ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้เป็นสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๒ : Release date 26 August 2009 : Copyleft MNU.

ขบวนการอาเจะห์เสรี GAM : Gerakan Aceh Merdeka ก่อตั้งและเริ่มปฏิบัติการในปี ๑๙๗๖ ( พ.ศ. ๒๕๑๙) โดยเมื่อเติงกู ฮาซัน ดิ ติโร(Tenku Hasan Di Tiro ) นักธุรกิจชาวอาเจะห์ ผู้สำ เร็จการศึกษาจากสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศเอกราชให้จังหวัดอาเจะห์ เป็นอิสรภาพแยกจากอินโดนีเซีย เติงกู ฮาซัน ดิ ติโร เป็นผู้ที่มีเชื้อสาย จากครอบครัวสุลต่านฏอนแห่งอาเจะห์ ประกาศว่า จังหวัดอาเจะห์ได้ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอินโดนีเซียในปี ๑๙๔๙ ไม่ชอบธรรม เมื่ออาเจะห์ตกเป็นอาณานิคมของดัทซ์ ร่วมหนึ่งศตวรรษ สุลต่านแห่งอาเจะห์มีอิสรภาพ มีความแตกต่างจากอัตลักษณ์ สภาพภูมิประเทศ จากส่วนกลางโดยสิ้นเชิง และกล่าวว่าอินโดนีเซียควรสิ้นสุดการยึดครองอาเจะห์ได้แล้ว. ปี ๑๙๗๗ อินโดนีเซียทำการปราบปรามขั้นเด็ดขาด

H



26-08-2552 (1758)

กระบวนการสร้างสันติภาพในอาเจะห์ (Making Peace: Ahtisaari and Aceh)
สันติภาพในอาเจะห์: จากคลื่นยักษ์สึนามิ ถึงการเริ่มต้นเจรจาที่กรุงเฮลซิงกิ
บทความนี้ได้รับมาจากคุณ บุรฮานุดดิน อุเซ็ง
บทความนี้ได้มีการปรับปรุงบางประโยค และย่อหน้าเพื่อความสะดวกในการอ่าน
โดยกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

เมื่อตอนที่ได้รับหนังสือ(ทางออนไลน์)ชิ้นนี้ คุณบุรฮานุดดิน อุเซ็ง
ได้เขียนข้อความส่งถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ความว่า
ขออนุญาตส่ง "กระบวนการสร้างสันติภาพในอาเจะห์ เพื่อพิจารณา
เห็นว่า น่าจะเป็นข้อพิจารณากับการแก้ไขความขัดแย้งที่ภาคใต้บ้านเรา ด้วยวิธีการสันติ"

เนื่องจากหนังสือนี้ ความยาวประมาณ 124 หน้ากระดาษ A4
กอง บก.ม.เที่ยงคืนจึงขอนำเสนอบทความนี้ครั้งละหนึ่งบท โดยในบทแรกและบทที่สองคือ
"คลื่นยักษ์สึนามิ"และ"โหมโรง: การเจรจาสันติภาพ รอบแรก"พร้อมคำนำของหนังสือ
เขียนโดยเจ้าของเรื่อง กาตริ เมอริกัลป์ลิโอ คอลัมนิสต์ชาวฟินแลนด์
หนังสือเล่มนี้ เป็นการรวบรวมบทความที่สำคัญ ของผู้เขียนซึ่งเคยลงตีพิมพ์ในวารสารรายสัปดาห์
ของฟินแลนด์ ชื่อ Saumen Kualehti ในระหว่างปี 2005 - 2006 (พ.ศ. 2548 - 2549)

แม้หนังสือเล่มนี้มิได้เป็นสูตรสำเร็จ หรือวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ หรือเป็นเพียง
รายงานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับกระบวนการแสวงหาสันติภาพฉบับหนึ่ง
แต่ก็เป็นบันทึกที่ได้มาซึ่งสันติภาพ เป็นงานที่รวบรวมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
เกี่ยวกับกระบวนการสร้างสันติภาพในอาเจะห์ ที่น่าสนใจศึกษา

(บทความนี้จัดอยู่ในหมวด "การจัดการความขัดแย้ง")

สนใจส่งบทความเผยแพร่ ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน:
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๗๕๘
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๔.๕ หน้ากระดาษ A4 โดยไม่มีภาพประกอบ)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

กระบวนการสร้างสันติภาพในอาเจะห์ (Making Peace: Ahtisaari and Aceh)
สันติภาพในอาเจะห์: อำนาจเปลี่ยนแปลงในจาการ์ต้า ถึงขบวนการอาเจะห์เสรี
บทความนี้ได้รับมาจากคุณ บุรฮานุดดิน อุเซ็ง
บทความนี้ได้มีการปรับปรุงบางประโยค และย่อหน้าเพื่อความสะดวกในการอ่าน
โดยกองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

ต่อจากบทความลำดับที่ 1757

3. โหมโรงชั่วคราว

กลิ่นของความหอมของข้าวสุกและเครื่องเทศชาวเอเชียโชยคลุ้งในบ้านยูฮาร์ และลีซ่า คริสเตนเซ่น ที่เมือง ละห์ตี (Lahti) เสียงหัวเราะดังเล็ดลอดมาจากห้องนั่งเล่น เสียงดังมาถึงหน้าประตูบ้าน เย็นวันอาทิตย์วันนั้น มีลมหนาวจากหิมะบางๆ ที่ปกคลุม ขณะที่กลุ่มคณะผู้แทนเจรจาชาวอินโดนีเซียได้เดินทางกลับสู่ดินแดนอันร้อนอบอ้าวในประเทศตนเรียบร้อยแล้ว คงเหลือแต่ฟาริด ฮูเซ็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกิจการประชาชน ที่ยังไม่ได้เดินทางกลับด้วย เขาได้ใช้เวลาทั้งวันร่วมกับอดีตคู่ปรปักษ์ของเขา ขณะที่คณะผู้แทนเจรจากลุ่มนักรบจรยุทธ์ขบวนการอาเจะห์เสรี ยังคงอยู่อย่างลับๆ ในกรุงเฮลซิงกิ. ยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น อาสาเป็นไกด์สมัครเล่นนำเที่ยวแก่ผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรีทั้ง 5 คน รวมถึงฟาริด ฮูเซ็น เป็นการพาเที่ยวรอบเมืองละห์ตี ไปดูการแข่งขันกีฬากระโดดสกี ขับรถเวียนชมโบสถ์และสุสาน ระหว่างนั้นได้มีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ทัศนคติ ความหวัง ทำให้เกิดความไว้วางใจ และจริงใจกันมากขึ้น

ลีซ่า คริสเตนเซ่น กำลังสาละวนกับการเก็บจานอาหารมื้อค่ำบนโต๊ะ และบรรดาแขกผู้มาเยือนต่างกล่าวขอบคุณต่อการที่ได้รับประทานอาหารสไตล์อินโดนีเซียที่มีรสชาติแสนอร่อย ต่างจากอาหารรสชาติที่ค่อนข้างซ้ำๆ ที่คฤหาสน์โคนิกสเต็ดท์ บ้านของครอบครัวยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น เป็นสถานที่พักผ่อนเพื่อผ่อนคลายจากการประชุมเจรจาในรอบแรก นายกรัฐมนตรีของขบวนการอาเจะห์เสรีมาลิค มะห์มูด และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกิจการประชาชน อินโดนีเซีย ฟาริด ฮูเซ็น ที่เคยมีความสนิทสนม พบปะพูดจากันเสมอในประเทศอินโดนีเซีย สภาพในวันนี้ทั้งคู่ดูอ่อนล้า และสงวนท่าที่ต่อกัน

อย่างไรก็ตามในเมืองละห์ตี พวกเขามีความรู้สึกตลกขบขันกับท่าทีความเป็นปรปักษ์และห้ำหั่นต่อกัน การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งยังคงเป็นสิ่งที่ยังห่างไกลและยากที่จะเป็นไปได้จริง "ความขัดแย้งที่มีมายาวนาน ดังนั้นการแก้ไขคงไม่สามารถกระทำได้ด้วยการนั่งเจรจาเพียงครั้งเดียวหรอก " มาลิก มะห์มูด ถอนหายใจ ดูเคร่งขรึมกับคำพูดเของ ฟาริด ฮูเซ็น. เพิ่มน้ำชา กาแฟ อีกสักแก้วไหม ?" เสียงตะโกนถามของ ลีซ่า คริสเตนเซ่น จากห้องครัวด้วยภาษา บาฮาซา-อินโดนีเซีย และต่างคนขยับแก้วบนโต๊ะของแต่ละคนแทนคำตอบ

เมื่อ 20 ปีก่อนหน้านั้น ยูฮ่าร์ และ ภรรยา ลีซ่า คริสเตนเซ่น ทั้งสองเป็นนักนิรุกติศาสตร์ เดินทางมาเพื่อทำงานบนเกาะสุลาเวสี ประเทศอินโดนีเซีย ตามโครงการวิจัยด้านภาษาระหว่างประเทศ เพื่อจัดทำแผนภูมิของภาษาต่างๆ ที่ใช้บนเกาะทั้งหลายที่มีมากกว่า 100 ภาษา และทั้งสองมีความสนใจโดยเฉพาะภาษา รัมปิ (Rampi)

จากขั้นตอนซึ่งเป็นทางการนำสู่การเจรจาที่กรุงเฮลซิงกิ และจากความเป็นปรปักษ์ในอดีต สู่การนั่งร่วมโต๊ะรับประทานอาหารเย็น บ้านของยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น ในเมือง ละห์ตี ในวันนี้. อดีตในวันนั้น การที่ชาวต่างประเทศคู่หนึ่งจะหาบ้านเพื่อใช้เป็นที่พักบนเกาะสุลาเวสี (Sulawesi) เป็นเรื่องค่อนข้างยาก เมื่อมีนายแพทย์ท้องถิ่นมาหาและยื่นมือช่วยเหลือและเสนอบ้านให้ใช้เป็นที่พักซึ่งทั้ง ยูฮาร์ และลีซ่า คริสเตนเซ่น มีกำหนดการที่จะอาศัยอยู่ประมาณ 7 เดือน ด้วยโอกาสพิเศษเพื่อจะคลุกคลีซึมซับวัฒนธรรมอินโดนีเซีย เรียนรู้ภาษา ศาสนาและวิถีชีวิตอย่งแท้จริง

ยูฮ่าร์ และ ภรรยา ลีซ่า ได้เรียนรู้ เข้าใจในวิถีชีวิตชาวพื้นเมือง ความสัมพันธ์ความไว้วางใจ ซึ่งเป็นพื้นฐานของกิจกรรมทั้งปวง เมื่อความไว้เนื้อเชื่อใจความเชื่อถือเกิดขึ้น ความรู้สึกเป็นเพื่อนพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือจึงเกิดขึ้นเมื่อมีความต้องการ ภายหลังจาก 5 ปีที่ครอบครัวของยูฮ่าร์และภรรยาลีซ่า เดินทางกลับภูมิลำเนาประเทศฟินแลนด์แล้ว ยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น ก็ได้กลับมาถิ่นเดิมอีกครั้งในฐานะเป็นที่ปรึกษากิจการด้านอุตสาหกรรมชาวฟินแลนด์ในประเทศอินโดนีเซีย

ปลายปี 1990 (พ.ศ.2533) ยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น เริ่มมีความสนใจอย่างจริงจัง ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่จังหวัดอาเจะห์ "ผมมีความสนใจในปัญหาเรื่องสิทธิมนุษย์ชน และผมเองสนใจติดตามเหตุการณ์ในติมอร์ตะวันออกอย่างใกล้ชิด และเห็นว่าปัญหาอาเจะห์นั้น ผมคิดว่า บางที่ผมเองอาจทำอะไรบางอย่างที่จะมีผลหรือจูงใจในการทำอะไรบางอย่างที่มีผลต่อมูลเหตุของปัญหาได้"

ขณะนั้น ประธานาธิบดีซูฮาร์โต มีนโยบายขจัดความใฝ่ฝันเกี่ยวกับอิสรภาพของอาเจะห์ แต่วิธีการดำเนินการค่อนข้างรุนแรง เช่น หากมีข้อสงสัยว่าผู้หนึ่งผู้ใดมีส่วนสัมพันธ์หรือเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของขบวนการอาเจะห์เสรีแล้ว ผู้นั้นอาจจะมีเหตุถึงแก่ชีวิตได้ หรืออาจถูกทำร้ายร่างกาย ถูกทรมาน หรือถูกทำให้สูญหาย การสนธิกำลังปิดล้อมหมู่บ้านเพื่อตามล่ากวาดล้าง การล้อมปราบอย่างโหดร้ายเกิดขึ้นไม่เว้นวัน จังหวัดอาเจะห์ถูกควบคุมปิดล้อมตัดขาดการติดต่อจากโลกภายนอก

ที่สุลาเวสี ครอบครัวที่ยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น อาศัยอยู่มีความสนิทสนมรู้จักกับด๊อกเตอร์ฟาริด ฮูเซ็น หนึ่งในคณะรัฐมนตรี และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกิจการสังคม ในชุดรัฐบาลปี 2003 (พ.ศ. 2546) ด้วยความมุ่งมั่นเพื่ออินโดนีเซีย ฟาริด ฮูเซ็น ผู้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในบทบาทเกี่ยวกับวิกฤตกาลต่างๆ ของอินโดนีเซียตั้งแรกเริ่ม รวมทั้งปัญหาเกี่ยวกับความวุ่นวายบนเกาะโมลุกกะ ( Moluk) และเกาะโปโซ ( Poso) ซึ่ง ยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น ประสงค์จะพบกับ ฟาริด เพื่อบอกเล่าบางอย่างเกี่ยวกับสถานการณ์ในอาเจะห์ และบางทีฟาริด อาจมีความสนใจ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเจ้าบ้านรับปากว่าจะพยายามและนัดหมายเพื่อพบกัน

เดือนธันวาคม 2003 (พ.ศ.2546) ฟาริด ฮูเซ็น มีหมายนัด กับ ยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น ทั้งคู่พบกัน ณ กระทรวงกิจการสังคม ในกรุงจาการ์ต้า "ผมได้เรียนท่านให้ทราบถึงภูมิหลังของผม คุยเรื่องอื่นๆ หลายเรื่องแล้ววกกลับมาคุยเรื่องอาเจะห์ เมื่อผมได้บอกให้ท่านทราบถึงการที่ผมได้มีโอกาสพบกับหัวหน้าขบวนการอาเจะห์เสรี ที่กรุงสต๊อคโฮล์ม ฟาริด ฮูเซ็น แสดงอาการตะลึงอย่างเห็นได้ชัด และบอกให้ผมเล่าอย่างละเอียด" ยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น เล่าย้อนรำลึกถึงวันนั้น

ฟาริด เล่าย้อนถึงครั้งแรกที่พบกันว่า "ผมจึงขอให้ ยูฮ่าร์ เดินหน้าต่อไป หากมีโอกาสพบกับขบวนการอาเจะห์เสรี ก็ขอให้มีการนัดพบและผมเองจะเดินทางไปพบปะด้วยตนเอง ซึ่งเขาบอกว่าจะพยายาม และยังจำได้ที่เขาบอกว่าในประเทศฟินแลนด์ขณะนั้นมีผู้มีประสบการณ์สูง เช่น อดีตประธานาธิบดีมาร์ตติ อะห์ติซาริ และมีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้ทำหน้าที่ผู้ไกล่เกลี่ย" ฟาริด ฮูเซ็น เล่า

ก่อนหน้าเมื่อเร็วๆ นี้ ยูซุฟ กัลลา (Jusuf Kalla) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการสังคม, รองประธานาธิบดี คนปัจจุบัน ในปี 2003 (พ.ศ. 2546) ได้มอบหมายภารกิจลับให้ ฟาริด ฮูเซ็น รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ทำการติดต่อผู้นำ ขบวนการอาเจะห์เสรี ที่อาศัยอยู่ในสต๊อคโฮล์มใหม่อีกครั้งหนึ่ง "ผมยังงงอยู่ ไม่รู้ว่าชาวฟินแลนด์คนนี้รู้ได้อย่างไรว่า นั่นเป็นบทบาทและหน้าที่โดยตรงของผมเลย" ฟาริด ฮูเซ็น หัวเราะในวันนี้ที่เมืองละห์ตี

ขณะนั้นเวลาไม่เอื้ออำนวย ความพยายามในการรื้อฟื้นการเจรจาในรอบใหม่ การนัดหมายเพื่อให้มีการเจรจาได้กระทำกันถึงสองครั้งแต่ล้มเหลว แต่มีการพบปะแกนนำทั้งสองฝ่ายเกือบหนึ่งปี ฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีรู้สึกว่า ฝ่ายรัฐบาลประเมินฝ่ายตนต่ำมาก ไม่รักษาสัญญา และไม่ต้องการที่จะดำเนินการใดใดกับผู้แทนฝ่ายรัฐบาลอินโดนีเซีย "แต่เป็นเพราะที่ยูซุฟ กัลลา ผู้ที่ผมนับถือเสมือนพี่ชายคนหนึ่ง และให้ความเคารพนับถืออย่างลึกซึ้งมีความพยายามที่จะเปิดทุกประตู"

ฟาริด ฮูเซ็น จึงวางแผนการเดินทาง เพื่อพบปะทำการพูดคุยกับตัวแทนขบวนการอาเจะห์เสรีทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นที่ประเทศไทย, ออสเตรเลีย, และสหรัฐอเมริกา ตลอดจนในพื้นที่ปฏิบัติการในอาเจะห์ แต่ประตูในกรุงสต๊อคโฮล์ม ไม่ยอมแง้มเปิด "ทุกครั้งที่พบกัน ไม่ว่าที่ไหน ผมมีโอกาสพบปะกับผู้แทน ขบวนการอาเจะห์เสรีไม่ว่าจะเป็นระดับผู้นำ หรือระดับสมาชิกธรรมดา ผมตั้งใจรับฟังเขาอย่างเข้าใจและเห็นอกเห็นใจ ยิ้มแย้มและไม่โต้ตอบอะไรกับการกล่าวหา ตำหนิ หรือประณามอินโดนีเซียทุกอย่างด้วยความโกรธแค้น"

แม้ว่าฟาริด ฮูเซ็น ได้มีความพยายามและได้เดินทางถึงกรุงสต๊อคโฮล์ม เพื่อไปเยี่ยมเติงกู ฮาซัน ดิ ติโร ผู้ก่อตั้งขบวนการนักรบจรยุทธ์ฯ แต่ถูกปฎิเสธการพบปะกันมาตลอด

ภาษาเดี่ยวกันสู่ความไว้วางใจกัน
หลังมีการประกาศสงครามในฤดูใบไม้ผลิในปี 2003 (พ.ศ.2546) ยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น ได้รับข่าวสารการติดต่อจากผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรีทางอินเตอร์เน็ต และได้โทรศัพท์และขอทราบวันนัดหมาย. เมื่อมีการกำหนดแล้ว ยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น จึงเดินทางยังกรุงสต๊อคโฮล์ม พร้อมหิ้วโน๊ตบุ๊ค ติดมือมือไปด้วย

วันนี้ ณ ทีบ้านของ ยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น ผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรียังจำได้ว่า "ยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น ได้ชี้แจงรายละเอียดด้วยการเสนอผ่านเพาเวอร์พอยน์ เพื่อให้ทราบว่าเขาเป็นใคร? และในชีวิตของเขาได้ทำอะไรมาบ้างแล้ว? ทำไมเขาจึงมีความสนใจเกี่ยวกับสถานการณ์ในอาเจะห์? และเกี่ยวกับปัญหาเรื่องสิทธิมนุษย์ชน และด้วยเหตุผลอันใดที่เขาเดินทางมายังกรุงสต๊อคโฮล์มเป็นแห่งแรก"

"ยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น เดินทางมาพบพวกเราเกือบจะทันที่ทันใด หลังจากการประชุมล้มเหลวที่โตเกียว เรารู้สึกว่าเขาค่อนข้างเป็นคนเฉียบแหลมและเขาเป็นผู้ที่มีจิตใจดีงาม นับตั้งแต่เขามีความมุ่งมั่น ประสงค์ที่จะแก้ไขวิกฤติกาลนี้" มาลิค มะห์มูด กล่าว. ความจริงประการหนึ่ง การที่ ยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น เป็นผู้ที่มีความสันทัดในการใช้ภาษาบาฮาซา-อินโดนีเซียอย่างคล่องแคล่ว ทำให้การสื่อสารเป็นไปอย่างง่ายดายและสร้างสรรค์ความเชื่อถือและความไว้วางใจ. "เขามีวิธีการดำเนินการ การเอาใจใส่ในเรื่องปลีกย่อยเล็กๆ น้อยๆ ช้าแต่มีความสุขุมรอบคอบทำให้เกิดความเชื่อมั่น" มาลิค มะห์มูด กล่าวขึ้นขณะที่ผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรีคนอื่นผงกหัวแสดงอาการการยอมรับ

ด้วยบุคลิกที่สุภาพ และมีความสุขุมรอบคอบ มาลิก มะห์มูด มิได้เปลี่ยนแปลงบุคลิกของการเป็นนักรบจรยุทธ์ที่ในการปรากฏตัว ทั้งๆ ที่เขาสามารถแปลงสภาพเป็นนักวิจัยในห้องสมุด ซึ่งก็ไม่ห่างจากความเป็นจริงนัก เพราะมาลิก มะห์มูด เป็นผู้สำเร็จการศึกษาด้านภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์. มีเพียงผู้เดียวที่นั่งร่วมโต๊ะกาแฟ ที่เมืองละห์ตี ในวันนี้ เขาเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการต่อสู้ในสมรภูมิเป็นเวลามายาวนาน คือ บัคเตียร อับดุลลอฮฺ (Bakhtiar Abdullah) โฆษกขบวนการอาเจะห์เสรี

ยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น กล่าวว่า "นับตั้งแต่มีการพบปะเป็นครั้งแรกกับผู้นำกลุ่มขบวนการอาเจะห์เสรี หากได้ทราบถึงความในใจของขบวนการอาเจะห์เสรี ที่ต้องการให้มีการเจรจาแล้ว เขาก็จะสามารถดำเนินอะไรบางอย่างได้มากกว่าที่เป็นอยู่ในวันนี้"

"ผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรี มีความประหลาดใจว่าในห้วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมา ประชาชนหลายฝ่ายเรียกร้องให้มีการเจรจา แต่ก็ไม่มีความคืบหน้าใดๆ เขาไม่รู้ว่าเป็นผู้ใด? และเขาต้องการสิ่งใด? หลังจากการพบปะเพียงครั้ง หรือสองครั้ง จากนั้นก็ไม่เห็นหน้าอีกเลย" ยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น กล่าวถึงการเจรจาที่ผ่านมา. นับตั้งแต่เดือน ธันวาคม 2003 (พ.ศ. 2546 ) เป็นต้นมา ยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น เดินทางไป-มาระหว่าง กรุงจาการ์ต้า - กรุงเฮลซิงกิ และกรุงสต๊อคโฮล์ม

"ที่กรุงจาการ์ต้า ผมได้เข้าพบรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจในเรื่องดังกล่าว และหลังจากการประชุมทุกครั้งมีการส่งข่าวสาร อีเมล์โต้ตอบยังกรุงสต๊อคโฮล์มอย่างจริงจัง และเราเคยใช้ห้องประชุมเจรจาที่สนามบินในฮอลันดา มาแล้ว". มาลิค มะห์มูด ส่งยิ้มเสมือนเป็นสัญญานของการยอมรับและเห็นด้วยและกล่าวว่า "ทุกครั้งที่ยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น เขาจะมาพร้อมกับข่าวสารใหม่ๆ มาบอกพวกเราเสมอ"

การเดินทางบินไปมา มิใช่เป็นเรื่องง่าย สมาชิกขบวนการอาเจะห์เสรีบางคนไม่เข้าใจและไม่เชื่อใจถึงความมุ่งมั่นของยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น ชายคนหนึ่งที่บินไปมารอบโลกในนามสันติภาพ ด้วยการใช้จ่ายเงินทองส่วนตัว ย่อมจะต้องมีวาระซ่อนเร้นอะไรบางอย่างแน่นอน และคงมีอะไรซ่อนอยู่เบื้องหลัง การที่ยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับผู้นำที่กรุงจาการ์ต้าทำให้บางคนคิดว่า เขาคงทำงานให้กับกรุงจาการ์ต้า และประกอบกับการที่ยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น มีภูมิหลังเป็นนักธุรกิจและมีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกับการเงินการคลังด้วยแล้ว ย่อมส่งให้เกิดความเคลือบแคลงแก่สมาชิกขบวนการอาเจะห์เสรีอย่างมิต้องสงสัย

ในความรู้สึกลึกๆ ของขบวนการอาเจะห์เสรีแล้ว พวกเขามีความผิดหวังในรัฐบาลอินโดนีเซียและพวกเขาย่อมมีความรู้สึกเคลือบแคลงไม่เชื่อถือทุกอย่างที่เป็นมาจากการกำกับจากรัฐบาลกรุงจาการ์ต้า "คุณต้องตระหนักดีว่า นี่เป็นสถานการณ์จริงที่เป็นอยู่จริงในปี 2003 (พ.ศ. 2546)" มาลิค มะห์มูด สะท้อนสภาพความเป็นจริง

เมื่อยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น เดินทางมาเยือนพวกเราหลังจากความล้มเหลวของ "ข้อตกลงยุติความเป็นปรปักษ์" (The Cessation of Hostilities Framework Agreement: CoHA )(*) คณะผู้แทนเจรจาของพวกเราถูกจับเข้าคุก และจังหวัดอาเจะห์ตกอยู่ในสภาพสงครามอย่างเบ็ดเสร็จ

(*) ข้อตกลงยุติความเป็นปรปักษ์ [The Cessation of Hostilities Framework Agreement] (CoHA) ในปี 2000 (พ.ศ.2543) องค์เอกชนชื่อ ศูนย์อ๊องรี ดูน๊องค์ (The Henry Dunant Center (HDC) แห่งประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เป็นผู้ริเริ่มในการสร้างสะพานเชื่อมระหว่างขบวนการอาเจะห์เสรี และผู้นำกรุงกรุงจาการ์ต้า หลังจากซูฮาร์โต เริ่มสิ้นอำนาจ เกิดทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับสันติภาพในอาเจะห์และกองทัพอยู่ในสภาพยุ่งเหยิง เพราะการยกระดับการต่อสู้ที่ทั้งสองฝ่ายเชื่อว่า แต่ละฝ่ายไม่อาจมีชัยเหนืออีกฝ่ายอย่างเด็ดขาด

เป้าหมายของการเจรจา ได้ให้ความสำคัญที่จะให้มีการเจรจาตกลงการหยุดยิงอย่างแท้จริง และขยับขยายสู่สันติภาพอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ทั้งสองฝ่ายได้บรรลุข้อตกลงในการหยุดยิงเพื่อมนุษยธรรม (Humanitarian Pause) ในเดือนพฤษภาคม 2000 (พ.ศ. 2543) ตัวเลขของการเข่นฆ่าลดลง วิถีชีวิตประจำวันของประชาชนเริ่มมีความสะดวกสบายดีขึ้น แต่การสู้รบเมื่อปลายฤดูร้อนและกลับมีความถี่ขึ้นในระหว่างฤดูใบไม้ร่วง สถานการณ์เริ่มมีความเลวร้ายลง

นานาชาติเริ่มสร้างความกดดันและเริ่มมีมากขึ้นเป็นลำดับ อย่างไรก็ตาม การเจรจามีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนถึงต้นปี 2001 (พ.ศ.2544) ด้วยความพยายามในการถกเรื่องสิทธิมนุษยชน การฟื้นฟู พัฒนาเศรษฐกิจ และการพัฒนาประชาธิปไตยเสริมด้วยการเสนอการเจรจาหยุดยิง อย่างไรก็ตาม ฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรียังคงยืนหยัดในเป้าหมายคือการประกาศอิสรภาพแบ่งแยกออกจากอินโดนีเซีย แต่เชื่อว่ากระบวนนานาชาติ จะช่วยผลักดันให้มีการพิจารณาข้อเรียกร้อง

ในปี 2001 (พ.ศ. 2544) รัฐบาลอินโดนีเซียกล่าวหาว่า ขบวนการอาเจะห์เสรีฉวยโอกาสจากการประกาศหยุดยิงด้วยการสร้างสมอาวุธ การระดมสมาชิกเข้ามาเป็นนักรบจรยุทธ์ รัฐบาลจึงทำการปราบปรามและขยายขอบเขตการปฏิบัติการอย่างกว้างขวาง. ในเดือน ธันวาคม 2002 (พ.ศ. 2545) ทั้งๆ ที่สถานการณ์ความตึงเครียด ทั้งสองฝ่ายได้มีการลงนามในข้อตกลงในโครงสร้างการหยุดความเป็นปรปักษ์ [The Cessation of Hostilities Framework Agreement] (CoHA) แต่โครงสร้างนี้ไม่มีเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาความแตกต่างทางการเมืองเป็นประการแรก เพื่อให้สถานการณ์มีความสงบ คณะกรรมการความมั่นคงร่วมจะถูกตั้งขึ้นในระยะเริ่มต้นของการตกลง และรวมถึงคณะผู้สังเกตการณ์ระหว่างประเทศ ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะแต่งตั้งเพื่อตรวจตราดูแลข้อตกลง

ประชาคมนานาชาติ ลงนามในสัญญาให้การสนับสนุนในการฟื้นฟูอาเจะห์ และทำหน้าที่ในการตรวจตราดูแลข้อตกลง เช่น สหรัฐอเมริกา, กลุ่มประเทศอียู, ญี่ปุ่น, ออสเตรเลีย, แคนาดา, นอร์เวย์, และสวิสเซอร์แลนด์ อย่างไรก็ตาม หลังจากมีการลงนามในสัญญา CoHA คู่กรณีต่างกล่าวหาแต่ละฝ่ายว่ามีการละเมิดสัญญา ผู้นำทางทหารของอินโดนีเซียไม่พยายามปกปิดความไม่ลงรอยตลอดจนข้อตกลงในสัญญาทั้งหมด

ทั้งๆ ที่เกิดความยุ่งยากในกระบวนการสร้างสันติภาพ แต่ก็มีความคืบหน้า เขตสันติภาพถูกกำหนดขึ้นในอาเจะห์ มีการปลดอาวุธผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรี มีการพบปะกับผู้นำกองทัพและตัวเลขการเข่นฆ่าลดลง. อย่างไรก็ตาม ในฤดูใบไม้ผลิ กองทัพอินโดนีเซียได้มีการเตรียมการกวาดล้างครั้งใหม่ มีการฝึกอาวุธให้กองกำลังต่างๆ ทำให้เกิดผลกระทบต่อการเจรจาเป็นอย่างยิ่ง และการปฏิบัติการกวาดล้างในพื้นที่เป็นผลให้ผู้สังเกตการณ์ปฏิบัติงานในพื้นที่ต้องถอนออกจากพื้นที่ นานาชาติกดดันคู่กรณีให้มีการเจรจาใหม่ขึ้นอีกครั้ง ในปี 2003 (พ.ศ. 2546) จะมีการเจรจาที่โตเกียวอีกวาระหนึ่ง แต่รัฐบาลทำการจับกุมคณะผู้แทนการเจรจาของขบวนการอาเจะห์เสรี และฝ่ายรัฐบาลทำการจับกุมคณะผู้แทนการเจรจาของฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรี ระหว่างการเดินทางไปสนามบิน ฝ่ายรัฐบาลยื่นข้อเสนอให้มีการยอมมอบตัวโดยปราศจากเงื่อนไข ขบวนการอาเจะห์เสรีปฏิเสธ และการเจรจาก็ล้มเหลวลงอย่างสิ้นเชิง จากนั้นไม่นานรัฐบาลประกาศให้อาเจะห์เป็นพื้นที่ปฏิบัติการ (Daerah Operasi Militiar : DOM) หรือประกาศกฎอัยการศึกทั่วจังหวัดอาเจะห์ คณะผู้แทนเจรจาขบวนการอาเจะห์เสรีถูกคุมขัง'

ณ จุดนี้เราไม่รู้จริงๆ ว่า เราจะเปิดการเจรจากับผู้ใดได้อีก และได้มีการกล่าวถึงรัฐบาลของประธานาธิบดีเมกาวาตี ซูการ์โน และเมื่อได้มีการทำข้อตกลงกันกองทัพกลับยึดถือปฏิบัติดำเนินการตามกฎหมาย และวิธีการของทหารอย่างเคร่งครัด เราเชื่อว่ารัฐบาลของเมกาวาตี ก็ไม่ได้มีการปรามแต่อย่างใด เราคงแต่หวังรัฐบาลใหม่จะมีความแตกต่างจากรัฐบาลชุดนี้ เราจะต้องคอยดูกันต่อไป

ฟาริด มุ่งสู่กรุงสต๊อคโฮล์ม
กองทัพอินโดนีเซียเริ่มส่งกองกำลังปฏิบัติการบดขยี้นักรบจรยุทธ์ของขบวนการอาเจะห์เสรี ขณะเดียวกัน
ยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น ก็เดินเกมส์ทางการทูตอย่างเงียบๆ. ในเดือนกุมภาพันธ์ 2004 (พ.ศ. 2547) และสร้างความประหลาดใจแก่เขาเป็นอย่างยิ่ง เมื่อฟาริด ฮูเซ็น ออกเดินทางออกจากกรุงจาการ์ต้า ไปเยือนสถานที่เกิดแผ่นไหวที่เมือง บาม (Bam) ในประเทศสาธาณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน และตัดสินใจเดินทางต่อไปยังกรุงเฮลซิงกิ

"ผมได้ติดต่อทางโทรศัพท์แจ้งยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น ว่า ผมอยู่ในระหว่างเดินทางไปกรุงเฮลซิงกิ และมีความประสงค์ที่จะขอพบกับผู้แทนขบวนการอาเจะห์เสรี เราต้องการติดต่อพูดคุยกับพวกเขา เราจึงได้บินไปยังกรุงสต๊อคโฮล์มด้วยกัน และผมนั่งรอยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น ขณะที่เขาออกไปพบและพูดจากับผู้แทนขบวนการอาเจะห์เสรี"

ฟาริด ฮูเซ็น นั่งรอในโรงแรมเป็นเวลาเกือบ 4 ชั่วโมง ขณะที่ยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น พยายามโน้มน้าวหัวหน้านักรบจรยุทธ์ของขบวนการอาเจะห์เสรี เพื่อให้ไปพบและต้อนรับรัฐมนตรี แต่ก็ไร้ผล เย็นวันนั้นความมืดบนท้องฟ้าเริ่มครอบคลุมเมื่อการนัดหมายโดยยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น ต้องประสบความล้มเหลว ฟาริด ฮูเซ็น รู้สึกเสียหน้า เสียศักดิ์ศรีมาก และยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น กระทำทุกอย่างเพื่อให้เขาสงบสติอารมณ์

เพื่อเป็นการรักษาหน้า รักษาเกียรติและศักดิ์ศรีของรัฐมนตรีตลอดจนความล้มเหลวในความมุ่งมั่นที่จะสร้างความสมานฉันท์ปรองดอง ยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น จึงตัดสินใจใช้วิธีการใหม่ โดยก่อนหน้านั้นประมาณต้นเดือนมกราคม 2004 (พ.ศ.2547) เขาได้สนทนาเกี่ยวกับสถานการณ์ในอาเจะห์กับ นายทาปานี รูโอกาแนน (Tapani Ruokanen) หัวหน้ากองบรรณาธิการวารสารรายสัปดาห์ฟินแลนด์ ชื่อ "ซาอูเม็น กูวาเละห์ตี" (Saumen Kuvalehti) แล้ว เขาจึงโทรศัพท์ถึงนายทาปานี รูโอกาแนน และคาดคั้นให้ดำเนินการไม่ว่าทางใดก็ตามให้ติดต่อเข้าพบประชุมปรึกษาหารือกับอดีตประธานาธิบดี มาร์ตติ อะห์ติซาริให้ได้ภายในวันนี้ ยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่นเองเคยพบกับมาร์ตติ อะห์ติซาริ เพียงครั้งเดียว ในเวลาสั้นๆ และเขาเคยมองการณ์ไกลว่า มาร์ตติ อะห์ติซาริ ท่านผู้นี้จะเป็นผู้มีบารมี มีความน่าเชื่อถือและเป็นผู้ที่มีความเหมาะสมที่จะเป็นผู้เล่นในบทบาทของผู้ไกล่เกลี่ย ในการเจรจาแก้ไขปัญหาอาเจะห์

ทาปานี รูโอกาแนน สัญญาว่าจะพยายามด้วยความสงบเงียบ ชายผู้ผิดหวังทั้งสองจึงได้ขึ้นเครื่องบินมายังกรุงเฮลซิงกิ หลังจากที่ได้ลงจากเครื่องบินประมาณ 1 ชั่วโมง ทาปานี รูโอกาแนน ได้ขับรถนำทั้งสองตรงไปยังบ้านพักของมาร์ตติ อะห์ติซาริ ทันที. มาร์ตติ อะห์ติซาริ ยังจำได้อย่างแม่นยำว่า ตอนเย็นในวันนั้นเมื่อยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น และฟาริด ฮูเซ็น เคาะประตูบ้านพักของเขาที่ทูวโล (Toolo) กรุงเฮลซิงกิ มีชายสามคนยืนหน้าประตูทางเข้า และทั้งหมดคือคนที่เขาไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลย

พวกเขามีการสนทนาเรื่องสถานการณ์ในอาเจะห์เพียงไม่ถึงหนึ่งชั่วโมง ฟาริด ฮูเซ็น ยังคงขุ่นเคืองกับเหตุการณ์ที่เขาเพิ่งประสบ. มาร์ตติ อะห์ติซาริ เองยอมรับว่ายังมองไม่เห็นหนทางที่จะเป็นไปได้ และกล่าวว่า "ผมขอบอกว่า ขอให้ผมมีโอกาสพบกับกลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดนนี้ก่อนเท่านั้น จึงสามารถบอกเรื่องราวที่เกี่ยวข้องทั้งหมดได้"

อีวา อะห์ติซาริ (Eeva Ahtisaari) ภรรยาอดีตประธานาธิบดีฟินแลนด์ เธอเป็นผู้หนึ่งที่อยากจะเห็นสามีได้ทำงานที่น่าท้าทายอีกครั้งหนึ่ง สามีของเธอเคยทำงานในฐานะหัวหน้าองค์กรระหว่างประเทศหลายๆ องค์กรมาแล้ว และเป็นผู้ที่เดินทางรอบโลกประมาณการว่าปีละ 200 วันมาแล้ว "ฉันบอกแก่เขาว่า ประการแรก ฉันได้บอกแก่มาร์ตติ อะห์ติซาริ ว่าอย่าได้รับงานอื่นๆ อีกเป็นอันขาด งานนี้งานเดียวหนักเพียงพอแล้ว" อีวา รำลึกถึงวันนั้น

การพบกับมาร์ตติ อะห์ติซาริ วันนั้นสร้างความประทับใจ อย่างลึกซึ้งแก่ฟาริด ฮูเซ็น เป็นอย่างมาก "เพียงแค่การวิเคราะห์ และความเป็นผู้ที่รู้จักอย่างกว้างขวางในวงการระหว่างประเทศ เชื่อว่ารัฐบาลอินโดนีเซียต้องยอมรับเขาอย่างแน่นอน". ฟาริด ฮูเซ็น เดินทางกลับอินโดนีเซียอย่างสมภาคภูมิ และได้รายงานถึงการเดินทางไปปฏิบัติงานของเขาแก่ท่านรัฐมนตรี ยูซุฟ กัลลา จากนั้นรัฐบาลอินโดนีเซียจึงได้จัดทำกำหนดการนัดหมายกับมาร์ตติ อะห์ติซาริ แจ้งยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น และมั่นใจในอดีตประธานาธิบดีฟินแลนด์ว่า รัฐบาลอินโดนีเซียพร้อมที่จะเจรจากับขบวนการอาเจะห์เสรี หากมาร์ตติ อะห์ติซาริ สามารถจัดการได้

อำนาจเปลี่ยนแปลงในกรุงจาการ์ต้า
ในฤดูใบไม้ร่วง ปี 2004 (พ.ศ.2547) เว้นว่างระยะหนึ่งหลังจากที่ได้มีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกับมาร์ตติ อะห์ติซาริ ประเทศอินโดนีเซียอยู่ในระหว่างการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรงเป็นครั้งแรก ชื่อผู้ที่จะได้รับเลือกเป็นผู้นำจะเป็นผู้ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ในอาเจะห์

ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน นางเมกาวาตี ซูการ์โนปุตรี (Megawati Soekarnoputri) มีความโดดเด่นที่สุดในบรรดาผู้สมัครคนอื่นๆ. อดีตรัฐมนตรีร่วมรัฐบาลเมกาวาตี อดีตรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบด้านความมั่นคงและกิจการการเมือง และอดีตผู้บัญชาการทหารบก ดร. สุศิโล บัมบัง ยุทโธโยโน (Dr. H Susilo Bambang Yudhoyono : SBY) และ ยูซุฟ กัลลา (Jusuf Kalla) ผู้สมัครในนามรองประธานาธิบดี และได้ประกาศนโยบายในการรณรงค์หาเสียงอย่างเปิดเผยถึงนโยบายการแสวงหาสันติภาพในการแก้ไขปัญหาอาเจะห์ ทั้งที่ขณะนั้นประเทศอินโดนีเซียอยู่ในระหว่างการประกาศกฎอัยการศึก นับเป็นหนทางหนึ่งในการประกันเกียรติยศและศักดิ์ศรีของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

นับตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา หนึ่งในนโยบายรัฐบาลกลางของสุศิโล บัมบัง ยุทโธโยโน คือการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารใหม่ การแยกตำรวจจากทหาร และพัฒนาเศรษฐกิจแผนใหม่ ส่งผลทำให้สุศิโล บัมบัง ยุทโธโยโน ชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายถึงสองรอบ และเข้าพิธีทำการสาบานตนเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในเดือน ตุลาคม 2004 (พ.ศ.2547) พร้อมกับรองประธานาธิบดี ยูซุฟ กัลลา รัฐบาลใหม่มีความกังวลในการดำเนินการสร้างความคืบหน้าในกรณีปัญหาอาเจะห์เป็นอย่างยิ่ง ยูซุฟ กัลลา เป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญและประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศอินโดนีเซีย

30 ปีของความขัดแย้งทำให้ประชาชนชาวอาเจะห์อยู่อย่างลำบากแสนสาหัส ยูซุฟ กัลลา อธิบายให้ให้ฟังในบ้านพักของท่านในกรุงจาการ์ต้าถึงเหตุผลว่า ทำไมรัฐบาลใหม่มีความกระตือรือร้นในการดำเนินการแสวงหาสันติภาพในอาเจะห์ "ความขัดแย้งเป็นสาเหตุสำคัญที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาการความเจริญและเศรษฐกิจ"

แม้ว่าขบวนการอาเจะห์เสรีไม่รู้ว่าอดีตนายพลจะเป็นผู้ที่เชื่อถือได้ และพวกเขาน่าจะคิดได้ว่า อย่างน้อยที่สุด นโยบายเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างทหารยังดีกว่าสมัยอดีตประธานาธิบดี เมกาวาตี และสุศิโล บัมบัง ยุทโธโยโนเป็นบุคคลสำคัญในการผลักดันให้เกิด "ข้อตกลงยุติความเป็นปรปักษ์ (CoHA)" แม้จะเป็นผู้ที่ผลักดันให้มีการเจรจา แต่เวลายังไม่สุกงอม

สิ้นฤดูใบไม้ร่วง ผลการเลือกตั้งได้เป็นเครื่องชี้ขาดและเป็นการตัดสินใจของประชาชนแล้ว การดำเนินการเพื่อการเปิดช่องทางให้มีการเจรจา และเปิดกว้างให้ฟาริด ฮูเซ็น และยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น เริ่มสานต่ออีกครั้งหนึ่ง. ยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น เดินทางไปกรุงจาการ์ต้า เพื่อดำเนินการตามที่ผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรีต้องการทดสอบศักยภาพว่า ยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น มีความสามารถที่จะเยี่ยมเยือนตัวแทนเจรจาเพื่อสันติภาพที่ถูกคุมขังในเรือนจำที่ จาวา (Java) ซึ่งยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น ให้สัญญาและรับที่จะดำเนินการ

ด้วยเพราะความเป็นประธานาธิบดีที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน การเข้าเยือนของยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น เป็นผลทำให้ผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรีที่พำนักในกรุงสตอ๊คโฮล์ม เริ่มเปิดไฟเขียวให้มีการเปิดการเจรจากับรัฐบาลใหม่ในเวลาต่อมา. เดือนธันวาคม 2004 (พ.ศ. 2547) มาร์ตติ อะห์ติซาริ ได้เตรียมการเชิญคู่เจรจาทั้งสองฝ่ายเดินทางมายัง กรุงเฮลซิงกิ และในเวลาเพียงไม่กี่วัน รัฐบาลอินโดนีเซียตอบรับและเตรียมการเพื่อเดินทางมากรุงเฮลซิงกิในเดือนมกราคม ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนฝ่ายรัฐบาลอินโดนีเซีย โดยมีท่านฮามิด อาวาลุดดีน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน เป็นหัวหน้าคณะ แม้มิได้มีการเชิญอย่างเป็นทางการเท่านั้น ยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น แจ้งจากกรุงเฮลซิงกีในวันคริสต์มาส แต่อีกสองวันต่อมาคลื่นยักษ์ สึนามิ ถล่มอาเจะห์พังพินาศ

เรารบกันเพื่ออะไร?
เมื่อผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรีเดินทางมายังกรุงเฮลซิงกิ โดยมิได้แจ้งล่วงหน้า สองอาทิตย์ที่ผ่านมาเพื่อมาพบกับอดีตประธานาธิบดีมาร์ตติ อะห์ติซาริ แต่แล้วทุกอย่างเกิดการเปลี่ยนแปลง. จังหวัดอาเจะห์และเมืองต่างๆ พังพินาศ ประชาชนประมาณ 180,000 คนเสียชีวิต ส่วนใหญ่เป็นเด็กและสตรี ข่าวสารจากผู้นำหน่วยจรยุทธ์ขบวนการอาเจะห์เสรีในพื้นที่ ส่งไปถึงผู้นำที่กรุงสต๊อคโฮล์ม ด้วยอารมณ์ ความว่า "เรารบกันเพื่ออะไร?" ประชาคมนานาชาติกดดันทั้งสองฝ่ายทั้งรัฐบาลอินโดนีเซียและขบวนการอาเจะห์เสรี ในขณะที่ยังไม่มีสิ่งใดคืบหน้า ทั้งการวางอาวุธและการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัย

มาร์ตติ อะห์ติซาริ ได้พบปะกับ ไซนี อับดุลลอฮฺ (Zaini Abdullah) และ บัคเตียร อับดุลลอฮฺ (Bakhtiar Abdullah) ที่สำนักงาน กลางกรุงเฮลซิงกิ "อะไรทำให้ผมฉงนเช่นนี้ ก่อนหน้านี้และอะไรที่ทำให้กลุ่มคนจากกรุงสต๊อคโฮล์มเหล่านี้มีเป้าหมายที่แท้จริง และผมรู้ดีว่าพวกเขาอาศัยอยู่ในขบวนการอาเจะห์เสรีเป็นเวลานานแล้ว" มาร์ตติ อะห์ติซาริ รู้ดีว่าพวกเขาผู้ลี้ภัยอยู่ห่างไกลจากพื้นที่มาเป็นเวลายาวนานและห่างไกลจากพื้นที่ขัดแย้งจริง แน่นอนพวกเขาจึงมีความคิดสุดกู่รุนแรงกว่าผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่จริง ที่พวกเขาต้องประสบกับความเดือดร้อนทุกเมื่อเชื่อวัน "มันเป็นเรื่องไม่ยากเลยที่จะกำหนดหลักการ หรือกฎเกณฑ์ใดๆ ก็ในเมื่อคุณไม่ได้เป็นคนอยู่อาศัยในพื้นที่ เพราะชุมชนของผู้ลี้ภัยเป็นผู้ที่ทำให้กระบวนการสันติภาพล้มเหลวเพราะผู้ลี้ภัยชอบนักซิ ที่จะให้มีการสู้รบกัน"

ผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรี ฟังมาร์ตติ อะห์ติซาริ พูดอย่างตรงไปตรงมา และรู้สึกแทบช๊อค "ผมได้บอกแก่พวกเขาว่า ผมอยากจะช่วยพวกเขาแต่ไม่ใช่เรื่องที่พวกท่านใฝ่ฝัน - เอกราช ผมบอกแก่พวกเขาว่า ต้องพิจาณาดูคุณค่าในตัวมัน ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขที่สามารถเป็นไปได้จริงซึ่งประชาชนต้องอยู่ในพื้นที่ การเสนอเช่นนี้มิได้เกิดขึ้นได้บ่อยนัก และควรรีบฉวยโอกาสทองนี้ไว้"

"ในทัศนะของผม เราต้องรีบฉกฉวยโอกาสเข้าร่วมประชุมเจรจา และหลังจากนั้นผมเองก็จะได้ตัดสินใจว่าจะเดินหน้าต่อหรือไม่?" ไม่ว่าผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรีเดินทางกลับกรุงสต๊อคโฮล์ม และหรือหากพวกเขาไปเตรียมการเพื่อเดินทางกลับมายังกรุงเฮลซิงกิ เพื่อมานั่งร่วมโต๊ะเจรจาของมาร์ตติ อะห์ติซาริ หรือไม่ก็ตาม มาร์ตติ อะห์ติซาริ ได้กำหนดเส้นตายสำหรับการเชิญมาประชุมเจรจาเรียบร้อยแล้ว และเพียงไม่กี่ชั่วโมงก่อนถึงวันที่ขีดเส้นตาย ผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรีได้ประกาศที่กรุงสต๊อคโฮล์มว่า พวกเขาตอบรับคำเชิญและพร้อมที่จะเดินทางมาประชุมที่ โคนิกสเต็ดท์

ผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรียังคงนั่งอยู่ในห้องนั่งเล่นในบ้านยูฮ่าร์ คริสเตนเซ่น ที่เมืองละห์ตี และตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ผ่านมา การเจรจาในรอบแรกพวกเขาต้องการความชัดเจนถึงสถานภาพของพวกเขา มีหลายประการที่ยังไม่ชัดเจน. สิ่งหนึ่งที่ขบวนการอาเจะห์เสรีมีความปิติยินดีหลังจากการเจรจาในรอบแรกที่คฤหาสน์โคนิกสเต็ดท์ พวกเขายอมรับในความเป็นผู้ที่มีบารมี เต็มด้วยสามารถที่เพียบพร้อมด้วยทักษะ และความเป็นคนที่มีความเฉลียวฉลาดหลักแหลม "เขาเป็นผู้ที่มีบุคลิกเป็นของคนกันเอง บางที่ก็แข็ง หนักแน่น แต่มีความยุติธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย สามารถจับประเด็นและเข้าใจในประเด็นต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว สำหรับพวกเราประชาชนชาวอาเจะห์ ด้วยความตรงไปตรงมาของเขาอย่างเหมาะสม เรารู้ถึงจุดยืนของพวกเรา และพวกเราเองก็มิใช่เป็นคนประเภทแอบซุ่มมองจากพุ่มไม้" มาลิก มะห์มูด กล่าว

มีการแยกห้องกันโดยมีผู้ที่ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยเดินไปมาพร้อมกระดาษ
ความจริง มาร์ตติ อะห์ติซาริ จัดให้ทั้งสองฝ่ายได้มีการเจรจาต่อหน้าต่อตาตรงไปตรงมา ในรอบแรกและตัวต่อตัวและอยู่ในสายตาของขบวนการอาเจะห์เสรี การเจรจา"ข้อตกลงยุติความเป็นปรปักษ์"(CoHA)เป็นบทเรียนที่จะต้องให้มีการแยกห้องกันโดยมีผู้ที่ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยเดินไปมาพร้อมกระดาษ "เรามีความรู้สึกว่า ผู้แทนรัฐบาลปฏิบัติต่อเราอย่างเป็นมิตรและนี้เป็นผลที่ทำให้เราสามารถพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้"

ในการจัดลำดับเรื่องในการเจรจาที่ขบวนการอาเจะห์เสรี จัดเตรียมไว้และยึดให้เป็นไปตามนั้น
"ในทัศนะของพวกเรา ปัญหาความขัดแย้งในอาเจะห์เป็นความขัดแย้งเกี่ยวกับการใช้อาวุธ ดังนั้นลำดับเรื่องที่ต้องหยิบยกขึ้นมาเป็นเรื่องแรกคือ "การเจรจาหยุดยิง" ซึ่งเป็นความจำเป็นลำดับต้นๆ มิใช่หรือ เมื่อประชาชนเขาเกิดมีความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยแล้ว เขาก็จะคิดถึงเรื่องอนาคต ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกต้องที่ชาวอาเจะห์มีสิทธิที่จะเดินหน้าต่อไป" มาลิก กล่าว

เขาตรึกตรองแล้วว่า เป็นเรื่องที่น่าผิดหวังและเสียใจเป็นอย่างยิ่ง ขณะที่พวกเขากำลังพูดจาและมีการตกลงกันในเรื่องต่างๆ กับรัฐบาลอินโดนีเซีย แต่ในอาเจะห์สงครามยังคงดำเนินอยู่ ประชาชนถูกฆ่าตายไม่เว้นแต่ละวัน "มีประโยชน์อะไรที่เรามานั่งล้อมวงบนโต๊ะเจรจาและมีการตกลงทำสัญญากัน แต่ประชาชนในพื้นที่ถูกฆ่าตายยังคงดำรงอยู่ และแน่นอนที่สุด ความเชื่อถือของประชาชนที่มีความคาดหวังต่อพวกเราคงจะหมดไป และพวกเขาย่อมมีความสับสนในสิ่งที่เขาจะได้รับจากที่นี่"

"เราได้ประกาศการหยุดยิง และนักรบจรยุทธ์ของพวกเราก็สามารถกลับไปช่วยเหลือญาติพี่น้องผองเพื่อนของเขาในหมู่บ้าน และยิ่งกว่านั้นคณะผู้ช่วยเหลือจากต่างแดน ก็สามารถทำงานในการให้ความช่วยเหลือได้อย่างสันติสุข" แต่ฝ่ายรัฐบาลไม่ยอมรับทราบและร่วมการประกาศการหยุดยิง. "แทนที่จะร่วมกันในการช่วยเหลือประชาชน ทหารอินโดนีเซียกลับฉวยโอกาสขโมยอุปกรณ์สิ่งของบรรเทาทุกข์เสียเอง" มาลิก มะห์มูด กล่าว

มาลิก มะห์มูด ได้รับทราบจากคำบอกเล่าของผู้นำนักรบจรยุทธ์ว่า วันหนึ่งเหตุการณ์เกิดขึ้นที่นอกเมืองบันดาร์อาเจะห์ หลังจากเหตุการณ์สึนามิถล่มเพียงไม่กี่วัน ขณะที่ประชาชนจำนวนหนึ่งกำลังนั่งรออยู่ในทุ่งเพื่อให้เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์อเมริกัน นำอาหารและสิ่งของบรรเทาทุกข์มาถ่ายลง หลังจากเฮลิคอปเตอร์บินกลับออกไป ทันใดนั้นทหารก็เปิดฉากยิงปืนขึ้นฟ้าข่มขู่ประชาชนให้แตกตื่นและวิ่งหนี ทหารจึงยึดเอาสิ่งของบรรเทาทุกข์เหล่านั้นไปเป็นของตน "ผมได้รายงานยังสถานเอกอัครราชทูตยุโรปว่า "ประชาคมนานาชาติส่งอาหารเพื่อช่วยเหลือประชาชน แต่ทหารกลับยึดสิ่งของเหล่านั้นเป็นของส่วนตว"

มาลิก มะห์มูด คลายความขุ่นหมองอย่างรวดเร็วและกล่าวว่า ทั้งๆ ที่มีความสับสนมากมายเกิดขึ้น แต่การประชุมเจรจายังคงมีบรรยากาศที่ดี "ความขัดแย้งที่มีมาเป็นเวลายาวนานนั้น จะแก้ไขให้สำเร็จภายในเวลาวันสองวันนั้นย่อมเป็นไปไมได้". ขบวนการอาเจะห์เสรีคาดว่า การเจรจาสามารถเพิ่มระดับความก้าวหน้าอีกประการหนึ่งในครั้งนั้น "บัดนี้ปัญหาความยุ่งยากทั้งหมดได้มากองลงบนโต๊ะเจรจา รัฐบาลควรจะหยุดยั้งการทำสงครามได้ทันที หากเขาเพียงแค่สั่งการลงไป ก็เท่านั้น"

ขณะเดียวกันทางฝ่ายรัฐบาลก็กล่าวหาว่า ฝ่ายขบวนการอาเจะห์เสรีได้ขโมยสิ่งของบรรเทาทุกข์ และยังข่มขู่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของคณะเจ้าหน้าช่วยเหลือ. มาลิก มะห์มูด สั่นหัวและหัวเราะอย่างช่วยไม่ได้ "เป็นเรื่องที่น่าหัวเราะจริงๆ ขณะที่พวกเขามาช่วยเหลือพวกเรา พวกเราซิควรที่จะต้องประกันความปลอดภัยแก่พวกเขาทุกคน"
"เราต่างคาดหวังจะให้เป็นเช่นนี้ในอาเจะห์ตลอดไป"

เชื่อเราซิ !
ความมืดเริ่มย่างกราย ผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรีแสดงความขอบคุณแก่เจ้าภาพยูฮ่าร์ และ ลิซ่า คริสเตนเซ่น สำหรับวันแห่งการมอบรางวัล และเริ่มออกเดินทางออกจากเมืองลาห์ติ ไปยังสนามบินเพื่อเดินทางกลับกรุงสต๊อคโฮล์ม. ฟาริด ฮูเซ็น รัฐมนตรีช่วยฯ ร่วมเดินมาพร้อมเพื่อนชาวชนบทของเขาเพื่อนั่งรถยนต์ของทางการฟินแลนด์และโบกมือลา จนกระทั่งไฟท้ายรถหายลับในความมืดของหิมะ

ฟาริด ฮูเซ็น เดินกลับเข้าไปข้างในพร้อมกับการเคาะรองเท้าเพื่อสลัดหิมะที่ติดกับรองเท้าออก และเขารู้สึกยินดีที่ได้ยินและรับทราบถึงเรื่องราวประสบการณ์ของขบวนการอาเจะห์เสรีในอดีต เขาเองพยายามยึดแนวทางคำแนะนำของยูซุฟ กัลลา รองประธานาธิบดี ในการให้คำมั่นสัญญาแก่ผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรี และทำให้พวกเขามีความเชื่อมั่นในรัฐบาล แม้ไม่มากนักแต่เพียงแค่ปฏิบัติต่อกันด้วยความจริงใจ. ฟาริด รู้สึกว่าอย่างน้อยที่สุดมาลิด และไซนี เริ่มเชื่อถือเขาแล้ว "ไม่เช่นนั้น พวกเขาคงไม่เชิญผมให้มานั่งที่นั่งแถวหลังเขา เมื่อเรานั่งรถเดินทางมายังละห์ติ" เขาเล่าถึงความประทับใจ

ขบวนการอาเจะห์เสรีก็เช่นกันที่ฝักใฝ่ในการแสวงหาสันติถาพอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม ฟาริด ฮูเซ็น พิจารณาแล้วความหวังของขบวนการอาเจะห์เสรีที่ต้องการให้มีการหยุดยิง เป็นทางออกที่สามารถดำเนินการได้ในทันที "เมื่อก่อนเราเข้าใจผิดคิดว่า การที่ขบวนการอาเจะห์เสรีต้องการให้มีการหยุดยิงนั้น เป็นกลยุทธ์ที่จะเป็นช่องทางในการระดมกองกำลังนักรบจรยุทธ์ และเสริมความแข็งแกร่งมากกว่าการแสวงหาสันติภาพ"

ฟาริด ฮูเซ็น เชื่อว่า การเผชิญหน้าระหว่างทหารและขบวนการอาเจะห์เสรี เมื่อการทำงานในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยถูกรบกวน จากความพยายามที่จะลักขโมยสิ่งของบรรเทาทุกข์กับการปกป้องสิ่งของเหล่านั้น ในทัศนะของเขาแล้ว การหลีกเลี่ยงมิให้กรณีเช่นนี้เกิดขึ้นสามารถทำได้ง่าย คือ หากนักรบจรยุทธ์ขบวนการอาเจะห์เสรีเองถอยออกอยู่ห่างๆ จากพื้นที่ประสบภัยสึนามิ ก็เท่านั้นเอง

หลังจากหนึ่งปีครึ่งในความพยายามของฟาริด ฮูเซ็น วันนี้เขาได้มาพบกับผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรี เป็นครั้งแรก "เราต้องการให้มีการเจรจากับพวกเขา เพราะเราเชื่อว่าหนึ่งปีที่ผ่านมา ปฏิบัติการของนักรบจรยุทธ์ขบวนการอาเจะห์เสรีในพื้นที่นั้น ล้วนเป็นผลจากการตัดสินใจจากกรุงสต๊อคโฮล์มนั้นเอง" ฟาริด ฮูเซ็น ยืนยันว่า กระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยของอินโดนีเซียเป็นก้าวสำคัญที่จะเดินหน้าต่อไป เสรีภาพของสื่อสารมวลชน การเลือกตั้ง จะเป็นสิ่งที่กำกับสันติภาพและเสรีภาพอย่างสมบูรณ์ การปฏิบัติการป้องกันการฉ้อราษฎร์บังหลวงในอาเจะห์ของผู้นำระดับสูงพร้อมกับการลงโทษเป็นสิ่งสำคัญ

เพื่อให้ได้รับความเชื่อมั่น ฟาริด ฮูเซ็น แจ้งในที่ประชุมให้ขบวนการอาเจะห์เสรี ศึกษาและวิเคราะห์ว่า สิ่งใดที่รัฐบาลใหม่ได้ให้คำมั่นสัญญาและได้ดำเนินการแล้วนั้น เป็นอย่างไร ? "นี่คือรัฐบาลพลเรือนในอินโดนีเซีย และเป็นรัฐบาลแรกที่ประธานาธิบดีได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง และนี่คือความสำคัญที่ยิ่งใหญ่ ดังนั้นคำสั่งและการสั่งการใดๆ เพื่อให้กองทัพดำเนินการแล้ว กองทัพต้องดำเนินการและปฏิบัติตาม หากไม่ปฏิบัติก็อาจถูกดำเนินการโดยใช้มาตรการการบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย ในสถานการณ์เช่นไม่มีผู้ใดที่มีอำนาจสูงสุด น่าเชื่อถือที่สุด นอกจากท่านประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดีเท่านั้นเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการวินิจฉัยสั่งการ"

นับตั้งแต่เหตุการณ์สึนามิเกิดขึ้น ฟาริด ฮูเซ็น เดินทางไปเยือนอาเจะห์บ่อยขึ้น ในฐานะผู้รับผิดชอบของรัฐบาลในการประสานงานกับหน่วยแพทย์ซึ่งไปปฏิบัติการในพื้นที่. ความจริงแล้วเขตปกครองตนเองพิเศษในอาเจะห์ยังไม่ได้รับสิทธิในการปกครองตนเองอย่างสมบูรณ์ และยังคงเป็นจังหวัดที่มีความยากจนกว่าพื้นที่อื่นๆ ในอินโดนีเซีย ตามความเห็นของเขาเชื่อว่า เป็นเพราะความขัดแย้งนั่นเอง "เมื่อความขัดแย้งยุติลง ที่ดินที่สงวนก็จะตกไปเป็นของอาเจะห์เป็นผู้ใช้ประโยชน์ โรงเรียน, สถานีอนามัย, โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ จะถูกยกระดับให้เท่าเทียมกับจังหวัดอื่นๆ"

ก่อนสิ้นสุดการให้สัมภาษณ์ ฟาริด ฮูเซ็น ได้รับโทรศัพท์จากรองประธานาธิบดี ยูซุฟ กัลลา จากกรุงจาการ์ต้าเพื่อต้องการทราบความคืบหน้าการดำเนินการในวันนั้น. เย็นวันนั้น อากาศเริ่มมืดลง ผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรีได้เดินทางกลับไปยังกรุงสต๊อคโฮล์มเรียบร้อยแล้ว และเป็นช่วงเดียวกันที่ ฟาริด ได้เสร็จการพูดคุยทางโทรศัพท์กับ ยูซุฟ กัลลา. ส่วนลิซ่า และยูฮาร์ คริสเตนเซ่น นั่งรอในชุดเสื้อคลุมยาวในห้องโถง เพื่อจะออกไปดูหนังด้วยกัน

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1700 เรื่อง หนากว่า 35000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com