โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๔๐๗ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๐ (November, 11, 11, 2007) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

ในอดีต เจ้าหน้าที่ทางการของพม่าไม่ได้แสดงความน่าเชื่อถือใดๆ เกี่ยวกับหลักนิติธรรม มันยังคงไม่ชัดแจ้งว่า จำนวนเท่าไหร่ของคนเหล่านั้นที่ถูกคุมขัง และได้รับการกล่าวหาอย่างเป็นทางการ. เจ้าหน้าที่ทางการพม่ามักจะอ้างพระราชบัญญัติสถานการณ์ฉุกเฉิน ปี 1950, พระราชบัญญัติการสมาคมที่ผิดกฎหมาย, กฎหมายปกป้องรัฐปี 1970, กฎหมายปกป้องเพื่อความสงบสุข กฎหมายทั้งหมดนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะปราบปรามผู้ที่ไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรงทางการเมือง และได้ใช้ต่อกรกับผู้ซึ่งออกมาเรียกร้องสิทธิของพวกเขาอย่างสันติ เพื่อเสรีภาพในการแสดงออก
11-11-2550

Saffron revolution
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com

ผลที่ตามมาของกบฎผ้าเหลืองในพม่าเพื่อนบ้าน
พม่าถอยหลัง: ๔๐ วันหลังเหตุการณ์กบฎผ้าเหลือง (สรุปข่าว ๒)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : บรรณาธิการ
รวบรวมจากข้อมูลหลายส่วน เช่น News Line, ประชาไท, และสิ่งพิมพ์ต่างๆ

รายงานข่าว บทความ และภาคผนวกต่อไปนี้ กองบรรณาธิการ ม.เที่ยงคืน
ได้รับและรวบรวมมาจากหลายแหล่ง เพื่อนำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับเหตุการณ์ซึ่งเป็นผล
สืบเนื่องมาจากการปฏิวัติผ้าเหลืองที่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ

รายงานสถานการณ์ต่อไปนี้จะทำให้เห็นภาพในช่วงเวลา ๔๐ วันที่ผ่านมา
หลังกลุ่มผู้ประท้วงอันประกอบด้วยพระสงฆ์ และประชาชน ได้ถูกเผด็จการทหารพม่า
ปราบปรามอย่างรุนแรง และชาวโลกมีปฏิกริยาในการกดดันรัฐบาลเผด็จการดังกล่าวอย่างไร
รวมทั้งบทความเชิงวิเคราะห์ที่จะทำให้ทราบว่า ทำไมพระสงฆ์พม่าจึงมีบทบาททาง
การเมืองอย่างสำคัญ และในส่วนสุดท้ายจะเป็นภาคผนวก ซึ่งประกอบด้วยเรื่องเกี่ยวกับ
อาการป่วยของออง ซาน ซู จี และเรื่องของภาคประชาชนต่อต้านกฎบัตรอาเซียนอย่างไร
และกำลังเริ่มร่างกฎบัตรภาคประชาชนอาเซียนคู่ขนานขึ้นมา เพื่อเปรียบเทียบกับกฎบัตรชนชั้นนำ
เนื่องจากรายงานเหตุการณ์ บทความ และภาคผนวกเหล่านี้ มีความยาวพอสมควร
สำหรับการนำเสนอบนหน้าเว็บเพจ ม.เที่ยงคืน จึงได้แบ่งออกเป็นสรุปข่าว ๒ ตอน
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๔๐๗
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๕.๕ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ผลที่ตามมาของกบฎผ้าเหลืองในพม่าเพื่อนบ้าน
พม่าถอยหลัง: ๔๐ วันหลังเหตุการณ์กบฎผ้าเหลือง (สรุปข่าว ๒)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : บรรณาธิการ
รวบรวมจากข้อมูลหลายส่วน เช่น News Line, ประชาไท, และสิ่งพิมพ์ต่างๆ


๓๔ ปี สิบสี่ตุลา ๔๙ ปี อิระวดีมัวมน
การเดินขบวนสำแดงพลังของนักเรียนนิสิต นักศึกษา ประชาชนผู้ใฝ่หาประชาธิปไตย ตั้งแต่เที่ยงวันนี้เมื่อ 34 ปีก่อน (13 ตุลาคม 2516) นำไปสู่ "เหตุการณ์14 ตุลา" ที่พลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินฉุดดึงสังคมไทยจากปลักตมแห่งอำนาจเผด็จการนาน 15 ปี ขึ้นมาสูดกลิ่นเสรีภาพและประชาธิปไตยอันหอมหวาน คือตำนานที่ต้องจดจารจารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์และความทรงจำ ถึงวันที่ผองไทยตะโกนก้อง... ตื่นเถิดเสรีชนอย่ายอมทนก้มหน้าฝืน หอกดาบกระบอกปืน หรือทนคลื่นกระแสเรา...(บทกวีโดย รวี โดมพระจันทร์)

วันนี้ผองเพื่อนบ้านชาวลุ่มอิระวดี ก็มิอาจยอมทนก้มหน้าฝืนอีกต่อไป แต่เมื่อลุกขึ้นยืนสู้ พวกเขายังไม่สามารถฝ่าคมหอก คมดาบ คมกระสุนปืนของเผด็จการทหารพม่าได้ ผลที่ตามมาคือความสูญเสียเพื่อสังเวยความบ้าอำนาจจำนวนนับร้อย บนถนนสายที่ทอดยาวสู่มหาเจดีย์ชเวดากอง กับที่ถูกตามจับถึงบ้านแล้วนำไปคุมขังก่อนฆ่าทิ้งอีกจำนวนนับหลายพันคน ชวนให้รันทดหดหู่และสังเวชใจเป็นที่สุด

ย้อนกลับไปเมื่อ 49 ปีก่อน, พ.ศ. 2501 ไทยกับพม่าถูกฉุดดึงสู่วังวนเผด็จการในเวลาไล่เลี่ยกัน ไทยมีจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พม่ามีนายพลเนวิน ใช้อำนาจปืนปิดประตูขังชาวพม่าไว้ในคุกแห่งเผด็จการ แต่ 15 ปีต่อมา ไทยสลัดแอกอธรรมบนบ่าหลุดได้ ด้วยความหาญกล้าของเหล่าวีรชน 14 ตุลา จากนั้นเราผ่านการเลือกตั้งตามวิถีทางประชาธิปไตยหลายครั้ง เราผ่านเหตุการณ์นองเลือด 6 ตุลา, พฤษภาทมิฬ, จนกระทั่ง "รัฐประหารกุหลาบแดง"19 กันยา 2550 ที่กำลังคืนอำนาจประชาธิปไตยให้คนไทยในการเลือกตั้ง 23 ธันวาคมนี้

ทว่าพม่ายังจมปลักกับเผด็จการกลุ่มเดิม ที่สืบทอดอำนาจกันนานนับกึ่งศตวรรษ จัดเป็นเผด็จการทหารที่โหดเหี้ยมทารุณ และครองอำนาจยาวนานติดอันดับโลก พวกเขาพร่าผลาญงบประมาณไปกับการซื้ออาวุธ ขุนเลี้ยงตำรวจลับและทหารปราบจลาจล กระทั่งลงทุนสร้างเมืองใหม่ในหุบเขา (เปียนมะนา เนปิดอว์) เพื่อป้องกันการโจมตีจากชาติมหาอำนาจตามคำแนะนำของหมอดู แม้ว่าจะต้องใช้งบประมาณมหาศาล และแม้ว่าพม่าจะจัดเป็นประเทศยากจนติดอันดับโลก จึงไม่น่าแปลกใจที่แม้ผู้นำฝ่ายประชาธิปไตยจะถูกจับ ผู้นำนักศึกษาต้องลี้ภัย

แต่เมื่อความอดอยากและความอดกลั้นถึงที่สุด ชาวพม่าตาดำๆ ก็จำต้องลุกขึ้นมาเดินขบวนโดยมีพระสงฆ์นับแสนรูปเป็นองค์นำ และโดยไม่มีใครคาดคิดว่าประเทศที่มีศรัทธาในศาสนาพุทธเข้มข้นที่สุดของโลก จะเกิดเหตุการณ์ทุบตี จับกุม และฆ่าทิ้งพระสงฆ์ผู้เป็นที่พึ่งของประชาชน, แต่เผด็จการทหารพม่าทำได้ และในอดีตก็เคยทำถึงขั้นบังคับให้พระก้มลงกราบตีนทหาร แล้วถ่ายภาพประจานลงหนังสือพิมพ์มาแล้ว โดยผู้นำเผด็จการ ใช้กำลังทหารชนกลุ่มน้อยจากชายแดนที่พูดภาษาพม่ายังไม่ชัด มาปราบปรามประชาชนผู้ใฝ่หาประชาธิปไตย

ข่าวที่ไม่ยืนยันบางกระแสรายงานว่า ทหารชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ถูกปรนเปรอด้วยยาเสพติด และถูกฝึกให้เป็นนักฆ่าอย่างเลือดเย็น พวกเขาจึงเฉยชาต่อคำประณามของพ่อเฒ่าชาวย่างกุ้งคนหนึ่ง ที่ตะโกนด่าอย่างสุดจะทนว่า "พวกแกกินข้าวและรับเงินเดือนจากภาษีอากรของประชาชน แล้วยังฆ่าประชาชน ฆ่าแม้กระทั่งพระได้ลงคอ มาเลย ถ้างั้นมาฆ่ากูซะเลย กูไม่กลัวมึง!" (บางกอกโพสต์ 28 กันยายน 2550)

ถ้าย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์พม่าจะเข้าใจว่าทำไมพระสงฆ์จึงมีบทบาทสำคัญในการต่อสู้ เพราะหลังจากอังกฤษยึดครองพม่าเป็นเมืองขึ้นในปี พ.ศ.2428 (122 ปีที่แล้ว) การต่อต้านก็ปะทุขึ้นจากการที่ท่าน "อูวิสาร" สมณะสงฆ์ผู้รักชาติก่อการประท้วงโดยอดอาหารนาน166 วัน จนถึงแก่มรณภาพ. จากนั้นในปี พ.ศ.2461 ยุวพุทธสมาคมพม่าก็ประท้วงชาวอังกฤษที่ไม่ถอดรองเท้าเข้าวัด เหยียบย่ำจิตใจชาวพุทธอย่างรุนแรง เรียกกันว่ากรณี "กบฏเกือก" หรือการเป็นกบฏต่อผู้ใส่เกือกเข้าวัดที่สำคัญในปี 2463 "อูโอตะมะ"หรือ "พระอุตมะ"พระหัวก้าวหน้าที่เพิ่งเดินทางกลับจากอินเดีย ประกาศตีความพุทธศาสนาใหม่ว่า...คนจะตัดกิเลสได้พึงต้องผ่านขั้นตอนของการมีอิสรภาพเสียก่อน...

นับแต่นั้นหลักธรรมทางพุทธศาสนาก็สอดคล้องกับแนวทางการต่อสู้กอบกู้เอกราช แนวคิดนี้ส่งอิทธิพลต่อผู้รักชาติตั้งแต่ชาวนาไปจนถึงปัญญาชน จนปี พ.ศ. 2473 เกิด "กบฏซายาซาน" หรือกบฏนำโดยอาจารย์ซาน ในลักษณะกบฏชาวนาหรือกบฏผีบุญ ลุกฮือขึ้นต่อต้านอังกฤษด้วยมีด พร้า ดาบ กระบอง และตะกรุดของขลัง ประกาศจะตั้ง"นครพุทธราชา"ขึ้นในแดนอิระวดี แต่ในที่สุด ก็ไม่อาจต้านทานกระสุนปืนไฟของอังกฤษ. อาจารย์ซานถูกจับแขวนคอ แต่ก่อนขึ้นแท่นประหารท่านประกาศก้องว่า "เกิดชาติหน้าฉันใดขอให้ข้าพิชิตอังกฤษตลอดไป"

เป็นแรงบันดาลใจใหญ่หลวงให้ผู้นำนักศึกษามหาวิทยาลัยย่างกุ้งอย่าง"อองซาน" ลุกขึ้นมาต่อสู้กอบกู้เอกราชสำเร็จในปี พ.ศ.2490 ก่อนเขาจะถูกคนอิจฉาลอบสังหารจนเสียชีวิต จากนั้นพม่าก็วุ่นวายเพราะไม่มีใครมีบารมีทัดเทียมท่านออง ซาน เป็นเหตุให้นายพลเนวินนำประเทศสู่รัฐเผด็จการในปี 2501 ดังกล่าวมาแล้ว. จะเห็นได้ว่าพระสงฆ์และศาสนาพุทธมีบทบาทสำคัญในขบวนการต่อสู้ของชาวพม่ามาแต่อดีตในวาระแห่งการระลึกถึงวีรกรรมเหล่าวีรชน 14 ตุลา และพระสงฆ์กับประชาชนชาวพม่าที่ล้มตายในการต่อสู้กับอำนาจเผด็จการ ขอสดุดีด้วยบทร้อยกรองของกวีรัตนโกสินทร์-เนาวรัตน์พงษ์ไพบูลย์ ตอนหนึ่งว่า

"...เสียงปืนสั่ง ขบวนสงฆ์ ว่าจงหยุด, อย่านำพุทธ ศาสนา มาแปดเปื้อน
อย่าให้องค์ ชเวดากอง ต้องสะเทือน, จงหยุดเคลื่อน ขบวนหยุด หยุดเดี๋ยวนี้
พระก้าวย่าง พลางกล่าว...เราหยุดแล้ว, หยุดทุกแนว อัปยศ หยุดกดขี่
หยุดอำนาจ เถื่อนอธรรม หยุดย่ำยี ท่านแหละที่ ควรหยุด หยุดได้แล้ว!..."

ธีรภาพ โลหิตกุล

........(๕)........
Newsline ประจำวันที่ 4 - 6 พฤศจิกายน 2550

1. สถานการณ์ในประเทศพม่า

1.1 "ตาน ฉ่วย" ไม่ยอมพบ "กัมบารี"
1.2 พม่ายอมพานักข่าวอาเซียนทัวร์ แต่ขอตรวจข่าวก่อนเผยแพร่
1.3 รัฐบาลทหารพม่าจัดฉากการชุมนุมรับ "กัมบารี" เยือนพม่าครั้งที่ 2

2. ต่างประเทศ

2.1 สหรัฐฯ เรียกร้องให้รัฐบาลและธนาคารสิงคโปร์ ตัดการเชื่อมโยงการทำธุรกรรมทางการเงินของรัฐบาลทหารพม่า
2.2 ฮิวแมน ไรท์ส วอทช์ เตือนพม่าขับทูต UN อาจเบี่ยงประเด็น

1. สถานการณ์ในประเทศพม่า
1.1 "ตาน ฉ่วย" ไม่ยอมพบ "กัมบารี"
เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2550 รัฐบาลทหารพม่าได้ลดระดับความเข้มงวดในการรักษาความปลอดภัยบริเวณด้านหน้าบ้านพักของนางออง ซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านลงอย่างเห็นได้ชัด ก่อนหน้าการพบปะซึ่งคาดว่าน่าจะมีขึ้นระหว่างนางซูจีกับนายอิบราฮิม กัมบารี ทูตพิเศษขององค์การสหประชาชาติ (UN) ในวันที่ 3 ของการเดินทางมาปฏิบัติภารกิจเพื่อผลักดันให้เกิดการปฏิรูปการเมืองในพม่า. นายกัมบารียังคงอยู่ในกรุงเนปยีดอว์ เมืองหลวงของพม่า โดยครั้งนี้เป็นการเดินทางเยือนพม่าครั้งที่ 2 ของกัมบารี หลังจากที่รัฐบาลทหารใช้ความรุนแรงในการปราบปรามกลุ่มพระสงฆ์และประชาชนที่ชุมนุมต่อต้านรัฐบาล ตั้งแต่เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา

มีการลดระดับความเข้มงวดในการรักษาความปลอดภัยที่หน้าบ้านพักของนางซูจี ลงอย่างเห็นได้ชัดในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ว่ารัฐบาลทหารต้องการที่จะลดการสร้างความอึดอัดใจให้กับทูตพิเศษของ UN โดยในวันที่ 5 พฤศจิกายน มีเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบจลาจลประจำการอยู่หน้าบ้านพักของนางซูจีเพียงแค่ 6 นายเท่านั้น โดยมีการยกเลิกการใช้เรือตรวจการณ์ในทะเลสาบที่ติดกับบ้านพักของนางซูจี รวมทั้งมีการยกกระสอบทรายที่ตั้งกั้นไว้ตามจุดตรวจต่างๆ ออก

เดิมทีนายกัมบารี จะเข้าพบกับรัฐมนตรีข่าวสารของพม่าในวันเดียวกันนี้ แต่มีการเลื่อนกำหนดการดังกล่าวออกไป 1 วัน โดยกัมบารีจะพบกับเจ้าหน้าที่ของสภากาชาดสากล และผู้นำของชนกลุ่มน้อยจำนวนมากที่กรุงเนปยีดอว์ในวันเดียวกันนี้ และพบกับรัฐมนตรีข่าวสาร และพล.ท.เทียน เส่ง นายกรัฐมนตรีในวันที่ 6 พฤศจิกายน หลังจากนั้นจะเดินทางมาที่นครย่างกุ้งเพื่อพบกับนางซูจีในวันที่ 7 พฤศจิกายน. อย่างไรก็ตาม ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่านายกัมบารีจะได้พบกับ พล.อ.อาวุโส ตาน ฉ่วย ผู้นำสูงสุดของรัฐบาลทหารพม่าหรือไม่ จนถึงตอนนี้นายกัมบารียังไม่มีกำหนดการที่จะเข้าพบกับ พล.อ.อาวุโสตาน ฉ่วย แต่อย่างใด
(มติชน วันที่ 06/11/2550)

1.2 พม่ายอมพานักข่าวอาเซียนทัวร์ แต่ขอตรวจข่าวก่อนเผยแพร่
ในขณะที่นายอิบราฮิม กัมบารี ผู้แทนพิเศษของสหประชาชาติเยือนพม่า เพื่อไกล่เกลี่ยความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกับฝ่ายค้านพม่า พร้อมเร่งความคืบหน้ากระบวนการประชาธิปไตย ทางการพม่ายังได้ต้อนรับผู้สื่อข่าวและเจ้าหน้าที่ด้านการข่าว 18 คนจาก 9 ประเทศสมาชิกอาเซียน ให้สามารถเดินทางเข้าประเทศได้เป็นครั้งแรกในเวลานานกว่า 1 เดือน นับตั้งแต่เกิดเหตุประท้วงรัฐบาลอีกด้วย. พลจัตวา จอส่าน รัฐมนตรีข่าวสารของพม่ากล่าวว่า การเดินทางครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเสริมสร้างความเข้าใจอันดีที่ได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการวัฒนธรรม และสารสนเทศของกลุ่มสมาชิกอาเซียน ซึ่งที่ผ่านมามีการแลกเปลี่ยนข่าวสารกันภายในหมู่สมาชิก แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในการนำเสนอภาพรวมของอาเซียนในระดับสากล

ขณะเดียวกัน ยังมีความต้องการให้อาเซียนนำเสนอสถานการณ์ที่แท้จริงของสมาชิกโดยปราศจากความลำเอียง และการยอมรับความแตกต่างด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมืองของสมาชิกด้วย ด้านนายไซมอน เทย์ ประธานสถาบันกิจการต่างประเทศของสิงคโปร์กล่าวว่า ท่าทีของทางการพม่าในครั้งนี้ไม่เพียงแต่แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลพม่าสนใจว่าประชาชนในภูมิภาคเดียวกันคิดอย่างไร พวกเขายังทราบด้วยว่าสื่อของภูมิภาคนี้มีปฏิกิริยาต่อพม่าอย่างไร ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่าชนชั้นปกครองและชนชั้นสูงของพม่าติดตามข่าวจากทางโทรทัศน์ดาวเทียม และอ่านข่าวจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้รัฐบาลพม่าตระหนักว่าจำเป็นที่จะต้องมีเพื่อนไว้บ้าง ซึ่งเพื่อนเหล่านี้จะต้องมีมุมมองที่แตกต่างไปจากสายตาของชาติตะวันตก

อย่างไรก็ตาม บรรดาผู้สื่อข่าวและเจ้าหน้าที่ด้านการข่าวของกระทรวงข่าวสารของสมาชิกอาเซียนที่เดินทางเข้าพม่าในครั้งนี้ มีข้อจำกัดในการทำงานมากมาย รวมถึงห้ามพูดคุยสัมภาษณ์กับชาวพม่าโดยลำพัง ทั้งยังต้องถูกตรวจสอบเนื้อหาของข่าวด้วย แต่ทางสมาคมผู้สื่อข่าวของพม่า ยืนยันว่า พวกเขามีสิทธิเสรีภาพในการนำเสนอข่าวอย่างเต็มที่
(ศูนย์ข่าวแปซิฟิค วันที่ 06/11/2550)

1.3 รัฐบาลทหารพม่าจัดฉากการชุมนุมรับ "กัมบารี" เยือนพม่าครั้งที่ 2
"เราเคารพ UN, เราเคารพกัมบารี, เคารพพม่าด้วย" สถานีโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ของรัฐอ้างคำขวัญของผู้ชุมนุมในมัณฑะเลย์ พื้นที่หนึ่งในหลายแห่งที่จัดการชุมนุมขึ้น โดยประชาชนบอกว่าพวกตนถูกบังคับให้เข้าร่วม เพื่อต้อนรับการเดินทางกลับมาเยือนพม่าของนายอิบราฮิม กัมบารี ทูตพิเศษขององค์การสหประชาชาติเมื่อวันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน เพื่อสนับสนุน "การเจรจาและความปรองดองแห่งชาติ" ในพม่า

ข่าวการเยือนพม่าเป็นครั้งที่ 2 ของทูตพิเศษผู้นี้ ถูกบดบังด้วยข่าวนายชาร์ลส์ เพทรี หัวหน้าคณะทูตUN ประจำพม่า ได้รับแจ้งจากรัฐบาลทหารพม่าหลังถูกเรียกเข้าพบที่กรุงเนปีย์ดอ เมื่อวันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายนว่า พม่าไม่ยินดีต้อนรับเขาอีกต่อไป เนื่องจากไม่พอใจที่เขาทำลายภาพพจน์ของประเทศ ด้วยการออกรายงานเมื่อวันที่ 24 ตุลาคมระบุว่า ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจในพม่า คือชนวนเหตุการประท้วงครั้งใหญ่เมื่อเดือนกันยายน จนนำไปสู่การปราบปรามด้วยกำลัง จนมีผู้ประท้วงทั้งพระสงฆ์และประชาชนเสียชีวิตไปอย่างน้อย 13 ราย และถูกจับอีกหลายพันคน

คำแถลงของ UN เมื่อวันเสาร์กล่าวว่า นายกัมบารีได้รับฟังรายงานสรุปจากเพทรี ทันทีที่เขาเดินทางถึงเมืองย่างกุ้ง และทูตพิเศษผู้นี้ได้ย้ำชัดเจนต่อคณะเจ้าหน้าที่ทูต UN ประจำพม่า รวมทั้งนายเพทรี เองว่า นายบัน กีมูน เลขาธิการ UN ยังสนับสนุนการทำหน้าที่ของพวกเขา นายกัมบารีได้ถ่ายทอดกำลังใจจากเลขาธิการฯ ต่อคณะเจ้าหน้าที่ประจำพม่า และผู้ประสานงานประจำพม่า และสนับสนุนงานสำคัญที่พวกเขาจะต้องทำต่อไป เพื่อปรับปรุงสถานการณ์ด้านสังคม เศรษฐกิจ และมนุษยธรรม. อย่างไรก็ดีหนังสือพิมพ์แสงใหม่แห่งพม่า โจมตีรายงานของนายเพทรี ไว้ในบทบรรณาธิการฉบับวันอาทิตย์ว่า ไม่มีมูลความจริง, คำแถลงของคณะเจ้าหน้าที่ UN ประจำพม่า ละเลยต่อสภาพการณ์โดยทั่วไปของพม่าอย่างสิ้นเชิง และอันที่จริงแล้วมันแทบจะไร้มูลความจริง
(ไทยโพสต์ วันที่ 05/11/2550)

2. ต่างประเทศ
2.1 สหรัฐฯ เรียกร้องให้รัฐบาลและธนาคารสิงคโปร์ ตัดการเชื่อมโยงการทำธุรกรรมทางการเงินของรัฐบาลทหารพม่า
คริสเต็น ซิลเวอร์เบิร์ก เจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ เผยกับผู้สื่อข่าวในไทยระหว่างการมาเยือนภูมิภาคนี้ เพื่อสนับสนุนให้อาเซียนแสดงท่าทีอย่างเข้มงวดในการต่อต้านพม่าว่า "เราเชื่อว่าเจ้าหน้าที่ปกครองพม่า มีบัญชีธนาคารในสิงคโปร์ เราหวังว่าสถาบันทางการเงินสิงคโปร์ จะไม่ใช้เป็นที่ทำธุรกรรมทางการเงินกับรัฐบาลทหารพม่า". สหรัฐต้องการให้สิงคโปร์ดำเนินมาตรการขั้นต่อไปให้เด่นชัดในรูปของการเจรจา, มาตรการคว่ำบาตรทางการเงิน, หรือข้อจำกัดในการเดินทางกับสมาชิกของรัฐบาลทหารพม่าและพวกวงญาติของเขา ดังเช่นที่สหรัฐและออสเตรเลียได้กระทำต่อพม่าเมื่อเดือนที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม ซิลเวอร์เบิร์กไม่ได้ให้รายละเอียดว่าจะมีมาตรการลงโทษกับบุคคลที่ 3 หรือธุรกิจซึ่งไม่ใช่ของสหรัฐฯ ที่ไปทำธุรกิจกับพม่าหรือไม่ โดยที่มาตรการนี้กำลังอยู่ในขั้นพิจารณาในรัฐบาลสหรัฐฯ ถ้าพวกนายพลไม่ยินยอมที่จะปฏิรูปการเมืองไปสู่ระบอบประชาธิปไตย. อย่างไรก็ดีเจ้าหน้าที่สิงคโปร์ได้คัดค้านมาตรการคว่ำบาตรทางการเงินต่อที่สาธารณะ แต่ในระยะ 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ทางธนาคารในสิงคโปร์ได้เขยิบตัวออกมาห่างๆ จากพม่า
(ไทยโพสต์ วันที่ 06/11/50)

2.2 ฮิวแมน ไรท์ส วอทช์ เตือนพม่าขับทูต UN อาจเบี่ยงประเด็น
นายแบรด อดัมส์ ผู้อำนวยการกลุ่มสิทธิมนุษยชนฮิวแมน ไรท์ส วอทช์ ประจำภูมิภาคเอเชีย เตือนว่า ความเคลื่อนไหวของพม่าในการขับทูตขององค์การสหประชาชาติ (UN) ออกนอกประเทศ อาจลดความสำคัญของการเจรจาเรื่องการปฏิรูประหว่างผู้นำทหารกับ UN ช่วงสุดสัปดาห์นี้. รัฐบาลพม่าประกาศกะทันหันเมื่อวันศุกร์ (2 พฤศจิกายน) ว่าจะไม่ต่ออายุการทำงานของนายชาร์ลส์ เปตรี ผู้แทนของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และผู้ประสานงานหน่วยงานทุกแห่งของ UN ภายในพม่า. การตัดสินใจมีขึ้นก่อนที่นายอิบราฮิม กัมบารี ผู้แทนพิเศษของ UN เดินทางเยือนพม่าวานนี้ เพื่อกดดันให้ผู้นำทหารปฏิรูปประชาธิปไตย หลังเกิดเหตุประท้วงครั้งใหญ่เมื่อปลายเดือนกันยายน

ฮิวแมน ไรท์ส วอทช์ เตือนว่า ความขัดแย้งดังกล่าวอาจทำให้การเยือนครั้งที่ 2 ของนายกัมบารี นับตั้งแต่การกวาดล้างผู้ประท้วงที่ผ่านมา ไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และเบี่ยงเบนประเด็นหารือเรื่องการปฏิรูปประชาธิปไตย. สถานการณ์อันตรายในขณะนี้ก็คือ นายกัมบารีจะต้องพูดคุยเกี่ยวกับบทบาทของ UN ในพม่า แทนที่จะหารือเรื่องความจำเป็นในการยุติการกวาดล้าง และการปฏิรูปอย่างแท้จริง. นายกัมบารีต้องยึดมั่นกับวาระเดิม โดยไม่ตกหลุมแผนการของรัฐบาลพม่า ซึ่งพยายามทุกวิถีทางเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกกดดันให้หารือเรื่องการปฏิรูปอย่างแท้จริง. ทั้งนี้ ยังไม่แน่ชัดว่านายเปตรี ต้องเดินทางออกจากพม่าเมื่อใด หลังจากเข้าประจำการตั้งแต่ปี 2546

ในส่วนของปฏิกิริยาจากนานาประเทศ นายบัน คี มูน เลขาธิการ UN แสดงความผิดหวังต่อการตัดสินใจขับทูต UN ของพม่า และมอบหมายให้นายกัมบารีนำประเด็นดังกล่าวขึ้นหารือกับผู้นำทหาร ขณะที่นายซัลเมย์ คาลิลซัด ทูตสหรัฐฯ ประจำ UN ประณามการตัดสินใจของพม่า รวมถึงการปิดกั้นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตในพม่า ก่อนการมาเยือนของนายกัมบารี. ด้านโฆษกกระทรวงต่างประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประธานปัจจุบันของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ตามวาระเวียน แสดงความผิดหวังอย่างยิ่งต่อการขับทูต UN ของพม่า โดยมองว่าการตัดสินใจมีขึ้นในช่วงสำคัญอย่างยิ่ง
(กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 04/11/2550)

........(๖)........
Newsline ประจำวันที่ 7 - 9 พฤศจิกายน 2550

1. สถานการณ์ในประเทศพม่า

1.1 นางออง ซาน ซู จี ผู้นำพรรคฝ่ายค้านของพม่าพบกับผู้แทนพิเศษของสหประชาชาติ
1.2 รัฐบาลทหารพม่าปฏิเสธข้อเสนอของนายอิบราฮิม กัมบารี ที่ได้เสนอให้จัดเจรจา 3 ฝ่าย
1.3 นายกรัฐมนตรีพม่าจะเดินทางเยือนลาวและเวียดนาม
1.4 รัฐบาลทหารพม่า ยินยอมที่จะฟื้นฟูแผนสร้างประชาธิปไตยในประเทศ

2. ต่างประเทศ

2.1 เวียดนามขอให้รัฐบาลทหารพม่าทำงานร่วมกับสหประชาชาติ
2.2 พม่าพร้อมที่จะลงนามในกฎบัตรอาเซียนร่วมกับผู้นำอาเซียนทั้งหมด
2.3 นายเปาโล เซอร์จิโอ ปินเฮียโรเอ็น ยินดีรับคำเชิญจากรัฐบาลทหารพม่า

1. สถานการณ์ในประเทศพม่า
1.1 นางออง ซาน ซู จี ผู้นำพรรคฝ่ายค้านของพม่าพบกับผู้แทนพิเศษของสหประชาชาติ
นายอิบราฮิม แกมบารี ผู้แทนพิเศษของสหประชาชาติว่าด้วยปัญหาของพม่าพบปะกับนางออง ซาน ซู จี ผู้นำพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตหรือเอ็นแอลดีฝ่ายค้านที่เรือนรับรองแขกของรัฐบาลเป็นเวลา 1 ชั่วโมงในวันที่ 8 พ.ย. ซึ่งนับว่าเป็นสิ้นสุดการเยือนพม่านาน 6 วันที่ดูเหมือนว่าจะไม่ทำให้เกิดความคืบหน้าอย่างชัดแจ้ง ในการที่นายกัมบารีจะเกลี้ยกล่อมให้รัฐบาลทหารพม่าปฏิรูปการปกครองประเทศ นายกัมบารีซึ่งได้พบปะกับบรรดาสมาชิกของพรรคเอ็นแอลดีด้วย ได้ออกจากสนามบินนครย่างกุ้งเพื่อกลับยังสำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติในนครนิวยอร์ก และจะบรรยายสรุปถึงการเยือนพม่าในครั้งนี้ให้กับสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสประชาติได้รับทราบในสัปดาห์หน้า

นางออง ซาน ซูจี หัวหน้าพรรคสันนิบาตรแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยหรือ NLD พรรคฝ่ายค้านเปิดเผยผ่านแถลงการณ์ว่าได้ตัดสินใจโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติ ที่จะให้ความร่วมมือกับรัฐบาลทหารพม่าเพื่อสร้างความปรองดองในชาติ พร้อมชื่นชมบทบาทของสหประชาชาติที่ช่วยเกื้อหนุนความพยายามนี้ นอกจากนี้ยังได้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเปิดการเจรจาอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อแก้ไขจุดยืนและมุมมองที่แตกต่างกัน

นายอิบราฮิม กัมบารี ทูตพิเศษสหประชาชาติซึ่งเพิ่งเสร็จสิ้นการเยือนพม่ารอบสองหลังเกิดเหตุนองเลือดเมื่อเดือนกันยายน ได้อ่านแถลงการณ์ฉบับนี้ ทันทีที่เดินทางถึงสิงคโปร์เมื่อวันที่ 8 หลังจากที่เมื่อช่วงบ่ายได้พบกับนางซูจีที่ย่างกุ้ง และถือเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 10 ปีนับตั้งแต่ถูกกักบริเวณที่นางซูจีมีโอกาสเผยแพร่ความคิดเห็นต่อสาธารณชน

มองกันว่าแถลงการณ์ฉบับนี้ถือเป็นการตอบรับข้อเสนอของรัฐบาลทหารพม่าที่จะเปิดโอกาสให้นางซูจีได้พบกับนาย ออง จี รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานพม่า ที่ได้รับการแต่งตั้งให้มาทำหน้าที่ประสานงานกับบรรดาฝ่ายค้าน โดยเป็นการพบกันครั้งที่ 2 นอกจากนี้รัฐบาลทหารพม่ายังจะเปิดโอกาสให้เธอได้พบกับสมาชิกพรรค NLD เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 3 ปี ขณะที่พรรคเอ็นแอลดียืนยันว่าได้รับเชิญให้ส่งตัวแทนไปพบกับนางซูจี

แต่แถลงการณ์ของนางซูจีไม่ได้ระบุถึงเงื่อนไขการพบกับพลเอกอวุโส ตาน ฉ่วย ผู้นำสูงสุดของพม่าซึ่งรวมถึงเงื่อนไขที่ให้เธอยุติการเรียกร้องให้ต่างชาติคว่ำบาตรพม่า

คาดว่านายกัมบารีจะเดินทางถึงสำนักงานใหญ่สหประชาชาติที่นิวยอร์กในวันจันทร์ เพื่อรายงานผลการเยือนพม่าต่อสหประชาชาติต่อไป แม้หลายฝ่ายจะมองว่าการเยือนพม่าครั้งนี้ไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร เนื่องจากไม่ได้พบกับพลเอกอวุโส ตาน ฉ่วย ทั้งยังถูกพม่าบอกปัดแผนเจรจา 3 ฝ่ายระหว่างรัฐบาลทหารพม่า ฝ่ายค้าน และสหประชาชาติ แต่ถึงอย่างนั้น พม่าก็ยังเชิญให้นายกัมบารีไปเยือนพม่าอีก ซึ่งคาดว่าเจากลับจะกลับไปที่นั่นในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, คมชัดลึก วันที่ 08-09/11/2550)

1.2 รัฐบาลทหารพม่าปฏิเสธข้อเสนอของนายอิบราฮิม กัมบารี ที่ได้เสนอให้จัดเจรจา 3 ฝ่าย
รัฐบาลทหารพม่าปฏิเสธข้อเสนอของนายอิบราฮิม กัมบารี ทูตพิเศษสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ที่ได้เสนอให้จัดเจรจา 3 ฝ่าย ระหว่างรัฐบาลพม่า, นางออง ซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านพม่า และนายกัมบารี ในขณะที่เขาอยู่ระหว่างเยือนพม่าเป็นวันที่ 5 เพื่อเร่งให้เกิดการปฏิรูปการเมืองในพม่า โดยนายจ่อ ซาน รัฐมนตรีสารนิเทศพม่า กล่าวผ่านสถานีโทรทัศน์เอ็มอาร์ทีวีของทางการพม่าเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ว่า ข้อเสนอเจรจา 3 ฝ่ายของนายกัมบารีเป็นเรื่องที่เร็วเกินไปและเตือนว่าการคว่ำบาตรของนานาชาติต่อพม่าอย่างหนักนั้นรังแต่จะทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก

จ่อ ซาน รัฐมนตรีข่าวสารพม่ากล่าวกับนายกัมบารี ว่า พม่าจะยอมรับความร่วมมือในเชิงสร้างสรรค์ แต่จะให้แทรกแซงไม่ได้ การเจรจา 3 ฝ่ายจึงเป็นไปไม่ได้ "เราอยากให้ท่านรู้ไว้ว่า พม่าเป็นประเทศเล็กๆ ประเทศหนึ่ง หากชาติมหาอำนาจรุกรานด้วยการใช้อิทธิพลนำเรื่องพม่าเข้าสู่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เราก็ไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากเผชิญหน้าและต้านทานไว้"

ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา นายบัน คี มุน เลขาธิการยูเอ็น แสดงความห่วงกังวลที่ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ เกิดขึ้นในภารกิจเยือนพม่าของนายกัมบารีและการที่จนถึงขณะนี้ทูตพิเศษยูเอ็นยังไม่ได้รับการเปิดทางให้ได้พบหารือกับ พล.อ.อาวุโสตาน ฉ่วย ผู้นำสูงสุดพม่า
(มติชน,ข่าวสด วันที่ 08/11/2550)

1.3 นายกรัฐมนตรีพม่าจะเดินทางเยือนลาวและเวียดนาม
พลโทเต็ง เส่ง นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของพม่าจะเดินทางเยือนลาวในวันที่ 8 พ.ย. เพื่อพบปะสนทนากับนายบัวสอน บุบผาวัน นายกรัฐมนตรีและนายจูมมะลี ไซยะสอน ประธานประเทศลาว และจากนั้นจะเดินทางต่อไปยังเวียดนาม ซึ่งคาดว่า พลโทเต็ง เส่ง จะได้พบกับประธานาธิบดีเหงียน มินห์ เตรียตด้วย ก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่ของพม่ายังได้ยืนยันว่า พลโทเต็ง เส่ง จะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดสมาคมอาเซียนที่สิงคโปร์ในปลายเดือนนี้ ซึ่งคาดว่าจะมีการหยิบยกกรณีที่รัฐบาลพม่าใช้กำลังปราบปรามกลุ่มที่มีความเห็นขัดแย้งกับรัฐบาลเมื่อเร็ว ๆนี้ขึ้นหารือเป็นอันดับแรก ๆด้วย
(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ วันที่ 08/11/2550)

1.4 รัฐบาลทหารพม่า ยินยอมที่จะฟื้นฟูแผนสร้างประชาธิปไตยในประเทศ
รัฐบาลทหารพม่ายินยอมที่เดินหน้าแผนฟื้นฟูประชาธิปไตยในประเทศโดยขณะนี้อยู่ในขั้น ที่ 3 จากทั้งหมด 7 ขั้นตอนที่จะบรรลุผลตามเป้าหมาย โดยแนวทางดังกล่าวเป็นไปตามร่างรัฐธรรมนูญที่ได้จัดทำขึ้นเมื่อเดือนที่แล้ว ส่วนในขั้นตอนต่อๆ ไป จะเป็นการทำประชามติ และการจัดการเลือกตั้งตามลำดับ ขณะที่พลจัตวาจอส่าน รัฐมนตรีกระทรวงสารสนเทศของพม่าระบุว่า รัฐบาลได้อนุญาตให้คณะนักข่าวจากชาติสมาชิกสมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน เดินทางเข้าทำข่าวสถานการณ์ในพม่าเป็นเวลา 5 วัน โดยได้เริ่มในช่วงปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการแสดงท่าทีที่ดีในฐานที่พม่าก็เป็นสมาชิกใหม่ของอาเซียน

ด้านนายร้อส ดังค์ลีย์ ประธานผู้บริหารและผู้พิมพ์ผู้โฆษณานิตยสารเมียนม่า ไทมส์ กล่าวว่าประชาคมโลกอาจจะยังไม่สังเกตว่าพม่าอยู่ในจุดเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ ที่จะสามารถเดินหน้าฟื้นฟูประเทศได้อย่างรวดเร็ว
(สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น วันที่ 07/11/2550)

2. ต่างประเทศ
2.1 เวียดนามขอให้รัฐบาลทหารพม่าทำงานร่วมกับสหประชาชาติ
เวียดนามได้ขอให้รัฐบาลทหารพม่าดำเนินงานร่วมกับนายอิบราฮิม กัมบารี ผู้แทนพิเศษของสหประชาชาติเพื่อแก้ไขวิกฤติการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในพม่า โดยนายเลอ ดุง โฆษกกระทรวงต่างประเทศเวียดนามกล่าวก่อนเดินทางเยือนเวียดนามของนายกรัฐมนตรีพลเอกเธน เซน นายกรัฐมนตรีที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเมื่อ 1 เดือนที่ผ่านมา โดยหวังว่าพม่าจะร่วมมือกับสหประชาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายกัมบารีเพื่อหาทางแก้ไขสถานการณ์ในพม่าให้สอดคล้องกับผลประโยชน์เพื่อการปรองดองในชาติอย่างเหมาะสมและเป็นที่น่าพอใจ และในขณะนี้นายเธน เซน ได้เดินทางถึงลาวแล้วในวันนี้และจะเดินทางไปเยือนเวียดนามในวันศุกร์และวันเสาร์นี้
(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ วันที่ 08/11/50)

2.2 พม่าพร้อมที่จะลงนามในกฎบัตรอาเซียนร่วมกับผู้นำอาเซียนทั้งหมด
นายวิทวัส ศรีวิหค อธิบดีกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวระหว่างบรรยายสรุปเกี่ยวกับกฎบัตรอาเซียนว่า ทางการพม่ายืนยันว่าพล.ท.เทียน เส่ง นายกรัฐมนตรีคนใหม่จะเดินทางมาร่วมประชุมผู้นำอาเซียนในปลายเดือนนี้ที่สิงคโปร์ และพร้อมที่จะลงนามในกฎบัตรอาเซียนร่วมกับผู้นำอาเซียนทั้งหมด

กฎบัตรอาเซียนซึ่งจะนำเข้าสู่การพิจารณาของ สนช.ในวันที่ 7 พฤศจิกายนนี้จะช่วยให้องค์กรมีสถานะทางกฎหมาย ซึ่งจะทำให้มีน้ำหนักมากขึ้น โดย 1 ปีหลังจากนี้จะเข้าสู่ช่วงที่ไทยทำหน้าที่ประธานอาเซียน จะมีการรุกหนักในการเผยแพร่ความเป็นอาเซียนโดยสร้างเครือข่ายกับสถาบันวิชาการทั่วประเทศ และยังมีแนวคิดที่จะขยายหลักสูตรอาเซียนศึกษาในระดับประถมด้วย
(มติชน วันที่ 07/11/2550)

2.3 นายเปาโล เซอร์จิโอ ปินเฮียโรเอ็น ยินดีรับคำเชิญจากรัฐบาลทหารพม่า
6 พ.ย. เอเอฟพีรายงานว่า สำนักงานสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติออกแถลงการณ์ว่า นายเปาโล เซอร์จิโอ ปินเฮียโร เจ้าหน้าที่พิเศษด้านสิทธิมนุษยชนยูเอ็น ยินดีได้รับคำเชิญจากรัฐบาลทหารพม่าเชิญให้ไปเยือนพม่าวันที่ 11-15 พ.ย. ทั้งนี้ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลพม่าปฏิเสธคำร้องมาโดยตลอด จนทางยูเอ็นเพิ่มแรงกดดันให้ฝ่ายพม่ายอมเปิดบ้านต้อนรับเจ้าหน้าที่ยูเอ็นมากยิ่งขึ้นหลังเกิดเหตุปราบปรามผู้ชุมนุมปลายเดือนก.ย.
(มติชน วันที่ 07/11/2550)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++

ภาคผนวก

1. คาดซูจีสุขภาพทรุด
สำนักข่าว Irrawaddy รายงานเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายนว่า ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา แพทย์ได้เข้ารักษานางอองซานซูจี ในบ้านพักถึง 2 ครั้ง ขณะที่รัฐบาลอนุญาตให้นางพบแพทย์ได้เพียงเดือนละ 2 ครั้ง. นายหน่ายวิน โฆษกพรรค NLD กล่าวว่า เขายังไม่ทราบถึงอาการป่วยของนางอองซาน ซูจีในครั้งนี้ แต่ได้รับแจ้งมาว่าอาการของนางอองซาน ซูจีดีขึ้นแล้ว ขณะที่นายมิ้นเต็ง โฆษกอีกคนหนึ่งของพรรค NLD กล่าวว่า ทางพรรคกำลังขออนุญาตให้นางซูจีพบแพทย์ได้สัปดาห์ละครั้ง โดยกล่าวเพิ่มเติมว่า สุขภาพของซูจีมีความสำคัญมากไม่เพียงต่อตัวเธอเอง แต่มีความสำคัญต่อประเทศพม่าด้วย. อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้นางซูจีเคยป่วยและได้รับการรักษาในบ้านพักของเธอเมื่อเดือนมิถุนายนปีที่ผ่านมา และเคยเข้ารับการผ่าตัดรักษามะเร็งปากมดลูกเมื่อเดือนกันยายนปี 2545

นางอองซาน ซูจีถูกกักบริเวณอยู่แต่ในบ้านพักเป็นเวลากว่า 12 ปี ขณะที่รวมระยะเวลาการถูกจองจำทั้งหมดเป็นเวลากว่า 18 ปี โดยนางซูจีถูกทางการสั่งกักบริเวณในบ้านพักครั้งล่าสุด เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมปี 2545 หลังจากที่ถูกกลุ่มทหารพม่าและผู้สนับสนุนรัฐบาลพม่า ทำการจู่โจมระหว่างการเดินไปยังทางภาคเหนือ นับตั้งแต่นั้นมานางอองซาน ซูจีได้เปิดเผยตัวต่อสาธารณะชนเป็นครั้งแรกที่หน้าบ้านพักเมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา ขณะที่พระสงฆ์และกลุ่มผู้ประท้วงเดินผ่านหน้าบ้านพักของเธอในกรุงย่างกุ้ง หลังจากนั้น สถานีโทรทัศน์ของรัฐได้แพร่ภาพนางอองซาน ซูจี เป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี ในระหว่างที่นายอิบราฮิมเข้าหารือกับซูจี ต่อสถานการณ์ความไม่สงบในพม่าเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมาด้วยเช่นกัน. จากนั้น เมื่อวันที่ 25 ตุลาคมที่ผ่านมา นางอองซานซูจีได้เข้าพบกับพลตรีอ่องจี ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้เจรจากับนาง ซูจี เป็นเวลานับชั่วโมง แต่ไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดหัวข้อในการหารือดังกล่าวแต่อย่างใด

CHUEM NEWS โดย ศูนย์ข่าวสาละวิน
ติดตามสถานการณ์ในพม่าและบทความต่าง ๆ ที่น่าสนใจได้ที่ www.salweennews.org

2. อะไรที่ท้าทายอาเซียน : เกษตรกรรายย่อย กฎบัตรอาเซียน สถานการณ์ในพม่า ปัญหาชนพื้นเมือง?
ประชาไท: ที่โรงแรมเพนนินซูล่า เอกเซกเซียร์ ประเทศสิงคโปร์ มีการประชุมประชาสังคมอาเซียน ครั้งที่ 3 (The 3rd ASEAN Civil Society Conference) ซึ่งจะจัดระหว่างวันที่ 2-4 พฤศจิกายน 2550 ในการประชุมเรื่อง "อะไรคือสิ่งที่ท้าทายอาเซียน" ดำเนินรายการโดย ยัพ สวี เซ็ง องค์กร SUARAM มาเลเซีย

อาเซียนเพื่อบริษัทข้ามชาติ ไม่ใช่เพื่อเกษตรกรรายย่อย
มูฮัมหมัด นูรรุดิน สมาคมเกษตรกรเอเชียเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าวว่า เกษตรกรรายย่อยมีบทบาทในทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศในอาเซียนมาก แต่พวกเขากลับยากจน เนื่องจากการกระจายทรัพยากรอย่างไม่เท่าเทียม เข้าไม่ถึงโอกาสทางเศรษฐกิจและเข้าร่วมตัดสินใจนโยบาย. มูฮัมหมัด กล่าวด้วยว่า การรวมประเทศเป็นอาเซียนไม่ได้เป็นประโยชน์กับเกษตรกรรายย่อย แต่มีประโยชน์กับบริษัทข้ามชาติ โดยส่งผลให้พวกเขาประสบปัญหาย้ายถิ่น ผู้หญิงที่แบกภาระดูแลครอบครัวก็ต้องหางานทำ ไม่สามารถอยู่กับครอบครัวได้

ทั้งนี้ เขามีข้อเสนอว่า พวกเขาต้องการชีวิตที่ดีกว่านี้ มีความสุขและตอบสนองสิ่งจำเป็นในชีวิต นโยบายการค้าทางการเกษตรต้องส่งเสริมการขจัดความยากจน นโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรควรส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหาร ให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดี ไม่ให้พลัดที่นาคาที่อยู่ โดยเสนอให้อาเซียนพัฒนานโยบายด้านการเกษตรขึ้นมา ที่สามารถบูรณาการด้านการค้าและการเกษตรเพื่อส่งเสริมการพัฒนาดังกล่าว และให้ประชาชนมีส่วนร่วม อาทิ รัฐบาลของอาเซียนต้องเปิดให้มีการอภิปรายกันในเกษตรกรรายย่อย รวมทั้งเปิดเผยการค้าเจรจาทางการค้า ให้มีการวิพากษ์วิจารณ์โดยเกษตรกรถึงผลกระทบ แปลข้อตกลงทางการค้าเป็นภาษาถิ่น ให้พวกเขามีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจด้วย

นโยบายการเกษตรต้องปฏิรูปภาคเกษตร ที่ดินต้องอยู่ในมือของเกษตรกรเพื่อให้ควบคุมที่ดินของตัวเอง ในฟิลิปปินส์ที่ดินการเกษตรยังอยู่ในมือเจ้าที่ดิน รวมทั้งให้บริการขั้นพื้นฐานที่พอเพียงแก่เกษตรกรรายย่อย และสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็น ส่งเสริมให้เกษตรกรพึ่งตัวเองได้ ผลิตอาหารที่พอเพียงต่อการบริโภคในประเทศ ปกป้องผู้ผลิตรายย่อยจากผลกระทบของการเปิดการค้าเสรี พัฒนาเกษตรภายในประเทศให้ดีขึ้น และควรมีการควบคุมการค้าการจัดการเรื่องราคา มีการเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค ส่งเสริมเกษตรยั่งยืน โดยให้การตั้งมาตรฐานเพื่อให้มีการผลิตที่ยั่งยืน

มูฮัมหมัด กล่าวว่า เราพยายามเสริมสร้างความเข้มแข็งของพวกเรากันเองในภูมิภาค เราอาจไม่สามารถสู้กับภาคธุรกิจการเกษตรได้ แต่จะร่วมกันส่งเสริมการค้าที่เป็นธรรมและการเกษตรที่ยั่งยืน รวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลทัศนะ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน เราจะทำให้มันเกิดขึ้นด้วยการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในกลุ่ม

กฎบัตรอาเซียนรักษาผลประโยชน์ใคร: กลุ่มธุรกิจหรือประชาชน
ชาร์ลส์ ซานติอาโก กลุ่มติดตามความยั่งยืนของโลกาภิวัตน์ มาเลเซีย กล่าวว่า นี่เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของอาเซียน เนื่องจากทั้งที่มีปัญหา เช่น การปฏิวัติในพม่า แต่อีกไม่นานรัฐบาลจะลงนามในกฎบัตรอาเซียน โดยกฎบัตรนี้จะเหมือนรัฐธรรมนูญ โดยใช้ร่วมกัน 10 ประเทศ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์แบบพหุภาคี โดยในการรวมกันเป็นอาเซียนมีการผลักดันจากรัฐบาลต่างๆ รวมทั้งนักลงทุนในภูมิภาคนี้ เพื่อให้ขจัดอุปสรรคทางการค้า. อย่างไรก็ตาม ชาร์ลส์ ตั้งคำถามว่า กฎบัตรอาเซียนนั้นจำเป็นกับประชาชนหรือไม่ กฎบัตรนี้รักษาผลประโยชน์กลุ่มธุรกิจ หรือให้ประโยชน์กับเกษตรกรรายย่อย รวมถึงประชากรทั้งหมดไหม ?

ถึงวันนี้ยังไม่ชัดว่า กฎบัตรพูดเรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างไร และยังไม่ชัดว่ากฎบัตรอาเซียนจะจัดการเรื่องการแข่งขัน การใช้อาวุธ การแก้ปัญหาความไม่มั่นคงของประชาชนในภูมิภาค ความรุนแรงในภูมิภาคอย่างไร ? ดังนั้นไม่ควรคาดหวังกฎบัตรให้มากว่าจะส่งเสริมประชาธิปไตยและสิทธิเสรีภาพของประชาชน ประชาชนภูมิภาคนี้มีความเสี่ยงว่า อาเซียนจะส่งเสริมการค้าที่เป็นประโยชน์กับภาคธุรกิจ เพราะฉะนั้น ต้องแน่ใจว่าจะไม่มีคนตกหล่นเพราะได้รับผลกระทบจากกฎบัตรนี้

ชาร์ลส์ กล่าวว่า, ความท้าทายในการที่อาเซียนจะต้องสร้างโอกาสและผลประโยชน์ให้ประชาชนอย่างเสมอภาค และมีมิติด้านสังคมที่มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน โดยมีข้อเสนอคือ ต้องพิทักษ์ผลประโยชน์ของคนที่อ่อนแอด้อยโอกาสในสังคม ตอนนี้มีประสบการณ์การจ้างงานข้ามประเทศ ตลาดการจ้างงานได้รับผลกระทบจากตลาดการค้าโลก ทำให้สวัสดิการแรงงานต่างๆ ลดลง. เขายังพูดถึงแนวความคิดของโคฟี่ อานัน อดีตเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ บอกว่า โลกาภิวัตน์ทำให้การกระจายความมั่งคั่งเป็นไปอย่างไม่เท่าเทียม คนไม่สามารถปกป้องชีวิตตัวเองได้ คนจำนวนมากได้รับผลกระทบจากโลกาภิวัตน์ เพราะรู้สึกเหมือนเป็นกลไกตลาด ขณะที่บางคนบอกว่า โลกาภิวัตน์น่าจะเป็นกลไกขับเคลื่อนได้ดีกว่านี้

เขาแสดงความเห็นว่า ต้องทำให้อาเซียนพูดถึงมิติทางสังคม ส่งเสริมให้มีความมั่นคงทางสังคมและค่าแรงที่เป็นธรรม และเมื่ออาเซียนบอกว่าต้องเคารพสิทธิมนุษยชนของประเทศต่างๆ ด้วย เพราะฉะนั้นต้องทำอะไรบางอย่างกับเรื่องพม่า เช่น คว่ำบาตรการค้าอาวุธกับพม่า เรื่องการลงทุน ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากทรัพยากรพม่าคือไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทยซื้อก๊าซธรรมชาติจากพม่า มาเลเซียเองเข้าไปสำรวจหาน้ำมัน เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าอาเซียนได้ประโยชน์จากพม่า แต่ผลทำให้ประชาชนเกิดความทุกข์ยาก นอกจากนี้แล้ว ชาร์ลส์ได้เสนอต่อที่ประชุมว่า ให้ปฏิเสธกฎบัตรอาเซียนด้วย โดยแสดงความเห็นต่อกรณีที่ยังไม่มีใครเห็นร่างกฎบัตรว่า หากไม่มีอะไรจริงๆ ทำไมกฎบัตรจึงต้องเป็นความลับ

ถ้าอาเซียนยังเป็นแบบนี้ ผู้นำของพม่าก็ยังคงอยู่ในตำแหน่ง
คิน โอมาร์ ภาคีประชาชนเอเชียแปซิฟิกเพื่อพม่า เล่าถึงสถานการณ์ในพม่าว่า ตอนนี้มีการปราบปรามหนัก และทางการกำลังควานหาตัวนักเคลื่อนไหว ผู้พลัดถิ่นจากพม่าขณะนี้หลบหนีทหารกันอยู่ ไม่เช่นนั้นจะถูกจับ ทุกคนพยายามเอาตัวรอด สิ่งที่กังวลสำหรับเราคือความปลอดภัยของประชาชน ซึ่งอาจถูกข่มขืน ถูกจับ ไม่มีความมั่นคงของการดำรงชีวิตในเมือง ถ้าอาเซียนยังทำแบบนี้ ผู้นำของพม่าก็คงยังอยู่ในตำแหน่ง, คิน โอมาร์ กล่าว

คิน เล่าว่า หลังการปะทะ ชีวิตคนในเมืองไม่ปลอดภัย มีพระสงฆ์จำนวนมากที่ออกมาเดินขบวนและถูกจับไป ไม่มีใครรู้ว่าพวกเขาอยู่ที่ไหน แต่รู้ว่าถูกจับอยู่ในคุกใดคุกหนึ่ง พระบางรูปถูกทุบตีจนตาย คนที่ติดคุกบางคนบอกว่า พระถูกถอดจีวรออกแล้วนั่งคลาน พร้อมทั้งถูกทุบตีโดยเจ้าหน้าที่รัฐ. เธอเล่าถึงนักเคลื่อนไหวหลายคนที่ถูกตามล่า เช่น แม่ของนักกิจกรรมคนหนึ่งซึ่งป่วยเป็นมะเร็ง นอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล ทหารไปตามตัวและถามว่า คนไหนคือแม่ของเขาให้ลุกขึ้นยืน ทุกคนก็ยืนกันหมด แล้วบอกให้เธอรีบหนีออกไป

หรือกรณีผู้หญิงคนหนึ่งมีลูก 3 คน โดยมีย่าเป็นคนดูแลหลาน วันที่เกิดเหตุเธอออกมาประท้วงและถูกจับไป ส่วนย่าก็ถูกจับไปเป็นตัวประกัน ทำให้เหลือเพียงเด็ก 3 คนในบ้าน นอกจากนี้แล้ว ยังมีนักเคลื่อนไหวที่ยังหลบหนีอีกมาก. คิน กล่าวในตอนท้ายว่า อาเซียนต้องทำอะไรบ้างได้แล้วเพื่อปกป้องพวกเขา ให้ประชาชนอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรีและได้รับความปลอดภัยในการดำรงชีวิต บุคคลที่ถูกตามล่า บางคนถูกจับไปแล้ว

ที่ดินและทรัพยากรของชนพื้นเมืองถูกฉกฉวย
วิคตอเรีย ตาอุลี-คอร์ปุส ผู้ก่อตั้งมูลนิธิเทบเทบยา ฟิลิปปินส์ และประธานเวทีถาวรของสหประชาชาติว่าด้วยชนพื้นเมือง กล่าวถึงปัญหาชนพื้นเมืองว่า เป็นประเด็นที่ไม่ค่อยมีใครสนใจเท่าไหร่. ชนพื้นเมืองถูกปราบปรามและกดขี่ในประเทศของเขาเอง เวทีถาวรของสหประชาชาติว่าด้วยชนพื้นเมืองเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ จึงได้มีการร่างปฎิญญาเรื่องสิทธิชนพื้นเมืองขึ้น เสียงส่วนใหญ่รับรองปฎิญญานี้ มีเพียง 4 ประเทศใหญ่ที่ไม่ยอมรับรอง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา, นิวซีแลนด์, แคนาดา, ออสเตรเลีย

ทั้งนี้ ประเด็นปัญหาของชนพื้นเมือง คือเรื่องที่ดินและทรัพยากร เพราะหลังยกเลิกอาณานิคม ในฟิลิปปินส์มีการทำเหมืองแร่ในพื้นที่ชนพื้นเมือง แต่ที่จริงแล้วชนพื้นเมืองเคยมีการจัดการทรัพยากรของตัวเองซึ่งเป็นไปอย่างยั่งยืน แต่เรามีกฎหมายระบบการตรวจสอบ การเช่าที่ดินในฟิลิปปินส์ และยังมีปัญหาอื่นนอกจากการทำเหมืองมีการปลูกพืช ทำไร่ขนาดใหญ่เพื่อทำไบโอดีเซล ทำให้เกิดการทำลายป่าและเลือกปฏิบัติต่อชนพื้นเมือง ไม่เฉพาะรัฐบาลเท่านั้น แต่ชนชั้นสูงก็เลือกปฏิบัติต่อชนพื้นเมืองด้วย

มีการกวาดล้างใช้ความรุนแรงละเมิดสิทธิชนพื้นเมือง บางประเทศใช้วิธีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ให้มีวัฒนธรรมเดียวภาษาเดียว ทั้งที่ชนพื้นเมืองมีวัฒนธรรม ภาษาและอัตลักษณ์ที่หลากหลาย นอกจากนี้ยังมีผลกระทบจากโลกาภิวัตน์เรื่องการเปิดเสรีต่างๆ มีการขยายตัวเข้าไปกอบโกยแย่งชิงทรัพยากรในพื้นที่ของชนพื้นเมืองและกดขี่ผู้หญิง. สำหรับการต่อสู้ในอาเซียน ชนพื้นเมืองออกมาต่อสู้ไม่เห็นด้วยกับการพัฒนาที่ส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรมและระบบของเขา มีการต่อสู้กับการเลือกปฏิบัติ และเรียกร้องสิทธิในที่ดินที่เคยเป็นของบรรพบุรุษมาแต่เดิม

ทั้งนี้วิคตอเรีย กล่าวว่า, มีสิ่งที่ท้าทายต่ออาเซียน คือ สิทธิพื้นเมืองต้องได้รับการบรรจุในกฎบัตร สิทธิของชนพื้นเมืองและการพัฒนาต้องถูกผนวกเป็น 1 ใน 3 เสาหลักของอาเซียน ต้องสนับสนุนกลไกสิทธิมนุษยชน ให้ชนพื้นเมืองได้นั่งในหน่วยงานด้านสิทธิมนุษยชน แปลและเผยแพร่ปฎิญญาว่าด้วยสิทธิชนพื้นเมือง และให้ชนพื้นเมืองมีส่วนร่วมในนโยบายของ ADB ที่เกี่ยวข้องกับชนพื้นเมืองด้วย

อนึ่ง การประชุมประชาสังคมอาเซียนนั้น เป็นการจัดเวทีของภาคประชาสังคม(civil society)ในกลุ่มประเทศอาเซียน คู่ขนานไปกับการประชุมผู้นำอาเซียน โดยจัดต่อเนื่องจากการประชุม 2 ครั้งก่อนหน้านี้ ที่ประเทศมาเลเซีย และฟิลิปปินส์ตามลำดับ โดยครั้งต่อไปจะจัดขึ้นที่ประเทศไทย

3. ประชาสังคม ค้านลงนามกฎบัตรอาเซียน จนกว่าจะแก้ปัญหาพม่า
เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการประชุมประชาสังคมอาเซียน ครั้งที่ 3 ที่ประเทศสิงคโปร์ ผู้เข้าร่วมการประชุมจากองค์กรภาคประชาสังคมกว่า 200 คน จากประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เรียกร้องให้ผู้นำประเทศในอาเซียน เลื่อนการลงนามในกฎบัตรอาเซียนไปก่อน เนื่องจากความรุนแรงของรัฐบาลทหารพม่าในการปราบปรามผู้ชุมนุม โดยผู้เข้าร่วมต่างเห็นว่า วิกฤตการณ์ทางการเมืองในพม่าต้องได้รับการแก้ไขเป็นอันดับแรก ตามหลักสิทธิมนุษยชน ก่อนการลงนามในกฎบัตร

นอกจากนี้แล้วผู้เข้าร่วมยังเห็นว่า ประเทศในอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิงคโปร์, ไทย, และมาเลเซีย, ต้องแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม มากกว่าออกแถลงการณ์ด้วยถ้อยคำที่รุนแรง เช่น มาตรการห้ามส่งออกอาวุธ และมาตรการสกัดกั้นการส่งทรัพยากรจากประเทศในอาเซียนไปยังรัฐบาลทหารพม่า และชนชั้นนำที่เกี่ยวข้อง รวมถึงมีการเรียกร้องไปยังรัฐบาลอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประธานสภาความมั่นคงแห่งสหประชาชาติคนปัจจุบัน ให้สนับสนุนการคว่ำบาตรดังกล่าวด้วย นอกจากนี้ ยังได้มีการเรียกร้องต่ออาเซียนในการกดดันจีนและอินเดีย ให้ดำเนินมาตรการที่เป็นรูปธรรมเพื่อกดดันให้รัฐบาลทหารพม่า รีบนำประเทศกลับสู่หนทางปฎิรูปประชาธิปไตยด้วย

นอกจากประเด็นของพม่าแล้ว ผู้เข้าร่วมยังเห็นตรงกันว่า กฎบัตรอาเซียนร่างโดยไม่ได้ใช้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง รวมทั้งไม่มีการส่งร่างให้ภาคประชาสังคมพิจารณาและให้ความเห็น ก่อนการลงนามในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่ประเทศสิงคโปร์ ในวันที่ 18-22 พฤศจิกายนที่จะถึงนี้. ดังนั้น ก่อนที่จะมีการลงนามดังกล่าว ผู้เข้าร่วมประชุมจึงเรียกร้องให้อาเซียนเปิดเผยร่างกฎบัตรอาเซียน เพื่อให้มีการถกเถียงและปรึกษาหารือก่อนการลงนาม รวมถึงหยุดและป้องกันการละเมิดหลักการพื้นฐานของอาเซียน ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลด้วยวิธีการที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วย

กฎบัตรอาเซียน vs ร่างกฎบัตรประชาชนอาเซียน
นอกจากนี้ยังมีการเรียกร้องให้มีการประชามติกฎบัตรอาเซียนในแต่ละประเทศ ทั้งนี้จากความไม่พอใจในกระบวนการร่างกฎบัตรอาเซียน กลุ่มประชาสังคมระดับชาติและภูมิภาคได้ตัดสินใจร่างกฎบัตรประชาชนอาเซียนขึ้น โดยคาดว่าจะเสร็จสิ้นก่อนการประชุมประชาสังคมอาเซียน ครั้งที่ 4 ที่ประเทศไทย ในปี 2551

 

คลิกกลับไปทบทวนสรุปข่าวตอนที่ ๑


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน


นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ หรือถัดจากนี้สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

คิดต่างในเชิงสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ดีกว่าและเสรีภาพ
11 November2007

โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง
โครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน และนักวิชาการอิสระ-สถาบันฯ

ปัจจุบันกระแสโลกาภิวัตน์ดูเหมือนจะเป็นยูโธเปีย(utopia) สำหรับประเทศศูนย์กลาง
แต่ขณะเดียวกันกระแสโลกาภิวัตน์นี้กลับกลายเป็นยูโธปลอม(dystopia) ของบรรดาประเทศชายขอบทั้งหลาย เนื่องจากได้นำมาซึ่งการสูญเสีย และกดขี่ทางด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งทางด้านความยุติธรรม ความเท่าเทียม อิสรภาพ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ไม่ว่าจะมองจากมิติทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และกฎหมาย ฯลฯ

โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เกิดขึ้นมาจาก
การเล็งเห็นถึงปัญหาเหล่านี้ที่กำลังคุกคามผู้คนและพยายามที่จะแสวงหาตัวบท
พร้อมทั้งกรณีตัวอย่างในที่ต่างๆ มานำเสนอ เพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์โลก
ที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน และทางออกที่หลากหลายในประเทศชายขอบต่างๆ
สำหรับผู้สนใจสามารถส่งบทความเข้าร่วมที่ midnightuniv(at)gmail.com

Free Documentation License
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy