บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้
มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง
นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก
ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด.
สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ
ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com
(กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)
Freedom
of Expression
Midnight
University
Human Right : Freedom
of Expression / Saffron Revolution
พม่ารำขวาน:
นักข่าวพม่า การเซ็นเซอร์ และการฆ่าพระสงฆ์
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
: บรรณาธิการ
ข้อมูลจาก Newlines, เว็บไซต์โอเพ่นออนไลน์,
และ SPIEGEL
บทความต่อไปนี้ ส่วนที่หนึ่งกองบรรณาธิการ
ม.เที่ยงคืน ได้รับมาจาก Newlines
ส่วนที่สอง นำข้อมูลมาจากโอเพ่นออนไลน์ และส่วนที่สาม download จากเว็บไซต์
SPIEGEL : http://www.spiegel.de/international/world/0,1518,515409,00.html
ทั้งหมดเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน พม่าหลังการประท้วงเพื่อประชาธิปไตยอย่างสันติ
โดยเรื่องแรกเกี่ยวกับการคุกคามสื่อ การจำกัดเสรีภาพในการแสดงออก
ส่วนเรื่องที่สองเป็นรายงานเหตุการณ์ประท้วงของพระสงฆ์จากผู้นำพระสงฆ์
ซึ่งให้สัมภาษณ์ส่วนตัวกับผู้สื่อข่าวชาวเยอรมัน นับจากเริ่มต้นจนหนีรอดมายังประเทศไทย
สุดท้ายเป็นต้นฉบับคำสัมภาษณ์ภาษาอังกฤษที่นำมาจากเว็บไซต์ SPIEGEL
midnightuniv(at)gmail.com
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้
ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ลำดับที่ ๑๔๒๒
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๒๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
๑๗ หน้ากระดาษ A4)
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
Human Right : Freedom
of Expression / Saffron Revolution
พม่ารำขวาน:
นักข่าวพม่า การเซ็นเซอร์ และการฆ่าพระสงฆ์
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
: บรรณาธิการ
ข้อมูลจาก Newlines, เว็บไซต์โอเพ่นออนไลน์,
และ SPIEGEL
1. สัมผัสชีวิตนักข่าวพม่า...ทุกฝีก้าวคือการถูกเซ็นเซอร์
บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล
สถานการณ์ความรุนแรงในพม่าที่เกิดขึ้นช่วงปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ทำให้บทบาทของสื่อในโลกที่สาม
โดยเฉพาะประเทศที่เสรีภาพของสื่อมวลชนนั้นถูกลิดรอน ได้กลับมาเป็นที่สนใจและถกเถียงกันอย่างกว้างขวางอีกคำรบหนึ่ง.
สื่ออินเทอร์เน็ตได้รับความไว้วางใจและคำขอบคุณอย่างท่วมท้นจากประชาคมโลก ในฐานะผู้ทำหน้าที่เปิดโปงความรุนแรงที่รัฐบาลทหารพม่า
กระทำการอย่างไร้ปรานีต่อพระสงฆ์และประชาชนที่ร่วมกันประท้วงโดยสันติ ต่อมาตรการและการปกครองที่ล้มเหลวของรัฐบาลภายใต้การนำของสภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ
(State for Peace and Development Council- SPDC) ที่มีเผด็จการทหารเป็นผู้นำพาประเทศ
เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นที่มาของความสนใจใคร่รู้ว่า
ในขณะที่สื่อโทรทัศน์ วิทยุ และสื่อสิ่งพิมพ์ และอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะที่ประจำการนอกประเทศพม่า
และเทคโนโลยีของเครื่องมือสื่อสารไร้พรมแดนอย่างโทรศัพท์มือถือ ที่ประชาชนทั่วไปมีอำนาจและกำลังซื้อหาได้ไม่ยากนัก
ตลอดจนจานดาวเทียมที่มีประสิทธิภาพ ได้ทะลุทะลวงในการส่งสัญญาณ และกลายเป็นพระเอกในการต่อสู้กับอิทธิพลของผู้ร้ายอย่างรัฐบาลทหาร
โดยการสะท้อนให้เห็นถึงการกระทำที่เหี้ยมโหด ทารุณกรรม และความรุนแรงต่อประชาชนในประเทศ
รวมทั้งกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่มีมาตลอด
คำถามมีว่า บทบาทของสื่อแบบฉบับดั้งเดิมอย่างทีวี วิทยุ หรือหนังสือพิมพ์นั้น
เผชิญชะตากรรมอย่างไรบ้างกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
สำหรับสื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างวิทยุ โทรทัศน์ สื่อสองประเภทดังกล่าวถือว่ารัฐบาลมีอำนาจจัดการและควบคุมอย่างเด็ดขาด แต่สำหรับสื่อสิ่งพิมพ์นั้นอาจมีข้อยกเว้นในแง่ที่ว่ารัฐบาลยังเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตเอกชนเข้ามาดำเนินการได้บ้าง แต่การรายงานข่าวหรือผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ก็ไม่ได้มีอิสระอย่างเต็มที่ สิ่งที่น่าติดตามคือ ภายใต้สถานการณ์ที่รัฐบาลไม่คำนึงถึงเรื่องสิทธิมนุษยชนของคนในประเทศ การพูดถึงหรือให้ความสำคัญกับสิทธิเสรีภาพด้านสื่อ จึงไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน คำถามต่อมาคือ บรรดานักข่าวเหล่านั้นโดยเฉพาะสื่อสิ่งพิมพ์ทั้งหลาย ทำงานกันอย่างไร? โดยเฉพาะกับอุดมการณ์การทำงานสื่อสารมวลชน ที่ต้องอยู่ภายใต้การกดดันและทนกับแรงเสียดทานหลายอย่าง ชะตากรรมของนักข่าวในฐานะฐานันดรที่ 4 ของพม่าจะต่อสู้กับอำนาจเผด็จการนั้นอย่างไร รวมทั้งต้องอดทนและฝืนกับอุดมการณ์ของการทำหน้าที่กระจกส่องสังคมมากน้อยขนาดไหน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ?
สื่อสิ่งพิมพ์-ไม้เบื่อไม้เมาของรัฐบาล
โฟน มินท์ อู (Phone Myint Oo) ปัจจุบันเป็นนักศึกษาปริญญาโท สาขาการพัฒนาอย่างยั่งยืน
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้หนึ่งที่ใช้ชีวิตนักข่าวในการดำรงชีพภายใต้รัฐบาลทหารอยู่เกือบ
10 ปี ก่อนที่เขาจะได้รับทุนการศึกษามาเรียนต่อที่ประเทศไทยเมื่อปีที่แล้ว เล่าว่า
ในช่วงการประท้วงและจลาจลในพม่าช่วงปลายเดือนกันยายน ยาวมาถึงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
รัฐบาลได้ปราบปรามและห้ามไม่ให้สื่อในประเทศพม่า โดยเฉพาะสื่อสิ่งพิมพ์ได้ทำหน้าที่รายงานข่าวที่เกิดขึ้น
สื่อสิ่งพิมพ์หลายฉบับถูกปิดจากอำนาจรัฐบาลโดยตรง รวมทั้งวารสารข่าวที่เขาเคยทำงานก่อนมาเรียนหนังสือที่ประเทศไทยด้วย
ผลที่ตามมาคือนักข่าวหลายคนต้องตกงาน การหาข้อมูลหรือส่งข่าวทางอินเทอร์เน็ตก็แทบเป็นไปไม่ได้เลย
เรียกได้ว่าทำอะไรไม่ได้ทั้งสิ้น เพราะรัฐบาลบล็อกสัญญาณและเครือข่ายต่างๆ เหล่านี้หมด
สุดท้ายนักข่าวเหล่านี้ก็ไม่มีเงินดำรงชีพต่อไป นี่เป็นเพียงการคาดการณ์เท่านั้น
ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับชะตากรรมของเพื่อนร่วมอาชีพในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเขาเองก็ยอมรับว่าเป็นเรื่องยากเหลือเกินกับการที่จะติดตามข่าวคราวเพื่อนฝูงหรือคนรู้จักในแวดวงน้ำหมึกในยามนี้
อย่าว่าแต่ห้วงยามบ้านเมืองลุกเป็นไฟอย่างที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานนี้เลย ในช่วงที่สถานการณ์ที่สงบราบเรียบ ประชาชนใช้ชีวิตกันอย่างสงบ สื่อมวลชนภายใต้รัฐบาลท็อปบูตอย่างพม่ายังถูกมองว่าเป็นภัยร้ายแรงที่คุกคามประเทศเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว โดยเฉพาะสื่อสิ่งพิมพ์ เนื่องจากสื่อประเภทนี้เป็นสื่อประเภทเดียวที่รัฐไม่ได้ดำเนินกิจการอย่างเด็ดขาดเหมือนสื่อสิ่งอิเล็กทรอนิกส์อย่างโทรทัศน์และวิทยุ ดังนั้น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ จึงค่อนข้างถูกเพ่งเล็งอย่างเข้มงวดกว่าสื่ออื่น
ในพม่านั้นมีการจัดแบ่งสื่อสิ่งพิมพ์ออกเป็น 3 ประเภท คือ ประเภทแรก, ที่รัฐเป็นเจ้าของและดำเนินกิจการเอง (government sector) ประเภทที่สอง, รัฐเปิดโอกาสให้เอกชนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ หรือดำเนินการผลิต (semi private sector) และประเภทที่สาม กลุ่มอิสระเข้ามาดำเนินการเอง โดยที่รัฐเองยังสามารถแทรกแซงนโยบายการนำเสนอข่าวสาร (private sector)
โฟน มินท์ อู บอกว่า การที่สื่อแต่ละประเภทจะขอเปิดหัวหนังสือ ผลิตและจัดจำหน่ายอย่างเป็นทางการนั้น จะต้องมีใบอนุญาตที่ออกโดยกระทรวงข้อมูลข่าวสาร (Ministry of Information) ของพม่า ซึ่งก็ไม่ใช่คนทั่วๆ ไปที่จะเดินดุ่มๆ เข้าไปขออนุญาตได้เหมือนประเทศเสรีประชาธิปไตย คนที่มีโอกาสได้รับใบอนุญาตส่วนใหญ่จะเป็นนายทหารเก่า หรือมีญาติพี่น้องเป็นนายทหารโดยจะได้รับการพิจารณาและได้รับใบอนุญาตเป็นพิเศษ ซึ่งการพิจารณาเพื่อให้ได้รับใบอนุญาตนั้นยังครอบคลุมไปถึงนักเขียนที่เขียนนวนิยาย เรื่องสั้น หรืองานเขียนประเภทอื่นด้วย พูดได้ว่างานเขียนอะไรก็ตามจะต้องได้รับการพิจารณาและได้รับใบอนุญาตก่อนทุกครั้ง ซึ่งการได้มาซึ่งใบอนุญาตจะเสียค่าธรรมเนียมเป็นเงินราวๆ 10,000-50,000 จัต หรือประมาณ 27-133 บาท
ในส่วนของการนำเสนอข่าว โฟน มินท์ อู เล่าให้ฟังว่า ในพม่าจะไม่เรียกสื่อสิ่งพิมพ์ที่เสนอข่าวรายวันว่า "หนังสือพิมพ์" (newspaper) อย่างที่เข้าใจกันโดยทั่วไป แต่จะเรียกรวมๆ ว่า "วารสารข่าว" (news journal) ขนาดแทบลอยด์หนาประมาณ 24 หน้า ที่ทำหน้าที่รายงานข่าว ให้ความรู้ข่าวสาร ตลอดจนเสนอเนื้อหาสาระในด้านอื่นๆ ด้วย โดยจะออกเป็นรายสัปดาห์ สิ่งพิมพ์ประเภทวารสารข่าวได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศพม่า เพราะเป็นสื่อที่ราคาถูกและเข้าถึงง่าย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงประมาณปี ค.ศ. 2002-2003 เป็นช่วงที่วารสารข่าวได้รับความนิยมอย่างสูง มีการผลิตสื่อประเภทนี้กันออกมามากมาย เนื่องจากเป็นช่วงที่ประเทศพม่าอยู่ในช่วงที่เปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศอย่างเต็มที่ อีกทั้งการเปิดการค้าเสรีในระดับภูมิภาค ที่หลายๆ ความร่วมมือมีพม่าร่วมเป็นสมาชิก โดยเหตุนี้จึงทำให้ประชาชนตื่นตัวในการรับรู้ข่าวสารด้านดังกล่าว อย่างไรก็ตาม การเกิดขึ้นและตายไปของวารสารข่าวก็มีให้เห็นเป็นปกติเช่นกัน แต่ละเดือนมีหัวหนังสือเกิดขึ้นมากมายพร้อมๆ กับการล้มหายตายจากไปของวารสารข่าวบนแผงหนังสือ. โดยทั่วไปแล้ว คนที่ต้องการทำหนังสือขึ้นมาก็มักจะไปซื้อหัวหนังสือเก่าที่เคยขออนุญาตไว้มากกว่า เพราะนั่นหมายความว่าไม่ต้องไปดำเนินการกับทางการใหม่ให้ยุ่งยาก และเป็นการลดขั้นตอนให้น้อยลง
ไม่มีการเรียนการสอน "สื่อสารมวลชน"
ในพม่า
โฟน มินท์ อู เป็นคนหนึ่งที่อยากจะเป็นนักข่าวโดยที่ไม่เคยร่ำเรียนเขียนอ่านเกี่ยวกับศาสตร์ด้านนี้แม้แต่น้อย
แต่ถึงจะมีใครอยากเรียนเพื่อฝึกปรือฝีมือด้านนี้ ในประเทศพม่าก็ไม่มีหลักสูตรการเรียนการสอนด้านสื่อสารมวลชนในมหาวิทยาลัย
หรือสถาบันการศึกษาต่างๆ. โฟน มินท์ อู เป็นตัวอย่างของนักข่าวอีกหลายๆ คนในประเทศพม่า
ที่มีใจรักอยากเป็นนักสื่อสารมวลชนด้วยการเรียนรู้ในสนามวิชาชีพจริง เขาเริ่มต้นวิชาชีพตั้งแต่ปี
2000 ด้วยการเป็นนักข่าวอิสระ ก่อนที่จะก้าวกระโดดไปเป็นบรรณาธิการข่าวให้กับนิตยสารชื่อ
Knowledge Digest Magazine ซึ่งออกเป็นรายเดือน ควบกับการทำหน้าที่เดียวกันให้กับวารสารข่าวรายสัปดาห์ชื่อ
International News Journal ซึ่งเป็นสื่อในเครือที่มีเจ้าของเป็นคนเดียวกัน
ถือว่าเส้นทางวิชาชีพการทำงานด้านสื่อของโฟน มินท์ อู ค่อนข้างจะก้าวกระโดด เพราะการทำงานด้านสื่อสารมวลชนในประเทศพม่าก็คงเหมือนหลายๆ ประเทศ ที่ต้องเริ่มจากการเป็นนักข่าวในพื้นที่อยู่สักระยะหนึ่งก่อน แล้วไต่เต้าขึ้นไปตามลำดับขั้นจนไปถึงขั้นตำแหน่งสูง อย่างระดับบรรณาธิการ แต่เนื่องจากโฟน มินท์ อู เป็นผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้ว อีกทั้งมีความรู้รอบตัวหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ตลอดจนเคยบวชเป็นพระอยู่เกือบ 2 ปี ประเด็นข้อได้เปรียบดังกล่าว จึงทำให้เขาได้ก้าวขึ้นมาเป็นบรรณาธิการอย่างรวดเร็ว
เมื่อไม่มีการเรียนการสอนด้านสื่อสารมวลชน ดังนั้น ทุกคนจึงเริ่มต้นปีแรกของการเรียนด้วยการทำงานจริงเหมือนกันหมด โดยมีนักข่าวรุ่นพี่เป็นอาจารย์ที่คอยสอนด้านนี้แทน และในระยะหลังๆ อาชีพนักข่าวได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นอาชีพที่ได้รับการยอมรับและเป็นที่นับถือของคนในสังคม รวมไปถึงมีอำนาจต่อรองหรือสร้างความสนิทสนมกับเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเฉพาะกระทรวงข้อมูลข่าวสารด้วย. ประกอบกับการเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ดของวารสารข่าว จึงยิ่งทำให้วงการวิชาชีพสื่อมวลชนมีความคึกคักมากขึ้นในช่วงหลัง อย่างไรก็ตาม ค่าตอบแทนของนักข่าวไม่ได้สวยหรู พวกเขายังคงเผชิญกับค่าแรงที่ต่ำกว่ามาตรฐานเหมือนกับอาชีพอื่นๆ ในประเทศพม่านั่นเอง ดังนั้น นักข่าวส่วนใหญ่จึงมักทำงานสองที่หรือสองหัวหนังสืออย่างที่โฟน มินท์ อู ทำอยู่ จึงจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้บ้าง
โฟน มินท์ อู นั้น นอกจากเขาจะเดินเข้าสู่สนามงานด้านสื่อด้วยความรู้ที่โดดเด่นแล้ว ในช่วงปี 2003 เขายังโชคดีไม่น้อยที่เขาได้มีโอกาสเข้าร่วมการอบรมโดยมีองค์กรต่างประเทศให้การสนับสนุน ส่งให้เขามาเรียนรู้ด้านการทำข่าวที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่เมืองไทยอยู่ราวๆ สองสัปดาห์ แต่เมื่อกลับไปเขาก็ต้องพบกับสิ่งที่ขัดแย้งกับแนวคิดและอุดมคติที่มีในจิตใจอย่างรุนแรง และนำไปสู่การตัดสินใจลาออก เนื่องจากการที่เจ้าของนิตยสารและวารสารข่าวที่เขาประจำอยู่นั้นมีความใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่ของกระทรวงด้านสื่อสารมวลชนมากเกินไป ความใกล้ชิดและมีความสัมพันธ์อันดีนี้ นำไปสู่การเสนอข่าวหรือความรู้แก่ประชาชนที่ไม่หนักแน่นเพียงพออย่างที่สื่อมวลชนที่ดีควรจะทำ
ต้องทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้นว่า การนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนในประเทศพม่า เราจะไม่พบการวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลหรือนโยบายรัฐโดยตรง เนื่องจากเป็นที่รู้กันว่า การกระทำดังกล่าวจะทำให้สื่อมวลชนไม่สามารถดำรงอยู่ได้ หรืออาจถูกบังคับกดดันด้วยรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ปิดตัวลงในที่สุด. เนื่องจากเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นธรรมชาติของการทำธุรกิจทุกรูปแบบ ดังนั้น เนื้อหาของสื่อทั่วไปซึ่งไม่นับสื่อของรัฐบาล หรือสื่อที่รัฐบาลเข้ามามีอิทธิพล หรือใช้อำนาจแทรกแซง หากต้องการอยู่อย่างสบาย ปราศจากปัญหา พวกเขาจึงงจำต้องนำเสนอข่าวสารที่สนับสนุนรัฐบาลเป็นหลัก
กรณีเจ้าของสื่อที่โฟน มินท์ อู ทำงานอยู่ ถือว่าอยู่รอดปลอดภัยภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว เพราะเจ้าของกิจการสื่อได้รับผลประโยชน์มาจากกระทรวงข้อมูลข่าวสาร กล่าวได้ว่า ปรารถนาจะได้อะไรเป็นได้ตามที่เขาต้องการเสมอ เพื่อแลกกับการเสนอข่าวที่เหมือนเป็นโฆษณาชวนเชื่อให้กับรัฐบาล บางครั้งเนื้อหาที่นำเสนอไม่ต่างอะไรกับหนังสือกินเนสส์ บุ๊ค เช่น สถิติต่างๆ ของสิ่งของในโลก หรือนำเสนอข่าวเบาๆ หรือมีสีสัน มากกว่าการนำเสนอความรู้ที่เอาจริงเอาจังให้กับคนอ่าน เช่น เรื่องราวของต้นกล้วยแปลกๆ เป็นต้น สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนั้นทำให้วิญญาณนักข่าวอย่างเขาอึดอัดเป็นอย่างมาก และได้ยื่นใบลาออกในเวลาต่อมา การลาออกครั้งนี้กลายเป็นกรณีพิพาทตามมา เมื่อเขาได้ทำสัญญากับเจ้าของสื่อที่เขาทำงานอยู่ในขณะนั้น การตัดสินใจทิ้งงานกลางคัน จึงทำให้เจ้าของสื่อเครือดังกล่าวฟ้องร้องเขา แต่ด้วยความที่โฟน มินท์ อู มีเพื่อนนักข่าวมากมายที่ยืนอยู่เคียงข้างเขา ทำให้เขาผ่านประสบการณ์ถูกฟ้องร้องนั้นมาได้
ต้องใช้นามแฝงและไม่มีชื่อจริงในกองบรรณาธิการ
หลังจากที่โฟน มินท์ อู ลาออกจากการเป็นบรรณาธิการข่าวให้กับเครือสิ่งพิมพ์ดังกล่าวแล้ว
เขาหันชีวิตไปเอาดีทางนิตยสารทางด้านกีฬา ซึ่งเป็นนิตยสารอีกประเภทหนึ่งที่มีมากมายในประเทศพม่า
โดยเฉพาะเรื่องราวเกี่ยวกับฟุตบอล เพราะมีการพนันขันต่อกันสูงของคนดูในประเทศพม่า
ในขณะเดียวกันถือว่าสื่อประเภทนี้ มีความเสี่ยงน้อยที่จะถูกตรวจสอบจากรัฐบาล.
โฟน มินท์ อู ทำหน้าที่แปลข่าวภาษาอังกฤษเป็นภาษาพม่าเป็นคอลัมน์ประจำ ซึ่งช่วงที่เขาทำงานอยู่นั้นได้แปลชีวประวัติของเวย์น
รูนีย์ นักฟุตบอลชื่อดังชาวอังกฤษที่เล่นในนามสโมสรแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด จนกระทั่งกลุ่มที่ทำงานด้านสื่ออิสระนาม
Living Color ได้เข้ามาชักชวนให้เขาเข้าร่วมเป็นหนึ่งในกองบรรณาธิการของวารสารข่าว
Khit Myanmar และ The Voice ในฐานะคนเขียนคอลัมน์ และบรรณาธิการข่าวไปพร้อมๆ
กัน
แม้ว่าจะเป็นคอลัมน์ที่ไม่ได้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลโดยตรง แต่นักข่าวและคนทำข่าวส่วนใหญ่ในพม่าแทบจะไม่ใช้ชื่อจริงในการเขียนบทความ รายงาน หรือคอลัมน์ประจำ เนื่องจากนั่นจะนำไปสู่การตรวจสอบประวัติ รวมไปถึงข้อมูลด้านอื่นๆ ได้ง่ายโดยรัฐบาลพม่า รวมถึงไม่สามารถปรากฏรายชื่อในกองบรรณาธิการด้วย ซึ่งแตกต่างจากหนังสือพิมพ์ทั่วโลกที่ต้องระบุชื่อจริงของบรรณาธิการบริหาร, บรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณา, บรรณาธิการข่าว, หรือตำแหน่งอื่นๆ ที่ควรจะมีบรรจุไว้บนสิ่งพิมพ์. โฟน มินท์ อู อธิบายว่า ในรายชื่อของกองบรรณาธิการวารสารข่าวที่เขาทำงานอยู่นั้น ระบุเพียงชื่อของคนที่ได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงข้อมูลข่าวสาร หรือนักข่าวหน้าใหม่ หรือมีอาวุโสน้อย ที่แน่ๆ คือไม่สามารถใส่รายชื่อบุคคลสำคัญของหนังสือพิมพ์ได้ หรือแม้แต่รายชื่อบางคนที่ใส่ไป อาจเป็นรายชื่อของนายทหารที่เสียชีวิตไปแล้ว ซึ่งแน่นอนว่าทางรัฐบาลไม่สามารถตรวจสอบที่มาที่ไปได้
หลากหลายยุทธวิธีของการ
"แหกตา"
แม้จะไม่สามารถเสนอข่าวในแง่ของการทำงานของรัฐบาลได้โดยตรง เพราะส่วนใหญ่วารสารข่าวทุกฉบับถูกบังคับให้เสนอข่าวที่เป็นการโฆษณาผลงานของรัฐบาลเป็นพื้นฐาน
แต่วารสารข่าวที่โฟน มินท์ อู พยายามทำคือ สะท้อนความล้มเหลวของการบริหารประเทศของสภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ(SPDC)
ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เช่น การนำเรื่องราวการใช้อินเทอร์เน็ตของประเทศเอธิโอเปีย
ซึ่งจัดว่าเป็นประเทศในทวีปแอฟริกาที่ยากจน ประชาชนมีความแร้นแค้น แต่อัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตกลับสูงถึงร้อยละ
80 ซึ่งเป็นสารคดีข่าวจากต่างประเทศที่วารสารของเขาต้องการปลุกจิตสำนึกของคนพม่าให้รับรู้ว่า
ขนาดประเทศที่ยากจนขนาดนั้นยังมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกหรือการสื่อสาร แต่ประเทศพม่าซึ่งไม่ได้ยากจนหรือไม่มีจะกินเทียบเท่าเอธิโอเปีย
กลับถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารโดยรัฐบาลอย่างร้ายกาจ เป็นต้น
หรือบางครั้งในบางคอลัมน์ที่วารสารข่าวพยายามที่จะสอดแทรก ในสิ่งที่ไม่ใช่เรื่องที่จั่วหัวหรือตั้งชื่อเรื่องไว้ ข้อมูลข่าวสารดังกล่าวถูกแทรกระหว่างบรรทัดเพื่อตบตาเจ้าหน้าที่ที่ทำการตรวจสอบเนื้อหาสื่อที่ค่อนข้างเข้มงวด ไม่ว่าจะเป็นสิ่งพิมพ์ อย่างวารสารข่าว นิตยสาร หนังสือ นวนิยาย ตลอดจนสื่อประเภทอื่นๆ จะต้องถูกตรวจสอบก่อนเสมอก่อนที่จะพิมพ์เป็นรูปเล่มเพื่อขาย หรือแจกจ่ายให้กับประชาชนในประเทศได้อ่าน
โฟน มินท์ อู เสริมว่า การตรวจสอบของรัฐนั้นถึงพริกถึงขิงมาก ถ้าเห็นว่าคอลัมน์ไหนหรือข่าวใดมีการรายงานที่ส่อไปทางเป็นอันตรายต่อรัฐบาลแล้วละก็ ผู้ที่เขียนบทความนั้นหรือรายงานข่าวชิ้นดังกล่าวจะถูกเรียก "ตักเตือน" ทันที (warning) ความจริงแม้ว่าจะเรียกไป "ตักเตือน" แต่วิธีการทั้งคำพูดและท่าทางส่อไปในทางการ "ข่มขู่" มากกว่า เพราะมีการใช้น้ำเสียงที่ตะคอกและท่าทางที่กรรโชกเหมือนเป็นนักโทษถูกผู้คุมขังสมัยสงคราม เป็นต้น
ครั้งหนึ่งวารสารข่าวของโฟน มินท์ อู พยายามที่จะเสนอข่าวเกี่ยวกับการย้ายเมืองหลวงของพม่าจากย่างกุ้งไปยังเมืองเนปิดอ (หรือปินมะนา) ในช่วงเกือบๆ สองปีที่ผ่านมา ซึ่งโฟน มินท์ อู ไม่ได้เขียนถึงการตั้งหน่วยงานราชการของรัฐบาลตรงๆ เนื่องจากเป็นที่ทราบกันว่า รัฐบาลพม่าเองพยายามทำเรื่องนี้แบบปกปิด เป็นการลับ หลังจากเห็นว่าย่างกุ้งได้กลายสภาพเป็นเมืองหลวงที่ใครเข้าออกได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวต่างชาติ ซึ่งนับวันได้เดินทางเข้าไปท่องเที่ยวในประเทศด้วยจำนวนที่มากขึ้น
โฟน มินท์ อู สร้างแผนที่เมืองหลวงใหม่โดยการเสแสร้งว่าเป็นแผนที่ของโรงแรมแห่งหนึ่ง ซึ่งข้อมูลดังกล่าวได้จากแหล่งข่าวที่เอาข้อมูลมารายงานกับนักข่าวภายนอก แต่แท้ที่จริงแล้วการสร้างแผนที่โรงแรมที่ว่าเป็นการตบตารัฐบาลและสื่อสารให้สาธารณชนรับรู้แบบอ้อมๆ ซึ่งตอนแรกเจ้าหน้าที่ของกระทรวงข้อมูลข่าวสารเองได้ปล่อยให้ผ่านตา แต่ท้ายที่สุดเมื่อเวลาผ่านไป เจ้าหน้าที่รัฐบาลรับรู้เรื่องดังกล่าวขึ้น โฟน มินท์ อู จึงถูกเรียกไปสอบสวนด้วยวิธีการกรรโชกถึงที่มาที่ไปของรายงานข่าวดังกล่าว และบีบบังคับให้สารภาพพร้อมทั้งขู่ว่ารายงานฉบับนี้จะต้องไม่ไปถึงมือของสื่อตะวันตกอย่าง BBC (British Broadcasting Corporation) หรือ VOA (Voice of America) เป็นต้น เพราะเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า สื่อตะวันตกจากประเทศเสรีนิยมนั้น ถือว่าเป็นของแสลงของรัฐบาลทหารพม่าเป็นอย่างยิ่ง
ที่ร้ายไปกว่านั้นก็คือ ถ้านักข่าวคนใดได้รับคำเตือนครบ 3 ครั้ง ถือว่าอยู่ในสถานการณ์วิกฤติ และนั่นอาจนำไปสู่การจองจำในที่คุมขัง พม่าเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ขึ้นชื่อว่ามีนักข่าวถูกจับติดคุกเป็นจำนวนมาก และนับวันจำนวนดังกล่าวก็ยิ่งเพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่แตกต่างอย่างมากกับจำนวนนักข่าวที่ถูกปล่อยตัวออกมา
นี่เป็นเพียงตัวอย่างชีวิตของนักข่าวคนหนึ่งในประเทศ"ไม่เป็นประชาธิปไตย"ที่สุดของโลกใบนี้ น้ำเสียงและท่าทีของโฟน มินท์ อู บอกอย่างชัดเจนว่า เขารักอาชีพสื่อมวลชนเป็นอย่างมาก แม้ว่าจะอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่สื่อมวลชนทำได้แค่เพียงเป็นกระบอกเสียงให้รัฐ แต่อุดมการณ์ที่แน่วแน่เด็ดเดี่ยวของเขา กลับพยายามดิ้นรนและแสวงหาหนทางที่จะสื่อ "สาร" ไปยังประชาชนในประเทศและนานาชาติอย่างมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ระหว่างที่เขาเป็นนักศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่แห่งนี้ เขากับเพื่อนยังรวมตัวกันรณรงค์เรียกร้องประชาธิปไตยให้กับประเทศบ้านเกิดอย่างไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากนี้เขายังสร้างบล็อกเป็นภาษาพม่า และก็อีกเช่นกัน การสร้างบล็อกขึ้นมาก็เป็นเรื่องที่จะให้รัฐบาลรู้ไม่ได้อย่างเด็ดขาด แต่สำหรับเขาแล้วไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนหรือมีข้อจำกัดเพียงใดก็ตาม เขาก็ยังพยายามอย่างเต็มที่ที่จะเป็นสื่อมวลชนที่เผยแพร่ความจริง และเรียกร้องประชาธิปไตยให้กับพม่าอย่างไม่มีวันหยุดนิ่ง
สถานการณ์สื่อสิ่งพิมพ์ในพม่า
จากรายงานเรื่อง "Activities of Mass Media Functioning in Myanmar"
ของสถาบัน Yangon Institute of Economics, Centre of Human Resource Development
เสนอว่า ในบรรดาสื่อสิ่งพิมพ์ของประเทศพม่านั้น สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. ประเภทที่รัฐเป็นเจ้าของและดำเนินกิจการเองทั้งหมด
2. ประเภทที่เปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมผลิตด้วย และ
3. ประเภทที่เอกชนดำเนินการผลิตเองทั้งหมด
ประเภทที่รัฐเป็นเจ้าของและดำเนินกิจการเองทั้งหมดนั้น มีหนังสือพิมพ์ทั้งรายวันและรายสัปดาห์ 6 ฉบับที่สำคัญคือ
1. The New Light of Myanmar ฉบับภาษาพม่า
2. The New Light of Myanmar ฉบับภาษาอังกฤษ โดยมีกระทรวงข้อมูลข่าวสารเป็นเจ้าของ
3. The Mirror เป็นอีกสื่อที่กระทรวงข้อมูลข่าวสารเป็นเจ้าของอีกเช่นกัน
4. วารสารข่าวรายสัปดาห์ City News ซึ่งพิมพ์เป็นภาษาพม่าโดยมีคณะกรรมการพัฒนาเมืองย่างกุ้ง
(Yangon City Development Committee) เป็นผู้ดำเนินการผลิต
5. หนังสือพิมพ์รายวัน The Yadanabon พิมพ์เป็นภาษาพม่า มีสภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาแห่งหน่วยงานมัณฑะเลย์เป็นเจ้าของ และ
6. Mandalay Daily พิมพ์เป็นภาษาพม่าเช่นกัน มีคณะกรรมการพัฒนาเมืองมัณฑะเลย์เป็นเจ้าของ
สำหรับวารสารข่าวที่มีเอกชนเป็นผู้ดำเนินการกึ่งหนึ่งนั้น จากการสำรวจพบว่ามี 2 ฉบับหลักๆ คือ
- The Myanmar Times ซึ่งเป็นสิ่งพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษและพม่า และ
- Weekly Eleven News Journal
สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทนี้หน่วยงานรัฐโดยเฉพาะกระทรวงข้อมูลข่าวสารสามารถเข้ามาแทรกแซงการทำงานได้ระดับหนึ่ง ในขณะที่ฉบับหลังมีคนระดับรัฐบาลร่วมเป็นเจ้าของ และกำหนดนโยบายการเสนอข่าวด้วย สื่อสิ่งพิมพ์ทั้งสองฉบับนี้โดยปกติแล้วจะเป็นคู่แข่งกันทางการตลาด
ประเภทสุดท้ายนั้นถือว่ามีจำนวนมากที่สุด ซึ่งรวมทั้งวารสารข่าวกว่า 80 ฉบับและนิตยสารประมาณ 100 ฉบับ ซึ่งสามารถแบ่งได้หลายประเภท เช่น นิตยสารข่าวกีฬา, วารสารด้านสุขภาพ, หรือนิตยสารเกี่ยวกับเรื่องราวลึกลับพิศวง เป็นต้น. โดยหัวหนังสือที่มีอิทธิพลและได้รับความนิยมต่อผู้อ่าน เช่น The Voice Weekly, 7 Days News, Kumudra, Flowers News และ Khit Myanmar Weekly สื่อประเภทนี้ แม้ว่ารัฐจะไม่ได้ร่วมเป็นเจ้าของหรือกำหนดนโยบายการผลิต แต่เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องมีอำนาจเต็มที่ในการตรวจสอบสื่อสิ่งพิมพ์ทุกชนิด ก่อนการตีพิมพ์และจัดจำหน่าย
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ข้อมูลจาก http://www.tja.or.th/index.php?option=com_content&task=view&id=549&Itemid=81
Newsline เป็นกิจกรรมหนึ่งของโครงการวิจัยไทย
(Thai Research) มูลนิธิส่งเสริมสันติวิถี (Peaceway Foundation) เป็นการรวบรวมข่าว/บทความภาษาไทยที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเทศพม่า
และผลกระทบที่มีต่อประเทศไทย เพื่อให้ผู้คนในสังคมไทยได้รับรู้ ตระหนักถึงความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับประชาชนในพม่า
และเพื่อกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและรณรงค์ให้เกิดสันติภาพที่แท้จริงในประเทศพม่าต่อไป
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการวิจัยไทย และโครงการอื่นๆติดตามได้ที่ www.burmaissues.org/En/Index.html
หรือ http://www.oknation.net/blog/burmaissues
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
2. ผู้นำพระพม่าเปิดใจสื่อเยอรมัน
ยืนยันความโหดร้ายของรัฐบาลทหาร
สฤณี อาชวานันทกุล: แปล
จากบทสัมภาษณ์เรื่อง
BURMESE MONK TESTIFIES TO REGIME'S BRUTALITY
'ชัดเจนว่าพวกเราทั้งหมดอาจต้องตาย'
พระหนุ่ม อาชิน เวน โกวิท เปิดใจกับหนังสือพิมพ์ SPIEGEL ของเยอรมันว่า กลายเป็นหนึ่งในผู้นำการประท้วงในกรุงย่างกุ้งที่ผ่านมาได้อย่างไร
กองทัพปราบปรามผู้ชุมนุมอย่างไร และเหตุใดเขาจึงต้องหลบหนีข้ามพรมแดนมายังประเทศไทย?
ชื่อของอาตมาคือ อาชิน เวน โกวิท อาตมาอายุ 24 พรรษา เป็นหนึ่งในผู้จัดการชุมนุมประท้วงร่วมกับพระอีก 14 รูป และนักศึกษาหลายคน. รัฐบาลพม่าเรียกตัวเองว่า "สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งชาติ" (State Peace and Development Council)[SPDC] แต่พวกอาตมามองว่าพวกเขาคือกลุ่มอาชญากรมือเปื้อนเลือด อาตมาถูกกดดันให้หนีมาประเทศไทย เพราะรัฐบาลสั่งทหารให้ยิงและทรมานพวกอาตมา รัฐบาลบอกว่าอาตมาคือผู้ก่อการร้าย และค้นเจอระเบิดในกุฏิ คำกล่าวนี้โกหกทั้งเพ
กองกำลังภาคตะวันตกของกองทัพมีศูนย์บัญชาการในบ้านเกิดของอาตมา คือเมืองอัน (Ann) ทางตะวันตกของประเทศ โยมพ่อของอาตมาเป็นช่างไม้ โยมแม่เป็นแม่ค้าแผงลอยในตลาด ครอบครัวเรายากจน แต่ก็ยังมีพอกินพอใช้ อาตมาอยากบวชตั้งแต่เล็กๆ บวชเณรที่วัดวรรณิธาราม (Wannitarama) ตั้งแต่อายุ 12 ขวบ และบวชพระเมื่ออายุครบ 20 ปี เมื่อเจ้าอาวาสของวัดนั้นไม่มีอะไรจะสอนอาตมาแล้ว ท่านก็ส่งอาตมาไปอยู่ย่างกุ้ง
วัดเนียนอู (Nian Oo) ที่อาตมาไปอยู่เป็นวัดเล็กๆ มีพระทั้งหมดเพียง 30 รูป แต่มีชื่อเสียงดี พระที่นั่นไม่มีสมบัติส่วนตัว ซึ่งก็เป็นเหตุผลที่เราต้องเดินถนนบิณฑบาตทุกเช้า แต่เราลำบากขึ้นเรื่อยๆ เพราะพุทธศาสนิกจำนวนมากไม่มีอาหารพอเลี้ยงตัวเอง บางครั้งอาตมาได้พบปะนักศึกษาเมื่อออกมาบิณฑบาต เราคุยกันหลายเรื่อง และเราก็เห็นตรงกันว่าพม่าต้องมีการเปลี่ยนแปลง หลังจากนั้นเราก็เริ่มเฝ้ารอจังหวะที่เหมาะสม
เราได้ยินข่าวจากสถานีบีบีซีของอังกฤษและ Democratic Voice of Burma (สื่ออิสระที่ทำงานจากนอร์เวย์) ว่ารัฐบาลทหารทุบตีพระในเมืองพะโคในวันที่ 5 กันยายน หลังจากที่พระมาชุมนุมประท้วงการขึ้นราคาน้ำมัน อาตมาคุยเรื่องนี้กับพระที่วัด เราได้ยินว่าพระในเมืองพะโคได้ร่วมกันจัดตั้ง "สมาพันธ์พระพม่า" (All Burma Monks Alliance) ขึ้น เราสงสัยว่าเราควรจะติดต่อพวกเขาหรือไม่ เจ้าอาวาสของเรากลัว ท่านบอกว่า เราทุกคนต้องถูกจับเข้าคุกถ้าเราเดินประท้วง และสำทับว่า พวกอาตมาไม่เข้าใจความเหี้ยมโหดของกองทัพ
เช้าวันต่อมา อาตมาไปพบเพื่อนๆ นักศึกษา พวกเขาใช้คอมพิวเตอร์เป็น เราเริ่มพิมพ์ใบปลิว มีพระเพียงไม่กี่รูปจากวัดของอาตมาที่มีส่วนร่วม เราเอาใบปลิวไปแจกตามวัดต่างๆ ในย่างกุ้งและบางวัดที่อยู่นอกตัวเมือง. เมื่อกลุ่มผู้นำของสมาพันธ์พระพม่าเรียกร้องให้พวกอาตมาชุมนุม ผ่านทางวิทยุในวันที่ 18 กันยายน อาตมาไปเอาธงวัดมาจากในวัด พอตกบ่ายวันเดียวกัน พระจำนวน 200 รูปก็เริ่มเดินขบวนไปยังเจดีย์โบตาตอง (Botataung) อาตมาไม่แน่ใจว่ามีพระเดินขบวนทั้งหมดกี่รูป เพราะอาตมาเดินอยู่แถวหน้าสุด พวกอาตมาเดินไปก็แผ่เมตตาไปด้วย ฝูงชนสองข้างทางตบมือให้กำลังใจ ทำให้พวกอาตมามีความเชื่อมั่นมากขึ้น
ในวันที่ 19 กันยายน เราเคลื่อนขบวนหลังเที่ยงเล็กน้อย มีคนมาร่วมประท้วง 2,000 คน รวมทั้งพระหนุ่ม 500 รูป พวกเราเดินไปที่เจดีย์ชเวดากองก่อน ร้องเพลงไปตลอดทาง มีพระเข้ามาร่วมเดินขบวนเป็นจำนวนมาก เราเดินไปถึงเจดีย์ซูเลตอนเวลาประมาณ 16.00 น. นั่งลงกับพื้น แต่ไม่รู้ว่าจะทำอะไรกันต่อไป ปัญหาของพวกอาตมาคือเราไม่มีผู้นำ. อาตมาพึมพำบทสวดมนต์สั้นๆ บทหนึ่ง รวบรวมความกล้าหาญ และลุกขึ้นยืนต่อหน้าทะเลจีวรสีแดง
ใครก็ไม่ทราบยื่นโทรโข่งให้อาตมา อาตมาประกาศว่า พวกเราต้องมีผู้นำเพื่อให้การประท้วงครั้งนี้ดำเนินต่อไปได้โดยสันติ อาตมาขออาสาสมัคร 10 รูป มีพระลุกขึ้นยืนประมาณ 20-25 รูป เราเลือก 15 รูปขึ้นเป็นผู้นำ. พวกเราตกลงเรียกกลุ่มของเราว่า "กลุ่มตัวแทนคณะสงฆ์" เป็นกลุ่มแนวร่วมของพระสงฆ์ อาตมาได้รับการเลือกให้เป็นผู้นำ และคนอื่นๆ ก็ได้รับเลือกให้เป็นผู้รับผิดชอบเรื่องอาหาร ของบริจาค การเงิน และการจัดความเรียบร้อย หลังจากนั้นอาตมาก็ปราศรัย ใจความว่า
ขณะนี้ประเทศของเรากำลังอยู่ในภาวะวิกฤต ประชาชนอดอยาก รัฐบาลเผด็จการทหารกำลังละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเลวร้าย ดังนั้น อาตมาขอให้ประชาชนชาวย่างกุ้งร่วมเดินขบวนประท้วงกับเรา เราจะประท้วงจนกว่าจะได้รับชัยชนะ คราวนี้เราจะไม่ยอมแพ้. เรานัดประชุมกันอีกทีตอนเช้าวันรุ่งขึ้นเพื่อวางแผน และจะเริ่มเดินขบวนหลังเพล หนึ่งในกฎที่เราตกลงกันคือ เราจะห่มจีวรอย่างเคร่งครัดตรงตามแบบแผนในวินัยสงฆ์ เราจะได้ดูออกทันทีว่าใครเป็นสายลับที่รัฐบาลส่งมาให้ปลอมเป็นพระ
หนึ่งในปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของเราคือ ทำอย่างไรจึงจะหาอาหารให้พระได้ทุกรูป ดาราหนังชื่อดังซาร์กานาร์ (Zarganar), เพื่อนนักแสดงของเขาคือ จ่อ ทู (Kyaw Thu) และกวี อ่อง เว (Aung Way) ช่วยพวกอาตมาจัดหาข้าวสำหรับคณะสงฆ์ การชุมนุมประท้วงของเราขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ กองทัพก็ไม่ทำอะไร ยกเครื่องกีดขวางการจราจรออกจากถนนให้เรา ทหารบางคนถึงกับโค้งให้เราด้วย ถึงตอนนี้จำนวนผู้ชุมนุมก็มีมากกว่า 100,000 คนแล้ว คนดูส่งเสียงเชียร์ตลอด พวกอาตมาหวังว่ารัฐบาลทหารจะยอมโอนอ่อน แต่นั่นเป็นความเข้าใจผิด ดังที่เราได้บทเรียนในวันที่ 26 กันยายน
วันนั้นมีคนโทรมาหาอาตมาตั้งแต่ตีสี่ รายงานว่าตำรวจเข้าบุกค้นวัดมิงกาละยาม (Mingalayama) เมื่อเที่ยงคืนที่ผ่านมา นั่นเป็นวิทยาลัยสงฆ์ที่สอนพระสูตรที่เป็นภาษาบาลีโบราณ ปกติจะมีพระจำวัดอยู่ที่นั่นประมาณ 200 รูป กุฏิของพระถูกค้นกระจุย หนังสือและเฟอร์นิเจอร์หล่นกระจายอยู่บนพื้น จีวรขาดวิ่นและคราบเลือดเกรอะกรังทุกหนแห่ง ทหารและตำรวจลากตัวพระสงฆ์ทุกรูปออกไปจากวัด
พวกอาตมาตัดสินใจว่าจะเริ่มเดินขบวนในวันนั้นให้เช้ากว่าเดิม ตอนนั้นฝนตก พวกอาตมาเดินไปถึงประตูทิศตะวันออกของเจดีย์ชเวดากองประมาณ 11.30 น. จากประตูมีบันไดมุงหลังคาตลอดทางสู่ตัวพระเจดีย์ ตรงนั้นเป็นที่นัดพบที่คนชอบใช้ ในการประท้วงใหญ่ปี 1988, ออง ซาน ซู จี ก็ปราศรัยเป็นครั้งแรกของการชุมนุมที่นั่น. วันนั้นกลุ่มของอาตมามีพระและแม่ชีรวม 300 รูป เราเดินขบวนไปยังใจกลางเมืองย่างกุ้ง แต่กองกำลังทหารมาขวางทางเราไว้ไม่ให้เดินต่อ กำแพงวัดอยู่ข้างหลังเรา
ทหารคนหนึ่งกล่าวขึ้นมาว่า หลวงพี่เดินขบวนเข้าไปในเมืองไม่ได้ แต่ถ้าปีนขึ้นรถบรรทุก เราจะพาไปส่งในเมือง แน่นอนว่านี่เป็นกลอุบายเท่านั้น พวกอาตมานั่งลงบนพื้นถนนและร้องเพลงทางศาสนา ทหารไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรกับเรา. และแล้วพวกเขาก็ใช้กำลัง ใช้แก็สน้ำตา ฉีกจีวรของแม่ชี และจับกุมพระไปหลายรูป อย่างไรก็ตาม กลุ่มของพวกอาตมาส่วนใหญ่ก็เดินไปจนถึงตลาด เทียน กยี เซย์ (Thein Gyi Zay) กลางเมืองราวๆ 16.30 น. ขณะที่อาตมากำลังจะเริ่มปราศรัย กองทัพก็เริ่มโยนระเบิดแก็สน้ำตา และเคลื่อนกำลังมาทางเรา ผู้ชุมนุมบางคนโยนก้อนหินใส่ พวกอาตมาวิ่งหนี
เย็นวันนั้น เมื่อกลุ่มตัวแทนสงฆ์นั่งหารือกันว่าจะทำอย่างไรต่อไป พวกเรารู้สึกสิ้นหวัง พระหลายรูปหวาดกลัว ชัดเจนว่าพวกเราทั้งหมดอาจต้องตาย อย่างไรก็ดี เราก็ตัดสินใจเดินขบวนประท้วงอีกครั้งในวันรุ่งขึ้น ตอนนั้นมีประชาชนประมาณ 1,000 คน และพระอีก 300 รูป ทหารตั้งด่านขวางเราตรงใกล้ๆ กับเจดีย์ ไจ้ คา ซาน (Kyaik Ka San) นอกเมืองย่างกุ้ง ขณะนั้นเป็นเวลาประมาณ 15.30 น. จับพวกนี้ให้หมด นายทหารคนหนึ่งร้องตะโกนขึ้น แต่ผู้ใต้บังคับบัญชาของเขายืนแข็งทื่ออยู่ตรงนั้นเหมือนเป็นอัมพาต นายทหารคนนั้นหัวเสียมาก เริ่มตบหน้าทหารที่ยืนอยู่แถวหน้า หลังจากนั้นทหารก็โจมตีเราอีก ฝูงชนวิ่งหนีไปคนละทิศทางด้วยความกลัว อาตมาเองก็วิ่งหนีเหมือนกัน
เราประชุมกันเป็นครั้งสุดท้ายในคืนนั้น ที่วัดมาเลกุก (Malekukka) ทุกคนพูดกันเซ็งแซ่ไปหมด มีข่าวลือว่าพระหลายร้อยรูปมรณภาพไปแล้ว และมีคนถูกจับไปหลายคันรถ ข่าวนี้ทำให้พวกอาตมาตัดสินใจแยกย้ายกันหนี เราถอดจีวรออก อาตมารู้สึกเศร้ามาก อาตมาไม่ได้ใส่ลองยี (โสร่งพม่า) และเสื้อทีเชิ้ตมาหลายปีแล้ว
อาตมาซ่อนตัวอยู่ในกระท่อมร้างมืดๆ นอกเมืองย่างกุ้งจนถึงวันที่ 12 ตุลาคม ถึงตอนนั้นผมของอาตมาก็ยาวแล้ว มีเพื่อนช่วยย้อมให้มันเป็นสีบลอนด์ ทำบัตรประชาชนปลอมให้ และหาไม้กางเขนให้ใส่ เป็นเครื่องช่วยปลอมตัวเวลาขึ้นรถเมล์ ทหารตั้งด่านสกัดมากกว่าแปดแห่งระหว่างทางไปเมืองชายแดนชื่อ เมียวดี (Myawadi) แต่อาตมาไม่ถูกจับ ไปถึงเมืองนั้นตอนเย็นวันที่ 17 ตุลาคม. เช้าตรู่วันต่อมา อาตมานั่งเรือข้ามแม่น้ำเมยไปที่แม่สอดในฝั่งไทย ไปหาองค์กรพม่าลี้ภัยตามที่อยู่ที่เพื่อนให้ พวกเขาให้อาตมาหลบซ่อนตัว
ตำรวจไทยอาจจะจับกุมและส่งตัวอาตมาออกนอกประเทศเมื่อไรก็ได้
เพราะอาตมามาที่นี่ในฐานะคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย นอกจากนี้ แม่สอดก็เต็มไปด้วยสายลับที่ทำงานให้กองทัพพม่า
บางทีอาตมาควรจะหาที่หลบภัยอีกครั้ง แต่พวกอาตมาจะไม่ยอมแพ้ง่ายๆ
http://www.onopen.com/2007/editor-spaces/2349
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
3. 'It Was Clear to Us
That We Could All Die'
Recorded by Jurgen
Kremb.
http://www.spiegel.de/international/world/0,1518,515409,00.html
Young Burmese monk Ashin Ven Kovida talks to SPIEGEL about how he became one of the leaders of the Yangon uprising, how the army cracked down on protests and why he had to flee across the border to Thailand.
My name is Ashin Ven Kovida and I am 24 years old. Together with 14 other monks and many students, I organized the protests in Yangon.
The government in Burma calls itself the State Peace and Development Council. But we see it as a group of criminals with blood on their hands. I was forced to flee to Thailand because they order their troops to shoot at us and torture us. They say that I'm a terrorist and that explosives were found in my room. Those are nothing but lies.
The army's Western Command has its headquarters in my hometown of Ann in western Burma. My father is a carpenter and my mother is a market trader. We are poor, but we had enough to eat. Ever since I was a child, I wanted to become a monk. I entered the Wannitarama Monastery when I was 12 and was admitted as a monk at 20. When my abbot there could not teach me anything more, he sent me to Yangon.
The Nian Oo monastery, where I was accepted, is small. Only 30 monks live there, but it has a good reputation. We have no personal property, which is why we go into the streets every morning to beg for our food. This has become more and more difficult recently, with so many people not having enough to eat themselves. I sometimes encountered students while I was out begging for alms. We talked a lot, and it was clear to us that something has to change in Burma. We were waiting for the right moment.
We heard on the BBC's Burmese service and on (Norway-based dissident media organization) the Democratic Voice of Burma that monks had been beaten in the town of Pakokku on Sept. 5 after a demonstration against the recent fuel price increase. At our monastery, we discussed what we could about it. We had heard that the monks in Pakokku had established the All Burma Monks Alliance. Should we try to contact them, we wondered? Our abbot was afraid. We would all be thrown in jail if we demonstrated, he said. You don't understand the military's brutality, he told us.
I went to see my student
friends the next morning. They knew how to use computers, and we began printing
flyers. Only a few of the monks from my monastery participated. We took the
flyers to all the monasteries in Yangon, as well as to a few outside the city.
When the leaders of the All Burma Monks Alliance called for demonstrations
on the radio on Sept. 18, I went to our monastery to get the monastery's flag,
and that afternoon about 200 monks started walking toward the Botataung Pagoda.
I don't know exactly how many there were, because I was walking in the front
row. We chanted the sutra of benevolence. The people along the side of the
street were clapping, which gave us confidence.
On Sept. 19, we set out
shortly after noon, 2,000 demonstrators, including 500 young monks, first
to the Shwedagon Pagoda. We were singing, and many brothers joined our march.
We reached the Sule Pagoda at about 4 p.m. We sat down on the ground, but
we didn't know what to do next. Our problem was that we didn't have a leader.
I mumbled a short prayer, gathered my courage and stood up. I was facing a
sea of red robes. Someone handed me a megaphone. We needed leaders, I said,
to make sure that the demonstration could continue peacefully. I asked for
10 monks to volunteer. About 20 or 25 stood up, and 15 were selected.
We called our group the
"Sangha Representative Committee" -- an alliance of monks. I was
elected to be their leader, and others were put in charge of food, donations,
finances and maintaining order. Then I gave a speech. Our country is in a
great crisis, I said. The people are starving. Horrible human rights violations
are taking place under the military dictatorship. This is why I call upon
all the people in Yangon to march with us. We will continue to demonstrate
until we win, I said. This time we will not give up.
We would meet in the morning, discuss our plans and set out after breakfast.
One of our rules was that each monk was to fold his robe precisely according
to the rules of the clergy. This would enable us to immediately recognize
government spies pretending to be monks.
One of the biggest problems was finding food for all the monks. The famous actor Zarganar, his colleague Kyaw Thu and the poet Aung Way helped us get rice for our brothers. The demonstrations grew from day to day. The military held back, clearing the roadblocks when we came. Some even bowed to us. The crowd had grown to more than 100,000. The people applauded. We hoped that the regime would soon relent. But that was a fallacy, as we learned on Sept. 26.
Someone called me at about 4 a.m. to report that the police had raided the Mingalayama monastery at midnight. That's the Buddhist university where they teach the ancient Pali script. Normally more than 200 monks live there. Their quarters were ransacked, books and furniture were scattered on the floor, torn robes and blood were everywhere. The soldiers and police had dragged off all the brothers.
We decided to set out even earlier that morning. It was raining. We arrived at the eastern gate of the Shwedagon Pagoda at about 11:30 a.m. Covered steps lead up to the pagoda from that entrance. It's a popular meeting place, and it was also where (opposition leader) Aung San Suu Kyi gave her first speech during the protests in 1988. That day our group consisted of 300 monks and nuns. We headed for downtown Yangon. But soldiers blocked our path before we could continue walking. We had the brick wall of a monastery at our backs.
An officer said: You cannot march into the city, but if you get on our truck we will take you there. It was a trick, of course. We sat down in the streets and sang religious songs. The soldiers didn't know what to do.
Then they attacked. They used tear gas, they tore the robes off of nuns, and many of us were arrested. Nevertheless, most of the group managed to make it to the Thein Gyi Zay market in downtown Yangon by about 4:30 p.m. I was about to give a speech when the military began launching tear gas grenades and moving in our direction. A few demonstrators threw rocks back at them. We fled.
That evening, when our committee sat down to discuss what to do next, we felt helpless. Many were afraid. It was clear to us that we could all die. Nevertheless, we went out to demonstrate again the next day. This time there were about 1,000 protestors and 300 monks. Security forces stopped us at a roadblock near the Kyaik Ka San Pagoda on the outskirts of Yangon around 3:30 p.m. Arrest them, an officer shouted, but his soldiers stood there as if they were paralyzed. The officer, seething with rage, began slapping soldiers in the front row. Then they attacked again. The crowd dispersed in a panic. I too ran away.
We held our last meeting that night, at the Malekukka monastery. Everyone was talking at the same time. There were rumors that hundreds were dead and that people had been arrested and taken away by the truckload. This convinced us to withdraw. Then we removed our robes. It was incredibly sad. I hadn't worn a longyi (Burmese sarong-style garment) and a T-shirt in years.
I hid in a dark, empty hut outside Yangon until Oct. 12. My hair had grown by then, and friends helped me to dye it blonde, got me a fake ID card and a cross, which I hung around my neck as a disguise when I got on a bus. There are more than eight police roadblocks on the road to the border town of Myawadi, but I wasn't discovered, and I arrived there late in the evening on Oct. 17.
At dawn, I took a boat
across the Moi River to the Thai city of Mae Sot. Friends had given me the
address of a Burmese exile organization, which gave me a place to hide.
The Thai police might arrest and deport me at any time, because I came here
as an illegal immigrant. Besides, the city is full of spies for the Burmese
military.
Perhaps it would be better for me to go into hiding again. But we won't give up that quickly.
BURMESE MONK TESTIFIES
TO REGIME'S BRUTALITY
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
นักศึกษา
สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ หรือถัดจากนี้สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87