โครงการก้าวสู่คริสตศตวรรษที่ ๒๑ ด้วยการทบทวนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา


Update: 25 Febuary 2007
Copyleft2007
-Free Documentation License-
Copyleft : 2007, 2008, 2009
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of this license
document, but changing it is not allowed.
บทความทุกชิ้นที่นำเสนอบนเว็บไซต์นี้เป็นสมบัติสาธารณะ และขอประกาศสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนเปิดรับบทความทุกประเภท ที่ผู้เขียนปรารถนาจะเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน โดยบทความทุกชิ้นต้องยินดีสละลิขสิทธิ์ให้กับสังคม สนใจส่งบทความ สามารถส่งไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com โดยกรุณาใช้วิธีการ attach file
H
บทความลำดับที่ ๑๑๗๐ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ตั้งแต่วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๐ (January, 25,02.2007)
R

โอกาสของการขยายตัวเป็นสงครามศาสนา และบทสรุป
รายงานฝรั่ง: ปัญหาภาคใต้ไทยไม่ใช่สงครามศาสนา (๖)
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้รับมาจาก Crisis Group
รายงานภาคพื้นเอเชียฉบับที่ 98 เผยแพร่วันที่ 18 เมษายน 2548

บทความวิชาการขนาดยาวนี้ เดิมชื่อ
ปัญหาภาคใต้ของไทย: การลุกฮือไม่ใช่สงครามศาสนา
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะนำเสนอเป็นตอนๆ
เพื่อให้นักศึกษาและสมาชิกเข้าใจสถานการณ์ภาคใต้โดยลำดับ
และเห็นถึงปัญหาอันซับซ้อนของพี่น้องมุสลิม รวมถึงการแก้ไขของทางการอย่างไม่ถูกจุด
ในบทนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการให้ข้อมูลเรื่องโอกาสของการขยายตัวเป็นสงครามศาสนาระดับภูมิภาค
และบทสรุป เกี่ยวกับรายงานฉบับนี้ที่เสนอติดต่อกันมาถึง ๖ ตอน

สุดท้ายเป็นเรื่องของการอธิบายคำศัพท์และอักษรย่อ รวมถึงการแนะนำให้รู้จักกลุ่ม Crisis Group
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้มีการแก้ไขและตัดแต่งไปจากต้นฉบับบางส่วน
เพื่อความเหมาะสมเป็นการเฉพาะสำหรับเว็บไซต์แห่งนี้

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๑๗๐
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๕.๕ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++
รายงานภาคพื้นเอเชียฉบับที่ 98 / 18 เมษายน 2548
ปัญหาภาคใต้ของไทย: การลุกฮือไม่ใช่สงครามศาสนา
Crisis Group Asia Report

โอกาสของการขยายตัวเป็นสงครามศาสนาระดับภูมิภาค
ยังไม่มีหลักฐานว่า กลุ่มจิฮาดจากนอกประเทศ อย่างเช่น เจไอได้เข้าไปมีส่วนในการก่อเหตุรุนแรงในภาคใต้ของไทย แต่ขณะที่ความเดือดร้อนขยายตัวและความขัดแย้งเพิ่มสูงขึ้น ก็ถือว่ามีโอกาสที่กลุ่มในประเทศไทยจะแสวงหาความช่วยเหลือจากภายนอก หรือบุคคลบางคนจากกลุ่มเจไอหรือกลุ่มอื่นที่มีเป้าหมายคล้ายกัน อาจจะเข้ามาช่วยโดยที่ไม่ต้องมีการร้องขอก็เป็นได้ ถ้าเกิดลักษณะอย่างนี้ขึ้นเราก็อาจจะได้เห็นการก่อความรุนแรงที่มีการใช้เทคนิคสูงขึ้น หรือว่าการปฏิบัติการที่เปลี่ยนไปจากการก่อความรุนแรง ที่ยึดฐานจากปัญหาในเรื่องเชื้อชาติและก่อความรุนแรงในระดับต่ำไป เป็นลักษณะที่บ่งชี้ถึงการทำจิฮาดที่ขยายวงกว้างเป็นระดับภูมิภาคมากขึ้น

ในแง่หนึ่งก็เรียกได้ว่า จุดนี้มีเครือข่ายเดิมที่อาจประสานให้ภายนอกเข้ามาช่วยเหลือได้ หากว่ากลุ่มในประเทศไทยจะก่อสายสัมพันธ์ระหว่างมุสลิมไทยบางรายกับสมาชิกเจไอ ซึ่งที่จริงถือได้ว่านับย้อนหลังไปได้เกือบยี่สิบปี ตอนที่พวกเขาร่วมกันฝึกอบรมในค่ายที่นำโดยผู้นำมูจาฮีดีน อับดุล ราซุล ไซยยาฟ ที่บริเวณพรมแดนอาฟกานิสถานและปากีสถาน. อับดุลฟาตาจากนราธิวาส กับคนไทยอีก 2 คนคือ อับดุลฮาฟิส กับฟูรกอน เข้าอบรมที่นั่นภายใต้การนำของหัวหน้ากิจการการทหารของเจไอ คือ ซูร์คาเนน เมื่อ 2530

30 ปีต่อมา อับดุลฟาตา กับ อับดุลฮาฟิส ดูเหมือนจะกลายเป็นตัวแทนพูโลเข้าร่วมการประชุมของกลุ่มราบิตาตุล มูจาฮิดีน (Rabitatul Mujahidin / RM หรือกลุ่มสันนิบาติมูจาฮิดีน) อย่างน้อยก็ 2 ครั้งในมาเลเซีย ซึ่งถือว่าเป็นความพยายามของเจไอที่จะรวมกลุ่มบรรดากลุ่มมุสลิมที่ใช้กำลังในระดับภูมิภาค แต่ว่าไม่สำเร็จ (1) จากการบอกเล่าของคนที่เข้าร่วมการประชุมรายหนึ่งระบุว่า ในห้วงเวลานั้นตัวแทนจากไทยทั้ง 2 รายไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรง แม้ว่าโดยตัวของกลุ่มเองคือ ราบิตาตุล มูจาฮิดีน จะเห็นด้วยก็ตาม ต่อมามีสมาชิกเจไอคนหนึ่งอ้างว่า การโจมตีทูตฟิลิปปินส์ในกรุงจาการ์ต้า อินโดนีเซีย เมื่อเดือนกันยายนปี 2543 เป็นผลมาจากการพบปะกันของกลุ่ม RM นี้เอง (2)

ยังมีคนไทยอื่นๆ อีกที่เข้ารับการฝึกอบรมที่อาฟกานิสถานเมื่อในราว 10 กว่าปีที่แล้ว รวมทั้งสมาชิกกลุ่ม GMIP นะซอรี เซะเซ็ง กับนะแซ สานิง มีรายงานว่า มีคนเชื้อสายอินโดนีเซียชื่อ มุคตาร์ ร่วมอยู่ในปฏิบัติการของกลุ่ม GMIP ในนราธิวาสเมื่อปลายปี 2546 ถ้าเป็นเรื่องจริง เรื่องนี้ก็นับว่าเป็นตัวอย่างอีกอันหนึ่งของความสัมพันธ์ที่เริ่มต้นขึ้นในอาฟกานิสถาน (3)

ฮัมบาลี ผู้นำเจไอ ซึ่งตอนนี้อยู่ในการควบคุมตัวของสหรัฐกับมุคลาส หนึ่งในกลุ่มผู้ลงมือระเบิดที่บาหลี ทั้งสองคนดูเหมือนจะมีเครือข่ายกับคนในไทยค่อนข้างหนาแน่น ฮัมบาลีเองถูกจับในไทยเมื่อเดือนสิงหาคม 2546 ตามรายงานของ จนท.ตร.อินโดนีเซียระบุว่า ในเดือนกันยายน 2543 มุคลาสส่งโมหะหมัด อาสมี สมาชิกเจไอรายหนึ่งจากกลันตันไปยังนราธิวาสพร้อมด้วยจดหมายเป็นภาษาอาราบิค ถึงอับดุลฟาตาขอร้องให้ช่วยเหลือเรื่องการซื้ออาวุธ นายอาสมีตอนนี้อยู่ในการควบคุมตัวของทางการมาเลเซีย

รายงานบอกว่า อาสมีจะได้ทุนจากฮัมบาลี และจะมอบเงินให้ อับดุลฟาตา ซึ่งจะสั่งให้ลูกน้องช่วยจัดหาอาวุธให้ เมื่อได้อาวุธแล้วจึงจะแจ้งอาสมีซึ่งจะเป็นคนนำกลับมาเลเซีย โดยค่อยๆ ทะยอยขนไป ในช่วงเวลาประมาณ 7 เดือน อาสมีนำอาวุธกลับไปเป็นปืนรีวอลเวอร์กับปืนพก 13 กระบอก ส่วนใหญ่นำไปให้กับครูคนหนึ่งที่โรงเรียนกินนอนของเจไอในกลันตันชื่อ Lukmanul Hakiem Pesantren

นอกจากนี้ยังมีการเรียกตัวอาสมีให้ไปช่วยจัดการเรื่องการเดินทางข้ามพรมแดน จากมาเลเซียเข้านราธิวาสให้กับนายฮัมบาลี แต่เป้าหมายการเดินทางยังไม่ชัดว่าเพื่ออะไร อย่างไรก็ตาม พอถึงปลายปี 2544 เมื่อสิงคโปร์กับมาเลเซียปราบปรามเจไออย่างหนัก ไทยก็กลายเป็นที่หลบซ่อนตัวไป เส้นสายของนายฮัมบาลีก็ถูกใช้เพื่อการนี้เช่นเดียวกับอีกหลายโยงใย

สมาชิกเจไอในสิงคโปร์คือ นายอาลีฟิน บิน อาลี หรือ จอน หว่อง อาหุง เป็นหนึ่งในกลุ่มที่หนีผ่านมาเลเซียเข้าไทยเมื่อเดือนธันวาคม 2544 (4) ทางการสิงคโปร์ระบุว่า เขาพยายามจะจัดตั้งหน่วยของเจไอขึ้นในนราธิวาส และสารภาพว่า เขากับคนไทยอีก 3 คนคือ นพ.แวมะหะดี แวดาโอ๊ะ จากอำเภอเมือง นราธิวาส ไมซูรุ หะยีอับดุลเลาะ ประธานโรงเรียนบูรณะอิสลาม นราธิวาส และ สมาน แวกะจิ อาชีพขายน้ำอัดลมจากยะลา วางแผนจะใช้ระเบิดซุกซ่อนในรถ และไประเบิดหน้าสถานทูตสหรัฐฯ อังกฤษ และอิสราเอล รวมทั้งสิงคโปร์ และออสเตรเลียในกรุงเทพฯ พร้อมๆ กันกับที่สถานที่ท่องเที่ยวในภูเก็ตและพัทยา. นพ.แวมะหะดี ไมซูรี กับลูกชายคือ มูญาฮิดพ ถูกจับที่นราธิวาสเมื่อเดือนมิถุนายน 2546 (5) ส่วนนายสมานเข้ามอบตัวเมื่อเดือนกรกฏาคม (6) บุคคลทั้ง 4 ถูกตั้งข้อหาเมื่อ 18 พย. 2546 ในฐานสมคบกันกระทำการที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ และเป็นสมาชิกกลุ่มนอกกฏหมาย (7)

ผู้นำระดับสูงอีกหลายคนของเจไอ จากกลุ่ม Mantiqi I ที่เป็นสาขาที่ครอบคลุมมาเลเซียและสิงคโปร์ได้เข้ามาหลบซ่อนตัวในประเทศไทยด้วย ในระหว่างที่มีการปราบหนัก ดูเหมือนฮัมบาลีจะจัดการให้มีการนำเงิน 25,000 ดอลลาร์ที่ได้รับจากอัลไคด้าเพื่อใช้ในการปฏิบัติการ นำไปฝากไว้กับกลุ่มมุสลิมในนราธิวาสที่สมาชิกเจไอเรียกกันว่ากลุ่ม "เจมา ซาลาฟี" (Jemaah Salafi) ซึ่งไม่ชัดนักว่า คำนี้หมายความถึงองค์กรใดองค์กรหนึ่ง หรือว่าเป็นแต่เพียงศัพท์ที่หมายความถึงคนที่ยึดแนวทางของอิสลามที่เรียกกันว่าซาลาฟีที่ค่อนข้างเคร่ง. เจมาซาลาฟีทำหน้าที่เป็นนายธนาคารยามฉุกเฉินให้กับสมาชิกเจไอที่หลบหนีการจับกุม (8)

มุคลาส มาถึงประเทศไทยเมื่อเดือนมกราคม 2545 หลังจากนั้นอีกไม่นานก็มีอีก 3 คนตามมา เรียกว่าก้าวไวกว่า ตร.มาเลเซียแค่ก้าวเดียว พวกเขาคือวัน มิน สมาชิกเจไอจากรัฐยะฮอร์ กับอีก 2 คนที่ต่อมาเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เพราะบทบาทในการระเบิดที่จาการ์ต้าเมื่อปี 2546 และ 2547 นั่นคือ ดร.อาซฮารี ฮูซิน กับ นูรดิน โมฮัมเหม็ด ทอป. เดือนถัดมาฮัมบาลีจัดประชุมขึ้นในกรุงเทพฯ มีมุคลาส ฮัมบาลี อาซฮารี นูรดิน และวัน มิน เข้าร่วมประชุมหารือกันเรื่องก้าวต่อไปของพวกเขา จุดนี้ไม่ชัดเจนว่ามีคนไทยเข้าร่วมประชุมหรือไม่ แต่ทุกคนที่เข้าร่วมประชุมดูเหมือนจะอาศัยอยู่ในประเทศไทยช่วงนั้น (9)

เดือนมีนาคมปี 2545 มุคลาสตัดสินใจเดินทางกลับอินโดนีเซีย, วัน มินได้รับคำสั่งให้ติดต่อกลุ่มเจมาซาลาฟีเพื่อดึงเงินบางส่วนออกมาใช้. วัน มินพบกับมุคลาสที่สถานีขนส่งรถโดยสารที่ยะลาส่งมอบเงินให้จำนวนม 15,500 ดอลลาร์ เงินที่เหลือที่ยังอยู่ในมือเจมาซาลาฟี ได้รับการโอนให้กับมุคลาสเมื่อเขาเดินทางถึงอินโดนีเซีย เงินพวกนั้นกลายเป็นค่าใช้จ่ายในการวางระเบิดที่บาหลี

นอกเหนือจากสายสัมพันธ์การเป็น "ศิษย์เก่าอาฟกัน"ที่วางรากฐานในช่วงสิบถึงยี่สิบกว่าปีที่แล้ว อินโดนีเซียกับไทยยังโยงใยกันผ่านกลุ่มคนรุ่นใหม่กว่าที่พบกันที่การาจีและคันดาฮาร์ ช่วงประมาณปี 2543 ซึ่งมีส่วนช่วยขยายเครือข่าย. ในส่วนของอินโดนีเซียกลุ่มนี้รวมไปถึงน้องชายของนายฮัมบาลี คือ กุน กุน. กุน กุน ถูกจับที่การาจีเมื่อเดือนกันยายน 2546 พร้อมกับกลุ่มวัยรุ่นมุสลิมจากมาเลเซียและอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นหน่วยหนึ่งของเจไอนั่นเอง เมื่อถามว่าติดต่อพี่ชายครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ เขาบอกว่า ได้รับอีเมล์เมื่อเดือนมีนาคม 2546 "พี่ผมบอกในอีเมล์ว่า เขาอยู่ที่คาบสมุทรอัลบายัน ผมเดาว่าเขาคงอยู่ในประเทศไทย เพราะผมรู้ว่ามีกลุ่มศึกษาอัลบายัน ซึ่งสมาชิกเป็น นศ.ไทยที่เคยไปการาจีมาแล้ว" (10)

ในที่สุดฮัมบาลีถูกจับไม่ไกลจากกรุงเทพฯนักคือที่อยุธยา แต่ห่างจากจังหวัดมุสลิมทางภาคใต้ร่วมพันกม. รายงานระบุว่าเขาให้ข้อมูลกับ จนท.สอบปากคำชาวอเมริกันว่า กลุ่มก่อการในภาคใต้ของไทยไม่ยอมช่วยเขาระเบิดสถานที่ท่องเที่ยวในไทยเพราะ "พวกนั้นไม่เห็นด้วยกับการกำหนดเป้าหมาย" (11)

ดังนั้นจะเห็นได้ว่ากลุ่มเจไอมีเส้นสายการติดต่อในภาคใต้ของไทย ที่สาวย้อนหลังไปได้เกือบ 20 ปี แต่อย่างที่กล่าวคือ ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า กลุ่มนี้มีส่วนร่วมอย่างชัดเจนในเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้น แต่ถึงกระนั้นความวิตกที่ว่ากลุ่มก่อการร้ายระดับภูมิภาคหรือระดับนานาชาตื อาจจะแทรกซึมเข้ามาในไทยก็ขยายวงโดยเฉพาะเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2548 เมื่อมีการใช้รถลอบวางระเบิดนอกโรงแรมที่สุไหงโกลกที่ชายแดนติดมาเลเซีย ขนาดของระเบิดและระดับของเทคโนโลยีแตกต่างไปจากระเบิดครั้งก่อนๆ แต่ถึงกระนั้นก็ไม่ได้เป็นเครื่องพิสูจน์แต่อย่างใดว่าจะมีคนภายนอกเข้ามาเกี่ยวข้อง

สิ่งที่ควรจะพิจารณาอย่างหนึ่งก็คือ การดูลักษณะของการติดต่อระหว่างเจไอกับกลุ่มอื่นๆ เช่นกลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยอิสลามโมโร หรือ MILF และกลุ่มอาบูซายาฟ หรือ ASG ในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ เพื่อที่จะได้ทำความเข้าใจว่า สายสัมพันธ์แบบเดียวกันอาจจะเกิดขึ้นในภาคใต้ของไทยได้อย่างไร. ในฟิลิปปินส์นั้น กลุ่มเจไอใช้วิธีจัดคนที่ทำหน้าที่ประสานงานของตนให้ทำงานกับตัวแทนของ MILF และ ASG ช่วยเหลือในการวางแผน การอบรมทางเทคนิค และประสานงาน

ดูเหมือนเจไอจะไม่ได้พยายามเข้าไปครอบงำหรือแสดงอิทธิพลต่อการวางเป้าหมาย หรือแนวคิดของกลุ่มเหล่านี้ เพียงแต่ช่วยให้กลุ่มเหล่านั้นทำงานวางระเบิดได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การเพิ่มประสิทธิภาพในการโจมตีพลเรือนไม่ว่าจากกรณีใด จะทำให้สถานการณ์ภาคใต้ทรุดหนักลงอย่างแน่นอน

บทสรุป
รากเหง้าของปัญหาความรุนแรงในภาคใต้ของไทยอยู่ที่ความไม่พอใจอันเกิดมาจากปัญหาในอดีต การถูกทอดทิ้ง การเลือกปฏิบัติที่มีตลอดมารวม ทั้งความพยายามของรัฐบาลที่จะบีบบังคับให้รวมตัว อันเป็นความพยายามที่ย้อนหลังกลับไปได้เกือบจะร้อยปีก็ว่าได้ แต่ทั้งนี้ความไม่พอใจจากในอดีตก็ยังไม่เป็นคำอธิบายได้ว่า ทำไมเหตุรุนแรงจึงได้ปะทุขึ้นในทันทีในปี 2547 ประเด็นนี้จุดสำคัญที่น่าจะช่วยให้อธิบายได้แต่ยังหาคำตอบไม่ได้ ...นั่นคือใครอยู่เบื้องหลังการปล้นปืนเมื่อเดือนมกราคม 2547

อย่างไรก็ตามส่วนหนึ่งที่ชัดแล้ว ก็คือการประเมินสถานการณ์ที่ผิดพลาด การใช้นโยบายในการตอบโต้ที่ไม่เหมาะสม และการใช้กำลังเกินควร รวมทั้งความไม่โปร่งใสในส่วนของรัฐบาลทักษิณ ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ทำให้ปัญหาความมั่นคงที่แม้จะเป็นปัญหาที่หนักแต่น่าจะจัดการได้ กลายไปเป็นเรื่องที่ทำท่าว่าขยายเป็นการลุกฮือที่มีฐานสนับสนุนจากรากหญ้าในวงกว้างมากขึ้นไปทุกที

ในระยะสั้น เหตุการณ์รุนแรงนี้ดูเหมือนจะไม่มีผลกระทบที่ชัดเจนต่อเสถียรภาพของรัฐบาลทักษิณ…. หรือหากจะมี นายกรัฐมนตรีทักษิณอาจจะได้ประโยชน์จากการที่ใช้นโยบายแข็งกร้าวในเรื่องภาคใต้ด้วยซ้ำ จะเห็นได้จากการที่ได้คะแนนเสียงท่วมท้นจากการเลือกตั้งเมื่อเดือน กพ. ปี 2548 (12) แต่การที่ไม่สามารถจะแก้ปัญหาลดความรุนแรงลงได้ก็อาจจะส่งผลกระเทือนอย่างสำคัญ ทั้งในแง่ของในพื้นที่ที่จะยิ่งทำให้มีแรงหนุนเพื่อแยกตัวตั้งรัฐมุสลิมอิสระ รวมทั้งทำลายความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนคนมาเลย์มุสลิมกับคนไทยพุทธ ในแง่ระดับภูมิภาคก็จะกระทบด้วย ไม่ใช่แค่ทำให้ความสัมพันธ์ไทยและมาเลเซีย ซึ่งเป็นที่หลบซ่อนของบรรดาผู้นำมุสลิมเรื่อยมาเย็นชาลงเท่านั้น แต่ยังมีโอกาสที่จะดึงเอาพวกนักสู้จิฮาดจากประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค โดยเฉพาะจากอินโดนีเซียเข้ามาร่วมวงด้วย

นายกรัฐมนตรีทักษิณกับบรรดาที่ปรึกษา อาจจะได้ประโยชน์จากการย้อนกลับไปดูนโยบายสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ในช่วงราว 20 ปีที่แล้ว ซึ่งตอนนั้นพูดง่ายๆ ก็คือ รัฐบาลยื่นข้อเสนอคืนดีกันให้กับกลุ่มแบ่งแยกดินแดน แม้การต่อต้านจะไม่หมดไปเสียทีเดียว แต่ความรุนแรงก็ลดระดับลงอย่างมากชนิดที่ว่าในปี 2542 เมื่อผู้นำไทยมุสลิมที่สนิทสนมกับกลุ่มเจมาอิสลามิยาหรือเจไอ ได้รับการร้องขอให้เข้าร่วมในปฏิบัติการระดับภูมิภาค พวกเขาปฏิเสธ ด้วยเหตุผลที่ว่าชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขาในประเทศไทยนั้นดีอยู่แล้ว และไม่ต้องการปัญหา มาถึงวันนี้มีโอกาสมากว่า ผู้นำเหล่านั้นจะหันไปหาวิธีคิดที่แรงมากขึ้น

บทสัมภาษณ์ต่างๆ ที่กลุ่มไครซิสกรุ๊ปได้ทำไป ล้วนแล้วแต่แสดงให้เห็นว่า การที่รัฐบาลทักษิณพึ่งพิงวิธีการใช้กำลัง และการที่นายกรัฐมนตรีไม่เอาผิดผู้บัญชาการระดับสูง ตลอดจนการที่ไม่สอบสวนอย่างจริงจังกับกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่างๆ ได้ผลักดันมุสลิมให้รู้สึกเห็นใจคนที่วางระเบิดหรือใช้ความรุนแรงอื่นๆ รวมทั้งการสังหารที่กลายเป็นเรื่องประจำวันในนราธิวาส ยะลา และปัตตานีมากขึ้นทุกที

แม้จะไม่ถึงขั้นลงไม้ลงมือสนับสนุนก็ตาม การกระทำเหล่านี้แน่นอนเป็นการก่อคดีที่ จนท.รัฐจะต้องสอบสวนและลงโทษผู้กระทำ แต่การระบุตัว จับกุมและลงโทษคนทำจะทำได้ยากขึ้นทุกที หากคนทั่วไปไม่พอใจและโกรธแค้นมากขึ้นต่อนโยบายที่ออกมาจากรัฐบาลในกรุงเทพฯ

คนทั่วไปคงจะเข้าใจได้ว่า กลุ่มที่ลงมือวางระเบิดและสังหารต่างๆ หวังจะฉกฉวยประโยชน์จากมาตรการตอบโต้ที่รุนแรงของรัฐ ซึ่งจะกระตุ้นความรู้สึกอย่างน้อยก็แบ่งแยกดินแดนหรืออย่างมากก็คือทำจิฮาดหรือสงครามศาสนา ตอนนี้เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับรัฐบาลแล้วว่า ต้องการจะยุติวงจรของความรุนแรงด้วยการใช้มาตรการที่ผ่านการกลั่นกรอง ชนิดที่จะแก้ปัญหาความมั่นคงได้ แต่ในขณะเดียวกันก็จัดการกับความไม่พอใจทางการเมืองที่สั่งสมมานานไปด้วย

รัฐบาลควรจะปรึกษาบรรดาผู้นำในท้องถิ่นให้มาก เพื่อเป็นการเปิดให้มีการเจรจาหารือ ผลการเลือกตั้งเมื่อเดือน กพ.ปี 2548 ชี้ว่าความรุนแรงและความแตกแยกที่รุนแรงขึ้นในพื้นที่ภาคใต้นั้น ไม่ได้กระทบโอกาสทางการเมืองของรัฐบาลทักษิณ อย่างไรก็ตาม ในระยะยาว คนที่จะได้รับผลกระทบจากปัญหาภาคใต้ อาจจะไม่ใช่นายกรัมนตรีทักษิณแต่ว่าคือประเทศไทยนั่นเอง

สิงคโปร์ / บรัสเซลล์ 18 พค. 2548

+++++++++++++++++++++++++

คลิกกลับไปทบทวตั้งแต่ตอนที่ ๑

เชิงอรรถ

(1) Crisis Group Asia Report) ฉบับที่ 43, Indonesia Backgrounder: How the Jemaah Islamiyah Terrorist Network Operates, 14 ธค. 2545, หน้า 8 อ้างอิงหมายเลข 36

(2) คำให้การของ Faiz Abu Bakar Bafana, 22 ตค. 2545, ข้อมูลจากเอกสารคดี Abu Bakar Ba'asyir, แผนกสอบสวนคดีอาญา, กรมตำรวจอินโดนีเซีย (2546), คดีหมายเลข BP/01/1/2003/Dit-1

(3) Davis, 'Thailand's Troubled South', อ้างแล้ว

(4) กระทรวงมหาดไทยสิงคโปร์, 'Press Statement on the Arrest of Jemaah Islamiyah Fujitive- Arifin bin Ali alias John Wong', 10 มิย. 2546

(5) อารีฟินสารภาพด้วยว่าเขาติดต่อกับลูกชายของไมซูรี คือมูยาฮี หะยี อับดุลเลาะ แต่มูยาฮีไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการวางแผนโจมตี 'Trial of JI Suspects: Extreme chaos' planned', The Nation, 29 พย. 2547

(6) 'Thaksin convinced of suspects terror links', The Nation, 10 กค. 2547

(7) พตอ.พีระพงษ์ ดวงอัมพร จากหน่วยตำรวจลับให้การ "เข้ม ขจก.ป่วนฮารีรายอ" คมชัดลึก, 19 พย.2546; สุภลักษณ์กับดอน, อ้างแล้ว หน้า 250; 'Bomb Plot: Teacher denies role in embassy plan', The Nation, 16 มีค. 2548; นพ.แวมะหะดี ยังเจอข้อหาว่าให้ที่หลบซ่อนแก่อารีฟินด้วย นพ.แวมะหะดีและมัยซูรุปฏิเสธข้อกล่าวหาทุกข้อเมื่อปรากฏตัวในศาลเดือนธันวาคม 2546 และกุมภาพันธุ์ 2547, 'JI terror suspect denies all charges', The Nation, 2 กพ. 2548

(8) จากเอกสารการให้ปากคำของ Wan Min bin Wan Mat, 8 มค. 2546,ในคดีหมายเลข BP/06/II/2003 แผนกสอบสวนคดีอาญา, กรมตำรวจอินโดนีเซีย (2547)

(9) จากเอกสารการให้ปากคำของWan Min bin Wan Mat, 2 สค. 2547 ในคดีหมายเลข BP/07/V/2004/Densus 88 แผนกสอบสวนคดีอาญา, กรมตำรวจอินโดนีเซีย (2547)

(10) จากเอกสารคำให้การของ Gun- Gun Rusman Gunawan, เอกสารคำให้การ 20 มค. 2547 ในคดีหมายเลข BP/04/111/2004, Densus 88 แผนกสอบสวนคดีอาญา กรมตำรวจอินโดนีเซีย(2547)

(11) 'Targeting Thailand: Are Islamic militants behind the latest wave of attacks and bombings in the country's restless south?', Time Asia, 11 มค. 2547

(12) ถึงจะได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นจากทั่วประเทศ แต่พรรคไทยรักไทยของนายกรัฐมนตรีทักษิณไม่ได้เสียงเลยแม้แต่ที่นั่งเดียวจากสามจังหวัดภาคใต้ ในจำนวนที่นั่งสส. 54 ที่จากจังหวัดภาคใต้สิบสี่จังหวัด พรรคไทยรักไทยได้แค่หนึ่งที่จากจังหวัดพังงาที่ได้รับผลกระทบจากภัยสึนามิ ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ได้ 52 ที่นั่ง และพรรคชาติไทยได้หนึ่ง

++++++++++++++++++++++++++++++++++

GLOSSARY


4th Army Region Military administrative region covering Thailand's fourteen southern provinces.
9th Police Region Police administrative region covering Pattani, Yala, Narathiwat, Satun and Songkhla.

Abadae Short name for Hikmat Allah Abadan, the Brotherhood of Eternal Judgement of God, the group responsible for the 28 April 2004 attacks.

BBMP Barisan Bersatu Mujahidin Patani, United Patani Mujahidin Front, an off-shoot of BNPP (below), which broke away in 1985.
Bersatu "Unity", umbrella organisation set up to coordinate the activities of the various separatist groups and factions in 1989; largely ineffective except during the 1997-1998 campaign known as "Falling Leaves", targeting state officials.
Currently led by Wan Kadir Che Man, based in Sweden.
BIPP Barisan Islam Pembebasan Patani, Patani Islamic Liberation Front, the new name for BNPP after 1986, the year following the split-off of BBMP.
BNPP Barisan Nasional Pembebasan Patani, Patani National Liberation Front, established in 1959 to fight for the creation of an independent Islamic State in Patani.
BRN Barisan Revolusi Nasional, established in the early 1960s, to fight for an independent Patani state; ethnonationalist with socialist bent. Split in the 1980s into three factions, one of which, BRN-Coordinate, is believed to be directing a significant proportion of the current violence.
BRN Congress Armed faction of BRN that broke away in 1984, led by Che Kupeng alias Rosa Buraso, until he died in April 2005; also has expatriate leadership in Europe, but no military presence in Thailand.
BRN- Coordinate Faction of BRN that broke away in 1980, led by "Haji M", focused on political organising in Islamic schools; also had armed units. Now led by Masae Useng, and -- allegedly -- Sapae-ing Basoe.
BRN Ulama Non-violent faction of BRN comprised of Islamic clergy. Led by Wan Muhamad Wan Yusuf, in Perak, Northern Malaysia.

CPM Communist Party of Malaysia, many units of which were based in southern Thailand (mostly Yala's Betong province) in the 1970s and 1980s.
CPM 43 Civil-Police-Military joint command (established to coordinate security policy in the five southernmost provinces in 1980; disbanded in 2002).
CPT Communist Party of Thailand.

Eid ul Fitr Celebration at the end of the Muslim fasting month of Ramadan.

GAMPAR Gabungan Melayu Patani Patani Raya, the Greater Patani Malay Association, established in 1948 to incorporate Thailand's four majority Muslim provinces into Malaya; disbanded when its leader, Tengku Ismail bin Tengku Nik, died in 1953. Many of its members then joined BNPP.

GMIP Gerakan Mujahidin Islam Patani, Patani Islamic Mujahidin Movement, originally established in 1986 but had petered out by 1993. Nasoree Saesang (alias Awae Keleh) reinvigorated the movement in 1995 upon his return from Afghanistan. It is committed to the creation of an independent Patani state but appears to be more closely tied in to an international Islamist agenda than BRN or New PULO. GMIP is believed to be behind arms raids in 2001, 2002 and 2003 as well as to have had some role in the 4 January 2004 attack on Rachanakarin camp.

KMM Kumpulan Mujahidin Malaysia, Malaysian Mujahidin Group, established in 1995 by Afghanistan veterans including Zainol. Nik Adili Aziz joined KMM upon his return to Malaysia in 1996.

New PULO Splinter group of PULO, which broke away in 1995 under the leadership or Arong Mooreng and Haji Abdul Rohman Bazo (alias Haji Buedo).
NRC National Reconciliation Commission, established March 2005.

Pemuda Separatist youth movement, believed to be partially controlled by BRN-Coordinate; responsible for many of the day-to-day bombing and arson attacks.
PSTI Private School Teaching Islam, a private school, partly state funded, that teaches the national curriculum as well as Quranic and Arabic language studies. Most were ponohs that converted after the 1961 Education Improvement Program. In Thai, a rongrian ekachon son satsana Islam.
Ponoh Religious boarding school teaching Quranic studies and the Arabic language.
PULO Patani United Liberation Organisation, established in 1968 to fight for the creation of an independent Islamic state but which was more ethnonationalist than Islamist.

Qadi Sharia (Islamic law) judge.

RTA Royal Thai Army.
RTP Royal Thai Police.

Salafism A puritanical Islamic movement that uses the practices of the Prophet Muhammad and his companions in the seventh century as a guide to how Islam should be practiced today.
SBPAC Southern Border Provinces Administrative Centre, established in 1981 to coordinate and monitor policy; dissolved on 1 May 2002.
SBPPBC Southern Border Provinces Peace Building Command, integrated military-police command set up in April 2004.
syahid Martyr.
syariah Sharia, Islamic law.

tadika Small rural religious school attached to village mosque, generally for young children.
Tok Guru Head teacher (and usually owner) of a ponoh.
TRT Thai Rak Thai, Prime Minister Thaksin's political party.

ustadz Religious teacher (in a ponoh, PSTI or tadika).

Zikir Recitation of the name of Allah.


ABOUT THE INTERNATIONAL CRISIS GROUP
The International Crisis Group (Crisis Group) is an independent, non-profit, non-governmental organisation, with over 100 staff members on five continents, working through field-based analysis and high-level advocacy to prevent and resolve deadly conflict.

Crisis Group's approach is grounded in field research. Teams of political analysts are located within or close by countries at risk of outbreak, escalation or recurrence of violent conflict. Based on information and assessments from the field, it produces analytical reports containing practical recommendations targeted at key international decision-takers. Crisis Group also publishes CrisisWatch, a twelve-page monthly bulletin, providing a succinct regular update on the state of play in all the most significant situations of conflict or potential conflict around the world.

Crisis Group's reports and briefing papers are distributed widely by email and printed copy to officials in foreign ministries and international organisations and made available simultaneously on the website, www.crisisgroup.org. Crisis Group works closely with governments and those who influence them, including the media, to highlight its crisis analyses and to generate support for its policy prescriptions.

The Crisis Group Board -- which includes prominent figures from the fields of politics, diplomacy, business and the media -- is directly involved in helping to bring the reports and recommendations to the attention of senior policy-makers around the world. Crisis Group is chaired by Lord Patten of Barnes, former European Commissioner for External Relations. President and Chief Executive since January 2000 is former Australian Foreign Minister Gareth Evans.

Crisis Group's international headquarters are in Brussels, with advocacy offices in Washington DC (where it is based as a legal entity), New York, London and Moscow. The organisation currently operates seventeen field offices (in Amman, Belgrade, Bishkek, Cairo, Dakar, Dushanbe, Islamabad, Jakarta, Kabul, Nairobi, Port-au-Prince, Pretoria, Pristina, Quito, Seoul, Skopje and Tbilisi), with analysts working in over 50 crisis-affected countries and territories across four continents. In Africa, this includes Angola, Burundi, C?te d'Ivoire, Democratic Republic of the Congo, Eritrea, Ethiopia, Guinea, Liberia, Rwanda, the Sahel region, Sierra Leone, Somalia, Sudan, Uganda and Zimbabwe; in Asia, Afghanistan, Indonesia, Kashmir, Kazakhstan, Kyrgyzstan, Myanmar/Burma, Nepal, North Korea, Pakistan, Tajikistan, Turkmenistan and Uzbekistan; in Europe, Albania, Armenia, Azerbaijan, Bosnia and Herzegovina, Georgia, Kosovo, Macedonia, Moldova, Montenegro and Serbia; in the Middle East, the whole region from North Africa to Iran; and in Latin America, Colombia, the Andean region and Haiti.

Crisis Group raises funds from governments, charitable foundations, companies and individual donors. The following governmental departments and agencies currently provide funding: Agence Intergouvernementale de la francophonie, Australian Agency for International Development, Austrian Federal Ministry of Foreign Affairs, Belgian Ministry of Foreign Affairs, Canadian Department of Foreign Affairs and International Trade, Canadian International Development Agency, Czech Ministry of Foreign Affairs, Dutch Ministry of Foreign Affairs, Finnish Ministry of Foreign Affairs, French Ministry of Foreign Affairs, German Foreign Office, Irish Department of Foreign Affairs, Japanese International Cooperation Agency, Liechtenstein Ministry of Foreign Affairs, Luxembourg Ministry of Foreign Affairs, New Zealand Agency for International Development, Republic of China (Taiwan) Ministry of Foreign Affairs, Royal Danish Ministry of Foreign Affairs, Royal Norwegian Ministry of Foreign Affairs, Swedish Ministry for Foreign Affairs, Swiss Federal Department of Foreign Affairs, Turkish Ministry of Foreign Affairs, United Kingdom Foreign and Commonwealth Office, United Kingdom Department for International Development, U.S. Agency for International Development.

Foundation and private sector donors include Atlantic Philanthropies, Carnegie Corporation of New York, Ford Foundation, Bill & Melinda Gates Foundation, William & Flora Hewlett Foundation, Henry Luce Foundation Inc., Hunt Alternatives Fund, John D. & Catherine T. MacArthur Foundation, John Merck Fund, Charles Stewart Mott Foundation, Open Society Institute, David and Lucile Packard Foundation, Ploughshares Fund, Sigrid Rausing Trust, Sasakawa Peace Foundation, Sarlo Foundation of the Jewish Community Endowment Fund, United States Institute of Peace and Funda??o Oriente.

May 2005
Further information about Crisis Group can be obtained from website: www.crisisgroup.org

+++++++++++++++++++++++++++

CRISIS GROUP REPORTS AND BRIEFINGS ON ASIA SINCE 2002

CENTRAL ASIA
The IMU and the Hizb-ut-Tahrir: Implications of the Afghanistan Campaign, Asia Briefing N?11, 30 January 2002 (also available in Russian)
Central Asia: Border Disputes and Conflict Potential, Asia Report N?33, 4 April 2002
Central Asia: Water and Conflict, Asia Report N?34, 30 May 2002
Kyrgyzstan's Political Crisis: An Exit Strategy, Asia Report N?37, 20 August 2002
The OSCE in Central Asia: A New Strategy, Asia Report N?38, 11 September 2002
Central Asia: The Politics of Police Reform, Asia Report N?42, 10 December 2002
Cracks in the Marble: Turkmenistan's Failing Dictatorship, Asia Report N?44, 17 January 2003
Uzbekistan's Reform Program: Illusion or Reality?, Asia Report N?46, 18 February 2003 (also available in Russian)
Tajikistan: A Roadmap for Development, Asia Report N?51, 24 April 2003
Central Asia: Last Chance for Change, Asia Briefing N?25, 29 April 2003

Radical Islam in Central Asia: Responding to Hizb ut-Tahrir, Asia Report N?58, 30 June 2003
Central Asia: Islam and the State, Asia Report N?59, 10 July 2003
Youth in Central Asia: Losing the New Generation, Asia Report N?66, 31 October 2003
Is Radical Islam Inevitable in Central Asia? Priorities for Engagement, Asia Report N?72, 22 December 2003
The Failure of Reform in Uzbekistan: Ways Forward for the International Community, Asia Report N?76, 11 March 2004
Tajikistan's Politics: Confrontation or Consolidation?, Asia Briefing N?33, 19 May 2004
Political Transition in Kyrgyzstan: Problems and Prospects, Asia Report N?81, 11 August 2004
Repression and Regression in Turkmenistan: A New International Strategy, Asia Report N?85, 4 November 2004 (also available in Russian)
The Curse of Cotton: Central Asia's Destructive Monoculture, Asia Report N?93, 28 February 2005
Kyrgyzstan: After the Revolution, Asia Report N?97, 4 May 2005

NORTH EAST ASIA
Taiwan Strait I: What's Left of "One China"?, Asia Report N?53, 6 June 2003
Taiwan Strait II: The Risk of War, Asia Report N?54, 6 June 2003
Taiwan Strait III: The Chance of Peace, Asia Report N?55, 6 June 2003
North Korea: A Phased Negotiation Strategy, Asia Report N?61, 1 August 2003
Taiwan Strait IV: How an Ultimate Political Settlement Might Look, Asia Report N?75, 26 February 2004
North Korea: Where Next for the Nuclear Talks?, Asia Report N?87, 15 November 2004
Korea Backgrounder: How the South Views its Brother from Another Planet, Asia Report N?89, 14 December 2004 (also available in Korean and in Russian)
North Korea: Can the Iron Fist Accept the Invisible Hand?, North East Asia Report N?96, 25 April 2005

SOUTH ASIA
Pakistan: The Dangers of Conventional Wisdom, Pakistan Briefing N?12, 12 March 2002
Securing Afghanistan: The Need for More International Action, Afghanistan Briefing N?13, 15 March 2002
The Loya Jirga: One Small Step Forward? Afghanistan & Pakistan Briefing N?17, 16 May 2002
Kashmir: Confrontation and Miscalculation, Asia Report N?35, 11 July 2002
Pakistan: Madrasas, Extremism and the Military, Asia Report N?36, 29 July 2002
The Afghan Transitional Administration: Prospects and Perils, Afghanistan Briefing N?19, 30 July 2002
Pakistan: Transition to Democracy? Asia Report N?40, 3 October 2002
Kashmir: The View From Srinagar, Asia Report N?41, 21 November 2002
Afghanistan: Judicial Reform and Transitional Justice, Asia Report N?45, 28 January 2003
Afghanistan: Women and Reconstruction, Asia Report N?48. 14 March 2003 (also available in Dari)

Pakistan: The Mullahs and the Military, Asia Report N?49, 20 March 2003
Nepal Backgrounder: Ceasefire - Soft Landing or Strategic Pause?, Asia Report N?50, 10 April 2003
Afghanistan's Flawed Constitutional Process, Asia Report N?56, 12 June 2003 (also available in Dari)
Nepal: Obstacles to Peace, Asia Report N?57, 17 June 2003
Afghanistan: The Problem of Pashtun Alienation, Asia Report N?62, 5 August 2003
Peacebuilding in Afghanistan, Asia Report N?64, 29 September 2003
Disarmament and Reintegration in Afghanistan, Asia Report N?65, 30 September 2003
Nepal: Back to the Gun, Asia Briefing N?28, 22 October 2003
Kashmir: The View from Islamabad, Asia Report N?68, 4 December 2003
Kashmir: The View from New Delhi, Asia Report N?69, 4 December 2003

Kashmir: Learning from the Past, Asia Report N?70, 4 December 2003
Afghanistan: The Constitutional Loya Jirga, Afghanistan Briefing N?29, 12 December 2003
Unfulfilled Promises: Pakistan's Failure to Tackle Extremism, Asia Report N?73, 16 January 2004
Nepal: Dangerous Plans for Village Militias, Asia Briefing N?30, 17 February 2004 (also available in Nepali)
Devolution in Pakistan: Reform or Regression?, Asia Report N?77, 22 March 2004
Elections and Security in Afghanistan, Asia Briefing N?31, 30 March 2004
India/Pakistan Relations and Kashmir: Steps toward Peace, Asia Report N?79, 24 June 2004
Pakistan: Reforming the Education Sector, Asia Report N?84, 7 October 2004
Building Judicial Independence in Pakistan, Asia Report N?86, 10 November 2004
Afghanistan: From Presidential to Parliamentary Elections, Asia Report N?88, 23 November 2004

Nepal's Royal Coup: Making a Bad Situation Worse, Asia Report N?91, 9 February 2005
Afghanistan: Getting Disarmament Back on Track, Asia Briefing N?35, 23 February 2005
Nepal: Responding to the Royal Coup, Asia Briefing N?35, 24 February 2005
Nepal: Dealing with a Human Rights Crisis, Asia Report N?94, 24 March 2005
The State of Sectarianism in Pakistan, Asia Report N?95, 18 April 2005

SOUTH EAST ASIA
Indonesia: The Search for Peace in Maluku, Asia Report N?31, 8 February 2002
Aceh: Slim Chance for Peace, Indonesia Briefing, 27 March 2002
Myanmar: The Politics of Humanitarian Aid, Asia Report N?32, 2 April 2002
Myanmar: The HIV/AIDS Crisis, Myanmar Briefing N?15, 2 April 2002
Indonesia: The Implications of the Timor Trials, Indonesia Briefing N?16, 8 May 2002
Resuming U.S.-Indonesia Military Ties, Indonesia Briefing N?18, 21 May 2002
Al-Qaeda in Southeast Asia: The case of the "Ngruki Network" in Indonesia, Indonesia Briefing N?20, 8 August 2002
Indonesia: Resources and Conflict in Papua, Asia Report N?39, 13 September 2002
Myanmar: The Future of the Armed Forces, Asia Briefing N?21, 27 September 2002
Tensions on Flores: Local Symptoms of National Problems, Indonesia Briefing N?22, 10 October 2002

Impact of the Bali Bombings, Indonesia Briefing N?23, 24 October 2002
Indonesia Backgrounder: How the Jemaah Islamiyah Terrorist Network Operates, Asia Report N?43, 11 December 2002
Aceh: A Fragile Peace, Asia Report N?47, 27 February 2003 (also available in Indonesian)
Dividing Papua: How Not to Do It, Asia Briefing N?24, 9 April 2003
Myanmar Backgrounder: Ethnic Minority Politics, Asia Report N?52, 7 May 2003
Aceh: Why the Military Option Still Won't Work, Indonesia Briefing N?26, 9 May 2003 (also available in Indonesian)
Indonesia: Managing Decentralisation and Conflict in South Sulawesi, Asia Report N?60, 18 July 2003
Aceh: How Not to Win Hearts and Minds, Indonesia Briefing N?27, 23 July 2003
Jemaah Islamiyah in South East Asia: Damaged but Still Dangerous, Asia Report N?63, 26 August 2003
The Perils of Private Security in Indonesia: Guards and Militias on Bali and Lombok, Asia Report N?67, 7 November 2003

Indonesia Backgrounder: A Guide to the 2004 Elections, Asia Report N?71, 18 December 2003
Indonesia Backgrounder: Jihad in Central Sulawesi, Asia Report N?74, 3 February 2004
Myanmar: Sanctions, Engagement or Another Way Forward?, Asia Report N?78, 26 April 2004
Indonesia: Violence Erupts Again in Ambon, Asia Briefing N?32, 17 May 2004
Southern Philippines Backgrounder: Terrorism and the Peace Process, Asia Report N?80, 13 July 2004 (also available in Bahasa)
Myanmar: Aid to the Border Areas, Asia Report N?82, 9 September 2004
Indonesia Backgrounder: Why Salafism and Terrorism Mostly Don't Mix, Asia Report N?83, 13 September 2004
Burma/Myanmar: Update on HIV/AIDS policy, Asia Briefing N?34, 16 December 2004
Indonesia: Rethinking Internal Security Strategy, Asia Report N?90, 20 December 2004
Recycling Militants in Indonesia: Darul Islam and the Australian Embassy Bombing, Asia Report N?92, 22 February 2005
Decentralisation and Conflict in Indonesia: The Mamasa Case, Asia Briefing N?37, 3 May 2005

OTHER REPORTS AND BRIEFINGS
For Crisis Group reports and briefing papers on:

- Africa
- Europe
- Latin America and Caribbean
- Middle East and North Africa
- Thematic Issues
- CrisisWatch
please visit our website www.crisisgroup.org

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

 

คลิกไปที่ กระดานข่าวธนาคารนโยบายประชาชน

นักศึกษา สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์




สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1100 เรื่อง หนากว่า 18000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com

 

 

power-sharing formulas, options for minority rights, and constitutional safeguards.

บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด. สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com (กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)

ขณะที่อีกด้าน บรรดาเพื่อนบ้านของไทยต่างก็กังวลว่า ความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นอาจจะชักนำให้เกิดการสนับสนุนแนวคิดสุดโต่งในศาสนาอิสลาม หรือไม่ก็ดึงเอากลุ่มนักรบศาสนาอย่างเช่นกลุ่มเจมาห์ อิสลามิยาห์ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย แม้ว่าจนถึงขณะนี้จะยังไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีคนนอกเข้ามาเกี่ยวข้องก็ตาม ในด้านตัวปฏิบัติการเองก็มีความสลับซับซ้อนและมีอาการของการประสานงานที่ดีขึ้นเรื่อยๆ โดยมีการใช้โทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เนทเข้าช่วย และเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในประเทศไทย ที่ซึ่งมีระบอบประชาธิปไตย และที่ซึ่งมีการใช้แนวทางแก้ปัญหาอย่างแข็งกร้าว

25-02-2550

Southern Thailand
The Midnight University

 

H
R
ทุกท่านที่ประสงค์จะติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน กรุณาจดหมายไปยัง email address ใหม่ midnightuniv(at)gmail.com