ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้เป็นสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๒ : Release date 18 July 2009 : Copyleft MNU.

บทบาทของญี่ปุ่นที่มีต่อ ADB และ GMS เป็นประเด็นที่น่าสนใจ เนื่องจากญี่ปุ่นในฐานะประเทศที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจสูงอันดับต้นของโลก และได้ให้ความช่วยเหลือลุ่มน้ำโขง คำถามที่เกิดขึ้นก็คือ การที่หนึ่งในรัฐมหาอำนาจทางเศรษฐกิจได้ให้ความสนใจพื้นที่หนึ่ง นั้น มีเป้าหมายแอบแฝงใดหรือไม่? การที่ ADB ซึ่งมีญี่ปุ่นเป็นผู้ให้การสนับสนุนหลัก ทำให้ ADB กลายเป็นเสมือนเครื่องมือในการดำ เนินนโยบายเศรษฐกิจให้แก่ญี่ปุ่นหรือไม่ และมีเป้าหมายอย่างไร อีกทั้งโครงการ GMS ที่ผ่านออกมาจาก ADB ได้ส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของรัฐผู้รับนโยบายเช่นไร? เพราะญี่ปุ่นได้เข้าไปมีบทบาทในการกำหนดนโยบายของ ADB ค่อนข้างมาก สาเหตุที่ทำให้ญี่ปุ่นมีบทบาทใน ADB เกิดจากการที่ญี่ปุ่นเป็นผู้บริจาคเงินสูง

H



18-07-2552 (1746)
(ต่อเนื่องจากบทความลำดับที่ 1745)
ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ: เมื่อทุนญี่ปุ่นเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การพัฒนาลุ่มน้ำโขง: ผลประโยชน์ของญี่ปุ่นและการปรับตัวของรัฐไทย
นรุตม์ เจริญศรี: เขียน
นิสิตปริญญาโท สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทความชิ้นนี้ได้รับมาจากผู้เขียน เดิมชื่อ...
"วาทกรรมการพัฒนาและบทบาททุนญี่ปุ่นในการพัฒนาลุ่มน้ำโขง: บทศึกษารัฐไทยในกระแสโลกาภิวัตน์"
ซึ่งเป็นบทความนำเสนอ ณ การประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ ๘ (พ.ศ.๒๕๕๐)
กรุงเทพฯ, วันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๕๐ เป็นเรื่องเกี่ยวกับแรงกดดันจากตะวันตกที่มีผลต่อเศรษฐกิจของญี่ปุ่น
ทำให้ญี่ปุ่นต้องย้ายฐานการผลิตของตนเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในเขตลุ่มน้ำโขง
เหตุนี้ญี่ปุ่นจึงจำเป็นต้องสร้างโครงสร้างหลักหลายประการเพื่อเอื้อประโยชน์แก่ทุนญี่ปุ่น
สำหรับบทความต้นฉบับนี้ค่อนข้างยาว จึงนำเสนอเป็นสองตอนคือ บทความลำดับที่ ๑๗๔๕ - ๑๗๔๖

Pax Nipponica กับบทบาทของญี่ปุ่นที่มีต่อการพัฒนาลุ่มน้ำโขง ประกอบด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้
(หัวข้อสำคัญต่อไปนี้ รวบรวมจากบทความลำดับที่ ๑๗๔๕ -๑๗๔๖)
- ความนำเกี่ยวกับโลกาภิวัตน์
- ประเทศไทย กับการเข้าร่วมในโครงการ GMS ปี ค.ศ.๑๙๙๒
- Pax Nipponica กับบทบาทของญี่ปุ่นที่มีต่อการพัฒนาลุ่มน้ำโขง
- Pax Nipponica และวาทกรรมเรื่องการพัฒนาจากญี่ปุ่น
- ปัจจัย ๓ ประการที่ทำให้ญี่ปุ่นได้เปรียบดุลการค้าสหรัฐฯ
- ข้อตกลงพลาซา ส่งผลให้ญี่ปุ่นมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
- ADB กับการสร้าง"วาทกรรมว่าด้วยเรื่องการพัฒนา"
- ADB กับโครงการพัฒนาลุ่มน้ำโขง (GMS) ๑๙๙๒
- วาทกรรมการพัฒนาลุ่มน้ำโขง (ดูบทความลำดับที่ ๑๗๔๖)
- รัฐไทยเข้าร่วม ADB ในปี ค.ศ.1966
- MOFA, JBIC และ JODC: จีน ไทย และเวียดนาม สามพื้นที่ที่น่าลงทุนสูง
- Soft Infrastructure:
- EXIM Bank กับ JBIC ในการสนับสนุนการลงทุน
(บทความนี้จัดอยู่ในหมวด "ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจร่วมสมัย")

สนใจส่งบทความเผยแพร่ ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน:
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๗๔๖
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๗ หน้ากระดาษ A4 โดยไม่มีภาพประกอบ)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

(ต่อเนื่องจากบทความลำดับที่ 1745)
ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ: เมื่อทุนญี่ปุ่นเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การพัฒนาลุ่มน้ำโขง: ผลประโยชน์ของญี่ปุ่นและการปรับตัวของรัฐไทย
นรุตม์ เจริญศรี: เขียน
นิสิตปริญญาโท สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

วาทกรรมการพัฒนาลุ่มน้ำโขง
ดังที่ได้แสดงให้เห็นถึงการเข้ามามีบทบาทของวาทกรรมการพัฒนา ที่ส่งผลต่อแนวทางการวางแผนพัฒนาลุ่มน้ำโขง คำถามที่สำคัญของการเข้ามาของวาทกรรม คือ แนวคิดเรื่องการพัฒนาที่เข้ามานั้น ส่งผลต่อแนวนโยบายการพัฒนารัฐอย่างไร บทความนี้ได้หยิบเอารัฐไทยในฐานะที่เป็นสมาชิกของ GMS ขึ้นมาศึกษา โดยในส่วนนี้ จะศึกษาการปรับตัวของรัฐไทย ควรคู่ไปกับศึกษาผลประโยชน์ของญี่ปุ่น

รัฐไทยเข้าร่วม ADB ในปี ค.ศ.1966
รัฐไทยเข้าร่วม ADB ในปี ค.ศ.1966 มีหุ้นส่วนอยู่ใน ADB เป็นจำนวนร้อยละ 1.38 ซึ่งนับว่าเป็นผู้ถือหุ้นอันดับที่ 17 ของ ADB ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศกลุ่ม "C" กล่าวคือ เป็น "ประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง (Upper Middle Income Country) มีความสามารถในการใช้คืนหนี้ระดับสูง (High Debt Repayment Capacity) และเป็นแหล่งเงินกู้สามัญเท่านั้น (Ordinary Capital Resources)" โดยรัฐไทยได้รับงบประมาณจาก ADB ในส่วนการให้กู้ยืม เป็นความช่วยเหลือด้านพลังงานมากที่สุด โดยคิดเป็นร้อยละ 31 ในขณะที่ภาคการคมนาคมขนส่งได้ร้อยละ 23 ด้านการเงินร้อยละ 12 และด้านการจัดการน้ำ อนามัย และของเสีย อีกร้อยละ 10 (1)

(1) Asian Development Bank, "Thailand and ADB", <http://www.adb.org/TRM/about-thailand.asp>


รัฐไทยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในโครงการ GMS เมื่อปี ค.ศ.1992 ไทยได้มีบทบาทในการสนับสนุนโครงการ GMS อย่างมาก และโครงการหนึ่งซึ่งไทยได้เข้าสนับสนุนและมีส่วนร่วมอย่างมาก คือ การร่วมก่อสร้างเส้นทางการเชื่อมต่อเส้นทางการคมนาคมในภายในภูมิภาค โดยก่อสร้างถนนเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นสมาชิกในโครงการ GMS

หลังจาก GMS ได้เสนอแนวคิดเรื่องการเชื่อมโยงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เข้าเป็นตลาดระดับภูมิภาค และสร้างความสัมพันธ์ระบบเศรษฐกิจ ADB ได้เสนอวิธีการเชื่อมโยงไว้โดย การเชื่อมโยงทางถนน ระหว่าง เชียงราย-คุนหมิง โดยผ่านพม่า เส้นทางเชียงราย-คุนหมิงผ่านลาว และโครงการปรับปรุงการคมนาคมทางน้ำของแม่น้ำโขง โครงการเปิดเส้นทางการบินในภูมิภาค เช่น ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยไปยังคุนหมิง และเส้นทางเชียงใหม่-มัณฑะเลย์

แม้ว่าโครงการการก่อสร้างทางเชื่อมระหว่างประเทศต่างๆ จะมีผลดีต่อประเทศที่ได้รับโครงการเข้าไป เพราะนอกจากจะเกิดเส้นทางการเชื่อมต่อ ก่อให้เกิดความเจริญตลอดเส้นทางที่การก่อสร้างผ่าน และก่อให้เกิดการขนส่งเชื่อมโยงระหว่างกันภายในภูมิภาคโดยสะดวก อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าด้วยศักยภาพทางเศรษฐกิจของรัฐสมาชิกนั้น ยังไม่มีความสามารถมากพอที่ก่อสร้างถนนเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงได้ เพราะประเทศต่างๆ ยังถูกจัดว่ามีรายได้ที่ต่ำ และต้องการความช่วยเหลือในการลงทุนการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องกู้ยืมเงิน หรือได้รับความช่วยเหลือจาก ADB หรือจากประเทศสมาชิกด้วยกันเอง

หากจะพิจารณาโครงการการก่อสร้างถนนของ GMS ในลักษณะของโครงการที่ ADB ได้ให้ความช่วยเหลือในการก่อสร้าง และศึกษาถึงเป้าหมายและผลประโยชน์ของโครงการแล้ว เราจะพบว่าโครงการก่อสร้างถนนเป็นโครงการที่กู้ยืมเงินจาก ADB โดยคิดเป็นจำนวนเงินโดยภาพรวม ดังนี้

ตรารางที่ 1: ตารางแสดงการเปรียบเทียบการให้เงินกู้ยืมแก่ GMS เพื่อพัฒนาการคมนาคมขนส่ง
เปรียบเทียบระหว่าง ADB และรัฐบาลใน GMS ช่วง ค.ศ.1992-2006 (หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ที่มา: ดัดแปลงจาก Midterm-Review of the Greater Mekong Subregion Strategy Framework 2002-2012 (2)

(2) Asian Development Bank, "Midterm-Review of the Greater Mekong Subregion Strategy Framework 2002-2012", <http://www.adb.org/documents/reports/mid-term-review-gms/MidTerm-Review-GMS-4June2007.pdf>

จากตารางที่ 1 แสดงถึงการให้กู้ยืมเงินของ ADB เพื่อพัฒนา GMS พบว่า การให้ความช่วยเหลือในการกู้ยืมแก่ GMS ของ ADB เมื่อเปรียบเทียบกับการให้กู้ยืมจากประเทศใน GMS เองแล้ว พบว่า ADB มีสัดส่วนการให้กู้ยืมในปริมาณที่มีจำนวนมาก และมีจำนวนมากจนเกือบจะเทียบเท่ากับที่ประเทศใน GMS ทั้งหมดให้กู้ยืม อย่างไรก็ดี การพิจารณาความช่วยเหลือจาก ADB ผ่านการให้กู้ยืมเพื่อโครงการอย่างเดียวคงมิได้ หากต้องพิจารณาการให้ความช่วยเหลือเชิงวิชาการ อีกประการหนึ่ง จากการวิจัยพบว่าในช่วงระยะ ค.ศ.1992-2006, ADB ได้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการโดยมีมูลค่า ดังนี้

ตรารางที่ 2: ตารางแสดงการให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ GMS โดย ADB ระหว่าง ค.ศ.1992-2006

ที่มา: ดัดแปลงจาก Midterm-Review of the Greater Mekong Subregion Strategy Framework 2002-2012 (5)

(3) การช่วยเหลือด้านวิชาการเพื่อเตรียมความพร้อมโครงการ (Project Preparatory Technical Assistance - PPTA).
(4) การให้คำปรึกษาเชิงวิชาการ (Advisory Technical Assistance - ADTA).
(5) Ibid.

จากตารางที่ 2 แสดงให้เห็นถึงการให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการแก่โครงการของ GMS ซึ่งพบว่า นอกเหนือไปจากการให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่งแล้ว ADB ยังให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการเช่นเดียวกัน เช่น การให้คำแนะนำสนับสนุนโครงการของ ADB โดยอาจเป็นเรื่องของปัญหาสิ่งแวดล้อม การเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน หรือการเพิ่มข้อเสนอแนะในเรื่องการจัดการความยากจนในพื้นที่โครงการ ซึ่งได้ดำเนินการควบคู่กันไป

คำถามที่เกิดขึ้นจากการก่อสร้างถนนเชื่อมต่อ คือ รัฐไทยได้ปรับตัวอย่างไรต่อโครงการดังกล่าวที่เกิดขึ้น จากการศึกษาพบว่า ในช่วงการก่อตั้งโครงการ GMS และได้มีการสนับสนุนให้เกิดการก่อสร้างถนนเชื่อมต่อนั้น เป็นช่วงที่ไทยอยู่ในช่วงรอยต่อระหว่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 และ 7 ซึ่งส่งผลให้เกิดการระบุลงไปในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535-2539) เพื่อรองรับโครงการที่จะเกิดขึ้น โดยการวางแผนพัฒนาพื้นที่บริเวณตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อของถนนระหว่างภูมิภาคไว้ดังนี้

1. "ส่งเสริมการพัฒนาเขตนิคมอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในภูมิภาค และวัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเป็นฐานเศรษฐกิจหลักของตลาดนานาชาติ ผ่านประตูเศรษฐกิจใหม่ของประเทศที่มีพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลวันออกได้โดยตรง

2. สนับสนุนการค้าและบริการของภูมิภาค โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวแหล่งประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม ที่จะเชื่อมโยงกับแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกในประเทศใกล้เคียง เช่น เขาพระวิหารและนครวัด และพัฒนาศูนย์กลางการค้าและบริการสนับสนุนการเปิดประเทศของกลุ่มอินโดจีน รวมตลอดทั้งเป็นศูนย์ประสานความช่วยเหลือทางด้านการเงิน วิชาการและเทคโนโลยีจากนานาชาติ เพื่อฟื้นฟูบูรณะกลุ่มประเทศอินโดจีน

3. สนับสนุนการพัฒนาเมืองศูนย์กลางความเจริญของภูมิภาค คือ

- พัฒนา "ขอนแก่น" ให้เป็นศูนย์กลางการบริการ การค้า การคมนาคมขนส่ง และการศึกษาของภูมิภาค ที่สนับสนุนการประสานความช่วยเหลือให้กับกลุ่มประเทศอินโดจีน

- พัฒนา "อุดรธานี" ให้เป็นศูนย์กลางการค้าขายและบริการที่ติดต่อกับกลุ่มประเทศอินโดจีน และกระจายสินค้าของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยให้เชื่อมโยงกับสกลนครและจุดค้าขายชายแดนที่ท่าเสด็จ (จังหวัดหนองคาย) และท่าข้าม (จังหวัดมุกดาหาร)

- พัฒนา "นครราชสีมา" ให้เป็นศูนย์อุตสาหกรรมของภูมิภาคที่เชื่อมโยงกับพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก และเมืองศูนย์กลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง คือ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด และสุรินทร์ ตลอดทั้งจุดค้าขายชายแดนที่ช่องเม็ก (จังหวัดอุบลราชธานี)" (6)

(6) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ส่วนที่ 3 แนวทางการกระจายรายได้และการกระจายการพัฒนาสู่ภูมิภาคและชนบท, "บทที่ 4 การกระจายการพัฒนาเมืองและบริการพื้นฐานไปสู่ส่วนภูมิภาค", แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7, <http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=89>

จะเห็นได้ว่าโครงการดังกล่าวส่งผลให้เกิดการปรับตัวของรัฐไทย ในฐานะการวางแผนเพื่อรองรับโครงการเชื่อมต่อถนนภายใน GMS โดยได้ระบุลงในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 ดังที่แสดงไว้ คือ มีการระบุให้เขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะในจังหวัด "อุดรธานี" ให้กลายเป็นเส้นทางการเชื่อมต่อระหว่างการขนส่งของอินโดจีน และให้มุกดาหารเป็นชุดเชื่อมต่อ อีกทั้งวางบทบาทให้พื้นที่ของตะวันออกเฉียงเหนือกลายเป็นเส้นทางที่จะขนส่งสินค้าผ่านจากอินโดนจีนลงมายังทะเลทางฝั่งตะวันออก หรือ อ่าวไทย เพื่อเกิดการเชื่อมโยง โดยพบว่า นอกจากไทยได้มีการวางภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้มีการเชื่อมโยงถนนลงมายังภาคตะวันออกของไทยแล้ว ไทยยังได้วางพื้นที่ฝั่งอ่าวไทยให้กลายเป็นพื้นที่พัฒนา เขตอุตสาหกรรมใหม่ โดยได้มีการกำหนดให้

"เร่งขยายโครงข่ายพื้นฐานหลัก โดยเฉพาะระบบถนน รถไฟ สื่อสารเพื่อเชื่อมโยงพื้นที่เป้าหมายบริเวณแหลมฉบัง มาบตาพุด ตลอดจนชุมชนเมืองศูนย์กลางความเจริญของพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกเข้ากับโครงข่ายของประเทศให้เป็นระบบ เพื่อให้พื้นที่ตอนในของประเทศสามารถใช้ประโยชน์จากฐานเศรษฐกิจใหม่นี้ได้อย่างเต็มที่" (7)

(7) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ส่วน 2 แนวทางการรักษาอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพ, "บทที่ 7 การพัฒนาภาคมหานครและเขตเศรษฐกิจใหม่", แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7, <http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=89>

อย่างไรก็ดี จะเห็นถึงความไม่ต่อเนื่องของโครงการที่ปรากฏในเอกสาร เพราะจากที่ได้กล่าวมาข้างต้น ถนนเชื่อมภูมิภาคจะลากยาวจากพม่าไปยังเวียดนาม แต่ในเอกสารโครงการตั้งต้นของโครงการเชื่อมต่อถนนนั้น ไม่ได้มีการวางแผนเพื่อเชื่อมโยงไปยังพม่า หากแต่จะเป็นการเชื่อมระหว่างจีนตอนใต้ ลาว เวียดนาม และไทยเท่านั้น ซึ่งจะเป็นการขนส่งที่ผ่านมาจากจีน หรือเวียดนาม เข้ามาสู่ทะเลทางอ่าวไทย เพื่อลดระยะเวลาการขนส่งสินค้า จนไทยได้ปรับตัวเองเชื่อมถนนจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เชื่อมต่อให้ลากลงมาสู่อ่าวไทย และวางแผนการการก่อสร้างเพื่อรองรับเครือข่ายการเชื่อมโยงดังกล่าว และหวังว่าจะกลายเป็นพื้นที่รองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ดังนี้...

"พื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก เป็นฐานอุตสาหกรรมหลักและประตูเศรษฐกิจใหม่ของประเทศ ที่จะช่วยรองรับการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม และลดความแออัดของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ประกอบด้วย

(1) พื้นที่เป้าหมายแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ซึ่งจะเป็นเมืองท่าสมัยใหม่ของประเทศ มีท่าเรือพาณิชย์ระดับมาตรฐานสากล สำหรับขนส่งสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ เขตนิคมอุตสาหกรรมทั่วไป และเขตอุตสาหกรรมส่งออก

(2) พื้นที่เป้าหมายมาบตาพุด จังหวัดระยอง ซึ่งจะเป็นเมืองอุตสาหกรรมสมัยใหม่ของประเทศ มีท่าเรืออุตสาหกรรมสำหรับขนถ่ายวัตถุดิบสินค้าทั่วไป และสินค้าของเหลวทางเคมี พร้อมกับมีเขตนิคมอุตสาหกรรมสำหรับรองรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น โรงงานปิโตรเคมี และโรงกลั่นน้ำมัน (เป็นต้น)

(3) ชุมชนเมืองศูนย์กลางความเจริญของภาค ได้แก่ ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา" (8)
(8) เพิ่งอ้าง.

การเชื่อมโยงให้มีการเชื่อมต่อถนนไปสู่พม่าถือเป็นส่วนขยายที่มาต่อเติมเข้าไป เพื่อเชื่อมให้การขนส่งสามารถเดินทางจากเวียดนามตัดผ่านเข้าลาว มายังไทย และออกไปสู่พม่าที่ทะเลอันดามัน หรือ่าวเบงกอล (Bay of Bengal) ได้โดยสะดวก ไม่ต้องย้อนลงมาที่อ่าวไทยแล้วขนส่งผ่านช่องแคบมะละกา (Malacca Straits) อีกรอบ (9)

(9) ความเสี่ยงในการขนส่งสินค้าผ่านช่องแคบมะละกาเป็นประเด็นความมั่นคงหนึ่งในภูมิภาค เนื่องจากเป็นช่องแคบที่เกิดเหตุการณ์โจรสลัดปล้นสะดมเรือบรรทุกสินค้าเป็นจำนวนมาก ดังนั้น การขนส่งที่ไม่ผ่านช่องแคบดูเหมือนว่าจะเป็นหนึ่งในวิธีการที่รวดเร็วกว่า และปลอดภัยกว่า พิจารณาประเด็นความมั่นคงในช่องแคบมะละกา ดู กิตติมา จันทร์ตรี, ช่องแคบมะละกา: มาเลเซีย-อินโดนีเซีย, (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์), 2541.

การที่ญี่ปุ่นได้เข้าไปมีบทบาทเพื่อสนับสนุนให้เกิดการก่อสร้างถนนนั้น ได้ก่อเกิดผลประโยชน์ต่อญี่ปุ่นในประเด็นเรื่อง "เครือข่ายการผลิต" (Production Network) กล่าวคือ การที่มีการวางแผนเพื่อให้เกิดการก่อสร้างทางเชื่อมโยงนั้น ก่อให้เกิดโครงการที่มีความจำเป็นที่ต้องการใช้งบประมาณในการก่อสร้าง ความจำเป็นของนักวิชาการ oydวิทยาศาสตร์ และนักเทคโนโลยี เพื่อสร้างเส้นทางคมนามคมขนาดใหญ่และยาวนี้ให้มีความแข็งแรง นอกจากนี้จะยังเป็นการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาพื้นที่และสาธารณูปโภคพื้นฐานซึ่งเหมาะจะให้บริษัทของญี่ปุ่นย้ายฐานการผลิตมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ญี่ปุ่นได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการให้การสนับสนุน เช่น นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น คิอิจิ มายาซาวะ (Kiichi Miyazawa) เดินทางเยือนไทยในเดือน มกราคม ค.ศ.1993 เพื่อเสนอให้มีการจัดตั้ง "Forum for Comprehensive Development of Indochina" นอกจากนี้ญี่ปุ่นยังเป็นผู้บริจาคเงินรายใหญ่เพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว (10) โดยญี่ปุ่นมองว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นโอกาสแก่การลงทุน กระนั้นการเข้าไปลงทุนโดยตรงอาจจะไม่ก่อให้เกิดผลดีแก่ญี่ปุ่นเท่ากับการที่ญี่ปุ่นให้เงินกู้ยืมไปพัฒนา (11) การที่ญี่ปุ่นมีแนวนโยบายเรื่องเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือ GMS และมองว่า GMS เป็นโอกาสที่ดีแก่การลงทุนให้ญี่ปุ่นในพื้นที่ดังกล่าว เป็นการแสดงถึงมุมมองของญี่ปุ่นต่อการลงทุน

(10) Hisane Masaki, "China, Japan tug-of-war over Indochina", 5 October 2005, <http://www.atimes.com/atimes/Japan/GJ05Dh03.html>

(11) Hisane Masaki, "Japan revs up its Indochina Diplomacy", 22 May 2007,
http://www.atimes.com/atimes/Japan/IE22Dh01.html

อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นตระหนักว่า การที่จะเข้าไปลงทุนจะไม่ส่งผลดีต่อญี่ปุ่นเท่ากับการให้ความช่วยเหลือ ต่อประเด็นดังกล่าวมีความทับซ้อนกับเรื่องที่ญี่ปุ่นพยายามแสดงบทบาทเป็นผู้นำของเอเชีย ซึ่งรัฐต่างๆ ในเอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พยายามที่จะก่อตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก (East Asian Community - EAC) (12) เพราะการเข้าไปลงทุนด้วยตนเองอาจจะเกิดผลเสียต่อญี่ปุ่นได้ ทั้งในแง่ของประเทศที่เข้าไปเอาเปรียบ เข้าไปเอาทรัพยากร หรือเข้ามาแสวงหาประโยชน์ นอกจากนี้หากเกิดความผิดพลาดในการดำเนินงานจะส่งผลร้ายต่อภาพลักษณ์ระหว่างประเทศ ดังนั้นการให้เงินกู้ยืมกับประเทศในพื้นที่ดำเนินการด้วยตนเองนอกจากญี่ปุ่นจะไม่มีความเสี่ยงในการสูญเสียภาพลักษณ์แล้ว ยังเป็นการประหยัดงบประมาณมากกว่า โดยญี่ปุ่นยังคงได้รับประโยชน์จากโครงการที่เกิดขึ้นดังเดิม

(12) "ประชาคมเอเชียตะวันออก" (EAC) เป็นประเด็นของเอเชียตะวันออกที่สมาชิกพยายามที่จะก่อตั้งความร่วมมือในกลุ่ม ประกอบไปด้วยรัฐจากอาเซียน และรัฐจากเอเชียตะวันออก คือ ญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้ กระนั้นความพยายามในการก่อตั้งประชาคมเอเชียตะวันออก ได้กลายสภาพเป็นเสมือนเวทีของการแสดงบทบาทนำระหว่างจีนและญี่ปุ่นมากกว่า เพราะทั้งสองประเทศต่างช่วงชิงโอกาสและเวทีในการแสดงความเป็นผู้นำ เพื่อผลประโยชน์และเกียรติยศ นอกจากนี้ยังมีประเด็นมุมมองซึ่งสองประเทศมีแตกต่างกันเรื่องสมาชิกที่จะเข้ามาร่วม เนื่องด้วยในการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 1 ญี่ปุ่นมีความคิดเห็นว่าควรรวม อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์เข้ามาด้วย ในขณะที่จีนมีมุมมองว่าไม่ควรนำเข้ามา อย่างไรก็ตามในการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 2 จีนได้เปลี่ยนท่าที ไม่กล่าวถึงประเด็นเรื่องสมาชิกที่ควรจะได้เข้าร่วม เพราะจีนต้องการให้อาเซียนเป็นผู้นำกลุ่มมากกว่า ทำให้เกิดประเด็นที่น่าขบคิดเกี่ยวกับท่าทีการวางตัวของจีนที่เปลี่ยนไป ว่าต้องการแข่งขันหรือว่ารอมชอมกับอาเซียนเพื่อเป็นมิตรที่ใกล้ชิดให้มากกว่าญี่ปุ่นหรือไม่ เนื่องจากทั้งสองต่างตระหนักถึงผลประโยชน์ที่จะได้จากความใกล้ชิดอาเซียน

MOFA, JBIC และ JODC: จีน ไทย และเวียดนาม สามพื้นที่ที่น่าลงทุนสูง
บทบาทของเครือข่ายการผลิตของญี่ปุ่นใน GMS เป็นประเด็นที่น่าศึกษาว่า บทบาทของเครือข่ายการผลิตได้เข้าไปมีบทบาทเช่นไรต่อการพัฒนาแม่น้ำโขง และผลประโยชน์ของญี่ปุ่นคืออะไร บทความนี้ได้เลือกเอาองค์การของญี่ปุ่นที่ได้เข้ามามีบทบาทต่อการพัฒนาลุ่มน้ำโขง ซึ่งเป็นองค์การใหญ่และมีบทบาทสำคัญในการเสนอแนวทางให้แก่ GMS หรือการเข้าไปมีบทบาทต่อการเสนอแนวทางทางเศรษฐกิจให้แก่บริษัทของญี่ปุ่น คือ MOFA, JBIC และJODC

หลังการก่อตั้ง GMS กระทรวงการต่างประเทศ (Ministry of Foreign Affairs - MOFA) ของญี่ปุ่นได้ก่อตั้ง Task Force for Strategies for Development of the Greater Mekong Area ในปี ค.ศ.1996 ซึ่งประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญจากภาคเอกชน โดยมีหน้าที่ที่จะศึกษาและรวบรวมข้อมูลที่จะมีประโยชน์ต่อการสร้างดุลยภาพในการค้าและการพัฒนาในบริเวณพื้นที่ GMS (13)

(13) Ministry of Foreign Affairs, Japan, "Japan-ASEAN Cooperation: A New Dimension in Cooperation",
<http://www.mofa.go.jp/region/asia-paci/asean/relation/dimens.html>

นอกจากนี้ญี่ปุ่นยังได้ให้ Japan Bank for International Cooperation (JBIC) เข้ามาดูแลหรือให้ความช่วยเหลือโครงการ GMS ทั้งการให้ความช่วยเหลือ หรือการให้ข้อมูลแก่ภาคเอกชนของญี่ปุ่นในการเข้ามาลงทุนในพื้นที่ โดยข้อมูลจาก JBIC ได้เสนอว่า ใน GMS มี จีน ไทย และเวียดนามเป็นสามพื้นที่ที่มีความน่าลงทุนสูง ดังนั้นการเชื่อมพื้นที่ GMS ไว้ด้วยกันจะส่งผลให้บริษัทของญี่ปุ่นมีโอกาสในการลงทุนในพื้นที่มากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ประเทศไทยมีการเข้ามาลงทุนของญี่ปุ่นสูงเป็นอันดับหนึ่งถึงร้อยละ 31 ตามมาด้วยจากยุโรปในปริมาณร้อยละ 29 โดยภาคอุตสาหกรรมที่เข้ามามีการลงทุนมากที่สุด คือ การผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ซึ่งเป็นการตอบสนองเป้าหมายการที่ไทยต้องการเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ในภูมิภาค (Detroit of Asia) ตามมาด้วยอุตสาหกรรมเหล็กและอัลลอยด์ อุปกรณ์อิเล็คโทรนิค พลาสติค ยาง และอุตสาหกรรมเคมีตามลำดับ

(14) JBIC ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1999 มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆ.
(15) Asian Development Bank, "Minutes of Proceedings: Fifth Meeting of the Subregional Investment Working Group", 13-14 October 2005, Cambodia, <http://www.adb.org/GMS/SIWG-5.pdf >

Japan Overseas Development Corporation (JODC) เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่เกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนการลงทุนของญี่ปุ่นในประเทศไทย โดย JODC ได้เข้ามามีบทบาทในสามประการ คือ

- การก่อสร้างสาธารณูปโภคขนาดใหญ่
- สนับสนุนสาธารณูปโภคแบบเบา (Soft Infrastructure หรือ Basic Software) (*) เช่น บทความ การให้คำแนะนำ และ
- สนับสนุนให้บริษัทของญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในประเทศไทย

(*) Soft Infrastructure: While trade infrastructure often evokes images of large-scale physical projects, institutional (or soft) infrastructure is equally important. A supporting environment of predictable legal and judicial rights and procedures, equitable and enforceable competition policy, and a sound but not unduly restrictive regulatory framework are crucial for physical infrastructure investment to be efficient. Financial services, including financial intermediation, risk management opportunities, and payment and clearing services are especially important for international trade.

นอกจากนี้ Soft Infrastructure ยังหมายรวมถึงสถาบันต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานการดูแลด้านสุขภาพ วัฒนธรรม และสังคมของประเทศ ดังข้อความต่อไปนี้... Soft Infrastructure refers to all the institutions, which are required to maintain the health, cultural and social standards of a country, state or sometimes even a company. This concept has gained currency in the IT industry in India where the physical infrastructure of all the companies is alike and the customers face difficulty in deciding which vendor to opt for. But as far as the macro level goes soft infrastructure includes the following-
- Public education
- Public health
- Health systems
- Public libraries
- Social welfare

EXIM Bank กับ JBIC ในการสนับสนุนการลงทุน
รัฐไทยเปิดรับการเข้ามาลงทุน หรือการเข้ามามีส่วนร่วมในการร่วมกำหนดแนวนโยบายของญี่ปุ่น เช่น ธนาคารเพื่อการส่งออกและการนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank) (16) ได้ลงนามร่วมกับ JBIC ในการสนับสนุนการเข้ามาลงทุนของนักธุรกิจไทยและนักธุรกิจญี่ปุ่นในบริเวณลุ่มน้ำโขง ควบคู่ไปกับการพัฒนาบุคลากรของประเทศ บทบาทของ EXIM Bank ในประเทศไทยจึงเป็นบทบาทที่สนับสนุนโครงการ GMS อย่างมาก เนื่องด้วยเป็นหนึ่งในองค์การที่มีการวางเป้าหมายเพื่อสนับสนุนโครงการดังกล่าว (17)

(16) "ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย" (EXIM Bank) เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลัง ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อ ค.ศ.1994 ทำหน้าที่ให้บริการทางการเงินในการส่งเสริมและสนับสนุนการส่งออก การนำเข้าสินค้าหรือบริการที่ใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก และการลงทุนเพื่อการพัฒนาประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกไทยและนักลงทุนไทยในต่างประเทศ และสนับสนุนการได้มาซึ่งเงินตราต่างประเทศหรือประหยัดเงินตราต่างประเทศ.

(17) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย, "บทบาทในการตอบสนองนโยบายรัฐบาล",
<http://www.exim.go.th/about_exim/government.asp>

ดังที่ได้แสดงให้เห็นถึงโครงการ GMS ที่ญี่ปุ่นได้สร้างและใช้องค์การของญี่ปุ่นเองในการสนับสนุนให้เกิดการค้าการลงทุนในพื้นที่ GMS เป็นการแสดงให้เห็นถึงบทบาทของญี่ปุ่นที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนาพื้นที่ อีกทั้งการให้ความช่วยเหลือบริษัทของญี่ปุ่นเองในการเข้าไปลงทุน เครือข่ายของการผลิตของญี่ปุ่นที่ต้องการ หรือได้รับการสนับสนุนให้เข้ามาใน GMS ครั้งนี้ จึงเป็นการแสดงถึงบทบาทของญี่ปุ่นที่พยายามเข้ามาพัฒนาพื้นที่ เพื่อผลประโยชน์ของญี่ปุ่นเอง ที่นอกจากจะได้เส้นทางการขนส่งสินค้าจากเอเชียตะวันออกไปยังอ่าวไทย หรือการที่ในอนาคตจะไปออกที่พม่า โดยขนส่งสินค้าที่ผลิตใน GMS ออกขาย เป็นการใช้ทรัพยากรในพื้นที่ GMS โดยไม่ต้องสูญเสียทรัพยากรของญี่ปุ่นเองในประเทศ กล่าวคือ เป็นการย้ายฐานการผลิตของญี่ปุ่นจากญี่ปุ่น มาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเพื่อให้การย้ายฐานการผลิตนั้นเป็นไปโดยสมบูรณ์ รัฐบาลญี่ปุ่นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องสนับสนุนให้เกิดการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จะสนับสนุนการผลิต ทั้งการสร้างโครงสร้างพื้นฐานการผลิต และสาธารณูปโภคแบบเบา ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าเป็น โครงสร้างพื้นฐานของการพัฒนา ทั้งกฎระเบียบของภาครัฐของไทย หรือบทความของประชาชน ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่

Pax Nipponica จึงกลายเป็นหนึ่งในวิธีการเข้าใจรูปแบบของการเข้ามาของทุนญี่ปุ่นที่ต้องการการย้ายฐานการผลิตมาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะญี่ปุ่นมีความจำเป็นที่จะต้องลดต้นทุนในการผลิตสินค้า จึงจะต้องแสวงหาฐานการผลิต ทรัพยากรในการผลิตที่มีต้นทุนที่ต่ำลง ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ยังสมบูรณ์อยู่ จึงกลายเป็นปลายทางที่ญี่ปุ่นเล็งเห็นถึงศักยภาพที่เหมาะสม

สรุป
บทความนี้ได้ฉายภาพให้เห็นถึงการเกิดขึ้นของ ADB และโครงการ GMS โดยชี้ให้เห็นถึงบทบาทที่ ADB ได้สร้างวาทกรรมว่าด้วยการพัฒนาพื้นที่ขึ้น โดยวาทกรรมได้ครอบงำในประเด็นเรื่องการบูรณาการพื้นที่เพื่อผลประโยชน์ที่ว่า หากมีการบูรณาการรวมดินแดนโดยการเชื่อมโยงเพื่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายของสินค้า และประชากรได้โดยสะดวกแล้ว ผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น คือ ความเจริญรุ่งเรืองของเศรษฐกิจที่จะเอื้อประโยชน์ระหว่างกันในรูปแบบของภูมิภาคแบบตลาด

การเกิดขึ้นของแนวคิดดังกล่าวส่งผลให้รัฐไทยในฐานะประเทศสมาชิกของ GMS รับเอาแนวคิดดังกล่าวมาพัฒนาให้เป็นรูปธรรม และวางแผนการระบุลงไปในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 โดยเชื่อมโยงเส้นทางการคมนาคมขนส่งอันเป็นโครงการที่เชื่อมภูมิภาคเข้าไว้ด้วยกัน ให้กลายเป็นหนึ่งในประเด็นที่รัฐให้ความสำคัญ

นอกจากนี้บทบาทขององค์การจากญี่ปุ่นเองที่เข้ามาเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เกิดการผลักดัน หรือการสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามที่จะเกิดประโยชน์ต่อญี่ปุ่น โดยองค์การต่างๆ ได้แสดงตัวออกมาเพื่อสร้างความร่วมมือ และเตรียมความพร้อมพื้นฐานทางการพัฒนาให้แก่ประเทศไทยให้พร้อมแก่เครือข่ายการผลิตของญี่ปุ่นที่มีความสนใจในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

บทความนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงบทบาทของทุนญี่ปุ่นที่ได้เข้ามาสร้างวาทกรรมว่าด้วยเรื่องการพัฒนา การเสนอแนะแนวทางการพัฒนาแก่รัฐไทย ที่รัฐไทยต้องปรับตัวให้เข้ากับกระแสทุนนิยมของโลกที่เข้ามาปะทะ ซึ่งผลกระทบนี้สามารถจะเข้าใจได้โดยการใช้แนวคิดเรื่อง Pax Nipponica เข้ามาศึกษา เนื่องจากชี้ให้เห็นถึงบทบาทของทุนญี่ปุ่นที่เข้ามาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้และได้แสดงให้เห็นถึงพลวัตรของทุนญี่ปุ่นซึ่งได้มีส่วนต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทย โดยทั้งหมดนี้ ADB ได้ให้ GMS ตั้งขึ้น ล้วนเพื่อสร้างผลประโยชน์ให้แก่ญี่ปุ่นในการย้ายฐานการผลิตมาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้ได้สินค้าที่มีต้นทุนต่ำลง และมีแหล่งทรัพยากรที่มากขึ้นนั่นเอง


บรรณานุกรม: หนังสือและบทความภาษาไทย

กิตติ ประเสริฐสุข, การเจรจาการค้าของญี่ปุ่น จากการแก้ไขข้อพิพาทสู่ FTA, (กรุงเทพฯ: โครงการสันติไมตรีไทย-ญี่ปุ่น), 2549.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ กัมปนาท ภักดีกุล (บก.), ลุ่มน้ำโขง: วิกฤต การพัฒนา และทางออก, (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์), 2549.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ อัครพงษ์ ค่ำคูณ (บก.), แม่น้ำโขง: จากต้าจู-ล้านช้าง-ตนเลธม ถึง กิ๋วล่อง, (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์), 2549.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร, วาทกรรมการพัฒนา: อำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์ และความเป็นอื่น, (กรุงเทพฯ: วิภาษา), พิมพ์ครั้งที่ 3, 2545.

จุลชีพ ชินวรรโณ (บก.), ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ: แนวคิด ทฤษฎี และกรณีศึกษา, (กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), 2547.
ผาสุก พงษ์ไพจิตร และ คริสเบเคอร์, เศรษฐกิจการเมืองไทยสมัยกรุงเทพฯ, พิมพ์ครั้งที่ 3, (กรุงเทพฯ: ซิลค์เวอร์ม), 2546.
ไมเคิล ลีเฟอร์, พจนานุกรมการเมืองสมัยใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, จุฬาพร เอื้อรักสกุล (แปล), (กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), 2548.


รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์, ระเบียบเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ กับสงครามการค้า, พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพฯ: คบไฟ), 2543.
---------, กระบวนการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจในประเทศไทย: บทวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการเมือง พ.ศ.2475-2530, (กรุงเทพฯ: คบไฟ), 2546.

ลือชัย จุลาศัย และคณะ, ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจภาคเหนือตอนบน, (กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษา GMS สถานวิชาการนานาชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่), 2543.
---------, ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจภาคเหนือตอนบน: อุตสาหกรรม การลงทุน และการค้าชายแดน, (กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษา GMS สถานวิชาการนานาชาติ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่), 2544.

วีรพัฒน์ เศรษฐ์สมบูรณ์ และ สนั่น เถาซารี, "บทบาทของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนญี่ปุ่นในยุทธศาสตร์การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก", ศิริพร วัชชวัลคุ และ กิตติ ประเสริฐสุข (บก.), เอกสารหลังการประชุมวิชาการระดับชาติ เครือข่ายญี่ปุ่นศึกษาในประเทศไทย ครั้งที่ 1: สังคมศาสตร์, (กรุงเทพฯ: โครงการเครือข่ายญี่ปุ่นศึกษาในประเทศไทย), 2550.

สีดา สอนสี (บก.), เอเชียตะวันออกเฉียงใต้: นโยบายต่างประเทศในยุคโลกาภิวัตน์, พิมพ์ครั้งที่ 4, (กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), 2546.
สีดา สอนสี, ความร่วมมือส่วนภูมิภาคแนวใหม่ในยุคโลกาภิวัตน์, (กรุงเทพฯ: เอกสารงานวิจัย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), 2547.
สีดา สอนสี (บก.), เอเชียตะวันออกเฉียงใต้: นโยบายต่างประเทศหลังวิกฤติเศรษฐกิจ (ค.ศ.1997-2006), (กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์), 2550.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย และศูนย์เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี มณฑลยูนนาน, โครงบทความการจัดการทรัพยากรในลุ่มน้ำโขงไทย-ยูนนาน เล่มที่ 2: ภาคเหนือตอนบน, (กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย), 2541.

สุรชัย ศิริไกร, การพัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองลาว, พิมพ์ครั้งที่ 4, (กรุงเทพฯ: คบไฟ), 2548.
สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์, การพัฒนาเศรษฐกิจและการเมืองไทย, พิมพ์ครั้งที่ 6, (กรุงเทพฯ: คบไฟ), 2547.

โฮะโซะกาว่า ฮิซาชิ, ญี่ปุ่น: ยุทธศาสตร์การค้าและอุตสาหกรรม, กนิฏฐา มุทซุโอะ (แปล), (กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์), 2545.

บรรณานุกรม: หนังสือและบทความภาษาอังกฤษ

Alfred Oehlers, "A Critique of ADB Policies towards the Greater Mekong Sub-Region" Journal of Contemporary Asia, (36:4), 2006.
Anthony Giddens, The Consequences of Modernity, (Cambridge: Polity Press), 1990.
Anthony McGrew, "The Logics of Globalization", Global Political Economy, John Ravenhill (ed.), (Oxford: Oxford University Press), 2005.

Donald E. Weatherbee, International Relations in Southeast Asia: The Struggle for Autonomy, (Oxford: Rowman&Littlefield), 2005.
Ezra F. Vogel, "Pax Nipponica", Foreign Affairs, Spring, 1986.

Hartwig Hummel, "Pax Nipponica? Global Hegemony and Japan in IR Theory", presented at the Symposium on "The Global Meaning of Japan: European and Asia Perspectives", Kyoto, Japan, 20-22 March 1998.

Kullada Kesboonchoo-Mead, "Globalization and ASEAN Regionalism", ASEAN and the EU in the International Environment, Dieter Mahnke, Kullada Kesboonchoo-Mead, Prathoomporn Vajarasathira and Rudolf Hrbek (eds.), (Nomos Verlagsgesellschaft: Baden Baden), 1999.

Maria Serena I. Diokno and Nguyen Van Chinh (eds.), The Mekong Arranged & Rearranged, (Chiangmai: Mekong Press), 2006.

Robert Gilpin, Global Political Economy, Global Political Economy: Understanding the International Economic Order, (New Jersey: Princeton University Press), 2001.

เอกสารอิเลคโทรนิคส์ภาษาไทย

"แนวพื้นที่เศรษฐกิจ (Economic Corridor) และเส้นทางเศรษฐกิจที่สำคัญในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS)", <http://www.thaifta.com/ThaiFTA/Portals/0/GMS_Corridor.pdf>

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ส่วนที่ 1, "สรุปสาระสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7",
<http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=89>

---------, ส่วนที่ 3 แนวทางการกระจายรายได้และการกระจายการพัฒนาสู่ภูมิภาคและชนบท, "บทที่ 4 การกระจายการพัฒนาเมืองและบริการพื้นฐานไปสู่ส่วนภูมิภาค", แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7, <http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=89>

---------, ส่วน 2 แนวทางการรักษาอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้มีเสถียรภาพ, "บทที่ 7 การพัฒนาภาคมหานครและเขตเศรษฐกิจใหม่", แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7, <http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=89>

เอกสารอิเลคโทรนิคส์อังกฤษ

Asian Development Bank, "Asian Development Bang & Japan: A Fact Sheet", <http://www.adb.org/Documents/Fact_Sheets/JPN.pdf>

---------, "Greater Mekong Subregion", <http://www.adb.org/gms>

---------, "Midterm-Review of the Greater Mekong Subregion Strategy Framework 2002-2012", <http://www.adb.org/documents/reports/mid-term-review-gms/MidTerm-Review-GMS-4June2007.pdf>

---------, "Talking Points: Private Sector Development, Regional Workshop on Achieving Results in Private Sector Development - A Strategic Process",
<http://www.adb.org/Documents/Events/2005/Achieving-Results-PSD/private-sector-development.pdf>

---------, "Thailand and ADB", <http://www.adb.org/TRM/about-thailand.asp>

Haruhiko Kuroda, "New Dynamics, New Opportunities: Towards Deeper Asian Economic Integration",
<http://www.adb.org/Documents/Speeches/2005/ms2005084.asp>

Hisane Masaki, "China, Japan tug-of-war over Indochina", 5 October 2005, <http://www.atimes.com/atimes/Japan/GJ05Dh03.html>

---------, "Japan revs up its Indochina Diplomacy", 22 May 2007, <http://www.atimes.com/atimes/Japan/IE22Dh01.html>

Ministry of Foreign Affairs, Japan, "Japan-ASEAN Cooperation: A New Dimension in Cooperation", <http://www.mofa.go.jp/region/asia-paci/asean/relation/dimens.html>

Mitsuo Sato, "Welcome and Opening Remarks at Seventh Conference on Subregional Economic Cooperation",
<http://www.adb.org/printer-friendly.asp?fn=%2FDocuments%2FSpeeches%2F1997%2Fms1997010.asp&news=none>

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++(ย้อนกลับไปทบทวนบทความเกี่ยวเนื่อง ลำดับที่ 1745)

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1700 เรื่อง หนากว่า 35000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com