1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
ขบวนการอาเจะห์เสรี GAM : Gerakan Aceh Merdeka ก่อตั้งและเริ่มปฏิบัติการในปี ๑๙๗๖ ( พ.ศ. ๒๕๑๙) โดยเมื่อเติงกู ฮาซัน ดิ ติโร(Tenku Hasan Di Tiro ) นักธุรกิจชาวอาเจะห์ ผู้สำ เร็จการศึกษาจากสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศเอกราชให้จังหวัดอาเจะห์ เป็นอิสรภาพแยกจากอินโดนีเซีย เติงกู ฮาซัน ดิ ติโร เป็นผู้ที่มีเชื้อสาย จากครอบครัวสุลต่านฏอนแห่งอาเจะห์ ประกาศว่า จังหวัดอาเจะห์ได้ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอินโดนีเซียในปี ๑๙๔๙ ไม่ชอบธรรม เมื่ออาเจะห์ตกเป็นอาณานิคมของดัทซ์ ร่วมหนึ่งศตวรรษ สุลต่านแห่งอาเจะห์มีอิสรภาพ มีความแตกต่างจากอัตลักษณ์ สภาพภูมิประเทศ จากส่วนกลางโดยสิ้นเชิง และกล่าวว่าอินโดนีเซียควรสิ้นสุดการยึดครองอาเจะห์ได้แล้ว. ปี ๑๙๗๗ อินโดนีเซียทำการปราบปรามขั้นเด็ดขาด
05-09-2552 (1760)
กระบวนการสร้างสันติภาพในอาเจะห์
(Making Peace: Ahtisaari and Aceh)
สันติภาพในอาเจะห์:
เราไม่อาจแบกภาระความชั่วร้ายของโลกทั้งใบ
บทความนี้ได้รับมาจากคุณ บุรฮานุดดิน อุเซ็ง
บทความนี้ได้มีการปรับปรุงบางประโยค
และย่อหน้าเพื่อความสะดวกในการอ่าน
โดยกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้
สามารถ download ได้ในรูป word
เมื่อตอนที่ได้รับหนังสือ(ทางออนไลน์)ชิ้นนี้
คุณบุรฮานุดดิน อุเซ็ง
ได้เขียนข้อความส่งถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ความว่า
ขออนุญาตส่ง "กระบวนการสร้างสันติภาพในอาเจะห์
เพื่อพิจารณา
เห็นว่า น่าจะเป็นข้อพิจารณากับการแก้ไขความขัดแย้งที่ภาคใต้บ้านเรา ด้วยวิธีการสันติ"
เนื่องจากหนังสือนี้ ความยาวประมาณ 124 หน้ากระดาษ A4
กอง บก.ม.เที่ยงคืนจึงขอนำเสนอบทความนี้ครั้งละหนึ่งบท โดยในบทแรกและบทที่สองคือ
"คลื่นยักษ์สึนามิ"และ"โหมโรง: การเจรจาสันติภาพ รอบแรก"พร้อมคำนำของหนังสือ
เขียนโดยเจ้าของเรื่อง กาตริ เมอริกัลป์ลิโอ คอลัมนิสต์ชาวฟินแลนด์
หนังสือเล่มนี้ เป็นการรวบรวมบทความที่สำคัญ ของผู้เขียนซึ่งเคยลงตีพิมพ์ในวารสารรายสัปดาห์
ของฟินแลนด์ ชื่อ Saumen Kualehti ในระหว่างปี 2005 - 2006 (พ.ศ. 2548 - 2549)
แม้หนังสือเล่มนี้มิได้เป็นสูตรสำเร็จ
หรือวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ หรือเป็นเพียง
รายงานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับกระบวนการแสวงหาสันติภาพฉบับหนึ่ง
แต่ก็เป็นบันทึกที่ได้มาซึ่งสันติภาพ เป็นงานที่รวบรวมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
เกี่ยวกับกระบวนการสร้างสันติภาพในอาเจะห์ ที่น่าสนใจศึกษา
(บทความนี้จัดอยู่ในหมวด "การจัดการความขัดแย้ง")
สนใจส่งบทความเผยแพร่ ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน:
midnightuniv(at)gmail.com
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๗๖๐
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๕ กันยายน ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๕ หน้ากระดาษ A4 โดยไม่มีภาพประกอบ)
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
กระบวนการสร้างสันติภาพในอาเจะห์
(Making Peace: Ahtisaari and Aceh)
สันติภาพในอาเจะห์:
เราไม่อาจแบกภาระความชั่วร้ายของโลกทั้งใบ
บทความนี้ได้รับมาจากคุณ บุรฮานุดดิน อุเซ็ง
บทความนี้ได้มีการปรับปรุงบางประโยค
และย่อหน้าเพื่อความสะดวกในการอ่าน
โดยกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้
สามารถ download ได้ในรูป word
6.ปรมาจารย์ อะห์ติซาริ
(*)
มาร์ตติ อะห์ติซาริ รู้ดีว่าข้อตกลงยุติความเป็นปรปักษ์ The Cessation of Hostilities
Framework Agreement (CoHa) ในปี 2000 (พ.ศ.2543) ประสบความล้มเหลวเป็นบทเรียนที่เสมือนหินโสโครกที่อยู่ในเส้นทางเดินเรือที่จะต้องหลบเลี่ยง
ฉันใดก็ฉันนั้นมาร์ตติ อะห์ติซาริ จึงได้วางยุทธศาสตร์ของตนด้วยการเป็นผู้กำกับที่เคร่งครัดที่สุด
ซึ่งอาจกล่าวได้ด้วยคำว่า "แคบ" และ กระชับ". ดังเช่นในระยะของการเริ่มต้นก่อนมีการเจรจา
มาร์ตติ อะห์ติซาริ ได้ทำความกระจ่างแก่ทุกฝ่ายให้ยอมรับว่าเขาไม่ต้องการที่จะมาเสียเวลากับเรื่องนี้
ด้วยการยื้อเรื่องหรือซื้อเวลา และเขาจะไม่ปล่อยให้มีการพิจารณาลงลึกหรือไม่พิถีพิถันในรายละเอียดปลีกย่อยเกินไปที่เกี่ยวพันในหลักการใหญ่ของกระบวนการ
(*) ในต้นฉบับเดิม ใช้คำว่า Ayatollah Ahtisaari ผู้แปลเรียบเรียง เลี่ยงใช้คำว่า "ปรมาจารย์" เป็นการเทียบเคียง เนื่องจากว่าเกรงจะหมิ่นเหม่ต่อความรู้สึกของผู้นับถือศาสนาอิสลามนิกายชิอะฮฺ คำว่า "อยาตุลลอฮฺ" เป็นตำแหน่งสูงสุดที่มอบให้กับผู้นำศาสนาอิสลาม นิกาย (มัซฮับ) ชิอะฮฺ "อยาตุลลอฮฺ" เป็นภาษาอาหรับ แปลว่า สัญลักษณ์ แห่งอัลลอฮฺ "อายะฮฺ" แปลว่าสัญลักษณ์ และอัลลอฮฺ หรือนามของพระเจ้า
บุคคลที่จะได้รับตำแหน่งนี้ต้องเป็น "อะอฺลัม อะอฺละมีน" คือสุดยอดผู้รู้ หรือ ปรมาจารย์ นั้นคือต้องผ่านการศึกษาจนกระทั่งบรรลุขั้นสูงสุด ในวิทยาการเกี่ยวกับอัลกุรอาน ตัฟซีร (อธิบายอัลกุรอ่าน) ฮะดิษ (จริยวัตรและวจนะของท่านศาสดามุฮัมมัด ศอล) ฟิกห์ (กฎหมาย) อุศุลฟิกหฮฺ ภาษาอาหรับ ตรรกวิทยา และวิชาอื่นๆ จนบรรลุขั้น อิจติฮาด สามารถวินิจฉัยบทบัญญัติอิสลามได้ จากนั้นจึงเป็นอาจารย์ สอนนักศึกษาศาสนาอิสลามและเป็นผู้นำของบรรดาผู้บรรลุอิจติฮาด เมื่อเป็นที่ยอมรับของบรรดาผู้บรรลุอิจติฮาดแล้วจึงได้รับตำแหน่งนี้ - วิกิพีเดีย)
ในขณะที่ศูนย์อ๊องรี ดูน๊องค์ พยายามที่จะไม่ใช้หลักการเหตุผล และเกลี่ยกล่อมให้คู่เจรจาไม่ให้ออกนอกกระบวนการเจรจา ขณะที่มาร์ตติ อะห์ติซาริ นำการประชุมในลักษณะค่อนข้างจะเผด็จการเล็กน้อย ใช้อำนาจต่อรองบางประการ การเริ่มต้นตั้งแต่แรกได้กำหนดกรอบ และจำกัดกรอบการเจรจาว่าจะเจรจาเรื่องอะไร มีกรอบของการเจรจากรุงเฮลซิงกิว่าจะมีกรอบการพูดคุยอะไร และจะไม่มีเรื่องอื่นนำมาพูดคุยกันบนโต๊ะเจรจา
เราไม่อาจแบกภาระความชั่วร้ายของโลกทั้งใบ
เมื่อมีการสะดุดเนื่องจากมีการนำเรื่องนอกประเด็นหรือการร้องเรียนกล่าวหาในเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีต
มาร์ตติ อะห์ติซาริ ก็จะรีบรวบรัดและดึงเข้ามาในวาระ ของการเจรจาทันที. "มันเป็นเรื่องที่สำคัญที่เราต้องเข้าใจเพราะว่า
เราไม่อาจแบกภาระความชั่วร้ายของโลกทั้งใบ หรือเราไม่อาจจะซักล้างสิ่งสกปรกทั้งหมดได้ในคราวเดียวกัน".
ทำให้ในระยะแรกๆ เขาจึงถูกล้อและขนานนามชื่อว่า "อยาตุลลอฮฺ อะห์ติซาริ"
"ผลสรุปออกมาอย่างจำกัดและกระชับที่สุดเท่าที่จะกระทำได้ เพียงองค์ประกอบที่จำเป็นเพื่อการสถาปนาประชาธิปไตยที่จะต้องระบุลงในการประชุมเจรจาและตกลงกัน และผมได้กล่าวแก่ฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีว่า ตัวเลขของจำนวน เวลานั้นเมื่อคุณอยู่ในสภา คุณสามารถแก้ไขได้ตามที่ประสงค์ ไม่ใช่มานั่งถกกันบนโต๊ะเจรจา เรามิได้เป็นผู้กำกับการประชุมทั่วไปนี้"
ความสำคัญในยุทธศาสตร์ของมาร์ตติ อะห์ติซาริ คือเป้าหมายที่มีสตินั่นเอง. นับตั้งแต่เมื่อเริ่มต้นแล้ว เรามีเป้าหมายที่ชัดแจ้งแล้วว่าเราต้องการอะไร มิเช่นนั้นแล้วก็จะไม่มีแม้ความเป็นไปได้ในการถามถึงสิทธิและเดินหน้าตามหลังสิ่งที่ถูกต้อง. มาร์ตติ อะห์ติซาริ กล่าวว่า "บ่อยครั้งที่เรากระทำอะไรไปโดยการเห็นแก่การกระทำของพวกเขา". "เมื่อผมมองยังความขัดแย้งของโลก ผมมักรู้สึกว่าเราไม่มีความมุ่งมั่นแน่วแน่พอที่จะหาทางในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น หากผู้ทำหน้าที่ในการไกล่เกลี่ยไม่รู้ว่าอะไรคือสิ่งที่เขามีเป้าหมาย คุณก็จะไม่ได้อะไร ไม่ว่าที่ไหน? แม้จะมีวิธีการต่างๆ มากมายก็ไม่อาจทำอะไรให้เกิดเป็นจริงได้ เช่นในบางกรณีการเจรจาในหมู่พวกเขาเองสามารถบรรลุเป้าหมายได้" ดังนั้น เมื่อเราให้สถานะกึ่งราชการแก่ฝ่ายกบฏ สิ่งนี้ได้สร้างความกังวลอย่างใหญ่หลวงและผมรู้สึกผิดหวังกับสิ่งเหล่านี้"
เพื่อที่จะให้เกิดความรู้สึกที่เป็นแรงกระตุ้นเตือน และไม่ให้มีการซื้อเวลาการเจรจาให้ยืดเยื้อ อะห์ติซาริ จะเตือนถึงกรอบเวลาของการเจรจาของสิ้นสุดในฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งเขาได้ประกาศตั้งแต่วันแรกที่เริ่มการเจรจาแล้ว. มาร์ตติ อะห์ติซาริ เคยกล่าวเสมอๆ ว่า เขาจะไม่ยอมเกี่ยวข้องกับเวทีการเจรจาใดๆ หากการเจรจานั้นดำเนินการไปเรื่อยใช้เวลานับเป็นปี. สามปีของการเจรจาครั้งล่าสุด ได้ข้อยุติเพียงข้อตกลงการหยุดยิงเท่านั้น (A Ceasefire agreement) และความตกลงที่ใหญ่โตมีรายละเอียดมากมาย
จะต้องมองภาพรวมนับตั้งแต่เริ่มต้น
มาร์ตติ อะห์ติซาริ ย้ำว่า ผู้ที่ทำหน้าที่ในการไกล่เกลี่ยจะต้องมองภาพรวมนับตั้งแต่เริ่มต้น.
"แต่ละส่วนย่อมมีความสำคัญในตัวมันเอง และท่านต้องเริ่มจัดให้มันอยู่รวมกันนับตั้งแต่แรก".
ความจริงแล้ว หลักการของมาร์ตติ อะห์ติซารินั้น จะไม่มีการตกลงใดๆ จนกว่าทุกอย่างจะลงตัวเป็นรูปเป็นร่างชัดเจนก่อน
เขาได้ร่างโครงสร้างก่อนภายใต้หลักการเบื้องต้น ที่เขาจะเตรียมการเจรจาร่วมกับคู่เจรจาทั้งสองฝ่ายและจะดำเนินการตามลำพัง
และด้วยกรอบโครงสร้างนี้ความคิดที่อิสระจึงไม่สามารถเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้. "ภารกิจของผมในการสร้างสรรค์ทุกอย่าง
เพื่อให้คู่เจรจาทั้งสองฝ่ายสามารถดำรงอยู่ได้ นั้นหมายถึงข้อตกลงซึ่งมิใช่เป็นการกำหนดได้ล่วงหน้าก่อนที่จะมีความเห็นที่สอดคล้องในรายละเอียดทั้งหมด"
วาระการประชุมจะต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง หากมีบางเรื่องที่ดูเหมือนว่าจะไม่สามารถเดินหน้าได้ เขาจะรีบรวดรัดสรุป และเดินหน้าขึ้นเรื่องใหม่ทันที. "คุณเองเคยคาดการณ์ว่ามีบางเรื่องที่มีความสำคัญที่อยู่ในระหว่างกึ่งกลางของทางแยก หรือมีความเอียงเอนที่จะเห็นด้วย และนั่นเป็นหน้าที่ของยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น ก็จะไปนั่งประกบร่วมกับคู่เจรจาในตอนเย็น และไปร่วมพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการกับพวกเขา และบางเรื่องมันไม่สามารถยุติบนโต๊ะเจรจาได้ หากคุณไม่เดินหน้าต่อไป"
จะไม่มีการตกลงใด จนกว่าทุกอย่างจะมีความเห็นสอดคล้อง
หลักการของมาร์ตติ อะห์ติซาริ "จะไม่มีการตกลง จนกว่าทุกอย่างได้มีความเห็นสอดคล้องกันก่อนและไม่มีวาระซ้อนเร้น".
"ผมจะตระหนักได้อย่างรวดเร็วว่า เรามีหน้าที่ต้องสร้างบรรยากาศแวดล้อมเพื่อให้คู่เจรจาวางตัวได้อย่างเหมาะสม
นั้นหมายถึงว่าในระหว่างการเจรจา จะไม่มีผู้ใดที่ทำตัวเหมือนเป็นคนดึงพรมออกจากใต้เท้าของอีกฝ่ายไม่ว่าอีกฝ่ายจะไปพูดในที่สาธารณะว่า
ได้ยกเลิกความคิดหรือความใฝ่ฝันถึงการประกาศเอกราชแยกตัวจากประเทศอินโดนีเซีย
หรือมีการตกลงรับปากเห็นชอบกับข้อเรียกร้องแล้ว และตนเองจะเคร่งครัดกวดขันในหลักการซึ่งเราจะต้องช่วยกันสนับสนุนความมีวินัยเหล่านี้"
และมันเป็นหัวใจหลัก ซึ่งจะต้องมีบนโต๊ะเจรจาที่คุณจะต้องจะต้องตัดสินใจอย่างแท้จริงต่อสิ่งนี้
ไม่มีการเปลี่ยนม้ากลางศึก
"ไม่มากก็น้อย ซึ่งในระยะแรกการที่ผมได้เบี่ยงแบนความสนใจคนให้ห่างออกมาจากการเจรจา
เพราะจะเป็นการเสี่ยงที่คนเหล่านี้จะทำการต่อต้านได้" มาร์ตติ อะห์ติซาริ
ยังกล่าวต่อไปว่า ปฏิกิริยาในระหว่างคู่เจรจาและผู้ไกล่เกลี่ยนั้นสำคัญมาก ดังนั้น
เหตุผลที่เขาสนับสนุนความคิดที่ว่า ผู้เจรจาไม่ควรที่จะถูกเปลี่ยนในระหว่างการดำเนินการประชุมเจรจา
เหมือนๆ กับการเป็นขุนศึกระหว่างการรบ เช่นเดียวกัน กลุ่มผู้เจรจาควรจะเป็นภารกิจของกลุ่มดำเนินการนับตั้งเริ่มต้นจนสิ้นสุด
เพราะผู้ที่เข้ามาแทนที่ในระหว่างการดำเนินการนั้น จะทำให้ความล้มเหลวเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย
และจะทำลายทุกอย่างในสิ่งที่ได้ดำเนินการหรือได้มีการตกลงแล้ว
แม้ว่าข้อตกลงยุติความเป็นปรปักษ์ได้สร้างความผิดหวัง แต่มาร์ตติ อะห์ติซาริ รู้สึกว่าการทำงานในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมามิได้เป็นการสูญเปล่าแต่อย่างใด. "การเจรจาย่อมไม่เกิดจากความว่างเปล่า คู่เจรจาได้มีโอกาสการพบปะกัน และรู้สึกคุ้นเคยซึ่งกันและกันแล้ว" หลังจากที่เขามีความริเริ่มที่น่าประหลาดใจ กลุ่มของศูนย์อ๊องรี ดูน๊องค์ ได้เข้ามาสนับสนุนการเจรจา ณ กรุงเฮลซิงกิและได้พูดคุยกับกลุ่มขบวนการอาเจะห์เสรีเกี่ยวกับแนวทางการที่จะทำให้เกิดความคืบหน้าในการเจรจา
แม้ว่า พวกเขาจะคาดหวังบางสิ่งจาก ศูนย์อ๊องรี ดูน๊องค์ผมได้เห็นภาพชัดเจนว่า ฝ่ายรัฐบาลไม่มีอะไรที่ตกอยู่ภายใต้สภาวะความกดดันใดๆ ที่จะดำเนินการในกระบวนการของข้อตกลงยุติความเป็นปรปักษ์ ให้มีความคืบหน้าต่อไป
7. เหนื่อย ! สู้ไปก็ไม่มีผู้ใดผู้ชนะ
ปลายเดือนมีนาคมได้เวลาใกล้เข้ามาทุกที เพียงอีกไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ก็จะถึงวันของการเจรจา
รอบที่ 3 จากสถานที่ไกลจากกรุงสต๊อคโฮล์ม แต่อยู่ห่างจากกรุงจาการ์ต้าเพียงเล็กน้อย
คู่เจรจาทั้งสองฝ่ายกำลังนำเสนอเอกสารเพื่อช่วยให้ความคืบหน้าก้าวผ่านความยุ่งยากในจุดของวิธีการดำเนินการ
คุณสามารถจะเดินทางเข้าหมู่บ้าน ซิมปางกือรามัต (Simpang Keuramat) ในอาเจะห์ ได้โดยเดินทางตามเส้นทางถนนที่ผิวจราจรเป็นหลุมเป็นบ่อขรุขระประมาณ 20 กิโลเมตรแยกจากถนนหลัก การสู้รบเกิดขึ้นรอบๆ หมู่บ้านเป็นเวลายาวนานกว่า 30 ปีมาแล้ว ซึ่งยังไม่มีผู้ใดแม้แต่คนเดียวที่จะคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของชาวบ้านในหมู่บ้านนี้ "เราต่างรู้สึกเหนื่อยล้าจากการสู้รบนี้เป็นอย่างยิ่ง" นุร-อะจาตี้ (Nur-ajati) กล่าวที่หน้าบ้านเล็กๆ ของเธอในหมู่บ้าน รอบๆ บ้านของเธอมีอ่างซักผ้าที่มีวัชพืชขึ้นเป็นหย่อมเล็กๆ กลุ่มเด็กๆ ในชุดเสื้อผ้าขาดกะรุ่งกะริ่ง วิ่งเล่นด้วยเท้าเปล่าอยู่ใกล้ๆ นั้น และมีผู้ใหญ่หลายคนเดินเข้ามาโดยไม่สวมรองเท้าเช่นกัน
"เราได้ยินว่ามีการเจรจาเพื่อแสวงหาสันติภาพที่กรุงเฮลซิงกิ และพวกเราต่างมีความหวังว่า พวกเขาจะหันหน้ามาจับมือกันและมีการตกลงกันในที่สุด แต่ในความเป็นจริงเราไม่ได้คาดหวังอะไรมากนัก" แต่ฉันอยากจะพูดว่าเราควรจะได้รับสันติสุขกันเสียที" นุร-อะจาตี้ พูดสวนทันควัน. ในไม่ช้าที่บนถนนหลักในหมู่บ้านก็เต็มไปด้วยบรรดาเด็กๆ ที่อยากจะมาดูคนแปลกหน้าเป็นคนต่างชาติ ยังไม่มีสัญญาณใดๆ ที่บอกให้พวกเขา ทั้งทหารและนักรบจรยุทธ์ต่างมีท่าทีที่คุ้นเคยกัน
ความเดือดร้อนของชาวบ้าน
เป็นเรื่องปกติ
อย่างไรก็ตาม วันนี้สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปกติคือ นักรบจรยุทธ์ก็จะลงมาจากภูเขากลับมายังหมู่บ้านในยามเย็น
เพื่อมาหาเสบียงอาหารและบุหรี่ ยาเส้นใบจาก เมื่อพวกเขาได้ในสิ่งที่ต้องการแล้ว
พวกเขาก็จะพากันกลับขึ้นภูเขาไป พวกเขาหลายคนเป็นบุตรหลานของคนในหมู่บ้านนี้เอง.
และแล้วในวันต่อมาก็จะมีทหารจากกองทัพ จะมาปิดล้อมหมู่บ้านเพื่อซักถามเรียกหาคนที่ให้เสบียงอาหารและผู้ใดที่เป็นสมาชิกในครอบครัวของนักรบจรยุทธ์
และเป็นสิ่งปกติเสมอก็จะมีคนใดคนหนึ่งในหมู่บ้านจะถูกจับตัวไป หลังจากที่ได้มีการซักถามสอบสวน
ครั้งสุดท้ายที่ทหารเข้ามาในหมู่บ้านก็ได้ทำการจับกุมใส่กุญแจมือหญิงคนหนึ่ง
พร้อมทำการควบคุมตัวและถูกตั้งข้อหาว่า เป็นผู้หุงข้าวเลี้ยงอาหารแก่นักรบจรยุทธ์
เมื่อชาวบ้านถามข่าวคราวเกี่ยวกับชะตากรรมของหญิงคนนั้น พวกทหารก็ต่างพากันปิดปากเงียบ มีทหารคนหนึ่งบอกว่าหญิงคนนั้นถูกปล่อยตัวนับตั้งแต่วันนั้นแล้ว แต่พวกเราก็ไม่ควรไปและเยี่ยมเธอ เพราะมันมีแต่จะสร้างปัญหามากขึ้น มีทหารแฝงตัวอยู่ทั่วไปเกือบทุกแห่ง หลายคนอยู่นิ่งๆ บางครั้งผู้ที่ถูกควบคุมตัวก็ได้รับการปล่อยตัวเร็ว บางคนไม่ได้รับการปล่อยตัวและหายสาบสูญไปเลย เราจึงไม่ถามอะไรเกี่ยวกับเรื่องราวพรรค์นี้ เพราะรู้ว่าพวกเขาก็ไม่อาจบอกอะไรกับเราได้
"เมื่อทหารระดมกำลังเปิดยุทธการสนธิกำลังปิดล้อมหมู่บ้าน เพื่อปฏิบัติการตรวจค้นนักรบจรยุทธ์ ชาวบ้านก็จะพากันเข้าไปอยู่ในบ้าน ผู้ที่กำลังอยู่ในท้องทุ่งนาหรือในสวนก็จะรีบพากันทิ้งนาทิ้งไร่เข้าไปอยู่ในบ้าน เพราะพวกเขาจะถูกห้ามไม่ให้ไปที่นา ห้ามไปเก็บเกี่ยวข้าวหรือไปสวน หรือไปเก็บผลไม้ เด็กทั้งหลายถูกห้ามไปโรงเรียน "ชายผู้มีอายุ อธิบายผลกระทบต่อวิถีชีวิตประจำวันของประชาชนว่า "หากพวกคุณไม่ไปอยู่ในบ้าน คุณอาจประสบกับปัญหาที่เลวร้ายได้เสมอ เช่นเมื่อมีการปะทะกันระหว่างทหารกับนักรบจรยุทธ์ฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรี ฝ่ายทหารก็จะไม่มีการถามว่าคุณเป็นชาวบ้านธรรมดาหรือนักรบจรยุทธ์ เมื่อต้นสัปดาห์ก่อนทหารได้ประกาศว่าสามารถสังหารนักรบจรยุทธ์ฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีจำนวน 30 คนในการปะทะพื้นที่หมู่บ้านบีเริน (Bireun) แต่ฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรี อ้างว่า นักรบจรยุทธ์ฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีเสียชีวิตแค่เพียง 8 คน นอกนั้นจำนวน 22 คนเป็นราษฎรผู้บริสุทธิ์
และทุกครั้งที่มีการหลั่งเลือดเชื่อได้เลยว่า เด็กหนุ่มผู้บริสุทธิ์ที่มีความเคียดแค้น พวกเขาจะพากันเข้าป่าร่วมกับนักรบจรยุทธ์ สาบานตนในนามครอบครัวของตน. ในอาเจะห์วันนี้ทุกคนตกอยู่ในสภาพหวาดวิตก ขวัญเสีย ไม่มีใครอยากจะพูดกับผู้สื่อข่าวโดยยอมให้ใช้ชื่อจริงในฐานะแหล่งข่าว นักวิจัย และสมาชิกองค์กรพัฒนาเอกชน: NGOs ก็ไม่ต่างกับชาวชนบท
ทหารจำนวน 40,000 คนในจังหวัดอาเจะห์
ภาพที่ได้เห็นเสมอ ทหารสองคนยืนทำหน้าที่ในท่าเตรียมพร้อมหน้าตู้เอทีเอ็ม (ATM)
ในเมือง โลฮ์กซือมาเว (Lhokseumswe) นิ้วมือสอดอยู่กับไกปืนกลกึ่งอัตโนมัติ ขณะที่ทหารคนที่สามกำลังทำรายการเพื่อถอนเงิน.
สำหรับคนหนุ่มที่อายุถึงเกณฑ์ พวกเขาจะถูกส่งตัวมาเป็นทหารที่มาจากพื้นที่ของจังหวัดต่างๆ
ของอินโดนีเซียเพื่อมาประจำการในอาเจะห์ มาเผชิญหน้านักรบจรยุทธ์ที่มีศักยภาพ
แม้ทหารจะรู้ดีว่าเขาอาจต้องถูกนำตัวขึ้นศาลในคดีการกระทำความผิดบางประการซึ่งกระทำลงไป
เพราะเขาก็คิดว่าการป้องกันตัวด้วยการยิงผู้มีพิรุธก่อน ยังดีกว่าปล่อยให้ถูกฝ่ายตรงกันข้ามยิงตาย.
ทหารจำนวน 40,000 คนในจังหวัดอาเจะห์ อาจจะประสพกับวันที่เลวร้ายที่อาจจะเกิดขึ้นกับบางคนในวันใดวันหนึ่งได้เสมอ
"ประชาชนในชนบทไม่รู้ว่าทหารหรือตำรวจนั้น พวกเขาไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้อำนาจตบตี หรือเตะคนได้ตามอำเภอใจ เพราะพฤติกรรมเช่นนี้ ทหารหรือตำรวจมักประพฤติปฏิบัติกันจนเป็นเรื่องธรรมดา ไม่เพียงแค่การข่มขืน การจับกุมโดยพลการ การลอบฆ่า การยิงทิ้ง เหล่านั้นเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง แต่บรรดาชาวบ้านทั้งหลายต่างนิ่งเงียบ เพราะหากขืนเอะอะโวยวายหรือร้องเรียนขึ้นมาต่อสู้ ก็มีแต่จะเพิ่มความเดือดร้อนแก่ตนเอง" นักวิจัยคนหนึ่งในเมืองบันดาร์อาเจะห์เล่าให้ฟัง. ผู้นำองค์กรสตรีท่านหนึ่งกล่าวว่า เป็นการยากที่ผู้หญิงจะบอกเล่าเรื่องราวประสบการณ์ของตนที่ถูกละเมิด การถูกข่มขืนถือเป็นเรื่องที่น่าละอาย การแก้แค้นก็เป็นเรื่องที่น่ากลัวสำหรับพวกเธอ. "เป็นการยากที่จะกล่าวหาพวกเขาพร้อมทำการพิสูจน์ ในบางกรณีได้มีการฟ้องร้องทหารต่อศาล "หญิงสาวผู้หนึ่งกล่าว
คลื่นยักษ์สึนามินำชาวต่างประเทศเข้ามายังจังหวัดอาเจะห์
แม้ว่าความรุนแรงจากคลื่นยักษ์สึนามิได้นำมาความพินาศอย่างมากมายมาให้ แต่ก็ยังดีที่สึนามิก็ยังนำชาวต่างประเทศเข้ามายังจังหวัดนี้
ในขณะที่รถจิ๊ปสีขาวของสหประชาชาติก็ทำหน้าที่ปกป้องชีวิตคนได้มากพอควร. นายทหารนอกประจำการในกรุงจาการ์ต้าคนหนึ่งรับสารภาพว่า
"กองทัพไม่ชอบพวกชนต่างชาติ". "พวกต่างชาติมักจะบันทึกวีดีโอ
และเผยแพร่ข่าวไม่ดีที่เกิดขึ้นรอบๆ จังหวัด ทหารมีหน้าที่ในการรักษาบูรณาภาพแห่งดินแดนของประเทศอินโดนีเซีย
และจะต้องดำเนินการทุกสิ่งเพื่อให้เป็นไปตามหน้าที่"
ฝันร้ายแห่งสันติภาพ
ใช่ว่า ประชาชนทุกคนจะรักใคร่หรือนิยมชมชอบนักรบจรยุทธ์ โดยเฉพาะคนในเมือง. "พวกเขาเข้ามาในเมืองและเรียกร้องจะเอาเงินเป็นจำนวนมาก
หากท่านไม่จ่าย ท่านอาจประสบปัญหาตามมาภายหลังได้" คนขายเทปเพลงในเมือง
"โลฮ์กซือมาเว" ผู้หนึ่งที่มีความยินดีที่จะเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร แต่ไม่ยินดีที่จะเปิดเผยชื่อจริงของตน.
ข้าราชการ พ่อค้าต่างพากันขุ่นเคืองกับวิธีการการเรียกเก็บเงินภาษีของฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรี
เมื่อหลายปีที่ผ่านมา
"การจับตัวเพื่อเรียกค่าไถ่เกิดขึ้นทุกวัน ผู้มีอาชีพรับเหมาก่อสร้างต่างรู้ดีว่า หากต้องการที่จะรักษาเครื่องมือเครื่องจักรกลของตนให้ยังคงอยู่ในสภาพดี เขาต้องทำอย่างไร? ให้พวกเขาพึงพอใจโดยเร็ว ก่อนที่เหตุการณ์ความสูญเสียจะถูกพบเห็นในวันรุ่งขึ้น". นักวิจัยการเมืองในเมืองบันดาร์อาเจะห์กล่าวว่า "มีนักรบจรยุทธ์ของขบวนการอาเจะห์เสรีกลุ่มหนึ่ง เป็นผู้สร้างความเสียหายความโหดร้ายตลอดทั้งปี อุดมการณ์ความใฝ่ฝันถูกละทิ้ง การต่อสู้ได้มาถึงจุดจบด้วยตัวมันเอง"
ตลอดทั้งปี ทหารก็ใช้พลเรือนและชาวบ้านเป็นเครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อ ด้วยการใช้ให้ชาวบ้านมาร้องเรียนกล่าวหานักรบจรยุทธ์ฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรี และนักรบจรยุทธ์ก็รู้ดีว่ามีทหารเป็นผู้บงการอยู่เบื้องหลังในการกล่าวหาโฆษณาชวนเชื่อเหล่านั้น "ประชาชนจำนวนมากจึงต่างตกอยู่ในสภาพฝันร้าย กลัวว่านักรบจรยุทธ์จะลงมาจากภูเขาและมาทำร้ายลงโทษหรือล้างแค้น"
เหตุการณ์ที่แปลกประหลาดประการหนึ่งคือ ในสงครามกลางเมืองเช่นนี้ คุณอาจขอพบกับหัวหน้ากลุ่มนักรบจรยุทธ์ฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีได้ในใจกลางเมืองบันดาร์อาเจะห์ หากคุณสามารถติดต่อและปฏิบัติตามคำแนะนำ โดยไม่ต้องมีชื่อหรือที่อยู่ ไม่ต้องมีคนขับรถท้องถิ่น หรือล่ามผู้แปล แค่ส่งข่าวผ่านมือถือ เท่านั้นเอง. แค่มีคนขับรถจักรยานยนต์ สวมหมวกปิดใบหน้า จะมารับคุณหน้ามัสยิดกลางประจำเมือง รถจักรยานยนต์จะพาคุณวิ่งไปในตัวเมืองประมาณสักระยะ เพื่อเป็นการล่อหรือลวงให้รอดพ้นจากการติดตามที่อาจจะมีได้ หลังจากแน่ใจแล้ว คุณจะมาถึงบริเวณหน้าบ้านส่วนตัวหลังหนึ่ง ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ก็เปิดเผยตัวว่าตนมีฐานะเป็นหัวหน้ากลุ่มนักรบจรยุทธ์ฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีประจำถิ่น โดยใช้ชื่อจัดตั้งคือ L.B
ในห้องนั่งเล่นค่อนข้างสลัว มีม่านกั้น ภรรยาคนสวยของหัวหน้ากลุ่มนักรบจรยุทธ์ประจำถิ่น ร้องเพลงกล่อมลูกให้ลูกแฝดหลับอยู่ที่มุมห้อง และมีนักรบจรยุทธ์คนอื่นที่นั่งอยู่รอบๆ โต๊ะเล็กๆ ที่มีหัวหน้ากำลังส่งข่าวผ่านโทรศัพท์มือถือโนเกียไปยังเพื่อนบนภูเขา ซึ่งใช้วิธีการการเปลี่ยนซิมบ่อยที่สุด ข่าวสารที่ส่งมาจากที่ใดสักแห่งหนึ่งซึ่ง L.B. ไม่ยอมบอกว่ามาจากที่ไหน
เราคือรัฐบาลที่ชอบธรรม
เราจึงมีสิทธิเก็บภาษีจากประชาชน
L.B. พยายามปกป้องการจัดเก็บภาษีว่า "ในที่นี้เราคือรัฐบาลที่ชอบธรรม เราจึงมีสิทธิที่จะรวบรวมเก็บภาษีจากประชาชน
เพื่อให้ได้เงิน ได้เสบียงอาหารเพื่อใช้ในภารกิจกู้ชาติ ประชาชนชาวอาเจะห์ได้จ่ายภาษีให้แก่พวกเราด้วยความสมัครใจ
แต่ก็มีบ้างที่ไม่เต็มใจให้การสนับสนุน ซึ่งมีจำนวนไม่มากนัก"เขากล่าว หัวหน้ากลุ่มนักรบจรยุทธ์รับสารภาพว่าเงินทองของฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีมีอย่างจำกัด
เขาเองก็ต้องประกอบกิจการร้านเล็กๆ ในบันดาร์อาเจะห์ ในช่วงที่เขาเว้นว่างในการบัญชาการกองกำลังบนภูเขา
หัวหน้ากลุ่มนักรบจรยุทธ์ประจำถิ่นปฏิเสธว่า ฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีซุ่มโจมตีกองกำลังทหารที่กำลังซ่อมถนน หรือปล้นขบวนรถนำสิ่งของช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยสึนามิ. "นายกรัฐมนตรีของเราที่กรุงสต๊อคโฮล์ม ได้ประกาศหยุดยิงและการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจะต้องไม่ถูกรบกวนจากฝ่ายเรา และเราเชื่อฟังพวกเขา" เขายืนยันว่า หากกระบวนการเจรจาเพื่อแสวงหาสันติภาพประสบความสำเร็จ พวกเขาก็พร้อมที่จะสนับสนุน "แต่ถ้าถามคำถามเดียวกันกับฝ่ายหัวหน้าของทหาร พวกเขาเกรงว่าพวกเขาต้องรับผิดชอบในสิ่งที่พวกเขาได้กระทำลงไป จากการติดตามอย่างใกล้ชิด เราทราบจากการเจรจาที่กรุงเฮลซิงกิ การละเมิดที่มีมากขึ้นเนื่องจากกองทัพพยายามสร้างสถานการณ์เพื่อให้มีผลต่อการเจรจา"
ความเดือดร้อนที่พลเรือนได้รับทำให้ L.B.มีความวิตกยิ่ง เมื่อต้นสัปดาห์ทหารได้มาตรวจค้นเพื่อจับกุมเด็กหนุ่มที่ต้องสงสัยว่าเป็นนักรบจรยุทธ์ในหมู่บ้านโกตาบารัต(Kota Barat) แต่ไม่พบ พวกทหารจึงไปจับตัวภรรยาเด็กหนุ่มคนนั้นชื่อ ซัฟเฟรียน (Safrian) อายุราว 22 ปีไปพร้อมกับลูกชายอายุไม่ถึงปีชื่อ อิฟรอน (Ifran) และจนบัดนี้ก็ยังไม่ทราบชะตากรรมทั้งสอง. "การทรมาน การข่มขืนเป็นวิธีการสอบสวนตามระเบียบปกติของทหาร " L.B .เล่าและกล่าวถึงภรรยาสาวของเขาว่า ลูกมีอาการผวา ไม่อาจนอนหลับ และต้องจับกล่อมให้นอนในอ้อมแขนเท่านั้น
ความร่ำรวยที่ลำเข็ญ
ผืนแผ่นดินที่แคบยาวของอาเจะห์ซึ่งปกคลุมด้วยป่าฝนที่เขียวชอุ่ม เป็นที่อยู่ของบรรดานักรบจรยุทธ์ในป่าที่ทำหน้าที่ในการคุ้มครองเสือพันธ์สุมาตรา
ฝูงสัตว์ ช้างป่า และสัตว์หลายชนิดอาศัยอยู่อย่างมีความสุข หากพื้นที่ไม่มีปัญหาการสู้รบ
ชายหาดริมทะเลที่มีต้นมะพร้าวขึ้นเรียงรายก็จะเป็นสวรรค์ของบรรดานักท่องเที่ยวอย่างมีความสุข.
ทุกคนต่างพูดว่า มีน้ำมันและแก๊สจำนวนมากในจังหวัดอาเจะห์ แต่ในทางปฏิบัติแล้วรายได้หายไปอยู่ที่ไหน?
คำตอบคือ ไปอยู่ในคลังของรัฐและการคอรัปชั่น
คุณก็จะเข้าใจว่าทำไมจังหวัดนี้จึงเป็นเช่นดังกล่าว มีความร่ำรวยจากทรัพยากรที่มีอย่างมากมายแต่กลับเป็นจังหวัดหนึ่งที่ยากจนแสนสาหัสที่สุดในสาธารณรัฐอินโดนีเซีย น้ำมันและแก๊สในภาวะสงครามที่กำลังดำเนินอยู่ การสูบน้ำมันได้กระทำอย่างใกล้ชิดภายใต้การดูแลของกองทัพ ความความช่วยเหลือจากรัฐบาลพลเรือนมีเพียงเล็กน้อย หรือไม่ได้รับเลย ผู้ว่าการจังหวัดถูกจับคุมขังอยู่ในเรือนจำด้วยข้อหาคอร์รัปชั่น และรัฐบาลก็มีสภาพเป็นอัมพาต เพราะเหตุการณ์สึนามิ
ประชาชนชาวอาเจะห์ต่างมีความยินดีปรีดากับกระบวนการแสวงหาสันติภาพในกรุงเฮลซิงกิ แต่รู้สึกแปลกใจที่ไม่เคยมีใครสักคนมาถามอะไรจากพวกเขาเลย "ชะตากรรมของชาวอาเจะห์ไม่อาจปล่อยให้ตกอยู่เพียงในมือของผู้นำที่อยู่ในกรุงจาการ์ต้า และนักรบจรยุทธ์ที่ลี้ภัยอยู่ในกรุงสต๊อคโฮล์ม เท่านั้น พวกเขาควรรับฟังเสียงของประชาชนในอาเจะห์บ้าง มีแต่พวกเราเท่านั้นที่รู้ดีว่าอะไรเกิดขึ้นในที่นี้" รอนนี่ เดลซี (Ronny Delcy) หัวหน้าสถาบันวิจัยเพื่อสันติภาพ (Institute for Peace Research) ในบันดาร์อาเจะห์ ซึ่งมีเขาผู้เดียวเท่านั้นที่กล้าเปิดเผยชื่อจริง
เขาหวังว่า เวทีเสวนาเพื่อพิจารณาประเด็นปัญหาของชมรมชุมชนพลเรือน สร้างสรรค์เคียงคู่กับกระบวนการสันติภาพที่กรุงเฮลซิงกิ เวทีเสวนาซึ่งองค์กรในประเทศ, นักวิจัย, ผู้นำศาสนา, ผู้นำท้องถิ่น, ควรจะมีส่วนร่วมด้วย "เพียงพวกเราซึ่งได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว เราก็จะสามารถสร้างสรรค์สันติภาพที่แท้จริงได้มากกว่าแค่การยุติสงครามเพียงอย่างเดียว" เดลซี่ เชื่อว่าไม่มีเวลาที่จะต้องเสียอีกแล้ว "เรามีโอกาสทองที่เราจะฉวยมันไว้ เพราะหลังจากเหตุการณ์สึนามิก็ได้มีชาวต่างชาติจำนวนมากเข้ามาที่นี้ หากโอกาสนี้หลุดลอยไป ผมเองก็ไม่รู้ว่าเราจะมีโอกาสกลับสู่เส้นทางแห่งสันติภาพอีกนานแสนนานได้อย่างไร?
8.ฝ่าวิกฤต: การเจรจาสันติภาพรอบที่สาม
วันอังคารที่ 12 - วันเสาร์ที่ 16 เมษายน 2005 (พ.ศ.2548)
การประชุมเจรจาในรอบที่สามได้เริ่มต้นการประชุมที่กรุงเฮลซิงกิ ท่ามกลางกระแสความตึงเครียด
แม้ว่าวันสุดท้ายของการประชุมเจรจาในรอบที่สอง ฯพณฯ อดีตประธานาธิบดีแห่งฟินแลนด์
มาร์ตติ อะห์ติซาริ ได้เร่งเร้าในคู่เจรจาทั้งสองฝ่ายนำเรื่องการพิจารณาเกี่ยวกับการผลักดันให้เกิดการจำกัดการละเมิด
การใช้กำลัง ความรุนแรง ซึ่งเป็นสภาพที่เกิดขึ้นจริงปัจจุบันในอาเจะห์ และเป็นไปตามที่สื่อหนังสือพิมพ์รายงาน
ฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรี อ้างว่า มีความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม
สถานการณ์ในอาเจะห์เลวลงและทวีความตึงเครียดมากขึ้นเมื่อ สื่อหนังสือพิมพ์รายงานว่า มีการละเมิดและทำร้ายร่างกายผู้นำกลุ่มหน่วยจรยุทธ์ขบวนการอาเจะห์เสรีที่ถูกคุมขังในเรือนจำ ก่อนหน้าที่จะมีการประชุมเจรจาสันติภาพเพียงหนึ่งวัน สถานการณ์เลวร้ายได้ขยายความรุนแรง เมื่อภายในกองทัพมีความแตกแยกแบ่งฝักแบ่งฝ่ายอย่างชัดเจน ระหว่างกลุ่มทหารที่มีแนวความคิดที่จะให้มีการปฏิรูปฟื้นฟูองค์กรภายในกองทัพและความเป็นประชาธิปไตยในประเทศอินโดนีเซีย กับอีกฝ่ายที่ยังคงยึดติดกับอำนาจ ต้องการรักษาสถานภาพ อำนาจ และตำแหน่ง
เปลี่ยนคนเจรจาทั้งสองฝ่าย
นายพลวิรัตโต วิโดโด (General viranto Widodo) อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด และรัฐมนตรีว่าการกิจการความมั่นคง
ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะนายทหารสายเหยี่ยว วันนี้ไม่ได้เดินทางมาร่วมประชุมเจรจาสันติภาพรอบที่สามที่กรุงเฮลซิงกิด้วย
สื่อมวลชนต่างตีข่าวและคาดการณ์ว่านี่เป็นสัญญาณของความร้าวฉานลึกๆ ของกระบวนการเจรจาเพื่อแสวงหาสัรติภาพ
แต่ตามข้อเท็จจริงในที่ประชุมได้รับทราบเหตุผลของการลาการประชุมเจรจาอย่างเป็นทางการว่า
เนื่องจากนายพลวิรัตโต วิโดโด มีภารกิจต้องรับผิดชอบเข้าร่วมประชุมในการประชุมนานาชาติที่กรุงจาการ์ต้า
บางทีอาจเชื่อได้ว่า ความจริงนั้นเพราะนายพลวิโดโดมีทัศนคติ และมักวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพ
ซึ่งอาจเป็นตัวถ่วงความคืบหน้าในการเจรจาได้
เมื่อนายพลวิโดโด ไม่ได้ไปร่วมการประชุมเจรจาสันติภาพ รัฐบาลจึงได้มีการแต่งตั้ง นายฮามิด อวาลุดดีน(Hamid Awaluddin) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมไปเป็นหัวหน้าคณะแทน ท่านเป็นคนร่างเล็ก ออกจะเตี้ย บุคลิกเป็นคนที่มีความจริงจังและไม่พูดมาก ฮามิด อวาลุดดีน ได้ให้ความมั่นใจแก่คณะผู้ร่วมงานว่า ทหารจะต้องปฏิบัติตามนโยบายคำสั่งของท่านประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดี อีกทั้งการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต้องกระทำด้วยวิธีการสันติ และความสันติภาพที่ยืนยงถาวร ต้องเกิดขึ้นผ่านกระบวนการการเจรจาเท่านั้น
เช่นเดียวกันกับฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรี มีผู้แทนเจรจาคนใหม่เข้ามาร่วมเจรจาในคณะเจรจาที่กรุงเฮงซิงกิ คือนายอิรวารดี ยูซุฟ (Irwandi Jusuf ) อดีตนักโทษผู้สูญหายจากคุกคราวเมื่อวันเกิดเหตุการณ์สึนามิถล่ม และในที่สุดได้ปรากฏตัวที่กรุงเฮลซิงกิ หลังจากที่โชคชะตาต้องพลิกผันและขณะเดียวกันที่ขบวนการอาเจะห์เสรีต้องการให้เขาได้เข้ามามีส่วนร่วมที่คฤหาสน์ โคนิกสเท็ด์ ในฐานะผู้แทนคณะเจรจาคนหนึ่ง
อิรวารดี ยูซุฟ สัตวแพทย์และนักวิจัยซึ่งสำเร็จการศึกษาจากสหรัฐอเมริกา ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ที่ปฏิบัติการด้านข่าวสารในเมืองบันดาร์อาเจะห์มานานนับปี โดยปราศจากการสงสัยจากฝ่ายการข่าวกรองของทหาร หลังจากเหตุการณ์ต่างๆ และเขาสามารถหลบหลีกจากเกมส์แมวจับหนูได้หลายปี เจ้าหน้าที่ตำรวจกรุงจาการ์ต้าจึงได้ตั้งข้อสงสัยเขาว่า เป็นผู้ที่มีส่วนพัวพันกับขบวนการอาเจะห์เสรี ท้ายที่สุดสามารถรวบรวมหลักฐานเพื่อนำสู่การจับกุมเขาได้ในที่สุด มีการทรมานหลายครั้งแต่ก็ไม่สามารถทำให้เขาสารภาพว่า เขาได้ร่วมมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการของขบวนการอาเจะห์เสรี แต่ในที่สุดเขาถูกตัดสินให้จำคุกเป็นเวลา 9 ปี
อิรวารดี ยูซุฟถูกคุมขังในเรือนจำเป็นเวลาสั้นๆ เนื่องจากคลื่นยักษ์สึนามิซัดกระหน่ำคุกจนพังราบ ตัวเขาติดอยู่ใต้หลังคาคุกชั่วระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมง เขารอเวลาจนน้ำลดช่วงระยะหนึ่ง จึงออกเดินทางไปบ้านเพื่อหาครอบครัวของเขา และพบว่าที่บ้านของเขามีแต่ความว่างเปล่าไม่มีผู้ใดอยู่ แต่อย่างไรก็ตามภายหลังก็ได้พบสมาชิกในครอบครัวทุกคนยังมีชีวิตอยู่ อิรวารดีจึงหลบหนีไปอาศัยอยู่ในกรุงจาการ์ต้า และเขาเริ่มงานการประชาสัมพันธ์อีกครั้ง ซึ่งเป็นการแจ้งข่าวสาร ชีวิตความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในป่าอาเจะห์
ความจริงแล้ว อิรวารดี ยูซุฟได้ปรากฏตัวในที่ประชุมเจรจาร่วมโต๊ะกับคณะผู้แทนเจรจาฝ่ายรัฐบาลอินโดนีเซียหลายครั้งแล้ว แต่เนื่องจากว่าหากมีการเปิดเผยตัว ก็จะกลายเป็นประเด็นข่าวสำคัญที่สื่อหนังสือพิมพ์อินโดนีเซียในกรุงจาการ์ต้า จะพากันตีข่าวว่า "รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมอินโดนีเซีย มีการเจรจาแสวงหาสันติภาพอาเจะห์กับนักโทษที่หลบหนีออกจากคุก" อย่างน้อยที่สุดก็ไม่เป็นการเหมาะสมและเกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อกระบวนการสันติภาพ และในทางปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว ท่านฮามิด อวาลุดดีนในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐ และดำรงตำแหน่งถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ซึ่งมีหน้าที่จะต้องทำการจับกุมนายอิรวารดี ยูซุฟทันที มิเช่นนั้นก็จะกลายเป็นผู้ละเว้นการปฏิบัติ. ดังนั้น คู่เจรจาทั้งสองฝ่ายต่างมีความเข้าใจในข้อจำกัดนี้ดี และเห็นว่าเป็นการเหมาะสมที่สุดที่จะให้อิรวารดี ยูซุฟ พักอาศัยในโรงแรม และทำหน้าที่ในการสื่อสารระหว่างคฤหาสน์ โคนิกสเท็ดท์ กับฐานปฏิบัติการในป่าอาเจะห์
ใครคือผู้ที่เราควรเจรจาด้วย?
การประชุมเจรจาในวันแรกคืบหน้าไปช้ามาก เนื่องจากฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรี มีความอึดอัดใจที่จะเริ่มต้นในเรื่องของกรอบของกฏหมาย
ซึ่งพวกเขารู้สึกว่า การเจรจาทั้งหมดที่ได้กำหนดแล้วนั้นเป็นความผิดพลาดนับแต่ก้าวแรกแล้วโดยสิ้นเชิง
"มันเป็นเรื่องที่มีความยุ่งยาก และเป็นการยากมากที่พวกเราจะอธิบายแก่ประชาชนชาวอาเจะห์
ว่าเรามาที่นี้ทำไม? เพื่ออะไร? ในเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างในพื้นที่ยังไม่มีอะไรเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
คำถามว่า ใครกันแน่ที่เราต้องเจรจาด้วย? และใครล่ะที่สามารถทำให้สถานการณ์ต่างๆ
ในพื้นมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีได้?" มาลิค มะห์มูด ถามด้วยความผิดหวัง
มาร์ตติ อะห์ติซาริ ยังคงยึดมั่นในแนวทางอย่างมั่นคง และยังคงยืนยันให้คู่เจรจายึดมั่นกับประเด็นของกรอบการเจรจา และฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีมิได้เตรียมการนำเสนอเกี่ยวกับความคืบหน้าในข้อเสนอเกี่ยวกับ "ระบบรัฐบาลปกครองตนเองที่แตกต่างกับระบบการปกครองตนเองพิเศษที่ฝ่ายรัฐบาลอินโดนีเซียเสนอมา" และฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีต้องการนำเสนอเป็นหลักการเพิ่มเติม ตามที่ต้องการในระเบียบกฎหมายในอาเจะห์ และข้อเสนอการหยุดยิง ในจุดนี้ ก็จะเกิดความชัดเจนถึงความต้องการที่จำเป็น เพื่อที่จะบันทึกในข้อตกลง มิฉะนั้นแล้วก็จะมีการเจรจาข้อตกลงซ้ำแล้วซ้ำอีก
ฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีเอง ประสงค์ที่จะหยิบยกเรื่องที่เกี่ยวข้องซึ่งหากคู่เจรจาให้ความเห็นชอบด้านกฎหมายเกี่ยวกับ"รัฐบาลปกครองตนเอง"ในอาเจะห์ และอีกฝ่ายต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลอินโดนีเซียก่อน แต่อย่างไรก็ตาม มีหลักประกันอะไรบ้างว่ารัฐสภาชุดใหม่ที่จะมีการเลือกตั้ง(5 เมษายน 2547)จะไม่เปลี่ยนแปลงในหลักการตามที่ตกลงกันไว้? หรือหากรัฐบาลมีผู้นำคนใหม่ที่เป็นเผด็จการได้รับเลือกตั้งเข้ามาสู่อำนาจในอินโดนีเซียแล้ว เขาจะคิดอย่างไร? และเขาจะทำอย่างไร? หรืออาจขัดกับรัฐธรรมนูญ และนี้เป็นเหตุผลที่จะทำให้ "การหยุดยิง"มีผลบังคับได้
มาร์ตติ อะห์ติซาริ เริ่มมีความกังวล กล่าวว่า "ผมได้ชี้แจงให้ฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีว่า ไม่มีรัฐบาลใดๆ ในโลก สามารถให้คำมั่นรับรองว่ารัฐธรรมนูญจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดไป เพราะนี้คือวิถีแห่งประชาธิปไตย แต่หากเราไม่สามารถทำความตกลงใดๆ เกี่ยวกับแนวทางสู่สันติภาพบนโต๊ะเจรจาแล้ว สันติภาพก็มิอาจเกิดขึ้นได้ด้วยประการทั้งปวง"
ทรัพยากรธรรมชาติของอาเจะห์
ตกอยู่กับรัฐบาลอินโดนีเซียและอเมริกัน
หลังจากเริ่มต้น การเจรจาติดขัดเล็กน้อย อย่างไรก็ตามกระบวนการพูดคุยมีความกระจ่างและเริ่มมีความคืบหน้า
แต่ละฝ่ายได้มีข้อยุติในประเด็นพิจารณาไปได้ด้วยดี. ประเด็นเกี่ยวกับเศรษฐกิจการเงินและการคลังของจังหวัดอาเจะห์
ถูกหยิบยกมาพิจารณาซึ่งแตกต่างจากสถานการณ์ความขัดแย้งอื่นๆ อาเจะห์มิได้ฝืดเคืองหรือมีปัญหาขัดสนด้านการเงิน
บริษัทต่างชาติอเมริกัน แอกซ๊อนโมไบล (The American company Exxon Mobile) ได้สร้างและกอบโกยกำไรจากทรัพยากรธรรมชาติของอาเจะห์จากแหล่งน้ำมันและแก๊ส
เงินได้ไหลเวียนจากบริษัท แอกซ๊อนไปยังคลังรัฐบาลอินโดนีเซียก่อน แล้วย้อนกลับมายังอาเจะห์
จึงเป็นการยากที่จะเห็นภาพที่ชัดเจนว่า รายได้แท้จริงของจังหวัดอาเจะห์มีจำนวนเท่าไหร่?
มาร์ตติ อะห์ติซาริ ได้แจ้งให้ฝ่ายรัฐบาลก่อนหน้านี้แล้ว และย้ำให้ฝ่ายรัฐบาลได้ชี้แจ้งถึงรายได้ที่แท้จริงซึ่งรัฐบาลได้รับจากกิจการน้ำมันและแก๊สในจังหวัดอาเจะห์ และจะได้นำไปเป็นฐานในการคำนวณพื้นฐาน ที่จะให้มีการจัดสรรรายได้ตามหลักการข้อกฏหมายที่จะต้องให้กับจังหวัดอาเจะห์ในสัดส่วน 70% นี้คือสิ่งสำคัญที่แท้จริงต่ออนาคตการพัฒนาจังหวัดอาเจะห์ทุกๆ ด้านอย่างแท้จริง
นับตั้งแต่โศกนาฏกรรมสึนามินำมาซึ่งความหายนะเกิดขึ้นในอาเจะห์เป็นอย่างมาก และขณะเดียวกันก็ได้นำเม็ดเงินจากการสนับสนุนให้ความช่วยเหลือที่ได้รับจากรัฐบาลอินโดนีเซีย จากต่างประเทศเข้าสู่พื้นที่เป็นจำนวนมาก และโอกาสเดียวกันนี้ก็ได้มีโครงการฟื้นฟูต่างๆ ที่จะเป็นการเปิดโอกาสให้อดีตนักรบจรยุทธ์เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา การฟื้นฟูเศรษฐกิจสังคม ด้วยการให้เข้ามามีส่วนในการร่วมพัฒนาประเทศชาติสืบไป
ข้อเสนอการปลดอาวุธ
ในระหว่างนั้น นายพลจัตวา จาอ์กโก้ อ๊อกซาเน็น (Major-General Jaakko Oksanen)
ได้นำเสนอแผนการปลดอาวุธ และแผนการสังเกตการณ์การตรวจสอบกระบวนการสันติภาพในอาเจะห์
ให้แก่คู่เจรจาทั้งสองฝ่าย ให้พิจารณาเป็นครั้งแรก. จาอ์กโก้ อ๊อกซาเน็น ได้เสนอให้มีคณะผู้สังเกตการณ์จำนวน
200 คนปราศจากอาวุธ เป็นผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการ นักเทคนิค พร้อมเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัยและมีความพร้อมเพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานการสังเกตการณ์
จาอ์กโก้ อ๊อกซาเน็น เสนอโมเดลแผนการปลดอาวุธ มีขั้นตอนตามลำดับคือ ฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีจะทำการส่งมอบอาวุธ และการส่งนักรบจรยุทธ์กลับมาตุภูมิ หลังจากที่กองทัพมีการถอนกำลังพลออกจากพื้นที่จังหวัดอาเจะห์ตามจำนวนที่ได้มีการตกลงไว้ก่อนหน้านั้น และคณะผู้สังเกตการณ์ของสหภาพยุโรป (European Union: EU)(ดูภาคผนวก 1) ที่ไม่มีอาวุธจะเข้าปฏิบัติการในฐานะคณะผู้สังเกตการณ์ตรวจสอบกระบวนการสันติภาพในอาเจะห์ มีสำนักงานในอำเภอต่างๆ 10 แห่ง หัวหน้าคณะผู้สังเกตการณ์มีหน้าที่รับผิดชอบในการประสานงานกับฝ่ายรัฐบาล เจ้าหน้าที่อำเภอก็จะทำหน้าที่ประสานงานอย่างใกล้ชิดกับฝ่ายกองทัพ ขบวนการอาเจะห์เสรีและประชาชนในท้องที่ ห้วงระยะเวลาการปฏิบัติงานของคณะผู้สังเกตการณ์ตรวจสอบกระบวนการสันติภาพในอาเจะห์ ใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี ถึง 1 ปีครึ่งเป็นอย่างมาก ในระหว่างนี้จะมีการรวบรวมอาวุธของนักรบจรยุทธ์ของฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรี กองทัพต้องถอนกำลังและจะมีการปฏิรูประบบการเมืองการปกครองตามที่ได้มีการตกลงกันไว้. มาร์ตติ อะห์ติซาริ ย้ำว่าจะไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติการทางทหาร แต่คณะผู้สังเกตการณ์ทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนจะทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงตามที่คู่เจรจาทั้งสองฝ่ายได้มีข้อตกลงไว้
ขบวนการอาเจะห์เสรี มีปฏิกิริยาตื่นตระหนกเป็นครั้งแรก เนื่องจากฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีคาดว่าควรมีคณะผู้สังเกตการณ์ตรวจสอบกระบวนการสันติภาพที่มีอาวุธพร้อมจำนวน 2,000 คนทำการดักงล่าวทั่วทั้งจังหวัด แต่ฝ่ายรัฐบาลเสนอว่าคณะผู้สังเกตการณ์ตรวจสอบกระบวนการสันติภาพที่ไม่มีอาวุธจำนวน 200 คนก็มากพอควรแล้ว "ในชั้นนี้ ทั้งสองฝ่ายยังมีความระแวงไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน สำหรับผมนั้นถือว่าเป็นเรื่องปกติ ที่คนเราเมื่อมีความห่างเหินกันและกัน และตามข้อเท็จจริงเจ้าหน้าที่คณะผู้สังเกตการณ์จำนวน 2,000 คนนั้น ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง" จาอ์กโก้ อ๊อกซาเน็น กล่าวในที่สุด
มีอาวุธในมือทำให้อาจจะยิงได้ทุกเวลา
ฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรี มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของคณะผู้สังเกตการณ์ตรวจสอบกระบวนการสันติภาพในอาเจะห์ที่ปลอดอาวุธ
หากมีอะไรเกิดขึ้นกับคณะผู้สังเกตการณ์ฯ ก็เป็นการง่ายที่ฝ่ายรัฐบาลจะโยนความผิด
หรือกล่าวหาว่าเป็นฝีมือของฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีเป็นผู้กระทำ หรือแม้จะเป็นเรื่องของการก่ออาชญากรรมที่ใครก็ที่เป็นผู้อยู่เบื้องหลังได้
ซึ่งจะมีผลกระทบต่อกระบวนการแสวงหาสันติภาพทันที
จาอ์กโก อ๊อกซาเน็น ยืนยันว่าการปฏิบัติงานของคณะผู้สังเกตการณ์ฯ โดยปราศจากอาวุธเป็นทางเลือกทางเดียวเท่านั้น "สถานการณ์ความปลอดภัยในอาเจะห์ ทุกคนจะต้องมีความเท่าเทียมกัน ต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่และช่วยกันควบคุมดูแลคนของของพวกตน ฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีก็ดูแลนักรบจรยุทธ์ของฝ่ายตน ฝ่ายรัฐบาลอินโดนีเซียก็ต้องควบคุมดูแลกองทัพ" จาอ์กโก อ๊อกซาเน็น อธิบาย และเขายังมองลึกไปถึงเหตุการณ์อาจเกิดข้างหน้า ซึ่งความปลอดภัยของคณะผู้สังเกตการณ์ ฯ อาจเกี่ยวโยงในข้อพิจารณาที่ว่า "ผมยังเชื่อว่า หากคณะผู้สังเกตการณ์ฯ ต้องหอบหิ้วอาวุธ เขาก็จะกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาทันที"
ข้อเท็จจริงเป็นที่ทราบดีว่า คณะผู้สังเกตุการณ์ฯ ที่ปลอดอาวุธก็จะทำให้ตนเองไม่ทำให้ความตึงเครียดเกิดขึ้นได้ "ในด้านตรงกันข้ามในความขัดแย้งบางประการ การมีอาวุธในการปฏิบัติงานแทนที่จะเป็นการรักษาความปลอดภัยอาจกลับกลายว่า เป็นการเสี่ยงที่จะทำให้มีการใช้อาวุธได้โดยง่ายหรือการควบคุมอารมณ์ไม่อยู่"
ความสัมพันธ์ระหว่างคณะผู้แทนเจรจาฝ่ายรัฐบาลอินโดนีเซีย และฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีได้พัฒนาดีขึ้นเป็นลำดับ จึงเกิดความตระหนักในความรู้สึกว่า การได้มีโอกาสพูดคุยกันเป็นเรื่องที่ดี ความคิดเห็นหรือการเสนอความคิดเห็นเป็นไปอย่างถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน เดินหน้าไปอย่างรวดเร็ว ยิ่งเมื่อได้ใช้ภาษาเดียวกันพูดจาแล้ว ยิ่งไม่ทำให้เกิดความล่าช้า คู่เจรจาทั้งสองฝ่ายได้ใช้เวลาในการเจรจากันในลักษณะการเดินคุยกันในสวนรอบๆ คฤหาสน์โคนิกสเต็ดท์ ซึ่งหิมะเริ่มละลาย น้ำแข็งเริ่มหายไปจากแม่น้ำแวนตาอันโจกิ (Vantaanjaki) ซึ่งไหลผ่านสนามคฤหาสน์โคนิกสเต็ดท์ ก่อนจะมีการเจรจาไม่กี่วัน
คู่เจรจาทั้งสองฝ่ายก็จะมีการขยายเวลาในการถกปัญหาในรูปกลุ่มย่อยไปพิจารณาบ่อยขึ้น บางครั้งมีความต่อเนื่อง โดยนัดไปพูดคุยกันต่อในกรุงเฮลซิงกิในเวลากลางคืน หลังจากมีการพูดคุยตลอดทั้งวันแล้วที่คฤหาสน์โคนิกสเต็ดท์ บางครั้งอาจมีการนัดหมายไปคุยกันต่อในระหว่างการรับประทานอาหารที่ภัตตาคารในกรุงเฮลซิงกิที่ห้องส่วนตัวหรือห้องสูทในโรงแรม เป็นผลทำให้เกิดความรู้สึกคุ้นเคยสนิทสนมมากขึ้น และส่งผลทำให้สามารถทำให้ยุติในรายละเอียดบางประการได้อย่างรวดเร็ว ทำให้โครงสร้างของการเจรจาเริ่มเห็นเค้าลางแห่งความสำเร็จ
ฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรี ได้เตรียมร่าง 2 เรื่อง เพื่อเตรียมพร้อมในการเจรจาในรอบต่อไป คือ ข้อเสนอโครงสร้างการเมืองการปกครองในอาเจะห์ และการแบ่งอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบระหว่างรัฐบาลกลางกับรัฐบาลท้องถิ่น และฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรียังได้บรรจุประเด็นปัญหาเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจที่ยังไม่ได้มีข้อยุติ และฝ่ายรัฐบาลรับปากว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนการประชุมครั้งต่อไป. ฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรี กล่าวเพิ่มเติมว่า จะมีการเตรียมการพิจารณาในประเด็นที่สามเกี่ยวกับ"สิทธิมนุษยชนและปัญหาทางกฎหมาย"อีกด้วย
ผู้แทนฝ่ายรัฐบาลได้แสดงความเห็นด้วยกับข้อเสนอด้วยความยินดี และในที่สุดคู่เจรจาทั้งสองฝ่ายได้หยิบยกปัญหามาพิจารณากันอย่างเป็นรูปธรรม และจะได้ทราบว่าสิ่งใดที่ฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีคาดหวัง หรือพึงประสงค์. ในการแถลงข่าวย่อยๆ ตอนเย็นวันเดียวกัน มาร์ตติ อะห์ติซาริ ได้อ่านเอกสารด้วยถ้อยคำที่แสดงถึงการถ้อยทีถ้อยอาศัยของคู่เจรจาทั้งสองฝ่าย มาร์ตติ อะห์ติซาริ ประกาศว่า คู่เจรจาทั้งสองฝ่ายได้บรรลุข้อตกลงในประเด็นหลักเกี่ยวกับการเจรจา และกำลังคืบหน้าต่อไป ในขณะเดียวกัน คู่เจรจาทั้งสองฝ่ายได้มีการตกลงแจ้งให้กองกำลังทั้งสองฝ่ายจำกัดขอบเขตการปฏิบัติการ หรือยุติการใช้กำลังในพื้นที่ระหว่างการเจรจาแสวงหาสันติภาพด้วย. นับเป็นครั้งแรกที่ฝ่ายรัฐบาลอินโดนีเซีย ได้ให้สัญญาในเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติการที่จะทำให้สถานการณ์ในอาเจะห์ ผ่อนคลายความตึงเครียดลง
คู่เจรจาทั้งสองฝ่ายต่างได้แถลงถึงบทสรุป และส่งสัญญาณในทิศทางที่ส่อให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการฟันฝ่าอุปสรรคอย่างชัดเจน. ฮามิด อวาลุดดีน ได้แสดงความคาดหวังว่า ข้อตกลงทั้งหมดจะได้นำมาวางบนโต๊ะเจรจาในการประชุมเจรจาครั้งต่อไป ในการให้สัมภาษณ์ เขาย้ำว่า "ความจริงข้อตกลงจะนำสู่การปฏิบัติได้ในทันที หลังจากได้มีการลงนามในข้อตกลงแล้ว และคาดว่าจะมีการลงนามภายในเดือนสิงหาคม 2548 นี้ และย้ำว่า คณะผู้สังเกตการณ์ตรวจสอบกระบวนการสันติภาพในอาเจะห์ จะเป็นตัวแทนจากสหภาพยุโรป (EU) และ อาเซียน (ดูภาคผนวก 2) และทั้งสององค์กรมีความพร้อมแล้ว
กองทัพอินโดนีเซียเสริมกองกำลังจำนวน
3 กองพัน
แต่ในวันเดียวกัน
คู่เจรจาทั้งสองฝ่ายได้มีการแถลงผลของการเจรจา ฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีได้รับแจ้งทางโทรศัพท์จากพื้นที่ว่า
"กองทัพอินโดนีเซียได้มีการเสริมกองกำลังจำนวน 3 กองพัน หรือประมาณ 2,400
คนเคลื่อนกำลังเข้าสู่พื้นที่ในอาเจะห์ในตอนเช้า ซอฟยาน ดจาลิล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการประชาสัมพันธ์และการข่าว
ขณะนั้นยังอยู่ในกรุงเฮลซิงกิ จึงรีบแถลงและยืนยันว่า เป็นการสับเปลี่ยนกำลังตามปกติ
เป็นการปฏิบัติตามระเบียบประจำเท่านั้น ซึ่งกองพันที่ส่งไปประจำการทดแทนการถอนกองพันออกจากพื้นที่.
แต่ผู้แทนกองทัพอินโดนีเซีย ที่กรุงจาการ์ต้าเอง ประกาศอย่างชัดเจนว่าเป็นการวางยุทธศาสตร์ตรึงกำลังใหม่กองกองทัพอินโดนีเซียในอาเจะห์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
(ภาคผนวก 1)
สหภาพยุโรป European Union :EU พัฒนามาจากประชาคมยุโรป
ซึ่งเป็นกลุ่มที่รวมองค์กรทางเศรษฐกิจ 3 องค์กรเข้าด้วยกันคือ
1. ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้ายุโรป
2. ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปหรือตลาดร่วมยุโรป และ
3. ประชาคมพลังงานปรมาณูยุโรป
จัดตั้งขึ้นเพื่อยกระดับทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป โดยอาศัยความร่วมมือของประเทศสมาชิก วัตถุประสงค์
1. เพื่อรวบรวมระบบเศรษฐกิจ ความร่วมมือในการพัฒนาสังคม และการปกครองแบบประชาธิปไตยของประเทศสมาชิกให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว
2. เพื่อยกระดับการดำรงชีวิตของประชากรชาวยุโรปให้ดีขึ้น
3. เพื่อจัดตั้งสหภาพศุลกากรโดยการขจัดอุปสรรคต่างๆ ทางการค้าระหว่างประเทศ
สมาชิกมี 27 ประเทศ ได้แก่ 1.เบลเยียม 2.ฝรั่งเศส 3.เยอรมนี 4.อิตาลี 5.ลักเซมเบิร์ก 6.เนเธอร์แลนด์ 7.เดนมาร์ก 8.ไอร์แลนด์ 9.สหราชอาณาจักร 10.กรีซ 11.โปรตุเกส 12.สเปน 13.ออสเตรีย 14. ฟินแลนด์ 15.สวีเดน 16.ไซปรัส 17.เอสโตเนีย 18.ฮังการี 19.ลัตเวีย 20ลิทัวเนีย 21.โปแลนด์ 22.สโลวาเกีย 23.มอลตา 24.สโลวีเนีย 25.สาธารณรัฐเช็ก 26.โรมาเนีย และ 27.บัลกาเรีย
ประเทศที่อยู่ระหว่างการพิจารณาเข้าเป็นสมาชิก 28.โครเอเชีย 29.ตุรกี : ตุรกีเป็นสมาชิกสมทบของ EEC ตั้งแต่ปี 2506 และสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป เมื่อปี 2520 สหภาพยุโรปเพิ่งเปิดการเจรจากับตุรกี เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2548 หากสำเร็จ การเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปของตุรกีต้องใช้เวลาถึง 10 ปี, 30.มาซิโดเนีย. ประเทศที่กำลังจะสมัครเข้าเป็นสมาชิกในอนาคต: 31.เซอร์เบีย 32.มอนเตนีโกร 33.บอสเนีย 34.แอลเบเนีย
รูปแบบความร่วมมือของสหภาพยุโรป:
เป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศยุโรป ซึ่งมีโครงสร้างแบบผสมระหว่างความร่วมมือแบบเหนือรัฐ
(supranationalism) และความร่วมมือระหว่างรัฐ intergovernmentalism) องค์ประกอบ
มี 1.สภายุโรป (European Parliament) ) 2.คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission
- EC)
1. สภายุโรป (European Parliament) สมาชิกสภายุโรปจำนวน 731 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงทุกๆ 5 ปี โดยสมาชิกสภายุโรปเหล่านี้มิได้แบ่งตามประเทศ แต่สังกัดอยู่กับพรรคการเมืองในระดับยุโรปที่มีแนวคิดทางการเมืองสอดคล้องกับพรรคการเมืองในระดับประเทศที่ตนสังกัดมากที่สุด นอกจากนี้ ยังมีสมาชิกสภายุโรปบางส่วนที่ไม่ได้สังกัดพรรคการเมืองใด ประธานสภายุโรปคนปัจจุบันคือ นาย Hans Gert Pottering (เยอรมนี)
2.คณะกรรมาธิการยุโรป(European Commission-EC) เป็นผู้รับผิดชอบงานประจำส่วนใหญ่ของสหภาพยุโรป ทั้งยังร่างข้อเสนอกฎหมายใหม่ๆ เพื่อให้สภายุโรปและคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปให้ความเห็นชอบและยังคอยควบคุมให้มีการปฏิบัติตามข้อตกลงต่างๆ อย่างเหมาะสม รวมทั้งการใช้งบประมาณของสหภาพยุโรป และคอยสอดส่องให้มีการปฏิบัติตามสนธิสัญญาและกฎหมายของสหภาพยุโรป ทั้งนี้คณะกรรมาธิการยุโรปจะทำงานอย่างเป็นอิสระจากรัฐบาลของประเทศสมาชิก คณะกรรมาธิการยุโรป :ประกอบด้วยประธานและกรรมาธิการยุโรป รวม 25 คน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปได้รับการคัดเลือกจากรัฐบาลของประเทศสมาชิก และได้รับการอนุมัติเห็นชอบโดยสภายุโรป ส่วนกรรมาธิการยุโรปคนอื่นๆ ได้รับการเสนอชื่อจากรัฐบาลประเทศสมาชิกหลังจากที่ได้มีการหารือกับผู้ที่จะมาเป็นประธานซึ่งจะต้องได้รับความเห็นชอบจากสภายุโรป เช่นกัน คณะกรรมาธิการยุโรปมีวาระการทำงาน 5 ปี แต่สามารถถูกถอดถอนได้โดยสภายุโรป
ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป
คือ นาย Jose Barrosoo
สำนักงานอยู่ที่กรุงบรัสเซลส์(Brussels)ประเทศเบลเยียม
หน้าที่ของคณะกรรมาธิการยุโรป มีดังนี้
1. มีสิทธิในการริเริ่มร่างกฎหมายและส่งผ่านร่างกฎหมายไปยังสภายุโรปและคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป
2. เป็นฝ่ายบริหารของสหภาพยุโรป ทำหน้าที่ในการนำกฎหมาย การจัดสรรงบประมาณ และนำนโยบายที่ออกโดยสภายุโรปและคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปไปปฏิบัติ
3. พิทักษ์รักษาสนธิสัญญาต่างๆ และทำงานร่วมกับศาลยุติธรรมยุโรป ในการดูแลให้กฎหมายถูกนำไปใช้อย่างเหมาะสม
4. เป็นตัวแทนของสหภาพยุโรปในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ และทำหน้าที่ในการเจรจาต่อรองข้อตกลงระหว่างประเทศ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการเจรจาในเรื่องการค้าและการร่วมมือระหว่างกัน
ประชากร อียู ประมาณ 499,021,782 คน
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
(ภาคผนวก 2)
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: อาเซียน (Association
of South East Asian Nations : ASEAN)
องค์การทางภูมิศาสตร์การเมืองและองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่
1.ไทย 2.มาเลเซีย 3.ฟิลิปปินส์ 4.อินโดนีเซีย 5.สิงคโปร์ 6.บรูไน 7.ลาว 8.กัมพูชา
9.เวียดนาม และ10.พม่า
วัตถุประสงค์ เพื่อร่วมมือกันในการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
การพัฒนาสังคม การพัฒนาวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในพื้นที่
และเป็นการเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ จากสนธิสัญญาความสามัคคีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ให้ความเคารพแก่เอกราช อำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณภาพแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ของชาติสมาชิกทั้งหมด
1. รัฐสมาชิกแต่ละรัฐมีสิทธิที่จะปลอดจากการแทรกแซงจากภายนอก การรุกรานดินแดนและการบังคับขู่เข็ญ
2. จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของรัฐสมาชิกอื่นๆ
3. ยอมรับในความแตกต่างระหว่างกัน หรือแก้ปัญหาระหว่างกันอย่างสันติ
4. ประณามหรือไม่ยอมรับการคุกคามหรือการใช้กำลัง
5. ให้ความร่วมมือระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ
ประวัติการก่อตั้ง เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 ประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมอาสา หรือ Association of South East Asia ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง มีข้อพิพาทระหว่าง อินโดนีเซียและมาเลเซีย เมื่อมีการฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างประเทศดีขึ้น จึงมีการจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" พันเอก (พิเศษ) ดร. ถนัด คอมันตร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร มีการลงนาม "ปฏิญญากรุงเทพ" ที่พระราชวังสราญรมย์ วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 จาก ปฏิญญาอาเซียน ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และสิงคโปร์ จุดประสงค์การจัดตั้งกลุ่มอาเซียนเนื่องจากความต้องความมั่นคง ความกลัวต่อการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ ความศรัทธาหรือความเชื่อถือต่อมหาอำนาจเสื่อมถอยลง ในช่วงทศวรรษ 2500 และเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
ต่อมา บรูไนดารุสซาลาม ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเป็นประเทศที่ 6 เมื่อ 8 มกราคม 2527 หลังจากประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2527 สัปดาห์ต่อมา เวียดนามได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่ 7 วันที่ 28 กรกฎาคม 2538. จากนั้นลาวและพม่า ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่ 8 และ 9 ตามลำดับ ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2540 ส่วนกัมพูชามีความประสงค์ที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกแต่ถูกเลื่อนเวลาออกไป เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองภายใน จนกระทั่งในวันที่ 30 เมษายน 2542 กัมพูชาได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่ 10 หลังจากรัฐบาลของประเทศมีความมั่นคงแล้ว
อาเซียนในยุคเริ่มต้น
ในปี พ.ศ. 2519 ประเทศปาปัวนิวกินีได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์ มีการจัดตั้งโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง
หลังการประชุมที่จังหวัดบาหลี ในปี พ.ศ. 2519 ในช่วงทศวรรษ 2520 ในปี พ.ศ. 2533
มาเลเซียได้เสนอให้มีการประชุมเศรษฐกิจเอเชียตะวันออก ประกอบด้วยกลุ่มสมาชิกอาเซียน,
จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้โดยมีเจตนาเพื่อถ่วงดุลอิทธิพลของสหรัฐอเมริกา ในกลุ่มเอเปคและภูมิภาคเอเชียโดยรวม
แต่ได้รับการคัดค้านอย่างหนักจากญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ปี พ.ศ. 2534 ไทยเสนอให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีขึ้น
ปี พ.ศ. 2535 การใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันได้รับการลงนาม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในฐานะที่เป็นฐานการผลิตที่สำคัญเพื่อป้อนสินค้าสู่ตลาดโลก
โดยอาศัยการเปิดเสรีด้านการค้าและการลดภาษีและอุปสรรคข้อกีดขวางทางการค้าที่มิใช่ภาษี
รวมทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีศุลกากรเพื่อเอื้ออำนวยต่อการค้าเสรี กฎหมายดังกล่าวเป็นโครงร่างสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน
หลังจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย ในปี พ.ศ. 2540 ข้อเสนอของมาเลเซียถูกหยิบยกขึ้นมาอีกครั้ง
ในการประชุม การริเริ่มเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มสมาคมอาเซียนและประเทศในเอเชียอีกสามประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ในการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในพื้นที่ วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ได้มีการลงนามสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มมีผลบังคับใช้เป็นการห้ามอาวุธนิวเคลียร์ทุกประเภทในพื้นที่
ปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม ได้มีการลงนามในข้อตกลงมลภาวะฟ้าหลัวระหว่างประเทศสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี พ.ศ. 2545 ในความพยายามที่จะจำกัดขอบเขตของมลภาวะฟ้าหลัวในเขตพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี พ.ศ. 2549 ได้มีการลงนามใน ปฏิญญาว่าด้วยความมั่นคงทางพลังงานเอเชียตะวันออก เครือข่ายกำกับดูแลสัตว์ป่าอาเซียนในปี พ.ศ. 2549 และ หุ้นส่วนเอเชีย-แปซิฟิกว่าด้วยการพัฒนาความสะอาดและสภาพอากาศ ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อปรากฏการณ์โลกร้อน และผลกระทบทางด้านลบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
ทฤษฎีสันติภาพประชาธิปไตย หลังจากปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่สอง (Bali Concord II) ในปี พ.ศ. 2546 มีการลงนามในความตกลงว่าด้วยทฤษฎีสันติภาพประชาธิปไตย ภายใต้ความเชื่อที่ว่ากระบวนการประชาธิปไตยจะทำให้เกิดสันติภาพและเสถียรภาพในพื้นที่ ผู้นำของแต่ละประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มหาเธร์ โมฮัมหมัดแห่งมาเลเซีย มีความรู้สึกถึงความจำเป็นในการรวมกลุ่มประเทศกันอย่างจริงจัง โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2540 สมาคมอาเซียนได้เริ่มตั้งก่อตั้งองค์กรหลายองค์กรเช่น อาเซียนบวกสามเป็นองค์กรแรกที่ถูกก่อตั้งขึ้น เพื่อกระชับความสัมพันธ์กับจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ตามด้วย การประชุมเอเชียตะวันออก ซึ่งมีอีกสามประเทศที่เข้าร่วมด้วย คือ อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ กลุ่มดังกล่าวมีแผนการที่เป็นรากฐานของประชาคมเอเชียตะวันออกในอนาคต ซึ่งร่างขึ้นตามอย่างของประชาคมยุโรปซึ่งปัจจุบันสิ้นสภาพไปแล้ว หลังจากนั้น ได้มีการจัดตั้ง กลุ่มผู้มีชื่อเสียงแห่งอาเซียนขึ้น เพื่อศึกษาผลกระทบทั้งในด้านบวกและด้านลบของนโยบายดังกล่าว รวมไปถึงความเป็นไปได้ในการร่างกฎบัตรอาเซียน
ในปี พ.ศ. 2549 กลุ่มอาเซียนได้รับสถานภาพผู้สังเกตุการณ์สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ซึ่งกลุ่มอาเซียนได้มอบสถานภาพ "หุ้นส่วนการอภิปราย" ให้แก่สหประชาชาติเป็นการตอบแทน นอกเหนือจากนั้น ในวันที่ 23 กรกฎาคมปีนั้นเอง โจเซ รามุส-ออร์ตา นายกรัฐมนตรีแห่งติมอร์ตะวันออก ได้ลงนามสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มอาเซียนอย่างเป็นทางการ และคาดว่าการได้รับสถานภาพผู้สังเกตการณ์เป็นเวลาห้าปีก่อนที่จะได้รับสถานภาพเป็นประเทศสมาชิกอย่างสมบูรณ์
ในปี พ.ศ. 2550 วาระครบรอบ 40 ปีการก่อตั้งกลุ่มอาเซียน และครบรอบ 30 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหรัฐอเมริกาในวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2550 กลุ่มอาเซียนตั้งเป้าที่จะบรรลุข้อตกลงการค้าเสรีทุกฉบับกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ภายในปี พ.ศ. 2556 และก่อตั้ง
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภายในปี พ.ศ. 2558 ในพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตรอาเซียน ซึ่งเป็นกฎข้อบังคับในการดูแลความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียน และยกระดับกลุ่มอาเซียนให้เป็นองค์การระหว่างประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และในปีเดียวกันนั้น ปฏิญญาว่าด้วยความมั่นคงทางพลังงานเอเชียตะวันออก ซึ่งลงนาม ร่วมกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นคงทางพลังงานด้วยการหาพลังงานทางเลือกเพื่อใช้ทดแทนเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์
การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ประมุขของรัฐบาลจะมาอภิปรายและแก้ไขประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ รวมถึงการจัดการประชุมร่วมกับประเทศนอกกลุ่มสมาชิก เพื่อหารือร่วมกันกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในที่ประชุมกลุ่มอาเซียน /การประชุม "อาเซียนบวกสาม"ประชุมร่วมกับประมุขของจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ โดยจัดขึ้นพร้อมกับการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน /การประชุมที่เรียกว่า "อาเซียน-เซอร์" ประชุมร่วมกับประมุขของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนอย่างเป็นทางการ: การประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออก เป็นการจัดการประชุมทั่วเอเชียซึ่งจัดขึ้นทุกปีโดยผู้นำเอเชียตะวันออก 16 ประเทศ ประชุมเกี่ยวข้องกับการค้า พลังงาน และความมั่นคง ผู้นำชาติอาเซียน 10 ประเทศร่วมกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และรัสเซีย ซึ่งมีประชากรรวมกันเกือบครึ่งหนึ่งของโลก
การประชุมเชื่อมสัมพันธไมตรี เป็นการประชุมหลายฝ่ายอย่างในภาคพื้นแปซิฟิก ในเดือนกรกฎาคม 2550 ที่ประชุมดังกล่าวประกอบด้วย ประเทศสมาชิก 27 ประเทศ; ออสเตรเลีย บังคลาเทศ แคนาดา สาธารณรัฐประชาชนจีน สหภาพยุโรป อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ มองโกเลีย นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ปาปัวนิวกินี รัสเซีย ติมอร์ตะวันออก สหรัฐอเมริกา และศรีลังกา จุดประสงค์ของที่ประชุมเพื่อการปรึกษาหารือ นำเสนอความไว้วางใจและธำรงความสัมพันธ์ทางการทูตในกลุ่มสมาชิก
ประชาคมเศรษฐกิจ ให้ความสำคัญกับความร่วมมือในภูมิภาค ประกอบด้วย "หลักสามประการ" ของความมั่นคง สังคมวัฒนธรรม และการรวมตัวทางเศรษฐกิจ คาดว่าจะประสบความสำเร็จในการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2558 จะเป็นการรวมประชากร 560 ล้านคน และมูลค่าการค้ากว่า 1.4 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐ
เขตการค้าเสรี: เป็นการลดอัตราภาษีศุลกากรเพื่อให้สินค้าภายในอาเซียนเกิดการหมุนเวียน ซึ่งกังวลต่อผลิตภัณฑ์หัตถกรรมท้องถิ่นของตน
เขตการลงทุนร่วม: เปิดให้อุตสาหกรรมทุกรูปแบบเกิดการลงทุนและลดขั้นตอนตามกำหนดการ, เป็นการกำจัดการกีดกันในกิจการเกษตรกรรม การประมง การป่าไม้ และการทำเหมืองแร่
ข้อตกลงการวางกรอบเรื่องการแลกเปลี่ยนบริการ/ตลาดการบินเดียว เป็นแนวคิดเพื่อนำไปสู่การจัดระเบียบน่านฟ้าเปิดในภูมิภาค และเป็นการเพิ่มการท่องเที่ยว การค้า การลงทุนและการบริการให้กับรัฐสมาชิกทั้งหมด
การประชุมอื่น: เช่น ศูนย์พัฒนาการประมงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การประชุมดังกล่าวมักจะมีหัวข้อการประชุมที่เฉพาะเจาะจง อย่างเช่น ความมั่นคงระหว่างประเทศ สิ่งแวดล้อม ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมประชุมจะเป็นรัฐมนตรีแทนที่จะเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาลทั้งหมด
คำขวัญ: "One Vision,
One Identity, One Community" (หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม)
เพลงสดุดี: "ดิอาเซียนเวย์"(วิถีอาเซียน)
สำนักงานใหญ่ : ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ต้า
รัฐบาล : องค์กรระหว่างประเทศระดับภูมิภาค,
เลขาธิการ: สุรินทร์ พิศสุวรรณ,
ประชากร : 575.5 ล้านคน
เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ http://www.asean.org
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word
++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
สารบัญเนื้อหา
7 I สารบัญเนื้อหา
8
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail
: midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1700 เรื่อง หนากว่า 35000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com