้นมาก กล่าวคือ ทาสอาหรับ"ปัจจุบันไม่เพียงเป็นสมบัติที่เคลื่อนย้ายได้อีกต่อไปเท่านั้น แต่ยังเป็นมนุษย์ที่มีศาสนาและสถานภาพทางสังคมและมีสิทธิทางกฎหมายบางประการด้วย"

Esposito กล่าวว่า การปฏิรูปในเรื่องสิทธิของผู้หญิงมีผลต่อการแต่งงาน การหย่าร้าง และการสืบทอดมรดก. ผู้หญิงไม่ได้รับการยอมรับด้วยสถานะทางกฎหมายต่างๆ ทางด้านวัฒนธรรม รวมไปถึงผู้หญิงตะวันตกด้วย จนกระทั่งหลายศวตวรรษต่อมา. ในพจนานุกรมออกฟอร์ดเกี่ยวกับรัฐอิสลาม กล่าวถึงการปรับปรุงโดยทั่วไปเกี่ยวกับสถานภาพของผู้หญิงอาหรับ รวมถึงการห้ามฆ่าทารกที่เป็นหญิง และการยอมรับความมีสถานะเป็นบุคคลอย่างสมบูรณ์ของผู้หญิง. "สินเดิมก่อนสมรสของฝ่ายหญิง ก่อนหน้านี้ได้รับการยอมรับในฐานะค่าตัวของเจ้าสาว ซึ่งจะต้องจ่ายให้กับพ่อของฝ่ายหญิง กลายเป็นของขวัญหรือค่าสินสอดที่ได้รับการเก็บรักษาไว้โดยภรรยา ในฐานะส่วนหนึ่งของทรัพยสมบัติส่วนตัวของเธอ". ภายใต้กฎหมายอิสลาม การแต่งงานไม่ได้ถูกมองในฐานะที่เป็น"สถานะ"อันหนึ่งอีกต่อไป แต่ถูกมองในฐานะที่เป็นข้อตกลงหรือนิติกรรมสัญญามากกว่า ซึ่งการยินยอมของฝ่ายหญิงเป็นสิ่งจำเป็นและไม่อาจหลีกเลี่ยงได้. "ผู้หญิงได้รับสิทธิในการสืบทอดมรดกในสังคมปิตาธิปไตย ซึ่งก่อนหน้านั้น การสืบทอดมรดกถูกจำกัดให้กับญาติต่างๆ ของฝ่ายชายเท่านั้น"

Annemarie Schimmel (*) กล่าวว่า เปรียบเทียบตำแหน่งหรือสถานภาพของผู้หญิงก่อนอิสลาม กฎหมายอิสลามนำมาซึ่งความก้าวหน้าอย่างมาก นั่นคือ ผู้หญิงมีสิทธิ อย่างน้อยที่สุดตามตัวบทกฎหมาย สามารถจัดการหรือบริหารทรัพย์สินที่เธอนำมาสู่ครอบครัวหรือหามาได้ด้วยแรงงานของเธอเอง". ส่วน William Montgomery Watt (**) กล่าวว่า พระศาสดามุฮัมหมัดในบริบทประวัติศาสตร์แห่งวันเวลาของพระองค์ สามารถได้รับการมองในฐานะบุคคลที่เป็นตัวแทนเกี่ยวกับสิทธิสตรี และได้มีการรับปรุงหลายสิ่งหลายอย่างค่อนข้างมาก
(*)Annemarie Schimmel, Sitara-i-Imtiaz, Hilal-i-Imtiaz (April 7, 1922 - January 26, 2003) was a well known and very influential German Iranologist and scholar who wrote extensively on Islam and Sufism. She received a doctorate in Islamic languages and civilization from the University of Berlin at the age of nineteen. At twenty-three, she became a professor of Arabic and Islamic studies at the University of Marburg (Germany) in 1946, where she earned a second doctorate in the history of religions in 1954.

(**)William Montgomery Watt was Professor of Arabic and Islamic Studies at the University of Edinburgh from 1964-79. He held visiting professorships at the University of Toronto, the College de France, Paris, and Georgetown University and was given an honorary DD by the University of Aberdeen. He was a priest of the Scottish Episcopal Church, and was Arabic specialist to the Bishop of Jerusalem from 1943-46. He became a member of the ecumenical Iona Community in Scotland in 1960. The Islamic press have called him "the Last Orientalist". [2] He died in Edinburgh on 24 October 2006 at the age of 97


Watt อธิบายว่า "ณ วันเวลาที่อิสลามเริ่มต้นถือกำเนิดขึ้น สภาพการณ์และเงื่อนไขต่างๆ ของผู้หญิงตกอยู่ในภาวะที่น่ากลัวมาก พวกเธอปราศจากสิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ถูกทึกทักว่าเป็นสมบัติของผู้ชาย และถ้าหากว่าฝ่ายชายถึงแก่กรรมลง ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะตกเป็นของบุตรชาย. "อย่างไรก็ตาม ศาสดามุฮัมหมัด, ทรงปรับปรุงโดยการให้"สิทธิเชิงสถาบัน เกี่ยวกับความเป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติ, การสืบทอดมรดก, การศึกษา และการหย่าร้าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้ทำให้ผู้หญิงมีสถานะและพื้นฐานการคุ้มครองป้องกันความปลอดภัยบางอย่างขึ้นมา". Haddad และ Esposito กล่าวว่า "ศาสดามุฮัมหมัดได้ให้สิทธิกับผู้หญิง และสิทธิพิเศษต่างๆ ในปริมณฑลของชีวิตครอบครัว การแต่งงาน การศึกษา และความบากบั่นทางเศรษฐกิจ สิทธิต่างๆ เหล่านี้ช่วยปรับปรุงสถานภาพของผู้หญิงขึ้นในสังคมอิสลาม"

นักสังคมวิทยา Robert Bellah (*) ให้เหตุผลว่า อิสลามในช่วงเริ่มต้น ศตวรรษที่ 7 ด้วยวันเวลาและสถานที่ในช่วงนั้น "เป็นสมัยใหม่มากอย่างน่าทึ่ง… ในระดับที่สูงของข้อผูกมัด, ความเกี่ยวพัน, และการมีส่วนร่วม ซึ่งได้รับการคาดหวังจากสมาชิกทั้งหลายของชุมชน". อันนี้เป็นเพราะว่า อิสลามเน้นในเรื่องความเสมอภาคของมุสลิมทั้งมวล ที่ซึ่งตำแหน่งต่างๆ ของความเป็นผู้นำต่างเปิดโอกาสให้กับทุกคน. Eickelman เขียนว่า Bellah เสนอถึงเรื่องของ "ชุมชนอิสลามในยุคแรกๆ ได้วางค่านิยมที่มีลักษณะเฉพาะอันหนึ่งเกี่ยวกับปัจเจกชน ในฐานะที่ตรงข้ามกับกลุ่ม หรือความรับผิดชอบของกลุ่ม
(*)Robert Neelly Bellah, born February 23, 1927, in Altus, Oklahoma, United States, is an American sociologist, now the Elliott Professor of Sociology, Emeritus at the University of California, Berkeley.

แม็กนา คาร์ตา - (Magna Carta)
(แม็กนา คาร์ตา - ธรรมนูญที่พระเจ้าจอห์น ลงพระปรมาภิไธยพระราชทานสิทธิแก่พลเมือง เมื่อวันที่ 15 มกราคม ค.ศ.1215)
แม็กนา คาร์ต้า เดิมทีคือธรรมนูญอังกฤษฉบับหนึ่งที่ประกาศออกมาในปี ค.ศ.1215. แม็กนา คาร์ต้าถือเป็นกฎเกณฑ์ที่สำคัญที่สุดต่อกระบวนการอันกว้างขวางทางประวัติศาสตร์ท ซึ่งน้อมนำไปสู่กฎหมายรัฐธรรมนูญในทุกวันนี้ ที่ครบคลุมอย่างกว้างขวาง. แม็กนา คาร์ต้ามีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางด้านกฎหมายจารีตของอังกฤษหรือ common law และรัฐธรรมนูญจำนวนมาก อย่างเช่น รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา และบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิพลเมือง นอกจากนี้มันยังได้รับการพิจารณาเป็นหนึ่งในกฎหมายสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ของระบอบประชาธิปไตย

แม็กนา คาร์ต้า เดิมทีเดียวได้ถูกเขียนขึ้นเนื่องจากการไม่เห็นพ้องต้องกันท่ามกลางพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3, พระเจ้าจอห์น และ บรรดาบารอนแห่งอังกฤษเกี่ยวกับสิทธิต่างๆ ของกษัตริย์. แม็กนา คาร์ต้าต้องการให้กษัตริย์ทรงสละสิทธิบางอย่าง, ให้ความเคารพต่อกระบวนการทางกฎหมาย, และให้การยอมรับว่า เจตจำนงหรือพระราชประสงค์ของพระองค์จะต้องผูกพันกับกฎหมาย. อันนี้เป็นการปกป้องสิทธิบางอย่างเกี่ยวกับไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของกษัตริย์อย่างชัดแจ้ง ไม่ว่าจะเรื่องของอิสรภาพหรือการถูกบังคับ - ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการขึ้นโรงขึ้นศาล การยินยอมให้มีการอุทธรณ์ในการจับกุมคุมขังที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

สำหรับในยุคสมัยใหม่ มรดกตกทอดที่ยาวนานที่สุดของแม็กนา คาร์ต้า ได้รับการพิจารณาว่าเป็นเรื่องของสิทธิเกี่ยวกับเรื่องทางศาล. สิทธินี้เกิดขึ้นจากสิ่งซึ่งปัจจุบันได้เป็นที่รู้จักในฐานะข้อความในวรรคที่ 36, 38, 39, และ 40 ของธรรมนูญแม็กนา คาร์ต้า ปี 1215. แม็กนา คาร์ต้า ยังรวมถึงสิทธิในกระบวนการโดยตรงต่อไปนี้:

"ไม่มีอิสรชนคนใดจะถูกจับกุมคุมขัง หรือถูกยึดสังหาริมทรัพย์ของเขา หรือเสรีภาพต่างๆ หรือขนบจารีตอิสระ หรือถูกทำให้อยู่นอกกฎหมาย หรือถูกเนรเทศ หรือถูกทำลายใดๆ และเราจะไม่มีการตัดสินเขา หรือประณามเขา โดยปราศจากขั้นตอนการตัดสินตามกระบวนการกฎหมายกับเขา หรือโดยปราศจากกฎหมายที่ดิน. เราจะไม่มีการขายผู้ใด เราจะไม่มีการปฏิเสธผู้ใด หรือหน่วงเหนี่ยวผู้ใด ทั้งในเรื่องของความยุติธรรมและสิทธิต่างๆ"
-Clause XXIX of the Magna Carta

สิทธิมนุษยชนในช่วงต้นยุคสมัยใหม่ (Human rights in early modern era)

การประกาศอิสรภาพของสหรัฐฯ ซึ่งได้รับการให้สัตยาบันโดย the Continental Congress (รัฐสภาแห่งภาคพื้นทวีป)(*) ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ.1776 ชัยชนะของอเมริกาในคริสตศตวรรษที่ 16 โดยชาวสเปน ยังผลให้เกิดการถกเถียงอย่างกระฉับกระเฉงเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในประเทศสเปน
(*) The legislative assembly composed of delegates from the rebel colonies who met during and after the American Revolution; they issued the Declaration of Independence and framed Articles of Confederation

การถกเถียงจากปี ค.ศ.1550-51 ระหว่าง Las Casas และ Juan Gines de Sepulveda at Valladolid เป็นไปได้ว่า ถือเป็นครั้งแรกเกี่ยวกับการถกกันถึงประเด็นสิทธิมนุษยชนต่างๆ ในประวัติศาสตร์ของชาวยุโรป บรรดานักปรัชญาในช่วงคริสตศตวรรษที่ 17 และ 18 หลายคน และที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือ John Locke, ได้พัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับสิทธิต่างๆ ตามธรรมชาติขึ้นมา โดยระบุว่า ผู้คนครอบครองสิทธิบางประการโดยคุณสมบัติความเป็นมนุษย์. แม้ว่า Locke เชื่อว่าสิทธิต่างๆ ตามธรรมชาติได้รับการสืบทอดมาจากพระผู้เป็นเจ้า เนื่องจากมนุษย์ได้รับการสร้างสรรค์จากพระผู้เป็นเจ้านั่นเอง. แนวคิดของเขาถือเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาเกี่ยวกับความคิดสมัยใหม่ในเรื่องสิทธิมนุษยชนด้านต่างๆ. สิทธิตามธรรมชาติแนว Lockean (เป็นสากล กล่าวคือ)มิได้วางใจหรือเชื่อมั่นในความเป็นพลเมืองหรือกฎหมายใดๆ เกี่ยวกับรัฐ และไม่มีความจำเป็นที่จะถูกจำกัดกับชาติพันธุ์ใด หรือกลุ่มวัฒนธรรมหรือศาสนาใดโดยเฉพาะ

การปฏิวัติที่สำคัญ 2 ครั้ง ซึ่งเกิดขึ้นในศตวรรษนั้น ที่สหรัฐฯ (1776) และที่ประเทศฝรั่งเศส(1789)

- คำประกาศเวอร์จีเนียเกี่ยวกับเรื่องสิทธิต่างๆ ปี ค.ศ.1776 ได้ก่อให้เกิดสิทธิขั้นพื้นฐานจำนวนมากและอิสรภาพ. การประกาศอิสรภาพต่อมาของสหรัฐฯ รวมถึง แนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับสิทธิตามธรรมชาติ และถ้อยความอันมีชื่อเสียงที่ว่า "มนุษย์ทุกคนต่างได้รับการสรรค์สร้างขึ้นมาเสมอภาคกัน ซึ่งพวกเขาได้รับการมอบให้โดยพระผู้สร้างของพวกเขา ด้วยสิทธิบางอย่างที่ไม่อาจขายหรือโอนย้ายแก่กันได้ ซึ่งท่ามกลางสิ่งเหล่านี้คือชีวิต, เสรีภาพ และการมีความสุข"

- ในทำนองเดียวกัน คำประกาศฝรั่งเศสเกี่ยวกับสิทธิต่างๆ ของผู้คนและพลเมือง ได้กำหนดนิยามสิทธิปัจเจกชนและสิทธิของกลุ่มชนขึ้นมาชุดหนึ่ง. คำประกาศเหล่านี้ถูกถือว่าเป็นสากล มิใช่เพียงกับพลเมืองฝรั่งเศสเท่านั้น แต่มันเป็นสิทธิสำหรับมนุษย์ทุกคนโดยไม่มีข้อยกเว้น

สิทธิมนุษยชน: จาก ค.ศ.1800 ถึง สงรามโลกครั้งที่ 1 (1800AD to World War I)
คำประกาศเกี่ยวกับสิทธิต่างๆ ของมนุษย์และพลเมือง ซึ่งได้รับการให้สัตยาบันโดย the National Assembly of France (การประชุมแห่งชาติฝรั่งเศส), วันที่ 26 สิงหาคม 1789

บรรดานักปรัชญา อย่างเช่น Thomas Paine, John Stuart Mill และ Hegel ได้มีการขยายขอบเขตเรื่องความเป็นสากลในช่วงระหว่างคริสตศตวรรษที่ 18-19. ในปี ค.ศ.1831 William Lloyd Garrison ได้เขียนบทความลงหนังสือพิมพ์เรื่อง "นักเสรีภาพ" ซึ่งใจความสำคัญของเขาพยายามที่จะขอการสนับสนุนจากบรรดาผู้อ่านทั้งหลายในการก่อเกิดอันยิ่งใหญ่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนต่างๆ". สำหรับศัพท์คำว่าสิทธิมนุษยชน เป็นไปได้ที่ถูกนำมาใช้เป็นครั้งคราวระหว่าง สิทธิต่างๆ ของมนุษย์ของ Paine และงานตีพิมพ์ของ Garrison.

ในปี 1849 บุคคลร่วมสมัยคนหนึ่งนาม Henry David Thoreau (*), ได้เขียนเกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชนในความเรียงของเขา On the Duty of Civil Disobedience ซึ่งภายหลังได้ส่งอิทธิพลต่อบรรดานักคิดด้านสิทธิมนุษยชน และสิทธิพลเมืองทั้งหลาย. ผู้พิพากษาศาลสูงสหรัฐฯ David Davis, ในความเห็นของเขาปี ค.ศ. 1867 สำหรับคดี Ex Parte Milligan (**), เขียนว่า "โดยการปกป้องของกฎหมาย สิทธิมนุษยชนอยู่ในความปลอดภัย การถอดถอนการคุ้มครองนั้นจะทำให้ผู้คนอยู่ในความเมตตาของนักปกครองผู้โหดราย หรือเสียงเซ็งแซ่และความสับสนอลหม่านของผู้คนที่ตื่นตกใจ"
(*)Henry David Thoreau (July 12, 1817 - May 6, 1862; born David Henry Thoreau[1]) was an American author, naturalist, transcendentalist, tax resister, development critic, and philosopher who is best known for Walden, a reflection upon simple living in natural surroundings, and his essay, Civil Disobedience, an argument for individual resistance to civil government in moral opposition to an unjust state.

(**)Ex parte Milligan, 71 U.S. 2 (1866), was a United States Supreme Court case that ruled suspension of Habeas Corpus by President Abraham Lincoln as constitutional.
Lambdin P. Milligan and four others were accused of planning to steal Union weapons and invade Union prisoner-of-war camps. Once the first prisoner of war camp was liberated they planned to use the liberated soldiers to help fight against the Government of Indiana and free other camps of Confederate soldiers. They also planned to take over the state governments of Indiana, Ohio, and Michigan. When the plan leaked, they were charged, found guilty, and sentenced to hang by a military court in 1864. However, their execution was not set until May 1865, so they were able to argue the case after the Civil War ended. (ผู้สนใจคลิกอ่านเพิ่มเติมใน http://en.wikipedia.org/wiki/Ex_Parte_Milligan)

กลุ่มคนจำนวนมากและขบวนการเคลื่อนไหวต่างๆ ในคริสตศตวรรษที่ 20 ได้ก่อให้เกิดความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอันลึกซึ้งบนเส้นทางของสิทธิมนุษยชนต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น

- ในยุโรปตะวันตกและอเมริกาเหนือ สหภาพแรงงานจำนวนมาก ได้ทำให้เกิดกฎหมายหลายฉบับที่ยินยอมให้บรรดาคนงานทั้งหลายมีสิทธิ์ที่จะประท้วงหรือสไตร์ค, สร้างเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคการทำงานน้อยที่สุด, และห้ามหรือมีการกำหนดกะเกณฑ์เกี่ยวกับแรงงานเด็ก

- ขบวนการเคลื่อนไหวสิทธิสตรีประสบความสำเร็จในการได้มาซึ่งสิทธิต่างๆ ของผู้หญิงจำนวนมากในการออกเสียง

- ขบวนการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับอิสรภาพ เสรีภาพระดับชาติในประเทศต่างๆ ประสบความสำเร็จในการขับไล่ไสส่งอำนาจของอาณานิคมออกไป หนึ่งขบวนการดังกล่าวซึ่งมีอิทธิพลมากที่สุดก็คือ ความเคลื่อนไหวของมหาตมะ คานธี เพื่อปลดปล่อยชนพื้นเมืองอินเดียให้เป็นอิสระจากการปกครองของอังกฤษ

- ขบวนการเคลื่อนไหวต่างๆ เกี่ยวกับการกดขี่ทางเชื้อชาติและชนกลุ่มน้อยทางศาสนา ได้ประสบความสำเร็จในหลายๆ ส่วนของโลก

- ท่ามกลางชัยชนะเหล่านั้น รวมถึงขบวนการเคลื่อนไหวด้านสิทธิพลเมือง และเร็วๆ นี้ เกี่ยวกับขบวนการเคลื่อนไหวด้านอัตลักษณ์ทางการเมืองอย่างหลากหลาย ในนามของผู้หญิงและชนกลุ่มน้อยในสหรัฐอเมริกา

- การก่อตั้งเกี่ยวกับคณะกรรมการกาชาดสากลในปี ค.ศ.1864, Lieber Code (*) และการประชุมเจนีวาครั้งแรกในปี ค.ศ.1864 นำไปสู่รากฐานต่างๆ เกี่ยวกับกฎหมายมนุษยธรรมสากล และได้รับการพัฒนาต่อมาในช่วงสงรามโลกครั้งที่ 2

(*)The Lieber Code of April 24, 1863, also known as Instructions for the Government of Armies of the United States in the Field, General Order No. 100, or Lieber Instructions, was an instruction signed by President Abraham Lincoln to the Union Forces of the United States during the American Civil War that dictated how soldiers should conduct themselves in war time. It was named after the German-American jurist and political philosopher Francis Lieber.

The main sections were concerned with martial law, military jurisdiction, treatment of spies and deserters, and how prisoners of war should be treated.

Ethical treatment: The document insisted upon the humane, ethical treatment of populations in occupied areas. It was the first expressly codified law that expressly forbade giving "no quarter" to the enemy (killing prisoners of war), except in such cases when the survival of the unit that held these prisoners was threatened. As such, it is widely considered to be the precursor to the Geneva Convention.

สิทธิมนุษยชน: ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 (Between World War I and World War II)
สันนิบาตแห่งชาติ(The League of Nations)ได้รับการสถาปนาขึ้นในปี ค.ศ.1919 โดยการเจรจาต่อรองบนสนธิสัญญา the Treaty of Versailles หลังการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ 1 . เป้าหมายของสันนิบาตดังกล่าว ประกอบด้วย การลดกำลังอาวุธและกำลังทหาร การป้องกันสงครามผ่านเครือข่ายความปลอดภัย มีการวางรากฐานข้อถกเถียงต่างๆ ระหว่างประเทศ ผ่านการเจรจาต่อรอง, วิธีทางการทูต, และการปรับปรุงด้านสวัสดิการของโลก, มีการให้ความเคารพต่อกฎบัตรของมัน ซึ่งคือข้อบัญญัติที่ให้การส่งเสริมสิทธิต่างๆ จำนวนมาก และต่อมาได้รวมถึงคำประกาศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนสากลเอาไว้ด้วย

สันนิบาตแห่งชาติมีบทบัญญัติต่างๆ ซึ่งให้การสนับสนุนเกี่ยวกับประเทศภายใต้อาณานิคมก่อนหน้านี้ของมหาอำนาจยุโรปตะวันตก โดยการเปลี่ยนผ่านจากความเป็นอาณานิคมไปสู่อิสรภาพหรือรัฐเอกราช และได้รับการก่อตัวขึ้นมาในฐานะที่เป็นตัวแทนสันนิบาตแห่งชาติ ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ, ส่วนองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (the International Labour Organization - ILO) ก็มีบทบัญญัติที่ให้การส่งเสริมและการคุ้มครองสิทธิต่างๆ บางอย่างด้านแรงงาน ซึ่งต่อมาภายหลังถูกรวมอยู่ในคำประกาศ UDHR: Universal Declaration of Human Rights:

"เป้าหมายอย่างแรกของ ILO ทุกวันนี้ก็คือ การส่งเสริมผู้หญิงและผู้ชายให้เข้าถึงงานที่มีเกียรติและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในเงื่อนไขต่างๆ ของอิสรภาพ, ความเสมอภาค, ความปลอดภัย, และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์".
รายงานโดยผู้อำนวยการทั่วไปของการประชุมแรงงานสากล สมัยประชุมครั้ง 87
(Report by the Director General for the International Labour Conference 87th Session)

สิทธิมนุษยชน: ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (After World War II)
สิทธิต่างๆ ในสงคราม และการประชุมเจนีวาต่างๆ
(Rights in War and the Geneva Conventions)
ในฐานะผลลัพธ์อันหนึ่งของความพยายามโดย Henry Dunant, ผู้ก่อตั้งคณะกรรมการกาชาดสากล, การประชุมเจนีวาต่างๆ ถือกำเนิดขึ้นช่วงระหว่างปี 1864-1949. การประชุมเหล่านั้นได้ให้การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของบรรดาปัจเจกชนทั้งหลายที่เกี่ยวพันกับความขัดแย้ง และดำเนินรอยตามการประชุมที่กรุงเฮกปี 1899 และ 1907, ซึ่งเป็นความพยายามครั้งแรกของชุมชนระหว่างประเทศที่จะกำหนดนิยามกฎหมายต่างๆ เกี่ยวกับสงครามขึ้น. แม้ว่านับแต่แรกจะมีการวางกรอบขึ้นมาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่การประชุมต่อมาก็ได้รับการแก้ไขปรับปรุง ในฐานะที่เป็นผลลัพธ์หนึ่งของสงครามโลกครั้งที่ 2 และถูกนำมาใช้อีกครั้งโดยชุมชนนานาชาติในปี ค.ศ.1949

การประชุมเจนีวาต่างๆ:

- การประชุมเจนีวาครั้งแรก (First Geneva Convention)
"เพื่อการปรับปรุงสภาพเงื่อนไขเกี่ยวกับกำลังทหารที่ได้รับบาดเจ็บและความป่วยไข้ในสนามรบ"(รับมาครั้งแรกในปี ค.ศ.1864, ปรับปรุงแก้ไขครั้งหลังสุดในปี ค.ศ.1949)

- การประชุมเจนีวาครั้งที่สอง (Second Geneva Convention)

"เพื่อการปรับปรุงเกี่ยวกับสภาพเงื่อนไขของสมาชิกต่างๆ ของกำลังรบในท้องทะเลที่ได้รับบาดเจ็บ, ล้มป่วย และการสูญเสียทางเรือ (รับรองครั้งแรกในปี ค.ศ.1949 ซึ่งรับช่วงมาจากการประชุมที่กรุงเฮก ปี 1907)

- การประชุมเจนีวาครั้งที่สาม (Third Geneva Convention)
"เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อเชลยศึกสงครามต่างๆ (รับมาครั้งแรกในปี ค.ศ.1929, ปรับปรุงครั้งสุดท้ายเมื่อปี ค.ศ.1949)

- การประชุมเจนีวาครั้งที่สี่ (Fourth Geneva Convention)
"เกี่ยวข้องกับการปกป้องคุ้มครองพลเรือนในภาวะสงคราม (รับรองครั้งแรกในปี ค.ศ.1949 โดยมีพื้นฐานอยู่บนภาคส่วนต่างๆ เกี่ยวกับการประชุมที่กรุงเฮก ครั้งที่ 4 ปี 1907)

นอกจากนี้ ยังมีการแก้ไขเพิ่มเติมสนธิสัญญาต่างๆ เกี่ยวกับการประชุมเจนีวาอีก 3 ข้อ นั่นคือ

- สนธิสัญญาข้อที่ 1. (1977) สนธิสัญญาเพิ่มเติมการประชุมที่เจนีวา วันที่ 12 สิงหาคม 1949 และเกี่ยวกับการปกป้องบรรดาเหยื่อของความขัดแย้งทางการทหารระหว่างประเทศ. และวันที่ 12 กันยายน 2007 สนธิสัญญาดังกล่าวได้รับการให้สัตยาบันจาก 167 ประเทศ

- สนธิสัญญาข้อ 2. (1977)
สนธิสัญญาเพิ่มเติมการประชุมที่เจนีวา วันที่ 12 สิงหาคม 1949 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการปกป้องคุ้มครองเหยื่อต่างๆ ของความขัดแย้งด้านการทหาร แต่ไม่ใช่ความขัดแย้งระหว่างประเทศ และวันที่ 12 มกราคม 2007 ได้รับการให้สัตยาบันจาก 163 ประเทศ

- สนธิสัญญาข้อ 3. (1977) สนธิสัญญาเพิ่มเติมการประชุมที่เจนีวา วันที่ 12 สิงหาคม 1949 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการยอมรับเกี่ยวกับตราสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายต่างๆ เพิ่มเติม. มิถุนายน 2007 ได้รับการให้สัตยาบันจาก 17 ประเทศและลงนาม แต่ไม่ให้สัตยาบันจาก 68 ประเทศ

การประชุมทั้งหมด 4 ครั้ง ได้รับการปรับแก้ครั้งล่าสุดและลงสัตยาบันในปี 1949, มีรากฐานอยู่บนการแก้ไขก่อนหน้า และบางส่วนในช่วงการประชุมต่างๆ ที่กรุงเฮกปี ค.ศ.1907. การประชุมในครั้งต่อๆ มาได้เพิ่มเติมข้อกำหนต่างๆ เกี่ยวกับการปกป้อง ขัดขวาง วิธีการทำสงครามบางอย่าง และพูดถึงประเด็นปัญหาเกี่ยวกับสงครามกลางเมืองทั้งหลาย. เกือบ 200 ประเทศของโลกได้มีการลงนามรับรอง ซึ่งได้ให้สัตยาบันเกี่ยวกับการประชุมเหล่านี้. คณะกรรมการกาชาดสากลได้เข้ามาทำหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับการประชุมเจนีวาต่างๆ

คำประกาศสิทธิมนุษยชนสากล (Universal Declaration of Human Rights)
"มันไม่ใช่เพียงแค่สนธิสัญญาฉบับหนึ่ง… (ในอนาคต, มัน)อาจกลายเป็นธรรมนูญแม็กนา คาร์ตาสากล".
(Eleanor Roosevelt ตัวบทภาษาสเปนของคำประกาศสากลในปี 1949 with the Spanish text of the Universal Declaration in 1949)

การตกอยู่ในสภาพของความหวาดกลัว พรั่นพรึง และตื่นตกใจโดยความป่าเถื่อนแห่งสงครามโลกครั้งที่ 2, ทำให้สมัชชาสหประชาชาติได้ให้การยอมรับคำประกาศสิทธิมนุษยชนสากลในปี 1948. คำประกาศสิทธิมนุษยชนสากล หรือ The Universal Declaration of Human Rights (อักษรย่อ UDHR) เป็นคำประกาศที่ไม่มีข้อผูกมัดซึ่งถูกรับมาโดยสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ (A/RES/217, 1948-12-10 at Palais de Chaillot, Paris). The UDHR ผลักดันชาติสมาชิกให้การส่งเสริมเรื่องสิทธิมนุษยชน, สิทธิพลเมือง, สิทธิทางเศรษฐกิจ และสิทธิทางสังคม, การยืนยันในสิทธิต่างๆ เหล่านี้ คือส่วนหนึ่งของรากฐานเกี่ยวกับอิสรภาพ, ความยุติธรรม, และสันติภาพในโลก". คำประกาศดังกล่าวถือเป็นความพยายามทางกฎหมายระหว่างประเทศครั้งแรก ที่จะจำกัดพฤติกรรมของรัฐต่างๆ และกดดันรัฐทั้งหลายให้ทำหน้าที่ต่อพลเมืองของตนตามแบบจำลองของสิทธิในด้านต่างๆ เหล่านี้

" ...การยอมรับเกี่ยวกับเกียรติ ศักดิ์ศรีที่มีอยู่แต่เดิม และความเสมอภาค และสิทธิต่างๆ ที่ไม่อาจโอนย้ายให้แก่กันได้ของมวลสมาชิกครอบครัวมนุษยชาติ นั่นคือรากฐานของอิสรภาพ ความยุติธรรม และสันติภาพของโลก"
(บทนำ คำประกาศสิทธิมนุษยชน 1948)

คำประกาศ UDHR ได้รับการค้นคว้า วิจัย และเขียนขึ้นโดยคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศในประเด็นปัญหาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนต่างๆ, รวมถึงบรรดาตัวแทนจากประเทศทั้งหลายและศาสนาหลักๆ ทั้งหมด และได้รับการร่างขึ้นในการประชุมหารือกับผู้นำทั้งมวล ยกตัวอย่างเช่น มหาตมะ คานธี. ศาสตราจาย์ทางกฎหมายชาวคานาดา John Humphrey, หนึ่งในผู้เขียนที่สำคัญเกี่ยวกับคำประกาศ UDHR, รับรองว่า มันได้รวมเอาทั้งสิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง และเศรษฐกิจไว้, ตลอดรวมถึงสิทธิทางวัฒนธรรมและสังคมด้วย. ทั้งหมดได้รับการยืนยันอยู่บนสมมุติฐานที่ว่า สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานเป็นสิ่งที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ และแบบฉบับที่แตกต่างของสิทธิด้านต่างๆ ที่ได้รับการจดบันทึก ล้วนได้รับการเชื่อมโยงกันอย่างแนบแน่น. แม้ว่าหลักการอันนี้ไม่ถูกคัดค้านโดยรัฐสมาชิกทั้งหลายในช่วงที่มีการรับรอง (คำประกาศดังกล่าวได้ถูกรับรองอย่างเป็นเอกฉันท์, โดยกลุ่มสหภาพโซเวียตงดออกเสียง รวมทั้งแอฟริกาใต้ที่มีนโยบายแบ่งแยกผิว และซาอุดิ อาราเบีย) แต่หลักการอันนี้ต่อมากลายเป็นประเด็นที่มีความท้าทายอย่างมีนัยสำคัญ

ไม่นานหลังการเริ่มต้นของสงครามเย็น ภายหลังคำประกาศ UDHR ได้ถูกคิดและทำความเข้าใจ และนำไปสู่การแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย

- สิทธิทางเศรษฐกิจ,
- สิทธิทางสังคม,
- สิทธิพลเมือง, และ
- สิทธิทางการเมือง

ในคำประกาศดังกล่าว. รัฐทุนนิยมต่างๆ มีแนวโน้มที่จะวางจุดเน้นไปในเรื่องสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ยกตัวอย่างเช่น อิสรภาพเกี่ยวกับการรวมตัวกัน เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และการแสดงออก) และไม่เต็มใจนักที่จะรวมเอาเรื่องสิทธิทางเศรษฐกิจและสิทธิทางสังคม (ยกตัวอย่างเช่น สิทธิในการทำงาน และสิทธิในการรวมตัวกันเป็นสหภาพฯ ไว้ด้วย). รัฐสังคมนิยมทั้งหลาย ได้วางความสำคัญไปในเรื่องสิทธิทางเศรษฐกิจและสังคมค่อนข้างมาก และให้เหตุผลอย่างแข็งขันสำหรับข้อสรุปของพวกเขา

บรรดาผู้ที่เขียนคำประกาศ UDHR และรัฐต่างๆ จำนวนมากต้องการที่จะไปพ้นจากคำประกาศเรื่องสิทธิต่างๆ และสร้างสรรค์ข้อตกลงร่วมกันทางกฎหมาย ซึ่งจะเพิ่มแรงกดดันมากขึ้นแก่รัฐทั้งหลายให้ดำเนินรอยตามบรรทัดฐานต่างๆ ด้านสิทธิมนุษยชน. เนื่องจากการแบ่งแยกเรื่องสิทธิออกเป็นด้านต่างๆ และเพราะว่าบางรัฐปฏิเสธที่จะให้สัตยาบันสนธิสัญญาใดๆ รวมถึงสิทธิบางอย่าง (ยกตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกาปฏิเสธที่จะให้สัตยาบันสนธิสัญญาใดๆ ที่รวมถึงสิทธิให้มีการบังคับใช้ในเรื่องเศรษฐกิจและสังคมในเชิงกฎหมาย). ส่วนกลุ่มสหภาพโซเวียต และประเทศกำลังพัฒนาจำนวนมากให้เหตุผลอย่างแข็งขันให้มีการรวมเอาสิทธิทั้งหมดเข้ามาในการลงมติเอกฉันท์. โดยเหตุนี้ สิทธิต่างๆ ซึ่งได้รับการปกป้องในคำประกาศ UDHR จึงถูกแบ่งแยกออกเป็น 2 ส่วนของข้อตกลง โดยการยินยอมให้รัฐต่างๆ รับรองสิทธิบางอย่าง และลดความสำคัญสิทธิบางอย่างลง. แม้ว่านี่จะยินยอมให้ข้อตกลงต่างๆ ได้รับการสร้างขึ้น แต่มันก็ได้ไปล้มล้างหลักการสำคัญดังกล่าว ซึ่งสิทธิทั้งหมดได้ถูกเชื่อมโยงเข้าไว้ด้วยกัน อันเป็นแกนกลางของคำประกาศสิทธิมนุษยชนนี้

แม้คำประกาศสิทธิมนุษยชนสากลจะเป็นการลงมติแบบไม่มีข้อผูกมัด แต่ปัจจุบันมันได้รับการพิจารณาในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายจารีตประเพณีสากลไปแล้ว ซึ่งอาจถูกปลุกขึ้นมาใช้ภายใต้สถานการณ์ที่เหมาะสม โดยการพิจารณาคดีระดับชาติหรืออื่นๆ

ตัวบทและอนุสัญญาต่างๆ ทางด้านสิทธิมนุษยชน
ในปี ค.ศ.1966 กติกาสากลในเรื่องสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง - the International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR) และ กติกาสากลในเรื่องสิทธิทางเศรษฐกิจ, สังคม และวัฒนธรรม - the International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights (ICESCR) ได้ถูกยอมรับโดยองค์การสหประชาชาติ มีการทำให้สิทธิต่างๆ เหล่านี้บรรจุอยู่ในคำประกาศ UDHR โดยการผูกมัดกับรัฐทั้งมวล (แต่ไม่รวมวาติกันเข้าไว้ด้วย แม้ว่าจะเป็นที่ยอมรับในฐานะที่เป็นรัฐอิสระหนึ่ง แต่ไม่ได้เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาติ). อย่างไรก็ตาม กติกาเหล่านี้ มามีผลบังคับใช้ในปี 1976 เมื่อมันได้รับการลงสัตยาบันโดยเสียงของประเทศต่างๆ จำนวนมากพอ (แม้ว่าเรื่องของ ICCPR จะเป็นที่ยอมรับ แต่กติกานี้มิได้รวมเอา ICESCR หรือสิทธิทางเศรษฐกิจ หรือสังคมไว้ด้วย เพราะสหรัฐอเมริกาเพียงแต่ยอมลงสัตยาบันกับ ICCPR เท่านั้นในปี 1992). สำหรับ ICESCR ผูกพันกับ 155 ประเทศ ต้องให้การสนับสนุนเรื่องสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมกับบรรดาปัจเจกชนทั้งหลาย

นับจากนั้นมา ตัวบทต่างๆ (บทบัญญัติทางกฎหมาย) ได้ถูกนำเสนอในระดับนานาชาติ โดยทั่วไป พวกมันถูกรู้จักในฐานะเครื่องมือต่างๆ ด้านสิทธิมนุษยชน(human rights instruments). และในบรรดาเครื่องมือเหล่านี้ ที่สำคัญมากคือ

- อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและการลงโทษเกี่ยวกับอาชญากรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Convention on the Prevention and Punishment of the Crime of Genocide) (ยอมรับในปี 1948 และมีผลบังคับใช้ในปี 1951)

- อนุสัญญาว่าด้วยการกำจัดเกี่ยวกับการกีดกันทางเชื้อชาติทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination) (CERD) (ยอมรับในปี 1966 มีผลบังคับใช้ในปี 1969)

- อนุสัญญาว่าด้วยการกำจัดเกี่ยวกับการกีดกันผู้หญิงทุกรูปแบบ (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women) (CEDAW) (ยอมรับและมีผลบังคับใช้ในปี ค.ศ.1981)

- อนุสัญญาสหประชาชาติที่ต่อต้านการทรมาน (United Nations Convention Against Torture) (CAT) (ยอมรับในปี 1984, มีผลบังคับใช้ในปีเดียวกัน)

- อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กต่างๆ (Convention on the Rights of the Child) (CRC) (ยอมรับในปี 1989, และมีผลบังคับใช้ในปีเดียวกัน)

- อนุสัญญาระหว่างประเทศในการปกป้องเกี่ยวกับสิทธิแรงงานอพยพ และสมาชิกครอบครัวของพวกเขา (International Convention on the Protection of the Rights of All Migrant Workers and Members of their Families) (ICRMW) (ยอมรับในปี 1990)

- กฎข้อบังคับโรม เกี่ยวกับศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศ (Rome Statute of the International Criminal Court) (ICC) (มีผลบังคับใช้ในปี 2002)

มาตราต่างๆ ของ คำประกาศของสิทธิมนุษยชนสากล
ในที่นี้ มาตราต่างๆ ของคำประกาศสิทธิมนุษยชนสากล ได้แบ่งออกเป็นข้อๆ เพื่อความชัดเจนใน 3 ประเด็น ประกอบด้วย

- หลักการทั่วไป - General Principles
- สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง - Civil and Political Rights.
- สิทธิทางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ - Social, Cultural and Economic Rights.

1. หลักการทั่วไป (General Principles)
มาตราที่ 1: ความสัมพันธ์-การพึ่งพากันทางชาติพันธุ์และมนุษยธรรม, มาตราที่ 2: สิทธิต่างๆ ที่เป็นสากล, มาตราที่ 28: ระเบียบทางสังคม, มาตราที่ 29: ความรับผิดชอบทางสังคม, มาตราที่ 29.2: ข้อจำกัดต่างๆ เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน, มาตราที่ 29.3: วัตถุประสงค์และหลักการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ, มาตราที่ 30: คำประกาศนี้จะไม่ถูกตีความโดยนัยยะสำหรับรัฐใด กลุ่มใด หรือบุคคลใด ให้มีสิทธิในกิจกรรมใด หรือการปฏิบัติที่จะกระทำโดยมีจุดมุ่งหมายในการทำลายสิทธิ และอิสรภาพต่างๆ ที่ได้มีการบัญญัติไว้ในที่นี้

(Article 1: Ethic of reciprocity and Humanism - Article 2: Universality of rights - Article 28: Social order - Article 29.1: Social responsibility - Article 29.2: Limitations of human rights - Article 29.3: The supremacy of the purposes and principles of the United Nations - Article 30: Nothing in this Declaration may be interpreted as implying for any State, group or person any right to engage in any activity or to perform any act aimed at the destruction of any of the rights and freedoms set forth herein.)

2. สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (Civil and Political Rights)
ตัวบท: กติการะหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
มาตราที่ 3: สิทธิเกี่ยวกับชีวิต เสรีภาพ และความปลอดภัยของบุคคล, มาตราที่ 4: อิสรภาพจากความเป็นทาส, มาตราที่ 5: อิสรภาพจากการทรมาน และการกระทำทารุณ การลงโทษที่ผิดปกติ, มาตราที่ 6: สิทธิความเป็นบุคคล, มาตราที่ 7: ความเสมอภาคที่ดำรงอยู่ก่อนกฎหมาย, มาตราที่ 8: สิทธิการได้รับการเยียวยาอย่างมีประสิทธิภาพจากกฎหมาย, มาตราที่ 9: อิสรภาพจากการจับกุมโดยมิชอบ การกักกัน และการเนรเทศ, มาตราที่ 10: สิทธิในการได้รับการไต่สวนอย่างยุติธรรม, มาตราที่ 11.1: สิทธิในการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์, มาตราที่ 11.2: ห้ามมีการใช้กฎหมายย้อนหลัง, มาตราที่ 12: สิทธิความเป็นส่วนตัว, มาตราที่ 13: อิสรภาพในการเคลื่อนไหว, มาตราที่ 14: สิทธิในการลี้ภัย, มาตราที่ 15: สิทธิการมีสัญชาติ, มาตราที่ 16: สิทธิในการแต่งงานและการมีครอบครัว, มาตราที่ 17: สิทธิในทรัพย์สิน, มาตราที่ 18: เสรีภาพทางความคิด ความรู้สึกในมโนธรรม และการนับถือศาสนา, มาตราที่ 19: เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก, มาตราที่ 20.1: เสรีภาพในการชุมนุม, มาตราที่ 20.2: อิสรภาพในการสมาคม, มาตราที่ 21.1: สิทธิการมีส่วนร่วมในรัฐบาล, มาตราที่ 21.2: สิทธิเสมอภาคในการเข้าถึงหน่วยงานสาธารณะ, มาตราที่ 21.3: สิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป

Article 3: Right to life, liberty and security of person - Article 4: Freedom from slavery - Article 5: Freedom from torture and cruel, unusual punishment - Article 6: Right to personhood - Article 7: Equality before the law - Article 8: Right to effective remedy from the law - Article 9: Freedom from arbitrary arrest, detention, and exile - Article 10: Right to fair trial - Article 11.1: Presumption of innocence - Article 11.2: Prohibition of retrospective law - Article 12: Right to Privacy - Article 13 Freedom of movement - Article 14: Right of asylum - Article 15: Right to a nationality - Article 16: Right to marriage and family life - Article 17: Right to property - Article 18: Freedom of thought, conscience, and religion - Article 19: Freedom of opinion and expression - Article 20.1: Freedom of assembly - Article 20.2: Freedom of association - Article 21.1: Right to participation in government - Article 21.2: Right of equal access to public office - Article 21.3: Right to universal suffrage

3. สิทธิทางสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ (Social, Cultural and Economic Rights)
มาตราที่ 22: สิทธิด้านความปลอดภัยทางสังคม, มาตราที่ 23.1: สิทธิในการทำงาน, มาตราที่ 23.2: สิทธิในการได้รับค่าจ้างเท่ากันในงานอย่างเดียวกัน, มาตราที่ 23.3: สิทธิในการได้รับค่าตอบแทนอย่างยุติธรรม, มาตราที่ 23.4: สิทธิในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน, มาตราที่ 24: สิทธิในการพักผ่อนและมีเวลาว่าง, มาตราที่ 25.1: สิทธิในมาตรฐานความเป็นอยู่ที่เหมาะสม, มาตราที่ 25.2: สิทธิดูแลเป็นพิเศษและให้การช่วยเหลือแม่และเด็ก, มาตราที่ 26.1: สิทธิในการศึกษา, มาตราที่ 26.2: การสนับสนุนเสรีภาพทางการศึกษา, มาตราที่ 26.3: สิทธิในการเลือกการศึกษา, มาตราที่ 27.1: สิทธิในการมีส่วนร่วมทางวัฒนธรรม, มาตราที่ 27.2: สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา

Article 22: Right to social security - Article 23.1: Right to work - Article 23.2: Right to equal pay for equal work - Article 23.3: Right to just remuneration - Article 23.4: Right to join a trade union - Article 24: Right to rest & leisure - Article 25.1: Right to an adequate standard of living - Article 25.2: Right to special care and assistance for mothers and children - Article 26.1: Right to education - Article 26.2: Support for liberal education - Article 26.3: Right to choice of education - Article 27.1: Right to participate in culture - Article 27.2: Right to intellectual property

คลิกอ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษ เพิ่มเติมใน
http://en.wikipedia.org/wiki/Human_right#_note-31


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

References
Amnesty International (2004). Amnesty International Report. Amnesty International Publications. ISBN 0862103541 ISBN 1-887204-40-7

Alexander, Fran (ed) (1998). Encyclopedia of World History. Oxford University Press. ISBN 0198602235

Alston, Philip (2005). "Ships Passing in the Night: The Current State of the Human Rights and Development Debate seen through the Lens of the Millennium Development Goals". Human Rights Quarterly. Vol. 27 (No. 3) p.807

Arnhart, Larry (1998). Darwinian Natural Right: The Biological Ethics of Human Nature SUNY Press. ISBN 0791436934

Ball, Olivia; Gready, Paul (2007). The No-Nonsense Guide to Human Rights. New Internationalist. ISBN 1-904456-45-6

Barzilai, Gad. (2003). Communities and Law: Politics and Cultures of Legal Identities. Ann Arbor: University of Michigan Press. ISBN 0472113151

Chauhan, O.P. (2004). Human Rights: Promotion and Protection. Anmol Publications PVT. LTD. ISBN 812612119X.

Cook, Rebecca J.; Fathalla, Mahmoud F. (September 1996). "Advancing Reproductive Rights Beyond Cairo and Beijing". International Family Planning Perspectives Vol.22 (No.3): p.115-121

Davenport, Christian (2007a). State Repression and the Domestic Democratic Peace. New York: Cambridge University Press. ISBN 0521864909

Davenport, Christian (2007b). State Repression and Political Order. Annual Review of Political Science.

Donnelly, Jack. (2003). Universal Human Rights in Theory & Practice. 2nd ed. Ithaca & London: Cornell University Press. ISBN 0801487765

Ellerman, David (2005). Helping People Help Themselves: From the World Bank to an Alternative Philosophy of Development Assistance. Ann Arbor: University of Michigan Press. ISBN 0472031422

Esposito, John L. (2004). The Oxford Dictionary of Islam. Oxford University Press. ISBN 0195125592

Esposito, John L. (2005). Islam: The Staight Path. Oxford University Press. ISBN 0195182669

Finnis, John (1980). Natural Law and Natural Rights Oxford: Clarendon Press. ISBN 0198761104

Forsythe, David P. (2000). Human Rights in International Relations. Cambridge: Cambridge University Press. International Progress Organization. ISBN 3-900704-08-2

Forsythe, David P. (2005). The Humanitarians: The International Committee of the Red Cross Cambidge University Press. ISBN 0521848288

Freedman, Lynn P.; Isaacs, Stephen L. (Jan-Feb 1993). "Human Rights and Reproductive Choice". Studies in Family Planning Vol.24 (No.1): p.18-30

Ignatieff, Michael (2001). Human Rights as Politics and Idolatry. Princeton & Oxford: Princeton University Press. ISBN 0691088934

Glendon, Mary Ann (2001). A World Made New: Eleanor Roosevelt and the Universal Declaration of Human Rights. Random House of Canada Ltd. ISBN 0375506926

Haddad, Yvonne Yazbeck; Esposito, John L. (1998) Islam, Gender, and Social Change. Oxford University Press US. ISBN 0195113578

Hitchens, Christopher (2002). The Trial of Henry Kissinger. Verso. ISBN 1859843980
Houghton Miffin Company (2006). The American Heritage Dictionary of the English Language. Houghton Miffin. ISBN 0618701737

Jaffa, Harry V. (1979). Thomism and Aristotelianism; A Study of the Commentary by Thomas Aquinas on the Nicomachean Ethics Greenwood Press. ISBN 0313211493 (reprint of 1952 edition published by University of Chicago Press)

Jahn, Beate (2005). "Barbarian thoughts: imperialism in the philosophy of John Stuart Mill". Review of International Studies 13-06-2005 31: 599-618 Cambridge University Press

Jones, Lindsay. Encyclopedia of religion, second edition. ISBN 0-02-865742-X

Joseph, Suad; Najmabadi, Afsaneh (eds) (2007). Encyclopedia of Women & Islamic Cultures. Brill Publishing. ISBN 9004128182

Kennedy, Duncan (1982). Legal Education and the Reproduction of Hierarchy. Journal of Legal Education Vol.32 (No. 591)

Khadduri, Majid (1978). "Marriage in Islamic Law: The Modernist Viewpoints". American Journal of Comparative Law Vol. 26 (No. 2): pp. 213-218.

K?chler, Hans (1981). The Principles of International Law and Human Rights. hanskoechler.com

K?chler, Hans. (1990). "Democracy and Human Rights". Studies in International Relations, XV. Vienna: International Progress Organization.

Kohen, Ari (2007). In Defense of Human Rights: A Non-Religious Grounding in a Pluralistic World. Routledge. ISBN 0415420156 , ISBN 978-0415420150

Landman, Todd (2006). Studying Human Rights. Oxford and London: Routledge ISBN 0-415-32605-2

Lewis, Bernard (1992). Race and Slavery in the Middle East: An Historical Enquiry. Oxford University Press. ISBN 0195053265

Lewis, Bernard (21 January 1998). "Islamic Revolution". The New York Review of Books Vol.34 (Nos. 21 & 22)

Light, Donald W. (2002). "A Conservative Call For Universal Access To Health Care" Penn Bioethics Vol.9 (No.4) p.4-6

Littman, David (1999). "Universal Human Rights and 'Human Rights in Islam'". Midstream Magazine Vol. 2 (no.2) pp. 2-7

Maan, Bashir; McIntosh, Alastair (1999). "Interview with William Montgomery Watt" The Coracle Vol. 3 (No. 51) pp. 8-11.

Mayer, Henry (2000). All on Fire: William Lloyd Garrison and the Abolition of Slavery. St Martin's Press. ISBN 0312253672

McAuliffe, Jane Dammen (ed) (2005). Encyclopaedia of the Qur'an: vol 1-5 Brill Publising. ISBN 9004147438. ISBN 978-9004147430

McLagan, Meg (2003) "Principles, Publicity, and Politics: Notes on Human Rights Media". American Anthropologist. Vol. 105 (No. 3). pp. 605-612

Hershock, Peter D; Ames, R.T.; Stepaniants, M. (eds). Technology and Cultural Values on the Edge of the Third Millennium. (Selected papers from the 8 th East-West Philosophers Conference). Honolulu: U of Hawai'i Press, 2003. 209-221.

M?ller, Hans-Georg (2003). How to Distinguish Friends from Enemies: Human Rights Rhetoric and Western Mass Media.

Nathwani, Niraj (2003). Rethinking Refugee Law. Martinus Nijhoff Publishers. ISBN 9041120025

Paul, Ellen Frankel; Miller, Fred Dycus; Paul, Jeffrey (eds) (2001). Natural Law and Modern Moral Philosophy Cambridge University Press. ISBN 0521794609

Clayton, Philip; Schloss, Jeffrey (2004). Evolution and Ethics: Human Morality in Biological and Religious Perspective Wm. B. Eerdmans Publishing. ISBN 0802826954

Robertson, Arthur Henry; Merrills, John Graham (1996). Human Rights in the World: An Introduction to the Study of the International Protection of Human Rights. Manchester University Press. ISBN 0719049237.

Salevao, Lutisone (2005). Rule of Law, Legitimate Governance and Develoment in the Pacific. ANU E Press. ISBN 1920942556

Scott, C. (1989). "The Interdependence and Permeability of Human Rights Norms: Towards a Partial Fusion of the International Covenants on Human Rights". Osgood Law Journal Vol. 27

Sills, David L. (1968, 1972) International Encyclopedia of the Social Sciences. MacMillan.

Shellens, Max Salomon. 1959. "Aristotle on Natural Law." Natural Law Forum 4, no. 1. Pp. 72-100.

Schimmel, Annemarie (1992). Islam: An Introduction. SUNY Press. ISBN 0791413276

Sen, Amartya (1997). Human Rights and Asian Values. ISBN 0-87641-151-0.

Shute, Stephen & Hurley, Susan (eds.). (1993). On Human Rights: The Oxford Amnesty Lectures. New York: BasicBooks. ISBN 046505224X

Steiner, J. & Alston, Philip. (1996). International Human Rights in Context: Law, Politics, Morals. Oxford: Clarendon Press. ISBN 019825427X

Sunga, Lyal S. (1992) Individual Responsibility in International Law for Serious Human Rights Violations, Martinus Nijhoff Publishers. ISBN 0792314530

Tahir-ul-Qadri, Muhammad (2005), Huquq al Insania fil Islam (Human Rights in Islam). Minhaj Publishers. 365-M-Model

Tierney, Brian (1997). The Idea of Natural Rights: Studies on Natural Rights, Natural Law, and Church Law. Wm. B. Eerdmans Publishing. ISBN 0802848540

Tunick, Mark (2006). "Tolerant Imperialism: John Stuart Mill's Defense of British Rule in India". The Review of Politics 27-10-2006 68: 586-611 Cambridge University Press

Vaughn, Karen I. (1978) "John Locke and the Labor Theory of Value" Journal of Libertarian Studies. Vol. 2 (No. 4) pp.311-326

 


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน


นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ หรือถัดจากนี้สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

คิดต่างในเชิงสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ดีกว่าและเสรีภาพ
03 January 2008
Free Documentation License
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
ภายใต้แนวคิดอิสลาม ช่วงระหว่างปี ๖๑๐ และ ๖๖๑ รวมถึงยุคพันธกิจของพระศาสดามุฮัมหมัด และการปกครองของผู้สืบทอดอำนาจโดยตรงทั้งสี่. บรรดานักประวัติศาสตร์ โดยทั่วไป ต่างยอมรับว่าพระศาสดามุฮัมหมัดได้ทรงเทศนาสั่งสอนไปในทางขัดที่พระองค์ทรงเห็นว่า เป็นความชั่วร้ายของสังคมในวันเวลาดังกล่าว และการปฏิรูปสังคมอิสลามในพื้นที่ต่างๆ อย่างเช่น ความปลอดภัยทางสังคม, โครงสร้างครอบครัว,ระบบทาส, และสิทธิของผู้หญิงและชาติพันธุ์ชนกลุ่มน้อยทั้งหลาย ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น ในสังคมอาหรับที่เป็นอยู่ในยุคนั้น
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream