ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้เป็นสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๒ : Release date 01 July 2009 : Copyleft MNU.

ทางเลือกเดียวที่เราไม่สามารถทำได้ ก็คือเราจะไม่เลือกเส้นทางของการยอมแพ้และความทุกข์ยาก มันคือหน้าที่ต่างๆ อันศักดิ์สิทธิ์ของชาติและประชาชนเราที่จะไม่เมินเฉยเมื่อถูกละเมิด…เราไม่ได้ทะเลาะกับชาวเยอรมัน เราไม่ได้มีความรู้สึกต่อพวกเขาเช่นนั้น เราจะมีก็แต่ความเห็นอกเห็นใจและมิตรภาพเท่านั้น มันไม่ใช่ด้วยแรงกระตุ้นผลักดันของพวกเขาที่ทำให้รัฐบาลของพวกเขาปฏิบัติการเข้าสู่สงคราม มันไม่ใช่ด้วยความรู้ก่อนหน้านั้นหรือความเห็นพ้องแต่อย่างใด มันคือสงครามที่ถูกกำหนดบนเงื่อนไขสงครามดังที่มันเคยเป็นในอดีต วันเวลาแห่งความทุกข์ยาก เมื่อประชาชนไม่มีช่องทางที่จะได้รับการหา รือจากพวกชนชั้นปกครอง และสงครามต่างๆ ถูกปลุกเร้าและเข้าร่วมการต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของราชวงศ์ต่างๆ หรือของคนกลุ่มเล็กๆ

H



01-07-2552 (1740)
ประวัติศาสตร์โลก: จากสันนิบาตชาติสู่องค์การสหประชาชาติ
บทบาทของสหรัฐในองค์การความมั่นคงระหว่างประเทศยุคสงคราม
ดร.ธนวัฒน์ พิมลจินดา: เรียบเรียง
สถาบันการศึกษานานาชาติ (IIS) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
(บทความชิ้นนี้มีการแปลเสริมบางส่วนโดย สมเกียรติ ตั้งนโม)

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

งานเรียบเรียงชิ้นนี้ได้รับมาจากผู้เขียน เป็นเรื่องเกี่ยวกับอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาในเวทีโลก
นับจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสอง กระทั่งถึงการก่อตั้ง NATO และ SEATO
งานเรียบเรียงชิ้นนี้จะทำให้เราเห็นถึงนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกากับการเมืองโลก

อิทธิพลของประเทศมหาอำนาจในการวางนโยบายภูมิศาสตร์การเมืองในภูมิภาคต่างๆ

งานเรียบเรียงชิ้นนี้ได้มีการแบ่งแยกหัวข้อเพื่อสะดวกต่อการค้นคว้าดังต่อไปนี้
- บทบาทของสหรัฐในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ
- ความล้มเหลวของ "สันนิบาตชาติ" (League of Nations)
- โครงสร้างขององค์การสันนิบาตชาติ ๓ สถาบันหลัก
- ความล้มเหลวขององค์การสันนิบาตชาติ
- ความไม่เท่าเทียมที่แอบแฝงในองค์การสหประชาชาติ
- ความไม่เท่าเทียมระหว่างประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ
- องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้)
- Southeast Asia Treaty Organization: SEATO
- วัตถุประสงค์หลักของ SEATO
(บทความนี้จัดอยู่ในหมวด "ประวัติศาสตร์การเมืองโลก")

สนใจส่งบทความเผยแพร่ ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน:
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๗๔๐
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๓.๕ หน้ากระดาษ A4 โดยไม่มีภาพประกอบ)

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ภาพซ้าย: ประธานาธิบดี Woodrow Wilson. ภาพขวา: ประธานาธิบดี Franklin D. Roosevelt

ประวัติศาสตร์โลก: จากสันนิบาตชาติสู่องค์การสหประชาชาติ
บทบาทของสหรัฐในองค์การความมั่นคงระหว่างประเทศยุคสงคราม
ดร.ธนวัฒน์ พิมลจินดา: เรียบเรียง
สถาบันการศึกษานานาชาติ (IIS) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
(บทความชิ้นนี้มีการแปลเสริมบางส่วนโดย สมเกียรติ ตั้งนโม)
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

1. เกริ่นนำ
จากแนวคิดของ Hedley Bull (1995) สภาวะอนาธิปไตย (Anarchy) หรือความไร้ระเบียบ ของสังคมชุมชนระหว่างประเทศ เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ "การส่งเสริม" และ "การดำรงรักษาไว้" ซึ่งระเบียบระหว่างประเทศ โดยเน้นการกำหนดแบบแผนหรือการจัดการกิจกรรมระหว่างประเทศ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายในการสร้างสันติภาพในสังคมชุมชนระหว่างรัฐ (1) สำหรับประเด็นดังกล่าวนี้ Bull ได้จำแนกระเบียบของการเมืองโลก (Order of world politics) ออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้

(1) ระเบียบทางสังคม (Order in social life) เป็นปัจจัยพื้นฐานของความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในแต่ละสังคมและระหว่างสังคม
(2) ระเบียบระหว่างประเทศ (International order) เป็นระเบียบแบบแผนระหว่างรัฐในระบบระหว่างประเทศ
(3) ระเบียบโลก (World order) เป็นระเบียบของมนุษยชาติทั้งมวลที่ดำรงอยู่ในสังคมชุมชนระหว่างประเทศ

(1) Bull, H. (1995). The anarchical society: A study of order in world politics (2nd ed.). London: Macmillan. pp. 3-21.

เพื่อเป็นการดำรงไว้ซึ่งระเบียบระหว่างประเทศ Bull (1995) ได้เสนอว่า มันเป็นภาระหน้าที่ของประเทศมหาอำนาจ (Great power) อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมหาอำนาจด้วยกันเอง อย่างไรก็ตาม ที่กล่าวมานี้ ไม่ได้เน้นข้อเสนอเชิงประจักษ์ (Empirical) ที่ประเทศมหาอำนาจจะต้องดำเนินการระหว่างกัน หากแต่เป็นบรรทัดฐาน (Normative) เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดบทบาทและความรับผิดชอบของประเทศมหาอำนาจที่มีต่อการเมืองโลก ซึ่งข้อเสนอเช่นว่านี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากความจริงที่ว่า "รัฐแต่ละรัฐมีอำนาจไม่เท่าเทียมกัน" ซึ่งความไม่เท่าเทียมกันเป็นผลมาจากศักยภาพของรัฐ ซึ่งจำแนกเป็นประเด็นสำคัญได้ ดังนี้

(1) ศักยภาพในการทำการรบเชิงรุก (Offensive strategy)
(2) ศักยภาพในการกำหนดยุทธศาสตร์ในการป้องกัน (Defensive strategy)
(3) ศักยภาพในการดำรงไว้ซึ่งความอยู่รอด ความปลอดภัย และความมั่นคงของชาติ (National survival, safety and security)

นอกจากนี้ รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในเวทีการเมืองระหว่างประเทศขึ้นอยู่กับลักษณะทางภูมิศาสตร์ ทรัพยากร และภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ ตลอดจนสภาพแวดล้อมท่ามกลางการอยู่ร่วมกันระหว่างรัฐ แนวทางการดำเนินนโยบายต่างประเทศก็เช่นเดียวกัน ที่ถูกกำหนดด้วย "เกมแห่งการช่วงชิงอำนาจ" (The rules of power game) และท่าทีที่รัฐจำเป็นต้องแสดงออกเพื่อเป็นการประกันความอยู่รอดและผลประโยชน์ ทั้งทางด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจ ด้วยเหตุนี้ การที่ประเทศมหาอำนาจจะแสดงบทบาทใดๆ หรือวางตัวเป็นกลาง หรือปฏิเสธที่จะรับรู้ปัญหา ย่อมมีผลกระทบต่อบรรยากาศความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในเวทีระหว่างประเทศ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อมและไม่มากก็น้อย ซึ่งสอดคล้องกับข้อเสนอของสำนักสัจจนิยม (Realism) ที่ว่า "การที่รัฐสร้างพันธมิตรหรือเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศ ถือเป็นเครื่องมือหนึ่งในการดำเนินนโยบายต่างประเทศเพื่อความมั่นคงและผลประโยชน์แห่งรัฐ"

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคสงคราม รัฐจะใช้ประโยชน์จากการเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศและวิถีทางทางการทูต เป็นช่องทางในการแสวงหาความมั่นคงและผลประโยชน์ และอย่างน้อยที่สุด ภัยคุกคามใดๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับรัฐที่อยู่อย่างโดดเดี่ยวในเวทีระหว่างประเทศจะลดน้อยลง หากรัฐนั้นมีพันธมิตรหรือคู่เจรจาร่วมดำเนินการ หรือยิ่งไปกว่านั้นก็คือ การที่รัฐได้เข้าไปเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศ ซึ่งมีกฎเกณฑ์ในการกำหนดกรอบความสัมพันธ์ระหว่างกัน

2. บทบาทของสหรัฐในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ
นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 การดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจ และพฤติกรรมของรัฐในระบบระหว่างประเทศ (International system) เมื่อสังเกตถึงสัมพันธภาพระหว่างระบบระหว่างประเทศและนโยบายของสหรัฐอเมริกา ในฐานะประเทศมหาอำนาจของโลกนั้น ดูเหมือนจะเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงของระบบระหว่างประเทศเป็นตัวแปรในการกำหนดนโยบายของสหรัฐฯ นโยบายที่สหรัฐฯกำหนดขึ้นก็จะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบระหว่างประเทศเช่นเดียวกัน และด้วยเหตุผลเดียวกันนี้ การแสดงบทบาทของสหรัฐภายใต้กรอบความร่วมมือขององค์การระหว่างประเทศ จึงมีผลกระทบต่อผลประโยชน์และความมั่นคงระหว่างรัฐเช่นกัน จากคำกล่าวของ Franklin D. Roosevelt (ประธานาธิบดีคนที่ 32 ของสหรัฐอเมริกา) ในปี 1945 กล่าวว่า

"…nothing is more essential to the future peace of the world than continued cooperation of the nations which had to muster the force necessary to defeat the conspiracy of the Axis powers to dominate the world. While the great states have a special responsibility to enforce the peace, their responsibility is based upon the obligations resting upon all states, large and small, not to use force in international relations except in defense of law." (2)

ไม่มีอะไรที่สำคัญต่อสันติภาพของโลกในอนาคต ยิ่งไปกว่าความร่วมมือกันของประชาชาติต่างๆ ซึ่งจะต้องรวบรวมกำลังอำนาจที่จำเป็น เพื่อเอาชนะการสมรู้ร่วมคิดของอำนาจฝ่ายอักษะ(เยอรมนี ญี่ปุ่น อิตาลี)ที่จะครองโลก ขณะที่รัฐต่างๆ อันยิ่งใหญ่มีความรับผิดชอบร่วมกันเป็นพิเศษในการใช้กำลังเพื่อการปกป้องสันติภาพ ความรับผิดชอบของรัฐเหล่านี้มีรากฐานอยู่บนข้อผูกมัดต่างๆ ของทุกรัฐ ไม่ว่าใหญ่หรือเล็ก ที่จะไม่ใช้กำลังในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เว้นแต่เพื่อการปกป้องกฎหมายเท่านั้น (สมเกียรติ ตั้งนโม: แปล)

(2) อ้างอิงใน Kissinger, H. (1994). Diplomacy. New York: Simon & Schuster. p. 427.

จากที่กล่าวมาในเบื้องต้นนี้ ผู้เขียนจึงได้ยกตัวอย่างองค์การด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ ที่มหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาได้เข้าไปแสดงบทบาทสำคัญ ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะของตัวแสดงหลักในการก่อตั้งองค์การ หรือประเทศผู้นำในปฏิบัติการต่างๆ ตลอดจนผลกระทบจากการแสดงบทบาทเช่นว่านั้น ต่อความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและระบบระหว่างประเทศ

3. ความล้มเหลวของ "สันนิบาตชาติ" (League of Nations)
เดิมที สหรัฐอเมริกาเน้นการดำเนินนโยบายทางการทูตแบบโดดเดี่ยวตัวเอง (Isolationism) เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งและสงครามที่อาจจะเกิดจากการเข้าร่วมเป็นภาคีกับประเทศที่มีศัตรูอยู่ก่อนแล้ว หรืออย่างน้อยที่สุดก็เพื่อดำรงไว้ซึ่งความมั่นคงภายในและปกป้องผลประโยชน์แห่งชาติ อย่างไรก็ตาม จากการที่จักรวรรดินิยมเยอรมันได้เริ่มแผ่ขยายอำนาจเข้ารุกรานประเทศข้างเคียง และยังปฏิเสธต่อคำเตือนของสหรัฐฯอย่างสิ้นเชิงนั้น ได้ทำให้สหรัฐฯถูกดึงเข้าสู่วงล้อมของความขัดแย้งและสงครามอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ หลังจากได้รับการเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 ในปี 1916 (ช่วงกลางสงครามโลกครั้งที่ 1 ระหว่าง 1914 - 1918) ประธานาธิบดี Woodrow Wilson ได้พยายามโน้มน้าวเสียงสนับสนุนจากสภาคองเกรส (the Congress) พร้อมทั้งออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 2 เมษายน 1917 โดยกล่าวเน้นว่า สหรัฐอเมริกาไม่สามารถที่จะเพิกเฉยหรือวางตัวเป็นกลางได้อีกต่อไป ซึ่งแถลงการณ์ส่วนหนึ่งที่สำคัญของประธานาธิบดี Wilson มีดังนี้

"There is one choice we cannot make…we will not choose the path of submission and suffer the most sacred rights of our nation and our people to be ignored or violated…We have no quarrel with the German people. We have no feeling towards them but one of sympathy and friendship. It was not upon their impulse that their government acted in entering this war. It was not with their previous knowledge or approval. It was a war determined upon as wars used to be…in the old, unhappy days when peoples were nowhere consulted by their rulers and wars were provoked and waged in the interest of dynasties or of little groups of ambitious men who were accustomed to use their fellowmen as pawns and tools…" (3)

ทางเลือกเดียวที่เราไม่สามารถทำได้ คือเราจะไม่เลือกเส้นทางของการยอมแพ้และความทุกข์ยาก มันคือหน้าที่ต่างๆ อันศักดิ์สิทธิ์ของชาติและประชาชนเราที่จะไม่เมินเฉยเมื่อถูกละเมิด…เราไม่ได้ทะเลาะกับชาวเยอรมัน เราไม่ได้มีความรู้สึกต่อพวกเขาเช่นนั้น จะมีก็แต่ความเห็นอกเห็นใจและมิตรภาพเท่านั้น มันไม่ใช่ด้วยแรงกระตุ้นผลักดันของพวกเขาที่ทำให้รัฐบาลของพวกเขาปฏิบัติการเข้าสู่สงคราม มันไม่ใช่ด้วยความรู้ก่อนหน้านั้นหรือความเห็นพ้องแต่อย่างใด มันคือสงครามที่ถูกกำหนดบนเงื่อนไขสงครามดังที่มันเคยเป็นในอดีต วันเวลาแห่งความทุกข์ยาก เมื่อประชาชนไม่มีช่องทางที่จะได้รับการหารือจากพวกชนชั้นปกครอง และสงครามต่างๆ ถูกปลุกเร้าและเข้าร่วมการต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ของราชวงศ์ต่างๆ หรือของคนกลุ่มเล็กๆ ที่มีความทะเยอทะยาน ซึ่งคุ้นชินที่จะใช้พี่น้องร่วมชาติในฐานะที่เป็นเบี้ยและเครื่องมือ… (สมเกียรติ ตั้งนโม: แปล)

(3) Woodrow Wilson, from "Address to Congress Asking for Declaration of War," 1917. อ้างอิงใน Vasques, J. (1996). Classics of International Relations (3rd ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall. pp. 35-40.

การตัดสินใจเข้าร่วมสงครามของสหรัฐในครั้งนี้ นอกจากจะนำไปสู่การสิ้นสุดของสงครามโลกแล้ว ยังเป็นที่คาดหวังโดยทั่วไปว่า จะเป็นการรับประกันชัยชนะของฝ่ายประชาธิปไตยที่มีต่อฝ่ายเผด็จการอำนาจนิยม นอกจากนี้ ประธานาธิบดี Wilson ได้ประกาศเจตจำนงที่จะสร้างความมั่นคงและจัดระเบียบโลกใหม่ (New world order) โดยมีแนวคิดพื้นฐานตามแบบนานาชาตินิยมแนวเสรี (Liberal Internationalism) เพื่อเป็นการปูทางไปสู่การปกป้องและพัฒนาประชาธิปไตย (Making the world safe for democracy) ในเวทีระหว่างประเทศ ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากส่วนหนึ่งของสุนทรพจน์ที่ประธานาธิบดี Wilson ได้กล่าวไว้ หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ดังนี้

"…We are glad now that we see the facts with no veil of false pretense about them, to fight thus for the ultimate peace of the world and for the liberation of its peoples, the German peoples included: for the right of nations great and small and the privilege of men everywhere to choose their way of life and of obedience. The world must be made safe for democracy. We have no selfish ends to serve. We desire no conquest, no dominion. We seek no indemnities for ourselves, no material compensation for the sacrifices we shall freely make. We are but one of the champions of the right of mankind. We shall be satisfied when those rights have been made as secure as the faith and the freedom of nations can make them." (4)

ขณะนี้เราต่างดีใจที่ได้พบข้อเท็จจริงอย่างไม่มีอะไรเคลือบแฝงเกี่ยวกับความผิดพลาดและมารยาของพวกเขา การต่อสู้เพื่อรากฐานสันติภาพของโลกและของประชาชน รวมทั้งผู้คนเยอรมัน: สำหรับหน้าที่ของประชาชาติอันยิ่งใหญ่และประเทศเล็กๆ และเพื่อประโยชน์ของผู้คนทุกหนแห่งที่จะเลือกทางเดินชีวิตและได้รับการยอมรับ โลกจะต้องปลอดภัยสำหรับประชาธิปไตย เราจะต้องไม่ทำอะไรด้วยความเห็นแก่ตัว เราไม่ปรารถนาที่จะเอาชนะ เราไม่ต้องการควบคุม เรามิได้แสวงหาค่าชดเชยเพื่อตัวเราเอง ไม่ต้องการการตอบแทนในเชิงวัตถุสำหรับการพลีชีพ เรากระทำการทั้งหลายอย่างอิสระ เราคือหนึ่งในนักต่อสู้เพื่อสิทธิของมนุษยชาติ เรารู้สึกพึงพอใจเมื่อสิทธิดังกล่าวได้ถูกสร้างขึ้นและมั่นคงปลอดภัยในฐานะศรัทธาและอิสรภาพของประชาชาติซึ่งสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้ (สมเกียรติ ตั้งนโม: แปล)

(4) Woodrow Wilson, from "Address to Congress Asking for Declaration of War," 1917. อ้างอิงใน Vasques, J. (1996). Classics of International Relations (3rd ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall. pp. 35-40.

จากเจตจำนงในการผลักดันกระบวนการสันติภาพระหว่างประเทศ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐ ในวันที่ 8 มกราคม 1918 ประธานาธิบดี Wilson ได้กล่าวคำปราศรัยในเวทีสภาคองเกรสถึง "แผนการ 14 ข้อ" (Fourteen-Points Plan) ซึ่งเป็นแนวทางในการพัฒนาสันติภาพและประชาธิปไตย (5) และในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน ประธานาธิบดี Wilson ได้ทำหน้าที่ประธานการประชุมสันติภาพ ณ กรุงปารีส (Paris Peace Conference) พร้อมทั้งได้กำหนดกฎระเบียบและข้อบังคับ (Rules and Regulations) สำหรับการสร้างองค์การระหว่างประเทศ โดยเน้นการใช้วิถีทางทางการทูตและการเคารพในฉันทานุมัติเป็นแนวทางในการสร้างสันติภาพ

(5) โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.historyguide.org/Europe/14points.html

นอกจากนี้ ผลจากการประชุมดังกล่าวได้นำไปสู่การร่าง "กติการ่วมกัน" หรือที่เรียกว่า Covenant between nations ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาแวร์ซายส์ (Treaty of Versailles) โดยมีผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 เมษายน 1919 และเป็นผลให้เกิดการจัดตั้ง "องค์การสันนิบาตชาติ" (League of Nations) อย่างเป็นทางการในวันที่ 10 มกราคม 1920 (6) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการสร้างความมั่นคงร่วมกัน (Collective Security) ซึ่งหมายถึง การที่ทุกประเทศมีหน้าที่ซึ่งจะต้องเข้าไปแทรกแซงการกระทำใดๆ ที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งและสงครามระหว่างประเทศ อีกทั้งยังหมายถึงการที่คู่กรณีทั้ง 2 ฝ่าย จะต้องแสดงเหตุผลของความขัดแย้งให้สันนิบาตชาติได้รับรู้และพิจารณา นอกจากนี้ ประเด็นที่สำคัญของ "กติการ่วมกัน" ในมาตรา 16 ได้ให้อำนาจแก่สันนิบาตชาติในการใช้มาตรการลงโทษ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจและปฏิบัติการทางทหารต่อประเทศที่ไม่ยอมปฏิบัติตาม

(6) Evans, G., & Newnham, J. (1992). The dictionary of world politics. London: Harvester Wheatsheaf. p. 176.

โครงสร้างขององค์การสันนิบาตชาติ ๓ สถาบันหลัก
เมื่อพิจารณาถึงโครงสร้างขององค์การสันนิบาตชาติ จะประกอบด้วย 3 สถาบันหลัก (7) คือ

(1) คณะมนตรี (The Council) ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั่วไป 15 ประเทศ และประเทศสมาชิกถาวร 4 ประเทศ คือ ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร (สหรัฐอเมริกาไม่เข้าร่วม) โดยที่ประเทศเยอรมนีเข้าเป็นสมาชิกในปี 1926 และสหภาพโซเวียตในปี 1934 ทั้งนี้ประเทศเยอรมนีออกจากการเป็นสมาชิกในปี 1935 อันเนื่องมาจากความขัดแย้งระหว่างรัฐสมาชิก และการแผ่ขยายอิทธิพลในยุโรป คณะมนตรีจะประชุมร่วมกัน 3 ครั้งต่อปี และรายงานต่อที่ประชุมสมัชชาสันนิบาตชาติ โดยที่กิจกรรมหลัก คือ การจัดการความขัดแย้งระหว่างประเทศ

(2) สมัชชาสันนิบาตชาติ (The Assembly) เป็นเวทีการประชุมร่วมกันของผู้นำประเทศสมาชิกและเลขาธิการซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยมติที่ประชุมจะเป็นไปในลักษณะคะแนนเสียงเอกฉันท์ สมัชชาสันนิบาตชาติจะดำเนินการในเรื่องสำคัญต่างๆ เช่น การกำหนดงบประมาณ การรับประเทศสมาชิกใหม่ และประเด็นเปราะบางใดๆ ที่อาจมีผลต่อสันติภาพของโลก รวมทั้งการคัดเลือกประเทศสมาชิกชั่วคราวเพื่อทำหน้าที่ในคณะมนตรีด้วย เป็นต้น

(3) สำนักเลขาธิการ (The Secretariat) ภายใต้การควบคุมดูแลของเลขาธิการใหญ่แห่งสันนิบาตชาติ มีหน้าที่หลักในการส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศ รวมทั้งการบริหารจัดการความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก

(7) โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://www.library.northwestern.edu/govinfo/collections/league/background.html

จากที่กล่าวมาจะสังเกตได้ว่า แม้ประธานาธิบดี Wilson ได้พยายามผลักดันการสร้างสันติภาพและแสดงเจตจำนงในการจัดระเบียบโลกใหม่ ทว่าสภาคองเกรสกลับปฏิเสธแนวทางที่จะให้สหรัฐฯเข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสันนิบาตชาติ และปฏิเสธที่จะให้สัตยาบันในสนธิสัญญาแวร์ซายอีกด้วย จากบทวิเคราะห์ของ Steven Hook และ John Spanier (2004) นอกเหนือจากความเห็นที่ขัดแย้งระหว่างประธานาธิบดี Wilson และสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐแล้ว ยังมีข้อกังขาเกี่ยวกับบทบาทของสันนิบาตชาติ ที่อาจมีผลกระทบต่ออธิปไตยของสหรัฐในประเด็นที่ว่า สันนิบาตชาติอาจจะเรียกร้องให้สหรัฐฯส่งกองกำลังไปปฏิบัติการในต่างแดน ทั้งที่ไม่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของสหรัฐเลยก็ตาม (8)

(8) Hook, S. W., & Spanier, J. (2004). American foreign policy since World War II (16th ed.). Washington, DC: QC Press.

ความล้มเหลวขององค์การสันนิบาตชาติ
แม้ว่าสันนิบาตชาติจะประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาทางการเมืองระหว่างประเทศในช่วงทศวรรษที่ 1920 ทว่าความขัดแย้งทางเศรษฐกิจกลับทวีความรุนแรงมากขึ้น ตลอดจนกระแสของการสร้างความเข้มแข็งทางทหาร (Militarism) ในช่วงทศวรรษที่ 1930 (ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่สันนิบาตชาติไม่มีกองกำลังร่วมอย่างเป็นทางการ และขาดการบังคับใช้มาตรการลงโทษทางทหาร การเมือง และเศรษฐกิจอย่างจริงจัง) ไม่เพียงแต่จะทำให้เกิดรอยร้าวระหว่างประเทศสมาชิก แต่ยังนำไปสู่ความขัดแย้งซึ่งยากที่จะแก้ไข ตัวอย่างเช่น สงครามระหว่างญี่ปุ่นและจีน (แมนจูเรีย) ในปี 1931 และ โบลิเวีย-ปารากวัย คาโก (Bolivia-Paraguay Chaco) ในปี 1932-35 เป็นต้น

มหาอำนาจอย่างเยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น รวมถึงอีกหลายประเทศจึงตัดสินใจออกจากการเป็นสมาชิกของสันนิบาตชาติ โดยมีเหตุผลหลัก คือ ความไร้ประสิทธิภาพในการสร้างความมั่นคงร่วมกัน (Collective security) โดยหันกลับไปสู่ระบบรัฐแบบเดิม นั่นคือ การแบ่งขั้วอำนาจหลักและพันธมิตรด้านความมั่นคง (9)

(9) โปรดดูเพิ่มเติมที่ http://www.unog.ch/library/archives/lon/ovrvfset.html

บทบาทของสันนิบาตชาติถือเป็นอันสิ้นสุด เมื่อ Benito Mussolini ได้สั่งเคลื่อนกองทัพอิตาลีเข้าสู่ดินแดนเอธิโอเปียในช่วงปี 1935 และกองทัพเยอรมันของ Adolf Hitler ได้เข้าครอบงำยุโรปตะวันออก โดยการรุกคืบเข้าสู่ออสเตรีย และเชคโกสโลวาเกีย ในช่วงปี 1938 ตลอดจนการที่สภาคองเกรสของสหรัฐฯ ได้ผ่านร่างพระราชบัญญัติการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ซึ่งถือเป็นการปฏิเสธต่อการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการ ท้ายที่สุดแล้ว จากความล้มเหลวของกระบวนการสร้างสันติภาพแ ละบทบาทในการยับยั้งความขัดแย้งระหว่างรัฐ ได้ทำให้สันติภาพที่มีอยู่อย่างน้อยนิด กลับเข้าสู่สภาวะของสงครามโลกอีกครั้งในปี 1939

4. ความไม่เท่าเทียมที่แอบแฝงในองค์การสหประชาชาติ
ในขณะที่อังกฤษและฝรั่งเศส รวมทั้งเยอรมันยังคงได้รับความบอบช้ำจากสงครามโลกครั้งที่ 2 (1939-1945) แต่สหรัฐอเมริกาในฐานะหนึ่งในสัมพันธมิตร ยังคงรักษาสภาพความมั่นคงเอาไว้ได้ และกลายมาเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ (Superpower) ของฝั่งตะวันตก ในการดำเนินแผนการ Marshall Plan (*) เพื่อสมานรอยร้าวของยุโรปตะวันตก นอกจากนี้ อาจกล่าวได้ว่าตั้งแต่ทศวรรษที่ 1950 เป็นต้นมา สหรัฐอเมริกาได้เข้าไปมีบทบาทในการจัดระเบียบกิจการระหว่างประเทศ และที่สำคัญคือ การแสดงบทบาทนำในการต่อต้านการขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยมีสหภาพโซเวียต (Union of Soviet Socialist Republics: USSR) เป็นผู้นำ ซึ่งไม่เพียงแต่จะลุกลามเข้าสู่ยุโรปตะวันออก แต่ยังรวมถึงทวีปเอเชีย เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีเหนือ และเวียดนามเหนือ

(*) The Marshall Plan (from its enactment, officially the European Recovery Program, ERP) was the primary plan of the United States for rebuilding and creating a stronger foundation for the countries of Western Europe, and repelling communism after World War II. The initiative was named for Secretary of State George Marshall and was largely the creation of State Department officials, especially William L. Clayton and George F. Kennan. George Marshall spoke of the administration's desire to help European recovery in his address at Harvard University in June 1947.

The reconstruction plan, developed at a meeting of the participating European states, was established on June 5, 1947. It offered the same aid to the USSR and its allies, but they did not accept it. The plan was in operation for four years beginning in April 1948. During that period some USD 13 billion in economic and technical assistance were given to help the recovery of the European countries that had joined in the Organization for European Economic Co-operation.

แม้ว่าการดำเนินงานต่างๆ ของสันนิบาตชาติจะหยุดชะงักไปแล้วก็ตาม ทว่าสันนิบาตชาติก็ยังคงดำรงไว้ซึ่งประเทศสมาชิก นอกจากนี้ แม้ว่าความพยายามของสันนิบาตชาติในการหยุดยั้งสงครามจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่ผู้นำประเทศสมาชิกโดยการนำของ Franklin D. Roosevelt ประธานาธิบดีคนที่ 32 ของสหรัฐ ได้เริ่มดำเนินการจัดทำแผนการจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศใหม่ ในนาม "สหประชาชาติ" (United Nations: UN) ซึ่งคำว่า "สหประชาชาติ" เป็นคำพูดที่มักจะถูกกล่าวถึงโดยประธานาธิบดี Roosevelt ในช่วงปี 1942 จากการที่อดีตประเทศสมาชิกของสันนิบาตชาติ 26 ประเทศ ได้ให้คำมั่นสัญญาที่จะต่อสู้กับขั้วอักษะ (Axis powers) ซึ่งประกอบด้วย เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น

ประเด็นที่สำคัญ คือ บทบาทของประธานาธิบดี Roosevelt ในการโน้มน้าวพันธมิตรที่สำคัญโดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี Winston Churchill ของสหราชอาณาจักร และประธานาธิบดี Joseph Stalin ของสหภาพโซเวียตให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ การเจรจา 3 ฝ่ายเกิดขึ้นในหลายโอกาส เช่น ในการประชุม the Dumbarton Oaks Conference และ the Yalta Conference ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อการบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการกำหนดโครงสร้างองค์กร และหลักปฏิบัติและเป้าหมายการดำเนินงานร่วมกันในเวทีสหประชาชาติ อย่างไรก็ตาม เป้าหมายการดำเนินงานของสหประชาชาติยังคงมีความคล้ายคลึงกับสิ่งที่สันนิบาตชาติได้เคยพยายามดำเนินการมาแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "การรักษาและการสร้างสันติภาพ" (Peace-keeping and Peace-building) "การป้องกันความขัดแย้ง" (Conflict prevention) และ "การช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม" (Humanitarian assistance) จากที่กล่าวมาจะสังเกตได้ว่า สหรัฐอเมริกาเริ่มที่จะแสดงบทบาทในเวทีการเมืองระหว่างประเทศมากกว่าที่เคยเป็นมาในสมัยสันนิบาตชาติ

สิ่งที่แตกต่างจากสันนิบาตชาติ คือ การที่สหประชาชาติปฏิเสธแนวคิดในการสร้าง "รัฐบาลโลก" (World government) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงความคาดหวังในการสร้างสังคมอุดมคติ (Utopian expectation) หากแต่เป็นการให้ความสำคัญกับการสร้างบรรยากาศความสัมพันธ์ระหว่างรัฐตามสภาพความเป็นจริงในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ อีกทั้งกฎบัตรสหประชาชาติ (United Nations Charter) ยังได้สะท้อนถึงเจตจำนงอย่างชัดเจนว่า รัฐใดๆ จะไม่สามารถใช้ปฏิบัติการทางทหารต่อรัฐอื่นได้ โดยปราศจากการปรึกษาหารือร่วมกันอย่างรอบคอบ และให้การยอมรับในปฏิบัติการนั้น (10)

(10) กฎบัตรสหประชาชาติถูกร่างขึ้นในปี 1945 จากการประชุมร่วมกันของ 50 ประเทศ ระหว่างการประชุม United Nations Conference on International Organizations ในซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา และได้รับการลงนามเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 1945 โดยสาธารณรัฐประชาชนจีน สหภาพโซเวียต ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ซึ่งต่อมาเป็น 5 ประเทศสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ "United Nations Security Council" หลังจากนั้น องค์การสหประชาชาติจึงได้รับการก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในวันที่ 24 ตุลาคม 1945 ซึ่งปัจจุบันมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงนิวยอร์ค โดยมีรัฐเอกราช (Sovereign states) ที่เป็นสมาชิกจำนวน 192 ประเทศ โปรดดูเพิ่มเติมที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Charter_of_the_United_Nations

อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ ทั้งที่สหรัฐอเมริกาพยายามส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยสากลผ่านเวทีสหประชาชาติ แต่ความไม่เสมอภาค (Inequality) ก็ยังคงเกิดขึ้น โดยหลักการแล้ว ตัวแสดงที่มีบทบาทสำคัญในเวทีการเมืองระหว่างประเทศก็คือ รัฐเอกราช (Sovereign states) ซึ่งหมายถึงรัฐที่มีอำนาจอธิปไตย โดยมีรัฐบาล ประชาชน อาณาบริเวณการปกครอง และมีความอิสระในการดำเนินกิจกรรมใดๆ โดยปราศจากการแทรกแซงจากภายนอก (11)

(11) Jackson, R., & Sorensen, G. (1999). Introduction to international relations. Oxford, NY: Oxford University Press.

ความไม่เท่าเทียมระหว่างประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติ
แต่เมื่อพิจารณาจากกฎบัตรสหประชาชาติแล้วนั้น เราจะสังเกตเห็นได้ถึงความไม่เท่าเทียมระหว่างประเทศสมาชิกในหลายกรณี ยกตัวอย่างเช่น

(1) ทั้งที่มาตรา 18 และ 27 กำหนดว่า ประเทศสมาชิกในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และประเทศสมาชิกในคณะมนตรีความมั่นคงจะมี 1 เสียงในการลงคะแนนเท่ากัน โดยไม่คำนึงถึงขนาดของรัฐ ระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือความมั่นคงอื่นใด (12) แต่เมื่อพิจารณาในมาตรา 23 จะเห็นว่า บทบาทของสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคง ซึ่งประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา รัสเซีย อังกฤษ ฝั่งเศส และสาธารณรัฐประชาชนจีน จะมีอิทธิพลเหนือกว่าประเทศสมาชิกชั่วคราวที่ได้รับการคัดเลือกอีก 10 ประเทศ ซึ่งมีวาระเพียง 2 ปี (13) ประกอบกับการที่ประเทศสมาชิกของสหประชาชาติทั้งหมด จะต้องยอมรับและปฏิบัติตามการตัดสินใจของคณะมนตรีความมั่นคง ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 25 (14)

(12) Article 18: Each member of the General Assembly shall have one vote. Article 27: Each member of the Security shall have one vote.

(13) Article 23: (1) The Security Council shall consist of fifteen Members of the United Nations. The Republic of China, France, the Union of Soviet Socialist Republics, the United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland, and the United States of America shall be permanent members of the Security Council. The General Assembly shall elect ten other Members of the United Nations to be non-permanent members of the Security Council… (2) The non-permanent members of the Security Council shall be elected "for a term of two years." In the first election of the non-permanent members after the increase of the membership of the Security Council from eleven to fifteen, two of the four additional members shall be chosen for a term of one year. A retiring member shall not be eligible for immediate re-election.

(14) Article 25: The members of the United Nations agree to accept and carry out the decisions of the Security Council in accordance with the present Charter.
สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.un.org/aboutun/charter/chapter5.shtml

(2) อำนาจในการใช้สิทธิยับยั้ง (Veto) ในปฏิบัติการทางทหารหรือปฏิบัติการอื่นใดที่เป็นการลงโทษต่อประเทศที่ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ หรือเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงระหว่างประเทศ จะถูกสงวนไว้สำหรับคณะมนตรีความมั่นคงเพียงฝ่ายเดียว (15) และเมื่อใดที่สมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงลงมติคัดค้านเรื่องใดๆ ที่จะนำเข้าสู่ที่ประชุม เรื่องนั้นจะถือว่าเป็นอันสิ้นสุดโดยไม่สามารถดำเนินการใดๆ ต่อไปได้ (16)

(15) โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ Lawson, K. (1997). The human polity: A comparative introduction to political science (4th ed.). New York: Houghton Mifflin. และ Viotti, P. R., & Kauppi, M. V. (2001). International relations and world politics: Security, economy, identity (2nd ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

(16) Article 39: The Security Council shall determine the existence of any threat to the peace, breach of the peace, or act of aggression and shall make recommendations, or decide what measures shall be taken in accordance with Articles 41 and 42, to maintain or restore international peace and security. Article 41: The Security Council may decide what measures not involving the use of armed force are to be employed to give effect to its decisions, and it may call upon the Members of the United Nations to apply such measures. These may include complete or partial interruption of economic relations and of rail, sea, air, postal, telegraphic, radio, and other means of communication, and the severance of diplomatic relations. Article 42: Should the Security Council consider that measures provided for in Article 41 would be inadequate or have proved to be inadequate, it may take such action by air, sea, or land forces as may be necessary to maintain or restore international peace and security. Such action may include demonstrations, blockade, and other operations by air, sea, or land forces of Members of the United Nations. โปรดดูเพิ่มเติมที่ http://www.un.org/aboutun/charter/chapter7.shtml

นอกจากนี้ เรายังสามารถสังเกตได้ถึงปัญหาที่เกี่ยวเนื่องจากการใช้สิทธิในการยับยั้ง (Veto) หรือการใช้สิทธิในการงดออกเสียง (Abstention) โดยสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีผลกระทบต่อประเด็นปัญหาระหว่างประเทศ ในเวทีคณะมนตรีความมั่นคง สหรัฐอเมริกามักจะได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงการใช้สิทธิในการยับยั้ง โดยเฉพาะในกรณีของการใช้กำลังทหารของอิสราเอลที่มีต่อปาเลสไตน์ นอกจากนี้ Noam Chomsky (2003) ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า การงดออกเสียง (Abstention) ของสหรัฐอเมริกาเปรียบเสมือน "Double Veto" (17) โดยให้เหตุผลสำคัญ 2 ประการ คือ

(1) รัฐบาลสหรัฐมีอิทธิพลมากพอที่จะครอบงำสื่อระหว่างประเทศในรูปแบบต่างๆ เพื่อไม่ให้ตีแผ่การตัดสินใจของตัวเองในคณะมนตรีความมั่นคง และ
(2) รัฐบาลสหรัฐมีอิทธิพลมากพอที่จะกลบเกลื่อนการตัดสินใจเช่นว่านั้น และลบออกจากหน้าประวัติศาสตร์ของคณะมนตรีความมั่นคงได้

Chomsky (2003) ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า การตัดสินใจที่มีการออกเสียงยับยั้งโดยสหรัฐฯ โดยเฉพาะในกรณีที่เกี่ยวข้องกับอิสราเอล ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการใช้อิทธิพลอย่างเปิดเผยในการต่อต้านความเห็นและความรู้สึกของประชาคมโลก

(17) สามารถดูบทวิพากษ์ของ Chomsky เพิ่มเติมได้ที่ Chomsky, N. (2003). Dominance and its dilemmas. Boston Review http://www.chomsky.info/articles/200310--.htm

นอกเหนือจากประเด็นข้างต้น ความขัดแย้งและการเผชิญหน้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตในเวทีสหประชาชาติยังเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อันเนื่องมาจากการต่อสู้ในอุดมการณ์ทางการเมืองและผลประโยชน์นอกประเทศ ในปี 1970 ประธานาธิบดี Richard M. Nixon (ประธานาธิบดีคนที่ 37 ของสหรัฐฯ) ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของสหรัฐในการถ่วงดุลอำนาจ (Balance of power) กับสหภาพโซเวียตไว้ ดังนี้

"Our objective…is to support our interests over the long run with a sound foreign policy. The more that policy is based on a realistic assessment of our and other's interests, the more effective our role in the world can be. We are not involved in the world because we have commitments; we have commitments because we are involved. Our interests must shape our commitments, rather than the other way around." (18)

วัตถุประสงค์ของเรา คือการสนับสนุนผลประโยชน์ในระยะยาวโดยนโยบายต่างประเทศ ยิ่งไปกว่านั้น นโยบายดังกล่าวได้วางอยู่บนพื้นฐานที่ประประเมินจากความเป็นจริงเกี่ยวกับผลประโยชน์ของเราและคนอื่น บทบาทที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นของเราในเวทีโลกจึงสามารถเป็นไปได้ เราจะไม่เกี่ยวข้องกับโลกเพียงเพราะเรามีข้อผูกมัด การที่เรามีข้อผูกมัดก็เพราะเราถูกนำเข้าไปเกี่ยวข้อง ผลประโยชน์ต่างๆ ของเราจะเป็นตัวสร้างความผูกมัดต่างๆ มากกว่าหนทางอื่นโดยรอบ (สมเกียรติ ตั้งนโม: แปล)

(18) Kissinger, H. (1994). Diplomacy. New York: Simon & Schuster. pp. 711-712.

จนกระทั่งกรณีปัญหาระหว่างอิรักกับคูเวตในปี 1990-1991 สหรัฐฯภายใต้รัฐบาลของ George Bush (ประธานาธิบดีคนที่ 41) ได้โน้มน้าวเสียงสนับสนุนจากสหประชาชาติ เพื่อทำให้ยุทธการพายุทะเลทราย (Desert Storm) ในสงครามอ่าวเปอร์เซีย (Persian Gulf War) โดยการนำของสหรัฐฯเป็นไปด้วยความชอบธรรม (19) เมื่อถึงยุคของประธานาธิบดี Bill Clinton (ประธานาธิบดีคนที่ 42) ในปี 1992 สหรัฐฯได้ให้คำมั่นสัญญาที่จะแสดงบทบาทในความร่วมมือระดับพหุภาคีภายใต้กรอบของสหประชาชาติ (Assertive UN multilateralism) ในการจัดการกับปัญหาระหว่างประเทศ เมื่อพิจารณาในทางกลับกัน ปฏิบัติการของสหประชาชาติจึงเปรียบเสมือนเครื่องมือที่สำคัญของสหรัฐฯ ในการเข้าไปแทรกแซงกิจการระหว่างประเทศในทุกมุมโลก เพื่อดำรงรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติ ซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้วในหลายกรณี เช่น โซมาเลีย (Somalia) เฮติ (Haiti) รวันดา (Rwanda) หรือโคโซโว (Kosovo) เป็นต้น

(19) รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทวิพากษ์การดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา โดย Noam Chomsky ที่ http://www.zmag.org/chomsky/articles/z9102-gulf-crisis.html

5. องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้)
แม้ว่าสหประชาชาติจะได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ ทว่าสภาวะสูญญากาศแห่งอำนาจ (Power vacuum) ที่เกิดขึ้นในยุโรปหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้กลายเป็นตัวเหนี่ยวนำให้สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต พยายามที่จะแสวงหาพันธมิตรเพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของเกมการช่วงชิงอำนาจ จากแนวคิดของสำนักสัจนิยมใหม่ (Neo-realism) ได้นิยามสถานการณ์เช่นนี้ว่าเป็น "การถ่วงดุลอำนาจภายนอก" (External balancing)

จากข้อมูลที่กล่าวอ้างโดย Steven Hook และ John Spanier (2004) จุดเริ่มต้นของการช่วงชิงอำนาจ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการปรับลดขนาดของกองทัพสหรัฐนอกประเทศ (Demobilization) หลังสิ้นสุดสงครามกับเยอรมัน จากเดิมมีกำลังพลประจำการอยู่มากกว่า 8 ล้านนาย และมีฐานกำลังสนับสนุนทางอากาศมากกว่า 200 ฐาน ในทุกภูมิภาคของทวีปยุโรป โดยปรับลดกำลังพลประจำการเหลือประมาณ 2 ล้านนาย และมีฐานกำลังสนับสนุนทางอากาศไม่ถึง 50 ฐาน (20) ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากแนวคิดของประธานาธิบดี Harry S. Truman (Truman Doctrine) ประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 33 (21) จากการปรับลดกำลังรบนี้เอง ที่ทำให้สหภาพโซเวียตหวังที่จะขยายอิทธิพลเข้าแทนที่สหรัฐอเมริกาในทวีปยุโรป

(20) Hook, S. W., & Spanier, J. (2004). American foreign policy since World War II (16th ed.). Washington, DC: QC Press. p. 38.

(21) "…willing to help free peoples to maintain their institutions and their national integrity against aggressive movements that seek to impose upon them totalitarian regimes. This is no more than a frank recognition that totalitarian regimes imposed on free peoples, by direct or indirect aggression, undermine the foundations of international peace and hence the security of the United States…" อ้างอิงใน Jones, J. M. (1955). The fifteen weeks. New York: Viking Press. pp. 17-23.

จากที่กล่าวมานี้ แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะอยู่ในฐานะรัฐอภิมหาอำนาจ (Superpower) หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็ตาม แต่นั่นก็ยังไม่ใช้สิ่งรับประกันความมั่นคงและปกป้องระบบรัฐจากภัยของสงคราม และนั่นก็สะท้อนให้เห็นว่า ไม่มีอำนาจใดที่สามารถครอบงำกิจการระหว่างประเทศอย่างเบ็ดเสร็จภายใต้แนวทาง "การจัดระเบียบโลกใหม่" (New world order) ที่เสนอไว้โดยประธานาธิบดี Wilson ซึ่งเน้นการกำหนดระเบียบแบบแผนและบังคับใช้จากศูนย์กลางแห่งอำนาจเพียงหนึ่งเดียว จากความมั่นคงในยุโรปที่ถูกสั่นคลอน ทำให้สหรัฐอเมริกาและอีก 11 ประเทศ คือ เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร แคนาดา โปรตุเกส อิตาลี นอร์เวย์ เดนมาร์ก และไอซ์แลนด์ ได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty) เมื่อวันที่ 4 เมษายน 1949 เพื่อดำเนินการจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization: NATO)

อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้น สนธิสัญญาดังกล่าวดูเหมือนจะมีผลแต่ในนาม จากคำกล่าวของ Mark Kramer (2005) เจ้าหน้าที่ระดับสูงและสมาชิกสภานิติบัญญัติของสหรัฐฯ ยังคงมีความลังเลที่จะคงกำลังทหารของสหรัฐเอาไว้ในยุโรปอย่างถาวร อีกทั้งยังมีแนวคิดที่จะจัดทำแผนการช่วยเหลือให้ประเทศทางฝั่งยุโรปตะวันตก สามารถกำหนดแนวทางและท่าทีในการดำรงรักษาความมั่นคงเพื่อถ่วงดุลอำนาจกับสหภาพโซเวียตด้วยตัวเอง (22) จนกระทั่งการปะทุของสงครามเกาหลี (Korean War) หลังจากที่เกาหลีเหนือเริ่มโจมตีเกาหลีใต้ในวันที่ 25 มิถุนายน 1950 ทำให้ท่าทีของสหรัฐเริ่มเปลี่ยนแปลงไป โดยหันมาให้ความช่วยเหลือทางด้านทรัพยากร พร้อมส่งกองกำลังเข้าร่วมภารกิจในลักษณะของกองกำลังพันธมิตร ในการปกป้องความมั่นคงระหว่างประเทศ (23) และถ่วงดุลอำนาจของสหภาพโซเวียตในทวีปเอเชีย โดยส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาได้ระบุว่า "การโจมตีใดๆ ที่เกิดขึ้นกับประเทศสมาชิกหนึ่ง ให้ถือว่าเกิดขึ้นกับประเทศสมาชิกทั้งหมด" (24)

(22) Kramer, M. (2005). The United States, NATO and the role of alliances in international politics: Theoretical expectations and the empirical record. Managerial Law, 47(5), 164-171.

(23) ส่วนหนึ่งของบทนำของสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ระบุว่า "The Parties to this Treaty reaffirm their faith in the purposes and principles of the Charter of the United Nations and their desire to live in peace with all peoples and all Governments…They seek to promote stability and well-being in the North Atlantic area…They are resolved to unite their efforts for collective defense and for the preservation of peace and security…"

(24) มาตรา 5 ของสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ระบุว่า "The Parties agree that an armed attack against one or more of them in Europe or North America shall be considered an attack against them all, and consequently they agree that, if such an armed attack occurs, each of them, in exercise of the right of individual or collective self-defense recognized by Article 51 of the Charter of the United Nations, will assist the Party or Parties so attacked by taking forthwith, individually, and in concert with the other Parties, such action as it deems necessary, including the use of armed force, to restore and maintain the security of the North Atlantic area."

ความตึงเครียดในเวทีระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น หลังจากที่สหภาพโซเวียตได้จัดทำสนธิสัญญาวอร์ซอร์ (the Warsaw Pact) ขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 1955 (25) ซึ่งเป็นการรวมประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกเข้าเป็นประเทศสมาชิก เพื่อแสดงการตอบโต้ต่อปฏิบัติการของ NATO และเป็นมาตรการในการต่อต้านต่อกรณีที่เยอรมันตะวันตก ซึ่งเป็นดินแดนในการควบคุมของสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และฝรั่งเศสหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 เข้าร่วมเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกของ NATO ถึงกระนั้นก็ตาม ชาติตะวันตกก็ยังหวังว่า ความแข็งแกร่งในปฏิบัติการร่วมของ NATO จะสามารถยับยั้งอิทธิพลของสหภาพโซเวียตและประเทศสมาชิกสนธิสัญญาวอร์ซอร์ได้ โดยใช้ความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ และ"การตอบโต้ทำลายล้างระหว่างกัน"(Mutually Assured Destruction: MAD) ด้วยอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งสิ่งนี้เองที่ชาติตะวันตกเชื่อว่า จะเป็นการยับยั้งการชักนำสงครามเย็นเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 3 โดยเฉพาะในกรณีของสหรัฐฯเองนั้น การคงอยู่ของ NATO จะส่งผลดีใน 2 ประเด็นที่สำคัญ (26) คือ

(1) ประเทศสมาชิก NATO สามารถยกระดับการป้องกันร่วมกัน เพื่อเป็นการยับยั้งและตอบโต้ต่อการยั่วยุของสหภาพโซเวียต
(2) ด้วยการนำของสหรัฐฯ ในปฏิบัติการทางทหาร เชื่อว่าเป็นการปลดชนวนความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลชาติตะวันตก
ซึ่งเคยนำไปสู่สงครามโลกมาแล้วถึง 2 ครั้ง

(25) รายละเอียดของสนธิสัญญา Warsaw สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ http://avalon.law.yale.edu/20th_century/warsaw.asp#art1
(26) โปรดดูเพิ่มเติมที่ http://internationalaffairs.suite101.com/article.cfm/the_north_atlantic_treaty_organization#ixzz0FMUV5v6f&A

หากกล่าวโดยทั่วไป แสนยานุภาพทางทหารเป็นส่วนประกอบหนึ่งในการแสดงอำนาจของประเทศ นอกเหนือจากกำลังรบและอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ แล้ว การพัฒนาอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง อย่างเช่น นิวเคลียร์ ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแสนยานุภาพทางทหาร อำนาจของประเทศจะสามารถสำแดงออกมาได้มากเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับขนาดของกำลังพลและอาวุธที่ประเทศจะสามารถใช้ในการจัดทัพ และการเข้าถึงแนวรบและระยะเวลาในปฏิบัติการรบ สำหรับสหรัฐอเมริกานั้น กล่าวได้ว่า เป็นประเทศที่ทุ่มงบประมาณให้กับการพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์มากที่สุดในโลก (27) อย่างไรก็ตาม การพัฒนาเทคโนโลยีทางทหารอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะหัวรบนิวเคลียร์ อาจจะกลายเป็นประเด็นในการสร้างความไม่มั่นคงให้กับประเทศได้โดยไม่รู้ตัว โดยหลักการแล้ว การใช้กำลังอาวุธในการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ ย่อมทำให้เกิดการโต้กลับด้วยกำลังอาวุธโดยที่ไม่อาจคาดเดาผลลัพธ์ได้ โดยเฉพาะหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 มหาอำนาจนิวเคลียร์ต่างก็มีความกังวลต่อการใช้ หรือแม้แต่การพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์เพื่อให้สามารถบรรลุผลที่คาดหวัง แต่ถึงจะมีความกังวลอย่างไรก็ตาม เราก็ยังสังเกตได้ว่า การมีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง จะเป็นสิ่งที่ช่วยยกระดับความมั่นคงในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ (28)

(27) Kapstein, E. B. (1992). The political economy of national security: A global perspective. New York: McGraw-Hill. pp. 41-65.
(28) Viotti, P. R., & Kauppi, M. V. (2001). International relations and world politics: Security, economy, identity (2nd ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

จากจุดนี้เอง ที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯเริ่มให้ความสำคัญกับการเพิ่มบทบาททางทหารและการสร้างเครือข่ายพันธมิตร เพื่อรักษาความมั่นคง เพื่อการยับยั้ง และเพื่อการขัดขวางการขยายอำนาจของสหภาพโซเวียตในยุโรป (29) ถึงอย่างไรก็ตาม ในห้วงช่วงเวลาของสงครามเย็นนี้ องค์การ NATO ยังไม่สามารถใช้ปฏิบัติการทางทหารโดยตรงเพื่อเข้ายับยั้งการขยายอิทธิพลของสหภาพโซเวียตได้เลย ยิ่งไปกว่านั้น ความตึงเครียดระหว่างค่ายประชาธิปไตยตะวันตกและค่ายคอมมิวนิสต์ตะวันออก ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องหลายครั้งหลายหน ตัวอย่างเช่น ปฏิบัติการทางทหารของสหภาพโซเวียตที่เกิดขึ้นในช่วงของการปราบปรามขบวนการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ในเยอรมันตะวันออกในปี 1953 การปราบปรามจลาจลของชาวฮังการีในปี 1956 และการปฏิวัติในเชคโกสโลวาเกีย ในปี 1968 ตลอดจนการโจมตีของสหภาพโซเวียตในอัฟกานิสถานตั้งแต่ปี 1979 ถึงปี 1987 เป็นต้น

(29) NATO expansion can provide greater security to all European states, provided that the proper balance among deterrence, reassurance, and diplomatic linkage is maintained. The single best argument for NATO expansion is that the next war is likely to arise out of the uncoordinated pursuit of security by the Central European states, not unprovoked hostile actions by Russia. The fears that Central European countries have about their future security are not unreasonable. Opponents of NATO expansion downplay or ignore the consequences of those fears. The key to the success of NATO expansion is conducting diplomacy that tempers all Central European state's foreign policy while reassuring them of their security. อ้างอิงใน Ball, C. (1998). Nattering NATO negativism?: Reasons why expansion may be a good thing. Review of International Studies, 24(1), 43-68.

ในส่วนค่ายประชาธิปไตยตะวันตกนั้น ปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯเกิดขึ้นในสงครามเวียดนามในช่วงปี 1965 - 1972 และวิกฤติกาลนิวเคลียร์ในคิวบา (Cuban Missile Crisis) ในช่วงปี 1962 ซึ่งวิกฤติกาลนิวเคลียร์นี้เอง ที่ดูเหมือนจะทำให้ 2 อภิมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตเข้าแสดงบทบาทระหว่างกันอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน (30) วิกฤติกาลในคิวบาเกิดขึ้นจากการตั้งฐานปล่อยขีปนาวุธของสหภาพโซเวียตในช่วงเดือนตุลาคม 1962 ภายหลังจากที่ประธานาธิบดี John F. Kennedy (ประธานาธิบดีคนที่ 35 ของสหรัฐ) ได้พยายามกดดันให้ประธานาธิบดี Nikita Khrushchev ของสหภาพโซเวียตยอมปลดฐานปล่อยขีปนาวุธและยอมจำนนต่อภัยที่อาจเกิดจากกำลังทหารของ NATO

(30) สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ http://en.wikipedia.org/wiki/Cuban_missile_crisis

ภาพซ้าย: ประธานาธิบดี Ronald Reagan. ภาพขวา: ประธานาธิบดี Bill Clinton

จนถึงช่วงทศวรรษที่ 1970 และ 1980 สหรัฐภายใต้การนำของประธานาธิบดี Ronald Reagan (ประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 40) ได้หันมาดำเนินนโยบายต่างประเทศเชิงรุกมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ในปี 1980-1981 สหรัฐฯให้การสนับสนุนต่อความพยายามในการสร้างความร่วมมือทางการค้าในประเทศโปแลนด์ และในปี 1983 ประธานาธิบดี Reagan ได้กล่าวหาสหภาพโซเวียตว่าเป็น "จักรวรรดิแห่งความชั่วร้าย" (Evil empire) ในทางกลับกัน ประธานาธิบดี Mikhail Gorbachev ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาในปี 1985 ว่า

"You asked me what is the primary thing that defines Soviet-American relations. I think it is the immutable fact that whether we like one another or not, we can either survive or perish only together. The principal question that must be answered is whether we are at last ready to recognize that there is no other way to live at peace with each other and whether we are prepared to switch our mentality and our mode of acting from a warlike to a peaceful track." (31)

ท่านถามเราว่า อะไรคือสิ่งแรกที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างโซเวียตและอเมริกัน ข้าพเจ้าคิดว่า มันคือข้อเท็จจริงถาวรไม่ว่าเราจะชอบอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่ก็ตาม เราสามารถที่จะอยู่รอดหรือวายวอดอย่างใดอย่างหนึ่งก็เพราะเราทั้งคู่ คำถามสำคัญที่จะต้องตอบก็คือ ในท้ายที่สุด ไม่ว่าเราพร้อมที่จะตระหนักหรือไม่ มันไม่มีหนทางอื่นใดที่จะดำรงอยู่ในสันติภาพโดยแต่ละฝ่าย และไม่ว่าเราจะต้องตระเตรียมที่จะปรับเปลี่ยนจิตใจของเรา และวิธีการปฏิบัติของเราจากศัตรูสงครามสู่หนทางแห่งสันติภาพหรือไม่ก็ตาม (สมเกียรติ ตั้งนโม: แปล)

(31) อ้างอิงใน Kissinger, H. (1994). Diplomacy. New York: Simon & Schuster. p. 790.

จากที่กล่าวมา ประเด็นที่ทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรง คือ การแข่งขันทางด้านการสะสมกำลังอาวุธนิวเคลียร์ระหว่างสองฝ่าย รวมถึงขีปนาวุธนำวิถีข้ามทวีป "Intercontinental Ballistic Missiles: ICBMs" ของสหรัฐ และขีปนาวุธต่อต้านขีปนาวุธ "Antiballistic Missiles: ABMs" ของสหภาพโซเวียต เป็นต้น ซึ่งประธานาธิบดี Reagan ยืนกรานที่จะสร้างอาวุธทำลายล้างในระดับนอกโลก ซึ่งในช่วงเวลานั้นได้รับการขนานนามว่าเป็น "ยุคสงครามอวกาศ" (Star Wars)

6. Southeast Asia Treaty Organization: SEATO
ด้วยความต้องการที่จะผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศทางด้านความมั่นคงในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สหรัฐอเมริกาจึงได้เสนอให้จัดตั้งองค์การด้านความมั่นคงขึ้นในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดตั้ง Southeast Asia Treaty Organization (SEATO) ในช่วงเวลาไม่นานหลังจากการประชุม ณ กรุงเจนีวา (Geneva Conference) ซึ่งเป็นผลให้ฝรั่งเศสถอนกำลังทหารออกจากเวียดนามนั้น สนธิสัญญา Southeast Asia Collective Defense หรือ Manila Pact ซึ่งมีหลักการพื้นฐานและวัตถุประสงค์มาจากกฎบัตรสหประชาชาติ และแนวทางความร่วมมือขององค์การ NATO (32) จึงได้รับการลงนามเมื่อวันที่ 8 กันยายน 1954 ณ กรุงมะนิลา โดยมีประเทศร่วมลงนามประกอบด้วย ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส นิวซีแลนด์ ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ ไทย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นขององค์การ SEATO อย่างเป็นทางการ โดยที่สนธิสัญญาฉบับนี้ มีผลบังคับใช้ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 1955 (33)

(32) จากเนื้อความในมาตรา 4 ย่อหน้าที่ 1 ของ Manila Pact ระบุว่า "Each party recognizes that aggression by means of armed attack in the treaty area against any of the parties or against any state or territory which the parties by unanimous agreement may hereafter designate, would endanger its own peace and safety, and agrees that it will in that event act to meet the common danger in accordance with its constitutional processes. Measures taken under this paragraph shall be immediately reported to the Security Council of the United Nations."

(33) Acharya, A. (2000). The quest for identity: International relations of Southeast Asia. Singapore: Oxford University Press. p. 67.

วัตถุประสงค์หลักของ SEATO
ในส่วนของ
วัตถุประสงค์หลักของ SEATO มุ่งเป้าไปที่การสร้างความมั่นคงปลอดภัยในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อพิจารณาในบริบทด้านความมั่นคง ภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในยุคสงครามเย็น ถือเป็นแนวยุทธศาสตร์ที่สำคัญสำหรับสหรัฐฯในการยับยั้งการขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ อย่างไรก็ตาม SEATO ยังไม่สามารถกำหนดกฎเกณฑ์หรือกลไกการแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศได้ เช่นเดียวกับองค์การความมั่นคงระหว่างประเทศอื่นๆ ในช่วงสงครามเย็น และแม้ว่าประเทศสมาชิกของ SEATO จะได้ทุ่มเทความพยายามในการสร้างสันติภาพและต่อต้านภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์ ทว่า SEATO ก็ยังไม่สามารถขัดขวางหรือยับยั้งความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในกัมพูชา ลาว และเวียดนามใต้ได้ ซึ่งเหตุผลสำคัญเป็นเพราะว่า การตัดสินใจในการดำเนินปฏิบัติการทางทหารจะต้องได้รับความเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์จากสมาชิก ซึ่ง SEATO ไม่เคยบรรลุถึงเงื่อนไขเช่นว่านั้น นอกจากนี้ ความท้าทายที่สำคัญของ SEATO เกิดขึ้นจากความแตกต่างในยุทธศาสตร์ความมั่นคงร่วมระหว่างประเทศสมาชิก (Collaborative security projects) รวมทั้งท่าทีของประเทศสมาชิกทางฝั่งตะวันตก

เมื่อพิจารณาถึงที่มาของประเทศสมาชิกจะสังเกตได้ว่า มีประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพียง 2 ประเทศเท่านั้น สำหรับประเทศฟิลิปปินส์นั้น การเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ SEATO เป็นผลมาจากความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับสหรัฐอเมริกา และอีกส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการก่อการจลาจลของลัทธิคอมมิวนิสต์ซึ่งมีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐบาล ในส่วนของประเทศไทยนั้น ก็มีแนวทางการตัดสินใจที่คล้ายคลึงกับประเทศฟิลิปปินส์ กล่าวคือ ความเสี่ยงที่อาจเกิดจากอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ ผ่านเขตการปกครองอิสระที่ได้รับการสถาปนาขึ้นใหม่ในเขตมณฑลยูนาน ทางใต้ของประเทศจีน ซึ่งมีเขตแดนติดต่อกับประเทศไทย

จุดเริ่มต้นของจุดสิ้นสุดของ SEATO เกิดจากการล้มเลิกความพยายามของสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสในการเข้าร่วมในปฏิบัติการของ SEATO โดยในทางกลับกัน ประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังไม่เชื่อมั่นต่อบทบาทของทั้งสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส อันเนื่องมาจากความหวาดกลัวต่อลัทธิล่าอาณานิคม (34) สำหรับปากีสถานนั้น ได้ออกจากการเป็นสมาชิกในปี 1973 และจากการที่สหรัฐฯได้ยุติบทบาทของตัวเอง หลังการถอนกำลังทหารออกจากเวียดนาม และชัยชนะของเวียดนามเหนือต่อเวียดนามใต้ในปี 1975 ทำให้ SEATO เปรียบเสมือนองค์การที่จัดตั้งขึ้นผิดที่ผิดเวลา (Anachronism) ด้วยเหตุปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ จึงนำไปสู่การสิ้นสุดบทบาทของ SEATO อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 30 มิถุนายน 1977

(34) Williams, W., Mccormick, T., & Gardner, L. (Eds.) (1985). America in Vietnam: A documentary history. Anchor Books. และ Acharya, A. (2000). The quest for identity: International relations of Southeast Asia. Singapore: Oxford University Press. pp. 63-72.

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาถึงการเข้าร่วมสงครามของสหรัฐฯในเชิงเปรียบเทียบระหว่างกรณีของเกาหลีเหนือและเวียดนามเหนือนั้น จะมีลักษณะที่แตกต่างกันค่อนข้างชัดเจน กล่าวคือ

(1) สงครามเกาหลีมีจุดเริ่มต้นของความขัดแย้งที่ชัดเจน จากการที่เกาหลีเหนือใช้กำลังทหารเข้ารุกรานเกาหลีใต้อย่างหนักหน่วง ประกอบกับการที่ประชาชนชาวอเมริกันและพันธมิตรประชาธิปไตยฝั่งตะวันตกต่างก็เห็นพ้องต้องกันว่า เกาหลีเหนือเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงระหว่างประเทศในช่วงเวลานั้น นอกจากนี้ การต่อสู้เป็นไปในลักษณะของสงครามตามแบบแผน (Orthodox warfare) โดยมีกองกำลังของสหรัฐฯ เกาหลีใต้ และกองกำลังของสหประชาชาติเข้าร่วมในสงครามนั้นด้วย

(2) การที่สหรัฐฯเข้าร่วมสงครามเวียดนาม เป็นเพียงการสะท้อนให้เห็นถึงความต้องการในการส่งเสริมประชาธิปไตย รวมทั้งนโยบายการยับยั้ง (Containment policy) การขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ (Domino Effect) นอกจากนี้ สงครามเวียดนามถือเป็นการต่อสู้ในรูปแบบ "กองโจร" (Guerilla warfare) ซึ่งเวียดนามเหนือเชื่อว่าเป็นกลยุทธ์ที่สามารถมีชัยเหนือการใช้กองกำลังขนาดใหญ่ได้

จากที่กล่าวมา การเข้าร่วมสงครามเวียดนามครั้งใหญ่สมัยประธานาธิบดี Lyndon Johnson (ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนที่ 36) ในปี 1965 กับการส่งกำลังทหารรวมมากกว่า 500,000 นาย ดูเหมือนจะเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดในความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลง "เกมการต่อสู้แบบกองโจร" (Guerilla's rules of the game) จากมุมมองของ Steven Hook และ John Spanier (2004) แม้ว่าสหรัฐฯจะประสบความสำเร็จในการต่อต้านสหภาพโซเวียตในดินแดนคิวบา พลานุภาพอันเหลือคณานับของสหรัฐฯดูเหมือนจะกลายเป็นเพียงภาพลวงตาในสงครามเวียดนาม และแม้ว่าสหรัฐฯจะมีชัยในหลายยุทธการ แต่กลับพ่ายแพ้สงคราม (35)

(35) Hook, S. W., & Spanier, J. (2004). American foreign policy since World War II (16th ed.). Washington, DC: QC Press. p. 129. ดูเพิ่มเติมที่ Walzer, M. (1977). Just and unjust wars: A moral argument with historical illustrations. New York: Basic Books. p. 180.

7. บทสรุป
หากวิเคราะห์ตามแนวทางของสำนักสัจนิยม (Realism) แล้ว อาจกล่าวได้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐในยุคสงครามมีลักษณะที่ไร้ระเบียบแบบแผน (Anarchy) และที่สำคัญคือการแข่งขันระหว่างกันเพื่อสร้างฐานอำนาจ และการรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์แห่งชาติท่ามกลางสภาวะที่ไร้ระเบียบนั้น จากแนวคิดนี้ อำนาจและความมั่นคงแห่งรัฐจึงเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการกำหนดนโยบายต่างประเทศทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการทหาร

สำหรับสหรัฐอเมริกาในยุคสงคราม การสร้างพันธมิตรทั้งในรูปแบบความร่วมมือระหว่างรัฐ หรือในรูปแบบองค์การความร่วมมือระดับภูมิภาค จึงเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของการดำเนินยุทธศาสตร์การยับยั้ง (Containment strategy) เพื่อเป็นการปิดล้อม กดดัน และป้องกันการเกิดขึ้นของประเทศที่จะให้การสนับสนุนต่อลัทธิคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคนั้นๆ ซึ่งจากปฏิบัติการทางทหารในหลายกรณีมักจะได้รับเสียงวิพากษ์ว่า เป็นการกระทำที่ตรงกันข้ามกับอุดมการณ์ของสหรัฐฯในการสร้างสันติภาพและการเคารพในอำนาจอธิปไตยของรัฐอื่น

ในขณะเดียวกัน อาจจะสังเกตได้ว่า การดำเนินนโยบายต่างประเทศของสหรัฐฯในยุคสงคราม ยังไม่สามารถประสานเป้าหมายของยุทธศาสตร์ทางทหาร เข้ากับยุทธศาสตร์ทางการเมืองและการทูตได้อย่างลงตัว ซึ่งสิ่งนี้เองที่ทำให้ปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯในหลายกรณี ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายทางการเมืองได้ และจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ระดับการเข้าร่วมในปฏิบัติการระหว่างประเทศของสหรัฐฯ จะมากน้อยหรือยาวนานเพียงใด ขึ้นอยู่กับระดับของผลกระทบที่อาจมีต่อความมั่นคงและผลประโยชน์แห่งชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอำนาจในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1700 เรื่อง หนากว่า 35000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com