โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้ขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคมเพื่อเป็นสมบัติสาธารณะ
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๔๐๖ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๐ (November, 10, 11, 2007) ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

ในอดีต เจ้าหน้าที่ทางการของพม่าไม่ได้แสดงความน่าเชื่อถือใดๆ เกี่ยวกับหลักนิติธรรม มันยังคงไม่ชัดแจ้งว่า จำนวนเท่าไหร่ของคนเหล่านั้นที่ถูกคุมขัง และได้รับการกล่าวหาอย่างเป็นทางการ. เจ้าหน้าที่ทางการพม่ามักจะอ้างพระราชบัญญัติสถานการณ์ฉุกเฉิน ปี 1950, พระราชบัญญัติการสมาคมที่ผิดกฎหมาย, กฎหมายปกป้องรัฐปี 1970, กฎหมายปกป้องเพื่อความสงบสุข กฎหมายทั้งหมดนี้ มีจุดมุ่งหมายที่จะปราบปรามผู้ที่ไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรงทางการเมือง และได้ใช้ต่อกรกับผู้ซึ่งออกมาเรียกร้องสิทธิของพวกเขาอย่างสันติ เพื่อเสรีภาพในการแสดงออก
10-11-2550

Saffron revolution
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com

ผลที่ตามมาของกบฎผ้าเหลืองในพม่าเพื่อนบ้าน
พม่าถอยหลัง: ๔๐ วันหลังเหตุการณ์กบฎผ้าเหลือง (สรุปข่าว ๑)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : บรรณาธิการ
รวบรวมจากข้อมูลหลายส่วน เช่น News Line, ประชาไท, และสิ่งพิมพ์ต่างๆ

รายงานข่าว บทความ และภาคผนวกต่อไปนี้ กองบรรณาธิการ ม.เที่ยงคืน
ได้รับและรวบรวมมาจากหลายแหล่ง เพื่อนำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับเหตุการณ์ซึ่งเป็นผล
สืบเนื่องมาจากการปฏิวัติผ้าเหลืองที่ยังไม่ประสบผลสำเร็จ

รายงานสถานการณ์ต่อไปนี้จะทำให้เห็นภาพในช่วงเวลา ๔๐ วันที่ผ่านมา
หลังกลุ่มผู้ประท้วงอันประกอบด้วยพระสงฆ์ และประชาชน ได้ถูกเผด็จการทหารพม่า
ปราบปรามอย่างรุนแรง และชาวโลกมีปฏิกริยาในการกดดันรัฐบาลเผด็จการดังกล่าวอย่างไร
รวมทั้งบทความเชิงวิเคราะห์ที่จะทำให้ทราบว่า ทำไมพระสงฆ์พม่าจึงมีบทบาททาง
การเมืองอย่างสำคัญ และในส่วนสุดท้ายจะเป็นภาคผนวก ซึ่งประกอบด้วยเรื่องเกี่ยวกับ
อาการป่วยของออง ซาน ซู จี และเรื่องของภาคประชาชนต่อต้านกฎบัตรอาเซียนอย่างไร
และกำลังเริ่มร่างกฎบัตรภาคประชาชนอาเซียนคู่ขนานขึ้นมา เพื่อเปรียบเทียบกับกฎบัตรชนชั้นนำ
เนื่องจากรายงานเหตุการณ์ บทความ และภาคผนวกเหล่านี้ มีความยาวพอสมควร
สำหรับการนำเสนอบนหน้าเว็บเพจ ม.เที่ยงคืน จึงได้แบ่งออกเป็นสรุปข่าว ๒ ตอน
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๔๐๖
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๙.๕ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ผลที่ตามมาของกบฎผ้าเหลืองในพม่าเพื่อนบ้าน
พม่าถอยหลัง: ๔๐ วันหลังเหตุการณ์กบฎผ้าเหลือง (สรุปข่าว ๑)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : บรรณาธิการ
รวบรวมจากข้อมูลหลายส่วน เช่น News Line, ประชาไท, และสิ่งพิมพ์ต่างๆ

........(๑)........
Newsline ประจำวันที่ 23-26 ตุลาคม 2550

1. สถานการณ์ในประเทศพม่า

1.1 พม่าเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยเข้มงวดป้องกันการชุมนุมประท้วงครั้งใหม่
1.2 ผู้นำพม่ายอมเปิดการเจรจากับผู้นำฝ่ายค้านแล้ว ขณะที่สหรัฐบอกแค่นี้ยังไม่พอต้องเร่งกระบวนการสมานฉันท์เต็มรูปแบบด้วย
1.3 พม่าตั้ง"เต็ง เส่ง"นั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรี
1.4 พม่าชี้แจงพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ ไม่อาจหลีกเลี่ยงใช้กำลังปราบ

2. ต่างประเทศ

2.1 "ฮิวแมนไรท์ วอทช์" ระบุทหารพม่ายังคงกระทำทารุณต่อชนกลุ่มน้อย
2.2 จีนยังคงยืนยันท่าทีเดิมต่อพม่าหลังจากการเจรจากับผู้เเทนสหประชาชาติ
2.3 เครือข่ายสันติภาพฯบุกปตท.จี้ถอนลงทุนในพม่า
2.4 ส.ว.หญิงสหรัฐฯ ขอร้องอินเดียกดดันพม่ายุติความรุนแรง
2.5 ออสเตรเลียควํ่าบาตรผู้นำพม่า
2.6 ผู้แทนสิทธิมนุษยชน UN ประกาศจะหาวิธีเยือนพม่าอย่างเป็นอิสระ
2.7 ทูต UN เผยอินเดียหนุนความพยายามแก้ไขปัญหาพม่า
2.8 อาเซียนเจรจาทางการทูตแก้ปัญหากับพม่า

1. สถานการณ์ในประเทศพม่า
1.1 พม่าเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยเข้มงวด ป้องกันการชุมนุมประท้วงครั้งใหม่
พม่าเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยเข้มงวด ป้องกันการชุมนุมประท้วงครั้งใหม่ ในโอกาสครบรอบ 1 เดือนของเหตุการณ์นองเลือดจากการใช้กำลังปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วง (การปราบปรามเริ่มราววันที่ 26-27 กันยายน 2550). ตำรวจปราบจลาจลพม่าหลายร้อยนายพร้อมอาวุธปืนและแก๊สน้ำตา กระจายกำลังรักษาความปลอดภัยตามสถานที่ต่างๆ ทั่วนครย่างกุ้งในวันนี้ เพื่อป้องกันประชาชนออกมาชุมนุมประท้วงในโอกาสครบรอบ 1 เดือนของเหตุการณ์นองเลือด จากการที่เจ้าหน้าที่ใช้กำลังปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลครั้งใหญ่ที่มีพระสงฆ์เป็นแกนนำเมื่อวันที่ 26 กันยายนที่ผ่านมา โดยเฉพาะที่ประตูทางตะวันออกของเจดีย์ชเวดากอง ได้มีการรักษาความปลอดภัยอย่างแน่นหนา พร้อมทั้งมีการนำลวดหนามมาขึงไว้รอบบริเวณดังกล่าว เนื่องจากสถานที่แห่งนี้เป็นใจกลางการประท้วงครั้งก่อน
(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ วันที่ 26/10/2550)

1.2 ผู้นำพม่ายอมเปิดการเจรจากับผู้นำฝ่ายค้านแล้ว
ผู้นำพม่ายอมเปิดการเจรจากับผู้นำฝ่ายค้านแล้ว ขณะที่สหรัฐบอกแค่นี้ยังไม่พอ ต้องเร่งกระบวนการสมานฉันท์เต็มรูปแบบด้วย. นางออง ซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านของพม่าได้ออกจากบ้านพักในกรุงย่างกุ้งไปยังเรือนรับรองของทางการเพื่อพบเจรจากับพลตรี อ่อง ยี, รัฐมนตรีความสัมพันธ์ซึ่งรัฐบาลทหารพม่าแต่งตั้งขึ้นมาเมื่อวันที่ 8 เดือนนี้ เพื่อดำเนินการเจรจากับนางซูจีโดยเฉพาะ การเจรจามีขึ้นเมื่อเวลาราว 14.00 น.ถึง 15.15 น เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม. ภาพที่ปรากฎทางโทรทัศน์ของพม่า ชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลทหารพม่าจัดที่นั่งเจรจาหารือให้แก่นางซูจีเฉกเช่นบุคคลสำคัญ หาใช่ผู้ที่มีความผิดจนต้องถูกกักบริเวณมาเป็นเวลานานไม่. โทรทัศน์พม่ายังระบุว่า การจัดตั้งนายพล อ่อง ยี ขึ้นมาเป็นผู้แทนรัฐบาลเพื่อเจรจากับนางซูจีนี้ เป็นไปตามข้อเสนอแนะของนายอิบราฮิม กัมบารี ผู้แทนขององค์การสหประชาชาติที่มีขึ้นในขณะเยือนพม่าเมื่อปลายเดือนที่แล้ว

ทางด้านสหรัฐนั้น นายซัลเมย์ คาลีซาด ทูตสหรัฐฯ ประจำสหประชาชาติ กล่าวว่า การที่รัฐบาลทหารพม่ายอมเปิดเจรจากับนางซูจี เป็นเรื่องที่ดี แต่ยังดีไม่พอ ควรมีการเริ่มต้นกระบวนการสมานฉันท์และการถ่ายโอนอำนาจไปสู่ประชาธิปไตยอย่างเต็มรูปแบบไปพร้อมๆ กัน พร้อมกับแนะว่า การเจรจาที่มีขึ้นควรให้นายกัมบารีเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย อีกทั้งนางซูจีควรได้รับสิทธิในการปรึกษาหารือกับสมาชิกพรรคของนางด้วย. นายคาลีซาดยังแนะว่า สหประชาชาติและสหรัฐฯ ต้องเร่งผลักดันอินเดีย จีน และกลุ่มประเทศสมาคมอาเซียนให้กดดันรัฐบาลทหารพม่าให้ยอมปรับเปลี่ยนสถานภาพของนางซูจี เร่งการเดินทางเยือนพม่าของนายกัมบารีให้มีขึ้นโดยเร็ว และให้รัฐบาลทหารพม่าปล่อยนักโทษการเมืองทั้งหมด

สำหรับนายกัมบารีนั้น เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ได้เข้าหารือกับผู้แทนรัฐบาลจีนที่กรุงปักกิ่งเป็นวันที่ 2 แล้ว และในวันนี้จะเดินทางต่อไปยังกรุงโตเกียวเพื่อหารือกับนายกรัฐมนตรี ยาซูโอะ ฟูกูดะ, และรัฐมนตรีต่างประเทศ มาซาทากะ โคมูระ ต่อไป. ขณะเดียวกัน ทางด้านฝรั่งเศสนั้น นายแบร์นาร์ คูชเนอร์ รัฐมนตรีต่างประเทศได้เริ่มการเยือนเอเชียเพื่อขอความร่วมมือในการกดดันรัฐบาลทหารพม่าแล้ว โดยเริ่มต้นที่สิงคโปร์ จากนั้นจะมายังประเทศไทยและต่อไปยังประเทศจีน ในระหว่างการเยือนนี้ นายคูชเนอร์จะหาโอกาสพบกับผู้อพยพลี้ภัยชาวพม่าและผู้นำฝ่ายค้านของพม่าด้วย
(สำนักข่าวไทย วันที่ 26/10/2550)

1.3 พม่าตั้ง"เต็ง เส่ง"นั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรี
สื่อของทางการพม่า รายงานเมื่อวันพุธ (24 ตลาคม) ว่า รัฐบาลได้แต่งตั้งพลโทเต็ง เส่ง ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่อย่างเป็นทางการ แทนพลเอกโซ วิน ซึ่งเสียชีวิตจากอาการป่วย เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม. พลโทเต็ง เส่ง วัย 61 ปี เป็นผู้นำอันดับ 5 ของรัฐบาลทหาร และดำรงตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรี นับตั้งแต่พลเอกโซ วิน สละอำนาจชั่วคราวเมื่อเดือนพฤษภาคม เพื่อรักษาอาการป่วย. อย่างไรก็ดี การแต่งตั้งครั้งนี้ไม่น่าจะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงด้านนโยบาย ซึ่งกำหนดโดยผู้นำระดับสูงของรัฐบาลทหาร ขณะที่นายกรัฐมนตรีไม่ค่อยมีอำนาจบริหารประเทศ

พม่ากำลังเผชิญแรงกดดันจากนานาชาติให้ปฏิรูปการเมือง หลังการสลายกลุ่มผู้ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยเมื่อเดือนที่แล้ว ซึ่งรัฐบาลอ้างว่าทำให้มีผู้เสียชีวิต 10 คน แต่ฝ่ายต่อต้านชี้ว่ามีผู้ถูกสังหารกว่า 200 คน และถูกคุมขังกว่า 6,000 คน ในจำนวนนี้รวมถึงพระสงฆ์หลายพันรูป. ส่วนรัฐบาลสหรัฐฯ กำลังพยายามคุมเข้มเส้นทางโอนเงินของแกนนำรัฐบาลพม่ากับต่างแดน ด้วยการพุ่งเป้าธุรกิจและครอบครัวของนายเทย์ ซา มหาเศรษฐีชาวพม่า ซึ่งถูกมองว่าเป็นผู้มีบทบาททางเศรษฐกิจสูงสุดรายหนึ่งของประเทศ

ฝ่ายต่อต้านและนักธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระบุว่า ธุรกิจของนายเทย์ ซา เฟื่องฟูในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เพราะความใกล้ชิดกับบรรดาผู้นำทหาร โดยมีการขยายกิจการจากการค้าอัญมณีไปจนถึงสายการบินระหว่างประเทศ. เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว สหรัฐฯ ได้ขึ้นบัญชีดำนายเทย์ ซาร์, นางธิดาร์ ซอว์ ภรรยาของเขา, และนายเปีย พโย ลูกชาย, รวมทั้งอายัดทรัพย์สินทั้งหมดของพวกเขาในสหรัฐฯ และห้ามบริษัทในประเทศดำเนินธุรกิจกับครอบครัวของนายเทย์ ซา
(กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 26/10/2550)

1.4 พม่าชี้แจงพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ ไม่อาจหลีกเลี่ยงใช้กำลังปราบ
นสพ. นิวไลท์ ออฟ เมียนมาร์ รายงานเมื่อวันที่ 25 ตุลาคมที่ผ่านมาว่า รัฐมนตรีกระทรวงศาสนาพม่ากล่าวปราศรัยต่อบรรดาพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ ก่อนจะถึงเทศกาลทางศาสนาของชาวพุทธ โดยขอให้เข้าใจถึงเหตุการณ์ที่รัฐบาลใช้กำลังเข้าปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงเมื่อเดือนที่แล้ว ว่าเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ พร้อมตำหนิพระสงฆ์ว่าเป็นต้นเหตุของการประท้วงดังกล่าว ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องดำเนินมาตรการต่อต้านพระสงฆ์ซึ่งเป็นแกนนำในการประท้วงอย่างไม่มีทางเลือก เพื่อไม่ให้เกิดสถานการณ์ที่จะส่งผลกระทบต่อหลักการของศาสนาพุทธและชาติ. ระหว่างการปราศรัยรัฐมนตรีกระทรวงศาสนาพม่า ยังได้ขออภัยต่อกรณีที่มีการจับกุมพระสงฆ์บางคนไปสอบปากคำ แต่ปฏิเสธว่าไม่มีพระสงฆ์มรณภาพจากเหตุการณ์ไม่สงบ พร้อมทั้งได้ขอให้บรรดาพระชั้นผู้ใหญ่ดำเนินมาตรการควบคุมพระสงฆ์อย่างเข้มงวดด้วย
(สำนักข่าวเนชั่น วันที่ 25/10/2550)

2. ต่างประเทศ
2.1 "ฮิวแมนไรท์ วอทช์" ระบุทหารพม่ายังคงกระทำทารุณต่อชนกลุ่มน้อย
กลุ่มรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน"ฮิวแมนไรท์ วอทช์" กล่าวว่า กองทัพของรัฐบาลทหารพม่า ยังคงกระทำทารุณอย่างรุนแรงต่อชนกลุ่มน้อยในประเทศ ในการบุกเข้าปราบปรามกลุ่มก่อความไม่สงบ ซึ่งส่งผลให้ชาวบ้านกว่า 500,000 คน ต้องย้ายถิ่นที่อยู่อาศัย. ฮิวแมนไรท์ วอทช์ ซึ่งมีสำนักงานอยู่ในสหรัฐฯ กล่าวว่า ทางกลุ่มเกรงว่า การบังคับชนกลุ่มน้อยให้อพยพย้ายถิ่นในรัฐกะเหรี่ยงทางตะวันออกของประเทศ จะมีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่ทางกลุ่มเริ่มจัดทำรายงานสถานการณ์เรื่องนี้เมื่อสองปีก่อน และจนถึงขณะนี้ ทางกลุ่มก็ยังได้รับรายงานการกระทำทารุณกรรมอย่างรุนแรงต่อชนกลุ่มน้อยอย่างต่อเนื่อง โดยมีการบังคับใช้แรงงาน ทุบตี ล่วงละเมิดทางเพศ. ฮิวแมนไรท์ วอทช์ ระบุว่า ทางการพม่าบังคับให้ชนกลุ่มน้อยอพยพย้ายถิ่นในเบื้องต้นด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง แต่ยังมีการบังคับย้ายถิ่นด้วยสาเหตุเกี่ยวกับการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และการให้สัมปทานทางธุรกิจ เช่น เขื่อน การวางท่อส่งก๊าส และเหมืองต่างๆ
(สำนักข่าวไทย วันที่ 26/10/2550)

2.2 จีนยังคงยืนยันท่าทีเดิมต่อพม่าหลังจากการเจรจากับผู้เเทนสหประชาชาติ
นายถังเจียฉวน สมาชิกสภาเเห่งรัฐของจีนกล่าวหลังจากการหารือกับ นายอิบราฮิม กัมบารี ผู้เเทนพิเศษขององค์การสหประชาชาติในการเเก้ไขปัญหาพม่าว่า จีนยังคงยืนยันว่าปัญหาในพม่า รัฐบาลเเละประชาชนพม่าต้องเเก้ไขกันเองผ่านวิธีการเจรจาเเละปรึกษาหารือ ขณะเดียวกันประชาคมโลกก็ควรหาหนทางช่วยเหลือที่เหมาะสม เพื่อยุติความขัดเเย้งในพม่า ไม่ใช่มุ่งเเต่จะใช้วิธีการเเทรกเเซง. ด้านนาย หวังยี่ รัฐมนตรีช่วยต่างประเทศของจีน ก็มีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกัน. ท่าทีดังกล่าวของจีนมีเป้าหมายเพื่อเป็นการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับรัฐบาลทหารพม่าไว้เ เละปกป้องผลประโยชน์โครงการด้านพลังงานของจีนในดินเเดนของพม่า

ขณะเดียวกันนักเคลื่อนไหวพากันจัดการประท้วงที่ด้านนอกสถานฑูตจีนในกรุงเทพฯ , นครซิดนีย์ และอีกหลายแห่งทั่วโลก เพื่อพยายามกดดันจีนที่สนับสนุนรัฐบาลทหารพม่า. จีนได้ชื่อว่าเป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ของพม่า และถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักที่ใช้นโยบายการไม่แทรกแซงกิจการภายในของพม่า และระบุว่าจะไม่สนับสนุนการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อพม่า แต่นายกัมบารี ได้ยกย่องจีนที่มีบทบาทในการช่วยให้เขาได้เข้าไปในพม่าเมื่อเดือนที่แล้ว และช่วยไกล่เกลี่ยการเจรจาระหว่างเขากับพลเอกอาวุโสตานฉ่วย และนางอองซานซูจี ผู้นำการเรียกร้องประชาธิปไตย. สำหรับประเทศต่อไปที่นายอิบราฮิม กัมบารี ผู้เเทนพิเศษขององคืการสหประชาชาติในการเเก้ไขปัญหาพม่า จะเดินทางไประหว่างการเดินทางเยือนเอเชียคือ ญี่ปุ่น
(ศูนย์ข่าวแปซิฟิค , สำนักข่าวเนชั่น วันที่ 25/10/2550)

2.3 เครือข่ายสันติภาพฯบุกปตท.จี้ถอนลงทุนในพม่า
ที่สำนักงานใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ถ.วิภาวดีรังสิต ได้มีกลุ่มเครือข่ายสันติภาพเพื่อพม่า เช่น องค์กรประชาสังคมในประเทศไทยและประเทศพม่า รวมกว่า 30 องค์กร นำโดยนางสมศรี หาญอนันทสุข แกนนำกลุ่มสันติภาพเพื่อประเทศพม่า. ทั้งหมดได้มาชุมนุมบริเวณสำนักงานใหญ่ ปตท. และได้ยื่นหนังสือถึง นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เพื่อขอให้ทบทวนการลงทุนของ ปตท.ในประเทศพม่า และแสดงความห่วงใยต่อการลงทุนของ ปตท. ในพม่า โดยเนื้อหาของหนังสือดังกล่าวระบุขอให้ ปตท. พิจารณาในสองประเด็นใหญ่ คือ

1. ขอให้เลื่อนการทำสัญญาการซื้อขายก๊าสธรรมชาติทั้งหมด จากหลุมก๊าซที่ M 9 ในอ่าว มะตะบัน ออกไปโดยไม่มีกำหนด และ
2. ขอให้ทยอยถอนการลงทุนของ ปตท. ในประเทศพม่าที่มีอยู่ในปัจจุบันออกไป จนกว่ารัฐบาลทหารพม่าจะยอมให้มีการปกครองแบบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

นายสรัญ รังคสิริ ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ เป็นตัวแทนรับมอบพร้อมกล่าวว่า จะนำจดหมายเปิดผนึกดังกล่าวของทางเครือข่ายฯ นำเสนอให้กับทางผู้ใหญ่พิจารณา โดยทาง ปตท.จะทำให้ดีที่สุดเพื่อส่วนรวม และพร้อมจะให้คำตอบกับทางเครือข่ายฯ โดยเร็ว
(สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น วันที่ 25/10/2550)

2.4 ส.ว.หญิงสหรัฐฯ ขอร้องอินเดียกดดันพม่ายุติความรุนแรง
บรรดาวุฒิสมาชิกหญิงสหรัฐฯ จำนวน 16 คน ได้ส่งหนังสือถึงนายมานโมฮัน ซิงห์ นายกรัฐมนตรีอินเดียเมื่อวานนี้ เพื่อขอให้อินเดียกดดันพม่ายุติการปราบปรามประชาชน ที่ให้การสนับสนุนการปกครองแบบประชาธิปไตย หนังสือฉบับดังกล่าวได้กล่าวย้ำถึงคุณค่าและความรับผิดชอบร่วมกันของสหรัฐฯ และอินเดีย และยังได้แสดงความวิตกกังวลอย่างรุนแรง ต่อการจำหน่ายอาวุธและน้ำมันของอินเดีย ให้กับรัฐบาลทหารพม่าด้วย
(ผู้จัดการ วันที่ 25/10/2550)

2.5 ออสเตรเลียควํ่าบาตรผู้นำพม่า
นายอเล็กซานเดอร์ ดาวเนอร์ รัฐมนตรีต่างประเทศออสเตรเลีย กล่าวว่า มาตรการคว่ำบาตรดังกล่าวจะมีผลต่อผู้นำรัฐบาลทหารพม่าและครอบครัวรวม 418 คน รวมทั้งพลเอกอาวุโสตาน ฉ่วย ประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ โดยห้ามทำธุรกรรม ทั้งโอนหรือจ่ายเงินให้แก่ผู้นำรัฐบาลทหารพม่าและผู้สนับสนุนที่มีชื่อในบัญชี โดยที่ไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลออสเตรเลีย. นอกจากนี้ ออสเตรเลียยังมีคำสั่งห้ามส่งออกอาวุธและจำกัดการออกวีซ่า มาตรการคว่ำบาตรใหม่นี้มีเป้าหมายเพิ่มแรงกดดันต่อรัฐบาลทหารพม่า โดยไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน

ในขณะที่สมาพันธ์สหภาพการค้าระหว่างประเทศ ก็ออกมาเรียกร้องให้ทั่วโลกคว่ำบาตรบริษัทที่ทำธุรกิจกับรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า เช่นบริษัทน้ำมันโทเทล เอสเอ ของฝรั่งเศส ทั้งนี้รัฐบาลทหารพม่าไม่ได้สนใจต่อความคิดเห็น และกระแสกดดันของชาวโลกระหว่างการอยู่ในอำนาจ 45 ปี แต่ยังกอบโกยผลประโยชน์จากการอนุญาตให้บริษัทต่างชาติ เช่น โทเทล เข้าทำธุรกิจขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

ขณะเดียวกัน สตรี 6 ใน 7 คน เจ้าของรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพที่ยังมีชีวิตอยู่ ร่วมลงนามในหนังสือเรียกร้องประชาคมโลก ร่วมมือกันกดดันให้รัฐบาลทหารพม่าฟื้นฟูเสรีภาพ และปฏิรูปประชาธิปไตย ส่วนรัฐบาลทหารพม่ามีท่าทีอ่อนลงต่อกระแสกดดันของนานาชาติ โดยยอมตกลงเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ให้นายอิบราฮิม กัมบารี เจ้าหน้าที่ทูตพิเศษของสหประชาชาติ หรือ UN เดินทางเข้ามาในพม่าได้อีกครั้งในต้นเดือนพฤศจิกายน
(เดลินิวส์ วันที่ 25/10/2550)

2.6 ผู้แทนสิทธิมนุษยชน UN ประกาศจะหาวิธีเยือนพม่าอย่างเป็นอิสระ
นายเปาโล เซอร์จิโอ ปินเฮโร ผู้แทนสหประชาชาติในกิจการสิทธิมนุษยชนพม่า กล่าวภายหลังเข้าบรรยายสรุปสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในพม่า ให้แก่คณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติเมื่อวันพุธที่ผ่านมา ระบุว่า กำหนดการเยือนพม่าของเขาจะมีขึ้นหลังจากการเยือนของนายอิบราฮิม กัมบารี ที่กำหนดเยือนพม่าครั้งที่ 2 ในต้นเดือนพฤศจิกายน. นายปินเฮโร ยืนยันว่า กำหนดการเยือนพม่าของเขาจะต้องมีขึ้นก่อนวันที่ 17 พฤศจิกายน และก่อนการประชุมผู้นำสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ครั้งที่ 13 ที่สิงคโปร์ และจะพยายามให้การเยือนพม่าของเขานั้นสามารถเข้าถึงทุกฝ่ายได้โดยอิสระ โดยเฉพาะกับนักโทษการเมืองในเรือนจำต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลจริงมากที่สุด โดยนายปินเฮโร ระบุว่า เอกอัครราชทูตพม่าประจำ UN ให้การรับรองว่า พม่าจะให้ความร่วมมือเต็มที่ในการเยือนพม่ารอบนี้

รัฐบาลทหารพม่าถูกประชาคมโลกกดดันอย่างหนัก หลังจากเกิดเหตุใช้กำลังปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลในนครย่างกุ้งเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา นอกเหนือจากอนุญาตให้นายปินเฮโร เข้าเยือนพม่าเป็นครั้งแรกในรอบเวลา 4 ปีแล้ว ทางการพม่ายังอนุญาตให้นายกัมบารีเข้าเยือนพม่าเป็นครั้งที่ 2 ในรอบเวลาไม่ถึง 1 เดือนด้วย
(สำนักข่าวไทย วันที่ 25/10/2550)

2.7 ทูต UN เผยอินเดียหนุนความพยายามแก้ไขปัญหาพม่า
นายอิบราฮิม กัมบารี ทูตพิเศษสหประชาชาติ กล่าวในวันที่ 23 ตุลาคมว่า เขาได้รับคำมั่นจากอินเดียว่าจะสนับสนุนความพยายามในการแก้ไขวิกฤตการณ์ในพม่า. นายกัมบารี กล่าวภายหลังพบปะกับบรรดาผู้นำอินเดีย ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักกรณีที่ยังคงนิ่งเฉยต่อเหตุการณ์ที่รัฐบาลทหารพม่า ใช้ความรุนแรงจัดการกับบรรดาผู้ประท้วงนำโดยพระสงฆ์ โดยระบุว่า เขาได้รับกำลังใจจากคำตอบของทั้งนายกรัฐมนตรีมานโมฮัน ซิงห์ และนายประนาบ มุกเคอร์จี รัฐมนตรีต่างประเทศอินเดีย ที่ว่าจะร่วมมือกับเลขาธิการสหประชาชาติ. สำหรับนายกัมบารี การเดินทางเยือนอินเดียครั้งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการหาเสียงสนับสนุนความพยายามของสหประชาชาติในการผลักดันการปฏิรูปประชาธิปไตยในพม่า. ก่อนหน้านี้ อินเดียแสดงความวิตกต่อการปราบปรามการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่า แต่ไม่เห็นด้วยที่จะให้ประกาศมาตรการคว่ำบาตร
(สำนักข่าวไทย วันที่ 23/10/2550)

2.8 อาเซียนเจรจาทางการทูตแก้ปัญหากับพม่า
นายจอร์จ เยียว รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์ กล่าวว่า ชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนจะเลือกใช้การเจรจาทางการทูตกับรัฐบาลทหารพม่า เพื่อคลี่คลายวิกฤตประชาธิปไตย เนื่องจากมองว่าการใช้มาตรการคว่ำบาตรจะใช้ไม่ได้ผล ซึ่งลำดับแรกสิงคโปร์จะสนับสนุนความพยายามของนายอิบราฮิม กัมบารี ทูตพิเศษสหประชาชาติ ที่กำลังรับบทบาทสำคัญในการคลี่คลายวิกฤตดังกล่าว. นอกจากนี้ นายเยียว ยังกล่าวอีกว่า วิกฤตดังกล่าวน่าจะได้รับข้อยุติและทุกฝ่ายจะต้องผลักดันให้บรรดานายพลระดับสูงในรัฐบาลพม่า เจรจากับนางอองซานซูจี หัวหน้าสันนิบาตเพื่อประชาธิปไตยพม่า หรือ NLD ซึ่งอาเซียนเชื่อมั่นว่า พม่าก็ไม่ต้องการให้สถานการณ์เลวร้ายลง อาเซียนจึงยังไม่ได้ถอดถอนพม่าออกจากการเป็นสมาชิกอาเซียนในช่วงนี้
(สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น วันที่ 23/10/2550)

........(๒)........
Newsline ประจำวันที่ 27-28 ตุลาคม 2550

1. สถานการณ์ในประเทศพม่า

1.1 พม่าปล่อยม็อบ-ลดกดดัน
1.2 แอร์พุกามเลิกให้บริการเที่ยวบินไปสิงคโปร์
1.3 พม่าเนรเทศพระสงฆ์บังกลาเทศอีก 12 รูป
1.4 กะเหรี่ยงเคเอ็นยูซุ่มโจมตีรถทหารพม่า
1.5 สิงคโปร์กับญี่ปุ่นหาลู่ทางสร้างเสถียรภาพให้เกิดขึ้นในพม่า

1. สถานการณ์ในประเทศพม่า
1.1 พม่าปล่อยม็อบ-ลดกดดัน
เมื่อ 27 ตุลาคม. สำนักข่าวต่างประเทศแจ้งว่า รัฐบาลทหารพม่าพยายามลดกระแสแรงกดดันจากประชาคมโลก. ล่าสุดได้สั่งปล่อยตัวกลุ่มผู้ชุมนุมเดินขบวนขับไล่รัฐบาลเมื่อช่วงปลายเดือนกันยายนเพิ่มเติมอีกเกือบ 100 คน ในจำนวนนี้เป็นสมาชิกพรรคฝ่ายค้าน NLD 50 กว่าคน} พระสงฆ์ 12 รูป} และนักศึกษากลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตยอีก 14 คน. อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้ชุมนุมที่ทางการพม่าจับกุมตัวไปในช่วงนั้นมีมากกว่า 3,000 คน และยังไม่มีการแถลงเป็นการทางว่า ยังมีผู้ชุมนุมถูกจองจำอยู่อีกกี่คน
(ข่าวสด วันที่ 27/10/2550)

1.2 แอร์พุกามเลิกให้บริการเที่ยวบินไปสิงคโปร์
เจ้าหน้าที่ของนิว ชาน ทราเวล เซอร์วิสของสิงคโปร์ เปิดเผยว่า สายการบินแอร์พุกามของพม่าจะยุติการให้บริการเที่ยวบินมายังสิงคโปร์ตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายนนี้ ถือเป็นหนึ่งในธุรกิจแรกๆ ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรที่เพิ่มขึ้นของนานาชาติต่อรัฐบาลทหารพม่า ที่สั่งปราบปรามผู้เดินขบวนประท้วงเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย นำโดยพระสงฆ์เมื่อเดือนที่แล้ว
(กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 28/10/2550)

1.3 พม่าเนรเทศพระสงฆ์บังกลาเทศอีก ๑๒ รูป
พันเอกชอว์กัต อิหม่าม นายทหารของกองกำลังพลร่มบังกลาเทศ เปิดเผยเมื่อวันที่ 26 ตุลาคมว่า ทางการพม่าจัดส่งพระสงฆ์บังกลาเทศ 12 รูปกลับจากพม่ามายังบังกลาเทศ ผ่านเส้นทางแม่น้ำนาฟ ซึ่งเป็นเขตแดนตามธรรมชาติของทั้ง 2 ประเทศ. พันเอกอิหม่ามระบุว่า เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองพม่าติดต่อมายังบังกลาเทศ หลังจากส่งพระสงฆ์ดังกล่าวลงเรือในแม่น้ำ ทางการบังกลาเทศตรวจสอบเอกสารแล้วทั้งหมดเป็นพระสงฆ์บังคลาเทศจริง และได้เรียกญาติของแต่ละรูปมารับกลับไปทั้งหมดแล้ว การเนรเทศครั้งนี้ทางการพม่าไม่ได้ระบุเหตุผลในการเนรเทศ

พระสงฆ์บังกลาเทศถูกเนรเทศออกจากพม่าแล้วทั้งสิ้น ๒๗ รูปนับ ตั้งแต่เกิดเหตุพม่าใช้กำลังทหารปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยเมื่อเดือนก่อน. บังกลาเทศเป็นประเทศที่มีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม พุทธศาสนิกชนในบังกลาเทศนิยมส่งพระสงฆ์ไปศึกษาพระธรรมขั้นสูงในประเทศพม่า ขณะเดียวกัน บังกลาเทศก็มีชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมโรฮิงญาลี้ภัยจากพม่าเข้าอาศัยในบังกลาเทศหลายพันคน ในค่ายผู้ลี้ภัยทางภาคตะวันออกเฉียงใต้
(ศูนย์ข่าวแปซิฟิค วันที่ 26/10/2550)

1.4 กะเหรี่ยง KNU ซุ่มโจมตีรถทหารพม่า
กองกำลังทหารสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) กองร้อยที่ 2 กองพลที่ 6 จำนวน 10 นาย ได้ใช้เครื่องยิงจรวดอาร์พีจี. และอาวุธปืนนานาชนิด ซุ่มโจมตีรถยนต์ทหารพม่า สังกัดกองพันเคลื่อนที่เร็วที่ 454 กองบังคับการควบคุมที่ 2 ที่บริเวณเชิงสะพานแรก ก่อนเข้าเขตหมู่บ้านติ่นกานหยิ่นหน่อง จังหวัดเมียวดี ตรงข้ามบ้านริมเมย ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก หรือลึกจากชายแดนไทย - พม่าประมาณ 15 กิโลเมตร เป็นเหตุให้ทหารรัฐบาลพม่าเสียชีวิตคาที่ 3 นาย ได้รับบาดเจ็บ 1 นาย

ในระหว่างเกิดเหตุการณ์ถูกโจมตี ทหารพม่า และทหารกะเหรี่ยง DKBA. ซึ่งได้โดยสารรถยนต์คันที่เกิดเหตุ ต่างระดมยิงตอบโต้ฝ่ายกะเหรี่ยง KNU จนล่าถอยไปในที่สุด โดยฝ่ายกะเหรี่ยง KNU ไม่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตแต่อย่างใด. แหล่งข่าวด้านความมั่นคงด้านชายแดนจังหวัดตากแจ้งว่า ก่อนเกิดเหตุทหารพม่าร่วมกับกะเหรี่ยง DKBA.สังกัด พันเอกนะคามวย ผู้บังคับการยุทธวิธีที่ 999 จำนวนหนึ่ง ได้เดินทางออกไปจากเมืองกอกาเลก เพื่อไปยังจังหวัดเมียวดี โดยมีเป้าหมายไปปราบปรามกลุ่มกะเหรี่ยง KNU. แต่ถูกยิงสกัดก่อน ส่วนกำลังฝ่ายกะเหรี่ยง KNU.นั้นโดยการนำของร้อยเอกละเม นายทหารที่มีชื่อเสียงโด่งดังในการสู้รบกับทหารพม่า
(สำนักข่าวเนชั่น วันที่ 28/10/2550)

1.5 สิงคโปร์กับญี่ปุ่นหาลู่ทางสร้างเสถียรภาพให้เกิดขึ้นในพม่า
นายจอร์จ เหยียว รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์ แจ้งต่อสำนักข่าวเกียวโดของญี่ปุ่นหลังจากการหารือกับนายมาซาฮิโกะ โคมูระ รัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่นในวันนี้ว่า สิงคโปร์กับญี่ปุ่นกำลังหาลู่ทางเปลี่ยนแปลงในนโยบายของพม่า แต่ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงการปกครองของรัฐบาลทหารพม่า ถ้อยแถลงดังกล่าวมีขึ้นในขณะที่นายเหยียว อยู่ระหว่างการเยือนญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศสำคัญที่ให้ความช่วยเหลือพม่า ที่ได้ปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงเมื่อไม่นานมานี้
(ไอเอ็นเอ็น นิวส์ วันที่ 28/10/2550)

........(๓)........
Newsline ประจำวันที่ 29-30 ตุลาคม 2550

1. สถานการณ์ในประเทศพม่า

1.1 มหาซาง-ขุนส่า 2 ผู้นำชนกลุ่มน้อยในพม่าเสียชีวิตแล้ว
1.2 พม่ากล่าวหาสหรัฐเป็นชาติอันธพาล ปลุกปั่นให้เกิดการประท้วง

2. ต่างประเทศ

2.1 รฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศสเดินสายเยือนไทยกดดันรัฐบาลทหารพม่า
2.2 เชฟรอนยันไม่ถอนตัวจากโครงการก๊าซในพม่า มั่นใจประชาชนได้ประโยชน์เต็มๆ จากโครงการ

1. สถานการณ์ในประเทศพม่า
1.1 มหาซาง-ขุนส่า 2 ผู้นำชนกลุ่มน้อยในพม่าเสียชีวิตแล้ว
รายงานข่าวจากจังหวัดเชียงใหม่แจ้งว่า "มหาซาง" หนึ่งในผู้นำกลุ่มว้า ในนาม WNO ได้เสียชีวิตลงที่โรงพยาบาลป่าแงะ เมื่อเวลาประมาณ 01.00 น.วันที่ 29 ตุลาคม 2550 หลังจากต้องเข้ามารับการรักษาตัวเพราะป่วยเป็นโรคถุงลมโป่งพองมานาน และเข้ารับการรักษาตัวล่าสุดเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2550 กระทั่งเสียชีวิต โดยมีการนำศพไปบำเพ็ญกุศลที่วัดท่ากระดาษ ต.ฟ้าฮ่าม อ.เมือง จ.เชียงใหม่. สำหรับ มหาซาง เป็นผู้นำว้าที่มีอิทธิพลในพื้นที่ชายแดนพม่าตรงข้ามบ้านแม่ออรักไทย อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน (ติดกับบ้านหัวเมือง อดีตฐานที่มั่นของขุนส่า ราชายาเสพติดระดับโลก)

ผู้นำชนกลุ่มน้อยอีกคนที่เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2550 คือ "ขุนส่า" ราชายาเสพติดระดับโลกที่สหรัฐฯต้องการตัวมากที่สุดคนหนึ่ง ผู้นำชนกลุ่มน้อยไทยใหญ่ในอดีตซึ่งได้สวามิภักดิ์ต่อรัฐบาลทหารพม่า และพักอาศัยอยู่ในกรุงย่างกุ้งมานานหลายปี ล่าสุดได้เสียชีวิตลงด้วยโรคประจำตัวที่มีอยู่หลายโรคด้วยกัน
(ผู้จัดการ วันที่ 30/10/2550)

1.2 พม่ากล่าวหาสหรัฐเป็นชาติอันธพาล ปลุกปั่นให้เกิดการประท้วง
หนังสือพิมพ์เมียนมาร์ อาห์ลิน ได้ตีพิมพ์บทความแสดงความเห็นว่า การประท้วงในประเทศเมื่อเร็วๆ นี้เกิดจากการปลุกปั่นของชาติอันธพาล ด้วยการใช้กลุ่มต่อต้านรัฐบาลพม่าทั้งในและนอกประเทศเป็นเครื่องมือ ซึ่งแม้บทความดังกล่าวไม่ได้ระบุชื่อประเทศที่กล่าวหาว่าเป็นชาติอันธพาล แต่ก็เป็นทราบกันว่าคือสหรัฐฯ โดยสหรัฐฯ กระทำเช่นนี้เพื่อหวังที่จะจัดตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดขึ้นในพม่า. รายงานระบุว่าสหรัฐฯ พยายามจะรื้อฟื้นให้เกิดเหตุการณ์ไม่สงบครั้งใหญ่ในพม่าเหมือนเช่นเมื่อปี 2531 แต่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย และมีเพียงคนกลุ่มน้อยเท่านั้นที่ออกมาร่วมชุมนุมประท้วง จากการยั่วยุของสื่อต่างชาติ เช่น สำนักข่าว BBC และ VOA ที่รัฐบาลสหรัฐฯ ให้การสนับสนุน
(สำนักข่าวเนชั่น วันที่ 30/10/2550)

2. ต่างประเทศ
2.1 รมว.ฝรั่งเศสเดินสายเยือนไทยกดดันรัฐบาลทหารพม่า
30 ตุลาคม นายแบร์นาร์ด คูชแนร์ รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส มีกำหนดจะพบปะกับเจ้าหน้าที่ของไทยในวันนี้ ในระหว่างการเดินทางเยือนประเทศไทยเป็นประเทศที่ 2 ในการเดินสายเยือนชาติในเอเชีย เพื่อพยายามเพิ่มแรงกดดันจากนานาชาติต่อรัฐบาลทหารพม่า หลังใช้กำลังเข้าปราบปรามผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลเมื่อเดือนกันยายน. นายคูชแนร์ กล่าวระหว่างการเริ่มเยือนสิงคโปร์เป็นประเทศแรกเมื่อวานนี้ว่า แรงจูงใจและมาตรการคว่ำบาตรเป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงประชาธิปไตยในพม่า แต่การคว่ำบาตรอาจไม่ค่อยได้ผล เขาเสนอให้ใช้แรงจูงใจกับรัฐบาลทหารพม่า เช่น การตั้งกองทุนระหว่างประเทศเพื่อช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจในพม่า เหมือนกับที่เคยตั้งกองทุนพิเศษโดยใช้เงินจากธนาคารโลก เพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูโคโซโว จากสงคราม

นายคูชแนร์เป็นนักการทูตคนล่าสุดที่เดินสายเยือนชาติเอเชียในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อพยายามเพิ่มแรงกดดันกับรัฐบาลทหารพม่า นอกเหนือจากนายอิบราฮิม กัมบารี ทูตพิเศษแห่งสหประชาชาติที่ตอนนี้กำลังเยือน 6 ชาติเอเชีย เพื่อขอแรงสนับสนุนในความพยายามจัดการกับปัญหาพม่า โดยนายกัมบารี มีกำหนดจะเดินทางกลับเข้าไปพม่าเป็นครั้งที่ 2 นับตั้งแต่เกิดเหตุวุ่นวาย ในเดือนหน้าหลังนายเปาโล เซอร์จิโอ พินเฮโร ผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ที่จะเข้าไปเยือนพม่าในช่วงก่อนกลางเดือนพฤศจิกายนนี้
(คมชัดลึก วันที่ 30/10/50)

2.2 เชฟรอนยันไม่ถอนตัวจากโครงการก๊าซในพม่า มั่นใจประชาชนได้ประโยชน์เต็มๆ จากโครงการ
สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานเมื่อวันที่ 29 ตุลาคมว่า เชฟรอน คอร์ป บริษัทน้ำมันใหญ่สุดอันดับ 2 ของสหรัฐฯ ยืนยันจะคงการถือหุ้นในโครงการก๊าซธรรมชาติในพม่าต่อ แม้จะมีกระแสเรียกร้องให้บริษัทถอนตัวจากโครงการดังกล่าวก็ตาม. เดวิด โอเรลลี ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร(ซีอีโอ)ของเชฟรอน กล่าวว่าประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณโครงการและท่อส่งก๊าซยาดานา ต่างได้รับประโยชน์ทั้งในด้านการทำงานและการลงทุนในด้านสุขภาพและการศึกษา. ทั้งนี้ซีอีโอเชฟรอน ยอมรับว่าบริษัทอาจสูญเสียผลประโยชน์ในด้านภาษีจากโครงการก๊าซดังกล่าว ซึ่งเป็นผลพวงจากการผ่านกฎหมายคว่ำบาตรรัฐบาลพม่า ที่เสนอโดยคณะกรรมาธิการของสภาคองเกรสสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 23 ตุลาคมที่ผ่านมา

ภายใต้กฎหมายดังกล่าว ได้ยกเลิกการตัดบัญชีด้านภาษีสำหรับโครงการร่วมทุนผลิตในโครงการก๊าซยาดานา และไม่อนุญาตให้มีการจ่ายเงินหรือโยกย้ายเงินให้แก่รัฐบาลพม่าอีกด้วย. ที่ผ่านมาเชฟรอนได้ถูกกดดันอย่างหนักจากหลายฝ่าย ให้ยกเลิกการถือครองหุ้นในสัดส่วน 28.3% ในโครงการก๊าซยาดานา หลังจากที่รัฐบาลพม่าได้ใช้ความรุนแรงปราบปรามผู้ประท้วงเมื่อเดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ดีซีอีโอของเชฟรอน กล่าวว่า การดำเนินงานในโครงการก๊าซยาดานาจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก หากเชฟรอนถอนตัวจากการลงทุน เนื่องจากบริษัทเป็นผู้ลงทุนส่วนน้อยในโครงการนี้เท่านั้น

ความพยายามในการกดดันบริษัทสัญชาติสหรัฐที่ดำเนินงานในพม่ายังมีอยู่ต่อเนื่อง โดยมีการคาดการณ์ว่าหากมีการผ่านกฎหมาย ซึ่งเสนอโดยจอห์น แมคเคน วุฒิสภาสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ที่ห้ามให้บริษัทสหรัฐฯ เข้าไปลงทุนในพม่านั้น อาจส่งผลให้เชฟรอนถูกบังคับให้ยกเลิกและถอนตัวจากการลงทุนในพม่าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้. ทั้งนี้ เชฟรอน ถือเป็นหนึ่งในบริษัทยักษ์ใหญ่ของตะวันตกที่เข้าไปดำเนินงานในพม่า หลังจากที่ก่อนหน้านี้บริษัทได้ทุ่มเงินจำนวนมากเพื่อซื้อกิจการยูโนแคลอีกด้วย
(โพสต์ทูเดย์ วันที่ 30/10/2550)

........(๔)........
Newsline ประจำวันที่ 31 ตุลาคม - 3 พฤศจิกายน 2550

1. สถานการณ์ในประเทศพม่า

1.1 พม่าปล่อยผู้ประท้วงชุดใหญ่ ฝ่ายค้านประกาศต่อต้านไม่เลิก
1.2 ชาวพม่านับพันคนจัดการชุมนุมสนับสนุนรัฐบาลและรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
1.3 พม่าเรียกพบเจ้าอาวาส กำชับพระลูกวัดห้ามชุมนุม
1.4 กองทัพพม่าบังคับเด็กชายที่อายุต่ำกว่า 18 ปี หลายพันคน เข้าเป็นทหารของกองทัพ
1.5 ปาร์ ปาร์ เลย์ ดาราตลกชื่อดังของพม่าได้รับการปล่อยตัวแล้ว
1.6 รัฐบาลทหารพม่ารับรองการแต่งตั้งเอกอัครราชทูตเกาหลีเหนือประจำพม่าแล้ว

2. ต่างประเทศ

2.1 เลขา UN ผิดหวังที่พม่ามีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงของ UN ออกนอกประเทศ
2.2 สองชาติมหาอำนาจเรียกร้องรัฐบาลทหารพม่าปล่อยตัวนักโทษการเมือง และเข้าเจรจากับสหประชาชาติ
2.3 สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐฯ พรรคเดโมแครตเสนอกฎหมายเพิ่มความเข้มงวดคว่ำบาตรพม่า
2.4 รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศสหารือไทย ระบุใช้มาตรการคู่ขนาน"แซงค์ชั่นแอนด์พลัส"แก้ปัญหาพม่า
2.5 รัฐมนตรีการค้ามาเลยเซีย เห็นว่าไม่ควรนำเรื่องพม่ามาเกี่ยวข้องกับการเจรจาการค้า

1. สถานการณ์ในประเทศพม่า
1.1 พม่าปล่อยผู้ประท้วงชุดใหญ่ ฝ่ายค้านประกาศต่อต้านไม่เลิก
รัฐบาลทหารพม่าปล่อยตัวประชาชนอีกเกือบ 50 คน ที่ถูกจับกุมในระหว่างการชุมนุมประท้วงเมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา แต่ยังจำกัดการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทางระบบอินเทอร์เน็ต ก่อนที่นายอิบราฮิม กัมบารี ทูตพิเศษองค์การสหประชาชาติเดินทางมาเยือนรอบสอง โดยนายเนียน วิน โฆษกพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ของนางออง ซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านในพม่า เปิดเผยเมื่อวันศุกร์ที่ 2 ว่า เมื่อคืนวันพฤหัสบดีที่ 31 ประชาชนอีก 46 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสมาชิกพรรค NLD ได้รับการปล่อยตัว ทำให้จำนวนผู้คนที่ได้รับการปล่อยในช่วงระหว่างสัปดาห์ที่แล้วจนถึงขณะนี้ เพิ่มเป็น 165 คน ถึงกระนั้น ยังมีสมาชิกพรรคฝ่ายค้านอีกหลายสิบคนที่ยังคงติดคุกอยู่

นายกัมบารีจะเดินทางมาถึงพม่าในวันเสาร์ที่ 3 นี้ นับเป็นการเยือนครั้งที่สอง ตั้งแต่เหตุการณ์ไม่สงบปะทุขึ้น ซึ่งภารกิจสำคัญของทูตพิเศษสหประชาชาติ (UN) ก็คือ การประสานงานให้รัฐบาลทหารพม่าเปิดเจรจากับนางซูจี นอกจากนี้นายกัมบารียังจะกดดันทางการพม่าให้เร่งปฏิรูปประชาธิปไตย รวมไปถึงการปล่อยตัวนักโทษการเมืองทั้งหมด และให้เปิดกว้างทางสังคมมากขึ้นโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อย่างไรก็ตาม การบังคับรัฐบาลทหารพม่าให้ปฏิบัติตามความต้องการของชาวโลกไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะถึงแม้พม่าส่งสัญญาณที่ดีในการปล่อยตัวผู้ประท้วงออกมาอีก แต่เจ้าหน้าที่ด้านการสื่อสารของพม่าแจ้งว่า การเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตจะยังถูกจำกัดอย่างเข้มงวด ทำให้ผู้ใช้ออนไลน์ไม่สามารถเปิดเว็บไซต์ของต่างประเทศได้เป็นเวลากว่า 24 ชั่วโมง ซึ่งการจำกัดการเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตมีขึ้นก่อนที่นายกัมบารีจะเดินทางมาถึงพม่า

ที่กรุงวอชิงตัน นายอู หม่อง หม่อง ผู้นำสหภาพแรงงานและแกนนำฝ่ายค้านชาวพม่า ได้มีโอกาสเข้าชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนของสหรัฐฯ เมื่อวันพฤหัสบดี, โดยนายอู บอกว่าฝ่ายค้านจะไม่เลิกการประท้วงและจะเดินหน้าการชุมนุมต่อไป แม้รัฐบาลพม่าใช้กำลังปราบปรามการประท้วงครั้งล่าสุดที่นำโดยพระสงฆ์และกลุ่มนักศึกษาก็ตาม ในการประท้วงเมื่อปลายเดือนกันยายนแสดงให้เห็นว่า ฝ่ายค้านแข็งแกร่งมากขึ้น เพราะรัฐบาลทหารเริ่มมีความหวาดกลัวแล้ว เนื่องจากว่าทางการไม่ได้ให้ความเคารพต่อสถาบันศาสนาอีกต่อไป และขู่จะยิงทุกคน หากพวกเขารู้สึกถึงความไม่ปลอดภัย

บรรดาผู้ประท้วงได้ไปเยี่ยมค่ายแกนนำเรียกร้องประชาธิปไตยท้องถิ่นตามแนวชายแดนไทย ก่อนเดินทางกลับพม่า ภาพการทุบตีพระสงฆ์ที่แพร่หลายในพื้นที่ชนบท ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อความรู้สึกของประชาชน ซึ่งมองว่ารัฐบาลทหารไม่เคารพต่อกฎเกณฑ์ทางศาสนา และไม่ลังเลที่จะยิงใครก็ตามที่พวกเขารู้สึกว่าเป็นภัยคุกคาม. ชาวนาที่รู้สึกโกรธเคืองอาจเป็นแกนนำประท้วงต่อต้านรัฐบาลรอบใหม่ เพราะอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วระหว่างฤดูเพาะปลูกกับฤดูเก็บเกี่ยว ส่งผลให้การลงทุนของพวกเขาแทบจะสูญเปล่า และขณะนี้พวกชาวนากำลังรอเวลาที่เหมาะสม
(เดลินิวส์, กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 03/11/2550)

1.2 ชาวพม่านับพันคนจัดการชุมนุมสนับสนุนรัฐบาลและรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ชาวพม่านับพันคนจัดการชุมนุมและเดินขบวนทั่วประเทศในสัปดาห์นี้เพื่อสนับสนุนรัฐบาล และรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เพิ่งร่างเสร็จ สมาชิกของรัฐบาลทหารพม่ายังใช้โอกาสนี้ต่อต้านสหรัฐฯ ที่แทรกแซงกิจการภายในของพม่า หลังจากสหรัฐฯ กำหนดมาตรการคว่ำบาตรพม่าอย่างกว้างขวางเมื่อต้นเดือนนี้ เพื่อลงโทษที่พม่าปราบปรามการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตย ที่นำโดยพระสงฆ์เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม รัฐบาลของชาติตะวันตกส่วนใหญ่ไม่ยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของพม่า เนื่องจากไม่มีตัวแทนของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยของนางออง ซาน ซู จี เข้าร่วมด้วย
(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ วันที่ 01/11/2550)

1.3 พม่าเรียกพบเจ้าอาวาส กำชับพระลูกวัดห้ามชุมนุม
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พระรูปหนึ่งในเมืองปาคุกกู เปิดเผยกับสถานีโทรทัศน์เสียงประชาธิปไตยแห่งพม่า (DVB) ว่าเจ้าหน้าที่รัฐบาลทหารพม่าในเมืองปาคุกกู เรียกเจ้าอาวาสวัดของวัดระดับสูง 5 แห่งเข้าพบ และเตือนไม่ให้พระสงฆ์เดินขบวนอีก แต่ไม่มีการเชิญพระสงฆ์ในวัดทั้ง 5 แห่ง ให้ร่วมการหารือด้วยแต่อย่างใด ทั้งนี้เจ้าหน้าที่รัฐบาลไม่ได้ระบุว่า จะมีมาตรการต่อพระสงฆ์อย่างไร หากพวกเขายังเดินหน้าจัดการชุมนุมต่อไป

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ที่ผ่านมา พระสงฆ์ในเมืองปาคุกกู ทางตอนเหนือของพม่ากว่า 200 รูป ออกมาชุมนุมเดินขบวนและสวดมนต์ไปตามท้องถนนราว 1 ชั่วโมง จึงแยกย้ายกันกลับวัด นับเป็นการชุมนุมประท้วงครั้งแรกของพระสงฆ์พม่าหลังถูกรัฐบาลทหารปราบปรามอย่างรุนแรงช่วงปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา และมีขึ้นก่อนที่นายอิบราฮิม กัมบารี ผู้แทนสหประชาชาติ (UN) จะเดินทางกลับเข้าไปเยือนพม่าอีกครั้งในสุดสัปดาห์ที่จะถึงนี้ เพื่อกระตุ้นให้รัฐบาลทหารพม่าเดินหน้าปฏิรูปประชาธิปไตย และปล่อยตัวนักโทษทางการเมือง. สำหรับเมืองปาคุกกู เป็นเมืองศูนย์กลางการศึกษาด้านพุทธศาสนาของพม่า ตั้งอยู่ห่างจากทิศเหนือของกรุงย่างกุ้ง 630 กิโลเมตร การเดินขบวนเมื่อเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา ทหารได้ยิงปืนขู่และทุบตีพระ จนกลุ่มพระตอบโต้จับตัวเจ้าหน้าที่ความมั่นคงไว้หลายชั่วโมง
(ไทยรัฐ วันที่ 02/11/2550)

1.4 กองทัพพม่าบังคับเด็กชายที่อายุต่ำกว่า 18 ปี หลายพันคน เข้าเป็นทหารของกองทัพ
นายโจ เบคเกอร์ เจ้าหน้าที่ด้านการส่งเสริมสิทธิเด็กของกลุ่มฮิวแมน ไรต์ วอตช์ ซึ่งเป็นกลุ่มสิทธิมนุษยชนในสหรัฐฯ เปิดเผยรายงานที่ระบุว่า กองทัพพม่าได้บังคับเกณฑ์เด็กชายที่อายุต่ำกว่า 18 ปี หลายพันคน เข้าเป็นทหารของกองทัพ หลังเกิดการขาดแคลนชายฉกรรจ์ที่จะเข้ามาอาสารับใช้ชาติ กลุ่มทหารที่ทำหน้าที่เกณฑ์แรงงานเด็ก จะหาเด็กชายตามสถานที่สาธารณะ เช่น ตลาด และสถานีขนส่งรถบัสหรือรถไฟ ก่อนที่จะข่มขู่ และทำร้ายร่างกายเด็กที่ขัดขืน จนกว่าเด็กจะยินยอม

เจ้าหน้าที่ระดับสูง ได้ใช้เงินซื้อและติดสินบนด้วยวิธีการต่างๆ ต่อกลุ่มทหารที่ทำหน้าที่เกณฑ์แรงงานเด็ก เนื่องจากต้องการเด็กชายเข้ามาทำงานในสังกัดกองพันของตน ขณะที่นายพลระดับสูงในรัฐบาลทหารพม่าก็ละเลย และไม่มีมาตรการลงโทษอย่างจริงจังต่อนายทหารที่ประพฤติผิดวินัยในกรณีดังกล่าว จึงส่งผลให้ปัญหาการบังคับเกณฑ์เด็กชายเข้าเป็นทหารขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ. ทางด้าน หม่อง ซอว์ อู วัย 16 ปี หนึ่งในเด็กที่ถูกขายให้กับกองทัพพม่าเปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ใช้กำลังตบตี เพื่อบังคับให้เขากรอกในใบสมัครว่าเขาอายุ 18 ปี พร้อมทั้งระบุว่า เจ้าหน้าที่ได้กรอกใบสมัครแทนเด็กชายหลายคน โดยเด็กเหล่านั้นไม่มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวกับข้อความในใบสมัคร ขณะที่เด็กชายรายหนึ่งกล่าวว่า เขาถูกเกณฑ์มาเป็นทหารตั้งแต่อายุ 11 ปี โดยขณะนั้นเขาสูงเพียง 1.30 เมตร และมีน้ำหนักตัวเพียง 31 กก. เท่านั้น

พร้อมกันนี้ เบคเกอร์ ได้เรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติหรือ UNSC มีมาตรการที่จริงจังในการคว่ำบาตรต่อผู้นำรัฐบาลทหารพม่าในด้านการค้าอาวุธ การทหาร และการเดินทางออกนอกประเทศ หลังจากที่มีการประกาศเตือนว่าจะใช้มาตการดังกล่าวเรื่อยมา แต่กลับไม่เคยมีการลงโทษอย่างเป็นรูปธรรม
(สยามรัฐ วันที่ 03/11/2550)

1.5 ปาร์ ปาร์ เลย์ ดาราตลกชื่อดังของพม่าได้รับการปล่อยตัวแล้ว
นายเนียน วิน โฆษกพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือ NLD แถลงว่า นาย ปาร์ ปาร์ เลย์ ดาราตลกขวัญใจชาวพม่า ได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันอังคารที่ 29 ที่ผ่านมา พร้อมด้วยคนอื่นๆ อีก 31 คน ที่ถูกจับกุมเมื่อปลายเดือนกันยายน จากการมีบทบาทร่วมการชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาล และยังมีสมาชิกพรรคNLD อีกกว่า 100 คน ที่ถูกจับกุมหลังการปราบปรามผู้ประท้วง ยังถูกคุมขังไว้ในเรือนจำทั่วประเทศ. สำหรับนายปาร์ปาร์ เลย์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกคณะตลกสามเกลอ ที่มีชื่อว่า "มัสทาช บราเธอร์" ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 25 กันยายน และถูกนำตัวไปคุมขังไว้ที่เรือนจำโอห์โบ ในเมืองมัณฑะเลย์ หลังจากที่เขาเข้าร่วมกับพระสงฆ์ 3 หมื่นรูปในเมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่พระสงฆ์ในนครย่างกุ้ง นำประชาชนนับแสนลุกฮือขึ้นประท้วงต่อต้านรัฐบาลครั้งใหญ่ที่สุดในพม่าในรอบ 20 ปี

นักการทูตในย่างกุ้งกล่าวว่า มีประชาชนที่ถูกรัฐบาลทหารกวาดจับได้รับการปล่อยตัวมาแล้วเกือบ 120 คน แต่ยังมีอีกหลายร้อยคนยังคงถูกคุมขังอยู่ ซึ่งคาดว่าเรื่องนี้จะเป็นประเด็นสำคัญของการหารือระหว่างรัฐบาลทหารพม่ากับนายอิบราฮิม กัมบารี ทูตพิเศษขององค์การสหประชาชาติ ที่มีกำหนดจะเดินทางมาเยือนพม่ารอบสองในวันเสาร์ที่ 3 นี้
(กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 01/11/2550)

1.6 รัฐบาลทหารพม่ารับรองการแต่งตั้งเอกอัครราชทูตเกาหลีเหนือประจำพม่าแล้ว
รัฐบาลทหารพม่ารับรองการแต่งตั้งนายคิม ซอก โชล นักการทูตวัย 52 ปีชาวเกาหลีเหนือเข้าเป็นเอกอัครราชทูตเกาหลีเหนือประจำพม่าแล้ว เสร็จสิ้นกระบวนการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอีกครั้งของทั้ง 2 ฝ่าย หลังจากตัดสัมพันธ์ทางการทูตเป็นเวลา 24 ปีเต็ม. ก่อนหน้านี้ ทางการพม่าแต่งตั้งนายเต็ง ลวิน อดีตเอกอัคราชทูตพม่าประจำจีน เข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตพม่าประจำเกาหลีเหนือไปเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา. พม่าตัดสัมพันธ์การทูตกับเกาหลีเหนือเมื่อปี 2526 ภายหลังเหตุการณ์สายลับเกาหลีเหนือวางระเบิดลอบสังหารอดีตประธานาธิบดีชุน ดู ฮวาน แห่งเกาหลีใต้ขณะเยือนกรุงย่างกุ้ง มีผู้เสียชีวิต 21 คน แต่นายชุนปลอดภัย. ปัจจุบันยังมี 1 ใน 3 สายลับเกาหลีเหนือต้องโทษในคดีดังกล่าวในเรือนจำอินเส่งของพม่า
(ศูนย์ข่าวแปซิฟิค วันที่ 31/10/2550)

2. ต่างประเทศ
2.1 เลขา UN ผิดหวังที่พม่ามีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงของ UN ออกนอกประเทศ
นายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ (UN) ออกแถลงการณ์แสดงความผิดหวังอย่างยิ่งเกี่ยวกับการตัดสินใจของรัฐบาลทหารพม่า ที่ไม่ต้องการให้นายชาร์ลส เปตรี ผู้ประสานงานหน่วยงานของสหประชาชาติ ของโครงการเพื่อการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่อาวุโสสูงสุดของสหประชาชาติที่ประจำอยู่ในพม่าทำงานอยู่ในพม่าต่อไป. ถ้อยแถลงของนายบัน มีขึ้นหลังรัฐบาลทหารพม่ามีคำสั่งให้นายชาร์ลส เปตรี ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในพม่าตั้งแต่ปี 2546 ออกนอกประเทศ เนื่องจากไม่พอใจที่เขาวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลทหารพม่า และกล่าวหาว่าเขาทำเกินหน้าที่ ซึ่งคำสั่งดังกล่าวมีขึ้นหนึ่งวันก่อนที่นายอิบราฮิม กัมบารี ทูตพิเศษของสหประชาชาติจะเดินทางถึงพม่าในวันนี้ เพื่อส่งเสริมให้มีการเจรจาระหว่างรัฐบาลและฝ่ายค้าน

ทั้งนี้ความไม่พอใจของรัฐบาลพม่า สืบเนื่องจากการที่สำนักงานของนายชาร์ลส เปตรี ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม ระบุว่าสถานการณ์ด้านมนุษยธรรมในพม่าเลวร้ายลง และรัฐบาลพม่าไม่ได้ตอบสนองความต้องการด้านมนุษยธรรมและเศรษฐกิจของประชาชน จึงเป็นเหตุให้เกิดการประท้วงครั้งใหญ่ที่นำไปสู่การใช้กำลังปราบปรามผู้ประท้วงเมื่อเดือนกันยายน ซึ่งนับแต่นั้นนายชาร์ลส เปตรี ก็ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์บรรดาผู้นำรัฐบาลทหารพม่าหลายครั้ง

นานาชาติประณามพม่าขับทูต UN
นายกอร์ดอน จอห์นโดร โฆษกสภาความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ ประณามรัฐบาลทหารพม่าที่ไม่อนุญาตให้นาย ชาร์ลส เปตรี เจ้าหน้าที่ระดับสูงสุดของสหประชาชาติที่ประจำอยู่ในพม่า ปฏิบัติหน้าที่ในพม่าอีกต่อไป โดยระบุว่าการกระทำที่หยาบคายของรัฐบาลทหารพม่า เป็นการสบประมาทองค์การสหประชาชาติ และประชาคมโลก. ด้านสิงคโปร์ ในฐานะประธานอาเซียนได้แถลงแสดงความผิดหวังอย่างยิ่งยวดต่อการตัดสินใจของรัฐบาลทหารพม่า ซึ่งมีขึ้นเมื่อวานนี้ ก่อนที่นายอิบราฮิม กัมบารี ทูตพิเศษขององค์การสหประชาชาติจะเดินทางเข้าไปในพม่า พร้อมกับระบุว่าเป็นการตัดสินใจช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสมอย่างที่สุด และเป็นการส่งสัญญานที่ขัดแย้งกับความปรารถนาของพม่าที่จะร่วมมือกับสหประชาชาติ เพื่อพัฒนาประชาธิปไตยและแก้ไขปัญหาด้านสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ

ขณะที่กลุ่มฮิวแมนไรท์ วอช เตือนว่า การขับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหประชาชาติ อาจบดบังเรื่องการหารือระหว่างรัฐบาลทหารพม่า กับนายกัมบารี ที่มีกำหนดจะเดินทางถึงพม่าในเวลา 15.00 น.ของวันที่ 3 พฤศจิกายนตามเวลาท้องถิ่น และอาจเป็นอุปสรรคต่อจุดมุ่งหมายของการเยือนพม่าเป็นครั้งที่ 2 ของนายกัมบารีนับตั้งแต่เกิดเหตุประท้วงนองเลือด
(ศูนย์ข่าวแปซิฟิค , กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 03/11/50)

2.2 สองชาติมหาอำนาจ เรียกร้องรัฐบาลทหารพม่าปล่อยตัวนักโทษการเมืองและเข้าเจรจากับสหประชาชาติ
เมื่อวันอังคารที่ 30 ตุลาคม อินเดียกับเยอรมนี เรียกร้องรัฐบาลทหารพม่าให้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองทั้งหมด และจัดประชุมกับสหประชาชาติ (UN) ภายหลังเกิดเหตุการณ์รัฐบาลทหารเข้าปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในพม่าจนมีผู้เสียชีวิตหลายศพ. รัฐบาลอินเดีย เผชิญแรงกดดันจากนานาชาติอย่างหนักให้เข้าไปดำเนินการต่อการปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงทั่วประเทศนำโดยพระสงฆ์ของรัฐบาลทหารพม่า เนื่องจากว่า อินเดียเป็นประเทศที่มีพรมแดนติดกับพม่า อีกทั้งมีความสัมพันธ์ทางทหารและเศรษฐกิจอย่างแน่นแฟ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

แต่ภายหลังการหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีอังเกล่า แมร์เคิล แห่งเยอรมนี กับนายประนาบ มุกเคอร์จี รมว.ต่างประเทศอินเดียในกรุงนิวเดลี นายกฯ เยอรมนี ออกแถลงข่าวว่า เราได้แลกเปลี่ยนความเห็นต่อกัน และสรุปได้ว่า รัฐบาลทหารพม่าจะต้องปล่อยตัวนักโทษการเมืองทั้งหมด รวมทั้งพม่าจะต้องเปิดการเจรจากับสหประชาชาติ. และเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นายอิบราฮิม กัม บารี ทูตพิเศษฝ่ายกิจการพม่าของสหประชาชาติ เรียกร้องอินเดียอย่านิ่งเฉยต่อกรณีที่รัฐบาลทหารพม่า ในการใช้กำลังเข้าปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตย พร้อมกันนั้นนายกัมบารี ซึ่งเดินทางเยือนกรุงปักกิ่งด้วย ยังเรียกร้องให้อินเดียกับจีน สองชาติมหาอำนาจเอเชีย เพื่อนบ้านใกล้ชิดของพม่า เป็นผู้นำในการแก้ไขวิกฤติที่เกิดขึ้นในประเทศพม่า
(เดลินิวส์ วันที่ 31/10/2550)

2.3 สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐฯ พรรคเดโมแครต เสนอกฎหมายเพิ่มความเข้มงวดคว่ำบาตรพม่า
วุฒิสมาชิกโจเซฟ ไบเดน ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ แห่งพรรคเดโมแครตยื่นเสนอกฎหมายใหม่เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา เพื่อเพิ่มความเข้มงวดในการคว่ำบาตรรัฐบาลทหารพม่าขึ้นไปอีก เมื่อวันอังคารที่ 30 ตุลาคมที่ผ่านมา เนื้อหาของกฎหมายยกระดับประชาธิปไตยพม่าของนายไบเดน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก ส.ว.เสียงส่วนน้อยจากรีพับลิกันหลายคน จะเพิ่มความเข้มงวดห้ามการเดินทางของผู้นำทางการทหารพม่าและบริวาร รวมถึงการส่งออกสินค้าอัญมณีและไม้แปรรูปมายังสหรัฐฯ

นอกจากนี้ ยังจะจัดตั้งผู้แทนพิเศษที่มีหน้าที่ในการประสานงานร่วมกับสหภาพยุโรปหรือ EU กับชาติเพื่อนบ้านของพม่าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในกิจการความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการคว่ำบาตรพม่าจากประชาคมโลก. สำหรับวัตถุประสงค์ในการเสนอกฎหมายดังกล่าว ก็เพื่อเพิ่มความกดดันรัฐบาลทหารพม่าในความรับผิดชอบที่มีต่อการใช้ความรุนแรงจัดการกับผู้ประท้วง ทั้งที่ดำเนินการโดยสงบเมื่อเดือนก่อน ความพยายามในการกดดันพม่านั้นต้องการความร่วมมือ กลยุทธ์ด้านการเมืองระหว่างประเทศที่จะผสมผสานกับการกดดันผ่านการเจรจา
(สำนักข่าวไทย วันที่ 31/10/2550)

2.4 รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศสหารือไทย ระบุใช้มาตรการคู่ขนาน"แซงค์ชั่นแอนด์พลัส"แก้ปัญหาพม่า
เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ที่กระทรวงการต่างประเทศ นายแบร์นาร์ด คุชแนร์ รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส ซึ่งอยู่ระหว่างเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการ ได้พบปะหารือข้อราชการกับนายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย หลังหารือเป็นเวลากว่า 1 ชั่วโมง ทั้งสองได้ร่วมกันแถลงข่าว โดยนายคุชแนร์แสดงความยินดีที่ไทยได้กำหนดวันเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่าง 2 ประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

ประเด็นสำคัญที่ทั้งสองฝ่ายหยิบยกขึ้นมาหารือคือเรื่องพม่า หลังจากที่ก่อนหน้านี้นายคุชแนร์ให้สัมภาษณ์ที่สิงคโปร์เกี่ยวกับการให้แรงจูงใจกับพม่า โดยยกตัวอย่างของการระดมเงินจากนานาชาติสำหรับพม่า ในรูปของทรัสต์ฟันด์ลักษณะเดียวกับที่มีการดำเนินการในโคโซโว โดยเน้นไปที่การให้ความช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ แต่ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดใดๆ เพิ่มเติม

ขณะนี้การตั้งทรัสต์ฟันด์ยังเป็นเพียงแค่แนวคิด แต่การให้แรงจูงใจในลักษณะนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่สิ่งที่เปลี่ยนในขณะนี้คือ สถานการณ์ในพม่าและความเห็นสาธารณะหลังเกิดเหตุวุ่นวายในพม่าครั้งล่าสุด เพราะถึงแม้จะมีการประกาศมาตรการคว่ำบาตรพม่ารอบใหม่ แต่ก็ยังเป็นความจำเป็นที่จะต้องมีการดำเนินการบางอย่างเพื่อประชาชนชาวพม่า ที่ได้รับความเดือดร้อนลำเค็ญและมีชีวิตอยู่ในความยากจน ซึ่งเป็นที่มาของแนวคิด "แซงค์ชั่นแอนด์พลัส" และทรัสต์ฟันด์ก็เป็นหนึ่งในประเด็นที่ตนได้หยิบยกขึ้นหารือกับนายนิตย์ เขากล่าวว่า เราไม่ได้ต้องการจะเปลี่ยนแปลงคณะทหารหรือรัฐบาลพม่าในชั่วข้ามคืน เพราะนั่นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ น่าขัน และไร้ประโยชน์ เราจึงควรเริ่มต้นเจตนารมณ์ใหม่และการขับเคลื่อนใหม่ ซึ่งจะนำไปสู่ผลสำเร็จในอนาคต

นายคุชแนร์ยังกล่าวถึงแนวคิดในการตั้งกลุ่ม "เพื่อนกัมบารี" ผู้แทนพิเศษของเลขาธิการองค์การสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องพม่า เพื่อเสนอแนะความเห็นและความช่วยเหลือต่างๆ ต่อประชาชนพม่า ซึ่งเขาระบุว่าเป็นการคิดด้วยทัศนคติเชิงบวกและในรูปแบบใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีแต่ยังอยู่ในระหว่างการหารือกันต่อไป. การให้สิ่งจูงใจกับการคว่ำบาตรเป็นการดำเนินการควบคู่กันแบบเดียวกับที่ใช้ในการเมืองและการทูต ถ้าเราไปบีบให้บริษัทน้ำมันโททาลยุติกิจการในพม่า ผู้ที่ได้รับผลกระทบก็คือประชาชนชาวพม่า ประชาชนชาวไทย เช่นเดียวกับบริษัทของฝรั่งเศสที่จะถูกแทนที่โดยบริษัทต่างชาติอื่นทันที ผมจึงเชื่อมั่นอย่างแท้จริงว่าการคว่ำบาตรเพียงอย่างเดียวนั้นไม่พอ. ปัญหาพม่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมานาน และจะต้องใช้เวลาอีกนานในการเปลี่ยนแปลง ซึ่งตนไม่เชื่อว่าจะมีทางออกแบบปาฏิหาริย์ในปัญหาดังกล่าว เช่นเดียวกับที่นางออง ซาน ซูจี เชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงในพม่าเป็นกระบวนการที่จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ

ด้านนายนิตย์กล่าวว่า เป็นเรื่องง่ายที่จะพูดถึงการคว่ำบาตร แต่ควรต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบว่า ในการดำเนินการเช่นนั้นใครจะได้รับผลกระทบอย่างแท้จริง สำหรับไทยเราต้องรับภาระในฐานะประเทศเพื่อนบ้าน เรากำลังพูดถึงคนทั่วไปที่ได้รับผลกระทบซึ่งทำให้เราต้องนำปัจจัยทั้งหมดมาประกอบการพิจารณา ขณะนี้ไทยสนับสนุนภารกิจของนายกัมบารีอย่างเต็มที่ และเห็นว่าสิ่งที่ทุกฝ่ายจะสามารถดำเนินการร่วมกันได้ในขณะนี้คือ การให้ความช่วยเหลือในด้านเศรษฐกิจและสังคมแก่พม่า เพื่อไม่ให้ประชาชนชาวพม่าต้องได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมากไปกว่านี้
(มติชน วันที่ 31/10/2550)

2.5 รัฐมนตรีการค้ามาเลยเซีย เห็นว่าไม่ควรนำเรื่องพม่ามาเกี่ยวข้องกับการเจรจาการค้า
สำนักข่าวเบอร์นามา ของมาเลเซีย รายงานว่า นางราฟิดาห์ อาซิส รัฐมนตรีการค้ามาเลเซีย กล่าวระหว่างปฏิบัติภารกิจด้านการค้าในนครแฟรงค์เฟิร์ต เยอรมนี ว่าไม่ควรนำปัญหาวิกฤติการเมืองในพม่ามาเป็นอุปสรรคในการเจรจาเขตการค้าเสรีระหว่างสหภาพยุโรป หรือ EU กับสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ปัญหาทางการเมืองไม่ควรเข้ามาพัวพันกับการเจรจาเอฟทีเอ นอกจากนี้ ยังเรียกร้องให้ยุโรปพยายามใช้ความเป็นมิตรเพื่อเข้าถึงพม่า มากกว่าที่จะใช้มาตรการคว่ำบาตรหรือโดดเดี่ยวพม่า โดยนางราฟิดาห์ยกตัวอย่าง กลุ่มประเทศตะวันตกประณามและคว่ำบาตรจีน ภายหลังเหตุการณ์ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน แต่ในเวลาต่อมาก็ต้องเข้าไปลงทุนและทำธุรกิจกับจีนในที่สุด

การเปิดกว้างในการเจรจากับพม่าเหมือนกับที่ทำกับจีน จะทำให้ทุกฝ่ายมีโอกาสเข้าไปทำธุรกิจกับพม่า ซึ่งเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่ตะวันตกต้องการ ทั้งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ. อาเซียนและ EU บรรลุข้อตกลงในการเริ่มต้นกระบวนการเจรจาเขตการค้าเสรีระหว่างกันเมื่อเดือนพฤษภาคม โดย EU เป็นคู่ค้าใหญ่เป็นอันดับ 3 ของอาเซียน. ในปี 2548 มูลค่าการค้ารวมระหว่างทั้งสองฝ่ายสูงถึง 140,000 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 4 ล้าน 7 หมื่น 6 พันล้านบาท
(ศูนย์ข่าวแปซิฟิค วันที่ 31/10/2550)

 

คลิกไปอ่านสรุปข่าวตอนที่ ๒


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน


นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ หรือถัดจากนี้สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1300 เรื่อง หนากว่า 25000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com





1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


 

คิดต่างในเชิงสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมที่ดีกว่าและเสรีภาพ
10 November2007

โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง
โครงการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน และนักวิชาการอิสระ-สถาบันฯ

ปัจจุบันกระแสโลกาภิวัตน์ดูเหมือนจะเป็นยูโธเปีย(utopia) สำหรับประเทศศูนย์กลาง
แต่ขณะเดียวกันกระแสโลกาภิวัตน์นี้กลับกลายเป็นยูโธปลอม(dystopia) ของบรรดาประเทศชายขอบทั้งหลาย เนื่องจากได้นำมาซึ่งการสูญเสีย และกดขี่ทางด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งทางด้านความยุติธรรม ความเท่าเทียม อิสรภาพ และการพัฒนาที่ยั่งยืน ไม่ว่าจะมองจากมิติทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และกฎหมาย ฯลฯ

โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เกิดขึ้นมาจาก
การเล็งเห็นถึงปัญหาเหล่านี้ที่กำลังคุกคามผู้คนและพยายามที่จะแสวงหาตัวบท
พร้อมทั้งกรณีตัวอย่างในที่ต่างๆ มานำเสนอ เพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์โลก
ที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน และทางออกที่หลากหลายในประเทศชายขอบต่างๆ
สำหรับผู้สนใจสามารถส่งบทความเข้าร่วมที่ midnightuniv(at)gmail.com

Free Documentation License
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy