1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
เนื่องจากประเทศไทยทุกวันนี้ปวกเปียกอยู่ภายใต้รัฐบาลที่ไม่ได้ก้าวสู่อำนาจด้วยกระบวนการเลือกตั้ง แต่ด้วยกลไกของการปลุกฟื้นรัฐแห่งความมั่นคงภายในอีกครั้ง อันเป็นรัฐที่ไม่มีการเคารพคุณค่าใดๆ ซึ่ง สภาฯปกป้องอยู่. ALRC ไม่ได้คาดหวังอะไรมากนักในด้านของการพัฒนาสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยในอนาคตอันใกล้นี้ ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ หน้าที่ความรับผิดชอบสำคัญตกอยู่ที่ชุมชนระหว่างประเทศ ที่จะต้องออกมาส่งเสียงอย่างแข็งกร้าว และอย่างตรงไปตรงมา ในเรื่องประเด็นสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย เพื่อที่รัฐบาลจะได้ตระหนักถึงการรับรู้ในเชิงลบของโลกภายนอกเกี่ยวกับเรื่องราวในประเทศตนเอง และเพื่อที่รัฐบาลจะได้รับการส่งเสริมให้ย้อนคืนภาวะถดถอยนี้โดยเร็วที่สุด ...(คัดมาจากแถลงการณ์)
15-04-2552
(1719)
[แถลงการณ์
ศูนย์ข้อมูลกฎหมายเอเชีย] ประเทศไทย:
การเติบโตขึ้นของรัฐแห่งความมั่นคง-การเสื่อมถอยของสิทธิมนุษยชน
๒๕๕๒
Asian Legal Resource Centre-ALRC : ภาคภาษาไทย-ภาษาอังกฤษ
ศูนย์ข้อมูลกฎหมายเอเชีย สถานภาพได้รับการรับรองโดยสหประชาชาติ
บทความวิชาการนี้
สามารถ download ได้ในรูป word
แถลงการณ์ต่อไปนี้ ได้รับการเผยแพร่แล้วโดย
ALRC (Asian Legal Resource Centre)
ทั้งในภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
ที่กำลังตกต่ำลงไปตามลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังเหตุการณ์รัฐประหาร ๑๙ กันยายน
๒๕๔๙
เป็นต้นมา จากแถลงการณ์ฉบับนี้ของศูนย์ข้อมูลกฎหมายเอเชีย ได้ระบุถึงความไม่ชอบธรรมเกี่ยวกับ
การโค่นล้มรัฐบาลไทยที่มาจากการเลือกตั้ง การไม่ดำเนินการใดในเหตุการณ์การยึดทำเนียบและสนามบิน
การเซ็นเซอร์สื่ออินเตอร์เน็ต การคุกคามนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และเหตุการณ์ผลักดันและฆาตกรรม
ชนกลุ่มน้อยโรฮิงญา เป็นต้น ตลอดรวมถึงการวิจารณ์รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ ที่ขึ้นมามีอำนาจอย่างน่า
เคลือบแคลง ด้วยกลไกของการปลุกฟื้นรัฐแห่งความมั่นคง ซึ่งกำลังทำให้เรื่องของสิทธิมนุษยชน
เสื่อมถอยลงตามลำดับ แถลงการณ์นี้จึงเป็นการเตือนอย่างแข็งกร้าวและจับตามองอย่างใกล้ชิด
(บทความนี้จัดอยู่ในหมวด
"สิทธิมนุษยชนในเอเชีย)
สนใจส่งบทความเผยแพร่ ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน:
midnightuniv(at)gmail.com
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๗๑๙
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๑๒ หน้ากระดาษ A4)
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
[แถลงการณ์
ศูนย์ข้อมูลกฎหมายเอเชีย] ประเทศไทย:
การเติบโตขึ้นของรัฐแห่งความมั่นคง-การเสื่อมถอยของสิทธิมนุษยชน
๒๕๕๒
Asian Legal Resource Centre-ALRC : ภาคภาษาไทย-ภาษาอังกฤษ
ศูนย์ข้อมูลกฎหมายเอเชีย สถานภาพได้รับการรับรองโดยสหประชาชาติ
บทความวิชาการนี้
สามารถ download ได้ในรูป word
วันที่ 18 กุมภาพันธ์
2552
แถลงการณ์ที่ ALRC-CWS-10-04-2009
สภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
/ การประชุมสมัยที่สิบ
ถ้อยแถลงเป็นลายลักษณ์อักษรโดยศูนย์ข้อมูลกฎหมายเอเชีย
(Asian Legal Resource Centre-ALRC) ซึ่งเป็นองค์กร พัฒนาเอกชนที่มีสถานะได้รับการรับรองโดยสหประชาชาติ
ประเทศไทย: การเติบโตขึ้นของรัฐแห่งความมั่นคงภายในและการเสื่อมถอยของสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
1. หลังจากที่มีการรัฐประหารโดยทหารในประเทศไทยเมื่อเดือนกันยายน (วันที่ 19) 2549 ศูนย์ข้อมูลกฎหมายเอเชีย(Asian Legal Resource Centre-ALRC) ได้เตือนถึงการกลับมาของแรงต้านสิทธิมนุษยชนที่ทรงพลังอีกครั้ง โดยเฉพาะภายในกองทัพและเครือข่ายพันธมิตรของกองทัพ ในแวดวงการเมืองที่อนุรักษ์นิยมอย่างรุนแรง เหตุการณ์ต่าง ๆ เมื่อปีที่แล้วได้เป็นหลักฐานยืนยันว่า แรงต้านเหล่านี้กำลังหยั่งรากมั่นคงอีกครั้งในทุกส่วนของรัฐบาลไทย และกำลังอยู่ในกระบวนการรื้อรัฐประชาธิปไตยเสรีที่กำลังตั้งไข่ ที่เริ่มก่อร่างมาตั้งแต่ในช่วงทศวรรษที่ 2530 โดยนำเอารัฐที่มุ่งความมั่นคงภายในประเทศ แบบที่เป็นในช่วงทศวรรษก่อนๆ หน้านั้น เข้ามาแทนที่
2. ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงการเสื่อมถอยลงในเรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชน หลักนิติธรรม และผลประโยชน์สาธารณะ ในประเทศไทย มีให้เห็นดังต่อไปนี้:
ก. การโค่นล่มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง โดยพลังต้านระบอบประชาธิปไตยครั้งแล้วครั้งเล่า: ในปี 2551 รัฐบาลที่รับอำนาจมาจากการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อช่วงสิ้นปี 2550 ต้องออกจากตำแหน่งถึงสองครั้งด้วยการทำรัฐประหารโดยฝ่ายตุลาการ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และมีทหารอยู่เบื้องหลัง ซึ่งผ่านการทำประชามติที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่แสร้งสร้างขึ้นมาทั้งสองรัฐบาลที่ถูกทำให้ต้องออกไปนั้น ไม่เป็นมิตรกับสิทธิมนุษยชน
ที่จริงแล้ว นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีของรัฐบาลแรกถึงกับปฏิเสธว่า ไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงเมื่อปี 2519 และในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ทว่า การทำให้รัฐบาลนี้และรัฐบาลต่อมาต้องออกไปด้วยบทบัญญัติอันแปลกประหลาดของรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งเป็นหนึ่งในสิ่งที่ได้นำประเทศไทยกลับไปสู่ระบอบรัฐสภาที่มีสมาชิกส่วนหนึ่งมาจากการแต่งตั้ง เป็นสิ่งที่ช่างสอดคล้องกับการมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้นโดยตุลาการระดับสูง ซึ่งมีหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนที่ประกอบไปด้วยผู้ได้รับการแต่งตั้งทางการเมือง ไม่ใช่ผู้พิพากษาที่มีใจยุติธรรม
การโค่นล้มรัฐบาลทั้งสองนี้เป็นหลักฐานว่าการเมืองเรื่องการเลือกตั้งในประเทศไทย ได้ถูกปัดตกไป และตุลาการระดับสูงได้ถูกทำให้เป็นเครื่องมือของพลังการเมืองอนุรักษ์นิยม และไม่ได้เป็นอิสระแต่อย่างใด
ข. ไม่มีการสืบสวนหรือดำเนินคดีการกระทำความผิดทางอาญาในสาธารณะขนานใหญ่: การโค่นล้มรัฐบาลที่สองนั้น เกิดขึ้นโดยการเข้ายึดทำเนียบรัฐบาล ซึ่งมีสำนักงานของนายกรัฐมนตรีอยู่ด้วยเป็นเวลานานถึงสามเดือน และในภายหลังก็มีการยึดสนามบินนานาชาติทั้งสองแห่งของกรุงเทพฯ (สนามบินดอนเมือง และสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ) เป็นเวลานานกว่าหนึ่งสัปดาห์ การกระทำที่ผิดกฎหมายเหล่านี้เป็นที่ชัดเจนว่า ถูกจัดตั้งโดยความร่วมมือกับกองทัพบางส่วน โดยมีปฏิบัติการที่คล้ายคลึงกับปฏิบัติการทางทหารบางอย่าง พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ซึ่งเป็นผู้นำปฏิบัติการนั้น มีกองกำลังของตัวเองทำหน้าที่เสมือนตำรวจ สมาชิกของกองกำลังนั้นพกพาอาวุธและใช้อาวุธทั้งอย่างเปิดเผยและอย่างลับๆ ทั้งปืน ระเบิด มีด และอุปกรณ์ไม่มีคมต่าง ๆ กองกำลังนั้นยังทำร้ายและกักกันคนอย่างผิดกฎหมายจำนวนมาก และยังเป็นที่เชื่อกันว่าเป็นผู้รับผิดชอบการฆาตกรรมอย่างน้อยหนึ่งราย
นอกจากนี้สมาชิกของ พธม.ยังมีการกระทำผิดต่อทรัพย์สินทั้งของรัฐและเอกชนอีกด้วย แต่แม้กระนั้นก็ไม่มีรายงานถึงความก้าวหน้าในการดำเนินคดีทางอาญากับกลุ่มนี้ โดยเฉพาะกับผู้นำ และฝ่ายบริหารที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในปัจจุบันนี้ ก็ไม่ได้ดำเนินมาตรการใดๆ เพื่อไปสู้เป้าหมายนี้เลย มีรายงานว่านายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า การสืบสวนทางอาญาและการดำเนินคดีนั้น เป็นเรื่องของตำรวจกับศาล ซึ่งเป็นเรื่องที่ไร้สาระสิ้นดี เนื่องจากในฐานะที่เป็นผู้นำฝ่ายนิติบัญญัติ เขามีอำนาจหน้าที่อย่างเต็มที่ที่จะสั่งให้มีการสืบสวนพิเศษ อันที่จริงแล้วเนื่องจากระดับความรุนแรงและผลสืบเนื่องของเหตุการณ์เหล่านี้ นี่เป็นหน้าที่ของนายกฯเสียด้วยซ้ำ แต่เขาก็ตั้งใจหลีกเลี่ยง เขายังสามารถสั่งให้มีการไต่สวนทางรัฐสภาหรือทางกระบวนการที่เป็นอิสระอื่น ๆ
และยิ่งไปกว่านั้น ในฐานะที่เป็นประธานกรรมการคดีพิเศษที่มีหน้าที่ดูแลกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ภายใต้กระทรวงยุติธรรม เขาก็สามารถสั่งให้มีการสืบสวนทางอาญาเป็นกรณีพิเศษเมื่อไรก็ได้ผ่านทางดีเอสไอ ทว่า เนื่องจากเขาได้เข้าสู่อำนาจด้วยเหตุการณ์เหล่านี้ และเนื่องจากนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศคนใหม่ของประเทศไทย เป็นผู้สนับสนุนการยึดสถานที่อย่างเปิดเผย และสนับสนุนเป็นนัยๆ ต่อการละเมิดทางอาญา ที่มาพร้อมกับการยึดสถานที่ ก็แทบเป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้บริหารในชุดปัจจุบันจะหาทางจัดการกับปัญหาเรื่องการไร้ขื่อแปในประเทศไทย ในระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่ง
ค. การเซนเซอร์อินเตอร์เน็ตและการล่าแม่มดด้วยกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ: ในขณะที่ดีเอสไอไม่ได้ถูกเรียกมาให้สืบสวนหาผู้กระทำผิดในกรณีความรุนแรง และการทำลายข้าวของในระหว่างการยึดทำเนียบรัฐบาลและสนามบิน ดีเอสไอกลับถูกสั่งให้ไปดำเนินคดีที่เห็นได้ชัดว่า รัฐบาลไทยให้ความสนใจมากกว่า นั่นคือเรื่องการแสดงความเห็นทั่วไปเกี่ยวกับราชวงศ์ เมื่อเดือนมกราคม 2552 ดีเอสไอซึ่งที่จริงมีหน้าที่เพียงทำคดี "พิเศษ" เรื่องความมั่นคงแห่งชาติ หรือเรื่องที่ซับซ้อนเป็นพิเศษ ได้จับกุมชายคนหนึ่งที่เพียงแค่โพสต์ข้อความเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ในการแชททางอินเตอร์เน็ต
ในเดือนเดียวกันนั้น ชายชาวออสเตรเลียคนหนึ่งถูกตัดสินว่ากระทำความผิด และถูกจับคุกเนื่องจากข้อความคลุมเครือเพียงไม่กี่บรรทัดในหนังสือที่เขาเขียนเมื่อหลายปีมาแล้ว ในเดือนกุมภาพันธ์ นักวิชาการคนหนึ่งหนีไปต่างประเทศด้วยข้อกล่าวหาเดียวกัน โดยเขาได้กล่าวไว้อย่างถูกต้องทีเดียวว่า เขาจะไม่ได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมในประเทศไทย กรณีเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงจำนวนข้อร้องเรียนถึงการหมิ่นพระบรมฯ ที่มีมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ประชาชนทั่วไปสามารถเป็นผู้แจ้งความได้
เวปไซท์ที่เพิ่งตั้งขึ้นมาใหม่เมื่อไม่นานนี้ บนเซิร์ฟเวอร์ของรัฐสภาเชิญชวนให้ประชาชน "Protect the King (ปกป้องพระมหากษัตริย์)" โดยการรายงานถึงใครก็ตามที่ตนคิดว่าได้กระทำการละเมิดโดยการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ในขณะเดียวกัน รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณก้อนใหญ่ให้แก่หน่วยงานใหม่ที่ทำหน้าที่บล็อกเวปเพจที่ถูกมองว่าละเมิดสถาบันกษัตริย์ หรืออะไรก็ตามที่เป็นภัยต่อความมั่นคงภายในของรัฐ และเพียงในปี 2552 ปีเดียว ก็มีรายงานว่าเวปเพจหลายพันเวปถูกบล็อกไป
ง. การคุกคามนักปกป้องสิทธิมนุษยชน: บรรยากาศของความกลัวที่กำลังถูกส่งเสริมไปทั่วโลกของสื่อมวลชนและโลกอินเตอร์เน็ตผ่านทางการเซนเซอร์ การฟ้องหมิ่นพระบรมฯ และการฟ้องหมิ่นประมาททางอาญา ก็ก่อตัวขึ้นในโลกสิทธิมนุษยชนด้วยเช่นกัน ผ่านทางการถูกบังคับให้สูญหายที่ไม่สามารถคลี่คลายได้ และการคุกคามทางกายและทางวาจาต่อนักปกป้องสิทธิในประเทศ การคุกคามเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงครั้งคราว แต่เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างรัฐแห่งความมั่นคงภายในอย่างเป็นระบบ ตัวอย่างเช่น ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ซึ่งขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี ได้ออกรายงานที่อ้างว่า กลุ่มก่อความไม่สงบในภาคใต้ได้ใช้กลุ่มสิทธิมนุษยชนเป็นฉากบังหน้า เพื่อสร้างความไม่ไว้วางใจและความเกลียดชังในกลุ่มคนท้องถิ่น สองวันหลังจากนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารได้บุกค้นสำนักงานของคณะกรรมการยุติธรรมเพื่อสันติภาพ ซึ่งเป็นองค์กรสิทธิมนุษยชนในท้องถิ่นที่ได้เคยนำเสนอข้อมูลและข้อค้นพบต่อสภาสิทธิมนุษยชนมาแล้ว และได้ใช้เวลาหลายชั่วโมงตรวจสอบบันทึกข้อมูลคอมพิวเตอร์และเอกสาร และสอบสวนอาสาสมัครที่อยู่ในสำนักงาน
การคุกคามอย่างไร้ยางอายนี้ เป็นเรื่องเล็กหากเทียบกับการโจมตีนักปกป้องสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ อีกมากมายในประเทศไทยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่จากการที่ กอ.รมน.ได้เชื้อเชิญให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงพุ่งเป้าไปที่กลุ่มสิทธิมนุษยชน และในบริบทของภาคใต้ของประเทศไทยที่มีเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจปฏิบัติหน้าที่อย่างไม่ต้องมีความรับผิดมาหลายปี นี่เป็นเรื่องที่ควรจะต้องให้ความใส่ใจกันอย่างจริงจัง
จ. การผลักดันกลับ การฆาตกรรม และการปลอดพ้นผิดในทะเลหลวง: ระดับความมุ่งมั่นของรัฐแห่งความมั่นคงภายใน ในการที่จะดูแลให้ไม่มีเจ้าหน้าที่ของตนต้องรับผิดกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้น เห็นได้ชัดเจนเมื่อเดือนมกราคม 2552 เมื่อกองทัพเรือไทยได้บังคับให้คนนับร้อยๆ ที่นั่งเรือ ข้ามอ่าวเบงกอลผ่านเข้ามาหรือเข้าใกล้น่านน้ำไทยกลับไปในทะเล มีรายงานว่าพวกเขาทำลายเครื่องยนต์เรือ โยนอาหารบนเรือทิ้ง และในบางกรณีก็จับคนทิ้งลงน้ำทั้งที่แขนขาถูกมัดอยู่ คนที่ถูกนำมาขึ้นฝั่งประเทศไทยก็ถูกทำร้ายต่อหน้าต่อตานักท่องเที่ยว และโดยการเกี่ยวข้องของ กอ.รมน.เช่นเคย การปฏิเสธและการบิดเบือนคำพูดของเจ้าหน้าที่ทหารและผู้นำนักการเมือง รวมถึงตัวนายกรัฐมนตรีเองนั้น เป็นทั้งเรื่องที่ไม่สมจริงและจ้วงจาบเมื่อเทียบกับเรื่องราวที่ผู้รอดชีวิตได้เล่าแก่เจ้าหน้าที่และนักข่าวในอินเดีย และในอินโดนีเซียเหมือนๆ กัน ทว่า นี่ไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจ เนื่องจากเจ้าหน้าที่รัฐไทยปฏิเสธเช่นนี้มาหลายปี และได้บังคับผู้คนที่หนีจากภัยสงครามและความยากจนในประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะในพม่า กลับไปประเทศของตนมาหลายปีแล้ว
3. กรณีที่ยกมาข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างไม่กี่กรณีจากปีที่แล้ว ที่เกี่ยวกับการเสื่อมถอยของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการเคารพหลักนิติรัฐในประเทศหลังจากการก้าวสู่อำนาจของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แต่ที่เห็นได้ชัดคือโดยเฉพาะหลังจากการทำรัฐประหารโดยทหารเมื่อปี 2549 ภายใต้เรื่องราวเหล่านี้ ยังมีกรณีการละเมิดอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วนในประเทศที่ ALRC (Asian Legal Resource Centre)ได้เคยนำเสนอข้อมูลแก่สภาสิทธิมนุษยชนมาก่อนหน้านี้แล้ว รวมทั้งถึงการทรมานในระหว่างการกักขัง การวิสามัญฆาตกรรม และการบังคับให้บุคคลสูญหาย
4. เนื่องจากประเทศไทยทุกวันนี้ปวกเปียกอยู่ภายใต้รัฐบาลที่ไม่ได้ก้าวสู่อำนาจด้วยกระบวนการเลือกตั้ง แต่ด้วยกลไกของการปลุกฟื้นรัฐแห่งความมั่นคงภายในอีกครั้ง อันเป็นรัฐที่ไม่มีการเคารพคุณค่าใดๆ ที่สภาฯปกป้องอยู่. ALRC ไม่ได้คาดหวังอะไรมากนักในด้านการพัฒนาสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยในอนาคตอันใกล้นี้
5. ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ หน้าที่ความรับผิดชอบสำคัญตกอยู่ที่ชุมชนระหว่างประเทศ ที่จะต้องออกมาส่งเสียงอย่างแข็งกร้าว และอย่างตรงไปตรงมาเรื่องประเด็นสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย เพื่อที่รัฐบาลจะได้ตระหนักถึงการรับรู้ในเชิงลบของโลกภายนอกเกี่ยวกับเรื่องราวในประเทศตนเอง และเพื่อที่รัฐบาลจะได้รับการส่งเสริมให้ย้อนคืนภาวะถดถอยนี้โดยเร็วที่สุด. ALRC จึงขอเรียกร้องให้สภาฯ บอกกล่าวแก่ประเทศไทยอย่างชัดเจนว่า ประเทศไทยไม่ได้ถูกมองว่ามีสถานะทางสิทธิมนุษยชนที่ดีอีกต่อไปแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่ความเข้าใจเช่นนี้ในชุมชนระหว่างประเทศจะถูกแสดงออกอย่างชัดเจน มิเช่นนั้นรัฐบาลก็จะยังคงเดินทางไปต่างประเทศหรือดำเนินโครงการต่างๆ เพียงเพื่อสร้างภาพของประเทศมากกว่าที่จะจัดการกับอุปสรรค์สำคัญของสิทธิมนุษยชนและหลักนิติรัฐที่ตนดูแลอยู่
6. ALRC จึงขอเรียกร้องให้ผู้มีหน้าที่ต่อไปนี้ ให้ความเห็นพิเศษถึงสถานการณ์สิทธิมนุษยชนที่กำลังถดถอยภายในรัฐแห่งความมั่นคงภายในในประเทศไทย และขอกระตุ้นเตือนให้หน่วยงานเหล่านี้พยายามไปเยือนประเทศไทย และหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อที่จะสามารถประเมินสถานการณ์ได้อย่างเที่ยงตรงได้ด้วยตนเองในอนาคตอันเร็ว:
ก. ผู้รายงานพิเศษว่าด้วยการฆาตกรรมที่อยู่เหนือกฎหมายและการฆ่าโดยพลการ (The Special Rappporteur on extrajudicial, summary or arbitrary executions) ผู้ซึ่งได้ยื่นคำร้องขอมาเยือนประเทศไทยตั้งแต่ปี 2547 และเป็นผู้ที่สภาฯ ควรจะช่วยถามรัฐบาลไทยให้ว่า เหตุใดการขอเยือนประเทศจึงไม่ได้รับการตอบรับ ข้ออ้างที่ว่าประเทศสามารถรับรองการเยือนของผู้เชี่ยวชาญพิเศษได้เพียงปีละคนนั้น เป็นเรื่องที่ไม่ควรยอมรับ
ข. ผู้รายงานพิเศษว่าด้วยนักปกป้องสิทธิมนุษยชน
ค. ผู้รายงานพิเศษว่าด้วยความเป็นอิสระของผู้พิพากษาและทนายความ
ง. ผู้รายงานพิเศษว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของคนข้ามชาติ
จ. ผู้รายงานพิเศษว่าด้วยการทรมาน และการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
ฉ. ผู้รายงานพิเศษว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิในเสรีภาพในการแสดงออก
ช. คณะทำงานว่าด้วยการบังคับให้บุคคลสูญหาย
ซ. คณะทำงานว่าด้วยการกักขังโดยพลการ
7. มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาและถกเถียงอย่างจริงจัง ถึงประเด็นสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยในหน่วยงานและผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ และ ALRC ขอสนับสนุนให้ผู้มีหน้าที่ดังกล่าวให้ความสำคัญกับประเทศไทยไว้เป็นลำดับต้นๆ ในการทำงานของท่านในปีนี้ ในขณะที่เมื่อไม่นานมานี้ประเทศไทยได้รับการยกย่องว่าเป็นตัวอย่างของรัฐบาลและสิทธิมนุษยชนที่พัฒนาขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ตอนนี้ประเทศนี้ได้กลายเป็นตัวอย่างของทุกเรื่องที่ผิดพลาดไปเสียแล้ว โชคไม่ดีที่นัยยะของความเสื่อมถอยเช่นนี้ไม่ได้อยู่กับประเทศไทยประเทศเดียว แต่กับทั้งภูมิภาค เนื่องจากหากสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยไม่สามารถแก้ไขให้ดีขึ้นได้ ความหวังในประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่าและกัมพูชาก็จะยิ่งดับลง ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยจึงควรได้รับความสนใจเป็นพิเศษอย่างยิ่ง
# # #
ศูนย์ข้อมูลกฎหมายเอเชีย หรือ ALRC(Asian Legal Resource Centre) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนระหว่างประเทศระดับภูมิภาคที่เป็นอิสระ ซึ่งมีสถานะที่ได้รับการรับรองโดยสภาเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ. ALRC เป็นองค์กรร่วมของคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่ฮ่องกง โดยทำงานเพื่อแสวงหาหนทางในการเสริมสร้าง และส่งเสริมปฏิบัติการในประเด็นทางกฎหมายและสิทธิมนุษยชนในระดับท้องถิ่นและระดับชาติทั่วเอเชีย
---------------------------------------------------
Asian Human Rights Commission
19/F, Go-Up Commercial Building,
998 Canton Road, Kowloon, Hongkong S.A.R.
Tel: +(852) - 2698-6339 Fax: +(852) - 2698-6367
++++++++++++++++++++++++++++++++++++
คลิกกลับไปอ่านแถลงการณ์ภาษาไทย
[ALRC Statement]
THAILAND: The rise of the internal-security state and
decline of human rights in Thailand
http://www.ahrchk.net/statements/mainfile.php/2009statements/1888/
FOR IMMEDIATE RELEASE
February 18, 2008
ALRC-CWS-10-04-2009
HUMAN RIGHTS COUNCIL
Tenth session
A written statement submitted by the Asian Legal Resource Centre (ALRC),
a non-governmental organisation with general consultative status
THAILAND: The rise of the internal-security state and
decline of human rights in Thailand
1. Since the military
coup in Thailand of September 2006 the Asian Legal Resource Centre (ALRC)
warned of a strong resurgence of regressive anti-human rights forces, especially
within the military and the network of their allies in ultra-conservative
political circles. Unfortunately, events of the last year offer ample evidence
that these forces have now firmly re-entrenched themselves in all parts of
government in Thailand and are in the process of pulling apart the nascent
liberal-democratic state nurtured during the 1990s, replacing it with an internal-security
state reminiscent of that found during earlier decades.
2. A few examples showing the decline in respect for human rights, the rule
of law and the public interest in Thailand follow:
a. Repeated overthrow of elected governments by antidemocratic forces: Twice in 2008 governments formed from a mandate in the general election held at the end of 2007 were removed from office through judicial coups under the terms of the undemocratic army-backed 2007 Constitution of Thailand, which was passed through a referendum that can be charitably described as a charade. Neither of these removed governments was a friend of human rights. In fact, the prime minister of the first, Samak Sundaravej, even denied that certain gross abuses of human rights in the 1970s and during the last decade had ever taken place. However, the removal of his and a subsequent government through bizarre provisions in the 2007 Constitution, which among other things has returned Thailand to government by a semi-appointed legislature, were clearly orchestrated with the willing participation of a compliant senior judiciary consisting of political appointees, not fair-minded judges. The overthrow of these two governments stands as evidence that electoral politics in Thailand have been sidelined and that the senior judiciary has been made into a tool for conservative political forces and is not at all independent.
b. Large-scale public criminal activity not followed with investigations or prosecutions: The overthrow of the second of these governments was accompanied by the occupation of the Government House compound, which includes the prime minister's offices, for a period of three months; and finally of both of Bangkok's international airports for a period of over one week. These illegal occupations were evidently organized in coordination with parts of the armed forces, and resembled in many respects military-style logistical operations. The group spearheading them, calling itself the People's Alliance for Democracy, ran a de facto police force whose members openly and covertly carried and used weapons, including guns, explosives, knives and an array of blunt instruments, and which assaulted and illegally confined numerous persons, and is believed to have been responsible for at least one killing. This is to say nothing of the vast array of offences against public and private property that members of the group committed. Notwithstanding, there have been no reports of progress into criminal investigations against them, least of all their leadership, and the current unelected administration of Thailand also has taken no steps towards this end. The prime minister has reportedly stated that criminal inquiries and prosecutions are a matter for the police and courts, which is utter nonsense, because as legislative head he has ample authority to call for special investigations. In fact, he has an obligation to do this, given the scale and consequences of these events, which he has deliberately avoided. He could also order parliamentary or other independent inquiries, and furthermore, as head of the board overseeing the Department of Special Investigation (DSI) under the Ministry of Justice he could at any time initiate special criminal investigations through that agency. However, given that he was brought to power thanks to these events and given that the new Minister of Foreign Affairs of Thailand, Kasit Piromya, publicly supported the occupations, and by implication, the criminal acts that accompanied them, it is unlikely that the current administration will see its way through to addressing the question of lawlessness in Thailand during its time in office.
c. Internet censorship and lese majesty witch-hunt: While the DSI is not known to have been called to investigate the perpetrators of violence and vandalism during the Government House and airport occupations, it has instead been called to deal with cases that are apparently of a much greater concern to the Government of Thailand, relating to trivial comments about the country's royal family. In January 2009, the DSI, which is supposed only to take up "special" cases of national security or of peculiar complexity, arrested a man who had done no more than post remarks about the monarchy on Internet chat forums. In the same month, an Australian was convicted and imprisoned for a few lines in an obscure book that he had written some years before. In February an academic fled abroad facing the same charges, saying quite rightly that he would not get a fair trial in Thailand. These exemplify the growing number of complaints of lese majesty, which in Thailand can be made by private citizens. A new website set up apparently on the parliamentary server is calling for citizens to "Protect the King" by reporting on anyone whom they think has committed the offence of lese majesty. Simultaneously, the government has channeled vast funds into new units for blocking webpages deemed offensive to the monarchy, or anything else threatening the internal-security state, and in 2009 alone thousands of such pages have already reportedly been blocked.
d. Threats to human rights defenders: The climate of fear being encouraged throughout the Net and media worlds through censorship, lese majesty and ongoing criminal defamation allegations has also been engendered in the human rights world through continued unsolved forced disappearances, and physical and verbal threats to rights defenders in Thailand. These threats are not sporadic but are a part of the institutional make up of the internal-security state. For instance, in February 2009 the Internal Security Operations Command (ISOC), which answers directly to the prime minister, issued a report in which it allegedly stated that insurgents in the south of the country were using human rights groups as cover to sow distrust and hatred among the local people. Two days later, army and police personnel raided the office of a local human rights organisation, the Working Group on Justice for Peace, which has previously brought its documentation and findings to the Human Rights Council, and for some hours inspected computer records and printed documents and interrogated volunteers present inside. This unabashed intimidation of the group was a relatively small incident by comparison to the many attacks on human rights defenders in Thailand in recent years, but following the ISOC invitation for security personnel to take aim at rights groups and in light of the conditions in the south of the country where the army and police have been operating with impunity for a number of years, it should be taken very seriously.
e. Refoulement, murder and impunity on the high seas: The extent to which the internal-security state is committed to ensuring that none of its officers are ever held to account for human rights abuses was made glaringly obvious when in January 2009 the Royal Thai Navy forced hundreds of persons travelling on boats from across the Bay of Bengal who passed into or near its waters back into the sea, having allegedly destroyed engines, thrown food overboard and in some cases thrown people overboard with limbs bound. Others whom it brought to shore in Thailand were in some instances assaulted in full view of shocked tourists, again with ISOC involvement. The denials and equivocations of the armed forces and political leaders, including the prime minister, are both preposterous and insulting given the parallels in stories that survivors have told to officials and journalists in Indonesia and India alike. However, they are unsurprising both given that the authorities in Thailand have for years routinely issued such denials, and that they have for years forcibly repatriated people fleeing from war-zones and poverty in neighbouring countries, notably recently from Myanmar.
3. The above are just a few examples from the last year concerning the continued marked decline in protections for human rights and respect for the rule of law in Thailand since after the rise to power of the former prime minister, Pol. Lt. Col. Thaksin Shinawtra, but most especially since the military coup of 2006. They come on top of the innumerable other mundane instances of abuse in the country of which the ALRC has previously brought some to the attention of the Human Rights Council, including custodial torture, extra-judicial killing and enforced disappearance.
4. Given that Thailand is today languishing under another government that came to power not through electoral process but through the machinations of the revived internal-security state, one that manifestly has no regard for the values for which the Council stands, the ALRC has little expectancy of any improvements to the situation of human rights in Thailand in the immediate future.
5. Under such circumstances, a special responsibility falls to the international community to speak strongly and directly to the human rights issues in Thailand so that its government is made aware of the negative external perception of events there and so that it is strongly encouraged to reverse the downwards trend as quickly as possible. Accordingly, the ALRC calls upon the Council to make clear to the Government of Thailand that it no longer can be considered to have favourable human rights credentials. It is especially necessary that this understanding of the international community be made explicit, lest the government persist with trips and programmes abroad aimed simply at bolstering the national image rather than addressing the grave obstacles to human rights and the rule of law under its watch.
6. In this respect, the Asian Legal Resource Centre calls upon the following mandates to take special note of the deteriorating human rights situation under the internal-security state in Thailand and urges them to seek visits to the country and other information to make accurate assessments themselves at the nearest possible time:
a. The Special Rappporteur on extrajudicial, summary or arbitrary executions, who has had a standing request to visit Thailand since 2004 and on whose behalf the Council should be entitled to ask of the Government of Thailand as to why the request has not been entertained; nor should an excuse such as that the country can handle a visit by only one special expert per year be considered acceptable;
b. The Special Rapporteur on human rights defenders;
c. The Special Rapporteur on the independence of judges and lawyers;
d. The Special Rapporteur on the human rights of migrants;
e. The Special Rapporteur on torture, and other cruel, inhuman or degrading treatment or punishment;
f. The Special Rapporteur on the promotion and protection of the right to freedom of expression;
g. The Working Group on enforced or involuntary disappearances; and,
h. The Working Group on arbitrary detention.
7. There is an acute need for serious study and debate on the human rights issues in Thailand pertaining to all of these mandates and the ALRC strongly encourages the mandate holders to make the country a priority in their work in the coming year. Whereas Thailand was not long ago held up as a leading example of improved government and human rights in Southeast Asia, it is now an example of how everything can go wrong. Unfortunately, the implications are not only for the country itself but for the region as a whole, because if the situation of human rights in Thailand cannot be rectified, then the prospects for neighbours such as Myanmar and Cambodia are very grim indeed. For this reason too it deserves special attention.
# # #
About
ALRC: The Asian Legal Resource Centre is an independent regional non-governmental
organisation holding general consultative status with the Economic and Social
Council of the United Nations. It is the sister organisation of the Asian
Human Rights Commission. The Hong Kong-based group seeks to strengthen and
encourage positive action on legal and human rights issues at local and national
levels throughout Asia.
Posted on 2009-02-18
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word
++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
สารบัญเนื้อหา
7 I สารบัญเนื้อหา
8
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail
: midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1700 เรื่อง หนากว่า 35000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com