โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๔๔๕ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๐ (December, 25, 12, 2007) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

25-12-2550

Manual & Authoritarian
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com

 

 

ทบทวนบทบรรยายเพื่อความถูกต้อง ยกมาจากบทความที่ ๑๔๒๓ เรื่องที่ ๒
รายงาน: ปฏิบัติการของอำนาจผ่านตำรา ภาคปัจฉิมลิขิต
เคร็ก เจ เรย์โนลด์ส : บรรยาย
สาขาสังคมศาสตร์และประวัติศาสตร์เอเชีย มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย
ตามไท ดิลกวิทยรัตน์ : บรรณาธิการ

บทบรรยายนี้ ได้เคยเผยแพร่แล้วในลำดับ ๑๔๒๓ เรื่อง
สยามประเทศ: ทบทวนกฎหมายหมิ่นฯ อำนาจผ่านตำราและแผนที่คนไทย
ในส่วนที่ ๒. รายงาน : ปฏิบัติการของอำนาจผ่านตำรา"โดย เคร็ก เจ เรย์โนลด์ส
เนื่องจากขณะกองบรรณาธิการตรวจทานต้นฉบับ เกิดข้อสงสัยบางประการ
จึงได้เรียนปรึกษา รศ.สายชล สัตยานุรักษ์ และอาจารย์ได้กรุณาส่งต้นฉบับไปให้ผู้บรรยายตรวจสอบ
โดย อ.ตามไท ดิลกวิทยรัตน์ เป็นบรรณาธิการ จึงได้รับบทบรรยายฉบับแก้ไขกลับคืนมา

กองบรรณาธิการขอขอบพระคุณ ดร.เคร็ก เจ เรย์โนลด์ส ที่เสียสละเวลาในการตรวจแก้เพื่อความถูกต้อง
ขอขอบพระคุณ รศ.สายชล สัตยานุรักษ์ ที่เป็นธุระให้ด้วยดีเสมอมา และ
ขอขอบคุณ อ.ตามไท ดิลกวิทยรัตน์ ที่เป็นบรรณาธิการฉบับแก้ไขนี้
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๔๔๕
ผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๐ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ทบทวนบทบรรยายเพื่อความถูกต้อง ยกมาจากบทความที่ ๑๔๒๓ เรื่องที่ ๒
รายงาน: ปฏิบัติการของอำนาจผ่านตำรา ภาคปัจฉิมลิขิต
เคร็ก เจ เรย์โนลด์ส : บรรยาย
สาขาสังคมศาสตร์และประวัติศาสตร์เอเชีย มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย
ตามไท ดิลกวิทยรัตน์ : บรรณาธิการ

ความนำ
จากการศึกษาเรื่อง "ปฏิบัติการของอำนาจผ่านตำรา" เคร็ก เจ เรย์โนลด์ส พบว่า ตำรา (manual) เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สามารถสะท้อนให้เห็นลักษณะของสังคมและวัฒนธรรมในยุคต่างๆ ได้ แต่ที่ผ่านมา ยังไม่ค่อยมีการนำเอาตำรา โดยเฉพาะของชนชั้นกลาง ชนชั้นล่าง และคนที่ด้อยโอกาสทางสังคมมาใช้เป็นหลักฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ เคร็กยังตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อใดก็ตามที่ความรู้ถูกแปลงสภาพให้อยู่ในรูปของตำรา และเข้าไปสัมพันธ์ในทางใดทางหนึ่งกับรัฐ ความหลากหลายของตำรามักจะค่อยๆ สูญหายไป

เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2550 ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดการบรรยายในหัวข้อ "ปฏิบัติการของอำนาจผ่านตำรา: ทฤษฎีและการปฏิบัติ" โดย เคร็ก เจ เรย์โนลด์ส นักวิชาการจากสาขาสังคมศาสตร์และประวัติศาสตร์เอเชีย มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย ซึ่งเป็นนักประวัติศาสตร์ที่ได้วิพากษ์วิจารณ์ประวัติศาสตร์นิพนธ์ไทย รวมถึงบทบาทของชนชั้นนำที่มีต่อการเขียนประวัติศาสตร์มาโดยตลอด ทั้งยังได้เคยวิเคราะห์และแปลผลงานของจิตร ภูมิศักดิ์ไว้ ในหนังสือเรื่อง Thai Radical Discourse: The Real Face of Thai Feudalism Today

เคร็ก เริ่มต้นการบรรยายด้วยการตั้งข้อสังเกตว่า ที่ผ่านมา การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยผ่านตำรา (Manual) มักจะให้ความสนใจกับตำราของชนชั้นนำ ซึ่งเป็นเรื่องราวของพระราชวงศ์เสียเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากตำราของชนชั้นสูงนั้นหาได้ง่าย ทั้งยังมีการเก็บรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบ ขณะที่การศึกษา ภูมิปัญญา ความรู้ หรือตำราของชนชั้นกลาง ชนชั้นล่าง รวมถึงคนที่ด้อยโอกาสในสังคม ยังปรากฎให้เห็นน้อยมาก

ตำรา มีคุณสมบัติเป็น "อำนาจนิยม"
เคร็กอธิบายว่า โดยทั่วไป ความรู้ ในสังคมไทยมักจะอยู่ในรูปแบบของตำรา (Manual knowledge) ซึ่งอาจจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ตัวอย่างเช่น "คู่มือ", "คัมภีร์" ที่มักจะใช้ในความหมายของตำราทางศาสนา, "ศาสตร์" (Sastra) ซึ่งตามรากศัพท์ในภาษาอินเดียหมายถึง แม่แบบของความรู้ประเภทต่างๆ (paradigmatic formats) หรือ "ตำรา" หลายๆ ประเภท เช่น ตำราทำอาหาร ซึ่งในอดีต ความรู้ว่าด้วยการทำอาหารนี้ อาจมีการถ่ายทอดกันได้ด้วยวิธีการอื่นๆ เช่นการถ่ายทอดจากแม่สู่ลูก อย่างไรก็ตาม เมื่อกระบวนการถ่ายทอดความรู้แบบเดิมไม่สามารถเกิดขึ้นได้ อาจเนื่องจากแม่ไม่ได้มีโอกาสสอนลูก หรือแม่เองก็ไม่มีความรู้ประเภทนี้ การเขียนตำราทำอาหารจึงเกิดขึ้น. "ตำรา" อีกประเภทหนึ่งซึ่งมีความสำคัญมากทั้งในสังคมไทยและในอีกหลายๆ ประเทศก็คือ ตำราเกี่ยวกับความประพฤติ ซึ่งอาจจะเป็นตำราทางศาสนา หรือเป็นตำราที่สอนกันอยู่ในโรงเรียนก็ได้

เมื่อมองในแง่นี้ ความรู้ในรูปแบบของตำรา จึงเป็นสิ่งที่สามารถเก็บรวบรวมและส่งต่อได้ โดยผ่านการถ่ายทอดในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการบอกเล่าแบบปากต่อปาก การจดบันทึก รวมไปถึงการถ่ายทอดผ่านทางพิธีกรรมต่างๆ. นอกจากตำราจะเป็นเหมือน"ตู้เก็บความรู้"แล้ว ในอีกด้านหนึ่ง ตำรายังเป็นเหมือนเครื่องสื่อความรู้กับคนทั่วไป แต่แน่นอนว่า คนเหล่านั้นจะต้องเป็นผู้ที่อ่านออกเขียนได้ ประเด็นที่น่าสนใจศึกษาต่อมาก็คือ การเก็บรวบรวมและถ่ายทอดความรู้พื้นบ้านที่บอกผ่านกันโดยไม่ได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร มีลักษณะอย่างไร

แม้ว่าตำราจะเป็นเครื่องเก็บความรู้ และเครื่องสื่อความรู้กับคนทั่วไป แต่ในด้านหนึ่ง ตำราก็มีคุณสมบัติที่เป็น อำนาจนิยม (Authoritarian) และเคร่งครัดกับหลักการดั้งเดิม (Orthodox) ซึ่งลักษณะทั้งสองนี้ จะปรากฎให้เห็นมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับระบบของผู้สอนและรูปแบบของตำราเอง ตัวอย่างเช่น ตำราที่ถูกยึดถือเป็นคัมภีร์ หรือตำราที่สอนให้รับรู้ว่า "ความเชื่อ" บางอย่าง มีสถานะเป็น "ความจริง" ก็จะมีลักษณะที่เป็นอำนาจนิยม เคร็กยกตัวอย่างว่า ในประเทศไทย มีประเพณีการสืบทอดความรู้ผ่านการบอกเล่า ตำราที่สืบทอดมาจากอดีต มักจะมาจากการบอกเล่า เช่น ตำรายา ส่วนกระบวนการถ่ายทอดผ่านตัวหนังสือนั้น เพิ่งเริ่มขึ้นในคริสตศตวรรษที่ 19 สมัยรัชกาลที่ 3 - 4 เมื่อเทคโนโลยีการพิมพ์เริ่มเข้ามาสู่สยาม ทำให้ความรู้ที่เคยบอกเล่ากันแบบปากต่อปาก ถูกบันทึกในรูปของตัวหนังสือหรือตำรา

อย่างไรก็ตาม การศึกษาประวัติศาสตร์โดยอาศัยตำราเหล่านี้มักจะมีปัญหาในด้านการอ้างอิงข้อมูล เนื่องจากตำราบางเล่ม ไม่ทราบผู้เขียน หรือ ไม่ทราบช่วงเวลาของการเขียน สองประการนี้เป็นปัญหาใหญ่ของนักประวัติศาสตร์. การถ่ายทอดความรู้อีกลักษณะหนึ่งที่แพร่หลายในสังคมไทยก็คือ การถ่ายทอดผ่านจารีตประเพณีของครู (Guru) โดยถือว่าครูเป็นผู้ที่เก็บรวบรวมความรู้และเป็นผู้ถ่ายทอด การถ่ายทอดลักษณะนี้ ไปกันได้กับเรื่องของอำนาจนิยมผ่านตำราด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ เรื่องวาทกรรมคำสั่งสอน (Didactic Discourse) ก็ถือเป็นรูปแบบการถ่ายทอดความรู้ที่สำคัญ ดังจะเห็นได้ว่า ตำราหลายประเภท สอนให้คนปฏิบัติตาม หรือสอนให้ผู้อ่านรับรู้ว่าความเชื่อนั้นๆ เป็น "ความจริง"

ลักษณะของตำราประเภทต่างๆ ของไทย
เคร็กได้จำแนกประเภทของตำราในเมืองไทยไว้ดังนี้

1. Cosmologies หรือ จักรวาลวิทยา คือตำราที่เกี่ยวข้องกับจักรวาลทัศน์ เช่น ไตรภูมิพระร่วง ตำราประเภทนี้จะเป็นคัมภีร์ที่พูดถึงศาสตร์ว่าด้วยความจริงเกี่ยวกับโครงสร้างของจักรวาล โลก และสังคม

2. Astrology หรือ โหราศาสตร์ เป็นตำราที่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับนักประวัติศาสตร์ เนื่องจากโหรมีหน้าที่จดบันทึกเวลา เพื่อเชื่อมโยงปรากฎการณ์ต่างๆ เข้ากับระเบียบหรือโครงสร้างที่อยู่เหนือความรับรู้ของคนทั่วไป ในแง่นี้ โหร จึงมีลักษณะคล้ายกับนักประวัติศาสตร์ในสมัยโบราณ ความสัมพันธ์ระหว่างโหราศาสตร์กับประวัติศาสตร์ในลักษณะนี้ ไม่ได้เป็นลักษณะเฉพาะของสังคมไทย หากแต่เป็นลักษณะที่พบได้ทั่วไปในประเทศแถบเอเชียหลายประเทศ

3. Grammar หรือ ไวยากรณ์ เช่น จินดามณี ซึ่งมีความสำคัญต่อการสอนวรรณกรรมและการเรียนหนังสือ เคยมีผู้ร้องเรียนว่า เพราะเทคโนโลยีการพิมพ์ ทำให้จินดามณีมีความหลากหลายน้อยลง เนื่องจากในอดีต ครูแต่ละคนมีตำราจินดามณีในแบบของตนเอง

4. Medical Texts หรือ ตำรายา ในอดีตถือว่าเป็นตำราที่สำคัญมาก ในช่วงคริสตศตวรรษที่ 15 คนหลายเชื้อชาติยังคงมีตำรายาเป็นของตนเอง ต่อมา ในสมัยรัชการที่ 5 จึงเริ่มมีการรวบรวมพิมพ์ตำรายาขึ้น จนกระทั่งการแพทย์ตะวันตกเข้ามา ทำให้คนไทยเลิกนิยมตำรายา หันไปหาความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่ของตะวันตก อย่างไรก็ตาม ในช่วงหลังสงครามโลก จนถึงระยะ 20 - 30 ปีที่ผ่านมา การตื่นตัวของกระแสภูมิปัญญาในสังคมไทย ส่งผลให้คนจำนวนไม่น้อย เริ่มหันมาให้ความสนใจกับตำรายาอีกครั้ง

5. Art of Strategy หรือ ตำรายุทธศาสตร์ ที่สำคัญๆ ก็คือ ตำราพิชัยสงคราม, ตำราปืนใหญ่, รวมไปถึงตำราจิตวิทยาสาธารณะ (Pop Psychology) และการวางแผนทางธุรกิจ

6. How to behave หรือ ตำราสอนปฏิบัติตน เป็นตำราที่สอนให้ผู้อ่านปฏิบัติตามเพื่อบรรลุเป้าหมายบางอย่าง ตำราประเภทนี้ พบเห็นได้ทั่วไปในเอเชียอาคเนย์ตั้งแต่สมัยอาณานิคม ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มรับอิทธิพลจากตะวันตกและนำเอาความทันสมัยเข้ามา ตำราประเภทนี้ จะช่วยสอนวิธีปฏิบัติเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเปลี่ยนแปลงตนเองไปสู่ความทันสมัยได้

7. Etiquette หรือ ตำราที่สอนวิธีการวางตัวให้เหมาะสม ตำราประเภทนี้ปรากฎให้เห็นมาตั้งแต่โบราณ ตัวอย่างเช่น สุภาษิตสอนหญิงสำหรับสตรี, พาลีสอนน้องสำหรับข้าราชการ, หรือวินัย (Vinaya) สำหรับพระสงฆ์. ต่อมา ในสมัยที่ประเทศไทยเริ่มก้าวเข้าสู่ภาวะของความเป็นสมัยใหม่ มาตรฐานมารยาทแบบตะวันตกเริ่มเป็นที่ยอมรับในฐานะที่เป็นแบบแผนการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม ทำให้เริ่มมีการเขียนตำราอย่าง สมบัติผู้ดี ขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6

8. Self-Making ตำราที่มีเนื้อหาให้กำลังใจ กำลังความคิด จัดเป็นประเภทสุดท้ายคือ เช่น งานเขียนจำนวนมากของหลวงวิจิตรวาทการ เป็นตำราอีกประเภทหนึ่งซึ่งมีส่วนสำคัญในการสร้างบุคคลในยุคสมัยใหม่ ตำราประเภทนี้ มีผู้นิยมซื้ออ่านกันมาก ในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475

ปฏิบัติการของอำนาจ ผ่านตำรา
ในการศึกษาเรื่อง "ปฏิบัติการของอำนาจผ่านตำรา" เคร็ก เรย์โนลด์ส ได้เสนอประเด็นและตั้งคำถามหลักๆ ไว้หลายข้อด้วยกัน ได้แก่

ประเด็นว่าด้วยความสัมพันธ์ของตำราที่มีต่อ อำนาจนิยม (Relationship to Authoritarianism) ซึ่งเคร็กได้ตั้งคำถามว่า อำนาจนิยมมีอยู่ในตำราหรือไม่ หรือจริงๆ แล้ว ความเป็นอำนาจนิยมนั้นขึ้นกับตัวผู้สอนมากกว่า รัฐบาลสามารถใช้ตำรา ควบคุมกระบวนการสร้างอำนาจในลักษณะต่างๆ ได้หรือไม่ เช่น การมีคู่มือการสอนเรื่องลักษณะความเป็นไทย สัญชาติไทย หรือความเป็นประชาธิปไตย

ประเด็นว่าด้วยความสัมพันธ์ของตำราที่มีต่อความเชื่อดั้งเดิม (Relationship to Orthodoxy) ในประเด็นนี้ เคร็กพบว่าตำราสมัยใหม่ มีความเป็น orthodoxy น้อยลง มีลักษณะที่กระจัดกระจายมากขึ้น เนื่องจากมีโรงพิมพ์ที่พิมพ์เผยแพร่ตำราต่างๆ ได้อย่างอิสระมากกว่าในอดีต. อีกประเด็นก็คือ เรื่องของการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการศึกษารูปแบบที่ชัดเจนของตำรา (Format) ว่ามีผลต่อความเปลี่ยนแปลงในความรู้ได้มากน้อยเพียงใด

ประเด็นว่าด้วยตำรา กับความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นนำและชนชั้นล่าง (Elite vs. Subaltern / Rural) ความสัมพันธ์ และความขัดแย้งกันทางตำรา ความรู้ ระหว่างชนชั้นนำไทยกับชนชั้นล่างบางยุคบางสมัย การใช้หนังสือตำราของชนชั้นนำกับชนชั้นล่าง ค่อนข้างเหมือนกัน

ประเด็นว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างการจดบันทึกความรู้ในรูปแบบของตำรา กับการบอกเล่าแบบปากต่อปาก และเรื่องความแตกต่างหลากหลายในแต่ละภูมิภาค เคร็กพบว่ามีความแตกต่างระหว่างตำราส่วนภูมิภาคกับตำราในส่วนกลาง ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 มีความพยายามรวบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง ทำให้ความรับรู้ของสังคมที่มีต่อตำราของภูมิภาคต่างๆ จืดจางลงไป

ข้อสรุปคร่าวๆ ของเคร็กในการศึกษาเรื่องตำราก็คือ แม้ตำราเป็นหลักฐานที่สามารถใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงทางประวัติศาสตร์ได้ยาก แต่ก็สามารถจะช่วยให้เราศึกษาสังคมและวัฒนธรรมในแต่ละยุคสมัยได้ นอกจากนี้ ตำราบางประเภทมีความสำคัญมากในการสร้างความเข้าใจและตีความประวัติศาสตร์

นอกจากนี้ เคร็กยังได้ตั้งข้อสังเกตว่า ในด้านหนึ่ง เทคโนโลยีการพิมพ์ตำรา อาจมีส่วนทำให้ให้ความรู้ในตำรามีฉบับ (Version) ที่หลากหลายน้อยลงกว่าเดิม ตัวอย่างเช่น ในสมัยที่เทคโนโลยีการพิมพ์ยังไม่พัฒนา ครูแต่ละคนอาจจะมี จินดามณี ฉบับของตนเอง แต่ขณะเดียวกัน พัฒนาการของเทคโนโลยีการพิมพ์ในบางลักษณะก็อาจเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตตำราสามารถเผยแพร่ความรู้กว้างขวางขึ้น และอาจจะมีส่วนในการสร้างตำราในแบบของตนเองที่หลากหลายขึ้นด้วย ตัวอย่างเช่น การเผยแพร่ความรู้ในอินเตอร์เนท ที่ผู้อ่านแต่ละคนสามารถเป็นผู้เขียนได้ในเวลาเดียวกัน เคร็กยังกล่าวถึงประเด็นที่มีคำถามว่า ความรู้จากต่างประเทศที่หลั่งไหลเข้ามายังประเทศไทยนั้น มีกระบวนการปรับตัวให้กลายเป็นไทยได้อย่างไร ตำราบางประเภท เช่น คู่มืออ่านใจคน เป็นตำรามาจากต่างประเทศ แต่เมื่อแปลเป็นภาษาไทยแล้ว เราไม่พบภาษาต่างชาติเลย นี่แสดงให้เห็นว่าความรู้จากต่างประเทศได้เข้ามาโดยถูกทำให้กลมกลืนไปกับของไทย

ปฏิบัติการผ่านตำรา และอิทธิพลของตำราพรหมชาติ
เคร็กแสดงให้เห็นวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ผ่านตำรา โดยยกตัวอย่างเกี่ยวกับการศึกษาเรื่องของ ความเป็นมงคล (Auspiciousness) ซึ่งเป็นมิติที่สำคัญมากในสังคมไทย แต่เท่าที่ผ่านมายังได้รับการศึกษาค่อนข้างน้อย. ในการศึกษาเรื่องนี้ ตำราที่มีความน่าสนใจที่สุดเล่มหนึ่งคือ "ตำราพรหมชาติ" ซึ่งเป็นตำราที่ทำให้ประเทศไทยมีวัฒนธรรมแห่งชาติ จะเห็นได้ว่าในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ชนชั้นนำไทยกับราษฎรที่อยู่ในวัฒนธรรมชาวบ้านต่างก็ใช้ตำราพรหมชาติแบบเดียวกัน จนต่อมา เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 5 จึงได้เริ่มมีการพิมพ์ตำราพรหมชาติขึ้นเป็นหนังสือ. จากการศึกษาทางประวัติศาสตร์ เคร็กพบว่าพรหมชาติเป็นตำราที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งกับจิตวิทยาการตัดสินใจ (Psychology of decision-making) ในวิถีชีวิตประจำวันของคนไทย อย่างไรก็ตาม เมื่อความรู้เริ่มกลายสภาพเป็นตำรา และเริ่มเกี่ยวข้องกับรัฐ ความหลากหลายของตำราก็จะลดลงไป

คำถามจากวงเสวนา
มีคำถามจากวงเสวนาว่า เราจะทราบได้อย่างไรว่า สิ่งพิมพ์ที่เรานำมาศึกษานั้น เป็นต้นฉบับดั้งเดิม (original) ซึ่งเคร็กอธิบายว่า เราไม่จำเป็นต้องศึกษาเฉพาะสิ่งที่เป็น original เพราะตำราอย่าง ตำราพรหมชาติ ก็มีอยู่หลาย version. ในการศึกษา เราสามารถศึกษาฉบับที่ตีพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยไม่จำเป็นต้องเป็นต้นฉบับดั้งเดิม. ต่อมา ผศ. สมชาติ ปรีชาศิลปกุล คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนว่า แม้ความรู้บางอย่าง อาจมีความหลากหลายน้อยลงหากถูกทำให้เป็นตำรา แต่ความรู้บางประเภทก็ยังสามารถรักษาความหลากหลายไว้ได้ ตัวอย่างเช่น ความรู้เกี่ยวกับการดูฤกษ์ยามงานแต่งงาน ดังนั้น เราน่าจะตั้งข้อสังเกตได้ว่า อะไรก็ตามที่เกี่ยวกับรัฐ จะถูกลดทอนความหลากหลาย เนื่องจากต้องอิงกับสิ่งที่รัฐต้องการ ส่วนอะไรที่เป็นของคนทั่วไป จะยังคงรักษาความหลากหลายอยู่ได้ ตราบใดที่ยังไม่กระทบกระเทือนต่อรัฐ

หลังจากนั้น ผศ.เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนาวานิช หัวหน้าภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แสดงความเห็นว่า การทำเป็นตำรา เป็นเหมือนการจัดรูปแบบให้เป็นมาตรฐาน เพื่อแสดงอำนาจของการให้ความหมายเพียงหนึ่งเดียว และทำให้เกิดการครอบงำขึ้นตามมา แต่ขณะเดียวกันก็จะมีการขัดขืน (resistance) โดยการสร้างตำราขึ้นมาต่อรองกับตำรากระแสหลัก ทำให้ความหมายที่มาจากตำราของ "ข้างบน" เลือนลางไป. ผศ.เกรียงศักดิ์ยังกล่าวด้วยว่า การมีความหลากหลายของตำรา เกิดจากการให้ความหมายที่ต่างกัน ในประเด็นนี้ เคร็กนำเสนออีกมุมมองหนึ่งว่า ตำรา ไม่ใช่การใช้อำนาจเพียงอย่างเดียว แต่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการใช้ชีวิต ดังจะเห็นได้ว่าในด้านหนึ่ง แม้เราจะมีตำราอย่าง สมบัติผู้ดี ที่พยายามสร้างมาตรฐานบางอย่างมาครอบงำ แต่ก็มีตำราประเภทอื่นอีกหลายประเภทที่ "ช่วยเรา" ในเรื่องของการจัดการกับความรู้สึก และการใช้ชีวิตด้วย

ด้าน รศ.สายชล สัตยานุรักษ์ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้กล่าวเสริมเรื่องตำรากับอำนาจ โดยตั้งคำถามว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีตำราพรหมชาติหลายๆ ตำรา โดยอ้างอิงถึงประวัติศาสตร์สมัยที่ตำราพรหมชาติเกิดขึ้นว่า เป็นช่วงที่รัฐยังไม่มีอำนาจต่อชุมชนมากนัก ชุมชนยังมีส่วนร่วมอยู่ ตำราพรหมชาติจะมีความหลากหลาย โดยมองการผลิตตำราในแง่ระหว่าง "อำนาจและชุมชน" ทั้งนี้ รศ.สายชลเสริมในเรื่องตำราของหลวงวิจิตรวาทการว่า ตำราของหลวงวิจิตรเกิดในยุคที่รัฐมีอำนาจมากขึ้น แต่ใช่ว่าจะสามารถผูกขาดอำนาจได้เด็ดขาด ในขณะเดียวกัน ก็ต้องดูว่าอำนาจเข้าไปสู่ชุมชนได้มากน้อยแค่ไหน ไปมีอิทธิพลต่อปัจเจกชนแค่ไหน ต้องดูความหลากหลายของตำรา การผูกขาดตำรามีด้านการเติบโตของความเป็นปัจเจกชนในแง่ที่ตำราของหลวงวิจิตรฯนั้น เป็นการ empower ปัจเจกชน

หมายเหตุ: เนื้อหาของคำบรรยายนี้ มาจากบทความเรื่อง Thai Manual Knowledge: Theory and Practice ซึ่งเป็นบทที่ 10 ในหนังสือ Craig J Reynolds, Seditious Histories: Contesting Thai and Southeast Asian Pasts (Seattle: University of Washington Press, 2006)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

เกี่ยวกับผู้เขียน :

Dr Craig Reynolds
Faculty of Asian Studies, Australian National University

Qualifications

- Ph.D. in Southeast Asian History from Cornell University
- B.A. in English Literature from Amherst College

Research

In the context of the history of modern Thailand, particularly cultural, social and intellectual history: the discourse of globalisation in local settings; Thai nationalism and self-making; knowledge systems - their local histories and foreign encounters. Also, the relationship between colonialism and the development of the field of Southeast Asian history; 'power' as a critical term in Buddhist studies

Present Appointments

- Reader, Centre for Asian Societies and Histories, Faculty of Asian Studies, Australian National University

Previous Appointments

- 1972 - 1990 Associate Professor in the Department of History at the University of Sydney
- 1991 - 1994 Senior Research Fellow in the Department of Pacific and Asian History Research, School of Pacific and Asian Studies at the Australian National University
- 1995 Reader in the Faculty of Asian Studies at the Australian National University

Courses

- Undergraduate teaching - The comparative history of mainland Southeast Asia (Burma / Myanmar, Cambodia, Laos, Thailand, Vietnam); Thailand's modern history; Orientalism; religion and social movements in mainland history; history and theory; honours core course (Textual Strategies)

Supervision

Postgraduate supervision - Generally, in relation to research and teaching interests above. Projects currently underway (late 2003) at PhD and MPhil level include Sino-Thai businesswomen, cultural history of advertising in Thailand, use of anastylosis in the restoration of monuments in Thailand, history of citizenship and migration policy in Thailand, reform of the Sangha in Thailand today, comparative study of historical writing in Filipino and Indonesian textbooks, Catholicism and the dynastic state in nineteenth-century southern Vietnam

Publications

Books

- Thai Radical Discourse: The Real Face of Thai Feudalism Today Ithaca , Cornell Southeast Asia Program. Reprint edition (1994)

Book Chapters

- Tycoons and Warlords: Modern Thai Social Formations and Chinese Historical Romance in Sojourners and Settlers: Histories of Southeast Asia and the Chinese, A Volume in Honour of Jennifer Cushman ed. Anthony Reid. St. Leonards, NSW, Allen and Unwin, pp.115-47 (1996)

- Thailand in Australia in Asia: Communities of Thought ed. Anthony Milner and Mary Quilty, Melbourne, Oxford University Press, pp.100-125 (1996)

-ท Globalisation and Cultural Nationalism in Modern Thailand in Southeast Asian Identities: Culture and the Politics of Representation in Indonesia, Malaysia, Singapore, and Thailand ed. Joel S. Kahn, Singapore, Institute of Southeast Asian Studies, pp. 115-45 (1998)

- Thai Revolution in The Encyclopedia of Political Revolutions Jack A. Goldstone, ed., Washington, D.C., Congressional Quarterly Inc, pp.479-480 (1998)
- On the Gendering of Nationalist and Postnationalist Selves in Twentieth-century Thailand in Genders and Sexualities in Modern Thailand Peter A. Jackson and Nerida M. Cook, Chiang Mai, Silkworm Books, pp.261-274 (1999)

- The Ethics of Academic Engagement with Burma in Burma Myanmar: Strong Regime, Weak State? Morten B. Pedersen et al. (eds.), Adelaide, Crawford House Publishing Pty. Ltd., pp.123-37 (2000)

- The Economic History of the Thai Village and Communitarianism in With Pride [in Thai], Sirilak Sampatchalit and Siriphorn Yotkamolsat (eds.), Bangkok, Sangsan Press, pp.553-558.[ISBN974 90221 5 7] (2002)

- Thai Identity in the Age of Globalisation in National Identity Thailand and its Defenders: Thailand Today Craig J.Reynolds (ed.), Chiang Mai, Silkworm Books, pp.308-338.[ISBN 974 7551 88 8] (2002)

Journal Articles

- Predicaments of Modern Thai History in South East Asia Research London, 2.1, pp.64-90 (March 1994)

- Australia and Thailand in Australia-Asia Survey Melbourne, Macmillan Education Australia for the Centre for the Study of Australia-Asia Relations, pp.265-77 (1994)

- A New Look at Old Southeast Asia in Journal of Asian Studies 54.2, pp.419-46 (1995)

- Elections in Thailand 1996: What is Missing? in Current Affairs Bulletin (with Thaveeporn Vasavakul), 73.6, pp.4-9 (April 1997)

- Sino-Thai Business Culture: Strategies, Management and Warfare in The Asia-Pacific Magazine nos. 6 and 7, pp.33-38 (1997)

- Public Intellectuals: A View from Southeast Asia; Located Knowledges in Items 52.4, Social Science Research Council, pp.79-81 (December 1998)

- Southeast Asian Studies: Reorientations in The Frank H. Golay Memorial Lectures 2 and 3 (with Ruth McVey), Ithaca , Cornell University , Southeast Asia Program (1998)

- The Study of Indochina and Burapha University in Warasan manutsayasat lae sangkhomsat mahawithayalai burapha [Journal of Humanities and Social Sciences, Burapha University ] 6.6 (In Thai and English), pp.15-28 (January 1998)

- Internationalising Social Science: A New Architecture in Dialogue Newsletter of the Academy of the Social Sciences in Australia, 18.1, pp.23-26 (1999)

- Icons of Identity as Sites of Protest: Burma and Thailand Compared in PROSEA Research Paper no.30, Taipei, Academica Sinica (2000)

- Cosmologies, Truth Regimes and the State in Southeast Asia in Modern Asian Studies (with Tony Day), 34.1, pp.1-55 (2000)

- Globalisers vs. Communitarians: Public Intellectuals Debate Thailand's Futures in Singapore Journal of Tropical Geography 22.3, pp.252-69 (November 2001)

- Tai-land and its Others in South East Asia Research 11.1, pp.113-20 (2003)

Grants

- 2003: Royal Thai Government Golden Jubilee Grant for Postgraduate Supervision: Modern Lao Historiography (History, Mahasarakham University), The Impact of Technology on Thai Literature (Philosophy and Comparative Literature, Chulalongkorn University)

- 1996-1997: The Australian Research Council Large Grant), The State in Southeast Asia

Memberships

- since 1970: Association for Asian Studies
- since founding in 1976: Asian Studies Association of Australia
- since 1969: Siam Society; (Honorary Life Member since 1995)
- 1993: Director, National Thai Studies Centre (ANU)
- 1996-2000: Head, Centre for Asian Societies and Histories
- 1999-2001: Director, Centre for the Study of the Chinese Southern Diaspora
- 1994-97: Joint Committee on Southeast Asia, Social Science Research Council
- 1998-2000: Chair, Social Science Research Council, Regional Advisory Panel / Southeast Asia
- 2003-: Oz Assessor, Australian Research Council

 

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน


นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ หรือถัดจากนี้สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

คิดต่างในเชิงสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ดีกว่าและเสรีภาพ
25 December 2007
Free Documentation License
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
แม้ว่าตำราจะเป็นเครื่องเก็บความรู้ และเครื่องสื่อความรู้กับคนทั่วไป แต่ในด้านหนึ่ง ตำราก็มีคุณสมบัติที่เป็น อำนาจนิยม (Authoritarian) และเคร่งครัดกับหลักการดั้งเดิม (Orthodox) ซึ่งลักษณะทั้งสองนี้ จะปรากฎให้เห็นมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับระบบของผู้สอนและรูปแบบของตำราเอง ตัวอย่างเช่น ตำราที่ถูกยึดถือเป็นคัมภีร์ หรือตำราที่สอนให้รับรู้ว่า "ความเชื่อ" บางอย่าง มีสถานะเป็น "ความจริง" ก็จะมีลักษณะที่เป็นอำนาจนิยม เคร็กยกตัวอย่างว่า ในประเทศไทย มีประเพณีการสืบทอดความรู้ผ่านการบอกเล่า เช่น ตำรายา เป็นต้น
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream