โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Update 24 August 2007
Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้เป็นสมบัติสาธารณะ และขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๓๔๓ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๐ (August, 24, 08,.2007) - ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์
R
power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

หนึ่งเดือนก่อนหน้านี้ ทักษิณได้พบหารือกับพลเอกสนธิฯ ผู้บัญชาการทหารบก 1 ครั้งที่ห้องทำงานของนายกรัฐมนตรี ทักษิณทราบดีว่า เบื้องหลังของการต่อสู้ทางการเมืองครั้งนี้ ยังมีชนชั้นหนึ่งที่มีบารมีและไม่มีใครสามารถสั่นคลอนได้ ซึ่งนั่นก็คือกองทัพ ที่จะสามารถแสดงบทบาทพลิกสถานการณ์ในยามคับขัน บรรดานายทหารที่ถือกระบอกปืนเหล่านี้ ดูเผินๆ เหมือนจะอยู่ในตำแหน่งที่เป็นอิสระเหนือรัฐบาล แต่ที่แท้จริงแล้วแค่เพียงกระดิกนิ้วหัวแม่มือเพียงนิ้วเดียว ก็สามารถที่จะขับเขาให้ตกจากที่นั่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้
24-08-2550

Thaksin's 24 Hours
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
and distribute verbatim copies
of this license
document, but
changing it is not allowed.

บันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับการรัฐประหาร ๑๙ กันยา
Thaksin's 24 Hours After the Coup:
บทที่ ๘ ฟางเส้นสุดท้าย

กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : เรียบเรียง
ต้นฉบับแปลจากภาษาจีนทั้งเล่ม ได้รับมาจากเพื่อนสื่อมวลชนเพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
โดย รุ่งศักดิ์ ดอกบัว (จิตรกรสีน้ำมัน) เทคนิคสีน้ำมันบนผ้าใบ

บันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับนายกฯ ทักษิณ และการรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ นี้
แปลมาจากต้นฉบับภาษาจีน (โดยผู้แปลไม่เปิดเผยนาม) กองบรรณาธิการ ม.เที่ยงคืนได้นำมาเรียบเรียง
และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติม เพื่อสะดวกแก่การค้นคว้าในเรื่องประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย
โดยในบทที่ ๘ นี้ มีชื่อบทว่า "ฟางเส้นสุดท้าย" ดังมีลำดับหัวข้อที่น่าสนใจต่อไปนี้
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙
- คุณธรรมและความสามารถเป็นอาวุธเหนืออำนาจทั้งปวง
- โครงการช่วยเหลือความยากจนในถิ่นทุรกันดาร
- การแทรกแซงทางการเมือง
- กษัตริย์เป็นที่เทิดทูลฯ ผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้
- The King and I - Anna and the King
- Far Eastern Economic Review
- เรื่องราวอันน่าสับสนของการเมืองไทย
- การเฉลิมฉลองพระราชพิธี 60 ปีครองราชย์ฯ
- ฟางเส้นสุดท้าย
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๓๔๓
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๕.๕ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทที่ ๘ ฟางเส้นสุดท้าย

ตอนที่ 1

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙
กล่าวถึงความศักดิ์สิทธิ์ของศาสนา มีภาษิตหนึ่งกล่าวว่า ความบกพร่องของมนุษย์พิสูจน์ให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของพระเจ้า. ในสายตาของคนไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นสัญลักษณ์ของความสมบูรณ์พร้อม เป็น "พระเจ้า" ที่ทรงเมตตาและมีพระปรีชาสามารถทุกด้าน และเป็น"พระบิดา" ที่ทรงห่วงใยความเดือนร้อนของราษฎร เป็นศิลาที่ยืนตระหง่านมั่นคงเพียงหนึ่งเดียวท่ามกลางสถานการณ์ความไม่สงบต่างๆ พระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ

ส่วนใหญ่ของโลกในช่วงยุคสมัยที่เปิดเสรีและวางตนเป็นสามัญชนมากขึ้น ต่างรู้สึกเป็นกังวลในเรื่องการกอบกู้เกียรติภูมิของราชวงศ์และรักษาสถานะที่มั่นคง มีเพียงพระมหากษัตริย์ของประเทศตะวันออกเล็กๆ พระองค์นี้เท่านั้น ที่เป็นที่รักเทิดทูนและศรัทธาจากราษฎรอย่างไม่เสื่อมคลายเสมอมา เคล็ดลับในการรักษาอำนาจอย่างน่ามหัศจรรย์ เป็นผลมาจากพระปรีชาสามารถ กุศโลบาย ทักษะทางการเมืองที่แยบยล และวิสัยทัศน์ที่ลึกซึ้งในการควบคุมสถานการณ์ของพระองค์ และแน่นอนว่ายังต้องรวมถึงพระชนมมายุที่ยืนยาวด้วย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชสมภพ ณ เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสสาซูเซสท์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2470 (ขณะนั้นพระบรมราชชนกทรงศึกษาวิชาแพทยศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ทรงพระราชสมภพในต่างประเทศ) ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงเป็นพระราชนัดดาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสืบเชื้อสายในพระราชวงศ์ แต่มิได้ทรงเป็นองค์รัชทายาทที่จะสืบราชบัลลังก์โดยตรง หากมิใช่ว่าพระราชปิตุลาที่ทรงโชคร้าย (รัชกาลที่ 6) ต้องสูญเสียพระราชโอรสแต่ยังทรงพระเยาว์ พระราชปิตุลาที่โชคร้ายอีกพระองค์หนึ่ง (รัชกาลที่ 7) ต้องสละราชสมบัติหลังการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง รวมทั้งพระบรมเชษฐา (รัชกาลที่ 8) ที่ถูกลอบปลงพระชนม์อย่างไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ทุกวันนี้พระองค์อาจเป็นนักวิชาการ กวี นักวิทยาศาสตร์ นักดนตรี หรือนักภาษาศาสตร์ ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม สวรรค์ได้ประทานพรสวรรค์แห่งพระปรีชาสามารถในด้านต่างๆ แด่พระองค์พร้อมด้วยพระมงกุฎ

เมื่อเจริญพระชนมายุ 2 พรรษา พระบรมราชชนกสวรรคตจากอุบัติเหตุ(ตามข้อเท็จจริง สวรรคตเพราะอาการป่วย) เมื่อเจริญพระชนมายุ 5 พรรษา ทรงติดตามพระบรมราชชนนีย้ายไปประทับที่สวิสเซอร์แลนด์ ณ ประเทศเล็กๆ ในยุโรปที่มีทิวทัศน์สวยงาม ทรงได้รับการศึกษาแบบตะวันตกทรงศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยโลซาน เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489 ขณะทรงมีพระชนมายุ 19 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล(รัชกาลที่ 8) เสด็จสวรรคตโดยกระทันหัน พระองค์จึงทรงขึ้นครองราชสมบัติสืบราชสันตติวงศ์

พระองค์ขณะยังวัยหนุ่ม มิได้ทรงเลือกที่จะประทับในประเทศเพื่อปกครองประเทศ โดยได้เสด็จกลับไปสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อทรงศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยโลซาน แต่ทรงเลือกศึกษาวิชานิติศาสตร์และรัฐศาสตร์แทน ขณะเดียวกัน ได้ทรงขับรถยนต์ข้ามประเทศด้วยพระองค์เองไปยังกรุงปารีสเพื่อทรงเยี่ยม ม.ร.ว. สิริกิต กิติยากร ธิดาของเอกอัครราชทูต ซึ่งมีอายุน้อยกว่าพระองค์ 6 ปี วันที่ 4 ตุลาคม 2491 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะมีชนมายุครบ 22 พรรษาในอีก 2 เดือนต่อมาประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์บนถนนไฮเวย์ ระหว่างเมืองเจนีวากับโลซาน พระอาการบาดเจ็บบริเวณพระปฤษฎางค์ (หลัง) และพระพักตร์แม้จะไม่สาหัสนัก แต่พระเนตรด้านขวาต้องสูญเสียการมองเห็นไป (จากนั้นเป็นต้นมา พระองค์จะต้องฉลองพระเนตรเมื่อเสด็จฯ ในที่สาธารณะ)

ม.ร.ว. สิริกิต ซึ่งมีอายุ 15 ปี ได้รีบเดินทางเข้าเยี่ยมพระองค์ และเข้าศึกษาในโรงเรียนแห่งหนึ่งในเมืองโลซาน เพื่อสะดวกในการถวายงานดูแลเคียงข้างคนรักที่ต้องพักรักษาจากอาการบาดเจ็บ 18 เดือนหลังจากนั้น ทั้งสองได้อภิเษกสมรส พระราชพิธีราชาภิเษกสมรสห่างจากพระราชพิธีบรมราชภิเษกเป็นรัชกาลที่ 9 เพียง 1 สัปดาห์

ตอนที่ 2
คุณธรรมและความสามารถเป็นอาวุธเหนืออำนาจทั้งปวง
วันที่ 5 พฤษภาคม 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขณะเจริญพระชนมายุ 23 พรรษา ได้ขึ้นครองราชย์อย่างเป็นทางการ (วันดังกล่าว ถูกกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการทั่วประเทศ) การเสด็จประทับอยู่ในยุโรปเป็นเวลายาวนาน ทำให้พระองค์ทรงเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรื่องรูปแบบการเมืองของประเทศทางตะวันตก ขณะเดียวกันก็ทรงตระหนักอย่างถ่องแท้ถึงฐานะ พระราชอำนาจและสถานะของพระองค์ นั่นคือ ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีความหมายเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น แต่กษัตริย์ที่มีความหมายเชิงสัญลักษณ์มิใช่จะไม่มีพระราชอำนาจที่แท้จริง กษัตริย์ที่ชาญฉลาดโดยแท้จริงแล้วก็ไม่ประสงค์ในเรื่องเปลือกนอกของอำนาจ พระองค์ประสงค์แต่เพียงอาวุธสิ่งเดียว นั่นคือ "คุณธรรม" การปฏิบัติตนซึ่งพร้อมด้วยคุณธรรมและความสามารถ และเป็นผู้ปกครองที่มีความเมตตา ย่อมจะมีพลังอำนาจเหนือกว่าอำนาจทั่วไปทั้งปวงอย่างมาก ดังนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระปฐมบรมราชการโองการว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม (ชื่อเดิมของประเทศไทย)"

ช่วงแรกของการปกครองของพระองค์ โดยเฉพาะในช่วงรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม (ดูรายละเอียดในบทที่ 2) ซึ่งเป็นเผด็จการทหาร (พ.ศ.2493 - พ.ศ.2500) พระองค์นอกจากจะปรากฏพระองค์ในพระราชพิธีต่างๆ ที่จัดถวายโดยรัฐบาลทหารแล้ว ก็จะทรงเก็บพระองค์ประทับอยู่แต่ในพระราชวัง เพื่อทรงศึกษาวาดภาพ, ดนตรี, ถ่ายรูป, อักษรศาสตร์, ทรงดนตรีแจ๊ส ทรงเป่าแซกโซโฟน และทรงเปียโน

ปี พ.ศ. 2499 ในหลวงซึ่งเจริญพระชนมายุมากขึ้น เมื่อพระอัยกี (ย่า)เสด็จสวรรคต ตามประเพณีโบราณของไทยจึงได้ทรงพระผนวชที่วัดแห่งหนึ่งเป็นเวลา 15 วัน ทรงปฏิบัติพระองค์เยี่ยงภิกษุทั่วไป ฉลองจีวรสีเหลือง เดินเท้าเปล่า อุ้มบาตรออกบิณฑบาตทุกวัน อดทนกับชีวิตที่ลำบากและเรียบง่าย กษัตริย์ที่ทรงเติบโตในต่างประเทศพระองค์นี้ การทรงพระผนวชเป็นการพิสูจน์ให้ราษฎรทั้งหลายได้เห็นว่า กษัตริย์ของพวกเขาเป็นพุทธศาสนิกชนที่ยึดมั่นและเคร่งครัดพระองค์หนึ่ง

เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2500 ครึ่งปีหลังจากการเลือกตั้งผู้แทนรัฐสภาครั้งใหม่ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (ดูรายละเอียดในบทที่ 2) เห็นว่าพฤติกรรมของจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ขณะนั้นควบตำแหน่ง ผบ. ทบ. ในพิธีเฉลิมฉลองครบรอบ 2,500 ปีของพุทธศาสนา ไม่เป็นไปตามประเพณีนิยม. หลังจากนั้น 1 เดือน จอมพล ป. เข้าเฝ้าฯ พระองค์ที่พระราชวัง ขอพระราชทานให้ทรงเข้าข้างฝ่ายตน พระองค์รับสั่งว่า คุณลาออกเสียดีกว่า เพื่อหลีกเลี่ยงการรัฐประหารทางทหาร จอมพลแห่งกองทัพบกที่มีอุปนิสัยแข็งกร้าวได้ตอบปฏิเสธในทันที แต่ในช่วงดึกของวันนั้น จอมพล ป. ได้ถูกกองทหารภายใต้การนำของจอมพลสฤษดิ์ยึดอำนาจ. 2 ชั่วโมงหลังการรัฐประหาร พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานประกาศกฎอัยการศึก แต่งตั้งให้จอมพลสฤษดิ์ เป็นผู้บัญชาการกองกำลังรักษาพระนคร

การฟื้นฟูพระราชพิธีฯ
1 ปีหลังจากนั้น จอมพลสฤษดิ์ทำการปฏิวัติอีกครั้งหนึ่งและขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีด้วยตนเอง ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จตามที่สาธารณะทั่วไปมากครั้งขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาที่ผ่านมา พระองค์ทรงเสด็จเยือนทุกสารทิศทั่วประเทศ เข้าไปยังหมู่บ้านชนบท ทรงคลุกคลีกับราษฎรผู้ยากไร้ พระราชทานเงินในพระราชวังเพื่อสนับสนุนช่วยเหลือโครงการเพื่อการพัฒนาสังคมและสวัสดิการต่างๆ. พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญที่เคยถูกยกเลิกได้รับการฟื้นฟูใหม่อีกครั้ง รวมทั้งฟื้นฟูประเพณีหมอบกราบขณะเข้าเฝ้ากษัตริย์ที่เคยถูกยกเลิกโดยพระอัยกา (ปู่) ขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารคได้กลับมาแล่นในแม่น้ำเจ้าพระยาอีกเป็นครั้งแรก นับแต่หลังการเปลี่ยนการปกครองเมื่อปี 2475 เป็นต้นมา

โครงการช่วยเหลือความยากจนในถิ่นทุรกันดาร
พระองค์ยังเสด็จฯ เยือนต่างประเทศบ่อยครั้ง เพื่อส่งเสริมและเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศในฐานะประมุขแห่งรัฐ แต่หลังปี 2510 เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแทบจะไม่เสด็จฯ เยือนต่างประเทศอีก ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่เสด็จฯ ไปทรงงานตามชนบท พระองค์มักจะทรงพกพากล้องถ่ายรูปและแผนที่ เสด็จฯ เยือนถิ่นทุรกันดารร่วมกับผู้เชี่ยวชาญทางเกษตร ทรงริเริ่มโครงการพระราชดำริในการพัฒนาชนบท ทรงจัดตั้งสถานีเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจพันธุ์ดี ทรงริเริ่มโครงการส่วนพระองค์เพื่อช่วยเหลือราษฎรยากจน รวมทั้งโครงการที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการสังคมต่างๆ ได้แก่ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การสร้างอาชีพ สาธารณสุขและอนามัย และการก่อสร้างระบบชลประทาน

พระองค์ทรงแบ่งปันที่นาบางส่วนที่เป็นของพระราชวัง พระราชทานให้กับเกษตรกรที่ไร้ที่ทำกิน เมื่อรับสั่งกับราษฎรยากจน กษัตริย์ที่เป็นเคารพเทิดทูนทั้งประเทศพระองค์นี้ไม่เคยต้องใช้คำราชาศัพท์ที่ดูดีแต่ยุ่งยาก ทรงรับสั่งเป็นคำสามัญและภาษาถิ่นที่เกษตรกรต่างฟังเข้าใจ พระองค์ทรงแบ่งที่ดินขนาดพื้นที่ 300 ตรม. ภายในพระราชวังเป็นที่สำหรับปลูกพืชผักและข้าว ข้าราชบริพารของพระราชวังมักจะเห็นในหลวงทรงพรวนดิน ตัดเก็บวัชพืชและฉีดยาฆ่าแมลงแต่พระองค์เดียวอยู่บ่อยครั้ง เมื่อมีแขกมาเยือน ก็จะทรงรับสั่งให้คนครัวไปเก็บผักผลไม้จากในนาแปลงดังกล่าวเพื่อนำมาเลี้ยงผู้มาเยือน นอกจากนี้ ยังทรงสร้างฟาร์มเลี้ยงโค บ่อเลี้ยงปลา และทรงให้เกษตรกรเข้ามาศึกษาดูงาน ฝึกอบรม เพื่อช่วยเหลือพวกเขาเหล่านี้ในการหาหนทางที่จะทำให้มีฐานะดีขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น พระองค์ได้ทรงจัดตั้งหน่วยฝนเทียมพระราชทานขึ้น ทรงร่วมงานวิจัยและพัฒนาในด้านฝนเทียมด้วยพระองค์เอง ทั้งนี้เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาความแห้งแล้ง

ปลูกพืชทดแทนการปลูกฝิ่น
โครงการของพระองค์ที่ได้รับการชื่นชมจากประชาคมระหว่างประเทศมากที่สุด ได้แก่ โครงการ "ปลูกพืชทดแทนการปลูกฝิ่น" ในเขตภูเขาทางภาคเหนือของไทย ในอดีต มีการปลูกฝิ่นบนพื้นที่ดังกล่าวมายาวนาน มีการผลิตเฮโรอีน ชาวเขาส่วนใหญ่มีฐานะยากจนและล้าหลัง ผู้คนเสพและติดเฮโรอีนเป็นจำนวนมาก หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงศึกษาสภาพความเป็นอยู่ในเขตภูเขาเหล่านี้ในปี พ.ศ. 2512 จึงได้ทรงจัดตั้งสถานีวิจัยทางการเกษตรอ่างขางขึ้นในเขตพื้นที่นั้น เพื่อช่วยเหลือชาวเขาในการวิจัยและพัฒนาพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสม เพื่อทดแทนการปลูกฝิ่น. ณ วันนี้ ไร่ฝิ่นที่เคยกระจายทั่วป่าเขาในอดีต ได้กลายเป็นฐานการปลูกดอกไม้ ผลไม้และพืชผัก. 5 จังหวัดภาคเหนือของไทยรอบ ๆ "สามเหลี่ยมทองคำ" ได้ปลูกต้นชาน้ำมัน แมกคาดาเมียของฮาวาย ชา และกาแฟ เป็นต้น มีผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้มีมากกว่า 100,000 คน

หลายปีที่ผ่านมานี้ รอยพระบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ประทับอยู่ที่ทุกหนทุกแห่งทั่วประเทศ สิ่งนี้สอดคล้องกับพระนามของพระองค์อย่างมาก ดังคำว่า"ภูมิพล"มีความหมายตามภาษาไทยว่า "พลังแผ่นดิน" ซึ่งเป็นพลังที่ไม่อาจหาสิ่งใดมาเปรียบได้ ผู้คนต่างพบว่า หากเปรียบเทียบกับนักการเมืองที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง แสวงอำนาจเพื่อประโยชน์ส่วนตัวและเห็นแก่ตัว พระองค์ทรงมีแต่ความจริงใจ ทรงไม่เห็นแก่ส่วนพระองค์ ทรงมีแต่ความใสสะอาด และทรงคำนึงถึงแต่เรื่องที่จะสร้างความผาสุขให้แก่ราษฏร ประชาชนทุกหมู่เหล่าทั้งในเมืองและชนบทต่างกราบไหว้พระบรมสาทิศลักษณ์ ทุกแห่งที่พระองค์เสด็จฯ เยือน ชาวบ้านจะแจ้งข่าวบอกต่อกันไปทั่ว โดยไม่คำนึงว่าอากาศจะร้อนจัด หรือฝนฟ้าคะนองเพียงไร ห่รือจะต้องรอนานสักเพียงไร ต่างเพียงต้องการให้ได้เห็นในหลวงซึ่งเป็นที่รักยิ่ง แม้แต่พระองค์ยังทรงรับสั่งอย่างมีอารมณ์ขันว่า พระองค์คือ "กษัตริย์ที่ประชาชนเลือก" และ "กษัตริย์ของเกษตรกร"

คุณธรรมและความสามารถด้านต่างๆ
ในด้านคุณธรรม ก็เหมือนกับที่พระองค์ได้ทรงคาดไว้แต่ต้น พระองค์ได้กลายเป็นแบบอย่างที่ยอมรับของราษฎรทั่วไป ไม่เคยได้เห็นมาตลอดว่าพระองค์มีความสนพระทัยเกี่ยวกับความสำราญต่างๆ ทรงไม่โปรดความฟุ่มเฟือย และไม่โปรดการโอ้อวด ความประทับใจ ที่ชาวโลกมีต่อพระองค์มากที่สุด ได้แก่ ดูเสมือนว่าทรงโปรดแต่เพียงกิจกรรมประเทืองสติปัญญาอันสูงส่งที่สุดใน 2 ด้านเท่านั้นคือ ศิลปะและวิทยาศาสตร์ ทรงเชี่ยวชาญภาษาต่างประเทศ 7 ภาษา ได้รับประกาศเกียรติคุณดีเด่นจากสถาบันการดนตรีเวียนนา พระราชนิพนธ์เพลงมากกว่า 40 เพลงซึ่งเป็นที่รู้จักและร้องกันทั่วไป ทรงจัดทำหนังสือภาพ ทรงออกแบบเรือใบ เคยได้รับรางวัลใหญ่จากสถาบันวิจัยสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์นานาชาติเกี่ยวกับการสร้างเครื่องเพิ่มออกซิเจนเพื่อบำบัดน้ำเสีย(กังหันชัยพัฒนา)

นอกจากนี้ ทรงมีความสามารถในด้านการแข่งขันเรือใบ ซึ่งเคยทรงร่วมการแข่งขันกีฬาแหลมทองในนามประเทศไทย ขณะที่มีพระชนมายุ 40 พรรษา และทรงได้รับเหรียญทองในการแข่งขันกีฬาเรือใบ. เมื่อเจริญพระชนมายุ 75 พรรษา ได้พระราชนิพนธ์หนังสือเกี่ยวกับสุนัขของพระองค์ โดยได้สร้างสถิติการจำหน่ายมากถึง 100,000 เล่มภายใน 10 ชั่วโมง

เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพรสวรรค์ที่โดดเด่น ถือได้ว่าทรงมีความเป็นเลิศเหนือกว่าพระมหากษัตริย์ใดๆ ในโลก พระปรีชาสามารถไม่จำกัดแต่เพียงด้านศิลปะและวิทยาศาสตร์ พระองค์มิใช่นักการเมืองยิ่งใหญ่ที่อวดตน ทรงประทับอยู่ในพระราชวังและทรงติดตามสถานการณ์ความเป็นไปของบ้านเมือง ทอดพระเนตรเห็นนักการเมืองโต้เถียงกันอย่างไม่หยุดหย่อน ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นสู่อำนาจและตกอำนาจอย่างไม่จีรัง

ในโลกนี้เข้าใจว่าจะไม่มีกษัตริย์องค์ใดที่จะเหมือนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช กล่าวคือ ในช่วงการครองราชย์ที่ยาวนานทรงผ่านเหตุการณ์รัฐประหารอำนาจทางทหารบ่อยครั้งเฉลี่ย 3 ปีครั้งเช่นนี้ ไม่มีใครทราบเลยว่าพระองค์ทรงคิดเห็นอย่างไร กล่าวคือจะทรงรู้สึกไม่โปรด เบื่อหน่าย หรืออดกลั้น ปล่อยวาง หรือไม่ นอกเหนือจากพระนลาฎ (หน้าผาก) ที่กว้างใหญ่และท่าทีที่สงบนิ่งแล้ว เราจะมองไม่เห็นลักษณะเด่นพิเศษอื่นใดได้เลย แต่ไหนแต่ไรมาพระองค์จะไม่แสดงความรู้สึกบนพระพักตร์ พระสรวลน้อยมาก ผู้สื่อข่าวตะวันตกผู้หนึ่งได้เขียนหนังสือพรรณานาถึงพระองค์ โดยใช้ชื่อเรื่องว่า "The king never smiles"

หลายปีมานี้ ด้วยพระสติปัญญาและความมีพระทัยเย็นเหนือมนุษย์ทั่วไป ทำให้พระองค์ทรงรักษาสถานะที่สูงส่งไว้ได้เสมอมา เนื่องเพราะทรงเข้าใจดีว่า ขอเพียงเหนือกว่าสิ่งทั้งปวง จึงจะชนะสิ่งทั้งปวงได้

ตอนที่ 3
การแทรกแซงทางการเมือง
ในประวัติศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแทรกแซงทางการเมืองอย่างเปิดเผยเพียง 2 ครั้งด้วยกัน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแทรกแซงทางการเมืองอย่างเปิดเผยครั้งที่ 1
เหตุการณ์ 14 ตุลา

(ข้อความจากต้นฉบับต่อไปนี้ ผู้อ่านควรพิจารณาและตรวจสอบจากหลักฐานอื่นประกอบ) เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2519 (พ.ศ.2514) นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง 9 คนได้ยื่นหนังสือต่ออธิการบดี ประณามจอมพลถนอม กิตติขจร (กรณีต่ออายุราชการ) (ซึ่งหมายถึงเขาจะสามารถอยู่ในอำนาจได้ต่อไป) และถูกมหาวิทยาลัยไล่ออก นักศึกษาเกิดความโกรธแค้น นิสิต นักศึกษา 5 หมื่นคนได้ชุมนุมกันที่บริเวณหน้าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในกรุงเทพฯ เพื่อประท้วงการกดขี่ทางการเมืองของมหาวิทยาลัยรามคำแหง ผลปรากฎว่ารัฐบาลและมหาวิทยาลัยต้องยอมแพ้ในเวลาอันรวดเร็ว

แต่ฝ่ายต่อต้านไม่หยุดแต่เพียงเท่านี้ พวกเขายังได้โจมตีเจ้าหน้าที่ที่ล่าสัตว์ป่าในเขตอนุรักษ์ ต่อต้านกลุ่มผูกขาดที่ทำให้ข้าวมีราคาสูงขึ้น และต่อต้านเผด็จการรัฐบาลทหารที่ฉ้อราษฎร์บังหลวง เกิดการชุมนุมและประท้วงหยุดงานเพื่อต่อต้านรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง วันที่ 13 ต.ค. นิสิต 13 คนถูกจับกุมในข้อหา "วางแผนโค่นล้มรัฐบาล" นิสิตมหาวิทยาลัยต่างๆ ในกรุงเทพฯ มีมติประกาศเลื่อนการสอบ เพื่อสะดวกต่อการเดินขบวน บรรดากรรมกร พ่อค้า ชนชั้นกลาง และประชาชนทั่วไปในกรุงเทพฯ ต่างเข้าร่วมการชุมนุมในเวลาอันรวดเร็ว

วันที่ 13 ตุลาคม จำนวนผู้ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลบริเวณด้านหน้าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในกรุงเทพฯ มีมากกว่า 250,000 คน รัฐบาลถูกบังคับให้จำนน และยอมปล่อยตัว นักศึกษา แต่ขณะที่ นักศึกษา เตรียมจะถอนตัวในวันที่ 14 ตุลาคม ถนนด้านทิศใต้ของลานอนุสาวรีย์ถูกทหารและตำรวจที่มีเจตนาร้ายปิดกั้นกระทันหัน ได้เกิดการปะทะกันระหว่างสองฝ่าย ตำรวจยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่ พลทหารขับรถถังเข้าเมืองและเข้ายึดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐและเป็นที่ชุมนุมของขบวนการนักศึกษา ฝ่ายนักศึกษา ได้ขับรถประจำทางและรถดับเพลิงจอดขวางการรุกคืบหน้าของรถถัง จากนั้นได้เกิดความวุ่นวายขึ้น ทหารยิงปืนใส่ นักศึกษา เสียชีวิตจำนวน 75 คน เมื่อถึงช่วงคับขัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงออกคำสั่งให้เปิดประตูพระราชวัง เพื่อให้นักศึกษาที่ร่วมเดินขบวนเข้ามาหลบภัย และยังเสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมผู้บาดเจ็บด้วยพระองค์เอง ผบ. หน่วยทหารที่ชาญฉลาด เมื่อเห็นพระมหากษัตริย์ผู้สูงส่งทรงปฏิบัติเช่นนั้น จึงไม่คำนึงถึงคำสั่งของจอมพลถนอม ต่างพากันแยกหลบออกจากหน่วยทหารไปตามท้องถนน

(คำอธิบายภาพ: ภาพรถถังที่เข้าปราบประชาชน ช่วงเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา และภาพฝูงชนที่กำลัง
หลบภัยจากกระสุนปืน ส่วนด้านหลังเป็นภาพกรมประชาสัมพันธ์ที่ถูกเผาทำลายลง) (ภาพจาก :
http://www.14tula.com/images/gallery/event/index.htm)

นับเป็นการเข้าเกี่ยวข้องทางการเมืองอย่างเปิดเผยครั้งแรกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และในประวัติศาสตร์ของการปกครองที่พระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ พระองค์ทรงประณามรัฐบาลที่ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ และทรงเรียกร้องให้จอมพลถนอม ซึ่งเป็นผู้ก่อความวุ่นวายรีบเดินทางออกนอกประเทศ (นักศึกษา เรียกร้องให้จับเขาเข้าคุก แต่ในหลวงทรงห้ามไว้) หนึ่งชั่วโมงหลังจากที่จอมพลถนอมประกาศลาออกจากนายกรัฐมนตรี พระองค์ได้ทรงปรากฎบนหน้าจอโทรทัศน์ ทรงรับสั่งว่า

"วันนี้เป็นวันมหาวิปโยค เป็นวันที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ ของประเทศไทย การต่อสู้ได้ลุกลามไปยังที่ต่างๆ ในเมือง จนกระทั่งกลายเป็นความวุ่นวาย ประชาชนชาวไทยเสียชีวิตนับหลายร้อยคน ข้าพเจ้าขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยุติการกระทำใดๆ ที่จะนำไปสู่การต่อสู้ เพื่อให้ประเทศชาติกลับสู่ภาวะปกติสุขโดยเร็ว"

พระองค์ได้ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ในช่วงระยะผ่านโดยตรง จากนั้นได้มีการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวและเปิดประชุมสมัชชาแห่งชาติ เพื่อยกร่างและประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่มีแนวโน้มเสรีและเป็นประชาธิปไตย

สถานการณ์ของประเทศไทยที่เป็นประชาธิปไตยช่วงสั้นและสันติดำเนินไปได้ 3 ปีเศษ ก็เริ่มเกิดการรัฐประหารขึ้น จนถึงปี พ.ศ. 2523 พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ผบ.ทบ. ขึ้นสู่อำนาจ นายทหารอาชีพซึ่งมีความซื่อสัตย์สุจริตผู้นี้ รู้จักเอาใจผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างดี อย่างไรก็ดี หนึ่งปีต่อมา ผู้ใต้บังคับบัญชาของเขาได้วางแผนโค่นล้มเขา แต่การรัฐประหารมิได้รับพระราชานุญาตจากพระองค์ ผู้ก่อการรัฐประหารเหล่านี้ ไม่มีทางเลือกอื่นใดนอกจากต้องหนีหัวซุกหัวซุน พล.อ. เปรม ซึ่งมีความจงรักภักดีอยู่ในอำนาจเป็นเวลา 8 ปี หลังพ้นตำแหน่งได้รับแต่งตั้งเป็นองคมนตรี กลายเป็นหนึ่งในองคมนตรีที่ใกล้ชิดที่สุดของพระองค์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงแทรกแซงทางการเมืองอย่างเปิดเผยครั้งที่ 2
ใน "เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ" (ดูรายละเอียดในบทที่ 2) ครั้งนี้พระองค์ทรงรับสั่งให้ พล.อ. สุจินดา คราประยูร ซึ่งใช้กำลังเข้าปราบปรามมวลชนและนายจำลอง ศรีเมือง ผู้นำกลุ่มต่อต้านเข้าเฝ้าฯ ในพระราชวัง ทั้งสองหมอบราบใกล้พระบาทของพระองค์ และรับฟังพระราชดำรัสสั่งสอน พล.อ. สุจินดา ซึ่งเป็นผู้ก่อให้เกิดเหตุการณ์นองเลือดไม่มีทางเลือกอื่นใด นอกจากการลาออก หลังจากนั้น ประเทศไทยได้เข้าสู่ยุคของการบริหารประเทศโดยข้าราชการประจำ และการเมืองในลักษณะเป็นประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพโดยลำดับ ช่วงเวลาแห่งสันติภาพดำเนินไป 15 ปีจนทั่งถึงช่วงครึ่งหลังของปี 2548 จึงได้เริ่มเกิดวิกฤตทางการเมืองเป็นเวลานาน 1 ปี

ตอนที่ 4
กษัตริย์เป็นที่เทิดทูลฯ ผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้
ในช่วงที่ทักษิณดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยแรก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เคยมีพระราชดำรัสหลายครั้งชื่มชมความเก่งกาจ ความกล้าตัดสินใจและความสามารถของนายกรัฐมนตรีผู้นี้ การบริหารประเทศในลักษณะ CEO ของเขา นโยบายช่วยเหลือคนยากจนที่โดดเด่น และการเร่งระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่รวดเร็ว ล้วนเป็นความประทับใจที่ดีที่พระองค์ทรงมีต่อนายกรัฐมนตรี

หลังจากที่ทักษิณดำรงตำแหน่งอีกสมัยหนึ่ง ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการใช้อำนาจเพื่อแสวงประโยชน์ส่วนตัว และการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างเนืองนิจ แต่สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงพอที่จะทำให้ตำแหน่งของทักษิณต้องสั่นคลอน จนกระทั่งนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้กว้างขวางในวงการสื่อได้ออกโรงเปิดโปงเป็นนัยว่า นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันไม่จงรักภักดีต่อในหลวง ทักษิณซึ่งโกรธเป็นฟืนเป็นไฟไม่อาจนั่งเฉยอยู่ได้อีกต่อไป รีบเรียกร้องค่าเสียหายที่ทำให้ต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงเป็นเงินมหาศาล (24 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) สร้างสถิติใหม่ในประวัติศาสตร์วงการศาลของไทย

นี่มิใช่เรื่องแปลก สำหรับประเทศไทยแล้ว "ความศักดิ์สิทธิ์ของพระมหากษัตริย์ผู้ใดจะละเมิดมิได้" ซึ่งไม่เพียงจะซึมซับอยู่ในจิตใจของชาวไทย แต่ยังบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน ด้วยกฎหมายบัญญัติว่า ห้ามผู้ใดกล่าววิจารณ์พระองค์ ผู้ฝ่าฝืนจะถูกจำคุก 3 ถึง 15 ปี. ประวัติการเมืองของไทยเคยมีคดีเกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งส่งผลให้ชีวิตทางการเมืองของผู้นั้นต้องยุติลง

นายวีระ มุสิกพงศ์
เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2529 นายวีระ มุสิกพงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการประทรวงมหาดไทย ในวัย 38 ปี ได้ปราศรัยขณะหาเสียงเลือกตั้งพูดจาไม่ดูสถานการณ์ ต้องถูกดำเนินคดีในลักษณะสายเกินแก้ เขากล่าวว่า หากเขาได้เกิดเป็นเจ้าชาย "ก็จะเสวยน้ำจัณฑ์ให้สบายอกสบายใจ ไม่ต้องมายืน (หาเสียง) อยู่ที่นี่ให้เมื่อยแข้ง (พระชงฆ์)" คำกล่าวที่ใจกล้าเกินเหตุได้ถูกโจมตีและด่าทอ รัฐมนตรีช่วยว่าการประทรวงหนุ่มและนิสัยมุทะลุออกอาการตื่นตระหนก และไม่คำนึงว่าจะต้องเมื่อยแข้งอีกหรือไม่ เข้าคุกเข่ากราบบังคมทูลขอพระราชทานอภัยโทษต่อหน้าพระบรมศาทิศลักษณ์ ที่อาคารรัฐสภา ท่ามกลางสมาชิกรัฐสภาหลายร้อยคน แม้จะมีกระแสข่าวจากพระราชวังว่าพระองค์ทรงเห็นว่า แม้คำกล่าวจะเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่ก็มิได้เป็นภัยอะไร แต่นายวีระยังคงถูกบังคับให้ต้องลาออก และถูกห้ามยุ่งเกี่ยวกับการเมืองอีกต่อไป

The King and I - Anna and the King
นอกจากนี้ ภาพยนตร์ หนังสือและรูปภาพที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพใดๆ เป็นสิ่งต้องห้ามในประเทศไทย กรณีตัวอย่างที่เด่นชัดที่สุดก็คือหนังสือ "The King and I" ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับแอนนา สตรีชาวอังกฤษที่เป็นครูประจำครอบครัวในพระราชวังสมัยรัชกาลที่ 4 ได้พรรณนาเป็นนิยายเกี่ยวกับสิ่งที่ตนได้พบเห็น สร้างความพึงพอใจได้เป็นอย่างดีสำหรับชาวตะวันตกที่อยากรู้อยากเห็นชีวิตในพระราชวังของทางตะวันออก หนังสือดังกล่าวถูกปรับปรุงเป็นบทละครร้อง บทละครรำ และภาพยนตร์ ได้รับความนิยมไม่เสื่อมคลายมาตลอดเป็นเวลายาวนาน แต่เป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับประเทศไทย

ปี 2544 ภาพยนตร์เรื่อง "Anna and the King" ก็ถูกห้ามฉายในประเทศไทย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องระบุว่า ภาพยนตร์ดังกล่าวดูหมิ่นกษัตริย์ของสยามในสมัยคริสตศตวรรษ 19 ที่ชาวไทยเทิดทูน (ชื่อประเทศไทยขณะนั้นคือ สยาม) "พรรณนากษัตริย์ไทยเป็นคาวบอยขี่บนหลังช้าง และมีอยู่ฉากหนึ่ง โจวเหวินฟะ(ดาราผู้แสดงเป็นรัชกาลที่ ๔)วางมงกุฎและรูปถ่ายของกษัตริย์ไว้บนพื้น ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ไม่อาจยอมรับได้" นอกจากนี้ "บทภาพยนตร์ยังยกย่องแอนนาเป็นผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จบางส่วนของประเทศไทย และทำให้คนทั่วไปเห็นว่านางเป็นชนชั้นสูง ทั้งที่จริงแล้ว ยังมีความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับเชื้อชาติวรรณะของนาง" และประการสุดท้าย "หากต้องลบฉากกษัตริย์ที่ต้องอับอายเสียหน้าออก ภาพยนตร์เรื่องนี้จะเหลือไม่ถึง 20 นาที"

Far Eastern Economic Review
เดือนมีนาคม 2545 นิตยสาร Far Eastern Economic Review ตีพิมพ์บทความขนาดความยาว12,000 ตัวอักษร และต้องถูกลงโทษเนื่องจากมีข้อความ 2 ประโยคพาดพิงถึงพระราชวงศ์ "อย่างไม่เหมาะสม" ดังประโยคหนึ่งกล่าวว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกฎราชกุมาร พระราชโอรสองค์เดียวของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว "ได้รับการเทิดทูนจากประชาชนไม่เท่ากับพระราชบิดา เสียงซุบซิบนินทาในกรุงเทพฯ นิยมที่จะกล่าวถึงเรื่องที่เกี่ยวกับชีวิตส่วนพระองค์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ" ประโยคที่สองกล่าวว่า "พระบารมีของพระมหากษัตริย์จะค่อยๆ ลดลงภายหลังการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่นั่นก็อาจไม่ใช่เรื่องที่เลวร้ายแต่อย่างไร"

นาย McBride ผู้เขียนบทความดังกล่าว และนาย Peter Bakker ผู้จัดการส่วนภูมิภาคของนิตยสารดังกล่าวถูกเนรเทศออกนอกประเทศไทย แม้ผู้เขียนจะกล่าวว่าตนมิได้มีเจตนาที่จะโจมตีพระราชวงศ์แต่อย่างใด เพียงแต่ "ต้องการพรรณนาด้านต่างๆ ในชีวิตของชาวไทย หากไม่กล่าวถึงพระราชวงศ์ก็คงเป็นเรื่องที่แปลกประหลาด" แต่การพาดพิงพระราชวงศ์ที่ไม่เหมาะสมเช่นนี้ ยังคงเป็นความผิดที่ไม่อาจให้อภัยได้ เท่าที่ทราบเนื่องจากพระองค์ทรงเตือนให้รัฐบาลผ่อนปรนบ้าง g0hksoghkmuj เจ้าหน้าที่ฝ่ายข่าวชาวต่างประเทศ ที่ต้องสงสัยว่าจะกระทำสิ่งผิดกฎหมายจึงไม่ต้องถูกฟ้องร้องดำเนินคดี เพียงถูกยกเลิกวีซ่าเข้าประเทศเท่านั้น และผู้รับผิดชอบเรื่องนี้บังเอิญก็คือรัฐบาลทักษิณ

เรื่องราวอันน่าสับสนของการเมืองไทย
เมื่อนายสนธิ ลิ้มทองกุลได้อ้างเหตุเกี่ยวกับพระองค์ในการโจมตีทักษิณหลายครั้ง ไม่เพียงแต่ทักษิณที่โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ ฝ่ายทหารที่ปกป้องพระมหากษัตริย์เสมอมาก็ต้องออกประกาศเตือนเป็นครั้งสุดท้าย. ผบ. สูงสุด พลเอกเรืองโรจน์ฯ กล่าวเตือนนายสนธิให้ "หยุดการนำพระราชวงศ์มาใช้เพื่อประชาสัมพันธ์ตัวเอง" และกล่าวว่าความอดทนของฝ่ายทหารมีจำกัด ทุกคนต่างมีวิธีการของตนเองในการรักชาติ รักประชาชน และเทิดทูนพระราชวงศ์ ตนก็เคารพวิธีการที่ต่างกันของแต่ละคนแต่ต้องไม่สร้างความเสียหายให้กับพระองค์ และก็ไม่ควรนำพระราชวงศ์เข้าเกี่ยวข้องกับข้อพิพาทระหว่างพวกเขา ด้วยเพราะเหตุนี้เองนายสนธิจึงได้หลบภัยไปอยู่ที่ยูนนานของจีนชั่วขณะหนึ่ง แต่เมื่อกาลผ่านไป เมื่อฝ่ายทหารอธิบายเหตุผลของการทำรัฐประหาร หนึ่งในความผิดร้ายแรงที่ยัดเยียดให้กับทักษิณก็คือ "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ"

2 เดือนแรกของการเปิดโปงกรณีการขายหุ้น Shin เมื่อเผชิญกับการกดดันอย่างหนักจากกลุ่มต่อต้าน ทักษิณยืนหยัดที่จะไม่ยอมก้มหัวให้มาตลอด เขากล่าวว่า "ไม่มีใครจะเรียกร้องให้ผมลาออกได้ ยกเว้นในหลวง ขอเพียงรับสั่งเท่านั้น ผมพร้อมลาออกทันที" แต่พระองค์จะไม่มี ทางแสดงท่าทีต่อการขัดแย้งทางการเมืองทำนองนี้อย่างง่ายๆ จนกระทั่งวันที่ 4 เมษายน ทักษิณได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไปล่วงหน้าอีกครั้งหนึ่ง แต่กลับต้องลาออกหลังการประกาศผลเลือกตั้งแล้ว 2 วัน เขาอธิบายเหตุผลของการลาออกว่า "เหตุผลสำคัญที่ผมลาออกก็คือปีนี้เป็นปีพิเศษสำหรับในหลวง ผมหวังว่าคนไทยทุกคนจะสามัคคีกัน"

มาตรา 7 แห่งรัฐธรรมนูญไทย ปี 2540
ค่ำวันที่ 25 เมษายน หลังจากที่กลุ่มการเมืองต่างๆ โต้เถียงติดต่อกันหลายวันเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนเมษายน ว่ามีการทุจริตการเลือกตั้งและมีการดำเนินผิดระเบียบขั้นตอนกฎหมายหรือไม่ พระพักตร์ที่เคร่งขรึมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พลันปรากฎขึ้นบนจอโทรทัศน์ช่องสำคัญต่างๆ ทั่วประเทศ อย่างที่ไม่ได้พบเห็นบ่อยครั้งนัก พระองค์ทรงเรียกร้องให้ศาลฎีกาเข้ามามีส่วนในการแก้ไขปัญหาชะงักงันทางการเมือง พระองค์รับสั่งว่า "มีคนให้ข้าพเจ้ากำหนดตัวนายกรัฐมนตรี (มาตรา 7 ในรัฐธรรมนูญ 2540) หากข้าพเจ้าทำเช่นนี้ก็เท่ากับทำเกินอำนาจหน้าที่ ซึ่งไม่ตรงกับเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ แต่การที่เขตเลือกตั้งจำนวนหลายเขตมีผู้สมัครเพียงคนเดียวก็ไม่เป็นประชาธิปไตย"

พระองค์รับสั่งกับคณะผู้พิพากษาของศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุดโดยทรงเรียกร้องว่า "การเลือกตั้งจะมีผลหรือไม่ จะแก้ไขวิกฤตการณ์การเมืองอย่างไร ขอให้พวกท่านทั้งหลายเป็นผู้ตัดสิน หากพวกท่านตัดสินไม่ได้ ก็ขอให้ลาออก" หลังจากนั้น 2 สัปดาห์ศาลได้ตัดสินว่าผลการเลือกตั้งเดือนเมษายน เป็นโมฆะ

ตอนที่ 5
การเฉลิมฉลองพระราชพิธี 60 ปีครองราชย์ฯ
เดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ในบรรยากาศของการเฉลิมฉลองพระราชพิธี 60 ปีครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กลุ่มสนับสนุนและกลุ่มต่อต้านหยุดพักรบชั่วคราว กิจกรรมเฉลิมฉลองได้เปิดฉากขึ้น เช่น การแสดงดอกไม้เพลิง คอนเสิร์ต นิทรรศการภาพวาด และการแข่งเรือพาย ฯลฯ ตามท้องถนนทั่วสารทิศในกรุงเทพฯ ประดับและแขวนรูปภาพขนาดใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ภายในรถยนต์ของแต่ละบ้านจะติดรูปถ่ายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ตามสถานีรถไฟใต้ดิน แม้ในชั่วโมงเร่งด่วน ช่วงเข้างานและเลิกงาน ผู้คนจำนวนมากเมื่อเดินผ่านพระฉายาลักษณ์ของพระองค์ ก็จะหยุดแสดงความเคารพ การชุมนุมของมวลชนหรือก่อนการฉายภาพยนตร์ตามโรงภาพยนตร์ ผู้คนจะลุกขึ้นยืน ทุกคนพร้อมกับร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี เพื่อแสดงความเคารพและถวายพระพร จงทรงพระเจริญ รัฐบาลยังได้จัดทำห่วงข้อมือสีเหลือง "เรารักในหลวง" ซึ่งกลายเป็นของที่ระลึกที่ขายดีมากในกรุงเทพฯ ทุกคนต่างแสดงความจงรักภักดี ตั้งแต่นายกรัฐมนตรีลงไปจนถึงประชาชนทั่วไป ชาวบ้านคนหนึ่งกล่าวว่า "ฉันไม่ทราบว่าทำไมถึงรักในหลวง แต่ฉันรักพระองค์จากส่วนลึกของหัวใจ" ข้าราชการคนหนึ่งกล่าวว่า "พวกเราทำงานเพื่อถวายต่อในหลวงอันเป็นที่รักยิ่ง"

วันที่ 26 พฤษภาคม 2549 นายโคฟี อานัน เลขาธิการสหประชาชาติเดินทางมากรุงเทพฯ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล HumanDevelopment Lifetime Achievment Award ของ UNDP แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นการสดุดีต่อการที่พระองค์ได้ทรงสร้างคุณูปการต่อการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยตลอดช่วงการครองราชย์เป็นเวลา 60 ปี

วันที่ 9 มิถุนายน 2549 ทางการของไทยกำหนดเป็นวันฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก่อนหน้านี้ 1 วัน พระองค์พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระราชโอรสและพระราชธิดา 4 พระองค์ได้ทรงร่วมพระราชพิธีทางศาสนา พระราชพิธีมิได้เปิดสำหรับสาธารณชนทั่วไป แต่มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ ชาวไทยทุกหมู่เหล่าเฝ้าชมพระราชพิธีโดยตลอดอยู่ที่หน้าจอโทรทัศน์ วันที่ 9 มิถุนายน พระองค์และสมเด็จพระนางเจ้าฯ ในชุดฉลองพระองค์ตามพระราชพิธี ทรงปรากฎพระองค์บนระเบียงของพระบรมมหาราชวัง ฝูงชนในชุดเสื้อสีเหลืองจำนวน 300,000 คนที่รอคอยบริเวณลานกว้างเป็นเวลานานหลายชั่วโมงพร้อมใจกันเปล่งเสียงกึกก้องว่า "ทรงพระเจริญ" แม้แต่สื่อชาวต่างประเทศ หลายสำนักที่เดินทางมาทำข่าวพระราชพิธีเฉลิมฉลอง ต่างรู้สึกซาบซึ้งใจยิ่งนักต่อบรรยากาศของฝูงชนดังกล่าว

สถานีโทรทัศน์ CNN ได้เสนอข่าวพร้อมบรรยายว่า มวลชนจำนวนมากเงยหน้าขึ้นมองพระองค์บนระเบียง พระที่นั่งอนันตสมาคม รู้สึกสะเทือนใจถึงกับน้ำตาไหล ในบรรดาราษฎรที่ร่วมฉลองพระราชพิธีมี ทักษิณ ชินวัตรรวมอยู่ด้วย เขากล่าวในฐานะรักษาการนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลชั่วคราวว่า "ช่วง 60 ปีที่ผ่านมา ทุกครั้งที่บ้านเมืองประสบวิกฤตการณ์ พระมหากษัตริย์ของไทยก็จะปรากฎพระองค์เพื่อแก้ไขความยากลำบากของชาวไทย นับว่าคนไทยโชคดีมากที่เรามีพระมหากษัตริย์เช่นนี้"

วันที่ 12 มิถุนายน 2549 พระบรมวงศานุวงศ์และกษัตริยจาก 26 ประเทศ เช่น เดนมาร์ก, สวีเดน, สเปน, เนเธอร์แลนด์, และอังกฤษ เข้าร่วมพระราชทานพิธีเฉลิมฉลองในวโรกาสทรงครองราชย์ครบ 60 ปี บุคคลเชื้อพระวงศ์ระดับสูงส่งจากทั่วโลกเหล่านี้มาชุมนุมที่ท้องพระโรงใหญ่ ภายในพระบรมมหาราชวังในกรุงเทพฯ นั่งบนเก้าอี้เป็นวงลักษณะครึ่งวงกลมบนพื้นพรมสีแดง ผู้ที่ประทับตรงกลางสุดก็คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. ในบรรดาบุคคลเหล่านี้อาจมีบางคนในใจนึกอิจฉากษัตริย์จากประเทศตะวันออกที่มีพระวรกายไม่สูงนัก

ในประเทศอื่น ความหมายของการดำรงอยู่ของกษัตริย์และพระราชวงศ์ บางทีเป็นเพียงแค่พิพิธภัณฑ์ของวัฒนธรรมดั้งเดิมและพระราชพิธีในพระราชวังที่ยังมีชีวิตเท่านั้น แต่สำหรับประเทศไทย พระมหากษัตริย์ทรงเป็น"พระเจ้าที่มีชีวิต" เป็น "กษัตริย์บนหลังช้าง" สูงส่งกว่ากษัตริย์ทั้งปวงอย่างไมอาจเปรียบได้ เท่าที่ทราบพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้รับการสนับสนุนจากประชาชนชาวไทยในอัตราร้อยละ 99 ขึ้นไป จึงไม่ถือว่าเกินจริงที่จะกล่าวว่า ทรงได้รับการยกย่องเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ที่มีพระราชอำนาจมากที่สุดในโลก เหนือกว่าสมเด็จพระราชินีอลิซาเบธของอังกฤษ

บ่ายวันที่ 20 กรกฎาคม ประชาชนในชุดเสื้อยืดสีเหลืองหลายร้อยคนน้ำตารินไหล และคุกเข่าอยู่หน้าประตูทางเข้าโรงพยาบาลศิริราช ในกรุงเทพฯ เฝ้ารอการเสด็จฯ มาถึงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์เจริญพระชนมายุ 79 พรรษา ทรงเริ่มชรา พระวรกายไม่แข็งแรงเหมือนที่ผ่านมา ค่ำวันนั้นจะทรงเข้ารับการผ่าตัดประสาทที่เอว เท่าที่ทราบเริ่มตั้งแต่คืนวันก่อนหน้านี้ ชาวบ้านจากภาคต่างๆ ทั่วประเทศไทย ก็ได้รวมตัวกันที่วัดเพื่อภาวนาขอให้พระองค์ทรงปลอดภัยจากการผ่าตัดและทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน

ชาวบ้านคนหนึ่งกล่าวว่า "ในหลวงทรงเป็นศูนย์รวมพลังจิตใจของพวกเรา อาศัยพลังจิตใจดังกล่าว พวกเราจึงจะหมดทุกข์หมดโศก" คณะแพทย์ทั้งหมดของโรงพยาบาลศิริราช ต่างสวมเสื้อเชิ้ตเหลืองที่มีตราสัญลักษณ์พระองค์ ตำรวจเดินทางไปถวายการอารักขาความปลอดภัยที่โรงพยาบาลจำนวน 3,000 นาย. วันที่ 4 สิงหาคม พระองค์ทรงมีสุขภาพแข็งแรงดีขึ้นและเสด็จฯ ออกจาก รพ. ทักษิณนำ ครม. เฝ้ารับเสด็จที่โรงพยาบาล จากรายงานข่าวโทรทัศน์ที่ถ่ายทอดสดในขณะนั้น ผู้คนได้เห็นนายกรัฐมนตรีผู้นี้ คุกเข่าอยู่บริเวณทางเดินในโรงพยาบาล พนมมือทั้งสอง ถวายการเคารพด้วยการก้มหัว เก้าอี้ผู้ป่วยที่พระองค์ประทับนั่งค่อยๆ เคลื่อนผ่านข้างตัวของเขาไป

ตอนที่ 6
ฟางเส้นสุดท้าย
รัฐธรรมนูญไทย ฉบับเดือนตุลาคม 2540 บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจในการตัดสินพระทัยขั้นสุดท้ายในโอกาสที่เหมาะสม ต่อกรณีปัญหาสำคัญของประเทศ. ศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า "ในช่วง 60 ปีที่ผ่านมานี้ ในหลวงทรงพระราชทานพลังแห่งเสถียรภาพและความสมานฉันท์... ในช่วงเกิดวิกฤตการณ์ ประชาชนจะหวังให้พระองค์ทรงช่วยเหลือเพื่อให้เกิดเสถียรภาพ"

นาย Paul Handley ผู้แต่งหนังสือ "The King Never Smiles" กล่าวว่า "ผู้นำระดับสูงในรัฐบาล บางทีอาจรวมถึงกลุ่มต่อต้านทักษิณในพระราชวังตระหนักดีว่า แม้จะจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง ทักษิณก็ยังจะสามารถกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีได้อีก แต่ขณะนี้ไม่มีวิธีแก้ไขอื่นใดอีกแล้ว พวกเขาต่างรู้สึกเอือมระอาเต็มทน"

ภายหลังเหตุการณ์ สื่อมวลชนต่างประเทศวิจารณ์ว่า ในกระบวนการรัฐประหารโค่นล้มทักษิณ..."ฟางเส้นสุดท้าย" ของทักษิณมิใช่ทั้งพรรคฝ่ายค้านหรือผู้นำระดับสูงในกองทัพที่กุมขุมกำลัง แต่คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เพิ่งผ่านพระราชพิธีเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี

เวลาเที่ยงของวันที่ 20 กันยายน 2549 ที่นิวยอร์ก มีกระแสข่าวว่าพลเอกสนธิ ผบ.ทบ. ผู้นำในการรัฐประหารซึ่งอยู่ภายใต้การนำของ พล.อ. เปรม เข้าเฝ้าฯ ในหลวงตลอดช่วงเที่ยงคืนนั้นการรัฐประหารทรงได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากพระองค์ (ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ อย่างเป็นทางการหลังจากนั้น 3 วัน) รัฐบาลชั่วคราว (โดย คปค.) ได้เลือกผู้จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีใหม่ในรัฐบาลชั่วคราว 3 คน ได้แก่ พล.อ. สนธิ ผบ. ทบ. และประธาน คปค., นายอักขราทร ประธานศาลฏีกา, และ พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี

ทักษิณลุกจากเก้าอี้พร้อมขึ้นยืน หันศีรษะมายังลูกน้องว่า "ดีแล้ว ทุกอย่างจบ ตอนนี้เรามาเริ่มคุยกัน เราจะไปที่ไหนกันดี?"

คำบรรยายวาทะของ นายกรัฐมนตรีทักษิณ รวม 3 ช่วง
ช่วงที่หนึ่ง: "ตลอดชีวิตของผมจะคอยศึกษาว่าจะจงรักภักดีต่อพระราชวงศ์อย่างไรดี ผมสำเร็จ การศึกษาจากโรงเรียนนายตำรวจ ได้รับทุนรัฐบาล พ่อตาของผมเป็นนายตำรวจสังกัด กรมราชองครักษ์ งานสมรสของผมและภริยาได้รับพระราชทานจากในหลวง ภริยาของผม ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็น "คุณหญิง" ซึ่งเป็นตำแหน่งทรงเกียรติของพระราชวงศ์ ผมเองก็ ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูง ผมเป็นคนไทยเชื้อสายจีน ประสบความสำเร็จในชีวิตก็ เพราะประเทศไทย และแยกไม่ออกจากในหลวง ดังนั้น ผมจึงมีความจงรักภักดีและ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อพระราชวงศ์ไม่เสื่อมคลาย"

ช่วงที่สอง: "ผมเชื่อว่าในหลวงทรงมีพระราชประสงค์ที่จะเห็นการปรองดอง แต่มีบางคนสร้างสถานการณ์ความวุ่นวาย พวกเขาทำเพื่อประโยชน์ส่วนตัว โดยหวังให้ความขัดแย้งและความไม่ลงรอยระหว่างสองกลุ่มยิ่งยืดเยื้อต่อไปเท่าไหร่ยิ่งดี แต่หากมองจากมุม
ของประเทศชาติ ยิ่งปรองดองเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี"

ช่วงที่สาม: "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอยู่ในฐานะสูงสุดที่สถิตย์อยู่ในจิตใจของชาวไทยทุกคน
ดังนั้น ทุกคนจึงรักเทิดทูนพระองค์อย่างยิ่ง รวมทั้งผมด้วย ผมได้เข้าเฝ้าฯ ในหลวงมาก ครั้งกว่านายกรัฐมนตรีที่ผ่านมา ทุกสิ่งที่ผมสามารถทำได้ก็เพื่อเสริมฐานะพระองค์ที่ สูงขึ้น... งานชิ้นสุดท้ายที่ผมทำก็คือ งานเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่ในวโรกาสครองสิริราชสมบัติ ครบ 60 พรรษา พวกเราดำเนินงานได้ผลสำเร็จอย่างดี ประชาชนที่ได้เข้าเฝ้าฯ พระองค์ มากถึง 60 ล้านคน เมื่อพระองค์ประทับอยู่บนระเบียงของพระราชวัง ผมพร้อมด้วย ประชาชน 300,000 คน ร่วมกันเปล่งเสียงว่า "ทรงพระเจริญ" พวกเรายังจัดงานมหกรรม เอกซ์โปด้านวัฒนธรรมเกี่ยวกับพระราชวงศ์ที่จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นการระลึกถึง พระ ราชพิธีเฉลิมฉลองดังกล่าว"

สนใจคลิกไปอ่านต่อบทที่ ๙


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์



สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1200 เรื่อง หนากว่า 20000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 




1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73