ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้เป็นสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ : Release date 12 November 2009 : Copyleft

แม้ออสเตรเลียจะล้มเหลวในการป้องกันความมั่นคงดินแดนหน้าด่านของตน หากกรณีดังกล่าว ก็ทำให้ออสเตรเลียเริ่มเข้ามามีบทบาทในภูมิภาคมากขึ้น ทั้งนี้ใน ค.ศ. 1963 อินโดนีเซียเริ่มถูกมองว่าเป็นกลุ่มจักรวรรดินิยมใหม่ เนื่องจากเริ่มประกาศตัวต่อต้านอำนาจจักรวรรดินิยมของอังกฤษ โดยได้ประกาศนโยบายการเผชิญหน้ากับมาเลเซียในเดือนมกราคม ปี ค.ศ. 1963 เพื่อครอบครองพื้นที่ดินแดนบอร์เนียวเหนือซึ่งเป็นเขตปกครองของมาเลเซีย ทั้งนี้เหตุการณ์เริ่มโดยการที่ ดร.สุบันดริโอ โฆษกรัฐบาลอินโดนีเซียได้ออกมากล่าวว่า "อินโดนีเซียจะต้องทำให้นโยบายการเผชิญหน้ากับมลายูเป็นผลสำเร็จ เพราะบัดนี้มลายูเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดกับลัทธิล่าอาณานิคมใหม่และดำเนินนโยบายเป็นศัตรูต่อชาวอินโดนีเซีย" (คัดลอกมาบางส่วนจากบทความ)

H



12-11-2552 (1766)

บทบาทนโยบายต่างประเทศของออสเตรเลียต่อประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
บทบาทของออสเตรเลียในอินโดนีเซีย - นโยบายกลับกลอกแต่มีเหตุผล
เมธินี ไชยคุณา: ผู้วิจัย
ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาภูมิภาคศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทความวิชาการต่อไปนี้ นำมาจากงานวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโท เรื่อง
"บทบาทของออสเตรเลียต่อประเด็นการก่อการร้ายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
กรณีศึกษาการลอบวางระเบิดสถานที่ท่องเที่ยวในเกาะกูตา บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย"
คัดมาเฉพาะบทที่ ๓
หัวข้อเรื่อง"บทบาทของออสเตรเลียในอินโดนีเซีย" เพื่อพิจารณา
ถึงความสัมพันธ์ในอดีตของทั้งสองประเทศ โดยมีหัวข้อสำคัญและน่าสนใจดังต่อไปนี้...

- ออสเตรเลีย ประวัติและการสร้างชาติ - ออสเตรเลีย กับการเข้าร่วมในสงครามโลก
- การจลาจลที่เกิดขึ้นเพื่อต่อต้านการเกณฑ์ทหาร
- บทบาทของออสเตรเลียในอินโดนีเซีย ก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
- ออสเตรเลีย: ความสัมพันธ์กับประเทศเอเชีย
- ความอ่อนแอของยุโรป ความเข้มแข็งของสหรัฐอเมริกา
- ความขัดแย้งครั้งแรก ระหว่างออสเตรเลียกับอินโดนีเซีย
- ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับอินโดนีเซีย
- อินโดนีเซียกับมหาอำนาจให้การสนับสนุนสองฝ่าย
- อินโดนีเซีย นโยบายการเผชิญหน้ากับมลายู
- ออสเตรเลีย-มาเลเซีย: ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมเครือจักรภพอังกฤษ
- นโยบายของออสเตรเลียต่ออินโดนีเซีย กรณีติมอร์ตะวันออก
- ออสเตรเลียกับกลยุทธ์ต่างประเทศ เพื่อรักษาผลประโยชน์ด้านทรัพยากรธรรมชาติ
- ญามาอะห์ อิสลามิยะ (เจไอ) กับการโจมตีเป้าหมายออสเตรเลีย
- นักวิชาการออสเตรเลีย: นโยบายต่างประเทศต่ออินโดนีเซียที่กลับกลอกแต่มีเหตุผล

(บทความนี้จัดอยู่ในหมวด "ความสัมพันธ์ระหว่างเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับฌอเชียเนีย")


สนใจส่งบทความเผยแพร่ ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน:
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๗๖๖
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๘.๕ หน้ากระดาษ A4 โดยไม่มีภาพประกอบ)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทบาทนโยบายต่างประเทศของออสเตรเลียต่อประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
บทบาทของออสเตรเลียในอินโดนีเซีย - นโยบายกลับกลอกแต่มีเหตุผล
เมธินี ไชยคุณา: ผู้วิจัย
ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาภูมิภาคศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

ออสเตรเลียมีบทบาทในอินโดนีเซียตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งประเทศอินโดนีเซียซึ่งสามารถนับย้อนไปตั้งแต่ทศวรรษที่ 1950 การศึกษาในด้านบทบาทของออสเตรเลียจึงต้องย้อนศึกษาตั้งแต่ประวัติศาสตร์ของออสเตรเลีย และการเริ่มเข้ามามีบทบาทในอินโดนีเซียโดยพิจารณาเป็นช่วงสำคัญดังนี้

ออสเตรเลีย ประวัติและการสร้างชาติ
ออสเตรเลียเป็นประเทศเดียวที่ครอบครองทั้งทวีปและมีสภาพเป็นเกาะ มีพื้นที่ทั้งสิ้น 7.6 ล้านตารางกิโลเมตร เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดแต่เป็นทวีปที่เล็กที่สุดของโลก และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 รองจากรัสเซีย แคนาดา จีน สหรัฐฯ และบราซิล มีประชากรเพียง 18.3 ล้านคน. เดิมออสเตรเลียเป็นถิ่นฐานของชาวอะบอริจิน จนกระทั่งปี ค.ศ. 1770 กัปตัน เจมส์ คุก (James Cook) เดินทางไปพบออสเตรเลีย ได้ประกาศถือครองดินแดนที่เป็นออสเตรเลียในปัจจุบันให้อยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ และออสเตรเลียได้กลายเป็นแผ่นดินใหม่สำหรับการตั้งถิ่นฐานของผู้กระทำผิดของอังกฤษแทนที่อาณานิคมในแอตแลนติกเหนือ

ออสเตรเลีย กับการเข้าร่วมในสงครามโลก
ออสเตรเลียตั้งตัวเป็นประเทศเมื่ออาณานิคมรวมตัวเป็นสหพันธรัฐในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1901 และออสเตรเลียได้เข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อช่วยสนับสนุนกองกำลังของอังกฤษ ในยุคนี้ ออสเตรเลียต้องประสบกับสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างหนักเมื่อราคาของขนสัตว์และข้าวสาลี ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักสองอย่างของประเทศตกต่ำลงอย่างมาก ในปี ค.ศ. 1931 เกือบหนึ่งในสามของคนวัยทำงานต้องตกงาน และความยากจนได้ขยายวงกว้าง อย่างไรก็ดี ในปี ค.ศ. 1933 เศรษฐกิจของออสเตรเลียก็เริ่มฟื้นตัว เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพออสเตรเลียได้ร่วมต่อสู้กับกองทัพอังกฤษ อย่างไรก็ดีในช่วงเวลาดังกล่าว อังกฤษเริ่มอ่อนแอ และสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่กำลังมีอำนาจมากขึ้น ทำให้ออสเตรเลียเริ่มเล็งเห็นว่าควรมีนโยบายพึ่งพิงสหรัฐอเมริกามากขึ้น (*)

(*) นันทนา กบิลกาญจน์, ประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และหมู่เกาะภาคพื้นแปซิฟิค (กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2529)

การจลาจลที่เกิดขึ้นเพื่อต่อต้านการเกณฑ์ทหาร
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ออสเตรเลียได้กลายเป็นแหล่งใหม่ที่รับผู้อพยพชาวยุโรปเข้าประเทศ และทำให้ประเทศนี้มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ยุคหลังสงคราม จึงเป็นยุคแห่งความรุ่งโรจน์ของออสเตรเลีย เนื่องจากวัตถุดิบของประเทศเป็นที่ต้องการของตลาดโลกอย่างมาก โดยการนำของสหรัฐฯ ออสเตรเลียช่วยทำสงครามเกาหลีและในปี ค.ศ. 1965 ได้ส่งกองทัพไปช่วยเหลือสหรัฐฯ อีกในสงครามเวียดนาม แต่การเข้าร่วมนี้ ไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนมากนัก และพระราชบัญญัติการเกณฑ์ทหารภาคบังคับที่ออกใช้ในปี ค.ศ. 1964 นั้น ทำให้เกิดปัญหาสำหรับชายรุ่นหนุ่มชาวออสเตรเลียเป็นจำนวนมาก การจลาจลที่เกิดขึ้นเพื่อต่อต้านการเกณฑ์ทหารแบบบังคับจากประชาชน เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้พรรคกรรมกรออสเตรเลียมีแรงสนับสนุนมากขึ้นในปี ค.ศ. 1972 ภายใต้การนำของนายกอฟ วิทแลม รัฐบาลของวิทแลมได้สั่งการถอนทหารออสเตรเลียจากประเทศเวียดนาม ยกเลิกการเกณฑ์ทหารและค่าเล่าเรียนระดับปริญญา สร้างระบบสาธารณสุขฟรีและครอบคลุมทั่วไป พร้อมทั้งสนับสนุนการให้สิทธิในที่ดินของชาวอะบอริจิ้น

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลชุดนั้นได้เผชิญกับอุปสรรคจากวุฒิสภาที่เป็นปฏิปักษ์ และมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่ารัฐบาลบริหารงานผิดพลาด ในวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1975 ผู้สำเร็จราชการ (ตัวแทนของราชวงศ์อังกฤษในออสเตรเลีย) ทำการที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน ด้วยการยุบสภาและแต่งตั้งรัฐบาลรักษาการณ์ซึ่งนำโดยผู้นำพรรคเสรีนิยมฝ่ายค้านที่ชื่อนายมัลคอล์ม เฟรเซอร์ ผลก็คือ รัฐบาลผสมที่นำโดยพรรคประเทศชาติและพรรคเสรีนิยมหัวอนุรักษ์ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งต่อมา ส่วนพรรคแรงงานไม่เคยได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งอีกเลยจนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1983 เมื่ออดีตหัวหน้าสหภาพแรงงาน นายบ็อบ ฮอค ได้นำพรรคฯ จนเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะอีกครั้ง (*)

(*) นันทนา กบิลกาญจน์, ออสเตรเลียฉบับย่อ (แคนเบอร์รา : กองส่งเสริมกิจการต่างประเทศและโอลิมปิก กระทรวงการต่างประเทศและการค้า ออสเตรเลีย ,1998)

บทบาทของออสเตรเลียในอินโดนีเซีย
บทบาทของออสเตรเลียในอินโดนีเซีย ก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

ออสเตรเลียและอินโดนีเซียมีอาณาเขตติดต่อกันทางทิศใต้ของอินโดนีเซีย ออสเตรเลียมีความสัมพันธ์กับอินโดนีเซียอย่างเป็นทางการตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 19 ในแง่มุมประวัติศาสตร์นั้น เดิมออสเตรเลีย ไม่ได้มีบทบาทอย่างเป็นรูปธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากนัก นอกจากการค้าขาย แต่ในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นยุคที่ขั้วมหาอำนาจกำลังเริ่มเปลี่ยน จากประเทศอังกฤษและประเทศตะวันตกยุโรป เป็นประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลียแต่เดิมเคยมีนโยบายต่างประเทศที่อิงประเทศอังกฤษซึ่งเป็นประเทศปกครองมาก่อน และในภาพรวมออสเตรเลียให้ความสำคัญกับชาติมหาอำนาจตะวันตกมากกว่า

ออสเตรเลีย: ความสัมพันธ์กับประเทศเอเชีย
อย่างไรก็ตามออสเตรเลียได้เปลี่ยนแปลงนโยบายระหว่างประเทศของตน หลังจากที่อังกฤษถอนตัวออกจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ออสเตรเลียเริ่มมองเห็นความสำคัญของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศเอเชีย โดยเฉพาะกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลภายใต้การนำของพรรคกรรมกร ชิฟลีย์ (*) ได้เสียอำนาจให้กับพรรคเสรีนิยม (Liberal Party) ภายใต้การนำของโรเบิร์ต เมนซีย์ (Robert Menzies) (**) ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรียาวนานถึง 16 ปี และในรัฐบาลนี้เองที่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศ จากที่เคยละเลยเอเชียเปลี่ยนเป็นให้ความสำคัญกับภูมิภาคเพื่อนบ้านมากขึ้น

(*) Joseph Benedict Chifley (22 September 1885 - 13 June 1951), Australian politician and 16th Prime Minister of Australia, was one of Australia's most influential Prime Ministers. Among his government's accomplishments were the post-war immigration scheme under Arthur Calwell, the establishment of Australian citizenship in 1949, the Snowy Mountains Scheme, airlines Qantas and TAA, a social security scheme for the unemployed, reorganising and enlarging the CSIRO, and the founding of the Australian Security Intelligence Organisation (ASIO). One of the few successful referenda to modify the Australian Constitution took place during his term.

(**) Sir Robert Gordon Menzies, KT, AK, CH, FRS, QC (20 December 1894 - 15 May 1978), Australian politician, was the twelfth Prime Minister of Australia. His second term saw him become Australia's longest serving Prime Minister. He had a rapid rise to power as Prime Minister at the 1940 election which his party narrowly won. A year later, his government was brought down by MPs crossing the floor. He spent eight years in opposition, during which he founded the Liberal Party. He again became Prime Minister at the 1949 election, and he then dominated Australian politics until his retirement in 1966.

ทั้งนี้ นักวิชาการที่ศึกษาเรื่องออสเตรเลียหลักๆที่สำคัญเช่น Greenwood (*) ได้ชี้ว่า ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองนั้น เอเชียในมุมมองของออสเตรเลียเป็นทวีปที่มีประชากรมาก หากมีมาตรฐานในการดำรงชีพต่ำ ระดับการศึกษาต่ำ และดูเหมือนจะมีความกดดันในการที่มีทรัพยากรน้อยและไม่เพียงพอ นอกจากนี้ ออสเตรเลียยังหวาดกลัวว่าส่วนหนึ่งของเอเชียนั้น มีความปรารถนาที่จะขยายอาณาเขตของตน ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อความมั่นคงของออสเตรเลียซึ่งเป็นประเทศบ้านใกล้เรือนเคียง

(*) Gordon Greenwood. Approaches to Asia Australia Postwar policies and attitude (Australia: John Sands PTY.Ltd.,1974) p. 150

ออสเตรเลียในยุคนี้ยังต้องพึ่งพาอิทธิพลและอำนาจของสหราชอาณาจักร ซึ่งมีฐานทัพทางเรือที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ที่สิงคโปร์ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพญี่ปุ่นยกกองทัพเข้าบุกและสามารถยึดอำนาจได้ทั่วเอเชีย โดยเริ่มจากเอเชียเหนือ คือการเข้าบุกจีน และเรื่อยลงมาถึงสิงคโปร์ จนกระทั่งถึงอาณาเขตดัทช์ อีสต์อินดีส์ หรืออินโดนีเซียในปัจจุบัน จากนั้นญี่ปุ่นได้เข้าครอบครองดินแดนของนิวกินี ซึ่งเป็นอาณานิคมของเยอรมันในขณะนั้น ต่อมาเมืองดาร์วินเริ่มถูกโจมตี อ่าวซิดนีย์ได้ถูกกองทัพเรือของญี่ปุ่นบุกรุก และดูเหมือนจะมีความพยายามบุกเข้าในพื้นที่ออสเตรเลีย ในเวลานั้น อังกฤษถูกกดดันอย่างหนักจากศึกสองด้านทวีปยุโรป และในเอเชียแปซิฟิค เรือของอังกฤษถูกยิงจมโดยฝีมือของกองทัพญี่ปุ่น รัฐบาลออสเตรเลียจึงเล็งเห็นว่าศักยภาพของอังกฤษไม่เพียงพอ ออสเตรเลียซึ่งไม่เคยสนใจเอเชียเลยจึงตกอยู่ในที่นั่งเดียวกับประเทศอื่นๆ ในเอเชียทันที และจากเดิมที่ไม่เคยมีความสัมพันธ์ต่อกัน ออสเตรเลีย ก็เริ่มร่วมมือกับฮอลแลนด์และอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านเข้าต่อสู้ญี่ปุ่นผู้รุกราน แม้ในท้ายที่สุดจะพบว่าตนเองอ่อนแอกว่า

ความอ่อนแอของยุโรป ความเข้มแข็งของสหรัฐอเมริกา
Greenwood วิเคราะห์ว่าเหตุการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอของยุโรป และก่อให้เกิดทัศนคติที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบบในเอเชียแปซิฟิคใหม่ ทั้งนี้กลุ่มประเทศในเอเชียแปซิฟิค ซึ่งส่วนใหญ่ถูกครอบครองและเป็นประเทศอาณานิคมของชาติตะวันตกได้มีแรงกระตุ้นออกมาเรียกร้องเอกราชให้กับดินแดนของตน บทบาทของประเทศตะวันตกจากยุโรปจึงลดลงเรื่อยๆ ในภูมิภาคนี้

หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นมีกองกำลังถดถอยเนื่องจากการแพ้สงคราม จีนเองก็ถูกแบ่งแยกอำนาจจากสงครามกลางเมือง กล่าวคือการแบ่งแยกเป็นพรรคก๊กมินตั๋งและพรรคคอมมิวนิสต์ และอินเดียกำลังมีปัญหาในการแบ่งแยกดินแดนบางส่วนไปเป็นปากีสถาน ส่วนสหรัฐอเมริกาเริ่มขึ้นมามีบทบาทเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ในการณ์นี้นำไปสู่การที่ออสเตรเลียมองเห็นความสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกามากขึ้น ขณะเดียวกันก็มีนโยบายและท่าทีต่อเอเชียในรูปแบบที่ใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น

นโยบายของ เฮร์เบอร์ท แวร์ อีแวทท์ (Dr. Herbert Vere Evatt) (*) รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของออสเตรเลียขณะนั้น ได้สร้างนโยบายต่างประเทศของออสเตรเลียใหม่ที่มีรูปแบบสอดคล้องกับสถานการณ์หลังสงครามโลกมากขึ้น และยังมีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับเอเชีย ซึ่งโดยสาระสำคัญของนโยบายของ อีแวทท์ มีดังนี้

(*) Herbert Vere Evatt, QC KStJ (30 April 1894 - 2 November 1965), was an Australian jurist, politician and writer. He was President of the United Nations General Assembly in 1948-49 and helped draft the United Nations Universal Declaration of Human Rights (1948). He was Leader of the Australian Labor Party (and thus Leader of the Opposition) from 1951 to 1960. Evatt was formally referred to as Dr H. V. Evatt, but was informally known as "Bert Evatt" or "Doc Evatt".

1. การคงความสัมพันธ์กับสหราชอาณาจักร
2. สนับสนุนสหประชาชาติและระเบียบความมั่นคงของสหประชาชาติ
3. เพิ่มความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา ซึ่งได้ช่วยเหลือด้านความมั่นคงของออสเตรเลียในระหว่างสงคราม
4. ยอมรับความรับผิดชอบด้านความมั่นคงและการพัฒนาเศรษฐกิจของตัวเอง
5. สร้างนโยบายต่อเอเชียหรือความสัมพันธ์ด้านบวกต่อประเทศในภูมิภาคเอเชีย และโดยเฉพาะประเทศที่ได้รับเอกราช
6. สร้างนโยบายที่ส่งเสริมนโยบายอิสระของออสเตรเลีย (*)
(*) Gordon Greenwood. Approaches to Asia Australia Postwar Policies and Attitude, p. 98-104

ด้วยนโยบายดังกล่าว ทำให้ออสเตรเลียแสดงบทบาทมากขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยเฉพาะต่อประเทศที่เป็นเพื่อนบ้านใกล้ชิดมากที่สุดคืออินโดนีเซีย

ออสเตรเลียกับการสนับสนุนการเป็นเอกราชของอินโดนีเซีย
บทบาทความสัมพันธ์ของออสเตรเลียต่ออินโดนีเซียเกิดขึ้นครั้งแรกในปีค.ศ. 1945 - 1949 ซึ่งเป็นยุคที่รัฐบาลออสเตรเลียมีบทบาทในการแสดงท่าทีสนับสนุนรัฐบาลอินโดนีเซียให้มีการปกครองตนเอง เบเนดิค เชฟลีย์ นายกรัฐมนตรีของออสเตรเลียขณะนั้น ได้เป็นตัวแทนสนับสนุนการปกครองตนเองของอินโดนีเซียในการประชุมสหประชาชาติในปี ค.ศ. 1947 บทบาทของออสเตรเลียค่อนข้างเด่นชัดมาก จนกระทั่งนักประวัติศาสตร์ที่สำคัญ มากาเร็ต จอร์จ บันทึกเอาไว้ว่า การมีบทบาทของออสเตรเลียในครั้งนั้น ถือเป็นตัวหลักของการมีเอกราชของอินโดนีเซียทีเดียว (*) โดยออสเตรเลียเป็นประเทศเดียวที่ไม่ใช่เอเชียในการประชุมในนิวเดลีเรื่องปัญหาการเป็นเอกราชของอินโดนีเซีย แม้ในปีค.ศ. 1949 ออสเตรเลียสูญเสียสภาพการมีอาณานิคมของตน เนื่องจากปาปัวนิวกินี เริ่มอยู่ภายใต้การดูแลของสหประชาชาติ โดยยกระดับในการมีสิทธิในการปกครองตนเอง ภายใต้การควบคุมของออสเตรเลีย ทว่าออสเตรเลียก็ได้ก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น โดยได้ร่วมตกลงในการประชุมที่กรุง เฮก ในข้อตกลงการถ่ายโอนอำนาจการปกครองดินแดนที่เป็นหมู่เกาะอีส อินดีส์ของเนเธอแลนด์จากการปกครอง ไปสู่การเป็นสาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยยกเว้นเพียงพื้นที่นิวกีนีตะวันตกหรือเวสต์ปาปัวในปัจจุบัน

(*) อ้างจากเว็บไซต์ www.rand.org/pubs/monograph_reports/

ความขัดแย้งครั้งแรก ระหว่างออสเตรเลียกับอินโดนีเซีย
ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1949 การถ่ายโอนอำนาจจากเนเธอร์แลนด์ไปสู่อินโดนีเซียได้เริ่มขึ้น และรัฐบาลออสเตรเลียได้ตัดสินใจจะพัฒนาความสัมพันธ์กับอินโดนีเซีย อย่างไรก็ตามในการสนับสนุนอินโดนีเซียนั้น ไม่รวมถึงเรื่องการครอบครองนิวกินีตะวันตกด้วย ในกรณีนี้ ออสเตรเลียอยู่ในสถานการณ์ที่แตกต่างจากบทบาทในครั้งแรก ซึ่งในเวลานั้นออสเตรเลียมีนโยบายต่อต้านเนเธอร์แลนด์และสนับสนุนอินโดนีเซีย และออสเตรเลียมีความสนใจในดินแดนนิวกินีตะวันตกน้อยมาก

แต่อย่างไรก็ตาม บทบาทของออสเตรเลียได้เปลี่ยนแปลงไปเมื่อ อินโดนีเซียนำกองกำลังเข้าควบคุมนิวกินีตะวันตกในวันที่ 18 ธันวาคม ค.ศ. 1961 ทั้งนี้นิวกินีตะวันตกมีกำหนดจะได้รับเอกราชจากเนเธอร์แลนด์ในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1970 รวมทั้งขณะนั้น กลุ่มชาตินิยมหัวรุนแรงของอินโดนีเซียกดดันให้อินโดนีเซียมีนโยบายที่แข็งกร้าวมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการขยายอิทธิพลของพรรคคอมมิวนิสต์ในอินโดนีเซีย ทำให้เกิดความกระตือรือร้นเรื่องดินแดนนิวกินีตะวันตกในอินโดนีเซียในกลุ่มพรรคการเมืองของออสเตรเลีย ทั้งนี้ นิวกินีตะวันตกมีดินแดนติดต่อกับนิวกินีตะวันออกซึ่งอยู่ในความดูแลของออสเตรเลีย สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ออสเตรเลียเห็นขัดแย้งกับอินโดนีเซียเป็นครั้งแรก เนื่องจากเป็นห่วงด้านความมั่นคงในดินแดนของตน เพราะนิวกินีตะวันออกนอกจากจะเป็นดินแดนที่อยู่ในปกครองของออสเตรเลียแล้ว ยังมีความสำคัญในฐานะหน้าด่านของออสเตรเลียที่ใช้ปกป้องก่อนจะเข้าถึงดินแดนของออสเตรเลียด้วย นอกจากนี้ออสเตรเลียยังหวั่นเกรงเรื่องการขยายตัวของระบบสังคมนิยมซึ่งเชื่อว่าได้ขยายตัวในเอเชีย โดยความเชื่อเรื่องทฤษฎีโดมิโน (*) ดังนั้น ออสเตรเลียซึ่งแต่เดิมให้การสนับสนุนการเป็นเอกราชของอินโดนีเซีย จึงเปลี่ยนท่าทีไปโดยออสเตรเลียเป็นฝ่ายคัดค้านการลงมติ และทำให้ออสเตรเลียกับอินโดนีเซียมีความขัดแย้งกันเป็นครั้งแรก

(*) The domino theory was a foreign policy theory during the 1950s to 1980s, promoted at times by the government of the United States, that speculated that if one land in a region came under the influence of communism, then the surrounding countries would follow in a domino effect. The domino effect suggests that some change, small in itself, will cause a similar change nearby, which then will cause another similar change, and so on in linear sequence, by analogy to a falling row of dominoes standing on end. The domino theory was used by successive United States administrations during the Cold War to clarify the need for American intervention around the world.

ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับอินโดนีเซีย
เหตุการณ์ดังกล่าวถูกแทรกแซงและขัดจังหวะจากการปฏิวัติในอินโดนีเซียในปี ค.ศ. 1958 เกิดความไม่มั่นคงในทางการเมืองในยุคสงครามเย็นที่โลกแบ่งขั้วการเมืองการปกครองออกเป็นสองฝ่าย คือ"สังคมนิยม"และ"ประชาธิปไตย" สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรซึ่งเป็นมหาอำนาจประชาธิปไตย เกิดความกังวลในการแผ่ขยายอิทธิพลของสังคมนิยมไปยังพื้นที่อินโดนีเซีย จึงส่งกองทัพและอาวุธไปยังอินโดนีเซีย ทั้งนี้กองทัพจากสหรัฐอเมริกาได้เพิ่มจำนวนมากขึ้นในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1958 และเพิ่มขึ้นอีกในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1959 เพื่อป้องกันอินโดนีเซียจากสหภาพโซเวียต และนอกจากการสนับสนุนด้านกองกำลังทางทหารแล้ว สหรัฐอเมริกายังให้การสนับสนุนอินโดนีเซียในสิทธิการครอบครองเหนือดินแดนปาปัวตะวันตกอีกด้วย

อินโดนีเซียกับมหาอำนาจให้การสนับสนุนสองฝ่าย
ค.ศ. 1959-1960 สหรัฐฯ ยิ่งเพิ่มท่าทีในการให้ความสนับสนุนอินโดนีเซียมากขึ้น เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างอินโดนีเซียกับสหภาพโซเวียตเพิ่มพูนขึ้น โดยในปี ค.ศ.1960 อินโดนีเซียได้ขอความช่วยเหลือด้านกองกำลังทหารจากสหภาพโซเวียต ซึ่งทำให้เกิดการเข้ามาแทรกแซงของกองทัพรัสเซีย เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความตระหนกให้กับฝ่ายออสเตรเลียที่มีน่านน้ำและอาณาบริเวณใกล้ชิดกับอินโดนีเซียมากขึ้น และยิ่งเพิ่มขีดความต้องการการแข่งขันให้กับฝ่ายสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นขั้วอำนาจฝ่ายตรงกันข้ามกับรัสเซียขณะนั้น

เมื่อออสเตรเลียเห็นว่าอินโดนีเซียมีมหาอำนาจให้การสนับสนุนถึงสองฝ่าย จึงต้องเปลี่ยนท่าทีใหม่ โดยเปลี่ยนแปลงบทบาทเป็นกลุ่มประเทศเป็นกลางไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดย Greenwood ชี้ว่า เมนซีส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของออสเตรเลียขณะนั้น ย้ำด้วยท่าทีตรงกันข้ามกับที่พรรคแรงงานเคยประกาศก่อนหน้านี้ว่า ออสเตรเลียควรจะเข้าร่วมการเจรจาใดๆ ก็ตามเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยระบุชัดว่าออสเตรเลียไม่ได้มีส่วนเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว และจะไม่วางตัวเป็นผู้ตัดสินในเรื่องนี้ด้วย (*)

(*) Gordon Greenwood, Approaches to Asia Australia Postwar policies and attitude. p. 241

นิวกินีตะวันตก: ในฐานะจังหวัดหนึ่งของอินโดนีเซีย
เมื่อเนเธอร์แลนด์เริ่มเตรียมกองกำลังของตนในเขตนิวกินีตะวันตก อินโดนีเซียเองได้ส่งกองกำลังของตนไปเผชิญหน้าในพื้นที่ สหประชาชาติจึงได้เรียกร้องให้มีการเจรจาเพื่อหาข้อตกลงในเรื่องดังกล่าว และเมื่อมีการประชุมหารือข้อตกลงในปี ค.ศ. 1962 สหรัฐฯ ได้ประกาศท่าทีชัดเจนว่าไม่สนับสนุนเนเธอร์แลนด์และออสเตรเลีย ขณะที่ออสเตรเลียก็ไม่ได้มีท่าทีสนับสนุนด้านกองทัพให้กับเนเธอร์แลนด์แต่อย่างใด เนเธอร์แลนด์จึงต้องยินยอมให้มีการถ่ายโอนอำนาจในการครอบครองเหนือดินแดนนิวกินีตะวันตก โดยให้นิวกินีตะวันตกอยู่ภายใต้การปกครองของอินโดนีเซียตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1963 โดยมีสถานะเป็นจังหวัดหนึ่งของอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย นโยบายการเผชิญหน้ากับมลายู
แม้ออสเตรเลียจะล้มเหลวในการป้องกันความมั่นคงดินแดนหน้าด่านของตน หากกรณีดังกล่าวก็ทำให้ออสเตรเลียเริ่มเข้ามามีบทบาทในภูมิภาคมากขึ้น ทั้งนี้ใน ค.ศ. 1963 อินโดนีเซียเริ่มถูกมองว่าเป็นกลุ่มจักรวรรดินิยมใหม่ เนื่องจากเริ่มประกาศตัวต่อต้านอำนาจจักรวรรดินิยมของอังกฤษ โดยได้ประกาศนโยบายการเผชิญหน้ากับมาเลเซียในเดือนมกราคม ค.ศ. 1963 เพื่อครอบครองพื้นที่ดินแดนบอร์เนียวเหนือซึ่งเป็นเขตปกครองของมาเลเซีย ทั้งนี้เหตุการณ์เริ่มโดยการที่ ดร.สุบันดริโอ โฆษกรัฐบาลอินโดนีเซียได้ออกมากล่าวว่า "อินโดนีเซียจะต้องทำให้นโยบายการเผชิญหน้ากับมลายูเป็นผลสำเร็จ เพราะบัดนี้มลายูเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดกับลัทธิล่าอาณานิคมใหม่และดำเนินนโยบายเป็นศัตรูต่อชาวอินโดนีเซีย"

สำหรับนโยบายดังกล่าวของอินโดนีเซียถูกนักวิชาการมองว่า เกิดจากการที่อินโดนีเซียต้องการจะขยายอาณาบริเวณดินแดนบอร์เนียวของตน โดยต้องการจะครอบครองดินแดนบอร์เนียวเหนือที่เป็นดินแดนของสหพันธรัฐมาเลเซียด้วย ในขณะเดียวกันรัฐบาลฟิลิปปินส์ก็อ้างสิทธิในดินแดนบอร์เนียวเหนือเช่นกัน ในฐานะที่เป็นผู้สืบเชื้อสายของสุลต่านแห่งซูลู ซึ่งแต่เดิมได้ยกดินแดนแห่งนี้ให้กับผู้บุกเบิกของบริษัทบอร์เนียวเหนือ โดยฟิลิปปินส์ยืนยันว่าดินแดนดังกล่าวไม่ได้ยกให้ตลอดไป (*) หลังจากมีเหตุการณ์ขัดแย้งกัน จึงมีการสำรวจประชามติในซาราวักและบอร์เนียวเหนือ ซึ่งผลปรากฏว่าประชากรส่วนใหญ่เห็นพ้องกับการเข้ารวมกับมาเลเซีย แต่รัฐบาลของอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ไม่ยอมรับคำตัดสินดังกล่าว และประกาศตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับมาเลเซีย

(*) เอ็น เจ ไรอัน, ม.ร.ว.ประกายทอง สิริสุข (แปล), การสร้างชาติมาเลเซียและสิงคโปร์ (กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิชจำกัด, 2526) น. 272

ออสเตรเลีย-มาเลเซีย: ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมเครือจักรภพอังกฤษ
เหตุการณ์ดังกล่าว ออสเตรเลียได้แสดงบทบาทของตนต่อมาเลเซียอีกครั้ง ซึ่งนักวิชาการชาวออสเตรเลีย Bruce Grant วิเคราะห์การเข้ามามีบทบาทของออสเตรเลียในหนังสือ Indonesia (*) ว่า ความตั้งใจของอินโดนีเซียในเหตุการณ์นี้คือ อินโดนีเซียต้องการกำจัดอังกฤษออกจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างที่เคยทำกับเนเธอร์แลนด์ ทั้งนี้การที่อินโดนีเซียเรียกร้องดินแดนของมาเลเซียซึ่งได้รับการแบ่งเขตแดนจากอังกฤษนั้น ออสเตรเลียซึ่งให้การสนับสนุนมาเลเซียในฐานะที่มีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมเครือจักรภพกับอังกฤษรวมทั้งยังเป็นประเทศที่ให้การสนับสนุนมาเลเซีย จึงเข้ามาแสดงบทบาทของตนอีกครั้ง

(*) Bruce Grant, Indonesia (Australia : Melborune University Press, 1964)

ทั้งนี้ ออสเตรเลียเริ่มสนับสนุนการเจรจาของทั้งสองฝ่ายก่อน อย่างไรก็ตามเมื่ออินโดนีเซียยังคงมีการรุกราน ออสเตรเลียซึ่งดำเนินนโยบายเคียงข้างอังกฤษจึงส่งกองทัพเข้าช่วยเหลือมาเลเซีย แต่ด้วยความละเอียดอ่อนด้านภูมิศาสตร์ของอินโดนีเซียที่มีพื้นที่ใกล้ชิดกับออสเตรเลีย ทำให้ออสเตรเลียเองพยายามดำเนินนโยบายสองด้าน คืออีกด้านหนึ่งก็พยายามจะยังคงความสัมพันธ์เป็นมิตรกับอินโดนีเซียไปด้วย ต่อมาเมื่ออินโดนีเซียล้มเลิกการต่อสู้เพื่อแย่งชิงดินแดนบอร์เนียวเหนือในปี ค.ศ. 1966 เนื่องจากมีปัญหาการเมืองภายใน จึงได้มีการลงนามร่วมกันในการยุติปัญหา ด้วยเหตุนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างอินโดนีเซียและออสเตรเลียก็กลับฟื้นขึ้นมาใหม่

ออสเตรเลียยิ่งมองเห็นความสำคัญในการกระชับความสัมพันธ์กับอินโดนีเซีย เมื่ออินโดนีเซียผลักดันให้มีการรวมตัวกันกับสหพันธรัฐมลายา ประเทศไทย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์เพื่อร่วมมือกันทางด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักกันในนามอาเซียนนั้น ทำให้ออสเตรเลียมองเห็นศักยภาพของกลุ่มดังกล่าว จึงเริ่มจากการทำข้อตกลงความร่วมมือทางวัฒนธรรมแบบทวิภาคีกับอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศกลุ่มอาเซียนที่จะมีบทบาทเริ่มต้นในการเข้ามาร่วมมือกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียนได้

นโยบายของออสเตรเลียต่ออินโดนีเซีย กรณีติมอร์ตะวันออก
ออสเตรเลียยังคงดำเนินนโยบายแบบทวิภาคีกับอินโดนีเซีย ซึ่งให้ความสำคัญกับอินโดนีเซียประเทศเพื่อนบ้านเป็นพิเศษ ความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่ายเป็นแบบต่างฝ่ายต่างพึ่งพาซึ่งกันและกัน จนกระทั่งเมื่ออินโดนีเซียเข้าบุกรุกและครอบครองติมอร์ตะวันออก หลังจากประกาศตัวเป็นเอกราชของติมอร์ตะวันออกจากโปรตุเกสในวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ.1975 เพียง 9 วัน

ในขณะที่ประชาคมโลกประณามการกระทำของอินโดนีเซีย ออสเตรเลียกลับวางเฉยในการเข้ายึดครองอินโดนีเซีย นอกจากนี้ ออสเตรเลียยังให้การรับรองอินโดนีเซีย ทั้งนี้มีหลักฐานว่าก่อนหน้านั้น นายกรัฐมนตรีของออสเตรเลีย Gough Whitlam (*) ได้เข้าพบประธานาธิบดีซูฮาร์โตของอินโดนีเซีย ที่เกาะชวากลางในปี ค.ศ. 1974 และได้ประกาศว่า "ติมอร์ตะวันออกเล็กเกินกว่าจะเป็นเอกราชได้" และยังสนับสนุนการเข้าบุกยึดครองประเทศนั้นด้วย นักวิชาการวิเคราะห์ว่า เป็นเพราะออสเตรเลียเล็งเห็นผลประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติของติมอร์เลสเต หลักฐานที่สนับสนุนการวิเคราะห์ดังกล่าวคือ การที่รัฐบาลออสเตรเลียได้เข้าทำข้อตกลงร่วมกับกองทัพอินโดนีเซียในการเข้าไปสำรวจทรัพยากรในช่องแคบติมอร์ในวันที่ 11 ธันวาคม 1989 โดยเรียกว่า Timor Gap Treaty ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญคือ การที่ทั้งสองประเทศตกลงร่วมกันให้แบ่งพื้นที่เป็นเขตสำรวจหาแหล่งน้ำมัน โดยตกลงแบ่งพื้นที่ออกเป็นสามส่วน ส่วนหนึ่งเป็นของอินโดนีเซีย อีกส่วนเป็นของออสเตรเลีย และส่วนที่เหลือเป็นพื้นที่ที่ใช้ร่วมกันระหว่างสองประเทศ (**)

(*) Edward Gough Whitlam, AC, QC (born 11 July 1916), known as Gough Whitlam, is a former Australian politician, representing the New South Wales seat of Werriwa, and 21st Prime Minister of Australia. A member of the Australian Labor Party (ALP), Whitlam entered Federal Parliament after winning the 1952 Werriwa by-election. In 1960 Whitlam was elected deputy leader of the ALP and in 1967, following the resignation of Arthur Calwell after a disastrous election defeat the year before, he assumed the federal Labor leadership and thus Leader of the Opposition.

After falling short of gaining enough seats to win government at the 1969 election, Whitlam led the Labor Party to victory at the 1972 election after 23 years of Liberal-Country Party government. After winning the 1974 election, he was dismissed in 1975 by Governor-General Sir John Kerr following a protracted constitutional crisis, and lost the subsequent 1975 election. He is the only Australian Prime Minister to have been dismissed by the Governor-General, using reserve powers.

(**) อ้างจากเว็บไซต์ http://www.seasite.niu.edu/EastTimor/oil.htm [2005]

ในน่านน้ำดังกล่าว มีแหล่งทรัพยากรซึ่งเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน ซึ่งบริษัทบีเอชพี ออยล์ของออสเตรเลีย มีผลประโยชน์ในบริเวณน่านน้ำดังกล่าว สาเหตุนี้เองที่นักวิชาการและนักรัฐศาสตร์ทั่วไปชี้ว่า ทำให้ออสเตรเลียดำเนินนโยบายเคียงข้างอินโดนีเซียมาตลอด ขณะที่ประเทศตะวันตกอื่นๆ ได้ออกมาประณามการใช้ความรุนแรงของรัฐบาลอินโดนีเซียในติมอร์เลสเต เห็นได้ชัดจากกรณีสังหารหมู่ชาวติมอร์ตะวันออกในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1998 เมื่อมีการเผยแพร่เหตุการณ์สังหารหมู่ดังกล่าว ซึ่ง Alexander Downer (*) รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของออสเตรเลียออกมากล่าวว่ากองทัพอินโดนีเซียไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว

(*) Alexander John Gosse Downer (born 9 September 1951) is an Australian former Liberal politician who was Foreign Minister of Australia from March 1996 to December 2007, the longest-serving in Australian history. He was also the leader of the parliamentary Opposition for eight months from 1994 to 1995.

ออสเตรเลีย เปลี่ยนท่าทีให้การสนับสนุนเอกราชติมอร์ตะวันออก
ต่อมากระแสโลกาภิวัตน์ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างประเทศ เมื่อข่าวการสังหารหมู่ในติมอร์ตะวันออกแพร่หลาย ทำให้ชาติตะวันตกหลายประเทศออกมาร่วมสนับสนุนการปกครองตนเองของติมอร์ตะวันออก และเหตุการณ์ที่เป็นชนวนสำคัญคือ การที่กลุ่มทหารในกรุงดิลีเข้าจู่โจมบ้านของผู้สนับสนุนการปกครองตนเองนั้น รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของไอร์แลนด์ นาย David Andrews อยู่ในเหตุการณ์และเห็นเหตุการณ์ทั้งหมด ทำให้นาย Andrews นำเรื่องการใช้กองกำลังทหารของอินโดนีเซียเข้าสภายุโรปทันที (*)

(*) http://www.aph.gov.au/house/committee/jsct/6december2006/subs/sub31.pdf

หลังจากการสังหารหมู่กลายเป็นประเด็นถกเถียงในสภายุโรป สหประชาชาติได้เข้ามามีบทบาทด้วยการเรียกร้องให้มีการตกลงกันระหว่างอินโดนีเซีย โปรตุเกส และสหรัฐอเมริกาในวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ.1999 และเข้าจัดการลงมติในการเป็นส่วนหนึ่งของอินโดนีเซียหรือต้องการเป็นเอกราชของติมอร์ตะวันออก ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ออสเตรเลียต้องเปลี่ยนท่าที

รัฐบาลออสเตรเลียเห็นว่า สถานการณ์ในติมอร์ตะวันออกเริ่มบานปลายและนานาชาติเริ่มไม่เห็นด้วยกับการเข้าครอบครองติมอร์ตะวันออกของอินโดนีเซีย แนวโน้มที่ติมอร์ตะวันออกจะได้รับการสนับสนุนให้มีเอกราชเป็นไปได้สูง ขณะที่ภาคประชาชนของออสเตรเลียเองก็กดดันรัฐบาลของตนเช่นกัน การที่รถขนขยะของออสเตรเลียประท้วงรัฐบาลอินโดนีเซียด้วยการไม่ยอมขนขยะที่หน้าสถานทูตของอินโดนีเซีย และมีการเดินขบวนต่อต้านการฆ่าประชาชนติมอร์ตะวันออกของกองทัพอินโดนีเซียในออสเตรเลียอย่างล้นหลาม ชาวออสเตรเลียถือป้ายรณรงค์ไม่ซื้อสินค้านำเข้าจากอินโดนีเซีย ทำให้รัฐบาลออสเตรเลียต้องเปลี่ยนท่าทีจากที่สนับสนุนอินโดนีเซียมาโดยตลอด เป็นการหันมาสนับสนุนการเป็นเอกราชของติมอร์ตะวันออก รัฐบาลเกรงจะสูญเสียคะแนนเสียงสนับสนุนจากภาคประชาชนของตน รวมทั้งยังอาจเสียผลประโยชน์ในกรณีที่ติมอร์ตะวันออกได้รับเอกราช ด้วยเหตุนี้ออสเตรเลียจึงหันมาสนับสนุนการเป็นเอกราชของติมอร์ตะวันออก

วันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1999 ออสเตรเลียได้ส่งกองกำลังทหารของตนเข้าร่วมกับกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติถึง 5,000 นาย ขณะที่กองกำลังจากประเทศอื่นอีก 21 ประเทศส่งมารวมกัน 4,500 นายเท่านั้น นอกจากนี้ออสเตรเลียยังเข้าร่วมกองกำลังตำรวจระหว่างประเทศ โดยมีกลุ่มภารกิจที่รู้จักกันในนามของ UNTAET (United Nations Transitional Administration in East Timor)

ออสเตรเลียกับกลยุทธ์ต่างประเทศ เพื่อรักษาผลประโยชน์ด้านทรัพยากรธรรมชาติ
ในบทความเรื่อง A Dangerous oil slick. Australia Tries to Hijack East Timor's Future ของ Joseph Navin ได้วิเคราะห์เรื่องการที่ออสเตรเลียเปลี่ยนกลยุทธ์ในการต่างประเทศของตนใหม่ เพื่อรักษาผลประโยชน์ด้านทรัพยากรธรรมชาติ โดยชี้ว่า ออสเตรเลียยังหันไปดำเนินนโยบายกับติมอร์ตะวันออกอย่างเป็นรูปธรรมด้วยการลงนามในข้อตกลงระหว่างแคนเบอราและดิลี ตกลงให้รายได้ทั้งหมดที่ได้จากผลประโยชน์จากช่องแคบติมอร์ร้อยละ 90 เป็นของติมอร์ตะวันออก ส่วนอีกร้อยละ 10 เป็นของออสเตรเลีย (*) ข้อตกลงดังกล่าวยังก่อให้เกิดคำถามจากหลายประเทศว่า ออสเตรเลียมีสิทธิในการหาประโยชน์จากน่านน้ำดังกล่าวจริงหรือ Imron Cotan ได้วิเคราะห์เรื่องนี้ในการบรรยายหัวข้อเรื่อง "Indonesia-Australia relations: East Timor, Bali bombing, Tsunami and beyond" ซึ่งชี้ว่า ผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศที่เข้าร่วมการสัมมนาในกรุงดิลีเองได้ให้ข้อสังเกตว่า เส้นเขตแดนดังกล่าวที่ทำไว้กับออสเตรเลียนั้น เมื่อลากเส้นตามระเบียบกฎหมายระหว่างประเทศแล้ว จะมีความแตกต่างเรื่องผลประโยชน์ที่ติมอร์ตะวันออกควรจะได้รับจริง ซึ่งนี่เป็นบทบาทที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างออสเตรเลียกับอินโดนีเซียสั่นคลอน

(*) อ้างจากเว็บไซต์ www.etan.org/estafeta/02/spring02/4gap.htm

ญามาอะห์ อิสลามิยะ (เจไอ) กับการโจมตีเป้าหมายออสเตรเลีย
ในภาครัฐนั้น ตัวแทนของอินโดนีเซียได้ละเลยการติดต่อย่างเป็นทางการกับออสเตรเลีย รวมทั้งไม่เข้าร่วมประชุมทวิภาคีกับออสเตรเลียที่จัดขึ้นตามวาระ ในภาคประชาชนเองก็มีการต่อต้าน โดยธงชาติและรูปของนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียขณะนั้น ถูกเผาเพื่อเป็นการประท้วงท่าทีของออสเตรเลีย นักธุรกิจชาวออสเตรเลียและครอบครัวได้รับโทรศัพท์ข่มขู่ และเป็นผลให้ต้องย้ายออกจากอินโดนีเซีย และออสเตรเลียต้องปิดสถานกงสุลของตนในกรุงดิลี กุปัง บาลิก และ ปาปัน (*)

(*) Carlyle A. Thayer, Australia-Indonesia Relations: The Case of East Timor (Address delivered before International Conference on Australia and East Asian Security in to the 21st Century: Taipei: October, 1999 p. 15

บทบาทของออสเตรเลียในครั้งนี้เป็นหนึ่งในสาเหตุที่กลุ่มก่อการร้ายนำมาอ้าง ในการเป็นประเทศเป้าหมายการโจมตีอย่างเป็นทางการของกลุ่ม ญามาอะห์ อิสลามิยะ หรือ เจไอ รวมทั้งยังเป็นข้ออ้างของการสนับสนุนการออกมาทำสงครามญิฮาดจากผู้นำกลุ่มก่อการร้าย อัลกออิดะห์ และเห็นได้ชัดว่า ท่าทีของออสเตรเลียรวมทั้งนโยบายต่างประเทศของออสเตรเลียทำให้ออสเตรเลียดูเหมือนเป็นนักประจบสอพลอและโลเล ใครมีผลประโยชน์มากก็เข้าถือข้างเพื่อฉกฉวยผลประโยชน์ ประเด็นนี้ไม่เพียงแต่นักวิชาการของอินโดนีเซียเท่านั้นที่มองออสเตรเลียในลักษณะดังกล่าว ทว่านักวิชาการเกือบทุกประเทศล้วนมีความเห็นไปในทำนองเดียวกันข้างต้น

นักวิชาการออสเตรเลีย: นโยบายต่างประเทศต่ออินโดนีเซียที่กลับกลอกแต่มีเหตุผล
ในขณะที่ในบทความที่มาจากการวิเคราะห์จากนักวิชาการของออสเตรเลียเอง แม้จะยอมรับถึงนโยบายต่างประเทศของตนเองต่ออินโดนีเซียที่ดูคล้ายการกลับกลอก แต่ก็มองว่า นั่นเป็นเพราะแรงกดดดันจากมหาอำนาจและปัจจัยอื่นๆ มากกว่า ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจึงพลิกผันตลอดเวลา. Nancy Viviani ได้เขียนบทความเรื่อง The Sharp Deterioration in Relations between Indonesia and Australia: An Australian Perspective (*) ชี้ว่า ทั้งหลายทั้งปวงเกี่ยวกับความสัมพันธ์และนโยบายต่างประเทศ รวมทั้งท่าทีโดยรวมของออสเตรเลียที่มีต่ออินโดนีเซียที่เป็นไปอย่างขึ้นๆ ลงๆ นั้น เป็นผลจากปัจจัยอื่นทั้งสิ้น ไม่ได้เป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากการตัดสินใจโดยตรงของออสเตรเลีย โดยกล่าวว่า ในกรณีของนิวกินีตะวันตกซึ่งอินโดนีเซียอ้างว่าเป็นผืนดินเดียวกันตั้งแต่เป็นอาณานิคมของดัทช์นั้น สหรัฐอเมริกาได้เข้ามาแทรกแซงการตัดสินและก่อให้เกิดผลดังกล่าว

ในการเผชิญหน้ากับอินโดนีเซียเนื่องจากออสเตรเลียช่วยเหลือแนวหน้ามาเลเซียในการรบนั้น ปัญหาความขัดแย้งได้จบลงเนื่องจากการโค่นล้มซูการ์โน ประธานาธิบดีอินโดนีเซียขณะนั้น และการที่สหรัฐอเมริกาแอบให้การรับรองการเข้ายึดครองติมอร์เลสเตแบบเงียบๆในปี ค.ศ.1975 เช่นกัน การตัดสินใจในการให้มีการลงมติเพื่อเอกราชของติมอร์เลสเต เกิดจากผลทางการเมืองในจาการ์ตาเอง ในส่วนที่มองหาการรับรองจากนานาชาติให้กับการขึ้นดำรงตำแหน่งของนาย ฮาร์บิบี ขณะที่ Viviani มองว่า ออสเตรเลียเป็นเพียงเครื่องมือในการทำให้เกิดกองกำลังนานาชาติเข้าไปเกี่ยวข้อง และชี้ว่าสหรัฐอเมริกาต่างหากที่กดดันประธานาธิบดีฮาร์บิบีให้เห็นชอบในการเข้าไปแทรกแซงในติมอร์ตะวันออก

สาเหตุนี้เองที่เป็นปัจจัยให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศถึงจุดต่ำสุด เพราะชาวอินโดนีเซียต่างก็มองออสเตรเลียเป็น "พวกตีสองหน้า" "ไม่จริงใจ" และ หาผลประโยชน์เข้าตัวขณะที่ออสเตรเลียเองมองว่า นโยบายต่างประเทศของตนเป็นผลมาจากการถูกกดดันจากประเทศอื่นๆ และสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น อีกทั้งภาคประชาชนออสเตรเลียเองก็มองรัฐบาลอินโดนีเซียในทางลบเช่นกัน ต่อการปฏิบัติกับชาวติมอร์ตะวันออกอย่างไร้มนุษยธรรม

ความสัมพันธ์ระหว่างออสเตรเลียและอินโดนีเซีย หลังติมอร์ตะวันออกได้รับเอกราช
ออสเตรเลียพยายามที่จะฟื้นฟูความสัมพันธ์กับอินโดนีเซีย หลังจากที่อินโดนีเซียมีท่าทีเฉยเมยต่อออสเตรเลียมาตลอด ขณะที่อินโดนีเซียเองมีปัญหาการเมืองภายในประเทศเช่นกัน ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศยังไม่มีความคืบหน้า

หลังการหมดอำนาจของซูฮาร์โต ในเดือนตุลาคม ค.ศ.1999 อินโดนีเซียมีการเลือกตั้งครั้งใหม่ และได้มีพรรคการเมืองผสม ภายใต้การนำของประธานาธิบดี อับดุลราฮัม วาฮิด (Abdulrahhman Wahid) ซึ่งเป็นผู้นำองค์กรกลุ่มมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย NU มีสมาชิกกว่า 35 ล้านคนทั่วประเทศ และมีรองประธานาธิบดีคือนางเมกาวตี ซูการ์โนบุตรี

ขณะที่ในค.ศ. 2000-2001 ออสเตรเลียลดกำลังทหารในติมอร์เลสเต แต่อย่างไรก็ตาม ยังให้ความช่วยเหลือและเป็นกำลังหลักของสหประชาชาติที่ให้การช่วยเหลือติมอร์เลสเต และนั่นเป็นผลให้ประธานาธิบดี วาฮิด ไม่ได้เข้าเยี่ยมออสเตรเลียในช่วงระหว่างการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเลย

อย่างไรก็ดี ในยุคประธานาธิบดีซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน ความสัมพันธ์ระหว่างออสเตรเลียกับอินโดนีเซียมีการฟื้นฟูอีกครั้ง การฟื้นฟูความสัมพันธ์ดังกล่าวเกิดจากการที่อินโดนีเซียประสบกับมหันตภัยสินามิในเดือนธันวาคม ค.ศ.2004 และ ออสเตรเลียได้ยื่นมือช่วยเหลือในเดือนมกราคม ค.ศ. 2005 หลังจากนั้น นายฮาวเวิร์ด นายกรัฐมนตรีของออสเตรเลียและประธานาธิบดียูโดโยโนของอินโดนีเซียประกาศการพัฒนาและสร้างความสัมพันธ์ต่อกันอีกครั้ง (AIPRD) ซึ่งภายใต้การพัฒนาร่วมกันนี้ ออสเตรเลียได้ให้ความช่วยเหลือการประสบภัยสึนามิสิบล้านเหรียญสหรัฐ ภายในห้าปีในการพัฒนาและฟื้นฟูความสัมพันธ์ในพื้นที่จังหวัดอาเจะห์และที่อื่นๆ ในอินโดนีเซีย

มีการพบปะร่วมมือกันที่สำคัญระหว่างออสเตรเลียและอินโดนีเซียมากขึ้นในยุคของประธานาธิบดี ยูโดโยโน มีการจัดการประชุมคณะรัฐมนตรีออสเตรเลีย อินโดนีเซียครั้งที่แปด (AIMF) (*) ที่เกาะบาหลีในวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ.2006 โดยผลการประชุมที่สำคัญคือการสนับสนุนความร่วมมือด้านความมั่นคง ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักกันดีชื่อ ข้อตกลงลอมบอก (Lombok Agreement ซึ่งเป็นกรอบโครงสร้างเพื่อการพัฒนาด้านความมั่นคงจนกระทั่งปี ค.ศ. 2006 ต่อมามีการประชุมกันแบบไตรภาคีระหว่างออสเตรเลีย อินโดนีเซียและติมอร์เลสเต ซึ่งจัดขึ้นสามครั้งในเดือนกันยายน ปี ค.ศ. 2006

(*) AIMF คือ Australia-Indonesia Ministerial Forum เป็นการประชุมแบบทวิภาคี ระหว่างรัฐมนตรีออสเตรเลียและอินโดนีเซีย ซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ.1992 จัดขึ้นเพื่อประชุมร่วมกันทุกปีระหว่างสองประเทศ

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1700 เรื่อง หนากว่า 35000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com