1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
ประชาธิปไตยเป็นเรื่องของการให้ทุกเสียงมีสิทธิได้แสดงออก เสียงเหล่านั้นอาจขัดกันเอง บางเสียงก็อาจมีความรู้มากกว่าเสียงอื่น บางเสียงอาจเป็นความเห็นส่วนตัว ซุบซิบนินทา หรือคาดเดา ทั้งหมดนี้คือตลาดแห่งความคิด ซึ่งก็เหมือนตลาดทั่วไปตรงที่สินค้าแต่ละอย่างมีคุณค่าไม่เท่ากัน ตราบใดที่สถาบันต่างๆ ของเราทําให้คนสามารถรู้จักวิธีประเมินคุณค่าของความคิดในตลาดนี้ รู้จักคัดเอาความคิดที่ไตร่ตรองเข้มงวดมาใช้ รู้จักปฏิเสธความคิดที่สุกเอาเผากิน ไม่เพียงแต่ประชาธิปไตยจะยั่งยืนเท่านั้น แต่จะเจริญงอกเงยขึ้นอีกด้วย โดยที่มีทั้งอินเทอร์เน็ต โลกาภิวัตน์ และการสื่อสารมวลชน ตลาดแห่งนี้ได้ดึงความคิดมาจากแหล่งต่างๆ อย่างหลากหลาย ไม่ใช่เพียงจากประ เทศประชาธิปไตยประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น ...
30-05-2552
(1732)
เสาหลัก
๗ ต้นของประชาธิปไตย และแนวนโยบายจูเช การเมืองใหม่แบบสังคมนิยม
(๑)
ประชาธิปไตยที่ยั่งยืน (๒)"จูเช"แนวนโยบายการเมืองใหม่แบบสังคมนิยม
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: รวบรวม
เชิงอรรถเพิ่มเติมโดย
กองบรรณาธิการ
ม.เที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word
บทความต่อไปนี้รวบรวมมาจากเว็บไซต์ต่างๆ
เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักประชาธิปไตย และ
การคาดการณ์เกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองของสังคมไทย โดยได้แบ่งออกเป็น ๒ เรื่องดังนี้
(๑) ประชาธิปไตยที่ยั่งยืน - โดย อานันท์ ปันยารชุน
(๒) 'จูเช' แนวนโยบายการเมืองใหม่แบบสังคมนิยมของ พธม. - โดย ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล
ในส่วนของโครงสร้างของบทความแรก ประกอบด้วยหัวเรื่องสำคัญคือ
- การศึกษาและการแพร่ความรู้ - เสาหลักของประชาธิปไตย (ได้แก่ การเลือกตั้ง,
ขันติธรรมทางการเมือง, การปกครองด้วยกฎหมาย, เสรีภาพในการแสดงออก,
ความรับผิดชอบต่อประชาชนและความโปร่งใส, การกระจายอํานาจ, และประชาสังคม)
ส่วนเรื่องที่สอง เป็นเรื่องของการคาดการณ์อนาคตเกี่ยวกับพรรคพันธมิตรกับสังคมไทย
โดยการปรับนโยบายจูเช ของเกาหลีเหนือว่าด้วยการพึ่งตนเองมาใช้กับการเมืองสังคม
(บทความนี้จัดอยู่ในหมวด
"ภูมิรัฐศาสตร์ศึกษา")
สนใจส่งบทความเผยแพร่ ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน:
midnightuniv(at)gmail.com
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๗๓๒
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๓ หน้ากระดาษ A4)
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
เสาหลัก
๗ ต้นของประชาธิปไตย และแนวนโยบายจูเช การเมืองใหม่แบบสังคมนิยม
(๑)
ประชาธิปไตยที่ยั่งยืน (๒)"จูเช"แนวนโยบายการเมืองใหม่แบบสังคมนิยม
กองบรรณาธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน: รวบรวม
เชิงอรรถเพิ่มเติมโดย
กองบรรณาธิการ
ม.เที่ยงคืน
บทความวิชาการนี้
สามารถ download ได้ในรูป word
1. ประชาธิปไตยที่ยั่งยืน - อานันท์ ปันยารชุน
ท่านศาสตราจารย์อมาตยา เซน, คุณมาร์ก ไบเฮน แห่ง ING Bank, คุณวิลเลม ฟาน เดอร์ กีสท์, แขกผู้มีเกียรติ และท่านสุภาพสตรีและสุภาพบุรุษทุกท่าน
ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสมาแลกเปลี่ยนข้อสังเกตเกี่ยวกับประชาธิปไตยที่ยั่งยืนในเวทีปราศรัยซึ่งตั้งชื่อตามนักปราชญ์ นักคิด และผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ นอกจากนั้นท่านยังได้รับการยกย่องจากผลงานในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาในฐานะเป็นประธานร่วม United Nations Panel on Human Security (คณะกรรมการว่าด้วยความมั่นคงของมนุษย์ แห่งองค์การสหประชาชาติ)
ศาสตราจารย์เซนได้สร้างแรงบันดาลให้พวกเราทุกคนด้วยการนําเสนอข้อคิดสําคัญๆ ซึ่งให้ความหมายใหม่ต่อมิติเชิงจริยธรรมของปัญหาเศรษฐกิจและสังคมที่เร่งด่วนแห่งยุค หนึ่งในข้อคิดที่สําคัญยิ่งของศาสตราจารย์เซนคือ เรื่องสมรรถนะ ซึ่งจัดให้เสรีภาพของมนุษย์เป็นหัวใจในการวิพากษ์การพัฒนาประชาธิปไตย ศาสตราจารย์เซนเคยตั้งข้อสังเกตว่า "ไม่เคยมีทุพภิกขภัยร้ายแรงเกิดขึ้นในประเทศใดที่เป็นเอกราช มีประชาธิปไตย และมีสื่อที่ค่อนข้างเสรี". ในยุคปัจจุบันอันเป็นยุคที่การมุ่งหากําไรมักอยู่เหนือข้อพิจารณาเรื่องความเป็นธรรม ความเท่าเทียม และสิทธิเสรีภาพ แนวคิดของศาสตราจารย์เซนว่าด้วยการพัฒนาซึ่งเกี่ยวโยงกับเสรีภาพของมนุษย์ ความเป็นประชาธิปไตย และสื่อที่เสรี นั้นเป็นสิ่งที่น่าชื่นชม
เมื่อสงครามเย็นสิ้นสุด ฟรานซิส ฟูกูยามา (*) ได้เสนอว่าจุดจบของประวัติศาสตร์ใกล้มาถึงแล้ว แต่นี่เวลาได้ล่วงเลยมากว่า 15 ปีแล้ว ชัยชนะของประชาธิปไตยก็ยังไม่สมบูรณ์ บางประเทศได้ผันแปรตัวเองจากแนวทางประชาธิปไตยเสรีนิยมไปสู่แนวทางที่เป็นอํานาจนิยมมากขึ้น บางรัฐบาลก็ยังประสบความสําเร็จพอสมควรในการรักษาระบอบการเมืองที่ปราศจากประชาธิปไตย แต่สามารถตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจของประชาชนได้ ในขณะเดียวกัน หลายประเทศที่มีระบอบประชาธิปไตยก็ยังมีปัญหาด้านความรับผิดชอบต่อประชาชนและธรรมาภิบาล
(*) Francis Fukuyama ผู้เขียนหนังสือเรื่อง "The End of History and the Last Man." (สำหรับผู้สนใจอ่านบทสัมภาษณ์ สามารถคลิกไปอ่านบทความของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้ที่ http://midnightuniv.tumrai.com/midnight2544/newpage6.html
Fukuyama is best known as the author of The End of History and the Last Man, in which he argued that the progression of human history as a struggle between ideologies is largely at an end, with the world settling on liberal democracy after the end of the Cold War and the fall of the Berlin Wall in 1989. Fukuyama predicted the eventual global triumph of political and economic liberalism:
What we may be witnessing is not just the end of the Cold War, or the passing of a particular period of post-war history, but the end of history as such... That is, the end point of mankind's ideological evolution and the universalization of Western liberal democracy as the final form of human government.
He has written a number of other books, among them Trust: The Social Virtues and the Creation of Prosperity and Our Posthuman Future: Consequences of the Biotechnology Revolution. In the latter, he qualified his original 'end of history' thesis, arguing that since biotechnology increasingly allows humans to control their own evolution, it may allow humans to alter human nature, thereby putting liberal democracy at risk. One possible outcome could be that an altered human nature could end in radical inequality. He is a fierce enemy of transhumanism, an intellectual movement asserting that posthumanity is a desirable goal.
เรื่องนี้ถ้ามองอย่างผิวเผิน ออกจะน่าแปลกใจ ประชาธิปไตยมีข้อดีที่เห็นชัดขนาดนี้ ไม่น่าจะมีปัญหาในการหยั่งรากลงทั่วโลก แต่สําหรับหลายประเทศ "การปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน" ยังคงเป็นอุดมการณ์ที่ดูเหมือนอยู่แค่เอื้อม แต่ไปไม่ถึง ต้นเหตุหลักอยู่ที่การต่อสู้ระหว่างผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง อริสโตเติลเคยประกาศว่า "หากเสรีภาพและความเท่าเทียมดังที่บางคนคิดมีอยู่ในประชาธิปไตยเป็นหลัก มันจะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดก็ต่อเมื่อทุกคนเข้าไปมีส่วนร่วมในรัฐบาลมากที่สุด"
ในยุคปัจจุบัน เราเผชิญกับคําถามที่สําคัญยิ่งว่า เหตุใดประชาธิปไตยจึงดูเปราะบางนัก มีองค์ประกอบและปัจจัยใดที่จําเป็นสําหรับประเทศหนึ่งๆ ในการไปให้ถึงจุดที่สามารถธํารงไว้ซึ่งประชาธิปไตยอย่างยั่งยืน ผมขอให้แง่คิดจากประสบการณ์ของผมในการเป็นนายกรัฐมนตรีที่มุ่งมั่นจะสร้างประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในประเทศไทย รวมถึงการยกร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชน
ผมขอเริ่มด้วยคําพูดของมหาตมะ คานธีเกี่ยวกับธาตุแท้ของความเป็นประชาธิปไตยว่า "วิญญาณของประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ไม่สามารถยัดเยียดจากภายนอกได้ แต่เป็นสิ่งที่ต้องมาจากข้างใน" กล่าวคือ ประชาชนต้องเป็นผู้ต้องการประชาธิปไตยเอง. ในยุโรปส่วนใหญ่ วิวัฒนาการของประชาธิปไตยเป็นไปอย่างเชื่องช้าและเลี้ยวลดคดเคี้ยว ประวัติศาสตร์ของยุโรปนั้นเกลื่อนกล่นไปด้วยสงครามกลางเมือง การปฏิวัติ และระบอบเผด็จการ แต่ประชาธิปไตยก็ยังสามารถหยั่งราก และในปัจจุบันก็ไม่มีระบอบการปกครองอื่นใดมาแข่งขันท้าทายกับประชาธิปไตยในยุโรป
หากเราถือว่าการให้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งแก่ทุกคนเป็นจุดสําคัญของการพัฒนาประชาธิปไตยในโลกตะวันตก เราก็จะพบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนทั้งหมดที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางเพิ่งเริ่มได้ร้อยกว่าปีเท่านั้น ในกระบวนการวิวัฒนาการทางการเมือง คนเราต้องปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีใหม่ๆ และปัญหาต่างๆ นานา เช่น การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ ในระยะยาว ระบอบประชาธิปไตยจะสามารถปรับตัวในกระบวนการวิวัฒนาการได้ดีที่สุดก็ต่อเมื่อมีเสาหลักที่แข็งแรงพอ
ในยุคปัจจุบันเราอาจเปรียบเทียบประชาธิปไตยได้กับสูตรคํานวณซอฟท์แวร์ที่สามารถผลิตผลลัพธ์ทางการเมืองที่ดีที่สุดสําหรับสังคมใดก็ได้ โค้ดสําหรับซอฟท์แวร์ทางการเมืองนี้เก่าแก่หลายศตวรรษ แต่เพื่อความสะดวก เราอาจถือเอกสารแม็กนาคาร์ตาของอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1215 เป็นจุดเริ่มต้น (*)
(*) Magna Carta, also called Magna Carta Libertatum (the Great Charter of Freedoms), is an English legal charter, originally issued in the year 1215. It was written in Latin; its name is usually translated into English as Great Charter. Magna Carta required King John of England to proclaim certain rights (pertaining to nobles and barons), respect certain legal procedures, and accept that his will could be bound by the law. It explicitly protected certain rights of the King's subjects, whether free or fettered - and implicitly supported what became the writ of habeas corpus, allowing appeal against unlawful imprisonment.
Magna Carta was arguably the most significant early influence on the extensive historical process that led to the rule of constitutional law today in the English speaking world. Magna Carta influenced the development of the common law and many constitutional documents, including the United States Constitution. Many clauses were renewed throughout the Middle Ages, and continued to be renewed as late as the 18th century. By the second half of the 19th century, however, most clauses in their original form had been repealed from English law.
เป็นที่เชื่อกันว่าประชาธิปไตยนั้นดีกว่า มั่นคงกว่า มีเหตุมีผลกว่า มีประโยชน์และมีความชอบธรรมมากกว่าระบบการปกครองอื่นใด. วินสตัน เชอร์ชิลล์ ได้กล่าวอย่างเหมาะสมว่า "ไม่มีใครเสแสร้งว่าประชาธิปไตยมีความสมบูรณ์หรือดีเลิศประเสริฐศรีไปหมดหรอก จริงๆ แล้วเคยมีผู้กล่าวว่าประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่เลวที่สุด ถ้าไม่นับระบอบการปกครองอื่นๆ ที่ถูกนํามาทดลองใช้บ้างเป็นครั้งคราว". กระบวนการทางการเมืองต้องพิจารณาควบคู่ไปกับระดับการพัฒนาของประเทศ หากการพัฒนาไม่ราบรื่น สภาพของประชาธิปไตยก็จะเป็นเช่นเดียวกัน การพัฒนาและประชาธิปไตยเปรียบเสมือนด้านหัวและก้อยของเหรียญเดียวกัน
จากประสบการณ์ของผม จําเป็นต้องมีเสาหลักอย่างน้อยจํานวนหนึ่งสําหรับรองรับโครงสร้างพื้นฐานของประชาธิปไตย
ถ้าเราคิดจะสร้างสะพานก็ต้องยึดตามหลักวิชาวิศวกรรม แต่การสร้างประชาธิปไตยไม่เหมือนกับการสร้างสะพาน
เพราะไม่ใช่วิทยาศาสตร์ แต่เป็นศิลปะของการทําเท่าที่จะทําได้
การศึกษาและการแพร่ความรู้
ประชาธิปไตยเริ่มต้นด้วยปัญญาของผู้ลงคะแนนเสียง ไม่ว่าปัญญานั้นจะได้มาอย่างไรก็ตาม
ที่ผมพูดอย่างนั้นหมายความว่า ผู้ลงคะแนนเสียงต้องเข้าใจประเด็นปัญหาที่ตนเผชิญอยู่และทางเลือกที่ตนมี
ผู้ลงคะแนนเสียงจะต้องเข้าใจด้วยว่าตนมีหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างไรบ้างภายใต้ระบอบประชาธิปไตย
และมีหนทางที่จะแสดงออกว่าตนต้องการอะไรในกระบวนการประชาธิปไตย
หัวใจของประชาธิปไตยจะเต้นได้ก็ด้วยการมีส่วนร่วมในการใช้สิทธิของพลเมืองทุกคน
- อย่างแรก คือ สิทธิในการหยิบยกประเด็นต่างๆ ที่ตนห่วงกังวลให้บรรจุอยู่ในวาระทางการเมือง และ
- อย่างที่สอง คือ การเลือกคนที่ตนรู้สึกว่าจะตอบสนองข้อห่วงกังวลของตนได้ดีที่สุดในกระบวนการการเมือง
นอกเหนือจากการทําหน้าที่พลเมืองอย่างรับผิดชอบโดยการลงคะแนนเสียงแล้ว ประชาธิปไตยต้องมีพลเมืองที่มีความรู้เกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่ชุมชนและสังคมกําลังเผชิญในยุคโลกาภิวัตน์และอิทัปปัจจยตา
ปัญหาท้าทายอย่างหนึ่งในประเทศกําลังพัฒนาหลายประเทศคือ การจัดสรรทรัพยากรเพื่อให้การศึกษาตอบสนองต่อชีวิตความเป็นอยู่ประจําวันมากขึ้น ให้เปลี่ยนจากการท่องจําแบบนกแก้วนกขุนทองไปสู่การรู้จักคิดอย่างสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง และขยายขอบข่ายโครงการการศึกษาให้ไปถึงเด็ก ผู้หญิง และสตรีที่ยากจน. ผมยินดีที่เห็นความก้าวหน้าด้านความเท่าเทียมระหว่างเพศในการส่งเสริมการศึกษาสําหรับทุกคน ความก้าวหน้าเช่นนี้เป็นนิมิตหมายที่ดีในการสร้างผู้ลงคะแนนเสียงที่มีความรู้จํานวนมากพอที่จะเป็นเชื้อเพลิงให้กระบวนการประชาธิปไตยก้าวหน้าต่อไป
จุดเด่นอย่างหนึ่งของเอเชียคือเป็นภูมิภาคที่ผลิตสตรีซึ่งเป็นหัวหน้ารัฐบาลและประมุขของรัฐจากการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตยเป็นจํานวนไม่น้อย พัฒนาการที่น่ายินดีเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาคือ ความพยายามของเอเชียใต้ที่จะให้มีความเสมอภาคทางเพศในกระบวนการประชาธิปไตย โดยกําหนดให้เจ้าหน้าที่ซึ่งมาจากการเลือกตั้งมีสัดส่วนส่วนหนึ่งเป็นสตรี จึงถึงเวลาแล้วที่ทั้งภูมิภาคจะต้องเร่งรัดส่งเสริมความก้าวหน้าของเด็ก ผู้หญิง และสตรี เพื่อให้พวกเขามีส่วนร่วมในระดับรากหญ้ากว้างขวางมากขึ้น
การศึกษาและการเผยแพร่ความรู้ในฐานะทรัพย์สินสาธารณะเป็นวิธีสําคัญที่ทําให้กระบวนการประชาธิปไตยเป็นพลังเข้มแข็ง ต้านทานไม่ให้ผู้ปกครองประเทศใช้อํานาจในทางที่ผิด ในเอเชียเช่นเดียวกับในตะวันตก ประชาธิปไตยไม่ได้มาจากการลงคะแนนผ่านหีบเลือกตั้งเท่านั้น แต่มาจากการต่อสู้ที่แท้จริง ซึ่งเกิดขึ้นบนท้องถนนโดยนักศึกษา ชาวนา แรงงาน และประชาชนทั่วไปที่ออกมาเดินขบวนเพื่อแสดงความไม่พอใจ
ในเอเชีย มหาตมะ คานธี ได้พัฒนาแนวคิดการต่อสู้ด้วยสันติวิธีเพื่อเป็นขบวนการเปลี่ยนแปลงการเมือง ในช่วงห้าทศวรรษหลังจากนั้น ก็ได้มีการเดินขบวนประท้วงเกิดขึ้นในสาธารณรัฐเกาหลี มีพลังประชาชนแผ่กระจายไปทั่วอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และประเทศอื่นๆ เปลวไฟของประชาธิปไตยยังคงส่องสว่างอยู่ในเอเชียใต้ ซึ่งมีจํานวนผู้ลงคะแนนเสียงมากที่สุดและกระตือรือร้นที่สุดในโลก
เพื่อให้ประชาธิปไตยมีชีวิต ประชาชนต้องอย่าปล่อยตัวเองให้ตั้งอยู่ในความประมาท แต่ละชุมชน แต่ละที่ทํางาน แต่ละโรงเรียน ต้องมีโครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในระดับรากหญ้า. ผู้มีสิทธิมีเสียงที่ไม่สนใจและนิ่งเฉย ย่อมตกเป็นเหยื่ออย่างง่ายดายให้กับกลุ่มจัดตั้งใดๆ ก็ตามที่หวังยึดอํานาจด้วยกําลังหรือการหลอกลวงตบตา ซึ่งในที่สุดจะนําไปสู่เผด็จการเบ็ดเสร็จ
ในเอเชียส่วนใหญ่ ซึ่งเน้นเรื่องความสามัคคีและการหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง นั้นเป็นค่านิยมสําคัญ สิ่งที่ท้าทายเราคือว่า ทําอย่างไรจึงจะยอมรับการวิพากษ์วิจารณ์ การชั่งน้ำหนักข้อดีข้อเสีย และความเห็นที่ไม่ลงรอยกัน โดยถือว่าทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งในการเติบใหญ่ของกระบวนการประชาธิปไตยในบริบทของเอเชีย
เสาหลักของประชาธิปไตย
ในทัศนะของผม โครงสร้างทางสถาปัตยกรรมของประชาธิปไตยมีเสาหลักอยู่ 7 ต้น ได้แก่
การเลือกตั้ง, ขันติธรรมทางการเมือง, การปกครองด้วยกฎหมาย, เสรีภาพในการแสดงออก,
ความรับผิดชอบต่อประชาชนและความโปร่งใส, การกระจายอํานาจ, และประชาสังคม
1. การเลือกตั้ง
การเลือกตั้งที่เสรีและยุติธรรมสร้างความชอบธรรมให้กับประชาธิปไตย โดยป้องกันบุคคลหรือกลุ่มคนเล็กๆ
ในสังคมไม่ให้ยัดเยียดผลประโยชน์เฉพาะตัวให้ประชาชนแบกรับ ไม่ควรมีบุคคลใดหรือคนกลุ่มใดมีสิทธิผูกขาดอํานาจเหนือกระบวนการเลือกตั้ง.
พรรคการเมืองเป็นเครื่องมือสําคัญของระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งมีแบบแผนพื้นฐานที่เป็นกรอบให้กับชุมชนทางการเมืองและกําหนดความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ
ประชาชน และการปฏิสัมพันธ์ระหว่างศูนย์อํานาจต่างๆ
ในสังคมประชาธิปไตย พรรคการเมืองสามารถจัดตั้งขึ้นมาและหาเสียงได้โดยปราศจากการข่มขู่คุกคาม บางประเทศกําหนดให้ก่อนการเลือกตั้งพรรคการเมืองต้องมีเสียงสนับสนุนในระดับหนึ่งเป็นอย่างน้อย ทุกพรรคการเมืองจะต้องได้รับโอกาสใช้สื่อเสรีและวิธีการอื่นๆ เพื่อเผยแพร่แนวทางของพรรคในการหาเสียงเลือกตั้ง กระบวนการเลือกตั้งจะต้องได้รับการกํากับดูแล สังเกตการณ์และดําเนินการโดยองค์กรอิสระ ซึ่งมักจะเป็นคณะกรรมการการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งสามารถโกงกันได้ ซื้อเสียงกันได้ และเป็นที่น่าเสียดายที่นักการเมืองซึ่งลงพื้นที่เฉพาะในช่วงการเลือกตั้งเพื่อสร้างฐานอํานาจและถ่ายภาพกับประชาชน กลายเป็นภาพที่คุ้นเคยกันในหลายประเทศ
รัฐบาลจะสิ้นสุดความชอบธรรมก็ต่อเมื่อไม่สามารถสะท้อนความต้องการของพลเมืองได้ และหากเกิดขึ้น รัฐบาลก็สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งครั้งใหม่ แต่บางครั้งก็อาจมีการใช้กําลังและข่มขู่คุกคาม เพื่อหวังยึดครองอํานาจต่อไป การเลือกตั้งอาจถูกเลื่อนออกไปหรือถูกบ่อนทําลาย. ถึงแม้การเลือกตั้งเป็นสิ่งที่จําเป็นและเป็นมิติที่เห็นชัดที่สุดของระบบประชาธิปไตย แต่ก็ยังมีตัวอย่างของการทุจริตเลือกตั้งเพื่อส่งเสริมผลักดันการปกครองแบบอัตตาธิปไตยและทรราช ดังนั้นการเลือกตั้งจึงไม่ได้เป็นหลักประกันว่ามีประชาธิปไตย
2. ขันติธรรมทางการเมือง
เสาหลักที่สองคือ ขันติธรรมทางการเมือง การเลือกตั้งที่เสรีและยุติธรรมไม่ได้เป็นการมอบสิทธิให้กดขี่หรือกีดกันกลุ่มผู้ที่ไม่ได้ลงคะแนนเสียงให้ฝ่ายรัฐบาล
และก็ไม่ได้หมายความว่าเสียงข้างมากจะมีสิทธิปล้นสิทธิเสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือชีวิตของเสียงข้างน้อย.
ถ้าจะให้ประชาธิปไตยคงอยู่ได้ในระยะยาวก็ต้องมีขันติธรรม ถ้ากลุ่มเสียงข้างน้อยไม่ได้รับผลประโยชน์อย่างเที่ยงธรรมจากกระบวนการเลือกตั้ง
ก็จะไม่สามารถมีความสงบสุขได้ การขาดความสงบสุขจะทําให้ความพยายามทั้งปวงที่จะเป็นประชาธิปไตยไร้ผล
ในหลายประเทศ มีตัวอย่างของการให้สินจ้างรางวัลกับผู้ลงคะแนนเสียงสนับสนุนพรรครัฐบาล และทอดทิ้งหรือลงโทษผู้ที่ลงคะแนนเสียงให้พรรคฝ่ายตรงข้าม การแจกจ่ายอาหาร น้ำ และทรัพยากรต่างๆ เพื่อการพัฒนา ล้วนเคยถูกใช้เพื่อเป็นเครื่องมือควบคุมให้ชนะการเลือกตั้งมาแล้วทั้งสิ้น. การเมืองภายหลังการเลือกตั้งอาจเป็นโทษต่อผู้แพ้ โดยอาจเกิดขึ้นเมื่อรัฐบาลที่ชนะการเลือกตั้งมองว่าการมีส่วนร่วมของเสียงข้างน้อยเป็นอุปสรรค แทนที่จะหาทางโน้มนําฝ่ายค้านเข้ามาถกหารือกันอย่างมีเหตุผล หรืออาจนําท่าทีของฝ่ายค้านเข้าไปบรรจุเป็นนโยบายรัฐบาลหากสมควร
ขันติธรรมเป็นเรื่องของการยอมรับความหลากหลายในสังคม โดยเริ่มจากการปลูกฝังเลี้ยงดูในวัยเยาว์ ถ้าเราสอนให้ผู้เยาว์เชื่อในหลักการผู้ชนะกินรวบ ก็เท่ากับว่าเรากีดขวางการพัฒนาประชาธิปไตย แทนที่จะเป็นเช่นนั้น เยาวชนควรต้องเรียนรู้ว่า สิ่งที่ฝ่ายชนะได้รับในการเลือกตั้ง คือหน้าที่ที่จะรักษาส่งเสริมฉันทามติที่สมดุลในสังคม การสร้างความสมดุลดังกล่าวนี้ถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง
3. หลักนิติธรรม
เสาหลักที่สามของประชาธิปไตยคือหลักนิติธรรม มีการถกเถียงกันมากมายถึงความหมายของคำคํานี้
แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ ความเกี่ยวโยงอย่างใกล้ชิดระหว่างหลักนิติธรรมและประชาธิปไตย.
เมื่อกระบวนการทางการเมืองกํากับด้วยกฎหมายและกรอบระเบียบกฎเกณฑ์ ราษฎรก็จะสามารถพิจารณาได้ว่า
รัฐบาลนั้นปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ และสามารถหาคําตอบต่อคําถามหลักๆ เช่น
- รัฐบาลปกครองตามหลักกฎหมายหรือไม่ หรือถือหลักว่าตนได้รับการยกเว้นจากกฎเกณฑ์ที่ไม่สะดวกบางข้อ
- ลําดับขั้นตอนการดําเนินงานของรัฐบาลคงเส้นคงวาและอยู่ภายใต้กฎหมายหรือไม่ หรือว่ารัฐบาลดําเนินการตามอําเภอใจ จับกุมผู้คนที่คัดค้านนโยบายของตนและลิดรอนเสรีภาพของบุคคลเหล่านั้นโดยไม่เคารพสิทธิที่พวกเขาพึงมีตามกฎหมาย
ในช่วงต้นๆ ผมได้กล่าวถึงความสําคัญของแม็กนาคาร์ตา เอกสารประวัติศาสตร์ฉบับนั้นได้จารึกหลักที่ว่ารัฐจะต้องเคารพสิทธิตามกฎหมายทั้งหมดที่บุคคลพึงมี habeas corpus (*) เป็นหลักการสําคัญที่สุดอย่างหนึ่งในแม็กนาคาร์ตา habeas corpus ป้องกันการจับกุม กักขัง และประหารชีวิตตามอําเภอใจของรัฐ โดยกําหนดว่าการกระทําดังกล่าวโดยรัฐต้องมีเหตุผลทางกฎหมายและเคารพสิทธิตามกฎหมายของบุคคลที่ถูกกักกัน
(*) Habeas corpus is a legal action, or writ, through which a person can seek relief from the unlawful detention of him or herself, or of another person. It protects the individual from harming him or herself, or from being harmed by the judicial system. The writ of habeas corpus has historically been an important instrument for the safeguarding of individual freedom against arbitrary state action.
Of English origin, it is also known as "The Great Writ," a writ of habeas corpus ad subjiciendum is a summons with the force of a court order addressed to the custodian (such as a prison official) demanding that a prisoner be brought before the court, together with proof of authority, allowing the court to determine whether that custodian has lawful authority to hold that person; if not, the person shall be released from custody forthwith. The prisoner, or another person on her behalf (for example, where the prisoner is being held incommunicado), may petition the court or an individual judge for a writ of habeas corpus.
ชนชั้นทางการเมืองที่ยอมรับว่า การกระทําใดๆ โดยรัฐต้องเป็นไปตามครรลองของกฎหมาย จะยอมรับประชาธิปไตยมากกว่า การบังคับใช้หลักนิติธรรมอย่างถูกต้องเป็นการป้องกันความพยายามใดๆ ที่จะทําลายเสรีภาพ ยึดทรัพย์สิน หรือละเมิดสิทธิมนุษยชน และยังหมายความว่ากฎเหล่านั้นมีผลต่อราษฎรทุกคนอย่างเท่าเทียม. เมื่อการบังคับใช้หลักนิติธรรมอ่อนแอ การฉ้อราษฎร์บังหลวงก็เฟื่องฟู การติดสินบน การจ่ายเงินใต้โต๊ะ การฮั้วประมูล การออกนโยบายที่เอื้อต่อครอบครัวหรือพวกพ้อง ล้วนเป็นที่รู้กันอย่างกว้างขวางในหลายประเทศ ในสถานการณ์เหล่านี้ผู้ที่มุ่งบังคับกฎหมายอาจเผชิญกับการข่มขู่คุกคามหรือตอบโต้แก้แค้น
ประชาธิปไตยจะผิดเพี้ยนไม่ทํางานเมื่อข้าราชการ ตุลาการ นิติบัญญัติ ภาคเอกชน ตํารวจ และทหาร ล้วนใช้อํานาจที่ตนมีอยู่เพื่อสร้างความร่ำรวยและเอื้อประโยชน์ส่วนตนบนความทุกข์ยากของประชาสังคม ถึงแม้จะมีกฎหมาย การฉ้อราษฎร์บังหลวงก็เป็นตัวบั่นทอนหลักนิติธรรม
ความเป็นกลางของภาคตุลาการเป็นฐานหลักอย่างหนึ่งของหลักนิติธรรม หากผู้พิพากษาใช้กฎเกณฑ์ชุดหนึ่งสําหรับผู้ที่มีอํานาจวาสนา และใช้อีกชุดหนึ่งสําหรับผู้ที่ไม่มีสิ่งเหล่านั้น ระบบการเมืองและระบบยุติธรรมทั้งหมดก็จะตกต่ำเสื่อมเสีย กัดกร่อนความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อการให้ความยุติธรรมของรัฐบาล
หลักนิติธรรมย่อมมีรากฐานอยู่ในระบบค่านิยมทางศีลธรรมจรรยา ในแอฟริกาใต้ เป็นเวลาหลายสิบปีที่ได้มีหลักนิติธรรมภายใต้กรอบระบบกฎหมายที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสีผิว (apartheid) (*) ภายใต้ระบบการเมืองและกฎหมายที่ปกป้องสิทธิของประชาชน คนที่มีสีผิวสีใดสีหนึ่งไม่สามารถใช้มันกีดขวางความยุติธรรมได้ ความยุติธรรมและความเสมอภาคเกี่ยวโยงโดยตรงกับความยั่งยืนของประชาธิปไตย โดยทั่วไปแล้ว หากหลักนิติธรรมถูกครอบงํา ชื่อเสียงในความเป็นประชาธิปไตยพร้อมกับความชอบธรรมของรัฐบาลก็จะพลอยเสียหายไปด้วย ไม่ว่ารัฐบาลนั้นจะใช้ข้ออ้างอย่างไรก็ตาม
(*) Apartheid-meaning separateness in Afrikaans (which is cognate to the English apart and -hood)-was a system of legal racial segregation enforced by the National Party government in South Africa between 1948 and 1994.
Racial segregation in South Africa began in colonial times, but apartheid as an official policy was introduced following the general election of 1948. New legislation classified inhabitants into racial groups (black, white, coloured, and Indian), and residential areas were segregated by means of forced removals. Blacks were stripped of their citizenship, legally becoming citizens of one of ten tribally based self-governing homelands or bantustans, four of which became nominally independent states. The government segregated education, medical care, and other public services, and provided black people with services inferior to those of whites.
หลักนิติธรรมยังมีหน้าที่สุดท้ายอีกอย่างหนึ่งในระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เช่นของไทย รัฐธรรมนูญเป็นตัวกําหนดกรอบและความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันปกครองต่างๆ ในระบบประชาธิปไตย ประชาธิปไตยจะทํางานได้ผลดีที่สุดก็ต่อเมื่อสถาบันและเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่ภายใต้ระบบที่มีกลไกตรวจสอบถ่วงดุล
หลักนิติธรรมเป็นตัวกําหนดขอบเขตของการแทรกแซงกระบวนการตัดสินใจทางการเมือง เมื่อมีนิติธรรม ประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของระบบและขึ้นอยู่กับกฎหมายเดียวกัน ในขณะที่ผู้ปกครองนั้นไม่ได้เป็น "เจ้าของ" ของระบบ. เพื่อให้หลักนิติธรรมทํางานเป็นผล มีความจําเป็นอย่างยิ่งที่เกียรติภูมิและอิสรภาพของฝ่ายตุลาการและระบบยุติธรรมทั้งหมด จะต้องปลอดจากการกดดันโดยอิทธิพลหรือการแทรกแซงที่ผิดกฎหมาย
4. เสรีภาพในการแสดงออก
เสาหลักที่สี่ซึ่งทําให้ประชาธิปไตยยั่งยืนคือเสรีภาพในการแสดงออก สิ่งที่บุคคลสามารถกล่าว
ตีพิมพ์ แจกจ่าย และพูดคุย เป็นสิ่งบ่งชี้ว่าระบบการเมืองเป็นประชาธิปไตยมากน้อยเพียงใด
สื่อมวลชนที่อิสระเสรีเป็นตัวชี้วัดเสรีภาพในการแสดงออก ระบบอินเทอร์เน็ตที่ไม่ถูกเหยียบย่ำโดยการควบคุมของรัฐ
ก็เป็นตัวชี้วัดอีกตัวหนึ่งเช่นกัน
รัฐบาลไม่ว่าจะเป็นประชาธิปไตยหรือเป็นแบบอื่น น้อยรายนักที่มีความสัมพันธ์ที่สบายใจอย่างแท้จริงกับสื่อมวลชนเสรี แต่ไม่ว่าจะมีข้อเสียเพียงใด สื่อมวลชนเสรีซึ่งสนับสนุนโดยอินเทอร์เน็ตที่ไม่ถูกปิดกั้น เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการให้ข้อมูลข่าวสารกับสาธารณะ โดยเป็นส่วนหนึ่งของประชาธิปไตยที่ทํางาน แม้ในสังคมที่มีประชาธิปไตยมานาน รัฐบาลก็ยังพยายามจัดการใช้สื่อเพื่อประโยชน์ของตน รัฐบาลมักพยายามชี้นําการตีความข่าวเพื่อผลักดันวาระของตนและเจือจางอํานาจของสื่ออิสระ
เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้เปิดทางให้การแพร่กระจายข้อมูลข่าวสารพร้อมกับพื้นที่สําหรับวาทกรรมสาธารณะได้ขยายตัวอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน อินเทอร์เน็ตได้ปฏิวัติการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและการดําเนินการทางการเมือง และได้เกื้อกูลให้เกิดชุมชนออนไลน์ขึ้นมามากมาย ในขณะเดียวกันโทรศัพท์มือถือก็ทําให้การติดต่อส่งข้อมูลข่าวสารกระทําได้อย่างทันท่วงที
ในประเทศที่ยึดแนวทางอํานาจนิยม เสรีภาพของข้อมูลข่าวสารเป็นภัยใหญ่หลวงสําหรับรัฐบาล เสรีภาพที่มากับสื่อสมัยใหม่นี้สามารถเข้าถึงได้โดยเพียงคลิกไปยังเว็บไซต์ เช่น ยูทูบ และบล็อกต่างๆ ปรากฏการณ์ใหม่ๆ เหล่านี้ทําให้รัฐบาลควบคุมข้อมูลข่าวสารได้ยากขึ้น. ข้อเท็จจริงก็คือว่า แม้กระทั่งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ก็มักพยายามที่จะปั้นแต่งมติมหาชนให้ไปในทิศทางที่ต้องการ ไม่ว่าผ่านสื่อโทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ หรืออินเทอร์เน็ต การที่รัฐควบคุมหรือมีอิทธิพลเหนือข้อมูลข่าวสารนั้น พวกเราควรจะหยุดและคิดเรื่องนี้ให้ดีๆ แม้หน้าตาของประชาธิปไตยอาจดูสดใส แต่หากเสรีภาพของข้อมูลข่าวสารและของสื่อถูกคว้านจนกลวง ก็เท่ากับว่าประชาธิปไตยถูกบั่นทอน ประชาชนจึงต้องคอยเฝ้าระวังตลอดเวลา เพื่อให้มีการตรวจสอบและถ่วงดุล ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากกฎหมายในหลายประเทศที่ประชาธิปไตยกําลังพัฒนา ไม่ได้ส่งเสริมเสรีภาพของข้อมูลข่าวสาร และไม่ให้ความสําคัญต่อสื่อมวลชน
เสรีภาพในการแสดงออกถือว่าสําคัญพอที่จะบรรจุในปฏิญญาสากลสิทธิมนุษยชน ดังหัวข้อที่ 19 ซึ่งระบุว่า "ทุกคนมีสิทธิอย่างเสรีในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก สิทธิดังกล่าวนั้นรวมถึงเสรีภาพที่จะมีความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง และเสรีภาพที่จะแสวงหา ได้รับ และถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารและความคิดผ่านสื่อใดๆ ได้โดยไม่จํากัดพรมแดน"
หากพลเมืองไม่มีสิทธิในการแสดงออกในกระบวนการทางการเมือง ก็จะไม่มีรัฐบาลใดที่ต้องรับผิดชอบต่อการกระทําของตน อย่างไรก็ดี ไม่มีสังคมประชาธิปไตยใดที่มีเสรีภาพในการแสดงออกอย่างสมบูรณ์. กุญแจสําคัญคือการชั่งให้เกิดความสมดุลระหว่างผลประโยชน์ของชาติและสังคม เพื่อสร้างและรักษาระดับการถกเถียงแลกเปลี่ยนในสังคม ซึ่งจะทําให้การมีส่วนร่วมในประชาธิปไตยมีความหมาย และในขณะเดียวกันก็ต้องขีดเส้นซึ่งนําบริบททางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเข้าไปพิจารณา
แต่ละประเทศกําหนดขอบเขตของเสรีภาพในการแสดงออกไว้แตกต่างกัน แต่สิ่งที่สําคัญคือขอบเขตดังกล่าวต้องไม่ถูกอิทธิพลทางการเมืองนําไปใช้ในทางที่ผิด เพื่อจํากัดไม่ให้สาธารณะตรวจสอบนโยบายและการกระทําที่มีผลกระทบต่อบูรณภาพของผลประโยชน์สาธารณะ เช่น หากกฎหมายอาญาว่าด้วยการหมิ่นประมาททําให้คนไม่กล้าเปิดโปงความไม่ชอบมาพากล หรือการฉ้อราษฎร์บังหลวง ก็เป็นการทําให้ประชาธิปไตยเสื่อม
ประชาธิปไตยเป็นเรื่องของการให้ทุกเสียงมีสิทธิได้แสดงออก เสียงเหล่านั้นอาจขัดกันเอง บางเสียงอาจมีความรู้มากกว่าเสียงอื่น บางเสียงอาจเป็นความเห็นส่วนตัว ซุบซิบนินทา หรือคาดเดา ทั้งหมดนี้คือตลาดแห่งความคิด ซึ่งก็เหมือนตลาดทั่วไปตรงที่สินค้าแต่ละอย่างมีคุณค่าไม่เท่ากัน ตราบใดที่สถาบันต่างๆ ของเราทําให้คนสามารถรู้จักวิธีประเมินคุณค่าของความคิดในตลาดนี้ รู้จักคัดเอาความคิดที่ไตร่ตรองเข้มงวดมาใช้ รู้จักปฏิเสธความคิดที่สุกเอาเผากิน ไม่เพียงแต่ประชาธิปไตยจะยั่งยืนเท่านั้น แต่จะเจริญงอกเงยขึ้นอีกด้วย
โดยที่มีทั้งอินเทอร์เน็ต โลกาภิวัตน์ และการสื่อสารมวลชน ตลาดแห่งนี้ได้ดึงความคิดมาจากแหล่งต่างๆ อย่างหลากหลาย ไม่ใช่เพียงจากประเทศประชาธิปไตยประเทศใดประเทศหนึ่งเท่านั้น แม้ว่าตลาดนี้จะไม่สามารถสร้างขึ้นมาและควบคุมโดยรัฐอย่างง่ายดาย แต่ก็คงไม่มีรัฐบาลใดปลอดโปร่งใจทีเดียวกับการใช้วิธีปิดปากผู้ที่ไม่เห็นด้วยหรือผู้ที่แฉการกระทําของรัฐบาล
5. ความรับผิดชอบต่อสาธารณะและความโปร่งใส
เสาหลักที่ห้าของประชาธิปไตยคือ ความรับผิดชอบต่อสาธารณะและความโปร่งใส ซึ่งหมายความว่า
สถาบันของรัฐและบุคคลในสถาบันเหล่านั้นต้องรับผิดชอบการกระทําของตน รัฐบาลต้องรับผิดชอบต่อประชาชนที่เลือกรัฐบาลนั้นเข้ามา
นอกจากนี้ ยังต้องรับผิดชอบต่อฝ่ายตุลาการที่อิสระหรือสถาบันที่เป็นกลางอื่นๆ
ที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบการกระทําของรัฐบาล การตัดสินใจใดๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องนโยบายด้านการเกษตร
การกําหนดราคาน้ำมัน หรือบริการสาธารณสุข จะต้องไม่ทําไปเพื่อผลักดันวาระของกลุ่มผลประโยชน์เหนือกว่าผลประโยชน์สาธารณะ
ในแก่นแท้ของความรับผิดชอบต่อสาธารณะและความโปร่งใสนั้น มีวัตถุประสงค์เดียวกัน คือเพื่อคุ้มครองพลเมืองจากนโยบายที่หลงทางหรือการตัดสินใจที่ให้ประโยชน์แก่คนไม่กี่คนแต่ทําให้คนจํานวนมากต้องเสียประโยชน์ เมื่อใดที่หลักการทั้งสองนี้สั่นคลอน ก็จะเป็นสัญญาณเตือนภัยว่าธรรมาภิบาลกําลังตกอยู่ในภาวะสุ่มเสี่ยง และกระบวนการประชาธิปไตยได้ชะงักงัน
6. การกระจายอํานาจ
เสาหลักที่หกตั้งอยู่บนการให้อํานาจทางการเมืองแก่ระดับท้องถิ่นหรือระดับจังหวัด
ยิ่งรัฐบาลอยู่ใกล้ประชาชนที่ต้องปกครองมากเพียงใด รัฐบาลก็จะยิ่งตอบสนองต่อประชาชนได้มากเพียงนั้น
ขณะเดียวกัน เพื่อให้ประชาธิปไตยที่มีการกระจายอํานาจจากส่วนกลางสามารถทํางานได้
ก็จะต้องมีการกระจายอํานาจในเรื่องของเงินสนับสนุน ทรัพยากรด้านอุปกรณ์สิ่งของและบุคคล
ตลอดจนขีดความสามารถของสถาบัน
การกระจายกระบวนการทางการเมืองออกจากส่วนกลาง ถือเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะลดการรวมศูนย์อํานาจและอิทธิพลของกลุ่มพลังทางการเมือง พลเมืองจะมีความตื่นตัว สนใจ และพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในประชาธิปไตยมากขึ้น เมื่อพวกเขามองเจ้าหน้าที่รัฐเป็นเสมือนเพื่อนบ้าน และเห็นว่าสิ่งที่เขามีส่วนได้ส่วนเสียเป็นเรื่องใกล้ตัว เราจะเห็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของความเชื่อมโยงระหว่างประชาธิปไตยกับชีวิตประจําวันของพลเมืองได้ในระดับท้องถิ่น การอยู่ในพื้นที่ที่ใกล้ชิดในละแวกเดียวกันมีประโยชน์ในทํานองเดียวกับชุมชนออนไลน์ในเศรษฐกิจแห่งความรู้ ประชาชนที่มีผลประโยชน์และค่านิยมร่วมกันจะแสดงและแลกเปลี่ยนความเห็นและความรู้ จะโน้มน้าวกันและกัน สิทธิของพลเมืองในการชุมนุมและการมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่น จะช่วยบ่มเพาะประชาธิปไตยให้อยู่ยืนยาวในสังคม
การตั้งพรรคการเมืองในระดับท้องถิ่นช่วยให้การสร้างประชาธิปไตยแบบผู้แทนเป็นไปได้ง่ายขึ้น การมีส่วนร่วมในระดับท้องถิ่นของผู้ลงคะแนนเสียง และผู้สมัครที่มาจากเขตหรือจังหวัดเดียวกันจะสร้างความน่าเชื่อถือและความชอบธรรมให้แก่กระบวนการประชาธิปไตย และการปกครองระดับท้องถิ่นจะเป็นสนามฝึกซ้อมให้แก่ผู้นําของชาติในอนาคต
7. ประชาสังคม
ประชาสังคมเป็นเสาหลักสําคัญเสาที่เจ็ด ประชาสังคมที่แข็งขันจะเริ่มบทบาทของการมีส่วนร่วมตั้งแต่ระดับรากหญ้า
เวทีชุมชน ชมรม กลุ่มนักรณรงค์เรื่องต่างๆ องค์กรการกุศล สหกรณ์ สหภาพ กลุ่มนักคิด
และสมาคม ล้วนจัดอยู่ภายใต้กรอบประชาสังคม กลุ่มเหล่านี้เป็นยานพาหนะในการมีส่วนร่วมที่จะนําไปสู่การมีประชาธิปไตยระดับรากหญ้าอย่างยั่งยืน
โดยมีความเข้มข้นในแง่ของความรู้สึกต้องการเป็นอาสาสมัคร ความสนใจร่วมกัน และมีค่านิยมเหมือนกัน
อันเป็นแกนสําหรับการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล สร้างกรอบแนวคิด และผลักดันแนวคิด
ความเข้มแข็งของประชาธิปไตยอาจวัดได้โดยดูว่ามีประชาสังคมที่แท้จริงเพียงใด และพลเมืองมีส่วนร่วมในการกําหนดนโยบายสาธารณะมากน้อยเพียงใด ประชาสังคมเป็นแหล่งข้อมูลที่สําคัญสําหรับการถกเถียงด้วยสติปัญญาในเรื่องที่อยู่ในความสนใจของสาธารณะ ประชาสังคมยังเป็นกลไกให้ทัศนะส่วนรวมของพลเมืองสามารถมีส่วนกําหนดและโน้มน้าวนโยบายของรัฐบาลได้ และจากการที่ต้องนําข้อถกเถียงและข้อมูลเข้าสู่เวทีสาธารณะ เพื่อใช้เป็นบริบทในการพิเคราะห์นโยบาย รัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตยก็จําเป็นต้องนําเสนอข้อโต้แย้งหรือปรับเปลี่ยนท่าที การแลกเปลี่ยนในลักษณะนี้เป็นสิ่งดีสําหรับประชาธิปไตย และเป็นที่ชัดเจนว่า เมื่อกระบวนการพิจารณาภายในระบบการเมืองนั้นยอมรับบทบาทของประชาสังคม ก็เท่ากับว่าได้ตกลงใจให้ประชาชนมีบทบาทในการตรวจสอบการตัดสินใจของรัฐบาล ในสังคมประชาธิปไตยนั้นประชาสังคมที่ตื่นตัวจะทําให้มีการตัดสินใจที่รอบคอบมากขึ้น
หลายประเทศมีประวัติศาสตร์ของระบบอุปถัมภ์ทางการเมือง โดยหัวหน้าของกลุ่มการเมืองจะสร้างกลุ่มผู้ตามของตนที่มีความภักดีต่อตัวบุคคลมากกว่าต่อพรรคการเมืองหรือความเชื่อ เมื่อใดที่เกิดอย่างนี้ขึ้น ประชาธิปไตยก็ไม่สามารถคงอยู่อย่างยั่งยืนได้ง่ายนัก
คุณสมบัติความเป็นผู้นํา
เสาหลักต่างๆ ของประชาธิปไตยที่ผมได้กล่าวถึงมานี้ เป็นสิ่งที่จําเป็นแต่ยังไม่เพียงพอ
หากขาดผู้นําที่จะมาสร้างและธํารงรักษาเสาหลักของประชาธิปไตยเหล่านี้
คุณสมบัติของความเป็นผู้นําสําหรับประชาธิปไตยที่ยั่งยืนจะพบได้ในบุคคลที่ดํารงตนด้วยความซื่อสัตย์ โปร่งใส และรับผิดชอบในสิ่งที่ตนทํา เป็นบุคคลที่สามารถสร้างฉันทามติ มีใจที่เปิดกว้างและเป็นธรรม ยึดมั่นต่อความยุติธรรมและส่งเสริมประโยชน์สาธารณะ มีขันติธรรมรับฟังท่าทีของฝ่ายตรงข้าม แน่นอน มักมีการพูดกันว่าประชาธิปไตยเป็นวิธีปกครองที่ยุ่งเหยิงวุ่นวาย และวิสัยมนุษย์ก็มีข้อบกพร่องมากมาย คํากล่าวทั้งสองนี้เป็นความจริง แต่ขณะที่เรายอมรับข้อจํากัดของเราเอง เราก็ควรพยายามหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดในอดีตและมองไปสู่รุ่นผู้นําในภายภาคหน้าที่จะสามารถสานต่อ โดยเรียนรู้จากบทเรียนของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของประชาชนคนธรรมดา
สรุป
ในการเสริมสร้างประชาธิปไตยที่ยั่งยืน ประเทศชาติจะต้องมุ่งความพยายามไปที่การสร้างระบบที่ให้อํานาจแก่ประชาชน
ไม่ใช่เฉพาะผ่านสิทธิในการลงคะแนนเสียงเท่านั้น แต่โดยปลูกฝังบรรทัดฐาน สถาบัน
และค่านิยมที่สนับสนุนสิทธิดังกล่าว และทําให้สิทธินั้นมีความหมาย
สิ่งที่จะทําให้ประชาธิปไตยยั่งยืนคือ ความตระหนักร่วมกันว่า แม้ว่าประชาธิปไตยจะห่างไกลความดีเลิศ แต่ทางเลือกอื่นยังห่างไกลเสียยิ่งกว่า บางสังคมตระหนักในสัจธรรมนี้เร็วกว่า บางสังคมตระหนักช้ากว่า บางสังคมก็กําลังทดลองดูว่าจะสามารถนําเฉพาะบางส่วนของประชาธิปไตยมาใช้ เช่น ธรรมาภิบาลและความรับผิดชอบ โดยไม่ต้องรับภาระของการเป็นประชาธิปไตยอย่างเต็มรูปแบบได้หรือไม่ ผมขอให้สังคมเหล่านั้นโชคดี ตราบใดที่พวกเขาแสดงความยึดมั่นต่อสวัสดิภาพและความกินดีอยู่ดีของประชาชน และจัดหาบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนได้ ประชาชนส่วนใหญ่ก็คงจะพึงพอใจกับสถานะที่เป็นอยู่และไม่ประท้วง
ในบางประเทศที่ระบอบประชาธิปไตยยังไม่เข้มแข็งแบบนี้ ประเด็นหนึ่งที่พวกเขาได้เปรียบก็คือความรู้สึกผิดหวังกับประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน บุคคลที่ได้รับเลือกตั้งมา แทนที่จะสนองและปกป้องผลประโยชน์สาธารณะ กลับสนองประโยชน์ส่วนตนและพรรคพวก อ้างสิทธิที่จะบงการในนามของคนส่วนใหญ่ เหยียบย่ำสิทธิของคนกลุ่มน้อย จนตนเองกลายเป็น "สาธารณชน" เสียเอง ไม่ใช่ "ผู้แทน" อีกต่อไป
ในช่วงประมาณสามทศวรรษที่ผ่านมา ได้มีแนวโน้มไปสู่ประชาธิปไตยที่มีส่วนร่วมโดยตรงมากขึ้น ซึ่งในสังคมประชาธิปไตยที่อยู่ตัวแล้ว แนวโน้มนี้อาจเป็นความเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่การเดินจากระบอบอัตตาธิปไตยไปสู่ประชาธิปไตยที่มวลชนมีส่วนร่วมนั้น นับว่าเป็นการกระโดดก้าวใหญ่ สิ่งที่สําคัญคือ เมล็ดของประชาธิปไตยจะต้องงอกเงยจากภายในของแต่ละสังคมเอง จึงจะได้รับการยอมรับและดําเนินไปได้ สังคมแต่ละแห่งจะต้องหาทางออกจากความขัดแย้งต่างๆ และจัดลําดับความสําคัญของเรื่องต่างๆ ด้วยตนเอง
ประสบการณ์ในทุกที่เน้นให้เห็นถึงความเปราะบางของประชาธิปไตย แม้ว่าในบางแห่งที่อาจดูเหมือนอยู่ตัวแล้ว ประชาธิปไตยก็อาจถูกแทรกแซงได้โดยเฉพาะในยามที่มีวิกฤต ผมไม่เชื่อว่าจะมีประชาธิปไตยแห่งใดที่เข้มแข็งจนปลอดภัยจากความละโมบ และความมักใหญ่ใฝ่สูงของมนุษย์ ในการบ่มเพาะและทําให้ประชาธิปไตยยั่งยืนนั้น ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากประชาธิปไตยจะต้องทําหน้าที่เป็นผู้ปกป้องประชาธิปไตย ประชาชนคนธรรมดาจะต้องระแวดระวังและชาญฉลาด สําหรับมนุษยชาติ ประวัติศาสตร์ยังไม่ได้จบสิ้น การต่อสู้เพื่อผลักดันและต่อต้านประชาธิปไตยจะยังคงดําเนินอยู่ต่อไปอีกนาน
ที่มา: จากบทความ "ประชาธิปไตยที่ยั่งยืน"
ในหนังสือชื่อเรื่อง ประชาธิปไตยในระยะเปลี่ยนผ่าน, โอเพ่นบุ๊คส์, 2552
http://www.onopen.com/coffee-open/09-04-30/4763
2. 'Juche' platform
for PAD's new politics of socialism
โดย ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล (ที่มา บางกอกโพสต์)
ฉบับแปลเป็นภาษาไทย แปลโดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์ (๓๐ พฤษภาคม
พ.ศ.๒๕๕๒)
'จูเช' (Juche*) แนวนโยบายการเมืองใหม่แบบสังคมนิยมของ (พธม.) พันธมิตร
สำหรับผู้ที่ต่อต้าน พธม.คงจะรู้สึกโล่งอกที่กลุ่ม พธม.จะไม่กลับไปประท้วงข้างถนนอย่างเอาเป็นเอาตายเหมือนในอดีต ซึ่งนับว่าเป็นผลบวกสำหรับบรรยากาศการเมืองของประเทศอย่างไม่น่าสงสัย อย่างน้อยที่สุดสำหรับกลุ่มนักลงทุนในและนอกประเทศที่รังเกียจการกระทำนอกวิถีทางของระบอบรัฐสภาซึ่งไร้เสถียรภาพและคาดเดาไม่ได้ ที่นำไปสู่การบุกยึดสนามบินและทำเนียบรัฐบาล การจัดตั้งพรรค พธม.เป็นสิ่งที่น่ายินดีมาก
(*) The Juche Idea (pronounced / in Korean, approximately "joo-chay") is the official state ideology of North Korea and the political system based on it. The doctrine is a component part of Kimilsungism, the North Korean term for Kim Il-sung's family regime.[1] Juche literally means "main body" or "subject"; it has also been translated in North Korean sources as "independent stand" and the "spirit of self-reliance".
Origin: Kim Il-sung advanced Juche as a slogan in a December 28, 1955, speech titled "On Eliminating Dogmatism and Formalism and Establishing Juche in Ideological Work" in rejection of the policy of de-Stalinization (bureaucratic self-reform) in the Soviet Union. The Juche Idea itself gradually emerged as a systematic ideological doctrine under the political pressures of the Sino-Soviet split in the 1960s. The word "Juche" also began to appear in untranslated form in English-language North Korean works from around 1965. Kim Il-sung outlined the three fundamental principles of Juche in his April 14, 1965, speech "On Socialist Construction and the South Korean Revolution in the Democratic People's Republic of Korea". The principles are "independence in politics" (chaju), "self-sustenance in the economy" (charip) and "self-defense in national defense" (chawi). Current North Korean leader Kim Jong-il officially authored the definitive statement on Juche in a 1982 document titled On the Juche Idea. He has final authority over the interpretation of the state ideology and incorporated the Songun (army-first) policy into it in 1996.
ถึงกระนั้น ความสำเร็จของขบวนการเสื้อเหลืองในอดีตได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ประสิทธิภาพในการนำและการจัดการของพวกเขาไม่ควรถูกประเมินค่าต่ำ พวกเขามีสื่อที่มีอิทธิพลอยู่ในมือถึง 2 แห่ง - ASTV และ http://www.manager.co.th ซึ่งเป็นเวปไซท์ข่าวสารที่มีความนิยมมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของราชอาณาจักรไทย
โดยผ่านสื่อเหล่านี้ หรือหนังสือพิมพ์และเวปไซท์ที่สนับสนุนพวกเขา พรรค พธม.ไม่ว่าจะตั้งชื่อใดก็ตาม สามารถที่จะรณรงค์หาเสียงได้อย่างมีพลังและมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุผลนี้ คาดว่าพวกเขาจะกอบโกยคะแนนเสียงจากมวลชนที่สนับสนุนเขาได้ในบางจังหวัด
ในระยะสั้น ฐานเสียงของพรรค พธม.จะลุกล้ำเข้าไปในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ ส่วนในระยะยาวยังไม่สามารถคาดเดาได้. ถ้าดูจากอดีตพรรคพลังธรรมของพลตรีจำลอง ศรีเมือง ในสมัยที่เขาเริ่มจัดตั้งและบริหารมัน พวกเขาได้เจาะเข้าไปในกระแสต่อต้านพรรคประชาธิปัตย์ในเมืองหลวง แต่บรรยากาศการเมืองที่แตกแยกในปัจจุบันนี้มันต่างจากยุคนั้น ซึ่งเป็นช่วงที่พรรคใหม่นี้สามารถชิงที่นั่งได้ถึง 90% ในเขตกรุงเทพฯ และตอนนี้คะแนนที่ไม่สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ก็คือคะแนนที่ไม่สนับสนุน พธม.อย่างไม่ต้องสงสัย ซึ่งคะแนนส่วนใหญ่แต่ไม่ทั้งหมดของคนเหล่านี้จะเทไปให้พรรคเพื่อไทย
คุณจะเห็นว่ามีพวกที่ไม่สนับสนุน
พธม.แต่สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ แต่คุณจะไม่เจอใครที่ไม่ชอบพรรคประชาธิปัตย์แล้วจะชอบ
พธม.
จุดยืนการเมืองที่ขัดกันแบบนี้ไม่มีอยู่จริง
โดยแท้จริงแล้วพรรค พธม.จะครอบครองฐานเสียงของกลุ่มที่ไม่ใช่ประชาธิปัตย์ ที่ชื่นชอบสนธิ ลิ้มทองกุล ที่ต่อต้านทักษิณ ชินวัตร ซึ่งตอนนี้ยังเป็นฐานเสียงที่เล็กมากในเมือง แต่วิถีทางของ พธม.สามารถจะโน้มน้าวคุณได้ แต่พฤติกรรมในอดีตของพวกเขาอาจไม่ได้ช่วยอะไร แต่อย่าคาดหวังว่าแนวคิดของ พธม. - ขวาสุดกู่ทางการเมือง และซ้ายสุดกู่ทางเศรษฐกิจ - จะถูกนำมาใช้ในการหาเสียงโดยทันที
ฐานเสียงที่ใหญ่ของพรรคประชาธิปัตย์ในเมืองหลวง ณ จุดหนึ่งอาจจะไม่ยอมรับท่วงทีของการผูกขาดทางการเมืองของคุณทักษิณ แต่คนกรุงเทพฯ ก็ยังไม่พร้อมที่จะยอมรับอย่างง่ายดายต่อกลุ่มนักเคลื่อนไหวสหภาพแรงงาน อดีตเจ้าพ่อสื่อลวงโลกที่ล้มละลาย นักวิชาการที่อกหัก ผู้จัดตั้งมวลชน และนักการเมืองที่ไม่ได้รับการยอมรับและล้มเหลว โดยสรุป พรรค พธม.จะเป็นสีสันที่เพิ่มขึ้นในเวทีหาเสียงอย่างแน่นอน แต่โชคไม่ดีพวกเขาจะไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดเสียงสนับสนุนอย่างทันทีทันใดแทนที่พรรคประชาธิปัตย์
ผลกระทบต้นๆ จากนโยบาย เชื่อผมเถอะ ต่างจากที่ประชาคมนักข่าวต่างชาติและกลุ่มนักวิชาการหลักๆ ที่อธิบายอย่างผิดๆถึงความหลากหลายของความแตกแยกในประเทศไทยใน 5 ปีที่ผ่านมา นั่นคือความนิยมของ พธม.จะมาจากจังหวัดหลากหลายและชนชั้นหลากหลาย ความนิยมไม่ได้มาจาก "ชนชั้นสูงที่มีการศึกษา" หรือ "คนกรุงเทพฯ" หรือ "ภาคใต้ที่คุมโดยพรรคประชาธิปัตย์" หรือ "ผู้ที่สนับสนุนสถาบันฯ อย่างแท้จริง" หรือ "แวดวงอนุรักษ์นิยม" แต่ความนิยมพวกเขามาจากพวกที่ติดตามสื่อที่บิดเบือนอย่าง http://www.manager.co.th และ ASTV ด้วยความบ้าคลั่งและดันทุรัง
เพื่อจะตอบคำถามของทุกคน: พรรค พธม.จะได้รับความนิยมในพื้นทีที่มีการแพร่ขยายของอินเตอร์เน็ทสูงและพื้นที่ที่มีการติดตั้ง ASTV ในเงื่อนไขที่ว่าคนที่หูเบาเหล่านี้จะเปิดช่องฟังทั้งกลางวันและกลางคืน. จากมุมมองของสื่อ ASTV และ http://www.manager.co.th เป็นศัตรูของพรรคการเมืองทุกพรรคซึ่งไม่ค่อยจะชำนาญทางด้านสื่อ ถ้าแขนขาของสนธิถูกตัดออกไป ความนิยมของพรรค พธม.จะลดลงไปอย่างมาก ในระยะยาว จุดมุ่งหมายของการตั้งพรรคที่คล้ายพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งเปรียบอย่างลับๆ ว่าเป็นพรรครอยัลลิสท์สีเหลือง จะไม่บรรลุผลสำเร็จ
อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้มองอย่างผิวเผิน คุณจะต้องเข้าใจถึงแนวทางที่ พธม.จะเสนอเมื่อเริ่มมีการร่างนโยบายทางการเมือง นโยบายที่ยังไม่เป็นลายลักษณ์อักษรเอนเอียงไปทางรูปแบบเลนินนิสต์ที่ปราศจากแนวทางต่อต้านสถาบันกษัตริย์ของอุดมคติของลัทธิคอมมิวนิสท์ เพื่อขยายความให้กระจ่างขึ้น มันเป็นองค์ประกอบที่สนับสนุนสถาบันฯ แต่ในขณะเดียวกันก็เอนเอียงไปทางซ้ายด้านเศรษฐกิจ การสนับสนุนสถาบันฯ ก็เพื่อความอยู่รอดทางการเมืองในระยะกลาง ซึ่งก็หมายถึงว่าพวกเขาให้ความสำคัญกับความจงรักภักดีของคนไทยต่อสถาบันราชวงศ์ และใน 5 ถึง 10 ปีข้างหน้าพวกเขาจะเลือกที่จะใช้วิธีนี้เป็นหลักการรณรงค์หาเสียงสนับสนุน
มันเป็นแนวทางเศรษฐกิจที่เอนซ้าย เพื่อจัดสรรให้กับคนใช้แรงงานที่ด้อยสิทธิ์ ชนชั้นทำงานส่วนล่าง-กลางที่ยากจน และนักการเมืองที่ขาดน้ำเลี้ยง นักเคลื่อนไหว NGO ที่ไม่ได้รับการตอบสนองหรือถูกเมินเฉยจากรัฐบาล "ยุคเก่า" มาโดยตลอด
แนวคิดเช่นการปฏิรูปที่ดินทำกินเหมือนเกาหลีเหนือมาเป็นประชาคมประเภทหนึ่งซึ่งถูกพิสูจน์แล้วว่าไม่ประสบความสำเร็จในประเทศจีนและสหภาพโซเวียต จะโผล่ออกมาในที่สุด แผนเศรษฐกิจอื่นอาจรวมถึงการปรับปรุงระบบสวัสดิการสำหรับผู้เกษียณอายุ และผู้ได้รับบำเหน็จบำนาญและบุคคลที่ใช้ชีวิตอย่างยากจน การขึ้นภาษีอย่างมหาศาลต่อผู้ถือครองที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่นรวมถึงมรดก การจัดระบบภาษีก้าวหน้าอย่างไม่สมเหคุผล และอื่นๆ
นโยบายของพวกเขาอาจรวมถึงการส่งเสริมหลักเศรษฐกิจพึ่งพาตนเอง ที่ถูกปลูกฝังในแนวคิดที่เป็นรากฐานของชาติ ซึ่งมันอาจจะทำให้เกิดการก่อตั้งระบอบการปกครองแบบเผด็จการที่มีนโยบายเอียงซ้ายโดยคณะกรรมการของพรรค พธม.ซึ่งคล้ายกับคณะกรรมการโปลิทบูโร (politburo) ของโซเวียต (ถูกเลือกตั้งมาจากสภาประชาชน หรือ People's Congress)
คุณสามารถจะคาดเดาได้อย่างแน่นอนว่าข้อโต้แย้งของแคมเปญพวกเขาที่โยงมาจากความคิดเกี่ยวกับจิตสำนึกรวมและความเป็นหมู่คณะที่เหนือกว่าความเป็นบุคคล ซึ่งดึงดูดความสนใจจากพวกอนุรักษ์นิยมและพวกคลั่งชาติสุดกู่ การกล่าวอ้างถึง "ปรัชญาลัทธิจูเช" จะถูกนำมาเป็นแนวคิดหลักของ พธม.ในช่วงปฏิบัติการทางการเมือง
เดิมทีมันถูกอธิบายว่า เป็นการประยุกต์ใช้ที่สร้างสรรค์ของลัทธิมาร์กซ์และเลนนิน การนำแนวคิด "จูเช" (การพึ่งพาตนเอง) มาใช้กลายมาเป็นหลักปรัชญาที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ จากการตีความใหม่เป็นบางครั้งบางคราวโดยคิม อิล ซุง / คิม จอง อิล เพราะแนวคิดนี้จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน สุดท้ายมันถูกนำมาใช้โดยประมุขของรัฐเสมือนเป็นการสนับสนุนทาง "จิตวิญญาณ" ต่อการปกครองที่เป็นเผด็จการและกดขี่
การนำของพรรค พธม.ทางด้านนโยบายต่างประเทศ คาดว่าจะเน้นความคิดหลักของปรัชญา "จูเช" อย่างลับๆ ซึ่งหมายถึงความสามารถในการกระทำอย่างเป็นอิสระ โดยไม่คำนึงถึงการแทรกแซงจากภายนอก ถ้าพรรค พธม.อยู่ในตำแหน่งผู้นำ ประเทศจะต้องเตรียมพร้อมที่จะดำเนินแนวทางปฏิบัติทางเศรษฐกิจที่ต่อต้านโลกาภิวัฒน์ นโยบายอย่างเช่น การบังคับให้มีใบอนุญาตหรืออื่นๆ ที่ยอมรับโดยกลุ่มชนที่ไม่ได้รับข้อมูลข่าวสารและต่อต้านโลกาภิวัฒน์ และสนับสนุนโดยองค์กรที่เอียงไปทางสังคมนิยม จะกลายเป็นปทัสฐานในเวลาต่อมา
จากคำอธิบายข้างต้น คุณคงจะคาดเดาได้ด้วยตนเองว่า พธม.จะได้รับฐานการสนับสนุนอย่างไร ประเด็นที่กล่าวมาจริงแล้วมันฟังดูใหม่และดึงดูดใจ โดยเฉพาะการปกป้องคนยากจน การมีจิตสำนึกต่อสังคม และต่อต้านระบบการเมืองที่เห็นเงินสำคัญ และนโยบายที่เน้นเรื่องสวัสดิการ ถึงกระนั้น ปัญหาของระบอบพรรคเดียวที่คอยมีผู้สนับสนุนที่เป็นโปร-เจ้า และคลั่งชาติเสมอ จะทำให้ตัวของมันเสื่อมเองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
สำหรับการปกครองระบบรัฐสภาภายใต้ระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญในปัจจุบัน ผมหวังว่าพรรค พธม.ที่รวมตัวกันโดยแกนนำ จะเข้ามามีบทบาทในเฉพาะรัฐบาลหน้าเท่านั้นและค่อยๆเลือนหายไปหลังจากนั้น นั่นหมายถึงว่าพรรคเสื้อเหลืองจะต้องได้ 10-20 ที่นั่งเป็นอย่างต่ำ บ้างจากภาคอีสาน ภาคใต้ และภาคกลาง นอกจากนั้น พวกเขาอาจจะต้องใช้กลยุทธ์อย่างชาญฉลาดในการช่วงชิงตำแหน่งรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้ง
อย่างไรก็ตาม นี่คือสิ่งที่ผมจินตนาการว่าจะเกิดขึ้น
พรรคพวกของนายสนธิ ลิ้มทองกุล แน่นอนจะได้ประมาณ 10 ถึง 20 ที่นั่งส.ส.ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะผ่านทางการเลือกตั้งโดยตรงของเขตหรือปาร์ตี้ลิสต์ ซึ่งน่าจะเป็นอย่างหลังมากกว่า ตอนแรกพวกเขาจะสร้างภาพพจน์ให้ตนเองว่าเป็นฝ่ายที่ต่อต้านคอร์รับชั่น โดยแสดงตนว่ามีจรรยาบรรณที่สูงและจะไม่ปรารถนาที่จะร่วมกับพรรครัฐบาลผสมที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์/ภูมิใจไทย แต่เมื่อเวลาผ่านไป พธม.จะดึงดูดผู้สนับสนุนที่เชื่อพวกเขาอย่างงมงายจำนวนมากโดยผ่านช่องทางสื่อด้วยวิธีเดิมคือ เกาะกระแสต่อต้านนักการเมืองที่โกงกินในประเทศ จุดนี้ทาง manager.co.th และ ASTV จะมีบทบาทที่สำคัญ
จากพรรคฝ่ายค้านเล็กๆ ลัทธิของเสื้อเหลืองจะแปรสภาพไปเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวในการบริหารจัดการประเทศไทย จากคำถามของทุกคนที่ว่าผู้นำของ พธม.จะมีส่วนในร่วมในการรับตำแหน่งรัฐมนตรีหรือไม่หลังการเลือกตั้งคราวหน้า คำตอบที่ชัดเจนคือไม่ อย่างไรก็ตามอันตรายที่แท้จริงก็คือเมื่อเวลาผ่านไป พธม.อาจได้รับการสนับสนุนจากมวลชนจำนวนมาก (ลองนึกถึงพรรคพลังธรรมแล้วคูณเข้าไป 5 เท่าอย่างน้อย) ถึงจุดนั้นพวกเขาสามารถจะเปลี่ยนสภาประชาชนที่จัดตั้งขึ้นแล้วมาเป็นระบบการออกนโยบายอีกทางหนึ่ง ที่สามารถจะก่อให้เกิดการจำนนของระบอบการปกครอง
เมื่อมีโอกาสที่ดีกว่านั้น นั่นหมายถึงเมื่อมีการก่อรัฐประหาร หรือที่ดีกว่านั้น การลุกฮือติดอาวุธโดยประชาชนเพื่อต่อต้าน "นักการเมืองปิศาจที่โกงกินและเกินกว่าการชำระล้าง" สภาประชาชนของ พธม.จะตอบสนองบทบาทที่ถูกบัญญัติไว้แล้วในที่สุด ซึ่งแน่นอนก็คือการรับหน้าที่เป็นรัฐสภาชั่วคราวโดยทันที เพื่อที่จะร่างรัฐธรรมนูญใหม่ที่เคร่งครัด ที่จะทำให้แม้กระทั่งผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของปี 2550 ถึงขั้นอับอายได้
ผลที่สุด พธม.จะบรรลุเป้าหมายในการเขียนแถลงการณ์นโยบาย "การเมืองใหม่" ซึ่งจะคล้ายกับของคาร์ล มารกซ์ แต่ปรับเปลี่ยนเพื่อให้ยังมีสถาบันกษัตริย์ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องรวมอยู่ด้วย "การเมืองใหม่" จะมีทุกองค์ประกอบของนโยบายเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นไปทางสังคมนิยม
สิ่งที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อความมั่นคงของชาติ และต่อระบอบการปกครองปัจจุบันของราชอาณาจักรไทยนั้น น่าจะเป็นรัฐธรรมนูญที่เขียนขึ้น "ใหม่" ของ "การเมืองใหม่" พธม.ต้องการแค่ไม่กี่ที่นั่งเพื่อให้มีบทบาทในสภาผู้แทนราษฎรในขณะนี้ และในการมีส่วนร่วมกับสมาชิกวุฒิสภาที่ถูกแต่งตั้งและเลือกตั้งบางคน เสียงเรียกร้องของพวกเขาจะกัดเซาะเข้าไปอย่างช้าๆ (เสมือนน้ำที่หยดบนหิน) ต่อระบอบประชาธิปไตยที่เน้นการเลือกตั้งในระบบรัฐสภาภายใต้การปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ เป้าหมายที่แท้จริงของพวกเขาที่ต้องการเลขาธิการที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเพื่อเป็นผู้นำของ politburo ซึ่งมาจากสภาประชาชน มันเกินกว่าที่ประชาชนทั่วไปจะเข้าใจ ถึงกระนั้น จากการวิเคราะห์ของคนคนหนึ่งที่เข้าใจการต่อสู้ที่ยาวนานของเสื้อแดง มันมีบางอย่างที่แอบแฝงอยู่ภายใต้พื้นผิว ซึ่งแม้แต่มองด้วยสายตาเปล่ายังไม่สามารถจะหยั่งรู้ถึงความจริงซึ่งขณะนี้กำลังถูกปิดบังโดยคราบสีของรอยัลลิสต์
สิบปีจากนี้ไป เมื่อมองกลับมา เสื้อแดงอาจจะไม่ได้เป็นผู้ที่ปลดปล่อยชนชั้นกรรมาชีพก็ได้
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
หมายเหตุ: อะไรคือปรัชญาเศรษฐกิจจูเช(หรือจูเชียะ)?
http://thaienews.blogspot.com/2009/05/juche-platform-for-pads-new-politics-of.html
ชาร์ลส์ เจนกิ้นส์ ทหารอเมริกันที่หนีทหารจากเกาหลีใต้เข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในเกาหลีเหนือนาน40ปี
(พ.ศ.2507-2547) เขียนในหนังสือคำสารภาพ (To tell the truth) ที่เขาเขียนขึ้นหลังจากหลบหนีออกจากเกาหลีเหนือมาได้ว่า....
ในตอนแรกที่เขาหนีทหารเข้าไปอยู่ในเกาหลีเหนือในราวปี พ.ศ.2508 นั้น ภายหลังจากถูกล้างสมองให้รับรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และความอัจฉริยะของคิมอิลซุง บิดาผู้ก่อตั้งเกาหลีเหนือแล้ว ทางการเกาหลีเหนือก็บังคับให้เรียนเกี่ยวกับ"ปรัชญาจูเชียะ". ปรัชญาจูเชียะตามทฤษฎีของคิมอิลซุง มีสาระสำคัญยกย่องการพึ่งตัวเอง เกาหลีเหนือต้องพึ่งตัวเองดีกว่าการพึ่งการค้ากับประเทศลัทธิคอมมิวนิสต์อื่น เช่น จีน โซเวียต ต้องเรียนวันละ 10 ถึง 11 ชั่วโมง ถ้าท่องจำไม่ได้ในส่วนที่ถูกสั่ง ต้องเรียนซ้ำ 16 ชั่วโมงในวันอาทิตย์ ดังนั้นแม้แต่ 40 ปีต่อมาที่หนีออกจากเกาหลีเหนือมาได้ ข้าพเจ้าก็ยังจำคำโฆษณาชวนเชื่อปรัชญานี้ได้ดี บางครั้งข้าพเจ้ายังท่องมันได้แม้แต่ในความฝัน
ข้าพเจ้าไม่ใช่นักเศรษฐศาสตร์ แต่มันเป็นทฤษฎีบ้าๆ ยิ่งเรียนก็ยิ่งรู้สึกว่ามันไร้เหตุผล บางครั้งข้าพเจ้าเหลียวดูรอบตัวและพิศวงเหลือเกินว่า เหตุใดคนทั้งประเทศนี้จึงเชื่อทฤษฎีไม่สมประกอบนี้ แน่นอนเป็นทฤษฎีโกหกเห็นชัดๆ เพราะใครก็รู้ว่าเกาหลีเหนือล้มแน่ถ้าขาดการค้า หรือการพึ่งพาบริจาคจากประเทศอื่นเพื่อปากท้องของคนเกาหลีเหนือ
ข้าพเจ้ามักจะบอกลูกสาว 2 คนที่เกิดและเติบโตในเกาหลีเหนือเสมอว่า "โลกที่เรากำลังอยู่ในเกาหลีเหนือ ไม่ใช่โลกมนุษย์ที่แท้จริง" แต่เด็กๆ ไม่ค่อยเชื่อข้าพเจ้านัก เพราะโลกในเกาหลีเหนือเป็นโลกเดียวเท่านั้น ที่เด็กๆ รู้จัก. แต่ข้าพเจ้าไม่เคยถูกล้างสมองด้วยประวัติศาสตร์ หรือทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จอมปลอม และการเคารพบูชาคิมอิลซุงซึ่งพวกเขายัดเยียดให้ หากคุณเป็นชาวเกาหลีเหนือที่เติบโตในสภาพนี้ มันอาจจะมีแนวโน้มที่จะเชื่อทุกสิ่งทุกอย่างที่พวกเขาสั่งสอน หรืออย่างน้อยอาจจะเชื่อบ้างไม่เชื่อบ้างไม่มากก็น้อย แต่ข้าพเจ้าเติบโตมาจากโลกภายนอก รู้จักโลกภายนอก ข้าพเจ้ารู้ว่า ทุกอย่างเป็นการโกหกหลอกลวง
สำหรับลัทธิบูชาเคารพปัจเจกบุคคลในเกาหลีเหนือนั้น ข้าพเจ้าซาบซึ้งดี เมื่อถามคำถามซื่อๆ ตรงๆ และน่าจะมีเหตุผลต่อเจ้าหน้าที่พรรคว่า "ถ้าคิมอิลซุงตาย จะเกิดอะไรขึ้น?" เท่านั้นหละข้าพเจ้าก็โดนทำโทษหนักด้วยคำถามนี้ การเกริ่นแย้มว่าคิมอิลซุงเป็นมนุษย์เดินดินที่ไม่พ้นความตาย...ก็เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลยในเกาหลีเหนือ
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word
++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
สารบัญเนื้อหา
7 I สารบัญเนื้อหา
8
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail
: midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1700 เรื่อง หนากว่า 35000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com