ค้นหาบทความที่ต้องการ ด้วยการคลิกที่แบนเนอร์ midnight search engine แล้วใส่คำหลักสำคัญในบทความเพื่อค้นหา
โครงการสื่อเพื่อบริบทสิทธิมนุษยชน: จากชายขอบถึงศูนย์กลาง - Media Project: From periphery to mainstream
Free Documentation License - Copyleft
2006, 2007, 2008
2009, 2010, 2011
2012, 2013, 2014
Everyone is permitted to copy and distribute verbatim copies of
this licene document, but changing
it is not allowed. - Editor

อนุญาตให้สำเนาได้ โดยไม่มีการแก้ไขต้นฉบับ
เพื่อใช้ประโยชน์ทางการศึกษาทุกระดับ
ข้อความบางส่วน คัดลอกมาจากบทความที่กำลังจะอ่านต่อไป
เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๓ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา โดยบทความทุกชิ้นที่นำเสนอได้สละลิขสิทธิ์ให้กับสาธารณะประโยชน์

1

 

 

 

 

2

 

 

 

 

3

 

 

 

 

4

 

 

 

 

5

 

 

 

 

6

 

 

 

 

7

 

 

 

 

8

 

 

 

 

9

 

 

 

 

10

 

 

 

 

11

 

 

 

 

12

 

 

 

 

13

 

 

 

 

14

 

 

 

 

15

 

 

 

 

16

 

 

 

 

17

 

 

 

 

18

 

 

 

 

19

 

 

 

 

20

 

 

 

 

21

 

 

 

 

22

 

 

 

 

23

 

 

 

 

24

 

 

 

 

25

 

 

 

 

26

 

 

 

 

27

 

 

 

 

28

 

 

 

 

29

 

 

 

 

30

 

 

 

 

31

 

 

 

 

32

 

 

 

 

33

 

 

 

 

34

 

 

 

 

35

 

 

 

 

36

 

 

 

 

37

 

 

 

 

38

 

 

 

 

39

 

 

 

 

40

 

 

 

 

41

 

 

 

 

42

 

 

 

 

43

 

 

 

 

44

 

 

 

 

45

 

 

 

 

46

 

 

 

 

47

 

 

 

 

48

 

 

 

 

49

 

 

 

 

50

 

 

 

 

51

 

 

 

 

52

 

 

 

 

53

 

 

 

 

54

 

 

 

 

55

 

 

 

 

56

 

 

 

 

57

 

 

 

 

58

 

 

 

 

59

 

 

 

 

60

 

 

 

 

61

 

 

 

 

62

 

 

 

 

63

 

 

 

 

64

 

 

 

 

65

 

 

 

 

66

 

 

 

 

67

 

 

 

 

68

 

 

 

 

69

 

 

 

 

70

 

 

 

 

71

 

 

 

 

72

 

 

 

 

73

 

 

 

 

74

 

 

 

 

75

 

 

 

 

76

 

 

 

 

77

 

 

 

 

78

 

 

 

 

79

 

 

 

 

80

 

 

 

 

81

 

 

 

 

82

 

 

 

 

83

 

 

 

 

84

 

 

 

 

85

 

 

 

 

86

 

 

 

 

87

 

 

 

 

88

 

 

 

 

89

 

 

 

 

90

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Media Project: From periphery to mainstream
The Midnight University 2009
Email 1: midnightuniv(at)gmail.com
Email 2: [email protected]
Email 3: midnightuniv(at)yahoo.com
บทความวิชาการชิ้นนี้ เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๒ : Release date 27 March 2009 : Copyleft MNU.

สิ่งซึ่งทำให้วรรณกรรมสยองขวัญเป็นที่แพร่หลายคือ ความต้องการที่จะปลุกเร้าบรรยากาศที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และความรู้สึกหวาดกลัวในเราซึ่งเป็นผู้อ่านทั่วไป เช่นเดียวกับตอนที่เป็นเด็ก เราอาจจะหวาดกลัวเงารางๆ หรืออสูรกายที่เราเชื่อว่ามันนอนอยู่ใต้เตียง ความตื่นกลัวมีผลอย่างรุนแรงในวัยเยาว์. ในวัยผู้ใหญ่ความกลัวของเรากลายมาเป็นความกลัวที่ตั้งอยู่บนเหตุการณ์ในโลกแห่งความจริงมากขึ้น กล่าวคือ มันกลายเป็นความกลัวที่จะสูญเสียคนที่เรารัก ความกลัวว่าจะไม่อาจ ควบคุมชีวิตของเราได้ ความสยองขวัญโดยธรรมชาติแล้วเป็นความรู้สึกส่วนบุคคล เป็นการละเมิดหรือการรุกรานความสะดวกสบายของเรา มันพูดถึงสภาพการณ์ของมนุษย์ และกระตุ้นเตือนให้เราตระหนักว่า "เรามีความรู้และความเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้น้อยเพียงไร"

H



27-03-2552 (1707)
การวิเคราะห์แนวทางการนำเสนอภาพยนตร์แนวสยองขวัญ
ภาพยนตร์แนวสยองขวัญ: มุมมองผ่านทฤษฎีจิตวิเคราะห์
วิสิฐ อรุณรัตนานนท์ : ผู้วิจัย
หลักสูตรสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

หมายเหตุ: งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานค้นคว้าอิสระ เรื่อง
"การวิเคราะห์แนวทางการนำเสนอภาพยนตร์แนวสยองขวัญ"
ชื่อผู้วิจัย: วิสิฐ อรุณรัตนานนท์ (นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ)
คณะกรรมการที่ปรึกษาการค้นคว้าแบบอิสระ: รองศาสตราจารย์ สมเกียรติ ตั้งนโม
อาจารย์ ทัศนัย เศรษฐเสรี, อาจารย์ วีระพันธ์ จันทร์หอม

งานวิจัยภาพยนตร์แนวสยองขวัญนี้ ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญดังต่อไปนี้
- บทนำ เรื่องราวสยองขวัญ (Horror Fiction)
- ระบบความเชื่อแบบวิญญาณนิยม, ความเชื่อในชีวิตหลังความตาย
- เรื่องราววิญญานร้าย และ Pontianak ของอินโดนีเซีย
- ความเชื่อแบบวิญญานนิยม เหลือรอดอยู่ในสื่อบันเทิง
- เรื่องราวสยองขวัญ (Horror Fiction) ในฐานะวัฒนธรรมประชานิยม (Popular Culture)
- เรื่องราวสยองขวัญสมัยใหม่ในวรรณกรรมแบบโกธิค
- ความสยองขวัญเตือนว่า เรามีความรู้ในสิ่งต่างๆ เล็กน้อยเพียงไร
- Stephen King เครื่องหมายการค้ามูลค่าหลายร้อยล้าน
- Koji Suzuki: เมื่อความสยองขวัญกลายเป็นสินค้า
- ภาพยนตร์สยองขวัญ คุณค่าเชิงสุนทรียระดับต่ำ ?
- ทฤษฏีภาพยนตร์ (Film theory)
ติดต่อมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน : midnightuniv(at)gmail.com

บทความเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
ข้อความที่ปรากฏบนเว็บเพจนี้ ได้รักษาเนื้อความตามต้นฉบับเดิมมากที่สุด
เพื่อนำเสนอเนื้อหาตามที่ผู้เขียนต้องการสื่อ กองบรรณาธิการเพียงตรวจสอบตัวสะกด
และปรับปรุงบางส่วนเพื่อความเหมาะสมสำหรับการเผยแพร่ รวมทั้งได้เว้นวรรค
ย่อหน้าใหม่ และจัดทำหัวข้อเพิ่มเติมสำหรับการค้นคว้าทางวิชาการ
บทความทุกชิ้นที่เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งนี้ ยินดีสละลิขสิทธิ์เพื่อมอบเป็นสมบัติ
ทางวิชาการแก่สังคมไทยและผู้ใช้ภาษาไทยทั่วโลก ภายใต้เงื่อนไข้ลิขซ้าย (copyleft)
บทความมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ลำดับที่ ๑๗๐๗
เผยแพร่บนเว็บไซต์นี้ครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๒
(บทความทั้งหมดยาวประมาณ ๒๒ หน้ากระดาษ A4)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

การวิเคราะห์แนวทางการนำเสนอภาพยนตร์แนวสยองขวัญ
ภาพยนตร์แนวสยองขวัญ: มุมมองผ่านทฤษฎีจิตวิเคราะห์
วิสิฐ อรุณรัตนานนท์ : ผู้วิจัย
หลักสูตรสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

ชื่อเรื่องการค้นคว้าแบบอิสระ การวิเคราะห์แนวทางการนำเสนอภาพยนตร์แนวสยองขวัญ

คณะกรรมการที่ปรึกษาการค้นคว้าแบบอิสระ
รองศาสตราจารย์ สมเกียรติ ตั้งนโม ประธานกรรมการ
อาจารย์ ทัศนัย เศรษฐเสรี กรรมการ
อาจารย์ วีระพันธ์ จันทร์หอม กรรมการ

บทคัดย่อ
การศึกษาพิเศษเฉพาะเรื่องฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาและสำรวจแนวคิดภาพยนตร์สยองขวัญ ผ่านการนำเสนอเนื้อหา เรื่องราว และเทคนิคทางด้านภาพและเสียงของภาพยนตร์ ความบันเทิงจากอารมณ์ของความหวาดหวั่นน่าสะพรึงกลัว นับเป็นลักษณะเฉพาะของภาพยนตร์สยองขวัญที่ก่อให้เกิดข้อสงสัยในการศึกษาภาพยนตร์ว่า ทำไมผู้ชมภาพยนตร์สยองขวัญจึงสามารถรู้สึกสนุกสนานเพลิดเพลินไปกับอารมณ์ความรู้สึกที่ไม่เป็นที่พึงประสงค์ เช่นความหวาดหวั่นและความน่าพรั่นพรึง คำถามนี้ได้กระตุ้นให้เกิดการอภิปรายกันอย่างกว้างขวางระหว่างนักวิชาการสาขาต่างๆ ทั้ง ภาพยนตร์ศึกษา ปรัชญา มานุษยวิทยา และจิตวิทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทฤษฏีจิตวิเคราะห์ จากการสังเกตลักษณะองค์ประกอบต่างๆ ของภาพยนตร์สยองขวัญพบว่า องค์ประกอบต่างๆ ของภาพยนตร์สยองขวัญถูกสร้างขึ้นอย่างมีวัตถุประสงค์ เพื่อใช้ในการปะทะและหักล้างกับความคิดและความรู้สึกถึงความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและสวัสดิภาพในการดำรงชีวิต โดยการทำให้ผู้ชมภาพยนตร์มาเผชิญหน้ากับสิ่งแปลกประหลาดที่สามารถสั่นคลอนและท้าทายกรอบทางความคิดที่มนุษย์คุ้นชินได้ ทั้งนี้อาจด้วยความต้องการในระดับจิตไร้สำนึกของผู้ชมภาพยนตร์สยองขวัญเองซึ่งต้องการทำลายล้างกรอบและกฎเกณฑ์ของสังคมที่ควบคุมจิตสำนึกของบุคคลในสังคม

บทนำ เรื่องราวสยองขวัญ (Horror Fiction)
เรื่องราวอันน่าหวาดกลัวเกี่ยวกับภูตผีปิศาจ สิ่งแปลกประหลาดได้ดำรงอยู่คู่กับมนุษย์มาอย่างยาวนาน เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่สำคัญของวัฒนธรรม ดังจะเห็นได้จากที่ทุกๆ สังคมวัฒนธรรม ล้วนแต่มีเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งเหนือธรรมชาติอันลึกลับ น่าสะพรึงกลัว และเป็นภัยคุกคามต่อชีวิต ซึ่งจากจุดร่วมทางวัฒนธรรมนี้อาจถือได้ว่า เรื่องราวเกี่ยวกับภูติผีปิศาจความลึกลับนับเป็นองค์ประกอบทางวัฒนธรรมที่เป็นสากลของมนุษย์ แม้ว่าเมื่อพิจารณาจากรายละเอียดที่ปรากฏในการแสดงออกแต่ละวัฒนธรรมแล้ว เรื่องราวเหล่านี้จะมีความผิดแผกกันออกไปบ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของวิถีชีวิต สภาพแวดล้อมทางสังคมและทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ทุกสังคมวัฒนธรรมก็ยังมีจุดร่วมที่ไม่แตกต่างกันในเรื่องราวเกี่ยวกับภูตผีปิศาจที่ดำรงอยู่อย่างแปลกแยกไปจากกฎเกณฑ์ทางธรรมชาติที่มนุษย์รู้จัก โดยหากสืบสาวไปถึงต้นกำเนิดที่มาของเรื่องราวเหล่านี้อาจพบว่ามันมีอยู่มาอย่างยาวนานนับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในรูปของความเชื่อแบบวิญญาณนิยม (Animism). ความเชื่อแบบวิญญาณนิยม คือระบบความเชื่อที่เชื่อว่ามีวิญญาณสถิตอยู่ในสัตว์, พืช, และสรรพสิ่งต่างๆ รวมทั้งในมนุษย์ นอกจากนั้นความเชื่อแบบวิญญาณนิยมยังเชื่อว่ามีวิญญาณอยู่ในปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ, ในสิ่งแวดล้อมทางภูมิศาสตร์, ในวัตถุทุกๆ อย่าง และแม้แต่ในสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ด้วย

- Edward Burnett Tylor นักมานุษยวิทยาชาวอังกฤษมีความเห็นว่า ความเชื่อแบบวิญญาณนิยมนี้เป็นระบบความเชื่อที่เก่าแก่ที่สุดในโลก แม้ว่าตัวระบบความเชื่อแบบวิญญาณนิยมจะไม่ถูกนับว่าเป็นศาสนาตามนิยามที่เป็นทางการ แต่นักวิชาการหลายคนยอมรับว่า ความเชื่อแบบวิญญาณนิยมนี้เป็นรากฐานในการถือกำเนิดของศาสนาต่างๆ

- David Hume นักปรัชญาชาวอังกฤษ กล่าวไว้ในหนังสือ Natural History of Religion ว่า "มันมีแนวโน้มที่เป็นสากลในเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่คิดว่า สิ่งต่างๆ ทั้งหมดนั้นเหมือนกับตัวของพวกเขาเอง และถ่ายทอดเอาคุณลักษณะและจิตสำนึกแบบที่ตนเองรู้จักคุ้นเคยไปสู่ทุกๆ สิ่ง" ("There is an universal tendency among mankind to conceive all beings like themselves, and to transfer to every object those qualities with which they are familiarly acquainted, and of which they are intimately conscious.")

- Sigmund Freud มีความเห็นว่า มนุษย์ในยุคแรกได้ความคิดแบบวิญญาณนิยมมาจากการสังเกตปรากฏการณ์ของการนอนหลับและความฝัน โดยเปรียบเทียบกับปรากฏการณ์ของความตาย และพวกเขาได้พยายามที่จะอธิบายสภาวะนั้น. Freud พิจารณาว่ามันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่จะมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อปรากฏการณ์เหล่านั้น โดยมันได้ไปกระตุ้นให้เกิดการก่อรูปทางความคิดเกี่ยวกับวิญญาณขึ้น และต่อมาความคิดเกี่ยวกับวิญญาณนี้ก็ได้ขยายออกไปสู่ความคิดของมนุษย์ที่มีต่อวัตถุในโลกภายนอกด้วย

ระบบความเชื่อแบบวิญญาณนิยม
ระบบความเชื่อแบบวิญญาณนิยมส่วนมากถือว่าวิญญาณจะยังคงดำรงอยู่ แม้เมื่อภายหลังจากความตาย ในบางความเชื่อเห็นว่า วิญญาณจะผ่านไปสู่โลกที่อุดมสมบูรณ์กว่าหรือโลกที่สามารถเก็บเกี่ยวพืชผลไปได้ตลอดกาล, ในขณะที่ความเชื่ออื่นๆ มองว่า วิญญาณจะยังคงอยู่บนโลกในฐานะผี (Ghost), และผีเหล่านี้มักจะดำรงอยู่อย่างมีเจตนาร้าย. นอกจากนี้ยังมีระบบความเชื่ออื่นๆ ที่ผสมผสานความเชื่อทั้งสองแบบนี้เข้าไว้ด้วยกัน โดยเป็นความเชื่อที่ว่าวิญญาณของคนตายจะต้องเดินทางไปยังโลกของวิญญาณ แต่หากวิญญาณใดพลัดหลงทางไป วิญญาณนั้นก็จะกลับกลายมาเป็นผีที่เร่ร่อนอยู่บนโลกของคนที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งบ่อยครั้งที่พิธีศพและการบูชาบรรพบุรุษถูกถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น ในฐานะขั้นตอนการเตรียมให้ผู้ตายได้เดินทางไปถึงโลกหน้าซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางได้ด้วยดี

ความเชื่อในชีวิตหลังความตาย
จากความเชื่อในชีวิตหลังความตาย ทำให้เกิดประเพณีการส่งอาหาร, แสงสว่าง, ไฟ, ฯ เช่นเดียวกับการปฏิบัติต่อเพื่อนหรือการแสดงความกตัญญู ซึ่งภายหลังได้กลายมาเป็นประเพณีการบูชาบรรพบุรุษ การถวายอาหารหรือการหลั่งเลือดในหลุมฝังศพพัฒนาไปสู่ระบบประเพณีการบูชายัญ แม้แต่เมื่อไม่ได้มีการบูชาบรรพบุรุษ ความปรารถนาที่จะจัดเตรียมผู้ตายให้มีความสะดวกสบายในชีวิตในโลกหน้าได้น้อมนำไปสู่การบูชายัญคู่ครอง, ทาส, สัตว์, และสิ่งอื่นๆ การทำลายหรือเผาวัตถุในหลุมฝังศพหรือการส่งค่าจ้างให้แก่คนพายเรือข้ามภพ จะมีการใส่เหรียญไว้ในปากศพ เพื่อจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางของวิญญาณ

เรื่องราววิญญานร้าย และ Pontianak ของอินโดนีเซีย
สำหรับคำอธิบายหนึ่งของเรื่องราววิญญานร้าย หรือเกี่ยวกับการเดินทางสู่โลกหน้าของวิญญาณไม่บรรลุผล อาจเป็นเพราะวิญญาณต้องการย้อนกลับมาสู่โลกของคนเป็น เพื่อช่วยในการหาตัวฆาตกร มีความเชื่ออย่างกว้างขวางว่า ผู้ที่ตายด้วยความรุนแรงและเจ็บปวดจะกลายไปเป็นวิญญาณอาฆาตและเป็นอันตรายต่อผู้มีชีวิตที่อยู่ใกล้จุดที่วิญญาณนั้นตาย เช่นในนิทานพื้นบ้านของอินโดนีเซียและมาเลเซีย ที่เล่ากันว่า หญิงที่ตายขณะคลอดลูกจะกลายไปเป็นผีดิบซึ่งถูกเรียกว่า pontianak(*) , และคุกคามชีวิตของคนเป็น, ซึ่งผู้คนจะต้องพึ่งเวทย์มนต์หรือศาสนาในการขับไล่วิญญาณร้ายเหล่านั้น

(*)The Pontianak, Kuntilanak, Matianak or "Boentianak" (as known in Indonesia, sometimes shortened to just kunti) is a type of vampire in Malay folklore, similar to the Langsuir. Pontianak are women who died during childbirth and became undead, seeking revenge and terrorizing villages.

นอกจากนั้นยังพบว่า ผู้คนจำนวนมากเคารพและบูชาสัตว์ ซึ่งบางความเชื่ออาจจะนับถือสัตว์ป่าที่ดุร้าย โดยที่ผู้คนเหล่านี้จะคิดว่าตนมีสายสัมพันธ์สืบต่อมาจากสัตว์เหล่านั้น. เป็นที่ชัดเจนว่าความเชื่อเหล่านี้เคารพสัตว์เหล่านั้นในฐานะบรรพบุรุษที่ล่วงลับ อย่างที่เรียกว่าความเชื่อแบบ totemism(*) และนอกจากนี้ยังมีความเชื่ออีกมากมายที่คิดว่าวิญญาณสามารถปรากฏร่างขึ้นในรูปของสัตว์ต่างๆ และสามารถทำอันตรายถึงแก่ชีวิตต่อผู้คนได้

(*)Totemism (derived from the root -oode- in the Ojibwe language, which referred to something kinship-related, c.f. odoodem, "his totem") is a religious belief that is frequently associated with shamanistic religions. The totem is usually an animal or other naturalistic figure that spiritually represents a group of related people such as a clan. Totemism played an active role in the development of 19th and early 20th century theories of religion, especially for thinkers such as ?mile Durkheim, who concentrated their study on primitive societies (which was an acceptable description at the time).

แม้ว่าจะไม่มีข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนและยังคงเป็นประเด็นถกเถียงกันในทางทฤษฏีว่า ความเชื่อแบบวิญญาณนิยมถือว่าเป็นจุดกำเนิดของศาสนาหรือไม่ก็ตาม แต่สิ่งที่แน่นอนคือความเชื่อแบบวิญญาณนิยมเป็นระบบความเชื่อที่เก่าแก่มากที่สุดระบบหนึ่ง ซึ่งดำรงอยู่มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ความเชื่อแบบวิญญาณนิยมถูกมองว่า เป็นความพยายามแรกสุดของมนุษย์ที่จะอธิบายปรากฏการณ์ มากกว่าที่จะเป็นท่าทีทางด้านจิตใจที่มีต่อสาเหตุของปรากฏการณ์ต่างๆ ซึ่งหมายความว่า มันมีความเป็นปรัชญามากกว่าที่จะเป็นศาสนา อย่างไรก็ตามในศาสนาที่มีผู้คนนับถืออยู่ในปัจจุบัน ยังคงปรากฏสิ่งที่บ่งถึงความเชื่อแบบวิญญาณนิยมที่แฝงตัวอยู่ทั่วไปในรูปของพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งต่างมีที่มาจากความเชื่อแบบวิญญาณนิยมทั้งในรูปแบบของการนับถือบูชาวิญญาณของบรรพบุรุษ และในรูปแบบของการบวงสรวงเซ่นไหว้วิญญาณต่างๆ หากแต่ความเชื่อและประเพณีปฏิบัติแบบวิญญาณนิยมที่ปรากฏแฝงอยู่ทั่วไปในศาสนาทั้งหลายนั้น กลับถูกมองว่าเป็นความเชื่อที่นอกรีตผิดเพี้ยนไปจากหลักธรรมของศาสนา และเป็นสิ่งที่จะชักจูงผู้คนไปในทางที่ผิด แม้กระทั่งเมื่อสังคมตะวันตกได้ล่วงเข้าสู่ยุคแห่งภูมิปัญญา หรือ The Enlightenment แล้วก็ตาม ที่หันมาให้ความสำคัญในระบบคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลและพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์

ความเชื่อแบบวิญญานนิยม เหลือรอดอยู่ในสื่อบันเทิง
แม้พัฒนาการมาสู่สมัยใหม่จะทำให้ความเชื่อแบบวิญญาณนิยมถูกปฏิเสธอย่างสิ้นเชิง ทว่าในท่ามกลางสังคมร่วมสมัยที่มีรากฐานหลักทางความเชื่ออยู่บนฐานวิทยาศาสตร์ ซึ่งพัฒนาขึ้นมาจากยุคสมัยแห่งภูมิปัญญาในคริสต์ศตวรรษที่18 แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังปรากฏร่องรอยของความเชื่อแบบวิญญาณนิยมแฝงตัวอยู่ในรูปของสื่อบันเทิงต่างๆ อาจกล่าวได้ว่า ปัจจุบันระบบความเชื่อแบบวิญญาณนิยมยังสามารถที่จะดำรงอยู่ได้โดยรอดพ้นจากการทำลายล้างจากระบบความเชื่ออื่น เนื่องจากมันได้วางตัวลงบนพื้นที่ของความบันเทิง ซึ่งถือได้ถูกลดทอนระดับความสำคัญและระดับของความเชื่อลง เหลือเพียงแค่ความคิดที่มีต่อเรื่องราวเกี่ยวกับภูตผีปิศาจและสิ่งเหนือธรรมชาติต่างๆ ซึ่งผู้คนยังคงมีความปรารถนาที่จะสัมผัสเรื่องราวแปลกประหลาดบางอย่าง หรือรับชมเรื่องราวเหนือธรรมชาติที่ไม่เป็นที่ยอมรับในระบบความเชื่อหลักเหล่านี้

เรื่องราวสยองขวัญ (Horror Fiction) ในฐานะวัฒนธรรมประชานิยม (Popular Culture)
เรื่องราวสยองขวัญ คือเรื่องราวที่ถูกแต่งขึ้นเพื่อมุ่งสร้างอารมณ์ความรู้สึกหวาดกลัว, สับสน หรือตื่นตระหนกให้แก่ผู้เสพ ซึ่งเป็นผลมาจากการนำเสนอประสบการณ์อันสยดสยอง โดยมากแล้วจะเป็นเรื่องราวของการถูกคุกคามจากสิ่งชั่วร้ายหรือสิ่งซึ่งไม่เป็นที่เข้าใจ อาจเป็นเรื่องเหนือธรรมชาติที่รุกล้ำเข้ามาในประสบการณ์ของชีวิตประจำวันของมนุษย์

บ่อยครั้งเรื่องราวสยองขวัญจะคาบเกี่ยวกับเรื่องราวแนววิทยาศาสตร์(Science Fiction) หรือเรื่องราวแนวจินตนาการเพ้อฝัน(Fantasy Fiction) เรื่องราวทั้งสามประเภทนี้บางครั้งอาจถูกระบุอยู่ภายในประเภทของเรื่องราวของความเสี่ยงเกินจริง(Speculative Fiction) หรือเรื่องราวเหนือธรรมชาติ (Supernatural Fiction) เรื่องราวที่น่าสยดสยองถูกพบว่า มันปรากฏอยู่ในเรื่องเล่าต่างๆ ที่ได้รับการบันทึกมานับแต่อดีต ตำนานและเรื่องราวปรัมปราหลายเรื่องมีลักษณะเนื้อหาที่ส่งผลต่อนักเขียนเรื่องราวสยองขวัญในรุ่นหลัง เรื่องเล่าเกี่ยวกับผีดูดเลือด (Vampire) และปิศาจ (Demons)จากยุคโบราณ รวมทั้งนิทานพื้นบ้านอีกเป็นจำนวนมากก็มักจะเป็นเรื่องราวที่น่าสะพรึงกลัวด้วยกันทั้งสิ้น

เรื่องราวสยองขวัญสมัยใหม่ในวรรณกรรมแบบโกธิค
เรื่องราวสยองขวัญสมัยใหม่มีรากฐานมาจากวรรณกรรมแบบโกธิค (Gothic Novels, Gothic Literature, Gothic fiction, Gothic horror) ซึ่งเกิดขึ้นและได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงปลายคริสตศตวรรษที่ 18 จนถึงต้นคริสตศตวรรษที่ 19 , นวนิยายแบบโกธิคมีลักษณะเด่นที่เป็นเสน่ห์เฉพาะตัวคือ การผสมผสานเรื่องราวอันอ่อนไหวสะเทือนใจตามแบบนิยายชวนฝัน(Romance Novels) เข้ากับเรื่องราวอันน่าสยดสยอง น่าพรั่นพรึง (Horror Fiction) ผลงานที่นับได้ว่าเป็นต้นแบบของวรรณกรรมโกธิคคือนิยายเรื่อง The Castle of Otranto ประพันธ์โดย Horace Walpole ถูกตีพิมพ์เมื่อปี ค.ศ.1794

(*)Gothic fiction (sometimes referred to as Gothic horror) is a genre of literature that combines elements of both horror and romance. As a genre, it is generally believed to have been invented by the English author Horace Walpole, with his 1764 novel The Castle of Otranto.

นวนิยายโกธิคที่มีชื่อเสียงเป็นที่จดจำมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่นิยายเรื่อง Frankenstein ประพันธ์โดย Mary Wollstonecraft Shelly ตีพิมพ์ในปี ค.ศ.1818, นิยายเรื่อง Dr. Jekyll and Mr. Hyde ประพันธ์โดย Robert Louis Stevenson ตีพิมพ์ในปี 1886 และนิยายเรื่อง Dracula ประพันธ์โดย Bram Stoker ตีพิมพ์ในปี 1897 ซึ่งผลงานนวนิยายหรือวรรณกรรมโกธิคเหล่านี้ได้ส่งอิทธิพลและแม้กระทั่งถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์แล้วหลายเรื่อง

Douglas E. Winter นักเขียนและนักวิจารณ์นิยายสยองขวัญชาวอเมริกัน เขียนไว้ในหนังสือของเขา Prime Evil ในปี 1982 ตอนหนึ่งว่า "เรื่องราวสยองขวัญไม่ใช่แนวทาง เหมือนอย่างนิยายสืบสวน(Mystery Fiction), นิยายวิทยาศาสตร์(Science Fiction) หรือนิยายแนวบุกเบิกตะวันตก (Western Fiction) มันไม่ใช่เพียงประเภทของนิยายหรือเรื่องราวที่แต่งขึ้น, ที่จะถูกจัดไว้บนชั้นหนังสือตามห้องสมุดหรือร้านหนังสือ หากแต่ความสยองขวัญ(Horror)นั้นเป็นอารมณ์ความรู้สึก" ซึ่งหมายความว่า เนื้อหาสาระสำคัญของเรื่องราวสยองขวัญนั้นไม่ใช่รูปแบบของฉากหรือตัวละคร หากแต่เป็นอารมณ์ของความหวาดกลัวน่าสยดสยอง

ความสยองขวัญเตือนว่า เรามีความรู้ในสิ่งต่างๆ เล็กน้อยเพียงไร
ความรู้สึกสยองขวัญเป็นอารมณ์ความรู้สึกที่มักจะปรากฏขึ้นบ่อยครั้ง เมื่อบุคคลทั่วไปได้พบเห็น ได้ยิน หรือมีประสบการณ์กับสิ่งที่ตื่นตระหนก และเป็นความรู้สึกที่ทำให้จิตใจสั่นไหววูบวาบจนขนลุกขนชันเมื่อประสบกับสิ่งที่น่าเกลียดน่าขยะแขยง สิ่งซึ่งทำให้วรรณกรรมสยองขวัญเป็นที่แพร่หลายคือ ความต้องการที่จะปลุกเร้าบรรยากาศที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และความรู้สึกของอารมณ์หวาดกลัวในเราซึ่งเป็นผู้อ่านทั่วไป เช่นเดียวกับตอนที่เป็นเด็ก เราอาจจะหวาดกลัวเงารางๆ จากประตูที่เปิดแง้มอยู่ หรืออสูรกายที่เราเชื่อว่ามันนอนอยู่ใต้เตียง ความตื่นกลัวต่อจินตนาการมีผลอย่างรุนแรงในวัยเยาว์. ในวัยผู้ใหญ่ความกลัวของเรากลายมาเป็นความกลัวที่ตั้งอยู่บนเหตุการณ์ในโลกแห่งความจริงมากขึ้น กล่าวคือ มันกลายเป็นความกลัวที่จะสูญเสียคนที่เรารัก ความกลัวว่าจะไม่สามารถควบคุมชีวิตของเราได้ ความสยองขวัญโดยธรรมชาติแล้วเป็นความรู้สึกส่วนบุคคล เป็นการละเมิดหรือการรุกรานความสะดวกสบายของเรา มันพูดถึงสภาพการณ์ของมนุษย์ และกระตุ้นเตือนให้เราตระหนักว่า "เรามีความรู้และความเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้น้อยเพียงไร"

Stephen King เครื่องหมายการค้ามูลค่าหลายร้อยล้าน
นิยายสยองขวัญได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน ความนิยมในตัวของมันในฐานะวัฒนธรรมประชานิยม อาจเป็นที่สังเกตได้จากตัวอย่างผลงานการประพันธ์ของ Stephen King(*) นักเขียนนวนิยายสยองขวัญชาวอเมริกันผู้มีชื่อเสียง นวนิยายเรื่อง Carrie ได้รับการตีพิมพ์ออกจำหน่ายในปี ค.ศ.1974 ซึ่งได้กลายมาเป็นหนังสือขายดีที่สร้างชื่อเสียงให้กับเขาอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มันได้สร้างรายได้ให้กับ King อย่างที่ตัวเขาเองไม่เคยคาดคิดมาก่อน จากความสำเร็จทางด้านยอดขายของนิยายเรื่องดังกล่าว ทำให้มันได้รับการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ในชื่อเดียวกันในปี 1976

(*)Stephen Edwin King (born September 21, 1947) is an American author of contemporary horror, fantasy and science fiction. Having sold an estimated 300-350 million copies of his books, King is best known for his work in horror fiction, in which he demonstrates a thorough knowledge of the genre's history. Many of his stories have been adapted for other media, including movies, television series and comic books. King has written a number of books using the pen name "Richard Bachman" and one short story where he was credited as "John Swithen". In 2003 he received The National Book Foundation's Medal for Distinguished Contribution to American Letters.

Koji Suzuki: เมื่อความสยองขวัญกลายเป็นสินค้า
ชื่อของ Stephen King ได้กลายมาเป็นเครื่องหมายสินค้า (brand) ที่มีมูลค่าหลายล้านดอลล่าร์สหรัฐ สำนักพิมพ์ได้เห็นถึงสัญญาณนี้และได้ดำเนินการทางการตลาดอย่างเต็มรูปแบบเพื่อสร้างอารมณ์สยองขวัญให้กลายเป็นสินค้า ซึ่งได้ก่อให้เกิดอัตลักษณ์เฉพาะขึ้นมา นักเขียนคนอื่นๆ ได้พากันหันมาเขียนงานในแนวสยองขวัญด้วยความกระตือรือร้น เพื่อหวังจะประสบความสำเร็จอย่างมหาศาลตามอย่าง Stephen King ตัวอย่างความสำเร็จของเรื่องราวแนวสยองขวัญอีกตัวอย่างหนึ่งคือ นวนิยายสยองขวัญเรื่อง Ringu หรือ Ring ผลงานของนักเขียนชาวญี่ปุ่น Koji Suzuki (*) ซึ่งถูกตีพิมพ์ออกจำหน่ายในปี ค.ศ.1991 และได้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ครั้งแรกในปี 1998 โดยการกำกับของ Hideo Nakata ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวญี่ปุ่น

(*)Koji Suzuki (Suzuki Koji born May 13, 1957) is a Japanese writer, who was born in Hamamatsu and currently lives in Tokyo. Suzuki is the author of the Ring cycle of novels, which has been adapted into a manga series. Fluent in English, he has written several books on the subject of fatherhood. His hobbies include traveling and riding motorcycles around (hobbies found on the back of The Ring, 2002, Koji Suzuki). He is currently on the selection committee for the Japan Fantasy Novel Award.

ภาพยนตร์เรื่อง Ringu หรือ The Ring ได้ก่อให้เกิดกระแสความนิยมในภาพยนตร์สยองขวัญขึ้นอย่างมหาศาล จนได้เกิดภาคต่อของภาพยนตร์เรื่องนี้ออกมาอีกหลายตอน นอกจากนั้นเรื่องราวของวีดิโอเทปต้องคำสาปของภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้กลายมาเป็นสูตรสำเร็จใหม่ของภาพยนตร์สยองขวัญ ทำให้มีภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเรื่องราวในลักษณะเดียวกันถูกสร้างตามๆ กันออกมาอย่างมากมาย อาทิเช่น ภาพยนตร์เกี่ยวกับภูตผีในเครือข่ายอินเตอร์เนทใน Kairo หรือ Pulse ในปี 2001 , ภาพยนตร์เกี่ยวกับคำสาปในโทรศัพท์มือถือในเรื่อง One miss call ในปี 2003

นอกจากนี้ กระแสความนิยมของ The Ring ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกได้ทำให้บริษัท DreamWorks SKG ของอเมริกันซื้อลิขสิทธิ์ของภาพยนตร์เรื่อง The Ring ไปสร้างใหม่ในรูปแบบของภาพยนตร์ฮอลลีวูดในปี 2002 ซึ่งได้ก่อให้เกิดกระแสของการนำภาพยนตร์สยองขวัญของเอเชียที่ได้รับความนิยมไปสร้างใหม่ในรูปแบบภาพยนตร์สยองขวัญของฮอลลีวูดตามมาอีกหลายเรื่อง เช่น ภาพยนตร์ญี่ปุ่นปี 2000 เรื่อง Ju-On ถูกนำไปสร้างใหม่โดยบริษัท Sony Pictures ในชื่อ The Grudge ในปี 2003, หรือภาพยนตร์ไทยปี 2004 เรื่อง Shutter หรือ ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ ซึ่งได้ถูกนำบริษัท 20th Century Fox ในปี 2008

เรื่องราวแนวสยองขวัญได้กลายมาเป็นคำนิยามถึงแบบแผน, แบบอย่าง ถูกผลักดันให้ดำเนินรอยตามกระบวนการและวิธีการที่แน่นอน สำนักพิมพ์ตีพิมพ์นิยายที่เป็นไปตามสูตรนี้ออกมาอย่างล้นหลามให้ผู้อ่านได้บริโภคซ้ำแล้วซ้ำเล่าตามต้องการ รวมทั้งบริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์ต่างก็มุ่งผลิตภาพยนตร์สยองขวัญ ที่อาศัยรูปแบบที่ประสบสำเร็จทางด้านรายได้จากภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ก่อนหน้า ซึ่งได้ทำให้เกิดภาพยนตร์ที่มีพื้นฐานคล้ายๆ กันออกมา เป็นความกลัวที่เหมือนๆ กัน เพื่อตอบสนองความกระหายอันไม่สิ้นสุดของผู้ชม จนกระทั่งปัจจุบันภาพยนตร์สยองขวัญเป็นโหลๆ กลายของเลียนแบบ เป็นสูตรสำเร็จที่ผู้สร้างผลงานสยองขวัญสามารถที่จะประกันความเสี่ยงและแน่ใจถึงรายได้ล่วงหน้าได้โดยอาศัยความสำเร็จก่อนหน้าเป็นแบบในการผลิตทั้งนวนิยายและภาพยนตร์

ภาพยนตร์สยองขวัญ คุณค่าเชิงสุนทรียระดับต่ำ ?
แม้ว่าในทางศิลปะภาพยนตร์ จะมีการประเมินคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ของภาพยนตร์สยองขวัญไว้ในระดับต่ำ และมองว่าเป็นเพียงวัฒนธรรมประชานิยม(Popular culture) ซึ่งมีลักษณะฉาบฉวยไร้คุณค่าหรือปราศจากรสนิยมทางศิลปะจากมุมมองของวัฒนธรรมชั้นสูง กระนั้นก็ตาม นับตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 80 เป็นต้นมา ภาพยนตร์สยองขวัญเริ่มได้รับความสนใจจากนักวิชาการทางภาพยนตร์ศึกษาและวัฒนธรรมศึกษามากขึ้นตามลำดับ ซึ่งได้พบลักษณะเฉพาะอันแปลกประหลาดที่น่าสนใจหลายประการปรากฏในกลุ่มภาพยนตร์แนวสยองขวัญนี้

ในมุมมองทางวิชาการ กลุ่มภาพยนตร์แนวสยองขวัญได้ซ่อนนัยยะทางสังคมวัฒนธรรมและจิตวิทยาไว้อย่างมากมาย ผ่านการใช้สัญลักษณ์ที่เป็นการอุปมาอุปไมยอย่างซับซ้อน รวมทั้งความสำคัญและบทบาททางสังคมวัฒนธรรมของภาพยนตร์แนวสยองขวัญ ซึ่งมีหน้าที่และความหมายเฉพาะ แตกต่างไปจากภาพยนตร์ในแนวอื่นๆ อย่างชัดเจน. ภาพยนตร์สยองขวัญมีประวัติศาสตร์มายาวนาน นับได้ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ โดยในช่วงปลายคริสตศตวรรษที่ 19 ก็ได้ปรากฏภาพยนตร์ที่มีลักษณะของแนวภาพยนตร์แบบสยองขวัญขึ้นมาแล้ว ซึ่งเป็นผลงานของนักสร้างภาพยนตร์ยุคบุกเบิกชาวฝรั่งเศษ Georges Melies เขาได้สร้างภาพยนตร์สยองขวัญเรื่องแรก คือ Le Manoir du diable หรือ The Devil's Castle ขึ้นในปีคริสตศักราช 1896 ภายหลังจากนั้นภาพยนตร์สยองขวัญก็ถูกสร้างกันต่อมาและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง ทุกภูมิภาคทั่วโลกล้วนมีการผลิตภาพยนตร์สยองขวัญของตนเองขึ้นในแต่ละประเทศ ซึ่งส่งผลให้ภาพยนตร์แนวนี้มีลักษณะที่หลากหลายทางด้านวัฒนธรรมมากยิ่งขึ้นไปด้วย

จากการที่ภาพยนตร์สยองขวัญได้ถูกละเลยและมองข้ามความสำคัญไป เนื่องจากมันเป็นภาพยนตร์ที่ถูกสร้างขึ้นตามกระแสวัฒนธรรมประชานิยม (Popular Culture) เป็นภาพยนตร์ที่แสดงออกทางวัฒนธรรมแบบลอกเลียนกันมาเป็นทอด เป็นเพียงภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่อหวังผลกำไรจากรายได้ โดยอาศัยสูตรสำเร็จที่ตายตัวจากแนวทางของมันเองในการสร้างความสยดสยองและตื่นตระหนกให้กับผู้ดู ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หลายคนมองว่ามันไม่มีคุณค่าและความสำคัญทางวัฒนธรรมและทางศิลปะมากพอต่อหยิบยกขึ้นมาพิจารณา

แต่กระนั้นก็ตาม ความนิยมในภาพยนตร์แนวสยองขวัญที่มีมาอย่างต่อเนื่องและชัดเจน กลับดูเป็นสิ่งที่บ่งชี้อย่างสวนทางกับการประเมินคุณค่าภาพยนตร์สยองขวัญในแง่มุมทางสุนทรียศาสตร์อยู่ไม่น้อย กล่าวคือ หากภาพยนตร์สยองขวัญไม่มีคุณค่าในทางสุนทรีย์ในการตอบสนองและกระตุ้นเร้าอารมณ์ของผู้ชมภาพยนตร์ได้อย่างเป็นที่พึงพอใจ เหตุใดภาพยนตร์สยองขวัญจึงยังคงดำรงอยู่ได้และได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน นอกจากนี้ ความนิยมในภาพยนตร์สยองขวัญยังก่อให้เกิดคำถามสำคัญทางสุนทรีย์บางประการ กล่าวคือ …หากภาพยนตร์ในฐานะสื่อบันเทิงมีหน้าหลักในการตอบสนองความต้องการและการสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้ชมภาพยนตร์แล้ว ทำไมภาพยนตร์สยองขวัญ ซึ่งดูเหมือนจะมีลักษณะที่ขัดแย้งกับความพึงพอใจ จึงยังคงมีผู้ชมและได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่อง จากหลักฐานดังกล่าวย่อมแสดงว่า ผู้ชมภาพยนตร์แนวนี้ ต่างรู้สึกพึงพอใจกับการถูกทำให้ตื่นกลัว รู้สึกตระหนก หวาดหวั่นไปกับการนำเสนอของภาพยนตร์แนวสยองขวัญ

การหาคำตอบต่อประเด็นคำถามนี้ อาจไม่สามารถตอบได้ในระดับสามัญสำนึกหรือจากประสบการณ์ทั่วไปในการชมภาพยนตร์สยองขวัญ เนื่องจากผู้ชมภาพยนตร์เองก็เพียงรับรู้ถึงความพึงพอใจในการชมภาพยนตร์สยองขวัญเท่านั้น ซึ่งเป็นความพึงพอใจในเชิงนิเสธเกี่ยวกับการถูกกระตุ้นเร้าให้พึงพอใจกับความตื่นกลัวและหวาดผวา โดยอาจไม่ทราบถึงแรงจูงใจหรือสาเหตุของความต้องการที่จะถูกหลอกหลอน ดังนั้นการตอบคำถามข้างต้น จึงจำเป็นต้องศึกษาลึกลงไปถึงแนวคิดเชิงสุนทรีย์ของการเล่าเรื่อง (Aesthetic of Narrative) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แนวคิดเกี่ยวกับการตอบสนองทางจิตวิทยาและอารมณ์ของเรื่องเล่า ซึ่งอาจสามารถหยิบยกขึ้นมาพิจารณาถึงความพึงพอใจของผู้ชมภาพยนตร์สยองขวัญได้

โดยการศึกษาถึงแรงจูงใจของการชมภาพยนตร์สยองขวัญนี้ จะมองผ่านตัวรูปแบบที่ปรากฏในภาพยนตร์แนวสยองขวัญ เพื่อพิจารณาถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่เป็นเครื่องมือในการปลุกเร้าอารมณ์ของผู้ชมภาพยนตร์ เพื่อสำรวจว่าองค์ประกอบเหล่านั้นมีลักษณะเฉพาะตัวอย่างไร และสามารถที่จะทำหน้าที่ในการกระตุ้นเร้าความหวาดกลัวต่อผู้ชมภาพยนตร์ได้อย่างไรบ้าง จากนั้นจึงจะตอบคำถามที่ว่า ทำไมผู้ชมภาพยนตร์จึงต้องการเผชิญหน้ากับสิ่งที่น่าหวาดกลัวเหล่านั้น

แนวคิด ทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
- วิชุดา ปานกลาง ได้ศึกษาเรื่องการวิเคราะห์การถ่ายทอดความหมายเรื่อง"ผี" ในภาพยนตร์ไทยเรื่อง "แม่นาคพระโขนง พ.ศ.2521-2532 พ.ศ. 2538 พบว่า รูปแบบการนำเสนอเรื่อง"ผี" ในภาพยนตร์ที่ศึกษา มีสูตรสำเร็จของภาพยนตร์ประเภทผีไทยทั้งในเชิงพล็อตเรื่อง คือคนตายเป็นผีแต่ยังอยากจะใช้ชีวิตร่วมกับคน ผีออกอาละวาดหลอกหลอนผู้คนและมีการกำจัดผีออกไป โดยองค์ประกอบย่อยของเรื่องได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความคิดสร้างสรรค์ของผู้สร้างภาพยนตร์

ในเชิงแนวคิดมีการนำเสนอเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของบ้าน ผี และวัด ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการจัดระเบียบทางสังคม โดยวางอยู่บนมายาคติ(Myth)ให้พุทธศาสนาเข้ามาจัดระเบียบสังคม. ภาพยนตร์ได้ถ่ายทอดความหมายของเรื่อง"ผี" โดยการเล่าเรื่องตามเหตุการณ์ และใช้มุมกล้องภาพยยนตร์มาเป็นเครื่องมือในการบันทึกเรื่องเล่า อย่างไรก็ตาม ยังไม่ได้ใช้ภาษาของภาพยนตร์ซึ่งประกอบขึ้นมาจากเทคนิคต่างๆ อย่างเช่น การจัดแสง มุมกล้อง ขนาดภาพ การตัดต่อ การใช้เพลงประกอบมาช่วยในการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกมากนัก

- เพ็ญศิริ เศวตวิหารี ได้ศึกษาเรื่องอิทธิพลของแนวคิดสมัยใหม่ที่ปรากฏในภาพยนตร์ไทยของผู้กำกับรุ่นใหม่ ระหว่างปี พ.ศ.2538-2540 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2541 พบว่าภาพยนตร์ในกลุ่มตัวอย่างที่ได้คัดเลือกมามีลักษณะร่วมที่เด่นชัดคือ มีลักษณะของการปะติดปะต่อในหลายๆ แง่มุม ไม่ว่าจะเป็นทางโครงเรื่องที่มีการผสมผสานหลายแนวทาง หรือทางด้านเทคนิคการนำเสนอที่ได้นำเทคนิคของสื่อประเภทอื่นๆ เช่น มิวสิควีดิโอ หรือภาพข่าวมาใช้ประกอบ รวมทั้งมีลักษณะการดำเนินเรื่องที่ไม่ต่อเนื่อง มีโครงเรื่องย่อยที่แทรกอยู่ระหว่างโครงเรื่องหลักอย่างกระจัดกระจาย ซึ่งเทคนิคการนำเสนอที่เปลี่ยนไปนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากความต้องการของผู้ชมหรือสังคมที่เปลี่ยนไป ผู้ผลิตภาพยนตร์จึงจำเป็นต้องนำเสนอเทคนิคและรูปแบบที่สอดคล้องกับรูปแบบของสังคมที่เปลี่ยนแปลงเหล่านี้

- ฉลองรัตน์ ทิพย์พิมาน ได้ศึกษาเรื่องวิเคราะห์โครงสร้างการเล่าเรื่องในภาพยนตร์อเมริกันที่มีตัวเอกเป็นสตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2539 พบว่า ภาพยนตร์อเมริกันที่มีตัวเอกเป็นสตรีมีลักษณะการนำเสนอเนื้อหาที่สอดคล้องกับความเป็นไปทางสังคม โดยมีการประเมินคุณค่าการกระทำของตัวละคร โดยคำนึงถึงกระแสเรียกร้องทางสังคม ทั้งในด้านของการแสดงให้เห็นผลดีและผลร้ายที่เป็นไปตามความต้องการทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาพยนตร์อเมริกันที่มีตัวเอกเป็นสตรีนั้น ได้สร้างตัวละครให้เป็นตัวแทนของสตรีในสังคม ในอันที่จะบอกเล่าปัญหาหรือเรียกร้องข้อแก้ไขต่างๆ ในสังคมที่มีต่อสตรี

เอกสารที่เกี่ยวข้องในภาษาอังกฤษ
Noel Carroll. 1990. The Philosophy of Horror: Or, Paradoxes of the Heart. United States of America, New York. Routledge, Chapman and Hall, Inc. Noel Carroll ได้ริเริ่มการศึกษาภาพยนตร์สยองขวัญ โดยใช้แบบแผนทางปรัชญาเป็นกรอบในการวิเคราะห์ภาพยนตร์แนวสยองขวัญ โดย Carroll ได้จำแนกและระบุถึงลักษณะเฉพาะที่สำคัญของภาพยนตร์สยองขวัญที่ทำให้เห็นได้ชัดว่า ภาพยนตร์สยองขวัญมีจุดที่แตกต่างไปจากภาพยนตร์แนวเพ้อฝัน (Fantasy) ภาพยนตร์แนวนิยายวิทยาศาสตร์ (Science Fiction) และภาพยนตร์แนวระทึกขวัญ (Thriller) ตรงที่หัวใจของภาพยนตร์สยองขวัญคือ การปรากฏตัวของอสูรกายหรืออมนุษย์ที่มีลักษณะน่าหวาดกลัว, แปลกประหลาด, และน่าขยะแขยงไปพร้อมๆ กัน และจากลักษณะเฉพาะที่ Carroll ได้จำแนกออกมานี้ นำไปสู่คำถามสำคัญที่เป็นปัญหาหลักในการศึกษาภาพยนตร์แนวสยองขวัญในงานวิจัยชิ้นนี้ ซึ่งเกี่ยวกับที่มาของความหวาดกลัวและสยดสยองที่ผู้ชมภาพยนตร์มีต่อตัวอสูรกายหรืออมนุษย์ในภาพยนตร์ รวมทั้งการตอบคำถามถึงความพึงพอในต่ออารมณ์ความรู้สึกสยดสยองที่เป็นข้อขัดแย้งอันแปลกประหลาดในการชมภาพยนตร์สยองขวัญอีกด้วย

Peter Hutchings. 2004. The Horror Film (Inside Film). England, London. Pearson Education Limited. ได้ให้ความหมายของแนวภาพยนตร์สยองขวัญ (Horror Genre) โดยอ้างอิงจากประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ว่า ภาพยนตร์สยองขวัญในฐานะแนวภาพยนตร์ได้ถูกสร้างขึ้นอย่างแท้จริงในช่วงทศวรรษที่สามสิบเป็นต้นมา โดยเกิดขึ้นมาจากเงื่อนไขทางการตลาดที่มุ่งขายแนวทางของภาพยนตร์สยองขวัญอย่างชัดเจน รวมทั้งด้วยกระบวนการทางการตลาดนี้เองได้มีส่วนที่ทำให้เกิดกลุ่มผู้ชมที่เป็นผู้นิยมติดตามภาพยนตร์สยองขวัญขึ้นมา ต่อจากนั้น Peter Hutching ได้ศึกษาไปถึงแง่มุมทางจิตวิทยาของผู้ชม และรูปแบบทางสุนทรีย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับเสียงที่ถูกใช้ในภาพยนตร์สยองขวัญ รวมทั้งทฤษฏีทางจิตวิเคราะห์ซึ่งเกี่ยวข้องทั้งในเรื่องของความแตกต่างทางเพศ (Sexual Difference) และแนวคิดเกี่ยวกับสิ่งแปลกจนน่าขนลุก (The Uncanny) ของ Sigmund Freud ซึ่งงานวิจัยชิ้นดังกล่าว ได้ใช้เนื้อหาเกี่ยวกับแง่มุมทางจิตวิทยาของผู้ชมและแนวคิดทางจิตวิเคราะห์มาใช้สำหรับภาพยนตร์สยองขวัญ รวมทั้งรูปแบบทางสุนทรียภาพในหนังสือเล่มนี้ ยังเป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษาลักษณะของผู้ชม และรูปแบบการนำเสนอในแง่สุนทรียภาพและจิตวิเคราะห์ของภาพยนตร์สยองขวัญ

Stephen Prince. 2004. The Horror Film (Rutgers Depth of Field Series). United States of America. Longman. ได้กล่าวถึงความขัดแย้งในเชิงประติทรรศน์ (Paradox) ของภาพยนตร์สยองขวัญที่ปรากฏอยู่ โดยจากภาพยนตร์สยองขวัญได้เริ่มปรากฏขึ้นมาในยุโรปในยุคหนังเงียบ ที่เพิ่งรู้จักภาพยนตร์สยองขวัญในนามของภาพยนตร์มหัศจรรย์แฟนทาสติค (Fantastic Film) รวมทั้งเปรียบเทียบภาพยนตร์สยองขวัญ (Horror Film) กับภาพยนตร์เกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Holocaust Film)ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อันนำไปสู่การศึกษาแง่มุมความสัมพันธ์ระหว่างสังคมและภาพยนตร์สยองขวัญไว้ โดยใช้แนวคิดของ Sigmund Freud ที่เกี่ยวกับทฤษฏีทางสังคมและข้อห้าม (Taboo) ซึ่งปรากฏเป็นสัญลักษณ์ผ่านการนำเสนอซึ่ง Stephen Prince ได้วิเคราะห์ถึงรูปแบบทางสุนทรีย์ที่น่าสยดสยองนี้ และเรียกขานว่า"ศิลปะแห่งความน่ากลัว" (Art-Dread) ซึ่งแง่มุมความเกี่ยวข้องกันระหว่างรูปแบบทางสุนทรียศาสตร์ดังกล่าว กับทฤษฏีทางสังคมของ Freud ได้มีส่วนช่วยในการศึกษาทำความเข้าใจและในการอ้างอิงงานวิจัยนี้ด้วย

Steven Jay Schneider. 2003.The Horror Film and Psychoanalysis: Freud's Worst Nightmares. United Kingdom, Cambridge. Cambridge University Press. ได้รวบรวมบทความเกี่ยวกับการศึกษาภาพยนตร์สยองขวัญ ทั้งในส่วนของประวัติศาสตร์ของการศึกษาภาพยนตร์สยองขวัญ และการถกเถียงในเชิงกรอบทฤษฏี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแนวทางจิตวิเคราะห์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ศึกษาวิเคราะห์ภาพยนตร์สยองขวัญ โดยแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของทฤษฏีที่ได้แตกแขนงออกไปในหลายแนวทาง ทั้งในกลุ่มแนวคิดในเรื่องของการกดข่ม (The Return of the Repression) ซึ่งได้รับการพัฒนาและเสนอโดย Robin Wood, แนวคิดเรื่องความพึงพอใจในความสยองขวัญ (The Pleasure of Horror) ของ Matt Hills, แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจที่มีอยู่ในภาวะทารกก่อนการเรียนรู้บรรทัดฐานทางสังคมที่ถูกเสนอโดย Barbara Creed, หรือในกลุ่มที่มีแนวคิดในทางตรงข้าม ที่เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจในภาพยนตร์สยองขวัญอันมาจากความกังวลหรือปมปัญหาบางอย่างที่มีอยู่ในประสบการณ์ของผู้ชม ซึ่งผู้ชมภาพยนตร์ต้องการที่จะย้อนเอาประสบการณ์เหล่านั้นกลับขึ้นมาใหม่เพื่อแก้ไข อันนี้ทำให้เห็นพัฒนาการและภาพกว้างของการศึกษาภาพยนตร์สยองขวัญผ่านทฤษฏีภาพยนตร์จิตวิเคราะห์อันเป็นประโยชน์ต่องานวิจัยอย่างมาก

Darryl Jones. 2002. Horror: A Thematic History in Fiction and Film. Republic of Ireland, Dublin. A Hodder Arnold Publication. Darryl Jones ได้จำแนกแนวทางของภาพยนตร์สยองขวัญออกเป็นแนวภาพยนตร์ย่อยประเภทต่างๆ ตามรูปแบบการนำเสนอ ได้แก่เรื่องราวแนวนักวิทยาศาสตร์ที่บ้าคลั่งอย่าง Frankenstein ซึ่งเกี่ยวข้องกับการละเมิดกฎทางธรรมชาติของวิทยาศาสตร์, ภาพยนตร์สยองขวัญในกลุ่มเรื่องราวที่เกี่ยวกับผีดูดเลือด, ภาพยนตร์สยองขวัญในกลุ่มเรื่องราวเกี่ยวกับการบุกรุกของอสูรกาย หรือสิ่งวิปริตผิดธรรมชาติ เช่น ภาพยนตร์แนวสัตว์ประหลาดต่างๆ อย่าง Jaws หรือ Godzilla รวมทั้งภาพยนตร์แนวศพคืนชีพหรือซอมบี้, ภาพยนตร์ในกลุ่มเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่กลายร่างได้ เช่น ภาพยนตร์เกี่ยวกับมนุษย์หมาป่า หรือแม้แต่ภาพยนตร์เกี่ยวกับสิ่งที่ลอกเลียนรูปร่างของสิ่งอื่นเช่นภาพยนตร์เรื่อง The Thing, และภาพยนตร์ในกลุ่มเกี่ยวกับวิญญาณร้าย หรืออำนาจเหนือธรรมชาติที่สิงสู่อยู่ในที่ต่างๆ เช่น The Huanted, แม้แต่การสิงสู่ในร่างมนุษย์เช่นภาพยนตร์เรื่อง The Exorcist. ซึ่งด้วยการวิเคราะห์จำแนกรูปแบบการนำเสนอของภาพยนตร์สยองขวัญในแนวทางต่างๆ นี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการทำให้มองเห็นลักษณะพิเศษที่แตกต่างกันออกไปในภาพยนตร์สยองขวัญแต่ละกลุ่ม ซึ่งได้ช่วยให้งานวิจัยชิ้นนี้สามารถศึกษาถึงความแตกต่างที่ปรากฏอยู่ในแนวภาพยนตร์สยองขวัญได้อย่างเป็นระบบยิ่งขึ้น

Ken Gelder. 2000. The Horror Reader. United States of America, New York Antony Rowe Ltd. ได้กล่าวถึงพัฒนาการของภาพยนตร์สยองขวัญในแง่มุมต่างๆ ทั้งในแง่ของประวัติศาสตร์, ชาติพันธุ์, ภาพยนตร์สยองขวัญต้นทุนต่ำ, และภาพยนตร์สยองขวัญกระแสหลักของฮอลลีวูด โดยเฉพาะอย่างยิ่งรวมถึงการที่ Ken Gelder ได้ศึกษาถึงลักษณะของอสูรกายและอมนุษย์ต่างๆ ซึ่งปรากฏอยู่ในภาพยนตร์สยองขวัญ ทั้งในด้านที่มาของจินตภาพอันแปลกประหลาดที่มีมาก่อนในนิทานปรัมปรา และวิเคราะห์ถึงลักษณะอันน่าประหลาดที่ปรากฏอยู่ขึ้นในอสูรกายและอมนุษย์เหล่านั้น. รายละเอียดของการศึกษาได้เจาะจงลงไปที่การวิเคราะห์ลักษณะของอสูรกายเหล่านั้น ซึ่งช่วยให้งานวิจัยชิ้นนี้พบเห็นแง่มุมที่เป็นรายละเอียดต่างๆ ที่สามารถศึกษาวิเคราะห์ได้จากจินตภาพเกี่ยวกับอสูรกายหรืออมนุษย์เหล่านั้น

นิยามศัพท์
แนวภาพยนตร์ (Genre) คือการจัดแบ่งภาพยนตร์ออกเป็นประเภทตามองค์ประกอบของเรื่องราวที่คล้ายๆ กัน โดยอาศัยองค์ประกอบของฉาก, อารมณ์, และรูปแบบการนำเสนอเป็นเกณฑ์ ซึ่งสามารถแบ่งออกตามลักษณะขององค์ประกอบได้ดังนี้

การแบ่งตามองค์ประกอบด้านฉาก
1. ภาพยนตร์อาชญากรรม เป็นภาพยนตร์ที่มีตัวละครมีความเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมหรือเป็นอาชญากรเอง
2. ภาพยนตร์ ฟิล์มนัวร์ ภาพยนตร์ที่แสดงออกถึงความชั่วร้ายของมนุษย์
3. ภาพยนตร์อิงประวัติศาสตร์ เป็นภาพยนตร์ที่เนื้อเรื่องเกิดขึ้นในอดีต
4. ภาพยนตร์นิยายวิทยาศาสตร์ เป็นภาพยนตร์ที่เนื้อเรื่องดำเนินไปตามความเป็นจริงอื่น ส่วนมากคืออนาคตหรืออวกาศ เรื่องราวเกี่ยวกับจักรวาล
5. ภาพยนตร์กีฬา เป็นภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับการแข่งขันกีฬาหรือสถานที่ที่ใช้แข่งขันกีฬา
6.ภาพยนตร์สงคราม เป็นภาพยนตร์ที่เนื้อเรื่องที่เกิดขึ้นในสนามรบ หรือในช่วงเวลาระหว่างสงคราม

การแบ่งตามองค์ประกอบด้านอารมณ์
1. ภาพยนตร์แอ็คชัน เป็นภาพยนตร์ที่สร้างความเร้าใจให้กับผู้ชมผ่านการใช้ความรุนแรง
2. ผจญภัย กีฬา เป็นภาพยนตร์ที่สร้างความตื่นเต้นให้กับผู้ชมผ่านทางการเสี่ยงภัยของตัวละคร ความผาดโผนต่างๆ
3 .ตลก เป็นภาพยนตร์ที่มุ่งสร้างความสนุกสนานและเสียงหัวเราะ
4. ดราม่า เป็นภาพยนตร์ที่สร้างความตื่นใจ ความเศร้าสลดใจ ผ่านการแสดงและพัฒนาการของตัวละคร
5. แฟนตาซี เป็นภาพยนตร์แนวเพ้อฝัน สร้างความสนุกสนานและตระการตาตระการใจด้วยฉากและเนื้อเรื่องที่ไม่มีอยู่ในชีวิตจริง
6. สยองขวัญ เป็นภาพยนตร์ที่มุ่งสร้างความกลัว ความน่าสยอสยอง ความหดหู่
7. ลึกลับ เป็นภาพยนตร์ที่มุ่งสร้างความฉงน งงงวย และความรู้สึกท้าทายในการแก้ไขปริศนา เป็นเรื่องราวของการซ่อนเงื่อน
8. รักโรแมนติก เป็นภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักฉันชู้สาว
9. ระทึกขวัญ เป็นภาพยนตร์ที่มุ่งสร้างความตื่นเต้นและความตึงเครียด

การแบ่งตามองค์ประกอบด้านรูปแบบเทคนิคการนำเสนอ
1. แอนิเมชัน เป็นภาพยนตร์เคลื่อนไหวโดยใช้ภาพนิ่งหลายๆ ภาพติดต่อกันด้วยความเร็วสูง
2. ชีวประวัติ เป็นภาพยนตร์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตของบุคคลจริง
3. สารคดี เป็นภาพยนตร์ที่นำเสนอข้อเท็จจริงเพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
4. ทดลอง เป็นภาพยนตร์ที่สร้างขึ้นเพื่อทดสอบการตอบรับของผู้ชมต่อเทคนิคการสร้างภาพยนตร์หรือเนื้อเรื่องใหม่ๆ
5. ละครเพลง เป็นภาพยนตร์ที่แทรกเพลงที่ร้องโดยตัวละคร
6. บรรยาย เป็นภาพยนตร์ที่เนื้อเรื่องดำเนินไปตามการเล่าเรื่องของผู้บรรยาย
7. ภาพยนตร์สั้น เป็นภาพยนตร์ที่มีความยาวน้อยกว่าภาพยนตร์ทั่วๆ ไป

วัฒนธรรมประชานิยม (Popular Culture)
คำว่า " Popular Culture " มีการใช้ภาษาไทยในหลายคำ เช่น วัฒนธรรมสมัยนิยม วัฒนธรรมประชานิยม ไม่ว่าจะใช้คำใดก็ตาม หมายความถึง การพิจารณาว่าสิ่งๆ นั้นเป็นความนิยมของผู้คนในยุคสมัยหรือเป็นวัฒนธรรมสมัยนิยมนอกจากนี้ยังอาจพิจารณาได้จากเกณฑ์ทั้ง 4 ประการ ได้แก่

1. เป็นสิ่งที่ชื่นชอบหรือยอมรับโดยผู้คนจำนวนมาก
2. เป็นสิ่งที่ถูกมองว่าต่ำชั้นและไร้คุณค่าหรือรสนิยมทางศิลปะ
3. เป็นสิ่งที่ออกแบบมาเพื่อให้คนจำนวนมาก เพื่อประโยชน์ทางการค้าและบริโภคนิยม
4. เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นโดยผู้คน เพื่อตัวของพวกเขาเอง

ทฤษฏีภาพยนตร์ (Film theory)
คือข้อเสนอและการอภิปรายเกี่ยวกับกรอบแนวคิดในการทำความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาพยนตร์กับความเป็นจริง และระหว่างภาพยนตร์กับศิลปะแขนงอื่นๆ รวมทั้งระหว่างภาพยนตร์และสังคม โดยมีทฤษฏีในกลุ่มต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. ทฤษฏีเครื่องมือ (Apparatus theory) กำเนิดมาจาก ทฤษฏีภาพยนตร์มาร์กซิสต์, ทฤษฏีสัญวิทยา, ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ อันมีอิทธิพลอย่างมากในการศึกษาภาพยนตร์ในช่วงทศวรรษที่ 1970s ซึ่งมีความเห็นว่า ภาพยนตร์เป็นเครื่องมือในการครอบงำทางอุดมคติผู้ชม เพราะกลไกในการนำเสนอของมันมีลักษณะที่เต็มไปด้วยอุดมคติ ซึ่งกลไกของการนำเสนอที่ว่านี้ก็คือ การลำดับภาพ (Editing) ตำแหน่งศุนย์กลางของผู้ชมภายในมุมมองขององค์ประกอบก็เป็นมุมมองแบบอุดมคติด้วย. ทฤษฏีเครื่องมือ (Apparatus theory) เห็นว่าภาพยนตร์สามารถที่จะครอบงำอุดมการณ์ทางวัฒนธรรมต่อผู้ชมได้ อย่างไรก็ตาม อุดมการณ์นั้นไม่ได้ถูกกำหนดโดยภาพยนตร์ แต่มันเป็นส่วนหนึ่งตามธรรมชาติของภาพยนตร์เอง

2. ทฤษฏีผู้ประพันธ์ (Auteur theory) ในช่วงทศวรรษที่ 1950s ถือว่าภาพยนตร์ที่ถูกสร้างขึ้นโดยผู้กำกับ (Film's Director) จะสะท้อนมุมมองความคิดสร้างสรรค์ส่วนบุคคลของผู้กำกับเองให้ปรากฏขึ้นมาในภาพยนตร์ และ/หรือภาพยนตร์เป็นผลงานสร้างสรรค์ของผู้สร้างในฐานะผลงานทางศิลปะ ในบางกรณีถือว่าผู้สร้างภาพยนตร์ (Film's Producer) ก็อยู่ในฐานะผู้สร้างสรรค์ผลงานด้วยเช่นเดียวกัน. ทฤษฏีผู้ประพันธ์ได้ศึกษาวิเคราะห์ภาพยนตร์บนพื้นฐานของลักษณะเฉพาะตัวในภาพยนตร์ของผู้กำกับหรือผู้สร้าง ที่ได้สร้างภาพยนตร์เรื่องนั้นๆ ขึ้นมา

3. ทฤษฏีสตรีนิยม (Feminist film theory) กำเนิดมาจากทัศนะทางการเมืองของแนวคิดสตรีนิยม (Feminist film theory) เป็นการศึกษาและวิเคราะห์ภาพยนตร์ในหลายแนวทาง โดยเป็นการศึกษาวิเคราะห์ทั้งในด้านองค์ประกอบของภาพยนตร์ รวมทั้งยังพยายามเสริมสร้างฐานทฤษฏีด้านสตรีนิยมให้แก่ภาพยนตร์อีกด้วย

4. ทฤษฏีรูปแบบนิยม (Formalist film theory) เป็นทฤษฏีในการศึกษาภาพยนตร์โดยมุ่งศึกษารูปแบบ, วิธีการ, และองค์ประกอบต่างๆ ของภาพยนตร์ เช่น การจัดแสง, ดนตรีและเสียงประกอบ, การใช้สี, องค์ประกอบทางภาพ, สถาปัตยกรรม, การลำดับภาพ. ทฤษฏีรูปแบบนิยมเป็นทฤษฏีหลักที่ใช้ในการศึกษาภาพยนตร์อยู่ในปัจจุบัน

5. ทฤษฏีมาร์กซิสต์ (Marxist film theory) เป็นการศึกษาภาพยนตร์จากมุมมองทางของมาร์กซิสต์ และวางหลักการภาพยนตร์ตามอุดมการณ์ของมาร์กซิสต์ โดยเป็นการมองภาพยนตร์ในฐานะเครื่องมือของการต่อสู้ทางชนชั้น ในช่วงทศวรรษที่ 1920s ผู้สร้างภาพยนตร์ของสหภาพโซเวียตได้ถ่ายทอดความคิดมาร์กซิสต์ผ่านทางภาพยนตร์ โดยแนวคิดวิภาษวิธีของเฮเกลได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการลำดับภาพและใช้โครงสร้างการเล่าเรื่อง (Narrative Structure) ที่กำจัดตัวเอกที่มีลักษณะเป็นวีรชน-เอกชนออกไป และดำเนินเรื่องผ่านกลุ่มคน และดำเนินเรื่องผ่านภาพที่มีความขัดแย้งหักล้างกับภาพต่อมา ไม่ว่าจะในทางองค์ประกอบ, การเคลื่อนไหว, หรือความคิด ความหมายของภาพนั้นๆ อย่างต่อเนื่อง

6. ทฤษฏีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytical film theory) เป็นการประยุกต์ใช้ทฤษฏีจิตวิเคราะห์ในการอธิบายและทำความเข้าใจภาพยนตร์ในหลายแนวทาง โดยที่ทฤษฏีภาพยนตร์ทางจิตวิเคราะห์ได้มองผู้ชมภาพยนตร์ในฐานะที่เป็นประธานของการจ้องมองที่ถูกสร้างขึ้นโดยตัวของภาพยนตร์ และสิ่งที่ปรากฏในภาพยนตร์ก็คือสิ่งที่เป็นวัตถุอันผู้ชมภาพยนตร์ปรารถนา ซึ่งประเด็นของการจ้องมองอาจแยกแยะออกได้อย่างหลากหลายจากสิ่งที่ถูกจ้องมอง

7. ทฤษฏีสัจสังคมนิยม (Socialist realism) มีที่มาจากรูปแบบทางศิลปะแบบสัจสังคมนิยม เป็นการแสดงออกทางอุดมการณ์สังคมนิยมโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมหรือผลักดันให้สังคมไปถึงจุดหมายของแนวคิดสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์

8. ทฤษฏีจอภาพ (Screen theory) เป็นหนึ่งในทฤษฏีภาพยนตร์มาร์กซิสต์ มองว่าความเป็นประธานของผู้ชม ได้ถูกสร้างและถูกควบคุมกำกับในเวลาเดียวกัน ผ่านการเล่าเรื่องบนจอภาพยนตร์โดยความเป็นจริงที่ชัดเจนของเนื้อหาที่ถูกสื่อสารออกมา

9. ทฤษฏีโครงสร้างนิยม (Structuralist film theory) เป็นทฤษฏีที่มุ่งศึกษาว่าภาพยนตร์สามารถถ่ายทอดความหมายผ่านการใช้รหัสได้อย่างไร และแบบแผนที่ต่างกันออกไปในวิธีที่ภาษาถูกใช้ในการสร้างความหมายในการสื่อสารขึ้นมา ซึ่งในภาพยนตร์ องค์ประกอบทุกอย่าง ไม่ว่าแสง, มุมมอง, ระยะเวลาของภาพ, การลำดับภาพต่อเนื่อง, เนื้อหาทางวัฒนธรรม, ล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่ประกอบสร้างความหมายที่ต่อเนื่องกันไปได้ทั้งสิ้น

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

คลิกไปอ่านต่อบทความเรื่องคำตอบจิตวิทยา: ทำไมเราจึงรู้สึกกลัวเมื่อชมภาพยนตร์สยองขวัญ

บทความวิชาการนี้ สามารถ download ได้ในรูป word

 

++++++++++++++++++++++++++++++++++++


สารบัญข้อมูล : ส่งมาจากองค์กรต่างๆ

ไปหน้าแรกของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน I สมัครสมาชิก I สารบัญเนื้อหา 1I สารบัญเนื้อหา 2 I
สารบัญเนื้อหา 3
I สารบัญเนื้อหา 4 I สารบัญเนื้อหา 5 I สารบัญเนื้อหา 6
สารบัญเนื้อหา 7 I สารบัญเนื้อหา 8
ประวัติ ม.เที่ยงคืน

สารานุกรมลัทธิหลังสมัยใหม่และความรู้เกี่ยวเนื่อง

webboard(1) I webboard(2)

e-mail : midnightuniv(at)gmail.com

หากประสบปัญหาการส่ง e-mail ถึงมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจากเดิม
[email protected]

ให้ส่งไปที่ใหม่คือ
midnight2545(at)yahoo.com
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนจะได้รับจดหมายเหมือนเดิม

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนกำลังจัดทำบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ทั้งหมด กว่า 1700 เรื่อง หนากว่า 35000 หน้า
ในรูปของ CD-ROM เพื่อบริการให้กับสมาชิกและผู้สนใจทุกท่านในราคา 150 บาท(รวมค่าส่ง)
(เริ่มปรับราคาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2548)
เพื่อสะดวกสำหรับสมาชิกในการค้นคว้า
สนใจสั่งซื้อได้ที่ midnightuniv(at)gmail.com หรือ
midnight2545(at)yahoo.com

สมเกียรติ ตั้งนโม และคณาจารย์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
(บรรณาธิการเว็บไซค์ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน)
หากสมาชิก ผู้สนใจ และองค์กรใด ประสงค์จะสนับสนุนการเผยแพร่ความรู้เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ชุมชน
และสังคมไทยสามารถให้การสนับสนุนได้ที่บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ในนาม สมเกียรติ ตั้งนโม
หมายเลขบัญชี xxx-x-xxxxx-x ธนาคารกรุงไทยฯ สำนักงานถนนสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
หรือติดต่อมาที่ midnightuniv(at)yahoo.com หรือ midnight2545(at)yahoo.com