โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๔๑๐ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๐ (November, 14, 11, 2007) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

ต่อมา ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๔ นายเสถียร จันทร ได้ทำการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงหอกระจายข่าวควบคู่กับการดำเนินการเสียงตามสาย เพื่อให้การสื่อสารระหว่างคนในชุมชนมีประสิทธิ ภาพยิ่งขึ้น จนพัฒนามาถึงเมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๕ ที่ผ่านมา โดยนายเสถียร จันทร ได้รับงบสนับสนุนจากกองทุนเพื่อสังคม ซึ่งเป็นกองทุนที่ได้รับงบประมาณดำเนินการจากกระทรวงการคลัง และเริ่มดำเนินการจุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนจังหวัดอ่างทอง ทางคลื่นความถี่ เอฟเอ็ม 106.25 เมกกะเฮิร์ตซ์ เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๔๕ ซึ่งเป็นการใช้สิทธิในการสื่อสาร
14-11-2550

Community Radio
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com

้สื่อภาคประชาชนภายใต้รัฐธรรมนูญปี ๔๐ - คดีสิทธิมนุษยชน
วิทยุชุมชนอ่างทอง: การขึ้นศาลครั้งแรกของคดีวิทยุชุมชนของประเทศไทย
ฝ่ายรณรงค์และเผยแพร่ มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) : เรียบเรียง
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : เผยแพร

ข้อมูลต่อไปนี้ กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้รับมาจาก
ฝ่ายรณรงค์และเผยแพร่ มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.)
เป็นเรื่องเกี่ยวกับ การดำเนินงานวิทยุชุมชนอ่างทอง ภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญ ๔๐
มาตรา ๔๐ แต่ถูกดำเนินคดีเป็นรายแรกของประเทศไทย และศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว
ให้นายเสถียร จันทร จำคุก ๔ เดือน และเสียค่าปรับ ๔๐,๐๐๐ บาท เมื่อวันที่ ๗
กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙ จากนั้นได้มีการยื่นอุทธรณ์ไปยังศาลจังหวัดอ่างทอง

สำหรับการนำเสนอข้อมูลบนเว็บเพจ กองบรรณาธิการได้เรียงลำดับดังต่อไปนี้
๑. ความเป็นมา / ข้อมูลพื้นฐาน
๒. ประวัตินายเสถียร จันทร ผู้ประสานงานวิทยุชมชนอ่างทอง (จำเลย)
๓. กฎหมาย / มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง กรณีวิทยุชุมชนอ่างทอง
๔. ลำดับเหตุการณ์ กรณีวิทยุชุมชนอ่างทอง
๕. สรุปคำพิพากษาศาลจังหวัดอ่างทอง (โดยย่อ)
ข้อมูลอ่านประกอบเรื่องวิทยุโจรสลัด บทความลำดับที่ ๑๔๐๘
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๔๑๐
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๒.๕ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ตัวอย่างการใช้สื่อวิทยุชุมชนในประเทศอินเดีย อันนำมาซึ่ง
การเผยแพรข้อมูลข่าวสารในเขตทุรกันดาร ที่ซึ่งประชากร
ไม่รู้หนังสือ และทำให้เสียงของผู้หญิงที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน
เป็นที่ปรากฏได้บนพื้นที่สาธารณะ

้สื่อภาคประชาชนภายใต้รัฐธรรมนูญปี ๔๐ - คดีสิทธิมนุษยชน
วิทยุชุมชนอ่างทอง: การขึ้นศาลครั้งแรกของคดีวิทยุชุมชนของประเทศไทย
ฝ่ายรณรงค์และเผยแพร่ มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) : เรียบเรียง
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : เผยแพร่

๑. ความเป็นมา / ข้อมูลพื้นฐาน
สถานการณ์วิทยุชุมชน ก่อนหน้าที่จะมีการยึดเครื่องส่งและออกหมายจับผู้ประสานงานวิทยุชุมชนอ่างทอง คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาวิทยุชุมชน ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2545 มีสาระสำคัญคือ " ...ภาคประชาชนได้มีการขอใช้คลื่นความถี่และมีการเปิดสถานีวิทยุชุมชนมากขึ้น หากมีการห้ามก็อาจขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทยได้ ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงมอบหมายให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีดำเนินการให้มีมาตรการและหลักเกณฑ์ชั่วคราวเพื่อควบคุมดูแลการใช้คลื่นความถี่ของวิทยุชุมชน... แล้วนำเสนอต่อ ครม. เพื่อพิจารณาต่อไป … "

หลังจากการมีมติ ครม. ในวันที่ 30 สิงหาคม 2545 ได้มีคำสั่งแต่งตั้ง "คณะทำงานกำหนดมาตรการเพื่อควบคุมดูแลการใช้คลื่นความถี่ของวิทยุชุมชน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี" และมีการจัดประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ 1 ในวันที่ 17 กนยายน 2545, ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 ในวันที่ 21 ตุลาคม 2545 และประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 ในวันที่ 29 ตุลาคม 2545 โดยในการประชุมคณะทำงานฯ ดังกล่าว ได้มีการพูดคุยและมีมติในที่ประชุมว่า จะผ่อนปรนการดำเนินการตามกฎหมายกับกลุ่มผู้ดำเนินกระบวนการเรียนรู้วิทยุชุมชนไปก่อน จนกว่าการจัดทำหลักเกณฑ์และมาตรการจะแล้วเสร็จ

แต่ปัญหาได้เกิดขึ้นในวันที่ 30 ตุลาคม 2545 หลังจากการประชุมฯ ครั้งที่ 3 เพียง 1 วัน เมื่อประชาสัมพันธ์จังหวัดอ่างทอง และหัวหน้าฝ่ายสารวัตรวิทยุ-คมนาคม ได้นำหมายค้นพร้อมขอกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าตรวจค้นและยึดเครื่องส่งวิทยุ พร้อมอายัดเสาและสายส่งวิทยุ. ต่อมา วันที่ 4 พฤศจิกายน 2545 สภ.อ.ไชโย ออกหมายจับนายเสถียร จันทร ผู้ประสานงานจุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนจังหวัดอ่างทอง ใน 9 ข้อกล่าวหา แยกเป็น 3 ประเด็นหลัก คือ

1. หมิ่นประมาท (ข้อกล่าวหาที่ 1-7)
2. การมีและใช้เครื่องส่งโดยไม่ได้รับอนุญาต (ข้อกล่าวหาที่ 8) และ
3. เปิดสถานีวิทยุโดยไม่ได้รับอนุญาต (ข้อกล่าวหาที่ 9)

หลังสถานการณ์การค้นและยึดเครื่องส่งวิทยุชุมชน และออกหมายจับผู้ประสานงานจุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนจังหวัดอ่างทองแล้ว ได้มีการประชุม คณะทำงานกำหนดมาตรการเพื่อควบคุมดูแลการใช้คลื่นความถี่ของวิทยุชุมชน ครั้งที่ 4/2545 โดยการประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมคณะทำงานฯ ครั้งสุดท้าย ก่อนส่งหลักเกณฑ์และมาตรการชั่วคราวฯ เข้าสู่การพิจารณาของครธรัฐมนตรี

ภายหลังการออกหมายจับกุมนายเสถียร อ่างทอง ผู้ประสานงานวิทยุชุมชนอ่างทอง นายเสถียร จันทร และผู้ประสานงานสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ (สวชช.) ได้ยื่นเรื่องต่อคณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เพื่อขอความเป็นธรรมและขอให้หน่วยงานทั้งสองตรวจสอบการจับกุมดำเนินคดีกรณีวิทยุชุมชนอ่างทองว่า เป็นการละเมิดต่อสิทธิการสื่อสารภาคประชาชนตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญมาตรา 40 (*) หรือไม่
(*) คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ

ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่งทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่ง และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

การดำเนินการตามวรรคสองต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะอื่น และการแข่งขันเสรีอย่างเป็นธรรม

ต่อมา หลังจากการเรียกทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าให้ข้อมูล คณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ได้มีข้อสรุปและทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี กรณีคดีวิทยุชุมชนอ่างทอง มีสาระสำคัญว่า " ..การดำเนินคดีต่อผู้ประสานงานวิทยุชุมชนอ่างทอง ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนและการพัฒนาประเทศ ...ซึ่งหน่วยงานของรัฐควรให้การสนับสนุนมากกว่าจะกวดขันจับกุม โดยอ้างการใช้อำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติของกฎหมายเก่าที่ล้าสมัย ซึ่งอาจเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดและมีผลบังคับใช้แล้ว..."

วันที่ 25 ธันวาคม 2545, นายเสถียร จันทร เข้ามอบตัวที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีนายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดโคราช เป็นนายประกัน

ปลายเดือน เมษายน 2546 หัวหน้าอัยการจังหวัดอ่างทอง ส่งสำนวนคดีวิทยุชุมชนอ่างทองไปยังอธิบดีอัยการเขต 1 เห็นควรสั่งไม่ฟ้องคดี หากแต่ในช่วงกลางเดือน พฤษภาคม 2546 กรมไปรษณีย์โทรเลขได้ยื่นเรื่องร้องขอความเป็นธรรมไปยังอธิบดีอัยการเขต 1 ขอให้มีคำสั่งฟ้องคดีวิทยุชุมชนอ่างทอง ซึ่งอัยการผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ฝ่ายคดีอาญาเขต 1 ได้ขอเรียกข้อมูลเพิ่มเติม ก่อนมีคำสั่งฟ้องคดีวิทยุชุมชนอ่างทองในวันที่ 26 เมษายน 2547 โดยเหลือข้อกล่าวหาเพียง 2 ข้อ คือ

1) มี / ใช้เครื่องส่งวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต
2) ออกอากาศวิทยุโดยไม่ได้รับอนุญาต

วันที่ 24 พฤษภาคม 2547 ผู้ประสานงานวิทยุชุมชนอ่างทองขึ้นศาลนัดแรก ณ ศาลจังหวัดอ่างทอง เป็นการขึ้นศาลครั้งแรกของคดีวิทยุชุมชนในประเทศไทย หลังจากนั้นได้มีการสืบพยานต่อเนื่อง ซึ่งได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2548 (ใช้เวลาประมาณ 1 ปี 6 เดือน). ต่อมา ศาลจังหวัดอ่างทอง ได้คำพิพากษาคดีวิทยุขุมชนอ่างทอง ในวันที่ 7 กมภาพันธ์ 2549 ความว่า… จำเลย (นายเสถียร จันทร ผู้ประสานงานวิทยุชุมชนอ่างทอง) มีความผิดตามฟ้อง ประกอบด้วย

1. ฐานมีและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต
2. ฐานตั้งสถานีวิทยุโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุก 4 เดือน ปรับ 40,000 บาท
โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี และริบของกลาง

ซึ่งนายเสถียร จันทร ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลจังหวัดอ่างทอง ในวันที่ 7 เมษายน 2549. คดีวิทยุชุมชนอ่างทองอยู่ในการพิจารณาของศาลอุทธรณ์กว่าปีครึ่ง จนในวันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน 2550 ศาลจังหวัดอ่างทอง ได้นัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ณ ศาลจังหวัดอ่างทอง เวลา 09.00 น.

๒. ประวัตินายเสถียร จันทร ผู้ประสานงานวิทยุชมชนอ่างทอง (จำเลย)
นายเสถียร จันทร อายุ 52 ปี อาชีพเกษตรกร อยู่บ้านเลขที่ 30 หมู่ 6 บ้านบ่อน้ำ ตำบลเทวราช อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง. ก่อนที่จะได้มีการดำเนินจุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนอ่างทอง ในปีพุทธศักราช 2526 (24 ปีที่แล้ว) บ้านบ่อน้ำ หมู่ 6 ตำบลเทวราช อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง ได้มีการดำเนินการหอกระจายข่าว อันเป็นโครงการของหมู่บ้านซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทองในขณะนั้น โดยมอบให้ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ดำเนินการ. หลังจากนั้น 6 เดือนผ่านไป หอกระจายข่าวได้ปิดทำการเพราะไม่มีผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ นายเสถียร จันทร จึงไปขออนุญาตนำอุปกรณ์หอกระจายข่าวจากผู้ใหญ่บ้านมาดำเนินการต่อ โดยนำอุปกรณ์ต่างๆ มาไว้ที่บ้านของตนเองตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ต่อมา ในปีพุทธศักราช 2544 นายเสถียร จันทร ได้ทำการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงหอกระจายข่าวควบคู่กับการดำเนินการเสียงตามสาย เพื่อให้การสื่อสารระหว่างคนในชุมชนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จนพัฒนามาถึงเมื่อเดือนพฤษภาคม 2545 ที่ผ่านมา โดยนายเสถียร จันทร ได้รับงบสนับสนุนจากกองทุนเพื่อสังคม (SIF) ซึ่งเป็นกองทุนที่ได้รับงบประมาณดำเนินการจากกระทรวงการคลัง และเริ่มดำเนินการจุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนจังหวัดอ่างทอง ทางคลื่นความถี่ เอฟเอ็ม 106.25 เมกกะเฮิร์ตซ์ เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2545 ซึ่งเป็นการใช้สิทธิในการสื่อสารของภาคประชาชนตามบทบัญญัติในมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ทำให้ชุมชนในพื้นที่กระจายเสียงได้เกิดช่องทางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารจากการออกอากาศของจุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนจังหวัดอ่างทอง

ในช่วงแรกเริ่มของการทดลองออกอากาศ จุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนจังหวัดอ่างทองได้ทำหนังสือแจ้งไปยังหน่วยงานราชการทุกหน่วยงานในจังหวัดอ่างทอง เชิญชวนให้ใช้บริการและร่วมดำเนินการจุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนจังหวัดอ่างทอง ซึ่งหน่วยงานราชการต่างๆ ก็ได้ส่งข้อมูลอันเป็นสาระประโยชน์มายังจุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนจังหวัดอ่างทองเป็นระยะๆ เพื่อให้ดำเนินการประชาสัมพันธ์และบอกกล่าวข้อมูลข่าวสารแก่ชุมชน ก่อนจะเกิดเหตุการณ์ยึดเครื่องส่งและออกหมายจับนายเสถียร จันทร ผู้ประสานงานวิทยุชุมชนในเวลาต่อมา

๓. กฎหมาย / มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง กรณีวิทยุชุมชนอ่างทอง

1. มาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2547
2. มาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
3. มาตรา 26 ของ พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543
4. มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 16 กรกฎาคม 2545
5. มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 24 มิถุนายน 2546
6. มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 16 สิงหาคม 2548

1. มาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2547
คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ

ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่งทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่ง และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

การดำเนินการตามวรรคสองต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะอื่น และการแข่งขันเสรีอย่างเป็นธรรม รวมทั้งต้องจัดให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการสื่อมวลชนสาธารณะ

การกำกับการประกอบกิจการตามวรรคสองต้องมีมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการควบรวม การครองสิทธิข้ามสื่อ หรือการครอบงำ ระหว่างสื่อมวลชนด้วยกันเองหรือโดยบุคคลอื่นใด ซึ่งจะมีผลเป็นการขัดขวางเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร หรือปิดกั้นการได้รับข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายของประชาชน

2. มาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ

ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่ง และกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

การดำเนินการตามวรรคสองต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะอื่น รวมทั้งการแข่งขันเสรีอย่างเป็นธรรม

3. มาตรา 26 ของ พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543
ในการจัดทำแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และการอนุญาตให้ประกอบกิจการดังกล่าวเพื่อประโยชน์สาธารณะระดับชาติ อย่างน้อยต้องครอบคลุมองค์ประกอบของเนื้อหาสาระดังต่อไปนี้

(1) การศึกษา ศาสนา ศิลปและวัฒนธรรม
(2) วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
(3) การเกษตรและการส่งเสริมอาชีพอื่นๆ
(4) ความมั่นคงของรัฐ
(5) การกระจายข้อมูลข่าวสารเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐบาลกับประชาชน
(6) การกระจายข้อมูลข่าวสารของรัฐสภาเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างรัฐสภากับประชาชน
(7) การกระจายข้อมูลข่าวสารเพื่อการส่งเสริมสนับสนุนในการเผยแพร่ และให้การศึกษาแก่ประชาชนเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ในการจัดทำแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และการอนุญาตให้ประกอบกิจการดังกล่าวเพื่อประโยชน์สาธารณะระดับท้องถิ่น อย่างน้อยจะต้องให้มีสถานีวิทยุกระจายเสียงประจำจังหวัด และสถานีวิทยุโทรทัศน์สำหรับการกระจายข้อมูลข่าวสารของประชาชนเพื่อพัฒนาด้านต่างๆ และส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนในท้องถิ่นอย่างทั่วถึงและเพียงพอ

การจัดทำแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และการอนุญาตให้ประกอบกิจการดังกล่าว ต้องคำนึงถึงสัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างผู้ประกอบการภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยจะต้องจัดให้ภาคประชาชนได้ใช้คลื่นความถี่ไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบ ในกรณีที่ภาคประชาชนยังไม่มีความพร้อม ให้ กสช.(คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ) ให้การสนับสนุน เพื่อให้ภาคประชาชนมีโอกาสใช้คลื่นความถี่ในสัดส่วนตามที่กำหนด

เพื่อประโยชน์ในการจัดสรรคลื่นความถี่ให้ภาคประชาชนได้ใช้ และการสนับสนุนการใช้คลื่นความถี่ของภาคประชาชน ให้ กสช. กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับลักษณะของภาคประชาชนที่พึงได้รับการจัดสรรและสนับสนุนให้ใช้คลื่นความถี่ รวมทั้งลักษณะการใช้คลื่นความถี่ที่ได้รับการจัดสรร โดยอย่างน้อยภาคประชาชนนั้นต้องดำเนินการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะและไม่แสวงหากำไรในทางธุรกิจ

4. มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 16 กรกฎาคม 2545
"…ครม. มีมติรับทราบรายงานความคืบหน้าการสรรหาและคัดเลือก กสช. และ กทช.(*) ว่าคงต้องรอผลการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด และโดยที่เรื่องนี้ต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง แต่ภาคประชาชนได้มีการขอใช้คลื่นความถี่และมีการเปิดสถานีวิทยุชุมชนมากขึ้น ซึ่งหากมีการห้ามก็อาจขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้ ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงมอบหมายให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีดำเนินการให้มีมาตรการและหลักเกณฑ์ชั่วคราวเพื่อควบคุมดูแลการใช้คลื่นความถี่ของวิทยุชุมชน และให้กิจการต่างๆ สามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยไม่เกิดความเสียหายต่อประเทศ แล้วนำเสนอต่อ ครม. เพื่อพิจารณาต่อไป ..."
(*) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ, คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

5. มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 24 มิถุนายน 2546
ครม. มีมติเรื่องมาตรการและหลักเกณฑ์ชั่วคราวจุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชน ดังนี้...

1. เห็นควรมอบให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เร่งรัดดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ให้เสร็จเรียบร้อยโดยเร็ว

2. เห็นควรมอบให้กรมประชาสัมพันธ์ ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่อยู่ในฝ่ายบริหารและมีสถานีวิทยุกระจายเสียงในสังกัด รับไปพิจารณาจัดสรรเวลาให้ชุมชนได้ใช้ออกอากาศให้มากที่สุดเท่าที่สามารถจะทำได้ เพื่อทดแทนการที่ประชาชนหรือชุมชนต้องตั้งสถานีวิทยุขึ้นเอง

3. โดยที่ร่างมาตรการและหลักเกณฑ์ในเรื่องนี้ คณะทำงานได้ยกร่างขึ้นในระหว่างกรมประชาสัมพันธ์หารือปัญหาข้อกฎหมายไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จึงเห็นควรให้กรมประชาสัมพันธ์รับร่างมาตรการและหลักเกณฑ์ชั่วคราวในเรื่องนี้ และข้อสังเกตของสำนักนายกรัฐมนตรีไปพิจารณาว่า จะสามารถดำเนินการตามมาตรการและหลักเกณฑ์ดังกล่าวให้เหมาะสมสอดคล้องรองรับ กสช. และ กทช. ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้เพียงใด หรือไม่ โดยให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณา และให้เชิญผู้แทนกรมไปรษณีย์โทรเลขไปร่วมพิจารณาด้วย

6. มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 16 สิงหาคม 2548
คณะรัฐมนตรีรับทราบ ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีรายงานแนวทางการแก้ไขปัญหาวิทยุชุมชน โดยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) ร่วมกับกรมประชาสัมพันธ์ได้ประสานงานและสั่งการให้มีการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาวิทยุชุมชน ดังต่อไปนี้

1. ยืนยันในหลักการ การสนับสนุนให้ชุมชนมีกลไกในการสื่อสารภายในชุมชน ซึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และเป็นการเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งของชุมชน ตลอดจนการสร้างโอกาสให้กับประชาชน

2. ยืนยันแนวทางการดำเนินการวิทยุชุมชน ภายใต้โครงการจุดปฏิบัติการเตรียมความพร้อมวิทยุชุมชน โดยมีหลักเกณฑ์กำลังส่งไม่เกิน 30 วัตต์ เสาอากาศสูงไม่เกิน 30 เมตรจากระดับพื้นดิน และรัศมีการออกอากาศไม่เกิน 15 กิโลเมตร (กรอบกติกา 30-30-15)

3. ยืนยันการอนุญาตให้โฆษณาได้ไม่เกินชั่วโมงละ 6 นาที เพื่อที่จะเป็นการหารายได้สนับสนุนการดำเนินการของวิทยุชุมชนให้เลี้ยงตนเองได้ แต่การดำเนินการดังกล่าวจะต้องไม่เป็นการขายโฆษณาเพื่อแสวงหากำไรเชิงพาณิชย์ แต่ให้อยู่ในกรอบของการเผยแพร่ภาพลักษณ์ของสินค้าในท้องถิ่นหรือชุมชนเท่านั้น โดยผู้ให้การสนับสนุนต้องเข้าใจเงื่อนไขและข้อจำกัดของกำลังส่ง และผู้มีรายได้ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลจะต้องเสียภาษีถูกต้องตามกฎหมาย

4. บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังต่อเนื่อง โดยเฉพาะกับคลื่นวิทยุที่รบกวนวิทยุการบิน วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ตาม พรบ.วิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 พรบ. วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2498 ตลอดจนประมวลกฎหมายรัษฎากรและกฎระเบียบคำสั่งที่เกี่ยวข้อง

5. ให้มีการติดตามตรวจสอบเนื้อหาการจัดรายการ โดยเฉพาะที่อาจกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โดยคณะอนุกรรมการกำกับดูแลด้านรายการของวิทยุกระจายเสียงในส่วนภูมิภาค ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ทั้งนี้จะจัดให้มีการอบรมด้านข่าวรายการ และด้านผู้ประกาศแก่ผู้ดำเนินรายการ และให้พิจารณามาตรการที่ผู้จัดรายการวิทยุ ต้องได้รับรองเป็นผู้ประกาศตามระเบียบกรมประชาสัมพันธ์ ว่าด้วยการออกใบรับรองเป็นผู้ประกาศของสถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2547

6. สนับสนุนให้มีการสัมนาระดมความคิดเห็น เพื่อให้มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการก่อนมี กสช. จึงควรที่จะสนับสนุนให้มีการจัดสัมมนาระดับประเทศ 1 ครั้ง และระดับนานาชาติ 1 ครั้ง เพื่อระดมความคิดเห็น สรุปบทเรียน และจัดร่างกรอบแนวทางการดำเนินการวิทยุชุมชน รวมทั้งการเตรียมความพร้อมของภาคประชาชนในการจัดทำร่างแผนแม่บทวิทยุชุมชนภาคประชาชน ทั้งนี้การจัดสัมมนาดังกล่าวจะเชิญนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้ได้ข้อมูลและสร้างรูปแบบว่าด้วยวิทยุชุมชนที่สอดคล้องตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 และมาตรฐานสากล โดยผลการสัมมนาจะจัดส่งให้ครม. และ กสช. ต่อไป

7. ติดตามการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาในอนาคต โดย เฉพาะการออกอากาศทางอินเตอร์เน็ต โดยขอให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นผู้พิจารณาร่วมกับกรมประชาสัมพันธ์

๔. ลำดับสถานการณ์ กรณีวิทยุชุมชนอ่างทอง

16 ก.ค. 45 ครม. มีมติเรื่องการดำเนินการวิทยุชุมชนของภาคประชาชนว่า " ...ภาคประชาชนได้มีการขอใช้คลื่นความถี่และมีการเปิดสถานีวิทยุชุมชนมากขึ้น หากมีการห้ามก็อาจขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักไทยได้ ...มอบหมายให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีดำเนินการให้มีมาตรการและหลักเกณฑ์ชั่วคราวเพื่อควบคุมดูแลการใช้คลื่นความถี่ของวิทยุชุมชน... "

31 ก.ค. 45 ประชุม คณะอำนวยการของคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหากรณีการจัดตั้งและทดลองออกอากาศวิทยุชุมชน ซึ่งผลการประชุมได้มีการแต่งตั้ง คณะทำงานกำหนดมาตรการเพื่อควบคุมดูแลการใช้คลื่นความถี่ของวิทยุชุมชน

ก.ย. - ต.ค. 45 ประชุม คณะทำงานกำหนดมาตรการเพื่อควบคุมดูแลการใช้คลื่นความถี่ของวิทยุชุมชน ครั้งที่ 1-3

30 ต.ค. 45 ผู้แทนกรมไปรษณีย์โทรเลขนำหมายศาล ไปทำการค้นและยึดเครื่องส่งวิทยุที่จุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนจังหวัดอ่างทอง

4 พ.ย. 45 สภอ. ไชโย ออกหมายจับนายเสถียร จันทร ผู้ประสานงานจุดปฏิบัติการเรียนรู้วิทยุชุมชนอ่างทอง

8 พ.ย. 45 ประชุม คณะทำงานกำหนดมาตรการเพื่อควบคุมดูแลการใช้คลื่นความถี่ของวิทยุชุมชน ครั้งที่ 4/2545 เป็นการประชุมคณะทำงานฯ ครั้งสุดท้าย ก่อนส่งหลักเกณฑ์และมาตรการชั่วคราวฯ เข้าสู่การพิจารณาของ ครม.

25 ธ.ค. 45 นายเสถียร จันทร เข้ามอบตัวที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีนายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดโคราช เป็นนายประกัน

29 ก.ค. 46 สำนักงานอัยการอ่างทอง สั่งฟ้องคดีวิทยุชุมชนอ่างทอง ต่อศาลจังหวัดอ่างทอง

13 ส.ค. 46 นายเสถียร จันทร ยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมต่ออธิบดีสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อแย้งการฟ้องคดี โดยขอให้สอบหลักฐานเอกสารและพยานเพิ่มเติม

26 เม.ย. 47 สำนักงานอัยการสูงสุด มีคำสั่งฟ้องคดีวิทยุชุมชนอ่างทอง

4 พ.ค. 47 พนักงานอัยการจังหวัดอ่างทองยื่นฟ้องคดีวิทยุชุมชนอ่างทอง

24 พ.ค. 47 นายเสถียร จันทร ขึ้นศาลนัดแรก และทำการนัดสืบพยานต่อเนื่อง

9 พ.ย. 48 วันสุดท้ายการสืบพยานคดีวิทยุชุมชนอ่างทอง

7 ก.พ. 49 ศาลจังหวัดอ่างทอง พิพากษาคดีวิทยุชุมชนอ่างทองว่า จำเลย (นายเสถียร จันทร ผู้ประสาน งานวิทยุชุมชนอ่างทอง) มีความผิดตามฟ้อง ประกอบด้วย 1. ฐานมีและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต 2. ฐานตั้งสถานีวิทยุโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุก 4 เดือน ปรับ 40,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี และริบของกลาง (ดูภาคผนวก สรุปคำพิพากษาโดยย่อ)

7 เม.ย. 49 นายเสถียร จันทร ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลจังหวัดอ่างทอง

8 พ.ย. 50 ศาลจังหวัดอ่างทอง นัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คดีวิทยุชุมชนอ่างทอง ณ ศาลจังหวัดอ่างทอง เวลา 09.00 น.

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

๕. สรุปคำพิพากษาศาลจังหวัดอ่างทอง (โดยย่อ)

คดีหมายเลขดำที่ ๕๔๘/๒๕๔๗
คดีหมายเลขแดงที่ ๑๗๓/๒๕๔๙


ศาลจังหวัดอ่างทอง


วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๙

ความอาญา
ระหว่าง พนักงานอัยการจังหวัดอ่างทอง : โจทก์
นายเสถียร จันทร : จำเลย

เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม

โจทก์ฟ้องขอลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ มาตรา ๔, ๖, ๑๑, ๒๒, ๒๓ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๙๑ ริบเครื่องส่งวิทยุคมนาคม ๑ เครื่อง เสาอากาศชนิดรอบตัว ๑ ต้น และสายนำสัญญาณวิทยุคมนาคม ๑ เส้น ของกลางเพื่อให้ไว้ในการราชการกรมไปรษณีย์โทรเลข

จำเลยให้การปฏิเสธ

ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์และจำเลยแล้ว เห็นว่า โจทก์มีประจักษ์พยานมายืนยันว่าจำเลยจัดตั้งสถานีวิทยุชุมชน มีและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมจริง โดยจำเลยร่วมจัดรายการด้วย ทั้งจับกุมได้พร้อมของกลาง ซึ่งของกลางดังกล่าวเป็นเครื่องวิทยุคมนาคม ตามมาตรา ๔, ๖ จะต้องได้รับอนุญาต แต่ปรากฏว่าจำเลยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม จึงทำให้ทางนำสืบของโจทก์มีน้ำหนักมั่นคง ให้รับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องจริง

การที่จำเลยอ้างว่ามีสิทธิตามกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้น เห็นว่า สิทธิดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้กฎหมายที่บัญญัติไว้ คือ ต้องมีกฎหมายออกมารองรับซึ่งเป็นกฎหมายประกอบกฎหมายรัฐธรรมนูญ ก็คือ พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ ได้กำหนดให้มีสถานีวิทยุกระจายเสียงในระดับท้องถิ่นให้เพียงพอ โดยให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เป็นคณะกรรมการร่วมทำหน้าที่บริหารคลื่นความถี่และมีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือข้อกำหนด และเมื่อได้ประกาศราชกิจจานุเบกแล้วใช้บังคับได้

แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฎว่า ในขณะนี้ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) ยังไม่ได้รับโปรดเกล้าสนองพระบรมราชโองการ ก็ถือได้ว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวยังไม่แล้วเสร็จ ดังนั้น ต้องอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ ที่นำมาใช้บังคับไปพลางก่อน แต่พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ มาตรา ๘๐ ไม่ได้เปิดช่องให้ทางราชการพิจารณาจัดสรรคลื่นความถี่ออกใบอนุญาตประกอบกิจการได้ จำเลยก็ไม่สามารถที่จะดำเนินการจัดตั้งสถานีวิทยุชุมชนได้

และการที่จำเลยอ้างว่ากระทำโดยสุจริต แม้จำเลยจะมีสิทธิตามที่กำหนดในกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่การมีสิทธิดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฏหมายเฉพาะเรื่อง ทั้งจำเลยตอบถามค้านว่า ได้ทราบในขณะที่ประชุมคณะทำงานกำหนดมาตรการเพื่อควบคุมดูแลการใช้คลื่นความถี่ของวิทยุชุมชนว่า ในการจัดตั้งศูนย์กระจายเสียงชุมชนและการจัดตั้งสถานีวิทยุชุมชนจะต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมาย จึงแสดงให้เห็นว่าจำเลยได้ทราบว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดต่อกฎหมายแล้ว

การที่จำเลยยังดำเนินการต่อไปหลังจากวันที่ทราบเรื่องดังล่าว ถือว่าจำเลยกระทำโดยสุจริตหาได้ไม่ ซึ่งการกระทำของจำเลยตั้งแต่แรกจนถึงวันดังกล่าวได้สิ้นสุดขาดตอนไปแล้ว การที่จำเลยดำเนินการต่อไปถือว่าจำเลยได้กระทำความผิดอีก ถึงแม้ว่าการดำเนินการต่างๆ ของจำเลยจะได้เงินจากสำนักงานการลงทุนเพื่อสังคม และเจ้าหน้าที่ส่วนราชการต่างๆ ให้คำแนะนำและช่วยเหลือ ในการดำเนินการของจำเลยก็ต้องอยู่ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมายเช่นกัน จำเลยไม่อาจกล่าวอ้างได้เช่นกัน

ส่วนที่จำเลยอ้างว่ามีมติคณะรัฐมนตรี เพื่อผ่อนผันเกี่ยวกับวิทยุชุมชน เห็นว่า มติคณะรัฐมนตรีนั้นไม่ใช่กฎหมาย เป็นเพียงให้อำนาจนายกรัฐมนตรีที่จะออกคำสั่งหรือกระทำใดๆ โดยมติคณะรัฐมนตรี ในเมื่อนายกรัฐมนตรีเห็นสมควรเท่านั้น และการจะให้มติคณะรัฐมนตรีมีผลใช้บังคับได้ต้องมีกฎหมายรองรับด้วย กรณีนี้เมื่อไม่มีกฎหมายรองรับ การจับกุมผู้กระทำความผิดต่อกฎหมายก็ยังดำเนินต่อไป และการที่จำเลยอ้างว่าทางจังหวัดอ่างทอง ไม่มีหนังสือหรือคำตักเตือนไปยังจำเลยนั้น เห็นว่าเมื่อจำเลยกระทำความผิดตามกฎหมาย จึงไม่จำเป็นต้องมีหนังสือหรือคำตักเตือน ดังนั้น ข้อกล่าวอ้างของจำเลยไม่มีเหตุผลที่จะรับฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้

พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง ฐานมีและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก ๓ เดือน และปรับ ๓๐,๐๐๐ บาท ฐานตั้งสถานีวิทยุโดยไม่ได้รับอนุญาต จำคุก ๓ เดือน และปรับ ๓๐,๐๐๐ บาท รวมจำคุก ๖ เดือน และปรับ ๖๐,๐๐๐ บาท ทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาอยู่บ้าง ลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุก ๔ เดือน ปรับ ๔๐,๐๐๐ บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด ๒ ปี และริบของกลาง

หมายเหตุ: สรุปของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ณ ศาลจังหวัดอ่างทอง เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2550
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนยังไม่ได้รับ)

 


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน


นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ หรือถัดจากนี้สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

คิดต่างในเชิงสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ดีกว่าและเสรีภาพ
14 November2007
Free Documentation License
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy

TV and newspapers rarely reach villages in Kutch, a mostly desert region in the Indian state of Gujarat, and illiteracy rates are high. In Kutch, the radio rules. "In the cities the radio is not so popular now," says Geeta Rudani, a reporter for community radio station Radio Ujjas. "But in the villages, everybody listens. Even the cattle grazers who go to the forests take a radio along."

Rural women in Kutch had no public forum before, says Geeta, but now they've got one with a dial and considerable power. Radio Ujjas' listeners regularly contact reporters with tales of scams and corruption.

Teachers who weren't getting their salaries got paid immediately after a Radio Ujjas reporter paid a visit. In the village of Reha, new roofs had still not been distributed three years after an earthquake had destroyed many houses. Yet when a reporter turned up, the village leader suddenly found he could distribute them after all. "Radio is the medium of the common people," says Geeta. "It should stay in their hands."