ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้เป็นสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒ : Release date 05 July 2009 : Copyleft MNU.

สรุปในภาษาของ วูลฟ์แกงก์ มึนเชา รองบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ Financial Times ก็คือ "มันไม่ใช่เหตุบังเอิญ ที่วิกฤตหลายเชิงของเรา - ทั้งวิกฤตอสังหาริมทรัพย์, สินเชื่อ, ธนาคาร, อาหาร และสินค้า - มาเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน เหตุผลง่ายๆ ก็คือ มันล้วนเป็นบทตอนต่างๆ ของเรื่องเดียวกัน มารดาของวิกฤตทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ ได้แก่ การปรับตัวของเศรษฐกิจมหภาคระดับโลก -ซึ่งเผอิญเป็นกรณีหายากที่เราพอจะใช้คำว่า"crisis"(วิกฤต) ในความหมายภาษากรีก แต่เดิมของมันว่า"หัวเลี้ยวหัวต่อ"มาเรียกได้จริงๆมันเป็นอาการช็อค ทางเศรษฐกิจมหภาคระดับโลกขนาดมหึมาทีเดียว "ถึงไงการปรับตัวก็คงจะต้องใช้เวลา...อาจจะไม่มีการพังทลายทางการเงินระดับโลก แต่กระนั้นวิกฤตหลายเชิงของเรา อาจหวนกลับมาเล่นงานเรา (ibid)

H



05-07-2552 (1742)
วิกฤตสังคมหลายเชิงในโลกหลังสมัยใหม่: การเงิน, อัตราแลกเปลี่ยน, เศรษฐกิจ, อาหาร, พลังงาน, และสิ่งแวดล้อม
วิกฤตเศรษฐกิจ-วิกฤตโลก: วิกฤตหลายเชิงในยุคโลกาภิวัตน์
รศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ: เขียน
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทความรวบรวมต่อไปนี้ เคยเผยแพร่แล้วบนหน้าหนังสือพิมพ์เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๑
เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับปัญหาวิกฤตหลายเชิงในสังคมโลก ซึ่งนับรวมแล้วไม่น้อยกว่า 6 ด้าน
ประกอบด้วย วิกฤตการเงิน, อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา, เศรษฐกิจ, อาหาร, พลังงาน, และสิ่งแวดล้อม
บทความเหล่านี้จะให้ภาพและสร้างความเข้าใจในปัญหาดังกล่าวอย่างค่อนข้างชัดเจน
ตลอดรวมถึงภาคผนวก (โดยกองบรรณาธิการ เว็บไซต์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
ที่จะให้ความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
ซึ่งทั้งสององค์กรยักษ์ทางเศรษฐกิจนี้ เกิดขึ้นมาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

บทความเกี่ยวกับวิกฤตเศรษฐกิจ-วิกฤตโลกซึ่งนำเสนอนี้ ประกอบด้วยบทความ ๗ ชิ้นดังนี้
๑. วิกฤตพลิกเศรษฐกิจโลก (1)
๒. วิกฤตพลิกเศรษฐกิจโลก (2)
๓. วิกฤตพลิกเศรษฐกิจโลก มุมมองเปรียบเทียบ
๔. วิกฤตพลิกเศรษฐกิจโลก วิเคราะห์วิจารณ์

ภาคผนวก (โดยกองบรรณาธิการ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
ก. ธนาคารโลก
ข. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(บทความนี้จัดอยู่ในหมวด "ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจร่วมสมัย")

สนใจส่งบทความเผยแพร่ ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน:
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๗๔๒
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๔.๕ หน้ากระดาษ A4 โดยไม่มีภาพประกอบ)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

วิกฤตสังคมหลายเชิงในโลกหลังสมัยใหม่: การเงิน, อัตราแลกเปลี่ยน, เศรษฐกิจ, อาหาร, พลังงาน, และสิ่งแวดล้อม
วิกฤตเศรษฐกิจ-วิกฤตโลก: วิกฤตหลายเชิงในยุคโลกาภิวัตน์
รศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ: เขียน
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

๑. วิกฤตพลิกเศรษฐกิจโลก (1)
มติชนรายวัน วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11031

ลักษณะแปลกเด่นเป็นพิเศษของวิกฤตการณ์ปัจจุบัน ซึ่งปรากฏขึ้นในขอบเขตทั่วโลกนับแต่กลางปีที่แล้ว และเร่งแรงขึ้นในไตรมาสแรกของปีนี้คือ มีอาการถึง 6 ด้าน รุมสุมทับซ้อนกัน ได้แก่ วิกฤตการเงิน, อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา, เศรษฐกิจ, อาหาร, พลังงาน, และสิ่งแวดล้อม:

หนึ่ง: วิกฤตการเงิน
สถาบันการเงินการธนาคารใหญ่ในบรรดาประเทศทุนนิยมตะวันตก และญี่ปุ่น ประสบภาวะหนี้เสียขาดทุนลุกลามต่อเนื่อง จากปัญหาหนี้จำนองบ้านด้อยคุณภาพ หรือซับไพรม์ในอเมริกา จนต่างต้องกันสำรองหนี้สูญ, ลดมูลค่าหุ้นและเพิ่มทุนขนานใหญ่ พร้อมทั้งเข้มงวดเงื่อนไขการปล่อยกู้สินเชื่อเพื่อซื้อบ้าน, เครดิตการ์ด, และอื่นๆ มากขึ้น ทำให้ตลาดสินเชื่อตกต่ำหดตัว ดังปรากฏข้อมูลจาก AFP, Financial Times และ British Bankers" Association เมื่อปลายเดือนเมษายน 2551 เกี่ยวกับ 19 อันดับแรกของธนาคารใหญ่นานาชาติทั่วโลก ที่ต้องลดมูลค่าหุ้นสูงสุดรวมกันถึง 182,600 ล้าน US$ เพราะขาดทุนจากหนี้เสียซับไพรม์ในระยะที่ผ่านมา

(1) ธนาคารที่ต้องลดมูลค่าหุ้นสูงสุด 19 อันดับแรก ขณะยอดสินเชื่อที่บรรดาธนาคารในอังกฤษปล่อยกู้ให้คนไปซื้อบ้าน
ลดลงฮวบฮาบราว 30% นับแต่เกิดวิกฤตซับไพรม์เป็นต้นมา

(2) ยอดสินเชื่อเพื่อการซื้อบ้านที่ธนาคารของอังกฤษอนุมัติ, ไตรมาสสุดท้ายปี 2006 - ไตรมาสแรกปี 2008 (หน่วยล้านปอนด์สเตอลิงก์)
(อ้างจาก "Une crise proteiforme : La crise financiere", Le Monde, 28 Avril 2008)

สอง: วิกฤตอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา
เงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง ส่งผลให้เงินยูโรแข็งค่าขึ้นเป็น 1.6 US$/ยูโร สินค้าออกจากสหภาพยุโรปจึงแพงขึ้นและขายแข่งกับสินค้าอเมริกันยากขึ้นโดยเปรียบเทียบในตลาดโลก ขณะที่ทางการจีนยังไม่ยอมปรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลหยวนกับ US$ ให้สูงเท่าที่ทางการสหรัฐเรียกร้อง หากใช้วิธีผ่อนคลายให้เงินหยวนค่อยๆ แข็งค่าขึ้นไปเองราว 10% นับแต่ ม.ค. 2007 เป็นต้นมา ทว่าสินค้าออกของจีน ก็ยังคงตีตลาดโลกรวมทั้งอเมริกาและยุโรป, และจีนยังได้เปรียบดุลการค้ามหาศาลกับอเมริกาต่อไป

ค่าเงินยูโรคิดเป็นดอลลาร์สหรัฐนับแต่ ม.ค. 2001 - เม.ย. 2008
(ข้อมูล Bloomberg & AFP จาก "Une crise proteiforme : La crise monetaire", Le Monde, 28 Avril 2008)

- 02 ม.ค. 2002 สหภาพยุโรปเริ่มนำเหรียญและธนบัตรเงินสกุลยูโรออกใช้ ปรากฏว่าค่าเงินยูโรแข็งขึ้นขณะที่เศรษฐกิจอเมริกันอ่อนเปลี้ยลง
- 15 ก.ค. 2002 ค่าเงินยูโรเทียบเท่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ
- 30 ธ.ค. 2004 ค่าเงินยูโรไต่ขึ้นถึง 1.36 US$
- 15 พ.ย. 2005 ค่าเงินยูโรตกลงเป็น 1.16 US$ ก่อนจะกระเตื้องขึ้นใหม่
- 10 ก.ค. 2007 ค่าเงินยูโรสูงกว่า 1.37 US$ เป็นครั้งแรก
- 26 ก.พ. 2008 ค่าเงินยูโรทะลุเพดานสัญลักษณ์ที่ 1.50 US$
- 22 เม.ย. 2008 ค่าเงินยูโรปิดตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราที่ 1.60 US$

สาม: วิกฤตเศรษฐกิจ
ราคาบ้านในอเมริกาตกลงราว 10% จากปีที่แล้ว ส่งผลให้อุตสาหกรรมก่อสร้างหดตัว บ้านที่ได้ใบอนุญาตให้ก่อสร้างและเริ่มก่อสร้างจริงลดลงถึงหนึ่งในสาม จากอย่างละ 1 ล้าน 5 แสนหลังเมื่อปีก่อน เหลือเพียงอย่างละ 1 ล้านหลัง (ราคาบ้านและอุตสาหกรรมก่อสร้างบ้านในอเมริกา, ค.ศ. 1988-2008 - อ้างจาก "Une crise proteiforme : La crise economique", Le Monde, 28 Avril 2008)

เจ้าของบ้านชาวอเมริกันทั้งหลายจึงพากันรัดเข็มขัดประหยัดรายจ่ายรายการใหญ่ๆ เพราะมูลค่าสินทรัพย์บ้านช่องของตน ถูกประเมินต่ำลงโดยเปรียบเทียบ เสมือนหนึ่งจู่ๆ "จนลง" โดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว ส่งผลต่อเนื่องให้บริษัทร้านรวงปรับลดหรือปิดกิจการ คนตกงานเพิ่มขึ้น และในฐานะที่คนชั้นกลางเจ้าของบ้านชาวอเมริกัน เป็นกองกำลังผู้บริโภคที่มีอำนาจซื้อ ใหญ่โตที่สุดในตลาดโลก ดังนั้น บรรดาประเทศผู้ส่งออกสินค้าไปอเมริกา จึงพลอยย่ำแย่ไปด้วย

สี่: วิกฤตอาหาร
เกิดภาวะที่นักวิเคราะห์ตะวันตกบัญญัติศัพท์ใหม่ขึ้นเรียกว่า agflation (สนธิจาก agriculture + inflation) หรือข้าวยากหมากแพงในโลก ราคาที่แท้จริงของสินค้าอาหารทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึง 75% ในชั่วระยะเวลาเพียง 3 ปี จาก พ.ศ. 2548-2551 โดยแพงขึ้นเกือบทุกประเภท เช่น ข้าวสาลี เนย และนมแพงขึ้น 3 เท่านับแต่ปี พ.ศ. 2543 มา, ข้าวโพด ข้าว และเนื้อเป็ดไก่แพงขึ้นเกือบ 2 เท่า, ขณะราคาเนื้อหมูเนื้อวัว น้ำมันปาล์ม และมันสำปะหลังก็แพงขึ้นเช่นกัน กล่าวโดยรวมแล้ว ดัชนีราคาอาหารขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) สูงขึ้นเกือบ 40% เมื่อปีที่แล้ว - เทียบกับปี 2549 ซึ่งสูงขึ้นเพียง 9% - จนมาถึงช่วงต้นปีนี้ (2551) ราคาอาหารก็แพงขึ้นเป็นประวัติการณ์ในรอบหลายทศวรรษทีเดียว (Heidi Fritschel, "The price of food : ingredients of a global crisis", openDemocracy, created 9 April 2008, www.opendemocracy.net)

ภาวะข้าวยากหมากแพงดังกล่าวสะท้อนความเป็นจริงที่การผลิต/การบริโภค/อาหารสำรองในโลกไม่สมดุลกัน หรือนัยหนึ่งข้าวทั้งหมดที่เพาะปลูกได้ และเหลือเก็บเกี่ยวใส่ยุ้งฉางสำรองไว้ นับวันมันไม่ค่อยจะพอกินพอใช้หรือทันกินทันใช้นั่นเอง (FAO, "Crop Prospects and Food Situation : Global cereal supply and demand brief", February 2008, www.fao.org/docrep/010/ah881e/ah881e04.htm)

จากตัวเลขปี 2007 เป็นการคาดการณ์ ขณะที่อัตราส่วนระหว่างปริมาณธัญพืชที่เหลือเก็บสำรองไว้กับปริมาณธัญพืชที่ใช้อุปโภคบริโภคทั่วโลก ลดลงต่ำสุดในรอบ 5 ปี โดยคาดว่าจะเหลือธัญพืชสำรองทั่วโลกเพียง 19.02% ของยอดปริมาณการอุปโภคบริโภคทั่วโลกในปี ค.ศ. 2007/08 …ฉะนั้น เมื่อข้าวยากหมากแพง ผู้คนในที่ต่างๆ ของโลก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศยากจนและขาดแคลนอาหาร (LIFDCs หรือ Low-Income Food-Deficit Countries) จึงพากันอดอยากหิวโหย จนทนไม่ไหวลุกฮือขึ้นประท้วงก่อจลาจล ("Crise alimentaire, un defi mondial : Les emeutes de la faim", Le Monde, 19 Avril 2008)

ประเทศที่ FAO ระบุว่า "ไม่มั่นคงทางอาหารอย่างร้ายแรง" ได้แก่ประเทศที่มีสภาพการณ์ดังต่อไปนี้…- ประเทศที่เกิดเหตุจลาจลเนื่องจากราคาอาหาร, ประเทศที่ประชากรอย่างน้อย 15% อยู่ในภาวะพร่องโภชนาการเมื่อปี ค.ศ. 2003 - สรุปได้ว่ามี 37 ประเทศในโลกที่ต้องการอาหารช่วยเหลือด่วน มิฉะนั้น อาจเกิดภาวะอดอยากเนื่องจากอาหารแพง (ซึ่งบัดนี้ก็ต้องเพิ่มพม่าหลังพายุนาร์กีสถล่มเข้าไปอีกประเทศหนึ่ง) (ข้อมูลจาก AFP, 28 เม.ย. 2008)

๒. วิกฤตพลิกเศรษฐกิจโลก (2)
มติชนรายวัน วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11038

ในบรรดาอาการ 6 ด้านของวิกฤตที่กำลังเร้ารุมสุมทับคุกคามระบบเศรษฐกิจโลกปัจจุบัน อันได้แก่ วิกฤตการเงิน, อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา, เศรษฐกิจ, อาหาร, พลังงาน, และสิ่งแวดล้อมนั้น วิกฤตพลังงานจัดว่า กระแทกกระหน่ำคนไทยอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรมสัมผัสได้ เกิดขึ้นตั้งแต่เนิ่นๆ และต่อเนื่อง อีกทั้งส่งผลกระทบกระเทือนหนักหน่วง กว้างขวางที่สุดกว่าวิกฤตด้านอื่น ในฐานที่เราเป็นประเทศพึ่งตัวเองไม่ได้ด้านพลังงาน และต้องนำเข้าน้ำมันและเชื้อเพลิงมูลค่ามหาศาล ตกราว 9 หมื่น ถึง 1 แสนกว่าล้านบาท/เดือน ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ (ข้อมูลสินค้าออกและสินค้าเข้า จำแนกตามกลุ่มสินค้าของธนาคารแห่งประเทศไทย)

ห้า: วิกฤตพลังงาน
แนวโน้มราคาน้ำมันโลกไต่สูงขึ้นเป็นลำดับนับแต่ ค.ศ.2004 เป็นต้นมา ขณะที่อุปสงค์ (demand) น้ำมันโลกไม่มีทีท่าว่าจะลดลง โดยเฉพาะที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากการเร่งรัดพัฒนาอุตสาหกรรม ของกลุ่มประเทศมหาอำนาจเศรษฐกิจทุนนิยมรุ่นใหม่ ที่ถูกขนานนามว่า BRICs อันได้แก่ Brazil, Russia, India, China เพื่อดึงประชากรส่วนใหญ่ให้พ้นความยากจนในหลายปีหลังนี้ - ซึ่งคาดหมายกันว่าถึงปี ค.ศ.2050 เศรษฐกิจของ BRICs รวมกันอาจมีมูลค่าเป็น ดอลลาร์สหรัฐใหญ่โตกว่าเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ G6 ด้วยซ้ำไป (Goldman Sachs Global Economics Group, Brics and Beyond, 2007)

อุปทาน (supply) น้ำมันโลกกลับทำท่าจะถึงจุด "peak oil" หรือนัยหนึ่งจุดที่มนุษย์เราขุดเจาะเอาน้ำมันเท่าที่มีอยู่ในโลก ขึ้นมาใช้ถึงครึ่งหนึ่งแล้ว ซึ่งหมายความด้วยว่า เราได้ใช้น้ำมันของโลกครึ่งที่สำรวจหาและขุดเจาะง่ายกว่าหมดแล้ว น้ำมันทุกถังนับแต่นั้นไปมีแต่จะสำรวจหาขุดเจาะยากขึ้น และฉะนั้นจึงมีแต่จะแพงขึ้นด้วย จากนั้นเราก็จะไม่เพิ่มการผลิตน้ำมันขึ้นอีก หากผลิตในระดับคงที่ไม่กระเตื้องขึ้นอยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง ก่อนที่การผลิตน้ำมันจะตกต่ำลงในที่สุด

(Terrence McNally, "How Many Earth Days Do We Have Left?", AlterNet, posted 22 April 2008, www. alternet.org/module/printversion/83032; Kelpie Wilson, "Peak Oil and Politicians", Truthout, posted 17 May 2008, www.truthout.org/docs_2006/printer_051708A.shtml)

ส่วนที่ว่าเอาเข้าจริง เราถึงจุด peak oil หรือยังนั้น? มีความเห็นแตกต่างกันอยู่บ้าง นักวิเคราะห์บางคนเห็นว่า เรากำลังจะถึงจุดนั้นในเวลาอีก 5, 10, หรือ 15 ปีข้างหน้า แต่บ้างก็ว่าเราถึงจุด peak oil เรียบร้อยแล้ว!

(Kevin Phillips, Interview by Amy Goodman on "Bad Money: Reckless Finance, Failed Politics, and the Global Crisis of American Capitalism", Democracy Now!, created 6 May 2008, www.democracynow.org/2008/5/6bad_money_reckless_ finance_failed)

สรุปตามหลักอุปสงค์/อุปทานของเศรษฐศาสตร์ทุนนิยมตลาดเสรีก็คือ น้ำมันมีแต่จะแพงขึ้นไปเรื่อยๆ เท่านั้น ส่วนจะแพงถึงขั้นไหน? บริษัทหลักทรัพย์และวานิชธนกิจระดับโลก Goldman Sachs คาดการณ์ว่า มันอาจขึ้นไปถึงบาร์เรลละ 150- 200 US$ ภายใน 2 ปีข้างหน้า!!! ("Le baril de petrole pourrait atteindre 200 dollars d"ici deux ans, selon Goldman Sachs", Le Monde, 7 Mai 2008)

หก: วิกฤตสิ่งแวดล้อม
เรื่องหลักเร่งด่วนย่อมเป็นปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและโลกร้อน (Climate Change & Global Warming) ที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศของโลก โดยประเทศอุตสาหกรรมใหญ่ทั้งหลาย สำหรับข่าวล่าสุดเรื่องวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่ไม่ค่อยดีนักก็คือ:

1) บทความวิชาการเรื่อง "Forecasting the path of China"s CO2 emissions using province-level information" โดยทีมนักวิจัย
Dr. Maximilian Auffhammer กับ Richard T. Carson แห่ง University of California ลงพิมพ์ใน Journal of Environmental Economics and Management (Volume 55 Issue 3, May 2008, pp. 229-247) เล่มล่าสุดอันเป็นวารสารทางการของสมาคมนักเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ระบุว่า:

จากฐานข้อมูลล่าสุดในระดับมณฑล 30 จุดที่เก็บรวบรวมโดยหน่วยงานป้องกันสิ่งแวดล้อมของทางการจีนเอง ในปี ค.ศ.2004 ซึ่งใช้คาดการณ์แนวโน้มการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอนาคต ได้แม่นยำกว่าข้อมูลระดับชาติของจีนที่ใช้กันแพร่หลายนั้น ปรากฏว่าจีนเริ่มปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนับแต่ปี ค.ศ.2002 เป็นต้นมา และจีนน่าจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยรวม แซงหน้าสหรัฐอเมริกา กลายเป็นประเทศก่อมลพิษใหญ่ที่สุดในโลกไปเรียบร้อยแล้ว ในราวปี ค.ศ.2006-2007 นี่เอง!

2) องค์การมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติของอเมริกา (National Oceanic and Atmospheric Administration - NOAA) ระบุในรายงานดัชนีก๊าซเรือนกระจกฉบับล่าสุด สำหรับปี ค.ศ.2007 ว่าปีที่แล้วปีเดียว ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศทั่วโลก อันเป็นตัวการหลักที่ทำให้ภูมิอากาศโลกเปลี่ยนไป ได้พอกพูนเพิ่มเติมขึ้นอีก 0.6% หรือ 19 ล้านกิโลตัน (1 กิโลตัน = 1,000 เมตริกตัน), ซึ่ง 20% ของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เหล่านี้ จะคงหลงเหลือตกค้างอยู่ในชั้นบรรยากาศโลกอีกนับพันๆ ปี

นั่นหมายความว่า รอบปีที่ผ่านมา มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้น 2.4 โมเลกุลในอากาศของโลกทุกๆ 1 ล้านโมเลกุล ทำให้ขณะนี้ยอดสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศโลกขึ้นไปถึง 385 ppm (parts per million หรือนัยหนึ่ง 385 ส่วนต่อล้านส่วน) แล้ว เทียบกับระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศโลกก่อนยุคอุตสาหกรรมซึ่งอยู่แถวๆ 280 ppm จนถึงปี ค.ศ.1850

ที่น่าสังเกตและน่าวิตกด้วยคือ อัตราการเพิ่มก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศโลก มีแนวโน้มเร่งเร็วขึ้น ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา พร้อมกับการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลมากขึ้น กล่าวคือในคริสต์ทศวรรษที่ 1960 ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นราว 1 ppm/ปี, แล้วเร่งขึ้นเป็น 1.5 ppm/ปี ในคริสต์ทศวรรษที่ 1980, จนขึ้นถึง 2 ppm/ปีนับแต่ ค.ศ.2000 เป็นต้นมา

๓. วิกฤตพลิกเศรษฐกิจโลก มุมมองเปรียบเทียบ
มติชนรายวัน วันที่ 06 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11045

เราจะทำความเข้าใจและประเมินขีดความร้ายแรงของวิกฤตโลก 6 ด้าน (ได้แก่ วิกฤตการเงิน, อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา, เศรษฐกิจ, อาหาร, พลังงาน, สิ่งแวดล้อม) ที่กำลังเกิดขึ้นประจวบเหมาะพร้อมกันในปัจจุบันอย่างไร? เมื่อมองย้อนกลับไปเปรียบเทียบกับวิกฤตระดับโลกครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ เช่น วิกฤตเศรษฐกิจโลกตกต่ำ ค.ศ.1929 ที่มีส่วนส่งผลกระทบรุมเร้าจนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองในสยาม 3 ปีต่อมาใน พ.ศ.2475 คำถามก็คือ แรงไหวสะเทือนทางเศรษฐกิจสังคมของวิกฤตโลก 6 ด้านครั้งนี้จะอยู่ในระดับไหน? กี่มาตราริคเตอร์? หนักหน่วงรุนแรงกว่าเมื่อ 79 ปีก่อนหรือไม่อย่างไร?

... ประมาณว่าพอๆ กับวิกฤตโลกแห่งคริสต์ทศวรรษที่ 1970 ซึ่งเริ่มด้วยราคาน้ำมันช็อคโลกครั้งแรก เมื่อกลุ่มประเทศโอเปค นำโดยอาหรับทยอยขึ้นราคาน้ำมันถึง 4 เท่าครึ่ง จากบาร์เรลละราว 3 เป็นกว่า 12 US$ ระหว่างเดือนตุลาคม ค.ศ.1973 ถึงพฤษภาคม ค.ศ.1974 ส่งผลให้เหล่าประเทศทุนนิยมอุตสาหกรรมที่พึ่งพาน้ำมันนำเข้าพากันประสบภาวะชะงักงันพร้อมเงินเฟ้อ (stagflation) ในไตรมาสที่ 2 ของปี 1974 โดยเฉพาะอเมริกาที่คนตกงานถึง 9.2% พร้อมกับเงินเฟ้อกว่า 10%. พร้อมกันนั้น ก็เกิดวิกฤตอาหารโลกในช่วงฤดูหนาวปี ค.ศ.1973-1974 ที่ทำให้ประชากร 40 ล้านคนใน 30 ประเทศ เสี่ยงต่อการอดอยาก

ใช่ไหมว่าวิกฤตโลก 6 ด้าน ทุกวันนี้ตอกย้ำยืนยันคำเตือนเมื่อ 36 ปีก่อนของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์, นักเศรษฐศาสตร์ และนักอุตสาหกรรมนานาชาติตะวันตกที่รวมตัวกันเป็น Club of Rome (ก่อตั้งปี ค.ศ.1968) (*) ในหนังสือเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่ขายดีที่สุดเป็นประวัติการณ์ของโลกเรื่อง Limits to Growth (ค.ศ.1972) (**) ซึ่งวิเคราะห์วิจัยคาดการณ์ตัวแปร 5 ตัว ได้แก่ ประชากรโลก, การปรับให้เป็นอุตสาหกรรม, ภาวะมลพิษ, การผลิตอาหาร, และความสูญสิ้นทรัพยากร แล้วฟันธงว่า:

(*) The Club of Rome is a global think tank that deals with a variety of international political issues. It was founded in April 1968 and raised considerable public attention in 1972 with its report The Limits to Growth. According to the club's publications, the common enemy of humanity is man, so democracy may not be well suited to the tasks ahead. However, the threat of pollution, global warming, water shortages, and famine can be used to fulfill humanity's need for a common adversary.

(**)The Limits to Growth is a 1972 book modeling the consequences of a rapidly growing world population and finite resource supplies, commissioned by the Club of Rome. Its authors were Donella H. Meadows, Dennis L. Meadows, J?rgen Randers, and William W. Behrens III. The book used the World3 model to simulate[1] the consequence of interactions between the Earth's and human systems. The book echoes some of the concerns and predictions of the Reverend Thomas Robert Malthus in An Essay on the Principle of Population (1798).

Five variables were examined in the original model, on the assumptions that exponential growth accurately described their patterns of increase, and that the ability of technology to increase the availability of resources grows only linearly. These variables are: world population, industrialization, pollution, food production and resource depletion. The authors intended to explore the possibility of a sustainable feedback pattern that would be achieved by altering growth trends among the five variables.

โลกต้องหยุดการเติบโตทางเศรษฐกิจ มิฉะนั้น ทรัพยากรจะถูกใช้จนหมดเกลี้ยงโลกเมื่อสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 กล่าวในแง่ประวัติเศรษฐกิจทุนนิยม วิกฤตไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมาย ดังที่ สภาการวิเคราะห์เศรษฐกิจ (Conseil d"analyse economique) สังกัดนายกรัฐมนตรีฝรั่งเศสได้เสนอไว้ในรายงานทางการเรื่อง Les crises financiers (วิกฤตการณ์ทางการเงิน, เขียนโดย Robert Boyer, Mario Dehove และ Dominique Plihon, La Documentation francaise. Paris, 2004) ว่า วิกฤตการเงินเกิดซ้ำวนเวียนเป็นระยะในประวัติศาสตร์ทุนนิยม บ่อยครั้งในรูปวิกฤต "ฝาแฝด" ของธนาคาร กับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา, และกระทั่งอาจเกิดในรูปวิกฤตซ้ำซ้อนหลายเชิง หากแม้นดัชนีตลาดหุ้นและกิจกรรมทางเศรษฐกิจพลอยพังทลายลงด้วย

รายงานฉบับนี้ระบุด้วยว่า ความจริงตลาดประเทศต่างๆ พึ่งพาขึ้นต่อกันและกันมานานแล้ว อย่างไรก็ตาม ภายหลัง ข้อตกลงเบร็ตตัน วูดส์ (ข้อตกลงของการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยเงินตราและการเงิน ณ เบร็ตตัน วูดส์ มลรัฐนิวแฮมป์เชียร์ สหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ.1944 เพื่อตระเตรียมวางแผนจัดระเบียบเศรษฐกิจการเงินโลกใหม่ภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง อันนำไปสู่การก่อตั้งธนาคารโลก และองค์การการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ในกาลต่อมา) หมดสภาพลงในปี ค.ศ.1971...

- อันเนื่องมาจากรัฐบาลประธานาธิบดีนิกสันของอเมริกา ประกาศยกเลิกพันธะผูกมัดรับแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์เป็นทองคำ
- เพราะค่าเงินดอลลาร์เฟ้อและเงินดอลลาร์ไหลทะลักท่วมโลกจากการใช้จ่ายมหาศาลของอเมริกาในสงครามเวียดนาม
- ซึ่งหมายความว่า ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราแบบคงที่ ของโลกที่สถาปนาขึ้นเมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นอันอวสานลงด้วย

...นับแต่นั้นมา ระบบเศรษฐกิจการเงินโลกก็ยิ่งพลิกไหวปั่นป่วนผันผวนไม่ว่าจะในแง่ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา, ดัชนีตลาดหุ้น, และ อัตราดอกเบี้ย, อีกทั้ง วิกฤตการเงิน ก็เพิ่มจำนวนถี่ขึ้นมาก (อ้างจาก Robert Wade, "Choking the South," New Left Review, II/38 (March/April 2006), 119-20):

๔. วิกฤตพลิกเศรษฐกิจโลก วิเคราะห์วิจารณ์
มติชนรายวัน วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11052

หากเปรียบเทียบกับบรรดาวิกฤตในอดีต วิกฤตโลก 6 ด้านปัจจุบัน-ทั้งวิกฤตการเงิน อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา เศรษฐกิจ อาหาร พลังงาน และสิ่งแวดล้อม - จะมีฐานะอย่างไรในประวัติศาสตร์ทุนนิยมโลก? เรื่องนี้มีมุมมองแตกต่างกันไป ตั้งแต่นักวิเคราะห์ที่มองในแง่ค่อนข้างดีไปจนถึงที่มองในแง่ค่อนข้างร้ายกระทั่งร้ายมาก (ประมวลจาก Marie-Beatrice Baudet, "Six crises qui bousculent l"ordre Economique mondial", Le Monde, 28 Avirl 2008)

รองศาสตราจารย์ ปีแอร์-ไซริล โอต์เกอ แห่ง l"Ecole d"Economie de Paris ยืนกรานว่า เวลาเราพยายามวัดขอบเขตของวิกฤตหนึ่งๆ ในเชิงปริมาณ เราต้องสนใจจำแนกแยกแยะกลไกของวิกฤต ที่กำลังดำเนินงานอยู่ ออกจากกระบวนการปรับตัวรับมือกับวิกฤตที่ย่อมจะก่อรูปขึ้นในที่สุด อย่าไปสับสนปะปนสองสิ่งนี้เข้าด้วยกัน
เขาตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับจุดต่ำสุดของวิกฤตครั้งนี้ว่า แม้ IMF กับ OECD (*) จะปรับตัวเลขคาดการณ์ต่ำลง แต่กระนั้นเศรษฐกิจโลกก็ยังน่าจะเติบโตอยู่ระหว่าง 3.5-4% ด้วยพลังขับเคลื่อนของจีนกับอินเดีย ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า เศรษฐกิจทั้งสองประเทศนี้ไม่พลอยชะลอตัวลงจนเกินไปด้วย

(*) The Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD) (in French: Organisation de cooperation et de developpement Economiques, OCDE) is an international organisation of 30 countries that accept the principles of representative democracy and free-market economy. Most OECD members are high-income economies with a high HDI and are regarded as developed countries.

It originated in 1948 as the Organisation for European Economic Co-operation (OEEC), led by Robert Marjolin of France, to help administer the Marshall Plan for the reconstruction of Europe after World War II. Later, its membership was extended to non-European states. In 1961, it was reformed into the Organisation for Economic Co-operation and Development by the Convention on the Organisation for Economic Co-operation and Development.

โอต์เกอสรุปว่า ฉะนั้นกล่าวในตอนนี้เราจึงไม่ได้เผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจที่ร้ายกาจถึงขั้นขุดรากถอนโคนแต่อย่างใด. ศาสตราจารย์ ฟิลิป ชาลแมง แห่งมหาวิทยาลัย Paris-Dauphine นักเศรษฐศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องวัตถุดิบก็เห็นด้วย เขาแนะว่า เราจำต้องถอยห่างตัวปรากฏการณ์ออกมาหน่อย หัดมองมันอย่างมีทัศนมิติและสัมพัทธ์บ้าง จริงอยู่วิกฤตจริงมันเข้มข้นรุนแรงมาก แต่ขอให้ลองย้อนนึกถึงวิกฤตสมัยคริสต์ทศวรรษ 1970 ดู ตอนนั้นน่ะ ใครต่อใครก็พากันป่าวประกาศตีโพยตีพายว่าระเบียบเศรษฐกิจระหว่างประเทศใหม่ได้ถือกำเนิดขึ้นแล้วไปนู่น...

แต่ในทางกลับกัน ลักษณะซ้ำซ้อนหลายเชิงของวิกฤตปัจจุบัน ก็เป็นที่ฉงนสนเท่ห์ของบรรดานักเศรษฐศาสตร์ และนักประวัติศาสตร์จริงๆ ต่างก็ยอมรับตรงกันว่ามันแปลกเด่นเป็นพิเศษ แม้ว่าอาจจะด้วยเหตุผลต่างๆ กันไป อาทิ: ศาสตราจารย์ชาลแมงเองก็ยืนยันว่า เขาไม่เคยเห็นตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา และตลาดวัตถุดิบ พลิกไหวผันผวนขนาดนี้มาก่อน ปกติเรามักอ้างอิงเปรียบเทียบระดับความร้ายแรงของปัญหาทำนองนี้กับวิกฤตเมื่อปี ค.ศ.1974 แต่ตอนนี้ดูเหมือนวิกฤตครั้งนั้นจะถูกแซงหน้าไปหมดแล้ว ลองคิดดูว่าวันที่ 2 มกราคมต้นปีนี้ (2551) น้ำมันราคาถังละ 100 US$ ซึ่งก็ถือว่าแพงเหลือเชื่อเป็นประวัติการณ์แล้ว แต่พอมาถึงวันที่ 25 เมษายน มันผ่าขึ้นไปถึงถังละ 117.6 US$ โน่นแน่ะ!

สำหรับ ฌอง-ปอล เบ็ตแบซ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์แห่งกลุ่มธนาคารและธุรกิจประกันภัย Credit agricole ซึ่งเป็นธนาคารเพื่อธุรกิจรายย่อยที่ใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศส ใหญ่เป็นอันดับสองของยุโรป และใหญ่เป็นอันดับ 8 ของโลกนั้น ถึงแม้จะเคยเกิดกรณีฟองสบู่อินเตอร์เน็ต หรือที่เรียกกันว่าฟองสบู่ดอทคอม(.com) หรือ IT แตก เมื่อปี ค.ศ.2000 มาแล้วก็ตาม แต่เขายังถือวิกฤตครั้งปัจจุบันเป็น "วิกฤตใหญ่ครั้งแรกแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 21"เบ็ตแบซเห็นว่า วิกฤตครั้งนี้ไม่ได้เป็นไปตามแบบแผนคลาสสิคของวิกฤตอเมริกัน หรือที่แห่งอื่นซึ่งปะทุขึ้นจุดหนึ่ง แล้วค่อยลุกลามไปยังส่วนอื่นของโลกในเวลาต่อมา ตรงกันข้าม เรากำลังเจอกับแบบแผนใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน ของกรณีวิกฤตหลายอันที่แตกต่างกันและขึ้นต่อพึ่งพากันและกัน เข้ามาบรรจบเชื่อมโยงกัน กล่าวคือ:

- ในสหรัฐอเมริกา มันเป็นวิกฤตของประเทศที่หนี้สินล้นพ้นตัว

- ในยุโรป มันเป็นวิกฤตของภูมิภาคที่รัฐภาคีสมาชิก แก้ไขปัญหาวิธีการปกครองทางการเมืองไม่ได้ตลอดรอดฝั่ง จึงเลยกลายเป็นอุปสรรคขัดขวาง จนไม่สามารถดำเนินยุทธศาสตร์เศรษฐกิจอย่างพร้อมเพรียงเป็นหนึ่งเดียวกันได้

- ส่วนในบรรดาประเทศตลาดเกิดใหม่นั้น มันกลับเป็นวิกฤตคลาสสิคของเศรษฐกิจที่เครื่องร้อนเกินหรือโตเร็วเกินไป

แต่ที่แย่กว่านั้นก็คือ บรรดาตัวละครทั้งหมดในวิกฤตเหล่านี้ ไม่ยอมร่วมมือกันดำเนินการ อย่างเช่น เมื่อค่าเงินดอลล่าร์ตกต่ำลง ทางอเมริกาก็ไม่ได้จัดแจงเตรียมการอะไรกับฝ่ายยุโรปเลย ฝ่ายหลังก็เลยได้แต่นั่งกุมขมับดูสินค้าออกของตัวเองแพงขึ้นๆ ตาปริบๆ ข้างฝ่ายจีนก็ไม่ยอมปรับค่าเงินหยวนใหม่ให้สูงขึ้น ซึ่งจะช่วยให้กลุ่มประเทศตะวันตก พอจะช่วงชิงสมรรถภาพในการแข่งขันของตัวคืนมาได้บ้าง ท่าทีของฝ่ายต่างๆ เช่นนี้ รังแต่ทำให้วิกฤตอันสลับซับซ้อนแก้ไขรับมือยากขึ้น

สอดคล้องกับทรรศนะของปิแอร์ เบซบัค นักเศรษฐศาสตร์ และหัวหน้าฝ่ายจัดประชุมสัมมนาแห่งมหาวิทยาลัย Paris-Dauphine ผู้เคยเขียนงานเกี่ยวกับประวัติศาสตร์วิกฤตเศรษฐกิจ เขายืนยันว่า ลักษณะพึ่งพาขึ้นต่อกันและกัน ของวิกฤตหลายเชิงรอบนี้ซับซ้อนกว่าครั้งใดที่ผ่านมา กล่าวคือ:

- แม้บรรดาประเทศกำลังพัฒนาจะไม่ตกอยู่ในฐานะถูกครอบงำอีกต่อไป กระนั้นก็ได้ถูกประสานเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับการแข่งขันทางเศรษฐกิจระดับโลกแล้ว
- ขณะที่บรรดาอดีตประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออก ก็ได้ถูกแปรสภาพไปอยู่ใต้กฎเกณฑ์ของระบบตลาดแล้วเช่นกัน

เราก็เลยเจอตัวละครมากมายหลากหลายตัวที่ต่างก็มีผลประโยชน์ไปคนละทางไม่สอดคล้องบรรจบกัน
เบซบัคหยิบยกงานเขียนเล่มหนึ่งของปาตริค อาร์ตูส์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์แห่งกลุ่มธนาคาร Natixis กับ มารี-ปอล วิราร์ด นักหนังสือพิมพ์ ชื่อเรื่อง Le capitalisme est en train de s"auto d truire (ทุนนิยมกำลังทำลายตัวเอง, พิมพ์โดย La Decouverte, 2005) มาอ้างอิงว่าเขาตีความวิกฤตปัจจุบันคล้อยตามนั้น กล่าวคือมันเป็นสัญญาณบอกว่า สังคมกำลังมาถึงจุดแตกหักเบ็ดเสร็จ

ระบบทุนนิยมไม่ได้กำลังพัฒนารุดหน้าอีกต่อไป หากกำลังมาถึงจุดสิ้นสุดยุติ บรรดาประเทศมหาอำนาจตะวันตกไม่อาจบีบบังคับให้ประเทศอื่นๆ มาแบกรับภาระจ่ายค่าวิกฤตแทนตัวเหมือนที่เคยทำสมัยปี ค.ศ.1929 ด้วยการกดราคาวัตถุดิบให้ต่ำลงได้อีกต่อไป เรากำลังเห็นกระบวนการทำลายตัวเองของทุนนิยมทั้งในแง่ระบบและการดำเนินงานของมัน และวิกฤตขณะนี้นับเป็นสัญญาณแรงที่สุดของการณ์นั้น

สรุปในภาษาของวูลฟ์แกงก์ มึนเชา รองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ Financial Times ก็คือ "มันไม่ใช่เหตุบังเอิญที่วิกฤตหลายเชิงของเรา - ทั้งวิกฤตอสังหาริมทรัพย์, สินเชื่อ, ธนาคาร, อาหารและสินค้า - มาเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน เหตุผลง่ายๆ ก็คือมันล้วนเป็นบทตอนต่างๆ ของเรื่องเดียวกัน มารดาของวิกฤตทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ ได้แก่ การปรับตัวของเศรษฐกิจมหภาคระดับโลก - ซึ่งเผอิญเป็นกรณีหายากที่เราพอจะใช้คำว่า "crisis" (วิกฤต) ในความหมายภาษากรีกแต่เดิมของมันว่า "หัวเลี้ยวหัวต่อ" มาเรียกได้จริงๆ มันเป็นอาการช็อคทางเศรษฐกิจมหภาคระดับโลกขนาดมหึมาเลยทีเดียว...

"ถึงไงการปรับตัวก็คงจะต้องใช้เวลา...อาจจะไม่มีการพังทลายทางการเงินระดับโลก แต่กระนั้นวิกฤตหลายเชิงของเรา อาจหวนกลับมาเล่นงานเราอย่างหนักหนาสาหัสเหนือความคาดหมายได้ง่ายๆ เหมือนผู้ร้ายเลือดท่วมตัวในหนังสยองขวัญ ที่ลุกฟื้นขึ้นมาสู้กับเราเป็นครั้งสุดท้ายนั่นแหละ"
(Wolfgang Munchau, "Global adjustment will be long and painful", Financial Times, 27 April 2008)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ภาคผนวก (โดยกอง บก.มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)

ก. ธนาคารโลก
The World Bank is an international financial institution that provides leveraged loans to poorer countries for capital programs with a claimed goal of reducing poverty.

The World Bank differs from the World Bank Group, in that the World Bank comprises only two institutions:
- International Bank for Reconstruction and Development (IBRD)
- International Development Association (IDA)

Whereas the latter incorporates these two in addition to three more:
- International Finance Corporation (IFC)
- Multilateral Investment Guarantee Agency (MIGA)
- International Centre for Settlement of Investment Disputes (ICSID)

The World Bank is one of two major financial institutions created as a result of the Bretton Woods Conference in 1944. The International Monetary Fund, a related but separate institution, is the second. Delegates from a wide variety of countries attended the Bretton Woods Conference, but the most powerful countries in attendance, the United States and Britain, mainly shaped negotiations.

1945-1968
From its conception until 1967 the bank undertook a relatively low level on lending. Fiscal conservatism and careful screening of loan applications was generally accepted practice at the World Bank during this early period. Bank staff attempted to balance the priorities of providing loans for reconstruction and development with the need to instill confidence in the bank as a reliable institution suitable for investment. Bank president John McCloy selected France to be the first recipient of World Bank aid; two other applications presented at this time from Poland and Chile were rejected. The loan was for $ 987 million, half the amount requested, and came with strict conditions. Staff from the World Bank would monitor the end use of the funds, ensuring that the French government would present a balanced budget, and give priority of debt repayment to the World Bank over other foreign governments. The United States State Department also acted at this time to inform the French Government that Communist elements within the Cabinet needed to be removed. The French Government complied with this request and removed the Communist elements from the 1947 coalition government. Within hours of this event the loan to France was approved. The Marshall Plan of 1947 caused lending practices at the bank to be altered, as many European countries received aid that competed directly with World Bank loans. Emphasis was shifted to non-European countries and up until 1968 loans were primarily earmarked for projects that would directly enable a borrower country to repay loans (such projects as ports, highway systems, and power plants).

1968-1980
From 1968-1980 the bank focused on poverty alleviation and meeting the basic needs of people in the developing world. During this period the size and number of loans to borrower nations was greatly increased as the spectrum of loan targets expanded from infrastructure into social services and other sectors. These changes can to a large extent be attributed to Robert McNamara who assumed the Presidency in 1968 after being appointed by US president Lyndon B. Johnson. McNamara imported a technocratic managerial style to the bank that he had employed during periods he had spent serving as United States Secretary of Defense, and President of the Ford Motor Company. McNamara shifted the focus of bank policy towards measures such as building schools and hospitals, improving literacy rates and conducting large-scale agricultural reform.

McNamara created a new system of gathering information from potential borrower nations that enabled the bank to process loan applications at a much faster rate. In order to finance the increased loan volume, McNamara tasked bank treasurer Eugene Rotberg to seek out new sources of capital outside of the northern banks that had previously been the primary sources of bank funding. Rotberg utilized the global bond market to greatly increase the amount of capital available to the bank. One consequence of the period of poverty alleviation lending was the rapid rise of third world debt. From 1976-1980 third world debt rose at an average annual rate of 20%.

1980-1989
In 1980 A.W. Clausen replaced Robert McNamara as World Bank president after being nominated by US President Ronald Reagan. Clausen replaced a large number of bank staffers who had been active during the McNamara era and instituted a new ideological focus in the bank. The replacement of Chief Economist Hollis B. Chenery by Anne Krueger in 1982 marked a notable policy shift at the bank. Krueger was known for her criticism of development funding as well as third world governments as rent-seeking states. Lending for the purposes of servicing third world debt largely marked the period of 1980-1989. Structural adjustment policies aimed at streamlining the economies of developing nations (largely at the expense of health and social services reductions) were also a large part of World Bank policy during this period. UNICEF reported in the late 1980s that the structural adjustment programs of the World Bank were responsible for the "reduced health, nutritional, and educational levels for tens of millions of children in Asia, Latin America, and Africa".

1989-Present
From 1989 to present, World Bank policy has shifted greatly, largely in response to criticism from a plurality of groups. Environmental groups and NGOs are often now integrated into the lending practices of the bank in order to mitigate the negative results of the previous era that prompted such harsh criticism. Bank projects now explicitly embrace a "green" focus.

ข. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ

The International Monetary Fund (IMF) is an international organization that oversees the global financial system by following the macroeconomic policies of its member countries, in particular those with an impact on exchange rates and the balance of payments. It is an organization formed to stabilize international exchange rates and facilitate development. It also offers highly leveraged loans mainly to poorer countries. Its headquarters are located in Washington, D.C., USA.

The International Monetary Fund was created in July of 1944, originally with 46 members, with a goal to stabilize exchange rates and assist the reconstruction of the world's international payment system. Countries contributed to a pool which could be borrowed from, on a temporary basis, by countries with payment imbalances. (Condon, 2007)

The IMF describes itself as "an organization of 186 countries (Kosovo being the 186th, as of June 29, 2009), working to foster global monetary cooperation, secure financial stability, facilitate international trade, promote high employment and sustainable economic growth, and reduce poverty". With the exception of Taiwan (expelled in 1980), North Korea, Cuba (left in 1964), Andorra, Monaco, Liechtenstein, Tuvalu and Nauru, all UN member states participate directly in the IMF. Most are represented by other member states on a 24-member Executive Board but all member countries belong to the IMF's Board of Governors.

The International Monetary Fund was formally created in July 1944 during the United Nations Monetary and Financial Conference. The representatives of 44 governments met in the Mount Washington Hotel in the area of Bretton Woods, New Hampshire, United States of America, with the delegates to the conference agreeing on a framework for international economic cooperation. The IMF was formally organised on December 27, 1945, when the first 29 countries signed its Articles of Agreement. The statutory purposes of the IMF today are the same as when they were formulated in 1943

Today

The IMF's influence in the global economy steadily increased as it accumulated more members. The number of IMF member countries has more than quadrupled from the 44 states involved in its establishment, reflecting in particular the attainment of political independence by many developing countries and more recently the collapse of the Soviet bloc. The expansion of the IMF's membership, together with the changes in the world economy, have required the IMF to adapt in a variety of ways to continue serving its purposes effectively.

In 2008, faced with a shortfall in revenue, the International Monetary Fund's executive board agreed to sell part of the IMF's gold reserves. On April 27, 2008, IMF Managing Director Dominique Strauss-Kahn welcomed the board's decision April 7, 2008 to propose a new framework for the fund, designed to close a projected $400 million budget deficit over the next few years. The budget proposal includes sharp spending cuts of $100 million until 2011 that will include up to 380 staff dismissals.

At the 2009 G-20 London summit, it was decided that the IMF would require additional financial resources to meet prospective needs of its member countries during the ongoing global crisis. As part of that decision, the G-20 leaders pledged to increase the IMF's supplemental cash tenfold to $500 billion, and to allocate to member countries another $250 billion via Special Drawing Rights.

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1700 เรื่อง หนากว่า 35000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com