โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา




Update: 20 April 2007
Copyleft2007
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้เป็นสมบัติสาธารณะ และขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๒๒๑ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๐ (April, 20, 04,.2007)
R

ข้อเท็จจริงภาวะโลกร้อน โลกร้อนทุกๆ ๑๕๐๐ ปี
ความตกตื่นในภาวะโลกร้อน: การย้อนแย้งจากข้อเท็จจริง (๒)
วีรบูรณ์ วิสารทสกุล : เขียน
ภาควิชาพัฒนาชุมชน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสาตร์ ท่าพระจันทร์

บทความวิชาการชุดนี้ กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ได้รับมาจากผู้เขียน
เดิมชื่อ - ห่ะ! โลกร้อน ทุก ๑,๕๐๐ ปี? : ความจริงที่น่าอึดอัด - (1)
เป็นเรื่องของการนำเสนอข้อเท็จจริงอีกด้านหนึ่งในเรื่องเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน
ทั้งนี้มิได้หมายความว่าผู้เขียนเห็นว่า ภาวะโลกร้อนไม่สำคัญ
แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า ความเชื่อที่ปราศจากการรับรู้ในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน
จะทำให้การแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าวไม่ถูกจุด และไม่ก่อให้เกิดสัมฤทธิผลใดๆ
เนื่องจากบทความนี้มีขนาดยาว จึงได้แยกบทความนำเสนอออกเป็น ๒ ตอน คือ
๑๒๒๐. ความตกตื่นในภาวะโลกร้อน : การย้อนแย้งจากข้อเท็จจริง (๑)
๑๒๒๑. ความตกตื่นในภาวะโลกร้อน : การย้อนแย้งจากข้อเท็จจริง (๒)
(midnightuniv(at)gmail.com)

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้มีการแก้ไขและตัดแต่งไปจากต้นฉบับบางส่วน
เพื่อความเหมาะสมเป็นการเฉพาะสำหรับเว็บไซต์แห่งนี้

บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๒๒๑
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๖.๕ หน้ากระดาษ A4)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ความตกตื่นในภาวะโลกร้อน: การย้อนแย้งจากข้อเท็จจริง (๒)
วีรบูรณ์ วิสารทสกุล : ภาควิชาพัฒนาชุมชน คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสาตร์

ชาวโลกร้อน : คุณเอาเรื่องแบบนี้มากล่าวหากันง่ายๆ ได้อย่างไร นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายต้องคุยกันบนหลักฐานไม่ใช่หรือ?

วีรบูรณ์ : ผมไม่รู้ว่าการได้มาซึ่งรายงานของ IPCC อยู่บนข้อเท็จจริงมากน้อยเพียงใด ผมเพียงแต่เห็นด้วยกับสิ่งที่ Roger A. Pielke (3) กล่าวว่า "จะมีใครปฏิเสธได้อย่างไรว่าไม่มีเงื่อนไขทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องในการเจราจาต่อรอง และควรต้องกล่าวไว้ด้วยว่า รายงานที่แท้จริงคือ การรักษาความลงรอยกันระหว่างสมดุลของความเห็นที่หลากหลายของชุมชนผู้เชี่ยวชาญ"

ขอต่อเรื่องข้อสังเกตเกี่ยวกับอุณหภูมิโลกที่ร้อนขึ้น และเรื่อง CO2 ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นศัตรูตัวร้ายของยุคสมัยไปเสียแล้ว

ว่าด้วยเรื่องอุณหภูมิที่สูงขึ้นในรอบ 1,000 ปี
การออกมาเตือนถึงสถานการณ์โลกร้อนของ IPCC นั้น ได้จากการสังเกต อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกและมหาสมุทรในช่วงศตวรรษที่ผ่าน และใช้โมเดลคาดการณ์อนาคต โดยพบว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้ๆ ผิวโลก เพิ่มขึ้น 0.74 +- 0.18 C ตั้งแต่ช่วงกลางศตวรรษที่ 20 ซึ่ง (ตัวเลขนี้ได้ตัดความแปรปรวนจากปฏิกิริยาของ "เกาะร้อน"[urban heat island] ออกแล้ว) IPCC ได้สรุปว่า ทั้งนี้เกิดขึ้นจาก ความเข้มข้นของ Greenhouse gas (GHG) ในบรรยากาศที่เพิ่มมากขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ โมเดลของ IPCC ยังชี้ต่อไปอีกว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะเพิ่มขึ้นอีก 1.1 to 6.4 C ระหว่างปี 1990 - 2100

จริงๆ แล้วในประเด็นที่อุณหภูมิสูงขึ้นนั้น นักวิทยาศาสตร์ทุกคนเห็นด้วยอย่างแน่นอน ประเด็นจึงเหลือแค่ การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมินั้นเป็นเรื่องผิดปกติ เมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมาหรือไม่

ฝ่ายโลกร้อนยืนยันหนักแน่นว่า ก่อนหน้านี้ โลกมีแต่ความเย็น จนเมื่อหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อมีการปล่อย CO2 สู่บรรยากาศมากขึ้นนี่เอง ที่อุณหภูมิโลกร้อนขึ้นเรื่อยมา ซึ่งมีการวัดโดยใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ปี 1850 เป็นต้นมา และใช้กราฟรูปไม้ฮอกกี้ที่อื้อฉาว เป็นหลักฐานยืนยัน


ที่นี้ลองมาฟังเหตุผลของผม ที่เชื่อว่าอุณหภูมิปัจจุบันที่เพิ่มสูงขึ้นนั้น เป็นวงรอบการเกิดขึ้นตามธรรมชาติ

ข้อมูลทาง Paleoclimatology ชี้ให้เห็นว่า การอุ่นขึ้น หรือเย็นลงของอุณหภูมิโลกนั้นเป็นวัฎจักร ซึ่งวิธีวัดอุณหภูมิในอดีต มีมากมายหลายวิธี แม้จะได้กราฟที่ไม่ทับกันสนิท แต่เกือบทั้งหมดจะให้กราฟที่มีอุณหภูมิขึ้นๆลงๆ ปรากฏเป็นช่วง LIA (เย็น) กับ Medieval warm (อบอุ่น) แม้แต่ในช่วง 1000 ปีที่ผ่านมาก็ตาม เพิ่งปรากฏในรายงานของ IPCC ฉบับที่ 3 นี้เองที่บอกว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ปรากฏว่าขึ้นลง มีความเย็นคงที่

Curves of reconstructed temperature at two locations in Antarctica and a global record of variations
in glacial ice volume. Today's date is on the left side of the graph.

สีดำ คือ หลังจากมีเครื่องมือวัด ปี 1850. สีน้ำเงินอ่อน คือ ข้อมูลได้จากบทความเก่า.
สีแดง คือ ข้อมูลได้จากบทความใหม่

เรื่องวงรอบในธรรมชาติที่ผ่านมานั้น เชื่อกันว่ามีรอบของยุคน้ำแข็ง (Ice Age) อยู่ประมาณ 90,000 ปี แต่เมื่อสัก 20 ปีมานี้ที่วิทยาศาสตร์ก้าวหน้ามากก็ค้นพบว่า มีรอบย่อยๆ ของอุณหภูมิที่อบอุ่นและเย็น สลับกันเกิดเป็นรอบๆ ทุก 1500 ปี (+- 500 ปี) (4) โดยพบว่าปัจจุบันอยู่ในช่วงที่กำลังอบอุ่นขึ้น ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1850 หลังจากที่ผ่านยุคน้ำแข็งน้อย (LIA) มาเมื่อปี ค.ศ. 1300 ถึง 1850 โดยช่วงร้อนนี้ อาจกินเวลาอีก 200 ปี

หลักฐานที่ทำให้เชื่อว่า โลกที่ร้อนขึ้นในปัจจุบัน เกิดเป็นรอบตามธรรมชาติทุก 1500 ปี

1) แกนน้ำแข็ง (Ice Core) (5) ทั้งการเจาะสำรวจ ที่ Greenland ในปี 1983 โดย Denmark's Willi Dansgaard and Switzerland's Hans Oeschger ซึ่งขุดยาวประมาณ 2 ไมล์ และ 4 ปีถัดมา ที่ Antarctic โดย Vostok Glacier ทั้ง 2 กรณี พบรอบการเกิดทั้ง 900,000 ปีของยุคน้ำแข็ง และ รอบการเกิดย่อยๆ ของอากาศอบอุ่นและเย็น ประมาณ 1,500 ปี

2) ตะกอนในทะเล (Seabed Sediments)
(6) 6 แห่ง ทั้งใน Atlantic, the Pacific และ ทะเล Arabian ก็ขุดพบ ฟอสซิลเซลเดียวขนาดเล็กๆ ในแพลงค์ตอนพืช ซึ่งมีอยู่หลากหลายชนิดและในจำนวนที่แตกต่างกันตามอุณหภูมิ และเมื่อนำมาส่องด้วยกล้อง electron microscopes ก็สามารถที่จะอ่านค่าอุณหภูมิได้จากเนื้อเยื่อของมัน เช่น กรณีของ Maureen Raymo (7) แห่งมหาวิทยาลัยบอสตัน ที่ขุดค้นตะกอนใต้ทะเล ทางตอนล่างของ Iceland และสามารถสืบค้นเวลากลับไปเป็นล้านปี และก็พบ วงรอบ 1,500 ปี ตลอด 1 ล้านปี ซึ่งพบอยู่ประมาณ 600 รอบ

หรือ กรณีของ Gerard Bond แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สถาบันวิจัย Lamont-Doherty Earth Observatory ที่ขุดตะกอนทะเลทางตอนใต้ของ North Atlantic ได้ระบุไว้ว่า

" หลักฐานจากท้องทะเลลึกเปิดเผยให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน สลับไปมา ซึ่งก็เป็นสิ่งที่สัมพันธ์กับช่วงอบอุ่นระหว่างยุคน้ำแข็ง (Holocene [interglacial] climate) โดยในแต่ละช่วง มีทั้งความหนาวเย็น แผ่นน้ำแข็งที่ลอยจากทางตอนเหนือของ Iceland ไปทางตอนใต้บริเวณเส้นรุ้งของ Britain ในช่วงเวลาเดียวกัน วัฏจักรของอากาศเหนือ Greenland ก็เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน . . . . ทั้ง 2 อย่างนี้ เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงเป็นระยะประมาณทุกๆ 1,470 ปี (บวก/ลบ 500 ปี) ดังนั้น เหตุการณ์สภาพอากาศอบอุ่นที่ปรากฏขึ้นเมื่อเร็วนี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งของวงรอบการเปลี่ยนแปลงของยุคน้ำแข็ง (Glacial period) และ ยุคอบอุ่นระหว่างยุคน้ำแข็ง (Interglacial Period)" (8)

3) หินงอกหินย้อยจากพื้นถ้ำ (Cave Stalagmites) (9) จะมีคุณสมบัติในคาร์บอน และออกซิเจน ไอโซโทป และส่วนประกอบย่อยอื่นๆ แตกต่างไปตามสภาพอากาศและความชื้น หลักฐานจากหินงอกหินย้อย สามารถสืบค้นกลับไปได้ไกลกว่าหลักฐานจากต้นไม้ และจากหลักฐานในที่ต่างๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น Ireland, Germany, Oman, China และ South Africa ทุกที่ที่สำรวจพบเนื้อเยื่อของหินที่เกิดในยุค Little Ice Age ยุค Medieval Warming ยุค the Dark Ages และยุค Roman Warming ส่วนใหญ่ปรากฏให้เห็นว่า มีช่วงเวลาหนาวเย็น ก่อนที่จะเข้าสู่ยุค Roman Warming

เช่น กรณีที่แอฟริกาใต้, หินงอกหินย้อยจาก Makapansgat Valley (10) แสดงให้เห็นว่า ช่วงอบอุ่น (Medieval Warming) เริ่มต้นเมื่อปี 1000 ไปจนถึง 1300 อุณหภูมินั้นสูงกว่าปัจจุบันประมาณ 3-4 องศาเซลเซียส. ยุคน้ำแข็งน้อย (Little Ice Age) เริ่มเมื่อปีประมาณ 1300 ไปสิ้นสุดที่ประมาณปี 1800 ซึ่งหนาวเย็นกว่าปัจจุบันประมาณ 1C

4) รูจากการขุดเจาะพื้นดิน (Boreholes) เป็นหนึ่งในหลักฐานที่ดีสำหรับการสืบค้นเวลากลับไปประมาณ 1,000 ปี ผ่านอุณหภูมิของผิวของก้อนหินในอดีตที่อยู่ใต้ผืนพิภพ งานศึกษาของ Shaopeng Huang (11) แห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกน (University of Michigan) ในปี 1997 ศึกษาด้วยการขุดเจาะ 6,000 รู ทั่วทุกทวีป และพบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในช่วงอบอุ่น (Medieval Warming) จะสูงกว่าในปัจจุบัน และในช่วงยุคน้ำแข็งน้อย (Little Ice Age) จะมีอุณหภูมิต่ำกว่าปัจจุบัน 0.2 to 0.7 C

หลักฐานทางกายภาพอีกชิ้นที่มีความสำคัญ และอยู่นอกเขต North Atlantic region คือ งานของ Yang Bao (12) แห่งวิทยาลัยวิทยาศาสตร์จีน (Chinese Academy of Sciences) ซึ่งเขาได้สร้างแผนที่อุณหภูมิในอดีตเมื่อ 2000 ปีที่ผ่านมา จาก ice cores, ตะกอนในทะเลสาบ, พรุ, วงปีต้นไม้, และเอกสารประวัติศาสตร์ นั่นทำให้จีนมีข้อมูลย้อนหลังมากกว่าประเทศใดๆ ในโลก ซึ่งเขาพบว่าประเทศจีนมีอุณหภูมิสูงที่สุดในช่วงศตวรรษที่ 2 และ 3 ไปจนสิ้นสุดยุค Roman Warming สภาพอากาศของจีนเริ่มอุ่นขึ้นเมื่อ 800 - 1400 และเริ่มหนาวเย็นเมื่อ ปี 1400 to 1920 และกำลังกลับมาเริ่มร้อนอีกครั้งตั้งแต่ปี 1920

ข้อมูลหลักฐานทั้งจากมหาสมุทร และผืนทวีปต่างๆ ทั่วโลก ต่างชี้ให้เห็นวงรอบการเกิดขึ้นความร้อน - หนาว สลับกันไปมาเป็นรอบๆ ทุก 1500 ปี (+ 500 ปี) นอกจากนี้ยังมีข้อมูลเชิงประจักษ์ที่มีการรวบรวมไว้แล้ว ทั้งจากตะกอนจากทะเลสาบ (13) วงปีไม้ (14) ละอองเกสรที่เป็นฟอสซิล (15) เส้นชั้นความสูงของชนิดพันธุ์ไม้ (Mountain Tree Line Elevations) (16) การขยายตัวของธารน้ำแข็ง (17) (ซึ่งดูเหมือนว่ามันช่างขัดกับสิ่งที่เรารับรู้ที่ว่า ธารน้ำแข็งกำลังละลายทั่วโลก) เป็นต้น - หมายถึง ยังมีข้อมูลที่ไม่ได้กล่าวถึงอีกมาก (18)

โดยสรุปผมจะกล่าวว่า มันมีหลักฐานเชิงประจักษ์จำนวนมากที่ทำให้เชื่อว่า โลกของเรากำลังออกจากยุคหนาวเย็นน้อย (Little Ice Age) และกำลังก้าวเข้าสู่ยุคอบอุ่น (Medieval Warm) ซึ่งเชื่อกันว่า อุ่นขนาดที่ชาวเหนือจะสามารถเข้าไปตั้งถิ่นฐานบนเกาะกรีนแลนด์ได้อีกครั้ง ในหนึ่งร้อยปีข้างหน้า

หากถามต่อว่า เหตุใดอุณหภูมิโลกมันจึงขึ้น - ลง เป็นวัฏจักรทุกๆ 1500 ปี (+ 500 ปี) เช่นนี้ หลักฐานชิ้นเดียวที่มีการเก็บข้อมูลมาอย่างยาวนาน ชี้ไปในทิศทางเดียวกันนั่นคือ การแปรเปลี่ยนของการแผ่รังสีจากดวงอาทิตย์ที่มายังโลก (solar irradiance)

ชาวโลกร้อน : คุณกำลังบอกว่า ดวงอาทิตย์ทำให้เกิด Global Warming

วีรบูรณ์ : อย่างน้อย ณ เวลานี้ ผมเชื่อว่าเป็นเพราะดวงอาทิตย์ แม้ว่าจะมีงานวิจัยที่พยายามหักล้างอยู่บ้าง (19) ดวงอาทิตย์นั้น มีอัตราการแผ่รังสีที่ไม่คงที่ แบ่งเป็นคาบร้อน กับคาบเย็น สลับกันคาบละประมาณ 11 ปี

ในคาบร้อน มีลักษณะที่เห็นชัดจากภายนอกคือมีจุดดับมาก การที่มีจุดดับมากเป็นเพราะสนามแม่เหล็กภายในปั่นป่วน ซึ่งเชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวกับระดับพลังงานภายในที่สูง ช่วงที่ดวงอาทิตย์มีจุดดับมาก จะแผ่พลังงานมากขึ้นเล็กน้อย 0.1-0.2% แต่พลังงานโดยเฉลี่ยของคาบร้อนคาบเย็นก็ยังไม่คงที่ คือคาบร้อนแต่ละคาบ มีร้อนมากร้อนน้อยไม่เท่ากัน. ส่วนคาบเย็นแต่ละคาบ ก็เย็นมากเย็นน้อยต่างกัน

การสังเกตจุดดับบนดวงอาทิตย์ในแต่ละปีมีบันทึกมานาน เราใช้จำนวนจุดดับในดวงอาทิตย์ เป็นเครื่องบ่งชี้ระดับพลังงาน ของดวงอาทิตย์ได้ใกล้เคียงพอสมควร

ช่วงที่เรียกว่า Little Ice Age นั้น เป็นช่วงที่จุดดับบนดวงอาทิตย์มีน้อยมากติดต่อกันหลายสิบปี และมีช่วงหนึ่งที่หายไปจนแทบจะสังเกตไม่ได้ ช่วงที่จุดดับหายไปนี้ เรียกว่า Maunder Minimum และตรงกับช่วงที่หนาวเย็นที่สุดของ Little Ice Age. แต่ในปัจจุบัน ที่โลกร้อนขึ้น เพราะกำลังอยู่ในช่วงคาบร้อนของดวงอาทิตย์พอดี และดวงอาทิตย์มีจำนวนจุดดับเฉลี่ย มากที่สุดในรอบ 65 ปี (20)

แต่ถ้ามองในแง่พลังงานจากดวงอาทิตย์ที่เข้ามากระทบโลก ซึ่งวัดทางอ้อมจากอัตราการเกิด คาร์บอน 14 ในบรรยากาศ เทียบกับอดีต เพราะช่วงที่ดวงอาทิตย์มีจุดดับมาก จะเกิดพายุสุริยะมากขึ้นด้วย รังสีคอสมิกจะชนอะตอมไนโตรเจนในบรรยากาศ แล้วเปลี่ยนเป็นคาร์บอน 14 ทำให้สามารถตรวจสอบอัตราการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ย้อนหลังได้ โดยวัดจากอัตราการเกิดคาร์บอน 14 ในอดีต

จากการวิจัยที่กำลังทำทั่วโลกในเวลานี้ ข้อมูลจนถึงปัจจุบัน ชี้ถึงแนวโน้มว่า ทศวรรษนี้ดวงอาทิตย์กำลังแผ่พลังงาน เทียบได้กับช่วง Holocene Maximum

ผมขอเล่าเรื่อง"การละลายของน้ำแข็งขั้วโลก" โดยเฉพาะที่เกาะกรีนแลนด์เสริม เพื่อชี้ให้เห็นว่า โลกในอดีตนั้นเคยร้อนมาก่อน ไม่ใช่หนาวเย็นเหมือนกราฟรูปไม้ฮอกกี้ที่อื้อฉาว

ปี ค.ศ. 986 Erik the red คนนอกกฎหมายพร้อมกับเรือ 24 ลำ ออกเดินทางจาก Iceland เพื่อแสวงหาแผ่นดินตั้งถิ่นฐาน เรือ 14 ลำไปถึงเกาะแห่งหนึ่งทางตะวันตกเรียกว่า Gruntland ซึ่งปัจจุบันรู้จักในชื่อ Greenland มีฟยอร์ดที่อบอุ่น ในฤดูร้อนมีทุ่งหญ้าเขียวชอุ่ม สามารถเลี้ยงปศุสัตว์ได้ Erik ตั้งถิ่นฐานในฟยอร์ด 2 แห่ง คือตอนใต้สุดของเกาะ ซึ่งเรียกว่าชุมชนตะวันออก และชายฝั่งตะวันตก ใกล้เมือง Nuuk ในปัจจุบันเรียกว่า ชุมชนตะวันตก

Erik และพวกตั้งถิ่นฐานบนเกาะ Greenland ในช่วงเวลาที่โลกอบอุ่นกว่าปัจจุบันมาก ตรงกับช่วงเวลาที่นักอุตุฯ เรียกว่า Medieval Maximum (ในช่วงเวลานี้ ตรงกับสมัยทวาราวดีปลายๆ ที่ แผนที่ทางโบราณคดีระบุว่า แนวชายฝั่งทะเลของอ่าวไทยกินแดนลึกเข้ามาถึงจังหวัดอ่างทอง)

ที่ Brattahlid นักโบราณคดีพบว่า ชาว Norse ที่กรีนด์แลนด์ เลี้ยงแกะ แพะ วัว พวกเขาล่าสัตว์ จับปลา ล่าแมวน้ำ ตัววอลลัส และกวางคาริบู เป็นอาหารเสริม, สร้างโบสถ์หิน ศาลากลาง บ้านเรือน และฟาร์ม มีโรงนาแห่งหนึ่งที่ใหญ่พอจะจุวัวถึง 100 ตัว อาณานิคมของชาว Norse บนเกาะกรีนแลนด์ ยืนยาวต่อมาอีกหลายร้อยปี ช่วงที่รุ่งเรืองมากที่สุดมีประชากรประมาณ 5000-6000 คน แต่พอกลางศตวรรษที่ 1300s อาณานิคมตะวันตกก็หายสาบสูญ และพอถึงต้นศตวรรษ 1500s ถิ่นฐานของชาว Norse ทั้งหมดก็หายไปจากกรีนด์แลนด์

ปัจจุบันเราทราบว่า ความหนาวขับไล่ชาว Norse ออกไปจากเกาะกรีนแลนด์ ช่วงปีที่ชุมชนตะวันตกล่มสลาย ตรงกับช่วงที่โลกหนาวเย็นผิดปกติ ค.ศ.1343-1362 นาน 20 ปี ซึ่งเป็นช่วงหนาวเย็นที่สุดของคลื่นความหนาวของ Wolf Minimum (คลื่นความหนาวระลอกแรก Little Ice Age) ส่วนชุมชนตะวันออกยังอยู่ต่อมา จนกระทั่งถูกความหนาวระลอกต่อมาที่รุนแรงกว่า ขับไล่ออกไปจากเกาะจนหมด ทิ้งอาณานิคมให้รกร้างอยู่ใต้พื้นดิน permafrost จนถึงปัจจุบัน....เพียงแค่เรื่องราวที่ Greenland นี่ ก็น่าจะ หักไม้ฮอกกี้ ได้แล้วน่ะ

ชาวโลกร้อน : น่าฟังอยู่ แต่มันก็มีงานวิจัยหลายชิ้นที่บอกว่า รังสีจากดวงอาทิตย์มีผลต่ออุณหภูมิโลกเพียงเล็กน้อย ไม่ใช่หรือ?

วีรบูรณ์ : แน่นอน งานวิจัยบางชิ้นให้น้ำหนักของรังสีจากดวงอาทิตย์ว่ามีผลต่อโลกร้อนบ้าง และแม้ว่านั่นจะเป็นการให้น้ำหนักของสาเหตุโลกร้อนที่น้อยกว่า GHG โดยเฉพาะ CO2 ที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ …แต่ผมเห็นว่าเป็นแนวโน้มที่ดีที่เริ่มยอมรับออกมาบ้าง และผมคิดว่า มันจะดีขึ้นเรื่อยๆ ผมขอพูดถึงเรื่อง CO2 ต่อเลยครับ

ว่าด้วยเรื่อง CO2
ก่อนจะไปกล่าวหาหรือเชื่อตามที่นักวิทยาศาสตร์บางส่วน หรือพวกนักอนุรักษ์บอกว่า CO2 เป็นตัวร้าย เป็นมลพิษตามกฎหมายสะอาด (Clean Air Act) ของ EPA และเป็น GHG ที่เป็นผู้ร้ายทำให้โลกร้อนที่รัฐบาลจะต้องเข้าไปจัดการนั้น ควรรับทราบว่า ศาลสูงสหรัฐ (Supreme Court) นั้น เขารับที่จะพิจารณาคดีนี้แล้วเมื่อกลางปี 2006 (21) โดยมีโจทย์ผู้ยื่นฟ้องคือ Commonwealth of Massachusetts และมี EPA หน่วยงานสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลอเมริกาเป็นจำเลย และศาลก็มีคำตัดสินแล้วด้วยเสียง 5 ต่อ 4 เมื่อ 2 เมษายนที่ผ่านมาว่า (22)

EPA ไม่มีอำนาจที่จะไปบังคับกะเกณฑ์ CO2 และ GHG อื่นๆ ภายใต้ Clean Air Act ให้ก๊าซเหล่านี้มีส่วนทำให้โลกร้อน หากไม่สามารถหาข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มายืนยัน (หรือตอบโต้ข้อถกเถียงต่างๆ) ได้ ซึ่ง Justice John Paul Stevens ถึงกับกล่าวว่า

the only way the agency could "avoid taking further action" now is " if it determines that greenhouse gases do not contribute to climate change" or provides a good explanation why it cannot or will not find out whether they do.

ทำอย่างไรดีครับที่นี้ ...เมื่อสิ่งที่เคยเป็นผู้ร้าย อย่าง CO2 ถูกศาลสูงสหรัฐ ออกมาปกป้องขนาดนี้

กลับมาเรื่องของเราต่อครับ ในส่วนนี้ผมพยายามจะนำเสนอข้อมูลเพื่อหักล้างความเชื่อที่ว่า CO2 ทำให้ อุณหภูมิโลกสูงขึ้น. Gore และชาวโลกร้อน นำเสนอกราฟความสัมพันธ์ระหว่าง อุณหภูมิโลกเฉลี่ย (เส้นสีแดง - ในกราฟ) กับปริมาณ CO2 (เส้นสีน้ำเงิน - ในกราฟ)

และสรุปไปตามที่ IPCC ระบุไว้ว่า การที่อุณหภูมิโลกกำลังร้อนขึ้นนั้น เกิดขึ้นจากการที่ปริมาณ CO2 ในบรรยากาศเพิ่มขึ้น โดยในรายงานฉบับล่าสุดของ IPCC ระบุว่าปริมาณของ CO2 ในอากาศในปี 2005 มีมากถึง 379 ส่วนในล้านส่วน มากกว่าช่วงก่อนอุตสาหกรรมซึ่งมีประมาณ 280 ส่วนในล้านส่วน (เพิ่มขึ้นประมาณ 90 ส่วนในล้านส่วน) และปริมาณในปัจจุบันนี้ 379 ส่วนในล้านส่วน มีมากกว่าที่มีในอดีต 650,000 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีประมาณ 180 - 300 ส่วนในล้านส่วน

การที่ชาวโลกร้อนบอกว่าในรอบหลายหมื่นปีที่ผ่านมา ปริมาณ CO2 ในอากาศปัจจุบัน กำลังเพิ่มสูงสุดนั้น ได้ฟังก็น่าตกใจไม่น้อย แต่หากเราดูกราฟด้านล่างจะเห็นว่าปริมาณ CO2 มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับอุณหภูมิ(และ วัฏจักรน้ำแข็ง) ซึ่งขึ้น-ลงๆ และ เปลี่ยนแปลงมาโดยตลอดหลายแสนปี นั่นหมายถึงว่าเป็นเรื่องธรรมดาอย่างยิ่ง และตรงนี้ มีคำถามสำคัญของฝ่ายค้าน ที่ชาวโลกร้อนตอบไม่ได้ว่า ทำไม?

ประเด็นที่ต้องพิจาณากันต่อ ก็คือ

1) ปริมาณ CO2 ที่เพิ่มขึ้นสูง 90 ส่วนในล้านส่วน จากเดิมที่ปกติเคยอยู่ประมาณ 280 - 300 ส่วนในล้านส่วนนั้น มาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลภายหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม ใช่หรือไม่ และ

2) CO2 เป็นผลให้ โลกร้อนขึ้น ตามทฤษฎีปรากฏการณ์เรือนกระจกหรือไม่

โดยปกติ CO2 มีคุณสมบัติละลายในน้ำได้ดีมาก ในบรรยากาศโลกมี CO2 ประมาณ 730 พันล้านตัน ในขณะที่มหาสมุทรมี CO2 ละลายอยู่ 39,000 พันล้านตัน ในสภาพสมดุลปัจจุบัน จะเห็นว่ามวลก๊าซส่วนใหญ่ละลายอยู่ในน้ำ การเปลี่ยนแปลงความสามารถในการละลาย ของมหาสมุทรเพียงเล็กน้อย ย่อมมีผลต่อปริมาณก๊าซในบรรยากาศค่อนข้างมาก

และเป็นที่รู้กันว่า อุณหภูมินั้นมีผลต่อการละลายของก๊าซในน้ำ ถ้าอุณหภูมิโลกอบอุ่น น้ำในมหาสมุทรมีอุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้ก๊าซละลายในน้ำได้น้อยลง CO2 ในบรรยากาศก็จะเพิ่มขึ้น. ในทางกลับกัน ถ้าอุณหภูมิโลกเย็นลง น้ำในมหาสมุทรมีอุณหภูมิลดลง ทำให้ก๊าซละลายในน้ำได้มากขึ้น ปริมาณ CO2 ในบรรยากาศก็จะลดลง

เมื่อมีข้อมูลเรื่องพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่ชี้ให้เห็นว่า ในศตวรรษที่ 20 ตั้งแต่ปี 1940 เป็นต้นมา โลกได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และจะมากขึ้นอีก ในทศวรรษนี้ และทศวรรษหน้า ซึ่งเป็นช่วงที่จะได้รับพลังงานมากกว่าในช่วง 8,000 ปีที่ผ่านมา (23)

นอกจากนี้ John Lymanและพรรคพวก (24) แห่ง National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) ซึ่งทำงานติดตามความร้อนของน้ำช่วงบน (0-700 เมตร) ในมหาสมุทร (upper ocean) (ทั้งนี้เพราะน้ำมีศักยภาพในการเก็บกักความร้อนได้ดีกว่าอากาศเป็นพันเท่า -มหาสมุทรจึงเป็นแหล่งเก็บกักความร้อนที่ใหญ่ที่สุด การเปลี่ยนแปลงความร้อนในมหาสมุทรจึงมีผลต่อ อุณหภูมิของโลกอย่างไม่ต้องสงสัย)

เขารายงานไว้ว่าระหว่างปี 2003 - 2005 มหาสมุทรกลับเย็นลงฉับพลัน ข้อมูลความร้อนที่เก็บจากด้านบน (0-700 เมตร) หายไป 3.2 (+- 1.1) x 10 ยกกำลัง 22 จูล. แต่ไม่มีใครตอบได้ว่า ความร้อนที่หายไปจากมหาสมุทรนั้น หายไปที่ใด ( - รู้ใช่ไหมครับว่าผมจะเดาว่าอย่างไร - ) ปัจจุบันมีบทความอีกฉบับเสนอต่อวารสาร Geophysical Research Letters เพื่อเสนอแก้ไขบทความของ Lyman - อันนี้ต้องรอติดตามต่อครับว่า บรรณาธิการจะรับพิจารณาหรือไม่ (25)

ดังนั้น จึงนำไปสู่ข้อสรุปที่ทำให้ผมเชื่อว่า อุณหภูมิของโลกที่เพิ่มขึ้นต่างหาก ที่เป็นตัวการทำให้ปริมาณ CO2 ในบรรยากาศเพิ่มขึ้น โดยดึงก๊าซออกจากมหาสมุทร สู่ชั้นบรรยากาศ

และเหตุผลที่ว่า อุณหภูมิโลก (ซึ่งผันแปรตามพลังงานที่ได้รับจากดวงอาทิตย์) มีผลต่อปริมาณ CO2 ในบรรยากาศต่างหาก จึงจะสามารถอธิบายได้ว่า ทำไมกราฟความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณ CO2 ในบรรยากาศกับอุณหภูมิโลกเฉลี่ย จึงขึ้นๆ - ลงๆ สลับกันไปมาอย่างสวยงามตลอดหลายแสนปี… หาใช่คำอธิบายของชาวโลกร้อนที่บอกว่า CO2 ที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ทำให้อุณหภูมิโลกร้อนขึ้น ไม่เชื่อลองอธิบายกราฟที่ขึ้นๆ - ลงๆ ในอดีตให้ฟังหน่อยซิว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร

นอกจากนี้ หากจะลองเทียบบัญญัติไตรยางค์ ดูความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณ CO2 กับ ความแตกต่างของอุณหภูมิ (ดูกราฟข้างบนประกอบ) ก็อาจพบความผิดปกติของความเชื่อ โดยหากอุณหภูมิที่ต่างกันระหว่างยุคน้ำแข็ง กับช่วงที่โลกอบอุ่น มีค่าประมาณ 10 องศา โดยมีความสัมพันธ์กับสัดส่วน CO2 ในบรรยากาศที่ต่างกันประมาณ 90 ppm

แต่เมื่อมาพิจารณาข้อมูลที่ IPCC บอกว่า ก่อนยุคอุตสาหกรรมโลกมี CO2 ประมาณ 280 ppm และปัจจุบันโลกมี CO2 ประมาณ 370 ppm ต่างกันประมาณ 90 ppm เช่นกัน. ถ้าในอดีต CO2 90 ppm เป็นสาเหตุให้ให้โลกอุ่นขึ้นจากยุคน้ำแข็งได้ถึง 10 องศา ทำไมปัจจุบันจึงมีรายงานว่าโลกร้อนขึ้นเพียง 0.7 องศา เท่านั้น ถ้า CO2 มีพลังขนาดนั้น ตอนนี้พวกเราก็ควรจะสุกตายกันหมดแล้ว

นั่นจึงทำให้ผมเชื่อต่อไปว่า CO2 ไม่ได้ทำให้ โลกร้อนขึ้น ตามทฤษฎีปรากฏการณ์เรือนกระจก แต่อย่างใด

ชาวโลกร้อน : แล้วคุณมีคำอธิบายอื่นๆ ที่จะอธิบายว่า ทำไมเดี๋ยวนี้อากาศรอบตัวเรามันจึงรู้สึกได้ว่าร้อนขึ้นหลายองศา โดยเฉพาะในเขตเมือง

วีรบูรณ์ : นั่นคือสิ่งที่ผมกังวล ผมคิดว่าเรากำลังเอาความร้อนที่เรียกกว่า เกาะร้อน (urban heat island) ไปมีความรู้สึกร่วมกับเรื่องโลกร้อน ซึ่งเป็นคนละอันกัน. ผมว่าเกาะร้อนนี่แหละที่มีผลทำให้เรารู้สึกร้อนได้โดยไม่ต้องอาศัยเทอร์โมมิเตอร์ ต่างจากโลกร้อนที่ IPCC รายงานว่าร้อนขึ้น 0.6- 0.7 องศาเซลเซียส ซึ่งผมคิดว่าเราแทบจะไม่รู้สึกอะไร

ปรากฏการณ์เรื่องเกาะร้อนคือ การที่อุณหภูมิรอบตัวเรา ซึ่งวัดที่ชั้นอากาศใกล้พื้นดินในเขตเมือง เขตชุมชน อุ่นกว่าปกติ และอุ่นกว่าพื้นที่ป่า และพื้นที่การเกษตร …เหตุที่ทำให้อุณหภูมิร้อนขึ้น ก็คือ

1. การเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นความร้อนเพราะขาดร่มเงา ในเขตชุมชนมักจะขาดต้นไม้
ที่คอยดูดซับพลังงานแสง และเปลี่ยนเป็นพลังงานศักย์เคมีในกระบวนการสังเคราะห์แสง ทำให้แสงแดดกระทบกับพื้นดินและสิ่งก่อสร้างโดยตรง กลายเป็นความร้อนในวัตถุ และถ่ายเทออกสู่อากาศรอบๆ อีกที

2. การทิ้งพลังงานของมนุษย์ พลังงานทุกประเภท ทั้งจากแหล่งพลังงานสะอาด และเชื้อเพลิงฟอสซิล เมื่อถูกใช้ประโยชน์แล้วมักจะกลายสภาพเป็นความร้อน ถูกทิ้งสู่บรรยากาศรอบตัว. นั่นหมายความว่า ยิ่งความเป็นเมืองขยายไปทดแทนพื้นที่เกษตร พื้นที่ป่าเขามากเท่าไร ความร้อนก็จะแผ่ซ่านปกคลุมในขอบเขตที่กว้างขวางมากยิ่งขึ้น ความร้อนที่พื้นผิวโลกจึงร้อนขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย (surface warming)

นี่ต่างหากที่เป็นปัญหาที่เราน่าจะต้องกังวลและจัดการโดยเร่งด่วน เพราะเป็นเหตุให้เราเปิดแอร์ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียสเสมอ แล้วรู้ไหมครับว่าทำไมต้องเปิดแอร์ที่ 25 องศาเซลเซียส?

ชาวโลกร้อน : ข้อมูลมันมากจริงๆ ผมต้องขอไปศึกษาดูก่อน แล้วคุณมีข้อมูลอ้างอิงอื่นๆ อีกไหม

วีรบูรณ์ : แน่นอนที่ท้ายบทความ ผมได้นำเสนอหลักฐานอ้างอิงซึ่งคุณสามารถตรวจสอบและสืบค้นต่อได้ แต่ผมยังคงมีประเด็นสุดท้ายสำหรับชาวโลกร้อนที่ค่อนข้างห่วงกังวลอยู่ ยังมีประเด็นน่าคิดและน่ารับฟังอีกอย่างคือ หากคุณเชื่อว่าโลกร้อนเพราะการเผาผลาญเชื้อเพลิง ซึ่งตามแบบจำลองของ IPCC นั้น (คำนวณบนฐานอัตราการใช้น้ำมันแบบก้าวหน้าและไม่มีวันหมด) หายนะจากน้ำทะเลท่วมก็จะมาถึงโลกมนุษย์ในปลายศตวรรษที่ 21

แต่ข้อเท็จจริงที่เรารู้ก็คือ น้ำมันเชื้อเพลิงนั้นแพงขึ้นทุกวันๆ และน่าจะมีใช้ได้อีก 40 ปีเท่านั้น เมื่อถึงเวลาดังกล่าว CO2 จากการเผาไหม้ จะเริ่มหายไปจากแบบจำลอง

ข้อมูลจากวิทยานิพนธ์เรื่อง The Study of World Oil Resources and the Impact on IPCC Emissions Scenarios (2004) ของ Anders Sivertsson ซึ่งทำที่มหาวิทยาลัย Uppsala พบว่าเมื่อนำการคาดการณ์สถานการณ์การใช้พลังงานในอนาคต มาแทนเงื่อนไขสมมุติในแบบจำลองสภาวะโลกร้อนของ IPCC เพื่อหาว่าผลกระทบในแบบจำลองโลกร้อนจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร, ปรากฏว่าความหายนะจากโลกร้อนหายไปเสียะเฉยๆ ที่เป็นเช่นนี้เพราะโลกมีเชื้อเพลิงฟอสซิลที่จะนำขึ้นมาใช้ได้ในทางปฏิบัติเหลืออยู่ไม่มากพอ ที่จะทำให้โลกหายนะได้นั่นเอง

อย่าเพิ่งเชื่อในสิ่งที่ผมพูดมาน่ะครับ ผมสนับสนุนให้ท่านได้ติดตามข้อมูลข่าวสารที่มุ่งตรวจสอบประเด็นที่เกี่ยวข้องกับโลกร้อน ทั้งในมิติของสาเหตุและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ซึ่งยังมีอีกเป็นจำนวนมากที่รอให้ท่านได้หาความรู้ต่อไป (นอกเหนือไปจากที่อ้างอิงไว้ที่ "ท้ายบทความ" แล้ว) อาทิ

รายชื่อหนังสือ
o The Politically Incorrect Guide to Global Warming (and Environmentalism)
o Shattered Consensus: The True State of Global Warming
o Meltdown: The Predictable Distortion of Global Warming by Scientists, Politicians, and the Media
o The Skeptical Environmentalist: Measuring the Real State of the World
o Global Warming and Other Eco Myths: How the Environmental Movement Uses False Science
to Scare Us to Death

Website
http://www.oism.org/pproject/s33p36.htm
http://en.wikipedia.org/wiki/Global_warming_controversy
http://www.co2science.org/scripts/CO2ScienceB2C/Index.jsp http://www.environmentaldefense.org/article.cfm?contentid=4870

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

สนใจคลิกกลับไปทบทวนบทความเรื่องเดียวกันนี้ตอนที่ ๑

 


คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์




สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1200 เรื่อง หนากว่า 20000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

เรากำลังเอาความร้อนที่เรียกกว่า เกาะร้อน (urban heat island) ไปมีความรู้สึกร่วมกับเรื่องโลกร้อน ซึ่งเป็นคนละอันกัน. ผมว่าเกาะร้อนนี่แหละที่มีผลทำให้เรารู้สึกร้อนได้โดยไม่ต้องอาศัยเทอร์โมมิเตอร์ ต่างจากโลกร้อนที่ IPCC รายงานว่าร้อนขึ้น 0.6- 0.7 องศาเซลเซียส ซึ่งผมคิดว่าเราแทบจะไม่รู้สึกอะไร ปรากฏการณ์เรื่องเกาะร้อนคือ การที่อุณหภูมิรอบตัวเรา ซึ่งวัดที่ชั้นอากาศใกล้พื้นดินในเขตเมือง เขตชุมชน อุ่นกว่าปกติ และอุ่นกว่าพื้นที่ป่า และพื้นที่การเกษตร เหตุที่ทำให้อุณหภูมิร้อนขึ้น ก็คือการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นความร้อนเพราะขาดร่มเงา

20-04-2550

Global Warming
Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy
and distribute verbatim copies
of this license
document, but
changing it is not allowed.
ภาวะโลกร้อน มายาคติร่วมสมัยที่เชื่อตามๆ กันมานาน