ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้เป็นสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๒ : Release date 9 September 2009 : Copyleft MNU.

ขบวนการอาเจะห์เสรี GAM : Gerakan Aceh Merdeka ก่อตั้งและเริ่มปฏิบัติการในปี ๑๙๗๖ ( พ.ศ. ๒๕๑๙) โดยเมื่อเติงกู ฮาซัน ดิ ติโร(Tenku Hasan Di Tiro ) นักธุรกิจชาวอาเจะห์ ผู้สำ เร็จการศึกษาจากสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศเอกราชให้จังหวัดอาเจะห์ เป็นอิสรภาพแยกจากอินโดนีเซีย เติงกู ฮาซัน ดิ ติโร เป็นผู้ที่มีเชื้อสาย จากครอบครัวสุลต่านฏอนแห่งอาเจะห์ ประกาศว่า จังหวัดอาเจะห์ได้ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอินโดนีเซียในปี ๑๙๔๙ ไม่ชอบธรรม เมื่ออาเจะห์ตกเป็นอาณานิคมของดัทซ์ ร่วมหนึ่งศตวรรษ สุลต่านแห่งอาเจะห์มีอิสรภาพ มีความแตกต่างจากอัตลักษณ์ สภาพภูมิประเทศ จากส่วนกลางโดยสิ้นเชิง และกล่าวว่าอินโดนีเซียควรสิ้นสุดการยึดครองอาเจะห์ได้แล้ว. ปี ๑๙๗๗ อินโดนีเซียทำการปราบปรามขั้นเด็ดขาด

 

H



09-09-2552 (1762)

กระบวนการสร้างสันติภาพในอาเจะห์ (Making Peace: Ahtisaari and Aceh)
สันติภาพในอาเจะห์: ภาพพจน์ทหาร-ภารกิจหนักที่ต้องเร่งรัด
บทความนี้ได้รับมาจากคุณ บุรฮานุดดิน อุเซ็ง
บทความนี้ได้มีการปรับปรุงบางประโยค และย่อหน้าเพื่อความสะดวกในการอ่าน
โดยกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

เมื่อตอนที่ได้รับหนังสือ(ทางออนไลน์)ชิ้นนี้ คุณบุรฮานุดดิน อุเซ็ง
ได้เขียนข้อความส่งถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ความว่า
ขออนุญาตส่ง "กระบวนการสร้างสันติภาพในอาเจะห์ เพื่อพิจารณา
เห็นว่า น่าจะเป็นข้อพิจารณากับการแก้ไขความขัดแย้งที่ภาคใต้บ้านเรา ด้วยวิธีการสันติ"

เนื่องจากหนังสือนี้ ความยาวประมาณ 124 หน้ากระดาษ A4
กอง บก.ม.เที่ยงคืนจึงขอนำเสนอบทความนี้ครั้งละหนึ่งบท โดยในบทแรกและบทที่สองคือ
"คลื่นยักษ์สึนามิ"และ"โหมโรง: การเจรจาสันติภาพ รอบแรก"พร้อมคำนำของหนังสือ
เขียนโดยเจ้าของเรื่อง กาตริ เมอริกัลป์ลิโอ คอลัมนิสต์ชาวฟินแลนด์
หนังสือเล่มนี้ เป็นการรวบรวมบทความที่สำคัญ ของผู้เขียนซึ่งเคยลงตีพิมพ์ในวารสารรายสัปดาห์
ของฟินแลนด์ ชื่อ Saumen Kualehti ในระหว่างปี 2005 - 2006 (พ.ศ. 2548 - 2549)

แม้หนังสือเล่มนี้มิได้เป็นสูตรสำเร็จ หรือวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ หรือเป็นเพียง
รายงานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับกระบวนการแสวงหาสันติภาพฉบับหนึ่ง
แต่ก็เป็นบันทึกที่ได้มาซึ่งสันติภาพ เป็นงานที่รวบรวมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
เกี่ยวกับกระบวนการสร้างสันติภาพในอาเจะห์ ที่น่าสนใจศึกษา

(บทความนี้จัดอยู่ในหมวด "การจัดการความขัดแย้ง")


สนใจส่งบทความเผยแพร่ ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน:
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๗๖๒
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๓๑ หน้ากระดาษ A4 โดยไม่มีภาพประกอบ)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

กระบวนการสร้างสันติภาพในอาเจะห์ (Making Peace: Ahtisaari and Aceh)
สันติภาพในอาเจะห์: ภาพพจน์ทหาร-ภารกิจหนักที่ต้องเร่งรัด
บทความนี้ได้รับมาจากคุณ บุรฮานุดดิน อุเซ็ง
บทความนี้ได้มีการปรับปรุงบางประโยค และย่อหน้าเพื่อความสะดวกในการอ่าน
โดยกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word


11. ภารกิจหนักที่ต้องเร่งรัด
การเจรจาสันติภาพรอบที่สี่ / วันพฤหัสบดีที่ 26 - วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม 2005 (พ.ศ.2548)

คู่เจรจาทั้งสองฝ่ายเดินทางมาประชุมเจรจาสันติภาพรอบที่สี่ และมีความมั่นใจที่จะมีการลงมติโดยเล็งเห็นผลสำเร็จในไม่ช้า ทัศนคติของการเจรจาสันติภาพซึ่งเป็นส่วนที่รัฐสภาอินโดนีเซียเกี่ยวข้องมีอุปสรรคเพียงเล็กน้อยในช่วงฤดูใบไม้ผลิ เมื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรขู่ว่าจะถอนตัวจากการเจรจา หากผลการเจรจาจะไม่สำเร็จทันที จากการที่มีรัฐมนตรีท่านหนึ่งได้กล่าวว่า รัฐสภานั้น ความจริงแล้วมีทัศนคติและจิตสำนึกฝักใฝ่ค่านิยมความเป็นทหารมากกว่าทหารจริงเองเสียอีก

โจทย์ของปัญหาถูกเริ่มถามเกี่ยวกับทัศนะนี้โดย ยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น ผู้ที่สามารถพูดภาษาบูกิส (Bugis) ได้ เช่นเดียวกับ ยูซุฟ กัลลา, ฮามิด อวาลุดดีน, ฟาริด ฮูเซ็น ซึ่งเป็นชาวสุลาเวสี สำหรับความกดดันอีกประการหนึ่งที่เกิดกับขบวนการอาเจะห์เสรีคือ การละเมิดสิทธิมนุษยชนยังคงเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในจังหวัดอาเจะห์ ในอีกด้านหนึ่ง ข่าวการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี การส่งสัญญานต่างๆ จากรัฐบาลแม้ยังอ่อนกำลังและไม่ปรากฏชัดเจน แต่ก็ยังถูกส่งผ่านลงสู่พื้นที่ซึ่งทำให้การปฏิบัติการทางทหารเริ่มมีความเบาบาง ลดความถี่ลงบ้าง และการปฏิบัติการโหดของทหารเริ่มไม่ปรากฏ การเดินทางมากรุงจาการ์ต้าของมาร์ตติ อะห์ติซาริ ครั้งนี้เริ่มส่งผลและประสบความสำเร็จตามเป้าประสงค์อย่างชัดแจ้ง

การประกาศภาวะฉุกเฉิน การประกาศให้เป็นพื้นที่ปฏิบัติการทางทหาร (Daerah Operasi Militiar: DOM) ในอาเจะห์ ได้รับการพิจารณาให้มีการยกเลิกในต้นสัปดาห์ ทำให้เกิดความรู้สึกถึงสัญญาณของความเป็นมิตรจากฝ่ายรัฐบาล วิถีชีวิตของชาวอาเจะห์กำลังคืบคลานสู่สภาพความเป็นปกติ

รัฐบาลเตรียมการตอบสนองข้อเสนอ 3 ประการซึ่งขบวนการอาเจะห์เสรีนำเสนอ คือ

หนึ่ง ประเด็นด้านการเมือง
สอง ประเด็นด้านเศรษฐกิจ และ
สามประเด็นสิทธิมนุษยชน

คู่เจรจาทั้งสองฝ่าย เริ่มมีการเจรจาตามลำดับเอกสารอย่างเป็นขั้นเป็นตอน

การเริ่มต้นการพิจารณาในวันแรกของการเจรจาคือ "เรื่องของการนิรโทษกรรม" มีข้อพิจารณาว่า ผู้ที่จะได้รับการพิจารณาให้มีการนิรโทษกรรมต้องมีคุณสมบัติอย่างไร? คณะผู้แทนเจรจาฝ่ายรัฐบาลให้คำมั่นสัญญาว่า นักโทษการเมืองของขบวนการอาเจะห์เสรี และนักรบจรยุทธ์ทุกคนควรเป็นผู้ที่ได้รับการอภัยโทษ และได้รับสิทธิจากการนิรโทษกรรมโดยการอภัยโทษอย่างเต็มที่สมบูรณ์แบบ คืนทั้งสิทธิทางการเมืองและสิทธิทางสังคมให้กับพวกเขา สำหรับฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีนั้นรู้สึกว่าเป็นเรื่องยุ่งยากมาก คำว่า"นิรโทษกรรม" ถ้อยคำในตัวมันเป็นสิ่งที่ดีงามแต่ ในทัศนะของ มาลิค มะห์มูด รู้สึกว่า "การอภัยโทษแก่ขบวนการอาเจะห์เสรีของรัฐบาลนั้น เหมือนกับการที่พวกเขาได้กระทำผิดราวเป็นอาชญกรและได้รับการอภัยโทษ"

"แต่เราไม่ยอมรับพื้นฐานหลักข้อกฎหมายที่ตัดสินลงโทษแก่ขบวนการอาเจะห์เสรี ในทัศนะของพวกเรานั้น เรารู้สึกว่า รัฐบาลเองเป็นผู้กระทำความผิดอาชญกรรม มิใช่เรา" มาลิค มะห์มูด ยังกังวลเกี่ยวกับการพิจารณาตัวบุคคล ซึ่งฝ่ายรัฐบาลมีหลักเกณ์การพิจารณาว่า อาชญกรปกติจะไม่ได้รับการพิจารณาให้การอภัยโทษ นักโทษการเมืองก็คือนักโทษการเมือง แต่หากมีผู้หนึ่งผู้ใดเป็นนักโทษที่เกิดจากการปล้นธนาคาร เพื่อนำเงินมาใช้ในกิจการของขบวนการอาเจะห์เสรี จะพิจารณาว่าเขาเป็นนักโทษคดีอาชญกรรมปกติ หรือนักโทษการเมือง?

สิ่งที่เจ็บปวดที่สุดในวันนี้ควรพูดให้ตรงที่สุดคือ วันนี้ คณะผู้แทนเจรจาของขบวนการอาเจะห์เสรีเอง ก็ยังคงถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ (*)

(*) คณะผู้แทนเจรจาที่ถูกคุมขังในเรือนจำซูกามิสก์ (Suka-Misk) "เราควรอยู่ที่นั้นด้วย" เติงกู มูฮัมมัด อุสมาน อาแว (Teungku Muhammad Awe), อัมนิ อะฮฺเหม็ด มาซูกี (Amni Bin Ahgmed Marzuki) และ เติงกู กามารุซซามัน (Teungku Kamruzzaman) อดีตคณะผู้แทนเจรจาในการประชุมเจรจราข้อตกลงยุติความเป็นปรปักษ์ (CoHA) กำลังนั่งอยู่ในคุก แห่งหนึ่งบนเกาะชวาและรู้สึกประหลาดใจหลังกำแพงภายในคุก พวกเขาได้รับทราบข่าวสารการเจรจาสันติภาพที่กรุงเฮลซิงกิเพียงจากข่าวหนังสือพิมพ์เท่านั้น

"เราสนับสนุนการประชุมเจรจา และเราควรเป็นผู้มีส่วนร่วมในการประชุมเจรจาที่กรุงเฮลซิงกิ มีใช่ให้มานั่งจับเจ่าอยู่ในนี้. เติงกู มูฮัมมัด อุสมาน อาแว นักโทษที่สูงอายุที่สุดกล่าวโดยสรุป ทั้งสามคนเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการเจรจา มีความเชี่ยวชาญทางทั้งด้านกฎหมายและเศรษฐกิจ

เมื่อเดือน พฤษภาคม 2003 (พ.ศ. 2546) พวกเขากำลังอยู่ในระหว่างการเดินทางออกจากเมืองบันดาร์อาเจะห์ เพื่อเดินทางไปประชุมเจรจาสันติภาพ ณ กรุงโตเกียว ซึ่งประชาคมระหว่างประเทศพยายามที่จะช่วยให้การเจรจาที่กำลังอยู่ในสภาพที่จะล้มเหลวกลับคืนสู่สภาวะปกติ เส้นทางสู่สนามบินถูกสกัด ขณะที่ชายกลุ่มดังกล่าวนั่งอยู่บนรถยนต์ของกาชาดสากล (The Henry Dunant Center ศูนย์ อองรี ดูนังต์: HDC) และถูกควบคุมตัวไปยังสถานีตำรวจ

การเจรจาที่กรุงโตเกียวกำลังจะดำเนินการไปในทางก้าวหน้าจึงไม่เกิดขึ้น เมื่อผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรีได้รับทราบเกี่ยวกับชะตากรรมของคณะผู้แทนเจรจา หลังจากได้สร้างแรงกดดันอยู่ระยะหนึ่ง พวกเขาได้รับอนุญาตให้ไปพักที่โรงแรมเพียงไม่กี่ชั่วโมง หลังจากที่กระบวนการต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาไม่สำเร็จ พวกเขาจึงถูกนำตัวมาคุมขังอีกครั้ง. "จากอาเจะห์ พวกเขาถูกย้ายมาคุมขังที่เรือนจำ ซูกามิสก์ (Suka-Misk) เพื่อความอยู่รอด ปลอดภัยของคณะผู้แทนเจรจาของเรา คือ ท่านศาสตราจารย์ด้านกฎหมาย ถูกคุมขังในเรือนจำอาเจะห์ และต้องเสียชีวิตเนื่องจากคลื่นยักษ์สึนามิคร่าชีวิตไป" เติงกู มูฮัมมัด อุสมาน อาแว เล่าให้ทราบในห้องเยี่ยมนักโทษ

เติงกู มูฮัมมัด อุสมาน อาแว มีความรู้สึกกังวล เพราะก่อนมีการเจรจาข้อตกลงยุติความเป็นปรปักษ์ (CoHA) ฝ่ายรัฐบาลได้มีหนังสือรับรองให้คณะผู้แทนเจรจาฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรี และรับรองความปลอดภัย แต่วันนี้พวกเขาถูกคุมขังในเรือนจำเป็นเวลา 2 ปีแล้ว และอย่างน้อยอีก 10 ปี พวกเขาจะพ้นโทษ เว้นแต่การเจรจาที่กรุงเฮงซิงกิประสบความสำเร็จ

ความจริงคณะผู้แทนเจรจาของขบวนการอาเจะห์เสรี ยังคงถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำ เหตุการณ์นี้เริ่มเป็นอุปสรรคเช่นเดียวกันสำหรับฝ่ายรัฐบาล การปล่อยตัวในขณะอยู่ในระหว่างกระบวนการการดำเนินคดีไม่ใช่เรื่องง่าย ทั้งข้อกฎหมายและการปฏิบัติ. แม้ว่าฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรี ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับตัวบุคลากรผู้มีความเชี่ยวชาญที่ควรเป็นตัวแทน และมีส่วนร่วมในการเจรจา การนำผู้แทนเจรจาคนใหม่มานั่งโต๊ะเจรจา มิได้เป็นเรื่องที่ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายผู้ไกล่เกลี่ยพิจารณาว่าเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วน

ผู้ไกล่เกลี่ยมีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้แทนเจรจาที่ถูกคุมขัง หากเขาถูกปล่อยตัวออกมาในระหว่างการดำเนินการที่ยังไม่มีความชัดเจนหรือลงตัวแล้ว ทางกองทัพจะคุ้มครองความปลอดภัยจากการถูกลอบฆ่าทันทีได้อย่างไร?

หัวข้อพิจารณาเกี่ยวกับเศรษฐกิจของอาเจะห์ เกี่ยวกับอุปสรรคขัดขวางซึ่งทั้งขบวนการอาเจะห์เสรีและมาร์ตติ อะห์ติซาริ ได้สอบถามรัฐบาลหลายครั้ง เกี่ยวกับรายได้จากอุตสาหกรรมน้ำมันและแก๊ส ที่รัฐบาลจะจัดสรรให้รัฐบาลปกครองท้องถิ่น ซึ่งผู้แทนเจรจาฝ่ายรัฐบาลได้แสดงท่าทียักไหล่ แสดงลักษณะคล้ายๆ ว่า ตนเองไม่รู้ไม่ชี้และอ้างว่านับเป็นความโชคร้ายที่คลื่นยักษ์สึนามิซัดทำลายบัญชีและรายละเอียดต่างๆ จนหมดสิ้นแล้ว

สถานการณ์ขณะนั้น ดูเหมือนว่าจะไม่มีความหวัง มาร์ตติ อะห์ติซาริ จึงกระตุ้นและแนะนำให้ขบวนการอาเจะห์เสรีคำนึงถึงอนาคตมากกว่าจะพิจารณาเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ปลีกย่อย กลับไปกลับมา ปัญหาเรื่องการเงินการคลังสามารถแก้ไขได้ในภายหลัง. เป็นธรรมชาติที่มนุษย์ไม่ชอบมีการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบกับผลประโยชน์ของตน และไม่มีผู้ใดยอมเสียผลประโยชน์ที่เคยได้มาอย่างแน่นอน มีการชี้ให้เห็นว่า เรื่องดังกล่าวสามารถทำความเข้าใจและแก้ปัญหาได้ สามารถนำเสนอต่อคณะกรรมการแสวงหาข้อเท็จจริงที่จะจัดตั้งขึ้นเป็นผู้พิจารณาในโอกาสต่อไป

เพื่อที่จะทำให้กระบวนการทำงานมีประสิทธิผลมากกว่าที่เป็นอยู่ มาร์ตติ อะห์ติซาริ เริ่มการเจรจาในรูปแบบใหม่ โดยจัดเป็นกลุ่มย่อยในการเจรจากลุ่มเล็กกว่าเดิม โดยให้มีเพียงหัวหน้าคณะผู้แทนเจรจาฝ่ายรัฐบาล ฮามิด อวาลุดดีน, ซอฟยาน ดจาลิล ในขณะที่คณะผู้แทนเจรจาฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีประกอบด้วยมาลิค มะห์มูด และนายเดเมี่ยน คิงสเบอรี่ ที่ปรึกษาเป็นตัวแทน

บทบาทของนายเดเมี่ยน คิงสเบอรี่ ที่ปรึกษาชาวออสเตรเลียเป็นผู้ที่มีบทบาทที่ขัดแย้งในตัวเอง ในทัศนะของขบวนการอาเจะห์เสรีเป็นผู้ที่มีความสำคัญและเหมาะสม และแจ้งให้เป็นผู้ที่มีฐานะเป็นผู้เจรจา แต่ในทัศนะของทีมงานคณะผู้ไกล่เกลี่ยแล้วรู้สึกว่า การเป็นผู้แทนของเดเมี่ยน คิงสเบอรี่นั้น ไม่มีความจำเป็นและเป็นผู้ทำให้เป็นอุปสรรคต่อความคืบหน้าในการเจรจามากกว่า

เดเมี่ยน คิงสเบอรี่ เป็นที่รู้จักกันดีในกรุงจาการ์ต้า เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา รองประธานาธิบดี ยูซุฟ กัลลา ได้เรียกขอพบตัวเพื่อปรึกษาหารือเป็นการเฉพาะบางประการกับเขา จึงเป็นหน้าที่ของฟาริด ฮูเซ็น และยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น จัดให้ตามความประสงค์ "เมื่อคุณจะเจรจากับผู้หนึ่งผู้ใด คุณควรจะต้องรู้ว่าเขากำลังคิดอะไร? ใครเป็นมันสมองที่อยู่เบื้องหลัง?" ยูซุฟ กัลลา อธิบายที่บ้านพักในกรุงจาการ์ต้า

เจ้าหน้าที่มีความวิตกเพราะเดเมี่ยน คิงสเบอรี่ เป็นผู้ที่อยู่ในบัญชีดำ (Black List) และถูกห้ามเข้าประเทศอินโดนีเซีย "ผมได้แจ้งให้พวกเขาจัดการเรื่องนี้ให้เรียบร้อย และปฏิบัติต่อเขาในฐานะที่เขาเป็นแขกของผม และให้เจ้าหน้าที่ข่าวกรองอย่าไปยุ่งกับเขา" รองประธานาธิบดียูซุฟ กัลลา สั่งการ. "เราได้พบปะกันที่บ้านพักของผม และเราได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันนานพอควร ท่าที่ของเขาแข็งกร้าวและไม่อาจสร้างความเข้าใจต่อกันได้ และในที่สุดผมก็กล่าวแก่เขาว่า: "ท่านด๊อกเตอร์เดเมี่ยน คิงสเบอรี่ กระบวนการสันติภาพอยู่ในมือของคุณแล้ว หากกระบวนการสันติภาพล้มเหลวไม่อาจเกิดขึ้นได้ ผมจำเป็นต้องประกาศสงครามอีกครั้งอย่างแน่นอน และนั้นหมายถึงประชาชนอีก 10,000 คนต้องสังเวยชีวิตอีก และมันเป็นความผิดของคุณนะ ขอขอบคุณ ลาก่อน สวัสดี"

แต่เดเมี่ยน คิงสเบอรี่ยังคงมาประชุมพร้อมกับบัตรแข็งที่ติดอยู่เหนือกระเป๋าเสื้อของเขา "หนังสือสั่งการจากเบื้องบนแจ้งมาอย่างชัดเจนว่า: ขบวนการอาเจะห์เสรีจะได้ทุกอย่างตามที่พวกเขาต้องการ ยกเว้นเอกราช และขอถามว่า ขบวนการอาเจะห์เสรียังต้องการอะไรอีก?"

โลกในอุคมคติไม่มี มีแต่ความเป็นจริง
ขณะที่การเจรจาเพื่อแสวงหาสันติภาพในอาเจะห์กำลังคืบหน้า มาร์ตติ อะห์ติซาริมีหน้าที่ที่จะต้องตอกย้ำโดยเฉพาะต่อฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีว่า "ความมุ่งหมายของการเจรจาสันติภาพ ไม่จำเป็นต้องตัดสินใจในรายละเอียดทั้งหมดที่เกี่ยวกับอนาคตของอาเจะห์ แต่จะต้องวางโครงสร้างพื้นฐานสังคมประชาธิปไตยเป็นเป้าหมายหลัก" ขบวนการอาเจะห์เสรีไม่ต้องตอกย้ำเกี่ยวกับอำนาจ ซึ่งมิใช่เป็นเรื่องเร่งด่วน เพราะขบวนการอาเจะห์เสรีเป็นเพียงส่วนหนึ่งของสังคมอาเจะห์ และส่วนอื่นๆ นั้นควรจะต้องรับฟังบ้าง. ในเรื่องนี้ มาร์ตติ อะห์ติซาริเรียกร้องว่า "การทำความตกลงในเรื่องเกี่ยวกับอนาคต ควรเป็นเรื่องที่สามารถปฏิบัติได้ ไม่ใช่เป็นเรื่องของโลกในอุดมคติ"

มาร์ตติ อะห์ติซาริ กระตุ้นให้ ขบวนการอาเจะห์เสรียึดหลักของความเป็นจริง เช่น บางสิ่งบางอย่างไม่ควรเรียกร้องให้รัฐบาลตอบรับ ในสิ่งที่โดยสามัญสำนึกแล้ว เราเองรู้ดีว่ามันเป็นไปไม่ได้ที่จะได้รับการตอบสนองการเรียกร้องโดยขบวนการอาเจะห์เสรี ที่จะให้มีการแก้ไขกฎหมาย นั้นหมายถึง ภาระที่ยิ่งใหญ่ที่รัฐบาลกรุงจาการ์ต้าต้องใช้ความพยายาม ซึ่งมิได้หมายความว่า รัฐบาลสามารถทำได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการก้าวก่ายหรือควบคุมรัฐสภาได้. "ผมคิดว่ามันสร้างบาปต่อประชาชนชาวอาเจะห์ในการสร้างความคาดหวังที่ผิดๆ และไม่มีเหตุผล ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อกระบวนการแสวงหาสันติภาพ" มาร์ตติ อะห์ติซาริ กล่าว

เสรีภาพของสื่อที่จะเข้าถึงอาเจะห์ เป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญมาก
มาร์ตติ อะห์ติซาริเรียกร้องต่อผู้นำนับตั้งแต่แรก เขารู้สึกว่า การปลดปล่อยให้สื่อมีเสรีภาพและสามารถเข้าถึงอาเจะห์ เป็นสิ่งจำเป็นและมีความสำคัญมาก การเฝ้าระวังติดตามข่าวสารของสื่อจะทำให้ประชาชนได้รับรู้ข่าวสาร ได้รู้ว่าการตกลงในกระบวนการแสวงหาสันติภาพมีความคืบหน้าในการดำเนินการเป็นประการใด และคำมั่นสัญญาต่างๆ ของแต่ละฝ่าย ก็จะเป็นหลักประกันถึงความสำเร็จของข้อตกลงในกระบวนการแสวงหาสันติภาพ. "จำนวนของคณะผู้สังเกตการณ์ตรวจสอบกระบวนการสันติภาพในอาเจะห์ จะมากเหรือน้อยเพียงใด ก็ไม่ใช่หลักประกันสันติภาพให้บังเกิดขึ้นได้ หากทั้งสองฝ่ายไม่ยึดมั่นในข้อตกลงที่ได้ทำไว้แล้วอย่างเคร่งครัด" มาร์ตติ อะห์ติซาริ กล่าวย้ำ

ฤดูใบไม้ผลิอันสดใสที่คฤหาสน์โคนิกสเต็ดท์ หัวหน้าคณะผู้แทนเจรจาทั้งสองฝ่ายเริ่มที่จะละเว้นบ้างในรายละเอียดเงื่อนไขข้อตกลงบางประการ ในท่ามกลางกลุ่มต้นโอ๊คและต้นแฮร์(ไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งมีสีเปลือกเรียบสีเทา) ที่ปลูกเรียงรายรอบๆ คฤหาสน์โคนิกสเต็ดท์ ผู้แทนเจรจาทั้งสองฝ่ายเดินพูดคุยเจรจากันบนถนนที่โรยด้วยกรวด และบนสนามหญ้าที่เริ่มมีสีสัน บางครั้งการพูดคุยเจรจาพวกเขาจะเดินตามตลิ่งริมแม่น้ำแวนตาอันโจกิ เป็นผลทำให้การเจรจาแลกเปลี่ยนข้อตกลงสู่สันติภาพเป็นไปโดยปราศจากความกดดัน หรือมีคนรับรู้มากมายนัก

ผู้แทนเจรจาฝ่ายรัฐบาลดำเนินการเจรจาอย่างต่อเนื่อง และมีการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับรองประธานาธิบดียูซุฟ กัลลา ผ่านโทรศัพท์มือถือวันละหลายๆ ครั้ง และมีการหยุดพักการประชุมเป็นระยะๆ เพื่อรอคำตอบ และขอทราบผลการตัดสินใจ. "ผมติดตามความคืบหน้าการประชุมเจรจาอย่างใกล้ชิด บางครั้งท่านรัฐมนตรีผู้เป็นตัวแทนเข้าร่วมการเจรจาลืมโทรศัพท์มือถือติดตัว ผมก็จะส่งข่าวสารเป็นข้อความ เป็นเอกสารผ่านเครื่องโทรสาร(Fax) เพื่อใช้เป็นแนวทางแก่พวกเขา และส่งโดยตรงไปยังห้องประชุม" รองประธานาธิบดียูซุฟ กัลลา เล่าเรื่องราวพร้อมกับการหัวเราะเบาๆ

โจทย์ของปัญหาที่มีความยุ่งยากซับซ้อนยังคงมีอีกมากมายหลายประการ ตัวอย่างเช่น ปัญหาการคอรัปชั่นที่จะต้องขจัดให้หมดสิ้นไปในอาเจะห์, การดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมเกี่ยวกับกรณีการนำทหารที่ก่ออาชญกรรมต่อประชาชนเข้าสู่กระบวนการการพิจารณาในศาลพลเรือน ซึ่งข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติแล้ว ทหารที่ก่ออาชญกรรมไม่เคยถูกตัดสินลงโทษในฐานความผิดที่ได้ก่อขึ้นเลย และกลายเป็นปมปัญหาสร้างความเคืองแค้นแก่ประชาชนชาวอาเจะห์เป็นอย่างยิ่ง และทหารเองก็รู้ดีว่าการกระทำผิดกฎหมายอาญาเป็นความรับผิดชอบส่วนบุคคล เป็นความรับผิดชอบของผู้ที่ได้กระทำลงไป โดยเฉพาะคดีอุกฉกรรจ์

แต่การนำทหารขึ้นสู่การพิจารณของศาลพลเรือนยังไม่พอ เพราะยังมีเรื่องของการคอร์รัปชั่นที่เรื้อรังที่ไม่สามารถถอนรากถอนโคนได้ และการนำเรื่องเหล่านี้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมต้องไม่แตกต่างกับกรณีที่ประชาชนที่ถูกพิจารณาคดีในศาล ผลจะสรุปทุกกรณี เป้าหมายในการสร้างระเบียบทางกฎหมายสำหรับอาเจะห์ สิ่งเหล่านี้จะเป็นหลักประกันในการปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเท่าเทียม

ปัญหาที่เป็นเรื่องยุ่งยากอีกข้อหนึ่งคือ: ผู้ใดเป็นผู้ที่มีสิทธิในการลงคะแนนเสียง หรือการลงประชามติในอาเจะห์ เนื่องจากนับเป็นเวลานานกว่าหลายสิบปีที่รัฐบาลอินโดนีเซียมีความพยายามที่จะใช้นโยบายการเคลื่อนย้ายประชากรจากพื้นที่ที่มีความหนาแน่น เช่น การนำราษฏรจากเกาะชวาไปตั้งถิ่นฐานในพื้นที่เกาะอื่น นโยบายการอพยพประชาชนไปตั้งถิ่นฐานนี้มาจากเหตุผลเพื่อการสร้างดุลย์หรือการถ่วงดุลย์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ ขบวนการอาเจะห์เสรีตั้งข้อสังเกตว่า ผู้คนที่อพยพเข้ามาหรือถูกนำเข้ามาตั้งถิ่นฐานและอาศัยอยู่ในอาเจะห์ จะเป็นผู้ที่มีสิทธิในการลงคะแนนเสียงหรือการลงประชามติ รัฐบาลอินโดนีเซียได้วางแผนเพื่อต้องการแทรกแซงทางการเมืองตามที่ต้องการ ซึ่งขบวนการอาเจะห์เสรีต้องการให้มีการเข้มงวดกวดขัน และกำหนดคุณสมบัติผู้มีสิทธิในอาเจะห์อย่างเคร่งครัด

แม้มาร์ตติ อะห์ติซาริ ได้ย้ำและชี้แนะให้ทราบว่า วัตถุประสงค์ของการประชุมเจรจาสันติภาพมิได้มีความคาดหวังที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่างของความเป็นอินโดนีเซียทั้งหมด ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องที่เกิดจากการสร้างสมจนกลายเป็นธรรมเนียม หรือจากค่านิยมอันเป็นผลของซากกากเดนเผด็จการของยุคประธานาธิบดี ซูฮาร์โต ซึ่งประชาชนมีความเคยชินชา และมักมีการละเมิดหลักการประชาธิปไตย และหลักการข้อกฎหมาย

อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีของอินโดนีเซียตระหนักว่า เป็นภาระความรับผิดชอบที่ผูกพัน และจะต้องมีการทบทวน มีการประเมินกระบวนการประชาธิปไตยในอินโดนีเซีย ขณะที่เขากำลังเดินอยู่ในสนามหญ้าของคฤหาสน์โคนิกสเต็ดท์. ปัญหาบางประเด็นซึ่งยังมิได้มีการถกกันในเดือนพฤษภาคม นั่นคือ "เรื่องการจัดการเกี่ยวกับความมั่นคง" มาร์ตติ อะห์ติซาริมักจะย้ำใหคู่เจรจาทั้งสองฝ่ายพิจารณาส่งรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนตัวเลขของกองกำลังและจำนวนอาวุธที่จะมีการพิจารณาในขั้นสุดท้าย และจะได้มีการพิจารณาภายในไม่ช้า

แต่ในทางตรงกันข้าม กำหนดการต่างๆ เริ่มเห็นเค้าลาง คณะผู้สังเกตการณ์การตรวจสอบกระบวนการสันติภาพในอาเจะห์ (The Aceh Monitering Mission: AMM) ได้มีกำหนดในขั้นตอนการปฏิบัติงานอย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งจะเริ่มกระทำในเดือนกันยายน 2005 (พ.ศ.2548) จนกระทั่งสิ้นสุดในปี 2006 (พ.ศ.2549) และกำหนดการลงนามในข้อตกลงสัญญาสันติภาพ มีกำหนดการจะลงนามในข้อตกลงราวกลางเดือนสิงหาคม 2005 (พ.ศ.2548) ณ กรุงเฮลซิงกิ

การทดสอบกระบวนการ นายปีเตอร์ เพธ
กลุ่มคณะบุคคลที่เดินทางมาจากกรุงบรัซเซลล์ ได้มาร่วมประชุมเจรจาสันติภาพรอบที่สี่ ปีเตอร์ เพธผู้ซึ่งรับผิดชอบเป็นผู้นำการปฏิบัติการในคณะผู้สังเกตการณ์การตรวจสอบกระบวนการสันติภาพในอาเจะห์ มาพบกับคู่เจรจาทั้งฝ่ายคณะผู้แทนขบวนการอาเจะห์เสรี และคณะผู้แทนฝ่ายรัฐบาลเป็นครั้งแรก พร้อมๆ กับนายอัลโด เดลล์อะริคเซีย (Aldo Dell'Ariccia) และ มาเรีย แม็คลอกห์ลิน (Maria McLoughlin) จากคณะกรรมาธิการฯ สหภาพยุโรป และคริส ฮอลต์บาย (Chris Holtby) จากสภาสหภาพยุโรป

"ผมคิดว่างานนี้เป็นงานที่น่าสนใจและเป็นงานที่สร้างสรรค์ ผมศรัทธาในตัวมาร์ตติ อะห์ติซาริ เมื่อเขากล่าวว่า มีโอกาสเป็นไปได้และมีความคืบหน้ามาก ผมจึงไม่มีเหตุผลใดที่ผมต้องลังเลอีก" ปีเตอร์ เพธ กล่าว. ปีเตอร์ เพธ ได้ให้ความกระจ่างแก่คู่เจรจาทั้งสองฝ่ายว่า หากสหภาพยุโรปตัดสินใจเข้ามาเกี่ยวข้องแล้ว ก็มั่นใจได้เลยว่าปิดประตูของความล้มเหลวได้เลย

ก่อนที่ประเทศสมาชิก 25 ประเทศจะเข้ามาเกี่ยวข้อง ทุกท่านจะต้องมีความมั่นใจต่อคู่เจรจาทั้งสองฝ่ายในเรื่องความจริงจัง ตั้งใจ และมั่นใจในภารกิจที่เราได้รับมอบหมาย. นับตั้งแต่สหภาพยุโรปให้การรับรอง เกี่ยวกับกรณีที่ทำให้มีโอกาสได้เข้ามามีส่วนร่วม และประเทศอินโดนีเซียควรดำเนินการเชื้อเชิญสหภาพยุโรปเข้ามารับผิดชอบอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม คู่เจรจาทั้งสองฝ่ายก็ได้มีการนำเสนอเอกสาร กรอบบทบาทการปฏิบัติของสหภาพยุโรปในอาเจะห์เพื่อการพิจารณาแล้ว

ปีเตอร์ เพธ ได้เน้นถึงข้อเท็จจริงที่เป็นรูปธรรมว่า สายการบังคับบัญชาของกองทัพอินโดนีเซีย จากผู้บังคับบัญชาสูงสุดจะสั่งการลงไปยังผู้ใต้บังคับบัญชาระดับล่างสุด และพร้อมที่จะสนับสนุนการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะรัฐบาลอินโดนีเซียพร้อมที่จะสนับสนุนการปฏิบัติงานทุกประเภท. ปีเตอร์ เพธรู้ดีว่า ถึงอย่างไรก็ตาม ความพยายามในการแสวงหาสันติภาพก่อนหน้านั้น 2 ปี ต้องประสบกับความล้มเหลวมาแล้ว เขาจึงนำทำการทดสอบด้วยการเสนอคำถามให้คู่เจรจาทั้งสองฝ่ายตอบ ด้วยคำถามเดียวกันว่า ทำไม? อีกฝ่ายหนึ่งคือฝ่ายตรงกันข้ามจึงมีความมั่นใจและพร้อมที่จะเจรจาเพื่อแสวงหาสันติภาพครั้งนี้ ?

ฮามิด อวาลุดดีน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในฐานะฝ่ายรัฐบาลตอบว่า เขาเชื่อว่า "ขบวนการอาเจะห์เสรีมีความศรัทธาเชื่อมันในตัวผู้นำคนใหม่ของอินโดนีเซีย ว่าเป็นผู้ที่มีความมุ่งมั่นในการที่จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในอาเจะห์ รัฐบาลปัจจุบันมีความเป็นประชาธิปไตยและมีแนวทางในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี มากกว่ารัฐบาลในอดีตที่เคยดำเนินการในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง โดยให้มี "การประชุมเจรจารอบข้อตกลงยุติความเป็นปรปักษ์ (CoHa) มาแล้ว". ฮามิด อวาลุดดีน ยังมีความเชื่อว่า "ขบวนการอาเจะห์เสรี มีความเข้าใจอย่างแท้จริงแล้วว่า ไม่มีชุมชนระหว่างประเทศใดจะสนับสนุนความมุ่งมั่นในการแบ่งแยกดินแดนอีกต่อไป"

ส่วนมาลิค มะห์มูด ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนเจรจาฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีเชื่อว่า "ในทัศนะของรัฐบาลแล้ว การที่สามารถยุติปัญหาความขัดแย้งได้ ก็จะเป็นการรักษาชีวิตของประชาชน และเป็นการนำความหวังสู่ประเทศอินโดนีเซียในภาพรวม และเชื่อว่าสันติภาพจะนำมาซึ่งการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ทั้งในอาเจะห์และประเทศชาติโดยรวม ทั้งยังจะนำมาซึ่งความมั่งคั่งในโลกด้านการค้าและเศรษฐกิจของประเทศสืบไป"

คู่เจรจาทั้งสองฝ่าย ได้บรรลุสู่การพิจารณาแผนการปลดอาวุธของจาอ์กโก้ อ๊อกซาเน็น และแผนงานการสังเกตการณ์การตรวจสอบกระบวนการสันติภาพฯ ของปีเตอร์ เพธ ในชั้นนี้มีแนวทางปฏิบัติ 3 ประการ ที่เกี่ยวกับการปลดอาวุธมีความคืบหน้า คือ

หนึ่ง คณะผู้สังเกตการณ์การตรวจสอบกระบวนการสันติภาพในอาเจะห์ มีความพร้อม มีผู้รับผิดชอบดำเนินการชัดเจน
สอง บริษัทเอกชนที่มีกิจการด้านการรักษาความปลอดภัย จะทำหน้าที่ดูแลการปฏิบัติภารกิจในการดูแลเรื่องดังกล่าว
สาม ในพื้นที่มีบุคคลที่สาม ประเทศอื่นนอกเหนือจากประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปจะช่วยดูแลอีกทางหนึ่ง

มีความชัดเจนว่า สหภาพยุโรปยังขาดแนวทางเกี่ยวกับความรับผิดชอบในการปลดอาวุธ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคณะผู้สังเกตการณ์ฯเอง ยังต้องปลอดอาวุธ ยิ่งกว่านั้นความปลอดภัยยังได้รับการคุ้มครองและปัญหาหลักประกันเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข จะไปเกี่ยวข้องกับการจัดการเรื่องอาวุธ ซึ่งเป็นการง่าย หากมีอาวุธอยู่ในมือใครสักคน

ปีเตอร์ เพธ ได้ย้ำถึงสิ่งที่จำเป็นต้องดำเนินการก่อน คือฝ่ายรัฐบาลต้องกำหนดและส่งชื่อบุคคลที่จะเป็นผู้รับผิดชอบการประสานงานในการทำงานร่วมกัน และฝ่ายรับผิดชอบในสายบังคับบัญชาทางทหารซึ่งมีความสัมพันธ์กับฝ่ายรัฐบาล ดังนั้น คณะผู้สังเกตการณ์การตรวจสอบฯ จะทำงานประสานกับผู้แทนของรัฐบาลอินโดนีเซียคนนี้เพียงผู้เดียว และเช่นเดียวกันกับฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรี ต้องส่งรายชื่อบุคคลเป็นผู้ประสานงานมาด้วยเช่นกัน

เดือน พฤษภาคม 2005 (พ.ศ.2548) ทุกอย่างมีความพร้อม ดูเหมือนว่ากำหนดการต่างๆ ได้รับการกำหนดขึ้นอย่างชัดเจนและกระชับ มาร์ตติ อะห์ติซาริมีแผนการที่จะให้สหภาพยุโรปมีการลงนามในข้อตกลงในหลักการการเข้ามาเป็นคณะผู้สังเกตการณ์ตรวจสอบกระบวนการสันติภาพในอาเจะห์พร้อมๆ กับการลงนามข้อตกลงสันติภาพ แต่จนถึงวันนี้ สหภาพยุโรปยังไม่มีอะไรที่เป็นการส่งสัญญาณความคืบหน้าใดๆ และเวลากำลังจะย่างเข้าสู่ฤดูร้อนเข้ามาแล้ว สำหรับสหภาพยุโรปควรจะต้องมีการตัดสินใจอย่างเป็นทางการเป็นครั้งสุดท้าย ภายในเดือนกันยายน 2005 (พ.ศ.2548) นี้ เนื่องจากจะต้องมีการเตรียมการความพร้อมหลายๆ ประการ ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด

จาอ์กโก้ อ๊อกซาเน็น เริ่มมีการวางแผนเกี่ยวกับการป้องกันมิให้เกิดสูญญากาศในระหว่างช่วงเวลาการลงนามในข้อตกลงสันติภาพ กับการเริ่มปฏิบัติการสังเกตการณ์การตรวจสอบของคณะผู้สังเกตการณ์ฯ กระบวนการสันติภาพในอาเจะห์ "การปฏิบัติการสังเกตการณ์การตรวจสอบกระบวนการสันติภาพ ควรจะต้องเริ่มทำงานในทันทีหลังจากที่ได้มีการลงนามแล้ว มิฉะนั้นช่วงเวลาของความดีงามอันเป็นศุภฤกษ์ทั้งหลายก็จะพลาดไป มันเป็นเวลาที่ทุกคนจะได้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน หาไม่แล้วประชาชนก็จะสิ้นหวัง สถานการณ์ความดีงามอยู่ในกำมือของพวกเราแล้ว ต้องรีบฉวยเอาไว้ ไม่เช่นนั้นจะเป็นการยากที่เริ่มต้นปฏิบัติการสังเกตการณ์การตรวจสอบกระบวนการสันติภาพ โดยเหตุนี้จึงต้องให้มีการกำหนดตัวบุคคลที่ทำหน้าที่รับผิดชอบให้เสร็จภายในเดือนสิงหาคม 2005 (พ.ศ.2548) นี้"

หลังการประชุมในเดือนพฤษภาคม 2005 (พ.ศ.2548) ปีเตอร์ เพธ มั่นใจและมีความหวังว่า "เมื่อผมได้พบกับคู่เจรจาทั้งสองฝ่าย ผมมีความมั่นใจว่าทั้งคู่เจรจาฝ่ายรัฐบาลและขบวนการอาเจะห์เสรี ต่างมีความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขความขัดแย้งอย่างจริงจัง ผมรู้สึกประทับใจในพวกเขามาก อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่มีสิ่งใดที่จะรับประกันความสำเร็จได้ และข้อเสนอที่สำเร็จรูปต่างๆ ยังไม่ได้รับคำตอบจากสมาชิกประเทศสหภาพยุโรป 25 ประเทศแต่อย่างใด"

คู่เจรจาทั้งสองฝ่ายมีความเห็นสอดคล้องในข้อเสนอที่จะให้คณะผู้แทนสหภาพยุโรปเดินทางไปกรุงจาการ์ต้า เพื่อศึกษาสภาพภูมิประเทศในพื้นที่และการตรวจสอบเพื่อประกันความสำเร็จ และข้อเสนอที่สำเร็จรูปยังไม่ได้รับคำตอบจากสมาชิกประเทศสหภาพยุโรป 25 ประเทศแต่อย่างใด เงื่อนไขต่างๆ เกี่ยวกับการไปรับฟังความเห็นจากประชาชน ผู้เกี่ยวข้อง ตลอดจนการสอบถามและซักถามตัวเลขสถิติต่างๆ ที่ควรพิจารณา สิ่งเหล่านี้จะได้รับการผนวกเข้ามาในแผนข้อเสนอต่อสหภาพยุโรปต่อไป

12. การเดินทางไปแสวงหาข้อเท็จในอาเจะห์
วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน - 2 กรกฎาคม 2005 (พ.ศ.2548)

การประเมินผลก่อนการปฏิบัติงานในลำดับแรก คือการเดินทางลงพื้นที่เพื่อไปศึกษาข้อเท็จจริงในกรุงจาการ์ต้าและอาเจะห์ ซึ่งถูกกำหนดในปลายเดือนมิถุนายน 2005 (พ.ศ. 2548) คณะผู้ไกล่เกลี่ยชุดแรกประกอบด้วย ปีเตอร์ เพธ, จาอ์กโก้ อ๊อกซาเน็น, ยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น และผู้แทนสหภาพยุโรป รวมถึงผู้แทนจากกลุ่มประเทศอาเซียนที่ได้ร่วมสมทบเดินทางไปอินโดนีเซียครั้งนี้ด้วย

กลุ่มบุคคลกลุ่มเหล่านี้มีเป้าประสงค์ที่จะทำการสำรวจพื้นที่ในจังหวัดอาเจะห์อย่างกว้างขวาง โดยใช้เฮลิคอปเตอร์เป็นพาหนะ และมีเป้าหมายจะไปสำรวจสถานที่ 10 แห่ง ซึ่งจาอ์กโก้ อ๊อกซาเน็นได้วางแผนไว้แล้วที่จะกำหนดให้เป็นที่ตั้งของสำนักงานของคณะผู้สังเกตการณ์การตรวจสอบกระบวนการสันติภาพในอาเจะห์ระดับอำเภอ การเดินทางครั้งนี้ไม่ได้มีความราบรื่นตามที่คาดหวังมากนัก เพราะรัฐบาลไม่สามารถจัดเฮลิคอปเตอร์ให้กับคณะสังเกตการณ์ได้ตามประสงค์

ยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่นจึงได้ประสานงานกับองค์การสหประชาชาติ ซึ่งมีเฮลิคอปเตอร์ในอาเจะห์อยู่หลายลำ แต่ก็ขัดข้องเพราะต้องทำเรื่องขออนุญาตจากรัฐบาลก่อน จึงทำให้เริ่มดูเหมือนว่ามีผู้หนึ่งผู้ใดในรัฐบาลหรือในกองทัพไม่ประสงค์ที่จะให้สหภาพยุโรปเข้ามายุ่มย่าม หรือย่างกายเข้ามาในอาเจะห์. ในที่สุดเฮลิคอปเตอร์ได้ถูกจัดให้คณะสังเกตการณ์ฯ ใช้ปฏิบัติการได้ตามความประสงค์ แต่เกิดเหตุการณ์ในวันรุ่งขึ้นที่สนามบินบันดาร์ อาเจะห์ ผู้แทนกองทัพต้องตกตะลึงเล็กน้อย ขณะที่กำลังมีการสอบถามเกี่ยวกับรายละเอียดที่จะไปขึ้นเฮลิคอปเตอร์ ปรากฏว่ามีกลุ่มคนและผู้สื่อข่าวจำนวนหนึ่งรอการมาถึงของพวกเขาอยู่ และอะไรจะเกิดขึ้น เมื่อปรากฏภาพของเจ้าหน้าที่สหภาพยุโรปและผู้แทนกองทัพอินโดนีเซีย และเจ้าหน้าที่ของอาเชี่ยนขึ้นเฮลิคอปเตอร์ของสหประชาชาติไปพร้อมกัน มันกลายเป็นภาพของความขัดแย้งในระดับสากลขึ้นมาทันที เป็นภาพที่รัฐบาลอินโดนีเซียมีความระมัดระวังมากและไม่ต้องการให้ยกระดับความขัดแย้งในอาเจะห์เป็นความขัดแย้งในระดับสากล และมีการคัดค้านมาโดยตลอดที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติการครั้งนี้ก็สามารถดำเนินการรุดหน้าต่อไปได้ และคณะผู้แทนสหภาพยุโรปได้ออกเดินทางไปยังจุดหมายต่างๆ ตามแผนงานตลอดระยะเวลา 3 วัน

"เรามีโอกาสพบกับนายกเทศมนตรี หัวหน้าตำรวจท้องถิ่น, และผู้บังคับการกองพันทหาร แต่เราไม่มีโอกาสพบกับผู้แทนของขบวนการอาเจะห์เสรีเลย แม้ว่าคนของขบวนการอาเจะห์เสรีรู้ดีว่า คณะของพวกเราได้เข้ามาสู่พื้นที่นับตั้งแต่แรกเริ่มแล้ว" จาอ์กโก้ อ๊อกซาเน็น เล่าสรุปสั้นๆ. "คำถามพื้นฐานที่เราต้องการรู้คือ ขบวนการอาเจะห์เสรีมีนักรบจรยุทธ์ที่มีอยู่ในพื้นที่มีจำนวนเท่าไหร่? มีอาวุธมากน้อยเพียงใด? โดยทั่วไปแล้ว พวกเขามีทัศนคติและความคิดเห็นอย่างไรกับกระบวนการแสวงหาสันติภาพนี้"

"เรามีความประหลาดใจมาก เมื่อพบว่าผู้บังคับการในพื้นที่ต่างก็รู้ดี และจากการที่ได้มีโอกาสพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันแล้ว พวกเขาให้การสนับสนุนในเรื่องสันติภาพกันอย่างจริงจัง" จาอ์กโก้ อ๊อกซาเน็น กล่าว. คณะผู้แทนสหภาพยุโรป มีความพอใจกับสิ่งที่ได้ประจักษ์

การเตรียมการ คงมีการเดินหน้าที่กรุงบรัซเซลล์ต่อไป

13. ร่างข้อตกลงขั้นสุดท้าย
ร่างข้อตกลงขั้นสุดท้ายเป็นสิ่งที่ท้าทายกระบวนการสันติภาพที่จะเกิดขึ้นในการเจรจารอบที่สอง คณะทำงานทีมงานเจรจาของมาร์ตติ อะห์ติซาริ ได้เริ่มร่างกรอบการตกลง ซึ่งประกอบด้วยการกำหนดขั้นตอนการทำงานที่สำคัญเกี่ยวกับเอกสารต่างๆ ขั้นสุดท้าย ที่ต้องเตรียมให้แล้วเสร็จภายใน ระยะเวลา 6 เดือน

ผู้ช่วยของมาร์ตติ อะห์ติซาริ เริ่มงานด้วยร่างข้อเสนอต่างๆ หลังจากการประชุมในรอบที่ 4 คู่เจรจาทั้งสอง่ฝ่ายได้มีการจัดทำเอกสารทั้งหมดเข้ามานำเสนอ ทั้งข้อเรียกร้อง ข้อเสนอและข้อคัดค้าน คำชี้แจงเหตุผล ปัญหาส่วนกลางและทั้งหมด ซึ่งเป็นการช่วยเหลือฝ่ายเลขานุการ. เป้าประสงค์ของการเจรจาก็ได้มีการร่างกรอบข้อตกลงแล้ว ซึ่งเสร็จสมบูรณ์ตั้งแต่ในช่วงระหว่างการประชุมรอบที่ 3 คู่เจรจาทั้งสองฝ่ายจะมีการตีกลับเกี่ยวกับปัญหาบางประการ ซึ่งเหมือนในกรอบของหลักการที่เกี่ยวข้องอยู่แล้ว

ในระหว่างการประชุม เดือนพฤษภาคม 2005 (พ.ศ. 2548) รัฐบาลเสนอว่า คู่เจรจาทั้งสองฝ่ายจะต้องรวบรวมข้อเสนอต่างๆ ที่เป็นร่างสมบูรณ์ครบถ้วนในการเจรจารอบสุดท้าย แต่มาร์ตติ อะห์ติซาริ กล่าวว่า ยังก่อนและกล่าวขอบคุณในเจตนาดี และกล่าวต่อไปว่ามันจะเป็นเช่นการเริ่มต้นของการเจรจา และขอให้เป็นไปตามขั้นตอนและไม่มีข้อความใดสมบูรณ์ภายในครั้งเดียว

หลังการประชุมเจรจารอบที่ 4, มาเรีย จาอาร์วา, โฮลเกอร์ ร๊อตเกร์ช, ฮานนู ฮิมาเน็น, อันต์ติ แวนสกา, จาอ์กโก้ อ๊อกซาเน็น และยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น เริ่มร่างรูปแบบแนวทางแรกของข้อตกลงสุดท้าย การทำงานส่วนใหญ่ใช้วิธีการส่งข้อมูลผ่านอีเมล์ กระบวนการปลดอาวุธ และการถอนกองกำลัง ซึ่งจาอ์กโก้ อ๊อกซาเน็น ร่างเสร็จเรียบร้อยก่อน ขณะที่ส่วนอื่นของข้อตกลงเป็นไปตามแนวทางพื้นฐานที่เป็นร่างซึ่งคู่เจรจาทั้งสองฝ่ายนำเสนอมาก่อนหน้านั้นแล้ว

ฮามิด อวาลุดดีน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเดินทางมาเยือนกรุงเฮลซิงกิในกลางเดือนมิถุนายน เพื่อมาอ่านร่างข้อตกลงและได้ตั้งข้อสังเกต ตลอดจนข้อเสนอแนะบางประการ แต่อย่างไรก็ตาม ท่านก็มิได้นำร่างดังกล่าวเก็บไว้เป็นส่วนตัว. วันที่ 1 กรกฎาคม ร่างข้อตกลงถูกส่งโดยเครื่องโทรสารตรงไปยังทั้งสองฝ่าย ทั้งที่บ้านพักของท่านรองประธานาธิบดียูซุฟ กัลลา และและอีกฉบับถูกส่งตรงไปยังสำนักงานขบวนการอาเจะห์เสรี ที่กรุงสต๊อคโฮล์ม ประเทศสวีเดน

ทั้งสองฝ่าย ได้อ่านร่างข้อตกลงสันติภาพอาเจะห์อย่างตื่นเต้น รัฐบาลกรุงจาการ์ต้ามีความเห็นสอดคล้อง ถึง 90% และที่เหลืออีก 10% จะมีการเจรจาเพิ่มเติมอีกเล็กน้อย ส่วนฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีมีความเห็นเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม คู่เจรจาทั้งสองฝ่ายมีความเห็นแตกต่างในบางจุดที่ยังไม่สมบูรณ์ และมีเพียง 15 ความเห็นที่แตกต่างกัน ซึ่งจะเป็นหัวข้อพิจารณาหลักในการประชุมเจรจาในรอบที่ 5 ต่อไป

14. ผลักดันอีกครั้ง: การเจรจาสันติภาพรอบที่ห้า
วันอังคารที่ 12 - วันอาทิตย์ที่ 17 กรกฏาคม 2005 (พ.ศ.2548)

กรกฎาคม 2005 (พ.ศ. 2548) เป็นช่วงเวลาที่ในประเทศฟินแลนด์มีอากาศอบอุ่นสบายเมื่อคู่เจรจาทั้งสองฝ่ายได้เดินทางมาถึงคฤหาสน์โคนิกสเต็ดท์ เพื่อเจรจาในรอบสุดท้าย ระหว่างการประชุมเจรจารอบแรกในเดือนมกราคม 2005 (พ.ศ. 2548) สภาพพื้นหญ้าในสนามหน้าคฤหาสน์ยังอยู่ในสภาพที่ปกคลุมด้วยหิมะ และน้ำแข็งที่มีความหนามาก วันนี้เป็นวันที่สดใสเต็มไปด้วยความรู้สึกที่ปลอดโปร่ง ดอกกุหลาบสีแดงเข้ม และดอกโรโดเด็นดร๊อนส์(*) เบ่งบานสะพรั่งเป็นหย่อมๆ ในสนามหญ้าในลานคฤหาสน์ ด้วยความรู้สึกที่เป็นความหวังและสูงส่ง ทุกๆ คนต่างรู้จักกันและกัน ทุกคนเดินทางมาที่คฤหาสน์โคนิกสเต็ดท์ เหมือนคนที่มีความคุ้นเคยกันอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน ด้วยเหตุนี้การเริ่มต้นจึงเป็นไปด้วยความราบรื่น.

(*) Rhododendrons: ลักษณะต้นเป็นพุ่ม ดอกเป็นแฉกรูประฆังมีสีแดง สีม่วง หรือสีขาว บ้างเรียกว่า ดอกกุหลาบพันปี

เมื่อคู่เจรจาทั้งสองฝ่ายพร้อมและได้เริ่มเปิดการเจรจา คณะผู้แทนเจรจาชุดเดิมทั้งสองฝ่ายได้ให้ความเห็นชอบอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งมีที่ปรึกษาที่ได้มานั่งบนโต๊ะเจรจา การพิจารณาเป็นการทบทวนในรายละเอียด เริ่มทีละประเด็น ทีละจุด และสุดท้ายก็เริ่มต้นพิจารณาใหม่ทั้งฉบับ คู่เจรจาทั้งสองฝ่ายต่างได้รับต้นฉบับร่างข้อตกลงสันติภาพอาเจะห์ล่วงหน้าแล้วหนึ่งสัปดาห์ จึงทำให้ทั้งสองฝ่ายได้อ่านมาก่อน

แม้ว่าบรรยากาศในการประชุมเจรจาเป็นไปอย่างราบรื่นและผ่อนคลาย แต่ทุกคนรู้ดีว่า สิ่งนี้เป็นเรื่องใหม่ เป็นปัญหาที่ยุ่งยากที่จะตัดสินใจ ข้อเรียกร้องของประชาชนชาวอาเจะห์เกี่ยวกับการตั้งพรรคการเมืองท้องถิ่นเป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้ง่ายนัก เมื่อความจริงในวันเปิดการเจรจา หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ภาคภาษาอังกฤษในอินโดนีเซีย "หนังสือพิมพ์จาการ์ต้าโพสต์" ได้ตีพิมพ์บทความการเสนอความเห็นของ ดาเมียน คิงส์เบอรรี่ ซึ่งวิพากษ์วิจารณ์และทำนายว่า การเจรจาสันติภาพจะสะดุด. "ขณะที่การเจรจาในรอบต้นๆ มีความคืบหน้า และมีเพียงบางถ้อยคำ หรือการตีความข้อความบางประการที่จะนำสู่ข้อตกลงสันติภาพ กลับดูเหมือนว่าการเจรจากลับคืนสู่ความล้มเหลวและกำลังจะนำมาซึ่งการนองเลือดสู่อาเจะห์" บางตอนในข้อเขียนของดาเมียน คิงส์เบอรรี่

ในทัศนะของดาเมียน คิงส์เบอรรี่ บนโต๊ะเจรจากล่าวหาว่า ผู้แทนฝ่ายรัฐบาลไม่มีความจริงใจในการโอนอ่อนผ่อนตามข้อเรียกร้องของฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรี และมีความคิดเห็นแตกต่างกัน ไม่เหมือนกับผู้แทนเจรจาฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีที่ยอมล้มเลิกเป้าหมายหลักของการเรียกร้องเดิมคือ "การแบ่งแยกดินแดนเพื่อเป็นเอกราช" ทั้งนี้เพราะเห็นแก่สันติภาพ

ทั้งทีมงานคณะผู้แทนเจรจาฝ่ายรัฐบาลและคณะทีมงานของผู้ไกล่เกลี่ย ต่างตกอยู่ในความประหลาดใจกับทัศนคติของดาเมียน คิงส์เบอรรี่ เป็นอย่างยิ่ง หรือดาเมียน คิงส์เบอรรี่มีเจตนาที่จะทำให้ให้การเจรจาเดินสู่หนทางตัน หรือมีความพยายามที่จะเพิ่มแรงกดดันแก่รัฐบาลโดยใช้วิธีการใส่ร้ายป้ายสี เพื่อทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง. แต่เมื่อมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็นกันในการเจรจา กลับมีความคืบหน้าเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามประเด็นเรื่องเกี่ยวกับกิจการด้านเศรษฐกิจ, การจัดทำบัตรประจำตัวประชาชน, บทบาทของศาล, การนิรโทษกรรมนักโทษ และการตรวจสอบสังเกตการณ์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ยังคงต้องมีการพูดคุยเพิ่มเติม บางถ้อยคำและคำจำกัดความต้องมีการพิจารณาให้รอบคอบ ครอบคลุมชัดเจน และตลอดจนข้อความทั้งหมดจะต้องมีการทบทวนอีกครั้ง จนเป็นที่พึงพอใจของทุกฝ่าย

ภาพพจน์ทหาร
ขบวนการอาเจะห์เสรีต้องการให้ระบุข้อความเป็นลายลักษณ์อักษร เกี่ยวกับตัวเลขกองกำลังที่จะต้องปลดประจำการออกจากจังหวัดอาเจะห์ กองกำลังทหาร กองกำลังตำรวจ และกองกำลังพลเรือนกึ่งทหาร อย่างน้อยก็ยังคงมีความเกี่ยวโยงกับกองทัพ. ขบวนการอาเจะห์เสรีอ้างว่า กองทัพได้มีการฝึกฝนและติดตั้งอาวุธแก่กองกำลังพลเรือนกึ่งทหาร ซึ่งรัฐบาลได้ประกาศว่า กองกำลังพลเรือนกึ่งทหารมิใช่เป็นเรื่องของทางราชการ จึงหมายความว่าข้อความนั้นไม่ควรระบุลงในข้อตกลงสันติภาพ

ผู้แทนเจรจาฝ่ายรัฐบาลอินโดนีเซีย ปฏิเสธเกี่ยวกับการคงอยู่ของกองกำลังพลเรือนกึ่งทหาร ซึ่งเป็นหน่วยกองกำลังที่มีประวัติค่อนข้างเป็นผู้สร้างวีรกรรมอันน่าหวาดหวั่น ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีโดยทั่วไป โดยเฉพาะในช่วงระหว่างการเรียกร้องเอกราชในติมอร์ตะวันออก หน่วยกองกำลังนี้ได้สร้างความหวาดผวาเสียหายอย่างใหญ่หลวง. สำนักข่าวอิสระได้รายงานเมื่อเร็วๆ นี้ว่า กองทัพอินโดนีเซียและทหารต้องมีส่วนรับผิดชอบโดยตรงต่อเหตุการณ์การสังหารประชาชนกว่า 1,500 คน ในปี 1999 (พ.ศ. 2542) มีการสร้างความเสียหายในติมอร์ตะวันออก ซึ่งในรายงานระบุว่า ระหว่างปี 1975 - 1999 (พ.ศ 2518 -2542 ) กองทัพอินโดนีเซียจักต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของประชาชนชาวติมอร์ตะวันออก จำนวนประมาณ 183,000 คน ผู้เสียชีวิตเป็นส่วนใหญ่เป็นประชาชนที่มีจิตสำนึกทางการเมือง

สำนักงานข่าวอิสระได้ตั้งข้อสังเกตว่า ตามข้อเท็จจริงแล้ว กองทัพอินโดนีเซียรยังไม่ได้แสดงความรับผิดชอบเกี่ยวกับกรณีการปฏิบัติการในติมอร์ตะวันออก และพฤติกรรมดังกล่าวทำให้กองทัพมักจะหลีกเลี่ยง ปัดความรับผิดชอบจากวีรกรรมนี้ ซึ่งทำให้ขบวนการอาเจะห์เสรีมีความวิตกกังวล และเกรงว่าอาเจะห์ก็จะกลายเป็นเสมือน "สมรภูมิติมอร์ตะวันออก" หลังจากที่มีการลงนามในข้อตกลงการปลดอาวุธ. หากกองกำลังทหารพลเรือนกึ่งทหารยังคงอยู่ และไม่มีการระบุระยะเวลาสิ้นสุดของกองกำลังพลเรือนกึ่งทหารเหล่านี้ลงเป็นลายลักษณ์อักษรในข้อตกลงสัญญาสันติภาพแล้ว ก็ไม่ทราบว่าจะมีผู้ใดที่มีอำนาจรับผิดชอบ และสามารถมีอำนาจสั่งการให้เขายุติบทบาทได้?

และในที่สุด การประนีประนอมดังกล่าวยุติลงได้โดยให้มีการระบุข้อความว่า: ให้เป็นภาระหน้าที่ของรัฐบาลในการปลดอาวุธกองกำลังต่างๆ ที่ผิดกฎหมายทุกกลุ่ม และรวมถึงกองกำลังทหารพลเรือนกึ่งทหารที่มิได้ขึ้นตรงกับสายบังคับบัญชาใดๆ เว้นแต่ ทหารประจำการ และตำรวจเท่านั้น ที่มีอำนาจและสามารถพกพาอาวุธได้. แม้จะได้มีการระบุอย่างชัดเจนในชั้นนี้ ก็ใช่ว่ามีความมั่นใจได้ว่า ทหารจะไม่สร้างปัญหาได้อีกต่อไป

ในวันที่สองของการประชุมเจรจา ได้มีการใช้เวลายาวนานมาก เกี่ยวกับในส่วนของการพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับบทบาทและกระบวนการการจัดการด้านศาสนาในอาเจะห์ เนื่องจากการนับถือศาสนาอิสลาม การปฏิบัติตามหลักการศาสนาอิสลามในอาเจะห์มีความแตกต่างจากจังหวัดอื่นๆ ของประเทศอินโดนีเซีย การนำกฎหมายอิสลามหรือที่เรียกว่า "หลักการชารีอะฮ์" มาบังคับใช้ในจังหวัดอาเจะห์มีมานานแล้ว ในทางปฏิบัติคือหมายความว่า การดื่มแอลกอฮอล์, การเล่นการพนัน, การผิดประเวณีเป็นเรื่องต้องห้าม และผู้หญิงต้องสวมใส่ฮิญาบ (*) และมีศาลศาสนา พิจารณาลงโทษผู้ละเมิดด้วยการเฆี่ยนในที่สาธารณะ เป็นต้น

(*) ฮิญาบ เป็นภาษาอาหรับ แปลว่า"สิ่งที่เป็นที่กั้น" เช่นกำแพง ผ้าม่าน ผ้าคลุม ฮิญาบ เป็นที่รู้จักในความหมายของเครื่องแต่งกายของสตรีมุสลิม ที่ต้องปกคลุมให้มิดชิด วัตถุประสงค์เพื่อไม่ให้เห็นเรือนร่าง ทรวดทรง และสิ่งพึงสงวนของสตรี

การคลุมฮิญาบเป็นคำสั่งของอัลลอฮฺ มีรายละเอียดเกี่ยวกับคำสั่ง ดั่งกุรอานซูเราะฮ์ อัลนูร อายะฮ์ที่ 31 ความว่า "และ(มูฮัมหมัด)จงกล่าวแก่หญิงผู้ศรัทธาทั้งหลายให้พวกนางลดสายตาของนางให้ลดต่ำ (อย่าชะม้อยตาแลชาย เพราะผู้หญิงเยี่ยงหน้าต่าง ไม่ต่างจากองุ่นหวานอยู่ริมทาง) และให้ป้องกันของพึงสงวนของนาง (อย่าไปประกวดโฉมเป็นนางงาม นางแบบ หรือนุ่งน้อยห่มน้อย ฯลฯ ) และจงอย่าอวดประดับ(ความสวยงาม)ของนาง เว้นแต่ที่เปิดเผย (ตามปกติเช่น ใบหน้าและฝ่ามือ) และให้ปิดด้วยผ้าคลุมศีรษะของนางตลอดจนถึงหน้าอกของนางและจงอย่าให้นางอวดเครื่องประดับ(หรือความสวยงามอันพึงปกปิดแก่ผู้ใด) เว้นแต่แก่สามีของนางหรือบิดาของนาง หรือบิดาสามีของนางหรือลูกชายของนาง (แม้ที่ติดกับสามีเดิม) หรือลูกชายของสามีนาง (แม้ที่ติดกับภรรยาอื่น) หรือพี่ชายน้องชายของนาง หรือลูกชายของพี่ชายของนางหรือลูกชายของพี่สาวน้องสาวของนางหรือพวกผู้หญิงของนาง หรือที่มือขวาของนางครอบครอง (ได้แก่ ทาส และสามี) หรือคนใช้ผู้ชายที่ไม่สนใจ (หรือหมดความรู้สึก)ทางเพศ (คือหมดความกำหนัดที่จะมีคู่ครอง) หรือเด็กๆ ที่ไม่รู้เรื่องของสงวนของผู้หญิง(เพราะไร้เดียงสา) และจงอย่ากระทืบเท้าของนางเพื่อเครื่องประดับของนางที่ซ่อนไว้อยู่ในนั้นจะเป็นที่รู้จักกัน (เป็นเชิงยั่วเย้าผู้ชาย) และสูเจ้าทั้งมวลจงหันกลับลุแก่โทษต่ออัลลอฮ์ โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย เพื่อสูเจ้าจะได้เจริญ"

ปัญหาว่า ศาลกฎหมายชารีอะฮ์มีการบังคับใช้ในอาเจะห์แล้ว ทำไม่ยังไม่ชัดเจนหรือไม่ราบรื่น รัฐบาลอินโดนีเซียกล่าวว่า เรื่องนี้ได้ให้เป็นสิทธิของประชาชนชาวอาเจะห์นับตั้งแต่ปี 2003 (พ.ศ.2546) แล้ว เพราะว่าพวกเขามีความเคร่งครัดในศาสนา และเป็นความประสงค์เฉพาะเป็นกรณีพิเศษ มันยังคงไม่ชัดเจน และใครเป็นผู้เรียกร้องกฎหมายชารีอะฮ์

ขบวนการอาเจะห์เสรี กล่าวว่า กฎหมายชารีอะฮ์ เป็นกฎหมายพื้นฐานที่รัฐบาลสามารถใช้เป็นเครื่องมือควบคุมพฤติกรรมของประชาชนได้ แต่รัฐบาลไม่ได้ให้การสนับสนุนใดๆ ขบวนการอาเจะห์เสรีสนับสนุนเสรีภาพทางด้านศาสนา และรู้ดีว่าประชาชนมีความมุ่งมั่น พยายามผลักดันให้เกิดลักษณะคล้ายตอลีบานซึ่งมีตำรวจศาสนาที่มีอำนาจเต็ม(*) ซึ่งทัศนคติเช่นนี้เกิดขึ้นกับชาวอาเจะห์อย่างรุนแรง หลังจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ

(*) ตอลีบาน คำว่า "ตอลิบ" มากจากรากศัพท์ภาษาอาหรับของคำว่า "ตอ ลา บา" หมายถึง "การแสวงหา", "การค้นคว้า", "การจัดหา", ตามหลักภาษา "ตอลิบ" หมายถึง นักเรียน, นักศึกษาที่เรียนเกี่ยวศาสนา คำว่า "ตอลีบัน" เป็นพหูพจน์ ของคำว่า "ตอลิบ" ซึ่งหมายถึง กลุ่มนักเรียน หรือกลุ่มนักศึกษาที่ศึกษาเกี่ยวกับศาสนา
ตอลีบาน เป็นขบวนการนักศึกษาอิสลามหัวอนุรักษ์นิยมกลุ่มหนึ่งในอัฟกานิสถาน ก่อตั้งขึ้นในปี 2537 โดยมูลลาห์ โมฮัมหมัด โอมาร์ ที่เมืองกันดาฮาร์ทางภาคใต้ของอัฟกานิสถาน โดยมีอุดมการณ์เพื่อทำงานรับใช้ศาสนาอิสลาม. ในปี พ.ศ.2523 อัฟกานิสถานได้ถูกสหภาพโซเวียดเข้ายึดครอง ทำให้เกิดสงครามอันยาวนานระหว่างอัฟกานิสถานกับสหภาพโซเวียด และถูกต่อต้านอย่างรุนแรงโดยกลุ่มมูจาฮิดีน (นักรบนอกแบบ) ที่มีสหรัฐอเมริกาอยู่เบื้องหลังสนับสนุน โดยมีปากีสถานให้การสนับสนุนที่พักพิง การฝึกทางทหารและอื่นๆ และต่อมากลุ่มนักศึกษาตอลีบานได้อาสาเข้าร่วมทำสงครามญิฮาด ต่อต้านการรุกรานของโซเวียต

ปี พ.ศ.2532 โซเวียตพ่ายแพ้และถอนออกไป เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นระหว่างกลุ่มมูจาฮีดินและรัฐบาลกลาง แนวร่วมของรัฐบาลซึ่งรวมทั้งชนเผ่าทาจิกส์ (Tajiks) อุซเบกส์ (Uzbeks) ฮาซาราส์ (Hazaras) และชนกลุ่มน้อยอื่นๆ ได้เข้ามามีอำนาจ พวกตอลีบานมีความมุ่งหวังที่จะใช้อำนาจรัฐบาลนำหลักการศาสนามาใช้ปกครองประเทศ จึงได้เสนอตัวเองเพื่อจะนำหลักการศาสนาอิสลามอย่างแท้จริงเป็นแนวทางการปกครอง และเพื่อให้สันติภาพและเอกภาพภายในประเทศเกิดขึ้นอย่างแท้จริง

ปลายปี 1994 ถึงปี 1995 นักรบกลุ่มตอลีบานได้จัดตั้งกองกำลังเคลื่อนไปทั่วภาคใต้และตะวันตกของประเทศ ทำการยึดครองเมืองกันดาฮาร์และเมืองเฮรัทและเมืองอื่นๆ อีกหลายเมืองและทำการปิดล้อมกรุงคาบูล จนในที่สุดสามารถบุกเข้ายึดพื้นที่ทั่วประเทศได้อย่างเบ็ดเสร็จ ท้ายที่สุดรัฐบาลประธานาธิบดีบูรฮานุดดิน รับบานี และนายกรัฐมนตรี กัลบุดดิน เฮกมาทยาร์ ได้หลบหนีไป. นายโมฮัมหมัด นาจิบูลลาห์ ประธานาธิบดีคนสุดท้าย ซึ่งได้รับการหนุนหลังจากสหภาพโซเวียด และนายซาห์ปูร อาหมาดซาย น้องชายหัวหน้าหน่วยรักษาความปลอดภัยถูกจับและแขวนคอในที่สาธารณะ

หลังจากตอลีบานได้ตั้งตัวเป็นรัฐบาล จึงได้กำหนดระเบียบแบบแผนด้วยการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดให้ประชาชนปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้องและห้ามกระทำในสิ่งที่ผิด มีการจัดตั้งตำรวจศาสนาที่มีอำนาจเต็ม มีหน้าที่กวดขันมิให้ประชาชนละเมิดหลักศาสนา มีการห้ามมิให้มีการแสดงดนตรี, ปิดโรงภาพยนตร์, ห้ามและยึดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากโรงแรมของชาวต่างชาติ ผู้ชายถูกบังคับและส่งเสริมไว้เครายาว มีการลงโทษโบยด้วยไม้เรียวเพื่อบังคับให้ละหมาดในมัสยิด ผู้หญิงถูกบังคับให้แต่งชุดบูรคาส์ (Burkas) ผ้าคลุมยาวคลุมตัวตั้งแต่หัวจรดเท้า โรงเรียนสตรีถูกปิด และผู้หญิงถูกห้ามไม่ให้ทำงานนอกบ้าน ผลก็คือโรงพยาบาลต่างๆ ไม่มีคนทำงาน และเด็กๆ ในที่เลี้ยงเด็กกำพร้าถูกทอดทิ้ง แม่หม้ายซึ่งเป็นผู้หาเลี้ยงชีพคนเดียวของครอบครัวต้องประสบความยากลำบาก มีการบังคับใช้ระเบียบและกฎหมายเพิ่มเติมหลายอย่างด้วยการออกประกาศทางสถานีวิทยุ และรถบรรทุกติดเครื่องขยายเสียง การลงโทษผู้กระทำความผิดในคดีฆาตกรรม ชู้สาว และค้ายาเสพติดมีโทษหนักถึงตาย มีการลงโทษด้วยการใช้ก้อนหินขว้างใส่ผู้กระทำผิดด้วยการละเมิดทางเพศ ผิดประเวณี มีการนำบทบัญญัติลงโทษขโมยด้วยการตัดมือ กฎหมายหลายข้อได้รับการทักท้วงจากกลุ่มสิทธิมนุษยชน และมีการโหมกล่าวหา ใส่ร้าย บิดเบือนเกินความจริงจากสื่อโลกตะวันตก

สหรัฐอเมริกายื่นคำขาดให้รัฐบาลตอลีบานส่งตัวนายโอซามา บินลาดิน (Osama bin Laden) ที่ลี้ภัยอยู่ในอัฟกานิสถานให้ โดยสหรัฐระบุว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการโจมตีสถานทูตสหรัฐ ในอัฟริกาเมื่อปี 1998 และโจมตีตึกเวิลด์เทรดเซนเตอร์ซึ่งเป็นสัญญลักษณ์ของอเมริกา เมื่อวันที่11 กันยายน 2001, แต่ผู้นำทาลิบันกลับปฏิเสธ ดังนั้นเดือนตุลาคม สหรัฐจึงเริ่มการโจมตีประเทศอัฟกานิสถานทั้งทางอากาศ และกองกำลังภาคพื้นดิน กลุ่มพันธมิตรฝ่ายเหนือได้ปฏิบัติการรุกเข้าสู่กรุงคาบูลและพื้นที่ยุทธศาสตร์สำคัญอื่นๆ จนสามารถล้มล้างรัฐบาลตอลีบานได้สำเร็จ เข้ายึดครองอัฟกานิสถาน และสถาปนารัฐบาลหุ่นเชิดฮามิด คาร์ไซ เป็นประธานาธิบดีอัฟกานีสถานสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน และจนถึงในวันนี้ กองกำลังตอลีบานยังทำสงครามต่อต้านกองทัพ รัฐบาลฮามิด คาร์ไซ, กองทัพสหรัฐอเมริกา, และกองกำลังพันธมิตรนาโต้ อย่างไม่ย่อท้อและยืดเยื้อ

"เราประชาชนชาวอาเจะห์ได้อุทิศตนในนามมุสลิมกว่า 100 ปีแล้ว แต่เราไม่ต้องการให้มีกฎหมายบังคับให้เราปฏิบัติตามความศรัทธา และมิใช่เป็นสิ่งที่จำเป็นเร่งด่วนสำหรับพวกเราในขณะนี้" มาลิด มะห์มูด กล่าวภายหลัง "อะไรเป็นสิ่งที่น่าคิดกว่า? เมื่อมีผู้หนึ่งถูกเฆี่ยน เพราะความผิดฐานที่เขาจูบกันในที่สาธารณะ แต่ในขณะที่อีกผู้หนึ่งเป็นผู้ที่ใช้กำลังข่มขืนสตรียังเดินลอยนวล" นูร ดจาลิล ถาม. ในที่สุดประเด็นปัญหากฎหมายชารีอะฮ์ถูกละเว้นจากการพิจาณาบนโต๊ะเจรจาสันติภาพอย่างสมบูรณ์

พรรคการเมืองท้องถิ่น: จะพิจารณา หรือละเว้น?
การประชุมเจรจาได้เดินหน้ามาถึงเรื่องสำคัญที่สุด คือประเด็นของการพิจารณาเรื่องพรรคการเมืองท้องถิ่น รัฐบาลเสนอทางออกใหม่โดยให้ขบวนการอาเจะห์เสรี มีอำนาจแต่งตั้งคนของฝ่ายตนดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการ เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการพิจารณาอดีตนักรบจรยุทธ์ กลับมาเป็นผู้ร่วมพัฒนาอาเจะห์

ฝ่ายรัฐบาลจะให้การสนับสนุนแนวความคิดการมีพรรคระดับชาติ และมีผู้แทนของขบวนการอาเจะห์เสรีเข้ามามีส่วนร่วมในพรรคของตนเองและสนับสนุนพรรคนั้นๆ หรือทางออกอีกทางหนึ่งคือ การให้ขบวนการอาเจะห์เสรีเข้าครอบงำกิจการ หรือดำเนินการทางการเมืองในนามพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งที่มีอยู่แล้ว แต่ก็ยังไม่ได้มีการนำเสนอ ทั้งนี้เนื่องจากมีปัญหาเกี่ยวกับพรรคการเมืองระดับชาติ เนื่องจากกฎหมายของอินโดนีเซียกำหนดให้พรรคการเมืองที่สามารถจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองได้นั้น จะต้องเป็นพรรคการเมืองในระดับชาติเท่านั้น ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วเป็นปัญหาเกี่ยวกับเงื่อนไขที่ทำให้การขับเคลื่อนพรรคเกิดความไม่คลอ่งตัว และต้องมีค่าใช้จ่ายสูงมาก

แต่ในทัศนะของขบวนการอาเจะห์เสรี ดูเหมือนจะไม่ค่อยเห็นด้วยนัก ขบวนการอาเจะห์เสรีมีความเห็นว่า ความเป็นประชาธิปไตยนั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงที่ว่า ประชาชนเป็นผู้มีอำนาจอธิปไตยในการกำหนดชะตากรรมของตนเองในพื้นที่ของตน และพวกเขาไม่มีความสนใจที่จะเข้ามีส่วนร่วมในการเมืองระดับชาติ พวกเขาต้องการมีส่วนร่วมเพียงแค่การพัฒนาในอาเจะห์เท่านั้น "เราไม่ได้พูดเพียงในนามของขบวนการอาเจะห์เสรีเท่านั้น แต่เราพูดถึงสิทธิเสรีภาพตามกระบวนการประชาธิปไตย สิทธิของประชาชนเป็นหลักการพื้นฐานของพวกเรา การที่เราล้มเลิกความใฝ่ฝันในการเรียกร้องเอกราช และประชาชนชาวอาเจะห์ได้สละชีวิตไปเป็นจำนวนมาก ก็เพื่อจะแลกเปลี่ยนกับสิ่งที่พวกเขาใฝ่ฝัน หากไม่มีพรรคการเมืองระดับท้องถิ่นแล้ว ก็เป็นอันว่าจะไม่มีการตกลง" นูร ดจาลิล ประกาศ

มาร์ตติ อะห์ติซาริ สนับสนุนการเรียกร้องของ ขบวนการอาเจะห์เสรี ในทัศนของมาร์ตติ อะห์ติซาริ เป็นเรื่องที่น่าละอายมากที่จะบังคับให้ขบวนการอาเจะห์เสรี มีส่วนร่วมในช่องทางการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองโดยการเข้าร่วมกับพรรคการเมืองเก่าๆ ระดับชาติ. ผู้แทนเจรจาฝ่ายรัฐบาลพยายามที่จะอธิบายว่า สืบเนื่องจากการจัดตั้งพรรคการเมืองระดับท้องถิ่นนั้น หมายถึง การเปลี่ยนแปลงกฎหมาย และมันไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะให้หลักประกันในกรณีนี้ "การเปลี่ยนแปลงกฎหมายจะต้องกระทำโดยกระบวนการทางรัฐสภา เป็นเรื่องของฝ่ายนิติบัญญัติ ไม่ใช่เป็นเรื่องของฝ่ายบริหารหรือเป็นอำนาจของรัฐบาล" ซอฟยาน ดจาลิล พยายามอธิบาย และพรรคฝ่ายค้านในกรุงจาการ์ต้าเคยประกาศคัดค้านการเจรจานี้ หากรัฐบาลอินโดนีเซียได้ให้ความเห็นชอบในหลักการให้มีพรรคการเมืองระดับท้องถิ่นแล้ว ก็จะเป็นการละเมิดกฎหมายของอินโดนีเซียเอง"

"ผมได้แจ้งพวกเขาว่า เรามีความเข้าใจในจุดยืนและมุมมองของพวกเขา แต่หากความปิติยินดีเกิดจากการที่เราได้รับจากข้อตกลงในวันนี้ แต่กลับไม่สามารถนำสู่การปฏิบัติตามสัญญาได้ ก็จะเป็นเรื่องที่เลวร้ายที่สุดที่และจะนำมาซึ่งความล้มเหลวของรัฐบาล ตลอดจนกระบวนการแสวงหาสันติภาพทั้งหมดจะล้มครืนลงอย่างไม่เป็นท่า" ซอฟยาน ดจาลิล กล่าว

สถานการณ์ความตึงเครียดปรากฏอีกครั้งหนึ่ง เมื่อผู้แทนเจรจาฝ่ายรัฐบาลแจ้งว่าไม่สามารถทำตามข้อเสนอได้ ผู้แทนเจรจาฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีกล่าวว่า หากไม่มีพรรคการเมืองระดับท้องถิ่นแล้ว ก็จะไม่มีการตกลง. คู่เจรจาทั้งสองฝ่าย ต่างถอยกลับคืนสู่จุดยืนของแต่ละฝ่ายอีกครั้งหนึ่ง วันนั้นเป็นวันที่สิ้นสุดด้วยความเลวร้ายอย่างที่สุด

15 กรกฏาคม 2005 (พ.ศ.2548) วันถัดมาเป็นวันที่เริ่มต้นด้วยเหตุการณ์ที่มีบรรยากาศย่ำแย่ที่สุด ผู้แทนเจรจาฝ่ายรัฐบาลเดินทางมาถึงสถานที่เจรจาด้วยความหวังที่จะมีการลงนาม แต่ผู้แทนเจรจาฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีไม่ยอมลงนาม เนื่องจากระหว่างเมื่อคืน เกิดเหตุการณ์ร้ายอีกครั้ง เมื่อกองทัพอินโดนีเซียได้ทำการสังหารลูกพี่ลูกน้องของนูรดีน อับดุลเราะฮ์มาน ผู้แทนเจรจาฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรี ซึ่งกำลังทำหน้าที่อยู่ ณ กรุงเฮลซิงกิ

เมื่อกระบวนการเจรจาได้เดินหน้ามาเกือบถึงขั้นสุดท้ายแล้ว และกำลังคืบหน้ามาอย่างต่อเนื่องเรื่อยๆ จนถึงกลางวัน บรรยากาศก็เริ่มมีความตึงเครียดอีกหนหนึ่ง ในท่ามกลางบรรยากาศเช่นนี้ มาร์ตติ อะห์ติซาริจึงเปลี่ยนเรื่องการพิจารณาไปโดยหยิบยกประเด็นเกี่ยวกับวิธีการในเชิงเทคนิคที่ทุกฝ่ายสามารถรับได้ และเป็นปัญหาที่เรียบง่ายขึ้นมาพิจารณา

ประสานงานฝ่ายทหาร
ในเวลาเดียวกัน ที่การเจรจา ณ คฤหาสน์โคนิกสเต็ดท์ซึ่งกำลังแสวงหาข้อตกลงเกี่ยวกับประเด็นปัญหาพรรคการเมืองท้องถิ่น จาอ์กโก้ อ๊อกซาเน็นอยู่ในกรุงเฮลซิงกิ และอยู่ในระหว่างการพิจาณา ขัดเกลาสำนวนรายละเอียดในร่างเกี่ยวกับวิธีการปลดอาวุธ การส่งมอบอาวุธ และการถอนกำลังทหารร่วมกับผู้แทนของกองกำลังทั้งสองฝ่าย

ผู้แทนจากกองทัพแห่งอินโดนีเซีย ประกอบด้วยพลเอกบัมบัง ดาร์โมโน (General Bambang Darmono) อดีตผู้บังคับบัญชาการทหารจังหวัดอาเจะห์, พันเอกซอนนี่ (Colonels Sonny) และพันเอกฟอนโต (Colonels Ponto) จากสำนักข่าวกรอง นายทหารคนเดียวกันที่ร่วมเดินทางสำรวจข้อเท็จจริงในอาเจะห์ร่วมกับคณะผู้แทนจากสหภาพยุโรป เมื่อเดือนมิถุนายน 2005 (พ.ศ.2548) ที่ผ่านมา. พลเอกบัมบัง ดาร์โมโน ได้มอบข้อมูลเกี่ยวกับกองกำลังของกองทัพและกำลังพล ตลอดจนแผนการและรายละเอียดแก่จาอ์กโก้ อ๊อกซาเน็น และการประสานงานระหว่างจาอ์กโก้ อ๊อกซาเน็น และพลเอกบัมบัง ดาร์โมโนเป็นไปด้วยความราบรื่นมาโดยตลอด. จาอ์กโก้ อ๊อกซาเน็นเคยได้ยินกิติศัพท์ว่าพลเอกบัมบัง ดาร์โมโน เป็นคนค่อนข้างแข็งกร้าว แต่เป็นผู้ที่มีอารมณ์ขัน และคู่เจรจาทั้งสองฝ่ายมีความสะดวกในการใช้ภาษาเดียวกันในการเจรจาอีกด้วย

พลเอกบัมบัง ดาร์โมโน กล่าวภายหลังว่า เขาเคยทราบ เกี่ยวกับการริเริ่มในการเจรจาเพื่อสันติภาพทั้งหมดนับตั้งแต่แรกเมื่อเดือนมีนาคม 2005 (พ.ศ.2548) เมื่อผู้สื่อข่าวสัมภาษณ์ถึงความเห็น "ผมให้สัมภาษณ์ว่า การริ่เริ่มในการเจรจาสันติภาพนั้นเป็นความคิดที่ดีมาก แต่ผมไม่เห็นสัญญาณแห่งสันติภาพ ขบวนการอาเจะห์เสรีไม่ยอมวางอาวุธและขณะเดียวกันก็ยังมีอาวุธอยู่ในครอบครอง ตราบใดที่เขายังใช้อาวุธกันก็เป็นหน้าที่ของฝ่ายกองทัพในการปกป้องบูรณาภาพ เอกภาพและอธิปไตยแห่งดินแดน และคุณยังจำได้ไหมว่าเวลานั้นขบวนการอาเจะห์เสรีมีความมุ่งมั่นที่จะทำการแบ่งแยกดินแดนเพื่อความเป็นเอกราช". "ผู้ใดก็ตามที่คิดจะเจรจาแล้ว ก็จะไม่มีทางที่จะประสบความสำเร็จ หากอีกฝ่ายหนึ่งยังมีเป้าหมายการต่อสู้เพื่อการแบ่งแยกดินแดนและเพื่อเอกราช"

พลเอกบัมบัง ดาร์โมโน กล่าวว่า "เราทราบจากกรุงเฮลซิงกิว่า ในเดือนกรกฏาคม 2005 (พ.ศ.2548) ขบวนการอาเจะห์เสรีได้ประกาศยกเลิกเป้าหมายในการต่อสู้เพื่อการแบ่งแยกดินแดนให้เป็นเอกราชแล้ว". "นับตั้งวันนั้น ผมมีความเชื่อมั่นทันทีว่า สันติภาพย่อมเกิดขึ้นในอาเจะห์ได้อย่างแน่นอน การสู้รบระหว่างขบวนการอาเจะห์เสรีและรัฐบาลอินโดนีเซียได้สิ้นสุดลงแล้ว เพราะเป้าหมายในการต่อสู้เพื่อการแบ่งแยกดินแดนและเพื่อเอกราชได้ล้มเลิกไปแล้ว และมีประเด็นเกี่ยวกับการวางอาวุธ ซึ่งไม่มีรัฐบาลประเทศไหนในโลกนี้จะยอมสละบูรภาพแห่งดินแดน และเหตุใดจึงไม่มีกองกำลังทหารอินโดนีเซียในปาปัว แม้ว่าที่นั้นมีการเรียกร้องการต่อสู้เพื่อการแบ่งแยกดินแดนให้เป็นเอกราชเช่นดียวกัน ก็เพราะที่นั้นไม่มีความขัดแย้งด้วยการใช้อาวุธห้ำหั่นกัน"

การสื่อสารระหว่างคุณจาอ์กโก อ๊อกซาเน็น กับพลเอกบัมบัง ดาร์โมโนดำเนินไปด้วยดี เพราะเบื้องหลังแล้ว การที่รัฐบาลแต่งตั้งพลเอกบัมบัง ดาร์โมโน เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการแสวงหาสันติภาพในอาเจะห์ เพราะจาอ์กโก อ๊อกซาเน็นเป็นผู้เสนอขอตัวพลเอกบัมบัง ดาร์โมโน นั่นเอง "ผมมีความมั่นใจในตัวของพลเอกบัมบัง ดาร์โมโนอย่างไม่ต้องสงสัยเลย และเชื่อมั่นว่าเขาจะได้เข้ามาเป็นผู้แทนฝ่ายรัฐบาลอย่างแท้จริง และจะได้เป็นบุคคลสำคัญในภายภาคหน้า"

ส่วนผู้แทนฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรี จาอ์กโก อ๊อกซาเน็นได้ร่วมพิจารณากับอิรวันดี ยูซุฟ และมาลิค มะห์มูด ในห้องประชุมของโรงแรมที่โอตาไนอิมิ (Otaniemi ) อิรวันดี ยูซุฟ เสนอว่า การส่งมอบอาวุธของนักรบจรยุทธ์ ควรกระทำกันในสถานที่เป็นความลับและเป็นสถานที่เพียงแห่งเดียว และเสนอต่อไปว่า ผู้ซึ่งมีหน้าที่รับการส่งมอบอาวุธ ควรให้มีเฉพาะคณะผู้สังเกตการณ์ในการตรวจสอบกระบวนการสันติภาพในอาเจะห์ (AMM) และผู้แทนขบวนการอาเจะห์เสรี. สถานที่ส่งมอบอาวุธต้องมีการปกปิดเป็นความลับ และไม่ต้องการให้ตำรวจมีส่วนร่วมด้วย เพราะการตกลงในส่วนนี้เป็นเรื่องภารกิจทางด้านการทหารเท่านั้น เนื่องจากมีการสู้รบกันมาอย่างยาวนานกว่า 30 ปี เมื่อจะมีการยุติบทบาท และภารกิจก็ควรกระทำอย่างมีเกียรติ

จาอ์กโก อ๊อกซาเน็นกล่าวว่า เรารู้ดีและมีความเข้าใจถึงความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติเช่นนี้ และมีแผนการณ์ที่จะดำเนินการตามที่ได้มีการเสนอก่อนหน้านี้อยู่แล้ว นอกจากนี้ยังมีคณะผู้สังเกตการณ์ตรวจสอบกระบวนการสันติภาพเคลื่อนที่ไปรวบรวมอาวุธ อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงในเชิงปฏิบัติเป็นเรื่องที่มีความยุ่งยากพอสมควร แต่อิรวันดี ยูซุฟยังไม่ยอมเปิดเผยยอดตัวเลขของจำนวนนักรบจรยุทธ์, จำนวนอาวุธ, ตามที่จาอ์กโก อ๊อกซาเน็นร้องขอแต่อย่างใด

"ผมได้มีการสอบถามมาตั้งแต่ต้นหลายครั้งแล้ว และร้องขออีกวันละหลายครั้งในเดือนกรกฏาคม 2005 (พ.ศ.2548) แต่ก็มักได้รับคำตอบเหมือนเดิมคือ ยังไม่ได้รับตัวเลขที่ถูกต้องแน่นอน เพราะต้องประสานงานและรวบรวมข้อมูลจากพื้นที่หลายจุด ซึ่งต้องใช้เวลาบ้างพอสมควร"

ถ้อยคำที่ถูกต้อง
เมื่อปัญหาเกี่ยวกับ"พรรคการเมืองท้องถิ่น" ถูกนำมาถกเป็นประเด็นอีกครั้งหนึ่งในการเจรจา ณ คฤหาสน์โคนิกสเต็ดท์ คู่เจรจาทั้งสองฝ่ายต่างมีท่าทีต่อต้านกันขึ้นมาทันที ผู้แทนเจรจาฝ่ายรัฐบาลแจ้งให้ทราบอย่างชัดเจนว่า ทางกรุงจาการ์ต้าไม่อาจพิจารณาให้ตามที่ขอได้ "โดยปกติแล้ว เราไม่เคยไปๆ-มาๆ เข้าห้องของแต่ละฝ่าย แต่เดียวนี้นุร ดจาลิล และนูรดีน อับดุลเราะฮ์มาน เชิญผมขึ้นไปยังชั้นบนเพื่อปรึกษาหารือกับฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรี หลังอาหารเย็นวันนั้นพวกเขาได้รับข้อเสนอใหม่ ซึ่งเขียนโดยชาวฟินแลนด์ เขาพยายามบอกพวกเราว่า ไม่ว่าฝ่ายรัฐบาลอินโดนีเซียจะพยายามตบตาหรือเลี่ยงบาลีพวกเราอีกครั้งก็ตาม" ซอฟยาน ดจาลิล บอกออกมาภายหลัง

โฮลเกอร์ ร๊อตเกร์ช, ฮานนู ฮิมาเน็นได้เปลี่ยนแปลงถ้อยคำที่เป็นปัญหายุ่งยากเกี่ยวกับพรรคการเมือง แทนที่การใช้คำว่า "รัฐบาลจะให้สิทธิแก่ชาวอาเจะห์ในการจัดตั้งพรรคการเมืองท้องถิ่น" ก็เปลี่ยนไปใช้ถ้อยคำใหม่ว่า "รัฐบาลให้คำมั่นที่จะสถาปนาระบบการเมืองใหม่ และปรับปรุงกฎหมายอันเป็นหนทางที่จะให้ชาวอาเจะห์สามารถตั้งพรรคการเมืองในระดับท้องถิ่นได้ โดยการประสานงานกับรัฐสภาภายในระยะเวลาอันเหมาะสม". ด้วยการใช้ถ้อยคำดังนี้ ทำให้รัฐบาลมีเวลาในการผลักดันการตรากฎหมายผ่านรัฐสภาได้ และสามารถหลีกเลี่ยงการกล่าวหาว่าเป็นผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญา ส่วนฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีก็จะสามารถชี้แจงแก่ประชาชนชาวอาเจะห์ว่า พรรคการเมืองท้องถิ่นจะได้รับการจัดตั้งภายในไม่ช้านี้. การเลี่ยงการใช้ถ้อยคำ ยังเป็นการรักษาหน้าของคู่เจรจาทั้งสองฝ่ายได้ด้วย

ซอฟยาน ดจาลิล และฮามิด อวาลุดดีนได้โทรศัพท์ปรึกษาหารือกับกรุงจาการ์ต้า เกี่ยวกับปํญหาที่มีการถกเถียงกัน ซึ่งรองประธานาธิบดียูซุฟ กัลลา และ ฯพณฯ ประธานาธิบดีแห่งอินโดนีเซีย สุศิโล บัมบัง ยุทโธโยโน ได้ร่วมพิจารณาและร่วมปรึกษาหารือเกี่ยวกับข้อเสนอกับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบ. รองประธานาธิบดี ยูซุฟ กัลลาให้สัญญาว่า หากฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีรับข้อเสนอดังกล่าวแล้ว ในฐานะที่เป็นหัวหน้าพรรคโกลคา (Golkar)(*): ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของอินโดนีเซีย จะประสานกับพรรคการเมืองอื่นๆ เพื่อให้รับหลักการนี้ต่อไป

(*) พรรคโกลคาร์ GOLKAR: Partai Golongan Karya (Partai = พรรคการเมือง, Golongan = ขบวนการ, Karya = กระทำ, ใฝ่ฝัน) หรือ"ขบวนการทำได้" เป็นพรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นในยุคการจัดระเบียบใหม่ Orde Baru ซึ่งประธานาธิบดีซูฮาร์โต้ใช้เป็นมาตรการควบคุมนักศึกษา ปัญญาชน ศิลปิน สื่อ กลุ่มคนจีน และกลุ่มมุสลิม เป็นระบบการเมืองแบบอำนาจนิยม โดยยุบรวมพรรคการเมืองต่างๆ และทำการกวาดล้าง โดยเฉพาะพรรคคอมมิวนิสต์แห่งอินโดนีเซีย (PKI: Partai Kommumis Indonesia) หลัง PKI ทำการรัฐประหาร และซูฮาร์โต้ทำการรัฐประหารซ้อนผล ทำให้มีการสังหารหมู่พลพรรค PKI ตามรายชื่อที่ CIA จัดให้ และชาวจีนตามเมืองต่างๆ กว่า 1 ล้านคน ถูกดำเนินคดีในข้อหาผู้ทรยศ และเป็นต้นเหตุของความแตกแยกทางสังคม

พรรคโกลคาร์เป็นพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุดของอินโดนีเซีย ก่อตั้งเมื่อ 20 ตุลาคม 1964 (พ.ศ.2507) นับแต่มีการเลือกตั้งครั้งแรกปี 2514 ในยุค Orde Baru ของประธานาธิบดีซูฮาร์โต้ ได้รับชัยชนะตลอดหลายสมัยคือ ปี พ.ศ.2520, 2525, 2530, 2535, 2540. แต่หลังสิ้นสุดยุคของประธานาธิบดีซูฮาร์โต ด้วยการสละอำนาจเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2541 ในยุคของรองประธานาธิบดีพี เจ ฮาบีบี เมื่อ 7 มิถุนายน 2542 ซึ่งเป็นยุคปฏิรูปการเลือกตั้งครั้งที่ 8 เป็นการเลือกตั้งครั้งพิเศษ เพราะทำกันหลังการเลือกตั้งครั้งที่ 7 ในปี 2540 (1997) เพียงสองปี แทนที่จะเป็นห้าปี เนื่องจากแรงผลักดันของการปฏิรูปทางการเมืองที่ต้องการจะได้รัฐบาลใหม่ พรรคโกลคาร์ต้องประสบกับความพ่ายแพ้ในการเลือกตั้ง ได้ที่นั่งเพียง 120 ที่นั่งเท่านั้น จากจำนวน ส.ส. 550 คน

ปัจจุบันนายยูซุป กัลลา (Jusuf Kalla) รองประธานาธิบดีคนปัจจุบัน เป็นหัวหน้าพรรค คนที่ 7 (2547-ปัจจุบัน) หัวหน้าพรรคคนแรกคือ ซูโกวาตี (Sukowati) (-2507), อามีร โมอิรโตโน Amir Moertono (2507-2526), ซูดารโมโน (Sudharmono) (2526-2531), วาโฮโน (Wahono) (2531-2536), ฮารโมโก (Harmoko) (2532-2541), อบูบากัร ตันจุง (Akbar Tandjung) (2541-2547)

การเลือกตั้งวันที่ 5 เมษายน 2547 สมาชิกรัฐสภาจำนวน 678 คนเลือกตั้ง ส.ส. (550 คน) และเลือกตั้งผู้แทนสภาที่ปรึกษาประชาชนหรือวุฒิสภา จำนวน(128 คน) มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี สมาชิกสภาจังหวัด (1,860 คน) และสมาชิกสภาอำเภอ / เทศบาลทั่วประเทศ (13,525 คน)หลังจากนั้น 3 เดือนคือวันที่ 5 กรกฎาคม 2547 มีเลือกตั้งประธานาธิบดีแทนนางเมกาวาตี ซึ่งรับตำแหน่งต่อจากนายวาฮิด ซึ่งครบวาระในวันที่ 5 ตุลาคม 2547

สาธารณรัฐอินโดนีเซีย มีพรรคการเมือง 24 พรรค ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า พรรค Partai Demokrasi Indonesia - Perjuangan PDI-P ของนางเมกาวาตี ซูการ์โน ได้ 153 ที่นั่ง, พรรค Golkar ของนายอักบาร์ ตันจุง ประธานสภา/หัวหน้าพรรคได้120 ที่นั่ง, พรรค Partai persatuan Pembaguan-PPP ของรองประธานาธิบดีฮัมชะห์ ฮัช ได้ 58 ที่นั่ง, พรรค Partai Democrat Indonesia ของ เอส บูดี ซันโตโซ (ภายหลังพลเอก สุศิโล บัมบัง ยุทโธโยโน) ได้ 57 ที่นั่ง, พรรค Partay Kebangkittan Bangsa: PKB ของอัลวี อับดุรเราะมาน ชีฮับ ได้51 ที่นั่ง, พรรค Partai Amanat National: PAN ของนายอามีน ราอีส ประธานสภาที่ปรึกษาประชาชนได้ 34 ที่นั่ง และพรรค Partai Bulan Bintang: PBB ของนายยุสริล อิห์ชา มาเฮนดรา รัฐมนตรียุติธรรมและสิทธิมนุษยชนได้ 12 ที่นั่ง ที่เหลือเป็นของพรรคเล็กพรรคน้อยกระจายกันไป

การเลือกตั้งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี พรรคที่มีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของผู้มาลงคะแนนเสียงทั้งหมด หรือไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 ของที่นั่งทั้งหมดในสภามีสิทธิเสนอชื่อผู้แข่งขันเป็นประธานาธิบดี และวันที่ 4 ตุลาคม 2547 คณะกรรมการการเลือกตั้งอินโดนีเซียได้ประกาศผลการเลือกตั้งรอบที่ 2 อย่างเป็นทางการ โดยพลเอก สุศิโล บัมบัง ยุทโธโยโน และนายยูซุฟ กัลลา ได้รับคะแนนเสียง 69.27 ล้านคะแนน (60.6 %) ในขณะที่นางเมกาวตีฯ และนายฮาซิม มูซาดีได้รับคะแนนเสียง 44.99 ล้านคะแนน (39.4 %) ผู้มาใช้สิทธิ์ทั้งหมด 116,659,935 คน และวันที่ 7 ตุลาคม 2547 ศาลรัฐธรรมนูญของอินโดนีเซียได้ประกาศรับรองผลการเลือกตั้งว่าเป็นอันเด็ดขาดและมีผลผูกพันทางกฎหมาย ต่อมาเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2547 พลเอกสุศิโลฯ ได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของอินโดนีเซีย สืบต่อจากนางเมกาวตีฯ

"ผมจึงกลับไปยังคฤหาสน์โคนิกสเต็ดท์ เพื่อไปปรึกษาหารือกับนุร ดจาลิล และเขาได้แจ้งให้ทราบว่าได้ปรึกษาหารือกับรองประธานาธิบดี ยูซุฟ กัลลาแล้ว และผมได้สอบถามว่า หากพวกเขาจะต่อสายพูดคุยกับท่านฯ โดยตรงก็ได้ ซึ่งท่านอนุญาต ผมได้แจ้งให้ทราบว่ารัฐบาลมีความจริงใจและผมขอยืนยันว่า เราจะดำเนินการทุกอย่างอย่างเต็มกำลังความสามารถ และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของกระบวนการทางรัฐสภาด้วย เราจึงไม่อาจรับปากโดยตรงได้

เวลานั้นนับเป็นช่วงที่มีความตึงเครียดอย่างแท้จริง การปรึกษาหารือเกี่ยวกับเจรจาของขบวนการอาเจะห์เสรีกับตัวแทนคนของขบวนการฯ ที่อาศัยอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลกโดยใช้การพูดคุยผ่านโทรศัพท์มือถือ. "แต่มาลิค มะห์มูด และนุร ดจาลิล ยังคงยืนยัน เขากล่าวว่าหากเราไม่สามารถรับประกันในเรื่องดังกล่าวแล้ว ก็จะไม่มีอะไรที่จะต้องมานั่งเจรจาอีกต่อไป ผมจึงได้ไปพบกับมาร์ตติ อะห์ติซาริ และกล่าวว่า ดูเหมือนว่าเราไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้อีก ซึ่งผมได้แจ้งให้ทราบถึงผลการปรึกษาหารือกับทางกรุงจาการ์ต้าแล้ว และพวกเขาไม่สามารถให้หลักประกันใดๆ ในเรื่องนี้ได้"

"ผมได้ถามมาร์ตติ อะห์ติซาริ ว่า มีความเป็นไปได้ไหม? หากจะมีการเลื่อนการประชุมเจรจาออกไปก่อน เราจะได้มีเวลาปรึกษากับทางกรุงจาการ์ต้า และเปิดโอกาสให้ฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีได้มีเวลาเพื่อออกไปรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนชาวอาเจะห์ แล้วเราจึงพบกันอีกครั้งภายในระยะเวลาสองสัปดาห์" ซอฟยาน ดจาลิล เสนอเพื่อขอความเห็น. มาร์ตติ อะห์ติซาริ กล่าวว่า "นั้นไม่ใช่เป็นทางออก เพราะหากว่าในตอนเย็นของวันนี้การเจรจาไม่สามารถตกลงกันได้แล้ว ก็จะไม่มีการตกลงอะไรอีกต่อไป". "เขากล่าวว่าเขาพร้อมที่จะรอจนถึงเวลารุ่งเช้า หากมีความจำเป็น ที่จะให้การเจรจาสามารถตกลงกันได้"

หลังอาหารมื้อเย็นในวันนั้น ผู้แทนขบวนการอาเจะห์เสรีได้มาสอบถามซอฟยาน ดจาลิลและฮามิด อวาลุดดีนที่ห้องอีกครั้ง "เราได้เสนอว่า เราให้เวลาสำหรับการดำเนินการในสิ่งที่จำเป็นที่จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขภายในระยะเวลา 2 ปี ฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีตอบตกลงและพร้อมที่จะรับข้อเสนอ แต่ขอต่อรองให้ย่นระยะเวลาให้เสร็จภายใน 6 เดือน ฝ่ายเราให้คำตอบว่า "มันเป็นไปไม่ได้" พวกเขาเสนอขอให้เป็นระยะเวลา 1 ปี และท้ายที่สุดเราเสนอว่า ระยะเวลา 1 ปี แต่อย่างช้าที่สุด 18 เดือน" แต่คณะผู้แทนเจรจาฝ่ายรัฐบาลก็ยังกลับไปปรึกษาหารือกับรองประธานาธิบดี ยูซุฟ กัลลา ทั้งๆ ที่พวกเขาได้รับการตอบรับฝ่ายฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีแล้วก็ตาม

"เวลาตีสองตอนเช้าในกรุงจาการ์ต้า เมื่อพวกเขาได้โทรศัพท์และขอความเห็นจากผม ผมคิดว่าอะไรที่ควร ก็ให้ตัดสินใจได้เลย ผมพร้อมที่จะรับผิดชอบมัน ผู้แทนเจรจายังย้ำในสิ่งที่ต้องการการรับรองจากผมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผมก็ได้จัดให้ตามคำขอโดยการพิมพ์หนังสือแล้วลงนามยืนยัน และจัดการส่งแฟ๊กซ์ไปยังคฤหาสน์โคนิกสเต็ดท์ แล้วผมก็เข้านอน "รองประธานาธิบดี ยูซุฟ กัลลา กล่าว. และแล้วข้อตกลงจึงได้ผ่านการรับรอง

คณะผู้แทนเจรจาทั้งสองฝ่ายกลับไปยังห้องสมุดที่อยู่ชั้นล่าง ห้องทำงานของมาร์ตติ อะห์ติซาริและเจ้าหน้าที่ผู้ช่วยนั่งคอยอยู่ มาร์ตติ อะห์ติซาริ เริ่มการสนทนาด้วยการถามถึงจุดยืนของขบวนการอาเจะห์เสรีที่มีต่อข้อเสนอของฝ่ายรัฐบาลอินโดนีเซีย. นุร ดจาลิล ได้อ่านข้อความด้วยเสียงดัง เป็นข้อความที่ฝ่ายรัฐบาลได้สัญญาว่า จะสถาปนาการเมืองและจะมีการตรากฎหมาย พรรคการเมืองท้องถิ่นโดยการประสานงานกับรัฐสภา ซึ่งจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 1 ปี หรืออย่างช้าภายใน 18 เดือน

เมื่อข้อเสนอไม่มีการแก้ไข และไม่มีผู้ใดคัดค้าน มาร์ตติ อะห์ติซาริ ใช้ค้อนทุบโต๊ะแสดงการยอมรับและยุติได้ทันที. มาร์ตติ อะห์ติซาริแสดงอากัปกิริยาความดีใจออกมาอย่างเห็นได้ชัด และกล่าวว่า เขาไม่เชื่อว่าจะมีการการผ่อนปรนและการตกลงกันได้ ซึ่งเขาเองแทบไม่เชื่อว่าคณะผู้แทนเจรจาทั้งสองฝ่ายสามารถแก้ไขและบรรลุข้อตกลงร่วมกันจนได้ เขากล่าวขอบคุณทั้งสองฝ่าย และยกย่องว่า"นี่คือสิ่งที่เรียกว่าเป็นพฤติกรรมเยี่ยงรัฐบุรุษ"

คณะผู้แทนเจรจาทุกคนต่างรวบรวมสิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวในห้อง และเตรียมย้ายที่พักเพื่อรอคอยเวลาปรากฏการณ์แสงอาทิตย์แห่งยามอัสดงที่โรงแรมนับตั้งแต่วันแรก จะมีการลงนามในข้อตกลงซึ่งจะเกิดขึ้นในวันพรุ่งก่อนอาหารเช้าและการแถลงข่าว มีการเตรียมเครื่องอุปกรณ์ในตอนเช้า ผู้แทนของขบวนการอาเจะห์เสรีกำลังพิจารณากับจาอ์กโก้ อ๊อกซาเน็น เกี่ยวกับการนำเสนอจำนวนกองกำลังและอาวุธ

แต่ข้อมูลและรายละเอียดที่แท้จริง ยังขาดความสมบูรณ์

เป็นไปไม่ได้
รุ่งเช้าในวันต่อมา จาอ์กโก้ อ๊อกซาเน็นกำลังนั่งรอหัวหน้าคณะผู้แทนเจรจาขบวนการอาเจะห์เสรีอยู่ที่ชั้นบนห้องทำงานของมาร์ตติ อะห์ติซาริในคฤหาสน์โคนิกสเต็ดท์ หน้าต่างถูกเปิดกว้าง เพื่อเปิดเผยถึงความงามสดใสของทัศนียภาพแม่น้ำและลานหญ้าบริเวณหน้าคฤหาสน์ฯ จาอ์กโก้ อ๊อกซาเน็นซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการมอบหมายภารกิจอันยิ่งใหญ่ที่จะต้องไปปฏิบัติในไม่ช้ายังคงนิ่งสงบ คณะเจรจาฝ่ายรัฐบาล รัฐมนตรี และมาร์ตติ อะห์ติซาริได้มานั่งรออยู่ และกำลังดื่มกาแฟและรับประทานอาหารเช้าที่ชั้นล่าง ขณะที่ผู้แทนฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีได้เข้ามาสมทบเพื่อพิจาณาร่างข้อตกลงและบันทึกข้อความ มีการถ่ายเอกสารสำเนาเพื่อให้ทุกคนได้อ่าน หลังจากที่ได้จัดทำเอกสารในขั้นต้นแล้ว

พลเอกบัมบัง ดาร์โมโน ได้ส่งข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขของกำลังพลของกองทัพอินโดนีเซียให้กับจาอ์กโก้ อ๊อกซาเน็น 5 วันก่อนหน้านี้แล้ว คณะผู้แทนเจรจาทั้งสองฝ่ายมีข้อตกลงว่า ข้อมูลของแต่ละฝ่ายจะไม่มีการมอบให้อีกฝ่าย จนกว่าทั้งสองฝ่ายจะได้มีการดำเนินการบรรลุข้อตกลง. ผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรีได้ขึ้นบันไดไม้ไปยังสำนักงานของมาร์ตติ อะห์ติซาริ และแจ้งข้อมูลแก่จาอ์กโก้ อ๊อกซาเน็นว่า นักรบจรยุทธ์ขบวนการอาเจะห์เสรีที่กำลังปฏิบัติการอยู่ในป่ามีจำนวน 3,000 คน และมีอาวุธจำนวน 840 รายการที่อยู่ในพื้นที่ พวกเขาพร้อมที่จะส่งมอบสรรพาวุธเหล่านี้เพื่อการทำลาย และได้มีการส่งมอบเอกสารต่างๆ. มีรี-มาเรีย จาอาร์วา จึงคว้าข้อมูลและรีบนำไปพิมพ์ออกมาทันที ผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรีได้อ่านร่างดังกล่าวที่ชั้นบน

ครู่ต่อมา ผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรีได้เชิญให้จาอ์กโก้ อ๊อกซาเน็นเข้ามา พวกเขารู้สึกตระหนกจากเอกสารที่ฝ่ายรัฐบาลได้แจ้งว่า หลังจากมีการถอนกำลังกองทัพแล้ว ยังมีทหารของกองทัพหลงเหลืออีกจำนวน 14,700 คน และตำรวจจำนวน 9,100 คน รวม 23,800 คนจะยังคงกำลังอยู่ในอาเจะห์ ในความเห็นของฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรี ตระหนักว่าจำนวนเจ้าหน้าที่ถืออาวุธดังกล่าวยังเป็นจำนวนที่มากเกินความจำเป็น และมากกว่าจำนวนกองกำลังที่ประจำการในจังหวัดอื่นๆ ของประเทศอินโดนีเซีย และเป็นจำนวนที่มีมากกว่าจำนวน 6,000 คน ดังที่เคยระบุ ไว้บนโต๊ะเจรจา

ผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรีได้แจ้งแก่จาอ์กโก้ อ๊อกซาเน็นว่า ขอให้ทำอะไรสักอย่างก็ได้เพื่อที่ลดจำนวนทหารประจำการให้มีจำนวนตัวเลขที่ยอมรับได้ และขอให้เป็นไปตามที่มีการพูดคุยกันบนโต๊ะเจรจา โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ปรึกษาดาเมียน คิงส์เบอรรี่คนหนึ่ง มีอาการแสดงความรู้สึกหัวเสียมากเกี่ยวกับเรื่องนี้ "ผมพยายามอธิบายแก่พวกเขาให้ทราบถึงจุดสำคัญของจำนวนตัวเลขดังกล่าวว่ามีความเหมาะสมแล้ว การจัดกำลังต้องจัดให้มีความสอดคล้องกับสภาพการณ์ในพื้นที่ ตามความจำเป็นที่ต้องคงอยู่ ส่วนตัวเลขที่อ้างว่ากำลังพลมีจำนวนมากกว่าจังหวัดอื่นๆ ในประเทศอินโดนีเซียนนั้น เนื่องจากการจัดกำลังพลต้องจัดให้สอดคล้องตามความจำเป็นของสภาพภูมิศาสตร์ของอาเจะห์ "จาอ์กโก้ อ๊อกซาเน็นอธิบาย

ส่วนชั้นล่าง คณะผู้แทนฝ่ายรัฐบาลไม่มีปฏิกิริยาใดใดเกี่ยวกับตัวเลขของกองกำลังฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีที่เสนอมา ซึ่งเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับตัวเลขที่ฝ่ายรัฐบาลเคยได้รับจากการประเมินของเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องและคาดการณ์อยู่แล้ว

ไม่ใช่กงการอะไรของเราหรือของท่าน
หลังจากการรอคอยผู้แทนฝ่ายรัฐบาลอยู่ชั้นล่างประมาณ 1 ชั่งโมง มาร์ตติ อะห์ติซาริเริ่มแสดงอาการหงุดหงิด "ผมเดินขึ้นมาชั้นบน ผมได้กล่าวแก่ดาเมียน คิงส์เบอรรี่ว่า เราประสบความสำเร็จในการจัดวางบุคลากรผู้ปฏิบัติงานแล้ว หลังจากนี้ทหารในอาเจะห์ก็ไม่มีภารกิจในการบังคับใช้กฎหมายในพื้นที่ จะเหลือแต่เพียงภารกิจการป้องกันประเทศเท่านั้น ส่วนจะมีตัวเลขจำนวนเท่าไหร่? ก็ไม่ใช่ธุระกงการอะไรของเราหรือของท่านที่จะต้องมามั่วนั่งพิจารณาว่า กองทัพอินโดนีเซียมีความจำเป็นในภารกิจดูแลป้องกันประเทศว่าจะต้องมีจำนวนเท่าไหร่? คณะผู้สังเกตการณ์การตรวจสอบกระบวนการสันติภาพในอาเจะห์ จะเป็นผู้ทำหน้าที่ในการสังเกตการณ์ ตรวจสอบกำกับดูแลเอง เพราะเป็นหน้าที่ของพวกเขาโดยเฉพาะ

หนึ่งชั่วโมงผ่านไปก่อนที่สถานการณ์จะมาถึงจุดแตกหัก คณะผู้แทนเจรจาฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีเริ่มเปลี่ยนการใช้ภาษาพูด โดยเริ่มมีการปรึกษาหารือด้วยภาษาของพวกเขาซึ่งในจำนวนนั้นมีพียงนายดาเมียน คิงส์เบอรรี่ ที่ปรึกษาของพวกเขาเพียงคนเดียวที่ฟังไม่เข้าใจ สักครู่หนึ่งนูร ดจาลิลประกาศว่า หากไม่มีอะไรแล้ว พวกเราพร้อมที่จะลงนามในเอกสาร

"สำหรับที่ปรึกษาดาเมียน คิงส์เบอรรี่แล้ว พวกเขากล่าวว่า ในฐานะที่ท่านเป็นที่ปรึกษา เมื่อท่านให้คำแนะนำพร้อมให้คำปรึกษาหารือแก่พวกเรา เราขอขอบคุณ แต่หน้าที่ในการตัดสินใจและการลงนามในข้อตกลงเป็นหน้าที่ของพวกเราโดยเฉพาะ และพวกเราหวังว่าท่านคงสนับสนุนในการตัดสินใจครั้งนี้. คณะผู้แทนทั้งสองฝ่ายทุกคนพร้อมกันเดินไปชั้นล่างและเข้านั่งประจำที่ หลังจากฮามิด อวาลุดดีนได้กล่าวสั้นๆ แล้ว มาลิก มะห์มูดกล่าวเสริมในคำเริ่มต้นในเอกสารนั้น เนื่องจากการที่ได้ชะลอเวลาให้ช้าลงประมาณ 2 ชั่วโมง เพื่อให้มาร์ตติ อะห์ติซาริซึ่งออกไปแถลงข่าวที่ กาตาโจน๊อกก่า (Katajonokka) ในขณะที่คนอื่นๆ อยู่ที่คฤหาสน์โคนิกสเต็ดท์ รอรับประทานอาหารกลางวัน. จาอ์กโก้ อ๊อกซาเน็นยอมรับว่า เขาถูกขัดจังหวะจากการส่งตัวเลขล่าช้าของฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรี

ยังมีประเด็นปัญหาส่วนกลาง ที่ยังไม่ได้มีความชัดเจน เช่น ชนิดของอาวุธที่ขบวนการอาเจะห์เสรีจะมีการส่งมอบ การกำหนดเงื่อนไขการแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากพื้นที่หลังจากนั้น. เนื่องจากการที่คณะผู้แทนเจรจาฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีแสดงท่าทีหน่วงเหนี่ยว เพราะต้องการความชัดเจนเกี่ยวกับจำนวนกำลังพลของกองทัพอินโดนีเซีย และเช่นเดียวกันกับมาร์ตติ อะห์ติซาริก็รู้สึกว่า เป็นการถ่วงเวลา แต่ก็ไม่ได้สร้างความแปลกใจอะไรมากนัก

"ในความเห็นของผม มีปัญหาใหญ่ๆ มากมายเกี่ยวกับบทบาทของที่ปรึกษา ปัญหาของที่ปรึกษามักจะเกิดขึ้นตลอดเวลาในการแสดงบทบาทของตน จึงเป็นผลทำให้หลายครั้งที่ปรึกษามีความเห็นซึ่งสะท้อนทัศนะอนุรักษ์นิยมสุดโต่งเสียยิ่งกว่า คณะผู้แทนเจรจาฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรี ได้กล่าวเปรียบเทียบที่ปรึกษาในทำนองว่า "เป็นฆราวาสยึดมั่นในศีลมากกว่าโป๊ปเสียอีก". ผมเห็นว่าสถานการณ์เช่นนี้ เกิดขึ้นในระยะต้นๆ ของกระบวนการเจรจาเสมอ ที่ปรึกษามักทำตัวเป็นผู้ที่ยึดมั่นในแนวทางอย่างมั่นคง ไม่มีการยืดหยุ่น และมักทำให้เกิดการเผชิญหน้า พร้อมกันนั้นเขาก็จะเผชิญกับการโต้แย้งด้วยตรรกะที่มีเหตุผล"

ยังมีอีกหนึ่งปัญหา
เพียงไม่กี่วันที่ก่อนจะมีการเริ่มการประชุมรอบสุดท้าย มาร์ตติ อะห์ติซาริยังอยู่ในกรุงบรัซเซลล์เพื่อชี้แจงความคืบหน้าของการเจรจาแสวงหาสันติภาพในอาเจะห์ ต่อเอกอัครราชทูตประเทศสมาชิกประจำสหภาพยุโรป มาร์ตติ อะห์ติซาริได้นำเสนอร่างสัญญาข้อตกลง, แนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับคณะผู้สังเกตการณ์การตรวจสอบกระบวนการสันติภาพในอาเจะห์, บุคคลากรต่างๆ, ตารางกำหนดการทั้งหลายในการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นภารกิจที่ท้าทาย

บรรยากาศในกรุงบรัซเซลล์ที่มีต่อแผนการสังเกตการณ์เกี่ยวกับการตรวจสอบกระบวนการสันติภาพในอาเจะห์นั้น มีความชัดเจน และทำให้เกิดความพึงพอใจมากขึ้น.รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศสหภาพยุโรปได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมการเจรจาสันติภาพต้นฤดูร้อน เมื่อ 18 กรกฏาคม 2005 (พ.ศ.2548) หนึ่งวันหลังวันที่คู่เจรจาทั้งสองฝ่ายได้มีการริ่เริมในการตกลงสันติภาพ. วันนี้พวกเขาได้ส่งสัญญาณไฟเขียว และการเตรียมการเพื่อปฏิบัติการเกี่ยวกับการสังเกตการณ์ตรวจสอบกระบวนการสันติภาพในอาเจะห์ และสามารถเดินหน้าได้อย่างเต็มสูบ แม้ว่าการตัดสินใจสั่งการอย่างเป็นทางการยังมิได้ดำเนินการก็ตาม

รัฐบาลฟินแลนด์ได้แสดงท่าทีอย่างออกหน้านับตั้งแต่เริ่มแรกเกี่ยวกับการให้ความสนับสนุนคณะผู้สังเกตการณ์การตรวจสอบกระบวนการสันติภาพ มาร์ตติ อะห์ติซาริได้มีการติดต่อประสานงานอย่างใกล้ชิดกับผู้นำระดับสูงในระหว่างการตกลงเจรจา และได้รับความสนับสนุนอย่างเต็มที่ ทั้งในส่วนของการดำเนินการเจรจาและการนำสู่การปฏิบัติหลังจากที่ได้มีการลงนามกันแล้ว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศฟินแลนด์ อิริกกี ทูโอมิโอจา (Erkki Tuomioja) ได้กล่าวในช่วงแรกของการเจรจาในเดือนกรกฏาคมว่า หากการเจรจาข้อตกลงบรรลุผล ประเทศฟินแลนด์จะมีการเตรียมบุคลากรผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 20 คน ไปเป็นผู้ปฏิบัติงาน และเมื่อการเจรจาตกลงบรรลุผล อิริกกี ทูโอมิโอจาได้ขอเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่อีก 10 คน รวมเป็น 30 คน

ข้อเท็จจริงในปัญหาข้อสงสัยจากทัศนะของสมาชิกประเทศสหภาพยุโรป ซึ่งยังคงมิได้รับการชี้แจงคือ: ผู้บัญชาการกองกำลังขบวนการอาเจะห์เสรีในพื้นที่ ยังคงมีการซ่อนอาวุธในป่าอาเจะห์อีกหรือไม่?

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1700 เรื่อง หนากว่า 35000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com