ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๒ : Release date 10 April 2009 : Copyleft MNU.

คำถามสำคัญหนึ่งข้อ ก่อนที่จะนำข้อสังเกตเหล่านี้ไปไขปัญหาเรื่องการต่อต้านการเกณฑ์ทหาร โดยเป็นการพูดถึงกรณีที่บุคคลคนหนึ่งเชื่อว่า กฎหมายนั้นไม่ได้เป็นอย่างที่คนอื่นๆ เข้าใจ หรือไม่ได้เป็นอย่างที่ศาลได้มีคำตัดสินออกมา ในจำนวนคนที่ต่อต้านกฎหมายการเกณฑ์ทหารด้วยเหตุผลของมโนธรรม ส่วนหนึ่งมีลักษณะดังกล่าวแต่ไม่ใช่คนส่วนมาก คนส่วนมากในกลุ่มนี้ไม่ใช่นักกฎหมายหรือเป็นนักปรัชญาการเมือง แต่เป็นกลุ่มคนที่เชื่อว่ากฎหมายดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่ไร้ศีลธรรม และไม่สอดคล้องกับแบบอย่างกฎหมายที่ดีของประเทศ โดยไม่ได้คิดถึงประเด็นที่ว่ากฎหมายมีผลบังคับใช้ได้หรือไม่ เมื่อเป็นเช่นนี้ คำถามก็คือ เหตุผลที่บุคคลใช้ยืนยันเพื่อทำตามความคิดเห็นของตัวเองในเรื่องกฎหมายเกี่ยวข้องกับสถานะของบุคคลนั้นหรือไม่

H



10-04-2552 (1715)
Civil Disobedience ในมุมมองทางปรัชญากฎหมายของ Ronald Dworkin
การดื้อแพ่ง: การต่อต้านการเกณฑ์ทหารอเมริกันในสงครามเวียดนาม
รศ. สมชาย ปรีชาศิลปกุล : เรียบเรียง

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

หมายเหตุ: บทความวิชาการทางกฎหมายน ี้ เคยเผยแพร่แล้วในนิตยสารวิภาษา ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๖-๗ ลำดับที่ ๑๔-๑๕
จากเดิมชื่อ "Civil Disobedience ในมุมมองทางปรัชญากฎหมายของ Ronald Dworkin"
บทความเกี่ยวข้อง "การดื้อแพ่งต่อกฎหมายของประชาชน"http://midnightuniv.org/midnightuniv/newpage86.htm

บทความนิติปรัชญา เกี่ยวกับการดื้อแพ่งนี้ ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญดังต่อไปนี้
- การฝ่าฝืนกฎหมายการเกณฑ์ทหาร
- อัยการอาจตัดสินใจไม่ตั้งข้อหากับผู้ที่ทำผิดกฎหมาย

- สังคมไม่อาจดำเนินต่อได้ ถ้าทุกคนฝ่าฝืนกฎหมายที่ตัวเองไม่ยอมรับ
- รัฐเชื่อว่ากฎหมายนั้นมีความสมบูรณ์ (valid) แต่ผู้ที่ฝ่าฝืนอาจไม่เห็นด้วย
- กฎหมายที่คนฝ่าฝืนด้วยเหตุผลศีลธรรม มักเป็นกฎหมายที่ยังคลุมเครือ (doubtful law)
- บุคคลควรทำอย่างไร เมื่อกฎหมายมีความคลุมเครือ?
- หลักศีลธรรมและสิทธิพลเมืองมีไว้สำหรับโต้แย้งกฎหมาย
- ศาลสูงสหรัฐฯ ตัดสินอย่างไร เกี่ยวกับการไม่เคารพธงชาติ?
- คนที่ต่อต้านกฎหมายการเกณฑ์ทหารด้วยเหตุผลของมโนธรรม ไม่ใช่คนส่วนมาก
- ระบบกฎหมายอเมริกาเปิดโอกาสให้พลเมืองใช้เหตุผลโต้แย้ง
- อัยการกับความสมดุลระหว่างหน้าที่ในการผ่อนปรนกับการดำเนินคดี
- การคัดค้าน civil disobedience ที่มีความรุนแรงเข้ามาเกี่ยวข้อง
- ตรงไหนคือจุดสมดุลระหว่าง"ความยุติธรรม"กับ"อรรถประโยชน์"
- การยอมให้มีการฝ่าฝืนกฎหมายตามหลักมโนธรรมเท่าที่เป็นไปได้
- ไม่ยุติธรรมที่จะลงโทษบุคคลที่ฝ่าฝืนกฎหมายซึ่งไม่มีความชัดเจน
- การเลือกตีความกฎหมาย เท่ากับเป็นการสร้างกฎหมายโดยศาล
- ภาคผนวก: ความเป็นมาเกี่ยวกับการดื้อแพ่ง
ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๗๑๕
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๓ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++



Civil Disobedience ในมุมมองทางปรัชญากฎหมายของ Ronald Dworkin

การดื้อแพ่ง: การต่อต้านการเกณฑ์ทหารอเมริกันในสงครามเวียดนาม
รศ. สมชาย ปรีชาศิลปกุล : เรียบเรียง

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อธิการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

แนะนำผู้เขียน
Ronald Dworkin (1931-ปัจจุบัน) นักปรัชญากฎหมายคนสำคัญในช่วงปลายคริสตศตวรรษที่ 20 งานเขียนของเขาได้โต้แย้งกับแนวความคิดทางปรัชญากฎหมายแบบ Legal Positivism อันเป็นแนวความคิดซึ่งพยายามแบ่งแยกระหว่าง"กฎหมาย"กับ"ศีลธรรม"และสร้างระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเองขึ้น. Dworkin ได้โต้แย้งและพยายามชี้เห็นให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างศีลธรรมและกฎหมาย โดยเขาเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนต่อการถกเถียงและสร้างความหมายของ Civil Disobedience (การดื้อแพ่ง - อารยขัดขืน)(*) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จากแง่มุมทางด้านปรัชญากฎหมาย ซึ่งเขาได้พิจารณาถึงประเด็นสำคัญหลายประเด็นที่เกี่ยวพันกับการกระทำดังกล่าว โดยเนื้อหาในส่วนนี้เรียบเรียงมาจากหนังสือเล่มสำคัญของเขาชื่อ Taking Rights Seriously ซึ่งตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1977 ในบทที่ 8 ชื่อ Civil Disobedience (การดื้อแพ่ง)

(*) หมายเหตุ: ในที่นี้จะใช้คำว่าการดื้อแพ่งเป็นหลัก (บรรณาธิการ)

การฝ่าฝืนกฎหมายการเกณฑ์ทหาร
รัฐบาลควรดำเนินการอย่างไร กับผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายการเกณฑ์ทหาร(draft laws) ซึ่งกระทำลงด้วยสำนึกแห่งมโนธรรม?

หลายคนคิดว่ามีคำตอบที่ชัดเจนอยู่แล้ว โดยรัฐบาลจะต้องดำเนินคดีกับผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย และเมื่อถูกตัดสินว่ามีความผิด บุคคลนั้นก็ต้องได้รับโทษ สำหรับบางคนอาจสรุปอย่างรวดรัดว่าการขัดขืนต่อกฎหมายแม้ด้วยสำนึกมโนธรรม จะทำให้เกิดสภาวะเหมือนกับการไร้ขื่อแป (lawlessness) พวกเขาคิดว่าผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายคือพวกที่สร้างความไม่สงบ ซึ่งต้องได้รับการลงโทษแทนที่จะปล่อยให้เกิดเป็นความวุ่นวายที่ลุกลามขยายตัวออกไป

นักกฎหมายและปัญญาชนหลายคนก็มีข้อสรุปในลักษณะเดียวกัน ด้วยเหตุผลที่ดูเหมือนจะสวยหรูกว่า โดยพวกเขายอมรับว่า การขัดขืนต่อกฎหมาย (disobedience to law) อาจจะเป็นเรื่องที่มีเหตุผลในแง่ศีลธรรม แต่ก็ยืนยันว่าในทางกฎหมายแล้วเป็นการกระทำที่ขาดความชอบธรรม ดังนั้น เมื่อสรุปตามหลักการที่มีความชัดเจนเช่นนี้ จึงจะต้องมีการนำกฎหมายมาบังคับใช้กับผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย

Erwin Griswold (*) อดีตคณบดีของ Harvard Law School ก็ดูจะเห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว เขาได้ให้ความเห็นว่า "สิ่งสำคัญยิ่งก็คือ จะต้องมีการนำกฎหมายไปใช้กับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน กฎหมายนั้นผูกมัดทุกคนเหมือนกันหมดโดยไม่คำนึงถึงจุดประสงค์ส่วนตัว ด้วยเหตุผลนี้ บุคคลที่คิดจะกระทำการฝ่าฝืนต่อกฎหมายด้วยความเชื่อมั่นแห่งมโนธรรมก็ไม่ควรรู้สึกแปลกใจ ทั้งต้องไม่รู้สึกเสียใจถ้าผลที่ต้องได้รับตามมาภายหลัง ซึ่งก็คือการถูกตัดสินว่ากระทำผิดกฎหมาย และต้องยอมรับว่าสังคมที่เป็นระบบไม่สามารถจะคงอยู่ได้ด้วยหลักการอื่นใด"

(*) Erwin Griswold หรือ Erwin Nathaniel Griswold (July 14, 1904 - November 19, 1994) was a prominent American lawyer. He served as Solicitor General of the United States (1967-1973) under Presidents Lyndon B. Johnson and Richard M. Nixon. He also served as Dean of Harvard Law School for 21 years. During a career that spanned more than six decades, he served as member of the U.S. Commission on Civil Rights and as President of the American Bar Foundation.

The New York Times เห็นด้วยกับคำกล่าวของ Griswold เมื่อคณาจารย์นับพันคนจากมหาวิทยาลัยหลายแห่งได้ร่วมลงนามประกาศใน The New York Times เรียกร้องให้กระทรวงยุติธรรมเพิกถอนการฟ้อง William Sloane Coffin, Dr. Benjamin Spock, Marcus Raskin, Mitchell Goodman และ Michael Ferber ที่ได้ร่วมกันชักชวนเป็นเวลาหลายครั้ง ให้เกิดการกระทำความผิดด้วยการฝ่าฝืนกฎหมายการเกณฑ์ทหาร. ทาง The New York Times เห็นว่าการเรียกร้องของกลุ่มคณาจารย์ดังกล่าวเป็น "ความสับสนระหว่างสิทธิทางศีลธรรมกับความรับผิดชอบทางกฎหมาย" (confused moral rights with legal responsibilities)

อัยการอาจตัดสินใจไม่ตั้งข้อหากับผู้ที่ทำผิดกฎหมาย
แต่เหตุผลที่กล่าวว่า เมื่อรัฐเห็นว่าบุคคลใดกระทำผิดทางอาญา รัฐก็ต้องดำเนินคดีกับบุคคลนั้น อาจจะไม่ได้เป็นความจริงดังที่เป็นที่เข้าใจกันเสมอไป คำอธิบายว่าสังคม "ไม่สามารถจะคงอยู่ได้" ถ้ายอมให้มีการฝ่าฝืนกฎหมายในทุกเรื่อง เป็นสิ่งที่ยังไม่อาจจะสรุปและรวมทั้งยังไม่มีหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่าสังคมจะล่มสลาย ถ้ายอมให้มีการฝ่าฝืนกฎหมายเกิดขึ้นได้ในบางครั้ง ในสหรัฐอเมริกา อัยการ (prosecutors) มีอำนาจดุลยพินิจว่า จะบังคับใช้กฎหมายอาญากับคดีใดคดีหนึ่งหรือไม่ โดยอัยการอาจตัดสินใจไม่ตั้งข้อหากับผู้ที่ทำผิดกฎหมายที่ยังเป็นผู้เยาว์, หรือผู้ที่ขาดประสบการณ์, หรือเป็นผู้หาเลี้ยงครอบครัว, หรือได้กลับตัวกลับใจ, หรือถ้าจำเลยได้ให้การเป็นพยาน (turns state's evidence), หรือถ้ากฎหมายนั้นไม่เป็นที่นิยมหรือใช้ไม่ได้ผล หรือเป็นกฎหมายที่มักมีการฝ่าฝืนกันเป็นส่วนมาก, หรือถ้าศาลมีคดีอื่นๆ ที่สำคัญกว่ารออยู่ล้นศาล หรือด้วยเหตุผลอื่นๆ อีกมากมาย

การใช้ดุลยพินิจตัดสินใจในลักษณะนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องของการอนุญาตให้ละเมิดกฎเกณฑ์ ซึ่งก็หวังว่าอัยการจะมีเหตุผลที่ดีในการใช้ดุลยพินิจ อย่างน้อยก็มีหลักฐานชัดเจนแสดงให้เห็นว่า มีเหตุผลที่ดีบางประการในการไม่ดำเนินคดีกับผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายการเกณฑ์ทหารด้วยสำนึกแห่งมโนธรรม เหตุผลชัดเจนข้อหนึ่งคือ บุคคลเหล่านี้ฝ่าฝืนกฎหมายด้วยมีจุดประสงค์ที่ดีกว่าผู้ที่กระทำผิดกฎหมายเพราะความโลภ หรือเพราะต้องการบ่อนทำลายรัฐบาล ถ้าเราสามารถนำจุดประสงค์ของการละเมิดกฎหมายมาใช้พิจารณาแยกแยะพวกนักขโมยแล้ว เหตุใดจึงไม่นำมาใช้พิจารณาแยกแยะในกลุ่มคนที่ฝ่าฝืนกฎหมายการเกณฑ์ทหาร

อีกเหตุผลหนึ่งซึ่งอยู่บนความเป็นจริงคือ เหตุผลที่ว่าสังคมจะต้องพบกับการสูญเสียถ้ามีการลงโทษกลุ่มคนที่ส่วนหนึ่งเป็นพลเมืองผู้มีความเคารพต่อและจงรักภักดีต่อกฎหมายมากที่สุด เช่นเดียวกับที่กลุ่มที่ต่อต้านการเกณฑ์ทหาร ส่วนหนึ่งในคนกลุ่มนี้ มีผู้ที่มีความเคารพกฎหมายและมีความจงรักภักดีต่อต่อชาติรวมอยู่ด้วย การจำคุกกลุ่มคนดังกล่าวจะยิ่งทำให้บุคคลเหล่านี้แปลกแยกจากสังคม ทั้งยังอาจเป็นการสร้างความแปลกแยกกับสังคมในกลุ่มที่มีลักษณะเหมือนกับคนกลุ่มนี้

สังคมไม่อาจดำเนินต่อได้ ถ้าทุกคนฝ่าฝืนกฎหมายที่ตัวเองไม่ยอมรับ
สำหรับผู้ที่มีความเห็นว่า ผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายเกณฑ์ทหารด้วยเหตุผลแห่งมโนธรรม (conscientious draft offenders) ควรได้รับการลงโทษ จะต้องแสดงให้เห็นว่ามีเหตุผลที่ดีในการที่จะดำเนินการตามกฎหมายกับคนกลุ่มนี้ แต่อะไรคือเหตุผลที่ดี? มีการให้เหตุผลที่ใช้สนับสนุนต่อการบังคับใช้กฎหมายเกณฑ์ทหาร ซึ่งจะได้พิจารณาบางส่วนของเหตุผลเหล่านี้ในภายหลัง โดย Griswold และผู้ที่เห็นด้วยกับความคิดของเขา ดูเหมือนจะอาศัยเหตุผลที่ว่าด้วยเรื่องของความถูกผิด อันเป็นหลักการพื้นฐานที่เห็นว่าการไม่ลงโทษผู้ที่ขัดขืนต่อกฎหมายเป็นเรื่องที่อยุติธรรม ซึ่งเข้าใจว่าที่ Griswold เห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่ยุติธรรมก็เพราะเหตุผลที่ว่า สังคมไม่อาจจะดำเนินต่อไปได้ ถ้าทุกคนฝ่าฝืนกฎหมายที่ตัวเองไม่ยอมรับ หรือเห็นว่าเป็นกฎหมายที่ทำให้ตนเองเสียเปรียบ ถ้ารัฐบาลยอมปล่อยให้มีคนจำนวนเล็กน้อยไม่เล่นตามกติกาแล้ว ก็เท่ากับยอมให้คนส่วนหนึ่งได้รับประโยชน์จากการที่คนอื่นปฏิบัติตามกฎหมาย โดยที่คนกลุ่มนี้ไม่ต้องรับภาระใดๆ เช่น ภาระหน้าที่ในการเข้ารับการเกณฑ์ทหาร

ข้อโต้แย้งสำคัญข้อหนึ่งที่ไม่สามารถจะตอบเพียงการพูดว่า คนอื่นก็มีสิทธิที่จะฝ่าฝืนกฎหมายซึ่งพวกเขาเชื่อว่าขัดต่อหลักศีลธรรมนั้น ในความเป็นจริง มีผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายเพียงไม่กี่คนที่ยอมให้สังคมเปลี่ยนแปลงไปด้วยการปล่อยให้กลุ่มที่สนับสนุนการแบ่งแยกผิวสี (segregationists) มีอิสระที่จะฝ่าฝืนกฎหมายสิทธิพลเมืองที่ตนเองไม่ชอบ อย่างไรก็ตาม คนส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางนี้ เพราะคิดว่าจะเป็นการทำให้สังคมแย่ลง เมื่อสังคมได้เห็นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นไม่ถูกต้อง สังคมก็หวังที่จะให้ทางการลงโทษผู้ที่ใช้อภิสิทธิ์เพื่อประโยชน์ของคนทั่วไป

อย่างไรก็ตาม การให้เหตุผลของข้อโต้แย้งดังกล่าวมีข้อบกพร่องบางประการ ข้อสันนิษฐานประการหนึ่งที่ทำให้ข้อโต้แย้งนี้แทบจะไม่เกี่ยวกับกรณีการเกณฑ์ทหารเลย หรือในความเป็นจริงก็แทบจะไม่เกี่ยวข้องกับกรณีสำคัญใดๆ เลย กล่าวคือ ข้อโต้แย้งดังกล่าวมองว่าผู้ที่ฝ่าฝืนหมายรู้อยู่ว่า พวกเขากำลังละเมิดกฎหมายที่มีผลบังคับใช้อย่างถูกต้อง (valid law) และรู้ว่าอภิสิทธิ์ที่พวกเขายืนยันคือการละเมิดกฎหมาย แน่นอนว่าเกือบทุกคนที่ถกเถียงกันในเรื่อง Civil Disobedience ต่างตระหนักว่าในสหรัฐอเมริกา กฎหมายหนึ่งจะบังคับใช้ไม่ได้ถ้ากฎหมายนั้นขัดกับรัฐธรรมนูญ

รัฐเชื่อว่ากฎหมายนั้นมีความสมบูรณ์ (valid) แต่ผู้ที่ฝ่าฝืนอาจไม่เห็นด้วย
แต่นักวิจารณ์มองประเด็นปัญหานี้ด้วยสมมติฐานอีกแง่หนึ่ง โดยมองว่าถ้ากฎหมายไม่มีผลใช้บังคับก็จะไม่มีการกระทำผิดกฎหมายและก็ไม่มีการลงโทษ แต่ถ้ากฎหมายมีผลบังคับใช้ก็ต้องมีการกระทำผิดกฎหมาย และสังคมก็จะต้องลงโทษผู้ที่กระทำผิด ซึ่งการให้เหตุผลดังกล่าวแฝงไว้ด้วยข้อเท็จจริงดังกล่าว สำคัญที่ว่าการจะบังคับใช้กฎหมายหรือไม่ เป็นเรื่องที่ขาดความชัดเจน โดยฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐและฝ่ายตุลาการอาจจะเชื่อว่ากฎหมายนั้นมีความสมบูรณ์ (valid) แต่ผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายอาจไม่เห็นด้วย และทั้งสองฝ่ายก็อาจมีเหตุผลที่น่าเชื่อถือมาให้การสนับสนุนจุดยืนของแต่ละฝ่าย ดังนั้น ก็จะเป็นสิ่งที่แตกต่างออกไปถ้ากฎหมายมีความชัดเจนว่ามีความสมบูรณ์หรือไม่มีความสมบูรณ์ ประเด็นปัญหานี้ก็จะเป็นคนละประเด็นกัน และก็เป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องของความไม่ยุติธรรมด้วย

กฎหมายที่คนฝ่าฝืนด้วยเหตุผลศีลธรรม มักเป็นกฎหมายที่ยังคลุมเครือ (doubtful law)
กฎหมายที่มีความคลุมเครือ (doubtful law) ไม่ใช่เรื่องพิเศษหรือเป็นเรื่องผิดปกติในประเด็นเกี่ยวกับ Civil Disobedience อย่างน้อยในสหรัฐอเมริกา กฎหมายเกือบทั้งหมดที่คนส่วนมากมักฝ่าฝืนด้วยเหตุผลทางศีลธรรม มักจะเป็นกฎหมายที่ยังคลุมเครือ อันหมายถึงกฎหมายที่ยังไม่มีความชัดเจนว่ามีผลบังคับใช้หรือไม่เพราะประเด็นปัญหาในทางรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญทำให้เรื่องศีลธรรมทั่วไปในทางการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้องกับปัญหาการมีผลบังคับใช้ของกฎหมาย บทบัญญัติใดๆ ก็ตามที่ดูเหมือนจะเป็นการทำลายหลักศีลธรรมดังกล่าว ก็จะก่อให้เกิดคำถามที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ และถ้าเป็นประเด็นสำคัญแล้ว ข้อสงสัยที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญก็จะเป็นประเด็นสำคัญด้วยเช่นกัน

ในทศวรรษที่ผ่านมา ประเด็นปัญหาทางกฎหมายกับประเด็นทางศีลธรรมนั้นมีความเกี่ยวข้องกันอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะในกรณีที่เกี่ยวกับการเกณฑ์ทหาร การต่อต้านที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นการคัดค้านที่ยึดหลักการทางศีลธรรม ด้วยเหตุผลอ้างอิงดังต่อไปนี้

(a) สหรัฐอเมริกาใช้อาวุธและกลยุทธ์ต่างๆ อย่างไร้ศีลธรรมในการทำสงครามในเวียดนาม
(b) สหรัฐอเมริกาไม่เคยเปิดให้มีการพิจารณาและจัดให้ตัวแทนของประชาชนได้ลงมติสนับสนุนการทำสงครามในเวียดนาม
(c) สหรัฐอเมริกาไม่ได้มีผลประโยชน์ใดในเวียดนามแม้แต่น้อย ที่จะเป็นเหตุผลที่มีน้ำหนักมากพอในการบังคับให้พลเมืองส่วนหนึ่งของประเทศไปเสี่ยงตาย

(d) ถ้ามีการระดมพลเข้าทำสงครามในเวียดนาม ด้วยการเกณฑ์ทหารที่มีการผ่อนผันหรือยกเว้นให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัย นับเป็นเรื่องที่ขัดศีลธรรมและยังเป็นการเลือกปฏิบัติกับบุคคลที่อยู่ในฐานะที่ด้อยกว่าในทางเศรษฐกิจ

(e) การเกณฑ์ทหารไปรบ ได้ให้สิทธิยกเว้นกับผู้ที่ต่อต้านสงครามทุกกรณีด้วยเหตุผลทางด้านศาสนา แต่ไม่ยกเว้นให้กับผู้ที่ต่อต้านสงครามด้วยเหตุผลทางด้านศีลธรรม ซึ่งทั้งสองกรณีนี้เป็นประเด็นที่ไม่แตกต่างกัน แต่ที่แตกต่างก็คือ การเกณฑ์ทหารของสหรัฐเป็นการแสดงให้เห็นว่า ประเทศชาตินั้นให้ความเคารพในคุณค่าของบุคคลกลุ่มหลังน้อยกว่าคนกลุ่มแรก

(f) กฎหมายที่กำหนดว่าการชักชวนให้ผู้อื่นต่อต้านการเกณฑ์ทหาร ถือเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายนั้น เป็นการขัดขวางผู้ที่ต่อต้านสงคราม เพราะในทางศีลธรรม เป็นไปไม่ได้ที่จะพูดว่าสงครามไร้ความชอบธรรมอย่างที่สุด โดยไม่ได้ให้การช่วยเหลือใดต่อผู้ที่ปฏิเสธจะไปรบ

หากยอมรับต่อหลักศีลธรรมดังกล่าว นักกฎหมายก็สามารถมีเหตุผลโต้แย้งตามรัฐธรรมนูญ ดังต่อไปนี้

(a) รัฐธรรมนูญได้ยอมรับให้สนธิสัญญาระหว่างประเทศเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมาย และสหรัฐอเมริกาเป็นสมาชิกของข้อตกลงและกติการะหว่างประเทศ ซึ่งกำหนดให้การทำสงครามที่กำลังถูกต่อต้านนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย

(b) รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ว่า สภาคองเกรส (Congress) ต้องมีการประกาศการทำสงคราม ประเด็นว่าการปฏิบัติการของสหรัฐอเมริกาในเวียดนามเป็น "สงคราม" หรือไม่ รวมทั้งเรื่อง Tonkin Bay Resolution เป็นการ "ประกาศสงคราม" หรือไม่ ล้วนเป็นประเด็นทางกฎหมายอันเป็นหัวใจสำคัญต่อประเด็นทางศีลธรรมที่ว่า รัฐบาลได้มีการพิจารณาอย่างเปิดเผยและอย่างรอบคอบแล้วหรือยัง

(*)Tonkin Bay Resolution : In August, 1964, President Johnson reported to the nation that American ships had been attacked by North Vietnam gunboats in the Gulf of Tonkin, in international waters. The Congress passed the Gulf of Tonkin Resolution giving the President the power to use whatever force necessary to protect our interests in the area. At the time, the truth was not reported. << Rather than being on a routine patrol Aug. 2, the US destroyer Maddox was actually engaged in aggressive intelligence-gathering maneuvers - in sync with coordinated attacks on North Vietnam by the South Vietnamese navy and the Laotian air force.( http://www.fair.org/index.php?page=2261) In February, 1965, the Viet Cong attacked an American military base near Pleiku. Using the Gulf of Tonkin Resolution, President Johnson sent in 3,500 Marines, the first official troops, to South Vietnam. By the end of the year, there were 200,000 US troops in Vietnam.

(c) บทบัญญัติใน Fifth and Fourteenth Amendments ว่าด้วยกระบวนการทางกฎหมายที่ถูกต้องชอบธรรม (due process clause) และบทบัญญัติใน Fourteenth Amendment ว่าด้วยการให้ความคุ้มครองตามกฎหมายโดยเสมอภาค มีข้อกำหนดเกี่ยวกับความไม่ชอบด้วยกฎหมายถ้ามีการกำหนดภาระหน้าที่ใดเป็นพิเศษให้กับพลเมืองในชนชั้นใดเป็นการเฉพาะ โดยไม่มีเหตุผลมารองรับการเลือกกลุ่มพลเมืองและการกำหนดภาระหน้าที่ให้ ทั้งยังเป็นภาระหน้าที่ซึ่งไม่ได้ให้ประโยชน์กับสาธารณะชนอย่างเห็นได้ชัด หรือเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะชนอย่างไม่เสมอภาคโดยมีความเหลื่อมล้ำกันอย่างมาก ถ้าปฏิบัติการทางการทหารในประเทศเวียดนาม เป็นเรื่องไร้สาระและไม่สมเหตุสมผลอย่างที่ผู้ฝ่าฝืนกฎหมายอ้าง การกำหนดภาระหน้าที่การเป็นทหารให้กับผู้ชายที่ถึงวัยเกณฑ์ทหาร ก็เป็นเรื่องที่ขาดเหตุผลและขัดรัฐธรรมนูญ

(*)Amendment 14 - Citizenship Rights. Ratified 7/9/1868. Note History
1. All persons born or naturalized in the United States, and subject to the jurisdiction thereof, are citizens of the United States and of the State wherein they reside. No State shall make or enforce any law which shall abridge the privileges or immunities of citizens of the United States; nor shall any State deprive any person of life, liberty, or property, without due process of law; nor deny to any person within its jurisdiction the equal protection of the laws.

2. Representatives shall be apportioned among the several States according to their respective numbers, counting the whole number of persons in each State, excluding Indians not taxed. But when the right to vote at any election for the choice of electors for President and Vice-President of the United States, Representatives in Congress, the Executive and Judicial officers of a State, or the members of the Legislature thereof, is denied to any of the male inhabitants of such State, being twenty-one years of age, and citizens of the United States, or in any way abridged, except for participation in rebellion, or other crime, the basis of representation therein shall be reduced in the proportion which the number of such male citizens shall bear to the whole number of male citizens twenty-one years of age in such State.

3. No person shall be a Senator or Representative in Congress, or elector of President and Vice-President, or hold any office, civil or military, under the United States, or under any State, who, having previously taken an oath, as a member of Congress, or as an officer of the United States, or as a member of any State legislature, or as an executive or judicial officer of any State, to support the Constitution of the United States, shall have engaged in insurrection or rebellion against the same, or given aid or comfort to the enemies thereof. But Congress may by a vote of two-thirds of each House, remove such disability.

4. The validity of the public debt of the United States, authorized by law, including debts incurred for payment of pensions and bounties for services in suppressing insurrection or rebellion, shall not be questioned. But neither the United States nor any State shall assume or pay any debt or obligation incurred in aid of insurrection or rebellion against the United States, or any claim for the loss or emancipation of any slave; but all such debts, obligations and claims shall be held illegal and void.

5. The Congress shall have power to enforce, by appropriate legislation, the provisions of this article.
(http://www.usconstitution.net/const.html#Am14)

(d) อย่างไรก็ตาม การเลือกปฏิบัติต่อคนจน แต่ให้สิทธิยกเว้นกับนักศึกษาเป็นการขัดต่อกฎหมายที่ว่าด้วยการให้ความคุ้มครองต่อบุคคลโดยเสมอภาค ซึ่งเป็นกฎหมายที่รัฐธรรมนูญให้การยอมรับ

(e) ถ้ากลุ่มที่ต่อต้านการทำสงครามทุกสงครามด้วยการยึดหลักศาสนา กับกลุ่มที่ต่อต้านสงครามเฉพาะบางสงครามด้วยเหตุผลทางศีลธรรมเป็นประเด็นที่ไม่มีความแตกต่างกัน การเกณฑ์ทหารโดยมีการเลือกปฏิบัติกับกลุ่มบุคคลทั้งสองประเภทนี้ จึงเป็นการกระทำแบบเผด็จการและขาดเหตุผล รวมทั้งยังเป็นการขัดรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้บทบัญญัติในกฎหมาย First Amendment ที่ว่าด้วย "establishment of religion" (*) ได้มีข้อกำหนดห้ามรัฐไม่ให้การสนับสนุนศาสนาที่เป็นรูปแบบองค์กรอย่างเป็นระบบ ดังนั้น ถ้าการเกณฑ์ทหารมีการเลือกปฏิบัติกับบุคคลสองกลุ่มนี้ ก็ย่อมถือได้ว่าการเกณฑ์ทหารในลักษณะนี้ไม่มีผลทางกฎหมาย

(*)Amendment 1 - Freedom of Religion, Press, Expression. Ratified 12/15/1791. Note
Congress shall make no law respecting an establishment of religion, or prohibiting the free exercise thereof; or abridging the freedom of speech, or of the press; or the right of the people peaceably to assemble, and to petition the Government for a redress of grievances.

(f) The First Amendment ยังได้มีการบัญญัติถึงความไม่ถูกต้องของการละเมิดสิทธิเสรีภาพในการพูดและการแสดงความคิดเห็น ถ้ากฎหมายการเกณฑ์ทหารมีการสั่งห้ามการกระทำอันเป็นการขัดขวางการแสดงความคิดเห็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับการทำสงครามแล้ว ก็เท่ากับเป็นการลิดรอนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นด้วย

แต่การที่สหรัฐเกณฑ์ทหารไปรบในเวียดนาม มีความคิดเห็นในแง่ศีลธรรมซึ่งเป็นความเห็นโต้แย้งว่า ศาลไม่ควรจะคิดว่าการเกณฑ์ทหารเป็นสิ่งที่ขัดรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ภายใต้หลักการที่เรียกกันว่าปัญหาทางการเมือง (political question) ศาลจะปฏิเสธการใช้อำนาจและส่งผ่านกรณีต่างๆ เช่น ปัญหาต่างประเทศ หรือปัญหานโยบายทางการทหาร ไปยังหน่วยงานอื่นของรัฐที่จะตัดสินปัญหาได้ดีที่สุด ด้วยหลักการดังกล่าว ศาลบอสตันทำการพิจารณาคดี the Coffin, Spock โดยได้แถลงว่าศาลจะไม่รับพิจารณาข้อโต้แย้งที่ว่าการทำสงครามในเวียดนามเป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แต่ศาลสูงได้แสดงความลังเลในการที่จะปฏิเสธการใช้อำนาจศาล ในกรณีที่ศาลเชื่อว่าเป็นกรณีที่เกี่ยวกับศีลธรรมทางการเมือง (political morality) ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญอันไม่อาจแก้ไขได้ด้วยกระบวนการทางการเมือง ถ้าเหตุผลของฝ่ายที่ฝ่าฝืนกฎหมายเป็นเหตุผลที่ถูกต้อง รวมทั้งการทำสงครามและการเกณฑ์ทหารเป็นความไม่ชอบธรรมของรัฐที่มีความอยุติธรรมอย่างที่สุดกับพลเมืองกลุ่มหนึ่งของประเทศ การโต้แย้งว่าศาลควรจะปฏิเสธการใช้อำนาจก็เป็นเรื่องที่มีเหตุผลน้อยมาก

เราไม่สามารถจะสรุปได้ว่าการเกณฑ์ทหารในสหรัฐ (หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของการเกณฑ์ทหาร) เป็นเรื่องที่ขัดรัฐธรรมนูญ เมื่อมีการเรียกร้องให้ศาลสูงตัดสินปัญหา ศาลไม่รับฟ้องคำร้องบางส่วนและปฏิเสธจะพิจารณาด้วยเหตุผลว่า เป็นปัญหาการเมือง ซึ่งนักกฎหมายส่วนมากเห็นด้วยกับการตัดสินเช่นนั้นของศาล แต่อย่างน้อยเหตุผลที่ว่า การเกณฑ์ทหารของสหรัฐอเมริกาเป็นเรื่องขัดรัฐธรรมนูญก็มีเหตุผลที่เป็นไปได้ นักกฎหมายผู้เชี่ยวชาญและมีเหตุผลอาจคิดในแง่ดีได้ว่าเมื่อพิจารณาอย่างรอบด้านแล้ว เหตุผลดังกล่าวก็น่าเชื่อถือกว่าข้อโต้แย้งของฝ่ายตรงข้าม ถ้าเป็นเช่นนั้น นักกฎหมายก็จะมองว่าการเกณฑ์ทหารเป็นการขัดรัฐธรรมนูญ และไม่มีทางพิสูจน์ได้ว่าการกระทำของเขาเป็นสิ่งที่ผิด

เพราะฉะนั้น จึงยังไม่อาจสรุปได้ว่าจะปฏิบัติอย่างไรต่อผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งอ้างถึงอภิสิทธิในการฝ่าฝืนกฎหมาย คงไม่อาจตัดสินความเป็นธรรมได้จนกว่าจะได้มีความพยายามที่จะตอบคำถามต่อไปนี้ "อะไรคือสิ่งที่ประชาชนควรทำ ในกรณีที่เผชิญกับกฎหมายที่มีความไม่ชัดเจน เมื่อเขามีความเห็นในแบบหนึ่ง ขณะที่บุคคลอื่นมีความเห็นไปอีกแบบ"

บุคคลควรทำอย่างไร เมื่อกฎหมายมีความคลุมเครือ ?
คำถามนี้มีความหมายว่าอะไรคือสิ่งที่เหมาะสมในฐานะของพลเมืองที่ควรกระทำ ซึ่งเป็นคำถามสำคัญเพราะจะเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม หากไม่ลงโทษในสิ่งที่เขาได้กระทำโดยที่เราเห็นว่าเขาควรได้รับการลงโทษ. ไม่มีคำตอบชัดเจนที่พลเมืองส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกัน ถ้าหากพิจารณาถึงสถาบันทางกฎหมายและการปฏิบัติก็จะค้นพบหลักการและนโยบายสำคัญที่มีความสอดคล้อง มีคำตอบที่เป็นไปได้ 3 ประการ และพยายามแสดงให้เห็นถึงสิ่งที่ดีที่สุด ซึ่งเหมาะกับการปฏิบัติและความคาดหมาย คำตอบ 3 ประการ มีดังต่อไปนี้

(1) ถ้ากฎหมายมีความคลุมเครือและไม่เป็นที่ชัดเจนว่าอนุญาตให้บุคคลหนึ่งกระทำในสิ่งที่ตนเองปรารถนาหรือไม่ บุคคลควรสันนิษฐานในด้านร้ายที่สุดและควรปฏิบัติบนข้อสมมติฐานว่ากฎหมายไม่อนุญาต บุคคลควรเชื่อฟังเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งออกคำสั่งแม้บุคคลนั้นจะเห็นว่าคำสั่งเป็นสิ่งที่ผิดก็ตาม และผลักดันให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงด้วยกระบวนการทางการเมืองถ้าสามารถกระทำได้

(2) ถ้ากฎหมายมีความคลุมเครือ บุคคลอาจปฏิบัติตามการตัดสินใจของตน ถ้าเขาเชื่อว่ากฎหมายอนุญาตให้กระทำมากกว่าการไม่อนุญาต บุคคลอาจปฏิบัติตามการตัดสินใจของตนจนกว่าสถาบันที่มีอำนาจ เช่น ศาล ได้ทำการตัดสินไปในทิศทางอื่น เมื่อมีการตัดสินในเชิงสถาบันเกิดขึ้น บุคคลก็จะถูกผูกมัดด้วยคำตัดสินแม้จะคิดว่าคำตัดสินนั้นเป็นสิ่งที่ผิดพลาดก็ตาม

(3) ถ้ากฎหมายมีความคลุมเครือ บุคคลควรปฏิบัติตามการตัดสินใจของตน แม้ว่าจะมีคำตัดสินที่ตรงกันข้ามจากศาลเกิดขึ้น เขาควรต้องนำคำวินิจฉัยที่ตรงกันข้ามเข้ามาทำการพิจารณาว่าอะไรคือสิ่งที่กฎหมายต้องการ อย่างไรก็ตาม คำตัดสินมิใช่สิ่งที่ตรงไปตรงมาหรือมีเหตุผลทั้งหมด เนื่องจากหลักการคำพิพากษาบรรทัดฐาน (doctrine of precedent) อนุญาตให้ศาลสามารถกลับแนวคำพิพากษาได้

บางคนอาจคิดว่าคำตอบที่เกิดขึ้น ทำให้ไม่เกิดความแตกต่างระหว่างรูปแบบที่สองและสาม แต่มีความแตกต่างอยู่เนื่องจาก หลักการคำพิพากษาบรรทัดฐานให้ความสำคัญที่แตกต่างกันระหว่างศาลที่ต่างกัน โดยความสำคัญที่สุดอยู่ที่การตัดสินของศาลสูง. อย่างไรก็ดี ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นข้อสรุปของคำวินิจฉัย เพราะบางครั้งแม้จะมีคำตัดสินของศาลสูง แต่บุคคลก็ยังเชื่อมั่นในความเห็นของตน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในข้อถกเถียงเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญเมื่อมีการกระทำ Civil Disobedience ขึ้น และมีแนวโน้มที่ศาลจะเปลี่ยนแนวคำตัดสิน ถ้าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการจำกัดสิทธิของบุคคลหรือสิทธิในทางการเมือง

ทั้งหมดคือสามรูปแบบที่เป็นไปได้ของผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งไม่เห็นด้วยกับอำนาจของเจ้าหน้าที่รัฐเมื่อกฎหมายมีความคลุมเครือ คำถามสำคัญก็คือรูปแบบใดคือสิ่งที่เหมาะสำหรับการปฏิบัติ ทั้งในทางกฎหมายและสังคม

Dworkin เห็นว่าไม่ควรที่จะปฏิบัติตามรูปแบบแรก (*) เราต้องไม่ตั้งข้อสันนิษฐานในทางลบถ้าประเด็นปัญหานั้นยังไม่มีการตัดสินจากศาล และเมื่อบุคคลคิดอย่างรอบด้านแล้วว่ากฎหมายอยู่ข้างตนเอง หากบุคคลปฏิบัติตามการตัดสินใจของตนเองก็เป็นสิ่งที่เหมาะสม แม้ว่าสิ่งที่บุคคลทำไป เช่น การเผยแพร่สื่อลามก แม้จะถูกต่อต้านจากคนส่วนมาก แต่นักวิจารณ์และนักกฎหมายก็ไม่คิดว่าบุคคลจะยุติการกระทำเพียงเพราะพฤติกรรมของเขาถูกตั้งข้อสงสัยว่าถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่

จะเป็นประโยชน์มากขึ้นหากจะมาทบทวนว่าสังคมต้องสูญเสียอะไร ถ้าพฤติกรรมของบุคคลไม่เป็นไปตามรูปแบบแรก หรือในอีกแง่หนึ่งสังคมจะได้อะไรถ้าคนเราทำตามการตัดสินใจของตัวเองในกรณีที่กฎหมายไม่มีความชัดเจน เนื่องจากนักกฎหมายอาจมีความเห็นต่างจากคำตัดสินของศาล ด้วยเหตุผลว่า นโยบายและหลักการต่างๆ ในทางกฎหมายมีความขัดแย้งกัน ซึ่งก็ไม่มีความชัดเจนว่าจะมีวิธีใดที่ดีที่สุดในการปรับใช้ทั้งสองสิ่งให้สามารถเข้ากันได้อย่างสอดคล้อง

จะเป็นสิ่งที่ดีหากได้วิเคราะห์ว่า จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อบุคคลส่วนหนึ่งได้ปฏิบัติตามกฎหมายก่อนที่ปัญหานี้จะได้รับการตัดสิน หรือต้องหาคำตอบว่าวิธีแก้ปัญหาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจะมีผลหรือไม่ หรือมีผลในระดับใดที่จะเป็นการละเมิดหลักความยุติธรรม หรือหลักปฏิบัติตามกติกาที่ประชาคมให้ความเคารพอย่างจริงจัง ถ้าพฤติกรรมของบุคคลเป็นไปตามรูปแบบแรก เราก็จะสูญเสียโอกาสในการพิสูจน์ตามสมมติฐานเหล่านี้และปัญหาก็จะไปอยู่ที่กฎหมาย โดยเฉพาะถ้ามีการนำพฤติกรรมรูปแบบแรกไปโยงเข้ากับประเด็นทางรัฐธรรมนูญ

หลักศีลธรรมและสิทธิพลเมืองมีไว้สำหรับโต้แย้งกฎหมาย
กรณีที่บทบัญญัติกฎหมายอาญาใดถูกตั้งข้อสงสัยว่ามีความถูกต้องชอบธรรมหรือไม่ ปัญหานี้มักทำให้คนส่วนหนึ่งรู้สึกถึงความไม่เป็นธรรม เพราะเป็นการละเมิดหลักเสรีภาพหรือหลักความยุติธรรมบางประการที่พวกเขาเข้าใจว่าบรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญ ถ้าใช้แนวทางในการปฏิบัติว่าเมื่อกฎหมายใดถูกตั้งข้อสงสัยว่าจะเป็นการขัดต่อหลักเสรีภาพหรือความยุติธรรม แต่ยังต้องปฏิบัติตามโดยถือราวกับว่ากฎหมายนั้นถูกต้องชอบธรรม การกระทำดังกล่าวจะทำให้สูญเสียเครื่องมือขับเคลื่อนตามหลักศีลธรรมที่มีไว้ใช้สำหรับโต้แย้งกฎหมาย เมื่อเวลาผ่านไปกฎหมายที่ได้รับปฏิบัติตามก็จะทำให้ความยุติธรรมลดน้อยลง และเป็นที่แน่นอนว่าเสรีภาพของพลเมืองก็จะถูกลิดรอนตามไปด้วย

และก็จะเป็นการสูญเสียโอกาสเช่นกัน ถ้าใช้พฤติกรรมรูปแบบแรกในอีกแนวทางที่แตกต่างออกไป ด้วยการสันนิษฐานในทางลบไว้ก่อนในกรณีที่ไม่สามารถคาดหวังได้ว่า ศาลจะเห็นด้วยกับความคิดของตนเองหรือไม่ ถ้าทุกคนทำในสิ่งที่คาดเดาว่าจะเป็นคำตัดสินของศาลก็จะเป็นการทำให้สังคมและกฎหมายแย่ลง การปฏิเสธพฤติกรรมในรูปแบบแรกก็เพราะเชื่อว่า ข้อมูลและเหตุผลข้อโต้แย้งของคนที่ทำตามการตัดสินใจของตัวเองควรเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้ฝ่ายตุลาการตัดสินปัญหาได้ดีที่สุด ยังคงเป็นเรื่องจริง แม้ว่าโอกาสจะไม่เอื้อให้บุคคลนั้นเป็นฝ่ายชนะคดีในศาลก็ตาม

แน่นอนว่าเมื่อบุคคลทำตามการตัดสินใจของตัวเอง ก็ย่อมไตร่ตรองแล้วว่าเป็นการเหมาะสมหรือไม่ที่กระทำเช่นนั้น และต้องขบคิดด้วยว่าศาลจะดำเนินการอย่างไร บุคคลนั้นอาจต้องถูกจำคุก, อาจล้มละลาย, อาจเสื่อมเสียชื่อเสียงก็ได้ แต่ไม่ว่าการกระทำนั้นจะเป็นการกระทำที่ฉลาดรอบคอบหรือไม่ก็ตาม ต้องแยกแยะเรื่องนี้ออกจากประเด็นเรื่องความเหมาะสม ซึ่งจะทำในฐานะพลเมืองที่ดีคนหนึ่ง สิ่งที่กำลังหาคำตอบคือ สังคมควรปฏิบัติกับบุคคลนั้นอย่างไรเมื่อศาลเชื่อว่าบุคคลนั้นกระทำผิด คำถามก็คือบุคคลนั้นมีเหตุผลอย่างไร ที่ตัดสินใจทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น

ศาลสูงสหรัฐฯ ตัดสินอย่างไร เกี่ยวกับการไม่เคารพธงชาติ
สำหรับพฤติกรรมตามสมมติฐานในรูปแบบที่สอง ถ้ากฎหมายไม่มีความชัดเจนว่ามีผลใช้ได้หรือไม่ ในกรณีนี้บุคคลก็อาจทำตามการตัดสินใจของตัวเอง จนกว่าศาลที่มีอำนาจสูงสุดจะมีคำตัดสินว่าเขามีความผิด อันเป็นรูปแบบที่ต้องปฏิเสธว่าไม่เหมาะกับสังคมของเรา(หมายถึงสหรัฐอเมริกา) เพราะพฤติกรรมในรูปแบบนี้ไม่ได้พิจารณาถึงข้อเท็จจริงว่าศาลใดๆ ก็ตามซึ่งรวมถึงศาลสูง (Supreme Court) อาจกลับคำตัดสินของศาลที่เคยมีอยู่ เช่น ใน ค.ศ. 1940 ศาลสูงได้ตัดสินว่ากฎหมายของ West Virginia ที่กำหนดให้นักเรียนต้องทำความเคารพธงชาติเป็นกฎหมายเป็นสิ่งที่ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ

ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้วอะไรคือหน้าที่ของผู้ที่ต่อต้านกฎหมายการเคารพธงชาติระหว่าง ค.ศ. 1941 - 1942 หากพวกเขาเชื่อว่าเป็นความถูกต้องชอบธรรม อีกทั้งยังเชื่อว่าคำตัดสินของศาลใน ค.ศ. 1940 ไม่ถูกต้อง ดังนั้น ในฐานะพลเมืองของประเทศ จึงแทบจะพูดไม่ได้ว่าหน้าที่ของคนกลุ่มนี้คือการต้องปฏิบัติตามคำตัดสินครั้งแรก คนกลุ่มนี้มีความเชื่อว่าการเคารพธงชาติเป็นเรื่องที่ไร้เหตุผล และเชื่อว่าไม่มีกฎหมายที่ชอบธรรมที่บังคับให้พวกเขาต้องเคารพธงชาติ ต่อมาภายหลังศาลสูงได้ตัดสินให้คนกลุ่มนี้เป็นฝ่ายชนะคดี ศาลไม่เพียงตัดสินว่าการไม่เคารพธงชาติหลังคำตัดสินครั้งที่สองจะไม่มีความผิดทางกฎหมาย แต่ยังตัดสินว่าการไม่เคารพธงชาติหลังคำตัดสินครั้งแรกก็ไม่มีความผิดเช่นกัน

บางคนก็เห็นว่าผู้ที่ต่อต้านการเคารพธงชาติควรปฏิบัติตามคำตัดสินครั้งแรก ในขณะเดียวกันก็พยายามผลักดันให้มีการยกเลิกกฎหมายนี้ และก็หาวิธีต่อสู้ในทางศาล โดยไม่จำเป็นต้องมีการละเมิดกฎหมายเลย ซึ่งถ้าไม่มีเรื่องของมโนธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง คำแนะนำดังกล่าวก็มีเหตุผลอยู่ เพราะมีเหตุผลที่กล่าวได้ว่า สิ่งที่จะได้จากกระบวนการอย่างเป็นระบบนี้เป็นเรื่องที่คุ้มกับการอดทนรอ แต่เมื่อเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับสำนึกแห่งความถูกผิด ถ้าผู้คัดค้านยอมปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อรอคอยโอกาสที่จะเกิดขึ้นก็อาจได้รับความเสียหายอย่างที่ไม่อาจจะแก้ไข ในการทำสิ่งที่ขัดแย้งกับความรู้สึกผิดชอบของตัวเองได้ สิ่งหนึ่งที่ต้องพูดถึงก็คือ บางครั้งถึงแม้จะเป็นการขัดต่อสำนึกผิดชอบชั่วดีของตัวเอง แต่บุคคลก็ต้องทำในสิ่งที่รู้อยู่ว่ากฎหมายสั่งให้ทำ. อีกประการหนึ่ง บุคคลต้องฝืนทำในสิ่งที่ขัดต่อจิตสำนึกของตัวเอง แม้ว่าโดยเหตุผลแล้วจะเชื่อว่า กฎหมายไม่ได้กำหนดบังคับให้ทำก็ตาม เพราะถ้าคนเราใช้วิธีตรงไปตรงมาที่สุดหรืออาจใช้วิธีเดียวในการพยายามที่แสดงให้เห็นว่าเขาเป็นฝ่ายถูกและคนอื่นเป็นฝ่ายผิดแล้ว วิธีการนี้จะเป็นการสร้างปัญหายุ่งยากให้กับให้คนร่วมชาติคนอื่นๆ

เหตุผลที่ได้ยกมาใช้ปฏิเสธพฤติกรรมในรูปแบบแรกและพฤติกรรมรูปแบบที่สองก็เช่นกัน มีโอกาสที่ศาลใดๆ ก็อาจกลับคำตัดสินใหม่ได้ ถ้าไม่มีการกดดันด้วยวิธีการต่อต้านก็จะไม่มีการกล่าวถึงข้อเท็จจริง ที่มีผลในระดับที่ทำให้รู้สึกว่าคำตัดสินของศาลต่อผู้ที่คัดค้านกฎหมายไม่ถูกต้อง อันเป็นวิธีการพิสูจน์แบบหนึ่งเพื่อหาคำตอบว่า คำตัดสินของศาลถูกต้องหรือไม่ และทั้งพฤติกรรมรูปแบบแรกและแบบที่สองจะทำให้ประชาชนอาจจะถูกปกครองด้วยกฎที่ละเมิดหลักการที่เราอ้างว่าเป็นหลักการที่เหมาะสม

จากเหตุผลต่างๆ ข้างต้น ทำให้ Dworkin เห็นว่ารูปแบบที่สองเป็นรูปแบบที่ไม่เหมาะสม มีบางคนเสนอในอีกแนวทาง โดยพวกเขามีความเห็นว่า ถ้าศาลสูงได้มีคำตัดสินแล้วว่ากฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับได้ พลเมืองก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม จนกว่าจะมีเหตุผลที่น่าเชื่อถือว่าศาลมีโอกาสที่จะกลับคำตัดสินใหม่ ไม่ใช่แค่ด้วยความเชื่อว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นคำตัดสินที่ผิด ถ้าพิจารณาตามเหตุผลนี้ ผู้ที่ต่อต้านกฎหมายของ West Virginia ใน ค.ศ. 1942 โดยไม่ยอมเคารพธงชาติก็กำลังทำสิ่งที่ถูกต้อง เพราะพวกเขาอาจมีเหตุผลที่คาดได้ว่าศาลอาจจะกลับคำตัดสิน แต่ถ้าศาลตัดสินแล้วว่ากฎหมายการเกณฑ์ทหารสอดคล้องกับหลักรัฐธรรมนูญ ก็ไม่สมควรที่จะต่อต้านกฎหมายเหล่านี้อีกต่อไป เพราะไม่มีแนวโน้มให้เห็นว่าศาลจะเปลี่ยนคำตัดสินใหม่ในเวลาอันใกล้ ความเห็นในแนวทางนี้ก็ไม่อาจเป็นที่ยอมรับได้เช่นกัน ถ้าเราบอกว่าในเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายแล้ว พลเมืองสามารถทำตามการตัดสินใจของตัวเองตามความเหมาะสม แม้จะคาดหมายได้ว่ามีโอกาสที่ศาลจะตัดสินว่าเขาผิด

ดังนั้น รูปแบบที่สามหรือแนวทางที่มีลักษณะใกล้เคียงกับรูปแบบนี้ ดูเหมือนจะเป็นการอธิบายหน้าที่ทางสังคมของบุคคลในชุมชนได้อย่างมีเหตุผลมากที่สุด พลเมืองจะต้องจงรักภักดีต่อกฎหมายไม่ใช่ต่อความคิดเห็นของบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่มองว่ากฎหมายคืออะไร และบุคคลต้องไม่ทำตัวไร้เหตุผล ตราบที่เขาคิดพิจารณาอย่างมีเหตุผลว่ากฎหมายกำหนดไว้อย่างไร ขอย้ำว่าที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ไม่ได้หมายความว่าบุคคลสามารถเพิกเฉยต่อคำสั่งศาลได้ หลักการคำพิพากษาบรรทัดฐาน (precedent) เป็นหลักการสำคัญในระบบกฎหมาย (ของสหรัฐอเมริกา) แต่ในประเด็นที่เกี่ยวกับสิทธิทางการเมืองหรือสิทธิพื้นฐานส่วนบุคคล รวมถึงเหตุผลที่โต้แย้งว่าศาลสูงได้ตัดสินอย่างผิดพลาดมาแล้ว ทำให้เป็นสิทธิของบุคคลในการที่จะไม่ยอมรับว่าการตัดสินนั้นเป็นคำชี้ขาดสุดท้าย

คนที่ต่อต้านกฎหมายการเกณฑ์ทหารด้วยเหตุผลของมโนธรรม ไม่ใช่คนส่วนมาก
คำถามสำคัญหนึ่งข้อ ก่อนที่จะนำข้อสังเกตเหล่านี้ไปไขปัญหาเรื่องการต่อต้านการเกณฑ์ทหาร โดยเป็นการพูดถึงกรณีที่บุคคลคนหนึ่งเชื่อว่า กฎหมายนั้นไม่ได้เป็นอย่างที่คนอื่นๆ เข้าใจ หรือไม่ได้เป็นอย่างที่ศาลได้มีคำตัดสินออกมา ในจำนวนคนที่ต่อต้านกฎหมายการเกณฑ์ทหารด้วยเหตุผลของมโนธรรม ส่วนหนึ่งมีลักษณะดังกล่าวแต่ไม่ใช่คนส่วนมาก คนส่วนมากในกลุ่มนี้ไม่ใช่นักกฎหมายหรือนักปรัชญาการเมือง แต่เป็นกลุ่มคนที่เชื่อว่ากฎหมายนี้เป็นสิ่งที่ไร้ศีลธรรม และไม่สอดคล้องกับแบบอย่างกฎหมายที่ดีของประเทศ โดยไม่ได้คิดถึงประเด็นที่ว่ากฎหมายมีผลบังคับใช้ได้หรือไม่ เมื่อเป็นเช่นนี้คำถามก็คือ เหตุผลที่บุคคลใช้ยืนยันเพื่อทำตามความคิดเห็นของตัวเองในเรื่องกฎหมายเกี่ยวข้องกับสถานะของบุคคลนั้นหรือไม่

เพื่อตอบคำถามนี้ต้องกลับไปยังประเด็นที่ได้กล่าวผ่านมาก่อนหน้า ในบทบัญญัติที่ว่าด้วยกระบวนการที่ถูกต้องชอบธรรม, ความเสมอภาพ และการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญครั้งที่ 1 (the First Amendment) และบทบัญญัติอื่นที่เคยกล่าวถึง บทบัญญัติที่มีอยู่ในรัฐธรรมนูญเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ต้องนำเรื่องหลักศีลธรรมทางการเมืองมาพิจารณามากขึ้น ในกรณีที่กฎหมายหนึ่งๆ เป็นปัญหาว่ามีผลบังคับใช้หรือไม่ ทั้งนี้คำพูดที่ว่า ผู้ฝ่าฝืนการเกณฑ์ทหารส่วนมากไม่ได้คาดคิดเรื่องที่ว่ากฎหมายการเกณฑ์ทหารจะไม่มีผลบังคับใช้ มีประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจเพิ่มเติม โดยผู้ฝ่าฝืนกฎหมายการเกณฑ์ทหารเชื่อว่ากฎหมายนั้นเข้าข้างตัวเอง การที่พวกเขาคิดเช่นนี้โดยที่ไม่สามารถเข้าใจมากไปกว่านี้ สามารถบอกได้ว่าเพราะพวกเขาขาดประสบการณ์ความรู้ในทางกฎหมาย ถ้าเราเชื่อว่าเมื่อกฎหมายขาดความชัดเจน บุคคลที่ทำตามความคิดของตัวเองก็น่าจะเป็นเรื่องเหมาะสมแล้ว แต่ดูเหมือนเป็นการไม่ยุติธรรมถ้าไม่ขยายความแนวคิดนี้ให้ครอบคลุม ถึงกลุ่มคนที่ต่อต้านกฎหมายเกณฑ์ทหารที่ทำในสิ่งเดียวกัน อีกทั้งจากเหตุผลที่ได้ยกมาสนับสนุนพฤติกรรมในรูปแบบที่สาม ก็ไม่มีเหตุผลใดที่ทำให้เราต้องแยกคนกลุ่มนี้ (คนที่ต่อต้านการเกณฑ์ทหารที่ขาดความรู้ทางกฎหมาย) จากกลุ่มผู้ที่ต่อต้านกฎหมายที่มีความรู้มากกว่า

ถึงตอนนี้ก็สามารถสรุปเหตุผลข้างต้นได้หลายข้อ บุคคลที่ทำตามความคิดเห็นของตัวเองก็กำลังทำในสิ่งที่มีเหตุผล ในกรณีเช่นนี้จึงควรจะเปิดโอกาสและสนับสนุนให้บุคคลได้ทำตามความคิดเห็นของตัวเอง ดังนั้น รัฐบาลจึงมีหน้าที่ต้องพยายามให้การคุ้มครองและบรรเทาสภาพที่เป็นปัญหาของบุคคลนั้นๆ เท่าที่สามารถทำได้ โดยไม่ส่งผลเสียต่อนโยบายอื่นของรัฐ แต่ไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลสามารถปกป้องบุคคลให้พ้นไปจากความผิดได้ การไม่ดำเนินการกับคนที่แสดงออกด้วยสำนึกมโนธรรม หรือไม่ตัดสินความผิดกับผู้ที่มีเหตุผลในการไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลเป็นกฎเกณฑ์ที่ไม่สามารถรับได้ เพราะจะทำให้รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการตามนโยบายของตน ยิ่งกว่านั้นยังจะเป็นการทำให้สูญเสียโอกาสจากข้อพิสูจน์ตามสมมติฐานในรูปแบบที่สาม ถ้ารัฐไม่ดำเนินคดีกับผู้ที่ต่อต้านกฎหมายเลย ศาลก็จะไม่สามารถเข้ามามีบทบาทในการพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้น รวมถึงเหตุผลข้อโต้แย้งจากความคิดเห็นของฝ่ายต่อต้านกฎหมาย อย่างไรก็ตามสามารถสรุปได้ว่า ถ้าในคดีใดมีเหตุผลที่มีน้ำหนักค่อนข้างน้อยในการที่จะดำเนินคดีกับผู้ที่ต่อต้านกฎหมายแล้วหรือสามารถใช้วิธีอื่นได้ แนวทางการปฏิบัติที่ยุติธรรมก็อยู่ที่การเปิดใจให้กว้างกว่าทัศนะที่มองว่ากฎหมายต้องเป็นกฎหมาย (the law is the law) และต้องมีการบังคับใช้อยู่เสมอโดยที่ไม่มีการแยกแยะความแตกต่างระหว่างบุคคลที่ทำตามความคิดเห็นของตัวเอง ในกรณีที่กฎหมายไม่มีความชัดเจนกับผู้ที่กระทำผิดกฎหมายทั่วไป

ระบบกฎหมายอเมริกาเปิดโอกาสให้พลเมืองใช้เหตุผลโต้แย้ง
ระบบกฎหมายของสหรัฐอเมริกาเปิดโอกาสให้พลเมืองของประเทศใช้เหตุผลสนับสนุนข้อโต้แย้งของตัวเอง หรือโดยผ่านทนายความ แม้ว่าพลเมืองจะมีความเสี่ยงกับความไม่เห็นพ้องของศาล โดยวิธีการนี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับว่า ภายในชุมชนจะมีความเห็นร่วมเพียงพอหรือไม่กับประเด็นต่างๆ ว่าเป็นเหตุผลข้อโต้แย้งที่ดีหรือไม่ดี แม้ว่าแต่ละคนจะมีความเห็นแตกต่างกัน แต่ความแตกต่างนี้ก็ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปจนทำให้ระบบกฎหมายทำงานไม่ได้ หรือทำให้เป็นผลเสียหายกับผู้ที่ทำตามความคิดเห็นของตัวเอง ต้องมีหลักเกณฑ์สำหรับกระบวนการโต้แย้งซึ่งเป็นที่ยอมรับร่วมกันเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาที่หาทางออกไม่ได้ ดังนั้น หนึ่งในภารกิจหลักทางปรัชญากฎหมายคือการแสดงให้เห็น หรือการทำให้หลักเกณฑ์ดังกล่าวมีความชัดเจน ซึ่งแนวทางการปฏิบัติที่ได้อธิบายมา ยังไม่ปรากฏว่าเป็นความคิดที่ผิด จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องมีการพิจารณาว่า จะเป็นการยุติธรรมหรือในการผ่อนปรนให้กับผู้ที่ละเมิดต่อกฎหมายในสิ่งที่คนอื่นคิดว่าเป็นกฎหมาย

รัฐบาลมีหน้าที่รับผิดชอบเป็นพิเศษกับผู้ที่ทำตามความคิดเห็นของตัวเอง หากเชื่อว่ากฎหมายใดกฎหมายหนึ่งไม่มีผลบังคับใช้ รัฐบาลควรจะให้ความช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้แต่จะต้องเป็นการช่วยเหลือที่ไม่ขัดกับนโยบายอื่น. อาจเป็นเรื่องยากในการกำหนดว่ารัฐบาลควรทำอย่างไรในแต่ละกรณี การตัดสินใจในเรื่องนี้จะต้องเป็นไปอย่างเหมาะสม กฎเกณฑ์ในแบบตายตัวเป็นสิ่งที่ใช้ไม่ได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สามารถทำได้ก็คือ การกำหนดหลักการบางอย่างขึ้นมา

อัยการกับความสมดุลระหว่างหน้าที่ในการผ่อนปรนกับการดำเนินคดี
หากพิจารณาจากขั้นตอนการตัดสินใจของอัยการในการจะแจ้งข้อกล่าวหาหรือไม่ อัยการต้องทำให้เกิดความสมดุลระหว่างหน้าที่ความรับผิดชอบในการผ่อนปรนกับการดำเนินคดีกับผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เป็นการทำลายนโยบายทางกฎหมาย (law's policy) ที่จะเกิดตามมา ถ้าอัยการไม่ดำเนินการใดๆ กับผู้ที่ละเมิดกฎหมาย กรณีเช่นนี้สิ่งที่อัยการต้องพิจารณาไม่ใช่ระดับความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลอื่น แต่ต้องพิจารณาด้วยว่ากฎหมายประเมินผลเสียหายอย่างไร ซึ่งจะต้องแยกแยะประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้

ในทุกหลักกฎหมายมีเหตุผลอันชอบธรรมและรองรับด้วยชุดนโยบายที่ต้องเดินไปข้างหน้า และต้องคำนึงถึงหลักการต่างๆ กฎเกณฑ์บางอย่าง (เช่น การห้ามฆ่าคนและการลักขโมย) รองรับด้วยการยืนยันว่าบุคคลมีสิทธิทางศีลธรรม (moral rights) ที่จะต้องไม่ได้รับภัยอันตรายใดๆ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ สำหรับกฎเกณฑ์อื่นซึ่งไม่ได้มีสมมติฐานใดเกี่ยวกับสิทธิพื้นฐานมารองรับ แต่สิ่งที่มารองรับกฎหมายเหล่านี้มาจากสิ่งที่เป็นประโยชน์ของนโยบายทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งอาจจะเสริมด้วยหลักศีลธรรม (อย่างทัศนะที่มองว่าการขายตัดราคาคู่แข่งที่มีกำลังน้อยกว่านั้น เป็นการทำธุรกิจที่โหดร้าย) แต่ก็ยังห่างไกลจากเรื่องของสิทธิทางศีลธรรม ซึ่งเป็นสิทธิที่คุ้มครองบุคคลจากภัยอันตรายที่กฎหมายไม่อนุญาตให้ทำ

การคัดค้าน civil disobedience ที่มีความรุนแรงเข้ามาเกี่ยวข้อง
ประเด็นสำคัญก็คือ ถ้าหลักกฎหมายใดมีการกำหนดไว้อย่างเป็นทางการว่า บุคคลมีสิทธิทางศีลธรรมที่จะได้รับความคุ้มครองให้พ้นจากการได้รับความเสียหายแล้ว ก็เป็นเหตุผลที่มีน้ำหนักสำหรับใช้คัดค้านกรณีที่ปล่อยให้มีการละเมิดกฎหมายที่ก่อให้เกิดความเสียหายเช่นนั้น เช่น กฎหมายที่คุ้มครองบุคคลจากภัยอันตรายหรือคุ้มครองทรัพย์สินจากความเสียหาย อันเป็นเหตุผลที่มีน้ำหนักเป็นอย่างมากในการคัดค้านต่อการปล่อยให้เกิด civil disobedience ที่มีความรุนแรงเข้ามาเกี่ยวข้อง

อาจมีข้อถกเถียงกันว่ากฎหมายหนึ่งๆ จะอยู่บนสมมติฐานที่ว่าด้วยสิทธิทางศีลธรรมหรือไม่ ซึ่งเมื่อพิจารณาจากที่มาและการประกาศใช้กฎหมายแล้ว จะมีเหตุผลสมควรหรือไม่ที่จะสันนิษฐานว่า ผู้ร่างกฎหมายได้ตระหนักถึงหลักสิทธิทางศีลธรรม นอกจากหลักการที่จะต้องไม่มีความรุนแรงแล้ว ยังมีเหตุผลซึ่งมีความชัดเจนในเรื่องสิทธิพลเมือง เป็นต้น ผู้ที่สนับสนุนการแบ่งแยกสีผิวอย่างจริงจังหลายคนมีความเชื่อว่ากฎหมายและคำตัดสินในเรื่องสิทธิพลเมืองเป็นสิ่งที่ขัดรัฐธรรมนูญ เพราะทำลายหลักการของรัฐบาลท้องถิ่นและทำลายหลักเสรีภาพในการรวมกลุ่ม แม้จะเป็นเหตุผลที่ฟังขึ้นแต่ก็มีประเด็นให้โต้แย้ง เพราะกฎหมายและคำตัดสินที่ว่าด้วยสิทธิพลเมืองแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ในฐานะบุคคลแล้ว คนผิวดำมีสิทธิที่จะไม่ถูกกีดกัน ทั้งนี้กฎหมายและข้อกำหนดเหล่านี้ไม่ได้พิจารณาแค่ว่านโยบายอื่นจะดำเนินไปอย่างดีที่สุดด้วยการให้ความคุ้มครองต่อนโยบายการแบ่งแยกสีผิว ถ้าไม่ดำเนินการกับบุคคลผู้ที่ปิดกั้นประตูห้องเรียน การปล่อยปละเช่นนี้ก็จะเป็นการละเมิดสิทธิทางศีลธรรมของนักเรียนหญิงคนที่ถูกขัดขวางไม่ยอมให้ผ่านประตู

แต่สถานะของนักเรียนหญิงแตกต่างจากสถานะของทหารเกณฑ์ ด้วยเหตุผลว่าทหารเกณฑ์อาจถูกเรียกตัวในเวลาอันใกล้ หรืออาจได้รับมอบหน้าที่ที่มีอันตรายกว่าหากผู้ฝ่าฝืนกฎหมายไม่ถูกลงโทษ ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจากจุดประสงค์ของการบังคับใช้แล้ว ก็ไม่อาจกล่าวได้ว่ากฎหมายการเกณฑ์ทหารสะท้อนแนวความคิดที่ว่าบุคคลมีสิทธิทางศีลธรรม โดยจะถูกคัดเลือกก็ต่อเมื่อบุคคลที่ถูกจัดอยู่ในประเภทอื่นได้ถูกเรียกตัวไปแล้ว. เหตุผลที่ต้องมีการกำหนดประเภททหารเกณฑ์ รวมทั้งวิธีเกณฑ์ทหารด้วยการเรียงตามลำดับ ก็เพื่อความสะดวกในเรื่องของการจัดการ และยังเป็นการสะท้อนให้เห็นว่ากฎหมายคำนึงถึงเรื่องของความเป็นธรรม เช่น ข้อกำหนดกรณีที่มารดามีบุตรชายสองคน เมื่อต้องสูญเสียบุตรชายไปในสงครามหนึ่งคน ก็ไม่ควรให้มีการเสี่ยงกับการสูญเสียบุตรชายอีกคนที่เหลืออยู่ แต่กฎหมายก็ไม่ได้กำหนดสิทธิที่แน่นอนไว้ ทั้งนี้คณะกรรมการการเกณฑ์ทหารเป็นผู้มีสิทธิใช้ดุลยพินิจอย่างเต็มที่ในกระบวนการกำหนดประเภททหารเกณฑ์ อีกทั้งกองทัพก็มีสิทธิใช้อำนาจได้เกือบเต็มที่ในการมอบหมายหน้าที่ที่เสี่ยงอันตราย ดังนั้น ถ้าอัยการยอมปล่อยให้มีผู้ฝ่าฝืนกฎหมายการเกณฑ์ทหาร ก็อาจกระทบต่อความยุติธรรมและประโยชน์ของกฎหมายซึ่งจะทำให้คนอื่นในกลุ่มทหารเกณฑ์เสียเปรียบ

ความแตกต่างระหว่าง"การแบ่งแยกสีผิว"กับ"การเกณฑ์ทหาร"ไม่ได้เป็นเหตุบังเอิญจากการบัญญัติกฎหมาย ความเชื่อว่าพลเมืองของประเทศมีสิทธิทางศีลธรรมตามระบบการเกณฑ์ทหารแบบเรียกตัวตามลำดับ เป็นความคิดที่แย้งกับสิ่งที่มีการปฏิบัติกันมานับเป็นศตวรรษ ทั้งนี้ ถ้าประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของเราไม่ได้เป็นเช่นนั้น และถ้าชุมชนของเรามีการยอมรับสิทธิทางศีลธรรมดังกล่าวแล้ว ก็ดูเหมือนจะมีเหตุผลที่จะเชื่อได้ว่า อย่างน้อยที่สุดผู้ฝ่าฝืนการเกณฑ์ทหาร ควรจะได้มีการปรับท่าทีเพื่อเป็นการคำนึงสิทธิทางศีลธรรมดังกล่าว จึงเป็นการไม่เหมาะสมที่จะวิเคราะห์ปัญหาการเกณฑ์ทหารว่า มีเหตุผลชอบธรรมที่ควรจะยอมผ่อนปรนให้กับผู้ฝ่าฝืนกฎหมายนี้ได้หรือไม่ ด้วยวิธีการเดียวกันกับการวิเคราะห์กรณีปัญหาความรุนแรงหรือปัญหาสิทธิพลเมือง อย่างไรก็ตามในที่นี้ไม่ได้หมายความว่า ในกรณีเกี่ยวกับการเกณฑ์ทหารจะไม่คำนึงถึงการให้ความยุติธรรมกับคนอื่น ความยุติธรรมเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึง และจะต้องมีการพิจารณาดำเนินการให้เกิดความเท่าเทียมกัน ระหว่าง"ผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย"กับ"ผลประโยชน์ของสังคมในระยะยาว" แต่ในกรณีที่สิทธิต่างๆ กำลังถูกคุกคาม ประเด็นเรื่องความยุติธรรมจึงไม่ได้เข้ามามีบทบาทอย่างที่ควรจะเป็น

ตรงไหนคือจุดสมดุลระหว่าง"ความยุติธรรม"กับ"อรรถประโยชน์"
ถ้าเช่นนั้นแล้ว ตรงไหนคือจุดสมดุลระหว่าง"ความยุติธรรม"กับ"อรรถประโยชน์" เมื่อพูดถึงกรณีของบุคคลที่แนะให้คนอื่นต่อต้านการเกณฑ์ทหาร ถ้าบุคคลเหล่านี้สนับสนุนให้มีการใช้ความรุนแรงหรือให้มีการละเมิดสิทธิของผู้อื่นแล้ว ก็มีเหตุผลสมควรอย่างยิ่งที่จะถูกดำเนินคดี. แต่กรณีที่ไม่ได้มีการกระทำการดังกล่าว ความสมดุลระหว่างความยุติธรรมกับอรรถประโยชน์ก็อาจไปได้ในอีกแง่หนึ่ง แต่อาจมีผู้แย้งว่า ถ้าไม่มีการดำเนินคดีกับผู้ที่แนะให้คนอื่นต่อต้านการเกณฑ์ทหารแล้ว จะทำให้มีคนฝ่าฝืนกฎหมายเกณฑ์ทหารมากขึ้น แต่ Dworkin คิดว่าคงไม่มากไปกว่าจำนวนคนที่ฝ่าฝืนกฎหมายในกรณีอื่นๆ

ถ้าที่กล่าวมานี้ไม่ถูกต้องและเกิดมีการต่อต้านมากขึ้นกว่าเดิม ก็จะเป็นปัญหาสำคัญของผู้ที่ทำหน้าที่ร่างนโยบาย ปัญหานี้ไม่ควรจะถูกปกปิดด้วยการห้ามไม่ให้มีการแสดงความคิดเห็น โดยแท้จริงแล้วปัญหานี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสำนึกมโนธรรม (conscience) เพราะเป็นเรื่องยากที่จะเชื่อว่า บุคคลที่แนะให้ผู้อื่นต่อต้านกฎหมายการเกณฑ์ทหารจะทำไปเพราะเหตุผลอื่น มีเหตุผลที่เชื่อได้ว่า กฎหมายใดที่กำหนดให้เป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายสำหรับบุคคลที่แนะให้คนอื่นฝ่าฝืนกฎหมาย ถ้ากฎหมายใดมีเนื้อหาเช่นนี้ก็ถือว่าขัดรัฐธรรมนูญ เพราะมีโอกาสน้อยมากที่จะเกิดความเสียหายและเป็นเรื่องของการคาดเดา ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายที่อาจจะเกิดกับทหารเกณฑ์ ที่อาจจะถูกชักชวนให้ต่อต้านกฎหมายหรือกับคนที่ถูกเรียกตัวเข้าเป็นทหารไปก่อนแล้ว

คำถามสำคัญก็คือ ถ้าไม่มีการดำเนินคดีกับผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายจะเป็นสาเหตุให้มีคนจำนวนมากพากันปฏิเสธการเข้าเป็นทหารเกณฑ์หรือไม่ ซึ่งอาจไม่เป็นเช่นนั้นก็ได้ ทั้งนี้เพราะมีปัจจัยที่เป็นแรงกดดันทางสังคมรวมถึงเรื่องของความเสี่ยงที่จะเสียโอกาสในการเข้าทำงาน และเป็นปัจจัยที่เป็นแรงกดดันให้คนหนุ่มชาวอเมริกันหลายคนต้องเข้าเป็นทหารเมื่อถูกเกณฑ์ แม้รู้ว่าถึงไม่ยอมเข้าเป็นทหารเกณฑ์ก็จะไม่ถูกจำคุก ถ้ามีคนฝ่าฝืนกฎหมายนี้เพิ่มขึ้นไม่มาก รัฐควรยอมผ่อนผันให้คนเหล่านี้ และ Dworkin เห็นว่า การชะลอการดำเนินคดีใดๆ จนกว่าจะเห็นผลที่ชัดเจนมากขึ้นไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายมาก แต่ถ้ามีคนฝ่าฝืนการเกณฑ์ทหารเป็นจำนวนมากก็เป็นเหตุผลที่ต้องมีการดำเนินคดีกับคนเหล่านี้ และก็ยังมีปัญหาให้ต้องพิจารณา เพราะถ้ามีคนจำนวนมากฝ่าฝืนกฎหมายเกณฑ์ทหารมากพอ จนเข้าสู้ภาวะวิกฤติ ก็จะเป็นการยากที่จะนำประเทศเข้าสู่สงคราม เว้นเพียงว่าประเทศนั้นจะอยู่ภายใต้การปกครองในระบบเกือบเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จ

ดูเหมือนยังไม่อาจสรุปได้ว่า แนวทางการปฏิบัติของเราจะเป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัยคดี หรือเป็นประโยชน์ในการพัฒนากฎหมาย ถึงขนาดที่ต้องมีการนำคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลในทุกครั้งที่พลเมืองของประเทศทำตามความคิดเห็นของตัวเอง คำถามที่เกิดขึ้นในแต่ละคดีก็คือปัญหาเหล่านี้พร้อมให้ศาลวินิจฉัยหรือไม่ และการวินิจฉัยของศาลจะเป็นการยุติปัญหาด้วยการไม่ทำให้มีผู้คัดค้านกฎหมายเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่ (หรือสามารถทำให้เหตุผลอื่นในการต่อต้านกฎหมายนี้หมดไปได้หรือไม่)

ในเรื่องของการเกณฑ์ทหารนั้น คำตอบสำหรับคำถามทั้งสองข้อก็คือไม่ เพราะสงครามเป็นประเด็นที่สร้างความขัดแย้งอย่างมาก และยังมีประเด็นทางศีลธรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง สำหรับศาลแล้วอาจไม่ใช่เวลาเหมาะสมที่จะตัดสินประเด็นปัญหาเหล่านี้ การยอมให้มีการฝ่าฝืนกฎหมายเป็นระยะเวลาหนึ่งก็เป็นวิธีที่ทำให้มีการถกเถียง จนกว่าจะมีอะไรที่มีความชัดเจนมากกว่านี้ และก็เห็นได้ชัดว่า การวินิจฉัยเกี่ยวกับกฎหมายนั้นๆ ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ จะไม่เป็นการยุติปัญหาข้อกฎหมาย. ข้อสงสัยว่าการเกณฑ์ทหารไม่ได้เป็นไปตามหลักรัฐธรรมนูญจะยังไม่หมดไป ถึงแม้ศาลสูงจะตัดสินว่าเป็นไปตามรัฐธรรมนูญก็ตาม

หรือในกรณีที่อัยการจะไม่ส่งเรื่องให้มีการดำเนินคดี แต่รากฐานของปัญหาก็บรรเทาเพียงชั่วคราว ตราบใดที่กฎหมายยังทำให้เห็นว่าการต่อต้านกฎหมายเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย บุคคลที่ต่อต้านกฎหมายตามหลักมโนธรรมก็ต้องเผชิญกับปัญหา ทั้งนี้สภาคองเกรส (Congress) ซึ่งเป็นองค์นิติบัญญัติจะสามารถทำอะไรได้เพื่อลดความเสี่ยงให้กับคนกลุ่มนี้

การยอมให้มีการฝ่าฝืนกฎหมายตามหลักมโนธรรมเท่าที่เป็นไปได้
สภาคองเกรสสามารถทบทวนกฎหมายเกณฑ์ทหาร เพื่อพิจารณาว่าจะช่วยเหลือผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายได้มากน้อยเพียงใด ทุกแผนงานที่สภานิติบัญญัติให้การอนุมัติประกอบด้วยนโยบายและหลักการต่างๆ ที่เหมาะสม เช่น การยอมแลกประสิทธิภาพในงานสืบสวนอาชญากรรมและนโยบายการพัฒนาเมือง โดยคำนึงถึงสิทธิของอาชญากรที่ถูกกล่าวหา หรือการคำนึงถึงความสามารถในการชดเชยค่าเสียหายให้กับเจ้าของทรัพย์ที่เสียหาย สภาคองเกรสอาจทำหน้าที่ด้วยการอนุโลมให้กับผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายตามความเหมาะสมด้วยการปรับหรือยกเลิกนโยบายอื่นๆ คำถามที่เกิดขึ้นก็คือจะสามารถหาวิธีไหนที่จะยอมให้มีการฝ่าฝืนกฎหมายตามหลักมโนธรรมเท่าที่จะเป็นไปได้ให้มากที่สุด ในขณะเดียวกันก็สามารถลดผลกระทบที่จะเกิดกับนโยบายอื่นให้น้อยที่สุด ในกรณีเช่นนี้ รัฐบาลจะทำได้มากน้อยแค่ไหนในการให้อภัยผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งต้องพิจารณาว่าเกี่ยวข้องกับสำนึกมโนธรรมมากน้อยเพียงใด, มีเหตุผลที่เชื่อได้มากน้อยเพียงใดว่ากฎหมายนั้นไม่มีผลบังคับใช้ อีกทั้งนโยบายที่เป็นปัญหานั้นมีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน อันหมายถึงการแทรกแซงระดับนโยบายจะคุ้มค่ากับสิ่งที่ต้องเสียไปหรือไม่

ควรยกเลิกกฎหมายที่เอาผิดกับบุคคลที่แนะให้ผู้อื่นฝ่าฝืนกฎหมาย ?
Dworkin เห็นว่า ควรยกเลิกกฎหมายที่เอาผิดกับบุคคลที่แนะให้ผู้อื่นฝ่าฝืนกฎหมาย เพราะเห็นได้ชัดเจนว่า กฎหมายดังกล่าวลิดรอนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และเป็นการบีบคั้นสำนึกมโนธรรมซึ่งไม่น่าจะส่งผลใดที่เป็นประโยชน์ ถ้าการแนะให้ผู้อื่นฝ่าฝืนกฎหมายสามารถชักชวนให้คนทำตามได้เพียงไม่กี่คน การควบคุมห้ามปรามก็มีความหมายน้อยมาก แต่ถ้าการชักจูงดังกล่าวสามารถทำให้คนทำตามเป็นจำนวนมาก ก็นับเป็นข้อเท็จจริงที่มีความสำคัญในทางการเมืองซึ่งควรเป็นที่รับรู้

และในเรื่องของการต่อต้านการเกณฑ์ทหารมีประเด็นที่ซับซ้อนมากขึ้น คนที่เชื่อว่าสงครามเวียดนามเป็นความผิดพลาดอย่างมหันต์ น่าจะเป็นผู้ที่เห็นด้วยกับการแก้กฎหมาย ถ้าพิจารณาจากมุมมองของผู้ที่คิดว่าสงครามเป็นสิ่งจำเป็น ก็ต้องยอมรับนโยบายการเกณฑ์ทหารต่อไป. อย่างไรก็ตาม ควรพิจารณาทางเลือก 2 ทางที่มีลักษณะผ่อนปรนมากกว่า โดยทางเลือกแรกเป็นการใช้กองทัพอาสาสมัคร กับทางเลือกที่สองก็คือการกำหนดประเภททหารเกณฑ์เพิ่มขึ้นอีกประเภท เป็นประเภทผู้ที่ต่อต้านการเกณฑ์ทหารเนื่องด้วยเหตุผลทางศีลธรรมโดยเป็นกลุ่มบุคคลที่เห็นว่าสงครามเป็นเรื่องไร้ศีลธรรม ทางเลือกทั้งสองนี้ถูกคัดค้านเป็นอย่างมาก แต่ถ้าได้มีการตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องมีการคำนึงถึงความคิดเห็นที่แตกต่างแล้ว ทางเลือกทั้งสองก็จะมีน้ำหนักในแง่หลักการ ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลที่มีน้ำหนักที่ไม่ควรจะมีการดำเนินคดีกับผู้ที่ฝ่าฝืนการเกณฑ์ทหารด้วยเหตุผลแห่งสำนึกมโนธรรม และควรให้มีการแก้กฎหมายที่จะเป็นประโยชน์ต่อคนกลุ่มนี้

ไม่ยุติธรรมที่จะลงโทษบุคคลที่ฝ่าฝืนกฎหมายซึ่งไม่มีความชัดเจน
ฉะนั้น ต้องพิจารณาว่าอะไรคือสิ่งที่ศาลทำได้หรือควรจะได้ทำ แน่นอนว่าในคดีทั่วไปหรือกับคดีที่อยู่ภายใต้การพิจารณาของศาล ศาลอาจยืนยันว่ากฎหมายเกณฑ์ทหารมีบางแง่มุมที่ขัดรัฐธรรมนูญ หรือศาลอาจสั่งยกฟ้องจำเลยเพราะไม่มีข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีความผิด ทั้งนี้ไม่ได้เป็นการโต้แย้งในประเด็นว่ากฎหมายนั้นเป็นไปตามหลักรัฐธรรมนูญหรือไม่ หรือด้วยข้อเท็จจริงของกรณีใดเป็นการเฉพาะ แต่ต้องการเสนอว่า ศาลไม่ควรตัดสินว่าจำเลยได้กระทำผิด. ในบางกรณีถึงแม้ศาลจะเห็นด้วยกับกฎหมายและพบว่าโดยข้อเท็จจริงการกระทำดังกล่าวก็เป็นไปตามข้อกล่าวหา เมื่อมีคดีการเกณฑ์ทหารเกิดขึ้น ศาลสูงในหลายคดีไม่ได้ตัดสินด้วยเหตุผลว่า การเกณฑ์ทหารขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ และศาลก็ไม่ได้เชื่อว่าเหตุผลนี้จะก่อให้เกิดคำถามในเชิงการเมืองที่ไม่อยู่ในขอบเขตอำนาจศาล มีเหตุผลว่าทำไมศาลจึงควรยกฟ้องกรณีต่างๆ เหล่านี้ แม้ว่าศาลอาจเห็นด้วยกับกฎหมายการเกณฑ์ทหารก็ตาม ทั้งนี้เพราะก่อนมีคำตัดสินของศาล กฎหมายการเกณฑ์ทหารยังเป็นปัญหาในเรื่องของการบังคับใช้ จึงเป็นการไม่ยุติธรรมที่จะลงโทษบุคคลที่ฝ่าฝืนกฎหมายซึ่งไม่มีความชัดเจน

การเลือกตีความกฎหมาย เท่ากับเป็นการสร้างกฎหมายโดยศาล
มีบรรทัดฐานในการตัดสินคดีตามแนวทางนี้ หลายครั้งที่ศาลสูงกลับคำพิพากษาบนเหตุผลของกระบวนการที่ถูกต้องชอบธรรม (due process grounds) เพราะกฎหมายที่เป็นข้อถกเถียงมีความคลุมเครือมากเกินไป (ดังการที่ศาลกลับคำตัดสินเมื่อพิจารณาตามข้อกฎหมายที่กำหนดว่า การคิดราคาอย่าง "ไม่สมเหตุสมผล" เป็นการกระทำผิดกฎหมาย หรือการที่กฎหมายกำหนดว่าการเข้าร่วมเป็นสมาชิกแก๊งอันธพาลเป็นการกระทำผิดกฎหมาย) การตัดสินลงโทษจำเลยด้วยกฎหมายอาญาที่ยังเป็นข้อถกเถียงเป็นการขัดต่อแนวคิดที่ว่าด้วยกระบวนการที่ชอบธรรม ทั้งในแง่ศีลธรรมและการเมืองซึ่งมีผลในสองทางด้วยกัน

ประการแรก คือ การกระทำเช่นนี้ทำให้บุคคลต้องอยู่ในสภาพที่ต้องเสี่ยงกับการกระทำของตัวเองอย่างไม่เป็นธรรม หรือไม่ก็ต้องอยู่ในสภาพที่ต้องยอมรับการถูกจำกัดอย่างเข้มงวดมากกว่าที่ฝ่ายนิติบัญญัติอาจให้อำนาจไว้

ประการที่สอง การตัดสินของศาลในลักษณะดังกล่าว จะทำให้อัยการและศาลมีอำนาจในการสร้างกฎหมายด้วยการเลือกตีความอย่างใดอย่างหนึ่งเท่าที่จะเป็นไปได้ จึงเท่ากับเป็นการสร้างกฎหมายโดยศาล ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดกับหลักการเรื่องการแบ่งแยกอำนาจ

การตัดสินคดีตามหลักกฎหมายอาญาที่มีความชัดเจน แต่มีความคลุมเครือในเรื่องความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เป็นสิ่งที่ขัดต่อหลักกระบวนการที่ถูกต้องชอบธรรม อันเป็นการสอดคล้องกับเหตุผลในข้อแรกเพราะทำให้บุคคลต้องตั้งข้อสันนิษฐานไว้ก่อนในแง่ลบ หรือไม่ก็ต้องเสี่ยงกับการกระทำของตัวเอง ถ้าการละเมิดกฎหมายแล้วต้องเสี่ยงกับการถูกจำคุก พลเมืองส่วนมากก็มักจะยอมปฏิบัติตามกฎหมายที่ยังเป็นปัญหา สภาคองเกรสมีสิทธิในการตัดสินถึงความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของการประกาศใช้กฎหมายอาญา ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ขัดกับหลักการแบ่งแยกอำนาจเช่นกัน

ถ้าศาลสูงได้ตัดสินแล้วว่ากฎหมายมีผลสมบูรณ์ แต่ยังมีผู้ฝ่าฝืนกฎหมายอยู่ การยกฟ้องด้วยเหตุผลที่อธิบายมาก็เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม การตัดสินของศาลจะไม่เป็นการยุติข้อกฎหมายเป็นที่สุดด้วยเหตุผลที่กล่าวมา อย่างไรก็ตาม ศาลยังสามารถใช้ดุลยพินิจในการตัดสินและกำหนดโทษให้น้อยที่สุดหรือให้รอลงอาญา เพื่อเป็นการคำนึงถึงสถานะของผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย

นักกฎหมายหลายคนคงกังวลใจกับบทสรุปโดยรวมที่เห็นว่า เราต้องมีความรับผิดชอบต่อคนที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเกณฑ์ทหารด้วยเหตุผลสำนึกมโนธรรม ไม่จำเป็นต้องตัดสินลงโทษและเสนอให้มีการแก้กฎหมายหรือปรับกระบวนการลงโทษ เพื่อเป็นการให้ความช่วยเหลือคนเหล่านี้แทนแนวความคิดที่เสนอว่าผู้ที่กระทำผิดจะต้องได้รับโทษ และบุคคลที่ทำตามความเห็นที่ผิดพลาดของตัวเองจะต้องรับผลที่ตามมาในภายหลัง อันเป็นแนวคิดที่มีอิทธิพลกับผู้เชี่ยวชาญรวมทั้งกับความคิดของคนส่วนใหญ่ แต่หลักนิติธรรม (the rule of law) มีความซับซ้อนและต้องใช้ความเข้าใจมาก และที่สำคัญที่สุดก็คือหลักกฎหมายจะต้องมีอยู่ต่อไป

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ภาคผนวก: ความเป็นมาเกี่ยวกับการดื้อแพ่ง

Civil disobedience is the active refusal to obey certain laws, demands and commands of a government, or of an occupying power, without resorting to physical violence. It is one of the primary tactics of nonviolent resistance. In its most nonviolent form (known as ahimsa or satyagraha) it could be said that it is compassion in the form of respectful disagreement.

Civil disobedience is one of the many ways people have rebelled against unfair laws. It has been used in many well-documented nonviolent resistance movements in India (Gandhi's social welfare campaigns and campaigns for independence from the British Empire), in South Africa in the fight against apartheid, in the American Civil Rights Movement and in peace movements worldwide. One of its earliest massive implementations was by Egyptians against the British occupation in the nonviolent 1919 Revolution.

The American author Henry David Thoreau pioneered the modern theory behind this practice in his 1849 essay Civil Disobedience, originally titled "Resistance to Civil Government". The driving idea behind the essay was that of self-reliance, and how one is in morally good standing as long as one can "get off another man's back"; so one does not have to physically fight the government, but one must not support it or have it support one (if one is against it). This essay has had a wide influence on many later practitioners of civil disobedience. In the essay, Thoreau explained his reasons for having refused to pay taxes as an act of protest against slavery and against the Mexican-American War.
http://en.wikipedia.org/wiki/Civil_disobedience

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1700 เรื่อง หนากว่า 35000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com