ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้เป็นสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๒ : Release date 11 September 2009 : Copyleft MNU.

ขบวนการอาเจะห์เสรี GAM : Gerakan Aceh Merdeka ก่อตั้งและเริ่มปฏิบัติการในปี ๑๙๗๖ ( พ.ศ. ๒๕๑๙) โดยเมื่อเติงกู ฮาซัน ดิ ติโร(Tenku Hasan Di Tiro ) นักธุรกิจชาวอาเจะห์ ผู้สำ เร็จการศึกษาจากสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศเอกราชให้จังหวัดอาเจะห์ เป็นอิสรภาพแยกจากอินโดนีเซีย เติงกู ฮาซัน ดิ ติโร เป็นผู้ที่มีเชื้อสาย จากครอบครัวสุลต่านฏอนแห่งอาเจะห์ ประกาศว่า จังหวัดอาเจะห์ได้ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอินโดนีเซียในปี ๑๙๔๙ ไม่ชอบธรรม เมื่ออาเจะห์ตกเป็นอาณานิคมของดัทซ์ ร่วมหนึ่งศตวรรษ สุลต่านแห่งอาเจะห์มีอิสรภาพ มีความแตกต่างจากอัตลักษณ์ สภาพภูมิประเทศ จากส่วนกลางโดยสิ้นเชิง และกล่าวว่าอินโดนีเซียควรสิ้นสุดการยึดครองอาเจะห์ได้แล้ว. ปี ๑๙๗๗ อินโดนีเซียทำการปราบปรามขั้นเด็ดขาด

 

H



11-09-2552 (1763)

กระบวนการสร้างสันติภาพในอาเจะห์ (Making Peace: Ahtisaari and Aceh)
ลงนามสัญญาสันติภาพที่สโมลนา-ความปิติยินดีในบันดาร์อาเจะห์
บทความนี้ได้รับมาจากคุณ บุรฮานุดดิน อุเซ็ง
บทความนี้ได้มีการปรับปรุงบางประโยค และย่อหน้าเพื่อความสะดวกในการอ่าน
โดยกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

เมื่อตอนที่ได้รับหนังสือ(ทางออนไลน์)ชิ้นนี้ คุณบุรฮานุดดิน อุเซ็ง
ได้เขียนข้อความส่งถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ความว่า
ขออนุญาตส่ง "กระบวนการสร้างสันติภาพในอาเจะห์ เพื่อพิจารณา
เห็นว่า น่าจะเป็นข้อพิจารณากับการแก้ไขความขัดแย้งที่ภาคใต้บ้านเรา ด้วยวิธีการสันติ"

เนื่องจากหนังสือนี้ ความยาวประมาณ 124 หน้ากระดาษ A4
กอง บก.ม.เที่ยงคืนจึงขอนำเสนอบทความนี้ครั้งละหนึ่งบท โดยในบทแรกและบทที่สองคือ
"คลื่นยักษ์สึนามิ"และ"โหมโรง: การเจรจาสันติภาพ รอบแรก"พร้อมคำนำของหนังสือ
เขียนโดยเจ้าของเรื่อง กาตริ เมอริกัลป์ลิโอ คอลัมนิสต์ชาวฟินแลนด์
หนังสือเล่มนี้ เป็นการรวบรวมบทความที่สำคัญ ของผู้เขียนซึ่งเคยลงตีพิมพ์ในวารสารรายสัปดาห์
ของฟินแลนด์ ชื่อ Saumen Kualehti ในระหว่างปี 2005 - 2006 (พ.ศ. 2548 - 2549)

แม้หนังสือเล่มนี้มิได้เป็นสูตรสำเร็จ หรือวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ หรือเป็นเพียง
รายงานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับกระบวนการแสวงหาสันติภาพฉบับหนึ่ง
แต่ก็เป็นบันทึกที่ได้มาซึ่งสันติภาพ เป็นงานที่รวบรวมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
เกี่ยวกับกระบวนการสร้างสันติภาพในอาเจะห์ ที่น่าสนใจศึกษา

(บทความนี้จัดอยู่ในหมวด "การจัดการความขัดแย้ง")


สนใจส่งบทความเผยแพร่ ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน:
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๗๖๓
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๑ หน้ากระดาษ A4 โดยไม่มีภาพประกอบ)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

กระบวนการสร้างสันติภาพในอาเจะห์ (Making Peace: Ahtisaari and Aceh)
ลงนามสัญญาสันติภาพที่สโมลนา-ความปิติยินดีในบันดาร์อาเจะห์
บทความนี้ได้รับมาจากคุณ บุรฮานุดดิน อุเซ็ง
บทความนี้ได้มีการปรับปรุงบางประโยค และย่อหน้าเพื่อความสะดวกในการอ่าน
โดยกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word


15. ลุยป่าอาเจะห์
วันอังคารที่ 26 กรกฏาคม - วันอังคารที่ 2 สิงหาคม 2005 (พ.ศ.2548)
ครั้งเมื่อขบวนการอาเจะห์เสรีแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับกำลังพลและอาวุธ จาอ์กโก้ อ๊อกซาเน็น,ปีเตอร์ เพธ, ยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น, ได้รับคำยืนยันความถูกต้องจากผู้บัญชาการกองกำลังขบวนการอาเจะห์เสรีในพื้นที่ และพวกเขาได้มีการเตรียมความพร้อมในการส่งมอบอาวุธและยุติการต่อสู้ หากไม่มีการยืนยันให้หลักประกันแล้ว สหภาพยุโรป ก็จะไม่เข้าร่วมกับกระบวนการนี้ เนื่องจากขณะนั้นในพื้นยังมีการสู้รบอยู่ การเข้าพบและประชุมปรึกษาหารือกับผู้บัญชาการกองกำลังอาเจะห์นั้นไม่ใช่เป็นเรื่องยาก แต่บุคคลที่กองทัพมีความพยายามที่จะล่าตัวมากที่สุดคือ ซาการียา ซามาน (Zakaria Saman) ซึ่งมีชื่อจัดตั้งว่า เติงกู อูบิต (Tengku Ubit)

ก่อนเดินทางครั้งนี้ มาลิก มะห์มูด และนายไซนี อับดุลลอฮ์ ได้บินมาจากกรุงสต๊อคโฮล์มสู่กรุงเฮลซิงกิ เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับแนวทางที่จะขอพบและการเลี่ยงเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้น . ปีเตอร์ เพธ, จาอ์กโก้ อ๊อกซาเน็น, และยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น บินไปกรุงจาการ์ต้าและเมดาน เพื่อทำการประสานงานการจัดการพบปะของคณะฝ่ายที่สาม การประสานงานขอใช้เฮลิคอปเตอร์ขนส่งขนาดใหญ่ของรัสเซีย ซึ่งสามารถจัดให้ได้ในวันที่ 30 กรกฏาคม 2005 (พ.ศ.2548) และจะมีการประชุมขึ้นในวันนั้น

แม้ว่าจะได้มีการตกลงไว้ล่วงหน้าแล้วก็ตาม แต่การปฏิบัติการครั้งนี้ต้องรักษาเป็นความลับ ไม่ควรแจ้งให้กองทัพทราบถึงเป้าหมาย บุคคล และสถานที่ที่จะเดินทางไปพบ "นายพลซูตาร์โต ผู้บัญชาการทหารสูงสุดกล่าวว่า บางทีคณะผู้แทนฝ่ายกองทัพเสียความรู้สึกเล็กน้อย เมื่อมีการประสานงานกับเรา แต่ไม่แจ้งอะไรในรายละเอียดบางอย่างให้เราทราบเลย และสถานที่ดังกล่าวนี้ยังคงเป็นประเทศของเราอยู่" ยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น กล่าวถึงความทรงจำ. แต่อย่างไรก็ตาม กองทัพก็ไม่ได้ปฏิเสธ และให้คำมั่นว่าในระหว่างการเดินทางของคณะ ทางกองทัพจะไม่มีการเคลื่อนพล และเปิดการปฏิบัติการใดๆ

เครื่องหมายกากบาดสีขาว
เติงกู อูบิต ผู้บัญชาการกองกำลังจรยุทธ์ขบวนการอาเจะห์เสรี เป็นเป้าหมายเบื้องต้นในการมาพบปะ เติงกู อูบิต เคยลี้ภัยอยู่ในประเทศสวีเดนมากว่า 10 ปี และเคยเข้ามาอาศัยในประเทศไทยหลายปี และเป็นผู้รับผิดชอบเรื่องอาวุธของขบวนการอาเจะห์เสรีทั้งหมด. ยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น ได้ติดต่อประสานงานกับเติงกู อูบิต ทางโทรศัพท์ และได้รับปากที่จะพบกันโดยกำหนดสถานที่นัดหมายที่ บีเริ่น (Bireuen) โดยจะได้มีการทำเครื่องหมายเพื่อให้เฮลิคอปเตอร์ร่อนลงจอด เพราะการติดต่อพูดคุยทางโทรศัพท์นั้น เป็นอันตรายต่อเติงกู อูบิต ดังนั้นทั้งสองจึงต้องใช้ภาษาสวีดิช (สวีเดน)ในการติดต่อสื่อสารเท่านั้น

ภายใต้เงื่อนไขและข้ออ้างในเรื่องความปลอดภัยของบุคลากรของสหภาพยุโรป และทางกองทัพถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องให้ความคุ้มครองดูแล ทั้งๆ ที่คณะทำงานฝ่ายที่สามปฏิเสธที่จะให้ข้อมูล. ในวันเดินทางปฏิบัติการของคณะฯ ทัศนวิสัยดี ไม่มีเมฆ หมอกหนา ท้องฟ้าโปร่ง เป้าหมายที่จะเดินทางยังไม่แจ่มชัด แต่แจ้งให้เครื่องทำการบินตามเส้นทางโดยยึดแนวแม่น้ำจนถึงบริเวณป่าสน เมื่อพบเห็นบริเวณที่มีการถางป่าและเผาสามารถมองเห็นอย่างชัดเจน ก็ให้มองหาจุดที่ได้ทำเครื่องหมายไว้ที่พื้นดิน

เมื่อเฮลิคอปเตอร์ขึ้นบินออกจากเส้นทาง ตามคำแนะนำออกนอกเส้นทางการควบคุมการจราจรทางอากาศ เครื่องได้ทำการทดลองร่อนลงจอด 2 ครั้งก่อนทำการบินจริง มีจุดถางป่าและเผาหลายจุดในบริเวณป่าสน เมื่อบินออกจากบริเวณดังกล่าวจะเห็นแม่น้ำและมองเห็นจุดนัดหมายที่จะทำการร่อนลงจอด มีเครื่องหมายกากบาดสีขาวบนเต็นท์ ที่ปูบนพื้นดินในเขตอำเภอบีเริ่น มีกลุ่มนักรบจรยุทธ์รวมทั้งผู้บังคับการของพวกเขา เติงกู อูบิต รออยู่เบื้องล่าง. "เราบอกกับนักบินว่า เราเห็นจุดหมายแล้ว และชี้ให้เห็นจุดที่เราจะร่อนลงจอด แต่ได้รับการปฏิเสธจากนักบิน เพราะจุดหมายที่เติงกู อูบิตกำหนด เป็นพื้นที่อยู่ในแนวลาดชัน ยากที่จะทำการลงจอด" จาอ์กโก้ อ๊อกซาเน็น เล่า. ดังนั้น เราไม่สามารถทำอะไรได้มากไปกว่าการโบกมือไปยังกลุ่มคนที่รออยู่เบื้องล่าง เรามีความจำเป็นต้องเดินทางกลับ และการนัดหมายต้องยกเลิกไปโดยปริยาย. เรามีปัญหามาก แต่อย่างไรก็ดีนับเป็นนิมิตรหมายที่ดีที่พวกเรา ได้มาตามนัดแล้ว เราตกลงกันว่าเราจะพยายามมาพบกันในวันข้างหน้า โดยใช้เครื่องบินขนาดเล็ก

เย็นวันนั้น ยูฮ่าร์ คริสเทนเซ่น ได้ทำความตกลงใหม่กับเติงกู อูบิต อีกครั้งหนึ่ง โดยนัดเป็นเวลาตอนเช้าโดยใช้เฮลิคอปเตอร์ขนาดเล็ก และในคืนนั้นเติงกู อูบิต ได้แจ้งให้ยูฮ่าร์ คริสเทนเซ่น ทราบด้วยว่า กองทัพอินโดนีเซียได้ส่งกองกำลังทหารเข้ามาใน ณ จุดบริเวณพื้นที่ที่เฮลิคอปเตอร์จะร่อนลงจอด เพื่อตามล่าค่าหัวสำหรับหัวหน้านักรบจรยุทธ์ขบวนการอาเจะห์เสรี ทั้งๆ ที่ข้อตกลงการเจรจาได้มีการตกลงกันแล้ว พวกเราจึงรู้ว่าเติงกู อูบิต ผู้นี้ มีค่าหัวรางวัล 100,000 เหรียญสหรัฐ

จากเหตุการณ์ในวันวาน ทั้งๆ ที่รู้ว่าเป็นการเสี่ยง เติงกู อูบิต ยังตอบตกลงในการพบปะและได้กำหนดจุดนัดพบใหม่อีกครั้งหนึ่ง. ยูฮ่าร์ คริสเทนเซ่น, ปีเตอร์ เพธ และจาอ์กโก้ อ๊อกซาเน็น ลืมบอกแก่นักบินถึงสถานที่นัดหมายที่จะร่อนลงจอด การเดินทางเป็นไปด้วยดี ทัศนวิสัยปลอดโปร่ง อากาศสดใสงดงามอีกครั้งหนึ่ง บรรยากาศเป็นไปอย่างที่คาดหวัง เมื่อเฮลิคอปเตอร์บินได้ระยะหนึ่ง ยูฮ่าร์ คริสเทนเซ่น และจาอ์กโก้ อ๊อกซาเน็น มองหน้ากัน ทั้งสองต่างรู้สึกประหลาดใจในสิ่งเดียวกัน คือนักบิน มิได้สวมเครื่องแบบนักบินแห่งกองทัพอินโดนีเซีย เพราะเป้าหมายของการเดินทางครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อไปพบกับหัวหน้านักรบจรยุทธ์ขบวนการอาเจะห์เสรี ที่รัฐบาลกำลังปราบปรามตามล่าอยู่ จึงเป็นการไม่เหมาะสม จาอ์กโก้ อ๊อกซาเน็น และยูฮ่าร์ คริสเทนเซ่น คิดได้สักครู่จึงพูดด้วยภาษาฟินนิช (ฟินแลนด์) ด้วยกัน สรุปแล้วว่าอย่าไปพูดให้ใครฟังถึงเรื่องนี้ ยูฮ่าร์ คริสเทนเซ่น เริ่มพูดคุยกับนักบินด้วยภาษาบาฮาซาอินโดนีเซีย และแจ้งให้ทราบถึงจุดที่นัดพบกับขบวนการอาเจะห์เสรี ด้วยความคาดหวังว่าเขาคงเห็นด้วย

เฮลิคอปเตอร์พร้อมที่จะบิน ขณะที่ ยูฮ่าร์ คริสเทนเซ่น กำลังติดพันกับคุยกับนักบินอยู่ จาอ์กโก้ อ๊อกซาเน็น จึงกล่าวให้เริ่มบินได้. หลังจากได้บินมาระยะหนึ่ง ก็สามารถมองเห็นจุดหมายที่เฮลิคอปเตอร์จะร่อนลงจอดบนพื้นที่ราบ และมีบรรดานักรบจรยุทธ์ ขบวนการอาเจะห์เสรีในชุดเสื้อเจ็คแก็ตสีดำ ใส่กางเกงยีนส์ และรองเท้าบู๊ธ และมีเครื่องหมาย ปรากฏตัวออกจากบริเวณป่ารอบๆ พื้นที่ประมาณ 70 คน. เติงกู อูบิต ชายร่างเล็กอายุโดยประมาณสัก 60 ปี ดูท่าทางเหนื่อยหน่าย และเบื่อสงคราม "สายตาทีแฝงด้วยความเศร้า และดูเรียบเฉย ชีวิตที่ต้องเปลี่ยนที่นอนทุกสองคืนตลอดทั้งปี และมีความเบื่อหน่ายในการสู้รบอย่างเต็มประดา" จาอ์กโก้ อ๊อกซาเน็น ย้อนรำลึก

ขณะที่คณะสัมผัสมือทักทายกับเติงกู อูบิต, ยูฮ่าร์ คริสเทนเซ่น เดินไปหานักบิน และกล่าวแก่เขาว่า ไม่ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นขอให้เขานั่งอยู่เฉยๆ และรอเพียงอย่างเดียว นักบินเห็นด้วยและกล่าวว่า ตราบใดที่ภารกิจของเขายังไม่ลุล่วง เขาก็จะรออยู่ในเครื่อง และปีเตอร์ เพธ เดินตรงไปยังกลุ่ม. "ผมมองสายตาเรียบๆ ของ เติงกู อูบิต และกล่าวแก่เขาว่าผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรีที่กรุงสต๊อคโฮล์ม ให้ข้อมูลว่าจะทำการส่งมอบอาวุธปืนจำนวน 840 กระบอก และยุติการเคลื่อนไหวของนักรบจรยุทธ์ขบวนการอาเจะห์เสรีจำนวน 3,000 คน ผมถามถึงจำนวนอาวุธที่อยู่ในความดูแลของเขา และถามว่าเขาเข้าใจถึงเจตนารมณ์ของคณะจากสหภาพยุโรป ซึ่งได้เดินทางมาที่นี้ด้วยวัตถุประสงค์ใดหรือไม่? เขากล่าวว่าเขารับทราบ และได้รับแจ้งจากจากกรุงสต๊อคโฮล์มเกี่ยวกับส่งมอบอาวุธแล้วเช่นกัน

มีการพูดคุยกันในเรื่องทั่วๆ ไป เกี่ยวกับการประสานงานกับคณะผู้สังเกตการณ์การตรวจสอบกระบวนการสันติภาพในอาเจะห์ (AMM) และการดูแลความปลอดภัยของอดีตนักรบจรยุทธ์ขบวนการอาเจะห์เสรี และมีความประสงค์ที่จะให้คณะผู้สังเกตการณ์การตรวจสอบกระบวนการสันติภาพในอาเจะห์ ฯลฯ การพูดคุยตามกำหนดการจะใช้เวลาเพียงแค่ 15 นาที แต่ในข้อเท็จจริงกลับใช้เวลา 1 ชั่วโมงครึ่ง

ไม่มีผู้ใดคาดการณ์หรือคำนึงเกี่ยวกับอดีตนักรบจรยุทธ์ว่า ขบวนการอาเจะห์เสรีจะกลับเข้าสู่สังคมบ้านเกิดในชนบท หลังจากได้เข้าร่วมพัฒนาประเทศและส่งมอบอาวุธแล้ว เขาจะได้รับการยอมรับเยี่ยงวีระบุรุษหรือการปล่อยปละละเลย เขาจะปรับตัวเข้าสู่สังคมในฐานะพลเรือนได้อย่างไร? หลังจากที่เขาเข้าสู่การสงครามมาหลายปี พวกเขาจะประกอบอาชีพอะไรในหมู่บ้านเขา ด้วยการเริ่มต้นชีวิตใหม่? การประชุมจึงมีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานของคณะผู้สังเกตุการณ์การตรวจสอบกระบวนการสันติภาพในอนาคตยิ่ง ข้อมูลข่าวสารที่ผู้นำในกรุงสต๊อคโฮล์มให้มาก็มีความสำคัญ และเป็นประโยชน์ต่อความเชื่อถือของขบวนการอาเจะห์เสรี กว่าจะได้รับการพิจารณายอมรับ. "ผมมีความประทับใจจากการประชุมมาก ทั้งฝ่ายรัฐบาลกรุงจาการ์ต้าและการประชุมครั้งนี้ ผมได้ยืนยันความคืบหน้าต่อสหภาพยุโรปที่กรุงบรัซเซลล์ คู่เจรจาทั้งสองฝ่ายได้มีการเจรจาเกี่ยวกับระบบการเมืองที่จะเดินหน้าอย่างจริงจังต่อไปขางหน้า" ปีเตอร์ เพธ กล่าว

นักบินที่กำลังนั่งคอยคณะผู้เจรจาอยู่ในเฮลิคอปเตอร์ ดูเหมือนว่าเขามีความรู้สึกสบายใจและถอนหายใจอย่างชัดเจน เมื่อเห็นคณะผู้แทนเจรจาเดินกลับมา จาอ์กโก้ อ๊อกซาเน็น จึงถามว่า เขามีความรู้สึกวิตกกังวลอะไรหรือไม่? เขากลับตอบว่าไม่มีอะไร แต่การที่เขาสวมใส่ชุดส่วนตัวโดยไม่ได้สวมใส่ชุดเครื่องแบบ ทำให้เขารู้สึกวิตกกังวล และตัวสั่นพอสมควร

กลุ่มประเทศอาเชียนเข้ามาร่วม
หลังจากเดินทางกลับจากอาเจะห์ ปีเตอร์ เพธ, จาอ์กโก้ อ๊อกซาเน็น, และยูฮ่าร์ คริสเทนเซ่น ได้มีการพบปะกับคณะพลเรือนและทหารของประเทศสมาชิกอาเชียนในกรุงจาการ์ต้า และการปรึกษาหารือร่วมกับท่านซอฟยาน ดจาลิล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงประชาสัมพันธ์และการข่าว เกี่ยวกับแนวทางการจัดบุคลากร การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างบุคลากรของสหภาพยุโรปและอาเชียน ในการทำหน้าที่ตามโครงสร้างที่เตรียมไว้ และการจัดเข้ารับผิดชอบหน้าที่ตามโครงสร้างคณะผู้สังเกตการณ์การตรวจสอบกระบวนการสันติภาพในอาเจะห์ที่กำหนดไว้

ความจริงกลุ่มประเทศอาเชียน ได้เข้ามามีส่วนร่วมและเกี่ยวข้องทุกอย่างในกระบวนการสังเกตการณ์การตรวจสอบกระบวนการสันติภาพและเป็นการสร้างดุลอำนาจ เมื่อประเทศอินโดนีเซียร้องขอให้ประเทศเพื่อนบ้านเข้ามามีส่วนในการปฏิบัติการ และประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนไม่มีทางออกอื่น นอกจากต้องยอมรับ. ประเทศอินโดนีเซียมีบทบาทในภูมิภาคนี้มาก ประเทศสมาชิกทั้งห้าประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย, มาเลเซีย, บรูไน, ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ได้ตกลงที่จะส่งเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 93 คน เข้าร่วมปฏิบัติการในคณะผู้สังเกตการณ์การตรวจสอบกระบวนการสันติภาพในอาเจะห์

ที่กรุงจาการ์ต้า ได้มีการตกลงกันที่จะให้คณะผู้แทนของอาเชียน และสหภาพยุโรปทำงานร่วมกันเคียงบ่าเคียงไหล่ ผสมผสานร่วมงานในองค์กรปฏิบัติการเดียว เช่นหากเจ้าหน้าที่จากสหภาพยุโรปได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้า ก็จะแต่งตั้งเจ้าหน้าที่จากอาเชียนดำรงตำแหน่งรองหัวหน้า และมีการสลับกันไปในแต่ละชุด นับว่าเป็นการปฏิบัติการที่ผสมผสานการปฏิบัติการระหว่างอาเซียนและสหภาพยุโรปเป็นครั้งแรก และนับว่าเป็นโครงสร้างที่มีความสำคัญเป็นพิเศษ

พันโท นิพัทน์ ทองเล็ก(*) รองประธานคณะผู้สังเกตการณ์การตรวจสอบกระบวนการสันติภาพในอาเจะห์ จากประเทศไทย เป็นผู้หนึ่งที่ประชาชนชาวอาเจะห์มีความชื่นชม และมีความยินดีที่ได้เป็นผู้มาร่วมงานกับคณะทำงานระหว่างสหภาพยุโรปกับอาเชียน ซึ่งปฏิบัติงานด้วยความรับผิดชอบเท่าเทียมกันอย่างเคียงบ่าเคียงไหล่ "มันเป็นการสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงาม โดยเฉพาะแบบอย่าง เป็นแบบจำลองการทำงานร่วมกัน ประสานงานกัน" พันโทนิพัทน์ ทองเล็ก กล่าวสรุป

(*) พล.ท.นิพัทธ์ ทองเล็ก (ยศปัจจุบัน: ล่าสุด) เจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร อดีตรองประธานคณะผู้สังเกตการณ์การตรวจสอบกระบวนการสันติภาพในอาเจะห์ (Deputy Head of the Aceh Monitoring Mission : AMM) ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้แทนนคณะผู้สังเกตการณ์ ร่วมกับผู้สังเกตุการณ์จากสหภาพยุโรป และอาเชี่ยน หลังมีการลงนามในข้อตกลงสันติภาพ ที่สมอลนา เฮลซิงกิ ฟินแลนด์, เมื่อวันที่ 15 กรกฏาคม 2548

พล.ท.นิพัทธ์ กล่าวว่าว่า โมเดลการแก้ปัญหาในอาเจะห์ไม่ได้เป็นยาวิเศษ เพียงแต่มีการค้นพบยาตัวหนึ่งที่สามารถรักษาอาการของโรคที่ใกล้เคียงกับภาคใต้ของไทยมีอยู่ 4 ประการ คือ
(1) ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ ชาวอาเจะห์เชื่อว่าพวกตนไม่ใช่ชาวอินโดนีเซีย มีประวัติศาสตร์ยาวนานและเรียกตัวเองว่า "อาเจะห์" และเรียกคนอินโดนีเซียว่า "ยาวา"
(2) ความเป็นมุสลิมแม้จะนับถือศาสนาอิสลามเหมือนกัน แต่ก็มีความต่างเรื่องวิธีคิดและการปฏิบัติตามหลักศาสนาแตกต่างกัน
(3) ความห่างเหินจากศูนย์กลางอำนาจ
(4) ปัญหาการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่

"ทั้ง 4 ข้อนี้ เป็นเงื่อนไขที่ดูแล้วอาการป่วยคล้ายๆ กับภาคใต้ของไทย และ "ยารักษาโรค" จากบทเรียนของอาเจะห์นั้น ในเชิงเปรียบเทียบแล้ว จุดเปลี่ยนสำคัญสู่สันติภาพคือ "หมอได้พบกับคนไข้" ขณะที่ "คนไข้ก็ต้องยอมแสดงตนด้วย" โดยทั้งสองฝ่ายต้องมาเห็นหน้ากัน แล้วยาจะออกมาเอง อย่างไรก็ตาม แนวทางว่าด้วย "หมอได้พบกับคนไข้" นั้น ดูจะเป็นความต่างอันสำคัญระหว่างอาเจะห์กับจังหวัดชายแดนภาคใต้ "สถานการณ์ของเราขณะนี้ยังไม่เคยเจอคนไข้ กลุ่มก่อความไม่สงบไม่เคยแสดงตัว ได้แต่สร้างความเสียหายให้กับผู้บริสุทธิ์ มีคนเสียชีวิตทุกวัน" แต่กระนั้น ในเรื่องของการแสดงตัว ก็ไม่ได้หมายถึงเพียงแค่กลุ่มก่อความไม่สงบจะต้องออกมาแสดงตัวโดยตรงถึงขนาดต้องออกโทรทัศน์ เพียงแต่แสดงออกทางอ้อมให้ทราบว่า ต้องการอะไร เพื่อให้รัฐได้รู้ว่าป่วยเป็นโรคอะไร? เท่านั้นก็เพียงพอแล้ว

"ถ้าคุณต้องการสันติภาพ ก็ต้องกล้าแสดงตัว" และกล่าวว่า แต่ในท้ายที่สุดไม่ใช่เฉพาะฝ่ายก่อความไม่สงบที่จะต้องกล้าแสดงตัว รัฐบาลเองก็ต้องกล้าแสดงความจริงใจในมิตินี้เช่นกัน "ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ฯพณฯ สุศิโล บัมบัง ยูโดโยโน ท่านเป็นทหารเก่า เข้าใจงานด้านความมั่นคงเป็นอย่างดี ลูกชายของท่านสมัยเป็นนายทหารยศร้อยโทก็ไปประจำการที่อาเจะห์ และท่านเองก็เคยทำงานรักษาสันติภาพในโคโซโว ทำให้ท่านเข้าใจว่าการใช้กำลังทหารอย่างเดียวในการแก้ปัญหาความไม่สงบเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง จึงต้องวางแนวคิดใหม่ นั่นก็คือการเจรจาสันติภาพ หรือที่เรียกว่า Peace Talk"

"สิ่งสำคัญของกระบวนการเจรจาสันติภาพคือการควานหาตัวบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งตรงนี้ทางสหภาพยุโรป หรืออียู มีบทบาทอย่างมาก กระทั่งค้นพบเครือข่ายว่าคนกดปุ่มสั่งการอยู่ที่สวีเดน รู้ตัวละครทั้งหมดว่าใครกดปุ่ม ใครเต้น ใครสาดกระสุน เมื่อเห็นโครงข่ายทั้งหมดจึงนำมาสู่ความเป็นไปได้ในการพูดคุย แต่ก็ต้องยอมรับว่า GAM ก็มีความกล้าที่จะแสดงตน และนั่นทำให้ความเป็นไปได้ของการเจรจาสันติภาพเกิดขึ้น"

การแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งด้วยสันติวิธีในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คณะรัฐมนตรีได้มีมีมติ เมื่อวันที่ 3 มิ.ย. 2551 อนุมัติให้กระทรวงมหาดไทย และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) นำกระบวนการสร้างสันติภาพใน "อาเจะห์" ประเทศอินโดนีเซีย มาศึกษาเป็นแบบจำลองในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดน และระบุถึงความร่วมมือระหว่างไทยกับอินโดนีเซียในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้เอาไว้อย่างค่อนข้างจำกัด ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรมุสลิมสายกลางของอินโดนีเซียเพื่อแลกเปลี่ยนผู้นำศาสนาระหว่างกัน ขณะที่หน่วยงานด้านความมั่นคงก็ให้แลกเปลี่ยนข้อมูลด้านข่าวกรองระหว่างกัน
"อาเจะห์โมเดล" ย่อมปฏิเสธไม่ได้ที่จะพูดถึงกระบวนการสันติภาพที่เกิดจากการเจรจา อันนำมาสู่การลงนามในข้อตกลงสันติภาพครั้งประวัติศาสตร์ระหว่างรัฐบาลอินโดนีเซียกับ GAM เมื่อวันที่ 15 ส.ค.2548 ที่กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ แล้วรัฐไทยกับกลุ่มก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้พร้อมที่จะเริ่มกระบวนการนี้หรือยัง?

16. ความสับสนนาทีสุดท้าย
บรรยากาศอันอบอุ่นสบายในเดือนสิงหาคมที่กรุงเฮลซิงกิ ราวกับว่าได้ถูกเนรมิตมาเพื่อการต้อนรับคณะผู้แทนฝ่ายเจรจาแสวงหาสันติภาพทั้งสองฝ่าย ที่เดินทางมาถึงประเทศฟินแลนด์ เพื่อการดำเนินการให้สำเร็จตามขั้นตอนสุดท้าย เอกสารที่จะลงนามได้ถูกเตรียมไว้เรียบร้อยทุกอย่างแล้ว ตั้งแต่การเริ่มต้นจนถึงการยอมรับเงื่อนไขต่างๆ เพียงแต่รอคอยการลงนามและการเฉลิมฉลองอย่างเป็นทางการเท่านั้น

ผู้แทนเจรจาฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรี ตั้งหลักที่ศูนย์วัฒนธรรม ฮานาซะอฺริ (The Hanasaari Culture) แต่ในทางตรงกันข้าม เกิดความวิตกกังวลและมืดมนจากความเห็นของที่ปรึกษาดาเมียน คิงส์เบอรรี่ ว่า "ขบวนการอาเจะห์เสรีได้พบช่องโหว่ในข้อตกลง คือไม่มีข้อความที่ระบุเกี่ยวกับการจัดการกองกำลังติดอาวุธหรือกองกำลังพลเรือนกึ่งทหารและการปลดอาวุธ(ของฝ่ายรัฐบาลอินโดนีเซีย) เรื่องดังกล่าวได้มีการพิจารณาในการเจรจาเกี่ยวกับกองกำลังดังกล่าว ซึ่งขบวนการอาเจะห์เสรีคาดว่ามีจำนวน 10,000 คน และมีแผนการแล้วว่าทันทีที่ขบวนการอาเจะห์เสรีได้มีการส่งมอบอาวุธแล้วกองกำลังติดอาวุธดังกล่าว ก็จะเริ่มสังหารพวกเขาทันที

ตามข้อเท็จจริงแล้ว ผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรีได้มีการเสนอบันทึกข้อตกลงให้มีการปรับข้อความในการเจรจารอบสุดท้ายแล้ว ซึ่งบันทึกข้อตกลงมีข้อความตรงกันกับสิ่งที่คู่เจรจาได้อ่านอย่างละเอียด และมีการทบทวนก่อนหน้านั้นไม่น้อยกว่า 1 เดือน. ดูเหมือนว่าความพยายามในการสร้างความตึงเครียดถูกกระทำด้วยความจงใจ ในการบิดเบือน หรือเป็นการสร้างความตระหนก ความสับสนในนาทีสุดท้ายที่คืบคลานเข้าในความนึกคิดของขบวนการอาเจะห์เสรี

ความเปลี่ยนแปลงเบื้องหน้าพวกเขาใหญ่หลวงนัก และไม่มีหลักประกันเกี่ยวกับเรื่องราวจะเดินหน้าด้วยความหวัง มันเพียงได้รับความเชื่อถือที่น้อยมาก ในทัศนะที่ตรงกันข้ามและภายใต้สภาวการณ์เช่นนี้ การส่งมอบอาวุธของขบวนการอาเจะห์เสรีนับเป็นการเสี่ยง. มาลิก มะห์มูด ยังนั่งอยู่ที่ระเบียงศูนย์วัฒนธรรมฮานาซะอฺริ ตรงหน้าของเขามีถ้วยน้ำชา ด้วยอาการนิ่งสงบ แต่สับสนและยังมีทีท่าวิตกกังวลอยู่ ความรู้สึกเหมือนเจ้าบ่าวที่อยู่ในพิธีแต่งงานด้วยสภาวะตื่นเต้น เพียงกำลังรอคำถามที่ผู้ทำพิธีจะถามและพร้อมจะตอบรับเพียงคำกล่าวเพียงว่า "ผมยอมรับ"

"มันเป็นการยากมากสำหรับผมที่จะเชื่อว่า ตำรวจในอาเจะห์จะออกไป และกองกำลังติดอาวุธซึ่งฝ่ายทหารเป็นผู้ฝึกและมอบอาวุธให้กับกองกำลังพลเรือนกึ่งทหารเหล่านั้นจะหมดไป" มาลิก มะห์มูด ส่งสัญญาณและกล่าวว่า "วันนี้มันสายเกินไปเสียแล้วที่จะไปจัดการทำอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้". "ในขั้นนี้แล้ว ผมเองรู้สึกกังวลใจอยู่ในหลายเรื่อง แต่ก็ได้แค่กังวลใจเท่านั้น"

"นักรบจรยุทธ์ขบวนการอาเจะห์เสรีมีความจงรักภักดีเชื่อฟังเราอย่างแท้จริง ส่วนใหญ่เป็นประชาชนสามัญซึ่งทุกคนต่างก็มีอาชีพหลักก่อนที่จะเข้าร่วมงานกับขบวนการอาเจะห์เสรี บางคนเป็นชาวนา บางคนเป็นกรรมกรคนงานทั่วไป บางคนเป็นผู้มีกิจการประกอบธุรกิจขนาดเล็กส่วนตัว เมื่อเราประกาศยุติการต่อสู้แล้ว พวกเขาก็จะกลับคืนสู่ชีวิตปกติของพวกเขาต่อไป"

"สำหรับผู้ที่มีความต้องการความช่วยเหลือ การให้การสนับสนุน เช่น ผู้ที่ยังไม่มีอาชีพ ไม่มีงานทำ ไม่มีบ้านที่อยู่อาศัย ก็มีความจำเป็นที่เราต้องให้การช่วยเหลือกันต่อไป นี้คือสิ่งที่ต้องมีความจริงจัง แต่ทั้งหมดต้องการหลักประกันความปลอดภัยในชีวิต มิใช่ว่าหลังจากมีการมอบตัวและวางอาวุธแล้ว พวกเขาอาจถูกตามล่า ถูกเก็บหรือลอบสังหารภายหลัง". สำหรับตนเองจะกลับคืนสู่อาเจะห์อย่างไรนั้น มาลิก มะห์มูดยังไม่สามารถพูดได้ในวันนี้ บ้านเดิมของมาลิก มะห์มูดตั้งอยู่ในเมืองของอาเจะห์บือซัร (Aceh Besar) ห่างจากเมืองหลวงประมาณ 10 กม. แม้ว่าในชีวิตส่วนใหญ่ของมาลิก มะห์มูด อาศัยอยู่ในประเทศสิงคโปร์ แต่เขาก็มีญาติพี่น้องอยู่ในอาเจะห์ ในเมดาน และในกรุงจาการ์ต้า. "การกลับคืนสู่มาตุภูมิของผมนั้น ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ความรุนแรงของเหตุการณ์ในพื้นที่"

ในเอกสารข้อตกลงในขั้นสุดท้ายมีบันทึกแนบท้าย ซึ่งทำให้มาร์ตติ อะห์ติซาริ เป็นผู้ปฏิบัติการในการให้การค้ำประกันสันติภาพ หากคู่เจรจาทั้งสองฝ่ายไม่สามารถแก้ไขปัญหาความแตกต่างในการตีความเกียวกับการปฏิบัติตามข้อตกลงกับหัวหน้าชุดคณะผู้สังเกตการณ์ การตัดสินใจขั้นสุดท้าย ให้เป็นอำนาจของหัวหน้าคณะผู้สังเกตการณ์การตรวจสอบกระบวนการสันติภาพในอาเจะห์ หากยังไม่สามารถแก้ไขโดยวิธีการดังกล่าว หัวหน้าคณะผู้สังเกตการณ์การตรวจสอบกระบวนการสันติภาพในอาเจะห์ ก็จะนำข้อปัญหาดังกล่าวเข้าสู่ที่ปรึกษาของผู้นำที่กรุงสต๊อคโฮล์ม และกรุงจาการ์ต้าเป็นผู้พิจารณาตัดสิน และในขั้นสุดท้ายหากไม่สามารถแก้ไขได้ คู่เจรจาทั้งสองฝ่ายตกลงกันนำปัญหาส่งมอบให้มาร์ตติ อะห์ติซาริเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในการวินิจฉัยชี้ขาดสำหรับในกรณีเรื่องดังกล่าว

มาลิก มะห์มูด กล่าวว่าเป็นทางออกที่ดีที่จะกล่าวว่า เป็นหน้าที่ของมาร์ตติ อะห์ติซาริ ในชั้นนี้ "เขาเป็นผู้ที่มีความสามารถทำให้การตกลงบรรลุผลได้อย่างแท้จริง เขาเป็นผู้ที่มีความสามารถพิเศษในบทบาทการเป็นคนกลางและการเจรจาไกล่เกลี่ยที่ดี ผมเชื่อว่า เขาเป็นผู้หนึ่งที่จะเป็นผู้ที่ยืนอยู่เบื้องหลังถ้อยคำที่เป็นตัวอักษรในข้อตกลงและต้องการเห็นการนำสู่การปฏิบัติอย่างบรรลุผลสำเร็จ ผมเชื่อว่าเขาจะต้องติดตามไปโดยตลอด". "และยูฮ่าร์ คริสเทนเซ่น ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีส่วนสำคัญระดับหนึ่ง เขาเป็นผู้ที่ริเริ่มในการติดต่อประสานงานกับพวกเราและกับฝ่ายรัฐบาลอินโดนีเซีย และเป็นผู้ผลักดันกระบวนการต่างๆ เบื้องต้นกับมาร์ตติ อะห์ติซาริ" มาลิก มะห์มูดกล่าวเพิ่มเติม

ความคาดหวังในอนาคต มาลิก มะห์มูดมีความคาดหวังเป็นกรณีพิเศษว่า ประชาชนชาวอาเจะห์จะเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญที่สุดในการตัดสินกำหนดชะตากรรมให้กับพวกเขาเองว่า จังหวัดอาเจะห์จะถูกกำหนดแนวทางเป็นอย่างไร? "เราไม่มีปัญหาในเรื่องของการเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินโดนีเซีย ตราบใดที่เราเป็นผู้ที่มีสิทธิในการกำหนดชะตากรรมของตนเอง เรามีสิทธิที่จะเลือกว่า อาเจะห์จะถูกนำ และเราสามารถเลือกผู้นำของเราเองได้ สำหรับเราอิสรภาพไม่สามารถยุติในตัวมันเอง". "เราสามารถใช้ธงชาติของเราเองได้ เรามีรัฐธรรมนูญของเราเองได้ สิ่งนี้คือสิ่งที่สำคัญสำหรับพวกเรา"

มาลิก มะห์มูด ไม่รู้ว่าบทบาทของขบวนการอาเจะห์เสรีจะเป็นอย่างไร ? อนาคตในไม่ช้า ความเป็นไปได้ที่ขบวนการอาเจะห์เสรีอาจปรับบทบาทไปเป็นพรรคการเมือง ในนามของขบวนการอาเจะห์เสรีตามความหมาย และอีกไม่นานเป้าหมายของเราก็จะผูกพันกับสิ่งใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น "เราจะมีการตัดสินใจในการรวมตัวในภายหลัง" มาลิก มะห์มูด พิจารณาว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนชาวอาเจะห์ในกระบวนการนับเป็นเรื่องสำคัญอย่างเร่งด่วน ระหว่างฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน ด้วยงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบัน โอลอฟ ปาลเม่ (The Olof Palme) แห่งประเทศสวีเดน ขบวนการอาเจะห์เสรีได้นำมาจัดสรรให้แก่องค์กรเอกชนอาเจะห์ 3 องค์กร ในการนี้ขบวนการอาเจะห์เสรี ได้อธิบายความคืบหน้าและเป้าหมายของการเจรจาเพื่อสันติภาพ

ประชาชนจากองค์กรเอกชน, กลุ่มผู้นำศาสนา, นักวิชาการ, ได้ให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง "มีผู้คนจำนวนมาก ที่เคยตำหนิพวกเราก็กลับมีความเข้าใจและเข้ามาร่วมงานกับพวกเรา ที่สำคัญที่สุดคือ เราจะทำให้ข้อตกลงสันติภาพบรรลุผล ซึ่งกระบวนการดังกล่าวทั้งหมดเป็นที่รู้ดีที่สุดในอาเจะห์. มาลิก มะห์มูดเชื่อมั่นว่า หากสันติภาพเกิดขึ้นในอาเจะห์อย่างแท้จริงแล้ว ผู้ที่ลี้ภัยจำนวนมากก็จะพากันกลับคืนสู่มาตุภูมิอย่างแน่นอน "ผมมีความประสงค์และสนับสนุนการกลับคืนสู่มาตุภูมิ อาเจะห์ดินแดนที่มีความสมบูรณ์และยังต้องการผู้ที่มีการศึกษาดี มีระสบการณ์ที่เคยทำงานในประเทศแถบตะวันตก ก็ควรกลับมาร่วมกันสร้างสรรค์และพัฒนามาตุภูมิ เช่น ตัวอย่าง การเข้ามาดูแลปกครองโดยปราศจากการฉ้อราษฏรบังหลวง และนั่นคือสิ่งที่ท้าทายหลักของอาเจะห์ที่ประสบการณ์ของพวกเราในกลุ่มประเทศนอร์ดิกมากมายประเมินค่ามิได้"

17. การลงนามสัญญาสันติภาพที่สโมลนา
วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม 2005 (พ.ศ.2548)

บรรยากาศภายในห้องเลี้ยงรับรองทำเนียบรัฐบาลฟินแลนด์ ที่สโมลนา (Smolna) กรุงเฮลซิงกิ เกิดความโกลาหลวุ่นวายและตื่นเต้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อกองทัพผู้สื่อข่าวทุกแขนงทั้งในประเทศและต่างประเทศ ต่างแย่งกันจองจุดที่ตั้งกล้องโทรทัศน์เพื่อหาโลเกชั่นที่สวยงามที่สุดสำหรับตน ใต้โคมระย้าหน้าโต๊ะยาวผู้ที่เกี่ยวข้องในชุดสูทสีเข้มยืนเรียงรายจากประตูใหญ่เต็มพื้นที่ ในกลุ่มนั้นมีบุคคลที่เดินทางมาจากกรุงจาการ์ต้า, อาเจะห์, มาเลเซีย บินมายังกรุงเฮลซิงกิ ล่วงหน้า ประกอบด้วย: รัฐมนตรี, ผู้นำทางทหาร, สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร และผู้นำท้องถิ่นจากอาเจะห์

นับเป็นครั้งแรกที่กลุ่มผู้แทนจากทั้งสองฝ่าย ทั้งจากฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีและฝ่ายรัฐบาลอินโดนีเซียรวมถึงบรรดาทหารมาประชุมภายใต้หลังคาเดียวกันและห้องโถง ทุกคนตระหนักดีว่า วันนี้มิใช่เป็นวันที่ที่ทุกอย่างจะสิ้นสุดในกระบวนการต่างๆ แต่เป็นเพียงวันแห่งการเริ่มต้นซึ่งจะต้องมีอะไรตามมาอีกมากมายซึ่งจะต้องดำเนินการต่อไปจากนี้. อดีตประธานาธิบดีฟินแลนด์ ฯพณฯ มาร์ตติ อะห์ติซาริ เดินนำหน้าแขกไปยังโต๊ะยาวเพื่อการลงนาม ประกอบด้วยมาลิค มะห์มูด นั่งด้านซ้ายมือ และฮามิด อาวาลุดดีน นั่งด้านขวามือ, ที่นั่งถัดมา เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักร ฯพณฯ แมททิว เกริก ในฐานะประธานสหภาพยุโรป, ประธานคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป ฯพณ ฯ อัลโด เดลลิ อะริคเซีย, และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฟินแลนด์ อิริกกี ทูโอมิโอจา

หลังจากการแนะนำฮามิด อาวาลุดดีน และมาลิค มะห์มูดแล้ว มาร์ตติ อะห์ติซาริ ก็ได้มีการลงนามในบันทึกความจำ (Memorandum of Understanding: MOU) ฮามิด อาวาลุดดีน และมาลิค มะห์มูดในฐานะผู้แทนของคู่เจรจาของแต่ละฝ่ายและมาร์ตติ อะห์ติซาริในฐานะพยานของการลงนามในข้อตกลง. ในคำกล่าวสุนทรพจน์ มาร์ตติ อะห์ติซาริ ได้ย้ำถึงกระบวนการสันติภาพที่เกิดขึ้นได้ในวันนี้ เพราะคู่เจรจาทั้งสองฝ่ายต่างมีจิตใจที่ไฝ่หาแสวงหาสันติภาพ มีความตระหนักและความต้องการแสวงหาการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในอาเจะห์อย่างยั่งยืน ด้วยเกียรติยศ และศักดิ์ศรีของทุกๆ ฝ่าย

"จุดประสงค์ของกระบวนการแสวงหาสันติภาพ เพื่อที่จะให้ประชาชนชาวอาเจะห์ได้มีโอกาสใช้ชีวิตอย่างสันติสุข ความยุติธรรมและสังคมประชาธิปไตย การตกลงครั้งนี้รวมถึงคำมั่นสัญญาจากทั้งสองฝ่ายในการเคารพต่อหลักการสิทธิมนุษย์ชนในอาเจะห์ รวมถึงการจัดตั้งศาลสิทธิมนุษยชน และคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและความปรองดอง" มาร์ตติ อะห์ติซาริกล่าวเพิ่มเติมว่า "ยังมีภารกิจอันหนักอึ้งสาหัสจ์อยู่เบื้องหน้า ซึ่งคู่เจรจาทั้งสองฝ่ายจะต้องยึดมั่นในหลักการที่จะไม่เบี่ยงแบนจากข้อตกลง ตลอดจนเจตจำนงของการตกลงในวันนี้"

ท่านยังกล่าวเสริมว่า "นับตั้งแต่การลงนามในวันนี้เป็นต้นไป ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปและอาเชียน ก็จะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ในการสังเกตการณ์ ซึ่งก็ได้มีการเตรียมบุคคลากรที่จะปฏิบัติการในพื้นที่ในฐานะคณะผู้สังเกตการณ์การตรวจสอบกระบวนการสันติภาพในอาเจะห์ (Aceh monitoring mission: AMM). มาร์ตติ อะห์ติซาริ ได้เรียกร้องขอความร่วมมือจากทุกๆ ฝ่ายในการให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะผู้สังเกตการณ์การตรวจสอบกระบวนการสันติภาพในอาเจะห์ ซึ่งจะเริ่มปฏิบัติการอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน 2548 นี้

มาร์ตติ อะห์ติซาริ ได้กล่าวขอบคุณหัวหน้าคณะผู้แทนเจรจาของแต่ละฝ่ายโดยเฉพาะ ฯพณฯ ประธานาธิบดี แห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย สุศิโล บัมบัง ยุทโธโยโน ท่านรองประธานาธิบดี ยูซุฟ กัลลา ที่ได้ให้การสนับสนุนการเจรจาด้วยดีตลอดมา และท่านได้แสดงความขอบคุณต่อรัฐบาลประเทศฟินแลนด์, ประเทศฮอลแลนด์, ประเทศสวีเดน, และประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยเฉพาะคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป ที่ได้ให้การสนับสนุนการเจรจาสันติภาพ ท่านยังกล่าวขอบคุณ ยูฮาร์ คริสเตนเซ่น ในฐานะที่เป็นผู้ติดต่อประสานงาน และเป็นผู้ที่ชักนำให้คู่เจรจาทั้งสองฝ่ายได้มานั่งลงบนโต๊ะเจรจา และช่วยให้กระบวนการเจรจาเดินหน้าได้เป็นอย่างดี

ฮามิด อาวาลุดดีน กล่าวสุนทรพจน์ในฐานะผู้แทนเจรจาฝ่ายรัฐบาล เริ่มด้วยความเคารพในศักดิ์ศรีของกันและกัน จุดประสงค์ได้เดินมาถึงจุดสุดท้ายของความรุนแรง และจะมีการเริ่มต้นชีวิตใหม่นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ในคำกล่าวของท่านฮามิด อาวาลุดดีน ได้กล่าวถึงบรรทัดฐานระหว่าง "พวกเขา" และ "พวกเรา" ที่ทำให้เกิดความแตกต่าง ซึ่งเราจะลบมันออกไป และต่อไปนี้ก็จะมีเพียงคำว่า "พวกเรา" เท่านั้น ความแตกต่างในอดีตควรขจัดออกไปให้หมด และเราต้องมองไปยังเบื้องหน้าที่จะก้าวสู่อนาคต และท่านได้กล่าวขอบคุณ มาร์ตติ อะห์ติซาริ ที่ได้ทำหน้าที่ในการไกล่เกลี่ย หากไม่มีท่านผู้นี้แล้ว "การสู้รบก็ไม่อาจยุติลงได้" และท้ายที่สุดได้อ้างถึงคำพูดของชาวอาเจะห์ที่กล่าวว่า "เมื่อถึงเวลา ฝนก็จะหยุดตก และถึงเวลาแล้วที่จะหยุดสงคราม" ฮามิด อาวาลุดดีน จบสุนทรพจน์ด้วยความมั่นใจสันติภาพที่กำลังจะเกิดขึ้น

ต่างไปจากฮามิด มะห์มูด แววตาที่ส่อให้เห็นถึงความวิตกกังวลปรากฏบนใบหน้าของมาลิค มะห์มูด ขณะเริ่มกล่าวสุนทรพจน์อันยืดเยื้อ เขากล่าวขอบคุณต่อผู้เข้าร่วมประชุมทุกๆ คนและทุกๆ ฝ่าย เขาพยายามชี้ให้เห็นว่า ยังไม่มีสันติภาพในอาเจะห์ เนื่องจากที่นั่นยังไม่มีความยุติธรรมเกิดขึ้น เขากล่าวว่า เขาหวังว่าการลงนามในข้อตกลงสันติภาพวันนี้จะเป็นการนำมาซึ่งความยุติธรรมมาสู่อาเจะห์ และขอให้ความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงจะเป็นหลักประกันความยุติธรรม เขากล่าวว่า ระบบต่างๆ ในประเทศอินโดนีเซียยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง จากวันแห่งความมืดมน และ การลงนามในข้อตกลงสันติภาพในวันนี้ จะเป็นก้าวสำคัญที่จะนำประเทศชาติก้าวพ้นจากความมืดมน หลังจากช่วงเวลาที่คับแคบของความรู้สึกชาตินิยม ซึ่งถึงเวลาแล้วที่ควรจะคลี่คลายลง

มาลิค มะห์มูด กล่าวถึง "ข้อตกลงที่มิใช่มีความหมายแค่ข้อตกลงที่เป็นเพียงตัวอักษร แต่ควรเป็นข้อตกลงที่เป็นความผูกพันด้วยจิตวิญญาณ" เขากล่าวถึงจำนวนกำลังพลของทหารที่ยังคงอยู่ในจังหวัดอาเจะห์ มีจำนวนมากกว่าพื้นที่ในจังหวัดอื่นเป็นเท่าตัว เมื่อเปรียบเทียบถึงความสัมพันธ์ระหว่างขนาดและพื้นที่ ในความเห็นของเขาแล้วก็ไม่ได้สร้างความมั่นใจต่อความมุ่งหมายหรือเจตนารมณ์ของฝ่ายกองทัพ เขายังแสดงถึงความรู้สึกลึกๆ ที่กังวลต่อการคุกคามที่เกิดจากกลุ่มทหาร ซึ่งข้อเท็จจริงแล้วคือ กลุ่มกองกำลังพลเรือนกึ่งทหารที่ติดอาวุธ ซึ่งกองกำลังเหล่านี้มักเป็นผู้สร้างปัญหาในเกือบทุกพื้นที่ในประเทศอินโดนีเซียมาแล้ว และมีพฤติกรรมที่มักเป็นผู้คุกคามละเมิดสิทธิมนุษยชน พลเรือนเสมอมา

เขาเรียกร้องต่อนานาประเทศ ประชาคมนานาชาติประณามพฤติกรรมทหารที่ประจำการในอาเจะห์ และเรียกร้องให้สื่อนานาชาติให้ความสนใจติดตามข่าวสารในเรื่องเหล่านี้ เพื่อที่จะได้ไม่สร้างอาณาจักรแห่งความหวาดกลัวแก่ประชาชน หรือข่มขู่ประชาชน โดยปราศจากความกลัวการถูกเปิดโปง ด้วยวิธีการนี้ นับเป็นวิธีการเรียกร้องที่สร้างความเชื่อถือ สร้างความมั่นใจแก่ขบวนการอาเจะห์เสรี เขายืนยันว่า ขบวนการอาเจะห์เสรีได้มอบความไว้วางใจในการสถาปนาความหลากหลายในวัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยม ความเชื่อ ฯลฯ ความเป็นประชาธิปไตยในอาเจะห์ และมีความหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รัฐบาลอินโดนีเซียจะได้แสดงถึงความปรารถนาดี และมีความจริงในการประสานงานที่ดีต่อไป

"เราหวังว่า วันแห่งความมืดมนและความสิ้นหวังจะถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง เราจะมุ่งไปข้างหน้า สู่วันแห่งความหวัง ที่มีแสงสว่างอยู่เบื้องหน้าของพวกเรา อินซาอัลลอฮ (หากเป็นความประสงค์ของพระเจ้า)

ความชื่นชมและปิติยินดีในบันดาร์อาเจะห์
สุนทรพจน์ของมาลิค มะห์มูด มิใช่เป็นการกล่าวสุนทรพจน์ที่รับฟังด้วยความเงียบสงบเพียงเฉพาะใน สมอลนา กรุงเฮลซิงกิเท่านั้น และในเวลาเดียวกันที่เมืองบันดาร์อาเจะห์ มีการเฉลิมฉลองการลงนามข้อตกลงสันติภาพพร้อมๆ กันด้วยการถ่ายทอดสดผ่านโทรทัศนที่ส่งตรงยังมัสยิดกลางของเมืองหลวง ที่มีประชาชนชาวอาเจะห์มาร่วมชุมนุมนับพันคน เพื่อมาดูและฟังมาลิค มะห์มูด กล่าวสุนทรพจน์ทางโทรทัศน์ บรรยากาศการลงนามและการกล่าวสุนทรพจน์ ได้รับการติดตามชมด้วยจิตใจจดจ่อ สำหรับประชาชนชาวอาเจะห์ส่วนใหญ่ที่รู้จักเพียงชื่อของมาลิค มะห์มูด ในนามของสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อเสรีภาพเท่านั้น แต่บัดนี้พวกเขาได้เห็นใบหน้าที่แท้จริงของเขาในวันนี้เอง

ประชาชนที่ได้มาชุมนุมพร้อมกันที่มัสยิดกลาง เพื่อการละหมาดฮาญัต (ละหมาดเพื่อขอพร) ก่อนที่จะมีการเฉลิมฉลองและพร้อมใจกันเปล่งคำสรรเสริญพระเจ้าว่า อัลลอฮอ์ อัคบัร (อัลลอฮ์ทรงเกรียงไกร) อัลลอฮฮ์ อัคบัร (อัลลอฮ์ทรงเกรียงไกร) อัลลอฮฮ์ อัคบัร (อัลลอฮ์ทรงเกรียงไกร) หลายๆ ครั้ง. เมื่อปรากฏภาพของ มาร์ตติ อะห์ติซาริ บนหน้าจอโทรทัศน์ บางคนตะโกนว่า "อะห์ติซาริ" และทุกคนต่างพร้อมใจร้องตะโกนตาม และกล่าวว่า "ขอบคุณ ฟินแลนด์" พวกเขาพากันตะโกนตาม

ปีเตอร์ เพธ ติดตามการเฉลิมฉลองพิธีลงนามข้อตกลงสัญญาสันติภาพทางโทรทัศน์ร่วมกับฝูงชนในบันดาร์อาเจะห์ และเขารู้สึกตื่นเต้นกับสิ่งที่ประจักษ์กับสายตาของเขาเอง "ผมรู้สึกว่าบรรยากาศที่เป็นไปด้วยดีมาก การเฉลิมฉลองที่สำคัญที่เต็มไปด้วยความศรัทธาอย่างแรงกล้าของประชาชนชาวอาเจะห์

ในกรุงเฮลซิงกิ พิธีการลงนามได้สิ้นสุดลง บรรดาผู้สื่อข่าวต่างรีบเร่งกลับสู่สำนักงานของตนเพื่อรีบส่งต้นฉบับและรีบเสนอข่าวสารอย่างเร่งด่วน (Breaking News) ส่วนผู้แทนคู่เจรจาทั้งสองฝ่ายและผู้มีส่วนร่วม ผู้ติดตาม แขกผู้มีเกียรติ ร่วมรับประทานอาหารที่สมอลนา ทำเนียบรัฐบาล

ขณะที่ผู้อื่นยังคงอยู่ร่วมฉลองการลงนามข้อตกลงสันติภาพ จาอ์กโก้ อ๊อกซาเน็น และ ยูฮาร์ คริสเตนเซ่น เตรียมแพ็คกระเป๋าและเดินทางไปอาเจะห์ทันที

สำหรับพวกเขาภารกิจที่แท้จริงเพิ่งจะเริ่มต้น ...

ขอความสันติจงมีแด่พี่น้องทุกๆท่าน
บุรฮานุดดีน อุเซ็ง ผู้ถอดความเรียบเรียง
วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2552.

Making peace
Ahtisaari and Aceh
กระบวนการสร้างสันติภาพ
Katri MeriKallio เขียน

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1700 เรื่อง หนากว่า 35000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com