ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้เป็นสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๒ : Release date 5 September 2009 : Copyleft MNU.

ขบวนการอาเจะห์เสรี GAM : Gerakan Aceh Merdeka ก่อตั้งและเริ่มปฏิบัติการในปี ๑๙๗๖ ( พ.ศ. ๒๕๑๙) โดยเมื่อเติงกู ฮาซัน ดิ ติโร(Tenku Hasan Di Tiro ) นักธุรกิจชาวอาเจะห์ ผู้สำ เร็จการศึกษาจากสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศเอกราชให้จังหวัดอาเจะห์ เป็นอิสรภาพแยกจากอินโดนีเซีย เติงกู ฮาซัน ดิ ติโร เป็นผู้ที่มีเชื้อสาย จากครอบครัวสุลต่านฏอนแห่งอาเจะห์ ประกาศว่า จังหวัดอาเจะห์ได้ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอินโดนีเซียในปี ๑๙๔๙ ไม่ชอบธรรม เมื่ออาเจะห์ตกเป็นอาณานิคมของดัทซ์ ร่วมหนึ่งศตวรรษ สุลต่านแห่งอาเจะห์มีอิสรภาพ มีความแตกต่างจากอัตลักษณ์ สภาพภูมิประเทศ จากส่วนกลางโดยสิ้นเชิง และกล่าวว่าอินโดนีเซียควรสิ้นสุดการยึดครองอาเจะห์ได้แล้ว. ปี ๑๙๗๗ อินโดนีเซียทำการปราบปรามขั้นเด็ดขาด

 

H



07-09-2552 (1761)

กระบวนการสร้างสันติภาพในอาเจะห์ (Making Peace: Ahtisaari and Aceh)
สันติภาพในอาเจะห์: นับแต่นี้ ไม่มีการแสวงหาเอกราชอาเจะห์อีกต่อไป
บทความนี้ได้รับมาจากคุณ บุรฮานุดดิน อุเซ็ง
บทความนี้ได้มีการปรับปรุงบางประโยค และย่อหน้าเพื่อความสะดวกในการอ่าน
โดยกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

เมื่อตอนที่ได้รับหนังสือ(ทางออนไลน์)ชิ้นนี้ คุณบุรฮานุดดิน อุเซ็ง
ได้เขียนข้อความส่งถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ความว่า
ขออนุญาตส่ง "กระบวนการสร้างสันติภาพในอาเจะห์ เพื่อพิจารณา
เห็นว่า น่าจะเป็นข้อพิจารณากับการแก้ไขความขัดแย้งที่ภาคใต้บ้านเรา ด้วยวิธีการสันติ"

เนื่องจากหนังสือนี้ ความยาวประมาณ 124 หน้ากระดาษ A4
กอง บก.ม.เที่ยงคืนจึงขอนำเสนอบทความนี้ครั้งละหนึ่งบท โดยในบทแรกและบทที่สองคือ
"คลื่นยักษ์สึนามิ"และ"โหมโรง: การเจรจาสันติภาพ รอบแรก"พร้อมคำนำของหนังสือ
เขียนโดยเจ้าของเรื่อง กาตริ เมอริกัลป์ลิโอ คอลัมนิสต์ชาวฟินแลนด์
หนังสือเล่มนี้ เป็นการรวบรวมบทความที่สำคัญ ของผู้เขียนซึ่งเคยลงตีพิมพ์ในวารสารรายสัปดาห์
ของฟินแลนด์ ชื่อ Saumen Kualehti ในระหว่างปี 2005 - 2006 (พ.ศ. 2548 - 2549)

แม้หนังสือเล่มนี้มิได้เป็นสูตรสำเร็จ หรือวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ หรือเป็นเพียง
รายงานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับกระบวนการแสวงหาสันติภาพฉบับหนึ่ง
แต่ก็เป็นบันทึกที่ได้มาซึ่งสันติภาพ เป็นงานที่รวบรวมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
เกี่ยวกับกระบวนการสร้างสันติภาพในอาเจะห์ ที่น่าสนใจศึกษา

(บทความนี้จัดอยู่ในหมวด "การจัดการความขัดแย้ง")


สนใจส่งบทความเผยแพร่ ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน:
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๗๖๑
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๓ หน้ากระดาษ A4 โดยไม่มีภาพประกอบ)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

กระบวนการสร้างสันติภาพในอาเจะห์ (Making Peace: Ahtisaari and Aceh)
สันติภาพในอาเจะห์: นับแต่นี้ ไม่มีการแสวงหาเอกราชอาเจะห์อีกต่อไป
บทความนี้ได้รับมาจากคุณ บุรฮานุดดิน อุเซ็ง
บทความนี้ได้มีการปรับปรุงบางประโยค และย่อหน้าเพื่อความสะดวกในการอ่าน
โดยกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word


9.กรุงบรัซเซลล์ เข้ามาเกี่ยวข้อง
หลังการเจรจารอบแรกสิ้นสุดลง มาร์ตติ อะห์ติซาริ ได้มีการเตรียมแผนรองรับโดยการกำหนดตัวบุคคลที่จะเป็นผู้ทำหน้าที่ในในฐานะผู้สังเกตการณ์ฯ มาร์ตติ อะห์ติซาริ กล่าวว่า "ผมอาจกล่าว ณ ที่นี้ได้เลยว่า เราจะไม่เริ่มต้นการสังเกตการณ์ตรวจสอบกระบวนการสันติภาพ และมันง่ายเงินไปที่จะเลือกองค์กรเอกชน แต่เราจะเลือกใช้ให้องค์กรของรัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบงานนี้" ในระยะการเริ่มต้นของการประชุมเจรจา ฝ่ายรัฐบาลอินโดนีเซียยืนยันมาตลอดว่า ไม่ต้องการให้มีการยกระดับความขัดแย้งขึ้นสู่ระดับเวทีนานาชาติ และไม่อยากให้องค์การสหประชาชาติเข้ามาพัวพัน เพราะรัฐบาลอินโดนีเซียมีประสบการณ์ขมขื่นจากกรณีติมอร์ตะวันออก และตำหนิบทบาทสหประชาชาติในการจัดการในกรณีนี้ว่า เป็นต้นเหตุทำให้มีการแบ่งแยกประเทศในปี 1999 (พ.ศ. 2542) จึงไม่ต้องการให้เกิดกรณีเช่นนี้ซ้ำอีกครั้งกับอาเจะห์

คู่เจรจาทั้งสองฝ่ายมีความพึงพอใจเหมือนกันที่จะเลือกองค์กรแห่งภูมิภาค เช่น สหภาพยุโรป หรืออาเซียน. สำหรับสหภาพยุโรปนั้นไม่มีปัญหา เพราะฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีมีทัศนะต่ออาเซียนว่า อาเซียนเป็นมิตรประเทศกับประเทศอินโดนีเซียและเป็นประเทศภาคีสมาชิกในองค์กรอาเซียนด้วยกัน จึงทำให้ในสายตาและความเข้าใจของฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีที่มีต่ออาเชียนเป็นไปในลักษณะที่ไม่ค่อยสบายใจนัก

"ผมได้ให้การยืนยันแก่รัฐบาลอินโดนีเซียว่า สหภาพยุโรปไม่ใช่องค์กรนานาชาติ หรือองค์กรระหว่างประเทศ แต่เป็นองค์กรหรือประชาคมแห่งภูมิภาค การที่สหภาพยุโรปเข้ามามีส่วนร่วมก็มิได้ช่หมายความว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างชาติ" มาร์ตติ อะห์ติซาริ กล่าวภายหลังด้วยความรู้สึกกระอักกระอวนใจ. เกือบจะทันที่ที่การเจรจาในรอบแรกสิ้นสุดลง มาร์ตติ อะห์ติซาริ ได้โทรศัพท์ถึง นายฮาเวียร์ โซลานา(Javier Solana) ผู้แทนพิเศษด้านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงของสหภาพยุโรป (High representative for the Common Foreign and Security Policy :CFSP) ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงที่รู้จักกันดี

"ผมได้มีโอกาสพบกับท่านนายฮาเวียร์ โซลานา(*) ที่กรุงเมดริด และได้แจ้งผลเกี่ยวกับการเจรจาแสวงหาสันติภาพในอาเจะห์ และกล่าวว่า ผมได้ผนวกชื่อของสหภาพยุโรปเข้าอยู่ในกระบวนการนี้แล้วด้วย ท่านได้กล่าวสนับสนุนและแนะนำให้เดินหน้าต่อไป และกล่าวว่า แน่นอนที่สุดว่าท่านมิใช่เป็นคนชี้ขาดใดๆ ได้ทั้งหมด แต่เป็นอำนาจหน้าที่การตัดสินใจของสมาชิกประเทศ. มาร์ตติ อะห์ติซาริ มั่นใจว่า การเข้ามามีส่วนร่วมของสหภาพยุโรป มีแต่ประเทศสมาชิกเป็นผู้รับประโยชน์จากการเข้ามีส่วนร่วมนี้อย่างเต็มกำลัง "ผมเชื่อว่า หากสหภาพยุโรปเข้ามามีส่วนร่วมกับข้อตกลงในกระบวนการการสังเกตการณ์ฯ ประเทศอินโดนีเซียก็คงไม่ขัดข้องในการนำสู่การปฏิบัติการจริง และไม่เป็นอุปสรรคทางด้านการทูต และประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศที่สหภาพยุโรปมีความสนใจในการจะมาทำการลงทุนอยู่แล้ว และเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงในสายตาของกลุ่มประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปด้วย"

(*) ดร.ฮาเวียร ซาโลนา Javier มีชื่อเต็ม Francisco Javier Solana de Madariaga ผู้แทนพิเศษด้านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงของสหภาพยุโรป (High Representative for the Common Foreign and Security Policy: CFSP) อดีตเลขาธิการ องค์การสนธิสัญญาเอตแลนติคเหนือหรือองค์การนาโต้ (The North Atlantic Treaty organization: NATO) ดำรงตำแหน่งเมื่อ 5 ธันวาคม 2538 - 6 ธันวาคม 2542. เลขาธิการสภายุโรป สหภาพยุโรป (The Secretary - General of the council of European Union (EU) และThe Secretary - General of Western European Union (WEU) ตำแหน่งล่าสุด ดำรงตำแหน่งเมื่อ 18 ตุลาคม 1999(2542)

ประวัติส่วนตัว เกิดเมื่อ 14 กรกฎาคม 1942 (พ.ศ.2485) ปัจจุบันอายุ 67 ปี เกิดที่กรุงมาดริด ประเทศสเปน แต่งงานแล้วมีบุตรสองคน. ฮาเวียร ซาโลนา เป็นสมาชิกในครอบครัวที่มีชื่อเสียง เป็นหลานปู่ ซัลวาดอร์ เดอ มาดาเริยกา อดีตประธานกรรมาธิการการปลดอาวุธองค์การสันนิบาตโลก ผู้เป็นนักเขียน นักการทูต. บิดาคือ ศาสตราจารย์ฟรานซิสโก้ ซาโลนา ศาสตราจารย์ทางเคมี พี่ชายคนโตหลุยส์ ซาโลนา เป็นนักการเมืองที่ถูกจำคุกเนื่องจากเป็นคู่ปรปักษ์ทางการเมืองกับจอมเผด็จการ ซรานซิสโก้ ฟรังโก้

ดร.ฮาเวียร ซาโลนา สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัย Complutense University (UCM) ต่อมาได้เดินทางไปศึกษาต่อในประเทศอังกฤษ ได้รับทุน"ฟูลไบรท์" เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยชิกาโก มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยซานดิเอโก้ และสำเร็จปริญญาเอกเอกด้านฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา กลับมาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัย Complutense University (UCM )

การเข้าสู่การเมือง ได้ร่วมงานกับพรรคแรงงานสังคมนิยมสเปน

- ปี 2525 พรรคแรงงานสังคมนิยมสเปนชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย ได้ 202 ที่นั่งจากที่นั่งทั้งสิ้น 350 ที่นั่ง
- ปี 2528 เป็นโฆษกรัฐบาล และต่อมา ดร.ฮาเวียร ซาโลนาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
- ปี 2531 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
- ปี 2535 ดร.ฮาเวียร ซาโลนา ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อยู่ในตำแหน่งทางการเมือง
ภายใต้รัฐบาลฟิลิเป้ กอนซาเลซ (Felipe Gonzalez) 13 ปี ก่อนผันตนเองสู่องค์กรระหว่างประเทศ

ยิ่งกว่านั้น สหภาพยุโรป ตั้งใจที่จะดำเนินการบางประการที่จะขจัดความเป็นอุปสรรค เช่น ความล้มเหลวจากรัฐธรรมนูญ, ปัญหาทางด้านงบประมาณ เป็นต้น มาร์ตติ อะห์ติซาริ เชื่อว่า สำหรับ สหภาพยุโรป ป็นสิ่งที่ท้าทายใหม่ และเช่นเดียวกัน อาเจะห์ก็จะได้รับผลดีด้วย "ผมรู้สึกว่าสิ่งนี้เป็นโอกาสอันดีงามสำหรับสหภาพยุโรปในการแสดงความสำคัญบางประการ นั้นคือทั้งๆ ที่มีปัญหาอื่นๆ อยู่แล้ว แต่ก็สามารถประสานงานและหาทางออกในประเด็นเกี่ยวกับด้านการต่างประเทศ และประเด็นความมั่นคงในสหภาพยุโรป"

"อินโดนีเซียมีความเข้าใจในเหตุผลของผมทันที และสามารถมองเห็นผลที่ได้รับจากการมีส่วนร่วมของสหภาพยุโรป ทั้งๆ ที่มีความเสี่ยงต่อความเป็นไปได้ และเป็นเรื่องยาก. นายฮาเวียร์ โซลานาเองก็เช่นกัน ได้ตระหนักถึงผลประโยชน์ของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปที่จะได้รับจากโครงการนี้ "ผมเองได้ติดตามความคืบหน้า นับตั้งแต่เริ่มมีความพยายามที่จะนำมาซึ่งสันติภาพสู่อาเจะห์ และความเห็นในทางสาธารณทั่วไปก็ให้การสนับสนุน แต่ท่านประธานาธิบดีมาร์ตติ อะห์ติซาริ และผมได้ถกกันในครั้งแรกถึงแผนงานการดำเนินการในเดือนมกราคม 2005 (พ.ศ.2548) รวมถึงความจำเป็นในการดำเนินการนำสู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่ ภายหลังคู่เจรจาทั้งสองฝ่ายได้บรรลุข้อตกลง" ฮาเวียร์ โซลานา กล่าว

ฮาเวียร์ โซลานา กล่าวสนับสนุนมาร์ตติ อะห์ติซาริ เป็นอย่างดี และสัญญาว่าจะสนับสนุนโครงการนี้ และสัญญาว่าจะแจ้งให้สมาชิกประเทศสหภาพยุโรป อย่างเป็นทางการต่อไป "ผมรู้จัก มาร์ตติ อะห์ติซาริเป็นอย่างดี และเราเคยร่วมทำงานกันครั้งแรกในบอลข่าน ผมมีความมั่นใจในความเป็นผู้นำของท่านดี กระบวนการแสวงหาสันติภาพนี้จะมีแนวโน้มงประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน" การนำความสันติสู่อาเจะห์ จะเป็นส่วนหนึ่งที่สอดคล้องกับหลักการของสหภาพยุโรป นับตั้งแต่ปี 2003 (พ.ศ.2546) สหภาพยุโรปมีเริ่มมีความสนใจที่จะเข้ามามีบทบาทในการการไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทระหว่างประเทศ และมีเป้าหมายที่จะเข้ามีส่วนร่วมในการจัดการแก้ไขปัญหาวิกฤตความขัดแย้งในภูมิภาคในส่วนต่างๆ ของโลก และ ฮาเวียร์ โซลานาเห็นว่า ไม่มีเหตุผลใดอาเจะห์จะไม่อยู่ในเป้าหมาย และวัตถุประสงค์นี้

"แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีปัญหาเกี่ยวกับความหลากหลายด้านปัญหาปรัชญา จึงเป็นสิทธิอันชอบธรรมที่สหภาพยุโรปจะมีความเอนเอียงในการให้ความสนใจ และแสดงออกถึงการให้การสนับสนุนกระบวนการสันติภาพในประเทศมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นภูมิภาคที่เป็นกุญแจสำคัญของโลก. ยิ่งกว่านั้น เมื่อเดือนมกราคม 2005 (พ.ศ.2548) ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ก็ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการให้การสนับสนุนและช่วยเหลือการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในท้องที่ แก่ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิ

มาร์ตติ อะห์ติซาริ และฮาเวียร์ โซลานาได้มีข้อตกลงกันว่า หลังจากการประชุมเจรจาในแต่ละรอบแล้ว จะมีการรายงานความคืบหน้าในการตกลงในที่ประชุมเจรจา เพื่อให้ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปทราบความเคลื่อนไหวต่างๆ อย่างต่อเนื่อง และเพื่อจะได้รับทราบข้อมูลใหม่ๆ ที่ตกลงกันที่กรุงเฮลซิงกิ "นี่คือแนวทางที่เป็นการสร้างภาพและพร้อมให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนในกระบวนการฯ และแน่นอนที่สุดที่ผมได้ใช้ความพยายามที่เป็นหลักประกันในการดึงสหภาพยุโรป เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าว" มาร์ตติ อะห์ติซาริ กล่าว

หลังจากการประชุมในรอบที่สองสิ้นสุดลง มาร์ตติ อะห์ติซาริ ได้แจ้งให้จาอ์กโก อ๊อกซาเน็น เจ้าหน้าที่ทีมงานสำนักงานความคิดริเริ่มเพื่อบริหารจัดการภาวะวิกฤติ (CMI), มีรี-มาเรีย จาอาร์วา (Meeri - Maria Jaarva) อันต์เจ เฮอร์เบอร์ก (Antje Herrberg) เดินทางไปยังกรุงบรัซเซลล์ เพื่อไปบรรยายเสนอผลการประชุมเจรจาความเป็นไปได้ในการปฏิบัติงานสังเกตการณ์ ที่จะเริ่มดำเนินการในปลายเดือนมีนาคม. จาอ์กโก อ๊อกซาเน็น ได้เข้าพบกับนายพลมอสคา โมชิน (General Mosca Mochin) ที่สำนักงานคณะกรรมาธิการทหาร ซึ่งกล่าวแก่เขาว่า "หากสหภาพยุโรปรับหลักการที่จะร่วมในคณะผู้สังเกตการณ์การตรวจสอบกระบวนการสันติภาพในอาเจะห์ ก็เป็นการตัดสินใจทางการเมือง เขาย้ำว่ามันเป็นเหตุผลที่ดีที่จะให้มีการพิจารณาถึงความปลอดภัยของผู้สังเกตการณ์อย่างจริงจังต่อไป เช่นเดียวกันในเดือนมีนาคม 2005 (พ.ศ.2548) นี้ จาอ์กโก อ๊อกซาเน็นได้เข้าพบกับ นายปีเตอร์ เฟธ (Peter Feith) ผู้อำนวยการกิจการการเมืองและการทหาร และเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานรวม 10 ท่านทั้ง จาอ์กโก อ๊อกซาเน็น และปีเตอร์ เฟธ มีความใกล้ชิดและแนวทางเดียวกันในการทำงานอีกยาวนานในภายภาคหน้า

จาอ์กโก อ๊อกซาเน็น ได้แจ้งให้ปีเตอร์ เฟธ ทราบถึงแผนการเกี่ยวกับการปลดอาวุธ การถอนกำลังทหาร และการสังเกตการณ์การตรวจสอบกระบวนการสันติภาพทั้งหมด "แน่นอนที่สุด มันเป็นภารกิจของผม ผมเคยขายความคิดนี้แก่เขานานมาแล้ว เขาซักถามปัญหาข้อสงสัยหลายประการและมีความสนใจในเรื่องดังกล่าว แต่สิ่งแรกที่เกี่ยวข้องในการถอนกองกำลังทหาร หรือปลดอาวุธฝ่ายนักรบจรยุทธ์ขบวนการอาเจะห์เสรีคือ จะกระทำการในเรื่องนี้อย่างไร? และเป็นโจทย์ที่สหภาพยุโรป จะต้องพิจารณาว่า "คณะผู้สังเกตการณ์การตรวจสอบกระบวนการสันติภาพที่ไม่มีอาวุธ จะทำหน้าที่ในการตรวจสอบและติดตามการปลดอาวุธฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีอย่างไร?"

สหภาพยุโรปมีเหตุผลที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องเกี่ยวกับแนวความคิดนี้ และหากโครงการนี้ประสบความล้มเหลว ชื่อเสียงของสหภาพยุโรปก็จะพลอยเสียหายไปด้วย. ปีเตอร์ เฟธ เป็นชาวเนเธอร์แลนด์ รู้จักกับมาร์ตติ อะห์ติซาริตั้งแต่ ปี 1970 (พ.ศ.2513) แล้ว ในปีนั้นทั้งสองทำงานร่วมกัน "กรณีปัญหานามีเบีย" มาร์ตติ อะห์ติซาริ ร่วมงานในฐานะเจ้าหน้าที่สังกัดในสำนักเลขานุการองค์การสหประชาชาติ ขณะที่ปีเตอร์ เฟธ ทำงานในคณะผู้แทนถาวรของประเทศเนเธอร์แลนด์ ประจำองค์การสหประชาชาติในนครนิวยอร์ค. "ผมมีความสนิมสนมกับปีเตอร์ เฟธ นับตั้งแต่ได้มีการริเริ่มด้วยกันแล้ว ยิ่งเมื่อมีการตกลงในสัญญาสันติภาพ ทำให้ผมถึงกล่าวกับเขาว่า "คุณควรมีส่วนร่วมในเรื่องนี้" ปีเตอร์ เฟธ เคยมีประสบการณ์เข้าร่วมจัดการในกิจการ"กรณีเซอร์เบียใต้"ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผมยังเป็นผู้ให้การรับรองผลงานของเขาต่อสหประชาชาติตลอดทั้งปี" มาร์ตติ อะห์ติซาริ กล่าว

คำถามเปิด
ปีเตอร์ เฟธ ถือว่าการเจรจาสันติภาพในอาเจะห์และความเป็นไปได้ในการปฏิบัติการในการสังเกตการณ์อยู่ในความสนใจ แต่ก็ยังมีปัญหาซักถามอีกมากมายที่ต้องการคำตอบ เช่น นักรบจรยุทธ์ฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีมีอาวุธมากเท่าใด? การที่พวกเขาจะส่งมอบอาวุธหรือปลดอาวุธ จะทำอย่างไร? การใช้กำลังบังคับเป็นทางเลือกในการปฏิบัติการหรือไม่? มีความจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีคณะผู้สังเกตการณ์ทำการสำรวจในอาเจะห์ ก่อนที่สหภาพยุโรปจะเข้ามามีส่วนรวมดำเนินการอย่างจริงจังตามแผนต่อไป?

ปีเตอร์ เฟธ ให้คำมั่นว่า เมื่อผลการประชุมเจรจาในรอบที่สามแล้วเสร็จ แผนงานต่างๆ ต้องถูกนำเสนอในสภาของสหภาพยุโรป (European Parliament) และควรมีความรับผิดชอบในการตัดสินใจครั้งสุดท้าย. ในระหว่างการเยือน เกิดความคิดว่า จะเป็นการดีที่สุดหากท่านอดีตประธานาธิบดี มาร์ตติ อะห์ติซาริ นำเรื่องเสนอเข้าสู่การพิจารณาของกรรมาธิการการเมืองและความมั่นคงของสหภาพยุโรป หลังสิ้นสุดการเจรจารอบที่สามด้วยตนเอง

ผู้แทนกรรมาธิการอัลโด เดลลิ อะริคเซีย (Aldo Dell' Ariccia) เคยบอกแก่มาร์ตติ อะห์ติซาริ หลังการพบกันครั้งแรกกับเจ้าหน้าที่ทีมงาน" สำนักงานความคิดริเริ่มเพื่อบริหารจัดการภาวะวิกฤติ" (CMI) มีรี-มาเรีย จาอาร์วา และอันต์เจ เฮอร์เบอร์ก ได้อธิบายเขาว่า การประชุมเจรจาเริ่มต้นในเดือนมกราคม และจะสิ้นสุดในเดือนสิงหาคม 2005 (พ.ศ.2548) นี้ เขาบอกด้วยอาการที่ค่อนข้างกังวลเล็กน้อย และพยายามอธิบายอย่างตั้งใจและตามด้วยคำถามถึงความเข้าใจปัญหาอันละเอียดอ่อนในเรื่องของอินโดนีเซียและอาเจะห์. อันต์เจ เฮอร์เบอร์ก ตอบว่า พวกเราไม่รู้จักอินโดนีเซีย แต่เรารู้จักท่านอดีตประธานาธิบดี มาร์ตติ อะห์ติซาริเป็นอย่างดี

มาร์ตติ อะห์ติซาริเดินหน้าปฏิบัติภารกิจ
การประชุมเจรจาเพื่อสันติภาพรอบที่สามสิ้นสุดและบรรลุผลสำเร็จในทางที่ดี มาร์ตติ อะห์ติซาริ และจาอ์กโก อ๊อกซาเน็น เดินทางไปยังกรุงบรัซเซลล์ในวันที่ 21 เมษายน 2005 (พ.ศ.2548) เพื่อเข้าพบผู้แทนประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปประจำคณะกรรมาธิการการเมืองและความมั่นคง ซึ่งคณะกรรมาธิการการเมืองและความมั่นคง ก่อตั้งครั้งแรกที่กรุงเฮลซิงกิ เมื่อปี 1999 (พ.ศ.2542)… มาร์ตติ อะห์ติซาริ ได้พบปะกับผู้คนหลายคนอย่างไม่เป็นทางการ ในระหว่างการรับประทานอาหารกลางวัน
ได้มีโอกาสบรรยายสรุปเกี่ยวกับสถานการณ์ในอาเจะห์ และความคืบหน้าในการเจรจาสันติภาพ. มาร์ตติ อะห์ติซาริ กล่าวถึงสถานการณ์ที่พิจารณาแล้วเป็นไปในทางที่ดี และการเจรจามีแนวโน้มว่าจะประสบความสำเร็จ เขายังได้อธิบายถึงบทบาทของสหภาพยุโรปในการปฏิบัติงานในอาเจะห์ และได้แจ้งให้ทราบว่า เขาได้มีการปรึกษากับนายฮาเวียร์ โซลานา แล้ว และท่านได้ให้การสนับสนุนกับแนวความคิดนี้

ผู้แทนประเทศสมาชิกส่วนใหญ่มีความเห็นว่าเป็นแนวความคิดที่ดี อย่างน้อยที่สุดในหลักการ พวกเขาทราบว่าการเจรจาสันติภาพมีความคืบหน้า แต่ยังคงมีข้อซักถามอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับโครงการดังกล่าว ผู้แทนสมาชิกจากประเทศฝรั่งเศสกล่าวว่า "โครงการนี้เป็นโครงการที่ดี มีความพิเศษในทางสร้างสรรค์ และเห็นว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่ก้าวหน้าสำหรับสหภาพยุโรป ในการปฏิบัติการในอาเจะห์ สหภาพยุโรปควรจะขยายบทบาทในการเข้าจัดการกับภาวะวิตกฤติในภูมิภาคเอเชีย และนำมาซึ่งความมีเสถียรภาพในภูมิภาค การปฏิบัติการจะนำมาซึ่งภาพลักษณ์อันดีงามแก่ยุทธศาสตร์ความมั่นคงของสหภาพยุโรป ซึ่งสหภาพยุโรปกำลังแสวงหาการมีบทบาทสำคัญนี้ทั่วโลก

เช่นเดียวกัน กลุ่มประเทศนอร์ดิค ประเทศเนเธอร์แลนด์และโปรตุเกสมีการสนับสนุนแนวความคิดนี้อย่างออกหน้า และการสนับสนุนมีส่วนสำคัญยิ่งเมื่อคณะกรรมาธิการฯ ให้การสนับสนุนอย่างชัดเจน รวมทั้งนายฮาเวียร์ โซลานา ได้กล่าวความเห็นสนับสนุนโครงการดังกล่าวอย่างเปิดเผยและมีความชัดเจน แต่ทุกสิ่งทุกอย่างตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อสรุป ซึ่งก่อนจะมีการตัดสินใจของคู่เจรจาทั้งสองฝ่ายต้องมีความเห็นสอดคล้องกัน เช่นเดียวกัน คู่เจรจาทั้งสองฝ่ายได้มีการเชื้อเชิญสหภาพยุโรป และเพ่งเล็งถึงสถานการณ์ความปลอดภัยในอาเจะห์ ซึ่งจะเป็นแรงกระตุ้นสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชน

เยอรมันในฐานะประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป สนับสนุนว่า "เป็นโครงการที่ควรรับพิจารณาที่สุด สหภาพยุโรปมีประชากรเพียง 499 ล้านคน จึงมีความจำเป็นในการดำเนินโยบายการต่างประเทศ และความมั่นคง ซึ่งภายในเดือนเมษายน 2005 (พ.ศ.2548) สหภาพยุโรปก็จะสิ้นสุดภารกิจต่างๆ ลง มีภาจกิจใหม่ที่มีความเป็นไปได้ที่คาดว่าจะมีการปฏิบัติการเกิดขึ้น และถือมีความจำเป็นเช่น "กรณีการให้ความช่วยเหลือระหว่างชายแดนรัสเซียกับจอร์เจีย", แผนการสังเกตการณ์ "กรณีในราฟาฮ (Rafah) ระหว่างชายแดนอียิปต์และกาซา" ไม่เพียงเท่านั้น ยังมี"กรณีของสถานการณ์ในซูดาน" ที่พร้อมจะเข้าดำเนินการ ภายใต้สภาวการณ์ที่ความรู้สึกอ่อนไหวเปราะบาง และมีการคำนึงถึงระยะทาง ที่ตั้ง และความห่างไกลเช่นอาเจะห์ ยังมีความรู้สึกที่ท้าทายกับความรู้สึกมีความใกล้บ้านมากกว่า " ผู้แทนเยอรมันให้เหตุผล

ผู้แทนจากประเทศเยอรมันส่งสัญญาณให้ความมั่นใจแก่มาร์ตติ อะห์ติซาริ ในภายหลังว่า อย่างไรก็ตามหากมีการการเจรจามีการตกลงภายในเดือนสิงหาคมนี้ เขาจะเป็นคนแรกที่จะให้การสนับสนุน. "ผมตอบเขาว่า แน่นอน เรื่องนี้จะเสร็จเรียบร้อยภายในเดือนสิงหาคม 2005(พ.ศ.2548)นี้ อย่างแน่นอน" มาร์ตติ อะห์ติซาริกล่าว. สถานการณ์ความมั่นคงในอาเจะห์เริ่มกลับสู่ความเลวร้าย โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับประเทศสมาชิก การที่จะเข้าทำหน้าที่ในการสังเกตการณ์จะมีความปลอดภัยอย่างไร เมื่อมีข่าวการปะทะกันในอาเจะห์เกิดขึ้นเกือบทุกวัน? ภายใต้สภาวการณ์เช่นนี้ ทำให้หลายประเทศมีความกังวลและประสบความยุ่งยากในการที่จะยอมรับว่า การปฏิบัติการจะบรรลุผลสำเร็จโดยปราศจากอาวุธ สำหรับแนวความคิดการปฏิบัติการการสังเกตการณ์โดยปลอดอาวุธ ในตัวมันเองนั้นจะประกันความสันติได้อย่างไร? และนั่นเป็นการยากที่จะเข้าใจ

ไม่มีเอกอัครราชทูตของสมาชิกประเทศสหภาพยุโรปท่านใดในกรุงจาการ์ต้า มีความเชื่อมั่นว่าโครงการจะมีทางสำเร็จได้ รัฐบาลของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปต่างได้รับรายงานและการประเมินสถานการณ์ของเอกอัครราชทูตประจำกรุงจาการ์ต้า โดยประเมินจากสถานการณ์ความเคลื่อนไหว ตลอดจนถึงท่าที่ของรัฐบาลกรุงจาการ์ต้า มีการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับโครงการนี้และเชื่อว่าไม่อาจประกันได้เลยว่า ประธานาธิบดีอินโดนีเซียจะประสบความสำเร็จในการผลักดันกฎหมายผ่านรัฐสภาได้

ชื่อเสียงของมาร์ตติ อะห์ติซาริ ในสหภาพยุโรปเป็นผู้มีความเชื่อถือสูงมาก ถึงอย่างไรก็ตาม การมีบารมีที่เป็นที่ยอมรับและไว้ใจของมาร์ตติ อะห์ติซาริ และการตัดสินใจของฮาเวียร์ โซลานา และยิ่งกว่านั้นเป็นผู้มีบารมีสูงและเป็นที่เชื่อถือในหมู่สมาชิกประเทศของสหภาพยุโรปด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการตัดสินใจหรือมีการลงมติใดๆ ในระหว่างที่มาร์ตติ อะห์ติซาริ มาเยือนในครั้งแรก แต่ก็มีคำตอบ เพียงว่า จะให้มีการติดตามผลการและจะมีการหยิบยกถกปัญหาอีกครั้ง

เมื่อคณะกรรมาธิการการเมืองและความมั่นคงสหภาพยุโรปมีการประชุมในครั้งถัดไปในเดือนพฤษภาคม 2005(พ.ศ.2548) สอดคล้องตรงกับการพิจารณาการเริ่มกำหนดการเตรียมการที่จะดำเนินการต่อไป แต่สหภาพยุโรปยังไม่ได้มีการกำหนดจุดยืนอย่างเป็นทางการ ถึงกระนั้นก็ตามสหภาพยุโรปก็ได้จัดส่งตัวแทนเดินทางไปร่วมสังเกตการณ์การประชุมเจรจาสันติภาพในรอบต่อไป ซึ่งมีกำหนดการประชุมปลายเดือนพฤษภาคม และเดินทางไปศึกษาภูมิประเทศเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงในอาเจะห์ เป็นกรณีพิเศษ.

10. ล้มเลิกเป้าหมายแบ่งแยกดินแดน
ที่แฟลตชานเมืองสวีเดนแห่งหนึ่ง ชายชรากำลังย้ายภาพเก่าๆ กระดาษข่าวหนังสือพิมพ์ที่ตัดข่าวเฉพาะออกจากกระจก เป็นภาพข่าวที่เขาเลือกแล้วว่าเป็นภาพที่สำคัญและดีที่สุด ผังที่แสดงถึงลำดับการสืบเชื้อสายของสุลต่านผู้นำแห่งอาเจะห์ นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา และลำดับมาจนทายาทองค์สุดท้ายคือชายชราท่านผู้นี้เอง เติงกู ฮาซัน ดิ ติโร ชายคนเดียวกันที่เป็นผู้ประกาศเอกราชแก่อาเจะห์ในปี 1976 บนผนังแฟลต มีภาพของบรรดาบรรพบุรุษติดอยู่ และที่ประตูติดธงชาติอาเจะห์ขนาดใหญ่สีแดง สีดำ และขาว

ตระกูลดิ ติโร เข้าดำรงตำแหน่งผู้นำแห่งสุลต่านอาเจะห์นับตั้งแต่ปี 1876 (พ.ศ. 2419) เป็นต้นมา ก่อนหน้านั้นเป็นยุคที่อาเจะห์ทำสงครามกับนักล่าอาณานิคมฮอลันดาอย่างหนักและอดีตสุลต่าน พร้อมทั้งโอรส ถูกปลงพระชนม์ในสนามรบ. "ฮอลันดา ได้ประกาศสงครามกับสุลต่านแห่งอาเจะห์ในเดือนมีนาคมปี 1873 (พ.ศ. 2416) และมีความพยายามที่จะยึดครองเมืองบันดาร์อาเจะห์ด้วยกองกำลังมหาศาล แต่กองทัพแห่งดัทช์ต้องถอยร่นและถอนกำลังออกไปด้วยความพ่ายแพ้ สร้างความอับอายเป็นข่าวแพร่ไปทั่วโลกในเวลานั้นว่า "กองทัพนักล่าอาณานิคมที่ยิ่งใหญ่ ต้องพ่ายแพ้แก่กองทัพสุลต่านเล็กๆ แห่งหนึ่ง"

อีก 9 เดือนต่อมา กองทัพดัทช์ได้โหมกระหน่ำรุกโจมตีอีกครั้งหนึ่ง และหลังจากการสู้รบเป็นระยะเวลา 3 เดือน กองทัพสุลต่านไม่อาจต้านทานเอาไว้ได้ กองทัพฮอลันดาจึงได้รับชัยชนะและเข้ายึดเมืองบันดาร์อาเจะห์สำเร็จ ประจวบกับเกิดไข้อหิวาตกโรคระบาดอย่างหนักในอาเจะห์ คร่าชีวิตผู้คนไปเป็นจำนวนมาก "แต่ดัทช์ยังไม่สามารถเอาชนะได้อย่างเบ็ดเสร็จ มันเป็นเพียงแค่การเริ่มต้น สงครามที่ยืดเยื้อยาวนานถึง 37 ปี จนฮอลแลนด์ได้ประกาศชัยชนะสงคราม เมื่อกองทัพดัทช์สามารถปลงพระชนม์พระปิตุลาของผม และพบพระราชลัญจกรในกระเป๋าของพระองค์ท่าน" ท่านเติงกูฮาซัน ดิ ติโร กล่าวด้วยสุรเสียงเบาๆ ของชายผู้สูงอายุ

แต่สงครามยังไม่สิ้นสุดลงในเวลานั้น ในส่วนลึกของพลังแห่งความใฝ่ฝันในอิสรภาพของชาวอาเจะห์ยังคงตราตรึงในหัวใจและจิตสำนึกของชาวอาเจะห์ทุกคน ซึ่งยังคงมีความมั่นคงในจิตใจตลอดระยะแห่งห้วงเวลาหลายทศวรรษของการยึดครองโดยพวกดัทช์, ญี่ปุ่น, และอินโดนีเซีย จนกระทั่งปี 1976 (พ.ศ. 2519) เมื่อ ฮาซัน ดิ ติโร เดินทางกลับจากประเทศสหรัฐอเมริกา และได้ประกาศเอกราชให้แก่อาเจะห์

"ท่านมิอาจจะเข้าใจอาเจะห์ หากท่านไม่รู้ถึงประวัติศาสตร์ของอาเจะห์ เรามีความภาคภูมิใจในความเป็นชาวอาเจะห์ เรามีเอกลักษณ์ที่เข้มแข็งและมีการสืบสานวัฒนธรรมต่อเนื่องกันมาเป็นเวลายาวนาน". เติงกู ฮาซัน ดิ ติโร ลี้ภัยไปอาศัยอยู่กรุงสต๊อคโฮล์มประเทศสวีเดนตั้งแต่ปี 1979 (พ.ศ.2522) และได้รับสัญชาติเป็นพลเมืองสวีดิช แม้ว่าสุขภาพของท่านไม่ค่อยดีนัก แต่ท่านมีความใฝ่ฝันยังมั่นคง "ฉันยังคงต้องการกลับอาเจะห์เสมอ". ในปัจจุบัน เติงกูฮาซัน ดิ ติโร มีสถานะเป็น "ผู้ปกป้องแห่งรัฐ" เจ้าชายดิ ติ โร มีสถานะที่จะสถาปนาขึ้นดำรงตำแหน่งสุลต่าน และจะเป็นกษัตริย์คนแรกในอาเจะห์ ผู้ที่จะสืบทอดบังลังก์ต่อจากฮาซัน ดิ ติโร ก็คือตำแหน่งเจ้าฟ้าชายคือโอรสของท่าน ซึ่งปัจจุบันอาศัยอยู่ที่นครนิวยอร์ค

สถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงแล้ว เติงกู ฮาซัน ดิ ติโร ได้เปลี่ยนผ่านระยะเวลาแห่งประวัติศาสตร์ของอาเจะห์ ระบบสุลต่านได้กลายเป็นเรื่องราวของประวัติศาสตร์ของอดีตไปแล้วและตลอดไป ขบวนการอาเจะห์เสรีได้ประกาศว่า "นับแต่นี้ไปจะไม่มีการแสวงหาความเป็นเอกราชแก่อาเจะห์อีกต่อไป". "มันเป็นการตัดสินใจที่ยากที่สุดที่พวกเขาเคยมี หลังจากนี้ไปทุกสิ่งทุกอย่างจึงสิ้นสุดลง หลังจากที่เรายืนหยัดทำการต่อสู้เพื่อเอกราชเป็นเวลามายาวนาน แต่หลังจากเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิ สถานการณ์ทุกสิ่งทุกอย่างก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ในวันนี้สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับอาเจะห์ เราจะไม่ยืนหยัดต่อสู้เพื่อเอกราชอีกต่อไป" มาลิค มะห์มูด อธิบาย ขณะที่เขายืนเคียงข้างกับท่านผู้เฒ่า และสามารถสังเกตเห็นจากใบหน้าของมาลิค มะห์มูดอย่างชัดเจนว่า การตัดสินใจครั้งนี้มิได้กระทำด้วยความชื่นมื่นและสบายใจนัก

มาลิค มะห์มูด รู้ดีว่า อย่างไรก็ดี ข้อเสนอใหม่นั้นเป็นเรื่องที่จำเป็นเป็นอย่างยิ่ง ภายใต้สถานการณ์ที่กดดันเช่นนี้ การมีรัฐบาลปกครองตนเองเป็นทางเลือกในการประนีประนอมที่ดีที่สุดสำหรับขบวนการอาเจะห์เสรีแล้ว "เราได้ศึกษารูปแบบเขตปกครองพิเศษฮ่องกง (ดูภาคผนวก) เขตปกกครองพิเศษเกาะโอแลนด์ (Aland Island) เป็นแบบอย่าง และเรารู้สึกว่าแม้เรามีแนวความคิดเช่นนั้น แต่พื้นที่ของอาเจะห์เป็นรัฐใหญ่ มีความใหญ่โตและกว้างขวางกว่ามาก ประชาชนมีความหลากหลายในการตัดสินใจ หากเราได้รับการประกันและให้ความมั่นใจว่า "ประชาชนเป็นผู้มีสิทธิในการตัดสินใจในกำหนดชะตากรรมและวิถีแห่งตนแล้ว ทำไม ! เราจะเลือกใช้วิธีการสู้รบอีกละ ?"

ขบวนการอาเจะห์เสรีต่างก็รู้ดีว่า การที่จะเอาชนะในการสู้รบกับกองทัพอินโดนีเซียนั้นเป็นเรื่องยากมาก จะทำได้เพียงการยืนหยัดสู้รบยืดเยื้อเพื่อเป็นการแสดงจุดยืนเท่านั้น โดยตรรกะแล้วคือ นับตั้งแต่สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ได้รับการสถาปนาอำนาจที่ไม่ยั่งยืนโดยประธานาธิบดีซูฮาร์โต ซึ่งไม่มีความจีรัง อาจสิ้นสลายไปในไม่ช้าหรือเร็ว ดังนั้นขบวนการอาเจะห์เสรีจึงกล้ายืนหยัดต่อสู้อย่างมั่นคงเพื่อประกาศอิสรภาพให้อาเจะห์อย่างยาวนานจนกว่าอินโดนีเซียจะยอมในที่สุด แต่บัดนี้ล่วงเลยเป็นเวลากว่า 30 ปีแล้ว การต่อสู้ยังคงยืดเยื้อและดำรงอยู่ และเราจะต้องต่อสู้เพื่ออะไรกันอีก? "ใช่แล้ว" มาลิค มะห์มูด ตอบ "ได้เวลาแล้วที่จะเรานำรัฐบาลปกครองตนเองมามอบให้แก่อาเจะห์ จนกระทั่งบัดนี้ ปัญหาต่างๆ ที่เราประสบอยู่ภายใต้รัฐบาลกรุงจาการ์ต้านั้น ประชาชนชาวอาเจะห์ก็จะได้มีโอกาสแสดงออกถึงวิสัยทัศน์ของตน ในการพัฒนาความเจริญของบ้านเมืองตลอดจนเศรษฐกิจด้วยตนเอง"

"หากเราสามารถพบแนวทางการแก้ไขปัญหา เกี่ยวกับการอนุญาตให้สามารถจดทะเบียนพรรคการเมืองระดับท้องถิ่นแล้ว และคู่เจรจาทั้งสองฝ่ายมีความเห็นสอดคล้องกันและนำสู่การตกลงได้ แล้วทำไมเรายังต้องแสวงหาเอกราชอีก ?" มาลิค มะห์มูด เชื่อว่าภายใต้รัฐบาลปกครองตนเอง ประชาชนชาวอาเจะห์จะสามารถดำรงรักษาอัตลักษณ์ของตน, ประวัติศาสตร์, วิถีชีวิต, แนวทาง, ตลอดจนวิสัยทัศน์ในการพัฒนาจังหวัด แต่ยังคงอยู่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น

ณ กรุงเฮลซิงกิ การตัดสินใจของขบวนการอาเจะห์เสรีได้รับการยอมรับอย่างราบรื่น "ผมคิดว่า นี่เป็นเครื่องบ่งบอกถึงความชาญฉลาด การรู้จักใช้วิจารณญาน และเป็นเครื่องชี้ให้ผมเห็นอย่างชัดเจนว่านับตั้งการเริ่มต้น หากมีการประสานงานอย่างปรองดองสมานฉันท์แล้วก็จะบรรลุผลจนพวกเขายอมรับ และเป็นผลทำให้พวกเขายกเลิกความมุ่งมั่นในเป้าหมายของการเป็นเอกราช" มาร์ตติ อะห์ติซาริ กล่าว

เขามองว่าการตัดสินใจในการล้มเลิกดังกล่าวเป็นการผ่อนคลายทุกอย่าง เป็นทางออกของรัฐบาลอินโดนีเซีย เพราะสามารถใช้กลไกทางการเมืองภายในประเทศได้ และนั้นหมายถึงการเจรจากำลังเข้าสู่ผลแห่งความสำเร็จแล้ว. "แต่ในทางกลับกัน ไม่มีทางใดที่ผมจะบีบบังคับให้ขบวนการอาเจะห์เสรียุติการประกาศการต่อสู้เพื่ออิสรภาพ ซึ่งมันสิ้นสุดแล้ว และในความจริงผมไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทั้งหมด"

" เรามีความชัดเจนในหลักการ: คือ ไม่มีข้อตกลงใดใด จนกว่าทุกอย่างได้มีการตกลงกันแล้ว"

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ภาคผนวก
เขตปกครองพิเศษฮ่องกง
(Hong Kong Special Administrative Region of the People's Republic of China)

หรือ : จงหว่าหยั่นหมั่นก๊งหว่อกว๊อกเฮิ๊องก๋องตักปิ๊กห่างเจงโค่ย ตั้งอยู่บนฝั่งทะเลภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน ทางตะวันออกของปากแม่น้ำจูเจียง และติดกับเมืองเสินเจิ้น มณฑลกวางตุ้ง มีพื้นที่ 1,092 ตางรางกิโลเมตร รวมเกาะฮ่องกง จิ่วหลง และ ซินเจี้ย และห่างจากมาเก๊า ราว 61 กิโลเมตร ทางฝั่งตะวันตก

ฮ่องกงเป็นดินแดนของประเทศจีนตั้งแต่โบราณ อังกฤษเข้ามายึดครองหลังสงครามฝิ่นในปี 2383 มีสัญญาร่วมระหว่างประเทศจีนกับประเทศอังกฤษ ลงนามเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ปี 2527 รัฐบาลทั้งสองจะจัดพิธีส่งมอบคืนรับช่วงอำนาจการปกครองฮ่องกงในวันที่ 1 เดือนกรกฎาคมปี 2540 ประกาศให้ฮ่องกงคืนสู่ประเทศจีน ทำให้ชาวจีนสมหวังในการเรียกร้องคืนฮ่องกงกลับมาเป็นเวลายาวนาน และมีการสถาปนาเป็นเขตปกครองพิเศษฮ่องกงขึ้น โดยกฎหมายขั้นพื้นฐานเขตปกครองพิเศษฮ่องกง ตามมติการประชุมสภาประชาชนแห่งชาติครั้งที่ 7 เมื่อเมษายน ปี 2533 เริ่มดำเนินการกฎหมายขั้นพื้นฐานเขตปกครองพิเศษ มีบทบัญญัติกำหนดให้อำนาจสูงสุดในการปกครองตนเอง ระบบการเมือง ระบบเศรษฐกิจ และระบบการศึกษาของเขตปกครองพิเศษฮ่องกง

รูปแบบการปกครอง: ฮ่องกงเป็นเขตบริหารพิเศษที่ขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน ใช้นโยบาย 'หนึ่งประเทศสองระบบ' หมายถึง ในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ใช้ระบบสังคมนิยม แต่เกาะฮ่องกงยังคงให้ใช้ระบบทุนนิยม และรูปแบบความเป็นอยู่แบบเดิม คนฮ่องกงปกครองคนฮ่องกงด้วยตัวเอง โดยรัฐบาลกลางไม่จัดส่งเจ้าหน้าที่ราชการไปดำรงตำแหน่งที่เทศบาลฮ่องกง เขตปกครองพิเศษฮ่องกงมีอำนาจในการควบคุมกิจการฮ่องกงด้วยตนเองอย่างเต็มที่ รวมทั้งอำนาจการปกครอง ควบคุมอำนาจบัญญัติกฎหมาย และอำนาจศาลยุติธรรมกับอำนาจศาลอุทธรณ์ที่เป็นตัวของตัวเอง และใช้ระบบการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย องค์กรที่สำคัญของเขตปกครองพิเศษฮ่องกงคือ หน่วยงานการบริหารเทศบาล(มีอำนาจสูงสุด) คณะกรรมการบัญญัติกฎหมาย และศาลอุทธรณ์

การปกครองตนเองในเขตปกครองพิเศษฮ่องกง มีอำนาจสูงสุด แต่รัฐบาลกลางจะควบคุมกิจการด้านการทูต และกิจการรักษาความปลอดภัยของประเทศชาติเท่านั้น กฎหมายพื้นฐานที่ใช้ในการปกครองและบริหารฮ่องกงประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2533 ให้สิทธิปกครองตนเองอย่างอิสระ สามารถดำเนินนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การเงิน การพาณิชย์ ฯลฯ ได้ตามระบบเสรี จีนกำหนดให้ฮ่องกงสามารถดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเสรี ต่อไปได้อีกเป็นเวลา 50 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นวันที่รัฐบาลจีนได้รับฮ่องกงกลับคืนจากรัฐบาลอังกฤษ

ผู้ว่าการเขตปกครองพิเศษฮองกง การบริหารราชการจะได้รับการเลือกตั้งหรือการปรึกษาแล้ว นำเสนอให้รัฐบาลกลางจีนแต่งตั้ง โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี และอาจดำรงตำแหน่งอีกวาระหนึ่ง เขตปกครองพิเศษฮ่องกงใช้ระบบเศรษฐกิจเสรี องค์การในระบบเศรษฐกิจ เช่น การคลัง การเงิน การพาณิชย์ การอุตสาหกรรมและการค้า สัญญาทางที่ดิน การขนส่งทางเรือ การบินพลเรือนฯ มีฐานะที่เป็นเขตที่มีภาษีศุลกากรของตัวเอง

เขตปกครองพิเศษฮ่องกงมีสิทธิใช้ชื่อ ประเทศจีนฮ่องกง ในการเข้าร่วมกิจกรรมกับองค์การการค้าโลก องค์กรระหว่างประเทศ และข้อตกลงการค้าขายระหว่างประเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เขตปกครองพิเศษฮ่องกงมีอำนาจในการกำหนดนโยบายด้านวัฒนธรรม การศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สุขภาพอนามัย และการกีฬาของตนเองได้ องค์กรท้องถิ่นมีอำนาจในการรักษา การพัฒนาความสัมพันธ์กับองค์กรของทุกประเทศ และเข้าร่วมกิจการที่เกี่ยวข้องในนามประเทศจีนฮ่องกง

ปัจจุบันนี้ฮ่องกงยังรักษาการเป็นศูนย์กลาง ในการเงิน การค้า การขนส่งทางเรือ การแลกเปลี่ยนสินค้า และการท่องเที่ยว และได้แสดงถึงอนาคตที่มีความมั่นคงสืบต่อไป

เมืองหลวง : ปัจจุบันไม่มี (เดิมวิกตอเรีย ในสมัยเป็นอาณานิคมของอังกฤษ)
ภาษาราชการ ภาษาอังกฤษและภาษาจีน (ทั้งภาษาจีนกลางและภาษากวางตุ้ง)
ผู้ว่าการ : โดนัล ชาง
ประชากร : 7,300,000 ความหนาแน่น : 6,352 คน/ตร.กม
ศาสนา นับถือศาสนาพุทธแบบมหายาน 74% ศาสนาคริสต์ 10%
หน่วยเงิน : ดอลลาร์ฮ่องกง (HKD)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1700 เรื่อง หนากว่า 35000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com