1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
แม้ว่าจากสถานะของเรื่องราวสยองขวัญ ทั้งเรื่องเล่า วรรณกรรม รวมทั้งภาพยนตร์จะถูกมองว่า เป็นวัฒนธรรมชั้นล่างที่ด้อยค่าและไร้รสนิยมจากมุมมองของวัฒนธรรมชั้นสูง และจากวงการวิชาการกระ แสหลัก รวมทั้งจากมุมมองเชิงศีลธรรมทางสังคม กระนั้นก็ตามมันเป็นการยากที่จะปฏิเสธได้ว่า เรื่องราวสยองขวัญ ได้รับใช้สังคมในการทำหน้าที่เชิงจิตวิทยาในหลายแนวทาง ภาพยนตร์สยองขวัญได้เปิดช่องทางในการปลดปล่อยระบายออกทางอารมณ์ให้แก่ผู้ชม ในลักษณะเช่นเดียวกับเรื่องราวโศกนาฏกรรมมันช่วยให้ผู้ชมหลุดพ้นไปจากความน่าเบื่อของชีวิตประจำวัน เช่นเดียวกับเรื่องราวประเภทเพ้อฝัน มันได้จัดเตรียมพื้นที่ที่ปลอดภัยสำหรับการแสดงออกถึงความกลัวทางสังคมวัฒนธรรมเช่นเดียวกับเรื่องตลก(comedy)...
01-04-2552
(1711)
ปัญหาทางปรัชญาและจิตวิทยาในภาพยนตร์สยองขวัญ
The
Great Psychologists, from Aristotle to Freud:
คำอธิบายภาพยนตร์สยองขวัญ
วิสิฐ อรุณรัตนานนท์ : ผู้วิจัย
หลักสูตรสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความวิชาการนี้
สามารถ download ได้ในรูป word
หมายเหตุ: งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานค้นคว้าอิสระ
เรื่อง
"การวิเคราะห์แนวทางการนำเสนอภาพยนตร์แนวสยองขวัญ"
ชื่อผู้วิจัย: วิสิฐ อรุณรัตนานนท์ (นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ)
คณะกรรมการที่ปรึกษาการค้นคว้าแบบอิสระ: รองศาสตราจารย์ สมเกียรติ ตั้งนโม
อาจารย์ ทัศนัย เศรษฐเสรี, อาจารย์ วีระพันธ์ จันทร์หอม
บนหน้าเว็บเพจนี้ นำมาจากบางส่วนของบทที่ ๔ หัวเรื่อง
ปัญหาทางปรัชญาและจิตวิทยาในภาพยนตร์สยองขวัญ
งานวิจัยภาพยนตร์แนวสยองขวัญนี้
ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญดังต่อไปนี้
แนวคิดอริสโตเติล: เรื่องราวสะเทือนอารมณ์ (Tragedy)
- การปลดปล่อยระบายความเศร้าโศก (Tragic Catharsis)
- ความหวาดกลัวในความโศกสลด (Tragic Fear)
แนวคิดของ Sigmund Freud เรื่อง The Uncanny
- คำว่า "heimlich" มีความหมายเกี่ยวกับบ้าน
- Uncanny: ความตื่นกลัวในสิ่งที่รู้จักคุ้นเคยแต่เก่าก่อน
- การสูญเสียดวงตา เป็นสิ่งที่เลวร้ายที่สุดสำหรับเด็กๆ
- ความกลัวเกี่ยวกับ"การสูญเสียดวงตา"และ"ความกลัวในการถูกตอน"
- คำอธิบายของ Freud เกี่ยวกับ"ปรากฏการณ์ตัวแทน-ภาพซ้อน(double)
- ความหวาดระแวงว่าตนถูกเฝ้ามอง: ภาพซ้อนที่แตกแยกจากตัวตน
- Uncanny กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ
- Uncanny: ความกลัวในดวงตาที่ชั่วร้าย
- Omnipotence of thoughts
- Uncanny ความตาย และศาสนา
- ภายในมดลูก ความคุ้นเคยอย่างลับๆ
- Uncanny ที่ปรากฏในงานวรรณกรรม
ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : midnightuniv(at)gmail.com
บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๗๑๑
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๓๗ หน้ากระดาษ A4)
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ปัญหาทางปรัชญาและจิตวิทยาในภาพยนตร์สยองขวัญ
The Great Psychologists, from Aristotle
to Freud:
คำอธิบายภาพยนตร์สยองขวัญ
วิสิฐ อรุณรัตนานนท์ : ผู้วิจัย
หลักสูตรสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความวิชาการนี้
สามารถ download ได้ในรูป word
แนวคิดอริสโตเติล: เรื่องราวสะเทือนอารมณ์ (Tragedy)
ในการศึกษาเกี่ยวกับศิลปะของการเล่าเรื่องจากหนังสือ Poetics ของอริสโตเติล ความรู้สึกสงสารและความรู้สึกหวาดกลัว ถูกระบุไว้ว่าผลมาจากการกระตุ้นเร้าขึ้นโดยเรื่องราวสะเทือนอารมณ์(tragedy) เหตุใดเรื่องราวร้ายแรงที่กระตุ้นความรู้สึกสงสารหรือหวาดกลัวจึงทำให้ผู้รับรู้เรื่องราวเหล่านั้นเพลิดเพลินได้. Aristotle เห็นว่า การรู้ถึงอารมณ์ของความโศกเศร้าสงสารและความหวาดกลัวที่เกิดขึ้นจากการกระตุ้นของเรื่องราวนั้น เป็นรูปแบบพิเศษที่ทรงพลังของเรื่องราว ซึ่งเป็นจุดที่น่าสนใจสำหรับการศึกษา
ในกรณีของเรื่องราวที่กระตุ้นเร้าความโศกเศร้าสงสาร เป็นรูปแบบที่รู้จักกันโดยทั่วไปที่เรียกว่า "เรื่องเศร้าเรียกน้ำตา"(tearjerker) ซึ่งมักเป็นเรื่องราวการดิ้นรนต่อโชคชะตาที่โหดร้ายของตัวละครหลักซึ่งมีลักษณะน่าชื่นชม เป็นคนดี เป็นผู้ทรงเกียรติ โดยผู้ชมมักจะถูกกระตุ้นให้จดจ่อและเกิดอารมณ์ความรู้สึกสะเทือนใจคล้อยตามไปกับเรื่องราวของตัวละครหลักนั้นๆ และเรื่องราวอาจจะจบลงอย่างมีความสุขหรืออาจจบลงอย่างน่าหดหู่ สิ้นหวัง อย่างใดอย่างหนึ่ง ในกรณีนี้ ความตึงเครียดจะถูกสร้างขึ้นโดยตลอดเรื่องราว และถูกปลดปล่อยผ่านประสบการณ์ในการรับรู้รับชม และเมื่อผู้ชมได้ละไปจากเรื่องราวเหล่านั้นแล้ว อารมณ์ความรู้สึกของผู้ชมก็จะกลับเป็นปกติ และระลึกถึงเรื่องราวเหล่านั้นในฐานะที่เป็นเพียงเรื่องราวที่ถูกสร้างหรือแต่งขึ้น
ความรู้สึกพึงพอใจต่ออารมณ์ความรู้สึกที่กระตุ้นเร้ารุนแรง ณ โรงละครหรือโรงภาพยนตร์ จัดเป็นสถานที่ซึ่งปลอดภัยพร้อมจะปล่อยใจไปกับมันได้ ผู้ชมอาจจะเกิดความรู้สึกดีในความรู้สึกเศร้าไปกับความทุกข์ของผู้อื่น. Dostoyevski (*) นักประพันธ์ชาวรัสเซียชี้ว่า ผู้ที่นิยมโศกเศร้าและร้องไห้ในโรงละครนั้น พวกเขาเพียงแค่ฝันกลางวันถึงการปลดเปลื้องความทุกข์ระทมของมนุษยชาติ หากแต่ไม่มีสิ่งใดที่จะทำให้ความปรารถนาที่คลุมเครือนี้บังเกิดผลขึ้นมา ซึ่งจุดนี้ได้แสดงให้เห็นว่า เรื่องเศร้าเรียกน้ำตานั้นเป็นรูปแบบของเรื่องราวที่หลอกลวงไม่จริงใจหรือตรงไปตรงมา ซึ่งไม่เพียงเป็นการเบี่ยงเบนที่ปลอดภัยเท่านั้น แต่มันยังให้การสนับสนุนการโกหกหลอกลวงต่อผู้คนเหล่านั้นด้วย
(*)Fyodor Mikhailovich . (1821-81), Russian novelist, the psychological perception of whose works has greatly influenced the subsequent development of the novel. His best-known works are Crime and Punishment (1866), The Idiot (1868), The Possessed (1871), and The Brothers Karamazov (1879--80)
ในกรณีที่เป็นประสบการณ์ด้านตรงกันข้าม เรื่องราวที่กระตุ้นความหวาดกลัวอย่างทรงพลัง ซึ่งเป็นรูปแบบของเรื่องราวที่ถูกเรียกว่าเรื่องราวสยองขวัญ(horror story) ความตื่นเต้นระทึกใจของความกลัวเป็นจุดมุ่งหมายหลักของความบันเทิงประเภทนี้ และเรื่องราวแนวสยองขวัญนี้ ก็มักจะมีทางเลือกในการนำเสนอระหว่างการสร้างความรู้สึกหวาดหวั่นและความตื่นตระหนกของความรุนแรง
เช่นเดียวกับเรื่องเศร้าเรียกน้ำตา มันไม่สำคัญว่าจะจบอย่างมีความสุขหรือจบด้วยความรู้สึกสลดหดหู่ เรื่องราวสยองขวัญก็สามารถจบได้อย่างมีความสุขหรือด้วยความไม่สบายใจ หรือกระทั่งแม้แต่จบด้วยความตื่นตระหนกในท้ายที่สุด ดังนั้นความไม่แน่นอนคือรูปแบบของมัน และขณะที่เรื่องเศร้าเรียกน้ำตามอบภาพลวงของความรู้สึกเห็นอกเห็นใจที่ละเอียดอ่อนแก่ผู้ชม เรื่องราวที่น่าตื่นกลัวในทางที่ผิดก็สามารถก่อให้เกิดความรู้สึกที่หยาบกระด้าง แรงดึงดูดของความบันเทิงประเภทนี้คือการเพิ่มความตระหนก ความระทึกใจในความรุนแรง และเพิ่มมูลค่าของการปล่อยใจไปกับความปรารถนาสำหรับความตกตื่นและหวาดกลัวอย่างสูง
รูปแบบของเรื่องราวที่กระตุ้นความรู้สึกหวาดกลัว มักจะเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับสิ่งที่น่าสะพรึงกลัวซึ่งมันคุกคาม หรือเป็นการคุกคามจากตัวละครผู้ที่ถูกกำจัดในตอนจบโดยวิธีการที่คล้ายกันหรือเท่าเทียมกับสิ่งที่ตัวละครเหล่านั้นได้ทำออกไป ซึ่งความกลัวจะได้ถูกปลดปล่อยออกไปในเชิงแก้แค้น และผู้ชมจะรู้สึกพึงพอใจที่ได้เห็นถึงสิ่งที่มีแนวโน้มของความถูกต้อง การทำงานในระดับของความรู้สึก แม้ว่าความถูกต้องจะต้องถูกเข้าใจในฐานะสิ่งตรงข้ามอย่างแท้จริงของอาชญากรรม กระทำต่อผู้กระทำผิดด้วยสิ่งหรือการกระทำประเภทที่ตัวละครที่ชั่วร้ายได้ทำลงไปหรือเจตนาที่จะกระทำต่อผู้อื่น
จินตนาการเกี่ยวกับสิ่งชั่วร้ายจะกลายมาเป็นมาตรวัดของความดี หรืออย่างน้อยที่สุดคือการฟื้นฟูความเป็นระเบียบ ความพึงพอใจที่ผู้ชมรู้สึกในการลงโทษด้วยประสบการณ์ของความเจ็บปวด หรือความตายไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าสิ่งบดบังอันบางเบาเหนือความรู้สึกที่ผู้ชมมีเจตนาให้เป็นการลงโทษ สิ่งนี้ถือเป็นรูปแบบของเรื่องราวที่ประสบความสำเร็จในการกระตุ้นความปรารถนาในการทำลายล้าง ซึ่งผู้ชมจะสนุกสนานไปกับการได้รู้สึกควบคู่ไปกับภาพมายาเกี่ยวกับความชอบธรรมในตัวเอง ที่ผู้ชมจะอยู่เหนือกว่าตัวละครผู้ที่แสดงมันออกมา ผู้เขียนบทซึ่งทำให้เรารู้สึกอย่างที่นิยมกันทั่วไปนี้ โดยแท้จริงแล้ว นับว่าคนเหล่านั้นเป็นภัยคุกคาม
Aristotle ชี้ว่า เรื่องราวสะเทือนอารมณ์(Tragedy) กระตุ้นความรู้สึกสงสารและความกลัวในทางที่เป็นจุดสูงสุดในการทำความสะอาดอารมณ์ความรู้สึกของตัณหา(passion) ซึ่ง Aristotle เรียกมันว่า catharsis (การชำระล้าง-การระบายถ่ายท้อง) ซึ่งเป็นการปลดปล่อยระบายอารมณ์รุนแรงที่อัดอั้นอยู่ภายในจิตใจออกมา
การปลดปล่อยระบายความเศร้าโศก
(Tragic Catharsis)
การปลดปล่อยระบายความรู้สึกหรือ Catharsis อาจจะเป็นเหมือนการล้างบาป. ความหวาดกลัวอาจได้รับการมองว่า
เป็นสิ่งที่มีเงื่อนงำที่กัดกร่อนและเป็นพิษต่อชีวิตด้วยความกังวล มันจะเป็นการดีที่จะชะล้างความรู้สึกนี้ออกไปจากจิตใจ
โดยนำมันออกมาให้เปิดเผยสู่ภายนอก ซึ่งนี่อาจจะเป็นคำอธิบายต่อแรงดึงดูดของภาพยนตร์สยองขวัญได้ว่ามันเป็นการหักเหความกลัวของผู้ชมออกไปสู่บางสิ่งภายนอก
บางสิ่งที่ผิดปกติและไร้สาระเพื่อเป็นการทำให้มันอ่อนแรงลง
ในอีกทางหนึ่ง ความหวาดกลัวอาจจะมีแรงจูงใจที่เป็นความลับ ดังนั้นสิ่งที่ผู้ชมต้องการจะชำระออกไปก็คือ ความปรารถนาสำหรับความตื่นเต้นที่มาพร้อมกับความกลัว ภาพยนตร์สยองขวัญได้จัดเตรียมหนทางที่ปลอดภัย ซึ่งจะทำให้ผู้ชมปล่อยใจไปกับมันและด้วยความพึงพอใจต่อความปรารถนาที่จะได้รู้สึกกลัว และกลับบ้านไปในภายหลังจากที่ได้รับความพึงพอใจแล้ว ซึ่งความปรารถนานั้นได้ถูกชำระด้วยการป้อนความหวาดกลัวให้เป็นที่เสร็จสิ้นแล้ว
วิญญาณของมนุษย์มีหลายส่วนที่ความพึงพอใจในเชิงตรงกันข้าม อาจสามารถถูกรู้สึกได้ในเวลาเดียวกัน ในแง่ของการชำระล้าง
ประการแรก ภาพยนตร์สยองขวัญอาจเป็นตัวยาหนึ่งที่ใช้ในการรักษา การทำงานของมันคือ จะทำให้วิญญาณมีสุขภาพที่ดีขึ้น
ประการที่สอง ในแง่ของการเป็นยารักษา มันก็อาจส่งผลให้เกิดการเสพติดได้ ไม่ว่าคำอธิบายความนิยมในภาพยนตร์สยองขวัญจะกล่าวไว้อย่างไรก็ตาม แต่ดูเหมือนว่าสำหรับผู้ชมภาพยนตร์ที่เป็นผู้ใหญ่ จะนิยมเรื่องราวประเภทเรื่องเศร้าเรียกน้ำตามากกว่า
ความคิดเกี่ยวกับการชำระล้างนี้ ในรูปแบบที่หลากหลายของมันคือ สิ่งที่ผู้ชมมักจะหมายถึงการระบายบางสิ่งบางอย่างออกมาจากจิตใจ เช่น ผู้ชมการแข่งขันฟุตบอลหรือชกมวยในฐานะการระบายแรงกระตุ้นของความรุนแรงออกมา นี่คือเป้าประสงค์หลักในเชิงปฏิบัติ ซึ่งศิลปะของการเล่าเรื่องรับใช้และตอบสนอง และมันไม่ได้มีการเชื่อมโยงที่เฉพาะเจาะจงกับ"ความงามหรือความเป็นจริง" ซึ่งเป็นการดีในการถ่ายระบายออกในลักษณะนี้. เรื่องราวสยองขวัญไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องที่ดี และไม่มีประโยชน์ที่จะกระตุ้นหรือโน้มน้าวความรู้สึกผู้ชมในตอนจบกับสิ่งที่เป็นความปิติยินดี หรือการพยายามมองว่า ภาพยนตร์สยองขวัญเป็นเรื่องราวแบบโศกนาฏกรรม
คำว่า Catharsis ในภาษากรีก สามารถมีความหมายโยงไปถึงการชำระล้างให้บริสุทธิ์ และการระบายถ่ายท้อง สามารถหมายถึงการขจัดบางสิ่งออกไป ซึ่งในความหมายของ Aristotle การถ่ายระบายหรือ Catharsis อาจสามารถหมายถึง การขจัดส่วนที่แย่หรือต่ำช้ากว่าออกไป ซึ่งเรื่องราวสะเทือนอารมณ์สามารถชำระล้างความรู้สึกในตัวมันเองเช่นความหวาดกลัวและความสงสารได้ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในมนุษย์อย่างดิบหยาบ เชื่อมติดกับวัตถุประสงค์ประเภทอื่นๆ ทั้งหมด ซึ่งกวีอาจสามารถสั่งสอนความรู้สึกอ่อนไหวของมนุษย์ได้ด้วยการเพิ่มพลังและสร้างความรู้สึกเปลี่ยนแปลง โดยการกลั่นกรองร้อยเรียงมัน และเชื่อมโยงมันเข้ากับวัตถุประสงค์ที่สามารถสังเกตเห็นได้อย่างง่ายดายกว่า
ในเรื่องราวสะเทือนอารมณ์ การจบอย่างมีความสุขอาจไม่สามารถทำให้ผู้ชมมีความสุขได้ ในตอนจบของเรื่องราวในฉากมักจะกลาดเกลื่อนไปด้วยร่างหลายร่างและนั่นจะเป็นการทำให้ผู้ชมรู้สึกสะอาด ผู้ชมจะรู้สึกยินดีในการลดลงของพลัง Aristotle ได้ใช้คำว่า Catharsis ในทางที่ไม่ได้อ้างอิงถึงวิธีการของการชำระล้างหรือการชำระบาปอย่างแท้จริง หากแต่เป็นการอุปมาอุปไมยสำหรับลักษณะเฉพาะของความรู้สึกยินดีในความสะเทือนอารมณ์ ซึ่งเป็นอารมณ์ความรู้สึกของการถูกซักล้างหรือการถูกทำให้สะอาด
ความหวาดกลัวในความโศกสลด
(Tragic Fear)
เส้นแบ่งทุกเส้นย่อมมีสองด้าน จินตภาพภาพของมนุษย์ก็มีด้านที่ถูกวาดขึ้นจากภายนอกด้วยเช่นกัน
ซึ่งมันเป็นด้านของสิ่งที่คุกคามต่อภาพนั่นเอง มันได้แสดงให้เห็นตลอดความรู้สึกของความหวาดกลัว
โดย Aristotle ได้กล่าวไว้ในหนังสือ Rhetoric ว่า "สิ่งที่เรารู้สึกสงสารในผู้อื่น,
คือเรากลัวสำหรับตัวเราเอง" ในการขึ้นสู่ความกลัวว่า Oedipus จะรู้ความจริงเกี่ยวกับตนเอง
ผู้อ่านจะรู้สึกว่าตนเองถูกคุกคาม ความกลัวนี้โดยแท้จริงแล้วเช่นเดียวกับความรู้สึกสงสาร
และอาจมีมาก่อนหรือเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เราคืออะไรและอะไรคือสิ่งที่เราไม่ประสงค์จะประสบและสูญเสีย
มันไม่สมเหตุสมผลที่จะกล่าวว่าความกระหายความจริงของ Oedipus เป็นข้อบกพร่อง
ในเมื่อนั่นเป็นสิ่งที่ดีมากที่ทำให้เรารู้สึกกลัวในพฤติกรรมของเขา เรื่องราวอันน่าโศกสลด(Tragedy)
เกี่ยวข้องกับความเป็นศูนย์กลางและคุณลักษณะที่จำเป็นของมนุษย์ ซึ่งเปิดเผยต่อเราโดยความรู้สึกสงสารที่วาดภาพให้เราไปสู่สิ่งเหล่านั้น
และความหวาดกลัว ทำให้เราถอยหนีออกมาจากสิ่งเหล่านั้น
เพราะความระทมทุกข์ของบุคคลที่น่าเศร้าโศก ได้แสดงให้เห็นถึงขอบเขตของสิ่งที่เป็นมนุษย์ เรื่องราวสะเทือนอารมณ์ทุกเรื่องได้นำเสนอความรู้สึกที่เป็นสากล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวของ Oedipus หรือ King Lear (*) ในทางใดทางหนึ่ง ล้วนแต่เป็นเรื่องของมนุษย์ธรรมดาเช่นทุกๆ คน หากแต่เพียงการกล่าวถึงชื่อเหล่านี้ ทำให้มันเป็นที่สังเกตได้ว่าตัวละครเหล่านั้นไม่ได้เป็นบุคคลทั่วไป แต่ทั้งหมดเป็นตัวละครที่จำเพาะเจาะจง และถ้าเราไม่ได้รู้สึกว่าตัวละครเหล่านั้นเป็นบุคคลที่แท้จริง พวกเขาก็จะไม่มีพลังพอที่จะกระตุ้นความรู้สึกของเราได้. โดยการมีลักษณะเฉพาะของตัวละครที่พวกเขาได้สร้างร่องรอยขึ้นมาในเรา แม้ว่าเราได้เผชิญหน้ากับตัวละครเหล่านั้นที่มีลักษณะเฉพาะ แต่มันก็เพียงผ่านลักษณะที่จำเพาะของความรู้สึกของเราเท่านั้น ซึ่งได้พันธนาการเรากับตัวละครเหล่านั้นที่ปรากฏออกมาในคราบของมนุษย์
(*)King Lear is a brutal
play, filled with human cruelty and awful, seemingly meaningless disasters.
The play's succession of terrible events raises an obvious question for the
characters-namely, whether there is any possibility of justice in the world,
or whether the world is fundamentally indifferent or even hostile to humankind.
Various characters offer their opinions: "As flies to wanton boys are
we to the gods; / They kill us for their sport," Gloucester muses, realizing
it foolish for humankind to assume that the natural world works in parallel
with socially or morally convenient notions of justice (IV.i.37-38). Edgar,
on the other hand, insists that "the gods are just," believing that
individuals get what they deserve (V.iii.169). But, in the end, we are left
with only a terrifying uncertainty-although the wicked die, the good die along
with them, culminating in the awful image of Lear cradling Cordelia's body
in his arms. There is goodness in the world of the play, but there is also
madness and death, and it is difficult to tell which triumphs in the end.
สิ่งที่เราใส่ใจและชื่นชม ทำให้เราสงสารและกลัวเพื่อสิ่งเหล่านั้น และด้วยวิธีนี้ผลที่ตรงข้ามก็เกิดขึ้นด้วย ความรู้สึกของเราในความสงสารและความกลัวทำให้เราระลึกถึงสิ่งที่เราใส่ใจและชื่นชม เมื่อบุคคลที่เป็นผู้เร้าอารมณ์ได้ถูกทำลายลง มันก็เป็นส่วนหนึ่งของตัวเราที่ได้สูญเสียไปด้วย ขณะเดียวกันเราไม่เคยรู้สึกสิ้นหวังในตอนจบของเรื่องราวสะเทือนอารมณ์ เพราะสิ่งที่เราสูญเสียนั้น ก็ได้ถูกพบในความหมายเดียวกันอย่างแท้จริง มันไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรนักที่เราจะเรียนรู้คุณค่าของบางสิ่งโดยการสูญเสียมันไป สิ่งที่น่าประหลาดใจก็คือสิ่งที่ผู้ประพันธ์สามารถบรรลุผลได้โดยการใช้ประสบการณ์ธรรมดา โดยยกระดับประสบการณ์ไปสู่สถานะอันน่ามหัศจรรย์
สำหรับภาพยนตร์สยองขวัญ เมื่อมองผ่านแนวคิดเกี่ยวกับการระบายอารมณ์สะเทือนใจ(catharsis)แล้ว มุมมองของผู้ชมภาพยนตร์สยองขวัญจะถูกกำหนดให้ตกอยู่ในฐานะของเหยื่อ และถูกกระตุ้นเร้าให้เกิดอารมณ์หวาดกลัวไปตามชะตากรรมที่เกิดขึ้นกับตัวละคร ในขณะที่กำลังเผชิญหน้ากับการคุกคามของนักฆ่าหรืออสูรกาย ผลที่ผู้ชมภาพยนตร์สยองขวัญจะพึงได้รับจากการถูกกระตุ้นนี้คือ การที่ผู้ชมรู้สึกตื่นตระหนกและหวาดกลัวอย่างรุนแรง เพื่อที่ความหวาดกลัวในระดับสูงอันเป็นผลจากการกระตุ้นปลุกเร้าของการชมภาพยนตร์สยองขวัญนี้ จะได้รับการชำระล้างดังกล่าว และผู้ชมภาพยนตร์ก็จะสามารถรู้สึกปลอดโปร่งโล่งใจ เนื่องจากความวิตกกังวลและอารมณ์อันไม่บริสุทธิ์ได้ถูกชำระล้างออกไปจากจิตใจจนหมดสิ้นนั่นเอง
แนวคิดของ Sigmund Freud เรื่อง The Uncanny
คำว่า "uncanny" ถูกนิยามในทางจิตวิทยาครั้งแรกโดย Ernst Jentsch นักจิตวิทยาชาวเยอรมัน ในบทความชื่อ "On the Psychology of the Uncanny." และต่อมา Sigmund Freud ได้นำแนวคิดนี้มาขยายความในบทความเรื่อง "The Uncanny"
Jentsch ได้ให้ความหมายของ "uncanny" ไว้ว่า "เป็นความรู้สึกสงสัยว่าสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏนั้นมีชีวิตอยู่จริงหรือไม่; หรือในทางกลับกัน, วัตถุไร้ชีวิตนั้นที่จริงแล้วอาจจะมีชีวิต" ("doubts whether an apparently animate being is really alive; or conversely, whether a lifeless object might be, in fact, animate") ซึ่งความรู้สึกนี้จะสร้างความรู้สึกไม่มั่นคงต่อความคิดที่เป็นเหตุเป็นผลและสร้างความสับสนต่อธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ
Sigmund Freud มีความเห็นว่า ประเด็นเรื่องของ "uncanny" นั้น นอกจากจะเป็นปรากฏการณ์ที่สามารถสังเกตเห็นได้จากขอบเขตของกระบวนการบำบัดทางจิต มันยังมีมิติทางด้านสุนทรีย์และวัฒนธรรมอีกด้วย กล่าวคือ Freud ได้ใช้คำว่า "uncanny" ในสองความหมาย
- ความหมายแรก "uncanny" หมายถึง ความรู้สึกพิศวง ความน่าหวาดกลัว
- ความหมายที่สอง "uncanny" หมายถึง สิ่งที่เป็นสาเหตุกระตุ้นเร้าให้เกิดความรู้สึกพิศวง ความรู้สึกหวาดกลัวขึ้นในจิตใจของบุคคล
โดยในทั้งสองความหมายนี้ ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับลักษณะของอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในตัวบุคคลโดยการกระตุ้นเร้าจากปัจจัยภายนอก ซึ่ง Freud ได้กล่าวไว้ในบทความของเขาว่า "ไม่บ่อยครั้งนักที่จิตวิเคราะห์จะสนใจศึกษาประเด็นทางสุนทรียศาสตร์ แม้แต่เมื่อสุนทรียศาสตร์จะถูกเข้าใจไม่เพียงแค่ในความหมายของ ทฤษฏีเกี่ยวกับความงาม หากแต่ยังเป็นทฤษฏีของคุณลักษณะของความรู้สึกอีกด้วย
สุนทรียศาสตร์เป็นการศึกษาชีวิตด้านในจิตใจ โดยวิธีอื่นที่แตกต่างไปจากจิตวิเคราะห์ และได้ศึกษาเกี่ยวกับกับแรงกระตุ้นทางอารมณ์แต่เพียงเล็กน้อย หากแต่เป็นการไตร่ตรองในวัตถุประสงค์ของแรงกระตุ้นเหล่านั้นและให้ความสำคัญกับวัตถุอันเป็นสาเหตุปัจจัยของแรงกระตุ้นไปพร้อมกัน ซึ่งโดยปกติแล้ว เป็นการศึกษาวัตถุสำหรับแง่มุมทางสุนทรียภาพ
แต่ในบางครั้งก็ปรากฏว่า การศึกษาทางด้านสุนทรียศาสตร์มีความสนใจในอาณาเขตเฉพาะของประเด็นหนึ่งๆ และอาณาเขตนี้ โดยทั่วไปได้รับการพิสูจน์แล้วว่า เป็นประเด็นที่เก่าแก่มากประเด็นหนึ่ง และเป็นเรื่องที่ถูกละเลยมาโดยตลอดในหมู่ผู้เชี่ยวชาญงานวรรณกรรมทางสุนทรียศาสตร์. ประเด็นของ "uncanny" คืออาณาเขตหนึ่งของประเด็นที่ถูกละเลยนี้ ไม่ต้องสงสัยเลยว่ามันเกี่ยวข้องกับสิ่งที่น่าตื่นตระหนก สิ่งที่กระตุ้นเร้าความกลัวและความสยดสยอง แน่นอนว่าคำนี้ไม่ได้ถูกใช้ในความหมายที่เข้าใจได้ชัดเจนเสมอไป ดังนั้น มันจึงมีแนวโน้มที่จะหมายถึงสิ่งที่กระตุ้นความหวาดกลัวโดยทั่วๆ ไป "
เนื่องจากคำว่า "uncanny" มีความหมายที่ค่อนข้างคลุมเครือและถูกใช้ในความหมายที่แตกต่างกันออกไปอย่างหลากหลาย ในบทความเรื่อง "The Uncanny" Freud จึงได้พยายามศึกษาหาลักษณะของการใช้คำดังกล่าวนี้ในความหมายต่างๆ กัน และโดยการเปรียบเทียบความหมายที่มีอยู่ในภาษาต่างๆ เพื่อค้นหาขอบเขตของความหมาย เช่น
- ในภาษาอังกฤษ (จากพจนานุกรมของ Lucas, Bellows, Flumlgel and Muret-Sanders) คำว่า "uncanny" มีความหมายว่า, ความอึดอัดไม่สบาย, ไม่สบายใจ, ความมืดมน, เศร้าโศก, ชวนให้สลดหอหู่, น่ากลัว, ซีดเหมือนผี, (บ้าน)ที่ถูกสิงสู่, (คน)ที่น่ารังเกียจ, น่าขยะแขยง (English: (from the dictionaries of Lucas, Bellows, Flumlgel and Muret-Sanders). Uncomfortable, uneasy, gloomy, dismal, uncanny, ghastly; (of a house) haunted; (of a man) a repulsive fellow.)
- ในภาษาฝรั่งเศส คำว่า "uncanny" มีความหมายว่า, ความกังวล, ก่อให้เกิดความกังวลใจ, การรบกวน, ทำให้ไม่สงบ (French: (Sachs-Villatte). Uncanny = troublant ; Inquietant, worrying; to cause anxiety, disturbing) มืดมน, สิ้นหวัง, ดูมืดมนเศร้าโศก, อุบาทว์, น่ากลัว, น่าขนลุก, น่าขยะแขยง, ความหายนะ, ความร้ายแรง,(sinistre, adj gloomy; to look gloomy, sinister, gruesome, disaster; claim; to bring a disaster under control) เศร้าสลด, หดหู่, ทำให้จิตใจแห้งเหี่ยว, ไม่เบิกบาน (lugubre, adj lugubrious; gloomy; dismal) ชั่วร้าย, อันตราย, การทำอันตราย (mal ? son aise. evil, harm; to harm)
- ในภาษาเสปน "uncanny" มีความหมายว่า, ไม่ชอบมาพากล, อัปมงคล, ลางร้าย, โศกเศร้า, ชั่วร้าย, หายนะ(Spanish: (Tollhausen, 1889). Sospechoso, de mal aguero, lugubre, siniestro. = suspicious, ill-omened, lugubrious, evil, disaster)
- ในภาษาอารบิคและฮิบรู "uncanny" มีความหมายเหมือนกันกับ ปิศาจ และ น่ากลัว, น่าขยะแขยง, น่าสะอิดสะเอียน, น่ารังเกียจ. (In Arabic and Hebrew 'uncanny' means the same as 'daemonic', 'gruesome' )
- ในภาษาเยอรมัน. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในศึกษาขอบเขตความหมายของคำว่า "uncanny" โดยอ้างอิงมาจากคำว่า "unheimlich" ในภาษาเยอรมัน ซึ่ง Freud ได้ศึกษาและแสดงให้เห็นถึงที่มาของความหมายของคำนี้ โดยการทำความเข้าใจความหมายของคำในด้านตรงข้ามของมัน จากคำว่า "heimlich" ในภาษาเยอรมันคำว่า 'unheimlich' มีความหมายตรงข้ามกับคำว่า 'heimlich' ['homely'], 'heimisch' ['native'] ซึ่งหมายถึงตรงข้ามกับสิ่งที่คุ้นเคย, และเราถูกกระตุ้นจากสิ่งที่มีลักษณะ 'uncanny' อย่างน่าสะพรึงกลัว เพราะมันไม่ได้เป็นที่รู้จักและคุ้นเคย
คำว่า "heimlich"
มีความหมายเกี่ยวกับบ้าน
คำว่า "heimlich"
มีความหมายเกี่ยวกับบ้าน, เป็นของบ้าน, ไม่แปลก, คุ้นเคย, เชื่อง, ใกล้ชิด, เป็นมิตร(Heimlich,
adj., subst. Heimlichkeit (pl. Heimlichkeiten): heimelich, heimelig, belonging
to the house, not strange, familiar, tame, intimate, friendly, etc.) เกี่ยวกับบ้านหรือเกี่ยวกับครอบครัว,
หรืออาจให้ความหมายได้ว่า การดำรงอยู่อย่างยาวนาน ((a) (Obsolete) belonging
to the house or the family, or regarded as so belonging)
หรือในอีกความหมายหนึ่ง "heimlich" ถูกใช้สำหรับสัตว์หมายถึงเชื่อง, สำหรับคนหมายถึงเป็นคนที่น่าคบ ตรงข้ามกับความดุร้าย โมโหร้าย, บ้า, คลั่ง ((b) Of animals: tame, companionable to man. As opposed to wild.) ตัวอย่างเช่น สัตว์ต่างๆ ที่ไม่ดุร้ายหรือเชื่อง, สัตว์ป่าที่ถูกฝึกให้เชื่องแล้วและคุ้นกับมนุษย์ 'Wild animals that are trained to be heimlich and accustomed to men.' ... ถ้าสัตว์เล็กๆ เหล่านี้ถูกนำมาอยู่ท่ามกลางมนุษย์ตั้งแต่วันแรกๆ พวกมันจะเชื่องอย่างเป็นมิตรเลยทีเดียว these young creatures are brought up from early days among men they become quite heimlich, friendly'
หรือในอีกความหมาย "heimlich" หมายถึง, อย่างใกล้ชิด, ความสุขสบาย, ความเป็นมิตร, ความเพลิดเพลินในความสุขอันสงบ (c) Intimate, friendly comfortable; the enjoyment of quiet content ตัวอย่างเช่น การปลุกความรู้สึกเกี่ยวกับผลลัพธ์ที่น่าเพลิดเพลินเป็นที่น่าพอใจและปลอดภัย เช่น ความปลอดภัยจากกำแพงทั้งสี่ด้านของบ้าน (arousing a sense of agreeable restfulness and security as in one within the four walls of his house.) ประเทศของคุณยังคงสงบสุขอยู่อีกหรือ ในเมื่อคนแปลกหน้ากำลังทำลายป่าไม้ของคุณ? (Is it still heimlich to you in your country where strangers are felling your woods?') ตามเส้นทางสูงขึ้นไปที่สงบเงียบ, ร่มเย็น ข้างๆ ลำธารมีเสียงน้ำไหลอยู่ในลำห้วยกลางป่า... ('Along a high, heimlich, shady path , beside a purling, gushing and babbling woodland brook.')
ในความหมายอันหลากหลายของคำว่า "hiemlich" คำนี้ยังถูกใช้ในความหมายของ "การถูกปกปิด, เก็บไว้จากการมองเห็น, อย่างที่ไม่มีใครรู้เกี่ยวกับมัน, กีดกันจากสิ่งอื่น" (Concealed, kept from sight, so that others do not get to know of or about it, withheld from others.) อีกด้วย ในความหมายนี้มีตัวอย่างเช่น ซ่อนอยู่ข้างหลังคนบางคน behind someone's back , การหยิบฉวยไปให้พ้นจากการมองเห็น (to steal away Heimlich), การนัดหมายและพบปะกันอย่างลับๆ (heimlich meetings and appointments), การมองดูด้วยความพึงพอใจอย่างเงียบๆ ในความผิดหวังของผู้อื่น (to look on with heimlich pleasure at someone's discomfiture), การแอบมองหรือแอบร้องไห้ (to sigh or weep Heimlich), ศิลปะลับ 'The heimlich art' (magic).
ที่ซึ่งการเปิดเผยต่อสาธารณะต้องยุติลง, ที่นั่นผู้สมคบคิดและเสียงร่ำไห้จากสงครามดังลั่นเกี่ยวกับการปฏิวัติของเหล่าคอมมิวนิสต์ (Where public ventilation has to stop, there heimlich conspirators and the loud battle-cry of professed revolutionaries.) ...ถ้าเขาไม่ยอมให้มันเปิดเผยออกมาอย่างถูกต้อง เขาอาจจะแอบครอบงำมันอย่างลับๆ และเป็นไปอย่างไม่ถูกทำนองคลองธรรม... (If he is not given it openly and scrupulously he may seize it heimlich and unscrupulously.)
จากขอบเขตความหมายข้างต้น การใส่ "un-" ไว้ข้างหน้า Freud ถือว่าเป็นการเน้นความหมายในแง่นี้ของคำว่า 'heimlich' ให้มีความหมายที่เฉพาะเจาะจงและชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้คำว่า "unheimlich" มีความหมายโดยทั่วไปว่า, ประหลาด, น่าขนลุก, ปลุกเร้าความกลัวที่น่าขนพองสยองเกล้า หรือความน่าขยะแขยง (eerie, weird, arousing gruesome fear) ตัวอย่างเช่น ดูช่างเงียบอย่างน่าขนลุกและราวกับภูติผีปีศาจสำหรับเขา ('Seeming quite unheimlich and ghostly to him.') ชั่วโมงอันเต็มไปด้วยความน่ากลัวอย่างชวนให้ขนลุกของค่ำคืน ('The unheimlich, fearful hours of night.'). เงียบงันและปราศจากการเคลื่อนไหวดังภาพของก้อนหิน 'Unheimlich and motionless like a stone image.'
ตัวอย่างเหล่านี้คือระดับของความหมายที่แตกต่างกันของคำว่า 'heimlich' ที่มีความหมายในแง่มุมหนึ่งซึ่งระบุได้ว่า เป็นความหมายที่สอดคล้องกับด้านตรงข้ามของมันนั่นคือ 'unheirnlich' สิ่งที่ดูคุ้นเคย, เป็นที่รู้จัก, ปลอดภัย, สะดวกสบาย กลายมาเป็นความหมายของความแปลกประหลาด, ลึกลับ, น่ากลัว, เป็นอันตราย โดยทั่วไปคำว่า 'heimlich' มีความหมายที่คลุมเครือ แต่ก็โดยจัดเป็นความคิดอยู่สองชุด ในทางหนึ่งมันหมายถึงสิ่งที่คุ้นเคยและเป็นที่พอใจ และในอีกด้านหนึ่ง เป็นสิ่งที่ถูกปกปิดซ่อนเร้นไปจากสายตา
ซึ่ง Freud ได้อ้างนิยามที่นักปรัชญาชาวเยอรมัน Friedrich Willhelm Joseph Schelling ได้ให้ความหมายแก่คำว่า 'unheimlich' ว่าหมายถึง สิ่งที่ควรจะยังคงเป็นความลับหากแต่ได้ปรากฏสู่แสงสว่าง (everything is unheimlich that ought to have remained secret and hidden but has come to light.) ดังนั้น 'heimlich' จึงมีความหมายที่เป็นไปอย่างกำกวม กระทั่งมันพ้องกับด้านตรงข้ามของมันคือคำว่า 'unheimlich' ในที่นี้ Freud ได้ถือคำว่า 'unheimlich' เป็นความหมายย่อยอีกความหมายหนึ่งของคำว่า 'heimlich' ซึ่งเขาได้อธิบายถึงความเชื่อมโยงของความหมายที่กลับด้านกันนี้ ซึ่งจากแนวคิดของ Jentsch ที่อธิบายความรู้สึกแบบ 'uncanny' ว่าเป็นภาวะที่ความคิดแบบเป็นเหตุผลได้รับการสั่นคลอน, ทำให้ไม่มั่นคงในการใช้ปัญญา.
Uncanny: ความตื่นกลัวในสิ่งที่รู้จักคุ้นเคยแต่เก่าก่อน
Freud มีความเห็นว่า คำอธิบายนี้ของ Jentsch ไม่ได้เข้าถึงเบื้องหลังของความสัมพันธ์ในด้านความหมายของ
'uncanny' อย่างที่เขาได้สืบค้นจากขอบเขตความหมายของคำดังกล่าว ซึ่งเขาเสนอว่า
'uncanny' เป็นระดับของความตื่นกลัวชนิดที่นำกลับไปสู่สิ่งที่เป็นที่รู้จัก และเป็นความคุ้นเคยที่เก่าแก่ยาวนาน
ในการศึกษาเรื่อง 'uncanny' Freud เสนอว่า เราควรพิจารณาสิ่งต่างๆ, บุคคล, ความประทับใจ, เหตุการณ์และสถานการณ์แบบใดที่สามารถทำให้เกิดความรู้สึก 'uncanny' ขึ้นในเราได้ Jentsch ได้ยกตัวอย่างที่ดีเอาไว้ว่า เป็นความรู้สึกสงสัยว่าสิ่งมีชีวิตที่ปรากฏนั้นมีชีวิตอยู่จริงหรือไม่; หรือในทางกลับกัน, วัตถุไร้ชีวิตนั้นที่จริงแล้วอาจจะมีชีวิต" ("doubts whether an apparently animate being is really alive; or conversely, whether a lifeless object might be, in fact, animate") โดยเขาได้กล่าวถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับร่างของหุ่นขี้ผึ้ง, ตุ๊กตาที่ถูกสร้างขึ้นและเครื่องจักรกล มันเป็นการปรากฏขึ้นของความวิกลจริต เพราะสิ่งที่น่าตื่นเต้นเหล่านี้ สร้างความประทับใจในกลไกของมันขึ้นต่อผู้ที่จ้องมอง มันเป็นกลไกที่ทำงานอยู่เบื้องหลังการปรากฏทั่วไปของกิจกรรมภายในจิต ซึ่ง Jentsch ได้ใช้นวนิยายของ E. T. A. Hoffmann เรื่อง Der Sandmann ซึ่งเป็นเรื่องสั้นเรื่องแรกในหนังสือ Nachtstucken (ตีพิมพ์ในปี 1817) เป็นตัวอย่างของการกระตุ้นเร้าความรู้สึกแบบ 'uncanny'
นวนิยายเรื่อง Der Sandmann ของ Hoffman มีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับนักศึกษาหนุ่มชื่อนาธาเนียล ผู้ซึ่งมีความทรงจำในวัยเด็กฝังใจอยู่กับความตายอันลึกลับ และน่าสยดสยองของพ่อผู้เป็นที่รัก ในคืนหนึ่งเมื่อแม่ของเขาพาเขาเข้านอน เธอได้เตือนเขาว่ามนุษย์ทรายกำลังจะมา จากนั้นนาธาเนียลก็ได้ยินเสียงฝีเท้าของผู้มาเยือน และเสียงพูดคุยระหว่างพ่อของเขากับผู้มาเยือนคนนั้น พี่เลี้ยงของเขาได้เล่าเสริมว่า มนุษย์ทรายนั้นชั่วร้ายและจะมาเมื่อเด็กๆ ไม่ยอมเข้านอน เพื่อจะขว้างทรายเต็มกำมือใส่ดวงตาของเด็กเหล่านั้น และจะทำให้ดวงตาของเด็กๆ ทะลักออกมาและมีเลือดออกเต็มใบหน้า จากนั้นแซนด์แมนก็จะเอาดวงตาของเด็กๆ เก็บใส่กระเป๋า เพื่อนำไปเป็นอาหารให้แก่ลูกๆ ของมันที่อยู่บนเสี้ยวดวงจันทร์ พวกมันทั้งหมดมีจงอยปากเหมือนนกฮูกที่จะใช้จิกดวงตาของทั้งเด็กชายและเด็กหญิงที่เกเร
แม้ว่านาธาเนียลในวัยเด็กจะอายุมากพอและมีเหตุผลที่จะไม่เชื่อในเรื่องราวของมนุษย์ทราย กับลักษณะที่น่ากลัวของมัน แต่ทว่าความกลัวของเขาก็ได้ถูกตราลงในหัวใจ เขาตัดสินใจที่จะค้นหาว่ามนุษย์ทรายมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร และแล้วในคืนหนึ่ง เมื่อมนุษย์ทรายกลับมาอีกครั้ง นาธาเนียลเข้าไปซ่อนอยู่ในห้องเขียนหนังสือของพ่อของเขา เขาจำได้ว่าผู้มาเยือนคือนักกฎหมายชื่อคอปเปเลียส บุคคลซึ่งเด็กๆ หวาดกลัวเมื่อเขามาในเวลาอาหาร และนาธาเนียลได้ถือเอาว่าคอปเปเลียสเป็นมนุษย์ทรายที่น่ากลัว โดยพิจารณาจากฉากที่เหลือ Hoffman ได้ปล่อยให้เราสงสัยว่า สิ่งที่เรากำลังเป็นประจักษ์พยานอยู่นี้เป็นเพียงอาการฝันเพ้อของเด็กชายที่เจ็บป่วย หรือเป็นความต่อเนื่องของเหตุการณ์ชนิดที่อาจพิจารณาว่าเป็นจริงตามเนื้อเรื่อง พ่อของเขาและแขกผู้มาเยือนทำงานในเตาถ่านที่มีไฟลุกโชน นาธาเนียลได้ลอบฟังและได้ยินเสียงคอปเปเลียสร้องออกมาว่า 'Eyes here! Eyes here!' และร้องคำรามออกมาดังๆ คอปเปเลียสจับเขาไว้ได้และทำท่าจะนำถ่านไฟที่ร้อนแดงปล่อยลงที่ดวงตาของนาธาเนียล แต่พ่อของเขาได้ร้องขอคอปเปเลียสและช่วยนาธาเนียลไว้ จากนั้นเด็กชายก็สลบไป และความป่วยไข้อันยาวนานนำประสบการณ์ของเขาไปสู่ตอนจบ
ผู้ที่ตีความอย่างเป็นเหตุเป็นผล จะไม่คิดว่าเด็กชายจินตนาการไปตามคำบอกเล่าของพี่เลี้ยง ทรายที่ถูกขว้างใส่ตาเด็กได้กลายมาเป็นถ่านไฟร้อนแดงจากกองไฟ และทั้งสองกรณีนั้น มีเจตนาในการทำให้ดวงตาหลุดออกมาจากเบ้าตา ในการมาเยือนอื่นๆ ของมนุษย์ทรายในไม่กี่ปีหลังจากนั้น พ่อของเขาได้ถูกฆ่าในห้องเขียนหนังสือด้วยการระเบิด และนักกฏหมายคอปเปเลียสได้หายตัวไปโดยปราศจากร่องรอย
นาธาเนียลซึ่งบัดนี้ได้กลายมาเป็นเป็นนักศึกษา เชื่อว่าเขาจำเรื่องราวเกี่ยวกับผีร้ายที่น่าสยดสยองในวัยเด็กได้ จากการได้เห็นช่างทำแว่นตาเร่ร่อนชาวอิตาเลียนชื่อว่ากุยเซปเป คอปโปลา ผู้ซึ่งอยู่ในมหาวิทยาลัยของเขา ช่างทำแว่นตาเสนอขายแว่นตากันลมให้กับเขา เมื่อนาธาเนียลปฏิเสธชายคนนั้นก็ร้องว่า : 'Not weather-glasses? not weather-glasses? also got fine eyes, fine eyes!'(ไม่เอาแว่นกันลมรึ, มันทำให้สบายตาด้วยนะ) นาธาเนียลคลายความตื่นตระหนกลง เมื่อพบว่าแว่นตาที่ถูกเสนอให้แก่เขา เป็นแว่นตาที่ปราศจากอันตราย และเขาได้ซื้อกล้องส่องทางไกลแบบพกพามาจากคอปโปลา เขาใช้มันมองข้ามไปยังบ้านของโปรเฟสเซอร์ซพาลานซานี และเขาก็ได้เห็นโอลิมเปียบุตรสาวคนสวยที่นิ่งเงียบอย่างแปลกประหลาดของซพาลานซานี เขาตกหลุมรักเธอทันที โดยเขาแทบจะลืมเด็กสาวผู้เฉลียวฉลาดที่เป็นคู่หมั้นของเขาไปเลยทีเดียว หากแต่ว่าโอลิมเปียนั้นเป็นเครื่องจักรที่ทำงานด้วยกลไกของนาฬิกาที่ซพาลานซานีสร้างขึ้น และดวงตาของเธอก็ถูกนำมาใส่ไว้โดยคอปโปลา
นาธาเนียลรู้สึกประหลาดใจในความไม่ลงรอยกันของทั้งสองคนในงานฝีมือของพวกเขา ช่างทำแว่นตาได้ชิงเอาตุ๊กตาไม้ที่ไร้ตาออกไป และซพาลานซานีช่างจักรกล ก็หยิบเอาดวงตาหลั่งเลือดของโอลิมเปียขึ้นมาจากพื้น และขว้างมันใส่นาธาเนียล และกล่าวว่าคอปโปลา ได้ขโมยมันมาจากนักศึกษา นาธาเนียลจำนนต่อการจู่โจมของความบ้าคลั่ง และในอาการเพ้อของเขา ความทรงจำเกี่ยวกับความตายของพ่อของเขาได้ถูกผสมผสานเข้ากับประสบการณ์ใหม่ เขาร้องว่า 'Hurry up! hurry up! ring of fire!' . 'Spin about, ring of fire - Hurrah! Hurry up, wooden doll! lovely wooden doll, spin about - .' แล้วเขาก็โถมเข้าเค้นคอซพาลานซานี ผู้เป็นบิดาของโอลิมเปีย
การเจ็บป่วยอย่างหนักมานาน นาธาเนียลในท้ายที่สุดเขาก็ระลึกได้ เขาตั้งใจจะแต่งงานกับคู่หมั้นของเขา วันหนึ่งทั้งสองรวมทั้งน้องชายของคู่หมั้นของนาธาเนียลเดินผ่านตลาดในเมือง เหนือขึ้นไปคือหอคอยสูงของศาลาว่าการเมืองทอดเงาลงมา ด้วยคำแนะนำของหญิงสาว พวกเขาปีนขึ้นไปบนหอคอย นาธาเนียลใช้กล้องส่องทางไกลที่ซื้อมาจากคอปโปลา ส่องลงมายังถนนเบื้องล่าง แล้วเขาก็ถูกจู่โจมด้วยความบ้าคลั่งอีกครั้ง เขาร้องตะโกนว่า 'Spin about, wooden doll!' และพยายามจับคู่หมั้นของเขาโยนลงจากบนหอคอย น้องชายของเธอช่วยเธอไว้ได้และรีบพาเธอลงมา ในขณะที่บนหอคอย นาธาเนียลที่กำลังบ้าคลั่งก็ร้องตะโกนว่า 'Ring of fire, spin about!' ซึ่งเรารู้ดีว่ามันมีที่มาจากอะไร ท่ามกลางผู้คนเบื้องล่างคอปเปเลียสก็ปรากฏตัวขึ้นอย่างทันทีทันใด ซึ่งเราอาจเข้าใจได้ว่าเป็นการมองเห็นคอปเปเลียสผ่านกล้องส่องทางไกลเป็นสาเหตุที่ทำให้นาธาเนียลเสียสติไป คอปเปเลียสหัวเราะแล้วพูดว่า 'Wait a bit; he'll come down of himself.' ทันใดนั้นนาธาเนียลก็ร้องว่า 'Yes! "fine eyes - fine eyes"!' แล้วเขาก็กระโดดลงยังถนนปูพื้นด้วยหินเบื้องล่าง กะโหลกของเขาแตกกระจาย แล้วคอปเปเลียสหรือมนุษย์ทรายก็หายตัวไปในฝูงชน
เรื่องราวของมนุษย์ทรายในนวนิยายเรื่อง Der Sandmann นี้ Freud ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของ Jentsch เกี่ยวกับความไม่มั่นคงในเหตุผลที่กล่าวว่า เป็นความไม่มั่นใจว่าวัตถุใดๆ นั้นมีชีวิตหรือไม่ อย่างที่ถูกกำหนดให้กับตุ๊กตาโอลิมเปีย ซึ่งไม่ได้มีบทบาทต่อสิ่งอื่นๆ ในเรื่องมากไปกว่าทำให้เกิดความรู้สึก 'uncanny' อีกทั้งเขาไม่เห็นด้วยนักกับข้อเสนอของ Jentsch ที่กล่าวว่า ความรู้สึกแบบ 'uncanny' มีที่มาจากภาวะอันไม่มั่นคงของความคิดเชิงเหตุผล Freud ชี้ให้เห็นว่า ในนวนิยายของ Hoffman เรื่องนี้ ไม่ว่าผู้อ่านจะเลือกเชื่อว่าคอปเปเลียสคือมนุษย์ทรายจริงหรือไม่ ก็จะไม่ทำให้ความรู้สึกประทับใจแบบ 'uncanny' ลดลงไปแม้แต่น้อย ซึ่งนี่แสดงว่าทฤษฏีความรู้สึกไม่มั่นคงในความคิดเชิงเหตุผลของ Jentsch จึงไม่สามารถอธิบายความรู้สึกที่เกิดขึ้นของผู้อ่านต่อเรื่องราวนั้นได้
การสูญเสียดวงตา เป็นสิ่งที่เลวร้ายที่สุดสำหรับเด็กๆ
ในบทความเรื่อง "The Uncanny" Freud ได้เสนอว่าความรู้สึกแบบ 'uncanny'
ในนิยายเรื่องนี้ ถูกกระตุ้นขึ้นโดยเป็นการตอบสนองที่มีต่อตัวมนุษย์ทรายโดยตรง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในความคิดเรื่องของการฉกชิงดวงตา. จากความรู้ทางจิตวิเคราะห์
ความกลัวการสูญเสียดวงตา หรือการที่ดวงตาเสียหายเป็นสิ่งที่เลวร้ายที่สุดอย่างหนึ่งต่อพวกเด็กๆ
แม้แต่ผู้ใหญ่จำนวนมากก็ยังคงหวั่นกลัวในความคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ และไม่มีการทำอันตรายต่อร่างกายแบบใดจะสร้างความกลัวได้มากไปกว่าการทำร้ายดวงตา
ดังเช่นคำพูดที่เรามักได้ยินอยู่เสมอว่า สิ่งอันเป็นที่รักใดๆ นั้น สำคัญดั่งแก้วตา
(we will treasure a thing as the apple of our eye).
การศึกษาความฝัน, เรื่องราวเพ้อฝัน, และตำนานปรัมปราสอนเราเกี่ยวกับความกังวลที่มีต่อดวงตา ความกลัวที่จะตาบอด บ่อยครั้งก็มากจนเทียบได้กับความกลัวการถูกตอน (for the dread of being castrated) เช่นในกรณีของ Oedipus ที่ตัดสินใจควักดวงตาของตนออกมาเพื่อลงโทษตนเองนั้น ก็เป็นรูปแบบที่ลดทอนลงมาจากการลงโทษด้วยการตอน (a mitigated form of the punishment of castration) ซึ่งเป็นโทษที่สาสมตามหลัก lex talionis (*) หรือกฎหมายของลัทธิตอบสนองที่ใช้หลัก "ตาต่อตา ฟันต่อฟัน" (An eye for an eye, a tooth for a tooth)
(*) The term "lex talionis" does not always and only refer to literal eye-for-an-eye codes of justice (see rather mirror punishment) but applies to the broader class of legal systems that specify formulaic penalties for specific crimes, which are thought to be fitting in their severity. Some propose that this was at least in part intended to prevent excessive punishment at the hands of either an avenging private party or the state. The most common expression of lex talionis is "an eye for an eye", but other interpretations have been given as well. Legal codes following the principle of lex talionis have one thing in common: prescribed 'fitting' counter punishment for an offense. In the famous legal code written by Hammurabi, the principle of exact reciprocity is very clearly used. For example, if a person caused the death of another person's child, the killer's own child would be put to death (Hammurabi's code, 230).
ความกลัวเกี่ยวกับ"การสูญเสียดวงตา"และ"ความกลัวในการถูกตอน"
เราอาจพยายามให้เหตุผลในการปฏิเสธถึงความเกี่ยวโยงระหว่างความกลัวเกี่ยวกับ"การสูญเสียดวงตา"มีที่มาจาก"ความกลัวในการถูกตอน",
และอาจจะเห็นว่ามันเป็นธรรมชาติที่อวัยวะที่มีสำคัญมากอย่างดวงตา ควรจะถูกปกป้องโดยความกลัวตามที่ควรจะเป็น
ซึ่งเราอาจกล่าวต่อไปว่า ความกลัวในการตอนโดยตัวมันเอง ไม่ได้มีความหมายสำคัญและเป็นความลับมากมายไปกว่าความกลัวตามธรรมชาติตามเหตุผลของคำอธิบายแบบนี้
แต่มุมมองดังกล่าวไม่สามารถอธิบายความสัมพันธ์การใช้ทดแทนกันได้ระหว่าง"ดวงตา"กับ"อวัยวะเพศชาย"
อย่างที่สามารถเห็นได้ว่ามีอยู่ในความฝันและตำนานปรัมปรา รวมทั้งเรื่องราวของความฝัน
และอีกทั้งไม่สามารถบรรเทาความรู้สึกที่คุกคามของการถูกตอนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการกระตุ้นความรุนแรงที่มีลักษณะเฉพาะและอารมณ์ที่คลุมเครือ,
และอารมณ์นั้นคือสิ่งแรกที่ให้ความคิดเกี่ยวกับการสูญเสียอวัยวะอื่นๆ ที่มีการเพิ่มเติมเข้าไป
ความสงสัยต่อไปทั้งหมดจะถูกคลี่คลายออกมา เมื่อเราเรียนรู้เกี่ยวกับรายละเอียดของ"ปมในความกลัวการถูกตอน"
(castration complex) จากการวิเคราะห์ผู้ป่วยทางจิต, และเข้าใจถึงความสำคัญของมันที่มีต่อชีวิตทางด้านจิตใจภายใน
Freud ได้ใช้กรณีเรื่องราวของมนุษย์ทราย เป็นตัวอย่างในการแสดงความเกี่ยวข้องกันระหว่าง"ความกังวลต่อดวงตา"กับ"ปมในความกลัวการถูกตอน" โดยชี้ให้เห็นว่าทำไม Hoffmann จึงนำความกังวลต่อดวงตา มาเชื่อมโยงเข้ากับความตายของพ่อ? และทำไม Sand-Man จึงมักปรากฏตัวในฐานะอุปสรรคของความรักเสมอๆ ? มนุษย์ทรายได้พราก นาธาเนียลผู้โชคร้ายออกมาจากคู่หมั้นของเขา และทำลายโอลิมเปียซึ่งเป็นวัตถุแห่งความรักของนาธาเนียล รวมทั้งได้ผลักดันเขาไปสู่การฆ่าตัวตายในชั่วขณะสุดท้ายที่เขากลับไปหาคู่หมั้นอย่างมีความสุข. องค์ประกอบต่างๆ ในเรื่องราวนี้ ดูราวกับปราศจากเหตุผลและไม่มีความหมายใดๆ ตราบเท่าที่เราปฏิเสธความเชื่อมโยงระหว่าง"ความกลัวต่อการสูญเสียดวงตา"และ"ปมในความกลัวการถูกตอน" ซึ่งสิ่งเหล่านั้นจะสามารถเป็นที่เข้าใจได้ทันที เมื่อเราแทนที่มนุษย์ทรายด้วยพ่อผู้น่าเกรงขาม ผู้ซึ่งจะลงโทษเด็กด้วยการตอนอวัยวะเพศ
อาจดูเหมือนเป็นการไร้เหตุผลที่จะเชื่อมโยงความหวาดกลัวต่อการสูญเสียดวงตาเข้ากับปมของความกลัวการถูกตอน ซึ่งโดยความคิดในระดับจิตสำนึก(conscious mind) แล้ว ดวงตาและอวัยวะเพศต่างเป็นอวัยวะคนละส่วนที่ทั้งมีหน้าที่และรูปร่างแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง หากแต่ความเชื่อมโยงนี้อาจสามารถถูกเข้าใจได้จากกลไกการแทนที่(displacement)
การแทนที่(displacement) (*) เป็นกลไกการระบายอารมณ์โกรธ หรือคับข้องใจไปสู่คน หรือสิ่งของ ที่ไม่ได้เป็นต้นเหตุของความคับข้องใจ ในกรณีของนิยายเรื่อง Sand-Man นี้ ความรู้สึกผิดต่อการตายของพ่อทำให้ความกลัวที่จะถูกลงโทษโดยการตอน(castration complex) ในตัวนาธาเนียลถูกกระตุ้น และทำให้กระบวนการทางจิตของเขาแทนที่ภาพของการลงโทษของพ่อ ด้วยการคุกคามของของมนุษย์ทรายผู้ต้องการจะควักดวงตาของเขา
(*) Displacement is the shifting of actions from a desired target to a substitute target when there is some reason why the first target is not permitted or not available. Displacement may involve retaining the action and simply shifting the target of that action. Where this is not feasible, the action itself may also change. Where possible the second target will resemble the original target in some way.
อีกทฤษฎีหนึ่งซึ่งอธิบายเรื่องของดวงตาและอวัยวะเพศก็คือเรื่อง Oedipus complex. Oedipus complex เป็นความรู้สึกของเด็กผู้ชายที่เป็นปฏิปักษ์และมีความคิดต้องการกำจัดพ่อของตนเอง เนื่องจากพ่อเป็นผู้แย่งชิงความรักของแม่ ในทางตรงข้ามเด็กเองก็กลัวพ่อด้วยเช่นกัน เกรงว่าจะแก้แค้นด้วยการตัดอวัยวะเพศ และขณะเดียวกันเด็กก็จะมีความรู้สึกผิดที่มีความคิดดังกล่าวต่อพ่อ. ในบทละครเรื่อง Oedipus Rex (*) กล่าวถึง Oedipus ผู้ฆ่าบิดาและแต่งงานกับมารดาของตนเองโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ต่อเมื่อ Oedipus ได้รู้ความจริงภายหลัง เขาจึงได้ทำลายดวงตาทั้งสองข้างเพื่อเป็นการลงโทษตนเองในความผิดที่ได้สังหารบิดา การลงโทษตนเองของ Oedipus คือการลงโทษด้วยโทษทัณฑ์ที่บิดาจะเป็นผู้กระทำ หากแต่เมื่อบิดาได้ถูก Oedipus สังหารลงไปแล้ว เขาจึงเป็นผู้ลงโทษตนเองด้วยโทษทัณฑ์ของบิดาซึ่งก็คือต้องตัดอวัยวะเพศทิ้งไป
(*)Oedipus the King (Latin: Oedipus Rex) is an Athenian tragedy by Sophocles that was first performed c. 429 BCE.[1] It was the second of Sophocles' three Theban plays to be produced, but it comes first in the internal chronology, followed by Oedipus at Colonus and then Antigone. Over the centuries, it has come to be regarded by many as the Greek tragedy par excellence.
หากแต่ในกรณีของ Oedipus กลไกการแทนที่(displacement) ได้เบี่ยงเบนเป้าหมายของการลงโทษจากความรู้สึกผิดต่อบิดาให้เปลี่ยนแปลงไปสู่ดวงตาแทนอวัยวะเพศ ซึ่งโดยความเป็นเหตุเป็นผลแล้ว ดวงตาและอวัยวะเพศต่างไม่ได้เกี่ยวข้องกัน หากแต่เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญทั้งคู่ มันจึงสามารถตกเป็นเป้าหมายของการแทนที่จากสิ่งหนึ่งไปสู่อีกสิ่งหนึ่งแทนได้
ดังนั้น เราจึงอาจเลือกใช้คำอธิบายที่อ้างอิงถึงความรู้สึกแบบ 'uncanny' ที่มีต่อมนุษย์ทรายว่า มาจากความกังวลในปมของความกลัวการถูกตอน (the castration complex) ในเด็ก แต่สำหรับปัจจัยอื่นๆ เราพบว่าในนวนิยายเรื่อง Der Sandmann ในแนวทางที่ Jentsch ได้เน้นไว้เกี่ยวกับตุ๊กตาที่ดูเหมือนมีชีวิต Jentsch เชื่อว่า เงื่อนไขเฉพาะสำหรับการปลุกความรู้สึก 'uncanny' จะถูกสร้างขึ้น เมื่อเกิดความรู้สึกไม่มั่นคงในการใช้เหตุผล โดยไม่ว่าวัตถุนั้นจะมีชีวิตหรือไม่ก็ตาม และเมื่อวัตถุที่ไม่มีชีวิตกลายมาเป็นสิ่งที่เหมือนมีชีวิตมากจนเกินไป ในจุดนี้ Freud ได้เสนอว่าตุ๊กตาก็เป็นสิ่งที่มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับชีวิตในวัยเด็ก เราอาจจะจำได้ว่าในการเล่นของพวกเด็กๆ นั้น จะไม่มีการแบ่งแยกอย่างชัดเจนระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งที่ไม่มีชีวิต และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะพบได้ว่าเด็กๆ จะเอาใจใส่ตุ๊กตาของตนราวกับคนที่มีชีวิต Freud ได้ยกตัวอย่างคนไข้หญิงคนหนึ่งซึ่งยอมรับว่า ในวัยเด็กเธอคิดว่าเมื่อเธอจ้องมองตุ๊กตาด้วยความตั้งใจอย่างแรงกล้า มันจะทำให้ตุ๊กตาของเธอมีชีวิตขึ้นมาได้
จากจุดนี้เอง Freud สรุปว่า ความรู้สึกแบบ 'uncanny' นั้น เกี่ยวข้องกับปัจจัยที่มาจากประสบการณ์ในวัยเด็ก หากแต่เมื่อคิดว่าเรื่องราวของมนุษย์ทรายเป็นการกระตุ้นเร้าความกลัวในวัยเด็ก เราก็จะพบว่า ความคิดเกี่ยวกับตุ๊กตามีชีวิตกลับไม่ได้เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เกิดความกลัวแม้แต่น้อย เด็กๆ ไม่ได้มีความกลัวที่ตุ๊กตาของตนจะเกิดมีชีวิตขึ้นมา โดยที่จริงแล้วพวกเขาอาจจะต้องการอย่างนั้นด้วยซ้ำไป ดังนั้นแหล่งกำเนิดของความรู้สึกแบบ 'uncanny' จึงไม่ใช่ความกลัวในวัยเด็กในเรื่องตุ๊กตามีชีวิต หากแต่มันเป็นความปรารถนาในวัยเด็กหรือแม้แต่เพียงแค่ความเชื่อในวัยเด็ก ซึ่งมันดูเหมือนเป็นการขัดแย้งกันเองในจุดนี้ ซึ่งเป็นความซับซ้อนที่ต้องขยายความเพิ่มเติม
คำอธิบายของ Freud เกี่ยวกับ"ปรากฏการณ์ตัวแทน-ภาพซ้อน(double)
การแกะรอยย้อนกลับไปสู่ประสบการณ์ในวัยเด็กในนวนิยายจะมีความเชื่อมโยงกับประสบการณ์ของผู้อ่านได้อย่างไร?
Freud ได้อธิบายการเชื่อมโยงนี้ว่า แนวทางเหล่านี้ทั้งหมด เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ตัวแทน-ซ้อนกัน
(double) , อย่างที่ปรากฏในทุกรูปร่างและทุกระดับของการพัฒนาทางบุคลิกภาพ ในกรณีของนวนิยาย
ตัวละครเป็นสิ่งที่ถูกพิจารณาในการบ่งชี้ตัวตนในฐานะตัวแทน-ภาพซ้อน (double)
เพราะตัวละครเหล่านั้นดูมีบางอย่างคล้ายกับเรา ความสัมพันธ์นี้ถูกขับเน้นโดยกระบวนการทางจิตกระโดดจากหนึ่งในตัวละครเหล่านี้ไปสู่ตัวละครอื่นๆ
โดยสิ่งที่เราอาจเรียกว่า'โทรจิต-การถ่ายทอดทางจิต' (telepathy) นั่นเป็นกระบวนการที่บุคคลหนึ่งจะเข้าถึงความรู้,
ความรู้สึก, และประสบการณ์ร่วมกันกับผู้อื่น หรือมันอาจจะถูกเน้นโดยข้อเท็จจริงที่ว่า
บุคคลหนึ่งจะสามารถระบุตัวตนของเขาเข้าเป็นบุคคลอื่น ซึ่งจะทำให้เขาตกอยู่ในความสงสัยว่า
ตัวตนไหนคือสิ่งที่เป็นตัวเขากันแน่, หรือแม้แต่อาจเป็นการแทนที่บุคคลอื่นภายนอกด้วยตัวเขาเอง.
ในอีกนัยหนึ่ง, นั่นคือการเล่นเป็นตัวแทน (doubling) , การแบ่งแยกและสลับที่ของตัวตน
(self)
แนวคิดเรื่องตัวแทน-ภาพซ้อน(double)นี้ ได้ถูกศึกษาโดย Otto Rank (1914) นักจิตวิเคราะห์ชาวออสเตรียน ซึ่งเชื่อมโยงแนวคิดเรื่องการเป็นตัวแทน-ภาพซ้อน (double) เข้ากับการสะท้อน (reflections) ในกระจก , กับเงา, กับวิญญาณคุ้มครอง (guardian spirits) , กับความเชื่อในวิญญาณและความกลัวความตาย ในการพัฒนาแนวคิดที่ชัดเจนในเรื่องของตัวแทน(double). Rank เสนอว่า มันเป็นสิ่งที่มีมาแต่ดั้งเดิมจากการเป็นหลักประกันที่จะใช้ต้านทานต่อการทำลายล้างของอัตตา (ego) เป็นการปฏิเสธการกระตุ้นเร้าจากพลังของสัญชาติญาณแห่งความตาย(thanatos) เขาสันนิษฐานว่า วิญญาณของมนุษย์ตามความเชื่อแต่โบราณน่าจะเป็นตัวแทนแรก-ภาพซ้อนแรก (the first double) ของร่างกาย การสร้างตัวแทนนี้เป็นการต่อต้านหรือหลีกเลี่ยงการระงับแรงขับ เช่นเดียวกับที่ปรากฏตอบโต้อยู่ในภาษาของความฝัน อย่างที่พบในการแสดงออกถึงการตอนอวัยวะเพศ โดยเป็นการใช้ตัวแทนหรือการควบซ้อนของสัญลักษณ์ทางเพศ ความปรารถนาเดียวกันนี้ชักนำให้ชาวอียิปต์โบราณพัฒนาศิลปะของการสร้างภาพของความตายขึ้นมา ความคิดนี้ได้ผุดขึ้นจากความรักตนเอง, จากความรู้สึกหลงตนเองขั้นพื้นฐาน (primary narcissism) อย่างที่ครอบงำจิตใจของเด็กๆ และมนุษย์ในสมัยโบราณ แต่เมื่อสถานะนี้ได้ผ่านพ้นไปแล้ว, ตัวแทน-ภาพซ้อน (double) ได้ย้อนด้านของมันกลับ จากที่เป็นหลักประกันถึงความเป็นอมตะ มันได้กลายเป็นตัวนำมาซึ่งความรู้สึก 'uncanny' ที่มีต่อความตาย
ความคิดเกี่ยวกับตัวแทน-ภาพซ้อนนี้ไม่ได้หายไป พร้อมกับการล่วงพ้นพัฒนาการของความรู้สึกหลงตัวเองในระยะแรก (primary narcissism) มันอาจได้รับความหมายใหม่ภายหลังของการพัฒนาอัตตา (ego) ตัวแทนแบบพิเศษก่อตัวขึ้นอย่างช้าๆ ในส่วนนี้ อย่างที่สามารถที่จะทนทานต่อการต่อต้านจากอัตตา (ego) ส่วนที่เหลือได้, อย่างที่ได้กลายมาเป็นหน้าที่ในการสังเกตและวิจารณ์ตัวตน (self) และจากการปฏิบัติการเซ็นเซอร์ (censorship-การตรวจสอบ) ภายในจิตใจซึ่งกลายมาเป็นความรู้สึกสำนึกดีชั่วในจิตใจ
ความหวาดระแวงว่าตนถูกเฝ้ามอง:
ภาพซ้อนที่แตกแยกจากตัวตน
ในกรณีของการบำบัดอาการหลงผิดในผู้ป่วยแบบ"หวาดระแวงว่าตนถูกเฝ้ามอง"
ตัวแทนหรือภาพซ้อนในจิตใจนี้ได้ถูกกันให้แยกตัวออกไปจากอัตตา (ego) กลายไปเป็นผู้อื่นที่ผู้ป่วยคิดว่ากำลังเฝ้ามองตนอยู่
และอาการเหล่านี้สามารถมองเห็นได้โดยจิตแพทย์ จากข้อเท็จจริงที่ว่าตัวแทน-ภาพซ้อนเหล่านี้มีอยู่จริง
อย่างที่สามารถปฏิบัติกับอัตตา (ego) ได้เหมือนกับวัตถุ. ข้อเท็จจริงนั้นคือมนุษย์สามารถที่จะสังเกตตนเองได้
ทำให้มันเป็นไปได้ในการรวมความคิดเดิมเกี่ยวกับเรื่องตัวแทน (double) เข้ากับความหมายใหม่
และในการสันนิษฐานถึงสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับมัน เหนืออื่นใดทั้งหมด สิ่งเหล่านั้นอย่างที่ดูเหมือนจะเป็นการวิจารณ์ตนเอง
(self-criticism) ก็เป็นไปด้วยความรู้สึกหลงตนเองแต่เดิมที่ผ่านพ้นไปแล้วในระยะเริ่มแรกของพัฒนาการ
หากแต่มันไม่ใช่เฉพาะปัจจัยอย่างหลังนี้เท่านั้น ที่เป็นสิ่งกระตุ้นในการวิจารณ์อัตตา (ego) (อย่างที่อาจจะถูกรวมเข้ากับความคิดเกี่ยวกับตัวแทน (double)) หากแต่มันยังรวมไปถึงความไม่สมปรารถนาทั้งหมดในจิตใจอีกด้วย อย่างที่เห็นได้ว่า เราจะยังคงชื่นชอบที่จะยึดเกาะกับเรื่องราวเพ้อฝัน (phantasy) การพยายามทั้งหมดของอัตตา (ego) อย่างที่สวนทางกับเหตุการณ์แวดล้อมภายนอกที่ถูกกระทบ และการระงับหักห้ามใจของเราทั้งหมดอย่างที่อยู่ในใจเรา ก็เป็นเพียงภาพลวงตาของเจตจำนงอิสระ (the illusion of Free Will)
แต่หลังจากการพิจารณาแรงจูงใจเช่นนี้ในฐานะปัจจัยที่ทำให้เกิดการปรากฏร่างของตัวแทน-ภาพซ้อน (double) ขึ้น มันอาจยากที่จะเข้าใจความรู้สึกแรงกล้าอย่างผิดธรรมดาที่มีต่อบางสิ่งที่แปลกประหลาด (uncanny) แต่ความรู้ในกระบวนการบำบัดทางจิตสามารถทำให้เราเข้าใจได้ว่า ไม่มีอะไรในที่นี้มากไปกว่าเพียงปัจจัยพื้นๆ ก็สามารถใช้อธิบายสำหรับการกระตุ้นที่เป็นเหตุให้อัตตา (ego) ทำการฉาย (projection) ปัจจัยเหล่านั้นออกมายังบางสิ่งที่แปลกปลอมจากตัวมันเอง กล่าวคือ ระดับทางความรู้สึกของความแปลกประหลาด (uncanniness) สามารถเกิดมาได้จากตัวแทน-ภาพซ้อน (double) เป็นการย้อนหลังกลับไปสู่สถานะทางจิตในช่วงเริ่มต้นของพัฒนาการ ในสถานะที่ล่วงพ้นไปแล้วอย่างยาวนาน ซึ่งมักแสดงลักษณะที่เป็นมิตรมากกว่า ทว่าตัวแทน-ภาพซ้อน (double) ได้กลายไปเป็นสิ่งที่น่าตื่นกลัวจากเงื่อนไขบางอย่าง อย่างเช่น ภายหลังจากการละเมิดข้อบัญญัติทางศาสนา ที่ทำให้พระเจ้าได้เปลี่ยนไปเป็นปิศาจ
รูปแบบอื่นของการรบกวนอัตตาโดยงานเขียนของ Hoffmann สามารถวิเคราะห์ได้ตามแนวคิดเกี่ยวกับการเป็นตัวแทน-ภาพซ้อน (double) มันเป็นการย้อนกลับไปสู่กระบวนการในการวิวัฒนาการของความรู้สึกในการพิจารณาตนเอง, การถอยหลังไปสู่เวลาที่อัตตา (ego) ยังไม่ถูกกำหนดแยกตัวเองออกมาอย่างชัดเจนจากโลกภายนอก และจากบุคคลอื่นๆ Freud เชื่อว่าปัจจัยเหล่านั้นเป็นเป็นมูลเหตุอยู่บ้างสำหรับการประทับความรู้สึก uncanny แม้ว่ามันอาจจะไม่ง่ายนักในการกำหนดลงไปอย่างชัดเจนถึงอิทธิพลของมันก็ตาม
Uncanny กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ
ปัจจัยของการซ้ำอย่างบังเอิญเป็นอีกแบบหนึ่งของความรู้สึก 'uncanny' ซึ่งบางทีจะไม่ส่งผลต่อความรู้สึกของทุกคน
จากสิ่งที่ Freud ได้สังเกตเห็นว่า ปรากฏการณ์นี้ บุคคลจะมีเงื่อนไขที่แน่นอนและผสมผสานกับสถานการณ์แวดล้อมที่แน่นอน
ในการกระตุ้นความรู้สึก uncanny อย่างที่ระลึกถึงความรู้สึกถึงประสบการณ์ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในบางสถานะของความฝัน
อย่างเช่น Freud ได้ยกตัวอย่างความฝันของเขาว่า เขากำลังเดินอยู่ในช่วงบ่ายอันอบอ้าวของฤดูร้อน
ผ่านถนนอันรกร้างของย่านชานเมืองในอิตาลีซึ่งเขาไม่รู้จัก ไม่มีอะไรนอกไปจากภาพวาดผู้หญิงที่เห็นจากหน้าต่างในบ้านหลังเล็กๆ
เขารีบเดินออกจากถนนแคบๆ นี้ไปยังทางแยกถัดไป แต่หลังจากได้เดินมาระยะหนึ่งโดยไม่ได้ตรวจสอบเส้นทาง
เขาพบตัวเองกลับมาที่ถนนเส้นเดิมอีกครั้ง ซึ่งเขาเริ่มถูกกระตุ้นความสนใจ เขารีบเดินออกมาอีกครั้ง
เพียงแต่โดยใช้ทางเลี่ยงอื่นในสถานที่เดิมเป็นครั้งที่สาม ตอนนั้นเองความรู้สึกที่เกิดกับเขาอาจเรียกได้ว่าเป็นความรู้สึก
uncanny และเขาก็ได้กลับมาที่ถนนเดิมที่เขาจากมาเมื่อครู่นี้อีกครั้ง
ในสถานการณ์อื่นๆ ที่อาจอธิบายได้ เช่นเดียวกันกับความฝันของ Freud คือการย้อนกลับมาอย่างไม่ได้ตั้งใจของสถานการณ์เดิม หากแต่แตกต่างไปอย่างมากจากความเกี่ยวข้องอื่นๆ อีกทั้งผลลัพธ์ในความรู้สึกเดียวกันของความไร้ทางช่วยเหลือของความรู้สึก uncanny ตัวอย่างเช่น เมื่อตกอยู่ท่ามกลางหมอก คนหนึ่งอาจหลงทางอยู่ในป่าบนภูเขา เขาอาจจะพยายามค้นหาเครื่องหมายหรือเส้นทางที่คุ้นเคยที่นำเขาไปสู่ตำแหน่งเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก อย่างที่บุคคลอาจจะระบุเครื่องหมายบนพื้นที่ซึ่งมีลักษณะเฉพาะบางอย่างได้ หรือคนคนนั้นอาจจะเดินอยู่ท่ามกลางความมืด, อยู่ในห้องแปลกๆ, มองหาประตูหรือสวิทช์ไฟฟ้า แล้วเดินชนเก้าอี้ตัวเดิมครั้งแล้วครั้งเล่า
ถ้าเราลองพิจารณาจากตัวอย่างอื่นๆ ที่ง่ายๆ อาจทำให้เห็นว่า เฉพาะปัจจัยของการเกิดซ้ำโดยไม่ตั้งใจอย่างที่เกิดในสิ่งแวดล้อมอื่นซ้ำๆ อาจก็ก่อให้เกิดบรรยากาศแบบ 'uncanny' ซึ่งมาจากแรงผลักดันทางความคิดเกี่ยวกับบางอย่างที่เป็นลางและไม่สามารถเลี่ยงได้ ซึ่งในความเป็นเหตุเป็นผลเราอาจจะคิดว่า มันเป็นเพียงโอกาสในการเกิดขึ้นซ้ำๆ ของสิ่งเหล่านี้เท่านั้น ตัวอย่างเช่น โดยธรรมชาติเราอาจจะไม่ยึดติดกับความหมายใดๆ ในสถานการณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน อย่างเมื่อเราฝากเสื้อคลุมแล้วรับเอาตั๋วหมายเลขที่ใช้รับของฝากมา สมมติว่าเป็นหมายเลข 62 หรือในอีกสถานการณ์หนึ่ง เราพบว่าหมายเลขห้องพักของเราในเรือมีหมายเลข 62 เหมือนกัน. แต่ความรู้สึกจะถูกเปลี่ยนแปลงไปถ้าหากสองเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นใกล้ๆ หรือไล่เลี่ยกัน
ถ้าเราข้ามเรื่องเลข 62 ไปสู่แต่ละวัน, หรือถ้าเราเริ่มที่จะนึกได้ว่าทุกสิ่งที่มีหมายเลข บ้านเลขที่, หมายเลขห้อง, หมายเลขช่องทางรถไฟ, ปรากฏต่อเราอย่างสม่ำเสมอด้วยหมายเลขเดียวกัน หรือในเหตุการณ์ทั้งหมดนั้นมีตัวเลขเดียวกัน เราจะรู้สึกว่านี่เป็นความรู้สึก 'uncanny' ซึ่งอาจจะส่งผลให้บุคคลที่เผชิญกับสถานการณ์เช่นนี้ต้องตัดสินใจ เขาจะพยายามให้คำตอบต่อประสบการณ์แตกต่างกันออกไป เกี่ยวกับความหมายที่เป็นความลับของตัวเลขที่ปรากฏซ้ำๆ นี้ บางทีเขาอาจจะถือว่าเป็นถึงช่วงเวลาของชีวิตที่ถูกกำหนดไว้ของเขา หรือในอีกตัวอย่างเช่น ภายหลังในระยะเวลาไม่กี่วันที่ได้รับจดหมายสองฉบับจากสองสถานที่ที่แตกต่างกัน และแต่ละที่มาจากคนที่ชื่อว่า Hering แม้ว่าบุคคลผู้นี้จะไม่เคยติดต่อกับใครที่มีชื่อนั้นมาก่อน มันก็อาจจะส่งผลให้บุคคลผู้ได้รับจดหมายต้องไปอ่านงานของนักจิตวิทยาชาวเยอรมันผู้มีชื่อเสียง Ewald Hering
Freud เชื่อว่าการแกะรอยย้อนหลังกลับไปสู่ความรู้สึก 'uncanny' ต้องอ้างอิงถึงผู้อ่าน แทนที่จะเป็นงานเขียน หรือเป็นการศึกษาถึงประสบการณ์ของบุคคล แทนที่จะเป็นการมองไปที่ปัจจัยต่างๆ ที่เป็นตัวกระตุ้นเร้า อย่างที่ต้องลงไปในรายละเอียด และโดยการเชื่อมโยงของปัจจัยต่างๆ ในประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป มันเป็นไปได้ที่บุคคลจะจดจำส่วนที่สำคัญของกระบวนการที่เป็นกฎเกณฑ์ที่ซ้ำๆ กันในจิตไร้สำนึกซึ่งได้รับจากแรงกระตุ้นทางสัญชาตญาณ รวมทั้งนิสัยประจำตัว ซึ่งอาจจะเป็นส่วนหนึ่งตามธรรมชาติของสัญชาตญาณ กฎเกณฑ์ที่มีพลังมากพอในควบคุมความพึงพอใจ และยังคงแสดงออกมาอย่างโจ่งแจ้งชัดเจนในแรงกระตุ้นและแรงจูงใจของเด็กเล็กๆ กฎเกณฑ์ในประสบการณ์อย่างที่เป็นสาเหตุที่ถูกนำไปโดยการวิเคราะห์ในผู้ป่วยทางจิตประสาท การพิจารณาทั้งหมดนี้เป็นการเปิดทางให้เราในการค้นหาว่า อะไรที่ยังคงอยู่ในใจเราภายใต้กฎเกณฑ์ของการซ้ำที่ถูกรับรู้และเข้าใจว่าเป็นความรู้สึกแบบ 'uncanny'
ในกรณีของอาการหลงผิดในผู้ป่วยจิตประสาท Freud ได้ยกตัวอย่างผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดด้วยน้ำ (hydropathic establishment) ที่ได้ผลเป็นอย่างดี เนื่องจากผู้ป่วยมีความรู้สึกที่ดีในการให้เหตุผลต่อการบำบัด ซึ่งไม่ใช่ด้วยคุณสมบัติทางอายุรเวชของน้ำ ในกรณีของผู้ป่วยรายหนึ่งที่เคยเข้ารับการบำบัดทางจิต ในครั้งที่สองผู้ป่วยรายนี้ได้มาตามกำหนดที่นัดหมายไว้ เขาร้องขอห้องพักเดิม แต่ได้รับการปฏิเสธเนื่องจากมีสุภาพบุรุษสูงวัยเข้ามาพักอยู่ในห้องนั้นก่อนแล้ว ผู้ป่วยรายนี้จึงระบายความโกรธโดยการสบถขึ้นว่า เขาหวังจะให้ชายคนนั้นเสียชีวิตลงเสียภายในห้องนั้นเลย ในสองสัปดาห์ต่อมาสุภาพบุรุษสูงวัยคนนั้นก็เสียชีวิตลงไปจริงๆ ผู้ป่วยของ Freud คิดว่านี่เป็นประสบการณ์ของความรู้สึกแบบ 'uncanny' ความรู้สึกแบบ 'uncanny' ที่ประทับลงในใจของผู้ป่วยจะรุนแรงกว่านี้ ถ้าหากระยะเวลาระหว่างคำพูดของผู้ป่วยรายนี้กับการเสียชีวิตของชายสูงอายุเกิดขึ้นไล่เลี่ยกัน หรือถ้าผู้ป่วยรายนี้สามารถจะพูดได้สอดคล้องตรงกันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างแม่นยำ
โดยข้อเท็จจริงผู้ป่วยสามารถจะเชื่อมโยงความสอดคล้องตรงกันของเหตุการณ์ในลักษณะนี้ขึ้นได้อย่างไม่ยากนัก แต่ไม่ใช่เฉพาะกับผู้ป่วยรายนี้เท่านั้น หากแต่รวมถึงผู้ป่วยทางจิตที่มีอาการหลงผิดทุกคนที่ Freud ได้สังเกตเห็น ล้วนสามารถสร้างความเกี่ยวโยงสัมพันธ์กันของประสบการณ์ที่เหมือนๆ กันนี้ได้เช่นกัน พวกเขาไม่เคยประหลาดใจในความสม่ำเสมอที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าในชั่วเวลาที่ยาวนาน ถ้าหากพวกเขารอคอยบางสิ่งที่จะเกิดขึ้น สักวันหนึ่ง ต่อให้ไม่ได้มีข่าวอะไรเป็นเวลายาวนานที่ผ่านไปเรื่อยๆ ผู้ป่วยเหล่านี้ก็จะยังมั่นว่าจะต้องเกิดบางสิ่งในเช้าวันต่อไป
Uncanny: ความกลัวในดวงตาที่ชั่วร้าย
หนึ่งในความรู้สึกแบบ 'uncanny' ที่เป็นอาการความหลงผิดอย่างที่พบได้อย่างกว้างขวางคือ
"ความกลัวในดวงตาที่ชั่วร้าย" อย่างไม่ต้องมีข้อสงสัยเกี่ยวกับที่มาของความกลัวนี้
เพียงครั้งหนึ่งที่ใครก็ตามได้รู้สึกถึงเกรงกลัวในความอาฆาตแค้นของตนซึ่งมีต่อผู้อื่น
เพียงเท่านี้ เขาก็จะฉาย (projects)ความรู้สึกมุ่งร้ายที่เขามีไปสู่สิ่งอื่นๆ
และแล้วเขาก็จะตกอยู่ในสถานะของความกลัวนี้. ความรู้สึกดังกล่าวจะเปิดเผยตัวของมันเองออกมาในที่สุด
แม้ว่ามันไม่ได้ถูกพูดออกมาเป็นคำพูด และเมื่อบุคคลสังเกตเห็นเนื่องจากมันปรากฏขึ้นมาอย่างชัดเจน
และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เนื่องจากมันมีคุณลักษณะที่ไม่งาม ผู้คนอื่นๆ พร้อมที่จะเชื่อว่าความริษยาของพวกเขากำลังเกิดขึ้นสู่ระดับของความรุนแรงที่มากกว่าปกติ
และมันจะทำให้ความรุนแรงนี้เปลี่ยนไปสู่การกระทำ ดังนั้นความกลัวนี้จึงเป็นความกลัวในเจตนาลับ
ของการทำอันตรายผู้อื่น ความกลัวในความอาฆาตมาดร้าย และความกลัวในสัญลักษณ์ที่ถูกให้ความหมายว่าเป็นเจตนาประเภทนั้นที่มีพลังในการกระตุ้นความรู้สึกอย่างรุนแรง
เช่น ดวงตาที่จ้องมองด้วยความพยาบาท
Omnipotence of thoughts
ตัวอย่างหลังนี้ของความรู้สึก uncanny ถูกอ้างอิงถึงหลักการที่เรียกว่า 'omnipotence
of thoughts' (การมีอำนาจเบ็ดเสร็จของความคิด)(*) ซึ่งเป็นชื่อที่ได้มาจากการแสดงออกทางความรู้สึกโดยผู้ป่วยคนหนึ่ง
และในจุดนี้มันเป็นสิ่งที่ Freud กล่าวว่า มันได้โยงกลับไปสู่ข้อสรุปของเขาข้างต้น
ที่ว่าการวิเคราะห์ตัวอย่างของ 'uncanny' จะนำเราไปสู่สิ่งเก่าแก่ที่คุ้นเคย
ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้ล่วงพ้นไปแล้ว นั่นคือความคิดแบบวิญญาณนิยมของจักรวาล (animistic
conception of the universe) มันเป็นความคิดที่เห็นว่า โลกนี้เต็มไปด้วยวิญญาณของมนุษย์
(*) Omnipotence of thoughts คือความเชื่อว่า ความคิดมีพลังอำนาจที่บุคคลจะสามารถมีอำนาจหรือเปลี่ยนแปลงโลกภายนอกได้ โดยพลังของความคิดเพียงอย่างเดียว เป็นความคิดในระบบความเชื่อแบบวิญญาณนิยม(animism) และยังพบได้ในผู้ป่วยจิตประสาทแบบหลงผิด เป็นประเภทเดียวกับความเชื่อในเวทย์มนต์คาถา
โดยความรู้สึกหลงตัวเองของบุคคล จนเป็นการให้คุณค่าแก่ตัวตนมากเกินไปกว่ากระบวนการภายในจิตของพวกเขาเอง โดยความเชื่อในอำนาจเบ็ดเสร็จของความคิด (the omnipotence of thoughts) และวิธีการทางเวทย์มนต์ที่ตั้งอยู่บนความเชื่อนั้น โดยการกำหนดคุณลักษณะของพลังเวทมนต์อย่างละเอียด หรือ mana (*) ต่อบุคคลภายนอกที่หลากหลายและสิ่งต่างๆ อย่างเท่าที่จะคิดสร้างสรรค์ได้ ในความรู้สึกหลงตัวเองที่ยืดหยุ่นได้นี้ในสถานะของพัฒนาการ มันเป็นความพยายามอย่างหนึ่งที่จะขจัดปัดเป่า ข้อห้าม, ข้อจำกัด,อุปสรรค, ที่ปรากฏขึ้นในความเป็นจริง ซึ่งหมายความว่า เราแต่ละคนได้ผ่านช่วงของพัฒนาการทางบุคลิกภาพในสถานะแบบวิญญาณนิยมนี้ เช่นเดียวกับในมนุษย์โบราณ เราทุกคนได้ผ่านมันไปโดยยังรักษาบางส่วนที่เหลือรอดอยู่ และร่องรอยของสิ่งเหล่านั้น, ความคิดพวกนั้น บัดนี้ได้จู่โจมใส่เราในฐานะของ 'uncanny' เติมเต็มเงื่อนไขของการหยั่งถึงส่วนที่หลงเหลือของกิจกรรมของความเชื่อแบบวิญญาณนิยมที่ยังหลงเหลืออยู่ภายในจิตเรา และเริ่มแสดงพลังของมันออกมา
(*) Mana is the concept of an impersonal force or quality that resides in people, animals, and inanimate objects. The concept is common to many Oceanic languages, including Melanesian, Polynesian, and Micronesian.
ในจุดนี้ Freud ได้พิจารณาต่อไปในสองทางคือ ตามเนื้อหาของการศึกษาเรื่องความรู้สึกแบบ 'uncanny'
ประการแรก คือ ทฤษฏีจิตวิเคราะห์ยืนยันว่า ทุกๆ อาการหรือความรู้สึกขึ้นอยู่กับแรงกระตุ้นทางอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นแรงกระตุ้นประเภทไหนก็ตาม มันจะถูกเปลี่ยนรูปไป ซึ่งถ้าหากมันถูกกดข่ม (repressed) ไว้ให้กลายเป็นความกังวล (anxiety) ท่ามกลางกรณีต่างๆ ของสิ่งที่น่าตื่นกลัว มันต้องมีองค์ประกอบประเภทหนึ่งในสิ่งที่ตื่นกลัวเหล่านั้นที่สามารถถูกแสดงถึงบางสิ่งที่ถูกกดข่มไว้อย่างที่ให้มันย้อนกลับขึ้นมาได้อีก องค์ประกอบของสิ่งที่น่าตื่นกลัวนี้จะประกอบขึ้นเป็น uncanny ในภายหลัง และมันต้องเป็นเนื้อหาองค์ประกอบที่ไม่ได้เป็นที่สนใจ ไม่ว่าสิ่งที่มีลักษณะ 'uncanny' นี้จะเป็นต้นตอของความน่าตื่นกลัวด้วยตัวของมันเอง หรือไม่ว่ามันจะนำพาผลกระทบทางอารมณ์ด้านอื่นๆ มาด้วย
ประการที่สอง ถ้านี่เป็นลักษณะแห่งความลับที่แท้จริงของความรู้สึกแบบ ' uncanny' เราก็จะสามารถเข้าใจได้ว่า ทำไมแบบแผนการใช้ภาษาได้เพิ่มเติมความหมายของคำว่า das Heimliche ['homely'] ไปสู่ด้านตรงข้ามของมันด้วย das Unheimliche. สำหรับ uncanny นี้ ในความเป็นจริงไม่มีอะไรใหม่หรือแปลกแยก หากแต่เป็นบางสิ่งที่เป็นที่คุ้นเคยถูกบัญญัติไว้เก่าแก่ยาวนานมาแล้วในจิตใจ และได้กลายมาเป็นสิ่งแปลกปลอมไปจากสิ่งที่มันเป็นโดยผ่านกระบวนการของการกดข่ม (repression) ยิ่งไปกว่านั้น การอ้างอิงถึงปัจจัยนี้ของการกดข่ม ทำให้เราเข้าใจในนิยามความหมายของคำว่า 'uncanny' ที่ถูกให้ไว้โดย Schelling ในฐานะของบางสิ่งที่จะยังคงมีอยู่อย่างแฝงเร้น แต่ได้มาสู่แสงสว่าง
นอกจากนี้ Freud ยังได้ยกตัวอย่างที่สำคัญของความรู้สึกแบบ 'uncanny' อีกตัวอย่างหนึ่ง นั่นคือ ผู้คนจำนวนมากมีประสบการณ์กับความรู้สึกแบบ 'uncanny' ในระดับสูงสุดต่อความสัมพันธ์ของความตายและร่างของคนตาย, ต่อการกลับมาของคนตาย, และต่อวิญญาณและภูตผี อย่างที่ Freud ได้ยกตัวอย่างให้เห็นแล้วว่า ในบางภาษาที่ใช้ในปัจจุบันสามารถทำให้ความหมายในภาษาเยอรมันของคำว่า 'an unheimlich house' บ้านอันไม่คุ้นเคย กลายเป็น 'a haunted house' บ้านผีสิงได้ สิ่งที่ให้ความรู้สึกแบบ 'uncanny' ในตัวมันนั้นถูกผสมผสานเข้ากับสิ่งที่ล้วนแต่เป็นความน่าสะพรึงกลัวอย่างมากเกินไป มันแทบจะไม่มีลักษณะความหมายแบบอื่นๆ เลย
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันความคิดและความรู้สึกของเรามีการเปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้นจากช่วงเวลาในยุคเริ่มแรกที่สุด และในรูปลักษณ์ที่ถูกทิ้งมันกลับถูกเก็บรักษาไว้โดยสมบูรณ์ ภายใต้การอำพรางอย่างบางๆ นี้ ในฐานะของความสัมพันธ์ของเราต่อความตาย มีคำอธิบายสองประการต่อความรุนแรงของปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่เรามีต่อความตาย และการขาดความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความตาย นั่นคือแม้แต่ในทางชีววิทยาก็ยังไม่สามารถตัดสินได้ว่า ความตายเป็นโชคชะตาที่ไม่อาจหลีกหนีได้ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด หรือว่ามันมีแบบแผน แต่ขณะเดียวกันก็เป็นเหตุการณ์ที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ จริงอยู่ที่คำกล่าวที่ว่า "มนุษย์ทุกคนต้องตาย" เป็นตัวอย่างของคำกล่าวทั่วไป แต่ก็ไม่มีมนุษย์คนไหนสามารถเข้าใจมันได้จริง และจิตใต้สำนึกของเราก็ได้ประโยชน์จากมันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
Uncanny ความตาย และศาสนา
ศาสนายังคงมีความสำคัญในการให้ข้อเท็จจริงอันไม่อาจปฏิเสธได้เกี่ยวกับความตายของบุคคล
และในการอ้างถึงชีวิตหลังความตาย... เราเกือบทั้งหมดยังคงคิดเหมือนคนป่า มันไม่น่าประหลาดใจเลยว่า
ความกลัวอันมีมาแต่ดั้งเดิมต่อความตายยังคงดำรงอยู่อย่างแรงกล้าภายในเราและยังพร้อมเสมอที่จะกลับมาสู่ความรู้สึกนึกคิดด้วยการกระตุ้นใดๆ
ก็ตาม ส่วนมากดูเหมือนว่าความกลัวของเรา ยังคงมีนัยของความเชื่อเก่าแก่ที่ว่า
คนตายจะกลายไปเป็นศัตรูของการอยู่รอดของเรา และค้นหาที่จะนำเราไปอยู่ร่วมในชีวิตใหม่หลังความตายนั้นด้วยกัน
ในการพิจารณาทัศนคติที่ไม่เปลี่ยนแปลงของเราที่มีต่อความตาย เราอาจต้องค้นหาสิ่งที่เป็นต้นตอซึ่งกลายไปเป็นสิ่งที่ถูกกดทับไว้
ตามเงื่อนไขสำคัญของการเกิดขึ้นซ้ำอีกของความรู้สึกเก่าแก่ดั้งเดิมในรูปร่างของบางสิ่งที่เป็นเรื่อง
'uncanny' ซึ่งความเชื่อสมัยใหม่โดยทั่วไป ได้ให้การศึกษาแก่ผู้คนให้เลิกเชื่ออย่างจริงจังว่าคนตายสามารถจะกลายมาเป็นวิญญาณและสามารถสร้างการปรากฏการณ์ที่ไม่น่าเป็นไปได้ขึ้น
และการสร้างความเชื่อใหม่เพื่อหักล้างความเชื่อเดิมนี้ ก็เป็นการกดข่มความเชื่อโบราณลงไปด้วยเช่นกัน
ทัศนคติทางอารมณ์เหล่านั้นของพวกเราที่มีต่อความตายของตน ครั้งหนึ่งมันเคยเป็นสิ่งที่คลุมเครืออย่างยิ่ง
หากแต่มันได้ถูกทำให้กลมกลืนด้วยความรู้สึกของความเชื่อแบบศาสนา
ตอนนี้เรามีจุดที่ต้องเพิ่มเติมสำหรับความเชื่อแบบวิญญาณนิยม, เวทย์มนต์, และอำนาจพิเศษ ความมีอำนาจของความคิด ทัศนคติของมนุษย์ต่อความตาย, ความบังเอิญที่ซ้ำเดิม และปมของความกลัวการถูกตอน รวมถึงตัวแปรทั้งหมดชนิดที่เปลี่ยนสิ่งที่น่าตื่นกลัวให้กลายเป็นสิ่งที่ uncanny. เราสามารถพูดว่า บุคคลที่มีชีวิตเป็นสิ่ง uncanny ได้ด้วย และเราทำดังนั้นเมื่อเราสันนิษฐานได้ถึงเจตนาของความชั่วร้ายในบุคคลนั้น ซึ่งเราต้องรู้สึกว่าเจตนาของเขาในการทำอันตรายต่อเรา กำลังถูกนำออกมาด้วยพลังพิเศษ ตัวอย่างที่ดีสำหรับกรณีนี้คือ 'Jettatore' ที่มีร่างอันแปลกประหลาดอย่างน่ากลัว ของความเชื่อในภูตผีอย่างที่ Schaeffer จินตนาการขึ้นอย่างงดงาม และด้วยความเข้าใจในจิตวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง ได้แปลงรูปสู่ตัวละครในนิยายเรื่อง Josef Montfort ของเขา แต่คำถามของพลังอำนาจลับนั้น ได้นำเรากลับสู่อาณาจักรของวิญญาณนิยมอีกครั้ง มันเป็นการสังหรณ์ที่เกิดขึ้นเองของ Gretchen อย่างเคร่งครัดที่ปิศาจ Mephistopheles (*) สิงสู่อำนาจลึกลับชนิดที่ที่ทำให้เขา ดูน่าสะพรึงกลัวต่อเธอ
(*) Mephistopheles (also Mephistophilus, Mephistophilis, Mephostopheles, Mephisto and variants) is a name often given to one representation of the devil or Satan. It is also the name used for the demon in the Faust legend.
ผลของความรู้สึกแบบ 'uncanny'
ของโรคลมชักและของความบ้ามีที่มาเดียวกัน คนธรรมดามองมันเป็นการทำงานของอำนาจที่ไม่อาจแก้ไขได้
ในยุคกลางความเจ็บไข้ดังกล่าว ถูกสันนิษฐานว่าเป็นอำนาจลึกลับของปิศาจ และในข้อสันนิษฐานทางจิตวิทยาของพวกเขานั้นก็เกือบจะถูกต้อง
แน่นอน เราไม่ควรรู้สึกประหลาดใจในการได้ยินว่าจิตวิเคราะห์ชนิดที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยพลังซ่อนเร้นนี้ให้ประจักษ์
ได้กลายมาเป็นสิ่งที่ 'uncanny' ต่อคนหลายคน ด้วยเหตุผลต่างๆ. ในกรณีหนึ่ง มารดาชองผู้ป่วยรายหนึ่งที่ป่วยมานานหลายปี
กระทั่ง Freud ได้รักษาจนสำเร็จ ได้แสดงทัศนคตินี้ออกมา...
โดยตัดแขนขาออกไป หรืออาจเป็นศีรษะ มือที่ตัดออกที่ข้อมือ อย่างในเทพนิยายของ
Hauff ที่เกี่ยวกับเท้าที่เต้นรำได้ด้วยตัวของมันเอง อย่างในหนังสือโดย Schaeffer
อย่างที่ Freud กล่าวไปแล้วข้างต้น, ทั้งหมดเหล่านี้มีบางอย่างเป็น 'uncanny'
ที่พิเศษ, โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตัวอย่างสุดท้าย มันเป็นกิจกรรมที่แยกออกมาต่างหากในส่วนเพิ่มเติมนี้
อย่างที่เรารู้อยู่แล้ว ความรู้สึก 'uncanny' ประเภทนี้ผุดขึ้นมาจากสิ่งใกล้ตัวต่อปมของความกลัวการถูกตอน
(castration complex) สำหรับบางคน ความคิดเกี่ยวกับการถูกฝังทั้งเป็นด้วยความผิดพลาดเป็นสิ่งที่
'uncanny' เป็นที่สุด และขณะเดียวกันจิตวิเคราะห์ได้สอนเราว่า จินตนาการอันน่าตื่นตระหนกนี้
เป็นเพียงการเปลี่ยนรูปของจินตนาการอื่นที่มีแหล่งกำเนิดมาจากสิ่งที่ไม่น่าตื่นกลัวเลยแม้แต่น้อย
หากแต่ถูกสร้างเงื่อนไขขึ้นโดยความรู้สึกทางเพศที่ผิดปกติ (lasciviousness) (*)
ประเภทหนึ่ง โดย Freud หมายถึงจินตนาการของการดำรงอยู่ภายในมดลูก
(*) In American legal jargon, lascivious is a semi-technical
term indicating immoral sexual thoughts or actions. It is often used in the
legal description of criminal acts in which some sort of sexual activity is
prohibited to differentiate that activity from "innocent" conduct.
It is often used as one of several adjectives to describe pornography as compared
to non-pornographic depictions of sex or sexual themes.
ยังมีอีกประเด็นหนึ่งที่ Freud ต้องการจะเพิ่มเติม, แม้ว่ามันได้ถูกพูดถึงไปแล้วเกี่ยวกับความเชื่อแบบวิญญาณนิยม (animism) และแบบในการทำงานของกลไกทางจิตที่ได้ผ่านพ้นไปแล้ว หากแต่เขาคิดว่ามันควรจะถูกเน้นเป็นพิเศษ นั่นคือว่าความรู้สึกแบบ 'uncanny' จะถูกสร้างขึ้นได้ง่ายๆ และบ่อยๆ เมื่อการแบ่งแยกระหว่างจินตนาการกับความเป็นจริงถูกลบออกไป อย่างที่เมื่อบางสิ่งที่เราพิจารณาว่าเป็นจินตนาการปรากฏขึ้นต่อหน้าเราในความเป็นจริง หรือเมื่อสัญลักษณ์เข้าครอบครองหน้าที่ทั้งหมดของสิ่งที่สร้างสัญลักษณ์ขึ้นมาและอื่นๆ มันคือปัจจัยชนิดที่สนับสนุนความรู้สึก 'uncanny' ผูกโยงเข้ากับการปฏิบัติทางเวทย์มนต์ องค์ประกอบในวัยเด็กนี้ เป็นสิ่งครอบงำจิตใจของผู้ป่วยทางจิตด้วย เป็นการเน้นอย่างเกินไปของความเป็นจริงทางกายภาพในการเปรียบเทียบกับความเป็นจริงทางจิต ลักษณะที่เกี่ยวพันกันกับความเชื่อในอำนาจของความคิด (omnipotence of thoughts)
Freud ได้ยกตัวอย่างข่าวในนิตยสารภาษาอังกฤษ Strand Magazine ที่เขาได้รับในระหว่างช่วงสงคราม เขาได้อ่านเรื่องราวเกี่ยวกับคู่แต่งงานหนุ่มสาว ผู้ย้ายเข้าบ้านที่มีโต๊ะรูปร่างแปลกประหลาดที่มีรูปสลักรูปจระเข้อยู่บนนั้น เมื่อถึงตอนค่ำก็ปรากฏกลิ่นประหลาดที่ฉุนเหลือทนฟุ้งไปทั่วบ้าน และพวกเขายังได้สะดุดบางสิ่งในความมืด อีกทั้งดูเหมือนจะมีรูปทรงมัวๆ กำลังเคลื่อนขึ้นบันไดไปอย่างรวดเร็ว เราเข้าใจว่านั่นเป็นการปรากฏของผีจระเข้ที่มีสาเหตุมาจากโต๊ะตัวนั้นในบ้านของมนุษย์, หรืออสูรกายไม้นั่นกลายมามีชีวิตในความมืด, หรือบางสิ่งที่มีที่มาจากสิ่งนั้น มันเป็นเรื่องราวที่ไร้เดียงสา, แต่ความรู้สึก uncanny ที่มันสร้างขึ้นมานั้นชัดเจนอย่างประหลาดทีเดียว
ภายในมดลูก ความคุ้นเคยอย่างลับๆ
การสรุปตัวอย่างที่ถูกรวบรวมมาทั้งหมดนี้ แน่นอนว่ายังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์ ดังที่
Freud ได้เชื่อมโยงเข้ากับตัวอย่างที่ได้มาจากประสบการณ์ทางจิตวิเคราะห์ ซึ่งถ้าหากมันไม่มีอะไรเหนือไปจากความสอดคล้องพ้องกันในปัจจัยที่เป็นโครงสร้างเหล่านี้
มันก็จะเป็นการวางพื้นฐานทางทฤษฏีที่ลงตัวเกี่ยวกับสิ่งที่ 'uncanny' บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยทางจิตประกาศว่า
พวกเขารู้สึกว่าอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิงเป็นสิ่งที่ 'uncanny' เป็นจุดที่ unheimlich
อย่างไรก็ตาม มันเป็นช่องทางสู่รูปแบบการก่อตัว Heim [home] ของมนุษย์ทั้งหมด
สถานที่ซึ่งเราแต่ละคนเคยอาศัยอยู่ครั้งหนึ่งนานมาแล้วและตั้งแต่เริ่มต้น มันตลกที่จะพูดว่า
'Love is home-sickness' และเมื่อไรก็ตามมนุษย์ฝันถึงสถานที่และพูดกับตัวเอง
ในขณะที่เขากำลังฝันถึงสถานที่นั้น มันช่างดูคุ้นเคยเหมือนกับว่าเขาเคยอยู่ที่นั่นมาก่อน
เราอาจจะตีความได้ว่าสถานที่นั้นคือภายในมดลูกหรือในร่างกายของแม่ ในกรณีนี้เช่นกันที่
unheimlich ครั้งหนึ่งเป็นสิ่งที่ heimisch มาก่อน
มันอาจจริงที่สิ่งที่ uncanny เป็นบางสิ่งชนิดที่คุ้นเคยอย่างลับๆ (secretly familiar [heimlich-heimisch]) อย่างที่ได้ถูกกดข่มไว้และได้ย้อนกลับมาอีกครั้ง และทุกอย่างที่ uncanny ก็เป็นไปตามเงื่อนไขนี้ แต่ปัจจัยพื้นฐานดังกล่าวก็มิได้ทำให้เราสามารถแก้ปัญหาของสิ่งที่ uncanny ได้ทั้งหมด สำหรับปัญหาของเรา แน่นอนว่ามันยังไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ใช่ทุกอย่างที่เรียกเอาความปรารถนาที่ถูกกดทับไว้กลับมาได้ และรวมทั้งการย้อนกลับไปสู่ภาวะที่ผ่านพ้นไปแล้วของความคิดที่เป็นอยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของบุคคลและของเผ่าพันธุ์ที่ถือเป็น 'uncanny' ด้วยเช่นกัน
เรื่องราวเทพนิยายของเป็นการเติมเต็มความปรารถนาอย่างฉับพลัน ชนิดที่ไม่ทำให้เกิดความรู้สึกแบบ 'uncanny' ขึ้นเลย ในเรื่อง 'The Three Wishes' หญิงคนหนึ่งถูกยั่วยวนโดยกลิ่นของไส้กรอกที่หวังว่าเธออาจจะได้กินสักอันหนึ่ง และทันใดนั้นมันก็วางลงบนจานตรงหน้าเธอ จากนั้นสามีของเธอต้องการกลั่นแกล้งต่อความตะกละของหญิงคนนั้นโดยประสงค์ให้มันไปแขวนอยู่บนจมูกของเธอ ทั้งหมดนี้ประหลาดผิดธรรมดาแต่ไม่ได้ให้ความรู้สึก 'uncanny' แม้แต่น้อย เทพนิยายค่อนข้างรับเอาจุดยืนของวิญญาณนิยมมาใช้แบบตรงๆ ในความมีอำนาจเบ็ดเสร็จของความคิด (the omnipotence of thoughts) และ Freud ไม่คิดว่าเรื่องราวแบบเทพนิยายจะมีผลทางความรู้สึกแบบ'uncanny' เราอาจได้ยินมาว่ามันจะให้ความรู้สึก 'uncanny' ในระดับสูงสุดเมื่อวัตถุที่ไม่มีชีวิตเช่นรูปภาพหรือตุ๊กตาและทหารสังกะสีเกิดมีชีวิตขึ้นมา ขณะเดียวกันไม่มีอะไรจะดีมากกว่าการอยู่ห่างจากสิ่งที่ 'uncanny' และมันอาจจะพูดได้ยากว่าเมื่อรูปปั้นอันสวยงามของ Pygmalion กลายมามีชีวิต มันจะเป็นสิ่งที่ 'uncanny' ความตายที่ปรากฏขึ้นและการกลับมามีชีวิตของคนตายได้เป็นภาพแทนในฐานะสิ่งที่ 'uncanny' ที่สุด แต่สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ปกติมากในเทพนิยาย มันไม่สามารถสร้างรู้สึกแบบ 'uncanny' ได้ในตัวอย่างเหล่านี้ เช่น เรื่อง Sleeping Beauty (เจ้าหญิงนิทรา) ลืมตาขึ้นมาอีกครั้ง และการกลับมาใหม่ของคนตาย
ในคำอธิบายเรื่องของปาฏิหาริย์ อย่างในคัมภีร์ New Testament ความรู้สึกจากเรื่องราวประเภทนี้ไม่สัมพันธ์กับ 'uncanny' แนวทางที่สามารถก่อให้เกิดความรู้สึก 'uncanny' อย่างเช่นการกลับมาโดยไม่ได้เจตนาของสิ่งเดิมนั้น มีเจตนาที่แตกต่างไปจากกรณีอื่นๆ เช่นในตัวอย่างที่ผ่านมาในเรื่องราวที่สร้างความรู้สึกของเรื่องตลกหรือเรื่องราวแบบเทพนิยาย หากมันทำงานในฐานะวิถีทางของการเน้นย้ำความสำคัญ อย่างเช่น ในสิ่งที่เป็นต้นกำเนิดหรือที่มาของความรู้สึก 'uncanny' เช่นความเงียบ, ความมืด, และความโดดเดี่ยว ซึ่งในการศึกษาสภาวะของ 'uncanny' ในเชิงสุนทรียศาสตร์ Freud กล่าวว่า เราควรแบ่งแยกความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ 'uncanny' ที่มาจากประสบการณ์จริงของเรา และสิ่งที่ 'uncanny' ที่เราเพียงแต่เห็นภาพหรืออ่านเกี่ยวกับมันจากงานศิลปะที่ถูกสร้างขึ้น แม้ว่า Freud จะคิดว่าประเด็นเกี่ยวกับความรู้สึกหรือสิ่งที่ดู 'uncanny' จะสามารถสรุปโดยรวมได้ว่าเป็นการย้อนรอยกลับไปสู่บางสิ่งที่คุ้นเคยที่ถูกกดทับไว้ แต่เขาก็ย้ำว่า มันมีความแตกต่างที่มีนัยสำคัญทางจิตวิทยาในแต่ละปัจจัยที่ได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งจำเป็นจะต้องแสดงให้เห็นโดยการกลับไปสู่ตัวอย่างที่เหมาะสม
หากเรารวมเอา 'uncanny' เข้าร่วมกับความเชื่อในอำนาจเบ็ดเสร็จของความคิด (omnipotence of thoughts), กับการเติมเต็มความปรารถนาโดยฉับพลัน กับพลังลึกลับที่อันตรายและกับการกลับมาของคนตาย ความรู้สึก 'uncanny' ที่เกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขปัจจัยเหล่านี้ไม่มีทางผิดพลาดไปได้ ครั้งหนึ่งเราหรือบรรพบุรุษในยุคโบราณของเราเคยเชื่อว่า ความเป็นไปได้นี้เป็นความจริง และเชื่อมั่นว่าพวกมันเกิดขึ้นจริง ทุกวันนี้เราไม่เชื่อในสิ่งเหล่านั้นอีกต่อไป เราได้ผ่านพ้นภาวะความคิดแบบนั้นไปแล้ว แต่เราไม่แน่ใจนักในความเชื่อใหม่ของเรา และสิ่งเก่ายังคงดำรงอยู่ในเราอย่างพร้อมที่จะเข้าครอบงำเราอยู่เสมอ ทันทีที่บางสิ่งดูเหมือนว่าจะยืนยันความเชื่อเก่าเกิดขึ้นจริงในการดำรงอยู่ของเรา เราจะเกิดความรู้สึก 'uncanny' จากความเชื่อที่ถูกทอดทิ้งไปเหล่านั้น มันเป็นความคิดที่เราได้สร้างความคิดเห็นบางอย่างเช่น "มันเป็นความจริงที่ว่า คนหนึ่งสามารถฆ่าคนอื่นๆ ได้ เพียงเพราะความปรารถนา" หรือ "คนตายจะปรากฏตัวในฉากของกิจกรรมที่พวกเขาเคยทำอยู่เมื่อครั้งยังมีชีวิต" และอื่นๆ ในทางตรงข้าม ใครก็ตาม ที่สุดท้ายแล้ว ได้กำจัดความเชื่อแบบวิญญาณนิยมออกจากตัวเขาไปอย่างสมบูรณ์ จะไม่รู้สึกอะไรกับสิ่งที่ uncanny ประเภทนี้
ความสอดคล้องที่ควรจดจำไว้มากที่สุดของความปรารถนาและการเติมเต็มความปรารถนา การซ้ำเดิมอย่างลึกลับของประสบการณ์ที่คล้ายคลึงกันในสถานที่เฉพาะเจาะจงหรือในเวลาที่เฉพาะเจาะจง ภาพที่ลวงตาและเสียงรบกวนที่น่าสงสัย สิ่งเหล่านี้จะไม่สามารถทำให้คนประเภทนั้นกระวนกระวาย หรือกระตุ้นความกลัวชนิดที่อาจอธิบายได้ว่า เป็นความกลัวในบางสิ่งที่ 'uncanny' ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นประสบการณ์ในความเป็นจริง สถานะของเรื่องราวจะแตกต่างไปในความรู้สึก 'uncanny' ที่ดำเนินจากปมในวัยเด็กที่ถูกกดทับ, จากปมของความกลัวการถูกตอน, ความเพ้อฝันเกี่ยวกับมดลูก
แต่ประสบการณ์ชนิดที่กระตุ้นความรู้สึก 'uncanny' แบบนี้ ไม่ได้ปรากฏขึ้นบ่อยนักในชีวิตจริง ความรู้สึก uncanny ชนิดที่ดำเนินมาจากประสบการณ์จริงส่วนใหญ่มีปัจจัยมาจากในกลุ่มแรก กระนั้นก็ตาม ความแตกต่างระหว่างปัจจัยของ'uncanny'ทั้งสองกลุ่มคือเนื้อหาทางทฤษฏีที่สำคัญมาก ในกรณีของความรู้สึกแบบ 'uncanny' ที่มีที่มาจากปมในวัยเด็ก ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของมันมาจากประสบการณ์ที่ถูกนำมาจากความเป็นจริงทางกายภาพ หากแต่สิ่งที่ซับซ้อนก็คือ การกดข่มเนื้อหาบางเรื่องทางความคิด และการกลับมาของเนื้อหาที่ถูกกดข่มนี้ ซึ่งไม่ได้เป็นการยุติความเชื่อในความเป็นจริงอันเป็นผลมาจากเนื้อหาประเภทดังกล่าว ในกรณีนี้ สิ่งที่ถูกกดทับไว้นั้นเป็นเนื้อหาทางความคิดที่พิเศษ และเป็นความเชื่อที่มีความเป็นจริงในตัวของมันเอง ซึ่งอาจจะถูกต้องกว่าที่จะอธิบายถึงความแตกต่างว่า ความเชื่อแบบวิญญาณนิยมในผู้คนที่เจริญแล้ว เป็นสถานะของการได้ผ่านพ้นไปแล้วมากกว่าที่จะถูกกดทับไว้
กล่าวโดยสรุปคือ ประสบการณ์ของ uncanny ที่ปรากฏ ไม่ว่าจะเป็นปมที่ถูกกดทับไว้ในวัยเด็ก ได้ฟื้นกลับมาอีกครั้งด้วยความประทับใจทางอารมณ์บางอย่าง, หรือเมื่อความเชื่อโบราณชนิดที่ได้ผ่านพ้นไปแล้ว ดูเหมือนว่าจะได้รับการยืนยันในความเป็นจริง ซึ่งแม้ว่าคำอธิบายที่ลื่นไหลและเข้าใจได้ง่ายนี้ฟังดูน่าพอใจสำหรับเรา หากแต่มันยังมีข้อเท็จจริงที่ว่า ระดับทั้งสองนี้ของประสบการณ์ 'uncanny' ไม่อาจที่จะถูกสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนเสมอไป เมื่อเราพิจารณาว่าความเชื่อโบราณเชื่อมโยงใกล้ชิดอย่างที่สุดกับปมในวัยเด็ก และ บนพื้นฐานเหล่านั้น มันไม่น่าประหลาดใจนักที่พบว่าความแตกต่างนี้บ่อยครั้งเป็นสิ่งที่เลือนราง
Uncanny ที่ปรากฏในงานวรรณกรรม
Uncanny อย่างที่ถูกวาดให้เห็นในงานวรรณกรรม ในเรื่องราวและผลผลิตทางจินตนาการ
มีข้อดีสำหรับการอภิปรายถึงมันโดยแยกออกมาโดยเฉพาะ เหนือสิ่งอื่นใด ที่สำคัญที่สุด
มันเป็นพื้นที่ซึ่งเป็นปัจจัยของความรู้สึกแบบ 'uncanny' อันอุดมสมบูรณ์มากกว่าในชีวิตจริง
เราอาจจะต้องจำกัดขอบเขตของสิ่งที่ตามมาภายหลังและสิ่งอื่นๆ ข้างเคียงไว้ก่อนว่า
ในการพูดถึง 'uncanny' ในผลงานทางศิลปะ บางสิ่งไม่สามารถพบเห็นได้ในชีวิตจริง
ความแตกต่างระหว่างสิ่งที่ถูกกดข่มไว้ และสิ่งที่ผ่านพ้นไปแล้วอย่างที่ถูกกล่าวไว้ข้างต้น
ไม่สามารถถูกย้ายมาสู่ 'uncanny' ในเรื่องราวที่แต่งขึ้นได้อย่างง่ายๆ โดยปราศจากการประยุกต์แนวคิดอย่างลึกซึ้ง
สำหรับขอบเขตของจินตนาการเพ้อฝันนั้น ขึ้นอยู่กับผลทางความรู้สึกของมันบนข้อเท็จจริงที่ว่า
เนื้อหาเรื่องราวของมันไม่จำเป็นต้องมีความเป็นจริงถูกต้องตามข้อเท็จจริงที่ตรวจสอบได้
ดังนั้นเราอาจต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ในประการแรกไม่ใช่ว่า 'uncanny' ในเรื่องที่แต่งขึ้นจะเป็นเช่นนั้นเสมอไปถ้ามันเกิดขึ้นในชีวิตจริง,
และในประการที่สองในเรื่องราวที่ถูกแต่งขึ้น การสร้างความรู้สึกแบบ 'uncanny'
มีความหมายรุ่มรวยกว่าที่มันเป็นในชีวิตจริง
ในเทพนิยาย โลกของความเป็นจริงถูกทอดทิ้งไว้เบื้องหลังนับตั้งแต่แรก และระบบความเชื่อแบบวิญญาณนิยมก็ถูกใช้อย่างไม่อ้อมค้อม การเติมเต็มความความปรารถนา, พลังลึกลับ, อำนาจเบ็ดเสร็จของความคิด, การทำให้วัตถุไร้ชีวิตกลายมามีชีวิต, องค์ประกอบทั้งหมดนี้เป็นสิ่งธรรมดามากในเรื่องราวแบบเทพนิยาย หากแต่ก็ไม่สามารถสร้าง uncanny ที่มีพลังได้ อย่างที่เราได้เรียนรู้ความรู้สึก 'uncanny' นั้น ไม่สามารถเกิดขึ้น ยกเว้นมันจะมีความขัดแย้งในการตัดสินใจว่า มันเป็นสิ่งหรือสภาวะที่ผ่านพ้นไปแล้วใช่หรือไม่ และถูกพิจารณาในฐานะเรื่องที่ไม่น่าเชื่อ. สำหรับเรื่องราวแบบเทพนิยายความขัดแย้งในการพิจารณานี้ได้ถูกตัดออกตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการดำเนินเรื่อง โดยหลักเกณฑ์โลกของเทพนิยาย ชนิดที่ได้เปิดโอกาสให้เราด้วยการยืนยันความเชื่อของเรามาตั้งแต่แรก ที่ในขอบเขตของเรื่องแต่งนั้น หลายสิ่งไม่ได้ 'uncanny' อย่างที่จะมันควรจะเป็น หากว่ามันเกิดขึ้นในชีวิตจริง
แม้ในเรื่องราวแบบอื่นบางประเภท เช่นในนวนิยายบางเรื่องจะมีจินตนาการน้อยกว่าโลกของเทพนิยายและไม่แตกต่างไปจากโลกแห่งความจริงนัก หากแต่มีการยอมรับสิ่งที่เป็นวิญญาณระดับสูงอย่างเช่นวิญญาณของปิศาจหรือผีของคนตาย ตราบเท่าที่เรื่องราวเหล่านั้นยังคงอยู่ภายในการกำหนดฉากของความเป็นจริงแบบจินตนาการ สัญลักษณ์พวกนั้นในเรื่องก็จะสูญเสียความรู้สึก 'uncanny' อย่างที่มีอยู่ในตัวของมันไป. วิญญาณในเรื่อง Inferno ของ Dante, หรือปิศาจเหนือธรรมชาติในเรื่อง Hamlet, Macbet หรือ Julius Caesar ของ Shakespeare อาจจะน่าโศกเศร้าและน่าหวาดกลัว แต่พวกมันไม่ได้ 'uncanny' อย่างแท้จริงมากไปกว่าโลกอันมหัศจรรย์ของเทพเจ้าในงานของ Homer ซึ่งหมายความว่า หากเราคิดว่าความเป็นจริงทางจินตนาการที่กำหนดขึ้นสำหรับเราโดยนักเขียน และเราพิจารณาการมีตัวตนของวิญญาณหรือภูตผีว่า การมีอยู่ของพวกมันมีความสมเหตุสมผลเช่นเดียวกันกับการมีตัวตนของพวกเราเองในโลกของความเป็นจริง ในกรณีเช่นนี้เราจะผิดพลาดในการแกะรอยของสภาวะ 'uncanny' โดยสิ้นเชิง สถานการณ์จะเปลี่ยนแปลงไปทันที ที่นักเขียนเปลี่ยนไปสู่เรื่องราวในโลกของความเป็นจริงตามธรรมดา ในกรณีนี้เขาได้ยอมรับการดำเนินเรื่องภายใต้เงื่อนไขทั้งหมดที่สามารถสร้างความรู้สึก 'uncanny' ในชีวิตจริง และทุกๆ สิ่งที่สามารถให้ความรู้สึกแบบ 'uncanny' ในความเป็นจริง ก็จะมีคุณลักษณะนี้เช่นกันเมื่อมันมีอยู่ในเรื่องราวตามแนวทางนี้
มากไปกว่านั้น ในกรณีที่นักเขียนสามารถเพิ่มผลทางความรู้สึกและเพิ่มทวีมันให้มากกว่าสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตจริง โดยใช้เหตุการณ์ชนิดที่ไม่เคยเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นได้ยากในความจริง ทำให้มันเกิดขึ้นในเรื่องราวที่ถูกแต่งขึ้น ในการทำเช่นนี้เขาจะใช้วิธีล่อหลอกให้เราไปสู่ความหลงผิด (ความเชื่อที่ผิด, ความเชื่อภูตผี - superstitiousness) ชนิดที่ในความเป็นจริงภายนอกเราได้ผ่านพ้นมันมาแล้ว เขาหลอกลวงเราโดยการทำให้เรายอมรับเรื่องราวด้วยความเป็นจริงที่เป็นปกติ และแล้วจากนั้นก็พาเรากระโดดข้ามมันไป เราจะมีปฏิกิริยาตอบโต้ต่อเรื่องแต่งของเขาอย่างที่เรามีปฏิกิริยากับประสบการณ์จริง โดยกว่าที่เราจะได้เห็นกลวิธีของเขาในการทำให้เราคล้อยตาม เราก็ได้ตกหลุมพลางทางความคิดไปแล้วและนักเขียนได้บรรลุวัตถุประสงค์ของเขาในที่สุด
แต่ Freud ก็ได้ย้ำว่า ความสำเร็จของนักเขียนนั้นไม่ได้สมบูรณ์ เรายังคงมีความไม่พอใจชนิดหนึ่งของความรู้สึกต่อต้านความพยายามที่จะหลอกลวง Freud ได้ตั้งข้อสังเกตอย่างเจาะจงภายหลังจากได้อ่านงานของ Schnitzler เรื่อง Die Weissagung [The Prophecy] และเรื่องที่คล้ายๆ กัน ชนิดที่เกี่ยวกับพลังเหนือธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม นักเขียนมีวิธีการเล่าเรื่องชนิดที่เขาสามารถหลีกเลี่ยงความรู้สึกต่อต้านของเรา โดยพวกเขาไม่พยายามที่จะให้ข้อมูลชัดแจ้งใดๆ แก่ผู้อ่านเกี่ยวกับธรรมชาติของโลกที่พวกเขาเขียนถึง อย่างไรก็ตาม เราก็ยังสามารถค้นหาข้อยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า เรื่องแต่งนำเสนอโอกาสสำหรับการสร้างความรู้สึกแบบ 'uncanny' ได้มากกว่าในชีวิตจริง เกี่ยวกับปัจจัยของความเงียบ ความโดดเดี่ยว และความมืด ซึ่งสามารถเพียงพูดได้ว่า มันเป็นส่วนประกอบที่แท้จริงในการผลิตของความกังวลในวัยเด็ก จากชนิดที่เป็นส่วนใหญ่ในมนุษย์ที่ไม่เคยเป็นอิสระจากมันได้เลย
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word
++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3 I สารบัญเนื้อหา
4
I สารบัญเนื้อหา
5 I สารบัญเนื้อหา
6
สารบัญเนื้อหา
7 I สารบัญเนื้อหา
8
ประวัติ
ม.เที่ยงคืน
สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง
e-mail
: midnightuniv(at)gmail.com
หากประสบปัญหาการส่ง
e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]
ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด
กว่า 1700 เรื่อง หนากว่า 35000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com
สมเกียรติ
ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ
ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com