ทฤษฎีแบ่งแยกจากข้อเท็จจริงประวัติศาสตร์
บาร์บารา
วิททิงนั่ม-โจนส์ : ปตานีรัฐมลายูนอกมลายา
ความเป็นมาของทฤษฎี "แบ่งแยกดินแดน"
ในภาคใต้ไทย
(๖)
ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ
โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา
คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทความบนหน้าเว็บเพจนี้
ได้รับมาจากผู้เขียน
โดยกองบรรณาธิการได้ทะยอยนำออกเผยแพร่ในลักษณะชุดบทความว่าด้วย
-ความเป็นมาของทฤษฎีแบ่งแยกในภาคใต้ไทย-
เพื่อประโยชน์แห่งความรู้ และวัฒนธรรมการเรียนรู้ความเข้าใจ
ในปัญหาภาคใต้จากความจริงจากชุดคำอธิบายของนักประวัติศาสตร์
สำหรับในส่วนสุดท้ายนี้ เป็นบทความของบรร์บารา วิททิงนั่ม โจนส์
ผู้สื่อข่าวอิสระชาวอังกฤษ ซึ่งเขียนขึ้นหลังจากเดินทางเข้าไปดูสถานการณ์และข้อเท็จจริงในปัตตานีในเดือนตุลาคม
พ.ศ. ๒๔๙๐ บทความนี้ทั้งหมดถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ สเตรทไทมส์ ของสิงคโปร์
ในวันที่ ๓๐ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๔๗ หน้า ๘
และบทความชิ้นนี้ได้ถูกอ้างเป็นหลักฐานในการฟ้องร้องฮัจญีสุหลงกับพวกในข้อหา
"ตระเตรียมและสมคบกันคิดการจะเปลี่ยนแปลงราชประเพณีการปกครอง และเพื่อให้เอกราชของรัฐเสื่อมเสียไปและเพื่อให้เกิดเหตุร้ายแก่ประเทศจากภายนอก"
midnightuniv(at)gmail.com
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้
ได้มีการแก้ไขและตัดแต่งไปจากต้นฉบับบางส่วน
เพื่อความเหมาะสมเป็นการเฉพาะสำหรับเว็บไซต์แห่งนี้
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๑๕๑
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่
๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ
๒๑.๕ หน้ากระดาษ A4)
+++++++++++++++++++++++++++++++++++
คลิกกลับไปทบทวนตอนที่
๑
คลิกกลับไปทบทวนตอนที่
๒
คลิกกลับไปทบทวนตอนที่
๓
คลิกกลับไปทบทวนตอนที่
๔
คลิกกลับไปทบทวนตอนที่
๕
บาร์บารา วิททิงนั่ม-โจนส์ : ปตานีรัฐมลายูนอกมลายา
(1)
ความเป็นมาของทฤษฎี
"แบ่งแยกดินแดน" ในภาคใต้ไทย
(๖)
ความนำ
บทความแปลข้างล่างนี้เป็นข้อเขียนของ บาร์บารา วิททิงนั่ม โจนส์ ผู้สื่อข่าวอิสระชาวอังกฤษ
ซึ่งเขียนขึ้นหลังจากเดินทางเข้าไปดูสถานการณ์และข้อเท็จจริงในปัตตานีในเดือนตุลาคม
พ.ศ. ๒๔๙๐ บทความนี้ทั้งหมดถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ สเตรทไทมส์ ของสิงคโปร์
ในวันที่ ๓๐ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๔๗ หน้า ๘ รวมทั้งมีภาพของผู้เขียนอยู่ด้วย
การนำบทความเก่านี้มาตีพิมพ์ซ้ำอีกครั้ง เพื่อต้องการเสนอข้อมูลขั้นต้นชิ้นหนึ่งในปัญหาความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ใหม่ๆ เพราะจุดนี้เป็นการเริ่มต้นของปัญหาความไม่สงบและปัญหาการเมืองของสี่(ต่อมาสาม) จังหวัดชายแดนภาคใต้จนกระทั่งปัจจุบัน(พ.ศ. ๒๕๔๘) (2)
ที่สำคัญคือบทความชิ้นนี้ถูกอ้างเป็นหลักฐานในการฟ้องร้องฮัจญีสุหลงกับพวกในข้อหา "ตระเตรียมและสมคบกันคิดการจะเปลี่ยนแปลงราชประเพณีการปกครอง และเพื่อให้เอกราชของรัฐเสื่อมเสียไปและเพื่อให้เกิดเหตุร้ายแก่ประเทศจากภายนอก" หลังจากศาลรับฟังคำฟ้องของโจทก์พร้อมพยานหลักฐานต่างๆ คือการที่ฮัจญีสุหลงประชุมปลุกปั่นราษฎรที่สุเหร่าปรีกี ตำบลกระโด อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี และมีการพิมพ์หนังสือฉันทานุมัติ เพื่อให้ราษฎรลงนามอันมีข้อความที่จะก่อให้เกิดความกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงกับจะก่อความไม่สงบขึ้นในแผ่นดินนั้น ล้วนเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่มีน้ำหนักและพยานหลักฐานอ่อน
ฝ่ายโจทก์จึงขอให้พิจารณาหลักฐานอื่นเพิ่ม ตรงนี้เองที่ข้อเขียนของ บาร์บารา วิททิงนั่ม โจนส์ กลายเป็นหลักฐานอีกชิ้นที่แสดงถึงการโจมตีข้าราชการและรัฐบาลไทย ทั้งบทความนี้ยังตีพิมพ์ในต่างประเทศ และถูกขยายต่อไปในหนังสือพิมพ์มลายูอื่นๆ อีก (3)
ในประเด็นนี้ศาลชั้นต้นมีความเห็นว่า การที่ฮัจญีสุหลงและพวกไปต้อนรับนางบาร์บารา วิททิงนั่ม โจนส์(หรือมิสโจนส์) "ไม่สามารถนำสืบให้ชัดเจนว่าจำเลยทั้งสองบอกเล่าอะไรให้มิสโจนส์ฟังบ้าง อีกทั้งหะยีสุหลงแถลงต่อศาลว่าพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ส่วนมิสโจนส์ก็พูดภาษามลายูไม่ได้เช่นกัน เวลาจะพูดอะไรกันก็จะชี้คำในปทานุกรมอังกฤษ-มลายู ด้วยเหตุนี้ศาลจึงพิจารณาว่า การที่โจทก์นำสืบไม่ได้ว่ามีการพูดจาอะไรกันบ้าง จะสันนิษฐานเอาว่าข้อความที่มิสโจนส์เขียนลงในหนังสือพิมพ์สเตรทไทมส์ฉบับดังกล่าวนั้น เป็นข้อความที่จำเลยบอกเล่านั้นย่อมฟังไม่ได้ เพราะผู้เขียนอาจจะเขียนเกินเลยจากความรู้ ความเห็นและการสังเกต" (4)
อย่างไรก็ตาม ในที่สุดหลังจากศาลตัดสินลงโทษจำเลยอย่างไม่หนักเท่าที่โจทก์ได้คาดหวังไว้ ก็อุทธรณ์ไปถึงศาลชั้นบน คราวนี้ผลออกมาว่า ฮัจญีสุหลงกระทำการละเมิดกฎหมาย ในการเชื้อเชิญให้มะไฮยิดดินมาเป็นผู้นำตามข้อเรียกร้องข้อที่ ๑ การที่ศาลอุทธรณ์สามารถหาความผิดให้แก่คำเรียกร้อง ๗ ข้อได้นั้น ก็ด้วยการนำเอาข้อเขียนของมิสโจนส์ ที่กล่าวถึงความทารุณต่างๆในสี่จังหวัดภาคใต้ ซึ่งเป็นการเมืองอันมีการกระทำมุ่งหวังจะให้คนคล้อยเชื่อตามนั้น จนอาจจะต้องใช้การต่อสู้ของประชาชนก็ตาม มาเป็นพยานหลักฐานหนึ่งในการลงโทษ
ตรรกของศาลไทยสมัยนั้นคือ การหาว่าฮัจญีสุหลงและพวกกระทำการ "นอกเหนือไปจากรัฐธรรมนูญและกฎหมายไทย" อย่างไรบ้าง กิจกรรมทั้งหลายของจำเลยจึงถูกนำมาทำให้เป็น "การเมือง" ในทรรศนะของรัฐไทยไปหมด ที่ประหลาดก็คือ การเรียกร้องสิทธิมนุษยชนของชาวมลายูมุสลิมภาคใต้นั้น ก็เป็นการกระทำที่ "นอกเหนือรัฐธรรมนูญ" สมัยนั้นไปด้วย รวมทั้งการประพฤติปฏิบัติตามศาสนาด้วย ประเด็นหลังนี้ยิ่งไปกันใหญ่
เพราะพยานโจทก์นายหนึ่งคือนายอุดม บุณยประกอบ อดีตข้าหลวงตรวจการกระทรวงมหาดไทยภาค ๕ ให้การว่า "ทางภาคใต้ ๔ จังหวัดนี้ ศาสนากับการปกครองแยกกันไม่ออก" ดังนั้นศาลอุทธรณ์จึงมีความเห็นว่า "ขณะใดที่มีการกล่าวถึงศาสนานั้นก็มีการเมืองการปกครองรวมอยู่ด้วย" เท่านั้นเอง การเคลื่อนไหวในที่ประชุมชนอะไรของฮัจญีสุหลงก็กลายเป็น "การเมือง" ไปหมด รวมถึงใบปลิว จดหมายและข้อเขียนอะไรที่ออกไปจากจำเลย ก็กลายเป็นการเมืองไป นั่นคือนอกเหนือรัฐธรรมนูญและกฎหมายไทย แม้ว่าเรื่องที่จำเลยร้องเรียนจะเป็นความจริง และเป็นการเรียกร้องในสิทธิของมนุษยชนก็ตาม ก็เป็นความผิดตามเหตุผลของรัฐไทย
ศาลอุทธรณ์จึงพิพากษาเป็นเอกฉันท์เพิ่มโทษเฉพาะฮัจญีสุหลงให้จำคุกมีกำหนด ๗ ปี แต่เนื่องจากจำเลยให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดี จึงลดโทษฐานปรานีให้ ๑ ใน ๒ เหลือจำคุกมีกำหนด ๔ ปี ๘ เดือน ศาลฎีกาก็พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์
ปตานี รัฐมลายูนอกมลายา
(5)
โดยบาร์บารา วิททิงนั่ม-โจนส์
ข้าพเจ้าลงรถไฟที่สถานีโคกโพธิ์ เป็นสถานีหยุดพักเล็กๆ ห่างจากสถานีชุมทางหาดใหญ่ ๕ ไมล์ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ จากนั้นก็เริ่มการเดินทาง ๒๕๐ ไมล์ไปตามถนน ที่ส่วนมากเต็มไปด้วยหลุมและร่องดินลึกเท่าล้อรถ และข้ามสะพานหลายแห่งที่ทำง่ายๆ เพียงปูด้วยลำต้นของไม้
ในที่ๆ ไกลเช่นโคกโพธิ์ ข้าพเจ้ายังรู้สึกชัดๆ ว่าอยู่ในดินแดนสยาม เป็นดินแดนของวัดข้างทางและสมณะในจีวรสีเหลือง ดินแดนของเสียงในภาษาไทย และของเครื่องแบบเป็นตะวันตก ซึ่งถูกกำหนดขึ้นในระเบียบการว่าด้วยการแต่งกาย ของรัฐสยามที่มาจากการรัฐประหารจากปี ค.ศ. ๑๙๓๕(พ.ศ. ๒๔๗๘) (6) แต่ลึกลงไปทางใต้อีกสิบไมล์ ทันใดนั้นทัศนียภาพทั้งหลายก็เปลี่ยนไปทันที เครื่องแต่งกายแบบยุโรปหายไป ชนบทหมู่บ้านเต็มไปด้วยโสร่งสีสดใส ของผู้คนซึ่งประกาศศรัทธาในศาสนาอิสลาม แม้คุณจะยังเห็นวัดและจีวรสีเหลืองกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป แต่นี่คือดินแดนของผ้าคลุมศีรษะและผ้ากูเปี๊ยะฮ์กับฮัจญีในชุดกาวน์สีขาวที่สะดุดตา
อีกสิ่งที่ไม่เหมือนอีกต่อไปก็คือการเปลี่ยนของภาษา ในท้องถิ่นนี้ภาษาที่ใช้ในการพูดและทำความเข้าใจกันมีเพียงภาษามลายูเท่านั้น นั่นคือบัดนี้คุณเข้ามาอยู่ในรัฐมลายูเก่าแก่ของปตานีแล้ว ภายหลังการพังทะลายของอาณาจักรมะละกา ซึ่งเป็นอาณาจักรยิ่งใหญ่สุดของบรรดารัฐมลายูในคาบสมุทรแห่งนี้ ครอบครองชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกทั้งหมดไปไกลถึงปะหังหรือกระทั่งยะโฮร์ ปตานีในช่วงเวลาหนึ่งเคยเป็นใหญ่สุด
กล่าวโดยย่อ ข้าพเจ้าได้ก้าวข้ามชายแดนที่มองไม่เห็น แม้มันไม่ได้บรรจุอยู่ในแผนที่ปัจจุบัน แต่มันก็เป็นชายแดนในประวัติศาสตร์และทางชาติพันธ์ที่แบ่ง "เมืองไทย" ออกจาก "เนกรี มลายู". การเข้าไปในดินแดนปตานี ทำให้ข้าพเจ้าได้เข้าไปในดินแดนตะวันตกเฉียงเหนือสุดของโลกมาเลย์เซีย
ปตานีไม่ได้ดำรงความเป็นรัฐเอกเทศในปี ค.ศ. ๑๙๐๒ เมื่อมันถูกแบ่งแยกโดยสยาม และถูกกลืนอย่างเป็นส่วนๆ เข้าไปในระบบการบริหารปกครองของสยาม ในเวลานั้นอดีตรัฐมลายูของปตานีถูกแบ่งแยกออกเป็นเมืองเล็กๆ หลายเมือง สามแห่งอยู่ในชายฝั่งตะวันออก คือปตานี นราธิวาส และยะลา ทั้งหมดมีดินแดนรวมกัน ๔,๒๕๕ ตารางไมล์ ในชายฝั่งตะวันตกคือสะตูล มีดินแดนทั้งหมด ๕,๔๔๖ ตารางไมล์
ปัจจุบันนี้ดินแดนของสามเมืองรู้จักกันในนามของอาณาจักรปตานี ซึ่งเมื่อรวมกันเข้ากับสะตูลแล้ว เป็นดินแดนมลายูล้วนๆ ที่คลุมพื้นที่ในคาบสมุทรมลายูจากช่องแคบมะละกาถึงทะเลจีนใต้
จากการเดินทางขึ้นและลงทั่วบริเวณ ข้าพเจ้าได้เห็นพื้นที่ถูกทอดทิ้งแห่งแล้วแห่งเล่า ซึ่งอดีตเคยเป็นวังของรายาที่ถูกทำลายโดยชาวสยาม รวมกระทั่งที่แห่งหนึ่งซึ่งคนบอกว่า เป็นราชสำนักของราชินีปตานีผู้มีชื่อเสียงหลายองค์ในศตวรรษที่ ๑๗
ในปตานีที่ฝังศพของอดีตรายา ซึ่งเป็นอนุสรณ์ทำด้วยหินที่ยังหลงเหลือ ยังเป็นสถานที่เคารพของผู้คนอยู่, ในกลางเมือง เขานำข้าพเจ้าไปดู "โกดังปตานี" บนสองฝั่งของร่องน้ำแคบๆ ครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ตั้งของโกดังอังกฤษและดัตช์มากมาย สมัยเมื่อปตานียังเป็นเมืองท่าสำคัญระหว่างมะละกากับญี่ปุ่น. บนเส้นทางไปยังบางนรา ข้าพเจ้าเห็นกำแพงของมัสยิด ซึ่งเริ่มก่อสร้างเมื่อราว ๕๐๐ ปีก่อนโน้น แต่ไม่สำเร็จ เพราะตามตำนานเล่าว่าไม่ว่าจะสร้างขึ้นมาใหม่ครั้งใด มัสยิดนั้นก็พังทะลายลงมาทุกทีไป
พวกญี่ปุ่นไม่มีความลำบากในการบุกเข้าประเทศ และนอกจากช่วงสั้นๆ ที่กองกำลังสัมพันธมิตรยึดครองยะลาแล้ว ปตานีไม่ได้ถูกทำลายในสงครามเลย
คนมลายูถูกดูถูก
ในประชากรทั้งหมดของ ๗ แสนคน, คนที่ไม่ใช่มลายูไม่ได้มีมากไปกว่าร้อยละห้า การปกครองโดยสยามปัจจุบันนี้
อยู่ภายใต้การควบคุมของเครือข่ายน้อยนิดของข้าหลวง ตำรวจและข้าราชการอื่นๆ. ทุกหนทุกแห่งที่ข้าพเจ้าไปถึง
มีแต่เรื่องราวอันเดียวกันของการกดขี่อย่างเป็นระบบ และการรณรงค์โดยจงใจที่จะลดความเป็นชาติของประชากรเหล่านั้นเสีย
ความไม่พอใจลึกๆเกิดขึ้นจากการห้ามไม่ให้ศึกษาภาษามลายู การห้ามไม่ให้มีโรงเรียนมลายูได้รับการผ่อนปรนในช่วงหลังสงครามโลกใหม่ๆ
ในขณะที่สถานะของสยามยังเป็นประเทศศัตรูอยู่ ขณะนี้ถูกนำมาใช้อีกแล้ว
ตลอดทางข้าพเจ้าเห็นอาคารโรงเรียนต่างๆ ถูกปิดและทิ้งให้ร้าง แม้กระทั่งโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามแท้ๆ ก็ยังถูกรวมเข้าไปในคำสั่งห้ามด้วย. แม้โรงเรียนมลายูหนึ่งหรือสองแห่งยังเปิดทำการอยู่ โดยเฉพาะในยะลาและในบางนรา(นราธิวาส) หลายแห่งถูกบีบให้ต้องปิดตัวลงวันหรือสองวันก่อนหน้าที่ข้าพเจ้าจะเดินทางมาถึง
จากการที่ชาวมลายูปฏิเสธที่จะส่งลูกหลานของตนไปเข้าโรงเรียนสยาม(ไทย) และจนบัดนี้ก็ปฏิเสธอย่างดื้อดึงที่จะมีความรู้ในภาษาไทย แม้เพียงแค่การพูดอย่างง่ายๆ ก็ตาม (ตลอดการเดินทางของข้าพเจ้า ๆพบเพียงฮัจญีคนเดียวเท่านั้น เขาเคยเป็นข้าราชการในอำเภอมาก่อน ที่สามารถอ่านและพูดภาษาไทยได้) การขาดการศึกษาดังกล่าวนี้ เป็นการฉุดรั้งการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจทั้งหมดของพวกเขาโดยสิ้นเชิง
ผลที่ตามมาก็คือ ช่องว่างระหว่างชาวมลายูท้องถิ่นกับผู้ยึดครองชาวสยามถ่างออกมากขึ้นตามลำดับ และชาวอาณานิคมสยามแสดงอาการดูถูกคนมลายูอย่างซึ่งหน้า ว่าเป็นชนชาติของชาวนาที่ไม่รู้หนังสือและเสื่อมถอย จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่บางคนของกลุ่มที่เป็นหัวกบฎและถูกมองว่าเป็นพวกนอกสังคม จะกลายเป็นศัตรูของสังคมไปด้วย โดยการเข้าร่วมการลักลอบขนของเถื่อน โจรสลัด และการปล้นทรัพย์
การแบล็กเมล์
ในขณะที่โจรกรรมไม่ใช่กิจกรรมผูกขาดของชนชาติหนึ่งชาติใด ไม่ว่าสยาม จีน หรือมลายู
แต่การคอรัปชั่นในระดับชาติของเจ้าหน้าที่ไทย ที่ได้รับการตอกย้ำจากอคติทางเชื้อชาติ
นำไปสู่การทำให้คนมลายูแห่งปะตานีตกเป็นเหยื่อของการแบล็กเมล์ ของการให้ร้ายป้ายสี
และการตอบโต้อย่างต่อเนื่อง ด้วยข้อหาเพียงว่าให้ที่หลบซ่อนแก่แก๊งมิจฉาชีพ ซึ่งทางการชอบมากกว่าการจับกุมตามคำสั่งศาล
เจ้าหน้าที่ตำรวจสยามก็ทำการเผาหมู่บ้านราบเป็นหน้ากลอง ทำการขู่กรรโชกเจ้าของร้านค้าที่ร่ำรวยหน่อย
ให้ต้องจ่ายเงินนับพันบาทสำหรับเป็น "ค่าคุ้มกัน" ทำการใช้กำลังบุกเข้าไปในบ้านคนมลายู
ทุบตีผู้หญิง และฉกฉวยเอาสิ่งของเล็กๆ ที่หยิบติดมือได้ไปด้วยตามความพอใจ
คนจำนวนหนึ่งถูกยิงอย่างหน้าตาเฉยบ่อยๆ หรือไม่ก็หายไป และไม่ได้ยินข่าวของพวกเขาอีกเลย เนื่องจากอยู่ห่างไกลและตัดขาดจากโลกภายนอก ปะตานีไม่อาจช่วยตัวเองให้รอดพ้นจากอำนาจก่อความหวาดกลัวนี้ (this reign of terror) ได้เลย การพูดวิจารณ์รัฐบาลอย่างกลางๆ ก็ถูกตราว่าเป็น "การพูดที่อันตราย" และถูกปิดกั้นด้วยความตายหรือการแบล๊กเมล์(ขู่กรรโชก) ชาวมลายูปตานีไม่มีเสรีภาพในการพูด ไม่มีหนังสือพิมพ์ มีวิทยุไม่กี่เครื่อง และไม่มีกลไกทางการเมืองอะไร
การพูดคืออันตราย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของปะตานีในรัฐสภาส่วนใหญ่แล้วเป็นคนไทย สมาชิกสภาฯที่เป็นคนมลายูซึ่งเคยได้รับการเลือกตั้งก่อนนี้
ต่างเสียหน้าไปตามๆกันเพราะไม่อาจนำความช่วยเหลืออะไรมาให้ได้. สถานที่แห่งเดียวที่ชาวบ้านใช้สำหรับการแสดงความคิดเห็นของพวกเขาคือมัสยิด
และบรรดาผู้นำที่พวกเขายังยอมรับอยู่ก็คือฮัจญี. บางครั้งมีการลักลอบนำเข้าหนังสือพิมพ์ภาษามลายูจากชายแดนมลายา
แต่ข่าวของโลกหรือจริงๆ แล้วคือข่าวท้องถิ่นอันน้อยนิด พวกเขาได้รับผ่านคำพูดหรือจากปากเป็นหลัก
ถึงกระนั้นก็ตาม ระยะเวลากว่ากึ่งศตวรรษของการปราบปรามและทอดทิ้ง การปกครองของสยามก็ประสบความล้มเหลวในการสลายความเป็นชาติของประชาชนแห่งปะตานีลงไปได้ และไม่มีอะไรประทับใจข้าพเจ้ามากไปกว่าความเหนียวแน่นมั่นยืนของพวกเขา ในการเก็บรักษาประเพณีดั้งเดิมทั้งหลายของพวกเขาเอาไว้
ดังตัวอย่างเช่น ในปตานีที่เป็น "สยาม" เรื่องราวของ ฮังตูเวาะฮฺ (Hang Tuah) วีรบุรุษในตำนานของมลายูที่ยิ่งใหญ่ ก็ยังมีชีวิตชีวาเหมือนในมลายา ซึ่งผู้ปกครองชาวอังกฤษที่เป็นนักวิชาการใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ในการรักษามันไว้เช่นกัน
จากสภาพดังกล่าว(ที่ไม่มีสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในปะตานี) ทำให้ในดินแดนนี้ไม่มีซากเดนของการยึดครอง(โดยญี่ปุ่น)และการกลับมายึดครองอีก(โดยมหาอำนาจตะวันตก) ดังที่เกิดขึ้นในที่อื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่มีรถจิ๊ป ไม่มีเครื่องแบบเก่าทิ้งให้ขาด ไม่มีคลังเก็บอาวุธ แทบจะไม่มีรถยนตร์ส่วนตัวแบบไหนๆ ก็ตาม และแน่นอนไม่มีรถใหม่เลยสักคันเดียว
ดังนั้นสิ่งที่สูญเสียไปจึงน่าจะได้แก่การเสียโอกาสในการเอาชนะใจความเห็นของคนข้างนอก ก่อนหน้าที่ข้าพเจ้าจะเข้ามาในดินแดนนี้ ไม่เคยมีผู้สังเกตการณ์ชาวต่างชาติสักคนเดียวเคยย่างกรายเข้ามาในปะตานีนับแต่สงครามมา แม้พวกชาวบ้านรู้ว่าการพูดอะไรออกไปแม้นิดเดียวก็อาจถูกตอบโต้ได้ โดยเฉพาะสำหรับพวกคนเล็กๆ เหล่านั้น แต่ที่จุดหยุดพักทุกแห่ง มีคนห้อมล้อมกันเข้ามาให้ข้อมูลเกี่ยวกับความลำบากต่างๆ ของพวกเขา
อันตรายของการกระทำดังกล่าวได้แสดงออกให้เห็นแล้ว ผลจากการประท้วงอย่างเป็นทางการไปยังรัฐบาลโดยผู้นำศาสนาจากหลายอำเภอ รัฐบาลได้ส่งคณะกรรมการ ลงมาเพื่อทำการสอบสวนสภาวะการณ์โดยทั่วไปของการปกครอง
คำเรียกร้องต่อกรุงเทพฯ
ในเดือนสิงหาคม คณะกรรมการสืบสวนคำร้องทุกข์ ซึ่งเป็นชุดที่สองที่รัฐบาลได้จัดตั้งขึ้นเพื่อทำการสอบสวนข้อกล่าวหาเฉพาะเรื่องต่างๆ
ที่ถูกยกขึ้นมาต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจและข้าราชการอื่นๆ ในการสอบสวนของคณะกรรมการฯชุดที่หนึ่ง
(7) ในระหว่างการสอบสวนนั้น ซึ่งกินเวลาพอสมควร หลายคนได้ถอนตัวออกจากการร้องเรียน
บัดนี้เรื่องร้องเรียนเหล่านั้นก็ถูกนำกลับมาอีกครั้ง
ในระหว่างที่ยังไม่มีมาตรการอะไรที่รัฐบาลลงมือกระทำหลังจากการสอบสวนทั้งหลายแล้ว แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในปตานีคือ การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการตอบโต้ต่อผู้ที่ให้ปากคำแก่คณะกรรมการสอบสวนทั้งหมด ด้วยการเริ่มการปราบใหม่ที่มีทั้งการยิงและการขู่กรรโชก
จุดหมายสูงสุดของคำเรียกร้องเจ็ดประการที่บรรดาผู้นำศาสนาส่งไปให้กรุงเทพฯ เมื่อต้นปีนี้ ซึ่งแม้ไม่อาจระบุได้อย่างชัดเจนในข้อความไม่กี่คำนั้น ก็คือการสร้างใหม่ให้ปตานีเป็นรัฐมลายู(ที่ปกครองตนเอง) ข้อเรียกร้องทั้งหมดมีดังต่อไปนี้ (8)
๑) ให้มีการแต่งตั้งบุคคลผู้หนึ่งซึ่งมีอำนาจเต็มในการปกครองสี่จังหวัดของปตานี นราธิวาส ยะลาและสะตูล โดยเฉพาะให้มีอำนาจในการปลด ยับยั้งหรือแทนที่ข้าราชการรัฐบาลทั้งหมดได้ บุคคลผู้นี้ควรเป็นผู้ที่เกิดในท้องถิ่นในจังหวัดหนึ่งของสี่จังหวัด และได้รับการเลือกตั้งโดยประชาชนเอง
๒) ให้ร้อยละ ๘๐ ของข้าราชการในสี่จังหวัดเป็นผู้นับถือศาสนามุสลิม๓) ให้ภาษามลายูและภาษาไทยเป็นภาษาราชการ
๔) ให้ภาษามลายูเป็นภาษาสำหรับใช้ในการเรียนและสอนในโรงเรียนประถม ๓ โรง(หรือสามระดับ?)
๕) ให้ใช้กฎหมายมุสลิมในศาลมุสลิมที่แยกต่างหากจากศาลแพ่ง ซึ่งกอฎีนั่งร่วมในฐานะผู้ประเมินด้วย
๖) รายได้และภาษีทั้งหมดที่ได้จากสี่จังหวัดให้นำไปใช้ในสี่จังหวัดทั้งหมด
๗) ให้จัดตั้งคณะกรรมการอิสลามที่มีอำนาจเต็มในการกำหนดกิจการมุสลิมทั้งปวง ภายใต้อำนาจสูงสุดของผู้ปกครองรัฐตามระบุในข้อ ๑
คำร้องเรียนเพิ่มเติม(ต้นฉบับไม่ชัด)...ก็คือลัทธิชาตินิยมมลายูควรระบุให้เป็นหลักการชี้นำของนโยบายในสี่จังหวัดทั้งหมด
ผู้นำจากการเลือกตั้ง
จากการเจรจาไม่เป็นทางการกับกระบอกเสียงของกรุงเทพฯ ชี้ให้เห็นว่าสยามเต็มใจที่จะยอมรับข้อเรียกร้องทั้งหมดยกเว้นข้อแรก
(9) แต่ปตานีก็รู้ดีเช่นเดียวกับกรุงเทพฯว่า ข้อแรกนั้นเป็นกุญแจสำคัญของเรื่องทั้งหมด
ดังนั้นแทนที่จะถูกเกลี้ยกล่อมให้เลิกข้อเรียกร้องข้อที่ ๑ ลงไปเสีย ชาวบ้านจึงพากันเลือกตั้งให้เจ๊ะ
มาห์มุด มะไฮยิดดิน บุตรชายคนเล็กสุดของรายาอับดุลกาเดร์ รายาองค์สุดท้ายของปตานี
ให้เป็นผู้นำของผู้รักชาติปตานีทั้งหลาย
สำหรับคนมลายูทุกเชื้อชาติ
มะไฮยิดดินเป็นบุคคลที่รู้จักกันดี เขาเป็นเจ้ามลายูคนแรกที่เข้าไปทำธุรกิจก่อนสงคราม(โลกครั้งที่
๒) เขาสร้างธุรกิจการส่งออกและสั่งสินค้าเข้าที่ใหญ่มากในกลันตัน เมื่อเข้าทำราชการในกลันตัน
เขาเป็นผู้นำในการพัฒนาการศึกษา โดยเฉพาะของสตรี.
ในปี ค.ศ. ๑๙๔๒ เขาเข้าร่วมกองกำลังอาสาสมัครในกลันตัน และถอยหนีเข้าไปในคาบสมุทร
จากความกล้าหาญและสร้างสรรค์ในงานการกู้ภัย เมื่อกรุงกัวลาลัมเปอร์ถูกทำลายด้วยระเบิดจากเครื่องบิน
เขาได้รับเหรียญ M.B.E.
ต่อจากนั้นเขาได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ควบคุมสถานีวิทยุมลายูในอินเดีย หลังจากนั้นเข้าร่วมกองกำลัง 136 และได้รับงานในหลายๆ ภารกิจในตะวันออกกลางและในกรุงลอนดอน. ปัจจุบันนี้เขาพำนักอยู่ในคฤหาสน์เนื้อที่ ๗๕ เอเคอร์ของเขาในจินตา เบอราไฮ(พีซีบี) ที่ซึ่งเขาก่อสร้าง คาดว่าจะเป็นรีสอร์ตชายทะเลที่คึกคักแห่งใหม่ในมลายา พีซีบี.ตั้งอยู่ห่างจากโกตาบารูไปตามชายฝั่งกลันตัน ๗ ไมล์ เป็นจุดศูนย์รวมที่แท้จริงของความรู้สึกชาตินิยมปตานี และบังเอิญอย่างยิ่งที่ สถานที่นี้ก็เป็นแม่เหล็กดึงดูดสายลับคนไทยทั้งหลายด้วย
บุคลิกอันมีพลวัตร
ทั่วทั้งดินแดน "อาณาจักรปตานี" ชื่อของมะไฮยิดดินเป็นของขลัง จนทำให้การพูดถึงชื่อนี้ต้องกระทำด้วยการกระซิบ
แต่ด้วยบุคลิกอันมีพลวัตรของเขา ผู้เป็นนักมหาชนรัฐ อดีตลูกเจ้าเมืองคนนี้ได้ประกาศเลิกฐานะดังกล่าวเพื่อการบรรลุหลักการประชาธิปไตยของเขา
ดังนั้นความหวังของปตานีจึงเกิดขึ้นได้
หากมองดูแผนที่อย่างคร่าวๆ ก็จะเห็นได้ว่าอนาคตของปตานีจะอยู่กับหนึ่งในสองเพื่อนบ้านผู้ทรงอำนาจมากกว่า สยามในทิศเหนือและมลายาในทางใต้. ความคิดที่ว่าสยามจะยอมรับการก่อตั้งรัฐมลายูที่เป็นตัวของตัวเอง โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เชื้อสายของเจ้าเมืองเก่า ซึ่งก็เป็นผู้นำที่ประชาชนนับถืออยู่ด้วยนั้น ดูจะเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ใคร่ได้
ทางเลือกในการสร้างชาติพันธุ์ให้เป็นอันหนึ่งเดียวกัน จะทำได้ด้วยการผนวกรัฐปตานีเข้ากับสหพันธรัฐมลายา โครงการนี้เคยมีการพูดถึงมากกว่าหนึ่งครั้งแล้วเหมือนกัน การกระทำดังกล่าวจะสร้างความแข็งแกร่งให้กับฐานะของคนมลายู ๒ ล้าน ๕ แสนคนในมลายา เมื่อเทียบกับประชากรจีนจำนวน ๒ ล้าน ๕ แสนคน อันจะทำให้คนมลายูกลายเป็นคนส่วนมากไป หากเพิ่มอีก ๗ แสนคน ดังนั้นจะแก้อุปสรรคในการรับเอาสิงคโปร์เข้ามาในสหพันธรัฐด้วย
สถานีชุมทางหาดใหญ่ในสยาม เป็นจุดเชื่อมโยงอันเดียวระหว่างทางรถไฟในชายฝั่งทะเลตะวันออกของมลายา กับทางรถไฟในชายฝั่งตะวันตก ในการเดินทางเร็วๆ นี้จากโกตาบารูในกลันตันไปอะลอสะตาร์ในเคดาห์ เมื่อถึงสถานีทุกแห่งในปตานีที่รถไฟหยุด ดะโต๊ะออนน์ถูกรุมล้อมด้วยคนมลายูปตานี เรียกร้องให้พรรคอัมโนให้การสนับสนุนพวกเขา
การเชื่อมต่อกับอินโดนีเซีย?
แม้ว่าจะมีความเป็นปฏิปักษ์อย่างแรงต่อสยาม บางคนในปตานีก็ยังลังเลที่จะโยนชะตากรรมทั้งหมดของพวกเขาไปกับบริติชมลายา
แต่เหตุการณ์ในสองปีที่ผ่านมา ได้เปิดความเป็นไปได้ทางที่สามขึ้นมา แม้จะไกล
ก็ยังไม่ปรากฏให้เห็นก่อนปี ค.ศ.๑๙๔๕ นั่นคือการเชื่อมปตานีเข้ากับอินโดนีเซีย
ในทางใต้ ปตานีแยกออกจากกลันตันที่สุไหงโกลกซึ่งเป็นเส้นแดนตามธรรมชาติ แต่นอกจากเจ้าหน้าที่ด่านศุลกากรของแต่ละชาติ และธงชาติสยามในทิศเหนือและธงบริติชในทิศใต้แล้ว ไม่มีอะไรที่บอกนักท่องเที่ยวว่าเขาหรือเธอได้ออกจากประเทศหนึ่งและผ่านเข้าไปยังอีกประเทศหนึ่ง. เครื่องแต่งกาย ภาษา ศาสนาและขนบธรรมเนียม ทั้งหมดนั้นล้วนเหมือนกันในสองเขตแดน คนมลายูปตานีกับคนมลายูกลันตันยังผูกพันกันยิ่งขึ้นไปอีกจากการแต่งงาน ระหว่างกัน ไม่มีเส้นพรมแดนอะไรที่จะทำตามใจหรือ "ไม่เป็นธรรมชาติ" ยิ่งไปกว่าการแบ่งแยกของแผนที่ของเราในปัจจุบัน
+++++++++++++++++++++++++++++++++
ต้นฉบับภาษาอังกฤษ
The Straits Times. October 30, 1947. P. 8.
PATANI-MALAY STATE OUTSIDE
MALAYA
By BARBARA WHITTINGHAM-JONES
The writer has just arrived in Singapore after making a 250-mile tour through
Patani, the old Malay state in Southern Siam, and is the first newspaper correspondent
who has traveled overland from Siam to Malaya down the Siam-Malay Peninsula
since the war.
I left the train at Koke Poh, a small halt some 5- miles southeast of Haadyai Junction, then began a 250-mile journey along roads often gutted by wheel-deep chasms and over bridges consisting simply of loosely-laid tree trunks.
As far as Koke Poh I was clearly still in Siam, the land of the wayside wat and yellow-robed pongyi, of the Siamese tongue and the uniform western attire prescribed by the sartorial edicts of Coup d'Etat Siam since 1935.
But ten miles further south the scene suddenly changes. European dress disappears. The countryside blooms in the brightly-painted sarong, the debonair songkok proclaims the faith of Islam.
Though you may still observe a sprinkling of wats and yellow robes, this is the land of turban and kupiah and imposing white-gowned haji.
Equally abrupt is the change of language. In this country only Malya is soplen or understood. For now you are in the old Malay State of Patani, after the fall of Malacca the greatest of all Malay States in the Peninsula over whose entire east coast as far as Pahang, or even Johore. Patani at one time held sway.
In short, I had crossed an invisible frontier which, though it does not appear on our contemporary maps is the ethnological and historic frontier dividing 'Muang Thai' from 'Negri Melayu.'
In entering Patani I had entered the north-west extremity of the Malaysian world.
Patani ceased to exist as a separate state in 1902 when it was finally dismembered by Siam and absorbed piecemeal into the Siamese administrative system. At that time the former Malay State of Patani was split up into several small district commissionerships-three on the east coast, Patani, Naradhivas and Yala, comprising an area of 4,255 square miles, and Setul, on the west coast-representing a total area of 5,446 square miles.
Today the first three area is known to the inhabitants as 'Greater Patani.' Together 'Greater Patani' and Setul constitute a solid Malay country straddling the Peninsula from the Malacca Strait to the South China Sea.
Up and down the country I was shown one after another the abandoned sites of the many Kota Raja destroyed by the Siamese, including even the alleged place where the famous 17th century Queens of Patani held their Court.
In Patani the tombs of the former royal rulers, their only surviving monument in stane, are still a venerated shrine. In the centre of the town I was taken to 'Godown Patani,' a narrow creek on whose banks once stood the English and Dutch 'factories' in days when Patani was the main entrepot between Malacca and Japan.
One the way to Bongrara I saw the walls of a mosque which, begun some 500 years ago, was never completed because, according to the legend, however often it was built up it always fell down.
The Japanese did not trouble to penetrate the country and apart from the brief Allied Occupation of Yala, Patani was untouched by war.
Malays Scorned
In a total population of 700,000, non-Malays do not amount to more than five
percent.
Siamese rule in Patani today is nailed down by a skeleton network of Siamese
commissioners, police and other officials.
Everywhere I went it was the same tale of systematic oppression and of a deliberate campaign to de-nationalise the population.
Deepest resentment is aroused by the ban on Malay education. Prohibitions against Malay schools, relaxed in the immediate post-liberation period when Siam was still ex-enemy in status, are now being reinforced.
All along my route I saw school buildings closed and deserted. Even purely Islamic schools are being included in the ban.Although one or two Malay schools still survived, notably in Yala and in Bangnara (Naradhivas), several had been obliged to close down only a day or so immediately preceding my visit.
As the Malays refuse to send their children to Siamese schools, and have so far stubbornly refused to acquired even a rudimentary knowledge of the Siamese language, (during the whole of my visit I found only one haji, a former district officer able to read and write Siamese), this educational starvation is retarding their entire social and economic development.
As a result the gulf between the native Malays and their Siamese conquerors steadily widens and the Siamese colonialists openly scorn their Malay subjects as a race of illiterate and degenerate peasants.
As outcasts of society it is hardly surprising if some of the more rebellious elements have become also enemies of society and taken to smuggling, piracy and gang robbery.
Blackmail
But while banditry is not the monopoly of any one race, Siamese, Chinese or
Malay, the nationwide corruption of Siamese officialdom, reinforced by racial
prejudice, exposes the Malays of Patani to continuous blackmail, victimization
and reprisal.
For alleged harbouring of gang robbers, though without preferring a charge in court, the Siamese police burn kampong to the ground, blackmail the wealthier class of shopkeepers into paying thousands of ticals in 'protection money,' force their way into Malay homes, beat up their women and carry off such of the smaller and moveable goods as they fancy.
Individuals are constantly shot out of hand or simply disappear and are never heard of again.
Because of its complete isolation from the outer world Patani is helpless against this reign of terror. The mildest criticism of the existing regime is classed as 'dangerous talk' and suppressed by death or blackmail. Patani Malays have no freedom of speech, no newspapers, few radio sets, and no political machinery.
Talk Is Dangerous
The Patani representatives in the National Assembly are mostly Siamese, the
Malay members formerly elected having lost face among their compatriots because
of their inability to obtain relief.
Their sole organ of self-expression is the mosque and the only leaders permitted are the hajis.
Occasionally a Malay language newspaper is smuggled across the border from Malaya, but the little news or world or indeed of local affairs they do receive is mainly circulated by word of mouth.
Yet despite more than half-a-century of persecution and neglect Siamese rule has failed to de-nationalise the people of Patani, and nothing impressed me more than the tenacity with which they have preserved their old traditions.
In 'Siamese' Patani,
for example, the story of Hang Tuah, the legendary hero of the great Malay
epic, is as fresh and green as in Malaya where scholarly British administrators
do their utmost to preserve it.
***
Consequently there are none of the spoils of occupation and reoccupation so evident elsewhere in Southeast Asia-no jeeps, no old uniforms to wear out, no store of arms, hardly any private cars of any sort and no new one.
Thus was lost what might have been an opportunity to win the ear of outside opinion. Until my visit no foreign observer has passed through Patani since before the war. Though aware of possible reprisals, especially for the smaller fry, at every stopping place people gathered in a sort of durbar to voice their troubles.
The dangers of such action have already been demonstrated. As the result of formal protests addressed to the Government by the Majlis Ulama of the several districts a Commission of Inquiry was dispatched from Bangkok to investigate the general conditions of administration.
Petition To Bangkok
In August this was followed by a second Commission of Inquiry to investigate
the specific charges raised against the police and other officers before the
first Commission, and though during the period of the inquiry the individuals
complained of were withdrawn, they have since been trickling back. And while
no action has been taken by the Government as the result of the inquiries,
in Patani the police have taken reprisals against all who gave evidence before
the Commissions by launching a fresh campaign of shootings and blackmail.
Though not precisely stated in so many words, the ultimate purpose of the seven-point petition sent up to Bangkok by the Majlis Ulama earlier this year was the reconstruction of Patani as (a self-governing) Malay state. The specific demands were as follows:
(1) The appointment of a single individual with full powers to govern the four districts of Patani, Naradhivas, Yala and Setul, and in particular having authority to dismiss, suspend or replace all government servants, this individual to be local-born in one of the four districts and to be elected by the people.
(2) Eighty per cent of government servants in the four districts to profess the Muslim religion.
(3) Malay and Siamese to be the official language.
(4) Malay to be the medium of instruction in the3 primary schools.
(5) Muslim law to be recognized and enforced in a separate Muslim Court other than the civil court where the onetime kathi sits as an assessor.
(6) All revenue and income derived from the four districts to be utilised within them.
(7) The formation of a Muslim Board having full powers to direct all Muslim affairs under the supreme authority of the heads of state mentioned in (1).
A supplementary petition [is that ]Malay nationalism should be adopted as the guiding principle of policy in all four districts.
Elected Leader
Informal conversations with Bangkok spokesmen have suggested that Siam is
willing to concede all points except the first. But Patani knows as well as
Bangkok that the first point is the keystone of the whole and, so far from
being persuaded to relinquish this demand, Che Mahmood Mahyiddeen, the youngest
son of Raja Abdul Kadir, the last installed Raja of Patani, has already been
elected as the leader of Patani nationalists.
To Malayans of all races Mahyiddeen is a well known figure.
The first royal-born Malay to go into business before the war he built up a large import and export business in Kelantan.
On joining the Kelantan Civil Service he became the pioneer of educational development, especially among women.
As a member of the Kelantan Volunteer Force he retreated down the Peninsula in 1942 and for his courage and enterprise in rescue work when the ill-fated Kuala was bombed he was awarded the M.B.E.
He was next appointed to supervise the Malay radio in New Delhi, afterwards joining Force 136 and employed on various missions in the Middle East and in London.
Now he lives on his 75-acre estate at Pantai Chinta Berahi where he is developing what promises to become the most popular seaside resort in Malaya. Situated on the Kelantan coast seven miles from Kota Bharu, 'P.C.B.' is the real focus of Patani nationalism-and, incidentally, a magnet for Siamese agents.
Dynamic Personality
All over 'Greater Patani' the name of Mahyiddeen is a talisman. So much so
that is spoken only in whispers. But on the dynamic personality of this republican
ex-tengku who for the sake of his democratic principles renounced his title.
Patani hopes are set.
A glance at the map would seem to indicate that the future of Patani must lie with one of her two powerful neighbours-Siam in the north or Malaya to the south.
That Siam will agree to the formation of an autonomous Malay State centred round the descendant of a royal house who is also a popular leader does not appear very likely.
Alternatively ethnological unity would be better served by the incorporation of a State of Patani into the Federation of Malaya, a project which more than once has been under practical consideration. Such a step would also strengthen the position of the 2,500,000 Malays of Malaya in relation to the 2,500,000 Chinese and, by placing the Malays in a racial majority of some 700,000, would remove the main objection to the admission of Singapore to the Federation.
Haadyai Junction in Siam is the only connection between the railway on the east coast of Malaya with the railway on the west coast, and when recently he traveled from Kota Bharu in Kelantan to Alor Star in Kedah, at every intervening station in Patani at which the train stopped, Datuk Onn was mobbed by Patani Malays soliciting the support of UMNO.
Link With Indonesia?
Despite the strong antagonism now felt towards Siam, there are some in Patani
who are hesitant to throw in their lot with British Malaya. But the events
of the last two years have opened up a third possibility which, though remote,
was not even on the horizon before 1945-the affiliation of Patani to Indonesia.
On the south Patani is separated from Kelantan by Sungai Golok, a 'natural' frontier. But apart from several [pairs of custom officers ..]other from opposite side of the river and displaying[ .ly] the flag of Siam on the north and the flag of British on the south, there is nothing to inform the traveler that he or she has left one country and entered another.
Dress, language, religion and custom-all are the same on both banks. Patani Malays and Kelantan Malayas are moreover linked by many bonds of intermarriage, and no boundary could be more arbitrary or more 'unnatural' than the demarcation of our present-day maps.
+++++++++++++++++++++++++++++++++++
เชิงอรรถ
(1) พิมพ์ครั้งแรกใน หนังสือวิชาการฉบับสมานฉันท์ ยึดมั่นในหลักการสมานฉันท์มวลชน เนื่องในงานเมาลิดกลางแห่งประเทศไทย ฮ.ศ. ๑๔๒๖ วันที่ ๑๙-๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ ณ สวนอัมพร หน้า ๑๔๘-๑๖๘.
(2) ดูบทความของผู้แปล "กบฏดุซงญอ การเมืองในประวัติศาสตร์" ใน ฟ้าเดียวกัน ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๔ (ตค.-ธค. ๒๕๔๗). หน้า ๑๒๖-๑๓๙.
(3) ในคำร้องของโจทก์ ใส่วันที่ของบทความนี้ผิดไป กล่าวคือระบุว่าพิมพ์ในหนังสือพิมพ์สเตรทไทม์ ฉบับวันที่ ๓ พฤศจิกายน ค.ศ. ๑๙๔๗(๒๔๙๐) ที่ถูกคือตีพิมพ์ในวันที่ ๓๐ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๔๗ และดูเฉลิมเกียรติ ขุนทองเพชร หะยีสุหลงฯ หน้า ๑๐๘ ซึ่งก็ใส่วันที่ผิดอันเดียวกันนี้เหมือนกัน.
(4) เฉลิมเกียรติ ขุนทองเพชร, หะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ กบฏหรือวีรบุรุษแห่งสี่จังหวัดภาคใต้ (กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์มติชน, ๒๕๔๗), หน้า ๑๔๕.
(5) ชื่อ "ปตานี" นำมาจากข้อสรุปของอ.รัตติยา สาและ ที่ว่าคำ "ปตานี" กลายเสียงจากคำ "ฟาฏอนี" ที่แปลว่า "ปราชญ์" อันเป็นคำเรียกเมืองปัตตานีของคนท้องถิ่นเอง โปรดดู รัตติยา สาและ, การปฺฏิสัมพันธ์ระหว่างศาสนิกที่ปรากฏในจังหวัดปัตตานี ยะลาและนราธิวาส (กรุงเทพฯ, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, ๒๕๔๔), หน้า ๒๕ -๒๘.
(6) ผู้เขียนเข้าใจสับสนในปีของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ที่นำมาสู่การสร้างรัฐสยามที่เป็นชาติไทยเป็นใหญ่นั้น ที่ถูกต้องคือปี ค.ศ. ๑๙๓๒ ไม่ใช่ ๑๙๓๕ หากจะนับเอาปีที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม ประกาศกฎหมายเรื่องการแต่งกายฯลฯ ก็คือปี ๑๙๓๙ ปี ๑๙๓๕ นั้นมีเหตุการณ์สำคัญคือพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯทรงสละราชสมบัติ ซึ่งผู้เขียนอาจถือเอาปีนั้น ว่าแสดงว่าสยามเปลี่ยนผ่านจากการมีระบบกษัตริย์มาสู่การเป็นรัฐสยามแบบใหม่ก็ได้ แต่เหตุการณ์ปี ๑๙๓๕ นักประวัติศาสตร์ไม่เคยถือว่าเป็นเวลาของการเปลี่ยนผ่านในระบอบรัฐไทยเลย เพราะขณะนั้นสถาบันกษัตริย์ไม่ได้มีอำนาจการเมืองอย่างแท้จริงแล้ว
(7) รัฐบาลหลวงธำรงฯได้ตั้ง "กรรมการสอดสอ่งภาวการณ์ใน ๔ จังหวัดภาคใต้" วันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๔๙๐ เป็นชุดแรกที่ลงไปรับฟังคำร้องเรียนและปัญหาของชาวมลายูมุสลิมภาคใต้ ต่อมาจึงตั้งกรรมการอีกชุดเรียกว่า "กรรมการสืบสวนคำร้องทุกข์ของชาวไทยอิสลาม" ในเดือนกรกฎาคม ๒๔๙๐ เพื่อลงไปสืบสวนคำร้องทุกข์อีกวาระหนึ่ง นี่คือกรรมการชุดที่สองในบทความนี้ ดู เฉลิมเกียรติ ขุนทองเพชร หะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ กบฏหรือวีรบุรุษแห่งสี่จังหวัดภาคใต้ (กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์มติชน, ๒๕๔๗), หน้า ๘๖ -๘๘
(8) ไม่ทราบว่าต้นฉบับเดิมที่ส่งให้รัฐบาลพิจารณานั้นคือฉบับไหน และเขียนในภาษาอะไร เป็นไปได้ว่าอาจเขียนในภาษามลายู และมีฉบับแปลไทย กับแปลเป็นภาษาอังกฤษ หากนางบาร์บารา วิตติงแฮมโจนส์เดินทางไปพบฮัจยีสุหลง เป็นไปได้ว่าเธอน่าจะได้ต้นฉบับคำเรียกร้อง ๗ ประการที่เป็นฉบับดั้งเดิมที่สุดจากฮัจญีสุหลง ขอให้พิจารณาเปรียบเทียบสำนวนแปลฉบับภาษาไทยที่ต่างกันไปบ้าง ตามการแปลของแต่ละคน ฉบับข้างล่างนี้นำมาจาก เฉลิมเกียรติ ขุนทองเพชร , หะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ กบฏหรือวีรบุรุษแห่งสี่จังหวัดภาคใต้ (กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์มติชน, ๒๕๔๗), หน้า ๘๗.
๑) ขอให้ปกครอง ๔ จังหวัดนี้เป็นแคว้นหนึ่ง โดยมีผู้ดำรงตำแหน่งอย่างสูงให้มีอำนาจในการศาสนาอิสลาม มีอำนาจแต่งตั้งและปลดข้าราชการออกได้ ผู้ดำรงตำแหน่งนี้ต้องเป็นมุสลิมใน ๔ จังหวัด
๒) การศึกษาในชั้นประถมต้น จนถึงชั้นประถม ๗ ให้มีการศึกษาภาษามลายูตลอด
๓) ภาษีที่เก็บได้ให้ใช้ภายใน ๔ จังหวัดเท่านั้น
๔) ในจำนวนข้าราชการทั้งหมดขอให้มีข้าราชการชาวมลายูร้อยละ ๘๐
๕) ขอให้ใช้ภาษามลายูควบกับภาษาไทยเป็นภาษาราชการ
๖) ให้คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด มีเอกสิทธิออกระเบียบเกี่ยวกับการปฏิบัติการศาสนาอิสลามโดยความเห็นชอบของผู้มีอำนาจสูงสุด
๗) ให้ศาลรับพิจารณาตรมกฎหมายอิสลามแยกจากศาลจังหวัด มีโต๊ะกาลี(กอฎีหรือดาโต๊ะยุติธรรม) ตามสมควรและมีเสถียรภาพในการพิจารณาชี้ขาด(9) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในเดือนกรกฎาคม ๒๔๙๐ ได้พิจารณาคำขอ ๗ ข้อ มีความเห็นว่า ไม่อาจทำตามคำขอได้เพราะ "รูปการปกครองเวลานี้ดีแล้ว ถ้าจะจัดเป็นรูปมณฑลไม่สมควร เพราะจะเป็นการแบ่งแยก..." นี่อาจเป็นการพูดถึงศัพท์ "การแบ่งแยก" ของทางการรัฐบาลไทยเป็นครั้งแรก แต่ไม่ใช่เพราะผู้นำมลายูมุสลิมเสนอจะแบ่งแยกดินแดน ดังที่คนรุ่นหลังและประวัติศาสตร์การเมืองไทยตีความกันเองเสียใหม่ ส่วนคำขออื่นๆ เช่นการหยุดกิจการในวันศุกร์นั้น รัฐบาลไม่ขัดข้องและจะเสนอให้หน่วยงานรับไปดำเนินการต่อไป แต่ต่อมาเกิดรัฐประหาร ๘ พฤศจิกายน ๙๐ เสียก่อน การให้มีวันหยุดในวันศุกร์จึงเริ่มปฏิบัติอย่างเป็นทางการก็ในสมัยรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์
นักศึกษา
สมาชิก และผู้สนใจบทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ก่อนหน้านี้ สามารถคลิกไปอ่านได้โดยคลิกที่แบนเนอร์
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail :
midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
midnightuniv(at)yahoo.com
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1100 เรื่อง หนากว่า 18000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com
บรรณาธิการแถลง: บทความทุกชิ้นซึ่งได้รับการเผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้
มุ่งเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อวัตถุประสงค์ในการขยายพรมแดนแห่งความรู้ให้กับสังคมไทยอย่างกว้างขวาง
นอกจากนี้ยังมุ่งทำหน้าที่เป็นยุ้งฉางเล็กๆ แห่งหนึ่งสำหรับเก็บสะสมความรู้ เพื่อให้ทุกคนสามารถหยิบฉวยไปใช้ได้ตามสะดวก
ในฐานะที่เป็นสมบัติร่วมของชุมชน สังคม และสมบัติที่ต่างช่วยกันสร้างสรรค์และดูแลรักษามาโดยตลอด.
สำหรับผู้สนใจร่วมนำเสนอบทความ หรือ แนะนำบทความที่น่าสนใจ(ในทุกๆสาขาวิชา) จากเว็บไซต์ต่างๆ
ทั่วโลก สามารถส่งบทความหรือแนะนำไปได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com
(กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: ๒๘ มกาคม ๒๕๕๐)
ปรากฏการณ์ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยที่ว่านี้ เป็นเพียงผลอันเกิดแต่มูลเหตุ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "มูลเหตุ" จากแบบแผนวิธีคิดและประพฤติปฏิบัติ ซึ่งอาจเรียกรวมๆ ว่า "วัฒนธรรมการเรียนรู้" อันเป็นสมบัติแนบเนื่องอยู่กับสังคมวัฒนธรรมหนึ่งๆ สมบัติทางวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ว่านี้ นับเป็นผลพวงของเหตุผลและความจำเป็นตามเงื่อนไขสถานการณ์แห่งยุคสมัย ครั้นเมื่อเงื่อนไขสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป วัฒนธรรมการเรียนรู้ชุดเดียวกันนั้นเอง ก็มักกลายเป็นโทษสมบัติและมิจฉาทิฐิ บั่นทอนความมั่นคงและการดำรงคงอยู่ของสังคม (คำนำ โดยเสน่ห์ จามริก)
Thai
History
The Midnight University