ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้เป็นสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๒ : Release date 19 May 2009 : Copyleft MNU.

ในความเป็นจริงของสังคม จะพบผู้คนอีกมากมายที่มีวิถีการดำเนิน ชีวิตและรูปแบบความสัมพันธ์ทางเพศที่ไม่ได้สถิตหรือตายตัว หากแต่มีความลื่นไหลไปมาระหว่าง ความเป็นหญิง และความเป็นชายตลอดเวลา ดังจะเห็นได้จากชนเผ่า Kuku-kuku ในนิวกินีและชาวแซมเบีย ได้มีพิธีกรรมที่จะต้องถ่ายน้ำอสุจิของผู้ชายที่โตเต็มที่ให้กับเด็กหนุ่มทางปากและทวารหนัก โดยมีความเชื่อว่า การกลืนและถ่ายน้ำอสุจิจะเป็นการทำให้ร่างกายแข็งแรง มีความเป็นผู้ชาย เป็นนักรบและนักล่าที่ดี การประกอบภารกิจของเด็กผู้ชายจะอยู่ในช่วงอายุ ๗-๘ ปี หลังจากนั้นก็จะกลับสถานะกลายเป็นผู้สละน้ำอสุจิให้กับเด็กที่อายุอ่อนกว่า จนกระทั่งอายุประมาณ ๑๖ ปี เด็กผู้ชายจะยุติพฤติกรรมดังกล่าวด้วยการแต่งงานและร่วมเพศกับภรรยา (คัดมาจากบทวิจัย)

H



19-05-2552 (1731)
กรณีศึกษาความหลากหลายทางเพศ ในสถาบันอุดมศึกษาไทย
นักศึกษาเพศที่สามในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: การดำเนินชีวิตและสวัสดิการ
กฤษฎยชนม์ สุขยะฤกษ์ : ผู้วิจัย

นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

หมายเหตุ: บทวิจัยนี้ดัดแปลงจากวิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีโครงสร้างการนำเสนอดังต่อไปนี้
- พฤติกรรมรักเพศเดียวกันว่ามีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น
- ความหลากหลายทางเพศในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- การสะท้อนความเป็นเพศ อำนาจเหนือตัวตน
- สวัสดิการและบริการนักศึกษาทางด้านจิตใจและพื้นที่ทางสังคม
- การเข้าร่วมพิธีพระราชทานปริญญาบัตร
(บทความนี้จัดอยู่ในหมวด "ภูมิรัฐศาสตร์ศึกษา")

สนใจส่งบทความเผยแพร่ ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน:
midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๗๓๑
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๒ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

กรณีศึกษาความหลากหลายทางเพศ ในสถาบันอุดมศึกษาไทย
นักศึกษาเพศที่สามในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: การดำเนินชีวิตและสวัสดิการ
กฤษฎยชนม์ สุขยะฤกษ์ : ผู้วิจัย

นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

บทนำ
การพิจารณาความเป็นเพศและความสัมพันธ์ทางเพศของมนุษย์ในสังคมปัจจุบัน จะอยู่ภายใต้กรอบแนวคิดทางชีววิทยาที่จัดแบ่งไว้เพียงคู่ตรงข้ามเป็นสำคัญ นั่นคือ เพศชาย-เพศหญิง (Sex) และความสัมพันธ์แบบชาย-หญิง (Gender/sexuality) แต่ในความเป็นจริงของสังคม เราจะพบผู้คนอีกมากมายที่มีวิถีการดำเนินชีวิตและรูปแบบความสัมพันธ์ทางเพศที่ไม่ได้สถิตหรือตายตัว หากแต่มีความลื่นไหลไปมาระหว่างความเป็นหญิงและความเป็นชายตลอดเวลา ดังจะเห็นได้จากชนเผ่า Kuku-kuku ในนิวกินีและชาวแซมเบีย ได้มีพิธีกรรมที่จะต้องถ่ายน้ำอสุจิของผู้ชายที่โตเต็มที่ให้กับเด็กหนุ่มทางปากและทวารหนัก โดยมีความเชื่อว่า การกลืนและถ่ายน้ำอสุจิจะเป็นการทำให้ร่างกายแข็งแรง มีความเป็นผู้ชาย เป็นนักรบและนักล่าที่ดี การประกอบภารกิจของเด็กผู้ชายจะอยู่ในช่วงเวลา 7 - 8 ปี หลังจากนั้นก็จะกลับสถานะกลายเป็นผู้สละน้ำอสุจิให้กับเด็กที่อายุอ่อนกว่า จนกระทั่งอายุประมาณ 16 ปี เด็กผู้ชายจะยุติพฤติกรรมดังกล่าวด้วยการแต่งงานและร่วมเพศกับภรรยา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่าเด็กผู้ชายคนนั้นจะกลายเป็นผู้ใหญ่ (King B.M.,1996, p. 225 อ้างอิงใน รัจนี นพเกตุ, 2542, น. 84-85)

พฤติกรรมรักเพศเดียวกันว่ามีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น
ขณะที่ประเทศไทย ได้มีผู้สันนิษฐานถึงการปรากฏขึ้นของพฤติกรรมรักเพศเดียวกันว่ามีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ดังที่ปรากฏในกฎหมายตราสามดวงได้มีการห้ามผู้ที่มีพฤติกรรมดังกล่าวเป็นพยานในชั้นศาล หรือแม้แต่การที่กรมหลวงรักษรณเรศวร พระราชโอรสในรัชกาลที่ 1 ได้มีพฤติกรรมรักเพศเดียวกันกับนักแสดงโขนละคร และพฤติกรรมรักเพศเดียวกันระหว่างพระสังฆราชวัดมหาธาตุกับลูกศิษย์ จนเป็นเหตุให้ถูกถอดจากสมณศักดิ์ในสมัยรัชการที่ 2 และการออกกฎหมายลงโทษที่ครอบคลุมถึงพฤติกรรมรักเพศเดียวกันในสมัยรัชกาลที่ 5 ดังนั้น สถานการณ์ต่างๆ เหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงการไม่ให้การยอมรับในพฤติกรรมรักเพศเดียวกัน ฉะนั้น ผู้ที่มีพฤติกรรมดังกล่าวต้องปกปิดและหลบซ่อนอยู่ในสังคมตลอดเวลา

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา สถานการณ์การเบียดขับและประทับตราต่อผู้ที่มีวิถีการดำเนินชีวิตที่แตกต่างไปจากโครงสร้างทางเพศแบบทวิเพศได้ผ่อนคลายลงไป เนื่องจากวิวัฒนาการของความรู้ในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการแพทย์ อาทิ สมาคมนักจิตวิทยาอเมริกัน (APA) แพทยสมาคมของประเทศสหรัฐอเมริกา และองค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้มีมติว่า การรักเพศเดียวกันมิใช่อาการป่วยทางร่างกายและจิตใจอีกต่อไป แต่เป็นเพียงรสนิยมของบุคคล และได้ทำการลบชื่อการรักเพศเดียวกันออกจากสารบบโรคของโลก โดยไม่ถือว่าเป็นโรคและไม่ได้เป็นความผิดปกติทางจิตหรือผิดปกติทางเพศ (ฉันทลักษณ์ รักษาอยู่, ออนไลน์, 2551)

ขณะเดียวกัน การให้ความสำคัญกับสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคเท่าเทียมกัน และการตระหนักรู้ถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีของมนุษย์ ก็เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อผู้ที่มีวิถีการดำเนินชีวิตแบบรักเพศเดียวกันสามารถมีวิถีการดำเนินชีวิตทางเพศ เฉกเช่นผู้ที่มีวิถีการดำเนินชีวิตแบบรักต่างเพศอย่างไม่ต้องหลบซ่อนอีกต่อไป ดังจะเห็นได้จากการปรากฏของพื้นที่ทางสังคมในรูปแบบของสถานที่ท่องเที่ยวยามค่ำคืน ย่านสีลมและพัฒพงษ์ การปรากฏนิตยาสารที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ อาทิ นีออน เชิงชาย จีอาร์ THE GUY และสายฝนต้นรุ้ง เป็นต้น หรือแม้กระทั่งองค์กร สมาคม และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Web site) ต่างๆ ที่ทำงานเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ อาทิ องค์กรบางกอกเรนโบว์ สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย กลุ่มอัญจารี กลุ่มสะพาน เป็นต้น

ความหลากหลายทางเพศในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สำหรับสถานการณ์ด้านความหลากหลายทางเพศในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็มีความสัมพันธ์กับสถานการณ์ทางสังคมอย่างแยกไม่ออก กล่าวคือ หากย้อนกลับไปในอดีต พบว่า ผู้ที่มีวิถีการดำเนินชีวิตแบบรักเพศเดียวกันมิได้เป็นที่ยอมรับ ถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพ บทบาท และหน้าที่ในการแสดงออกทางสังคมเป็นอย่างมาก เนื่องจากการมีวิถีการดำเนินชีวิตทางเพศที่แตกต่างไปจากโครงสร้างทางเพศกระแสหลักของสังคมที่ทำการแบ่งเพศและความสัมพันธ์ทางเพศของมนุษย์เป็นทวิเพศ (ชาย-หญิง) ประกอบกับสถานการณ์ทางการเมืองและสังคมในขณะนั้น มิได้เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกและเคลื่อนไหวทางสังคมอย่างเต็มที่

"ไม่มี ไม่มีเลย ไม่มีอะไรยอมรับทั้งสิ้น ทุกคนต้องอยู่นิ่งๆ ทุกคนจะประกาศตัวอะไรออกมาไม่ได้หมดนะฮะ คุณปาน บุญนาค ยังไม่มา ม้า อรนภา ยังไม่มา ไก่ วรายุทธก็ยังไม่โผล่ ดร.เสรี วงษ์มณฑา ก็ยังไม่โผล่ ยังๆๆ ต้อง 6 ตุลาก่อน ติดคุกก่อน ปล่อยออกมาก่อน คำว่า "Human Right" ถูกใช้อย่างกว้างขวางมาก ในสิทธิมนุษยชนทำอย่างนี้ไม่ได้ ในสิทธิ์ทางการเมืองคุณทำอย่างนี้ไม่ได้ ทุกสิ่งทุกอย่างการเมืองมาก่อน… การเมืองๆๆ แล้วจึงจะลงไปในบริบทของสังคม" (วิโรจน์ ตั้งวานิช, 1 กันยายน 2551)

ไม่เพียงเท่านั้น ศิษย์เก่าลูกแม่โดมอย่าง ดร.เสรี วงษ์มณฑา และ คุณยลดา เกริกก้อง สวนยศ ได้แบ่งปันเรื่องราวขณะศึกษา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า นอกจากจะไม่ได้รับการยอมรับในการมีวิถีการดำเนินชีวิตแบบรักเพศเดียวกันแล้ว ผู้ที่มีวิถีการดำเนินชีวิตแบบรักเพศเดียวกันต้องเผชิญกับการถูกปิดกั้นการศึกษา การเลือกปฏิบัติ และการถูกล้อเลียนจากสมาชิกสังคมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์อีกด้วย

"คือ สามารถสอบชิงทุนไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่สหรัฐอเมริกาได้ แต่มีกรรมการบางท่านเสนอให้ตัดชื่อออก เพียงเพราะเห็นว่าเป็นเกย์ แต่โชคยังเข้าข้าง มีกรรมการอีกท่านหนึ่งคัดค้านไว้ เนื่องจากเห็นว่าไม่เป็นธรรม เพราะสามารถสอบได้คะแนนสูงสุดและระเบียบของมหาวิทยาลัยก็ไม่ได้ห้ามเป็นเกย์ จึงไม่มีเหตุผลที่จะตัดชื่อออก... อีกทั้งเมื่อจบปริญญาโท ต้องมาใช้ทุนให้มหาวิทยาลัย โดยการมาเป็นอาจารย์สอนวิชาสื่อสารมวลชนที่ธรรมศาสตร์ แต่มีอาจารย์บางท่านไม่อยากให้มาเป็นอาจารย์ที่นี่ เพราะกลัวว่าจะทำให้เสียภาพลักษณ์ของสถาบัน ถึงขนาดเสนอให้ยกทุนให้เราไปเลยฟรีๆ ไม่ต้องมาใช้ทุน" (จินดาวรรณ สิ่งคงสิน, ออนไลน์, 2552)

"...พี่รู้สึกว่าตอนที่พี่ใส่กางเกงไปเรียนนะ ช่วงสัปดาห์แรกนะ พี่รู้สึกว่าคนเค้ามองพี่เหมือนตัวประหลาด พี่รู้สึกอึดอัด เค้าเหมือนไม่ต้อนรับพี่ เค้ามองพี่เป็นตัวตลกขบขันหรืออะไรสักอย่างที่ แบบ เป็นความประหลาด ประหลาดมากนะ ด้วยความที่พี่ดูละม้ายคล้ายผู้หญิงมั้ง ดูเหมือนผู้หญิง ดูอะไรอย่างเนี๊ยะ แล้วเวลาใส่กางเกง มันก็ มันอึดอัด มันรับไม่ได้ คนก็มองด้วยความฉงนสนเท่ห์... (สัมภาษณ์, 4 กันยายน 2551)

อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่การเกิดขึ้นมาของสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ตั้งแต่เหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 สถานการณ์ความรุนแรงที่มีต่อผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศได้ลดความรุนแรงลงไป ดังจะเห็นได้จากสถานการณ์ต่างๆ ที่สะท้อนให้เห็นถึงการเปิดพื้นที่และให้โอกาสแก่ผู้ที่มีวิถีการดำเนินชีวิตแบบรักเพศเดียวกัน สามารถดำเนินชีวิตในสังคมเฉกเช่นผู้ที่มีวิถีการดำเนินชีวิตแบบรักต่างเพศ อาทิ การอนุมัติให้ผู้ที่มีวิถีการดำเนินชีวิตแบบรักเพศเดียวกันเข้าเรียนสายวิชาชีพครูได้ การที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้เตรียมร่าง พรบ. เกี่ยวกับคำนำหน้านาม เพื่อให้สิทธิกับผู้ที่เปลี่ยนเพศ (Transsexual) สามารถเปลี่ยนคำนำหน้านามได้ (กะเทยเตรียม เฮ ผ่าตัดแล้วใช้ น.ส. ได้ ดัน กม.-กะเทยผ่าให้ใช้ 'นางสาว' ได้, ข่าวสด, 2550)

หรือแม้แต่สถาบันอุดมศึกษาอย่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ก็ได้ให้ความสำคัญกับสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาคเท่าเทียมกัน และเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม จึงได้มีการพิจารณาเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบหอพักให้นิสิตนักศึกษาที่เป็นผู้หญิงข้ามเพศ (Transsexual) หรือ นักศึกษาที่มีสรีระเป็นผู้หญิง ผ่าตัดแปลงเพศแล้ว สามารถใช้ห้องน้ำและเข้าพักในหอพักหญิงของมหาวิทยาลัยได้ (นักศึกษาตุ๊ดเฮ 'มศว' ยอมให้พักหอหญิง, ไทยรัฐ, 2550; ปริญญา เทวานฤมิตรกุล, สัมภาษณ์, 22 สิงหาคม 2551)

ขณะเดียวกัน การจัดสวัสดิการและบริการนักศึกษาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดมิใช่ว่าจะต้องมาจากหน่วยงานหรือสถาบันการศึกษาอย่างเดียว หากแต่นักศึกษาเหล่านั้นจะต้องสร้างคุณประโยชน์แก่สังคมควบคู่กับการสำรวจความต้องการสวัสดิการและบริการนักศึกษาที่มาจากพวกเขาหรือเธอเหล่านั้นเป็นสำคัญ (ยลดา เกริกก้อง สวนยศ, สัมภาษณ์, 4 กันยายน 2551; แยกสุขาตุ๊ด ถาม นศ. ก่อน, ออนไลน์, 2552; วิโรจน์ ตั้งวานิช, สัมภาษณ์, 1 กันยายน 2551)

ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะศึกษาเรื่อง "นักศึกษาเพศที่สามในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: การดำเนินชีวิตและสวัสดิการ" ซึ่งจะประกอบไปด้วยเนื้อหาสาระด้านการดำเนินชีวิตในมหาวิทยาลัยของนักศึกษาเพศที่สามด้านต่างๆ รวมไปถึงการใช้สวัสดิการและบริการนักศึกษา และความคาดหวังต่อการจัดสวัสดิการที่เหมาะสมต่อนักศึกษาเพศที่สามในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วัตถุประสงค์ในการศึกษา

การศึกษาเรื่อง "นักศึกษาเพศที่สามในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: การดำเนินชีวิตและสวัสดิการ" ในครั้งนี้ จะเป็นการศึกษาถึง การดำเนินชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยของนักศึกษาเพศที่สาม และการจัดสวัสดิการที่เหมาะสมต่อนักศึกษาเพศที่สามในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ขอบเขตในการศึกษา

1. ขอบเขตด้านประชากรและพื้นที่การศึกษา

ขอบเขตด้านประชากร คือ นักศึกษาชายที่มีการยอมรับในอัตลักษณ์ของความเป็นเพศที่สามของตน อีกทั้งมีความพึงพอใจและชื่นชอบในเพศเดียวกัน มีแนวโน้มของพฤติกรรม บุคลิกลักษณะ ท่าทาง และการแสดงออกที่ใกล้เคียงกับเพศหญิง และอาจมีการแต่งกายคล้ายเพศหญิงด้วยหรือไม่ก็ได้ รวมทั้งเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวนทั้งสิ้น 9 คน

ขอบเขตด้านพื้นที่การศึกษา คือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ท่าพระจันทร์

2. ขอบเขตด้านเนื้อหา

การศึกษาเรื่อง "นักศึกษาเพศที่สามในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : การดำเนินชีวิตและสวัสดิการ" เป็นการศึกษาที่ครอบคลุมประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ รูปแบบการดำเนินชีวิตประจำวันด้านต่างๆ ในรั้วมหาวิทยาลัย อาทิ การแต่งกาย การเข้าฟังบรรยาย การเข้าสอบ การฝึกภาคปฏิบัติ การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาเพศที่สามกับเพื่อนและอาจารย์ สวัสดิการสำหรับนักศึกษาเพศที่สาม รวมไปถึงปัญหา/อุปสรรค และกระบวนการในการดำเนินการแก้ไขปัญหา/อุปสรรคเหล่านั้น

นิยามศัพท์เฉพาะ

การดำเนินชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย คือ การใช้ชีวิตของนักศึกษาเพศที่สามในรั้วมหาวิทยาลัย และความสัมพันธ์ทางสังคมของนักศึกษาเพศที่สาม ในด้านต่างๆ อาทิ การแต่งกายของนักศึกษาเพื่อเข้าฟังบรรยาย เข้าสอบ การทำกิจกรรม การใช้ชีวิตในหอพัก ความสัมพันธ์ของนักศึกษากับเพื่อน ความสัมพันธ์ของนักศึกษากับอาจารย์ รวมไปถึงปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นขณะดำเนินชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย และการจัดการต่อสถานการณ์ต่างๆ เหล่านั้น

นักศึกษาเพศที่สาม คือ นักศึกษาชายที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ทุกคณะฯ ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีการยอมรับในความเป็นเพศที่สามของตน ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย พฤติกรรม บุคลิกลักษณะ ท่าทาง การแสดงออกที่คล้ายเพศหญิง อีกทั้งมีความพึงพอใจและชื่นชอบในเพศเดียวกับตน และอาจรวมไปถึงมีการแต่งกายเป็นเพศหญิงด้วยหรือไม่ก็ได้

สวัสดิการ คือ บริการหรือกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดให้มีขึ้นเพื่อตอบสนองความจำเป็นต่อการศึกษาเล่าเรียน และการดำเนินชีวิตโดยทั่วไปในมหาวิทยาลัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันจะส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาและคุณภาพชีวิตอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ประกอบไปด้วย

1. สวัสดิการทางวัตถุ คือ บริการที่เป็นในรูปธรรมเพื่อตอบสนองความจำเป็นทางร่างกาย อาทิ หอพัก งานอนามัย งานกิจกรรมนักศึกษา ห้องน้ำ เป็นต้น
2. สวัสดิการทางจิตใจ อาทิ การรับรู้ถึงทรรศนะคติของสังคมที่มีต่อนักศึกษาเพศที่สาม การได้รับการยอมรับในความสามารถ ศักยภาพ และความหลากหลายทางเพศ เป็นต้น

วิธีการศึกษา

การศึกษาเรื่อง "นักศึกษาเพศที่สามในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : การดำเนินชีวิตและสวัสดิการ" จะเป็นการศึกษาโดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative Research Methodology) โดยใช้ทฤษฎีปฏิสัมพันธ์สัญลักษณ์ (Symbolic Interactionism) เป็นทฤษฎีรากฐานของการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาในครั้งนี้จะเป็นการศึกษาถึงกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาเพศที่สามกับสมาชิกคนอื่นๆ ในสังคม ผ่านเรื่องราวอันเป็นประสบการณ์การดำเนินชีวิตของผู้มีส่วนร่วมในการศึกษาโดยวิธีการสัมภาษณ์เป็นสำคัญ

องค์ประกอบสำหรับการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่

1. การศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร (Documentary Study) ได้แก่ เอกสารวิชาการ วิทยานิพนธ์ หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ (Website) ที่เกี่ยวข้อง
2. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากภาคสนาม (Field Study) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลในเชิงลึกจากปรากฏการณ์จริงด้วยวิธีการสัมภาษณ์ (Interview)

ผลการศึกษาที่ค้นพบ

ผลการศึกษาเรื่อง "นักศึกษาเพศที่สามในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : การดำเนินชีวิตและสวัสดิการ" ประกอบไปด้วย 3 ประเด็นที่สำคัญ คือ

1. การดำเนินชีวิตในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ของนักศึกษาเพศที่สาม
ท่ามกลางกระแสสังคมที่มีการเปิดกว้างทั้งในด้านสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาค รวมไปถึงการเปิดพื้นที่ให้กับกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศได้มีที่ทางในสังคม สิ่งต่างๆ เหล่านี้ย่อมส่งผลให้พวกเขาหรือเธอเหล่านั้น ได้เกิดการตระหนักรู้ถึงคุณค่าและการมีตัวตนในฐานะของพลเมืองอันมีศักดิ์และสิทธิ์ที่เท่าเทียมกับกลุ่มบุคคลที่รักต่างเพศ ดังนั้น พวกเขาหรือเธอเหล่านั้นจึงสามารถแสดงความเป็นตัวตนและการมีวิถีการดำเนินชีวิตแบบรักเพศเดียวกันได้อย่างเปิดเผย และไม่ต้องหลบซ่อนอีกต่อไป ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนจากผู้มีส่วนร่วมในการศึกษาทั้ง 9 คน ที่มีวิถีการดำเนินชีวิตแบบรักเพศเดียวกันอย่างเปิดเผย และดำเนินชีวิตในสังคมเฉกเช่นผู้ที่มีวิถีการดำเนินชีวิตแบบรักต่างเพศในสังคมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

1.1 การสะท้อนความเป็นเพศ อำนาจเหนือตัวตน
ถึงแม้นักศึกษาเพศที่สามทั้ง 9 คน จะมีความเหมือนกันในด้านการมีวิถีการดำเนินชีวิตแบบรักเพศเดียวกันอย่างเปิดเผย หากแต่พวกเขาหรือเธอเหล่านั้นมีรูปแบบการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันออกไป กล่าวคือ วิถีการดำเนินชีวิตแบบรักเพศเดียวกัน คือ

รูปแบบที่ 1 คือ การที่นักศึกษาเพศที่สาม จะมีการสะท้อนความเป็นเพศของตนว่าคือผู้หญิง และมีวิถีการดำเนินชีวิตอย่างผู้หญิงทุกประการและตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการแสดงออก บุคลิกลักษณะท่าทาง การแต่งกาย และการพูดจา

รูปแบบที่ 2 คือ การที่นักศึกษาเพศที่สาม จะมีวิถีการดำเนินชีวิตแบบรักเพศเดียวกันอย่างเปิดเผยและมีความปรารถนาที่จะดำรงไว้ซึ่งเพศทางกายภาพของตน เพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือสำหรับการประกอบอาชีพในอนาคต และสะท้อนความเป็นเพศของพวกตนว่าคือ "กะเทย" หรือ "ผู้ชายหัวใจผู้หญิง" แต่การที่พวกเขาหรือเธอเหล่านั้นมีความปรารถนาที่จะดำรงไว้ซึ่งสัญลักษณ์ของความเป็นชาย (ตามแนวคิดชีววิทยา) ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีพฤติกรรมการแสดงออกที่สอดคล้องกับเพศสรีระของตนเสมอไป เนื่องจากพฤติกรรมการแสดงออก บุคลิกลักษณะ ท่าทาง การแต่งกายและวิถีการดำเนินชีวิตของนักศึกษาเพศที่สามเหล่านั้น จะเป็นการผสมผสานระหว่างความเป็นหญิงและความเป็นชายจนกลายเป็นความโดดเด่นหรืออัตลักษณ์ของผู้ที่มีวิถีการดำเนินชีวิตแบบรักเพศเดียวกัน อีกทั้งจะมีการแต่งกายอย่างเพศหญิงตามโอกาสต่างๆ อาทิ การทำกิจกรรมนักศึกษา ท่องเที่ยว และเข้าเรียนในรายวิชาที่มิใช่วิชาในหลักสูตรของตน

จากสถานการณ์ดังกล่าว ได้สะท้อนให้เห็นถึงการจำแนกเพศและความสัมพันธ์ทางเพศของมนุษย์มิได้ถูกจำกัดไว้เพียงคู่ตรงข้าม (ชาย-หญิง) อันเป็นโครงสร้างกระแสหลักของสังคมอีกต่อไป แต่นั่นมิใช่การรับประกันว่า ผู้ที่มีวิถีการดำเนินชีวิตแบบรักเพศเดียวกันจะไม่ถูกเลือกปฏิบัติจากผู้ที่รักต่างเพศ ดังจะเห็นได้จากการเรียกขานผู้ที่มีวิถีการดำเนินชีวิตที่แตกต่างไปจากโครงสร้างทางเพศกระแสหลักว่า "กะเทย" และ "ผู้ชายหัวใจผู้หญิง" ยิ่งไปกว่านั้น สถานการณ์แห่งการถูกเลือกปฏิบัติและประทับตราต่อผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศได้ดำเนินต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ดังจะเห็นได้ชัดเจนในกรณีของผู้ถูกศึกษาบางรายที่ต้องเผชิญกับการถูกเลือกปฏิบัติในกิจกรรมรับน้อง และเผชิญกับคำสบประมาทจากบุคลากรประจำหอพัก (รปภ.)

ขณะเดียวกัน ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศที่ศึกษาและประกอบอาชีพทางสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพและการศึกษา ดังเช่นกรณีของผู้ถูกศึกษาคนต่อๆ มา ที่จะต้องเผชิญกับความคาดหวังของสังคมที่มีต่อวิชาชีพดังกล่าวว่า จะต้องมีพฤติกรรมการแสดงออกที่สอดคล้องกับเพศสรีระของตน เพียงเพื่อเป็นการตอบสนองต่อวาทกรรมการสร้างภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นกับวิชาชีพเป็นสำคัญ ดังนั้น พวกเขาหรือเธอเหล่านั้น จึงต้องการปรับตัวให้สอดคล้องกับความคาดหวังและค่านิยมทางสังคม โดยการเก็บซ่อนความเป็นตัวตนเอาไว้ พร้อมทั้งการสวมทับบทบาทของเพศชายเมื่อต้องเข้าเรียนในหลักสูตรและการประกอบวิชาชีพดังกล่าว

1.2 กิจกรรมนักศึกษา เพื่อน และอาจารย์
กิจกรรมนักศึกษาเป็นรูปแบบหนึ่งของสวัสดิการด้านนันทนาการ (Recreation) และเป็นศูนย์รวมของแหล่งเรียนรู้ที่หามิได้ในหลักสูตรการเรียนการสอนในห้องเรียน อีกทั้งการเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษาในบทบาทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผู้อำนวยความบันเทิงหรือกองสันทนาการ ประธานกิจกรรมนักศึกษา พิธีกรดำเนินรายการ ช่างแต่งหน้า (Make-up Artist) หรือแม้แต่การประกวดนางงามดาวเทียม (Miss satellite) และการได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนคณะ (Mascot) ในขบวนพาเหรดกีฬาน้องใหม่(Freshy Game) ล้วนแล้วแต่เป็นการนำมาซึ่งการสร้างคุณค่าและความรู้สึกภาคภูมิใจ และเป็นการแสดงถึงศักยภาพของนักศึกษาเพศที่สามว่าไม่ได้มีความแตกต่างไปจากนักศึกษาที่รักต่างเพศแต่ประการใด

ในขณะที่ความสัมพันธ์กับเพื่อน พบว่า นักศึกษาเพศที่สามจะมีความสนิทสนมกับกลุ่มเพื่อนเพศที่สามด้วยกันมากที่สุด เนื่องจากความสัมพันธ์และความรู้สึกร่วมของความเป็นพวกพ้องเดียวกันย่อมนำไปสู่การรับรู้ การเข้าใจ และการยอมรับในความเป็นเพศที่สามด้วยกันได้มากกว่ากลุ่มเพศอื่นๆ อีกทั้งการรวมกลุ่มของนักศึกษาเพศที่สามย่อมนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ค่านิยม วัฒนธรรม และวิถีการดำเนินชีวิตร่วมกัน อีกทั้งเป็นการหล่อหลอมและพัฒนาความเป็นตัวตนของแต่ละคนอีกด้วย ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนในกรณีของการทำกิจกรรมกองสันทนาการและการแต่งหน้า (Make-up Artist) ของนักศึกษาเพศที่สาม พวกเขาหรือเธอเหล่านั้นย่อมแสดงความเป็นตัวตนได้อย่างเต็มที่ หากแต่เมื่อต้องสวมบทบาทของประธานหรือผู้นำกิจกรรม พวกเขาหรือเธอเหล่านั้นจะต้องเก็บซ่อนความเป็นเพศที่สาม พร้อมทั้งการแสดงพฤติกรรมให้สอดคล้องกับเพศทางกายภาพของตน เพื่อเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือ ความไว้วางใจ และความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมให้เกิดขึ้นมากที่สุด

สำหรับความสัมพันธ์กับอาจารย์ พบว่า นักศึกษาเพศที่สามส่วนใหญ่จะมีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการให้เกียรติและเคารพนับถือครูบาอาจารย์ และในบางครั้งต้องเก็บซ่อนความเป็นตัวตน (เพศที่สาม) พร้อมทั้งสวมบทบาทและแสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับเพศสรีระของตน นั่นคือ เพศชาย การปรับพฤติกรรมดังกล่าวเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการปรับตัวของนักศึกษาเพศที่สามเพื่อให้เกิดการยอมรับ ความน่าเชื่อถือ และความไว้วางใจต่ออาจารย์เป็นสำคัญ

2. สวัสดิการนักศึกษา
ข้อค้นพบทางด้านสวัสดิการและบริการนักศึกษาแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

2.1 สวัสดิการและบริการนักศึกษาทางด้านวัตถุ
จากการศึกษาพบว่า นักศึกษาเพศที่สามต้องเผชิญกับความยากลำบากในการใช้บริการสวัสดิการนักศึกษาด้านหอพัก (ชาย) ของมหาวิทยาลัยแบบห้องน้ำรวม การพักอาศัยกับเพื่อนร่วมห้อง (Roommate) ที่มีวิถีการดำเนินชีวิตแบบรักต่างเพศ และการใช้บริการห้องน้ำมากที่สุด ดังจะเห็นชัดเจนในกรณีของผู้ถูกศึกษาบางคน ที่มีความรู้สึกไม่เป็นเป็นส่วนตัว อึดอัด และรู้สึกแปลกแยกเมื่อต้องอาบน้ำในหอพักชายแบบห้องน้ำรวม การเข้าใช้บริการห้องน้ำ และการหวั่นเกรงเพื่อนร่วมห้อง (Roommate) ที่มีวิถีการดำเนินชีวิตแบบรักต่างเพศจะไม่ให้การยอมรับ ดังนั้น นักศึกษาเพศที่สามจึงเสนอแนะให้มีการจัดสวัสดิการด้านห้องน้ำและหอพักสำหรับนักศึกษาเพศที่สามขึ้นมา และการจัดเพื่อนร่วมห้อง (Roommate) ที่มีวิถีการดำเนินชีวิตแบบรักเพศเดียวกันพักอาศัยด้วยกัน (ในกรณีที่แสดงความจำนงเข้าพักอาศัยหอพักมหาวิทยาลัยเพียงลำพัง)

2.2 สวัสดิการและบริการนักศึกษาทางด้านจิตใจและพื้นที่ทางสังคม
สำหรับสวัสดิการทางด้านจิตใจและพื้นที่ทางสังคมที่นักศึกษาเพศที่สามส่วนใหญ่ได้รับ จะมาจากการมีปฏิสัมพันธ์ขณะดำเนินชีวิตในแต่ละวันของพวกเขา หรือเธอเหล่านั้นเป็นสำคัญ อาทิ การรับรู้ถึงทัศนคติของอาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยที่มีต่อนักศึกษาเพศที่สามไปในทางที่ดีขึ้น การได้รับความยอมรับในความสามารถและความหลากหลายทางเพศที่มาจากอาจารย์ และการมีพื้นที่สำหรับการแสดงความเป็นตัวตน และการมีวิถีการดำเนินชีวิตแบบรักเพศเดียวกันโดยไม่ต้องหลบซ่อนอีกต่อไป เป็นต้น

เหนือสิ่งอื่นใดสำหรับการจัดสวัสดิการและบริการสำหรับนักศึกษาเพศที่สาม ไม่ได้อยู่ที่ว่าเราจะจัดสวัสดิการอะไรให้กับนักศึกษาเพศที่สาม หรือนักศึกษาเพศที่สามจะเรียกร้องให้มีสวัสดิการอะไรสำหรับพวกตน หากแต่เป็นเรื่องของการสร้างความรู้ความเข้าใจในประเด็นของความหลากหลายทางเพศให้เกิดขึ้นในสังคมควบคู่กับการเปิดพื้นที่ การมีเสรีภาพ ความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันให้เกิดขึ้นในสังคม

3. การเข้าร่วมพิธีพระราชทานปริญญาบัตร
สำหรับการเข้าร่วมพิธีพระราชทานปริญญาบัตร พบว่า ส่วนใหญ่นักศึกษาเพศที่สามจะแต่งกายด้วยชุดนักศึกษาเพศชายตามกฏระเบียบว่าด้วยการแต่งกายนักศึกษา เว้นแต่เพียงผู้ถูกศึกษาคนหนึ่ง ที่ให้การปฏิเสธในการเข้าร่วมพิธีพระราชทานปริญญาบัตร เนื่องจาก ความไม่สอดคล้องในด้านวิถีการดำเนินชีวิตทางเพศกับกฎระเบียบว่าด้วยการแต่งกายนักศึกษา หากแต่ภายในลึกๆ ของพวกเขาหรือเธอเหล่านั้น มีความปรารถนาที่จะแต่งกายด้วยชุดนักศึกษาหญิงเข้าร่วมพิธีพระราชทานปริญญาบัตรเป็นสำคัญ

ข้อเสนอแนะ

ถึงแม้สังคมจะให้ความสำคัญกับสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคเท่าเทียมกันแก่คนทุกเพศวัย แต่เรื่องราวการดำเนินชีวิตของนักศึกษาเพศที่สามในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้สะท้อนให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำทางสังคมระหว่างผู้ที่มีวิถีการดำเนินชีวิตแบบรักต่างเพศและรักเพศเดียวกันตลอดเวลา ดังนั้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างและผลักดันให้เกิดความเสมอภาคเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง ผู้ศึกษาจึงเสนอแนะให้มีรายวิชาเสริมหลักสูตร (วิชาบังคับและเลือกเสรี) เกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศแก่นักศึกษาได้สามารถได้ลงทะเบียนเรียนตลอดระยะเวลาการศึกษา เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจและทัศนคติเชิงบวกต่อผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศให้มากยิ่งขึ้น ประกอบกับการเปิดโอกาสและผลักดันให้นักศึกษาเพศที่สาม ได้แสดงความเป็นตัวตนทางด้านวิถีการดำเนินชีวิตทางเพศได้อย่างเหมาะสม และเข้าร่วมในกิจกรรมนักศึกษาที่เคารพความเป็นเพศที่หลากหลายอย่างเท่าเทียมกัน และเสริมสร้างความเสมอภาคเท่าเทียมกันทางด้านวิถีการดำเนินชีวิตทางเพศในสังคม

ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาครั้งต่อไป

1. การศึกษาเรื่อง "นักศึกษาเพศที่สามในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : การดำเนินชีวิตและสวัสดิการ" เป็นการศึกษาในลักษณะเชิงคุณภาพเป็นสำคัญ ซึ่งไม่สามารถครอบคลุมนักศึกษาเพศที่สามส่วนใหญ่ที่กำลังศึกษาในสถาบันการศึกษาอย่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผลการศึกษาที่ได้จึงเป็นเพียงแง่มุมหนึ่งของนักศึกษาเพศที่สามที่ว่าด้วยสวัสดิการและการดำเนินชีวิตในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เท่าที่ผู้ศึกษาจะสามารถเข้าถึงความเป็นตัวตนของผู้มีส่วนร่วมในการศึกษาเท่านั้น ดังนั้น ควรศึกษาเชิงเปรียบเทียบในลักษณะของสวัสดิการและการดำเนินชีวิตของนักศึกษาเพศที่สามที่กำลังศึกษาในระดับอุดมศึกษาจากสถาบันอื่นๆ เพื่อเป็นการพิจารณาในมิติทางสังคมที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น

2. การศึกษาด้านสวัสดิการและการดำเนินชีวิตของนักศึกษาเพศที่สาม จะมีความเฉพาะเจาะจงในด้านผู้มีส่วนร่วมในการศึกษาที่เป็นนักศึกษาเพศที่สามที่มีเพศทางกายภาพบ่งบอกถึงความเป็นเพศชายเท่านั้น ดังนั้น ควรที่จะศึกษาถึงนักศึกษาเพศที่สามที่เป็นหญิงรักหญิง เพื่อเป็นการพิจารณาให้ครอบคลุมไปยังผู้ที่เป็นเพศที่สามในรูปแบบอื่นๆ ต่อไป

3. การศึกษาในด้านสวัสดิการสำหรับนักศึกษาเพศที่สาม ไม่ควรจำกัดเฉพาะอยู่แค่สถาบันการศึกษาเท่านั้น
หากแต่ควรขยายขอบเขตการศึกษาไปยังกลุ่มเพศที่สามอื่นๆ ที่อยู่ในสังคม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและการจัดสวัสดิการที่เหมาะสมกับพวกเขาหรือเธอเหล่านั้นในระดับที่สูงขึ้นต่อไป

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

อ้างอิง

รัจรี นพเกตุ. (2542). มนุษย์ : จิตวิทยาทางเพศ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ประกายพรึก.

ฉันลักษณ์ รักษาอยู่. เด็กชายสตรีเหล็ก : มุมมองแตกต่างของนักจิตวิทยา. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2551,
จาก http://www.expert2you.com/view_article.php?art_id=1460

จินดาวรรณ สิ่งคงสิน. เปิดม่านเวทีเกย์ "เสรี วงษ์มนฑา". สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2552,
จาก http://manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=90000132506

"กะเทยเตรียมเฮ ผ่าตัดแล้วใช้ น.ส. ได้ ดัน กม.-กะเทยผ่าให้ใช้ 'นางสาว' ได้." ข่าวสด (11 สิงหาคม 2550).

"นักศึกษาตุ๊ดเฮ 'มศว' ยอมให้พักหอหญิง." ไทยรัฐ (12 สิงหาคม 2550). แยกสุขาตุ๊ด ถามนศ.ก่อน. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2552,
จาก http://vivaldi.cpe.ku.ac.th/~note/newscrawler/view_.news.php?id=448064

รายนามผู้ให้สัมภาษณ์

- วิโรจน์ ตั้งวานิช. นักวิชาการ. สัมภาษณ์, 1 กันยายน 2551.
- ยลดา เกริกก้อง สวนยศ. ประธานกลุ่มผู้หญิงข้ามเพศแห่งประเทศไทย. สัมภาษณ์, 4 กันยายน 2551.
- ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. รองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา. สัมภาษณ์, 22 สิงหาคม 2551.

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1700 เรื่อง หนากว่า 35000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com